Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180067
ทั้งหมด:13491299
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 372, 373, 374 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/06/2020 7:56 am    Post subject: Reply with quote

ปิดดีลโปรเจ็กต์ประวัติศาสตร์
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563

'คีรี-หมอเสริฐ' คิกออฟ 'เมืองการบิน'

นับจาก 24 ต.ค. 2562 วันประวัติศาสตร์ "บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" เปิดทำเนียบรับ "ศุภชัย เจียรวนนท์" ลูกชายเจ้าสัว ซี.พี.และพันธมิตร เซ็นสัญญา บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน รับสัมปทาน 50 ปี ก่อสร้างและบริหารรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 224,544 ล้านบาทไปแล้ว

19 มิ.ย.บิ๊กตู่ประธานเซ็นอู่ตะเภา

วันที่ 19 มิ.ย. 2563 เวลา 09.00 น. "บิ๊กตู่" เปิดทำเนียบเป็นครั้งที่ 2 รับ 2 เจ้าสัว "คีรี กาญจนพาสน์" เจ้าพ่อรถไฟฟ้า บีทีเอส "พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ" ลูกชายหมอปราเสริฐ เจ้าของโรงพยาบาลกรุงเทพ และบางกอกแอร์เวย์ส" ที่มี บมจ.ซิไน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ของตระกูล "ชาญวีรกูล" เป็นพันธมิตรรับเหมาก่อสร้าง เพื่อเซ็นสัมปทาน 50 ปีกับ "บจ.อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น" ที่กลุ่มกิจการร่วมค้า BBS ตั้งเป็นคู่สัญญาด้วยทุนจดทะเบียน 4,500 ล้านบาท โดยมี บมจ.การบินกรุงเทพ ถือหุ้นใหญ่ 45% บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ 35% บมจ.ซิโน-ไทยฯ 20% และ บจ. นาริตะ อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต เป็นผู้บริหารสนามบิน

เพื่อคิกออฟโครงการเมืองการบินภาคตะวันออก เนื้อที่ 6,500 ไร่ ขับเคลื่อนการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ฟื้นเศรษฐกิจ-สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน หลังคลายล็อกจากสถานการณ์โควิด-19

"เมืองการบินอู่ตะเภา" นอกจากเป็นงานใหญ่งานแรกของปีนี้ ยังเป็น PPP โครงการแรกของกองทัพเรือที่ดึงเอกชนร่วมลงทุน ด้วยมูลค่าถึง 305,555 ล้านบาท เมื่อคิดไปอีก 50 ปีข้างหน้าจะเป็นเม็ดเงินรวม 1.326 ล้านล้านบาท (ดูตาราง) เพราะมองว่า สนามบินอู่ตะเภาจะสร้างกำไรมหาศาลจากการบริหารพื้นที่เช่า และค่าธรรมเนียม

โดยมี "บางกอกแอร์เวย์ส" รองรับ รวมถึงดิวตี้ฟรี ขณะที่ "บีทีเอส" จะเป็นดีเวลอปเปอร์ โรงแรมและธุรกิจบริการต่าง ๆ ส่วน "ซิโน-ไทยฯ" ถือว่าได้งานใหญ่สร้างชื่อในโปรไฟล์

ใช้เวลา 1 ปีกว่าจะปิดดีล

แต่กว่าจะได้ชัยชนะวันนี้ต้องใช้เวลา 1 ปี 7 เดือน นับจากขายซอง พ.ย. 2561 ยื่นซอง 12 มี.ค. 2562 และต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการคัดเลือกโครงการอีก 17 ครั้ง เพราะรอการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด หลัง "กลุ่ม ซี.พี." คู่ปรับเก่าบีทีเอสจากสนามประมูลไฮสปีดถูกปรับตกกรณี ยื่นซองช้า 9 นาที และยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองและมีคำสั่งให้เปิดซองราคาของกลุ่ม ซี.พี. แต่สุดท้ายคณะกรรมการคัดเลือก เคาะชื่อ "กลุ่ม BBS" เป็นผู้ชนะหลังเสนอผลตอบแทนให้รัฐดีที่สุด และเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อ 2 มิ.ย. 2563

ส่งมอบพื้นที่ภายในปี'65

"คณิศ แสงสุพรรณ" เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เปิดเผยว่า วันที่ 19 มิ.ย.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกกับกลุ่ม BBS เป็นโครงการที่ 3 ในพื้นที่ EEC ต่อจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ที่เซ็นสัญญาปีที่แล้ว โดยเอกชนร่วมทุน PPP net cost เวลา 50 ปี ก่อสร้าง 3 ปี และรับสัมปทานซ่อมบำรุงโครงการ 47 ปี รัฐได้ผลตอบแทนค่าเช่าที่ดินและส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำรายปีตลอดอายุสัญญา รวมเป็นเงิน 1.326 ล้านล้านบาท

การเริ่มต้นก่อสร้างยังติดการส่งมอบพื้นที่และรออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) รันเวย์ที่ 2 และทางขับขนานสนามบิน 17,768 ล้านบาท หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่กองทัพเรือดำเนินการ คาดใช้เวลา 1 ปีครึ่ง นับจากเซ็นสัญญา เพื่อเคลียร์พื้นที่ส่งมอบให้คู่สัญญาได้

"การส่งมอบพื้นที่จะทำเหมือนรถไฟความเร็วสูง มีคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ช่วยดูการส่งมอบพื้นที่เพื่อออกแบบให้ทั้ง 2 โครงการเป็นไปตามแผนและเกื้อหนุนกัน เรื่องดีมานด์ผู้โดยสารหากปราศจากโครงการใดโครงการหนึ่งจะได้ประโยชน์ไม่เต็มที่"

ลงทุนพัฒนา 4 เฟส

สำหรับการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภามี 6 กิจกรรม ได้แก่ อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ศูนย์ธุรกิจการค้าและการขนส่งภาคพื้นดิน ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน เขตประกอบการค้าเสรี และเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและ โลจิสติกส์ และศูนย์ฝึกอบรมการบิน

"ทาง BBS แบ่งสร้าง 4 เฟส เฟสแรก 40,000 ล้านบาท สร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 รองรับได้ 16 ล้านคนต่อปี เฟสสุดท้ายรองรับได้ไม่ต่ำกว่า 60 ล้านคนต่อปี ซึ่งเอกชนสำรวจพื้นที่แล้ว" นายคณิศกล่าวและว่าเมื่อ "เมืองการบินภาคตะวันออก" พัฒนาเสร็จจะทำให้ อู่ตะเภาเป็นสนามบินกรุงเทพฯ แห่งที่ 3 เชื่อมดอนเมืองและสุวรรณภูมิด้วยรถไฟความเร็วสูง เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว โลจิสติกส์ และการบินของ EEC ยังเป็นศูนย์กลางของมหานครการบินภาคตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ในรัศมี 30 กม. รอบสนามบินในเมืองพัทยาถึงเมืองระยอง

ลงทุนรอธุรกิจการบินฟื้น

"คีรี กาญจนพาสน์" ประธานบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ปฯ เปิดเผยว่า เซ็นสัญญาแล้วจะเตรียมออกแบบรายละเอียดนอกจากเตรียมเงินทุนและพันธมิตรธุรกิจที่ร่วมลงทุนแต่ละกิจกรรม แม้จะเกิดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินทั่วโลกก็ยังเดินหน้าโครงการต่อไป เพราะโครงการใช้เวลา พัฒนา 3 ปี ถึงเวลานั้นธุรกิจการบินจะกลับสู่ภาวะปกติ

"งานก่อสร้างยังมีเวลา เราต้องดูรถไฟความเร็วสูงด้วย จะเริ่ม สร้างและเสร็จเมื่อไหร่ ไม่ใช่ว่าสนามบินเสร็จแต่ดีมานด์ไม่มี"

เฟสแรกประเดิม 4 หมื่นล้าน

"สุรพงษ์ เลาหะอัญญา" กรรมการบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ปฯ กล่าวว่า รอส่งมอบพื้นที่จากกองทัพเรือ จะเริ่มสร้างเฟสแรกปี 2565 ใช้เงินลงทุน 40,000 ล้านบาท สร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 รองรับผู้โดยสาร 16 ล้านคนต่อปี มากกว่าที่กำหนดไว้ 12 ล้านคนต่อปี พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และสร้างระบบต่อเชื่อม การเดินทางภายในโครงการ อาคารผู้โดยสารกับถนนด้านนอกโครงการ และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

"เฟสแรกใช้เวลา 3 ปี เปิดบริการปี 2567 เมื่อผู้โดยสารเป็นไปตามเป้าจะเริ่มเฟส 2 เพิ่มการรองรับให้ได้ 30 ล้านคนต่อปี โดยจะพัฒนาระบบรถไฟฟ้า APM เชื่อมการเดินทางภายในโครงการ จากนั้นจะเป็นเฟส 3 และ 4"

นอกจากการวางมาสเตอร์แพลนที่ใช้เวลาพัฒนากว่า 10 ปีแล้ว รัฐต้องทุ่มทุนสร้างรันเวย์ที่ 2 ระบบไฟฟ้า น้ำเย็น หอบังคับ การบินใหม่ ทางยกระดับเชื่อมถนนสุขุมวิทกับอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ และมอเตอร์เวย์ สาย 7

เพื่อพลิกโฉม "อู่ตะเภา" สนามบินทหารเรือที่ผ่านการใช้งาน มา 59 ปี สู่มหานครการบินและฮับของภูมิภาคนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2020 9:35 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ชงอัยการตรวจร่างสัญญา 2.3 ไฮสปีดไทย-จีน ส่วน EIA ยังติดปมแบบ”สถานีอยุธยา“
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563 20:43



“รถไฟไทย-จีน” ติดปม EIA ติงแบบสถานีอยุธยากระทบโบราณสถาน ด้านผู้ว่าฯรฟท.เร่งเจรจา ยันสถานีควรอยู่ในเมืองเพื่อเชื่อมเดินทางสะดวก ขณะที่บอร์ดรฟท.ไฟเขียวร่างสัญญา 2.3 เร่งชงอัยการและครม. และต่อสัญญาทางคู่”หัวหิน-ประจวบฯ”อีก10ด.

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. วันที่ 18 มิ.ย. ได้มีมติเห็นชอบร่างสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3 ) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท โดยหลังจากนี้จะเร่งเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อส่งต่ออัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป โดยคาดว่าจะสามารถลงนามได้ในเดือนต.ค. 2563 ตามแผน
ส่วนการก่อสร้างงานโยธานั้น ที่ประมูลเสร็จแล้ว 7 สัญญา ยังไม่สามารถลงนามสัญญากับผู้รับจ้าง ได้เนื่องจาก ต้องแก้ไขเพิ่มเติมรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) จากที่มีการปรับแบบ เช่น สถานีอยุธยา ซึ่งมีประเด็นของการออกแบบที่กรมศิลปากรเห็นว่า การก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงในตำแหน่งเดิม อาจจะมีผลกระทบต่อโบราณสถานี ซึ่งได้มีแนวคิดในการย้ายจุดสถานีออกไปนอกเมืองห่างออกไปประมาณ 7 กม. โดยยังก่อสร้างอยู่ในแนวเขตทางรถไฟ จึงไม่ต้องมีการเวนคืน ซึ่งจะต้องมีการเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมกับโครงการรถไฟความเร็วสูง
“รถไฟความเร็วสูง ตัวสถานีควรอยู่ในเมือง เพื่อเชื่อมการเดินทางจากเมืองสู่เมือง หากต้องย้ายไปอยู่นอกเมืองต้องประเมินข้อมูลให้รอบคอบ “

ทั้งนี้ พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย) ระยะที่1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท เริ่มการก่อสร้างงานโยธาเมื่อปี 2561 แล้วเสร็จในปี 2566 (ดำเนินการ 5 ปี)

@ขยายสัญญาก่อสร้าง รถไฟทางคู่”หัวหิน-ประจวบฯ” 10 เดือน

นอกจากนี้ บอร์ดรฟท.ยังได้เห็นชอบการขยายระยะเวลาสัญญาจ้างก่อสร้าง โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมี บมจ. อิตาเลี่ยนไทย ดีเวลลอปเมนต์ (ITD) เป็นผู้รับจ้างออกไปอีก 11 เดือน ตามที่คณะกรรมการตรวจการจ้าง ได้พิจารณานำเสนอ เนื่องจากติดปัญหาการรื้อรางช่วงทางเลี่ยงสถานีบางส่วนของเส้นทางมีความล่าช้า ซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้าง เนื่องจาก รฟท.ไม่สามารถให้ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการได้ตามเวลาที่กำหนดเพราะส่งผลกระทบต่อตารางการเดินรถที่จะล่าช้ามากขึ้น จึงจำเป็นต้องขยายเวลาในการเข้าพื้นที่ก่อสร้าง
โดยการขยายระยะเวลาก่อสร้างให้ผู้รับจ้างนี้ ไม่ส่งผลทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างที่ล่าช้าอาจจะกระทบต่อกำหนดแผนงานเปิดเดินรถ ซึ่งจะพยายามเร่งรัดให้มีผลกระทบน้อยที่สุด

โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. วงเงิน 5,807,000,000 บาท ระยะเวลาก่อสร้าง 30 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/06/2020 11:08 am    Post subject: Reply with quote

“บอร์ด รฟท.” เคาะจ้างงานระบบไฮสปีดไทย-จีน 5 หมื่นลบ. เร่งส่งตรวจร่างสัญญา ก่อนชงเข้าครม.
ข่าวหุ้น วันที่ 19/06/2020

“บอร์ด รฟท.” เคาะจ้างงานระบบไฮสปีดไทย-จีน 5 หมื่นลบ. เร่งส่งอัยการตรวจร่างสัญญา ก่อนชงเข้าครม. คาดลงนามตามแผน ต.ค.นี้!

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการวานนี้ (18 มิ.ย.) ได้มีมติเห็นชอบร่างสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3 ) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท

โดยหลังจากนี้จะเร่งเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อส่งต่ออัยการสูงสุดตรวจร่างสัญญา เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป โดยคาดว่าจะสามารถลงนามได้ในเดือนต.ค. 2563 ตามแผน

ส่วนการก่อสร้างงานโยธาที่ประมูลเสร็จแล้ว 7 สัญญา ยังไม่สามารถลงนามสัญญากับผู้รับจ้างได้เนื่องจาก ต้องแก้ไขเพิ่มเติมรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) จากที่มีการปรับแบบ เช่น สถานีอยุธยา ซึ่งมีประเด็นของการออกแบบที่กรมศิลปากรเห็นว่า การก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงในตำแหน่งเดิม อาจจะมีผลกระทบต่อโบราณสถาน ซึ่งได้มีแนวคิดในการย้ายจุดสถานีออกไปนอกเมืองห่างออกไปประมาณ 7 กม. โดยยังก่อสร้างอยู่ในแนวเขตทางรถไฟ จึงไม่ต้องมีการเวนคืน ซึ่งจะต้องมีการเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมกับโครงการรถไฟความเร็วสูง

“รถไฟความเร็วสูง ตัวสถานีควรอยู่ในเมือง เพื่อเชื่อมการเดินทางจากเมืองสู่เมือง หากต้องย้ายไปอยู่นอกเมืองต้องประเมินข้อมูลให้รอบคอบ”

นอกจากนี้ บอร์ดรฟท.ยังได้เห็นชอบการขยายระยะเวลาสัญญาจ้างก่อสร้าง โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีบมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) เป็นผู้รับจ้างออกไปอีก 11 เดือน เนื่องจากติดปัญหาการรื้อราง ช่วงทางเลี่ยงสถานีบางส่วนของเส้นทางมีความล่าช้า ซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้าง เนื่องจาก รฟท.ไม่สามารถให้ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการได้ตามเวลาที่กำหนดเพราะส่งผลกระทบต่อตารางการเดินรถที่จะล่าช้ามากขึ้น จึงจำเป็นต้องขยายเวลาในการเข้าพื้นที่ก่อสร้าง

โดยการขยายระยะเวลาก่อสร้างให้ผู้รับจ้างนี้ ไม่ส่งผลทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างที่ล่าช้าอาจจะกระทบต่อกำหนดแผนงานเปิดเดินรถ ซึ่งจะพยายามเร่งรัดให้มีผลกระทบน้อยที่สุด

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ มีระยะทาง 84 กม. วงเงิน 5,807,000,000 บาท ระยะเวลาก่อสร้าง 30 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2020 4:18 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟท.ชงอัยการตรวจร่างสัญญา 2.3 ไฮสปีดไทย-จีน ส่วน EIA ยังติดปมแบบ”สถานีอยุธยา“
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563 20:43

บอร์ดรถไฟเคาะระบบไฮสปีดไทย-จีน ต่อเวลา”ITD”สร้างทางคู่”หัวหิน”อีก11เดือน
แนะนำข่าว อสังหาริมทรัพย์

วันที่ 19 มิถุนายน 2563 - 09:32 น.

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ได้เห็นชอบร่างสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน เส้นทางกรุงเทพ – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม.แล้ว

หลังจากนี้จะเสนอร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุด เมื่ออัยการฯเห็นชอบแล้ว จะส่งกลับมาที่กระทรวงคมนาคม เพื่อที่จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ก่อนที่จะกำหนดลงนามกับทางการจีนตามลำดับ ยังถือว่ายังอยู่ในไทม์ไลน์ที่จะลงนามร่วมกันเดือน ต.ค.นี้ ยังไม่หลุดกรอบแต่อย่างใด

ส่วนรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับแก้ 2 จุดคือบริเวณสถานีอยุธยาและช่วงภาชี ซึ่งสถานีอยุธยามีประเด็นละเอียดอ่อนกับกรมศิลปากร ซึ่งมีข้อกังวลว่ารูปแบบสถานีจะกระทบกับโบราณสถานในบริเวณนั้น อยากให้ปรับแบบให้ออกไปจากตัวเมือง 7 กม.

ทาง ร.ฟ.ท.จึงไม่เห็นด้วย เพราะไม่ตอบโจทย์การเชื่อมต่อแบบเมืองต่อเมือง จึงต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกันต่อไป เพราะทุกอย่างออกแบบไว้เสร็จนานแล้ว ส่วนจะมีผลกับการลงนามในงานโยธาที่เหลืออีก 7 สัญญาหรือไม่นั้น ยังไม่ได้หารือกัน

นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นชอบให้ขยายเวลาสัญญางานโยธาโครงการรถไฟทางคู่ช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม.ที่มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้รับจ้างออกไปอีก 11 เดือน เนื่องจากติดการรื้อรางรถไฟบางส่วน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2020 4:19 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟท.ชงอัยการตรวจร่างสัญญา 2.3 ไฮสปีดไทย-จีน ส่วน EIA ยังติดปมแบบ”สถานีอยุธยา“
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563 20:43

บอร์ดรถไฟเคาะระบบไฮสปีดไทย-จีน ต่อเวลา”ITD”สร้างทางคู่”หัวหิน”อีก11เดือน
แนะนำข่าว อสังหาริมทรัพย์

วันที่ 19 มิถุนายน 2563 - 09:32 น.

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ได้เห็นชอบร่างสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน เส้นทางกรุงเทพ – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม.แล้ว

หลังจากนี้จะเสนอร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุด เมื่ออัยการฯเห็นชอบแล้ว จะส่งกลับมาที่กระทรวงคมนาคม เพื่อที่จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ก่อนที่จะกำหนดลงนามกับทางการจีนตามลำดับ ยังถือว่ายังอยู่ในไทม์ไลน์ที่จะลงนามร่วมกันเดือน ต.ค.นี้ ยังไม่หลุดกรอบแต่อย่างใด

ส่วนรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับแก้ 2 จุดคือบริเวณสถานีอยุธยาและช่วงภาชี ซึ่งสถานีอยุธยามีประเด็นละเอียดอ่อนกับกรมศิลปากร ซึ่งมีข้อกังวลว่ารูปแบบสถานีจะกระทบกับโบราณสถานในบริเวณนั้น อยากให้ปรับแบบให้ออกไปจากตัวเมือง 7 กม.

ทาง ร.ฟ.ท.จึงไม่เห็นด้วย เพราะไม่ตอบโจทย์การเชื่อมต่อแบบเมืองต่อเมือง จึงต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกันต่อไป เพราะทุกอย่างออกแบบไว้เสร็จนานแล้ว ส่วนจะมีผลกับการลงนามในงานโยธาที่เหลืออีก 7 สัญญาหรือไม่นั้น ยังไม่ได้หารือกัน

นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นชอบให้ขยายเวลาสัญญางานโยธาโครงการรถไฟทางคู่ช่วงหัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม.ที่มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้รับจ้างออกไปอีก 11 เดือน เนื่องจากติดการรื้อรางรถไฟบางส่วน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2020 10:58 am    Post subject: Reply with quote

แนวเส้นทางโครงการช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา แบ่งการก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 9 สัญญา
ได้แก่
1) สัญญาที่ 1-1 งานโยธา ส าหรับช่วงกลางดง-ปางอโศก (DK. 150+500 ถึง DK. 154+000) ระยะทาง 3.50 กิโลเมตร

2) สัญญาที่ 2-1 งานโยธา ส าหรับช่วงสีคิ้ว-กุดจิก (DK. 214+000 ถึง DK. 225+000) ระยะทาง 11.00 กิโลเมตร

3) สัญญาที่ 3-1 งานโยธา ส าหรับช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก–บันไดม้า
(DK. 119+008.5 ถึง DK. 130+841.25, DK. 138+820 ถึง DK. 150+500 และ
DK. 154+000 ถึง DK. 160+700) ระยะทาง 30.21 กิโลเมตร

4) สัญญาที่ 3-2 งานโยธา สำหรับงานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง) (DK. 130+841.25
ถึง DK. 138+820 และ DK. 186+800 ถึง DK. 191+050) ระยะทาง 12.23 กิโลเมตร

5) สัญญาที่ 3-3 งานโยธา สำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง (DK. 160+700 ถึง DK. 186+800) ระยะทาง 26.10 กิโลเมตร

6) สัญญาที่ 3-4 งานโยธา สำหรับช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก–โคกกรวด
(DK. 191+050 ถึง DK .214+000 และ DK. 225+000 ถึง DK. 239+500) ระยะทาง 37.45 กิโลเมตร

7) สัญญาที่ 3-5 งานโยธา ส าหรับช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา (DK. 239+500 ถึง
DK. 251+881.22) ระยะทาง 12.38 กิโลเมตร

8) สัญญาที่ 4 -6 งานโยธา ส าหรับช่วงพระแก้ว- สระบุรี(DK. 74+412.91 ถึง
DK. 106+016.75) ระยะทาง 31.60 กิโลเมตร

9) สัญญาที่ 4-7 งานโยธา ส าหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย (DK. 106+016.75 ถึง
DK. 119+008.5) ระยะทาง 12.99 กิโลเมตร
http://eia.onep.go.th/projectdetail.php?id=13552
http://eia.onep.go.th/images/monitor/1567062268.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2020 12:45 am    Post subject: Reply with quote

เปิดสเปกแบบสถานีไฮสปีด”อยุธยา”@เมืองมรดกโลก
*สวยสง่า/เน้นสถาปัตยกรรมอาคารเดิม
*ย้ำรฟท.ส่งกรมศิลปากรตรวจก่อนสร้าง

https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2635583896663112

กรมรางถกปรับแบบสถานีอยุธยา “รถไฟไทย-จีน” โดยไม่ย้ายจุดก่อสร้าง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2563 เวลา 17:26 น.
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2563 เวลา 17:46 น.

กรมรางหารือร่วมผู้ว่าฯ อยุธยาและกรมศิลปากร หาข้อสรุปปรับแบบสถานีอยุธยารถไฟไทย-จีนไม่ให้กระทบต่อโบราณคดี โดยไม่ย้ายจุดก่อสร้าง และกำหนดแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีให้สอดคล้องกับเมืองมรดกโลก

วันนี้ (25 มิ.ย.) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการปรับรูปแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ในโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยมีนายนิวัฒน์ ภาตะนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้แทนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้แทนกรมศิลปากร ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เพื่อวางแนวทางการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา รวมถึงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการเป็นพื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา ไม่บดบังทัศนียภาพอันงดงามและทรงคุณค่าของพื้นที่ รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินการปรับปรุงรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการดังกล่าว



ที่ประชุมมีมติมอบหมายให้ ร.ฟ.ท.รับความเห็นของผู้แทนกรมศิลปากรไปนำเสนอรูปแบบสถานี พร้อมทั้งนำส่งรูปแบบสถานีอยุธยาให้กรมศิลปากร เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการของกรมศิลปากรพิจารณา และให้สำรวจแหล่งโบราณคดีในพื้นที่โครงการฯ ก่อนการดำเนินการก่อสร้างสถานีต่อไป เนื่องจากอาคารสถานีที่จะก่อสร้างใหม่ แม้จะอนุรักษ์อาคารสถานีเดิม แต่เป็นลักษณะการสร้างล้อมรอบอาคารเดิมซึ่งถือเป็นอาคารโบราณสถานประเภทหนึ่ง

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นตรงกันในจุดก่อสร้างเดิม และขนาดความสูงของสถานีตามรูปแบบสถาปัตยกรรมบริเวณเดิม แต่ให้มีการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณสถานที่จะก่อสร้าง และบริเวณท่าน้ำหน้าสถานีรถไฟ เพื่อบริหารจัดการการก่อสร้างแนวอนุรักษ์ โดยทำการปรับปรุงหน้าสถานีตั้งแต่แนวท่าน้ำให้มีลักษณะสวนทางโบราณคดีและให้มีที่จอดรถเท่าที่จำเป็น โดยให้จอดรถบริเวณด้านหลังสถานีแทน นอกจากนี้ยังพบว่าการขยายถนน 3053 ยังมีข้อจำกัดที่อาจกระทบต่อโบราณสถาน

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมรับทราบแนวทางการศึกษาการพัฒนาพื้นที่ที่ สนข.อยู่ระหว่างการศึกษา โดยให้อยู่คนละส่วนกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง และควรหารือกับจังหวัดอย่างใกล้ชิดต่อไป


Last edited by Wisarut on 26/06/2020 4:01 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/06/2020 8:12 am    Post subject: Reply with quote

สนามบินนครปฐมลุ้นอีไอเอ
เดลินิวส์ Friday, June 26, 2020 02:41

ยัน'บางเลน-นครชัยศรี'เหมาะสุด ชงครม.ปลายปีประมูล65สร้าง66

นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม ในฐานะกำกับดูแลกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการ ท่าอากาศยานนครปฐมวงเงินลงทุน 25,000 ล้านบาทว่า ผลการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากต้องขยายเวลาการศึกษาออกไปจากเดิมต้องสิ้นสุดเดือน ธ.ค. 62 เป็นเดือน ก.พ. 63 เนื่องจากต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพิ่มเติม โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) หากผ่านความเห็นชอบจะเข้าสู่การพิจารณาของกระทรวงคมนาคม และเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาคาดว่าน่าจะปลายปีนี้ หรือต้นปี 64 เมื่อ ครม. เห็นชอบจะออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินเวนคืนต่อไป

นายถาวร กล่าวต่อว่าจากนั้นต้องขอรับการจัดสรรงบประมาณเรื่องการเวนคืนที่ดิน พร้อมสำรวจพื้นที่ตาม พ.ร.ฎ. และเริ่มเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จ่ายเงินชดเชยให้ประชาชนเมื่อเรียบร้อยจึงจะจัดงบประมาณใช้ก่อสร้างต่อไป ยอมรับว่ายังมีเสียงคัดค้านของชาวบ้านในพื้นที่รอยต่อของ อ.บางเลน และ อ.นครชัยศรี ซึ่งผลการศึกษาระบุว่าเป็นพื้นที่เหมาะสมที่สุด โดย ทย.ก็เป็นห่วงประชาชน จึงส่งผลการศึกษาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา จะไม่ก่อสร้างทันที เมื่อผ่านการพิจารณาของ สผ. แล้ว ต้องจัดการแก้ไขปัญหาความกังวลของประชาชนให้ได้อย่าให้เกิดปัญหา และก่อนเริ่มก่อสร้างต้องชดเชยเยียวยาให้ชาวบ้านสบายใจที่สุดก่อน

รายงานข่าวจาก ทย. แจ้งว่าผลการศึกษาระบุว่าพื้นที่เหมาะสมก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่ใกล้กรุงเทพฯ คือ อ.บางเลน (ต.บางระกำ, ต.ลำพญา) และ อ.นครชัยศรี (ต.บาง แก้วฟ้า, ต.บางพระ, ต.วัดละมุด) จ.นครปฐม รวมประมาณ 3,500 ไร่ อยู่ห่างจากโครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์บางใหญ่กาญจนบุรี ประมาณ 5.3 กม.สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปได้ถึงเมืองทวายประเทศเมียนมา นอกจากนี้ยังอยู่ใกล้โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใต้และรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เมื่อลงเครื่องบินแล้วสามารถเชื่อมต่อการเดินทางโหมดอื่น ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ โดยจากท่าอากาศยานนครปฐมเข้ากรุงเทพฯ จะใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชม.10 นาที ทั้งนี้ตามแผนที่วางไว้หากไม่มีปัญหาอะไรจะเปิดประมูลโครงการได้ในปี 65 เริ่มก่อสร้างปี 66 แล้วเสร็จ และเปิดบริการปี 69.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/06/2020 11:07 am    Post subject: Reply with quote

นฤมล ภิญโญสินวัฒน์
เสาร์ที่ 27 มิถุนายน 2563 เวลา 12:34 PM ·
โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา)เป็นการยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน โดยรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา)ระยะทาง 253 กิโลเมตร 6 สถานี ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 179,412.21 ล้านบาท ฝ่ายไทยรับภาระการลงทุนโครงการทั้งหมดและดำเนินการก่อสร้างงานโยธาส่วนฝ่ายจีน ออกแบบรายละเอียดงานโยธา ควบคุมการก่อสร้างงานโยธา ออกแบบและติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้า เครื่องกล ระบบควบคุมการเดินรถและจัดหาขบวนรถไฟความเร็วสูง โดยแบ่งสัญญาการก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 25 พ.ค.63 มีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 28 โดยเห็นชอบวงเงินสัญญา 2.3 วงเงิน 50,633,500,000 บาท คาดว่าจะลงนามสัญญาไม่เกิน ต.ค.63และออก NTP ให้ฝ่ายจีนออกแบบงานระบบ 275 วัน คาดว่าจะเริ่มชำระค่างานในปี 2564 จนครบสัญญา สัญญามีอายุ 64 เดือน คาดว่าโครงการจะเปิดให้บริการปี 2569 คาดว่ากรอบวงเงินจะอยู่ที่ 179,412.21 ล้านบาท ตามที่ คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
https://www.facebook.com/DrNarumonP/photos/a.224893475098339/605952686992414/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2020 10:33 am    Post subject: Reply with quote

“ไฮเปอร์ลูป” รถไฟความเร็วสูงในท่อ ทำไมจึงฝ่อก่อนสตาร์ต?
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte
ศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม 2563

ใครที่ฝันว่าจะได้ใช้ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) แทนรถไฟความสูงในอีกไม่นาน เห็นทีจะต้องรออีกนาน รอแล้วรออีกก็ไม่รู้ว่าจะได้ใช้หรือไม่ เพราะจนถึงวันนี้ยังไม่มีเมืองไหนในโลกที่ได้สัมผัสกับสุดยอดเทคโนโลยีของการขนส่งนี้ เป็นเพราะอะไร?

รถไฟความเร็วสูงถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในโลกโดยวิศวกรชาวญี่ปุ่นบนเส้นทางกรุงโตเกียว-โอซาก้า และเปิดใช้บริการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2507 ถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 56 ปีแล้วที่รถไฟความเร็วสูง หรือ “ชินคันเซ็น” ของญี่ปุ่นให้บริการมาโดยไม่มีอุบัติเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเลย หลังจากนั้น มีการพัฒนารถไฟความเร็วสูงตลอดมา จนทำให้รถไฟความเร็วสูงสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ใช้งานจริงถึงประมาณ 400 กิโลเมตร/ชั่วโมง

การพัฒนารถไฟความเร็วสูงไม่หยุดนิ่ง มีการคิดค้นต่อยอดเรื่อยมา ถัดจากชินคันเซ็นก็มาถึงแม็กเลฟหรือรถไฟความเร็วสูงแบบแรงแม่เหล็กยก (Magnetic Levitation หรือ Maglev) โดยใช้พลังงานแม่เหล็กยกรถไฟให้ลอยขึ้นเหนือรางและผลักให้วิ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูงโดยไม่มีการเสียดสีระหว่างล้อกับราง

มีการวิจัยแม็กเลฟมานานหลายสิบปีแล้ว จนถึงเวลานี้แม็กเลฟสามารถวิ่งบนเส้นทางทดสอบ (Test Track) ได้ด้วยความเร็วสูงสุดถึงประมาณ 600 กิโลเมตร/ชั่วโมง หลักการทำงานของแม็กเลฟไม่ยุ่งยาก โดยมีขดลวดเพื่อรับกระแสไฟฟ้าติดอยู่ที่ราง และมีแม่เหล็กติดอยู่ที่รถไฟ ในขั้นแรกขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อยกรถไฟขึ้นเหนือรางประมาณ 1 เซนติเมตร ต่อจากนั้น ขดลวดอีกชุดหนึ่งจะสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อทำให้บริเวณด้านหน้าของรถไฟมีแรงลากรถไฟ และบริเวณด้านหลังมีแรงผลัก แรงทั้งสองนี้จะช่วยกันทำให้แม็กเลฟวิ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูง

แม้ว่าได้มีการค้นคว้าและวิจัยแม็กเลฟมานานหลายสิบปีแล้วก็ตาม แต่จนถึงวันนี้มีการนำแม็กเลฟมาใช้งานจริงเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้น นั่นคือเส้นทางเชื่อมระหว่างสนามบินผู่ตง (สนามบินเซี่ยงไฮ้) กับย่านหลงหยางชานเมืองเซี่ยงไฮ้ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 430 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยเปิดใช้งานเมื่อปี 2547

เหตุที่แม็กเลฟไม่เป็นที่นิยมเพราะมีต้นทุนสูง ทำให้ต้องเลือกใช้บนเส้นทางที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารหนาแน่นเท่านั้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุมค่ากับการลงทุน ในปัจจุบันในโลกมีการก่อสร้างแม็กเลฟเพิ่มเติมเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้นคือเส้นทางระหว่างกรุงโตเกียว-นาโกย่า ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2570 วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 505 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ต่อจากแม็กเลฟก็มาถึงไฮเปอร์ลูปหรือรถไฟความเร็วสูงวิ่งในท่อ มีการค้นคว้าวิจัยกันอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้ คาดหวังว่าจะวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 1,200 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือเร็วกว่าเครื่องบินพาณิชย์ซึ่งมีความเร็วประมาณ 900 กิโลเมตร/ชั่วโมง ไฮเปอร์ลูปเป็นการพัฒนาต่อยอดจากแม็กเลฟ พูดได้ว่าให้แม็กเลฟวิ่งในท่อสุญญากาศ ทำให้ไม่มีแรงเสียดทานที่ยานพาหนะซึ่งมีรูปร่างเหมือนแคปซูลทะยานไปข้างหน้าในท่อสุญญากาศได้ด้วยความเร็วสูง มีการทดสอบไฮเปอร์ลูปวิ่งในท่อแล้วหลายครั้ง พบว่าแคปซูลบรรทุกผู้โดยสารสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ไม่เกิน 500 กิโลเมตร/ชั่วโมง จนถึงเวลานี้ยังไม่มีการก่อสร้างไฮเปอร์ลูปเพื่อใช้งานจริง เนื่องจากยังมีข้อสงสัยและปัญหาหลายประการที่จะต้องศึกษาและแก้ไขกันต่อไป เช่น

1. ต้นทุนค่าก่อสร้างและค่าบริหารจัดการเดินรถรวมทั้งค่าบำรุงรักษาอาจสูงกว่าราคาที่มีการเสนอกันมามาก ในขณะที่มีขีดความสามารถขนผู้โดยสารได้น้อยกว่ารถไฟความเร็วสูงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ทำให้กังวลว่าจะได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
2. ท่ออาจทรุดตัวไม่เท่ากัน ซึ่งจะทำให้ท่อร้าวหรือแตกหักได้ ถ้าอากาศไหลเข้าสู่ท่ออะไรจะเกิดขึ้น?
3. หากมีแรงสั่นสะเทือนในท่อ จะมีผลต่อการทรงตัวของแคปซูลบรรทุกผู้โดยสารหรือไม่?
4. ในกรณีมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จะอพยพผู้โดยสารออกจากแคปซูลและจากท่อได้อย่างไร?
5. มีสถานีกลางทางน้อย เนื่องจากต้องวิ่งด้วยความเร็วสูงมาก ทำให้โอกาสในการพัฒนาพื้นที่ข้างทางมีน้อย ส่งผลให้ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในแนวเส้นทางได้ดีพอ
6. การเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟในปัจจุบันหรือรถไฟความเร็วสูงในอนาคตทำได้ยาก เพราะระบบไม่เหมือนกัน ทำให้ผู้โดยสารไฮเปอร์ลูปไม่ได้รับความสะดวก ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณผู้โดยสารที่อาจมีน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
7. ไม่มีห้องน้ำไว้ให้บริการแก่ผู้โดยสาร
8. ผู้โดยสารไม่สามารถชมวิวทิวทัศน์ข้างทางได้

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ในเวลานี้จึงทำให้ไม่มีเมืองใดในโลกลงมือก่อสร้างไฮเปอร์ลูปกันอย่างจริงจังตามที่ได้คุยไว้

ผมสนใจในนวัตกรรมด้านการขนส่งที่สามารถอำนวยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยให้ผู้โดยสาร ลดต้นทุนการก่อสร้างและการเดินรถ และที่สำคัญ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ถ้าไฮเปอร์ลูปมีคุณสมบัติดังกล่าวจริงก็ต้องทดสอบให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างสมบูรณ์แบบดังเช่นแม็กเลฟได้ทำมาแล้ว ถึงเวลานั้นจึงจะบอกได้ว่าไฮเปอร์ลูปเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่

ทั้งหมดนี้ ผมไม่ต้องการทำให้นวัตกรรมชั้นยอดอย่างไฮเปอร์ลูปต้องฝ่อก่อนสตาร์ต
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 372, 373, 374 ... 542, 543, 544  Next
Page 373 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©