Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181761
ทั้งหมด:13492999
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 314, 315, 316 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2019 5:22 pm    Post subject: Reply with quote

ไทยถาม จีนตอบ : โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ไทยได้หรือเสีย?

วันที่ 16 มีนาคม 2562 - 16:11 น.


พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมพิธีเปิดการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน

ชนชาติจีนตั้งแต่สมัยโบราณ มีความพยายามเชื่อมต่อบ้านเมืองของตนกับชนชาติและอารยธรรมอื่นๆ

ดังที่เห็นได้จากทั้งการเดินทางสำรวจทางทะเลของ “เจิ้งเหอ” และการบุกเบิก “เส้นทางสายไหม” อันโด่งดัง ที่ลากผ่านทะเลทรายและถิ่นทุรกันดาร ไปเชื่อมต่อกับโลกตะวันตก ทำให้ชาวตะวันตกได้เรียนรู้เทคโนโลยีและอารยธรรมของจีนอย่างแพร่หลาย

เมื่อจีนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ในฐานะมหาอำนาจสำคัญของโลกเอเชีย ก็ไม่ได้ละทิ้งความพยายามดังกล่าว รัฐบาลจีนจึงได้เปิดตัวโครงการเส้นทางสายใหม่ยุคใหม่ ที่เรียกว่า “一带一路” หรือ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ในภาษาไทย และ “One Belt One Road” ในภาษาอังกฤษ โครงการนี้มิได้มุ่งหวังเพียงแค่จะเชื่อมต่อจีนกับประเทศอื่นๆ แต่จะเชื่อมต่อภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาด้วยกัน เป็นหนึ่งเดียวด้วยระบบรถไฟ สะพาน ถนน ท่าเรือ และสาธารณูปโภคอื่นๆ

ประเมินกันว่าจีนจะลงทุนในโครงการ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” นี้กว่า 4.3 ล้านล้านบาท นับเป็นการลงทุนที่มหึมาที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน

“ชาวจีนมักพูดกันว่า ‘ก้าวแรกคือก้าวที่ยากที่สุด’ ในวันนี้ ก้าวแรกที่มั่นคงได้เกิดขึ้นแล้วในการบรรลุโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวเมื่อปี 2560

ประเทศไทยก็จะเข้าร่วมเป็นหนึ่งในเส้นทางเชื่อมต่อของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางด้วย โดยจะมีรถไฟความเร็วสูงวิ่งเชื่อมกรุงเทพมหานคร กับภาคอีสาน และต่อไปยังกัมพูชาและลาว ไปบรรจบกับเส้นทางรถไฟของจีน ณ นครคุนหมิง

อย่างไรก็ตาม มีข้อกังขาจากหลายส่วนว่า โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางนี้ จะเป็นผลดีต่อไทยหรือไม่ ไทยจะเสียเปรียบจีนหรือไม่ บางคนถึงกับเตือนว่าไทยอาจจะกลายเป็น “เมืองขึ้น” ของจีนเลยทีเดียว


แผนที่แสดงโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง
บรรดาหน่วยงานของจีนจึงได้จัดตีพิมพ์หนังสือคู่มือ “คำสำคัญเพื่อเข้าใจประเทศจีน ฉบับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เพื่อชี้แจงให้ชาวไทยได้เข้าใจโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางมากขึ้น ซึ่งในงานเปิดตัวหนังสือดังกล่าว ได้มีการจัดเสวนาร่วมกันทั้งฝ่ายจีน และฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่่ผ่านมา เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนให้เห็นมุมมองทั้งสองฝ่าย

“ความคิดได้วางรากฐานแล้ว ต่อไปนี้คือลงรายละเอียด เหมือนเวลาวาดภาพ เราวาดลวดลายขึ้นมาแล้ว จากนี้จะใช้ปากกาลงสี” คุณหวัง หลิงกุ้ย รองประธานคณะกรรมการจากสภาวิทยาศาสตร์สังคมจีน กล่าวบนเวทีเสวนา “เราเห็นความต้องการของประเทศกลุ่มกำลังพัฒนา เราต้องการสันติและการพัฒนา”

คุณหวังระบุว่าโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางได้สร้างทางรถไฟเชื่อมต่อจีนกับยุโรปแล้ว ทุกวันนี้มีรถไฟจีน-ยุโรปถึงกว่า 14,000 เที่ยว ขนส่งสินค้าและผู้คนอย่างสะดวก กลายเป็นเม็ดเงินทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจีนก็อยากให้ไทยอยู่ในโครงข่ายเช่นนี้ด้วย เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย

“โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางคือการสร้างเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ไม่ใช่แค่จีน ไม่ใช่เป็นการเล่นเกมใดๆ ไม่ใช่การแบ่งแยกความคิด” คุณหวังกล่าวสรุป

ทั้งนี้ ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีรถไฟความเร็วสูงรวมกันยาวที่สุดในโลก และจีนยังได้ร่วมมือกับหลายประเทศในการสร้างรถไฟความเร็วสูงเพื่อขยายความเจริญทางสาธารณูปโภคไปทั่วโลก

ในคู่มือคำสำคัญที่เปิดตัวในงาน ก็ได้อธิบายความสำเร็จของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางใน 171 ประเทศรวมทั้งไทย ล่าสุด รถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงจาการ์ต้าและนครบันดุงในประเทศอินโดนีเซีย ก็ได้สำเร็จลุล่วงด้วยความร่วมมือของจีน




คุณหวังยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางมีความสำเร็จมากมาย อาจจะพบกับอุปสรรคหรือไม่เป็นไปดังคาดบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นส่วนน้อย ไม่เกินร้อยละ 5 หรือ 6 ซึ่งสื่อตะวันตกมักเอาไปประโคมข่าวใหญ่โต จึงอยากให้คนไทยมองที่ผลลัพธ์โดยรวมในระยะยาวมากกว่า

“คนตะวันตกยังไม่ค่อยเข้าใจโครงการนี้อย่างถ่องแท้เท่าไหร่นัก ผมเชื่อว่าร้อยละ 60-70 มองไม่ตรงกับความเป็นจริง” ดร.หวังอธิบาย “ทั้งๆที่โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางมีไว้ให้คนทั้งโลก สร้างงานมาแล้ว 2 ล้านตำแหน่ง การค้ามูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ”

อ.หวังกล่าวด้วยว่า โครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ไม่ใช่ว่าวันเดียวหรือสองวันจะเห็นผล

“ตอนเด็กๆ คนจีนคิดตลอดว่าจะทำอย่างไรถึงจะอิ่มท้อง แต่ทุกวันนี้เรากินดีอยู่ดีทุกอย่าง แต่ไม่ใช่ว่าเรากินข้าวคำเดียวแล้วกลายเป็นผู้ใหญ่ ต้องค่อยเป็นค่อยไป ดูอย่างรถไฟในจีน เมื่อก่อนต้องนั่งกัน 13 ชั่วโมง ตอนนี้เหลือ 2 ชั่วโมงเอง”

สำหรับประเทศไทยนั้น ถึงแม้จะได้ลงนามร่วมมือกับจีนในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางมาหลายปีแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้านัก โดยถึงทุกวันนี้ เส้นทางรถไฟ 3.5 กิโลเมตรแรก ยังดำเนินการก่อสร้างไม่เสร็จ ขณะที่นักวิชาการและนักการเมืองบางส่วนในไทย ไม่ไว้ใจเทคโนโลยีของจีน บ้างก็ว่าล้าหลังหรือไม่ปลอดภัย บ้างก็กลัวว่าโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางจะกลายเป็นแผนครอบงำประเทศไทย



รศ.ดร. อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี อ.ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์จากนิด้า กล่าวในงานเสวนาว่า คนไทยมีภาพลักษณ์เชิงลบเกี่ยวกับโครงการนี้จริงๆ แม้แต่นักศึกษาของตนหลายคนก็ทำรายงานและศึกษาโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางในเชิงตั้งคำถามว่า ไทยจะได้อะไรบ้าง ดังนั้น จึงอยากเห็นทั้งสองประเทศร่วมมือกันในรูปแบบใหม่ไปมากกว่าที่เคยกับประเทศอื่นๆ

“จีนมีความตั้งใจสร้างความเจริญให้มนุษยชาติ อ่านแล้วก็เห็นความตั้งใจนี้ หนังสือพยายามบอกว่าทำอะไรมาแล้วบ้าง” อ.อัชกรณ์กล่าว “แต่ผมอยากเห็นความร่วมมือใหม่ๆบ้าง ที่ผ่านมาไทยร่วมมือกับญี่ปุ่น กับสหรัฐ ก็คล้ายๆกัน ให้ทุน ให้กู้เงิน อยากเห็นอะไรใหม่ๆบ้าง”

เมื่อได้ยินฝั่งไทยเสนอเช่นนี้ ดร.จ้าว เจียงหลิน นักวิจัยอีกท่านจากสภาวิทยาศาสตร์สังคมจีนจึงกล่าวว่า ควรจะมีความร่วมมือและแลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับจีนมากขึ้นอีก โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยในสองประเทศ ทำคลังสมองหรือ think tank ร่วมกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เข้าใจกันมากขึ้น

ด้านศจ.สวู หงกัง คณบดีคณะการท่องเที่ยว จากมหาวิทยาลัยซุนยัดเซ็น ให้มุมมองว่า ดูตัวอย่างจากการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับจีน ถึงแม้บางครั้งจะไม่เข้าใจกันหรือกระทบกระทั่งกัน แต่ในเนื้อแท้แล้ว เป็นอุตสาหกรรมที่ให้ประโยชน์ทั้งคนไทยและคนจีน ทั้งสองประเทศสามารถร่วมมือกันให้ธุรกิจท่องเที่ยวโตได้มากกว่านี้

“ความสัมพันธ์สองประเทศเป็นหนทางที่ยาวไกล ประเด็นสำคัญคือถ้ามีความแตกต่าง เราต้องหารือกัน ทำวิจัยการท่องเที่ยว เข้าใจบทบาทของการท่องเที่ยว … ผู้ประกอบการจีนควรมาดูงานที่ภูเก็ต ดูว่าเขาเที่ยวกันอย่างไร เป็นต้น” ศจ.สวูระบุ ก่อนกล่าวปิดท้ายว่า

“โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางนั้น ไม่ใช่ว่าจีนอยากเปลี่ยนโลกให้เป็นของจีน ไม่ใช่การยัดเยียดแต่อย่างใด”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/03/2019 7:12 pm    Post subject: Reply with quote

กองทัพบกไม่ขัดข้องคมนาคมใช้ที่ปากช่องสร้างสถานีไฮสปีด-ไทยเร่งเคลียร์จีนค่างานระบบให้ชัดๆ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 21 March 2019 - 18:33 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2562 ที่ประชุมโครงการรถไฟไทย-จีนเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. เงินลงทุน 179,421 ล้านบาท รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่27 ที่ประชุมร่วมกัน 3 ฝ่าย คือไทย ลาว จีน เรื่องการสร้างจุดเชื่อมต่อรถไฟไทย-จีนระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ที่มีสถานีปลายทางหนองคาย จะไปเชื่อมกับรถไฟควารมเร็วสูงลาว-จีนที่เวียงจันทน์

โดยจะกำหนดตำแหน่งการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ซึ่งออกแบบรองรับราง 1.435 เมตรรองรับรถไฟความเร็วสูง ส่วนสะพานปัจจุบันที่มีราง1 เมตรอยู่แล้ว จะเป็นสะพานรองรับรถยนต์อย่างเดียว ซึ่งฝ่ายไทยจะออกค่าก่อสร้างในฝั่งไทย

“สถานีหนองคายจะเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารทั้งรถไฟไทย-จีนและลาว-จีน ส่วนสถานีนาทาเป็นสถานีจุดเปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าที่มาจากจีนและภายในประเทศที่จะขนส่งโดยรถไฟไปยังท่าเรือแหลมฉบัง”

นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ประชมยังไม่การพิจารณาด้านเทคนิค 7 ข้อที่ยังคุยกับจีนไม่ได้ข้อยุติ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่นำไปสู่การพิจารณาของสัญญา2.3 งานติดตั้งระบบ เนื่องจากค่าใช้จ่ายทั้ง 7 รายการนี้ทางจีนไม่ได้ให้รายละเอียดมีแต่วงเงินโดยรวม

ได้แก่ 1.ค่าการบริหารจัดการโครงการ 1,400 ล้านบาท 2.ค่าออกแบบรายละเอียด 700 ล้านบาท 3.ระบบเกี่ยวกับการทดสอบ 4.การจัดการแผนงาน 5.คุณสมบัติของบุคคลมากำกับคุมงานติดตั้งต่างๆ ทั้ง 3 รายงานรวม 365 ล้านบาท 6. ข้อกำหนดทั่วไป1,100 ล้านบาท และ 7.การจัดการ ยังไม่ได้กำหนดราคา

“ที่ประชุมให้การถไฟฯไปหารือกับจีนให้ได้ข้อสรุปรายละเอียดต่อไป ซึ่งฝ่ายไทยไม่ได้สงสัยเรื่องเงินแต่สงสัยว่ามาจากอะไรบ้าง”

นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาการขอใช้ราชพัสดุบริเวณปากช่องที่จะสร้างเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูง 216 ไร่ ของกรมธนารักษ์ที่ให้กองทัพบกใช้ประโยชน์เป็นเกตรกรรม ซึ่งกองทัพบกพร้อมที่สนับสนุนโครงการและไม่ขัดข้อง แต่ของให้การรถไฟฯกับกรมธนารักษ์เคลียร์แนวคิดให้ชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2019 12:36 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดไทย-จีนอืดติดปมเจรจา7ด้าน
วันที่ 22 มีนาคม 2562 เวลา 08:40 น.

1.ค่างานบริหารโครงการวงเงิน 1,400 ล้านบาท
2.ค่าใช้จ่ายการออกแบบรายละเอียด 700 ล้านบาท
3.ค่าใช้จ่ายการก่อตั้งคณะกรรมาธิการทำงานร่วมกันด้านทดสอบระบบและตัวรถ (Joint Testing and Commissioning)
4.ค่าใช้จ่ายการวางแผนทำงานโครงการในช่วงเวลาที่สำคัญ
5.ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Key Personal) วงเงิน 3 รายการ รวมทั้งสิ้น 365 ล้านบาท
6.รายจ่ายสำคัญทั่วไป (General Requirement) วงเงิน 1,100 ล้านบาท และ
7.ค่าใช้จ่ายด้านบริหารและประสานงานโครงการ (Interface Management) ยังไม่ระบุวงเงิน

สำหรับการเจรจาสัญญา 2.3 ที่ผ่านมานั้น พบว่าทางฝ่ายจีนได้แจ้งรายละเอียดเรื่องสเปกราคา แต่ไม่มีการแจกแจงรายละเอียดตัวเลขวงเงินที่ชัดเจนว่าค่าใช้จ่ายแต่ละส่วนมีอะไรบ้าง ส่วนมากจะคิดค่าใช้จ่ายแบบเหมารวมตามวัฒนธรรมการทำงานของจีน ซึ่งที่ผ่านมาได้เจรจามาพอสมควรแล้ว แต่ยังเหลืออีก 7 ข้อเท่านั้น

นอกจากนี้ มองว่าอีกสาเหตุหนึ่งที่การเจรจาล่าช้าเนื่องจากบริษัทคู่สัญญาฝ่ายจีนนั้นมีบริษัทซัพพลายเออร์ที่ต้องไปไล่บี้ให้ส่งข้อมูลเรื่องรายละเอียดค่าใช้จ่ายอีกจำนวนมาก เช่น บริษัทซัพพลายด้านงานระบบ บริษัทซัพพลายผลิต ตัวรถเป็นต้น

//--------------------------------------

ไทยเร่งจีนแจงค่าใช้จ่ายงานระบบไฮสปีด – ทบ.แบ่งพื้นที่ปากช่อง 216 ไร่ก่อสร้างสถานี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 21 มีนาคม 2562 เวลา 18:50
ปรับปรุง: 21 มีนาคม 2562 เวลา 19:06


“คมนาคม”เร่งรฟท.เจรจาคณะทำงานจีน แจกแจงเทคนิค 7 ข้อทุกรายการ ก่อนสรุปสัญญา2.3 รถไฟไทย-จีน เผยจีน ทำงานแบบเหมา เป็นเทิร์นคีย์ไม่มีแบบรายละเอียดเหมือนไทย ขณะที่กองทัพบก ยอมให้ใช้พื้นที่ 216 ไร่ สร้างสถานีปากช่อง

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารและการพัฒนาโครงการด้านรถไฟ ระหว่างไทย-จีน ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ได้รับทราบความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (JC) ครั้งที่ 27 ณ กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 27 ก.พ.-1 มี.ค. 2562 และการประชุมร่วม3 ฝ่าย (ไทย-จีน-ลาว) ในการเชื่อมต่อกับเส้นทางกับ สปป.ลาว ช่วงหนองคาย -เวียงจันทน์ ซึ่งมีความชัดเจนแล้ว

ทั้งนี้ ในส่วนของสัญญา 2.3 (การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) การเจรจาในเรื่องหลักประกันสัญญา ค่าปรับไม่เรียบร้อย นอกจากนี้ยังมีประเด็นด้านเทคนิค 7 ข้อที่ไม่ชัดเจน เนื่องจากฝ่ายจีนให้ข้อมูลไม่เพียงพอ ที่จะนำมาพิจารณาประเมินหรือเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายได้ จงยังยอมรับไม่ได้ และทำให้ยังสรุปวงเงินของสัญญา 2.3 ไม่ได้ เพราะจีนถนัดการทำงานแบบเหมา หรือเทิร์นคีย์ จึงไม่มีรายละเอียดในแต่ละรายการ ที่นำมาถอดเป็นค่าใช้จ่ายได้ ที่ประชุมมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และคณะทำงานฝ่ายไทย หารือร่วมกับคณะทำงานของจีนหาข้อสรุป โดยเร็วที่สุด

สำหรับข้อเสนอด้านเทคนิค 7 ข้อที่ฝ่ายจีนต้องส่งข้อมูลเพิ่มเติม คือ

1. Project Management จีนเสนอที่ 1,417.91 ล้านบาท
2. ค่าออกแบบ (Detail design) จีนเสนอ 773.90 ล้านบาท
3. Joint Testing and Commissioning จีนเสนอ 365.55 ล้านบาท
4.Work Plan for Key Date
5.Key Personal
6. General Requirement จีนเสนอ1,173.71 ล้านบาท
7. Interface Management

นอกจากนี้ ได้หารือร่วมกับกองทัพบก (ทบ.) ซึ่งยินยอมให้รฟท.ใช้ที่ดินบริเวณปากช่อง จำนวน 216 ไร่ ซึ่งทบ. ได้รับสิทธิ์ในการใช้พื้นที่จากกรมธนารักษ์ สำหรับก่อสร้างสถานีปากช่อง ซึ่งเป็นสถานีใหม่ โดยรฟท.จะเร่งลงพื้นที่ตรวจสอบแนวเขตพื้นที่ชัดเจนต่อไป

“การเจรจารถไฟไทย-จีน ทั้งสองฝ่ายมีความพยายามในการเจรจาให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว ซึ่ง หากคณะทำงาน 2 ฝ่ายหาข้อสรุปด้านเทคนิค 7 ข้อ ได้รายละเอียดและกรอบวงเงินที่เหมาะสมแล้ว จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วม หรือ JC ครั้งที่ 28 เพื่อลงนามในบันทึก จากนั้น ฝ่ายไทยจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติลงนามสัญญา 2.3 ต่อไป

สำหรับการเชื่อมต่อกับประเทศสปป.ลาว ช่วงหนองคาย -เวียงจันทน์ นั้น ข้อสรุปการประชุม3 ฝ่าย ซึ่งจีนรับเป็นผู้ออกแบบ โดยจะก่อสร้าง สะพานทางรถไฟแห่งใหม่มีทางรถไฟขนาด 1 เมตร เป็นแบบทางเดี่ยว เนื่องจากมีความถี่ในการเดินรถไม่มากนัก และมีรางขนาด 1.435 เมตร สำหรับรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ซึ่งจะวางรางบนสะพาน 4 ราง หรือเป็นแบบทางคู่

โดยรถไฟจากหนองคาย-เวียงจันทน์ มีระยะทางประมาณ 14 กม. ตัวสะพานมีความประมาณ 400-500 เมตร โดยไทยและลาวจะออกค่าใช้จ่าย บนสะพานคนละครึ่ง ส่วนทางรถไฟฝั่งไทย ที่เชื่อมจากสถานีหนองคาย-กลางสะพาน ประมาณ 10 กม. โดยสถานีหนองคายจะเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร และใช้สถานีนาทา เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2019 1:35 pm    Post subject: Reply with quote

ยังไม่ลงตัว! ซี.พี.ขอต่อเวลาถกพาร์ตเนอร์ ไฮสปีด 3 สนามบินยังไม่เรียบร้อย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วัน อังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 11:21
ปรับปรุง: วัน อังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 12:44




ซี.พี.แจ้งขอเลื่อนเจรจาต่อรองรถไฟเชื่อม 3 สนามบินจาก 28 มี.ค.ออกไปก่อน ระบุหารือพาร์ตเนอร์ การเงินยังไม่เรียบร้อย “วรวุฒิ” คาดไม่เกินสัปดาห์หน้าเชื่อการเมืองเปลี่ยนไม่กระทบโครงการ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า จากที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ได้ เจรจากับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซี.พี.) โดยกลุ่ม ซี.พี.ขอเวลาเจรจาทางด้านการเงินกับพันธมิตรนั้น ล่าสุดทาง ซี.พี.แจ้งว่าการหารือด้านการเงินกับพันธมิตรยังไม่เรียบร้อย และอาจไม่ทันกำหนดที่จะเข้าเจรจากับคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในวันที่ 28 มี.ค. จึงขอเลื่อนการเจรจาออกไปก่อน โดยตนได้ประสานกับตัวแทน ซี.พี.แล้วว่ากรณีขอเลื่อนเจรจาทำได้ แต่ ซี.พี.ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเลื่อนไปเป็นเมื่อใด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการยืนยันวันเจรจาใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นสัปดาห์หน้า

"ทาง ซี.พี.อาจจะหารือกับพาร์ตเนอร์จีนแล้ว แต่ยังมีพาร์ตเนอร์อื่นอีกที่ต้องคุย แนวโน้มตอนนี้คือ ซี.พี.จะสรุปมาเจรจากับเราไม่ทันวันที่ 28 มี.ค."

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีหากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินหรือไม่ เนื่องจากพรรคเพื่อไทยระบุว่าจะทบทวนโครงการ นายวรวุฒิกล่าวว่า ไม่อยากให้นำการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องการดำเนินโครงการต่างๆ ของ ร.ฟ.ท. ซึ่งที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.มีแผนการดำเนินโครงการการพัฒนาระบบรางของประเทศ และรัฐบาลทุกยุค จะมีการติดต่อหารือร่วมมือกับประเทศจีนอยู่แล้ว ดังนั้นรถไฟจะดำเนินงานตามปกติ

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เจรจากับ ซี.พี.สรุปประด็นที่อยู่นอกกรอบข้อเสนอโครงการ (RFP) และนอกเหนือจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ตรงกันแล้ว เหลือเรื่องการเงิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง ประมาณ 3-4 ข้อ ซี.พี.ขอเวลาเจรจากับแหล่งทุนที่เป็นพันธมิตรอีกเล็กน้อยเพื่อให้ได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลง ความเสี่ยงของโครงการจะลดลง

แต่เนื่องจากเกี่ยวข้องกับรัฐบาล 3 ประเทศ คือ ไทย จีน ญี่ปุ่น ซึ่ง ซี.พี.แจ้งว่ามีแนวโน้มดี และอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายจะสรุปการเจรจาได้

ร.ฟ.ท.คาดว่าหากไม่มีอุบัติเหตใด การเจรจากับ ซี.พี.จะสามารถสรุปการเจรจาทุกประเด็นได้ก่อนสงกรานต์ และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2019 1:36 pm    Post subject: Reply with quote

4 เม.ย.มาแน่! ซี.พี.ขอเลื่อนเจรจาไฮสปีดรอ “จีน” คอนเฟิร์มเงินลงทุน
พร็อพเพอร์ตี้
วัน อังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17:25 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ตามที่กลุ่มซี.พี.ผู้เสนอราคาต่ำสุดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา มูลค่า 224,544 ล้านบาท ขอเวลาคณะกรรมการคัดเลือกเจรจาทางด้านการเงินกับพันธมิตรนั้น ล่าสุดกลุ่มซี.พี.ทำหนังสือแจ้งมาขอเลื่อนให้คำตอบเป็นวันที่ 4 เม.ย.นี้ จากเดิมกำหนดไว้เบื้องต้นจะประชุมร่วมกันวันที่ 28 มี.ค.นี้

“ซี.พี.รอคำตอบจากพันธมิตรจีนอยู่ ส่วนทางญี่ปุ่นได้เคลียร์จบแล้ว คาดว่าวันที่ 4 เม.ย.นี้ การเจรจาน่าจะจบเรื่องข้อเสนอด้านการเงิน จากนั้นจะนำไปสู่การเจรจาในข้อเสนอที่ง่ายและได้ข้อสรุปสุดท้ายก่อนสงกรานต์อย่างที่ตั้งเป้าไว้”



สำหรับข้อเสนอด้านการเงินที่กลุ่มซี.พี.นำมาเจรจาก่อนหน้านี้ อยู่นอกเหนือทีโออาร์และมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อลดความเสี่ยงของโครงการ แต่คณะกรรมการคัดเลือกไม่สามารถรับได้

“โครงการต้องใช้เงินลงทุนมาก กลุ่มซี.พี.ต้องการลดความเสี่ยง จึงต้องหาต้นทุนดอกเบี้ยต่ำที่สุด หากได้ข้อสรุป เงื่อนไขก่อนหน้านี้จะผ่อนคลายหมด เช่น ขอให้รัฐจ่ายเงินอุดหนุนตั้งแต่ปีแรกหรือจ่ายค่าเช่าที่ดินมักกะสันภายหลัง”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพันธมิตรชอง ซี.พี.ได้แก่ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ถือหุ้น 5% บจ.ไชน่า คอนสตรักชั่น คอร์ปอเรชั่น จากประเทศจีนถือหุ้น 10% บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM ถือหุ้น 15%

ที่เหลือมี JOIN หรือองค์กรความร่วมมือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการพัฒนาเมืองในต่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น, บจ.ซิติกกรุ๊ป จากประเทศจีน

บจ.ไชน่า รีเสิร์ช (โฮลดิ้งส์) จากประเทศจีน, บจ.ซีเมนส์ จากประเทศเยอรมนี, บจ.ฮุนได จากประเทศเกาหลี, บจ.Ferrovie dello Stato Italiane (FS) จากประเทศอิตาลี, บจ.CRRC-Sifang จากประเทศจีน และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC ประเทศญี่ปุ่น





ซี.พี.แจ้งขอเลื่อนเจรจาต่อรองรถไฟเชื่อม 3 สนามบินจาก 28 มี.ค.ออกไปก่อน ระบุหารือพาร์ตเนอร์ การเงินยังไม่เรียบร้อย “วรวุฒิ” คาดไม่เกินสัปดาห์หน้าเชื่อการเมืองเปลี่ยนไม่กระทบโครงการ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า จากที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ได้ เจรจากับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซี.พี.) โดยกลุ่ม ซี.พี.ขอเวลาเจรจาทางด้านการเงินกับพันธมิตรนั้น ล่าสุดทาง ซี.พี.แจ้งว่าการหารือด้านการเงินกับพันธมิตรยังไม่เรียบร้อย และอาจไม่ทันกำหนดที่จะเข้าเจรจากับคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในวันที่ 28 มี.ค. จึงขอเลื่อนการเจรจาออกไปก่อน โดยตนได้ประสานกับตัวแทน ซี.พี.แล้วว่ากรณีขอเลื่อนเจรจาทำได้ แต่ ซี.พี.ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเลื่อนไปเป็นเมื่อใด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการยืนยันวันเจรจาใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นสัปดาห์หน้า

"ทาง ซี.พี.อาจจะหารือกับพาร์ตเนอร์จีนแล้ว แต่ยังมีพาร์ตเนอร์อื่นอีกที่ต้องคุย แนวโน้มตอนนี้คือ ซี.พี.จะสรุปมาเจรจากับเราไม่ทันวันที่ 28 มี.ค."

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีหากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินหรือไม่ เนื่องจากพรรคเพื่อไทยระบุว่าจะทบทวนโครงการ นายวรวุฒิกล่าวว่า ไม่อยากให้นำการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องการดำเนินโครงการต่างๆ ของ ร.ฟ.ท. ซึ่งที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.มีแผนการดำเนินโครงการการพัฒนาระบบรางของประเทศ และรัฐบาลทุกยุค จะมีการติดต่อหารือร่วมมือกับประเทศจีนอยู่แล้ว ดังนั้นรถไฟจะดำเนินงานตามปกติ

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เจรจากับ ซี.พี.สรุปประด็นที่อยู่นอกกรอบข้อเสนอโครงการ (RFP) และนอกเหนือจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ตรงกันแล้ว เหลือเรื่องการเงิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง ประมาณ 3-4 ข้อ ซี.พี.ขอเวลาเจรจากับแหล่งทุนที่เป็นพันธมิตรอีกเล็กน้อยเพื่อให้ได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลง ความเสี่ยงของโครงการจะลดลง

แต่เนื่องจากเกี่ยวข้องกับรัฐบาล 3 ประเทศ คือ ไทย จีน ญี่ปุ่น ซึ่ง ซี.พี.แจ้งว่ามีแนวโน้มดี และอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายจะสรุปการเจรจาได้

ร.ฟ.ท.คาดว่าหากไม่มีอุบัติเหตใด การเจรจากับ ซี.พี.จะสามารถสรุปการเจรจาทุกประเด็นได้ก่อนสงกรานต์ และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป


Last edited by Wisarut on 27/03/2019 1:00 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2019 11:30 pm    Post subject: Reply with quote

ยังไม่ลงตัว! ซี.พี.ขอต่อเวลาถกพาร์ตเนอร์ ไฮสปีด 3 สนามบินยังไม่เรียบร้อย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วัน อังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา18:22



ซี.พี.แจ้งขอเลื่อนเจรจาต่อรองรถไฟเชื่อม 3 สนามบินจาก 28 มี.ค.ออกไปเป็นวันที่ 4 เม.ย. ระบุหารือพาร์ตเนอร์จีน ด้านการเงินยังไม่เรียบร้อย “วรวุฒิ” มั่นใจใกล้ได้ข้อยุติ ขณะที่เชื่อการเมืองเปลี่ยนไม่กระทบโครงการ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า จากที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท ได้ เจรจากับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซี.พี.) โดยกลุ่ม ซี.พี.ขอเวลาเจรจาทางด้านการเงินกับพันธมิตรนั้น ล่าสุดทาง ซี.พี.แจ้งว่าการหารือด้านการเงินกับพันธมิตรยังไม่เรียบร้อย และอาจไม่ทันกำหนดที่จะเข้าเจรจากับคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในวันที่ 28 มี.ค. จึงขอเลื่อนการเจรจาออกไปเป็นวันที่ 4 เม.ย. 2562

“ทาง ซี.พี.ให้เหตุผลว่ายังไม่พร้อมเจรจากับคณะกรรมการคัดเลือกฯ เนื่องจากยังหารือกับพาร์ตเนอร์จีนในประเด็นทางการเงินไม่เรียบร้อย และยังมีพาร์ตเนอร์อื่นอีกที่ต้องคุยอีก ทำให้สรุปข้อมูลไม่ทันวันที่ 28 มี.ค.คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้รับทราบที่ซี.พี.ขอเลื่อนการเจราจรแล้ว เบื้องต้นนัดประชุมในช่วงบ่าย วันที่ 4 เม.ย."

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีหากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินหรือไม่ เนื่องจากพรรคเพื่อไทยระบุว่าจะทบทวนโครงการ นายวรวุฒิกล่าวว่า ไม่อยากให้นำการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องการดำเนินโครงการต่างๆ ของ รฟท. ซึ่งที่ผ่านมา รฟท.มีแผนการดำเนินโครงการการพัฒนาระบบรางของประเทศ และรัฐบาลทุกยุค จะมีการติดต่อหารือร่วมมือกับประเทศจีนอยู่แล้ว ดังนั้นรถไฟจะดำเนินงานตามปกติ

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เจรจากับ ซี.พี.สรุปประเด็นที่อยู่นอกกรอบข้อเสนอโครงการ (RFP) และนอกเหนือจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ตรงกันแล้ว เหลือเรื่องการเงิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง ประมาณ 3-4 ข้อ ซี.พี.ขอเวลาเจรจากับแหล่งทุนที่เป็นพันธมิตรอีกเล็กน้อยเพื่อให้ได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลง ความเสี่ยงของโครงการจะลดลง

แต่เนื่องจากเกี่ยวข้องกับรัฐบาล 3 ประเทศ คือ ไทย จีน ญี่ปุ่น ซึ่ง ซี.พี.แจ้งว่ามีแนวโน้มดี และอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายจะสรุปการเจรจาได้ อย่างไรก็ตามในส่วนของ รฟท.คาดว่าหากไม่มีอุบัติเหตุใด การเจรจากับ ซี.พี.จะสามารถสรุปการเจรจาทุกประเด็นได้ก่อนสงกรานต์ และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2019 12:46 am    Post subject: Reply with quote

28 มีนาคม พ.ศ. 2562 รฟท. ประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) จำนวน 3 สัญญา รวมวงเงิน 33,959.518 ล้านบาท ขายเอกสารประกวดราคาระหว่างวันที่ 28 มีนาคม -13 พฤาภาคม 2562 กำหนดยื่นข้อเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่14พฤษภาคม 2562 ระหว่างเวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น. ได้แก่
1. งานสัญญาที่ 3-1 งานโยธาสำหรับช่วง แก่งคอย - กลางดง และช่วงปางอโศก - บันไดม้า ราคากลาง 11,063,937,000.00 บาท
http://procurement.railway.co.th/auction/system/Declaration.asp?NumDC=35535
2.งานสัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วง ลำตะคอง - สีคิ้ว และช่วงกุดจิก – โคกกรวด ระยะทาง37.45 กม. ราคากลาง 11,655,538,000.00 บาท
http://procurement.railway.co.th/auction/system/Declaration.asp?NumDC=35536
3. งานสัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วง พระแก้ว - สระบุรี ราคากลาง 11,240,043,000.00 บาท
http://procurement.railway.co.th/auction/system/Declaration.asp?NumDC=35538

ผลการประมูลออกปลายเดือนพฤษภาคม 2562
https://www.thebangkokinsight.com/123443/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2224539114259688&set=a.1914290831951186&type=3&theater

รฟท.ประมูลรถไฟไทย-จีนอีกกว่า 3.3 หมื่นล้าน
28 มีนาคม พ.ศ. 2562
รฟท.เปิดประมูลอีก 3 สัญญางานโยธารถไฟไทย-จีนรวมมูลค่ากว่า 3.3 หมื่นล้านครอบคลุมพื้นที่แก่งคอย-กลางดง, ลำตะคอง-สีคิ้ว และสระบุรี ดีเดย์เปิดขายซองวันนี้ถึง 13 พค.62 พร้อมกำหนดยื่นข้อเสนอ 14 พค.นี้ในราคาชุดละ 3 หมื่นบาท

แหล่งข่าวระดับสูงของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า ในวันนี้(28 มีนาคม 2562) นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้ลงนามประกาศขายซองเอกสารประกวดราคา จ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) จำนวน 3 สัญญา รวมวงเงินทั้งสิ้น 3.3หมื่นล้านบาท ​ประกอบไปด้วย งานสัญญาที่ 3-1 งานโยธาสำหรับช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า วงเงิน 11,063 ล้านบาท งานสัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กิโลเมตร วงเงิน 11,655 ล้านบาท และงานสัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี วงเงิน 11,240 ล้านบาท ​โดยผู้สนใจสามารถขอซื้อเอกสารประกวดราคาในราคาชุดละ 3หมื่นบาทผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์และชำระเงินผ่านทางธนาคารในระหว่างวันที่ 28 มีนาคม – 13 พฤษภาคม 2562 นี้ ผู้สนใจยื่นข้อเสนอต้องยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 ระหว่างเวลา 08.3. น.-16.30 น.

ทั้งนี้ได้กำหนดคุณสมบัติผู้สมัคร อาทิ ต้องมีความสามารถตามกฏหมาย ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ไม่อยู่ระหว่างเลิกกิจการ ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ระหว่างถูกระงับการยื่นข้อเสนอหรือทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐไว้ชั่วคราวเนื่องจากเป็นผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดตามที่ประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกับกับงานที่ประกวดราคาจ้างก่อสร้างในวงเงินไม่น้อยกว่า 1,106 ล้านบาทและเป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของเอกชนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเชื่อถือในส่วนกิจการร่วมค้าสมาชิกกิจการร่วมค้าทุกรายต้องมีอาชีพรับจ้างงานที่ประกวดราคาจ้างโดยต้องมีผลงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ คือ ผลงานก่อสร้างทางรถไฟและติดตั้งระบบรางรถไฟ หรือผลงานก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟฟ้าและติดตั้งระบบรางรถไฟฟ้าที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) และต้องมีผลงานก่อสร้างงานโยธาการก่อสร้างถนน หรือก่อสร้างสะพาน ทางลอด ทางยกระดับ และอุโมงค์ ที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)​สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 179,412 ล้านบาท สำหรับแผนการก่อสร้างเฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางกว่า 300 กม.นั้นโดยฝ่ายไทยจะออกแบบรายละเอียดเอง ส่วนฝ่ายจีนเป็นที่ปรึกษา เนื่องจากใช้เทคโนโลยีจีนและมีส่วนเชื่อมต่อกับ สปป.ลาวไปยังจีนซึ่งตั้งเป้าจะศึกษาออกแบบให้เสร็จอย่างเร็วในปีนี้โดยใช้งบประมาณ 1,200 ล้านบาท ทั้งนี้ฝ่ายจีนต้องการเร่งเฟส 2 ให้ทันกับเฟสแรกเพื่อเปิดเดินรถพร้อมกันตลอดสาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2019 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมวืดเคาะลงทุนรถไฟฟ้า รอลุ้นรัฐบาลอนุมัติ1ล้านล้านบาท
วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:16 น.

นายอาคม เปิดเผยว่า #โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วง #กรุงเทพ - #หัวหิน นั้น ยังไม่แน่ใจว่าจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้ทันภายในรัฐบาลชุดนี้หรือไม่ เนื่องจากผลการศึกษาและข้อสรุปของโครงการได้ออกไปจากกระทรวงคมนาคมแล้ว ขณะนี้ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2019 11:34 pm    Post subject: Reply with quote

ปากช่อง ‘โอซากา’เมืองไทย ฮับเดินทางไฮสปีดไทย-จีน
ออนไลน์เมื่อ 31 มีนาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 27
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3457 ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม - 3 เมษายน 2562

รฟท.-ธนารักษ์ เนรมิตโคราชโอซากาเมืองไทย รับทีโอดีปากช่องหลังทหารยอม มอบที่ดินคืนกรมธนารักษ์ 541 ไร่ ปั้นเมืองรอบสถานีใหญ่นอกจาก “ศรีราชา” จะถูกขนานนามเป็นโอซากาเมืองไทยแล้ว อนาคต จะมี “โอซากา” อีกแห่งบริเวณโดยรอบสถานีปากช่องแห่งใหม่ของจังหวัดนครราชสีมา ส่งผลให้พื้นที่โดยรอบกำลังพลิกเปลี่ยนจากพื้นที่เกษตรกรรม กลายเป็นย่านพาณิชย กรรมชุมทางการเดินทางอีกแห่งในไม่ช้านี้ ด้านความคืบหน้าแหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์อธิบายว่า ทหารส่งคืนพื้นที่ ให้กับกรม จำนวนกว่า 100ไร่เพื่อนำไปพัฒนาตัวสถานีคาดว่า จะทยอยส่งคืน ได้ทั้งหมดเพื่อเปิดพื้นที่ให้เอกชนเช่าเชิงพาณิชย์รองรับทั้งการเดินทาง, การลงทุนในอนาคต สอดรับกับความพร้อมของ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้มีเป้าหมายประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนระยะแรก กว่า 200 กิโลเมตร ให้ได้ตัวผู้รับเหมาครบทุกสัญญภายในเดือนกรกฎาคม 2562 พร้อมกับการสร้างสถานีปากช่องแห่งใหม่ จุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง ใหญ่ที่สุดใน จังหวัดนครราชสีมา นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน นอกจากช่วยร่นการเดินทางเพียง 30 นาทีจากกรุงเทพฯแล้วที่นี่ยังเป็นฮับการค้าการลงทุนแห่งใหม่ มีทั้งที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมกลายเป็นโอซากาเมืองไทยอีกแห่ง มีทั้งนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติให้ความสนใจ โดยเฉพาะทำเลรัศมีรอบสถานี ราคาที่ดินขยับสูง



“หากไฮสปีดเปิดเส้นทางเราจะ ใช้เวลาเดินทางไปโคราชเพียงครึ่งชั่วโมงเหมือนโอซาก้า ศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ของภาคอีสานช่วยให้เดินทางไป-กลับได้บ่อยขึ้นหรือการเข้าพื้นที่ลงทุนทำธุรกิจในราคาไม่เกิน 200 บาทต่อเที่ยว”นายสุชีพกล่าวต่อว่า โคราช เป็นจุดแยกจุดเชื่อมต่อ โดยอีสานเหนือไปขอนแก่น ขณะอีสานใต้ วิ่งไปศรีสะเกษหากเปิดใช้ไฮสปีด จะสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟดีเซลรางท้องถิ่น โคราช-หนองคาย-โคราช-อุบลราชธานี ปัจจุบันดีเชลรางใช้เวลาเดินทางนาน 3 ชั่วโมง และอีกทางเลือกคือ มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราชของกรมทางหลวง ที่มีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดทดลองวิ่งบางส่วนในปี 2563 ขณะเดียวกันรฟท.อยู่ระหว่างออกแบบ โครงการไฮสปีด เฟส 2 ช่วงโคราช-หนองคาย เชื่อม สปป.ลาว เพียงแต่รอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เห็นชอบเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2019 1:17 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟ3สนามบินไม่ลงตัว ส่อเลื่อนลงนาม‘ซีพี’ไปเดือนหน้า
โลกธุรกิจ
วันพุธ ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562, 06.00 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงินลงทุน 224,000 ล้านบาท เปิดเผยว่าในวันที่ 4 เมษายนนี้ ทางการรถไฟฯได้มีการนัดหารือกับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร เกี่ยวกับข้อตกลงทางการเงินในหลายประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุปและเงื่อนไขนอกขอบเขตการประกวดราคา (TOR) อีกประมาณ 3-4 ประเด็น จากทั้งหมด 12 ประเด็น ซึ่งมองว่าการเจรจาในครั้งนี้คงยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกับเอกชนเนื่องจากโครงการดังกล่าว เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่จะต้องตรวจสอบรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน

ประกอบกับทางด้านเอกชนยังต้องไปหารือกับกลุ่มพันธมิตรร่วมลงทุนที่มีเข้ามาหลายประเทศจึงส่งผลให้ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัตินั้นทางเอกชนยังมีเวลาที่จะดำเนินการเจรจาให้ได้ข้อสรุปอีกหลายครั้งตามเงื่อนไขของการประมูล แต่ก็ต้องเร่งรัดการเจรจาให้จบภายในเดือน เมษายน-พฤษภาคมนี้ เพื่อให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปได้และเริ่มลงมือก่อสร้างต่อไป

มีรายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท. ระบุว่าโครงการดังกล่าวอาจจะมีการเลื่อนกรอบเวลาการลงนามในสัญญาจากเดิมคือเดือนเมษายนนี้ เป็นในเดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งจะต้องเร่งจบภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เพราะถือว่าเป็นเดือนสุดท้ายในการบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ ขณะนี้ความล่าช้าในการเจรจาของเอกชนนั้นมาจากปัญหาการพูดคุยกับพันธมิตรซึ่งมีมากกว่า 3 ประเทศเช่น ไทย ญี่ปุ่น และจีน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 314, 315, 316 ... 542, 543, 544  Next
Page 315 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©