RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311985
ทั่วไป:13607280
ทั้งหมด:13919265
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ชี้แจงเรื่องเสียงตอนปิดประตูรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ชี้แจงเรื่องเสียงตอนปิดประตูรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
bigbigtee
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 01/02/2010
Posts: 200

PostPosted: 30/08/2010 10:01 am    Post subject: ชี้แจงเรื่องเสียงตอนปิดประตูรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ Reply with quote

พอดีผมเข้าเว็บ Pantip จึงคัดลอกมาลงใว้ในเว็บครับ

จาก : http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X9628000/X9628000.html

จากที่เป็นประเด็นกล่าวขวัญกันมากเกี่ยวกับประตูรถไฟฟ้าสายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ Suvarnabhumi Airport Rail Link

วันนี้จะขอมาอธิบายถึงต้นตอของเสียงที่เกิดขึ้นนะครับ

เสียง"ปั้ง" ที่ดังระหว่างประตูปิด เกิดจากกลไกของประตู เวลาที่ประตูถูกดึงกลับเข้ามาในตัวรถ หากท่านลองสังเกตดีๆ บริเวณด้านล่างของประตู จะมีอุปกรณ์ทำหน้าที่เปรียบเสมือนสปริง คอยดึงประตูกลับ พอประตูปิดมาถึงตำแหน่ง อุปกรณ์ตัวนี้จะทำการดึงประตูให้หุบเข้ามาในตัวรถ จึงทำให้เกิดเสียงดัง และเสียงแบบนี้เป็นปกติของระบบประตูแบบ Plug-In Door ครับ

ประตูแบบ Plug-In Door

ประตูแบบนี้จะใช้บนเครื่องบิน และห้องที่ต้องการควบคุมความดัน หรืออุณหภูมิ
แต่สำหรับรถไฟก็มีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย อาทิเช่น

MTR A-Stock EMU จาก ADTranz/CAF
MTR K-Stock EMU จาก Hyundai Rotem/ Mitsubishi Heavy Industries
Desiro Series จาก Siemens AG

ทั้งนี้ ในรถไฟไม่ได้มีจุดประสงค์ไว้เพื่อควบคุมความดันหรืออุณหภูมิแต่อย่างไร และไม่สามารถควบคุมความดันหรืออุณหภูมิได้

และ เสียงที่เกิดขึ้นจากการปิดประตู เกิดการกลไกการทำงานของระบบประตู โดยเฉพาะช่วงที่ประตูหุบเข้ามาในขบวนรถ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตระบบประตูให้กับรถขบวนนั้นๆ สามารถออกแบบกลไกให้ทำงานเงียบได้ (ของ SARL นั้นคือ บริษัท BODE A.G. จากประเทศเยอรมนี)

ประตูรถไฟแบบ Plug In Door มีทั้งแบบเสียงดัง และแบบเงียบครับ ขึ้นอยู่ว่าจะทำแบบไหน (ลองชมตัวอย่างได้จากในคลิปด้านล่าง)

ส่วนใหญ่รถไฟความเร็วสูง หรือรถไฟที่ต้องการทำความเร็ว จะใช้ระบบประตูแบบนี้กันมาก เนื่องจากมีผลในเรื่องของกระแสลมวนบริเวณของประตู

Outside Sliding Door แบบ BTS/MRT หรือ Pocket Sliding Door
จะมีส่วนของประตูที่ยื่นออกมาจากตัวถังรถด้านข้าง อาจจะทำให้เกิดกระแสนลมวน เวลารถวิ่งด้วยความเร็วสูง และอาจทำให้เกิดความเสียหายได้

Plug-In Door แบบ Desiro
เวลาประตูปิด ประตูจะเรียบสนิทกับตัวถังรถ ทำให้ไม่เกิดกระแสลมวนบริเวณประตูเวลารถวิ่งด้วยความเร็วสูงครับ

ส่วน เรื่องที่ประตูเด้งออกเองเมื่อชนวัตถุเพราะมี Sensor ทำงาน อันนี้ขอแจ้งว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างไร เพียงแต่หากมีวัตถุมาขัดขวางการปิดประตู ประตูจะหยุดการทำงานชั่วขณะเท่านั้นครับ ไม่มีการเลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งที่เปิดออก

ซึ่งผมได้สอบถามไปยัง บริษัท Siemens มาแล้ว พบว่า Sensor ที่ติดตั้งไว้นั้นไม่ได้เป็น Sensor ตรวจจับวัตถุ แต่เป็น Sensor ตรวจจับการยับยั้งการปิดประตู ซึ่งอยู่ที่ชุด Control ด้านบน และไม่สามารถมองเห็นได้จากด้านนอก

หลักการทำงานของ มันก็คือ เมื่อประตูกำลังปิดหากมีวัตถุหรือส่วนใดของร่างกาย มาผลักหรือขัดขวางการปิดประตู (ตรวจจับจากแรงกระแทกที่ระยะ 1 ซม. คือหากเป็น ผดส.ต้องโดนประตูกระแทกก่อน ประตูถึงจะหยุด) จะทำให้ประตูหยุดที่ตำแหน่งที่โดนกระแทก และประตูจะพยายามปิดอีกครั้ง แต่หากประตูพยายามปิดถึง 3 ครั้ง และวัตถุดังกล่าวยังคงขัดขวางอยู่ จะทำให้ประตูหยุดการทำงาน และจะปิดได้อีกครั้งโดยกดปุ่มปิดประตูใน Driver Cab

สุดท้ายนี้หากผู้โดยสารทุกคนปฏิบัติตามกฏ
คือ ไม่ยืนกีดขวางบริเวณประตู รวมไปถึงไม่พิงประตูรถ / Move inside the train away from door area and do not lean on door. ถ้าคุณทำตามกฏได้ ก็คงไม่มีอะไรให้ต้องกังวลครับ

Plug In Door on MTR A-Stock EMU จาก ADTranz/CAF (Now, Bombardier Transportation)



Last edited by bigbigtee on 30/08/2010 10:11 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
bigbigtee
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 01/02/2010
Posts: 200

PostPosted: 30/08/2010 10:04 am    Post subject: Reply with quote

Plug In Door on MTR A-Stock EMU จาก ADTranz/CAF (Now, Bombardier Transportation)




Plug In Door on MTR K-Stock EMU จาก Hyundai Rotem/ Mitsubishi Heavy Industries




Plug In Door on MTR K-Stock EMU จาก Hyundai Rotem/ Mitsubishi Heavy Industries

Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
bigbigtee
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 01/02/2010
Posts: 200

PostPosted: 30/08/2010 10:09 am    Post subject: Reply with quote

Plug In Door on Suvarnabhumi Airport Rail Link City Line (Desiro Class 360/2) จาก Siemens AG




Plug In Door on Suvarnabhumi Airport Rail Link City Line (Desiro Class 360/2) จาก Siemens AG




ส่วนอันนี้เป็นของที่อังกฤษ FTPE Class 185

Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47045
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/08/2010 11:58 am    Post subject: Re: ชี้แจงเรื่องเสียงตอนปิดประตูรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ Reply with quote

bigbigtee wrote:

ประตูแบบ Plug-In Door

ประตูแบบนี้จะใช้บนเครื่องบิน และห้องที่ต้องการควบคุมความดัน หรืออุณหภูมิ
แต่สำหรับรถไฟก็มีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย อาทิเช่น

ดูรายการมิติโลกหลังเที่ยงคืน ทางทีวีไทยคืนวันเสาร์ที่ 28 ส.ค. 53 ที่ผ่านมา
แรงดันอากาศในเครื่องบินดันลำตัวเครื่องบินแตกกลางอากาศได้ด้วย น่ากลัวมากครับ

ถ้าไปขึ้นรถไฟใต้ดินที่สิงคโปร์ ประตูปิดไม่ดัง แต่รถจะออกตัวด้วยความเร่งสูงมาก
มือใหม่ขึ้นไป เซล้มกันทั้งนั้น และมีลมพัดเข้ามาในขบวนรถด้วยครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 30/08/2010 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาแชร์ให้ทราบนะครับ จริงๆ เรื่องของ ARL (ตัวย่อทางการของ Airport Rail Link คือ ARL นะครับ ไม่ใช่ APL) ยังมีอะไรที่ใหม่สำหรับเรา และมีเรื่องที่เรายังไม่ทราบอีกเยอะครับ แต่ก็ค่อยๆ ใช้เวลาศึกษาและทำความเข้าใจกันไปเรื่อยๆ

เรื่องของประตูที่มีเสียงดัง ก็ชัดเจนแล้วนะครับว่าเพราะอะไร ทำไมถึงต้องออกแบบประตู ARL ให้เป็น Plugin Door ทำไมไม่ใช้แบบ BTS/MRT

Quote:
Outside Sliding Door แบบ BTS/MRT หรือ Pocket Sliding Door
จะมีส่วนของประตู ที่ยื่นออกมาจากตัวถังรถด้านข้าง อาจจะทำให้เกิดกระแสนลมวน เวลารถวิ่งด้วยความเร็วสูง และอาจทำให้เกิดความเสียหายได้


Quote:
Plug-In Door แบบ Desiro
เวลาประตูปิด ประตูจะเรียบสนิทกับตัวถังรถ ทำให้ไม่เกิดกระแสลมวนบริเวณประตูเวลารถวิ่งด้วยความเร็วสูงครับ


อย่าง "ระบบสายส่งกระแสไฟฟ้าด้านบน" (Overhead Catenary System - OCS) ตอนแรกๆ ก็มีคนด่า ว่าทำไมใช้ของโบราณ ทำไมไม่ใช้แบบ 3rd Rail แบบ MRT และ BTS แถมยังจะให้ คตส. ตั้งคณะกรรมการสอบอีก ว่า ทำไม รฟท. ไปซื้อเทคโนโลยีโบราณมาใช้ แต่หารู้ไม่ว่า ระบบส่งไฟฟ้าแบบนี้ รถไฟความเร็วสูงในต่างประเทศ ที่เป็นระดับโลกอย่าง TGV, Shinkansen เค้าก็ใช้กันทั้งนั้น ซึ่งทั้ง 2 ระบบ มันก็มีข้อดี/ข้อด้อย/ข้อจำกัดแตกต่างกันไป ซึ่งก็ต้องเลือกมาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานจริง

ขออนุญาตพ่วงรายละเอียด ข้อดี/ข้อเสีย ของระบบไฟฟ้าทั้ง 2 แบบ ไว้ในนี้เลยก็แล้วกันครับ เดี๋ยวจะหาว่าผมมานั่งเทียนเขียนอะไรลอยๆ ไม่มีหลักการหรือข้อมูลวิชาการมายืนยัน ซึ่งในที่นี้ อาจารย์นคร จันทศร รองผู้ว่าการรถไฟฯ ได้กรุณาอธิบายไว้ให้ทราบแล้วดังนี้

อาจารย์นคร wrote:
1. การเดินรถไฟฟ้าโดยระบบการป้อนกระแสไฟฟ้าจากรางที่สาม (Third Rail Feeding System) เป็นรถไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นใช้งานในระยะแรกและยังใช้ได้ดีในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับระบบการเดินรถที่ใช้กระแสไฟฟ้าตรง แรงดันไม่เกิน 750 โวลท์ และมักใช้กับระบบรถไฟขนส่งในเมือง หรือระบบ Mass Transit ทั้งใต้ดินและยกระดับ เนื่องจากการลงทุนติดตั้งระบบป้อนกระแสไฟฟ้าประหยัด กว่าและเหมาะกับการเดินรถหนาแน่นในช่วงสั้น ๆ ที่มีสถานีห่างกัน 1-2 กิโลเมตร

2. การเดินรถไฟฟ้าโดยระบบการป้อนกระแสไฟฟ้าสายส่งเหนือหัว (Overhead Wire Feeding System) ความจริงระบบนี้มีการใช้งานมานานแล้วคือใช้ในรถราง (Tram) แต่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าตามบ้านทั่วไปและมีความเร็วต่ำ รถไฟฟ้าที่ป้อนกระแสไฟฟ้าด้วยระบบสายส่งเหนือหัวในปัจจุบันใช้กับแรงดันไฟฟ้าสูงกว่า ได้แก่ไฟฟ้ากระแสตรงแรงดัน 1,500 โวลท์ (รถไฟ Airport Link ในฮ่องกง) หรือกระแสตรงแรงดัน 3,000 โวลท์ ส่วนระบบที่นิยมใช้กันเป็นมาตรฐานในปัจจุบันสำหรับรถไฟความเร็วปกติและรถไฟความเร็วสูงคือ ระบบกระแสสลับแรงดัน 25,000 โวลท์ ซึ่งเหมาะกับระบบการเดินรถวิ่งระหว่างเมืองที่สถานีมีความห่างกันเฉลี่ย 3-5 กิโลเมตร ขึ้นไป รวมทั้งรถไฟความเร็วสูงซึ่งสถานีอาจอยู่ห่างกันถึง 50 กิโลเมตร ขึ้นไป การป้อนไฟฟ้าด้วยระบบความดันกระแสสลับสูงจะมีประสิทธิภาพดีกว่า และประหยัดกว่าการป้อนระบบไฟฟ้ากระแสตรง

การใช้แรงดันไฟฟ้าสูงยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ และปัจจุบันระบบขับเคลื่อนมอเตอร์ด้วยกระแสสลับให้กำลังและประสิทธิภาพสูงเป็นระบบที่ใช้กับระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงและด้วยเทคโนโลยีของระบบควบคุมมอเตอร์กระแสสลับที่ล้ำยุค ทำให้การควบคุมขบวนรถมีความราบเรียบ อัตราการเร่งสูงทุกกรณี ทั้งในภาวะทางลาดชัน ทางโค้ง มีกำลังสูงกว่าระบบอื่น ๆ เมื่อเทียบกับขนาดและน้ำหนักที่เท่ากัน จึงเป็นระบบที่ทุกการรถไฟในโลกใช้เป็นระบบมาตรฐานติดตั้งสำหรับ การเดินรถโดยสารและสินค้าทางไกล ตลอดจนรถไฟความเร็วสูง


Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©