RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179815
ทั้งหมด:13491047
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 366, 367, 368 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/03/2020 7:14 am    Post subject: Reply with quote

เพิ่มงบไฮสปีด3สนามบิน 4พันล. ย้ายสาธารณูปโภค-เวนคืนเพิ่ม 3จุด
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผู้จัดการรายวัน360 - "ก.คมนาคม" ชงเพิ่มงบ 4,000 ล้าน รื้อย้ายสาธารณูปโภครถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เข้า ครม.เศรษฐกิจ 6 มี.ค.นี้ เผยต้องเวนคืนพื้นที่เพิ่มอีก 3 จุด ช่วงข้ามแม่น้ำบางปะกง-อุโมงค์เขาชีจรรย์-ทางเข้าสนามบินอู่ตะเภา เพิ่มความกว้างจาก 25 ม. เป็น 40 ม. เพื่อวางเครื่องจักร

วานนี้ (4 มี.ค.) นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน "ดอนเมือง -สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา" ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ครั้งที่ 2/2563 (ครั้งที่ 4) วานนี้ (4 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าในการส่งมอบพื้นที่ของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงการเวนคืนที่ดินเพิ่ม พื้นที่ส่วนที่มีผู้บุกรุกและพื้นที่ติดสัญญาเช่า ส่วนของดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภคของ 7 หน่วยงาน ซึ่งประเมินว่า จะต้องใช้กรอบวงเงินประมาณ 4,000 กว่าล้านบาท โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจพิจารณา ในวันที่ 6 มี.ค.นี้ และนำเสนอ ครม.ต่อไป

ส่วนค่าใช้จ่ายในการรื้อย้าย สาธารณูปโภค เร่งด่วน 490 ล้านบาท ที่มีการเห็นชอบไปแล้วนั้น ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ส่งเรื่องไปยังสำนักงบประมาณแล้ว

นอกจากนี้ ได้เสนอการเวนคืนเพิ่ม เนื่องจากบางจุดซึ่งไม่ได้อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟเดิม อาจต้องใช้พื้นที่กว้างจาก 25 เมตร เป็น 40 เมตร เพื่อใช้สำหรับการวางเครื่องจักร เครื่องมือในการก่อสร้าง ซึ่งเป็นเรื่องวิศวกรรม หากไม่มีพื้นที่จะก่อสร้างไม่ได้ โดยมี 3 ช่วง คือ ช่วงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง และช่วงอุโมงค์เขาชีจรรย์ และช่วงเข้าสนามบินอู่ตะเภา โดยได้ให้บริษัทที่ปรึกษา การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ตรวจสอบความเหมาะสมและจำเป็น เพื่อหาข้อสรุปนำเสนอที่ประชุมพิจารณาในครั้งต่อไป

ทั้งนี้ การเวนคืนเพิ่ม ไม่ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบก่อสร้างแต่พื้นที่เดิมที่กำหนดเวนคืน แคบไป ทำให้ไม่สามารถวางเครื่องจักรได้ ซึ่งต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ามีความจำเป็นที่ต้องเวนคืนเพิ่ม

นอกจากนี้ ได้เห็นชอบแนวทางการดำเนินงานที่ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด และ บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (Thappline) ออกแบบโครงสร้างพิเศษหลบท่อน้ำมัน และเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานและกรอบระยะเวลาของ บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT)ในการรื้อย้ายท่อน้ำมันไปทางทิศตะวันตกของเขตทางรถไฟ โดย FPTขอให้ ร.ฟ.ท. ช่วยกำหนดจุดแนวการวางท่อช่วงบางซื่อ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด แผนการดำเนินงานเตรียมการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โดยให้ทำ EIA เพิ่มเติมด้วย

และเห็นชอบแนวเส้นทางเข้าออกสนามบินสุวรรณภูมิ ตามข้อเสนอของบริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ และให้บริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ พิจารณาเหตุผลความจำเป็นตามหลักวิศวกรรมและการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อสร้างทาง และสิ่งจำเป็นตามโครงการฯ โดยละเอียด ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 16 มี.ค. 63 เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการเวนคืนต่อไป

เห็นชอบแผนการดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภคของค่ายลูกเสือวชิราวุธ โดยให้ กฟภ. เป็นผู้ดำเนินงานแทน ให้รับมอบอำนาจในการปรับปรุงและรื้อย้ายเสาไฟฟ้าแรงสูง และสายไฟ แผนการรื้อย้ายสาธารณูปโภคของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ จำนวน 10 จุด ทั้งนี้ หากมีรายละเอียดเพิ่มเติมให้ตรวจสอบและรายงานคณะกรรมการทราบอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ในการวางไทม์ไลน์ในการส่งมอบพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งยังมั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ทันตามกรอบเวลาที่วางไว้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/03/2020 7:20 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ชงของบ 4 พันล้าน เคลียร์พื้นที่รับ“ไฮสปีด”
กรุงเทพธุรกิจ 5 มีนาคม 2563

ร.ฟ.ท.เตรียมชง กพอ. 6 มี.ค.นี้ ไฟเขียวงบ 4 พันล้าน เคลียร์ปมรื้อย้ายสาธารณูปโภค เริ่มก่อสร้างโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน หลังเจรจาแผนส่งมอบแล้วเสร็จ “ซีพี” เตรียมเข้าพื้นที่สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา สร้างเฟสแรก

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่ โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยระบุว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการติดตามความคืบหน้าเรื่องเวนคืน เรื่องผู้บุกรุก และกรอบกำหนดของการรื้อย้ายสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งขณะนี้พบว่าทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภค ตลอดจนเอกชนที่ชนะการประมูลมีแผนทำงานที่ชัดเจน และมั่นใจว่าจะก่อสร้างเสร็จทันกรอบกำหนด

อย่างไรก็ดี หลังจากสรุปรายละเอียดของการส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดแล้ว ร.ฟ.ท.เตรียมเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ในวันศุกร์ที่ 6 มี.ค.นี้ เพื่อขออนุมัติงบประมาณกว่า 4 พันล้านบาท เป็นงบเพื่อก่อสร้างทดแทนสาธารณูปโภคที่ได้รับผลกระทบจากการรื้อย้ายดำเนินโครงการนี้ อาทิเช่น ระบบไฟฟ้า ประปา และท่อระบายน้ำ ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) รวมถึงสายไฟแรงสูงของค่ายลูกเสือในจังหวัดชลบุรี ที่คาดว่าจะใช้งบประมาณรื้อย้ายประมาณ 3 ล้านบาท

“การส่งมอบพื้นที่มักกะสัน จะส่งมอบพร้อมกับแอร์พอร์ตลิงก์ เพราะต้องไปพร้อมกับขบวนรถ ส่วนเรื่องเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ตอนนี้ทางซีพียังไม่ได้แจ้ง โดยผมได้สั่งการไปแล้วว่าตรงไหนพร้อมให้เข้าได้เลย เช่น ย้ายผู้บุกรุก เมื่อการรถไฟฯ ทำแล้ว ก็ขอให้ซีพีล้อมรั้วทันที"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2020 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

ชงบอร์ดอีอีซี 6มี.ค.ของบเพิ่ม 4 พันล้าน ย้ายสาธารณูปโภค ลุยไฮสปีด

4 มีนาคม 2563

ร.ฟ.ท.เสนอของบประมาณเพิ่ม 4,000 ล้านบาท หวังรื้อย้ายสาธารณูปโภค รอบอร์ดอีอีซีไฟเขียว เตรียมเวนคืน 3 จุดงานก่อสร้างช่วงแม่น้ำบางปะกง-อุโมงค์เขาชีจรรย์ –ทางลอดใต้ถนนเข้าพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา เชื่อส่งมอบพื้นที่ทันตามแผน นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมประชุมคณะทำวานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่ โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการติดตามความคืบหน้าเรื่องเวนคืน ผู้บุกรุก และกรอบกำหนดของการรื้อย้ายสาธารณูปโภคต่างๆ ขณะนี้พบว่าทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภค ตลอดจนเอกชนที่ชนะการประมูลมีแผนทำงานที่ชัดเจน และมั่นใจว่าจะก่อสร้างเสร็จทันกรอบกำหนด หลังจากนั้นจะสรุปรายละเอียดของการส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดแล้ว ร.ฟ.ท.เตรียมเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ในวันศุกร์ที่ 6 มี.ค.นี้ เพื่อขออนุมัติงบประมาณกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบเพื่อก่อสร้างทดแทนสาธารณูปโภคที่ได้รับผลกระทบจากการรื้อย้ายดำเนินโครงการนี้ เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา และท่อระบายน้ำ ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) รวมถึงสายไฟแรงสูงของค่ายลูกเสือในจังหวัดชลบุรี ที่คาดว่าจะใช้งบประมาณรื้อย้ายราว 3 ล้านบาท “ปัญหาการส่งมอบพื้นที่ที่ก่อนหน้านี้ติดการรื้อย้ายในส่วนของท่อน้ำมัน บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) ปัจจุบันได้ข้อสรุปแล้วว่าจะมีการรื้อย้ายท่อน้ำมันดังกล่าว จากฝั่งตะวันตกไปตะวันออก โดยFPT จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อย้ายเอง อีกทั้ง FPT จะต้องจัดทำผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพิ่มเติมด้วย เนื่องจากก่อนหน้านี้การติดตั้งท่อน้ำมันมีมานานก่อนกฎหมายกำหนดให้ทำอีไอเอ ดังนั้นเมื่อมีการรื้อย้ายใหม่ ตามกฎหมายจึงต้องจัดทำอีไอเอ ซึ่งจะจัดทำเพียงส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น” นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันที่ประชุม กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) เอกชนผู้ชนะการประมูล ได้ชี้แจงแผนก่อสร้างโดยต้องการขอขยายพื้นที่ก่อสร้าง 3 จุด จากรัศมีการเวนคืนที่ ร.ฟ.ท.กำหนดเดิม 25 เมตร เพิ่มเป็น 40 เมตร ส่งผลให้ต้องเวนคืนพื้นที่เพิ่ม ประกอบไปด้วย บริเวณงานก่อสร้างช่วงแม่น้ำบางปะกง บริเวณอุโมงค์เขาชีจรรย์ และบริเวณทางลอดใต้ถนนเข้าพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา สำหรับเวนคืนที่ดินเดิมได้กำหนดเวนคืน 25 เมตร แต่ฝ่ายเอกชนแจ้งว่าบางจุดอาจต้องใช้มากกว่านั้น เพราะบางส่วนต้องใช้พื้นที่ก่อสร้าง ต้องวางเครื่องจักร ซึ่งตอนนี้ฝ่ายเอกชนได้กำหนดมา 3 จุด โดยที่ประชุมให้กลับไปศึกษาเหตุผลความจำเป็นว่าทำไมต้องเวนคืนเพิ่ม จาก 25 เมตร เป็น 40 เมตร หลังจากนั้นจะให้ที่ปรึกษาการรถไฟฯ ตรวจสอบ หากพบว่ามีความจำเป็นที่ต้องเวนคืนเพิ่มก็จะอนุมัติ จึงสรุปได้ว่าวันนี้ที่ประชุมเคลียร์การส่งมอบทั้งหมดแล้ว ติดเพียงเรื่องขยับที่เวนคืนเป็น 40 เมตรเท่านั้น ก็จะต้องรอพิจารณาในที่ประชุมครั้งถัดไป รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า แผนส่งมอบพื้นที่ขณะนี้ถือว่าเสร็จหมดแล้ว ขณะเดียวกันส่วนที่เหลือเป็นหน่วยงานที่เป็นเจ้าของสาธารณูปโภคจะต้องจัดสรรงบประมาณในการรื้อย้ายเอง ซึ่งงบที่จะขอเพิ่มเติม 4,000 ล้านบาทนั้น เป็นส่วนที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบในการก่อสร้างทดแทนสาธารณูปโภคที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งนอกเหนือจากงบประมาณรื้อย้าย 479 ล้านบาทที่ ร.ฟ.ท.เคยได้รับอนุมัติจาก กพอ.ไปก่อนหน้านี้ “แผนเข้าพื้นที่ก่อสร้างโครงการ ตามข้อกำหนดในสัญญาร่วมทุนระบุไว้ว่า ร.ฟ.ท.จะต้องส่งมอบพื้นที่เพื่อให้กลุ่มซีพีสามารถดำเนินการสร้างได้ ดังนั้นการส่งมอบพื้นที่เป็นส่วนๆ ไม่ประติดประต่อ ก็ไม่สามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ ข้อสรุปตอนนี้คือเราต้องเคลียร์พื้นที่ให้ได้เป็นช่วง เพื่อให้ซีพีทยอยเริ่มงานก่อสร้างอย่างสมบูรณ์” อย่างไรก็ตามแผนส่งมอบพื้นที่ที่ ร.ฟ.ท.กำหนด ส่วนแรกบริเวณที่มีความพร้อมเป็น ช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา คาดว่าจะใช้เวลาส่งมอบแล้วเสร็จภายในประมาณ 1 ปีกว่า ซึ่งปัจจุบันได้เคลียร์ระบบสาธารณูปโภคเรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าพื้นที่ช่วงนี้ จะเป็นส่วนแรกที่กลุ่มซีพีสามารถเริ่มงานก่อสร้างได้

ซีพี ขอเวนคืนที่สร้างไฮสปีดเพิ่ม 3จุด
4 มีนาคม 2563

ซีพี ขอเวนคืนที่สร้างไฮสปีดเพิ่ม 3จุด ช่วงแม่น้ำแม่บางปะกง -บริเวณอุโมงค์เขาชีจรรย์ -ทางลอดใต้ถนนเข้าพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่ โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ว่า กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) เอกชนผู้ชนะการประมูล ได้ชี้แจงแผนก่อสร้างโดยต้องการขอขยายพื้นที่ก่อสร้าง 3 จุด จากรัศมีการเวนคืนที่ ร.ฟ.ท.กำหนดเดิม 25 เมตร เพิ่มเป็น 40 เมตร ส่งผลให้ต้องเวนคืนพื้นที่เพิ่ม ประกอบไปด้วย บริเวณงานก่อสร้างช่วงแม่น้ำบางปะกง บริเวณอุโมงค์เขาชีจรรย์ และบริเวณทางลอดใต้ถนนเข้าพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา

สำหรับเวนคืนที่ดินเดิมได้กำหนดเวนคืน 25 เมตร แต่ฝ่ายเอกชนแจ้งว่าบางจุดอาจต้องใช้มากกว่านั้น เพราะบางส่วนต้องใช้พื้นที่ก่อสร้าง ต้องวางเครื่องจักร ซึ่งตอนนี้ฝ่ายเอกชนได้กำหนดมา 3 จุด โดยที่ประชุมให้กลับไปศึกษาเหตุผลความจำเป็นว่าทำไมต้องเวนคืนเพิ่ม จาก 25 เมตร เป็น 40 เมตร หลังจากนั้นจะให้ที่ปรึกษาการรถไฟฯ ตรวจสอบ หากพบว่ามีความจำเป็นที่ต้องเวนคืนเพิ่มก็จะอนุมัติ จึงสรุปได้ว่าวันนี้ที่ประชุมเคลียร์การส่งมอบทั้งหมดแล้ว ติดเพียงเรื่องขยับที่เวนคืนเป็น 40 เมตรเท่านั้น ก็จะต้องรอพิจารณาในที่ประชุมครั้งถัดไป

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า แผนส่งมอบพื้นที่ขณะนี้ถือว่าเสร็จหมดแล้ว ขณะเดียวกันส่วนที่เหลือเป็นหน่วยงานที่เป็นเจ้าของสาธารณูปโภคจะต้องจัดสรรงบประมาณในการรื้อย้ายเอง ซึ่งงบที่จะขอเพิ่มเติม 4,000 ล้านบาทนั้น เป็นส่วนที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบในการก่อสร้างทดแทนสาธารณูปโภคที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งนอกเหนือจากงบประมาณรื้อย้าย 479 ล้านบาทที่ ร.ฟ.ท.เคยได้รับอนุมัติจาก กพอ.ไปก่อนหน้านี้ “แผนเข้าพื้นที่ก่อสร้างโครงการ ตามข้อกำหนดในสัญญาร่วมทุนระบุไว้ว่า ร.ฟ.ท.จะต้องส่งมอบพื้นที่เพื่อให้กลุ่มซีพีสามารถดำเนินการสร้างได้ ดังนั้นการส่งมอบพื้นที่เป็นส่วนๆ ไม่ประติดประต่อ ก็ไม่สามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ ข้อสรุปตอนนี้คือเราต้องเคลียร์พื้นที่ให้ได้เป็นช่วง เพื่อให้ซีพีทยอยเริ่มงานก่อสร้างอย่างสมบูรณ์”

อย่างไรก็ตามแผนส่งมอบพื้นที่ที่ ร.ฟ.ท.กำหนด ส่วนแรกบริเวณที่มีความพร้อมเป็น ช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา คาดว่าจะใช้เวลาส่งมอบแล้วเสร็จภายในประมาณ 1 ปีกว่า ซึ่งปัจจุบันได้เคลียร์ระบบสาธารณูปโภคเรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าพื้นที่ช่วงนี้ จะเป็นส่วนแรกที่กลุ่มซีพีสามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันที่ประชุม กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) เอกชนผู้ชนะการประมูล ได้ชี้แจงแผนก่อสร้างโดยต้องการขอขยายพื้นที่ก่อสร้าง 3 จุด จากรัศมีการเวนคืนที่ ร.ฟ.ท.กำหนดเดิม 25 เมตร เพิ่มเป็น 40 เมตร ส่งผลให้ต้องเวนคืนพื้นที่เพิ่ม ประกอบไปด้วย บริเวณงานก่อสร้างช่วงแม่น้ำบางปะกง บริเวณอุโมงค์เขาชีจรรย์ และบริเวณทางลอดใต้ถนนเข้าพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาสำหรับเวนคืนที่ดินเดิมได้กำหนดเวนคืน 25 เมตร แต่ฝ่ายเอกชนแจ้งว่าบางจุดอาจต้องใช้มากกว่านั้น เพราะบางส่วนต้องใช้พื้นที่ก่อสร้าง ต้องวางเครื่องจักร ซึ่งตอนนี้ฝ่ายเอกชนได้กำหนดมา 3 จุด โดยที่ประชุมให้กลับไปศึกษาเหตุผลความจำเป็นว่าทำไมต้องเวนคืนเพิ่ม จาก 25 เมตร เป็น 40 เมตร หลังจากนั้นจะให้ที่ปรึกษาการรถไฟฯ ตรวจสอบ หากพบว่ามีความจำเป็นที่ต้องเวนคืนเพิ่มก็จะอนุมัติ จึงสรุปได้ว่าวันนี้ที่ประชุมเคลียร์การส่งมอบทั้งหมดแล้ว ติดเพียงเรื่องขยับที่เวนคืนเป็น 40 เมตรเท่านั้น ก็จะต้องรอพิจารณาในที่ประชุมครั้งถัดไป

//---------------------------

จี้ส่งมอบพื้นที่-รื้อย้ายสาธารณูปโภคไฮสปีด
4 มีนาคม 2563

คณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ครั้งที่ 2/2563 (ครั้งที่4) เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563ที่ประชุมให้หน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภค ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณงบกลางฯ เร่งรัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน เห็นชอบ แนวทางการดำเนินงานที่บริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ และบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (Thappline) ออกแบบโครงสร้างพิเศษหลบท่อน้ำมัน แนวทางการดำเนินงานและกรอบระยะเวลาของ FPT ในการรื้อย้ายท่อน้ำมันไปทางทิศตะวันตกของเขตทางรถไฟ โดย FPT ขอให้ รฟท. ช่วยกำหนดจุดแนวการวางท่อช่วงบางซื่อและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด แผนการดำเนินงานเตรียมการรื้อย้ายสาธารณูปโภคในส่วนของ กฟผ. เห็นชอบแนวเส้นทางเข้า-ออกสนามบินสุวรรณภูมิตามข้อเสนอของบริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ และให้บริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ พิจารณาเหตุผลความจำเป็นตามหลักวิศวกรรมและการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อสร้างทาง และสิ่งจำเป็นตามโครงการฯ โดยละเอียด ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 16 มีนาคม 2563 เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการเวนคืนต่อไป เห็นชอบแผนการดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภคของค่ายลูกเสือวชิรวุธ โดยให้ กฟภ.เป็นผู้ดำเนินงานแทน ให้รับมอบอำนาจในการปรับปรุงและรื้อย้ายเสาไฟฟ้าแรงสูงและสายไฟ แผนการรื้อย้ายสาธารณูปโภคของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ จำนวน 10 จุด ทั้งนี้ หากมีรายละเอียดเพิ่มเติมให้ตรวจสอบและรายงานคณะกรรมการทราบอีกครั้ง


Last edited by Wisarut on 08/03/2020 11:04 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/03/2020 8:27 am    Post subject: Reply with quote

'รฟท.'ลุยฟังความเห็นไฮสปีด ส่วนต่อขยาย'ระยอง-ตราด'
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563

กรุงเทพธุรกิจ "ร.ฟ.ท." ฟังความเห็น ไฮสปีดเทรนระยอง-ตราด ครั้งที่ 2 เร่งสรุป ผลศึกษาภายในปีนี้ ชงรัฐบาลพิจารณาโครงการ

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ระบุว่า ร.ฟ.ท.เตรียมจัดประชุมกลุ่มย่อยรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางที่ได้รับการคัดเลือกและร่างมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ (การประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 2) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยาย จ.ระยอง-จันทบุรี-ตราด

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัท ที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัททีม คอนชีตั้ง เอนจิเนียริง แอนต์ แมเนจเมนห์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีแอลที คอนชัลแตนส์ จำกัด บริษัท วิศวกรรมธรณีและฐานราก จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด และบริษัทดาวฤกษ์ คอมมูนิคชั่นส์ จำกัด ให้ดำเนินงานจ้าง ที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน และแนวทาง การลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบ เบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยาย จ.ระยอง-จันทบุรี-ตราด

โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 240 วัน และ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาดังกล่าวได้เริ่มดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2562 ซึ่งในการดำเนินงาน ดังกล่าว ต้องมีการดำเนินงานด้วยการมีส่วนร่วม ของประชาชนและการประชาสัมพันธ์ จึงได้ กำหนดให้มีการประชุมเพื่อนำเสนอแนว เส้นทางที่ได้รับการคัดเลือก และร่างมาตรการ ป้องกัน แก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะ สำหรับนำไปประกอบการออกแบบเบื้องต้นของโครงการให้มีความครบถ้วนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ได้กำหนดจัดการประชุมในวันที่ 16 มี.ค.นี้ ณ ที่ว่าการ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายระยอง-จันทบุรี-ตราด เป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับอีอีซีรองรับระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก ส่งเสริมการ ท่องเที่ยว เชื่อมนิคมอุตสาหกรรม เชื่อมท่าเรือ และสนามบินภาคตะวันออก

รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของการโดยสารทางรถไฟ ลดต้นทุนและระยะเวลา การเดินทาง ปลอดภัยในการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่ง ของประเทศ ลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งทางรางให้มากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2020 11:50 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'รฟท.'ลุยฟังความเห็นไฮสปีด ส่วนต่อขยาย'ระยอง-ตราด'
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563


ดูตรงนี้ก็ได้ครับ
https://www.reic.or.th/News/RealEstate/441628
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/03/2020 2:23 pm    Post subject: Reply with quote

ผังเมืองอีอีซี11ด้าน 'โรดแมพ'พัฒนา20ปี
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563

Click on the image for full size

กรุงเทพธุรกิจ แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (แผนผังอีอีซี) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2562 หลังจากนั้นสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก (สกพอ.) และ กรมโยธาธิการและผังเมือง ลงพื้นที่ 3 จังหวัด ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา เพื่อชี้แจงให้ประชาชนและท้องถิ่นรับทราบ

จุดเด่นแผนผังนี้ได้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต 20 ปี ข้างหน้า ถึงปี 2580 เพื่อให้ประชาชนและเอกชนรู้แนวทางพัฒนาที่ชัดเจน

ชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า กรมโยธาฯ กำลังร่างผังเมืองอำเภอที่ลงรายละเอียดเพิ่มจากแผนผังอีอีซี โดยทำ 30 ผังเมือง ครอบคลุม 30 อำเภอ แบ่งเป็น ชลบุรี 11 อำเภอ ฉะเชิงเทรา 11 อำเภอ ระยอง 8 อำเภอ ซึ่งจะรับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ

ผังเมือง 30 อำเภอก็จะจัดทำตามแนวทาง ที่แผนผังอีอีซีกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้ง 6 ด้านดังกล่าว โดยลงรายละเอียดการใช้ที่ดินในระดับอำเภอ อาจจะเสร็จพร้อมกันและประกาศใช้ ในปี 2565 ซึ่งถือเป็นการจัดทำผังเมืองรูปแบบใหม่ที่ทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินทุกด้านก่อนแล้ว มาลงรายละเอียด เพื่อรองรับการพัฒนาเชิงใน 3 จังหวัด จนถึงปี 2580

แผนผังอีอีซีที่ประกาศออกมาได้ยกเลิก ผังเมืองเดิมของทั้ง 3 จังหวัด แต่ระหว่างที่ผังเมือง 30 อำเภอ ยังไม่ออกมา จะไม่มีผลกระทบต่อการ ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถอนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ แผนผังอีอีซีกำหนดได้

เมื่อแผนผังอีอีซีกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินไว้แล้ว ผู้พัฒนาที่ดิน เช่น นิคมอุตสาหกรรม ขออนุญาตดำเนินการได้เลยหากในแผนผังอีอีซีกำหนดเป็นพื้นที่สีม่วงหรือที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม ดังนั้นการจัดทำผังเมือง 30 อำเภอ ไม่เป็นอุปสรรค

กรมโยธาฯร่างผังเมืองอำเภอที่มีรายละเอียดเพิ่มจากผังอีอีซีจัดทำครอบคลุม 30 อำเภอ ใน 3 จังหวัด จะเสร็จในปี 2565

ชยพล ธิติศักดิ์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2020 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

“ไฮสปีด ซี.พี.” ติดบ่วงเวนคืน รถไฟมึนไล่ผู้บุกรุก-ลุ้นตอกเข็มปี’64
อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 9 มีนาคม 2563 - 17:00 น.

ยังคงติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง สำหรับการส่งมอบพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท มี “ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ” ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นทัพหน้าเคลียร์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หวังส่งมอบพื้นที่ให้ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด หรือกลุ่ม ซี.พี. ให้เริ่มงานโดยเร็ว แต่ดูเหมือนน่าจะไม่มีข่าวดีในปีนี้ ว่ากันว่าอย่างน้อยน่าจะ 1 ปีครึ่ง ถึงจะเริ่มตอกเข็มต้นแรกได้

ซี.พี.ขอเวนคืนเพิ่ม 3 จุด
ผลการประชุมนัดที่ 2/2563 นายชัยวัฒน์เปิดเผยว่า จากการประเมินงบประมาณสำหรับรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคตลอดเส้นทาง วงเงินอยู่ที่ 4,103 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกรอบเดิม 490 ล้านบาท ที่คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) อนุมัติ จะต้องขอขยายกรอบเพิ่มเติมจากบอร์ดอีอีซี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อจัดสรรงบประมาณมาดำเนินการ


“ไฮสปีด ซี.พี.” ติดบ่วงเวนคืน รถไฟมึนไล่ผู้บุกรุก-ลุ้นตอกเข็มปี’64

“ซี.พี.ส่งร่างแผนที่แบบก่อสร้างเบื้องต้น ได้เสนอขอเวนคืนที่ดินเพิ่ม 3 จุด เพื่อขยายแนวเขตทางจาก 25 เมตร เป็น 40 เมตร ช่วงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง อุโมงค์เขาชีจรรย์ และช่วงเข้าสนามบินอู่ตะเภา ผลพิจารณาเบื้องต้นไม่ต้องทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA เพิ่มเติม เพราะไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบก่อสร้าง เป็นการขอใช้พื้นที่เพิ่มสำหรับวางเครื่องจักรเท่านั้น”

ทั้งนี้ยังไม่ได้อนุมัติ และให้ ซี.พี.กลับไปทำเหตุผลความจำเป็นตามหลักวิศวกรรมและการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อสร้างทาง และสิ่งจำเป็นตามโครงการโดยละเอียด ให้ได้ข้อยุติภายในวันที่ 16 มี.ค.นี้ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการเวนคืนต่อไป และจะต้องให้ที่ปรึกษาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ช่วยตรวจสอบความเป็นไปได้ด้วย

รื้อท่อน้ำมัน-สายไฟฟ้า กฟภ.
ขณะที่การรื้อท่อน้ำมันของ บจ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ (FPT) จะย้ายจากฝั่งตะวันออกไปอยู่ที่ฝั่งตะวันตกของเขตทางรถไฟ โดย FPT จะออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด และต้องประสานงานกับ ร.ฟ.ท. เพื่อดำเนินการเรื่องรูปแบบการดันท่อลอดข้ามแนวเส้นทางต่อไป ซึ่งตรงจุดนี้บริษัทจะต้องทำรายงาน EIA เพิ่มเติม เพราะการวางท่อเดิมของบริษัทเกิดขึ้นก่อนที่จะมีกฎหมาย EIA

ส่วนการรื้อย้ายสาธารณูปโภคของค่ายลูกเสือวชิราวุธ จ.ชลบุรี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายแล้วอยู่ที่ 3 ล้านบาท ขั้นตอนต่อไป สำนักงานลูกเสือแห่งชาติจะทำเรื่องของบสำนักงบประมาณ เพื่อขอจ้าง กฟภ.ดำเนินการในลักษณะ G to G ตามขั้นตอน

นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่า ซี.พี.ยังได้ส่งมอบกรมธรรม์สำหรับโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ช่วงพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ ให้ ร.ฟ.ท.แล้วเมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ยังไม่ได้มีการพูดคุยกันถึงการจ่ายค่าใช้สิทธิ์บริหาร 10,671 ล้านบาท แต่อย่างใด เช่นเดียวกับการเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ยังไม่มีกำหนดว่าจะเข้าพื้นที่เริ่มสร้างเมื่อใด

“ได้ให้แนวคิดไปว่า ไม่จำเป็นต้องให้การส่งมอบพื้นที่สมบูรณ์ 100% ถ้าส่วนใดพร้อมให้เริ่มเข้าพื้นที่ได้ทันที คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ได้ทันตามกำหนดที่เคยทำแผนไว้ 3 ช่วง คือ 1.สถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ พร้อมส่งมอบทันที 2.สถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 170 กม. ส่งมอบใน 2 ปี แต่เร่งให้ได้ 1 ปี 3 เดือน และ 3.สถานีพญาไท-ดอนเมือง 22 กม. ส่งมอบใน 4 ปี จะเร่งใน 2 ปี 3 เดือน”

เวนคืน-ไล่ผู้บุกรุกจบปี’64
แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า ในที่ประชุมยังติดตามความคืบหน้าการดำเนินการเวนคืนของ ร.ฟ.ท. โดย ร.ฟ.ท.ส่งหนังสือขอเข้าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 50 หลังคาเรือน เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่เวนคืนทั้งหมดได้ในเดือน ม.ค. 2564 แต่หากมีกรณีฟ้องร้องเกิดขึ้น คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ได้เดือน ต.ค. 2564

ส่วนการโยกย้ายผู้บุกรุก มีผู้บุกรุกรวม 1,352 หลัง แบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บุกรุกที่กีดขวางแนวเส้นทาง 498 หลัง กลุ่มผู้บุกรุกที่อยู่ใกล้แนวเส้นทาง แต่ไม่กีดขวาง 417 หลัง และกลุ่มผู้บุกรุกใต้โครงสร้างของแอร์พอร์ตเรลลิงก์ แต่ไม่กีดขวางแนวเส้นทาง 437 หลังตามแผนงาน คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่และล้อมรั้วช่วงลาดกระบัง-อู่ตะเภา ได้ก่อนในเดือน ก.ย. 2563 แต่หากมีฟ้องร้องเกิดขึ้น คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่และล้อมรั้วได้ในช่วงเดือน ม.ค. 2564 แทน ขณะที่ช่วงพญาไท-ดอนเมือง คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่และล้อมรั้วได้ในเดือน ธ.ค. 2563 แต่ถ้าหากมีการฟ้องร้อง คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่และล้อมรั้วได้ในเดือน เม.ย. 2564 นี้

ท่อน้ำมัน FPT ย้ายเสร็จปี’66
ขณะที่การย้ายท่อน้ำมันของ FPT มีการรายงานเพิ่มเติมว่า จะประสานงานกับที่ปรึกษาโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (missing link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง เพื่อกำหนดตำแหน่งวางท่อที่เหมาะสมต่อไป

โดยมีการวางไทม์ไลน์ไว้ จะสำรวจออกแบบแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย.นี้ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการทำรายงาน EIA อีก 1 ปีคาดว่าจะเสร็จในเดือน มิ.ย. 2564 ก่อนจะเข้ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอีก 1 ปี และได้ตัวผู้รับจ้างเดือน มิ.ย. 2565 เพื่อเริ่มก่อสร้างการย้ายท่อน้ำมันซึ่งจะใช้เวลาอีก 1 ปี โดยรวมแล้วคาดว่าจะดำเนินการย้ายท่อเสร็จในเดือน มิ.ย. 2566 และส่งมอบพื้นที่ได้ในเดือน ก.ค. 2566

สาธารณูปโภคขวางอีก 10 จุด
นอกจากนี้ยังพบว่า โครงการนี้จะกระทบกับการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคของ “กิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ” ในเบื้องต้นมีทั้งสิ้น 10 จุด ได้แก่ 1.ภายในวิทยาลัยเกษตรกรรมชลบุรี 2.ภายใน ซ.วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร 3.ภายใน ซ.หนองจับเต่า 4.ภายใน ซ.สวนนงนุช 5.ภายใน ซ.เนินสามัคคี 6.ภายใน ซ.เนินสามัคคี-ห้วยตู้ 2 7.ภายใน ซ.โค้งวัดเพ็ญ-สวนลุงกลอน 8.ภายใน ซ.พลูตาหลวง 46 9.บริเวณเลยปั๊มน้ำมัน ปตท. เขาบายศรี ถ.331 และ 10.ภายใน ซ.พลูตาหลวง 37 รวมระยะเวลาที่จะดำเนินการประมาณ 6 เดือน มีกรอบวงเงินรวม 31.2 ล้านบาท

ได้แต่หวังว่าโครงการนี้จะไม่เกิด “มหากาพย์” เหมือนที่ผ่านมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/03/2020 12:52 pm    Post subject: Reply with quote

คลังออกประกาศปรับลดวงเงินกู้เพื่อให้กู้ต่อ “โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน” ครั้งที่ 6
แนะนำข่าว อสังหาริมทรัพย์ : พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 16 มีนาคม 2563 - 22:55 น.

คลังออกประกาศปรับลดวงเงินกู้เพื่อให้กู้ต่อ “โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน” ครั้งที่ 6
วันที่ 16 มีนาคม 2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับลดวงเงินกู้เพื่อให้กู้ต่อ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 6 วงเงินที่ 2

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 6 วงเงินที่ 2 ลงวันที่5 เมษายน 2562 เพื่อให้กู้ต่อ แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย ส าหรับโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่1 ช่วงกรุงเทพมหานคร- นครราชสีมา) จำนวน10,000.00 ล้านบาท และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเบิกเงินกู้ได้มีการเบิกเงินกู้จริงจำนวน 958,092,471.10 บาท ทำให้รายละเอียดและเงื่อนไขที่ระบุในข้อ1 ของประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 6 วงเงินที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงนั้น

เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กระทรวงการคลังขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า

ข้อ1 กระทรวงการคลังได้ปรับลดวงเงินกู้เพื่อให้กู้ต่อ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562ครั้งที่ 6 วงเงินที่ 2 ข้อ 1 จากจำนวน 10,000.00 ล้านบาท (หนึ่งหมื่นล้านบาทถ้วน) เป็นจำนวน958,092,471.10 บาท (เก้าร้อยห้าสิบแปดล้านเก้าหมื่นสองพันสี่ร้อยเจ็ดสิบเอ็ดบาทสิบสตางค์)

ข้อ 2 รายละเอียดและเงื่อนไขการกู้เงินอื่นเป็นไปตามประกาศเดิมทุกประการ

ประกาศณ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/03/2020 2:19 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เร่งมอบพื้นที่ไฮสปีด ตั้งเป้า'แปลงแรก'ม.ค.64
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563
วรรณิกา จิตตินรากร

Click on the image for full size

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ได้มีการ ลงนามสัญญาร่วมลงทุนระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ที่มีกลุ่มซีพีเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการ เตรียมส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง

วรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจ การบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.เปิดเผยว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท. อยู่ระหว่างออกหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงาน เจ้าของระบบสาธารณูปโภค ซึ่งมีรวมประมาณ 10 หน่วยงาน เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เพื่อให้ ทุกหน่วยงานเริ่มดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภค และจัดเตรียมพื้นที่ส่งมอบ ให้กลุ่มซีพี โดย ร.ฟ.ท.มั่นใจว่าจะสามารถ ส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ให้กลุ่มซีพี นำไปก่อสร้างเป็นส่วนแรกในเดือน ม.ค.2564

ทั้งนี้ ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ได้เคลียร์ปัญหา ที่เกี่ยวข้องต่อการส่งมอบพื้นที่แล้วเสร็จ ซึ่งประกอบไปด้วยการเวนคืนที่ดิน ซึ่งขณะนี้ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา อ.เมืองชลบุรี อ.ศรีราชา อ.บางละมุง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และอ.บ้านฉาง จ.ระยอง เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พ.ศ.2562

ส่วนปัญหาการบุกรุก เบื้องต้น ร.ฟ.ท.ได้ ลงสำรวจพื้นที่และจัดเก็บข้อมูลทะเบียน ในการขอคืนพื้นที่แล้ว เหลือเจรจากับประชาชน ให้ดำเนินการย้ายออก และส่วนสุดท้าย คือ การรื้อย้ายระบบสารณูปโภค ปัจจุบันก็สามารถ เริ่มดำเนินการได้ ภายหลังคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้อนุมัติ งบประมาณรื้อย้าย เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา พร้อมทั้งเจรจากับหน่วยงานเจ้าของระบบสาธรณูปโภค เพื่อทำการรื้อย้ายเรียบร้อย

"การเตรียมพื้นที่มีส่วนประกอบอยู่ 3 อย่าง คือ เรื่องสาธารณูปโภค ปัญหาบุกรุก และเวนคืนที่ดิน ซึ่งทั้งหมดนี้เราแก้ไขได้แล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนั้นประเมินการ ทำงานตอนนี้ ถือว่าเป็นไปตามกรอบกำหนด ที่ตั้งไว้"

ทั้งนี้ ที่ดินแปลงแรกที่ ร.ฟ.ท.เตรียม ส่งมอบส่วนแรก คือ ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการบุกรุกและปัญหาสาธารณูปโภคน้อยที่สุด ซึ่งกรอบกำหนด ส่งมอบในเดือน ม.ค.2564 ถือว่าเป็นไปตาม แผนงาน ส่วนพื้นที่ส่งมอบระยะต่อไป คือ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งคาดว่าจะส่งมอบแล้วเสร็จตามเป้าหมายภายใน 2 ปี นับจากวันลงนามสัญญาเมื่อวันที่ 24 ต.ค.2562

สำหรับงบประมาณรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคที่ ร.ฟ.ท.ขออนุมัติกว่า 4,000 ล้านบาท เพื่อใช้ก่อสร้างทดแทนสาธารณูปโภคที่ได้รับผลกระทบจากการรื้อย้ายดำเนินโครงการนี้ เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา และท่อระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร (กทม.) รวมถึงสายไฟแรงสูงของค่ายลูกเสือใน จ.ชลบุรี ที่คาดว่าจะใช้งบประมาณรื้อย้ายราว 3 ล้านบาท

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ภายหลัง กพอ.อนุมัติงบประมาณรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค โดยหน่วยงาน เจ้าของระบบสาธารณูปโภคได้เริ่มจัดซื้อจัดจ้าง เอกชนเข้ามาทำการรื้อย้ายและเตรียมพื้นที่แล้ว โดยงานในส่วนนี้ไม่ถือเป็นเรื่องหนักใจของการเตรียมส่งมอบพื้นที่ แต่ปัจจัยสำคัญที่จะ กระทบต่อการเตรียมส่งมอบพื้นที่ คือ ปัญหาบุกรุก เพราะหาก ร.ฟ.ท.ไม่สามารถเจรจากับ ประชาชนได้ ก็จำเป็นต้องใช้เงื่อนไขทางกฎหมาย และจะส่งผลให้เป้าหมายส่งมอบพื้นที่ ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา อาจล่าช้ากว่า เดือน ม.ค.2564 ที่ตั้งเป้าไว้

ทั้งนี้ การส่งมอบพื้นที่มีอีกหลายเงื่อนไข ไม่ใช่เพียงการเตรียมความพร้อมเคลียร์ระบบสาธารณูปโภค แต่จะรวมไปถึงการเวนคืนที่ดิน การแก้ไขปัญหาผู้บุกรุก เพราะกลุ่มซีพีต้องการที่ดินที่สามารถนำไปพัฒนาโครงการได้ ดังนั้นพื้นที่ที่จะส่งมอบก็จำเป็นต้องเป็นที่ดินแปลงใหญ่ โดยที่ผ่านมากลุ่มซีพี ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบความพร้อมพื้นที่แต่ละจุดแล้วทั้งส่วนที่ส่งมอบได้ทันที คือ พญาไท-สุวรรณภูมิ แต่ส่วนนี้กลุ่มซีพีจะต้อง ชำค่าสิทธิบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ก่อนจึงจะมีการส่งมอบพื้นที่ให้

นอกจากนี้ ตามกรอบกำหนดแผนส่งมอบ พื้นที่ที่ ร.ฟ.ท.บรรจุไว้ในแนบท้ายสัญญา ระบุว่า ร.ฟ.ท.จะทยอยส่งมอบพื้นที่ออกเป็นส่วน คือ
1.พื้นที่ที่มีความพร้อมส่งมอบได้ทันที ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา คาดว่าจะใช้เวลาส่งมอบแล้วเสร็จภายในประมาณ 1 ปีกว่า
2.ช่วงโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ มีความพร้อมส่งมอบแล้วเช่นกัน แต่มีเงื่อนไขเอกชนจะต้องจ่ายค่าโอนสิทธิบริหารประมาณ 1 หมื่นล้านบาทให้แล้วเสร็จ ซึ่งมี กรอบกำหนดอีกว่าจะต้องจ่ายให้ครบทั้งหมด ภายใน 2 ปีนับจากวันลงนามสัญญา

3.พื้นที่ที่ยังไม่พร้อมส่งมอบ เนื่องจากยังมีระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญที่ต้องใช้เวลาเคลื่อนย้าย เช่น ท่อน้ำมัน อีกทั้งยังมีปัญหาผู้บุกรุก คือ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง คาดว่าจะใช้เวลาทยอยส่งมอบให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันลงนามสัญญา อย่างไรก็ดี ภายหลังลงนามสัญญา ร.ฟ.ท.และกลุ่มซีพี จะสามารถเข้าพื้นที่เพื่อเคลียร์ปัญหา และเตรียมความพร้อมของพื้นที่ก่อสร้างได้ทันที ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 หน่วยงานได้เข้าพื้นที่เพื่อสำรวจที่ดินแล้ว

ส่วนระบบสาธารณูปโภคที่ถือเป็นปัญหาใหญ่ของพื้นที่ช่วงพญาไท ในส่วนของ ท่อน้ำมัน บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) ปัจจุบันได้ข้อสรุปแล้วว่าจะมีการ รื้อย้ายท่อน้ำมันดังกล่าว จากฝั่งตะวันตก ไปตะวันออก โดย FPT จะเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการรื้อย้ายเอง

อีกทั้ง FPT จะต้องจัดทำผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพิ่มเติมด้วย เนื่องจากก่อนหน้านี้การติดตั้งท่อน้ำมัน มีมานานก่อนกฎหมายกำหนดให้ทำอีไอเอ ดังนั้นเมื่อมีการรื้อย้ายใหม่ ตามกฎหมายจึงต้อง จัดทำอีไอเอ ซึ่งจะจัดทำเพียงส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น


"เรามั่นใจว่าจะ ส่งมอบพื้นที่ช่วง สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เป็นส่วนแรก
วรวุฒิ มาลา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2020 3:42 pm    Post subject: Reply with quote

ชิงดำศูนย์ซ่อมฯเชียงรากน้อยไฮสปีดไทย-จีน
พุธที่ 18 มีนาคม 2563

ร.ฟ.ท.เปิดประมูลงานโยธาศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 7,664 ล้านบาท รถไฟไทย-จีน เคาะเอกชนยื่นเสนอราคาทางระบบจัดซื้อฯ อิเล็กทรอนิกส์ 7 พ.ค.63

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การรถไฟฯ ได้ออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมประมูล งานก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 7,664 ล้านบาท ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ขณะเดียวกันเอกชนสามารถซื้อเอกสารประกวดราคา (TOR) ผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.-5 พ.ค.63 จากนั้นจะเปิดให้ยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 7 พ.ค.63 ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเปิดประมูลรถไฟไทย-จีน สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ถือเป็นการประมูลงานโยธาฉบับที่ 13 จากทั้งหมด 14 สัญญา ปัจจุบันโครงการรถไฟไทย-จีน เหลืองานโยธาที่ยังไม่ได้เปิดประมูลอีก 1 สัญญา ซึ่งเป็นสัญญาสุดท้าย ได้แก่ สัญญางานโยธาฉบับที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง เนื่องจากต้องรอสรุปโครงสร้างในส่วนทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และร่าง TOR ให้เรียบร้อยก่อน

อย่างไรก็ตามการรถไฟฯ เตรียมเสนอผลการประมูลโครงการรถไฟไทย-จีน ฉบับที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 13.01 กิโลเมตร ซึ่งบริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด เครือเดียวกับบริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูลด้วยวงเงิน 8,560 ล้านบาทให้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณา


เปิดประมูลศูนย์ซ่อมรถไฟไทยจี 7.6 พันล้าน
พุธที่ 18 มีนาคม 2563

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา การรถไฟฯ ได้ออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมประมูล งานก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 7,664 ล้านบาท ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

ทั้งนี้ เอกชนสามารถซื้อเอกสารประกวดราคา (TOR) ผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2563-5 พฤษภาคม 2563 จากนั้นจะเปิดให้ยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเปิดประมูลรถไฟไทย-จีน สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ถือเป็นการประมูลงานโยธาฉบับที่ 13 จากทั้งหมด 14 สัญญา

โดยขณะนี้โครงการรถไฟไทย-จีน เหลืองานโยธาที่ยังไม่ได้เปิดประมูลอีก 1 สัญญา ซึ่งเป็นสัญญาสุดท้าย ได้แก่ สัญญางานโยธาฉบับที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง เนื่องจากต้องรอสรุปโครงสร้างในส่วนทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และร่าง TOR ให้เรียบร้อยก่อน

นอกจากนี้ การรถไฟฯ เตรียมเสนอผลการประมูลโครงการรถไฟไทย-จีน ฉบับที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 13.01 กิโลเมตร ซึ่งบริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด เครือเดียวกับบริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูลด้วยวงเงิน 8,560 ล้านบาทให้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณา
https://www.thebangkokinsight.com/311907
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 366, 367, 368 ... 542, 543, 544  Next
Page 367 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©