Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179995
ทั้งหมด:13491227
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 399, 400, 401 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2021 10:20 am    Post subject: Reply with quote

“ซี.พี.” ปฏิวัติแอร์พอร์ตลิงก์ ลุยรถไฟฟ้าเชื่อมธุรกิจในเครือ
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 - 08:39 น.

ซี.พี.ปฏิวัติธุรกิจรถไฟฟ้า จ่ายค่าต๋งหมื่นล้านเทกโอเวอร์แอร์พอร์ตลิงก์ วิ่งรถครั้งแรก 25 ต.ค. สัมปทาน 50 ปี ค่าโดยสาร 15-45 บาท รีแบรนด์ชื่อใหม่ จ้างอิตาลีเดินรถ ทุ่ม 2 พันล้าน ดัดแปลงโบกี้ขนกระเป๋า จุผู้โดยสารเพิ่ม อัพเกรดระบบตั๋วจ่ายผ่านทรูมันนี่วอลเลต ผุดถนนเชื่อมสถานี จัดระเบียบที่จอดรถ ร.ฟ.ท.อัดเวนคืน 4.7 พันล้าน เร่งส่งมอบพื้นที่ไฮสปีด “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ตอกเข็มปีนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 24 ต.ค. 2564 จะครบกำหนด 2 ปีที่รัฐบาลเซ็นสัญญาร่วมทุนกับ บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (กลุ่ม ซี.พี.) ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น, บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) รับสัมปทาน 50 ปี ก่อสร้างและเดินรถโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-สุวรรณภูมิ)

จ่ายก้อนแรกหมื่นล้าน
แหล่งข่าวจาก บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เดือน ต.ค.นี้ บริษัทจะจ่ายค่าใช้สิทธิแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้านบาท ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อรับโอนโครงการ ก่อนเข้าบริหารการเดินรถในวันที่ 25 ต.ค. 2564 โดยมีบริษัท ทางรถไฟแห่งชาติอิตาลี (FS) จากประเทศอิตาลี เป็นผู้รับจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการทั้งแอร์พอร์ตลิงก์และรถไฟความเร็วสูง

“ต้องจ่ายค่าใช้สิทธิแอร์พอร์ตลิงก์ใน 2 ปี จะครบวันที่ 24 ต.ค.นี้ จ่ายแล้วเปิดเดินรถได้เลยวันแรก 25 ต.ค.เป็นต้นไป จนถึง 50 ปี สัมปทานจะบวกเพิ่ม 2 ปี จาก 48 ปี เป็น 50 ปี สิ้นสุดพร้อมรถไฟความเร็วสูง”

ล่าสุดบริษัทกำลังทำแผนเตรียมเข้าเทกโอเวอร์แอร์พอร์ตลิงก์ พร้อมการรีแบรนดิ้งโครงการใหม่ ทั้งเปลี่ยนชื่อ “ARL” และปรับโลโก้ให้รับกับรถไฟความเร็วสูง เพราะอนาคตไม่ได้มีแค่แอร์พอร์ตลิงก์ แต่บริษัทกำลังทำข้อเสนอให้ผู้บริหารเลือก คาดได้ข้อสรุปใน 1 เดือนนี้ เมื่อได้แบรนด์แล้วจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านอื่น เช่น สีสัญลักษณ์ เครื่องแบบพนักงาน

แอร์พอร์ตลิงก์มี 8 สถานี ได้แก่ พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และสุวรรณภูมิ เมื่อเปิดเดินรถจะมีรายได้จากค่าโดยสาร แต่ช่วงแรกคงไม่มาก เพราะผู้โดยสารลดลงอยู่ที่ 40,000 เที่ยวคน/วัน จากเดิมก่อนโควิด-19 ระบาดจะอยู่ที่ 80,000-90,000 เที่ยวคน/วัน ปัจจุบันมีรายได้ 600 ล้านบาท ขาดทุน 400 ล้านบาทต่อปี

ทุ่ม 2 พันล้านอัพเกรด
ในการเข้าบริหารแอร์พอร์ตลิงก์นั้น บริษัทเตรียมเงินลงทุนช่วงแรก 2,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริการและระบบต่าง ๆ เช่น ระบบเบรก อาณัติสัญญาณ เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง โดยปรับปรุงระบบฮาร์ดแวร์ให้ทันสมัยขึ้น เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบวิทยุ อุปกรณ์ต่าง ๆ เนื่องจากไม่เคยเปลี่ยนตั้งแต่เปิดบริการมา 10 ปี พร้อมปรับปรุงตกแต่งสถานีและติดเครื่องปรับอากาศ เพิ่มไฟฟ้าแสงสว่าง

รวมถึงปรับปรุงบริการให้รองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นในชั่วโมงเร่งด่วนเช้าและเย็น โดยดัดแปลงขบวนรถ express line จำนวน 4 ขบวน ปัจจุบันรองรับผู้โดยสารได้ 3 ตู้/ขบวน อีก 1 ตู้สำหรับขนสัมภาระกระเป๋า จะปรับพื้นที่ให้รองรับผู้โดยสารมากขึ้น เพิ่มขึ้นขบวนละ 200 คน รวม 4 ขบวน อยู่ที่ 800 คน

“ช่วงแรกปรับปรุงรถเก่า 9 ขบวน เป็น express line 4 ขบวน และ city line 5 ขบวน ให้ขนผู้โดยสารได้มากขึ้น ระหว่างรอซื้อรถใหม่ที่ใช้เวลาผลิตถึง 2 ปี ตามแผนจะซื้อพร้อมขบวนรถไฟความเร็วสูงที่อยู่ระหว่างคัดเลือกระบบ ซึ่งมีเอกชนเสนอให้พิจารณาหลายระบบ เช่น ซีเมนส์ บอมบาร์ดิเอร์ อัลสตรอม ฮุนได โลเธมจากเกาหลีใต้ CRRC-Sifang จากจีน และฮิตาชิจากญี่ปุ่น”

อัพเกรดตั๋วผ่านทรูมันนี่
จะปรับปรุงพื้นที่จอดรถ เช่น สถานีมักกะสัน ทับช้าง ลาดกระบัง ตามสัญญาบริษัทไม่ได้สิทธิบริหาร แต่ได้เจรจากับ ร.ฟ.ท.ขอให้บริษัทเข้าไปจัดระเบียบใหม่ เพื่อทำที่จอดรถใหม่พร้อมเก็บค่าจอดในราคาไม่แพง

“กำลังพิจารณาอาจทำระบบฟีดเดอร์เป็นรถชัตเติลบัส รับส่งคนเข้ามายังสถานีและระบบขนส่งมวลชนอื่น เพราะปัจจุบันการเข้ามาใช้บริการแอร์พอร์ตลิงก์ลำบาก การมีฟีดเดอร์อำนวยความสะดวกทำให้คนใช้บริการมากขึ้น ต่อไปจะสร้างถนนเข้า-ออก ทางเดินเข้าสถานีทุกสถานี เช่น มักกะสัน มีทางเชื่อมใต้ดินกับสายสีน้ำเงินที่สถานีเพชรบุรี”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในส่วนของพนักงานตามที่ FS ทำโครงสร้างมีโอนจากแอร์พอร์ตลิงก์เดิมและเปิดรับใหม่ เพื่อทำการเทรนนิ่ง ด้านพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานี ต้องรออีก 3 ปี ให้สัญญาเก่าหมดก่อน จากนั้นบริษัทคงต้องทำใหม่


“ระบบเก็บค่าโดยสารของแอร์พอร์ตลิงก์จะอัพเกรดรับระบบ TrueMoney Wallet นอกจากระบบตั๋วร่วมของรัฐ โดยจะออกแบบบัตรโดยสารใหม่ให้ใช้ร่วมกับระบบรถไฟฟ้าได้ เพราะรูปแบบเดิมไม่มีที่สแกน เพื่อให้ผู้โดยสารเติมเงินในบัตรโดยสารได้”

ส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดคืบ 40%
สำหรับการส่งมอบพื้นที่รถไฟความเร็วสูง ล่าสุด ร.ฟ.ท.แจ้งว่าจะส่งมอบช่วงแรกสนามบินสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 170 กม. ในเดือน ส.ค. หรือไม่เกินเดือน ต.ค. 2564 ตามกรอบเวลา 2 ปี เมื่อได้พื้นที่จะเริ่มสร้างทันที โดยมี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ ก่อสร้างงานโยธา ส่วนระบบรางมี บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC) ดำเนินการ ทั้งโครงการจะใช้เวลาสร้าง 5 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการเดือน ส.ค. 2569 ส่วนช่วงสถานีพญาไท-ดอนเมือง 22 กม. จะส่งมอบพื้นที่ไม่เกิน 4 ปี ตามแผนเปิดบริการเดือน ส.ค. 2570

การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี หรือ TOD สถานีมักกะสัน 140 ไร่ สถานีศรีราชา 25 ไร่ จะได้รับมอบพื้นที่พร้อมกับรถไฟความเร็วสูง แต่การพัฒนาต้องรออีก 1 ปี

“ย้ายตำแหน่ง 3 สถานี คือ ฉะเชิงเทรา ศรีราชา พัทยา ยังไม่มีความชัดเจนจากผู้ใหญ่ ส่วนสถานีอู่ตะเภา สิ้นเดือน ก.พ.จะหารือกับกลุ่มบีทีเอสผู้พัฒนาเมืองการบินอู่ตะเภา ถึงตำแหน่งสถานี เบื้องต้นสร้างลอดใต้ถนนสุขุมวิทห่างจากอู่ตะเภาประมาณ 300-400 เมตร แล้วเลี้ยวเข้ามายังสนามบิน แต่ขยับสถานีอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสารใหม่”

ก่อนหน้านี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การส่งมอบพื้นที่น่าจะไม่เกินไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ทั้งหมดยังอยู่ในกำหนดเวลา แต่ก็กังวล ถ้าส่งมอบพื้นที่เป็นฟันหลอ


“การลงทุนปีนี้จ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้านบาท มีปรับปรุงหลายอย่าง มีค่าสร้างไฮสปีดจะใช้เงินระดับหมื่นล้าน”

ย้ายสถานียังไม่นิ่ง
ส่วนการย้ายสถานีไฮสปีดใหม่ เนื่องจากดูตามความเหมาะสม ต้องไปในจุดที่สะดวกและมีผู้คนเยอะ บางที่สภาพเก่าเสื่อมโทรมมาก มีเงื่อนไขมาก ก็ต้องดูใหม่ แต่ดีกว่าเก่าแน่นอน ยังบอกไม่ได้ว่าเป็นพื้นที่ไหน

“TOD มักกะสันอยู่ระหว่างออกแบบ และกระบวนการต่าง ๆ เป็นเรื่องใหญ่มาก ยากกว่าสร้าง ใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี แต่สร้างจริง ๆ 2 ปีก็เสร็จ”

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า สิ้นเดือน ก.พ.นี้ กลุ่ม ซี.พี.จะทำแผนการเข้าเทกโอเวอร์แอร์พอร์ตลิงก์ให้ ร.ฟ.ท.พิจารณา ทั้งก่อนและหลังรับโอนโครงการจะต้องทำอะไรบ้าง จะมีที่ปรึกษามาตรวจสอบความพร้อม ก่อนจะเข้ามาเดินรถเดือน ต.ค.นี้ ส่วนค่าโดยสารในระยะแรกยังเก็บอัตราเดิม 15-45 บาท จะปรับขึ้นหลังรถไฟความเร็วสูงเปิดบริการแล้ว ตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) ทุก ๆ 36 เดือน และเก็บตามระยะทาง

ส.ค.ส่งมอบพื้นที่ไฮสปีด
ด้านการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ทาง ร.ฟ.ท.ไม่รอกลุ่ม ซี.พี.แจ้งการย้ายตำแหน่งสถานีใหม่ ล่าสุดเวนคืนไปก่อน ทำสัญญาจ่ายค่าทดแทนให้กับผู้ถูกเวนคืนแล้วกว่า 50% จาก 679 หลังคาเรือน 923 ไร่ ใช้เงินเวนคืน 4,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,000 กว่าล้านบาท จากเดิมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไว้ 3,570 ล้านบาท ส่วนที่เพิ่มขึ้นกำลังขออนุมัติจากคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

“ต้องขออนุมัติค่าเวนคืนเพิ่ม มี.ค.-เม.ย.นี้ ต้องเร่งส่งมอบพื้นที่เฟสแรก สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ให้กลุ่ม ซี.พี. ส.ค.-ก.ย.นี้ ส่วนช่วงพญาไท-ดอนเมือง ส่งมอบ ต.ค. 2566 ติดรื้อย้ายสาธารณูปโภค ผู้บุกรุกอีก 782 หลัง”

นายสุจิตต์กล่าวว่า การรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค จำนวน 756 จุด หน่วยงานที่รับผิดชอบกำลังเร่งดำเนินการจะแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.นี้ จะล่าช้ามีท่อระบายน้ำไซฟ่อนของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และท่อน้ำมันของ FPT จะเสร็จต้นปี 2566
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2021 6:00 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย เชื่อมไทยสู่เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21
Otpthailand
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 - 11:44 น.

ตอนที่แล้วเราพูดถึงจุดเริ่มต้นของรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย มาตอนนี้ แอด จะมาเล่าถึงความผูกพันของสองมิตรประเทศ “รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน” ที่แน่นแฟ้นมายาวนาน จนนำมาสู่ความร่วมมือในการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกันและภายในภูมิภาค เกิดเป็นปฐมบทรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทย นั่นคือ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย
.
โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมาเป็นครั้งแรก ในปี 2555 – 2556 ต่อมาในปี 2557 – 2558 สนข. ก็ได้ศึกษาเพิ่มเติมช่วงนครราชสีมา-หนองคายต่อเนื่องมา ขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา-หนองคาย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 และได้ทำพิธีเริ่มต้นการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560
สำหรับการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา มีแนวเส้นทางโครงการจากสถานีกลางบางซื่อ ผ่านสถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา รวมระยะทาง 253 กม. แบ่งเป็น ทางยกระดับ 190 กม. อุโมงค์ 7.8 กม. และทางระดับพื้น 54.5 กม. แบ่งการก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา ปัจจุบัน ได้ดำเนินการก่อสร้าง สัญญาที่ 1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างสัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ซึ่งมีความก้าวหน้ากว่าร้อยละ 44 ส่วนการก่อสร้างที่เหลือ รัฐบาลได้ดำเนินการลงนามสัญญาการก่อสร้างไปแล้วอีก 5 สัญญา พร้อมเร่งรัดการดำเนินการลงนามอีก 7 สัญญาที่หลือให้เป็นไปตามแผน เพื่อเดินหน้าการพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายนี้ให้แล้วเสร็จอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีบทบาทสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนโครงการ โดยนอกจากได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคมให้ศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ยังได้ร่วมประชุมคณะกรรมการร่วม เพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee: JC) เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการ ให้ข้อมูล และชี้แจงรายละเอียด เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติมากที่สุดด้วย โดยโครงการนี้ เมื่อแล้วเสร็จในปี 2568 จะเป็นการยกระดับมาตรฐานรถไฟไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นการลงทุนเพื่อวางรากฐานความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยในระยะยาว สร้างศักยภาพและโอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบเส้นทาง เกิดการกระจายความเจริญอย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำในภาพรวม ที่สำคัญ ยังเป็นการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ภายใต้ความร่วมมือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งถือเป็นโครงการสำคัญที่รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (Belt and Road Initiative: BRI) ที่จะเชื่อมโยงโครงข่ายระบบรางของไทยและอาเซียนกับจีนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน สร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้แก่ทั้งภูมิภาคและตอกย้ำความเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ของไทย คราวหน้าเราจะมาต่อกันกับไตรภาครถไฟความเร็วสูง อีกหนึ่งเส้นทาง นั่นคือรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน แอด จะบอกเล่าอะไรบ้างนั้น ติดตามกันได้
.
เพราะเราคิด..เพื่อคุณภาพชีวิตของคนไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2021 7:18 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน หนึ่งเส้นทางเชื่อมเศรษฐกิจภูมิภาค
Otpthailand
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 - 12:05 น.

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นโครงการพัฒนาระบบรางระดับชาติตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งเป็นหนึ่งโครงการสำคัญที่รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เร่งรัดผลักดันเพื่อพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจและการลงทุนหลักของประเทศ และก้าวไกลในเวทีโลก โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานหลักด้านคมนาคมที่จะเชื่อมโยงระหว่างท่าอากาศยานหลักของประเทศ คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และนำความเจริญเติบโตด้านต่างๆ เข้าสู่พื้นที่ EEC
.
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินนั้น แต่เดิมเป็นโครงการที่เกี่ยวเนื่องกัน 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Link and City Air Terminal : ARL) ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ ซึ่งเปิดให้บริการไปเมื่อปี 2553 2) โครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ส่วนต่อขยาย (Airport Rail Link Extension : ARLEX) ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ซึ่งดำเนินการศึกษาโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และ 3) โครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก ช่วงกรุงเทพมหานคร-ระยอง โดยต่อมารัฐบาลมีมติให้รวมทั้ง 3 โครงการเป็นโครงการเดียว คือโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการเดินรถและให้บริการ และมีการบริหารจัดการโครงการที่สะดวกขึ้น และบรรจุโครงการนี้เป็นอยู่ในแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลักของ EEC โดยใช้รูปแบบรัฐและเอกชนร่วมลงทุน (Public-Private Partnership : PPP) โดยมีบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการ และได้มีการลงนามสัญญาร่วมลงทุนไปเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 โดยขณะนี้การดำเนินการโครงการอยู่ระหว่างการส่งมอบพื้นที่เพื่อการก่อสร้าง
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินมีระยะทางรวมตลอดสาย 220 กิโลเมตร มีแนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ประกอบด้วย 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา โดยส่วนหนึ่งจะใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางเดียวกับระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน อีกส่วนหนึ่งจะเป็นส่วนต่อขยาย 2 ช่วง คือ ช่วงแรกจากสถานีพญาไทไปยังสนามบินดอนเมือง และอีกช่วงหนึ่ง จากสถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งจะมีการเชื่อมทางเข้า-ออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นส่วนใหญ่
ส่วนการเข้าบริหารจัดการแอร์พอร์ตลิงค์ ตามสัญญาการร่วมทุนนั้น บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสนามบิน จำกัด จะเริ่มดำเนินการในเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างสำรวจตรวจสอบระบบ อุปกรณ์ ตลอดจนเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เช่น การปรับปรุงสถานีและบริการ
นอกจากบริการด้านการเดินทางแล้ว ยังมีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี (TOD) ที่สถานีมักกะสันเนื้อที่ประมาณ 140 ไร่ และสถานีศรีราชา เนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ ที่สามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ร่วมกับโครงการได้ รวมถึงสถานีสำคัญตามแนวเส้นทาง เช่น สถานีพัทยา ซึ่ง สนข. ได้ทำการศึกษา TOD พัทยาไว้ในโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ไว้แล้ว ซึ่งโครงการรถไฟเชื่อมสามสนามบินสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาได้
.
รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน คือหัวใจของ EEC ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานใหม่ของระบบเศรษฐกิจที่จะช่วยให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุค 4.0 เชื่อมโยงและเพิ่มศักยภาพให้ จ.ฉะเชิงเทรา ศรีราชา พัทยา ระยอง ที่อยู่ในแนวเส้นทาง เกิดการพัฒนาเมืองใหม่ ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นเมืองน่าอยู่ สะดวกสบาย โดยเชื่อมระหว่างเมืองถึงกันได้ด้วยรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งการเชื่อมต่อไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2021 10:26 pm    Post subject: Reply with quote

โครงสร้างทางวิ่งรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน ก่อสร้างแล้วเสร็จ!!!!
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 - 19:11 น.

ช่วงที่ 1 กลางดง-ปางอโศก 3.5 กิโลเมตร ฝีมือกรมทางหลวง
เมื่อวานไปอีสานทั้งทีต้องเอาให้คุ้ม เลยพาไปชมโครงสร้างทางวิ่งรถไฟความเร็วสูงช่วงที่ 1 กลางดง-ปางอโศก 3.5 กิโลเมตร ที่เป็นดราม่ามาตลอด ซึ่งก่อสร้างโดยกรมทางหลวง

โดยปัจจุบันโครงการเสร็จ 100% และส่งมอบพื้นที่ให้การรถไฟเป็นที่เรียบร้อย
ซึ่งโครงการนี้เป็นเหมือน อาจารย์ใหญ่ของโครงการนี้เลย เพราะใช้ในการปรับวัสดุ และศึกษาวิธีสร้างคันทางระดับดินของจีนในพื้นที่นี้ด้วย
โดยในพื้นที่จะคู่ขนานด้านทิศตะวันออกของโครงการรถไฟทางคู่ โดยจะมีถนนคู่ขนานโครงการตลอดเส้นทาง ซึ่งจะมีประโยชน์กับการซ่อมบำรุง และการพัฒนาพื้นที่ริมทางรถไฟไปด้วยกัน
โดยเราจะยังไม่เห็นรางรถไฟ และสายส่งไฟฟ้า เนื่องจากอยู่ในงานระบบ รถไฟฟ้า สัญญาที่ 2-3 ซึ่งเซึนไปเมื่อปลายปี 63!!!!

https://www.facebook.com/491766874595130/videos/3165392323562956
—————————
สรุปสถานะล่าสุดโครงการ
- ช่วงที่ 1 กลางดง-บางอโศก ก่อสร้างเสร็จ 100%
- ช่วงที่ 2 สัญญาที่ 2-1 สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร ความคืบหน้า 60%
รายละเอียดตามโพสต์นี้
https://fb.watch/3O1sppo_UU/
5 สัญญาล่าสุดที่พึ่งเซ็นสัญญาไป
- สัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับงานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง)
ดำเนินการโดย บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างอุโมงค์ยาวรวม 8 กิโลเมตร และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.23 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-3 งานโยธาสำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง
ดำเนินการโดย บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด
ซึ่งมีงานก่อสร้างสถานีปากช่อง และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 26.10 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด
ดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคือ มีงานก่อสร้างทางรถไฟระยะทางยาวที่สุดในโครงการ ถึง 37.45 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-5 งานโยธาสำหรับช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา
ดำเนินการโดย บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด (ซึ่งประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัท
บิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซีย)
ซึ่งเป็นงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.38 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย
ดำเนินการโดย บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างสถานีสระบุรี และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.99 กิโลเมตร
อย่างที่เห็นรายชื่อบริษัทผู้รับเหมาที่ได้งานโยธาทั้งหมด ซึ่งเป็นงานจัดซื้อจัดจ้างผ่านระเบียบของไทยเราทั้งหมด ทำให้เอกชนในประเทศได้มีโอกาสรับงาน ไม่เหมือนกับโครงการที่จีนไปลงทุนก่อสร้างในประเทศอื่นๆ
ซึ่งในส่วนนี้เป็นส่วนที่น่าสนใจทั้งการก่อสร้างตัวสถานี ทั้ง 3 สถานี เป็นพื้นที่ผ่านเขา โดยจะมีการทำอุโมงค์ และสะพานยาว เพื่อลดความชัน และรัศมีโค้งของทางรถไฟ
ซึ่งน่าจะเริ่มเข้าหน้างานในต้นปี 64
รายละเอียดตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1080880232350455/?d=n
- ส่วนงานระบบรถไฟความเร็วสูงงานสัญญาที่ 2.3 มีรายละเอียดคือ
1. วางรางรถไฟความเร็วสูง เป็นทางคู่ ระยะทาง 253 กิโลเมตร ขนาดราง 1.435 เมตร (European Standard Guage)
ระบบหมอนรองราง
- ในพื้นที สถานี, ช่วงบางซื่อ-รังสิต และในอุโมงค์ เป็นแบบไม่ใช้หินรองราง (Ballastless Track) เพื่อง่ายในการซ่อมบำรุง
- ส่วนอื่นๆ เป็นแบบหินรองราง Ballasted Track
2. จัดหาขบวนรถไฟ ซึ่ง Confirm!!! ว่าเป็น Series : Fuxing Hao Model : CR300 แล้วแน่นอนครับ
ซึ่งรถไฟ Series : Fuxing hao Mode : CR300 ที่จีนพัฒนาเอง 100% ซึ่งเปลี่ยนจากรุ่น CRH380 ซึ่งเป็นรุ่นเก่าที่ใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ (ของ Siemens เยอรมัน)
ความเร็วสูงสุด 250 กม/ชม
ใครยังไม่ได้อ่านเรื่องการพัฒนา Fuxing hao ดูได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/730949204010228/?d=n
ในขบวนรถไฟความเร็วสูง 1 ขบวน มีทั้งหมด 8 ตู้
แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ
- First Class (ชั้น 1) อยู่บริเวณหัวขบวนทั้ง 2 ด้าน มี 96 ที่นั่ง
- Second Class (ชั้น 2) ในพื้นที่ 6 ตู้ที่เหลือ มีทั้งหมด 498 ที่นั่ง
รวมผู้โดยสารทั้งหมด 594 ที่นั่ง
และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น พื้นที่ขายอาหาร สำนักงานเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บกระเป๋าขนาดใหญ่ และมีห้องน้ำในทุกตู้โดยสาร
3. งานระบบควบคุม และอาณัติสัญญาณรถไฟ ซึ่งจะเป็นระบบ CTCS-2 พร้อมกับ GSM-R (รองรับการพัฒนาเป็น CTSC-3)
4. ฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเจ้าหน้าที่ฝั่งไทย เพื่อให้บริการ และซ่อมบำรุงได้เอง มากที่สุด
รายละเอียดโพสต์เดิม
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1057547391350406/?d=n
ยังเหลือสัญญาอีก 5 สัญญา เตรียมจะเซ็นสัญญาประมาณช่วงเดือนหน้านี้แล้ว!!!!

ผมเคยโพสต์รายละเอียด Site ทดลอง กลางดง-ปางอโศก 3.5 กิโลเมตร เพื่อทำการศึกษาวิธีการก่อสร้างคันทางรถไฟความเร็วสูง และปรับวัสดุก่อสร้าง ให้เข้ากับวัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อสนับสนุนการใช้วัสดุก่อสร้างภายในประเทศ รายละเอียดตามนี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710350119403470?sfns=mo
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710985569339925?sfns=mo
และคลิปความคืบหน้า ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710488176056331?sfns=mo
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2021 10:28 pm    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้าล่าสุด!!! โครงการ #รถไฟความเร็วสูง #สายอีสาน ช่วงสระบุรี-แก่งคอย สัญญา 4-7 รวมก่อสร้างสถานีสระบุรี!!! เริ่มแล้ว!!!!
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 - 20:02 น.

สัญญาอื่นๆ พร้อมเข้าหน้างาน ภายในเดือนนี้!!!!
พอดีวันนี้มีภารกิจสำคัญต้องมาที่บุรีรัมย์ เลยแวะไปเยี่ยมชมความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงสายอีสานหน่อย!!!!
—————————
ซึ่งจากที่ได้เซ็นสัญญาก่อสร้างงานโยธา 5 สัญญา ล่าสุด ปลายปี 2563 รายละเอียดตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1080880232350455/?d=n
ตอนนี้ได้เริ่มเข้าหน้างาน ส่วนของสัญญา 4-7 เป็นสัญญาแรก ซึ่งสัญญาอื่นๆจะเริ่มเข้าหน้างานภายในเดือนนี้!!!
—————————
รายละเอียดของสัญญา 4-7 ช่วง สระบุรี-แก่งคอย
- มีการก่อสร้างสถานีสระบุรี ซึ่งอยู่บริเวณติดเลี่ยงเมืองสระบุรี หลังโรบินสันสระบุรี เยื้องกับศูนย์ราชการสระบุรีใหม่ ซึ่งสามารถเข้าเมืองสระบุรีได้ค่อนข้างสะดวก จากถนนเลียบทางรถไฟได้เลย!!!
รูปแบบและรายละเอียดสถานีสระบุรี
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/630481400723676/?d=n
- ศูนย์ซ่อมบำรุงทางสระบุรี
- ทางวิ่งรถไฟความเร็วสูงยกระดับ 12.99 กิโลเมตร
ซึ่งสัญญาส่วนนี้มีมูลค่า 8,560 ล้านบาท
ก่อสร้างโดย บริษัท Civil Construction จำกัด
ระยะเวลาการก่อสร้าง 1,080 วัน
—————————
ถ้ามีความคืบหน้าเพิ่มเติมในสัญญาอื่กๆ จะมา Update ให้เพื่อนๆฟังอีกทีนะครับ
ปล. หวังว่า อีก 5 สัญญา คงจะเซ็นได้ไวๆนี้ เพื่อจะเดินหน้าโครงการได้เต็มสูบนะครับ!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2021 10:30 pm    Post subject: Reply with quote



Jenuer Ringko wrote:
ที่เซ็นต์ล๊อตใหม่ไป 5 สัญญา ทีแรกข่าวบอกจะออกหนังสือให้เข้าพื้นที่วันที่ 26 มกราคม 2564 ได้ 2 สัญญา และวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 อีก 2 สัญญา เหลืออุโมงค์ที่จะออกหนังสือให้เข้าพื้นที่ได้เมษายน
พอสรุป 26 มกราคม 2564 ออกหนังสือให้เข้าพื้นที่ได้ครบ 4 สัญญาเลย โคตรแก๋ว หนึ่งเดือนผ่านไปเริ่มเข้าพื้นที่ ตั้งแคมป์อะไรกันละ แถมพี่ซีวิลนี่ไปเร็วด้วย ช่วงกุดจิกก็ลุ้นเสร็จปลายพฤษภาคม แต่สำหรับผมเลทไปกรกฎา สิงหาก็ไหวนะ แต่ขอไม่เกินตุลาคมละกัน (แต่คิดว่าคงทันตามกำหนดแหล่ะ ก่อนฝนมา)
อันนี้ เป็นความคืบหน้าช่วงของอิตาเลียนไทยฮะ ตั้งค่าย เก็บเสบียง เตรียมเข้าตีละฮะ ช่วงนี้ไม่มีไรมากเบสิคแต่ยาวสุด สำหรับผมแค่อยากเห็นจุดที่ตัดกะมอเตอร์เวย์ลำตะคอง ใครจะอยู่ล่างอยู่บน จะออกมายังไงรอชมกันต่อไป อิอิ

สุดท้ายยย ลุ้นหนัก ๆ สัญญาช่วงมวกเหล็กกะอยุธยา เซ็นต์ 2 อันนี้ได้คือโล่ง เพราะน่าจะมีปัญหาสุดและแถมเป็นช่วงที่เรียกว่าสำคัญและไฮไลท์กันเลยทีเดียว ฮาาา

https://www.youtube.com/watch?v=CvwkX5V9M_E
https://www.youtube.com/watch?v=3pFl4Q2yOLs
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2021 11:10 am    Post subject: Reply with quote



Update รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช สัญญา 2-1 สีตื้ว-กุดจิด และสัญญา 3-4 ลำตะคอง-สีคิ้ว, กุดจิก-โคกกรวด ณ 20/2/2564
0:03​ สัญญา 3-4 ช่วงที่ 1 ลำตะคอง-สีคิ้ว
11:08​ สัญญา 2-1 สีคิ้ว-กุดจิก
14:22​ เริ่มทางยกระดับสัญญา 2-1
17:10​ สัญญา 3-4 ช่วงที่ 2 กุดจิก-โคกกรวด

https://www.youtube.com/watch?v=wMh6v67m6Sc
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2021 10:53 pm    Post subject: Reply with quote

📢D-Day 𝟐𝟓 ต.ค. 𝟐𝟓𝟔𝟒 🕛
รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา
22 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 16:31 น.



🚈 บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จํากัด จะเข้าไปบริหารจัดการ และดูแลการเดินรถ สำหรับรถไฟ #แอร์พอร์ตเรลลิงก์ #ARL อย่างเป็นทางการ
.
โดยจะต้องจ่ายเงินจำนวน 💲 𝟏𝟎,𝟔𝟕𝟏 ล้านบาท 💲 กับสัมปทานเดินรถ 50 ปี
.
ส่วนการบริหารจัดการ การเดินรถจะมอบให้ บริษัท ทางรถไฟแห่งชาติอิตาลี (𝐹𝑒𝑟𝑟𝑜𝑣𝑖𝑒 𝑑𝑒𝑙𝑙𝑜 𝑆𝑡𝑎𝑡𝑜 𝐼𝑡𝑎𝑙𝑖𝑎𝑛𝑒 𝑆.𝑝.𝐴.) หรือ #FS ที่จะดูแลทั้งรถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงก์ และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินด้วย
.
คาดว่า หลังจากวันที่ 𝟐𝟓 ต.ค. 𝟐𝟓𝟔𝟒 เป็นต้นไป โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
.
เนื่องจากจะครบกำหนดตามสัญญา 2 ปี ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเฟสแรกช่วง สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ให้กับเอกชน #ผู้ชนะการประมูล โดยเดือน ตุลาคม 2564 จะเป็นเดดไลน์ที่กำหนดส่งมอบพื้นที่ในเฟสแรกเอาไว้
.
พอหลังจากนั้น คนไทยน่าจะได้ข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการฯ นี้ ออกมาอย่างต่อเนื่อง
.
พวกเรา แอดมินเพจ #รถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน จะรีบนำความคืบหน้าโครงการฯ มาบอกเพื่อนๆ กันนะครับ

https://www.youtube.com/watch?v=oEXLv7KQZEE


Last edited by Wisarut on 15/03/2021 1:22 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2021 6:10 pm    Post subject: Reply with quote

อัพเดทคืบหน้ารถไฟไทย-จีน สัญญา 3-1 หลังศาลปกครองฯ สั่งชะลอผลอุทธรณ์
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันอังคาร ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 13:58 น.

รฟท.เผย ศาลปกครองกลางสั่งชะลอผลอุทธรณ์รถไฟไทย-จีน สัญญา 3-1 หลังอิตาเลียนไทยร้อง กรณีบ.นภาก่อสร้าง ยื่นอุทธรณ์ต่อกรมบัญชีกลาง

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับผลการประกาศผู้ชนะการเสนอราคาตามประกาศ รฟท. และเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้าง โครงการความร่วมมือแห่งราชอาณาจักรไทย และ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในโครงการ พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมภูมิภาค (รถไฟไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1( ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ได้ถูกถอดจากวาระการประชุม เนื่องจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนขอทุเลาหลังบริษัทอิตาเลียนไทย ดิเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ฟ้องร้อง กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน ได้พิจารณาให้ผลอุทธรณ์ของบริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด (BINA จากมาเลเซีย-นภาก่อสร้าง) ฟังขึ้น เนื่องจากผู้อุทธรณ์เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดในโครงการนี้ ทำให้ผู้อุทธรณ์ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ชนะการเสนอราคาต่ำสุด ทั้งนี้ศาลฯ มีคำสั่งให้ รฟท.ชะลอดำเนินการในสัญญาดังกล่าวไปก่อน

“หลังจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลา ทำให้รฟท.ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ตามทฤษฎีมี 2 ทางเลือก
1.ต้องรอคำสั่งศาลปกครองกลางว่าจะเป็นอย่างไร
2.ต้องใช้วิธียกเลิกการประกวดราคา

เมื่อถามว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ มองว่าเราก็มีสิทธิที่จะดำเนินการได้ ส่วนจะเป็นธรรมหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง ที่ผ่านมารฟท.ก็คัดค้านเช่นกัน เพราะเกรงว่าอาจจะทำให้โครงการล่าช้า ทั้งนี้ศาลฯมีคำวินิจฉัยว่าจะไม่กระทบต่อโครงการฯ เนื่องจากเล็งเห็นว่ายังไม่ได้เริ่มก่อสร้างโครงการฯ ส่งผลให้ระยะเวลา 270 วัน ถูกชะลอไว้ด้วยเช่นกัน”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2021 7:52 pm    Post subject: Reply with quote

ทำงานดี มีคนเห็นไม่มาก
แต่ถ้าทำงานพลาด คนส่วนมากจะเห็น
#Span ที่สองแล้วนะครับ สู้ๆ ✌️✌️ - แถวช่วงสีคิ้ว ไไปกุดจิก
https://www.facebook.com/jeklamnarai/posts/3692056717496980
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 399, 400, 401 ... 542, 543, 544  Next
Page 400 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©