Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180091
ทั้งหมด:13491323
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 358, 359, 360 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2019 10:48 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เคาะกู้เป็นดอลลาร์ ลุยรถไฟไทย-จีน
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 -




ครม.ศก.เคาะเงินกู้”รถไฟไทย-จีน”ใช้สกุลดอลล่าร์ “ศักดิ์สยาม”เข็นเซ็นสัญญา 2.3 ในธ.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 - 17:39

“ศักดิ์สยาม” ดันงานระบบ5หมื่นล้านรถไฟไทย-จีนเข้าครม. 26 พ.ย.เคาะสกุลเงินดอลลาร์-กู้ในประเทศ 85%
ข่าวพร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 - 17:24 น.


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) วันนี้ (22 พ.ย.) เห็นชอบสกุลเงินที่จะใช้ในการกู้เงินเพื่อชำระค่าใช้จ่ายในสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร มูลค่าสัญญา 50,633.5 ล้านบาท ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ – นคราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาทแล้ว โดยเห็นควรให้กู้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

โดยกระทรวงได้สอบถามความเห็นหน่วยงาน 9 แห่งในที่ประชุม เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานบริหารนี้สาธารณะ (สบน.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และธนาคารกรุงไทย เป็นต้น โดยธปท.ให้ความเห็นว่า สามารถดำเนินการเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้ เพราะสามารถใช้อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate) มากำกับการเบิกจ่าย ส่วนธนาคารกรุงไทยก็ช่วยยืนยันว่า เคยดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าวมาก่อน สามารถทำได้จริง
advertisement

ขณะที่แหล่งเงินกู้ที่จะกู้ในส่วนสัญญา 2.3 แบ่งสัดส่วนเป็นแหล่งเงินกู้ในประเทศ 85% และต่างประเทศ 15% มีดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณ 1.5-1.6% และจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในวันที่ 26 พ.ย.นี้

หลังจากได้รับความเห็นชอบแล้ว กระทรวงคมนาคมจะต้องไปกำหนดวันประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (JC) ครั้งที่ 28 เพื่อกำหนดวันบังคับใช้ Forward Rate และวันลงนามในสัญญา 2.3 ตามลำดับ ซึ่งได้ทำหนังสือไปถึง Mr.Ning Jizhe รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของสาธารณรัฐประชาชนจีน ประสานงานเรื่องวันเวลาและสถานที่ที่จะจัดประชุม JC เรียบร้อยแล้ว ซึ่งฝ่ายเราตั้งใจว่าอยากให้มีการประชุมภายในปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2019 12:24 pm    Post subject: Reply with quote

เสารถไฟไฮสปีดไทย-จีน900ต้นกำลังขึ้นพรึ่บ!! *เปิดตำนานต้นแรกช่วง”สีคิ้ว-กุดจิก” *พร้อมบริการสายประวัติศาสตร์ปี66
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2444990095722494

ขอขอบพระคุณ โรงเรียนอาชีวศึกษาและสถาบันเทคนิคทางรถไฟความเร็วสูงหูหนาน (湖南高速铁路职业技术学院) และ หัวหน้าช่าง คุณหม่า จาก สถาบันการใช้ยานพาหนะในฉางชา (长沙城际动车运用所) ที่มอบหมายภาระหน้าที่Interpreter Technical เข้ารัง CRH และเผยข้อมูล TopSecret จนเจอที่เขาว่า จัดสุดในย้านนี้ ตัวใหม่ CRH6F!New Systems Wow!
ปล. ขอขอบคุณมากสำหรับ อาจารย์พี่ๆเพื่อนๆน้องๆที่รอกลับไทย อยากให้มาเป็นวิทยากรแชร์ประสบการณ์ต่างๆนานา ผมยินดีมากครับที่จะแชร์ข้อมูลประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาให้ แล้วเขานำไปให้ได้บ้างหรือไม่ได้บ้าง ก็ต้องขอขอบคุณมากเลยครับ
https://www.facebook.com/sittha.pung/posts/10162523148850366
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/11/2019 8:06 pm    Post subject: Reply with quote

สภาอุตฯ สระบุรีชงแก้ผังเมือง รอบสถานีรถไฟใหม่รับที่ดินพุ่ง 10 ล./ไร่
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 - 15:30 น.

Click on the image for full size

สภาอุตสาหกรรมสระบุรี ชง “ผู้ว่าฯแมนรัตน์” ปรับแก้สีผังเมืองรวมจังหวัดใหม่อีกรอบ จากสีเขียวเป็นสีเหลืองและสีม่วง หลังเพิ่งประกาศบังคับใช้ 25 พ.ย. 62 นี้ รองรับการขยายตัวเชิงพาณิชย์ และการลงทุนภาคอุตสาหกรรม หลังโครงข่ายคมนาคมขนาดใหญ่ทั้งรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน, รถไฟทางคู่ และมอเตอร์เวย์ ตัดผ่าน โดยเฉพาะพื้นที่รอบสถานีสระบุรีแห่งใหม่ ราคาที่ดินพุ่งรับความเจริญจาก 500,000 บาท/ไร่ ขึ้นไป 10 ล้านบาท/ไร่ นายทุนอสังหาฯแห่กว้านซื้อ ผุดอพาร์ตเมนต์-คอนโดฯ

นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดสระบุรี (กรอ.จังหวัด) เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องการปรับปรุงผังเมืองรวมของจังหวัดสระบุรี และการขอแก้ไขผังเมืองรวมตามที่สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรีเสนอมา

ปัจจุบันพื้นที่ในเมืองส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีเขียวไม่สามารถพัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์ และไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในอนาคตได้ จึงต้องการให้ปรับสีของผังเมืองเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาและรองรับการเจริญเติบโตของเมือง ทั้งนี้ หลังจากพิจารณาแล้วตามขั้นตอนยังไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ เนื่องจากต้องรอประกาศการบังคับใช้ผังเมืองรวมของจังหวัดในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งได้แก้ไขไปแล้วก่อนหน้านี้ ทางจังหวัดจึงจะสามารถทำเรื่องเสนอขอให้กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยปรับแก้ใหม่จุดอีกครั้ง


“ที่ผ่านมาทางจังหวัดสระบุรีอยู่ระหว่างขั้นตอนการวางและจัดทำผังเมืองรวมของจังหวัดฉบับใหม่ 18 ขั้นตอน ซึ่งจะเสร็จสิ้นและประกาศบังคับใช้ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 นี้แล้ว ดังนั้น การที่ภาคเอกชนเสนอขอปรับแก้ประเด็นต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมา จะต้องรอให้ผังเมืองรวมฉบับใหม่นี้ประกาศออกมาก่อนแล้วค่อยประชุมพิจารณาประเด็นเรื่องใหม่ที่จะขอแก้ไขยื่นไปให้กรมโยธาธิการและผังเมืองพิจารณาอีกครั้ง นอกจากเรื่องที่เอกชนเสนอขอปรับผังสีจากพื้นที่สีเขียว

เนื่องจากไม่สามารถพัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์ได้แล้ว ในอนาคตจังหวัดสระบุรีจะมีโครงข่ายเส้นทางระบบการคมนาคมขนส่งทั้งระบบถนน และระบบรางตัดผ่าน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย, โครงการรถไฟทางคู่สายอีสาน และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา หรือทางด่วนมอเตอร์เวย์ บางปะอิน-นครราชสีมา เมื่อสิ่งเหล่านี้เข้ามาก็อยากจะปรับให้สามารถพัฒนารองรับความเจริญที่จะตามมาเพิ่มได้มากขึ้นในอนาคต” นายแมนรัตน์กล่าว

นายจรูญ จึงยิ่งเรืองรุ่ง ประธานหอการค้าจังหวัดสระบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในพื้นที่อำเภอเมืองปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีเขียว ทางภาคเอกชนจึงต้องการเสนอขอปรับสีของผังเมืองเพื่อจะรองรับเศรษฐกิจที่จะเกิดในอนาคต โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณรอบสถานีรถไฟจังหวัดสระบุรีแห่งใหม่ ซึ่งมีพื้นที่บริเวณใกล้ห้างโรบินสัน จะมีโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน, โครงการรถไฟทางคู่เข้ามาจอด สถานีรถไฟสระบุรีแห่งนี้ไม่ใช่รองรับเฉพาะคนที่เดินทางภายในประเทศไทยเท่านั้น แต่จะทำหน้าที่คล้ายกับสนามบินดอนเมือง คือจะกลายเป็นจุดเปลี่ยน-ถ่ายรถไฟเพื่อเดินทางต่อเชื่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในอนาคตจะมีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก ดังนั้น ภาคเอกชนจึงต้องการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีเพื่อรองรับการเจริญเติบโตดังกล่าว แต่ตอนนี้ไม่สามารถดำเนินการได้

อย่างไรก็ตาม ตามขั้นตอนเมื่อผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีฉบับใหม่ประกาศแล้ว ทางจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดจะเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ที่ต้องการปรับแก้ผังเมือง

“หลังจากที่มีข่าวว่า ระบบโครงข่ายคมนาคมสายสำคัญ ๆ ตัดผ่านเข้ามาในเมือง ส่งผลให้ราคาที่ดินบริเวณโดยรอบสถานีปรับตัวแพงมากขึ้น 9-10 เท่าตัว จากเดิมที่มีราคาประมาณ 500,000 บาท/ไร่ ปัจจุบัน 10 ล้านบาท/ไร่ ซึ่งนายทุนส่วนใหญ่ที่มาซื้อที่ดินจะเป็นกลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัย เช่น บ้านพัก อพาร์ตเมนต์ คอนโดฯ เป็นต้น” นายจรูญกล่าว

แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี เปิดเผยว่า ทางสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรีได้ยืนข้อเสนอให้ทางจังหวัดสระบุรีพิจารณาผลักดันและติดตามการแก้ไขปรับปรุงผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี ครั้งที่ 1 เพื่อให้การใช้ประโยชน์ที่ดินผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีให้สอดคล้องกับการใช้พื้นที่ในปัจจุบัน รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวอยากให้มีการปรับเป็นพื้นที่สีเหลืองเพื่อพัฒนาเชิงพาณิชย์ และพื้นที่สีม่วงเพื่อพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนนโยบายการลงทุนของรัฐบาล เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม การลงทุน การจ้างงานของจังหวัดสระบุรี เพื่อให้ผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่มีความเชื่อมั่น สามารถสร้างงาน สร้างความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจภาพรวมของจังหวัดสระบุรีและประเทศได้

“สาเหตุที่ต้องมีการขอแก้ไขอีก ทั้งที่เพิ่งจะประกาศใช้ผังเมืองใหม่ในไม่กี่วัน เพราะที่ผ่านมาในขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ผังเมืองรวมฉบับใหม่ ไม่ได้ประชาสัมพันธ์ให้หลายฝ่ายได้รับรู้กันถ้วนหน้า ทำให้การปรับปรุงแก้ไขในจุดหลักไม่ได้ดำเนินการครบถ้วน” แหล่งข่าวกล่าว

อนึ่ง สำหรับการขอปรับผังสีเมืองหรือปรับปรุงผังเมืองรวมของแต่ละจังหวัดนั้นจะสามารถขอปรับได้ 5 ปีต่อ 1 ครั้ง หลังจากที่การประกาศบังคับใช้หมดอายุจึงจะสามารถยื่นเอกสารของการปรับผังเมืองได้ ซึ่งในส่วนของผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีหมดอายุการใช้งานมาแล้วตั้งแต่ปี 2561 ทั้งนี้ ได้มีการยื่นเอกสารขอปรับปรุงผังสีเมืองและได้รับเอกสารตอบกลับจากทางกระทรวงมหาดไทยเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ปัจจุบันต้องรอประกาศการใช้ผังเมืองวันที่ 25 พ.ย. 2562 จึงจะสามารถดำเนินการปรับผังเมืองรวมได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/11/2019 11:00 am    Post subject: Reply with quote

ฉลุย! EIA 14 โครงการ ไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่น เฟสสอง-เชื่อมสามสนามบินคืบ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 - 08:30 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 62 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2562 (เพิ่มเติม) และครั้งที่ 4/2562 และเรื่องมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562 (ทส.) ประกอบด้วย รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากที่ประชุม กก.วล. ครั้งที่ 3/2562 (เพิ่มเติม) จำนวน 5 โครงการ การประชุม กก.วล.ครั้งที่ 4/2562 จำนวน 3 โครงการ และการประชุม กก.วล. ครั้งที่ 5/2562 จำนวน 6 โครงการ รวมทั้งสิ้น 14 โครงการ ดังนี้

1.โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่ (ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่) ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ครั้งที่ 3/2562 (เพิ่มเติม) ปัจจุบันประเทศไทยกับญี่ปุ่นร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งรัฐบาลไทยต้องการให้ญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุน

2.โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ ชายแดน (บริเวณจังหวัดน่าน) – ท่าวังผา (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี และพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นโครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับการซื้อขายไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะทาง 50 กิโลเมตร (ครั้งที่ 3/2562 เพิ่มเติม)

3.โครงการอาคารพักอาศัยแปลง C โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ของการเคหะแห่งชาติ เป็นโครงการประเภทอาคารอยู่อาศัยรวม (สำหรับเช่า) มีจำนวนพักรวม 2,448 ห้อง ขนาดพื้นที่โครงการ 13 ไร่ (ครั้งที่ 3/2596 เพิ่มเติม)

4.รายงาน EIA ภายหลังการทำเหมืองแร่ โครงการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและชนิดดินดานเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด สำหรับประทานบัตรที่ 32444/15541 ตั้งอยู่ตำบลทับกวาง ตำบลท่าคล้อ ตำบลบ้านป่า อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี พื้นที่โครงการ 2,575 ไร่ (ครั้งที่ 3/2562 เพิ่มเติม)

5.โครงการก่อสร้างสายเคเบิลใต้น้ำไปยังเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีจุดลงสายเคเบิลใต้น้ำตั้งอยู่บริเวณแหลมหินงาม บ้านโฉลกหลำ ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจุดขึ้นสายเคเบิลใต้น้ำ ตั้งอยู่บริเวณอ่าวเทียน ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะทางรวม 45 กิโลเมตร ความลึก 1-1.5 เมตร (ครั้งที่ 3/2562 เพิ่มเติม)

6.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประกอบด้วย 3 โครงการหลัก ได้แก่ 1.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (ARL) 2.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-ดอนเมือง (ARLEX) และ 3.โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ – ระยอง (HSR) ระยะทาง 170 กิโลเมตร (ครั้งที่ 4/2562)

7.โครงการพัฒนาที่ดิน บริเวณลานจอดรถที่ 4 ตรงข้ามโรงแรมโนโวเทล ศูนย์การค้าสยามสแควร์ (บล็อก L) (โครงการโรงแรม) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการพัฒนาโครงการแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะที่ 1 : อาคารส่วนฐาน (Podium) เป็นอาคารขนาด 10 ชั้น ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ และ 2. ระยะที่ 2 : เป็นโครงการโรงแรม จำนวนห้องพักอาศัย 400 ห้อง โดยก่อสร้างต่อเติมขึ้นไปเป็นชั้นที่ 11-34 ปัจจุบันยังไม่ได้ก่อสร้าง (ครั้งที่ 4/2562)

8.โครงการอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย จังหวัดพังงา (ตะกั่วป่า) ของการเคหะแห่งชาติ เป็นโครงการประเภทอาคารอยู่อาศัยสูง 4 ชั้น จำนวน 1 อาคาร มีห้องพักจำนวน 78 ห้อง (ครั้งที่ 4 /2562)

9.โครงการนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พื้นที่ 671.51 ไร่ มีถนนโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 (ถนนเลี่ยงเมืองแม่สอดสาย 130) ด้านทิศเหนือ (ครั้งที่ 5/2562)

10.โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก : นิคมอุตสาหกรรม Smart Park ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยตั้งอยู่ในเขตตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พื้นที่ 1,383.76 ไร่ (ครั้งที่ 5/2562)

11.รายงาน EIA สำหรับโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง โครงการทดแทนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ระยะที่ 2 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

12.โครงการอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (โรจนะ) ระยะที่ 1 และระยะเวลา 2 ของการเคหะแห่งชาติ

13.โครงการอาคารเช่าสำหรับข้าราชการผู้มีรายได้น้อยจังหวัดแม่ฮ่องสอน ของการเคหะแห่งชาติ และ 14.เรื่องร้องเรียนต่อ กก.วล.เรื่อง รายงาน EIA โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ของ รฟท.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2019 11:50 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ฉลุย! EIA 14 โครงการ ไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่น เฟสสอง-เชื่อมสามสนามบินคืบ
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 - 08:30 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 62 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2562 (เพิ่มเติม) และครั้งที่ 4/2562 และเรื่องมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2562 (ทส.) ประกอบด้วย รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากที่ประชุม กก.วล. ครั้งที่ 3/2562 (เพิ่มเติม) จำนวน 5 โครงการ การประชุม กก.วล.ครั้งที่ 4/2562 จำนวน 3 โครงการ และการประชุม กก.วล. ครั้งที่ 5/2562 จำนวน 6 โครงการ รวมทั้งสิ้น 14 โครงการ ดังนี้

1.โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่ (ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่) ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ครั้งที่ 3/2562 (เพิ่มเติม) ปัจจุบันประเทศไทยกับญี่ปุ่นร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งรัฐบาลไทยต้องการให้ญี่ปุ่นเข้ามาร่วมลงทุน


6.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประกอบด้วย 3 โครงการหลัก ได้แก่ 1.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (ARL)
2.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-ดอนเมือง (ARLEX) และ
3.โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ – ระยอง (HSR) ระยะทาง 170 กิโลเมตร (ครั้งที่ 4/2562)

14.เรื่องร้องเรียนต่อ กก.วล.เรื่อง รายงาน EIA โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ของ รฟท.


น่าเสียดาย ยังไม่เอาขึ้นเวบ แต่ก็มี Link ดังนี้:
1. โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)
2. โครงการ รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ (ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่)
3. โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา)(ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา)
ค้นได้ที่นี่ครับ
http://eia.onep.go.th/index.php


Last edited by Wisarut on 27/11/2019 4:53 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2019 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

ความก้าวหน้าการก่อสร้างรถไฟความไวสูง สีคิ้ว - กุดจิก
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=972182279809169&id=604096089951125&__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2019 10:54 pm    Post subject: Reply with quote

ซีพีเนรมิต ‘มักกะสัน’ ศูนย์ช็อปปิ้งโลก

เสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2562

กลุ่มซีพีเนรมิตเมืองไฮสปีดมักกะสัน 2 ล้านตร.ม. ศูนย์ช็อปปิ้งโลก คอนเวนชันฮอลล์ ศูนย์การประชุมนานาชาติ สถานพยาบาลที่มีความเป็นเลิศที่ดินแปลงว่างไร้การทำประโยชน์ บริเวณสถานีแอร์พอร์ตลิงค์ “มักกะสัน” กำลังกลายเป็นขุมทองสร้างความมั่งคั่งให้กับกลุ่มซีพี

หลัง บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งฯ) เซ็นสัญญากับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เดินหน้าก่อสร้างเส้นทางไฮสปีด ดึงคนทั่วทุกมุมโลกผ่าน 3 สนามบิน ทั้งดอนเมือง- สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา เข้ากลางใจพื้นที่ที่จะพัฒนาเป็นอาณาจักรมิกซ์ยูส ประตูเชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพมหานคร กับเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี

โดยเฉพาะพื้นที่รอบสถานีศรีราชาที่วันนี้ดีเวลอปเปอร์ พลิกเมืองพัฒนารองรับสถานีแห่งใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ปลุกราคาที่ดินพุ่งสูงไม่เพียงแต่จะปลุกพื้นที่อีอีซีให้เกิดความตื่นตัว แต่พื้นที่โดยรอบมักกะสันอย่าง อโศก - ดินแดง เพชรบุรี รัชดาฯ พระราม 9 ประตูนํ้า พญาไท ราชเทวี ดีเวลอปเปอร์รายใหญ่ต่างขยับขึ้นโครงการต่อเนื่อง

อีกทั้งภาครัฐก็ขยับลงทุนเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ อย่างสายสีส้มตะวันตก รองรับการเกิดขึ้นของเมืองมักกะสัน ที่ว่ากันว่าจะเป็นเมืองที่มีอัตลักษณ์ สร้างการจดจำคล้ายคลึงกับ โครงการวัน แบงค็อก ตึกที่สูงที่สุดในไทยของเจ้าสัวเจริญเจ้าอาณาจักรถนนพระราม 4 ที่ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท รถไฟความเร็วสูงฯ ยืนยันจะเนรมิตพื้นที่นี้ให้มีพื้นที่ใช้สอยมากถึง 2 ล้านตารางเมตร มากกว่าที่รฟท.กำหนด ถึง 2 เท่าตัว

โดยเน้นเป็นศูนย์กลางช็อปปิ้งโลก สถานพยาบาลที่มีความเป็นเลิศ ทั้งด้านการบริการและเทคโนโลยีชั้นสูง อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวมของความบันเทิง ศูนย์การประชุมระดับนานาชาติ เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ แน่นอนว่าต้องลงทุนสูงเพื่อออกแบบแม่เหล็กให้สะกดคนทั้งโลก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2019 11:05 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:


สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(29)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3520 ระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2562

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(30)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3521 ระหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2562


สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(31)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ หน้า 6
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3522 ระหว่างวันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2562

ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด

กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่า กลุ่มบีเอสอาร์ กลุ่มซีพีจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี สัญญาที่จะมีการลงนามกันนั้นรายละเอียดเป็นอย่างไร มาติดตามร่างสัญญากันในเรื่องที่ดินมักกะสันและแอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งต้องมีการส่งมอบพื้นที่ร่วม 300 ไร่ แต่ในพื้นที่เหล่านั้นต้องมีการย้ายระบบพวงรางที่เป็นศูนย์การซ่อมออกไป อันนี้แหละครับที่น่าจะมีปัญหาการส่งมอบที่ดิน เพราะที่ดินมักกะสันประกอบด้วยศูนย์ซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ (Phase B, C, D) และเนื้อที่ที่ติดกับสถานีแอร์พอร์ตเรลลิงค์ที่ รฟท. จะให้เอกชนใช้สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีเนื้อที่ 140.80 ไร่ (Phase A ประกอบด้วยเนื้อที่ไม่รวมพวงราง 131.49 ไร่ และพวงรางอีก 9.31 ไร่) เนื่องจาก รฟท. จำเป็นต้องใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงเพื่อสนับสนุนงานประจำวันอยู่ตลอดเวลา โดยใช้พวงรางเพื่อชักลากขบวนรถเข้าและออก และเป็นที่วางพักรถ 100 คัน (ประกอบด้วย รถที่รอเข้าซ่อม รถที่ซ่อมเสร็จรอย้ายออก และรถที่รอตัดบัญชีซึ่งจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบมูลค่าก่อนย้าย)

ดังนั้น รฟท. จะยุติการใช้พวงรางปัจจุบันได้ก็ต่อเมื่อมีการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและพวงรางแห่งใหม่นอกที่มักกะสันให้เสร็จพร้อมใช้งานได้เสียก่อน ถ้าย้ายไม่ทันก็ยุ่งละพะยะค่ะ สัญญาว่าอย่างไรมาติดตามกันครับ สัญญาในข้อ 3) ความรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องของงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนของงานสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสัน

เมื่อมีการออกหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสันแล้ว หากมีเหตุชำรุดบกพร่องหรือความเสียหายเกิดขึ้นในงานดังกล่าว ภายในกำหนดระยะเวลาสอง (2)ปี นับจากวันที่มีการออกหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสันในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนนั้น ซึ่งความชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของเอกชนคู่สัญญา ซึ่งรวมถึงกรณีที่เกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือทำไว้ไม่เรียบร้อย หรือทำไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชา

ในกรณีดังกล่าว เอกชนคู่สัญญาจะต้องทำการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้าตามที่ รฟท. กำหนด โดย รฟท. ไม่ต้องออกเงินใดๆ ในการนี้ทั้งสิ้นหากเอกชนคู่สัญญาไม่กระทำการดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ รฟท. กำหนด คู่สัญญาตกลงสิทธิ รฟท. ที่จะทำการนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้น โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการดังกล่าว ในกรณีเร่งด่วนจำเป็นต้องรีบแก้ไขเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายโดยเร็ว และไม่อาจรอให้เอกชนคู่สัญญาแก้ไขในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้ รฟท. มีสิทธิเข้าจัดการแก้ไขเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องหรือเสียหาย โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการดังกล่าว

การที่ รฟท. ทำการนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นแทนเอกชนคู่สัญญา ไม่ทำให้เอกชนคู่สัญญาหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาร่วมลงทุน

(ข) งานทางแยกต่างระดับ (Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสัน

1) การดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนของงานแยกต่างระดับ (Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสัน
ก) เอกชนคู่สัญญาจะต้องดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนของงานทางแยกต่างระดับ (Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสันให้แล้วเสร็จและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก ถูกต้องและเป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ มีสภาพปลอดภัยเพียงพอที่จะเริ่มการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ
ข) ในระหว่างระยะเวลาของงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานทางแยกต่างระดับ(Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสัน ให้นำข้อ 15.1(3)(ก)และ(ข) มาใช้บังคับโดยอนุโลมเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของ รฟท. และเอกชนคู่สัญญา ในการดำเนินการและการตรวจสอบการดำเนินการดังกล่าว
ค) ในการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานทางแยกต่างระดับ (Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสัน เอกชนคู่สัญญาจะระมัดระวังมิให้การดำเนินงานข้างต้นส่งผลกระทบต่อโครงการอื่นหรือการให้บริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ

2) การเริ่มต้นการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนของงานทางแยกต่างระดับ (Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสัน
ก) ในวันเริ่มต้นระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนแรกตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)1) เอกชนคู่สัญญาจะต้องดำเนินงานทางแยกต่างระดับ(Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสันให้แล้วเสร็จโดยมีสภาพสมบูรณ์ สามารถใช้งานได้ดี มีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัย ภายในห้า (5) ปี นับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนแรกตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)1)
ข) เมื่อ รฟท.พิจารณางานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานทางแยกต่างระดับ(Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสันแล้วเห็นว่างานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานทางแยกต่างระดับ(Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสันแล้วเสร็จ ถูกต้องและเป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท.ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ มีสภาพปลอดภัยเพียงพอที่จะเริ่มใช้งาน รฟท.จะออกหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานทางแยกต่างระดับ(Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสัน
ค) คู่สัญญาตกลงให้นำข้อ 15.1(3)(ค) มาใช้บังคับโดยอนุโลมเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของ รฟท.และเอกชนคู่สัญญา ในการตรวจสอบความแล้วเสร็จของการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของ
โครงการฯ ในส่วนงานทางแยกต่างระดับ (Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสัน
ง) กรณีที่เอกชนคู่สัญญาดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานทางแยกต่างระดับ(Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสันไม่แล้วเสร็จ ภายในห้า (5)ปีนับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนแรกตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)1) เอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบชำระค่าปรับให้แก่ รฟท.เป็นจำนวนเงินสองหมื่น (20,000)บาทต่อวัน โดยเริ่มนับถัดจากวันดังกล่าว จนถึงวันที่เอกชนคู่สัญญาได้รับหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานทางแยกต่างระดับ(Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสันโดยหากเอกชนคู่สัญญาไม่ชำระค่าปรับดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ รฟท.กำหนด รฟท.มีสิทธิบังคับชำระค่าปรับจากหลักประกันสัญญาตามข้อ 10.1

ผมรับประกันว่า ยุ่งครับ ในสัญญาเขียนให้รฟท.คิดค่าปรับ แต่ในความเป็นจริงน่าจะตรงกันข้ามครับ!

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(31)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ หน้า 6
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3523 ระหว่างวันที่ 17-20 พฤศจิกายน 2562

ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี

สัญญาที่จะมีการลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามร่างสัญญากันในเรื่องการส่งมอบพื้นที่มักกะสันและศรีราชา ที่จะเป็นตัวบอกว่า ส่งมอบล่าช้าหรือไม่...

3) ความรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องของงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนของงานทางแยกต่างระดับ (Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสัน

เมื่อมีการออกหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานทางแยกต่างระดับ(Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสันแล้ว หากมีเหตุชำรุดบกพร่องหรือความเสียหายเกิดขึ้นในงานดังกล่าว ภายในระยะเวลาสอง (2) ปีนับจากวันที่มีการออกหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานทางแยกต่างระดับ(Directional ramps) สำหรับพื้นที่มักกะสันในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนนั้น ซึ่งความชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของเอกชนคู่สัญญา ซึ่งรวมถึงกรณีที่เกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือทำไว้ไม่เรียบร้อย หรือทำไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชา

ในกรณีดังกล่าว เอกชนคู่สัญญาจะต้องทำการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยโดยไม่ชักช้าตามที่ รฟท.กำหนดโดย รฟท.ไม่ต้องออกเงินใดๆ ในการนี้ทั้งสิ้นหากเอกชนคู่สัญญาไม่กระทำการดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ รฟท.กำหนดคู่สัญญาตกลงให้สิทธิ รฟท.ที่จะทำการนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นโดยเอกชนคู่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการดังกล่าว ในกรณีเร่งด่วนจำเป็นต้องแก้ไขเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายโดยเร็ว และไม่อาจรอให้เอกชนคู่สัญญาแก้ไขในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้ รฟท.มีสิทธิเข้าจัดการแก้ไขเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องหรือเสียหาย โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการดังกล่าว

การที่ รฟท.ทำการนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นแทนเอกชนคู่สัญญา ไม่ทำให้เอกชนคู่สัญญาหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาร่วมลงทุน (ค) งานอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท.ในบริเวณพื้นที่ศรีราชา

1) การดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท.ในบริเวณพื้นที่ศรีราชา

ก) เอกชนคู่สัญญาจะต้องดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท.ในบริเวณพื้นที่ศรีราชาให้แล้วเสร็จและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก ถูกต้องและเป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท.ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ มีสภาพปลอดภัยเพียงพอที่จะเริ่มการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ
ข) รฟท.มีกรรมสิทธิ์ในวัสดุ อุปกรณ์ เศษเหล็ก หรือทรัพย์สินใดๆ ที่อยู่ในพื้นที่ศรีราชา โดยเอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องรื้อย้ายทรัพย์สินดังกล่าวออกจากพื้นที่นั้นไปวางไว้ในพื้นที่ที่ รฟท.กำหนดไว้ซึ่งจะอยู่ห่างจากพื้นที่ศรีราชาไม่เกินกว่าระยะทางสิบ (10) กิโลเมตร
ค) ในระหว่างระยะเวลาของงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการ รฟท.ในบริเวณพื้นที่ศรีราชา ให้นำข้อ 15.1(3)(ก)และ(ข) มาใช้บังคับโดยอนุโลมเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของ รฟท.และเอกชนคู่สัญญาในการดำเนินการและการตรวจสอบการดำเนินการดังกล่าว
ง) ในการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท.ในบริเวณพื้นที่ศรีราชา เอกชนคู่สัญญาระมัดระวังมิให้การดำเนินงานข้างต้น ส่งผลกระทบต่อโครงการอื่นหรือการให้บริการสาธารณะของหน่วยงานรัฐ

2) การเริ่มต้นการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท.ในบริเวณพื้นที่ศรีราชา

ก) ในวันเริ่มต้นระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนแรกตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)1)รฟท.จะส่งมอบสิทธิครอบครองในพื้นที่บริเวณพื้นที่ศรีราชา ซึ่งปรากฏรายละเอียดของพื้นที่ดังกล่าวตามเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 5 (ข้อกำหนดของ รฟท.ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ)ภาคผนวกหมายเลข 3-1 (พื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯส่วนแรก) ให้แก่เอกชนคู่สัญญาเพื่อดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท.ในบริเวณพื้นที่ศรีราชาตามที่กำหนดไว้ในข้อนี้เท่านั้น โดยจะต้องดำเนินงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยมีสภาพสมบูรณ์สามารถใช้งานได้ดี มีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัย ภายในสาม (3)ปีนับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนแรกตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1) (ข)1)
ข) เมื่อ รฟท.พิจารณางานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท.ในบริเวณพื้นที่ศรีราชาแล้วเห็นว่างานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานดังกล่าวแล้วเสร็จ ถูกต้องและเป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท.ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ มีสภาพปลอดภัยเพียงพอที่จะเริ่มใช้งาน รฟท.จะออกหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานนั้น
ค) คู่สัญญาตกลงให้นำข้อ 15.1(3)(ค) มาใช้บังคับโดยอนุโลมเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของ รฟท. ในบริเวณพื้นที่ศรีราชา
ง) กรณีเอกชนคู่สัญญาดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท. ในบริเวณพื้นที่ศรีราชาไม่แล้วเสร็จ ภายในสาม (3)ปีนับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนแรกตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)1) เอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชำระค่าปรับให้แก่ รฟท. เป็นจำนวนเงิน หนึ่งหมื่นสามพัน (13,000)บาทต่อวัน โดยเริ่มนับถัดจากวันดังกล่าว จนถึงวันที่เอกชนคู่สัญญาได้รับหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท. ในบริเวณพื้นที่ศรีราชา โดยหากเอกชนคู่สัญญาไม่ชำระค่าปรับดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ รฟท. กำหนด รฟท. มีสิทธิบังคับชำระค่าปรับจากหลักประกันสัญญาตามข้อ 10.1

ผมขอบอกว่าเรื่องการส่งมอบที่ดินของรฟท.ในสัญญาเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับโครงการรถไฟไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินอย่างมาก ผิดพลาดไปหมายถึง “ค่าปรับ-การรื้อ-ขยายสัญญา” ออกไปได้ทีเดียวละครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2019 11:43 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(33)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3524 ระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2562

ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี

สัญญาที่จะมีการลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามร่างสัญญากันในเรื่องการส่งมอบพื้นที่การรถไฟ ที่มักกะสันกับศรีราชา ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่า ส่งมอบล่าช้าหรือไม่...และอาจมีค่าโง่ตามมาในอนาคตหรือเปล่า!

3) ความรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องของงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนของงานอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท. ในบริเวณพื้นที่ศรีราชา เมื่อมีการออกหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท. ในบริเวณพื้นที่ศรีราชาแล้ว หากมีเหตุชำรุดบกพร่องหรือความเสียหายเกิดขึ้นในงานดังกล่าว ภายในกำหนดระยะเวลาสอง (2)ปี นับจากวันที่มีการออกหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนของอาคารที่พักอาศัยพนักงานและอาคารที่ทำการของ รฟท. ในบริเวณพื้นที่ศรีราชาในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนนั้น ซึ่งความชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเกิดจากความพกพร่องของเอกชนคู่สัญญา ซึ่งรวมถึงกรณีที่เกิดจากการใช้วัสดุที่ไม่ถูกต้องหรือทำไว้ไม่เรียบร้อย หรือทำไม่ถูกต้องตามมาตรฐานแห่งหลักวิชา
ในกรณีดังกล่าว เอกชนคู่สัญญาจะต้องทำการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยไม่ชักช้าตามที่ รฟท. กำหนด โดย รฟท. ไม่ต้องออกเงินใดๆ ในการนี้ทั้งสิ้น หากเอกชนคู่สัญญาไม่กระทำการดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ รฟท. กำหนดคู่สัญญาตกลงให้สิทธิ รฟท. ที่จะทำการนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้น โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการดังกล่าว ในกรณีเร่งด่วนจำเป็นต้องรีบแก้ไขเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายโดยเร็ว และไม่อาจรอให้เอกชนคู่สัญญาแก้ไขในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้ รฟท. มีสิทธิเข้าจัดการแก้ไขเหตุชำรุดบกพร่องหรือเสียหายนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องหรือเสียหาย โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการดังกล่าว

การที่ รฟท. ทำการนั้นเอง หรือจ้างผู้อื่นให้ทำงานนั้นแทนเอกชนคู่สัญญา ไม่ทำให้เอกชนคู่สัญญาหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาร่วมลงทุน

(ง) ภาระหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย และการดำเนินงานสำหรับงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดเกี่ยวกับการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯทั้งหมด โดยคู่สัญญาตกลงให้นำข้อ 15.1(1)(ช) มาใช้บังคับโดยอนุโลมเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของ รฟท. และเอกชนคู่สัญญา

(6) สิทธิการใช้ประโยชน์ของ รฟท. และสำนักงาน ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ
(ก) สิทธิการใช้ประโยชน์ของ รฟท. ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาตกลงให้สิทธิการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้แก่ รฟท. ตามรายละเอียดที่ปรากฏในข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ
(ข) สิทธิการใช้ประโยชน์ของ สำนักงานในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC Gateway) ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.2 เอกชนคู่สัญญาตกลงที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้
1) ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วันที่เริ่มต้นระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ จนถึงวันที่ รฟท. ชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 18 เอกชนคู่สัญญาตกลงให้สำนักงานมีสิทธิใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ได้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนี้คู่สัญญาตกลงให้สำนักงานมีสิทธิใช้ประโยชน์ในพื้นที่อาคารพาณิชย์ในส่วนของอาคารสำนักงานซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ก) พื้นที่ที่สำนักงานมีสิทธิใช้ประโยชน์นั้นจะอยู่ในอาคารพาณิชย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่มักกะสันและอยู่ในเขตบริเวณที่มีศักยภาพสูงสุดในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเอกชนคู่สัญญาจะระบุไว้ในแผนการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้พัฒนาเขตพื้นที่ดังกล่าวเป็นลำดับแรกสุดโดยสำนักงานมีสิทธิเลือกพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ในอาคารพาณิชย์ซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่มีศักยภาพสูงสุดนั้นได้แก่ผู้เช่าและผู้ใช้ประโยชน์รายอื่น โดยอาจจะเลือกอาคารที่ตั้งติด เชื่อม หรืออยู่ในบริเวณสถานีรถไฟมักกะสันและ/หรือสาธารณูปโภคใดๆ ก็ได้

ข) พื้นที่ที่สำนักงานมีสิทธิใช้ประโยชน์นั้นมีจำนวนพื้นที่ไม่น้อยกว่าสองพันห้าร้อย (2,500)ตารางเมตร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวรวมกันแล้วจะไม่เกินกว่าพื้นที่สอง (2)ชั้นติดต่อกันภายในอาคารดังกล่าว โดยสำนักงานมีสิทธิเลือกว่าจะใช้ประโยชน์ในชั้นใดก็ได้ก่อนผู้เช่าและผู้ใช้ประโยชน์รายอื่น

ค) เอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบค่าเช่า ค่าใช้ประโยชน์ หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดรวมถึงภาษี ซึ่งรวมทั้งภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือภาษีอื่นใดในทำนองเดียวกัน และค่าธรรมเนียมใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้พื้นที่ดังกล่าวของสำนักงาน แต่ทั้งนี้สำนักงานจะปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบว่าด้วยการใช้บริเวณพื้นที่เช่นเดียวกับผู้เช่าหรือผู้ใช้พื้นที่รายอื่น และสำนักงานจะรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการออกแบบ การปรับปรุง และการตกแต่งพื้นที่เพิ่มเติม รวมถึง ค่านํ้า ค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้น และ
ง) กรณีที่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ข้างต้นของสำนักงาน จะต้องมีการปฏิบัติตามกฎหมายไทย รวมถึงการจดทะเบียนการเช่า เอกชนคู่สัญญาตกลงที่จะให้ความร่วมมือ รวมถึงการไปจดทะเบียนการเช่านั้น โดยเอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบชำระภาษีและค่าธรรมเนียมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าวนั้น
2) เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการให้สำนักงานมีสิทธิใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ได้ ตามข้อ 16.1(6)(ข)

1) เอกชนคู่สัญญาตกลงให้สำนักงานมีสิทธิใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในลักษณะเดียวกันกับที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)1)ก)และ ข) ตลอดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ โดยคิดค่าใช้จ่ายในการให้ใช้ประโยชน์แบบมีส่วนลดตามอัตราร้อยละที่เอกชนคู่สัญญาและสำนักงานจะตกลงกันโดยคำนึงถึงแนวปฏิบัติที่หน่วยงานของรัฐได้รับสิทธิประโยชน์จากการให้เอกชนเช่าและ/หรือใช้ประโยชน์ในที่ดินและ/หรืออาคารของหน่วยงานของรัฐ ในขณะที่จะเริ่มมีการคิดค่าใช้จ่ายสำหรับการให้สิทธิแก่สำนักงานตามข้อนี้ เกาะติดสัญญากันให้ดีๆนะครับ! ผิดพลาดไปอ่วมอรทัย...แบบไม่รู้ตัว!

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(34)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3525 ระหว่างวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2562

ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด

กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี

สัญญาที่ลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามร่างสัญญากันในเรื่องการส่งมอบพื้นที่การรถไฟฯที่มักกะสันกับศรีราชา ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่า ส่งมอบล่าช้าหรือไม่...และอาจมีค่าโง่ตามมาในอนาคตหรือเปล่า!

(7) ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เอกชนคู่สัญญาจะไม่ใช้หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในลักษณะใดๆ ที่ผิดกฎหมายไทยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี หรือน่ารังเกียจ น่ากลัว หรืออาจกระทบกระเทือนความปลอดภัยและความสงบหรือเป็นอันตรายต่อสาธารณะ

(8) ความคุ้มกันความรับผิด เอกชนคู่สัญญาต้องปกป้องคุ้มครอง รฟท. บุคลากรของ รฟท.และบุคคลในคณะกรรมการต่างๆ ของ รฟท.จากความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในทุกกรณี

ในกรณีที่ รฟท.หรือบุคคลดังกล่าวในวรรคแรกถูกฟ้องร้องให้รับผิดใดๆ ไม่ว่าทางแพ่ง ทางอาญาหรือทางปกครอง เนื่องจากการกระทำของเอกชนคู่สัญญา ผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์บุคลากรของเอกชนคู่สัญญา ผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์ หรือการดำเนินการใดๆ ของเอกชนคู่สัญญาและ/หรือบุคคลดังกล่าวตามสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญาต้องเข้าเป็นคู่ความ รวมทั้งจัดหาทนายความเพื่อแก้ต่างแทน รฟท.และบุคคลดังกล่าวที่กล่าวมาแล้วข้างต้นและชดใช้ความเสียหายนั้นทุกประการ ซึ่งรวมทั้งค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายทั้งปวงในการดำเนินคดีและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งหมดด้วย

(9) การเชื่อมกับโครงข่ายระบบขนส่งมวลชน เพื่อเป็นการเสริมสร้างการใช้ประโยชน์ เพิ่มศักยภาพการใช้งาน และมูลค่าของพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ รฟท.และ/หรือเอกชนคู่สัญญาอาจพิจารณาให้มีการก่อสร้างทางเชื่อมจากพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และ/หรือจากบรรดาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ บนพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ กับโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนตามที่ รฟท.เห็นสมควรด้วยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาเอง โดยในการดำเนินการดังกล่าวเอกชนคู่สัญญาจะต้องนำส่งแผนงานรายละเอียดรวมทั้งแบบการก่อสร้าง(ถ้ามี)ให้แก่ รฟท.และหน่วยงานของรัฐ เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนเริ่มดำเนินการ

(10) การปฏิบัติตามกฎหมายไทย เอกชนคู่สัญญาจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานและการดำเนินการของเอกชนคู่สัญญา โดยเอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด หากปรากฏว่า รฟท. ต้องรับผิดชอบหรือได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่เอกชนคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไทยเอกชนคู่สัญญาจะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ รฟท.ทั้งสิ้นโดยไม่ชักช้า

(11) การขออนุญาตหรือขอความยินยอมต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่สัญญาร่วมลงทุนนี้จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น ในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาประสงค์จะยื่นเรื่องขออนุญาตหรือ ขอความยินยอมต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายไทยหรือตามสัญญาร่วมลงทุนนี้ หรือจะต้องได้รับอนุญาตหรือยินยอมจาก รฟท.ก่อน เอกชนคู่สัญญาจะต้องตรวจสอบข้อมูลและบรรดาเอกสารต่างๆ รวมถึงขั้นตอนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องทั้งหมดก่อนการดำเนินการ ตลอดจนรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่ฝ่ายเดียว โดย รฟท.อนุมัติโดยไม่ชักช้า

(12) การเตรียมการสำหรับการสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ

(ก) ภายในช่วงระยะเวลาเตรียมการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาแต่ผู้เดียว

1) จัดส่งข้อมูลรายการทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้และประเภททรัพย์สินที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ รวมถึงข้อมูลการเช่า การเช่าช่วงและ/หรือการให้ใช้ประโยชน์ ข้อมูลการประกอบธุรกิจภายในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ของเอกชนคู่สัญญา ผู้เช่า ผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์ซึ่งประกอบด้วย รายชื่อ ที่อยู่ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ พื้นที่ ผู้รับการติดต่อ ระยะเวลา ค่าเช่าและค่าตอบแทนอื่นใดในอัตราเฉลี่ยเป็นกลุ่มตามประเภทธุรกิจในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และผลรวมค่าเช่าเป็นรายชิ้น พร้อมสำเนาสัญญา และบรรดาเอกสารที่เกี่ยวข้องที่แสดงข้อมูลดังกล่าวข้างต้นให้ รฟท.โดยให้ส่งตั้งแต่วันที่เริ่มช่วงระยะเวลาเตรียมการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการฯ และส่งข้อมูลอัพเดตทุกรอบระยะเวลาหก (6)เดือน

2) ถ่ายทอดความรู้ (Know how) อบรมพนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือตัวแทนของ รฟท.หรือบุคคลอื่นใดที่ รฟท.กำหนด ในการประกอบธุรกิจบนหรือในทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตลอดจนวิธีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ และการอื่นใดที่จำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตามที่ รฟท.กำหนด
3) แจ้งผู้เช่า ผู้เช่าช่วง และ/หรือผู้ใช้ประโยชน์ที่ประกอบกิจกรรมอยู่ในทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้ทราบถึงการสิ้นสุดของระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ
4) จัดทำบัญชี รายการทรัพย์สิน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้แก่ รฟท.โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องดำเนินการรื้อถอนและ/หรือขนย้ายทรัพย์สินดังกล่าวออกจากพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ภายหลังสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และ
5) บำรุงรักษา ดูแล ปรับปรุงทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีตามวัตถุประสงค์ของการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินดังกล่าว ยกเว้นการเสื่อมสภาพการใช้งานตามปรกติ

(ข) ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเอกชนคู่สัญญา ผู้เช่า ผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์เพิกเฉยหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามข้อ 16.1 (12) นี้ โดยถูกต้องครบถ้วนหรือทำให้พื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เสื่อมสภาพลงเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์ หรือมี การกระทำอย่างอื่นในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ รฟท.มีสิทธิเข้าไปดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการเพื่อให้เกิดผลตามข้อ 16.2(12) หรือเข้าไปป้องกันทำให้ทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เสื่อมสภาพลง หรือเข้าไประงับการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าว โดยเอกชนคู่สัญญา ต้องอำนวยความสะดวกและต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นแต่เพียง
ผู้เดียว

เห็นสัญญาแล้วอย่าคิดแต่เพียงว่า รฟท.จะได้เปรียบนะครับ อ่านให้ดีๆ ตีโจทย์ให้แตกนะขอรับ!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/11/2019 11:46 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (35)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3526 ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2562


ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด
กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี
สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามร่างสัญญากันในเรื่องสัญญาที่ดินแอร์พอร์ตลิงค์ มักกะสัน ศรีราชา เป็นเรื่องการส่งมอบที่ดินอนาคตสัญญาจะอยู่ตรงนี้
(13) การสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เมื่อระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ สิ้นสุดลง รฟท.มีสิทธิดังต่อไปนี้
(ก) กรณีเอกชนคู่สัญญาไม่สามารถก่อสร้างงานโยธาของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้มีมูลค่าการลงทุนไม่น้อยกว่า 42,000,000,000(สี่หมื่นสองพันล้าน)บาท
สำหรับพื้นที่ที่มักกะสัน และไม่น้อยกว่า 300,000,000(สามร้อยล้าน) บาท
สำหรับพื้นที่ศรีราชา และเป็นไปตามข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอ ตามเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุน หมายเลข 9 ภายในระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ คู่สัญญาตกลงให้เอกชนคู่สัญญาชำระเงินเป็นจำนวนเท่ากับส่วนต่างระหว่างมูลค่าการลงทุนจริงและเงินจำนวน 42,000,000,000(สี่หมื่นสองพันล้าน)บาท
กรณีพื้นที่มักกะสัน หรือ 300,000,000 (สามร้อยล้าน) บาท
กรณีพื้นที่ศรีราชา โดยเทียบกับมูลค่าทางบัญชี ณ วันที่ก่อสร้างงานโยธาของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ เสร็จ (โดยไม่มีการคิดลดค่าเงินและค่าเสื่อมราคา) ทั้งนี้จะต้องชำระภายในวันที่สิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ โดยหากไม่ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเอกชนคู่สัญญาจะต้องชำระเงินจำนวนนั้นพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราที่ระบุในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จนกว่าเอกชนคู่สัญญาจะชำระเงินดังกล่าวให้แก่ รฟท.เสร็จสิ้น
ทั้งนี้ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องดำเนินการก่อสร้างงานโยธาของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้มีมูลค่าเป็นไปตามข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอภายในระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ซึ่งหากเอกชนคู่สัญญาจะไม่ดำเนินการดังกล่าว เอกชนคู่สัญญาจะต้องเสนอเหตุผลและความจำเป็นต่อ รฟท.เพื่อให้ รฟท.พิจารณาอนุมัติ
(ข) รฟท.มีสิทธิเข้าครอบครองใช้ประโยชน์หรือนำไปให้บุคคลอื่นใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ทั้งหมด โดยเอกชนคู่สัญญาไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือขัดขวางการใช้สิทธิหรือการกระทำดังกล่าวของ รฟท.
นอกจากนี้ผู้ที่ รฟท.มอบหมายมีสิทธิขนย้ายสิ่งของหรือวัสดุอุปกรณ์และสัมภาระไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด (ทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินของเอกชนคู่สัญญาผู้เช่า ผู้เช่าช่วง ผู้ใช้ประโยชน์และ/หรือเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของบุคลากรหรือบริวารของบุคคลดังกล่าวออกจากพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ด้วยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญา และกระทำการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้ รฟท.สามารถเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิด การบุกรุก หรือทำให้เสียทรัพย์ หรือความผิดอาญาอื่นใด
ทั้งนี้เอกชนคู่สัญญาไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อเป็นการให้เวลาแก่เอกชนคู่สัญญาในการขยับบริวาร ทรัพย์สิน สิ่งของ หรือวัสดุอุปกรณ์ (ทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่เป็นสาระสำคัญ) ในช่วงที่ รฟท.ได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ตามวรรคแรก รฟท.ให้สิทธิเอกชนคู่สัญญาในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นภายในหกสิบ (60)วันนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ
โดยในระหว่างนั้น เอกชนคู่สัญญาจะต้องจัดส่งข้อมูลรายการทรัพย์สินและข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ดังกล่าว ด้วยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาให้แก่ รฟท.จนเสร็จสิ้นโดยเร็วด้วย
หาก รฟท.ไม่สามารถเข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ได้ทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่ว่าด้วยเหตุแห่งการรอนสิทธิ ภาระผูกพันหรือด้วยเหตุใดๆ (ยกเว้นการรอนสิทธิ ภาระผูกพันที่มีอยู่ก่อนวันเข้าทำสัญญาร่วมลงทุน) หรือต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกด้วยสาเหตุจากหรือเกี่ยวเนื่องจากการใช้พื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ดังกล่าวเอกชนคู่สัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อ รฟท.ทั้งสิ้น

(ค) ภายใต้บังคับของ ข้อ 16.1(13)(ข)ที่ รฟท.ให้สิทธิเอกชนคู่สัญญาในการขนย้าย บริวารทรัพย์สิน สิ่งของ หรือ วัสดุอุปกรณ์(ทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้) ได้ภายในระยะเวลาหกสิบ (60)วันนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ หากเอกชนคู่สัญญาไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว รฟท.มีสิทธิปรับเอกชนคู่สัญญาเป็นรายวันในอัตราดังต่อไปนี้นับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาหกสิบ (60)วันนั้นแล้ว จนถึงวันที่เอกชนคู่สัญญาขนย้าย บริวารทรัพย์สิน สิ่งของ หรือ วัสดุอุปกรณ์เสร็จโดยไม่ตัดสิทธิเรียกค่าเสียหายอื่น (ถ้ามี)
1) กรณีพื้นที่มักกะสัน ให้คิดค่าปรับอัตราวันละ สามหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยยี่สิบห้า (37,525)บาท ต่อหนึ่ง (1)ไร่ โดยเศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่ง (1)ไร่ และ
2) กรณีพื้นที่ศรีราชา ให้คิดค่าปรับอัตราร้อยละ สามร้อยหกสิบสาม (363)บาท ต่อหนึ่ง (1)ไร่ โดยเศษของไร่คิดเป็นหนึ่ง (1)ไร่
(ง) อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างส่วนที่ปลูกสร้าง แก้ไข ดัดแปลง ต่อเติม ซ่อมแซมหรือก่อสร้าง ทดแทน และบรรดาทรัพย์สินใดๆ ที่เอกชนคู่สัญญา ผู้เช่าผู้เช่าช่วงและ/หรือผู้ใช้ประโยชน์ได้ดำเนินการบูรณะ พัฒนา และส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ รฟท. ตามสัญญาร่วมลงทุนหรือสิทธิหรือประโยชน์ใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมสิ่งปลูกสร้างกับโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนตามสิทธิที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน ตลอดจนเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ ที่เอกชนคู่สัญญาได้ชำระหรือมอบให้แก่ รฟท.แล้ว เอกชนคู่สัญญาไม่มีสิทธิเรียกคืนหรือเรียกร้องค่าการงานหรือเรียกร้องค่าตอบแทนใดๆ
อ่านสัญญาแล้ว ดูดี มีสาระมั้ย ท่านคิดอย่างไร!


Last edited by Wisarut on 03/12/2019 3:38 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 358, 359, 360 ... 542, 543, 544  Next
Page 359 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©