RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181448
ทั้งหมด:13492686
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 271, 272, 273 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/06/2018 6:04 pm    Post subject: Reply with quote

เอกชน 7 รายBTS-เครือซีพี-บ.ลูก PTT- UNIQ- ITD-อิโตชู-ชิโนไฮโดรฯ เข้าซื้อซองไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินวันแรก
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2561 16:28:56 น.

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันนี้(18 มิ.ย.61) เป็นวันแรกที่รฟท.เปิดขายเอกสารประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ปรากฎว่ามีเอกชนรายใหญ่เข้ามาซื้อเอกสารแล้ว 5 รายได้แก่ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS), เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี), บริษัท เอนเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ จำกัดซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบมจ.ปตท (PTT), บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) และ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD)

"วันแรกมีเอกชนมาซื้อเอกสารแล้ว 5 ราย" รักษาการ รฟท.กล่าว
นอกจากนี้ยังมีนักลงทุนจากต่างประเทศ 2 ราย มาซื้อเอกสารประกวดราคา ได้แก่ บริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท ชิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด ดังนั้น วันนี้มีเอกชนมาซื้อเอกสารประมูลทั้งหมด 7 ราย

รฟท.กำหนดเวลาการขายเอกสารการคัดเลือกเอกชนในวันที่ 18 มิ.ย.- 9 ก.ค.61 เวลา 9.00 -12 .00 น. และ เวลา 13.00- 15.00 น.

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะเชื่อมต่อ 3 ท่าอากาศยานในเขตกรุงเทพมหานครและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภาแบบไร้รอยต่อ

รวมทั้งพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ บริเวณสถานีแอร์พอร์ต เรลลิงก์มักกะสัน ให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC Gateway)และพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชา และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์เพื่อสนับสุนนบริการรถไฟ

ด้านแหล่งข่าวจากกลุ่ม BSR ที่ประกอบด้วย BTS, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น (STEC) และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) กล่าวว่า ในกลุ่ม BSR ได้ให้ BTS เป็นผู้ซื้อเอกสารประกวดราคาโครงการนี้มาก่อน หากพิจารณาดูแล้วเห็นว่ามีเงื่อนไขให้ผู้ยื่นประมูลต้องซื้อเอกสารประกวดราคาก็ค่อยซื้อ คาดว่าจะพิจารณาเงื่อนไขการประมูลภายใน 1-2 สัปดาห์นี้

--อินโฟเควสท์ โดย ฐานิสร์ ทองนอก/เสาวลักษณ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/06/2018 7:37 am    Post subject: Reply with quote

7 รายซื้อซองชิงรถไฟเร็วสูง ‘จีน-ญี่ปุ่น-ปตท.-ซีพี-ITD-ยูนิค’มาครบ
แนวหน้า วันอังคาร ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561, 06.00 น.

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เปิดขายเอกสาร (Request for Proposal-RFP) ประกวดราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(สนามบบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงิน 215,000 ล้านบาท โดยขายเอกสาร RFP ในราคาชุดละ 1 ล้านบาท เป็นวันแรก โดยจะขายไปจนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 พบว่าได้รับความสนใจจากบริษัทยักษ์ใหญ่หลายราย

ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้สรุปรายชื่อผู้ซื้อเอกสารRFP ในวันแรกว่า มีจำนวน 7 ราย ประกอบด้วย 1.บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ 2.บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี.) 3.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)หรือ ITD 4.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 5.บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) 6.บริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด 7.บริษัท Sinohydro Corporation Limited

มีรายงานแจ้งว่า สำหรับ บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ร่วมลงทุนระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นฝ่ายละ 50% เข้าซื้อซองประมูลในโครงการนี้ด้วย

ด้านแหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. กล่าวว่า การขายซองเอกสารในวันแรกมีบริษัทเอกชนกลุ่มทุนรายใหญ่ทั้งด้านกิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการรถไฟฟ้า และกิจการพลังงานเข้ายื่นเสนอเข้าซื้อซองนอกเหนือจากเอกชนรายใหญ่ 5 ราย แล้วยังมีบริษัท อิโตชู คอร์เปอเรชั่น จากประเทศญี่ปุ่น และบริษัท ชิโนไฮโดร จำกัด (มหาชน) จากประเทศจีนเข้าร่วมด้วย

ขณะที่แหล่งข่าวจากกลุ่มบีทีเอส กล่าวว่าในกลุ่มฯได้ให้ BTS เป็นผู้ซื้อเอกสารประกวดราคาโครงการนี้มาก่อน หากพิจารณาดูแล้วเห็นว่ามีเงื่อนไขให้ผู้ยื่นประมูลต้องซื้อเอกสารประกวดราคาก็ค่อยซื้อ คาดว่าจะพิจารณาเงื่อนไขการประมูลภายใน 1-2 สัปดาห์นี้

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน และรักษาการผู้ว่าการร.ฟ.ท.กล่าวว่า ร.ฟ.ท.กำหนดให้เปิดซองผู้ยื่นข้อเสนอวันที่ 13 พ.ย. 2561 เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิ้งค์ มักกะสัน

สำหรับคุณสมบัติของผู้ยื่นเสนอจะเป็นนิติบุคคลรายเดียว หรือ นิติบุคคลหลายรายรวมกันเป็นกิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ หรือ นิติบุคคลหลายรายรวมกันเป็นกิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ หรือ นิติบุคคลที่ควบรวมกิจการ โดยต้องมีนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 ราย เข้าร่วมกลุ่มโดยมีสัดส่วนการลงทุนเกินกว่า 25% ของทั้งหมด และสมาชิกอื่นแต่ละรายต้องมีสัดส่วนการลงทุนไม่น้อยกว่า 5%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2018 10:20 am    Post subject: Reply with quote

^^^
7 รายชิง "ไฮสปีดเทรน" 3สนามบิน จ่อเวนคืนพื้นที่เพิ่มสร้างรถไฟฟ้าสีชมพู
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันอังคาร ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561, 09:40

ประมูลไฮสปีด 3 สนามบินคึกคักตามคาด 7 ยักษ์ใหญ่แห่ซื้อซอง “บีทีเอส-ซีพี-ITD- ยูนิค-อิโตชู”
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561, 16:31
ปรับปรุง: 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561, 17:37

เผยเอกชน 7 ราย ซื้อซองประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ากว่า 2 แสนล้าน คึกคัก โดยบีทีเอส ซื้อเป็นรายแรก ตามด้วย ซีพี, และรับเหมารายใหญ่อย่างอิตาเลียนไทย และยูนิค, อิโตชู และ Sinohydro

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า วันนี้(18 มิ.ย.61) ซึ่งเป็นวันแรกที่ รฟท.เปิดขายเอกสารประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ”ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา”มูลค่าโครงการ 224,544.36 ล้านบาท โดยมีเอกชนเข้าซื้อเอกสารแล้ว 7 ราย ได้แก่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรอ BTS ,บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (CP) ,บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ,บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น(UNIQ), บริษัท เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ จำกัด,บริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ Sinohydro Corporation Limited

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ได้กำหนดเวลาการขายเอกสารการคัดเลือกเอกชนในวันที่ 18 มิ.ย.-9 ก.ค. 61 ในเวลาทำการ เวลา 9.00 -12 .00 น. และ เวลา 13.00- 15.00 น. ณ ห้องประชุมฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง โดยเอกสารจะขายชุดละ 1 ล้านบาท

ซึ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็น 1ใน5 โครงการนำร่อง การพัฒนาเขคเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของรัฐบาล โดยหลักในการคัดเลือกคือ ข้อเสนอที่จะให้รัฐร่วมลงทุน ซึ่งกรอบไม่เกิน 1.2 แสนล้านบาทนั้นหากรายใดเสนอต่ำสุดจะเป็นผู้ได้รับคัดเลือก สำหรับมูลค่าโครงการที่ 224,544.36 ล้านบาทนั้น ประกอบด้วยจะเป็นค่าลงทุนรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน 168,718 ล้านบาท ค่าลงทุนแอร์พอร์ตลิงก์ ในส่วนค่าระบบอาณัติสัญญาและล้อเลื่อน 10,671.09 ล้านบาท โดยรัฐจะรับภาระโครงสร้างพื้นฐานแอร์พอร์ต เรลลิงก์ 22,558.06 ล้านบาทเอง นอกจากนี้ จะมีค่าพัฒนาที่ดิน (TOD) การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ บริเวณสถานีมักกะสัน 150 ไร่ และสถานีศรีราชา 25 ไร่อีกประมาณ 45,155.27ล้านบาท

ซึ่งหลังปิดขายเอกสาร ร.ฟ.ท.จะจัดประชุมชี้แจงจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกในวันที่ 23 ก.ค. 2561 และครั้งที่สอง 24 ก.ย. 2561 ที่สโมสรรถไฟชั้น 2 การรถไฟแห่งประเทศไทย


กำหนดเปิดให้มีการรับซองข้อเสนอวันจันทร์ที่ 12 พ.ย. 2561 โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับการซื้อซองเอกสารข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท และต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่ ร.ฟ.ท.เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์มักกะสัน และกำหนดให้เปิดซองผู้ยื่นข้อเสนอวันที่ 13 พ.ย. 2561

รายงานข่าวคาดว่า BTS จะยื่นประมูลในนามกลุ่ม BSR ซึ่งประกอบด้วย BTS, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น (STEC) และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) และเป็นกลุ่มที่แสดงความชัดเจนในการเข้าร่วมประมูลโครงการนี้ ตั้งแต่เริ่มต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 20/06/2018 3:12 pm    Post subject: Reply with quote

ตามเป้า 7บริษัทซื้อซองไฮสปีด
อังคารที่ 19 มิถุนายน 2561 เวลา 19.31 น.
วันที่ 2 เปิดขายซองรงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน ไม่มีเอกชนรายใดเข้าซื้อซองหลังวันแรก มี 7 บรฺษัทซื้อไปแล้ว "ไพรินทร์"ปลื้มระบุยอดผู้ซื้อซองมากพอสมควร



 
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่ากลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าการเปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชนเข้าดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน( ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ -อู่ตะเภา )วงเงินลงทุนประมาณ 2.2 แสนล้านบาทว่า จากการเปิดขายเอกสารประกวดราคาในโครงการดังกล่าวเป็นวันที่ 2  ปรากฏว่า ตั้งแต่เวลา 09.00 -15.00 น. ไม่มีบริษัทเอกชนรายใดเข้ามาซื้อเอกสารเพิ่มเติมเลย หลังจากเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่เปิดขายซองเป็นวันแรกมีบริษัทเอกชนเข้ามาซื้อซองไปแล้วจำนวน 7 ราย

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่า การที่มีเอกชนเข้าซื้อเอกสารการประกวดราคาในโครงการดังกล่าวถึง 7 ราย ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะเป็นการซื้อซองที่มากพอสมควร และเมื่อดูจากรายชื่อบริษัทที่เข้ามาซื้อเอกสารแล้ว ก็คาดว่าจะครบทั้ง 4 กลุ่มตามที่มีกระแสข่าว นับว่าคึกคักมากในการประกวดราคาในครั้งนี้ ส่วนจะมีเอกชนรายใดเข้ามาซื้อซองเพิ่มเติมหรือไม่นั้นก็ต้องรอดูต่อไปจนถึงวันสุดท้ายที่เปิดขายซองในวันที่ 9 ก.ค.นี้

รมช.คมนาคม กล่าวต่อว่า สำหรับรายชื่อบริษัทเอกชน 7 ราย ที่เข้าซื้อซอง มีดังนี้
1.บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด
3.บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
4.บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
5.บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo)
6.บริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ
7.บริษัท Sinohydro Corporation Limited 
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/06/2018 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

หอฯ ระยอง ร่วมเอกชน - ปชช.ล่าหมื่นรายชื่อทวงคืนสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง
เผยแพร่: 20 มิ.ย. 2561 15:30 โดย: MGR Online

ระยอง - หอฯ ระยอง ร่วมภาคเอกชนและ ปชช.ในพื้นที่ลงชื่อจำนวน 1 หมื่นรายชื่อ ให้ ผวจ.ระยอง เสนอต่อรัฐบาลในการทวงคืนสถานีรถไฟความเร็วสูง สถานีที่ 10 หลังถูกตัดให้ไปอยู่ในโครงการ อีอีซี ระยะที่ 2

วันนี้ ( 20 มิ.ย. ) นายนพดล ตั้งทรงเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดระยอง พร้อมผู้แทนชมรมธนาคารจังหวัดระยอง ,สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดระยอง ,สภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยองและภาคเอกชนในพื้นที่ ได้ร่วมกันตั้งโต๊ะล่ารายชื่อประชาชนที่ต้องการให้มีสถานีรถไฟความเร็วสูงใน จ.ระยอง รวม 10,000 รายชื่อ เพื่อยื่นผ่าน นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการ จังหวัดระยอง ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดระยอง ควบคู่กับหนังสือทวงคืนสถานีรถไฟความเร็วสูงสถานีที่ 10 ระยอง ให้กลับมาอยู่ในแผนพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ระยะที่ 1

นายนพดล เผยว่าโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ที่มีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัดคือ ระยอง -ชลบุรี และฉะเชิงเทรา มีนโยบายเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน ประกอบด้วย สนามบินดอนเมือง ,สุวรรณภูมิและอู่ตะเภา จะมีสถานีจอดเพียง 9 สถานีเท่านั้น ส่วนสถานีที่ 10 ที่เคยกำหนดว่าจะต้องอยู่ในเขตตัวเมืองระยอง ได้ถูกตัดให้ไปอยู่ในโครงการ อีอีซี ระยะที่ 2 คือพื้นที่ ระยอง -จันทบุรีและตราด ซึ่งไม่เป็นไปตามที่รัฐบาลเคยแจ้งไว้กับชาวระยอง ตั้งแต่เมื่อครั้งเริ่มต้นโครงการ อีอีซี

โดยคณะกรรมการนโยบาย โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ให้เหตุผลว่าติดปัญหาเรื่องรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ จึงมีมติให้ปรับแผนการดำเนินโครงการระยะที่ 1 ให้สิ้นสุดที่สนามบินอู่ตะเภา เป็นสถานีที่ 9 และให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ศึกษาความเหมาะสมของโครงการครอบคลุมในแง่การออกแบบ ,การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและรูปแบบการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภา -ระยอง -จันทบุรี - ตราด ในระยะที่ 2

“ ชาวระยองมีความหวังสูงมากต่อการมีสถานีรถไฟความเร็วสูง เพราะมีผลต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคต ซึ่งจะมีโอกาสในการพัฒนาความเจริญของเมืองระยองทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงมีการประชุมร่วมกันเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล คืนสถานีรถไฟความเร็วสูงสถานีที่ 10 ที่ จ.ระยอง ให้อยู่ในโครงการระยะที่ 1ตามเดิม และหอการค้าจังหวัดระยอง พร้อมด้วยภาคเอกชน ยังได้ร่วมลงชื่อจำนวน 10,000 รายชื่อ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาเร่งรัดให้สถานีระยองเกิดขึ้นในโครงการระยะที่ 1ตามเดิม”นายนพดล กล่าว

ด้าน นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่าจะนำเรื่องทั้งหมดเสนอต่อรัฐบาลเพื่อพิจารณาตามขั้นตอน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่ที่รัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/06/2018 7:03 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วง สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา เพื่อเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 20 มิ.ย. 2561

ที่ห้องประชุมแปซิฟิก โรงแรมเดอะไทด์รีสอร์ท บางแสน จังหวัดชลบุรี นายภวัต เลิศมุกดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมใหญ่ การมีส่วนร่วมของประชาชน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงสุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ภายใต้โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม กว่า 200 คน เข้าร่วม

นายสายันต์ อิ่มสม-สมบูรณ์ ผู้จัดการโครงการ เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุมในครั้งนี้ว่า เป็นการนำเสนอข้อมูลรายละเอียดโครงการด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน

โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วง สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรลลิงค์ ที่สถานีลาดกระบัง และมีแนวเส้นทางเดียวกับรถไฟความเร็วสูงสาย กรุงเทพ-ระยอง โดยจะเริ่มต้นโครงการที่สนามบินสุวรรณภูมิไปสิ้นสุดที่สนามบินอู่ตะเภา ระยะทางรวม 165.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อให้ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางระหว่างท่าอากาศยานหลักเข้าสู่เขตเมืองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และรองรับโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ราว ปี 2566
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : คณากร ประกอบชัยชนะ
ผู้เรียบเรียง : วรรณวิไล สนิทผล
แหล่งที่มา : สวท.ชลบุรี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/06/2018 7:07 pm    Post subject: Reply with quote

คค.คาดอีก2สัปดาห์ชัดตั้งองค์กรดูแลรถไฟเร็วสูง
INN News 20 มิถุนายน 2018

กระทรวงคมนาคม เล็งตั้งองค์กรดูแลรถไฟความเร็วสูง คาด 2 สัปดาห์ชัดเจน

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดตั้งองค์กรพิเศษ เพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งจดทะเบียนกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.จำนวน 3 แห่ง ที่ได้มานำเสนอรูปแบบการจัดตั้ง และโครงสร้างขององค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูง การบริหารจัดการ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ให้สามารถจัดตั้งองค์กรได้ทันกับการเปิดให้บริการโครงการรถไฟความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับองค์กรดังกล่าวจะเป็นหน่วยงานที่มีลักษณะพิเศษแยกอิสระออกจากการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.ซึ่งคาดว่าจะสามารถสรุปรูปแบบขององค์กรและกรอบระยะเวลาการจัดตั้งได้ภายใน 2 สัปดาห์ หรือช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. กล่าวว่า ในวันนี้ได้เชิญบริษัทที่ปรึกษามาจำนวน4รายเพื่อให้รายละเอียดการตั้งองค์กรให้เป็นไปตามมติ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ซึ่ฃหลักการสำคัญยังต้องการให้มีความอิสระ มีประสิทธิภาพในการทำงาน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการยังจะไม่มีการตัดสินใจ โดยต้องการให้มีการต่อยอดแนวคิดของคณะกรรมการ โดยต่อจากนี้จะเร่งพิจารณาว่ารายใดจะเสนอแนวคิดที่ดี และโมเดลขณะนี้ยังไม่มีให้นำไปปฏิบัติได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/06/2018 7:52 pm    Post subject: Reply with quote

ซิโน-ไทยฯ โดดซื้อซองชิงดำรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เพิ่มเป็นรายที่ 8
เผยแพร่: 20 มิ.ย. 2561 17:41 ปรับปรุง: 20 มิ.ย. 2561 18:18 โดย: MGR Online

ขายซองรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินวันที่ 3 เริ่มเหงา มีเพียง “ซิโน-ไทย” มาซื้อเพิ่มเพียงรายเดียว โดยรวมกับวันแรกมีซื้อซองไปแล้ว 8 ราย ขณะที่ “ไพรินทร์” พอใจ เผยมีเอกชนซื้อซองคึกคัก โดยรถไฟฯ จะขายซองถึงวันที่ 9 ก.ค. 61

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (20 มิ.ย.) ซึ่งเป็นวันที่ 3 ที่ที่ ร.ฟ.ท.ได้เปิดขายเอกสารการคัดเลือกเอกชนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงินกว่า 2 แสนล้านบาท ปรากฏว่าในช่วงเช้ามีเอกชนซื้อเอกสารเพิ่มอีก 1 ราย คือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC โดยหลังจาก ร.ฟ.ท.เปิดขายซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมาตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย.ถึงวันที่ 20 มิ.ย. มีเอกชนซื้อเอกสารไปแล้วทั้งสิ้น 8 ราย

โดยวันแรก วันที่ 18 มิ.ย. ซื้อเอกสาร 7 ราย ประกอบไปด้วย 1) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 2) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด 3) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 4) บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 5) บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) 6) บริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ 7) บริษัท Sinohydro Corporation Limited

อย่างไรก็ตาม นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า การที่มีผู้ซื้อซองในวันแรก 7 รายถือว่า โครงการได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นที่น่าพอใจ

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชนได้จนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดต่อซื้อซองเอกสารได้ตั้งแต่ เวลา 09.00-12.00 น. และ เวลา 13.00-15.00 น. ณ ห้องประชุมฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ราคาซองละ 1 ล้านบาท (หนึ่งล้านบาท) โดยหลังจากทำการขายเอกสารเสร็จสิ้นในวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 จะมีการประชุมชี้แจงจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกจะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม 2561 และครั้งที่ 2 วันที่ 24 กันยายน 2561 ณ สโมสรรถไฟชั้น 2 การรถไฟแห่งประเทศไทย โดย ร.ฟ.ท.จะนำผู้ยื่นข้อเสนอไปดูสถานที่ก่อสร้างของโครงการในวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 และจะเปิดให้มีการส่งข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ หรือคำถามเกี่ยวกับเอกสารการคัดเลือกเอกชน ระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม - 9 ตุลาคม 2561 ในเวลาราชการ

สำหรับกำหนดการรับซองข้อเสนอจะมีขึ้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09.00-15.00 น. โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหลักประกันซองพร้อมกับซองข้อเสนอ มูลค่า 2,000 ล้านบาท และต้องชำระค่าธรรมเนียมการประเมินข้อเสนอให้แก่ ร.ฟ.ท.เป็นจำนวนเงิน 2 ล้านบาท ที่สำนักงานโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มักกะสัน และผู้ที่ยื่นเสนอผ่านการประเมินข้อเสนอจะต้องวางหลักประกันสัญญาที่ออกโดยธนาคารให้กับ ร.ฟ.ท.ในวันที่เข้าทำสัญญาร่วมทุนเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชนคู่สัญญา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/06/2018 8:45 am    Post subject: Reply with quote

เร่งตั้งองค์กรคุมรถไฟเร็วสูง คมนาคมยืนยันสิ้นปีเดินเครื่อง
แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561, 06.00 น.

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาหารือร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จำนวน 3 แห่ง ที่ได้มานำเสนอรูปแบบการจัดตั้ง และโครงสร้างขององค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูง การบริหารจัดการ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ให้สามารถจัดตั้งองค์กรได้ทันกับการเปิดให้บริการโครงการรถไฟความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์กรดังกล่าวจะเป็นหน่วยงานที่มีลักษณะพิเศษแยกอิสระออกจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คาดว่าจะสรุปรูปแบบขององค์กรและกรอบระยะเวลาการจัดตั้งได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ ก่อนที่จะได้ข้อสรุปว่าจะเป็นสถาบันการเงินใดที่จะได้รับการคัดเลือกให้เข้ามาวางแผนดำเนินการจัดตั้งองค์กร มั่นใจจัดตั้งได้ภายในสิ้นปี 2561 แน่นอน

“จากที่ฟังการนำเสนอแนวทางการจัดตั้งองค์กรบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน จากทั้ง 3 บริษัท ยอมรับว่ามีความพอใจกับแนวทางที่แต่ละบริษัทนำเสนอ ประเด็นหลักจะคล้ายๆ กัน คือ แนวทางการจัดตั้ง รูปแบบการบริหารจัดการ สัดส่วนการเข้ามาถือหุ้นในการจัดตั้ง รูปแบบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามสถานี และเขตทางรถไฟ” นายไพรินทร์ กล่าว

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวว่าบริษัทที่ปรึกษาได้มาให้รายละเอียดการตั้งองค์กรให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยยังคงต้องการให้องค์กรมีความอิสระมีประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งได้มีการเชิญเข้ามาให้รายละเอียด 4 ราย แต่ขณะนี้ได้มีการถอนตัวไป 1 ราย แต่ยังไม่ขอเปิดเผยรายชื่อบริษัทที่ปรึกษาเนื่องจากยังอยู่ในกระบวนการสำคัญ และต่อจากนี้คณะกรรมการจะเร่งพิจารณาว่ารายใดจะเสนอแนวคิดที่ดี ส่วนรูปแบบขณะนี้ยังไม่มีให้นำไปปฏิบัติได้

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมระบุว่ามีบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน 8 ราย ที่ตอบรับจะร่วมยื่นข้อเสนอประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารยูโอบี, ฟินันซ่า, อาร์เอชบี, เพลินจิตแคปปิตอล, อวานานการ์ แคปปิตอล และไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สเอฟเอเอส ซึ่งการจัดตั้งองค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูงเป็นไปตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 ที่มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแนวทางจัดตั้งองค์กรพิเศษที่เป็นอิสระจากการกำกับกิจการของ ร.ฟ.ท. เพื่อกำกับดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงให้มีประสิทธิภาพ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2018 10:35 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คค.คาดอีก2สัปดาห์ชัดตั้งองค์กรดูแลรถไฟเร็วสูง
INN News 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561

Mongwin wrote:
เร่งตั้งองค์กรคุมรถไฟเร็วสูง คมนาคมยืนยันสิ้นปีเดินเครื่อง
แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561, 06.00 น.


เร่งสรุปโมเดลตั้งองค์กรอิสระใน ก.ค. บริหารรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561 17:14
ปรับปรุง: 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561 18:15

ที่ปรึกษาการเงิน 3 ราย นำเสนอโมเดล ตั้งองค์กรอิสระบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน “ไพรินทร์” คาดเลือกรูปแบบที่เหมาะสมได้ใน ก.ค.นี้ เน้นคล่องตัวอิสระจากรถไฟ มีประสิทธิภาพ

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ว่าได้มีการพิจารณาหลักเกณฑ์การประเมินกรอบแนวคิดและแนวทางการดำเนินการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ซึ่งมีบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน 3 แห่ง ที่จดทะเบียนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นำเสนอรูปแบบคาดว่าจะสามารถสรุปรูปแบบขององค์กรและกรอบระยะเวลาการจัดตั้งองค์กรดังกล่าวได้ภายใน 2 สัปดาห์ หรือช่วงต้นเดือน ก.ค.นี้

ทั้งนี้ รูปแบบของการจัดตั้งองค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูงที่เหมาะสม จะต้องพิจารณาถึงการบริหารจัดการ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และการกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้สามารถจัดตั้งองค์กรได้ทันกับการเปิดให้บริการโครงการรถไฟความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรพิเศษ มีความเป็นอิสระจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า หลักการขององค์กรคือต้องอิสระจาก ร.ฟ.ท. และมีประสิทธิภาพในการทำงาน ประเด็นคือต้องมีความคล่องตัว โดยที่ปรึกษาทั้ง 3 รายได้นำเสนอแนวคิดให้คณะอนุกรรมการฯ ในลักษณะเป็นพันธมิตรให้แนวทางในการเริ่มต้น เบื้องต้นข้อมูลยังไม่เปิดเผยว่าแต่ละรายเสนอรูปแบบใด หลังจากนี้คณะอนุกรรมการฯ จะพิจารณาว่าข้อเสนอของที่ปรึกษารายใดเหมาะสมที่สุด

โดยครั้งนี้มีที่ปรึกษาทางการเงินจำนวน 3 รายเข้านำเสนอข้อมูล เป็น 3 ใน 8 รายที่ได้เข้าร่วมประชุมครั้งก่อนหน้า ได้แก่ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.ธนาคารยูโอบี, บจก.เพลินจิต แคปปิตอล, บมจ.บล.อาร์เอชบี (ประเทศไทย), บจก.บล.ฟินันซ่า, บจก.อวานการ์ด แคปปิตอล และ บจก.ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ เอฟเอเอส

ครม.มีมติเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 อนุมัติให้ ร.ฟ.ท.ดำเนินโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพ-นครราชสีมา) และให้กระทรวงคมนาคม ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดตั้งองค์กรพิเศษที่เป็นอิสระจากการกำกับการของ ร.ฟ.ท.เพื่อดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพ โครงสร้างองค์กรมีความคล่องตัวในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง



คมนาคมประชุมคณะอนุฯตั้งองค์กรพิเศษกำกับโครงการไฮสปีดเทรน
20 มิถุนายน พ.ศ. 2561


นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมประชุมคณะอนุกรรมการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ครั้งที่ 2/2561 ในวันที่ 20 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุม กระทรวงคมนาคม โดยมีนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม,นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงฯ หัวหน้าสำนักงานบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนารถไฟระหว่างไทย-จีน นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ,ผู้แทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย




คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุม เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์การประเมินกรอบแนวคิดและแนวทางการดำเนินการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ให้สามารถจัดตั้งองค์กรได้ทันกับการเปิดให้บริการโครงการรถไฟความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Mongwin wrote:
ซิโน-ไทยฯ โดดซื้อซองชิงดำรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เพิ่มเป็นรายที่ 8
เผยแพร่: 20 มิ.ย. 2561 17:41 ปรับปรุง: 20 มิ.ย. 2561 18:18 โดย: MGR Online


วันที่ 3 ซื้อซองประมูลไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ซิโน-ไทยฯ ซื้อเป็นรายที่ 8
วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 13:01 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (20 มิ.ย.) เป็นวันที่ 3 ของการขายเอกสารประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุนกว่า 2.2 แสนล้านบาท



ในช่วงเวลา 9.00-12.00 น. มี บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น มาซื้อ 1 ราย รวมกับวันแรก 7 ราย รวมเป็น 8 ราย

1) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
2) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด
3) บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
4) บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น
5) บริษัท เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ จำกัด
6) บริษัท อีโตชู คอร์ปอเรชั่น จำกัด
7) Sinohydro Corporation Limited
8) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 271, 272, 273 ... 542, 543, 544  Next
Page 272 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©