Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179798
ทั้งหมด:13491030
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 334, 335, 336 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/09/2019 11:04 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ขอ2ปี ไล่ผู้บุกรุกไฮสปีด ยันก.ย.ลงนามสัญญา
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

เปิดเอกสารแนบท้ายสัญญาไฮสปีด รฟท.ขอ 2 ปี ไล่บุกรุกนับจากเซ็นสัญญา ย้ำหากมีบ้านงอกเพิ่ม ซีพีขับไล่เอง รฟท.มั่นใจส่งมอบพื้นที่ไร้ปัญหา มีระยะเวลากำหนด ด้านผู้แทนซีพีผวา บุกรุก "ศุภชัย" ย้ำชัดเซ็นแน่

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัดประกาศพร้อมลงนามในสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิอู่ตะเภา) ไม่เกิน สิ้นเดือนกันยายนนี้แต่เบื้องต้นขอหารือพันธมิตรเนื่องจากงบลงทุนค่อนข้างสูง ขณะเดียวกันยังเตรียมอุทธรณ์ ประมูลเมืองการบินและสนามบินอู่ตะเภา 2.9 แสนล้านบาท ให้เป็นไปตามการแข่งขันแม้นายศุภชัย จะยืนยันว่าการประมูลอู่ตะเภาจะแพ้หรือชนะไม่สำคัญ แต่ลึกๆ แล้วขุมทรัพย์การบินเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่กลุ่มซีพีคาดหวัง จะนำไปต่อยอดกับรถไฟเชื่อม 3 สนามบินสำหรับการเจรจาหาข้อยุติเพื่อส่งมอบพื้นที่ ก่อสร้างไฮสปีด ผู้แทนของนายศุภชัย ยังเกรงว่า หลังจากเซ็นสัญญาแล้วจะเกิดการบุกรุกเขตทางขึ้นอีก หากก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญาปัญหาที่ตามมาคือภาระดอกเบี้ยของเอกชน แต่ทั้งนี้ อาจจะมีข้ออ้างหนึ่งที่นำไปสู่การเซ็นสัญญาที่ล่าช้า

แหล่งข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า มั่นใจว่ากลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) จะลงนามในสัญญาได้ไม่เกิน กันยายนนี้ หลัง เอกชนตรวจสอบความถูกต้อง ร่างสัญญารถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งการแก้ไขน่าจะทำได้แค่ปรับเปลี่ยนคำเชื่อม

สำหรับสาระสำคัญในเอกสารแนบท้ายสัญญาเพื่อส่งมอบพื้นที่ในภายหลังหลังจากเซ็นสัญญา ได้แก่
1.รฟท.ขอเวลาไล่รื้อผู้บุกรุก 2 ปีนับจากเซ็นสัญญากรณีมีผู้บุกรุกเกิดขึ้นหลังเซ็นสัญญา ผู้รับสัมปทานจะเป็นฝ่ายไล่รื้อ ดังนั้นตลอด 50 ปีต้องดูแลพื้นที่ให้ดีตลอดการก่อสร้าง ซึ่งข้อนี้จะรวมการเจรจารื้อสาธารณูปโภค 6 หน่วยงานเข้าไปด้วย โดยเอกชนจะเป็นผู้รื้อถอน
2. การเวนคืนพื้นที่ 850 ไร่ขอส่งมอบพื้นที่หลังออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ) เวนคืน 2 ปี
3.เมื่อเช็นสัญญา รฟท.ต้องมอบ แอร์พอร์ตลิงค์ ให้กลุ่มซีพี ภายใน 2 ปี

ทั้งนี้ พื้นที่ใช้ในการก่อสร้างไฮสปีด 4,300 ไร่ เป็นพื้นที่รถไฟจำนวน 3,571 ไร่ พื้นที่เวนคืน 850 ไร่ จำนวน 42 แปลง สำหรับที่ดินของรฟท. 3,571 ไร่ พร้อมส่งมอบทันทีจำนวน 3,151 ไร่ หลังจากลงนามสัญญา

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการ กลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรฟท. ยืนยันว่าการเจรจาครั้งที่ผ่านมา เอกชนมีความมั่นใจคาดว่าภายในเดือนนี้ทุกอย่างน่าจะจบ อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้ เป็นข้อกังวล โดยเฉพาะเงื่อนเวลา การส่งมอบพื้นที่จะมีเอกสารแนบท้ายสัญญา

"กลุ่มซีพี ต้องตอบยืนยันรอบสุดท้าย มายังรฟท.ภายใน 7 วัน (นับจากวันได้รับหนังสือสัญญาแนบท้ายจากรฟท.) พร้อมกำหนดวันที่พร้อมจะลงนาม"

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่า สัญญาแนบท้ายจะต้องตรวจสอบรายละเอียดข้อความต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ลดความเสี่ยงทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากการส่งมอบพื้นที่ และมีประเด็นที่อาจจะมองไม่เห็น เช่น การรื้อย้ายสาธารณูปโภคใต้ดิน ของหน่วยงานต่างๆ ถึง 6 หน่วยงาน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/09/2019 12:05 am    Post subject: Reply with quote

สัญญา‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ประวัติศาสตร์การประมูล(14)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์เมื่อ ฉบับวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562
ฉบับ 3505 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 15-18 กันยายน พ.ศ. 2562

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท นับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด บัดนี้เป็นเวลากว่า 7-8 เดือนเข้าไปแล้ว แต่ “รัฐ” ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญากับเอกชน
สัปดาห์ที่ผ่านมา ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กำหนดให้เครือซีพีให้คำตอบการลงนามโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ภายใน 7 วันนั้น เครือซีพีจะหารือกับพันธมิตรและจะลงนามโครงการนี้แน่นอน
“โครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุนจำนวนมาก จำเป็นต้องได้รับการตัดสินใจจากทุกฝ่าย แต่เมื่อทุกฝ่ายมีความตั้งใจตรงกันแล้วคาดว่าจะไม่มีปัญหา” ศุภชัยยืนยัน
ขณะที่ คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ อีอีซี ชี้แจงว่า “รฟท.และ ซีพีกำลังเร่งส่งมอบพื้นที่ให้จบภายในเดือนกันยายนนี้ เพื่อเดินหน้าเซ็นสัญญา ซึ่งการส่งมอบพื้นที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ทั้งรื้อย้ายเสาไฟฟ้าแรงสูง ท่อต่างๆ ที่อยู่ใต้ดิน..
“ซีพียังไม่ถอดใจ เพราะโครงการเดินหน้ามาถึงขนาดนี้แล้ว ติดแผนส่งมอบพื้นที่ รฟท.ก็กลัวถูกฟ้องถ้าส่งมอบไม่ทัน เอกชนก็กลัวถูกปรับ ถ้างานไม่เสร็จตามกำหนด จึงต้องเร่งเคลียร์”
นั่นคือปัญหาแล้วทางออกคืออะไร วรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน บอกว่า เมื่อ 9 กันยายนได้หารือกับกลุ่มซีพี หลังส่งร่างมอบพื้นที่ก่อสร้างให้พิจารณา
“ทุกคนกังวลเรื่องการส่งมอบพื้นที่ ต้องทำให้รอบคอบ ให้เข้าใจตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย เพราะเป็นความเสี่ยงทั้งรัฐและเอกชน ตอนนี้ ซีพีขอนำผลหารือให้พันธมิตรไทยและต่างประเทศรับทราบ เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการของแต่ละบริษัทเห็นชอบ จะใช้เวลา 1-3 สัปดาห์ ซึ่งเป้าหมายการเซ็นสัญญาคือเดือนกันยายนปีนี้ ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกำหนด ถ้าไม่ได้ต้องรายงานข้อเท็จจริงให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมรับทราบ”

แต่หากใครที่ฟัง สุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้า รฟท. ในฐานะประธานคณะทำงานการส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่ออกมาบอกว่า ทั้ง รฟท.และซีพีเห็นตรงกันว่า จะร่วมลงนามในสัญญาไปก่อน จะยังไม่ส่งหนังสือให้เริ่มต้นทำงาน (notice to proceed : NTP) ของโครงการให้ เพื่อทั้ง 2 ฝ่ายจะได้มีเวลาเคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อย
ดังนั้น จะทำให้เงื่อนไขการนับเวลาเริ่มก่อสร้างต้องยืดออกไปจากเดิมกำหนด 5 ปี!
“คณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณารายละเอียด พร้อมส่งมอบและเคลียร์ผู้บุกรุก ที่ดินเวนคืน ระบบสาธารณูปโภค อาจเซ็นสัญญาไปก่อน ส่วนการเริ่มโครงการก็รอจนกว่าแผนส่งมอบพื้นที่ชัดเจน ซึ่งเราบอกว่าใช้เวลา 1-2 ปี แต่ ซีพีขอ 2-3 ปี ซึ่งการรีบออกหนังสือให้เริ่มงานทันทีที่เซ็นสัญญา ทางซีพีก็เสี่ยง หากเริ่มงานแล้วโครงการสะดุด จะมีค่าใช้จ่ายตามมา”
ภาพการขับเคลื่อนการลงทุนในอีอีซีผ่านรถไฟความเร็วสูงย่อมชัดแจ้งแดงแจ๋ว่า ล่าช้ากว่ากำหนดแน่นอนอย่างน้อย 5 ปี
อะไรคือต้นตอปัญหาของความล่าช้า ทำไมยื้อยุดฉุดกระชากสัญญามายาวนานขนาดนี้
สัญญาที่ ติดขัดตรงไหน ตอนที่แล้วเป็นสัญญาว่าด้วยเรื่องมาตรการทางการเงิน ผมพามาติดตามร่างสัญญาตอนที่ 14 ซึ่งว่าด้วยข้อ 15. การดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ สาระในสัญญา มีดังนี้
15.1 รถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย
(1) งานระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง และงานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย
(ก) การพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย (ไม่รวมถึงงานโยธาร่วมของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ)
1) เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องเริ่มการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย ตั้งแต่วันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาของโครงการฯ
2) เอกชนคู่สัญญาจะต้องดำเนินการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย ให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ
3) เอกชนคู่สัญญาจะต้องส่งมอบรายงานแสดงความก้าวหน้าของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายให้แก่ รฟท. ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างและที่ปรึกษาตรวจสอบ ตามรายละเอียดและระยะเวลาในการส่งมอบ ดังต่อไปนี้
ก) กรณีนำส่งเป็นรายเดือน ให้เอกชนคู่สัญญานำส่งรายงานแสดงความก้าวหน้าของการดำเนินการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ โดยให้รายงานนี้มีข้อมูลอย่างน้อยตามแบบที่ รฟท. อนุมัติและ
ข) กรณีนำส่งเป็นรายไตรมาส ให้เอกชนคู่สัญญานำส่งรายงานแสดงความก้าวหน้าของการดำเนินการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ พร้อมทั้งแสดงรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าวโดยจะต้องแสดงด้วยว่ารายจ่ายนั้นสอดคล้องกับแผนทางการเงินสำหรับการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ (Construction Budget) ที่มีการส่งมอบตามข้อ 6.3(2) (ค)4) ซึ่งหากไม่สอดคล้องให้อธิบายถึงเหตุผลและความจำเป็นถึงการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องนั้นด้วยโดยให้รายงานนี้มีข้อมูลอย่างน้อยตามแบบที่ รฟท. อนุมัติ

ทั้งนี้ การที่ รฟท. ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างและที่ปรึกษาตรวจสอบรับมอบรายงานแสดงความก้าวหน้าข้างต้นไม่ถือเป็นการอนุมัติโดยบุคคลดังกล่าว ว่าการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายที่ทำตามรายงานถูกต้องและครบถ้วนแต่อย่างใด
4) ในการดำเนินการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูง และแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย กรณีที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ เอกชนคู่สัญญาสามารถขอเพิ่ม เปลี่ยน หรือย้ายตำแหน่งที่ตั้งของสถานีรถไฟของรถไฟความเร็วสูงให้แตกต่างจากข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟโดยจะต้องได้รับการอนุมัติจาก รฟท. ก่อน
และการดำเนินข้างต้นนั้นต้องอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ของโครงการฯ ตามข้อ 3.2 และขอบเขตของโครงการฯ ตามข้อ 3.3 โดยที่เอกชนคู่สัญญาจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด รวมถึงดำเนินการศึกษาแนวทางในการเพิ่ม เปลี่ยน หรือย้ายตำแหน่งที่ตั้งของสถานีรถไฟของรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว และต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทยและสัญญาร่วมลงทุนรวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ (เว้นแต่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่ตั้งของสถานีรถไฟของรถไฟความเร็วสูงที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น)
นอกจากนี้ กรณีเอกชนคู่สัญญาประสงค์จะเพิ่มแนวเส้นทางรถไฟย่อยออกมาจากแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของโครงการฯ (Spur Line) จะดำเนินการได้ต้องได้รับอนุมัติจาก รฟท. ก่อนและอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
ก) การจัดทำแนวเส้นทางรถไฟย่อยดังกล่าวจะต้องทำให้ รฟท. เห็นว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนจำนวนมากสามารถเข้าถึงบริการเดินรถไฟของโครงการฯได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผมบอกแล้วตั้งแต่ต้นว่าอย่าเพิ่งเบื่อ โครงการที่ลงทุนเป็นแสนล้านไม่ธรรมดาแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/09/2019 12:17 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
‘รถไฟ-ซีพี’ เห็นชอบร่วมกันแล้ว แผนส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน
วันที่ 9 กันยายน 2562 - 21:43 น.

รถไฟ ส่งร่างสัญญาสุดท้ายร่วมทุนไฮสปีด 3 สนามบิน ให้ซีพีพิจารณาตอบกลับภายใน 7 วัน
วันที่ 11 กันยายน 2562 - 23:15 น.



“ศุภชัย” ย้ำชัด เคลียร์ไฮสปีด เซ็นสัญญา พ.ย.
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562- 20:39 น.

บอร์ดไฮสปีดไฟเขียว ซี.พี.เซ็นสัญญาก่อนเคลียร์เวนคืน 2 ปี ย้ายผู้บุกรุก รื้อสาธารณูปโภค เลื่อนลงนามพ.ย. อัยการสูงสุดชี้เป็นผลดีทั้งรัฐ-เอกชน หมดปัญหาค่าโง่ “ศุภชัย เจียรวนนท์” ลั่นพร้อมเซ็นสัญญา แค่รอหารือพันธมิตร

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้า บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ได้รับคัดเลือกลงทุนโครงการนาน 50 ปี มีมติอนุมัติแผนส่งมอบพื้นที่ตามที่คณะทำงานร่วมระหว่าง ร.ฟ.ท.และ ซี.พี. เสนอและกำหนดเครื่องมือชี้วัด (KPI) โครงการ หลังเปิดให้บริการที่จะแนบท้ายในสัญญา โดยให้เซ็นสัญญาก่อนออกหนังสือให้เริ่มงาน (NTP) โดยให้ 2 ฝ่ายเคลียร์การส่งมอบพื้นที่ให้เสร็จ ถึงจะเริ่มก่อสร้างได้ เพื่อให้เสร็จใน 5 ปี


รอตอกเข็มอีก 1 ปี

อย่างไรก็ตาม สามารถรอได้ 1 ปีนับจากวันเซ็นสัญญา เช่น สมมุติลงนาม ต.ค.นี้ มีเวลาเคลียร์ปัญหาต่าง ๆ 1 ปี โดยสิ้นสุด ต.ค. 2563 หากใช้เวลาเกิน 1 ปี สามารถหารือร่วมกันขอขยายเวลาได้ เพราะ ซี.พี.ต้องการให้ส่งมอบพื้นที่ทั้งหมด 100% เพื่อให้ทัน 5 ปี ถือเป็นการลดความเสี่ยงทั้ง 2 ฝ่ายได้ระดับหนึ่ง ยังมีสิ่งที่มองไม่เห็นอีกมากที่อยู่ใต้ดิน เช่น ระบบสาธารณูปโภค ตามแผน ร.ฟ.ท.คาดจะส่งมอบพื้นที่ได้ทั้งหมดใน 2 ปี ซึ่งเป็นโมเดลเดียวกับสัญญารถไฟฟ้าสีชมพูและสีเหลือง


“จะส่งรายละเอียดสัญญาแนบท้ายทั้งหมดให้ ซี.พี.พิจารณา และส่งคำตอบกำหนดวันเซ็นสัญญาใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือ และจะเป็นครั้งสุดท้าย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แต่ได้แจ้ง ซี.พี.แล้วว่า รัฐมีนโยบายให้เซ็นสัญญาในเดือน ก.ย.นี้ หากมีเหตุต้องเลื่อนก็ขอให้แจ้งมา”

เอกชนจ่ายค่ารื้อซากโฮปเวลล์

นายวรวุฒิ กล่าวอีกว่า การเคลียร์พื้นที่ ทาง ร.ฟ.ท.จะเวนคืนที่ดิน ย้ายผู้บุกรุก คืนพื้นที่ 300 สัญญาเช่า และประสาน 6 หน่วยระบบสาธารณูโภค โดยเจ้าของระบบสาธารณูปโภคนั้น ๆ เป็นผู้รื้อย้าย ซี.พี.จะรับผิดชอบรื้อสิ่งกีดขวางในแนวเส้นทาง เช่น ตอม่อโฮปเวลล์ สร้างโครงสร้างส่วนเป็นพื้นที่ทับซ้อนช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองกับรถไฟไทย-จีน และสายสีแดงช่วงจิตรลดา ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในวงเงินที่รัฐอุดหนุน 117,227 ล้านบาทแล้ว หลังเซ็นสัญญา ซี.พี.จะจ่ายค่ารับมอบสิทธิ์บริหารโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ใน 2 ปี วงเงิน 10,671 ล้านบาท

นางพฤฒิพร เนติโพธิ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า คณะกรรมการคัดเลือกประชุมแผนส่งมอบพื้นที่ให้ ซี.พี. ถ้าตกลงตามนี้ก็เซ็นสัญญาได้ ซึ่งสัญญาร่วมทุนในปัจจุบันเมื่อพร้อมก็เซ็นได้เพื่อปฏิบัติตามสัญญา แต่พื้นที่ยังไม่พร้อมจะต้องกำหนดว่าใครมีอำนาจหน้าที่ตรงไหน ตามที่สัญญาและทีโออาร์กำหนด เช่น บุกรุกกี่คน จะให้ออกไปกี่วัน รื้อท่อต่าง ๆ จะใช้เวลาเคลียร์กี่ปี เพื่อให้พื้นที่เอกชนสร้าง ต้องกำหนดเป็นแผนให้ชัดเจน ถ้ายอมรับแผนและค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบได้ก็เซ็นสัญญาได้

“ทั้งหมดเพื่อไม่ให้การรถไฟเสี่ยงถูกเรียกค่าเสียหาย เราสามารถลงนามกันได้ แต่บ้านถูกบุกรุกอยู่ สิ่งที่จะทำคือเมื่อรถไฟรื้อแล้วค่อยสร้าง แต่ต้องกำหนดระยะเวลาว่า แต่ละพื้นที่ใช้เวลาเท่าไหร่ ให้มาตกลงร่วมกัน เรากำหนดแบบนี้ ยังไม่ต้องสร้างทันที แต่ผูกมัดสัญญาก่อน เป็นการทำสัญญาสมัยใหม่ ไม่ได้อยากให้เกิดปรากฏการณ์ว่าอุ้ม ซี.พี. เราประสงค์จะให้โปรเจ็กต์เกิดเพราะเป็นพันธมิตรกันแล้ว ถ้า ซี.พี.ตกลง ก็นำเข้าคณะรัฐมนตรีอนุมัติเดินหน้าโครงการ”

ยืดเวลาไปถึง พ.ย.

รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมได้หารือถึงระยะเวลาที่ ซี.พี.ต้องดำเนินการก่อนเซ็นสัญญา คาดว่าไม่ทันเดือนกันยายนนี้แล้ว เพราะเอกชนเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องมีกระบวนการขออนุมัติจากบอร์ด พันธมิตร และต้องหาแบงก์การันตีอีก คาดใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ในเบื้องต้นขอให้เสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้

“แนวทางเซ็นสัญญาก่อนแล้วให้เวลาเคลียร์พื้นที่ ก่อนเริ่มนับหนึ่งสัญญา จะเป็นผลดีต่อการรถไฟฯ เพราะไม่รู้ว่าพื้นที่ที่จะสร้างจะไปเจออะไรอีก โดย ซี.พี.มีเวลาเคลียร์เรื่องเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาทด้วย เพราะหากเริ่มนับสัญญาจะต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินเชิงพาณิชย์ที่มักกะสันและศรีราชาทันที ล่าสุดแบงก์ขอปรับเงื่อนไขให้จ่ายค่าก่อสร้างโดยตรงกับแบงก์ ไม่ต้องผ่าน ร.ฟ.ท. หากพื้นที่พร้อมสร้างต่อเนื่อง 5 ปี จะเป็นผลดี ไม่ต้องเสียค่าปรับหากช้า”

บิ๊ก ซี.พี.พร้อมเซ็นสัญญา

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ.เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) เปิดเผยว่า กลุ่ม ซี.พี.กับพันธมิตรมีความพร้อมลงทุนโครงการดังกล่าว และตั้งใจเต็มที่ในการก่อสร้าง พร้อมลงนามกับภาครัฐภายในระยะเวลาที่กำหนด หลัง ร.ฟ.ท.ทำหนังสือแจ้งรายละเอียดข้อสัญญาที่จะลงนามร่วมกัน และขอทราบคำตอบภายใน 7 วัน แต่โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ใช้เม็ดเงินลงทุนค่อนข้างสูง จึงต้องหารือกับพันธมิตรให้ชัดเจนก่อน

ทั้งนี้ กลุ่ม ซี.พี.กับพันธมิตรจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองกลางที่ยกคำร้องในคดีที่ บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด ในเครือ ซี.พี.กับพันธมิตร ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่ไม่รับข้อเสนอซองเทคนิค และซองราคา หวังว่าจะได้รับความเมตตาจากศาลปกครองสูงสุด เพราะน่าจะได้ไปถึงขั้นตอนเปิดซองประมูลก่อน ไม่ว่าแพ้ หรือชนะก็ไม่เป็นไร เพื่อให้การแข่งขันเป็นไปอย่างเสรีสมบูรณ์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/09/2019 6:00 pm    Post subject: Reply with quote

NEWSROOM ห้องข่าวเศรษฐกิจ – ทำไมชนะประมูล 10 เดือนไม่เซ็นสัญญา! 13/09/62
13 Sep 2019

NEWSROOM ห้องข่าวเศรษฐกิจ 13/09/62 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.30-11.50 น. เจาะลึกประเด็น ทำไมชนะประมูล 10 เดือนไม่เซ็นสัญญา! เป็นอย่างไรติดตามได้จากรายการ
https://www.youtube.com/watch?v=aoYvuief0UA
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2019 2:10 am    Post subject: Reply with quote

นิกเคอิเผย โครงการรถไฟความเร็วสูงไทยชะงัก เพราะยังไม่รู้จะกู้จีนดีไหม
16 กันยายน พ.ศ. 2562- 21:45

รัฐบาลไทยเลื่อนโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง เพราะยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า จะยอมกู้เงินกับจีนหรือระดมทุนจากพันธบัตรรัฐบาล อีกทั้งยังมีเงื่อนไขที่ไทยจะเสียเปรียบมากเกินไป
สำนักข่าวนิกเคอิรายงานว่า รัฐบาลไทยเลื่อนโครงการสร้างทางรถไฟความเร็วสูงของจีน เนื่องจากยังไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการหาทุนและกู้เงินในการสร้างโครงการ ซึ่งมีมูลกว่า 9,900 ล้านดอลลาร์ โดยมีการอ้างอิงแหล่งข่าวในภาคคมนาคมของไทยว่า การเจรจาเกี่ยวกับโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ระหว่างรัฐบาลไทยและจีนยังไม่บรรลุข้อตกลงได้

เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า รัฐบาลไทยยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะหาเงินจากไหนมาสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ระหว่างการกู้เงินจากจีนกับการระดมทุนจากพันธบัตรสกุลเงินบาทไทย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่คนนี้ยังเปิดเผยว่า รัฐบาลไทยไม่มีเงินมากนัก เพราะรัฐบาลได้ใช้เงินไปกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานไปมากแล้ว

อย่างไรก็ตาม เงินทุนไม่ใช่อุปสรรคเดียวของโครงการนี้ เจ้าหน้าที่ไทยที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาโครงการนี้เปิดเผยว่า อุปสรรคอีกข้อก็คือ รายละเอียดเงื่อนไขของโครงการว่าใครจะแบกภาระในการก่อสร้าง

รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ จากสาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระบุว่า เทคโนแครตไทยคาดหวังว่าจีนจะเอาบริษัทที่ปรึกษาของจีนมาตรวจสอบดูแลการก่อสร้าง แต่จีนไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ กับรายละเอียดการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง

รศ.ดร.รุธิร์กล่าวว่า เงื่อนไขที่แตกต่างไปจากธรรมเนียมปฏิบัติทางธุรกิจทำให้เทคโนแครตในกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมไทยกระตือรือร้นกันน้อยลงกับโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกจากกรุงเทพฯ ไปหนองคาย ซึ่งมีการประเมินว่าการสร้างรถไฟความเร็วสูงเฟสแรก 252 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ไปนครราชสีมาจะต้องใช้เงินทั้งสิ้น 179,000 ล้านบาท

ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ดูเหมือนจะเห็นดีด้วยกับโครงการ BRI ของจีนมาตลอด และเมื่อต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก็เพิ่งจะแถลงว่า เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเฟสแรกเริ่มได้ในปี 2023 และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ ไปหนองคายจะยาว 873 กิโลเมตร


อย่างไรก็ตาม คนในแวดวงการเงินและการทูตของไทยต่างตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะยังไม่มีวี่แววว่าจะมีงบในการก่อสร้างโครงการดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อเดือน ม.ค. ก่อนที่จะมีการประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรถไฟไทย-จีน ที่กรุงปักกิ่ง เจ้าหน้าที่ไทยยังพิจารณาข้อเสนอในการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีนในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.3 ซึ่งไทยมองว่าดอกเบี้ยสูงเกินไป


“คนวงใน” ยังเปิดเผยว่า ที่ผ่านมา บรรยากาศในการเจรจาระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์และหลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ไม่ค่อยดีนัก เพราะเรื่องเงินสร้างรถไฟความเร็วสูง และไทยกับจีนก็มีเรื่องขุ่นเคืองใจกันตั้งแต่ 2 ปีก่อนที่จีนไม่ได้เชิญ พล.อ.ประยุทธ์ไปประชุมฟอรั่มเกี่ยวกับโครงการ BRI รอบแรก แต่ตั้งแต่เดือน เม.ย.ปีนี้เป็นต้นมา ความสัมพันธ์เริ่มกลับมาแน่นแฟ้มขึ้น หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ได้รับเชิญในการประชุมครั้งที่ 2 และ พล.อ.ประยุทธ์ยังบอกว่ากับหลี่เค่อเฉียงว่า ไทยจะผลักดันโครงการก่อสร้างทางรถไฟให้ทันเดดไลน์ปี 2023

โครงการรถไฟความเร็วสูงในไทยเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนของจีนที่จะเชื่อมต่อมณฑลยูนนานลงไปจนถึงสิงคโปร์ โดยจีนได้สร้างทางรถไฟลงมาที่ลาวเพื่อจะมาเชื่อมกับไทย โดยโจ ฮอร์น พัธโนทัย ผู้ก่อตั้ง Strategy613 บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนไทย-จีนกล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงก็มีความเสี่ยงสำหรับไทย เพราะจีนพยายามมีอำนาจเหนือเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมต่อจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งนี้ ต่อให้เส้นทางรถไฟนี้จะไม่ได้มาตรฐานเป็นรถไฟความเร็วสูงตามนิยาม ไทยก็ยังใช้ประโยชน์จากความรู้จากจีนได้ผ่านการร่วมทุนในโครงการนี้ ส่วนความเสี่ยงของจีนในการก่อสร้างโครงการ BRI ในไทยก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเช่นกัน หลังจากที่มีการระงับโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเมื่อ 2 ปีก่อน เพราะถูกคนในพื้นที่ต่อต้านอย่างหนัก

บริษัทก่อสร้างของจีนสามารถเข้ามาแข่งในตลาดก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ได้ จากเดิมที่มีญี่ปุ่นและยุโรปเป็นเจ้าตลาดอยู่ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากการทูตที่ชาญฉลาดของจีน หลังจากที่มีการรัฐประหารในไทยเมื่อปี 2014 รัฐบาลทหารของ พล.อ.ประยุทธ์ก็ยอมรับพิมพ์เขียวการสร้างทางรถไฟของจีน ตอบแทนที่รัฐบาลจีนยอมรับรัฐบาลทหารของไทย ท่ามกลางเสียงประณามจากประเทศตะวันตก

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวนิกเคอิระบุว่า แหล่งข่าวใกล้ชิดของ พล.อ.ประยุทธเปิดเผยว่า ขณะที่การเจรจายังดำเนินต่อไป เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลก็คัดค้านแผนของจีนที่จะให้บริษัทตัวแทนรัฐบาลจีนเข้าไปจับจองพื้นที่พาณิชย์ 2 ข้างทางรถไฟ และประเทศเพื่อนบ้านก็เตือนให้ไทยดูเงื่อนไขต่างๆ ที่จีนเสนอมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2019 7:49 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
นิกเคอิเผย โครงการรถไฟความเร็วสูงไทยชะงัก เพราะยังไม่รู้จะกู้จีนดีไหม
16 กันยายน พ.ศ. 2562- 21:45



รัฐบาลไทยเลื่อนโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง เพราะยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า จะยอมกู้เงินกับจีนหรือระดมทุนจากพันธบัตรรัฐบาล อีกทั้งยังมีเงื่อนไขที่ไทยจะเสียเปรียบมากเกินไป ตามที่ Voice TV ออกข่าวจริงๆเหรอ???

มีลูกเพจหลายๆ คนส่งลิ้งค์ ข่าวที่ Voice TV เอาข่าวของนิเคอิ บอกว่า รัฐบาลไทยยังไม่มีเงินสร้างรถไฟความเร็วสูง ไม่รู้จะกู้จากจีนดี หรือกู้ในประเทศดี

ผมเลยตอบกลับทันทีเลยว่า ข่าวมั่ว และเป็นการดิสเครดิตกันระหว่างประเทศ จีน-ญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองเจ้าจ้องจะเข้ามาสร้างรถไฟความเร็วสูงในไทยเราทั้งคู่

แต่จีน ได้เข้ามาก่อน เพราะเชื่อมต่อกับโครงการ ระหว่าง จีน-ลาว ที่ท่านาแล้ง


ซึ่งเนื่องจากเราปรับรูปแบบการเดินรถไฟ เป็นระบบรถไฟความเร็วสูง แยกกับรถไฟสินค้า ซึ่งจีนต้องการให้เดินรถยาวจากจีนลงมาและต่อไปแหลมฉบังเลย แต่เราไม่ยอม จีนก็ถอนการร่วมทุน แต่กลับมาเป็นในรูปการให้กู้แทน

เทียบกับ ญี่ปุ่น ต้องการขายของเราเหมือนกัน ซึ่งแพงกว่ามาก แต่ ไม่ร่วมทุนอะไรเลย แล้วมาบอกว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานของไทย ไทยเราต้องลงทุนเองญี่ปุ่นช่วยได้แค่ให้กู้

ซึ่งมอง Condition ของทั้งจีน และญี่ปุ่นเท่ากัน แต่ ของจีนถูกกว่ามาก ทำไมเราต้องซื้อของญี่ปุ่นล่ะจริงมั้ย!!

{โพสต์นี้ยาวมาก แนะนำว่าให้มือถืออ่านให้ฟังครับ}

ผมขออ้างอิง มติครม. วันที่ 7 กรกฎาคม 2560 นะครับ
———————————————

เรามาดูสิ่งที่สำนักข่าวญี่ปุ่นพูด และ Voice TV เอามาตีข่าวดีกว่า

ใครอยากอ่านข่าวตั้งต้นเต็มๆ ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://voicetv.co.th/read/3dJPBFkzJ

1. สำนักข่าวนิกเคอิรายงานว่า รัฐบาลไทยเลื่อนโครงการสร้างทางรถไฟความเร็วสูงของจีน เนื่องจากยังไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการหาทุนและกู้เงินในการสร้างโครงการ ซึ่งมีมูลกว่า 9,900 ล้านดอลลาร์ โดยมีการอ้างอิงแหล่งข่าวในภาคคมนาคมของไทยว่า การเจรจาเกี่ยวกับโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ระหว่างรัฐบาลไทยและจีนยังไม่บรรลุข้อตกลงได้

เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า รัฐบาลไทยยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะหาเงินจากไหนมาสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ระหว่างการกู้เงินจากจีนกับการระดมทุนจากพันธบัตรสกุลเงินบาทไทย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่คนนี้ยังเปิดเผยว่า รัฐบาลไทยไม่มีเงินมากนัก เพราะรัฐบาลได้ใช้เงินไปกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานไปมากแล้ว

- มูลค่า 9,900 ล้านดอลลาร์ น่าจะหมายถึงโครงการรวมทั้งหมด ตั้งแต่ กรุงเทพ-โคราช-หนองคาย เพื่อต่อกันรถไฟทางมาตรฐานจีน

ในส่วนของ กรุงเทพ-โคราช ได้จัดงบประมาณและแหล่งที่มาของเงินแล้วชัดเจนคือ

ส่วนงานโยธา ฝั่งไทยเราจะทำการจัดซื้อจัดจ้างเอง และใช้แหล่งเงินทุนของไทยเราเอง
(ล่าสุดมีการเปิดช่องให้กู้นอกได้ถ้าต้องการ เพราะดอกเบี้ยต่ำกว่ากู้ในประเทศ แต่ผมไม่เห็นด้วย เพราะกู้ในประเทศดอกเบี้ยที่ไมจ่ายไปก็เข้ากระเป๋าคนไทยในประเทศ จะแพงขนาดไหนก็ไม่ได้ออกไปไหน)
แต่ทางจีนต้นเป็นที่ปรึกษาในการคุมงานก่อสร้างให้ตรงตามาตรฐานการออกแบบ และงานระบบของจีน

ส่วนงาน ระบบรถไฟฟ้า ซึ่งตั้งแต่ หินรองราง หมอนรองราง ยันสายจ่ายไฟฟ้า (OCS) รวมถึง ตัวรถไฟความเร็วสูง ฝ่านจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งตรงนี้เราจะซื้อจีน แต่ตรงนี้ ก็เป็นปัญหาในช่วงที่ผ่านมากับท่าน รมต. อาคม ที่จีนเสนอดอกเบี้ยมาสูง ช่วง 2.3-3% ซึ่งล่าสุด เจรจาแล้ว น่าจะต่ำสุดที่ 2.3%

——————————

2. อย่างไรก็ตาม เงินทุนไม่ใช่อุปสรรคเดียวของโครงการนี้ เจ้าหน้าที่ไทยที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาโครงการนี้เปิดเผยว่า อุปสรรคอีกข้อก็คือ รายละเอียดเงื่อนไขของโครงการว่าใครจะแบกภาระในการก่อสร้าง

รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ จากสาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระบุว่า เทคโนแครตไทยคาดหวังว่าจีนจะเอาบริษัทที่ปรึกษาของจีนมาตรวจสอบดูแลการก่อสร้าง แต่จีนไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ กับรายละเอียดการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง

- ตามเอกสารของรัฐบาล แบ่งสัญญา ของทางจีนเป็น 3 ส่วนคือ
2.1 งานออกแบบรายละเอียดงานโยธา
2.2 งานที่ปรึกษา และคุมงานก่อสร้าง
2.3 งานระบบรถไฟฟ้า และราง รวมถึง งานฝึกอบรมบุคลากร

ผมไม่เข้าใจว่าการที่จีนเป็นที่ปรึกษา แต่ไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ กับรายละเอียดการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง มันหมายความว่าอะไร??

——————————-

3. รศ.ดร.รุธิร์กล่าวว่า เงื่อนไขที่แตกต่างไปจากธรรมเนียมปฏิบัติทางธุรกิจทำให้เทคโนแครตในกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมไทยกระตือรือร้นกันน้อยลงกับโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกจากกรุงเทพฯ ไปหนองคาย ซึ่งมีการประเมินว่าการสร้างรถไฟความเร็วสูงเฟสแรก 252 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ไปนครราชสีมาจะต้องใช้เงินทั้งสิ้น 179,000 ล้านบาท

ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ดูเหมือนจะเห็นดีด้วยกับโครงการ BRI ของจีนมาตลอด และเมื่อต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก็เพิ่งจะแถลงว่า เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเฟสแรกเริ่มได้ในปี 2023 และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ ไปหนองคายจะยาว 873 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม คนในแวดวงการเงินและการทูตของไทยต่างตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะยังไม่มีวี่แววว่าจะมีงบในการก่อสร้างโครงการดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อเดือน ม.ค. ก่อนที่จะมีการประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรถไฟไทย-จีน ที่กรุงปักกิ่ง เจ้าหน้าที่ไทยยังพิจารณาข้อเสนอในการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีนในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.3 ซึ่งไทยมองว่าดอกเบี้ยสูงเกินไป

- ตามที่ผมต่างข่าวมา ตอนนี้ ดอกเบี้ยต่ำสุดที่ทางจีนให้คือ 2.3% ตามนี้จริง

————————————-

4. “คนวงใน” ยังเปิดเผยว่า ที่ผ่านมา บรรยากาศในการเจรจาระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์และหลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ไม่ค่อยดีนัก เพราะเรื่องเงินสร้างรถไฟความเร็วสูง และไทยกับจีนก็มีเรื่องขุ่นเคืองใจกันตั้งแต่ 2 ปีก่อนที่จีนไม่ได้เชิญ พล.อ.ประยุทธ์ไปประชุมฟอรั่มเกี่ยวกับโครงการ BRI รอบแรก แต่ตั้งแต่เดือน เม.ย.ปีนี้เป็นต้นมา ความสัมพันธ์เริ่มกลับมาแน่นแฟ้มขึ้น หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ได้รับเชิญในการประชุมครั้งที่ 2 และ พล.อ.ประยุทธ์ยังบอกว่ากับหลี่เค่อเฉียงว่า ไทยจะผลักดันโครงการก่อสร้างทางรถไฟให้ทันเดดไลน์ปี 2023

โครงการรถไฟความเร็วสูงในไทยเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนของจีนที่จะเชื่อมต่อมณฑลยูนนานลงไปจนถึงสิงคโปร์ โดยจีนได้สร้างทางรถไฟลงมาที่ลาวเพื่อจะมาเชื่อมกับไทย โดยโจ ฮอร์น พัธโนทัย ผู้ก่อตั้ง Strategy613 บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนไทย-จีนกล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงก็มีความเสี่ยงสำหรับไทย เพราะจีนพยายามมีอำนาจเหนือเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมต่อจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

- อันนี้เป็นแค่ข้อคิดเห็นทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ ผมขอไม่แสดงความคิดเห็น

———————————-

5. ทั้งนี้ ต่อให้เส้นทางรถไฟนี้จะไม่ได้มาตรฐานเป็นรถไฟความเร็วสูงตามนิยาม ไทยก็ยังใช้ประโยชน์จากความรู้จากจีนได้ผ่านการร่วมทุนในโครงการนี้

ส่วนความเสี่ยงของจีนในการก่อสร้างโครงการ BRI ในไทยก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเช่นกัน หลังจากที่มีการระงับโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเมื่อ 2 ปีก่อน เพราะถูกคนในพื้นที่ต่อต้านอย่างหนัก

- ประเด็นนี้ผมบอกตรงๆ ว่าหลายๆ สำนักข่าวซึ่งไม่มีความรู้ แล้วบอกว่ารถไฟความเร็วสูงเรา ที่ออกแบบ 250 กม/ชม คือความเร็วปานกลาง เป็นเรื่องที่น่าเบื่อมาก ไม่อยากเข้าใจ แล้วก็ปั่นข้าวให้คนสับสนไปเรื่อยๆ

ซึ่งผมขออ้านอิงตามมาตรฐาน UIC ซึ่ง บอกว่า รถไฟความเร็วสูง คือรถไฟที่ให้บริการ ที่ความเร็ว มากกว่า 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งของเรา ออกแบบ ที่ความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ดังนั้น จะมาบอกว่าไม่ใช่รถไฟความเร็วสูง ไม่จริงครับ!!!

———————————-

6. บริษัทก่อสร้างของจีนสามารถเข้ามาแข่งในตลาดก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ได้ จากเดิมที่มีญี่ปุ่นและยุโรปเป็นเจ้าตลาดอยู่ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากการทูตที่ชาญฉลาดของจีน หลังจากที่มีการรัฐประหารในไทยเมื่อปี 2014 รัฐบาลทหารของ พล.อ.ประยุทธ์ก็ยอมรับพิมพ์เขียวการสร้างทางรถไฟของจีน ตอบแทนที่รัฐบาลจีนยอมรับรัฐบาลทหารของไทย ท่ามกลางเสียงประณามจากประเทศตะวันตก

- จริงๆ รถไฟความเร็วสูงเรา มีจีนเป็นพี่เลี้ยงในการออกแบบมาตลอด ตั้งแต่ สมัย อภิสิทธิ์ ยิ่งลักษณ์ มาจนถึง คสช.

แล้วการที่บอกว่า จีนเข้ามาแข่งขันในตลาดการก่อสร้างของเรา ก็ไม่แปลก ถ้าทำได้ตามมาตรฐานการก่อสร้างของเรา ก็ไม่ควรปิดให้มีแต่บริษัท ญี่ปุ่น กับ ฝรั่งทำมาหากิน เท่านั้นนี่ครับ??

7. อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวนิกเคอิระบุว่า แหล่งข่าวใกล้ชิดของ พล.อ.ประยุทธเปิดเผยว่า ขณะที่การเจรจายังดำเนินต่อไป เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลก็คัดค้านแผนของจีนที่จะให้บริษัทตัวแทนรัฐบาลจีนเข้าไปจับจองพื้นที่พาณิชย์ 2 ข้างทางรถไฟ และประเทศเพื่อนบ้านก็เตือนให้ไทยดูเงื่อนไขต่างๆ ที่จีนเสนอมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน

- เราไม่เคยมีการทำสัญญา หรือจีนเองก็ไม่เคยขอที่ดินสองข้างทางในการบริหารเลย เพราะเรามีเงิล ที่จะร่วมทุนได้ถ้า จีนต้องการร่วมทุน

แต่ข่าวนี้ เกิดขึ้นกับลาว ในช่วงแรก ว่าจีนขอที่ดินสองข้างทางรถไฟ ระยะ 1 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางให้จีนเป็นผู้บริหารพื้นที่ เพราะลาวไม่มีเงินร่วมทุน

ซึ่งสุดท้าย ลาวก็ ลดมาตรฐาน ทางรถไฟลงแค่ความเร็ว 160 กม/ชม และเป็นทางเดี่ยว โดย เอาเหมืองทองของจีน เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันโครงการ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/743728949398920
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2019 11:17 am    Post subject: Reply with quote

แกะรอย'รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน' เดินหน้าหรือถอยหลัง
คอลัมน์ : เศรษฐศาสตร์ข้างทาง
โดย “ทวี มีเงิน"
พฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2562 เวลา 08.00 น.

สัปดาห์นี้ชวนไปแกะรอยโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-โคราช แก้ปัญหาจราจรเส้นอีสานคับคั่ง งานนี้จะเดินหน้าหรือถอยหลัง

ก่อนหน้านี้มีคลิปมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช ออกมาพร้อมกับบอกว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดในประเทศไทยและเตรียมจะใช้เพื่อแก้ปัญหาจราจรในช่วงเทศกาลปีใหม่ ขณะที่โครงการคู่ขนานอย่างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-โคราช ที่รัฐบาลพยายามผลักดันแก้ปัญหาการจราจรเส้นทางสายอีสานที่คับคั่ง เฉพาะอย่างยิ่งช่วงเทศกาล ต้องใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 เท่า กำลังจะเข้าตำรา “ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง” ไปเสียแล้ว เพราะจนป่านนี้ยังไปไม่ถึงไหน

แนวความคิดที่จะสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั้นนี้มานาน และเพิ่งจะเอาจริงเอาจังกันในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ยังไม่ได้ทำอะไรก็เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองเสียก่อน กระทั่งในปี 2557 คสช.ทำรัฐประหาร ตั้งรัฐบาลใหม่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เข้ามาเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ก็ปัดฝุ่นโครงการนี้ขึ้นมา แต่จะทำแค่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร เงินลงทุนเกือบ2แสนล้านบาท เป็นโครงการนำร่องก่อน โดยปักหมุดเอาเลิกเอาชัยที่ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก อำเภอปากช่อง นครราชสีมา



จากวันนั้นจนถึงวันนี้ทั้งโครงการสร้างได้ 3.5 กม. ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก และกำลังเดินหน้าอีก 11 กม. ส่วนที่เหลือรอผล EIA ที่ทำเพิ่ม และเวนคืนที่ดิน ยังไม่รู้จะคิ๊กออฟได้ในปี 2563 หรือไม่ ในเมื่ออุปสรรคปัญหามีมากกว่าที่คิด อย่างไรก็ตาม “นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ก็ยังจะเดินหน้าต่อไป โดยความคืบหน้าล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ปลายเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา เห็นชอบผลการประมูลรถไฟไทย-จีน จำนวน 2 สัญญา วงเงินรวม 20,151 ล้านบาท

แต่รถไฟไทย-จีนยังติดการเจรจากับจีนในสัญญาที่ 2.3 เป็นงานระบบ วงเงิน 50,633 ล้านบาท ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ จึงทำให้ไม่สามารถเสนอให้ ครม.พิจารณาเพื่อเซ็นสัญญาร่วมกันได้ หากติดตามโครงการนี้อย่างใกล้ชิดจะเห็นว่ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีนมีปัญหา ตั้งแต่แนวคิดตอนเริ่มโครงการใหม่ๆ ที่ฝ่ายจีนต้องการให้ “ขนได้ทั้งคนและสินค้า” ส่วนฝ่ายไทยต้องการขนเฉพาะคน เพราะกังวลว่าหากเป็นตามที่จีนเสนอจะมีผลให้งบฯ ลงทุนบานปลาย



ส่วนจีนอยากให้ขนสินค้าได้ด้วยเพราะมียุทธศาสตร์ที่จะให้สินค้าของจีนสามารถขนออกทะเลโดยผ่านเส้นทางของไทย ต่อมาก็มีปัญหาเรื่อง “เงินลงทุน” ก็ยังตกลงกันไม่ได้ว่าจะใช้ “หยวน” หรือ “ดอลลาร์” จีนอยากให้ใช้เงินหยวน แต่ไทยอยากใช้ดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้บริหารจัดการความเสี่ยงได้ง่าย และเร็วกว่า เพราะคุ้นเคยมากกว่าหยวน ส่วน “อัตราดอกเบี้ย” ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป ฝ่ายไทยต้องการ 2% อ้างว่าต้องใช้ผู้ประกอบการจากจีนทั้งหมดอยู่แล้ว ฝ่ายจีนก็ยืนยันที่ 2.5-2.6 % เรียกว่าเงินทุกเม็ดไม่ยอมให้กระเด็นไปไหน ไทยอยากได้ราคามิตรภาพ แต่จีนกลับสะกดคำนี้ไม่เป็นจนถึงวันนี้ โครงการก็ยังไปไม่ถึงไหนสี่ปีกว่าเพิ่งได้ไม่ถึง 4กิโลเมตรเท่านั้น นึกภาพไม่ออกว่าโครงการระยะแรก กรุงเทพฯ-โคราชจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่

ยิ่งนานวันสถานการณ์ก็ยิ่งเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนและสิ่งแวดล้อมต่างๆ จนถึงวันนั้นไม่รู้ว่า รถไฟฟ้าความเร็วสูงจะเป็นสิ่งล้าสมัยหรือไม่ ตอนนี้เส้นทางกรุงเทพฯ-โคราชก็มีถนนมอเตอร์เวย์ ที่จะใช้ปลายปีนี้ก็เป็นทางเลือกใหม่ ก็น่าจะแบ่งเบาภาระการเดินทางได้พอสมควร หากจะเดินทางไกลก็มีสายการบินโลว์คอสแอร์ไลน์



หากโครงการนี้เกิดได้จริงก็มีปัญหาตามมาว่าจะรอดหรือไม่ ลงทุนเกือบสองแสนล้านไม่รู้ว่าจะต้องวิ่งวันละกี่สิบเที่ยว ต้องมีผู้โดยสารวันละพันคนเป็นอย่างน้อยถึงจะคุ้มทุน ในภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ สินค้าเกษตรราคาตกต่ำต่อเนื่องมาหลายปี ถามว่าจะมีคนในอีสานสักกี่คนที่มีศักยภาพที่จะมาใช้บริการรถฟ้าความเร็วสูง

เคยมีเสียงเรียกร้องมาตลอดว่าในเบื้องต้นเป็นรถไฟรางคู่น่าจะเหมาะกว่าลงทุนต่ำกว่า ใช้ทั้งขนคนและขนของ หากมีความพร้อมค่อยยกระดับความเร็วสูง แต่รัฐบาลทุกรัฐบาลเข้ามาก็จะดันโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงด้วยกันทั้งนั้น ก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะไร.
..................................................

ขอบคุณภาพจาก : การรถไฟแห่งประเทศไทย Official , China Xinhua News...
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2019 11:23 am    Post subject: Reply with quote

จ่อลงนามรถไฟไทย-จีน
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
พฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2562 เวลา 09:34 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า การเจรจาร่างสัญญาโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ฉบับที่ 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,600 ล้านบาท ขณะนี้มีความคืบหน้ามาก โดยฝ่ายไทยและฝ่ายจีน สามารถแก้ไขข้อติดขัดหลักๆจำนวน 11-12 ประเด็นได้ทั้งหมดแล้ว และขั้นตอนต่อไป ฝ่ายจีนจะนำข้อสรุปไปหารือกับผู้ใหญ่ในฝ่ายจีน ส่วนฝ่ายไทยก็ต้องนำข้อสรุปไปหารือกับอัยการสูงสุด ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายเห็นด้วยกับข้อสรุปดังกล่าว ก็ต้องนำร่างสัญญามาตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง จากนั้นฝ่ายไทยต้องเสนอร่างสัญญาให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบและลงนามสัญญาต่อไป

ทั้งนี้ ในเบื้องต้น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานฝ่ายไทย ตั้งเป้าจะลงนามสัญญาฉบับที่ 2.3 ในระหว่างที่นายหลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของจีน เดินทางมาร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ในเดือน พ.ย.นี้

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน สัญญาฉบับที่ 2.3 มีอายุสัญญา 3-4 ปี ตั้งเป้าเปิดให้บริการปี 2566 และการดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ส่วน ตามการส่งหนังสือให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ได้แก่ NTP ฉบับที่ 1 งานออกแบบระบบและขบวนรถ, NTP ฉบับที่ 2 งานก่อสร้างและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ รวมถึงผลิตขบวนรถ, NTP ฉบับที่ 3 งานฝึกอบรม โดยฝ่ายจีนจะต้องทำงานใน NTP ฉบับที่ 1 ให้แล้วเสร็จก่อน ฝ่ายไทยจึงเริ่มออก NTP ฉบับที่ 2 ส่วน NTP ฉบับที่ 3 ต้องรอให้ NTP ฉบับที่ 2 เสร็จก่อนหรืออาจดำเนินการคู่ขนานกันก็ได้.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2019 6:24 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ศุภชัย” ย้ำชัด เคลียร์ไฮสปีด เซ็นสัญญา พ.ย.
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562- 20:39 น.

‘ศักดิ์สยาม’ ตั้งเป้าลงนามสัญญา ‘รถไฟไทย-จีน’ 5 หมื่นล้านบาทเดือน พ.ย.
https://www.thebangkokinsight.com/209812/


คมนาคม ลั่นพ.ย.นี้ รัฐบาลไทย-จีน ลงนามสัญญา 2.3 ไฮสปีดเทรนกทม.-โคราช
วันที่ 18 กันยายน 2562 - 16:57 น.

พ.ย.ลงนามไฮสปีดกทม.-โคราช
คมนาคม ลั่น พ.ย.นี้ รัฐบาล ไทย-จีน ลงนามสัญญา 2.3 ไฮสปีดเทรน กทม.-โคราช หลังสามารถตกลงเกี่ยวกับข้อติดขัดหลักๆ จำนวน 11-12 ประเด็นได้ทั้งหมดแล้ว

พ.ย.ลงนามไฮสปีดกทม.-โคราช – รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การเจรจาร่างสัญญาโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ฉบับที่ 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,600 ล้านบาท ในโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ไทย-จีน เส้นทาง กทม.-โคราช ว่า ไทยและจีนสามารถตกลงเกี่ยวกับข้อติดขัดหลักๆ จำนวน 11-12 ประเด็นได้ทั้งหมดแล้ว โดยฝ่ายจีนจะต้องนำข้อสรุปไปหารือกับระดับนโยบายฝ่ายจีน

ส่วนฝ่ายไทยจะต้องสรุปข้อมูลเพื่อนำไปหารือกับอัยการสูงสุด หากทั้ง 2 ฝ่าย เห็นชอบตามข้อสรุป จะต้องตรวจสอบถ้อยคำในร่างสัญญาร่วมกันอีกครั้ง จากนั้นฝ่ายไทยจะเสนอร่างสัญญาให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ เพื่อให้สามารถลงนามสัญญาต่อไป

“นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานฝ่ายไทย ตั้งเป้าที่จะให้มีการลงนามในสัญญาฉบับที่ 2.3 ขณะนายหลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางมาร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ในเดือนพ.ย. นี้ ซึ่งขณะนี้ร่างสัญญา มีความพร้อมคาดว่าจะลงนามได้ในเดือนพ.ย 2562 แน่นอน”


Last edited by Wisarut on 19/09/2019 8:54 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2019 7:39 pm    Post subject: Reply with quote

ปั่นที่บ้านโพธิ์พุ่ง300%ดักไฮสปีดตอกเสาเข็ม บิ๊กอสังหายึดแปดริ้ว
ออนไลน์เมื่อ 19 กันยายน 2562
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3506 วันที่ 19-21 กันยายน 2562

บิ๊กเนมพรึบยึดถนนสายบ้านโพธิ์ ผุดโครงการจัดสรรขายรับอีอีซี ดันราคาที่ดินพุ่ง 300% ไม่เว้นแม้ที่ตาบอด มารวยเจ้าถิ่นรอจังหวะไฮสปีดเซ็นสัญญาตอกเสาเข็ม ขยายอาณาจักรชนค่ายใหญ่ ชิงนำที่ดินเก่ากงสี 200 ไร่ พัฒนาโครงการมิกซ์ยูส

บริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์จำนวนไม่น้อย สนใจเข้าพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา กว้านซื้อที่ดินขึ้นโครงการบ้านจัดสรรกันอย่างคึกคัก นับตั้งแต่รัฐบาลประกาศให้พื้นที่นี้เป็นโซนที่อยู่อาศัยชั้นดีรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี เมื่อ 3ปีก่อน ส่งผลให้มีโครงการเกิดขึ้น กว่า 66 โครงการ เทียบปีที่ผ่านมามีเพียง 51 โครงการ

เมื่อรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)มีความชัดเจน กรณีการลงนามในสัญญา ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ฯ ซึ่งตามแผนไม่เกินเดือนกันยายนนี้ จะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจเรียกนักลงทุนเข้าพื้นที่มากขึ้น เช่นเดียวกับ การเข้าพื้นที่ของ อาลีบาบา นักลงทุนยักษ์ใหญ่ของจีน เตรียมลงทุนศูนย์กระจายสินค้า บนที่ดิน WHA บริเวณถนนบางนา-ตราด กม.36 เช่นเดียวกับ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี 4,300 ไร่ บริเวณบางนา-ตราด กม.32 ต่างขยับแผนลงทุนเช่นกัน



บิ๊กเนมยึดบ้านโพธิ์

จากการให้สัมภาษณ์ของนายสืบวงษ์ สุขะมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทมารวย เรียลเอสเตท จำกัด บริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ระบุว่า ผู้ประกอบการรอความชัดเจนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หากมีการลงนามในสัญญาตอกเสาเข็มจะเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการ เกิดกำลังซื้อจากการขับเคลื่อนของอีอีซีจริง ซึ่งช่วงนี้ ยังเป็นเพียงกระดาษ แม้จะเห็นตัวเลขการขออนุญาตส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอจำนวนมากก็ตาม แต่ปัจจุบันยังไม่ถึงขั้นตอนการผลิต ที่มีนักลงทุน แรงงานเข้าพื้นที่ คาดว่าไม่ตํ่ากว่า 3 ปี หากถึงวันนั้นเชื่อจะมีความคึกคักมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ผู้ประกอบการเข้าพื้นที่ กว้านซื้อที่ดินขึ้นโครงการบ้านจัดสรรกันมากแล้ว โดยเฉพาะทำเลตั้งแต่ มอเตอร์เวย์ จนถึงถนนสิริโสธร ที่ชาวบ้านเรียกติด
ปากว่าถนนสายบ้านโพธิ์ ท้องที่อำเภอบ้านโพธิ์ มีโรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์ ปักหมุดอยู่ก่อนแล้ว ตามด้วย นิคมฯอมตะ และนิคมทีเอฟดี ของตระกูลเตชะอุบล จึงไม่แปลกที่ ที่อยู่อาศัยจะเกิดขึ้นรายล้อม ที่สำคัญเป็นทำเลนํ้าไม่ท่วม ใกล้กรุงเทพ มหานคร สนามบินสุวรรณภูมิ เดินทางเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์ ได้สะดวก

ส่วนบิ๊กเนมที่เข้ามาล่าสุด ได้แก่บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) เตรียมเปิดตัวโครงการบ้านเดี่ยว เช่นเดียว กับบมจ.แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ ที่เข้ามาปักหมุดทำเลนี้ จากก่อนหน้านี้ ค่ายเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น พัฒนาโครงการบ้านเดี่ยว แบรนด์ เพฟ ขายในราคากว่า 4 ล้านบาทต่อหน่วย และคาดว่าจะขยับไปทำบ้านระดับราคา 5 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวจะมีดีเวลอปเปอร์ เข้ามาพัฒนาโครงการบ้านระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป รองรับนักลงทุนเจ้าของกิจการ ขณะค่ายพฤกษา เน้นโครงการทาวน์โฮม รองรับลูกค้าในพื้นที่ ราคาไม่เกิน 2-3 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ไม่กระทบต่อโครงการการขายโครงการมารวยโสธร ซึ่งอยู่ในทำเลเดียวกัน เพราะได้เปรียบเรื่องต้นทุนที่ดิน จึงสามารถพัฒนาขนาดบ้านใหญ่แต่ราคาขายถูกกว่าได้




Ads by AdAsia

ราคาที่พุ่ง300%

ผลจากการประกาศเขต อีอีซี และการบุกเข้าพื้นที่ของดีเวลอปเปอร์รายใหญ่ ส่งผลให้ราคาที่ดินขยับสูง โดยเฉพาะทำเลตั้งแต่ทางลงมอเตอร์เวย์ ถึงถนนสิริโสธร
ปรับเพิ่ม 200-300% ทั้งนี้ พื้นที่ติดถนน ไร่ละ 10 ล้านบาท หากเทียบ 5 ปีในทำเลเดียวกันราคา 2-3 ล้านบาท หากเป็นที่ แปลงเล็ก ตกไร่ละ 15 ล้านบาท ซึ่งราคาที่ดินแพงไม่เว้นแม้แต่ที่ดินตาบอดอยู่ที่ไร่ละ 1 ล้านบาทจากเดิมเป็นที่ท้องไร่ท้องนาไม่มีใครต้องการ แต่ช่วงนี้ราคาอาจทรงตัว และจะขยับขึ้นอีกครั้งเมื่อโครงการใหญ่อีอีซีขับเคลื่อน



ปัดฝุ่นที่200ไร่ประตูอีอีซี

สำหรับแผนลงทุนในอนาคต บริษัท เตรียมนำที่ดินสะสม ของตระกูล 200 ไร่ ติดถนนบางนา-ตราด กม.34 ออกพัฒนา ซึ่งอยู่ ใกล้กับศูนย์กระจายสินค้าของอาลีบาบา เพียงลงจากทางด่วนบูรพาวิถี บริเวณกม.33 ก็เข้าที่ดินได้เลยซึ่งปัจจุบันแตกไลน์ บริษัท มะขามหย่ง จำกัด ดีลเลอร์ ปั๊มนํ้ามันปตท. และพื้นที่พาณิชย์ครบวงจร เนื้อที่ 10 ไร่ ดักกำลังซื้อสำหรับคนที่จะเดินทางไปภาคตะวันออก เรียกว่าประตูอีอีซีที่ผ่านมามีคนขอซื้อหลายรายแต่บริษัทยืนยันไม่ขาย เพราะอนาคต หากอาลีบาบามารถไฟความเร็วสูงตอกเสาเข็ม บริษัทจะนำที่ดินทั้งผืนพัฒนา เป็นโรงแรม รีสอร์ต ที่อยู่อาศัย ชั้นดีรองรับกำลังซื้อ



โซนบ้านโพธิ์จะไปได้ไกล

ด้านค่ายใหญ่ นายธีรเดช เกิดสำอางค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจทาวน์เฮาส์ บมจ. พฤกษาเรียลเอสเตท กล่าวว่า ปัจจุบัน ทำเลจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นหนึ่งในจังหวัดที่น่าสนใจ

แต่อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบตลาดมีความคึกคักน้อยลง จากสภาวะเศรษฐกิจ และปัญหาการเข้มงวดปล่อยสินเชื่อของภาคธนาคาร (LTV) หากทุกอย่างถูกปลดล็อก โซนบ้านโพธิ์ จะไปได้ไกล หลังจากอีอีซีมีความคืบหน้า
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 334, 335, 336 ... 542, 543, 544  Next
Page 335 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©