Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311286
ทั่วไป:13268102
ทั้งหมด:13579388
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 287, 288, 289 ... 546, 547, 548  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2018 12:56 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เดินหน้าไฮสปีดไทย-จีน สัญญา2
รฟท. ประกาศทีโออาร์ไฮสปีดไทย-จีน สัญญา2 ให้เวลาก่อสร้าง 15 เดือน พร้อมดันรถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เข้าซูเปอร์บอร์ด เปิดประมูลส่งท้ายปี 61
จันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2561 เวลา 15.13 น.


หลังจากมีข่าวรฟท.เผยแพร่ tor ช่วง2 ระยะทาง 11กม.และความคืบหน้าช่วงแรก 3.5 กม.ไปแล้ว มีคำถามตามมาว่าแล้วส่วนที่เหลือ ช่วงที่3-4 จำนวน 12สัญญา จะดำเนินการเมื่อไร ทำไมไม่เห็นมีความคืบหน้า...ขอเรียนว่ากระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง...วันนี้จึงขอนำภาพสรุปความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค กรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา)

โดยช่วง 3 ระหว่างแก่งคอย-นครราชสีมา 119.5 กิโลเมตร (5สัญญา) ประกอบด้วย
ช่วงที่ี 3 แก่งคอย - กลางดง กะ ปางอโศก - บันไดม้า ระยะทาง 31.9 กิโลเมตร
ช่วงที่ 4 อุโมงค์มวกเหล็กและอุโมงค์ลำตะคอง ระยะทาง 11.9 กิโลเมตร
ช่วงที่ 5 บันไดม้า - ลำตะคอง ระยะทาง 24.8 กิโลเมตร (รวมสถานีปากช่อง)
ช่วงที่ 6 ลำตะคอง - สีคิ้ว กะ กุดจิก - โคกกรวด ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร
ช่วงที่ 7 โคกกรวด - นครราชสีมา ระยะทาง 13.7 กิโลเมตร (รวมสถานีนครราชสีมา)

และ บางซื่อ-แก่งคอย 119 กิโลเมตร (7สัญญา) ประกอบด้วย
ช่วงที่ 8 บางซื่อ - ดอนเมือง 11.0 กิโลเมตร ขณะนี้ สถานีกลางบางซื่อ มีส่วนที่เป็นทางรถไฟความไวสูง 2.8 กิโลเมตร ที่ STECON และ Unique Engineering กำลังก่อสร้าง ส่วนสถานีดอนเมืองที่ต้องสร้างใกล้ๆกะ สถานีรถไฟดอนเมืองสายแดงที่ตลาดดอนเมือง จะให้ผู้ได้สัมปทานรถไฟเชื่อมสามสนามบินสร้างให้ ยาว 1.09 กิโลเมตร
ช่วงที่ 9 ดอนเมือง - นวนคร 22.7 กิโลเมตร
ช่วงที่ 10 นวนคร - บ้านโพธิ์ 23.0 กิโลเมตร
ช่วงที่ 11 ศูนย์ซ่อมบำรุงที่เชียงรากน้อย กม. 56
ช่วงที่ 12 บ้านโพธิ์ - พระแก้ว 14.4 กิโลเมตร (รวมสถานีอยุธยา)
ช่วงที่ 13 พระแก้ว - สระบุรี 30.0 กิโลเมตร
ช่วงที่ 14 สระบุรี - แก่งคอย 13.0 กิโลเมตร (รวมสถานีสระบุรี)
ปัจจุบันฝ่ายจีนอยู่ระหว่างปรับแก้ไขแบบรายละเอียดตามความเห็นของฝ่ายไทยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในตุลาคม 2561 ในขณะเดียวกัน รฟท.อยู่ระหว่างจัดทำร่างขอบเขตงาน (TOR) พร้อมเตรียมเอกสารประกวดราคาและทำราคากลางควบคู่กันไปด้วย โดยคาดว่าจะประกวดราคาประมาณธันวาคม 2561 และเริ่มก่อสร้างภายในเมษายน 2562 พร้อมกันทั้งสองช่วง

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1967405903306345&set=a.1914290831951186&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2018 11:29 am    Post subject: Reply with quote

ปตท.ชงบอร์ดฯอนุมัติพันธมิตร”ไฮสปีดเทรน 3สนามบิน”ต.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 4 ตุลาคม 2561 18:14
ปรับปรุง: 4 ตุลาคม 2561 18:21


ปตท.ยันเข้าประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เตรียมชงบอร์ดฯอนุมัติหาพันธมิตรในเดือนต.ค.นี้ ส่วนกรณีที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นหนังสือบี้กกพ.ขี้แจงGPSCซื้อโกลว์พลังงาน ยันเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่ต้องชี้แจง ยันGPSCเป็นเอกชนในตลาดหุ้นที่มีส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจไฟฟ้าไม่ถึง 10%

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงกรณีที่ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งหนังสือให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงบริษัท บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)(GPSC)เสนอซื้อหุ้นบมจ.โกลว์ พลังงาน(GLOW) ภายใน 30 วันหลังจากได้รับการร้องเรียนว่า เป็นหน้าที่ของหน่วยงานแต่ละฝ่ายที่ต้องชี้แจงไปตามกฎระเบียบ มองว่าเป็นเรื่องที่ดีที่มีการแย้ง เพราะทำให้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งเรื่องนี้ ทางกกพ.อยู่ระหว่างการพิจารณาในฐานะกำกับดูแลกิจการพลังงาน และมีหน้าควบคุมผู้ประกอบการไม่ให้มีอำนาจเหนือตลาด ไม่เข้าไปก้าวล่วง

คงต้องให้เวลากกพ.พิจารณาระยะหนึ่งเพราะเพิ่งได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งกกพ.ชุดใหม่ก็ได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องหารือชี้แจงแล้วไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อและผู้ที่รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม GPSC เป็นบริษัทเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ฯที่มีส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจไฟฟ้าไม่ถึง 10% และความสามารถในการผลิตไฟฟ้า น้ำร้อนและเย็นป้อนในอุตสาหกรรมทำมานาน 20ปี โดยไม่ได้ไปแข่งขันกับผู้ผลิตไฟฟ้ารายอื่น

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3สนามบิน ปตท.คาดว่าจะสรุปได้ช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.2561 ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาและเจรจาหาพันธมิตร คาดว่าจะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯในวันที่ 19 ต.ค.นี้ โดยยืนยันว่าปตท.สนใจที่จะเข้าร่วมประมูลโครงการดังกล่าวแต่จะออกมาในรูปแบบใดขึ้นอยู่กับบอร์ดฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 05/10/2018 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดขายทีโออาร์รถไฟไทย-จีนตอน2 ปลายต.ค.นี้
ศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2561 เวลา 10.00 น.
รถไฟไทย-จีน ตอน2 เนื้อหอม บริษัทก่อสร้างสนลงทุนเพียบ รฟท.เตรียมขายทีโออาร์ภายในเดือนนี้


 นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าขั้นตอนการประมูลโครงการรถไฟไทย-จีน เฟส 1 ตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. งบประมาณ 3,350 ล้านบาท หลังจากนำเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา(ทีโออาร์) ขึ้นเว็บไซต์เพื่อเปิดประชาพิจารณ์ พบว่ามีคำถามเข้ามา เป็นเรื่องรายละเอียดการทำงาน ความคุ้มค่าและขั้นตอนการก่อสร้างเป็นต้น เช่นเดียวกับโครงการก่อสร้างอื่นๆของรฟท.เค อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ จะรวบข้อคิดเห็นและคำถามสรุปสาระสำคัญ ก่อนนำทีโออาร์ขึ้นเว็บไซต์อีกครั้งในช่วงสัปดาห์หน้า จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นนตอนการขายซองทีโออาร์ภายในช่วงปลายต.ค.ถึง ต้นเดือนพ.ย.นี้ 

รายงานข่าวแจ้งว่าหลังจากเปิดตัวทีโออาร์โครงการดังกล่าว พบว่ามีบริษัทเอกชนด้านก่อสร้างรายใหญ่ให้ความสนใจเข้าร่วมประกวดราคาหลายราย อาทิ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK บริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเท เอนยิเนียริ่ง (1964) และบริษัท เค.เอส.ร่วมค้า จำกัด 
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2018 10:42 am    Post subject: Reply with quote

"บีทีเอส"สนใจลงทุนระบบรางทั่วประเทศ
จันทร์ที่ 8 ตุลาคม 2561 เวลา 08.09 น.
บีทีเอสกรุ๊ปตั้งเป้าว่า 5ปีจากนี้ รายได้และกำไรต้องเติบโตเฉลี่ยปีละ 25%และกำลังศึกษาการลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานระบบรางทั่วประเทศถือเป็นโอกาส



 นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัทบีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เปิดเผยว่า บีทีเอสกรุ๊ปตั้งเป้าว่า 5ปีจากนี้ รายได้และกำไรต้องเติบโตเฉลี่ยปีละ 25%และกำลังศึกษาการลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานระบบรางทั่วประเทศเพราะถือเป็นหน้าที่ และโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจากเราทำธุรกิจด้านนี้ เช่น  รถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) สายกรุงเทพ-หัวหิน หรือโครงการรถไฟฟ้ารางเบา(แทรม)ภูมิภาค จ. เชียงใหม่ จ.ภูเก็ต และจ.ขอนแก่น แต่ต้องดูให้ดีถ้าไม่ใช่ก็ไม่ทำ เพราะแต่ละโครงการใช้เม็ดเงินลงทุนมากเฉพาะแค่การเตรียมตัวก่อนประมูลก็มีค่าใช้จ่ายถึง 135ล้านบาทแล้ว ดังนั้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอะไรต้องมั่นใจก่อนส่วนการเงินไม่มีปัญหาเพราะเวลานี้บีทีเอสกรุ๊ปได้รับความเชื่อมั่นจากสถาบันทางการเงินทั้งในและต่างประเทศอย่างมาก

นายคีรี   ยังกล่าวถึงความคืบหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา วงเงิน 2.15แสนล้านบาทว่า  กำลังศึกษารายละเอียดเอกสารประกาดราคา(ทีโออาร์) เท่าที่ดูตัวเลข ไม่หมูและไม่ง่ายจริงๆโดยยังมีคำถามที่ต้องให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ชี้แจงเพิ่มเติม คือการขำระค่าเช่าในการพัฒนาพื้นที่อสังหาริมทรัพย์โดยรอบสถานี (TOD) ที่ทีโออาร์ระบุให้เอกชนเฉลี่ยจ่ายค่าสัมปทานตลอดอายุสัญญา50 ปี ซึ่งปกติการเช่าที่ดินของภาครัฐกรมธนารักษ์ หรือที่ดินทรัพย์สินอื่นๆเอกชนจะจ่ายเงินค่าสิทธิ์ในการพัฒนาเป็นก้อนใหญ่ครั้งเดียว  หากต้องทยอยจ่ายหลายปีอาจส่งกระทบต่อแผนลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ได้

นายครี  ยืนยันด้วยว่า  บีทีเอสกรุ๊ปจะเดินหน้าร่วมประมูลครั้งนี้แน่นอนด้วยทีมไทยแลนด์ แต่จะเพิ่มพันธมิตรหรือไม่คงได้ข้อสรุปภายในเดือน ต.ค.นี้ซึ่งพันธมิตรจะเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือไม่ขอยังไม่ตอบทั้งนี้จากการประเมินผู้ร่วมประมูลโครงการในวันที่ 12พ.ย.นี้ คาดว่าจะมีเพียง 2 กลุ่มใหญ่  คือ บีทีเอสกรุ๊ป และกลุ่มซีพีเท่านั้นส่วนรายอื่นยังไม่ชัดเจนส่วนข้อเสนอกรณีให้ผู้ชนะการประมูลเข้าไปบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ด้วยนั้น บีทีเอสในฐานะผู้ที่บริหารกิจการรถไฟฟ้าอยู่แล้ว มีความพร้อมมากหากชนะการประมูล และได้รับมอบให้บริหาร ก็พร้อมดำเนินการทันทีโดยตั้งใจจะบริหารในรูปแบบของบีทีเอส และพร้อมลงทุนเพิ่มขบวนรถด้วยเพื่อแก้ปัญหาผู้โดยสารแออัด และให้บริการมีคุณภาพมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2018 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

ปตท. แจ้งพันธมิตร "ถอยประมูลไฮสปีด"
ออนไลน์เมื่อ จันทร์ที่ 8 ตุลาคม 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,407 วันที่ 7 - 10 ตุลาคม 2561 หน้า 01-15




ลุ้นระทึก! บอร์ดชี้ขาด ปตท. ถอนตัวประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินหรือไม่ หลังผู้บริหารบริษัท แจ้งพันธมิตรไม่เข้าร่วมประมูล เพราะไม่มีความถนัด แต่จะเข้าไปซื้อซองโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา 2.9 แสนล้านแทน

ประชุมคณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วันที่ 19 ต.ค. นี้ จะเป็นนัดชี้ขาดว่า ปตท. จะเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือ ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน (สนามบินดอนเมือง-สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา) วงเงินรวม 1.82 แสนล้านบาท ในวันที่ 12 พ.ย. 2561 นี้หรือไม่ เพราะเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นว่า การประมูลครั้งนี้อาจไม่มีชื่อ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจพลังงานของไทย เข้าร่วมประมูล หลังจากผู้บริหาร ปตท. ได้แจ้งให้พันธมิตรที่ ปตท. เข้าไปเจรจาด้วย ทราบว่า ปตท. จะไม่เข้าร่วมประมูลในครั้งนี้

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า BTSC ได้รับการประสานจากผู้บริหารบริษัท ปตท.ฯ เรียบร้อยแล้วว่า คงไม่เข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแน่นอนแล้ว โดย ปตท. ยืนยันว่า ไม่มีความถนัดในงานดังกล่าวและคณะกรรมการบริษัทยังไม่ต้องการให้เข้าประมูลในช่วงนี้




สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC



BTSC ยืนยันว่า การไม่เข้าร่วมประมูลของ ปตท. จะไม่กระทบกับกลุ่ม BTSC เพราะกลุ่มบีทีเอสมี 3 บริษัท ที่ร่วมกันมาตั้งแต่ต้น คือ BTSC , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ส่วนจะมอบงานให้กลุ่มต่าง ๆ ต่อไปหรือไม่นั้น จะต้องรอผลการประมูลว่า บีทีเอสชนะการประมูลหรือไม่

"หากชนะก็จะกระจายงานให้กับผู้สนใจรายอื่น ๆ ต่อไป เพราะงานก่อสร้าง ซิโน-ไทยทำรายเดียวคงไม่ทันแน่ ดังนั้น จึงสามารถซับคอนแทร็กต์ให้รายอื่น ๆ ต่อไปได้ ขณะนี้ยังมองว่า จะเหลือราว 2-3 กลุ่ม ที่เข้าร่วมประมูล คือ กลุ่มซีพี , กลุ่ม BTSC และกลุ่มบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM"

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยืนยันว่า ตอนนี้ ปตท. ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดมาก เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ คาดว่าจะสามารถนำข้อเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ในวันที่ 19 ต.ค. นี้ หรืออย่างช้าสุด คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในปลายเดือน ต.ค. ถึง พ.ย. นี้ พร้อมยืนยันว่า ปตท. ยังมีความสนใจลงทุนโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน แต่รูปแบบจะออกมาอย่างไรนั้น จะต้องผ่านความเห็นชอบจากบอร์ด ปตท. ก่อน




ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)



โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงินรวม 1.82 แสนล้านบาท ที่กำลังจะเปิดประมูลในวันที่ 12 พ.ย. 2561 ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ มีผู้ซื้อซองประมูลมากถึง 31 ราย โดยกลุ่มทุนที่ถูกจับตามองมากที่สุด คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจพลังงานของไทย ที่อยู่ระหว่างตัดสินใจว่า จะจับมือกับกลุ่มไหน ระหว่างกลุ่ม BTSC ของนายคีรี กาญจนพาสน์ เจ้าพ่อรถไฟฟ้า กับกลุ่มซีพี ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

ด้าน แหล่งข่าวจาก ปตท. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การประชุมบอร์ด ปตท. วันที่ 19 ต.ค. นี้ นอกจากจะเสนอให้บอร์ด ปตท. ชี้ขาดเรื่องการเข้าประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงแล้ว ปตท. จะเสนอให้ที่ประชุมอนุมัติให้ บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (เอ็นโก้) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. เข้าไปซื้อซองประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก เงินลงทุนรวม 290,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ภาครัฐ 17,768 ล้านบาท และภาคเอกชน 272,232 ล้านบาท มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 189,999 ล้านบาท ไม่นับรวมการจ้างงาน 15,640 ตำแหน่งต่อปี และผลตอบแทนโครงการ 193,612 ล้านบาท แบ่งเป็น ภาครัฐ 119,353 ล้านบาท และภาคเอกชน 74,259 ล้านบาท





สำหรับการประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา จะใช้รูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ตามสัญญา PPP Net Cost ซึ่งจะมีการรวม 4 โครงการ ได้แก่ 1.อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ 2.ศูนย์ธุรกิจการค้า (คอมเมอร์เชียล เกตเวย์) 3.พื้นที่เขตประกอบการค้าเสรี (คาร์โก วิลเลจ หรือ พื้นที่ฟรีเทรดโซน) และ 4.กลุ่มอาคารคลังสินค้า มาเปิดประมูลสัญญาเดียว

ส่วนนักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาร่วมประมูล เช่น AviAlliance Gmbh Of Germany , GMR Group-Airport , GVK Airport India , VINCI Airport Singapore , China State Construction Engineering , EGIS Group (ฝรั่งเศส) , TAV Airport Holdings , AGP Corporation (ญี่ปุ่น) , อียิปต์ แอร์พอร์ต , ไชน่า เรียลเวย์ คอนสตรัคชั่น , Egis International , แฟรงก์เฟิร์ต แอร์พอร์ต , King Wai Group , Harrow Management International

ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ 8/10/61 : จับตา ปตท.แจ้งพันธมิตรถอยประมูลไฮสปีดเทรน
จันทร์ที่ 8 ตุลาคม 2561


รายการ ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม 2561 เวลา 13.00-14.00 น. ดำเนินรายการโดย คุณบากบั่น บุญเลิศ และ คุณกรรณิการ์ รุ่งกิจเจริญกุล เจาะลึกประเด็น จับตา ปตท.แจ้งพันธมิตรถอยประมูลไฮสปีดเทรน

รายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้จากรายการ
https://www.youtube.com/watch?v=hQNT1zBwxaE
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2018 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

สนข. จัดประชุมคณะทำงานด้านเทคนิค โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ครั้งที่ 14
10 ตุลาคม 2561 at 5:21 PM ·

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นประธานการประชุมคณะทำงานด้านเทคนิค โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ครั้งที่ 14 เมื่อวันพุธที่ 10 ตุลาคม 2561 ณ ห้องประชุม 501 อาคาร สนข. โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้แทนจากฝ่ายไทย ประกอบด้วย กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การรถไฟแห่งประเทศไทย และฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย Mr. Shohei Ishii รองอธิบดีอาวุโสกรมรถไฟ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) ผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมมีมติมอบหมายให้คณะทำงานฝ่ายญี่ปุ่นกลับไปพิจารณาหาแนวทางการลดต้นทุนการก่อสร้างโครงการฯ ลง และประเด็นรูปแบบการลงทุนที่ประชุมมีมติให้คณะทำงานทั้ง 2 ฝ่ายหารือร่วมกันในรายละเอียดอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2018 10:59 am    Post subject: Reply with quote

คลังบี้ลงทุน3เดือน9แสนล้าน ดัน”รถไฟญี่ปุ่น”จี้ติด”รถไฟจีน”

วันที่ 13 ตุลาคม 2561 เวลา 10:54 น.

รัฐเร่งเบิกจ่าย 3 เดือนสุดท้าย 9 แสนล้าน เผยกฎเหล็กใหม่งบปี”62เบิกใช้ไม่หมดถูกตัด คลังวางแผนกู้ 9.2 หมื่นล้านลุยเมกะโปรเจ็กต์”สมคิด” กระทุ้งลงทุนคมนาคม 23 โครงการ ดันรถไฟไทย-ญี่ปุ่นตอกเข็ม จี้รถไฟไทย-จีนที่ยังไปไม่ถึงไหน

นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ช่วง 4-5 เดือนก่อนจะมีการเลือกตั้งปลายเดือน ก.พ. 2562 รัฐบาลยังเน้นการอัดฉีดเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2562 (ต.ค.-ธ.ค. 2561) นี้ ตั้งเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพเร่งรัดการเบิกจ่ายให้ได้ 30% ของงบฯทั้งหมด 3 ล้านล้านบาท หรือราว 9 แสนล้านบาท ไตรมาส 2 (ม.ค.-มี.ค. 2562) ตั้งเป้าเบิกจ่ายอีก 25% ดังนั้นช่วง 6 เดือนแรก มีเป้าเร่งรัดเบิกจ่ายงบฯในภาพรวมให้ได้ 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งได้เตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนกฎหมายงบประมาณจะมีผลบังคับใช้

เป้าเบิกจ่าย 6 เดือนแรก 50%

“ช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ ควรมีการเบิกจ่ายมากกว่า 50% โดยงบฯลงทุนต้องเร่งจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะโครงการขนาดเล็กซึ่งปีที่แล้วการเบิกจ่ายงบฯลงทุนต่ำ ส่วนราชการอ้างว่า พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทำให้ล่าช้า แต่การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว เจ้าหน้าที่น่าจะเข้าใจในรายละเอียดและเร่งรัดเบิกจ่ายได้ตามเป้า”

นอกจากนี้ เมื่อร่าง พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ที่ขณะนี้ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไปแล้ว มีผลบังคับใช้ ทุกส่วนราชการจะต้องเบิกจ่ายเงินงบฯให้หมดภายในปีงบประมาณนั้น ๆ ไม่สามารถกันเงินไปเบิกเหลื่อมปีได้ เว้นแต่จะทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันไว้ หากใช้เงินไม่หมดจะถูกพับไปโดยอัตโนมัติ

ตั้งทีมเกาะติดเบิกจ่าย



นางญาณี แสงศรีจันทร์ รองอธิบดี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกอธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า จากผลการเบิกจ่ายเงินงบฯรายจ่ายประจำปี 2561 ที่ต่ำกว่าเป้า เนื่องจากหน่วยงานรัฐยังมีปัญหาความไม่เข้าใจการจัดซื้อจัดจ้างตาม พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ในการเบิกจ่ายงบฯปี 2562 กรมบัญชีกลางจะเร่งทำความเข้าใจ และจะตั้งทีมติดตามแบบลงรายละเอียดทุกขั้นตอน

นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ ในฐานะโฆษกสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า สคร.จะส่งหนังสือแจ้งให้ผู้แทนกระทรวงการคลัง ที่นั่งเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจเร่งรัดเบิกจ่ายงบฯลงทุนตั้งแต่ต้นปีงบประมาณอีกทางหนึ่ง ซึ่งปีงบฯ 2562 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติกรอบงบฯลงทุนรัฐวิสาหกิจทั้งสิ้น 538,943 ล้านบาท ตั้งเป้าเบิกจ่ายภาพรวมทั้งปี 95% ช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.น่าจะมีเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ระบบไม่ต่ำกว่า 70,000 ล้านบาท

สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในปี 2562 อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันตก โครงการบ้านผู้มีรายได้น้อย

กู้ 9.2 หมื่น ล้าน ลุยเมกะโปรเจ็กต์

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า ในปีงบฯ 2562 รัฐได้วางแผนการกู้เงินมาให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อเพื่อลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ต่อเนื่อง วงเงินรวม 92,353.01 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 6 โครงการ 26,706.65 ล้านบาท 1.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ 2.โครงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณสถานีสะพานพระนั่งเกล้า รถไฟฟ้าสายสีม่วง 3.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ 4.รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 5.รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 6.รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 8 โครงการ 1.โครงการระบบขนส่งทางราง

ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต 2.รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง 3.ก่อสร้างทางคู่เส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 4.รถไฟทางคู่ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ

5.ทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 6.ก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 7.ทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร และ 8.รถไฟฟ้าไทย-จีน (ระยะที่ 1 ช่วง กทม.-นครราชสีมา) 24,378.58 ล้านบาท

“คมนาคม” ลงทุน 1.2 ล้านล้าน

ขณะที่รองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้มอบนโยบายให้กระทรวงคมนาคม เร่งผลักดันการลงทุนให้เป็นไปตามแผนก่อนการเลือกตั้ง ช่วง 3 เดือนนับจากนี้ไป (ต.ค.-ธ.ค. 61) จะเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่และเสนอ ครม.พิจารณา 23 โครงการ วงเงินลงทุนกว่า 1.2 ล้านล้านบาท ให้แล้วเสร็จ อย่างมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี ที่ติดเรื่องค่าเวนคืนที่ดิน ส่วนกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ให้เร่งรัดพัฒนาโครงการไทยแลนด์ริเวียร่า ให้เป็นจุดท่องเที่ยวและจุดพักรถ เพิ่มมูลค่าให้โครงการและส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง

เร่งรถไฟไทย-จีน

ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ศึกษาการลงทุนทางด่วนหัวเมืองที่มีปัญหาการจราจร เช่น ขอนแก่น และขอให้ดูช่องทางลงทุนในต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะ CLMV ส่วน ร.ฟ.ท.ให้เร่งรัดก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,412 ล้านบาท ให้คืบหน้าโดยเร็ว เพื่อเชื่อมรถไฟความเร็วสูงลาว-จีนให้เพิ่มโครงการรถไฟทางคู่ ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 109 กม. เชื่อมโยงฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ประสานกรมเจ้าท่า หรือการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เชื่อมท่าเทียบเรือระนอง เพิ่มเส้นทางการค้าเชื่อมโยงอีอีซีไปสู่ระนองและพม่า ให้ รฟม.เสนอรถไฟฟ้าภูเก็ต ก่อนเดือน ก.พ. จากเดิม เม.ย. 62 โดยให้ไปคิดหาวิธีการนำโครงการเข้ากองทุนไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ ฟันด์ (TFF)”

เดินเรือเชื่อม EEC/ภูเก็ต-มะริด

ด้าน กทท.ให้เสนอโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เงินลงทุน 114,047 ล้านบาท ให้ ครม.พิจารณา กับให้เปิดประมูลแบบนานาชาติและเร่งแผนแม่บทพัฒนาท่าเรือคลองเตย ส่วนกรมเจ้าท่าต้องยกเครื่องหน่วยงานให้บังคับใช้กฎระเบียบอย่างเข้มงวดและเคร่งครัด และศึกษาให้เอกชนร่วมลงทุน PPP เส้นทางเดินเรือจาก กทม.ไปจังหวัดในอีอีซี ส่งเสริมการท่องเที่ยว หรือเส้นทางจากภูเก็ตไปเกาะมะริด สำหรับการขนส่งทางอากาศ เร่งการบินไทยซื้อเครื่องบินใหม่ 23 ลำ วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท ให้เสร็จเดือน ธ.ค.นี้ พร้อมให้ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) พัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2

ขณะที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า จะเปิดประมูลงานใหญ่ 5 โครงการ รวม 480,969 ล้านบาท ได้แก่ รถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก สีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ช่วง ม.ค.-มี.ค. 62, สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ช่วง ธ.ค.นี้, รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ให้ยื่นข้อเสนอวันที่ 12 พ.ย.นี้, ทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เดือน มี.ค. 62 และทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนฯ เดือน พ.ย.นี้

ส่วนโครงการเตรียมเสนอ ครม.ใน 4-5 เดือนนี้ มี 18 โครงการ งบฯลงทุนกว่า 7.2 แสนล้านบาท เริ่มเสนอเดือน ต.ค.นี้ อาทิ ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 มูลค่า 114,047 ล้านบาท, ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) 10,588 ล้านบาท มอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ 79,006 ล้านบาท, สายสีแดงต่อขยาย รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 6,570.40 ล้านบาท, สายสีแดง ตลิ่งชัน-ศิริราช 7,469.43 ล้านบาท และตลิ่งชัน-ศาลายา 10,202.18 ล้านบาท เป็นต้น

ดันรถไฟไทย-ญี่ปุ่นเฟสแรก

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จะเร่งรัดโครงการตามแผนงาน โดยกำลังเตรียมทำแผนปฏิบัติการเร่งด่วนปี 2562 จะพิจารณาจากโครงการที่ในปี 2561 ยังไม่ผลักดันสำเร็จ เช่น รถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 380 กม. วงเงิน 276,225 ล้านบาท โครงสร้างจุดพักรถ 40 แห่งทั่วประเทศ

__________________
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2018 7:17 pm    Post subject: Reply with quote

“อาคม”เตรียมบินญี่ปุ่นเจรจาร่วมลงทุนไฮสปีด”กทม-เชียงใหม่” และปรับลดค่าก่อสร้าง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 14 ตุลาคม 2561 เวลา 17:10

“อาคม”เตรียมบิน”ญี่ปุ่น”เจรจาร่วมทุนรถไฟความเร็วสูง “กรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่” สนข.เผยให้ญี่ปุ่นทบทวนหลังมีการแก้กฎหมายเปิดทางร่วมทุนนอกประเทศ แย้มอาจเปิดให้ร่วมทุนงานเดินรถ หรือพัฒนาที่ดิน ได้ และขอให้ปรับลดค่าก่อสร้าง เพื่อลดต้นทุนโครงการใกล้สรุปแผนแม่บท M-Map 2 วางแนวรถไฟฟ้าเพิ่ม 5 สาย 131 กม.เชื่อมพื้นที่วงแหวนชั้นนอกกทม.

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะทำงานด้านเทคนิค โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ครั้งที่ 14 ระหว่างฝ่ายไทยและญี่ปุ่นซึ่งมี Mr. Shohei Ishii รองอธิบดีอาวุโสกรมรถไฟ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) ผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยโดยได้ติดตามความคืบหน้าในประเด็นการร่วมลงทุน ซึ่งก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นระบุว่าไม่สามารถร่วมลงทุนใน รูป แบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ได้ ขณะที่ไทยยังยืนยันต้องการให้ญี่ปุ่นร่วมลงทุน ในรูปแบบอื่นๆ เช่น ในส่วนของโครงสร้างงานโยธา, ระบบอาณัติสัญญาณและการเดินรถ หรือการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางและสถานี ซึ่งที่ประชุมร่วมมอบหมายให้คณะทำงานฝ่ายญี่ปุ่นกลับไปพิจารณา ร่วมถึงหาแนวทางในการลดต้นทุนการก่อสร้างโครงการลงอีกด้วย

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นระบุว่าพร้อมให้พิจารณาเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษให้ไทย ในการดำเนินโครงการดังกล่าวขณะที่แจ้งว่า ไม่เคยร่วมทุนกับประเทศใดในแบบ จีทูจีมาก่อน เพราะติดขัดในข้อกฎหมายของญี่ปุ่น แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ทราบว่าทางญี่ปุ่นได้มีการปรับแก้กฎหมาย และมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อให้นักลงทุนสามารถลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น ดังนั้น จึงขอให้ญี่ปุ่นนำประเด็นเหล่านี้ไปพิจารณาช่องทางในการร่วมลงทุนในโครงการในรูปแบบอื่นๆ เช่น ร่วมในเรื่องเดินรถ หรือร่วมในส่วนของการพัฒนาที่ดิน เป็นต้น

โดยในวันที่ 18-20 ต.ค.นี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการหารือกับรมต.คมนาคมของญี่ปุ่นในประเด็นต่างๆ ซึ่งคาดว่าภายในเดือนธ.ค.นี้จะมีความชัดเจนในระดับนโยบาย

“ ปัจจุบันรัฐบาลมีโครงการขนาดใหญ่จำนวนมากที่ต้องเร่งลงทุน ทั้งรถไฟทางคู่รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง จึงอยากใช้รูปแบบการร่วมทุนเพื่อลดภาระของภาครัฐลง รถไฟความเร็วสูงเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนสูงผลการศึกษาด้านการเงินไม่คุ้มค่า ดังนั้นรัฐบาลไทยควรลงทุนเองเช่นเดียวกับรัฐบาลญี่ปุ่นที่ลงทุนเอง แต่เมื่อญี่ปุ่นมีการปรับแก้กฎหมายบางเรื่อง ก็อยากให้ดูว่ามีช่องทางร่วมทุนกับไทยได้หรือไม่”

อย่างไรก็ตามขณะนี้การศึกษาความเป็นไปได้เสร็จแล้ว อยู่ในขั้นตอนการเจรจารายละเอียด วิธีการร่วมทุน ระเบียบข้อกฎหมายต่างๆ ซึ่งหากจะเดินหน้าต่อ รัฐบาล จะต้องมีการมอบหมายหน่วยงานรัฐผิดชอบ เช่นการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อให้ทำการศึกษารายละเอียดเพื่อนำไปสู่การดำเนินโครงการต่อไป เชื่อว่า ใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

สำหรับผลการศึกษารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม.เฟสแรกช่วง กรุงเทพฯ – พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม.มีมูลค่าลงทุน 276,225 ล้านบาท ขณะนี้เป็นการออกแบบรายละเอียด มีเป้าหมายเริ่มก่อสร้างในปี 2563 ส่วนระยะที่ 2 คือช่วง พิษณุโลก-เชียงใหม่ ซึ่งมีแนวคิดที่จะตั้งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) ขึ้นมาลงทุนร่วมระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ตั้งแต่เริ่มต้นการก่อสร้างแต่การเจรจายังไม่ได้ข้อสรุป

*** M-Map 2 วางแนวรถไฟฟ้าเพิ่ม 5 สาย 131 กม.เชื่อมพท.ชั้นนอกกทม.

ส่วนแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ระยะที่ 2 (M-MAP 2) ซึ่ง องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) เป็นผู้ศึกษานั้น ได้รายงานความคืบหน้า ซึ่งมีรถไฟฟ้า 5 เส้นทางใหม่ ระยะทางรวม 131 กม. ทำให้ครอบคลุมพื้นที่ชั้นนอกกทม.เพิ่มเติม เป็นแนวรถไฟฟ้าวงแหวนรอบนอก เพื่อรองรับผู้โดยสารรอบนอกมากขึ้น โดยจะมีการพัฒนาสถานีเชื่อมขนาดใหญ่ หรือ Terminal Station และมีจุดจอดแล้วจร (Park & Ride) ในพื้นที่รอบนอกอีกด้วย

โดยคาดการณ์ว่า เมื่อก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สายใน M-MAP 1 เสร็จ จะทำให้การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเพิ่มจากปัจจุบัน 4% ของการเดินทางทุกโหมด เป็น 10% และ ก่อสร้างเส้นทางใน M- Map 2 เสร็จจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 15% อย่างไรก็ตาม รัฐต้องหามาตรการที่เชิญชวนให้คนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อรวมถึงทบทวนระบบขนส่งสาธารณะทั้งหมดใหม่ เพื่อปรับให้ฟีดเดอร์เชื่อมกับระบบราง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2018 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

เดี๋ยวไม่ทัน เร่งดันไฮสปีดไทย - จีน เฟส 2 ก่อนเลือกตั้ง
Bangkok Insight
14 ตุลาคม 2561

สนข. จัดประชุมคณะทำงานด้านเทคนิค โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ครั้งที่ 14
Otpthailand
10 ตุลาคม 2561 at 5:21 PM ·

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นประธานการประชุมคณะทำงานด้านเทคนิค โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ครั้งที่ 14 เมื่อวันพุธที่ 10 ตุลาคม 2561 ณ ห้องประชุม 501 อาคาร สนข. โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้แทนจากฝ่ายไทย ประกอบด้วย กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การรถไฟแห่งประเทศไทย และฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย Mr. Shohei Ishii รองอธิบดีอาวุโสกรมรถไฟ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) ผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมมีมติมอบหมายให้คณะทำงานฝ่ายญี่ปุ่นกลับไปพิจารณาหาแนวทางการลดต้นทุนการก่อสร้างโครงการฯ ลง และประเด็นรูปแบบการลงทุนที่ประชุมมีมติให้คณะทำงานทั้ง 2 ฝ่ายหารือร่วมกันในรายละเอียดอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2018 12:59 am    Post subject: Reply with quote

"อาคม" บินง้อญี่ปุ่นร่วมทุน "ชินคันเซ็น" ถูกเมินโยนรัฐบาลใหม่ตัดสิน
จันทร์ที่ 15 ตุลาคม 2561 เวลา 07.16 น.


"อาคม" บินตรงถก รัฐมนตรีญี่ปุ่น หลังส่อแววไม่สนลงทุนไฮสปีด กรุงเทพ-เชียงใหม่ แย้มอาจไม่ทันรัฐบาลชุดนี้ และอาจต้องให้รัฐบาลใหม่ตัดสินใจ

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า วันที่ 18-20 ต.ค. นี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะเดินทางไปร่วมประชุมกับรัฐมนตรีญี่ปุ่นเรื่องความร่วมมือในโครงการต่างๆ รวมถึงแนวทางการร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ระบบชินคันเซ็น) กรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กม. วงเงิน 4.2 แสนล้านบาท เนื่องจากการประชุมความคืบหน้าโครงการกับญี่ปุ่นล่าสุด กระทรวงคมนาคมได้เสนอแนวทางให้ญี่ปุ่นเข้ามาร่วมทุน เพื่อพัฒนาระบบชินคันเซ็นเป็นสายแรกของประเทศไทย ทั้งด้านงานก่อสร้างโยธางานระบบและจัดหารถ ตลอดจนงานพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี (TOD) ประกอบกับปัจจุบันญี่ปุ่นได้ปรับแก้กฎหมาย เพื่อเปิดช่องให้คนในประเทศออกไปลงทุนในต่างประเทศได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ขณะที่โครงการมีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) 14.7%

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นญี่ปุ่นยังไม่สามารถให้คำตอบเรื่องการร่วมทุน แต่ยืนยันว่าจะให้ความช่วยเหลือด้านความรู้ในการผลิตบุคลากรรวมถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับโครงการก่อสร้างเฟส1 ช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก 418 กม. วงเงิน 2.8 แสนล้านบาท เมื่อสรุปรูปแบบการลงทุนได้แล้วจะนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ฯ พิจารณาต่อไป ยอมรับว่ารัฐบาลมีภาระการลงทุนระบบรางด้วยเม็ดเงินมหาศาล จึงต้องการให้ญี่ปุ่นเข้ามาร่วมทุนบางส่วนให้โครงการเดินหน้าได้ นายอาคมจึงต้องเดินทางไปร่วมประชุมในระดับนโยบายที่ญี่ปุ่น

รายงานข่าวแจ้งว่า ฝ่ายญี่ปุ่นได้แจ้งในที่ประชุมในระดับคณะกรรมการทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งมีนายอาคม เป็นประธานการประชุมว่าโครงการดังกล่าวเป็นแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ดังนั้นรัฐบาลไทยควรลงทุนเองเช่นเดียวกับในญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศที่รัฐบาลลงทุนเองทั้งหมด ประกอบกับผลการศึกษาพบว่า โครงการยังไม่คุ้มค่าเพียงพอต่อการลงทุนเชิงพาณิชย์ เมื่อดูจากปริมาณผู้โดยสารอีกทั้งประเทศญี่ปุ่นยังไม่เคยทำสัญญาร่วมลงทุนรัฐบาลต่อรัฐบาล (G2G) กับประเทศใดในโลกเพื่อพัฒนารถไฟไฮสปีด ดังนั้นจึงคาดว่าโครงการดังกล่าวจะยังไม่สามารถเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ทันรัฐบาลชุดนี้ คงเป็นเรื่องที่รัฐบาลใหม่ต้องเข้ามาตัดสินใจว่าจะเดินหน้าต่อหรือไม่อย่างไร สำหรับทางเลือกในตอนนี้ หากรัฐบาลนี้จะเดินหน้าโครงการต่อด้วยการลงทุนเอง ต้องหาวิธีปรับลดค่าใช้จ่ายลงโดยรัฐบาลอาจลงทุนพร้อมเปิดบริการไปก่อน 15 ปีในเฟสแรก จากนั้นจึงเปิดให้เอกชนเข้ามาบริหารต่อไป ทั้งนี้ได้กำหนดค่าโดยสารเริ่มต้นไว้ที่ 80 บาทและคิดค่าเดินทาง กม. ละ 1.5 บาท ส่งผลให้ค่าโดยสารช่วงเฟส 1 กรุงเทพ-พิษณุโลก 418 กม. ตกประมาณ 707 บาท ขณะที่ค่าโดยสารตลอดสายช่วงกรุงเทพ-เชียงใหม่ 673 กม. อยู่ที่ 1,089 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 287, 288, 289 ... 546, 547, 548  Next
Page 288 of 548

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©