RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180046
ทั้งหมด:13491278
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 279, 280, 281 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2018 6:55 pm    Post subject: Reply with quote

ชงส่วนขยาย”ไฮสปีด”ถึงระยอง อุตฯตั้งทีมProactive หนุนอีอีซี
วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เวลา - 23:11 น.

บอร์ดเฉพาะกิจ EEC เตรียมเสนอบอร์ดใหญ่อนุมัติศึกษาส่วนต่อขยาย “อู่ตะเภา-ระยอง” ไอสปีดเชื่อม 3 สนามบิน 30 กม. เงินเพิ่มเหยียบหมื่นล้านใช้รูปแบบ PPP เส้นทางใหม่เวนคืนที่ดินเลี่ยง “มาบตาพุด” คาดเชิญชวนนักลงทุนไตรมาส 1 ปี”63 กระทรวงอุตสาหกรรมตั้งทีมใหม่ Proactive ผลักดันโครงการเต็มรูปแบบ



ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานการประชุม คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 1/2561 ในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ว่า ที่ประชุม “รับทราบ” ส่วนต่อขยายโครงการรถไฟความเร็วสูงจากอู่ตะเภาไปยังจังหวัดระยอง ระยะทาง 30 กม. จำนวน 1 สถานี มูลค่าลงทุนจะเพิ่มเป็นหลัก 10,000 ล้านบาท โดยจะเป็นส่วนต่อขยายจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่มีระยะทาง 220 กม. มูลค่าลงทุน 300,000 ล้านบาท โดยจะใช้ระยะเวลาเริ่ม 18 เดือนจึงจะเสร็จสิ้นขั้นตอนอนุมัติ

“ส่วนต่อขยายอู่ตะเภา-ระยอง ทาง กบอ.จะนำเรื่องเสนอต่อ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ด EEC) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 10 สิงหาคมนี้ เพื่อให้บอร์ด EEC รับทราบและพิจารณาอนุมัติเริ่มทำการศึกษาส่วนต่อขยายต่อไป” นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองประธาน กบอ.กล่าว



ทั้งนี้ กรอบการดำเนินการส่วนต่อขยายจะเริ่มทำการศึกษาออกแบบในเดือนพฤศจิกายน 2561 ใช้เวลา 4 เดือนแรก ผลการศึกษาก็จะแล้วเสร็จ จากนั้นไตรมาส 4/2562 ก็จะเริ่มทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จากนั้นไตรมาส 1/2563 จะออกประกาศเชิญชวนนักลงทุนจนถึงไตรมาส 4/2563 ก็จะลงนามสัญญาและเปิดให้บริการภายในปี 2567 โดยส่วนต่อขยายนี้จะเป็นสัญญาใหม่ในรูปแบบการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชน (PPP)

“เดิมเส้นทางรถไฟไฮสปีด การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เคยทำการศึกษาไว้แล้วจากช่วงดอนเมืองไประยอง สถานีสุดท้ายหยุดที่อู่ตะเภา ส่วนการจะเดินรถไปจนถึงระยองนั้นจะผ่ากลางเข้ามาบตาพุด ซึ่งเรากังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการศึกษาเส้นทางใหม่กลายมาเป็นโครงการส่วนต่อขยายอู่ตะเภาไประยองเส้นใหม่ที่จะอ้อมมาบตาพุด โครงการนี้จะต้องมีการเวนคืนพื้นที่บ้างบางส่วน และต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ จากเดิมที่จะใช้เส้นรถไฟเก่าเลียบชายหาด เมื่อเส้นส่วนต่อขยายเส้นนี้เสร็จ รัฐบาลมีแผนที่จะศึกษาส่วนต่อขยายไปยังจังหวัดจันทบุรี และตราด ในโอกาสถัดไป” นายกอบศักดิ์กล่าว

ขยับแนวเลี่ยงมาบตาพุด

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ได้รายงานความคืบหน้าการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กม. ที่ให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost 50 ปี เงินลงทุนกว่า 224,000 ล้านบาท และเตรียมศึกษา “ส่วนต่อขยาย” จากอู่ตะเภาไประยอง และตราด เพื่อให้คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) รับทราบ โดยจะเร่งศึกษาส่วนต่อขยายไประยอง ระยะทางประมาณ 30-40 กม. ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และจะมีสถานีจอดรถที่ระยองด้วย

“ตามแผนเดิมจะสร้างจากกรุงเทพฯ-ระยองอยู่แล้ว แต่เมื่อมี EEC จึงตัดสร้างถึงอู่ตะเภาก่อน เพราะช่วงจากอู่ตะเภา-ระยอง แนวเส้นทางจะต้องตัดผ่านพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จะต้องใช้เวลาพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) นาน จำเป็นที่จะต้องปรับแนวใหม่ไม่ให้เข้าไปในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยแนวใหม่อาจจะขยับไปตรงพื้นที่ว่างที่อยู่ด้านซ้ายและด้านขวาแทน จะต้องมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มหรือจะเบี่ยงแนวไปใช้พื้นที่ทางหลวงหมายเลข 3 สัตหีบ-บ้านฉาง-ระยอง ของกรมทางหลวง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการศึกษา ขณะที่ที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงระยองจะห่างจากศูนย์กลางเมืองประมาณ 4 กม. ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจุดตัดของถนน 36 กับถนน 3138” นายวรวุฒิกล่าว

ส่วนต่อขยายอู่ตะเภา-ระยอง จะเป็นการลงทุนเฟสที่ 2 เอกชนที่เข้าร่วมประมูลหากมีที่ดินรองรับก็สามารถเสนอแผนลงทุนเพิ่มเติมได้ โดยเสนอเข้ามาเป็นซองที่ 4 ถ้าหากมองว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงการได้ เพราะผลการศึกษาเดิมระบุไว้อยู่แล้วว่า โครงการจะคุ้มทุนก็ต่อเมื่อสร้างไปถึงระยอง เนื่องเป็นแหล่งงานและที่อยู่อาศัยทั้งคนไทยและต่างชาติ

ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ด EEC) กล่าวว่า นอกเหนือจากโครงการส่วนต่อขยายอู่ตะเภา-ระยองแล้ว ที่ประชุม กบอ.ยังรับทราบ 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) ความคืบหน้าการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 2) ความก้าวหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ระยะที่ 1, โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3, โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 และ 3) โครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ที่ได้ดึงเข้าไปเป็นโครงการที่ใช้รูปแบบการลงทุนแบบ PPP เพื่อต้องการให้ได้นักลงทุนผู้บริหารพื้นที่ที่มีคุณภาพและเก่ง (master developer) เรื่องการก่อสร้างเพื่อเป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะ (smart city)

ตั้งทีม Proactive

ส่วนความคืบหน้าด้านอื่น ๆ นั้นในระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคมนี้ นายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (เทียบเท่ารองนายกรัฐมนตรี) ซึ่งจะเดินทางมาประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) มีกำหนดการจะลงพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วย ทางสำนักงาน EEC ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว และอาจใช้โอกาสนี้เจรจาให้นักลงทุนรายใหญ่ที่เดินทางร่วมมากับคณะอย่าง “หัวเว่ย” ได้เห็นศักยภาพและโอกาสของ EEC เช่นกัน

นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้ตั้ง “ทีม Proactive” ขึ้นมา เพื่อที่จะนำโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ดำเนินการอยู่แล้ว รวมถึงโครงการที่เคยลงนาม (MOU) กับทางหน่วยงานรัฐและเอกชนของต่างชาติ (ญี่ปุ่น-เกาหลี-จีน) นำมาเชื่อมโยงการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เช่น การสนับสนุนมาตรการให้ SMEs ลงทุนใน EEC, การให้นักลงทุนต่างชาติช่วยพัฒนา SMEs ไทย, การดึงนักลงทุนรายเล็ก SMEs เข้าไปเป็นซัพพลายเออร์เพื่อซัพพอร์ตให้กับนักลงทุนรายใหญ่ที่ลงทุนใน EEC ให้กลายเป็นคลัสเตอร์ในภาคอุตสาหกรรม

“อาจเรียกทีมนี้ว่า proactive หรืออะไรยังไม่ชัดเจน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเซตทีมขึ้นมา โดยยุบทีมเดิมที่เคยตั้งขึ้นให้เหลือเพียงทีมเดียว และเราจะสรุปรวมโครงการและแผนงานทั้งหมดที่จะเชื่อมโยงเข้าไปใน EEC เสนอต่อนายอุตตมพิจารณาต่อไป” นายสมชายกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2018 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

“อาคม”ตรวจรถไฟทางคู่นครปฐม-ชุมพร
6 สิงหาคม 2561 - 12:21
รมว.คมนาคม ลงพื้นที่ตรวจรถไฟทางคู่นครปฐม - ชุมพร ล่าสุดคืบหน้าเร็วกว่าแผน 0.78% สั่งทบทวนตั้งสถานีหัวหิน


...
ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้ รฟท. ดำเนินการ ออกแบบสถานีรถไฟหัวหินให้สวยงาม โดยอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมเดิม พิจารณาทบทวนที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง สถานีหัวหิน จากเดิมที่ได้ศึกษาออกแบบไว้อยู่ห่างจากตัวเมืองหัวหิน ประมาณ 7 กม. ให้อยู่ในตัวเมืองหัวหิน นำหัวรถจักรรถไฟที่จมอยู่ใต้สะพานจุฬาลงกรณ์ จ. เพชรบุรี ซึ่งเป็นหัวรถจักรที่ใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นจากน้ำ เพื่อจัดแสดงเป็นอนุสรณ์และเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ประสานงานกับทางจังหวัดเพชรบุรี และผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อหาแนวทางในการปรับแบบการก่อสร้างที่มีผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อไม่ให้การดำเนินโครงการฯ ล่าช้าเป็นต้น

“อาคม” ตรวจทางคู่ สายใต้ กำชับทบทวนที่ตั้งสถานีไฮสปีด “หัวหิน”
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 6 สิงหาคม 2561 - 17:41
ปรับปรุง: 6 สิงหาคม 2561 - 18:44



....
นายอาคมกล่าวว่า ได้กำชับให้ ร.ฟ.ท. ดำเนินการ
1) ออกแบบสถานีรถไฟหัวหินให้สวยงาม โดยอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมเดิม ปรับภูมิทัศน์สถานีให้สวยงาม ทำถนนหน้าสถานีเป็นรูปแบบการปูหินที่มีความสวยงาม
2) พิจารณาทบทวนที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง สถานีหัวหิน จากเดิมที่ได้ศึกษาออกแบบไว้อยู่ห่างจากตัวเมืองหัวหิน ประมาณ 7 กม. ให้อยู่ในตัวเมืองหัวหิน
3) นำหัวรถจักรรถไฟที่จมอยู่ใต้สะพานจุฬาลงกรณ์ จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นหัวรถจักรที่ใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นจากน้ำ เพื่อจัดแสดงเป็นอนุสรณ์และเป็นสถานที่ท่องเที่ยว

4) ประสานงานกับทางจังหวัดเพชรบุรี และผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อหาแนวทางในการปรับแบบการก่อสร้างที่มีผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อไม่ให้การดำเนินโครงการฯ ล่าช้า
5) ออกแบบสถานีรถไฟที่มีขนาดใหญ่ ให้มีที่จอดรถสาธารณะ มีสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการให้ครบถ้วน มีห้องน้ำอยู่ภายในอาคารสถานี ให้กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ก่อสร้างถนนเชื่อมสถานีรถไฟทุกสถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2018 8:05 pm    Post subject: Reply with quote

‘ศรีสุวรรณ’ จ่อฟ้องศาลทุจริตหากใช้เงื่อนไขประมูลเดิม หวังฮุบที่ดินมักกะสันเชื่อมโครงการรถไฟ 3 สนามบิน
วันที่ 5 สิงหาคม 2561 - 09:51 น.

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาคมฯได้ออกแถลงการณ์ ขอให้นายกรัฐมนตรีสั่งการให้มีการทบทวนและแก้ไขเงื่อนไขการประมูล(ทีโออาร์)โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ที่ส่อการทุจริตและประพฤติมิชอบ หลังจากสมาคมฯและเครือข่ายตรวจสอบภาคประชาชน สหภาพรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.) และผู้แทนสหภาพรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง ยื่นคำร้องถึงนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 ว่าการประกาศทีโออาร์โครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน มีการฮุบที่ดินกว่า 140 ไร่ บริเวณมักกะสันของ รฟท.เข้าไปรวมอยู่ในโครงการฯด้วยนั้น ถือว่าส่อไปในทางทุจริต กรณีทรัพย์สินของรัฐไปเอื้อประโยชน์ให้เอกชน

แถลงการณ์ระบุว่า 1.ทีโออาร์โครงการฯดังกล่าว จงใจขัดพระบรมราชโองการของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ที่ทรงเมตตาพระราชทานที่ดินบริเวณมักกะสันให้เป็นของ รฟท.เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในกิจการรถไฟเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ควรเป็นที่ดินในครอบครองของนายทุนเอกชนจะนำไปดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด

2.ทีโออาร์ได้ผนวกที่ดินของ รฟท.บริเวณมักกะสันกว่า 140 ไร่ไปให้เอกชนพัฒนาซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการขนส่งระบบราง ถือได้ว่าจงใจที่จะกระทำด้วยประการใดๆ ให้ที่ดินดังกล่าวตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนตลอดระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2560มาตรา ๕56ประกอบมาตรา 164 (1)(3)


3.ทีโออาร์จงใจที่จะประเมินราคาที่ดินบริเวณมักกะสันให้ต่ำกว่าความเป็นจริง 3-4 เท่า เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน เพราะตามที่รักษาการผู้ว่าฯ รฟท.แถลงว่าราคาที่ดินมักกะสันราคาเพียง 6 แสนบาทต่อตารางวา (ตรว.) แต่ราคาที่ดินบริเวณใกล้เคียงมีการซื้อขายกันถึง ตรว.ละ 1.8 ล้านบาท ที่ดินสถานทูตอังกฤษมีการซื้อขาย ตรว.ละ 2ล้านบาท ทำให้รัฐเสียประโยชน์ด้านมูลค่าที่ดินไปมากกว่า 286,400 ล้านบาท

4. โครงการฯดังกล่าว จงใจที่จะยึดแอร์พอร์ตเรลลิงค์มูลค่า 4หมื่นล้านบาทไปประเคนให้เอกชนในราคาเพียง 1.3 หมื่นล้านบาท ทำให้รฟท.ต้องแบกภาระหนี้จากการลงทุนต่อไปอีกเกือบ 3 หมื่นล้านบาท ชี้ให้เห็นว่ารัฐไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างเป็นธรรม

5.โครงการนี้จงใจเขียน “ล็อคสเปก” เพื่อ “ฮั้วประมูล” ให้เอกชนบางรายที่ตกเป็นข่าวเป็นการเฉพาะ เข้าข่ายความผิดตาม “พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 2542 เนื่องจากเป็นการผูกโยงโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน กับกิจกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โดยรอบสถานีเข้าด้วยกัน ทำให้มีเพียงกลุ่มนายทุนระดับชาติเพียงไม่กี่รายที่สามารถจับมือกับผู้ประกอบการรถไฟฟ้าความเร็วสูงจากต่างประเทศได้ จึงเป็นการเขียนทีโออาร์แบบล็อคสเปก เพื่อกีดกันนักลงทุนขนาดกลางและเล็กที่จะหมดสิทธิ์ในการเข้าร่วมประมูล และที่ดินมักกะสัน 140ไร่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา 3 จังหวัดของอีอีซีแต่อย่างใด



นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า หากรัฐบาลยังเดินหน้าโครงการโดยไม่มีการทบทวนหรือแก้ไขทีโออาร์ตามข้อเรียกร้อง ถือได้ว่านายกรัฐมนตรีและรักษาการผู้ว่า รฟท. จงใจจะใช้อำนาจไปในทางมิชอบและมีเจตนาที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนบางรายเป็นการเฉพาะสมาคมฯ และเครือข่ายจะใช้สิทธิร้องศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเพื่อหาข้อยุติ และสมาคมฯ จะเดินทางไปยื่นคำร้องเพิ่มที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ทำเนียบรัฐบาล ตึก กพร.เดิม ในวันที่ 6 สิงหาคมนี้

//--------------------


“ศรีสุวรรณ”จี้”บิ๊กตู่”ปลดรักษาการผู้ว่าการรถไฟฯพัฒนาที่ดินมักกะสันเอื้อเอกชน ทำรัฐสูญ8.4หมื่นล.
วันที่ 6 สิงหาคม 2561 - 10:44 น.

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 10.30 น.วันเดียวกันนี้ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย และสมาชิกสหภาพรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย จะเข้ายื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียน สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกฯ สั่งการให้มีการทบทวนและแก้ไขทีโออาร์โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่ส่อมีการทุจริตและประพฤติมิชอบ และสั่งการให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบวินัย และสั่งปลดรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นการเร่งด่วน

ทั้งนี้ นายศรีสุวรรณได้ให้เหตุผลของการเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบวินัยและสั่งปลดรักษาการผู้ว่าฯรฟท.เพราะเงื่อนไขในประกาศเชิญชวนการคัดเลือกเอกชนเพื่อเข้าร่วมการลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน-วันที่ 9 กรกฎาคม มีลักษณะส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ให้เอกชน อันเป็นการใช้อำนาจในทางปกครอง เพื่อกระทำที่ส่อไปในทางทุจริตผิดกฎหมาย และเป็นการประพฤติมิชอบ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 56 ประกอบมาตรา 164 (1) (3) อย่างชัดแจ้ง



นอกจากนั้น ยังถือได้ว่าจงใจที่จะประเมินราคาที่ดินบริเวณมักกะสันให้ต่ำกว่าความเป็นจริงถึง 3-4 เท่า เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน ซึ่งรักษาการผู้ว่าฯ รฟท.ได้เคยแถลงว่าราคาที่ดินมักกะสันตีราคาเพียง 6 แสนบาทต่อตารางวา (ตรว.) แต่ราคาที่ดินบริเวณใกล้เคียง เช่น ที่ดินโรงแรมปาร์คนายเลิศ กลับมีการซื้อขายกันถึงตารางวาละ 1.8 ล้านบาท ที่ดินสถานทูตอังกฤษมีการซื้อขายกันตารางวาละ 2 ล้านบาท ดังนั้นหากคำนวณมูลค่าที่ดินของ รฟท.ที่ต้องแบ่งให้โครงการนี้ไป 150 ไร่ หากคิดในราคาตารางวาละ 2 ล้านบาท จะได้ไร่ละ 800 ล้านบาทมีมูลค่าเท่ากับ 150 x 800 = 120,000 ล้านบาท แต่หากคิดคำนวณในราคาที่ดินตามที่ รักษาการผู้ว่า รฟท.เสนอในราคา 6 แสนบาท/ตรว. จะมีมูลค่าที่ดินเพียงไร่ละ 240 ล้านบาท หรือ 240 x 150 = 36,000 ล้านบาท ทำให้รัฐเสียประโยชน์ด้านมูลค่าที่ดินไปมากกว่า 84,000 ล้านบาท

“การกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคา หรือทีโออาร์ ในกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่า รัฐจะเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก จนไมอาจยอมรับได้ นายกฯ ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดฝ่ายบริหาร เมื่อทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว ควรที่จะพิจารณาสั่งให้มีการทบทวน แก้ไขเงื่อนไขการประมูลดังกล่าวเสียโดยเร็ว และขอให้ตั้งคณะกรรมการสอบวินัยและปลดรักษาการผู้ว่าฯ รฟท. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการเขียนหรือกำกับการเขียนทีโออาร์ที่ทำให้รัฐเสียหาย แต่หากนายกฯ ยังเพิกเฉย สมาคมฯ จะนำความขึ้นร้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและศาลปกครอง เพื่อหาข้อยุติที่เป็นธรรมต่อการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติต่อไป แม้ในอนาคตท่านจะหมดอำนาจไปแล้ว” นายศรีสุวรรณกล่าว

//-----------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2018 8:09 pm    Post subject: Reply with quote

ชงส่วนขยาย”ไฮสปีด”ถึงระยอง อุตฯตั้งทีมProactive หนุนอีอีซี
วันที่ 4 August 2018 - 23:11 น.

บอร์ดเฉพาะกิจ EEC เตรียมเสนอบอร์ดใหญ่อนุมัติศึกษาส่วนต่อขยาย “อู่ตะเภา-ระยอง” ไอสปีดเชื่อม 3 สนามบิน 30 กม. เงินเพิ่มเหยียบหมื่นล้านใช้รูปแบบ PPP เส้นทางใหม่เวนคืนที่ดินเลี่ยง “มาบตาพุด” คาดเชิญชวนนักลงทุนไตรมาส 1 ปี”63 กระทรวงอุตสาหกรรมตั้งทีมใหม่ Proactive ผลักดันโครงการเต็มรูปแบบ



ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานการประชุม คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 1/2561 ในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ว่า ที่ประชุม “รับทราบ” ส่วนต่อขยายโครงการรถไฟความเร็วสูงจากอู่ตะเภาไปยังจังหวัดระยอง ระยะทาง 30 กม. จำนวน 1 สถานี มูลค่าลงทุนจะเพิ่มเป็นหลัก 10,000 ล้านบาท โดยจะเป็นส่วนต่อขยายจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่มีระยะทาง 220 กม. มูลค่าลงทุน 300,000 ล้านบาท โดยจะใช้ระยะเวลาเริ่ม 18 เดือนจึงจะเสร็จสิ้นขั้นตอนอนุมัติ

“ส่วนต่อขยายอู่ตะเภา-ระยอง ทาง กบอ.จะนำเรื่องเสนอต่อ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ด EEC) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 10 สิงหาคมนี้ เพื่อให้บอร์ด EEC รับทราบและพิจารณาอนุมัติเริ่มทำการศึกษาส่วนต่อขยายต่อไป” นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองประธาน กบอ.กล่าว



ทั้งนี้ กรอบการดำเนินการส่วนต่อขยายจะเริ่มทำการศึกษาออกแบบในเดือนพฤศจิกายน 2561 ใช้เวลา 4 เดือนแรก ผลการศึกษาก็จะแล้วเสร็จ จากนั้นไตรมาส 4/2562 ก็จะเริ่มทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จากนั้นไตรมาส 1/2563 จะออกประกาศเชิญชวนนักลงทุนจนถึงไตรมาส 4/2563 ก็จะลงนามสัญญาและเปิดให้บริการภายในปี 2567 โดยส่วนต่อขยายนี้จะเป็นสัญญาใหม่ในรูปแบบการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชน (PPP)

“เดิมเส้นทางรถไฟไฮสปีด การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เคยทำการศึกษาไว้แล้วจากช่วงดอนเมืองไประยอง สถานีสุดท้ายหยุดที่อู่ตะเภา ส่วนการจะเดินรถไปจนถึงระยองนั้นจะผ่ากลางเข้ามาบตาพุด ซึ่งเรากังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการศึกษาเส้นทางใหม่กลายมาเป็นโครงการส่วนต่อขยายอู่ตะเภาไประยองเส้นใหม่ที่จะอ้อมมาบตาพุด โครงการนี้จะต้องมีการเวนคืนพื้นที่บ้างบางส่วน และต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ จากเดิมที่จะใช้เส้นรถไฟเก่าเลียบชายหาด เมื่อเส้นส่วนต่อขยายเส้นนี้เสร็จ รัฐบาลมีแผนที่จะศึกษาส่วนต่อขยายไปยังจังหวัดจันทบุรี และตราด ในโอกาสถัดไป” นายกอบศักดิ์กล่าว

ขยับแนวเลี่ยงมาบตาพุด

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ได้รายงานความคืบหน้าการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กม. ที่ให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost 50 ปี เงินลงทุนกว่า 224,000 ล้านบาท และเตรียมศึกษา “ส่วนต่อขยาย” จากอู่ตะเภาไประยอง และตราด เพื่อให้คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) รับทราบ โดยจะเร่งศึกษาส่วนต่อขยายไประยอง ระยะทางประมาณ 30-40 กม. ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และจะมีสถานีจอดรถที่ระยองด้วย

“ตามแผนเดิมจะสร้างจากกรุงเทพฯ-ระยองอยู่แล้ว แต่เมื่อมี EEC จึงตัดสร้างถึงอู่ตะเภาก่อน เพราะช่วงจากอู่ตะเภา-ระยอง แนวเส้นทางจะต้องตัดผ่านพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จะต้องใช้เวลาพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) นาน จำเป็นที่จะต้องปรับแนวใหม่ไม่ให้เข้าไปในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยแนวใหม่อาจจะขยับไปตรงพื้นที่ว่างที่อยู่ด้านซ้ายและด้านขวาแทน จะต้องมีการเวนคืนที่ดินเพิ่มหรือจะเบี่ยงแนวไปใช้พื้นที่ทางหลวงหมายเลข 3 สัตหีบ-บ้านฉาง-ระยอง ของกรมทางหลวง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการศึกษา ขณะที่ที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูงระยองจะห่างจากศูนย์กลางเมืองประมาณ 4 กม. ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจุดตัดของถนน 36 กับถนน 3138” นายวรวุฒิกล่าว

ส่วนต่อขยายอู่ตะเภา-ระยอง จะเป็นการลงทุนเฟสที่ 2 เอกชนที่เข้าร่วมประมูลหากมีที่ดินรองรับก็สามารถเสนอแผนลงทุนเพิ่มเติมได้ โดยเสนอเข้ามาเป็นซองที่ 4 ถ้าหากมองว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงการได้ เพราะผลการศึกษาเดิมระบุไว้อยู่แล้วว่า โครงการจะคุ้มทุนก็ต่อเมื่อสร้างไปถึงระยอง เนื่องเป็นแหล่งงานและที่อยู่อาศัยทั้งคนไทยและต่างชาติ

ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ด EEC) กล่าวว่า นอกเหนือจากโครงการส่วนต่อขยายอู่ตะเภา-ระยองแล้ว ที่ประชุม กบอ.ยังรับทราบ 3 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) ความคืบหน้าการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 2) ความก้าวหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ระยะที่ 1, โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3, โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 และ 3) โครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ที่ได้ดึงเข้าไปเป็นโครงการที่ใช้รูปแบบการลงทุนแบบ PPP เพื่อต้องการให้ได้นักลงทุนผู้บริหารพื้นที่ที่มีคุณภาพและเก่ง (master developer) เรื่องการก่อสร้างเพื่อเป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะ (smart city)

ตั้งทีม Proactive

ส่วนความคืบหน้าด้านอื่น ๆ นั้นในระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคมนี้ นายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (เทียบเท่ารองนายกรัฐมนตรี) ซึ่งจะเดินทางมาประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) มีกำหนดการจะลงพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วย ทางสำนักงาน EEC ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว และอาจใช้โอกาสนี้เจรจาให้นักลงทุนรายใหญ่ที่เดินทางร่วมมากับคณะอย่าง “หัวเว่ย” ได้เห็นศักยภาพและโอกาสของ EEC เช่นกัน

นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้ตั้ง “ทีม Proactive” ขึ้นมา เพื่อที่จะนำโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ดำเนินการอยู่แล้ว รวมถึงโครงการที่เคยลงนาม (MOU) กับทางหน่วยงานรัฐและเอกชนของต่างชาติ (ญี่ปุ่น-เกาหลี-จีน) นำมาเชื่อมโยงการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เช่น การสนับสนุนมาตรการให้ SMEs ลงทุนใน EEC, การให้นักลงทุนต่างชาติช่วยพัฒนา SMEs ไทย, การดึงนักลงทุนรายเล็ก SMEs เข้าไปเป็นซัพพลายเออร์เพื่อซัพพอร์ตให้กับนักลงทุนรายใหญ่ที่ลงทุนใน EEC ให้กลายเป็นคลัสเตอร์ในภาคอุตสาหกรรม

“อาจเรียกทีมนี้ว่า proactive หรืออะไรยังไม่ชัดเจน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเซตทีมขึ้นมา โดยยุบทีมเดิมที่เคยตั้งขึ้นให้เหลือเพียงทีมเดียว และเราจะสรุปรวมโครงการและแผนงานทั้งหมดที่จะเชื่อมโยงเข้าไปใน EEC เสนอต่อนายอุตตมพิจารณาต่อไป” นายสมชายกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/08/2018 7:15 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.แจง5ข้อ ปมทีโออาร์รถไฟเชื่อม3สนามบิน
กรุงเทพธุรกิจ 6 สิงหาคม 2561

รักษาการผู้ว่าฯรฟท. ปัดล็อกสเปก แจง5ข้อ ปมทีโออาร์โครงการรถไฟเชื่อม3สนามบิน หลัง “ศรีสุวรรณา” ร้องนายกฯให้ทบทวน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงประเด็น นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษณ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีสั่งการให้มีการทบทวนและแก้ไขทีโออาร์ โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เนื่องจากมีแนวโน้มส่อการทุจริต

ขอชี้แจงในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1) TOR มีเจตนาทำให้ที่ดินบริเวณมักกะสันที่เป็นของ ร.ฟ.ท. กลายเป็นที่ดินในครอบครองของนายทุนเอกชน

ข้อชี้แจง ที่ดินที่มักกะสัน ได้ดำเนินการในลักษณะที่ให้เอกชนเช่าพื้นที่ของการรถไฟฯ โดยมีการคิดค่าเช่าตามระเบียบของการรถไฟฯ และตามผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาเมื่อต้นปี 61 ซึ่งการรถไฟฯ มีแผนงานที่จะดำเนินการในลักษณะนี้อยู่แล้ว แม้ว่าจะไม่มีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

2) TOR ได้ผนวกที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณมักกะสันกว่า 140 ไร่ไปให้เอกชนพัฒนา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการขนส่งระบบราง และให้ที่ดินดังกล่าวตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนตลอดระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี (+49 ปี) อันส่อไปในทางขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2560

ข้อชี้แจง ที่ดินที่จะให้เอกชนเช่าตามข้อ 2. มีขนาดพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ และให้เช่ารวมระยะเวลาในการก่อสร้างเป็นระยะเวลา 50 ปีเท่านั้น ไม่มีเงื่อนไขต่อหรือขยายระยะเวลาใน TOR และสัญญา โดยการรถไฟฯ จะมีค่าเช่าตลอดอายุสัญญา ประมาณ 51,000 ล้านบาท หลังจากสัญญาเช่าหมด ทรัพย์สินที่เกิดจากการลงทุนทั้งหมดจะตกเป็นทรัพย์สินของการรถไฟฯ ในลักษณะเช่นเดียวกับ โครงการห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล ลาดพร้าว ซึ่งสัญญาเช่ารอบแรกสิ้นสุดเมื่อปี 2551 ค่าเช่าปีสุดท้ายประมาณ 10 ล้านบาท ภายหลังจากทรัพย์สินจากสัญญาเช่าตกเป็นของการรถไฟฯ แล้ว โครงการมีมูลค่าผลตอบแทนตลอด 20 ปี ประมาณ 21,000 ล้านบาท

3) TOR มีเจตนาที่จะประเมินราคาที่ดินบริเวณมักกะสันให้ต่ำกว่าความเป็นจริง 3-4 เท่า เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน

ข้อชี้แจง การประเมินมูลค่าที่ดิน การรถไฟฯ ได้ให้ที่ปรึกษาที่มีวิชาชีพประเมินดำเนินการตามหลักการ และวิธีการที่สากลยอมรับ โดยใช้ฐานข้อมูลที่ดินในตลาด ซึ่งมีทำเลใกล้เคียงกับที่ดินแปลงดังกล่าว ในโครงการ

4) TOR มีเจตนาที่จะยึดแอร์พอร์ตเรลลิงก์ มูลค่า 4 หมื่นล้านบาท ไปให้เอกชนในราคาเพียง 1.3 หมื่นล้านบาท ทำให้ร.ฟ.ท.ยังคงต้องแบกภาระหนี้จากการลงทุนต่อไปอีกเกือบ 3 หมื่นล้านบาท แสดงให้เห็นว่า รัฐไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างเป็นธรรมแต่อย่างใด

ข้อชี้แจง โครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ปัจจุบันมีหนี้ประมาณ 33,229 ล้านบาท และการดำเนินงานแอร์พอร์ตเรลลิงก์ขาดทุนทุกปีประมาณ 300 ล้านบาท ถ้าปล่อยแบบนี้ต่อไป การรถไฟฯ จะเป็นหนี้สะสมเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากการดำเนินงาน โดยเอกชนคาดว่าจะไม่ขาดทุน และเอกชนมาบริหารจะให้บริการที่ดีขึ้น มีรายได้มากขึ้นกว่าที่โครงการเดิมดำเนินการอยู่ ใน TOR รัฐจึงให้เอกชนต้องจ่ายสิทธิการบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ให้การรถไฟฯ ไม่น้อยกว่า 10,671 ล้านบาท (คิดจากค่าเสียโอกาสรายได้ หากการรถไฟฯ ดำเนินโครงการเอง ประการสำคัญ การขาดทุนของแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่เป็นอยู่ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มบริการให้เท่ากับความต้องการของประชาชนได้เต็มที่ ดังนั้น เอกชนที่เข้ามาบริหารต้องการเพิ่มการลงทุน และสอดคล้องกับความต้องการ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริการต่อประชาชนได้อย่างเต็มที่

5) TOR มีเจตนาเขียน “ล็อคสเปก”เพื่อ“ฮั้วประมูล” ให้เอกชนบางราย จึงเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 2542

ข้อชี้แจง นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ได้ให้นโยบายไว้ว่า การประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการ PPP หลัก ใน EEC ต้องเป็นแบบเปิดกว้างแบบนานาชาติ หรือ International Bidding โดยรายละเอียดหลักการดังกล่าว ได้ผ่านการพิจารณาของ กพอ. ในการประชุมครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2561 และคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเมื่อการประชุมวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูง ได้นำหลักการดังกล่าวประกอบการจัดทำเอกสารคัดเลือกเอกชน และมีบริษัทเอกชนมาซื้อเอกสารจำนวน 7 บริษัท ญี่ปุ่น จำนวน 4 บริษัท ฝรั่งเศส จำนวน 2 บริษัท มาเลเซีย จำนวน 2 บริษัท อิตาลี จำนวน 1 บริษัท และเกาหลีใต้ จำนวน 1 บริษัท แสดงว่าเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ต้องการเปิดกว้างให้มีการแข่งขันแบบนานาชาติ เอกชนต่างประเทศมีความเชื่อถือว่า โครงการเป็นแบบเปิดกว้าง ไม่ล็อคสเปค
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2018 9:59 pm    Post subject: Reply with quote

แย้มทีโออาร์ไฮสปีดอีอีซียันโปร่งใส ผู้ชนะต้องอุ้มหนี้แอร์พอร์ตลิงค์
วันที่ 08 สิงหาคม 2561 เวลา 12:28 น.

ไพศาล เตือน คนเอาที่ดินรถไฟมักกะสัน ให้เจ้าสัวหาประโยชน์ ระวังจะเดือดร้อน
วันที่ 7 สิงหาคม 2561 เวลา 17:08 น.

ประเคนที่ดินมักกะสัน ให้ทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 6 สิงหาคม 2561 เวลา 00:16



จับตารัฐบาลเตรียมยกกิจการการรถไฟในส่วนกำไรให้เอกชนมาร่วมทุนและบริหาร ส่วนระบบรางที่ต้องใช้งบประมาณ จะเก็บไว้ให้การรถไฟฯ ดูแล และลงทุนเอง เห็นได้จากความไม่ชอบมาพากล ผนวกเอาที่ดินมักกะสันให้กับกลุ่มทุนใหญ่ ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แถมตั้งราคาเช่าที่ดินต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมหาศาล จี้รัฐบาลทบทวน TOR

น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และอดีตส.ว. โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "รสนา โตสิตระกูล" หัวข้อ "จับตาการล็อกสเปกที่ดินมักกะสัน ให้กับกลุ่มทุนใหญ่ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน"

การรถไฟฯ เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสาธารณะด้านคมนาคมต่อประชาชนด้วยราคาย่อมเยา อันเป็นพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และเป็นเจตนารมณ์ ในการก่อตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อให้รัฐจัดทำกิจการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน

แม้การรถไฟไทยจะขาดทุน มีหนี้เป็นแสนล้าน ส่วนหนึ่งเพราะเจตนารมณ์ของรถไฟไทย คือเป็นบริการสาธารณะให้ประชาชนในราคาถูก จึงไม่เคยปรับราคาค่ารถไฟ ตั้งแต่ปี 2528 แต่แม้การรถไฟฯจะขาดทุนเป็นแสนล้านบาท แต่ก็มีทรัพย์สินที่เป็นที่ดินทำเลทองจำนวนมาก ที่มีมูลค่ารวมๆ แล้วกว่า 6 แสนล้านบาท ดังตัวอย่างที่ดินมักกะสัน ที่เป็นที่หมายปองของกลุ่มทุนรายใหญ่ในประเทศ

รัฐบาล คสช.เข้ามาจัดการกับรัฐวิสาหกิจหลายๆ แห่งในลักษณะการจะแยกทรัพย์สิน และผ่องถ่ายกิจการที่สามารถหากำไรได้ ไปให้เอกชน ใช่หรือไม่

กรณีการรถไฟฯ รัฐบาล คสช. มีแนวทางจะแยกเป็น 3 บริษัท คือ บริษัทบริหารทรัพย์สิน บริษัทเดินรถ และบริษัทระบบราง มีแนวโน้มว่ารัฐบาลจะให้ 2 บริษัทแรก ที่สามารถทำกำไรได้ จะให้เอกชนมาร่วมทุนและบริหาร อาจเป็นกระบวนการแปรรูปที่หลีกเลี่ยง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ใช่หรือไม่ ส่วนระบบรางที่ต้องใช้งบประมาณ จะเก็บไว้ให้การรถไฟฯ ดูแล และลงทุนเอง ใช่หรือไม่

ข้ออ้างของรัฐบาลคือ รัฐวิสาหกิจบริหารขาดทุน ไม่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นเหตุผลที่จะยกกิจการส่วนกำไรให้เอกชนบริหาร ใช่หรือไม่

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย เล่าว่า “ผมไปเจออาจารย์ท่านหนึ่ง นั่งรถไฟจากกรุงเทพฯไปดอนเมือง เขาบอกว่า ค่าโดยสาร 4 บาท ตั้งแต่เป็นอาจารย์ จนแต่งงาน มีภรรยา ก็ยัง 4 บาท ผมมีลูก จนลูกผมโตก็ 4 บาท ลูกเรียนจบ ทำงานแล้วก็ยัง 4 บาท อยู่อย่างนี้ นี่ไงครับ ผมถึงบอกรถไฟเป็นบริการสาธารณะ จะขึ้นค่าโดยสารทียากมากๆ”

กิจการอย่างการรถไฟ เป็นการบริการสาธารณะ รัฐบาลในอดีตจึงมีนโยบายรับภาระขาดทุนเพื่อให้ค่าเดินทางมีราคาต่ำ เพื่อช่วยเหลือประชาชนคนรายได้น้อย จึงไม่มีการปรับราคามากว่า 30 ปี

หากรัฐบาลอ้างว่าการรถไฟฯ ขาดทุน จึงต้องแยกกิจการเดินรถให้เอกชนบริหาร เอกชนก็ทำได้ทางเดียวคือ ขึ้นราคาค่าโดยสารเอากับประชาชนอย่างเป็นธรรม วิธีแก้ปัญหาแบบนี้ไม่ต้องให้เอกชนทำ เพราะการรถไฟฯ ก็ทำได้ หากรัฐมีนโยบายไม่ให้กิจการรถไฟขาดทุนดังที่เป็นอยู่และรายได้ทุกบาททุกสตางค์ ก็จะยังตกอยู่กับรัฐซึ่งก็คือกลับคืนไปสู่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจตัวจริงนั่นเอง

ทางที่เหมาะสม รัฐบาลควรกำหนดนโยบายหารายได้อย่างยั่งยืนจากทรัพย์สินที่มีอยู่ เพื่อมาจุนเจือการขาดทุนในส่วนของบริการเพื่อให้การรถไฟฯ อยู่ได้ และให้บริการสาธารณะที่มีมาตรฐานแก่ประชาชนต่อไป ด้วยราคาที่เป็นธรรม มิใช่ยกทรัพย์สินที่ดินไปให้เอกชนทำกำไร รวมทั้งยกกิจการการเดินรถให้เอกชนผูกขาดค้ากำไร เพราะประชาชนจะเดือดร้อนจากการคิดราคาค่าโดยสารแบบธุรกิจเอกชน

รัฐบาล คสช.มีแนวโน้มถ่ายโอนทรัพย์สินและกิจการของรัฐวิสาหกิจในส่วนของการเดินรถที่หากำไรได้ไปให้กลุ่มทุนใหญ่ ใช่ หรือไม่ ดังจะเห็นได้จากการผนวกเอาที่ดินมักกะสัน ไปเชื่อมโยงกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ที่เตรียมเปิดให้เอกชนยื่นซองประมูลแข่งขันกัน ในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

การโยงโครงการรถไฟความเร็วสูงเข้ากับกิจกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว มีความไม่ชอบมาพากล ซึ่งอาจทำให้ตั้งข้อสังเกตได้หรือไม่ว่า เป็นการล็อกสเปกให้กับกลุ่มทุนระดับชาติเพียงไม่กี่ราย ที่สามารถจับมือกับผู้ประกอบกิจการรถไฟความเร็วสูงในต่างประเทศที่จะเข้าครอบครองที่ดินแปลงนี้ และยังมีการตั้งราคาเช่าที่ดินต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงอย่างมหาศาล ยิ่งกว่านั้น ยังมีแผนจะโอนกิจการแอร์พอร์ตลิงก์ ให้เอกชนบริหาร โดยให้เอกชนจ่ายชดเชยให้การรถไฟฯ เพียง 1.3 หมื่นล้านบาท ทั้งๆ ที่ในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว การรถไฟฯ ใช้เงินงบประมาณกว่า 4 หมื่นล้านบาท และการรถไฟฯ ยังมีหนี้ที่ต้องผ่อนชำระอีก 3 หมื่นล้านบาท

การดำเนินการดังกล่าว จึงถูกตั้งคำถามว่าเป็นโครงการที่อาจทำให้รัฐและประชาชนเสียประโยชน์อย่างมโหฬารหรือไม่ หรือมิฉะนั้นอาจมีการตั้งคำถามว่า นี่เป็นการทุจริตคอร์รัปชันขนาดใหญ่ หรือไม่ ที่เปิดให้มีการถ่ายโอนทรัพย์สินและกิจการของรัฐไปให้เอกชน โดยยอมให้รัฐได้รับเงินชดเชยต่ำกว่าเงินที่รัฐลงทุน เป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนโดยไร้เหตุผลหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีการตีมูลค่าที่ดินมักกะสันเพื่อให้เช่า 50+49ปี ในราคาเพียงตารางวาละ 6 แสนบาท ทั้งๆ ที่ที่ดินในบริเวณใกล้เคียงมีมูลค่า 1.8-2 ล้านบาทต่อตารางวา

โดยที่โครงการแอร์พอร์ตลิงก์ เป็นโครงการที่รัฐลงทุนเอง บริหารเอง ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่รัฐทำเองครบทุกเรื่องเกี่ยวกับระบบราง รัฐบาลจึงควรส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจบริหารกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดการทุจริตคอร์รัปชัน ให้เป็นต้นแบบในการที่รัฐจะบริหารระบบขนส่งทางรางให้สมบูรณ์แบบดังพระราชปณิธานที่พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงริเริ่มการรถไฟไทยขึ้น พร้อมให้ทรัพย์สินที่ดินเพื่อการพัฒนารัฐวิสาหกิจไทยด้านการคมนาคมทางรางอย่างทันสมัยเป็นที่พึ่งของประชาชน รัฐบาลเป็นเพียงผู้บริหาร มิใช่เจ้าของทรัพย์สินสาธารณะ ดังนั้นจึงไม่ควรยกกิจการและทรัพย์สินสาธารณะมูลค่ามหาศาลเหล่านี้ให้แก่เอกชนง่ายๆ ดังที่กำลังทำอยู่ โดยไม่ไถ่ถามประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินตัวจริง

โครงการรวบหัวรวบหางทรัพย์สิน และกิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการของรัฐให้เอกชนทำแทนรัฐวิสาหกิจ ย่อมทำให้เกิดคำถามในความโปร่งใสของรัฐบาล คสช.หรือรัฐบาลใดก็ตามที่มีนโยบายเกี่ยวกับกิจการรัฐวิสาหกิจในลักษณะดังกล่าว จนอาจขาดความชอบธรรมในการที่รัฐบาลจะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของประชาชนต่อไป ใช่หรือไม่ ??

**จี้รัฐบาลทบทวนTOR

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ออกแถลงการณ์ ขอให้นายกฯ สั่งการให้ทบทวน และแก้ไขทีโออาร์ โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ที่ส่อมีการทุจริต และประพฤติมิชอบ เนื่องจากเงื่อนไขการประมูล (TOR)โครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งมีการผนวกเอาที่ดินกว่า 140 ไร่ บริเวณมักกะสัน ของการรถไฟฯ เข้าไปรวมอยู่ในโครงการฯด้วย ถือว่าเป็นการกระทำที่ส่อไปในทางทุจริต ที่นำทรัพย์สินของรัฐ ไปเอื้อประโยชน์ให้เอกชน จงใจขัดพระบรมราชโองการ ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ที่ทรงเมตตาพระราชทานที่ดินบริเวณมักกะสัน ให้เป็นของการรถไฟฯ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อความสุขของประชาชนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ให้นายทุนนำไปแสวงหากำไร

การนำที่ดินกว่า 140ไร่ดังกล่าว ไปให้เอกชนพัฒนา จึงถือได้ว่าจงใจที่จะให้ที่ดินดังกล่าว ตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน ตลอดระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี (+49 ปี) อันส่อไปในทางขัดต่อ รธน. มาตรา 56 ประกอบมาตรา 164 (1)(3) อย่างชัดแจ้ง อีกทั้ง จงใจที่จะประเมินราคาที่ดินดังกล่าว ให้ต่ำกว่าความเป็นจริง 3-4 เท่า ทำให้รัฐเสียประโยชน์ด้านมูลค่าที่ดิน ไปกว่า 2.8 แสนล้านบาท

โครงการฯ ดังกล่าว ยัง จงใจเขียน “ล็อกสเปก”เพื่อ “ฮั้วประมูล” ให้เอกชนบางรายเป็นการเฉพาะ เข้าข่ายความผิดตาม “พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 2542 ” เนื่องจากเป็นการผูกโยงโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน กับกิจกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในพื้นที่โดยรอบสถานีเข้าด้วยกัน ทำให้จะมีเพียงกลุ่มนายทุนระดับชาติ เพียงไม่กี่รายที่สามารถจับมือกับผู้ประกอบการรถไฟฟ้าความเร็วสูงจากต่างประเทศได้ จึงเป็นการเขียน TOR แบบล็อกสเปก เพื่อกีดกันนักลงทุนขนาดกลาง และเล็ก ที่จะหมดสิทธิ์ในการเข้าร่วมประมูล

ดังนั้น หากรัฐบาลยังคงเดินหน้าโครงการฯ โดยไม่มีการทบทวน หรือแก้ไข TOR ตามข้อเรียกร้องนี้ ถือว่า นายกรัฐมนตรี และ รักษาการผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. จงใจที่จะใช้อำนาจไปในทางมิชอบ และมีเจตนาที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนบางราย เป็นการเฉพาะ ซึ่งทางสมาคมฯ จำเป็นต้องใช้สิทธิในการนำความขึ้นร้องต่อ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อหาข้อยุติ ในเรื่องนี้ โดยตนจะไปยื่นคำร้องเพิ่มเติมต่อ นายกรัฐมนตรี ณ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนทำเนียบรัฐบาล ในวันนี้ ( 6 ส.ค.61) เวลา 10.30 น.

//---------------------
ยื่น"บิ๊กตู่"ปลดผู้ว่าฯรฟท. ทำรัฐเสียหาย8.4หมื่นล.
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันที่ 7 สิงหาคม 2561 เวลา 01:40

ผู้จัดการรายวัน360-สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่น "บิ๊กตู่" สั่งรื้อทีโออาร์โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน หลังพบส่อทุจริต ยกที่ดินให้เอกชนในราคาต่ำเกินจริง ทำรัฐเสียประโยชน์จากมูลค่าที่ดิน 8.4 หมื่นล้าน พร้อมขอให้ตั้งกรรมการสอบวินัยและปลดรักษาการผู้ว่าฯ รฟท. ออกจากตำแหน่ง



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (6 ส.ค.) ที่ศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้ทบทวนและแก้ไขทีโออาร์โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่ส่อมีการทุจริตและประพฤติมิชอบ

นายศรีสุวรรณกล่าวว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ยังคงเดินหน้าเปิดประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ทั้งๆ ที่ได้ยื่นหนังสือถึงนายกฯ เพื่อคัดค้านร่างทีโออาร์โครงการดังกล่าวที่จะมีการใช้ที่ดินบริเวณมักกะสันไปแล้วตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทั้งที่เป็นเรื่องกระทบต่อความเสียหายของชาติอย่างชัดเจน เนื่องจากที่ดินบริเวณมักกะสัน ที่ รฟท.ต้องแบ่งให้โครงการจำนวน 150 ไร่นั้น ถูกประเมินราคาไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง ถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน

"ที่ดินบริเวณใกล้เคียง เช่น ที่ดิน รร.ปาร์คนายเลิศ มีการซื้อขายกันถึงตารางวาละ 1.8 ล้านบาท ที่ดินสถานทูตอังกฤษตารางวาละ 2 ล้านบาท แต่ที่ดินบริเวณมักกะสัน ที่ รฟท. ให้เอกชนคิดตารางวาละ 6 แสนบาท เท่ากับว่าจะได้ค่าที่ดินประมาณ 3.6 หมื่นล้าน แต่ถ้าคิดที่ตารางวาละ 2 ล้าน ที่ดินจะมีมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท เมื่อคำนวณแล้ว พบว่า จะทำให้รัฐเสียประโยชน์ด้านมูลค่าที่ดินไปมากกว่า 8.4 หมื่นล้านบาท"

ทั้งนี้ ได้ยืนยันว่า เมื่อนายกฯ รับทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว ควรพิจารณาสั่งการให้มีการทบทวนและแก้ไขเงื่อนไขการประมูลโดยเร็ว และขอให้ตั้งคณะกรรมการสอบวินัยและปลดรักษาการผู้ว่า รฟท. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการเขียนและกำกับทีโออาร์ แต่หากนายกฯ ยังเพิกเฉย สมาคมฯ จะนำเรื่องนี้ร้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและศาลปกครองต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2018 11:49 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเชื่อมจีนดันการค้าพุ่ง
วันที่ 09 สิงหาคม 2561 เวลา 06:45 น.

จีนคาดรถไฟความเร็วสูง 2 เส้น ดันยอดนักท่องเที่ยว 100% เมกะโปรเจกต์หนุนการค้าพุ่ง 35%

นายกวน มู เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นกรุงเทพฯ-หนองคายและรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการเดินทางและการ ท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะจะเอื้อให้นักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว หรือ 100% จากปัจจุบันอยู่ที่ปีละ 10 ล้านคน

ทั้งนี้ เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงเส้นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ สามารถเชื่อมจากเมืองคุนหมิงทางตอนใต้มายังไทยเพียง 10ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันรถไฟความเร็วสูงช่วงคุนหมิง-บ่อเต็น ใกล้จะแล้วเสร็จ ขณะที่ช่วงบ่อเต็น-เวียงจันทน์ ดำเนินการไปมากกว่า 40% ดังนั้นรถไฟช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะเชื่อมเส้นทางท่องเที่ยว R3A จีนตอนใต้-ลาว-เชียงของ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยต้องเร่งพัฒนาโรงแรมและที่พัก คุณภาพบริการรองรับรสนิยมของทัวร์จีนให้มากขึ้น เพื่อโกยรายได้ที่จะเกิดขึ้นมหาศาล

นายกวน มู กล่าวอีกว่า ช่วงระยะเวลา 5-10 ปีนับจากนี้ ภายหลังโครงการรถไฟความเร็วสูงและแผนพัฒนาท่าเรือขนาดใหญ่ในซีแอลเอ็มวี รวมถึงพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ของไทยแล้วเสร็จ จะส่งผลให้การค้าไทย-จีนเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.5 ล้านล้านบาท เติบโต 35% จากมูลค่าการค้าปีก่อนไทย-จีนเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.5 ล้านล้านบาท เติบโต 35% จากมูลค่าการค้าปีก่อนอยู่ที่ราว 2.59 ล้านล้านบาท ดังนั้นเมื่อโครงสร้างพื้นฐานตามเส้นทางสายไหมของจีนทยอยแล้วเสร็จจะทำให้ลดต้นทุนการค้ามากขึ้น และผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าเกษตร
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2018 5:33 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเปิดประมูลรถไฟไฮสปีดไทย-จีนส่งท้ายปี61
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 15 ส.ค. 2561 เวลา 12:27 น.

คมนาคมเปิดประมูลงานรถไฟไฮสปีด 1 แสนล้านบาทส่งท้ายปี 61 คิ๊กอ๊อพก่อนเดือนหน้า 1.5 หมื่นล้านบาท ด้านปมสัญญา 2.3 ยังไม่จบ

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่าความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วเฟส 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ภายหลังจากการประชุมร่วมไทย-จีนครั้งที่ 25 โดยประเด็นหลักที่มีการหารือในครั้งนี้คือสัญญาที่ 2.3 งานระบบ จัดหาไฟฟ้า และฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้ตีกลับข้อสรุปถอดแบบประมาณราคาค่าใช้จ่ายของโครงการ (BOQ) โดยให้จีนไปใส่รายละเอียดเพิ่มขึ้นพร้อมส่งกลับมาให้ฝ่ายไทยอีกครั้งภายใน 2 สัปดาห์

ทั้งนี้ยืนยันว่ากรอบเวลายังคงเป็นไปตามแผนเดิมคือลงนามสัญญากับฝ่ายจีนภายในปีนี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้รฟท.อยู่ระหว่างร่างเงื่อนไขเพื่อเปิดประกวดราคาจัดจ้างที่ปรึกษาเข้ามาศึกษาพร้อมออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างเฟส 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย คาดว่าจะได้ตัวที่ปรึกษาภายในปีนี้และเริ่มงานได้ในปี 2562 โดยมีฝ่ายจีนเป็นที่ปรึกษา

ด้านแหล่งข่าวกระทรวงคมนาคมเปิดกล่าวว่าขณะนี้ฝ่ายจีนได้ดำเนินการส่งรายละเอียดออกแบบและก่อสร้างทั้งหมด 14 ตอนมาแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างทยอยตรวจสอบและส่งกลับไปให้จัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมในบางตอนที่แบบยังไม่ชัดเจน อาทิ วัสดุก่อสร้าง แบบก่อสร้างและสัดส่วนปริมาณงานเป็นต้น ดังนั้นจึงมั่นใจว่าภายในเดือนก.ย.นี้จะสามารถเปิดประมูลงานโยธาได้ 2 สัญญา วงเงินรวม 1.5 หมื่นล้านบาท

เริ่มจากสัญญาก่อสร้าง ตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 5 พันล้านบาท ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ถอดแบบราคาและร่างเอกสารประกวดราคา(TOR) ใกล้เสร็จแล้วจะสามารถเปิดประมูล E-bidding ได้ในช่วงกลางเดือนหน้า ส่วนสัญญาก่อสร้างตอนที่ 3 ช่วงสถานีจันทึก-สถานีคลองไผ่ วงเงินราว 1 หมื่นล้านบาทนั้นขณะนี้ฝ่ายจีนอยู่นะหว่างทำข้อมูลเพิ่มเติมจะเสนอกลับเร็วๆนี้เพื่อนำมาถอดแบบและเปิดประมูลช่วงปลายเดือนหน้า อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมยังยึดแผนเดิมคือประกวดราคาทุกสัญญาภายในปีนี้ ส่งผลให้ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะมีการเปิดประมูลงานก่อสร้างอีก 11 สัญญา วงเงินมากกว่า 1 แสนล้านบาทแหล่งข่าวกระทรวงคมนาคมกล่าวต่อว่าด้านสัญญาที่ 2.3 ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ในการประชุมครั้งล่าสุดโดยเฉพาะรายละเอียดด้านการจัดซื้อตัวรถและระบบเทคโนโลยีที่ฝ่ายจีนได้ส่งข้อสรุปการถอดแบบมานั้นพบว่าเป็นการสรุปตัวเลขที่กว้างมาก อาทิ งานวางระบบรถไฟฟ้าและจัดซื้อขบวนรถนั้นมีเพียงตัวเลขภาพรวมก้อนใหญ่ว่ามูลค่าเท่าไหร่ ทว่าไม่มีการแจกแจงรายละเอียดตัวเลขดังกล่าวว่ามาจากค่าอะไรบ้าง ดังนั้นจึงขัดกับหลักกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างของไทยที่ต้องแจกแจงว่าค่าใช้จ่ายมาจากไหนบ้างเพื่อความโปร่งใสและเอื้อต่อการเปรียบเทียบราคากลางจากทั่วโลกว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ ดังนั้นที่ประชุมจึงได้มีข้อสรุปให้ฝ่ายจีนกลับไปจัดทำตัวเลขมาเสนออีกครั้งหนึ่ง

ส่วนด้านการพัฒนาบุคลากรนั้นยังยืนยันว่าต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบไฮสปีดพร้อมหลักสูตรการผลิตบุคลากรไทยให้สามารถบริหารโครงการได้ในระยะยาว โดยแผนพัฒนาดังกล่าวนั้นยังต้องรอความชัดเจนหน่วยงานกลางที่จะมารับผิดชอบอย่างสถาบันพัฒนาวิจัยเทคโนโลยีระบบราง ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีแผนจะจัดตั้งให้ได้ภายในปีนี้ สอดคล้องกับเงื่อนไขทางกฎหมายของร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... .ซึ่งจะมีการประกาศใช้ได้ในช่วงปลายปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2018 10:54 am    Post subject: Reply with quote

ย้อนรอยคลื่นความถี่ รถไฟความเร็วสูง กสทช. เตรียมย้ายย่านคลื่นให้มือถือ ชงเงินส่งรัฐ


14 สิงหาคม 2561 เวลา 12:00:59

ปัญหาการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ยังเป็น “เงื่อนปม” ที่ยังไม่ได้บทสรุป ล่าสุด กสทช.เตรียมชงเรื่องเสนอรัฐบาลให้เปลี่ยนแปลงแผนการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการรถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะในย่าน 800-900 MHz ใหม่ เพื่อนำคลื่นความถี่มาประมูลในกิจการโทรคมนาคม ที่จะมีมูลค่าสูงกว่า และสามารถนำเงินก้อนใหญ่ส่งรัฐบาลได้ชัดเจนมากกว่า หลังจากที่ล้มเหลวในการเปิดประมูลคลื่นย่าน 900 MHz

เมื่อย้อนรอยดูการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการรถไฟความเร็วนั้น พบว่า เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 ที่ผ่านมา กสทช.ได้จัดทำแผนการใช้คลื่นความถี่ในย่าน 800-900 MHz โดยระบุว่า ย่านนี้จะเป็นย่านที่จัดสรรไว้สำหรับหน่วยงานต่างๆ ที่สำคัญได้จัดสรรให้กับโครงการรถไฟความเร็วสูง ตามที่กระทรวงคมนาคมขอมาด้วย



โดยกิจการมือถือนั้น เดิมมี กสท.โทรคมนาคม หรือ CAT Telecom เป็นเจ้าของทั้งส่วนที่เป็นสัมปทานกับดีแทค ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 กันยายน 2561 จำนวน 10 MHz และส่วนที่ CAT ให้กลุ่มทรูเป็นพาร์ตเนอร์ ทำเครือข่าย 3G จำนวน 15 MHz โดยจะสิ้นสุดการใช้คลื่นภายในปี 2568

ส่วนกิจการ PPDR นั้น กสทช.จัดสรรให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ในฐานะหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐไปใช้ในโครงการระบบวิทยุสื่อสารดิจิทัล 4จี ของเครือข่ายตำรวจ ที่มีรายการข่าวก่อนหน้านี้ว่า สตช.ใช้งบประมาณลงทุนในโครงการนี้เฟสแรกถึง 3.5 พันล้านบาท

ในขณะที่กิจการ Trunked Radio นั้น มีการจัดสรรย่านคลื่น 806-814 MHz , 851-859 MHz สำหรับกิจการนี้ และย่าน 920-925 MHz สำหรับกิจการ RFID และ Internet of Things (IoTs )

สำหรับกิจการรถไฟความเร็วสูงนั้น ตามแผนงานของกระทรวงคมนาคมนั้น ช่วงแรก มีทั้งหมด 4 เส้นทาง คือ

กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250 กม. โดยเป็นการใช้เทคโนโลยีจากประเทศจีน
กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. จะใช้เทคโนโลยีรถไฟชินคันเซ็น ประเทศญี่ปุ่น
กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม.
กรุงเทพฯ-ระยอง 193.5 กม.
กสทช.ได้จัดทำแผนคลื่นสำหรับกิจการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ตามคำขอของกระทรวงคมนาคม โดยมีการจัดสรรย่านคลื่นไว้ 2 ย่าน โดยเข้าที่ประชุมบอร์ดดีอีไปแล้วคือ

ย่านความถี่ 400 MHz สำหรับกิจการรถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบญี่ปุ่น หรือชินคันเซ็น
ย่านความถี่ 800-900 MHz สำหรับกิจการรถไฟฟ้าความเร็วสูงแบบจีน
หลังจากจัดสรรย่านคลื่นเรียบร้อย กสทช.วางแผนเบื้องต้นว่า คลื่นที่เหลือจากการจัดสรรให้กับรถไฟฟ้าความเร็วสูงเหลือเพียง 5 MHz เท่านั้น จึงไม่เห็นสมควรนำมาเปิดประมูล

อย่างไรก็ตาม เมื่อกสทช.ล้มเหลวจากการเปิดประมูลคลื่น 1800 MHz เป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ไม่มีค่ายมือถือเข้าประมูล โดยเฉพาะ ดีแทค ที่ถูกคาดหมายว่าน่าจะเข้าประมูล แต่ดีแทคกลับไม่เข้าประมูล เพราะดีแทคนั้นต้องการคลื่นย่านต่ำ โดยเฉพาะย่าน 800-900 MHz ใช้ในการขยายพื้นที่การให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากกว่า คลื่นย่านสูงที่เหมาะสำหรับในเมือง ซึ่งดีแทคมีคลื่น 2300 MHz อยู่แล้ว

กสทช.จึงเปลี่ยนใจ นำคลื่นย่าน 800-900 MHz ที่จะว่าง 5 MHz หลังดีแทคหมดสัมปทาน มาประมูลทันที เพราะคิดว่ายังไงดีแทคก็ต้องเข้าประมูล ประกอบกับราคาประมูลตั้งต้นที่กำหนดไว้ อยู่บนพื้นฐานราคาที่ทั้งเอไอเอสและทรูเคยประมูลมา น่าจะเป็นการการันตีรายได้อย่างน้อย 37,988 ล้านบาท ที่ กสทช.จะได้นำส่งรัฐบาลตามที่ผู้บริหารกสทช.ได้ตกปากรับคำกับรัฐบาลว่า กสทช.พร้อมสนับสนุนภาครัฐในการส่งเงินช่วยเหลืองบประมาณของรัฐ

แต่ กสทช.ก็ต้องผิดหวัง เมื่อดีแทคตัดสินใจไม่ยื่นประมูล เพราะยืนยันว่าไม่คุ้มกับการประมูล ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกมหาศาลในการติดระบบป้องกันการกวนสัญญานทั้งกิจการรถไฟความเร็วสูง และคลื่นที่ค่ายมือถืออื่นๆ ใช้อยู่ พร้อมกับยื่นข้อเสนอให้ กสทช.ย้ายคลื่นกิจการรถไฟไปใช้คลื่นย่านอื่นแทน

ราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ ดีแทค ได้เสนอทางออกให้ กสทช.กับกรณีคลื่นย่านนี้ว่า เสนอให้การรถไฟย้ายย่านคลื่นในกิจการรถไฟความเร็วสูงออกไปอยู่ที่คลื่นย่าน 450 MHz ที่รองรับเทคโนโลยี LTE-R ที่เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า สำหรับกิจการรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะ เพื่อนำคลื่นจำนวน 10 MHz ที่เหลืออยู่มาใช้ในกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้เหมือนกันทั้งหมด เพื่อไม่มีปัญหาการกวนกันอีกต่อไป

เมื่อดีแทคยื่นข้อเสนอมาเช่นนี้ ทำให้ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ได้สั่งการให้สำนักงาน กสทช.เร่งรีบหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้คลื่น 900 MHz ขายออกทันที โดยเฉพาะแนวทางย้ายคลื่นรถไฟออกไป

เปิดเงื่อนไขใช้คลื่นรถไฟ หากไม่ใช้ภายในปี 2563 ถือว่าสิ้นสุด
ตามข้อตกลงของ กสทช.ทำไว้กับกระทรงคมนาคม ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าย่านคลื่น 800-900 MHz เป็นย่านคลื่นสำหรับเทคโนโลยี Global Systems for Mobile Communication – Railway หรือ GSM–R แต่หากกระทรวงคมนาคมยังไม่มีการลงนามในสัญญาดําเนินการใช้งานอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคม ขนส่งทางรางซึ่งใช้งานคลื่นความถี่ 885-890 / 930-935 MHz ภายในปี 2563 ให้ถือว่าการจัดสรรนี้สิ้นสุดลง ซึ่ง กสทช.จะจัดสรรคลื่นย่านนี้ไปใช้ในกิจการโทรคมนาคมต่อไป

เมื่อ กสทช.สอบถามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไปที่การรถไฟฯ ในฐานะที่รับผิดชอบโครงการนี้โดยตรง ก็พบว่า ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ จากโครงการนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะรัฐบาลผุดโครงการรถไฟความเร็วสูงในเส้นทาง EEC ขึ้นมาแทน และถือว่าคืบหน้าที่สุด

โดยที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ “คณะกรรมการ EEC” เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีมติเห็นชอบโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 200,000 ล้านบาท และมีการเปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามาซื้อซองประกวดราคาไปแล้ว มีผู้ให้ความสนใจเข้ามาซื้อซองทั้งหมดถึง 31 ราย ซึ่งจะให้เวลายื่นซองในวันที่ 12 พฤศจิกายน และเปิดซองหาผู้ชนะการประมูลในวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้ แต่เส้นทางนี้ยังไม่ได้มีการระบุเทคโนโลยีเช่นเส้นทางที่การรถไฟแห่งประเทศไทย สังกัดกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าภาพ

จึงมีความเป็นไปได้สูงมาก ที่การรถไฟจะไม่สามารถดำเนินโครงการนี้ได้ก่อนปี 2563 ที่เป็นข้อตกลงเบื้องต้น แต่ กสทช.ก็ไม่ต้องการใช้ระยะเวลารอให้ยาวเนิ่นนานไปกว่านั้น เพราะยิ่งช้า จะมีผลต่อรายได้จากการประมูลคลื่นที่ควรจะนำเข้ารัฐ จึงมีการประสานงานกับรัฐบาล ที่จะให้คมนาคมทำเรื่องยกเลิกการใช้งานคลื่นย่านนี้เข้ามา จนกว่าจะมีการศึกษาความคืบหน้าโครงการรถไฟ ซึ่งอาจจะมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัยกว่า ในคลื่นย่าน 450 MHz

นอกจากนี้ กสทช.พบว่า ตามประกาศ กสทช.เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2558 ในแผนการใช้คลื่นย่าน 450 -470 MHz พบว่าปัจจุบันนี้ มีการใช้งานแบบวิทยุสื่อสารหลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน ที่เป็นระบบ Trunked Radio โดยมีข้อตกลงว่าให้ทุกรายที่ใช้งานอยู่ต้องย้ายออกไปภายในปี 2563 กว่าการรถไฟจะได้ทำโครงการอีกที ก็คงพอดีกับการที่หน่วยงานต่างๆ ย้ายออกพอดี จึงไม่น่ามีปัญหาสำหรับการใช้งานบนคลื่นย่านนี้แต่อย่างใด

ทั้งนี้ กสทช.เชื่อว่า หากเคลียร์ทุกอย่างลงตัวตามแผน ก็จะสามารถนำคลื่น 900 MHz จำนวน 10 MHz มาเปิดประมูลได้ อย่างเร็วที่สุดภายในปีหน้า โดยที่ กสทช.จะการันตีต่อรัฐบาลว่า จะมีเงินอีกอย่างน้อยเกือบ 4 หมื่นล้าน จากการประมูลคลื่น 900 MHz จำนวน 5 MHz หรือกว่า 7 หมื่นล้าน จากคลื่น 10 MHz โดยตั้งความหวังว่า ดีแทคจะเข้าร่วมประมูลด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อเหตุการณ์ยังไม่เกิด อีกทั้งดีแทคเองก็ไม่ได้แสดงความชัดเจนว่าหาก กสทช.เคลียร์ทุกอย่างตามที่ดีแทคเสนอแล้ว ดีแทคจะเข้าร่วมประมูลด้วย เพราะจะต้องพิจารณาสถานการณ์ ณ ขณะนั้นประกอบด้วย

นี่ก็จะเป็นอีกหนึ่งบททดสอบของ กสทช. ว่าจะเล่นตามเกมเอกชน หรือจะสามารถพลิกกลับมาเป็นผู้คุมกฏจริงๆ ตามกฎหมายได้บ้างหรือไม่.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2018 11:26 am    Post subject: Reply with quote

ปตท.โชว์ครึ่งปีแรกกำไรสุทธิ 69,817 ล้าน เดินหน้าร่วมประมูลไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน


วันที่ 15 สิงหาคม 2561 เวลา 15:41 น.

“ปตท.” เผยครึ่งปีแรกกำไรสุทธิ 69,817 ล้านบาท เดินหน้าร่วมประมูลไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน ลงทุนสมาร์ทซิตี้/บางซื่อ เร่งสรุปพาร์ทเนอร์โรงแรมในปั้ม

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 2561 ว่ามีกำไร 33,218 ล้านบาท และเมื่อรับรู้ผลกำไรของบริษัทในกลุ่มตามสัดส่วนการถือหุ้นอีก 36,599 ล้านบาท ทำให้งบการเงินรวมของ ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิรวม 69,817 ล้านบาท (ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.89) คิดเป็นกำไร 2.43 บาทต่อหุ้น


สำหรับปัจจัยสำคัญเชิงบวกและเชิงลบที่ทำให้ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2561 ของ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ต่ำกว่าครึ่งปีแรกของปี 2560 ได้แก่ กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก 140,438 เป็น 170,870 ล้านบาท จากราคาน้ำมันดิบดูไบและราคาปิโตรเคมี ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลการดำเนินงานปกติโดยรวมดีขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Productivity Improvement) สร้างกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี 20,721 ล้านบาท ใน 1H/2561 ไม่มีรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ (Non-recurring Items) ขณะที่ใน 1H/2560 ปตท. มี Non-recurring Items จากรายได้เงินปันผลจากกองทุนรวม EPIF 4,310 ล้านบาท และกำไรจากการขายเงินลงทุนในกองทุนรวม 990 ล้านบาท

กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ลดลงจาก 7,822 เป็น 2,276 ล้านบาท จากเงินบาทที่อ่อนค่าลง ภาษีเงินได้ เพิ่มขึ้น 14,650 ล้านบาท จาก 11,951 ล้านบาทใน 1H/2560 เป็น 26,601 ล้านบาทใน 1H/2561 โดยหลักมาจาก PTTEP ซึ่งได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนตามค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ

ส่วนราคาน้ำมันเฉลี่ยปีนี้ทั้งปีจะบวกลบอยู่ที่ 70 เหรียญ/บาร์เรล คาดว่าที่เหลือแนวโน้มจะไม่ผันผวน จะทรงตัวไปในระดับนี้จนถึงสิ้นปี โดยราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเพราะราคาน้ำมันดิบโลกเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบจาก3 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับนี้

ทั้งนี้โครงการลงทุนใหม่ๆ ที่สร้างความมั่นคงให้กับประเทศจะเสนอบอร์ดในเดือน พ.ย.2561 ขณะที่แนวทางการบริหารจัดการความยั่งยืนกลุ่ม ปตท.จะยังคงใช้ตามหลัก 3P โดยให้ความสำคัญ 3 ด้านคือ People การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน และสังคม Planet การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ Profit การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่ เทคโนโลยีและวิศวกรรม บริษัท ปตท. กล่าวว่า สำหรับแผนการลงทุนของบริษัท สำหรับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ยังคงอยู่ระหว่างการศึกษาถึงประโยชน์ที่จะเกิด ผลตอบแทน จะลงทุนหรือไม่ จะลงทุนกับใคร จากนั้นจะสรุปถึงแผนลงทุนก่อนจะยื่นประมูลในเดือน พ.ย.

ส่วนโครงการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อที่จะลงทุนให้เป็นสมาร์ทซิตี้ด้านพลังงานจะมีความชัดเจนลงทุนปี 2562 ขณะที่ธุรกิจโรงแรมในปั้มน้ำมันยังอยู่ระหว่างการเจรจากับพาร์ทเนอร์ที่ต้องเหมาะสมที่สุด และยังไม่ได้หยุดโครงการนี้ คาดว่าภายในปีนี้จะได้ข้อสรุป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 279, 280, 281 ... 542, 543, 544  Next
Page 280 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©