RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264117
ทั้งหมด:13575400
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข.875 ถูกรถรางขนหินเฉี่ยวชนที่ชลบุรี ไร้เจ็บ-ตาย (17/09/53)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข.875 ถูกรถรางขนหินเฉี่ยวชนที่ชลบุรี ไร้เจ็บ-ตาย (17/09/53)
Goto page Previous  1, 2, 3
 
This topic is locked: you cannot edit posts or make replies.    Rotfaithai.Com Forum Index -> อุบัติเหตุเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
KaittipsBOT
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 4150

PostPosted: 20/09/2010 4:59 pm    Post subject: Reply with quote

Razz ขอบคุณสำหรับคำตอบในฐานะ พขร. นะครับ.......

Razz อาจารย์ครับ...แล้วถ้าในฐานะ วิศวกร ละครับ

1. ถ้าการเคลื่อนที่ของวัตถุ 2 ชิ้น เคลื่อนที่เข้าหากัน สมมุติว่ามวลใกล้เคียงกัน วิ่งเข้าชนกัน กับ

2. วัตถุมีน้ำหนักมากกว่าอยู่กับที่ (หรือเคลื่อนที่น้อยมาก) และอีกชิ้นที่มวลใกล้เคียงกันวิ่งเข้าชนเต็มอัตรา ทั้ง 2 กรณีไม่มีเรื่องของความลาดชันเข้ามาเกี่ยว

3. ทั้ง 2 กรณีนั้น ถ้าการชนนั้น เป็นลักษณะการเข้าไปเบียดตามแนวของรางละครับ

อันไหนจะก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่ากันครับ......ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นทางเลือกในการพิจารณา เพื่อเป็นฐานความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป.....ขอบคุณล่วงหน้านะครับ...สำหรับคำตอบ

Cummin wrote:
ลักษณะนี้ในมุมมองของผมเป็นเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายครับ


ตามหลักแล้วสิ่งที่เหนือความคาดหมายในทางวิศวกรรม วิศวกรจะถูกสร้างขึ้นมาให้ควบคุมมันไม่ใช่หรือครับ......หรือกรณีดังกล่าวเป็นมุมมองในฐานะ พขร. เท่านั้นครับ

ปล.กรณีของ 211 กับ 36 อันนั้น เป็นการชนของวัตถุเคลื่อนที่ทั้ง 2 ชิ้นเช่นกัน แต่ทิศทางของวัตถุ อาจจะไม่เหมือนกับกรณีที่สมมุตินะครับ....
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 21/09/2010 9:11 am    Post subject: Reply with quote

KaittipsBOT wrote:
Razz ขอบคุณสำหรับคำตอบในฐานะ พขร. นะครับ.......

Razz อาจารย์ครับ...แล้วถ้าในฐานะ วิศวกร ละครับ

1. ถ้าการเคลื่อนที่ของวัตถุ 2 ชิ้น เคลื่อนที่เข้าหากัน สมมุติว่ามวลใกล้เคียงกัน วิ่งเข้าชนกัน กับ

2. วัตถุมีน้ำหนักมากกว่าอยู่กับที่ (หรือเคลื่อนที่น้อยมาก) และอีกชิ้นที่มวลใกล้เคียงกันวิ่งเข้าชนเต็มอัตรา ทั้ง 2 กรณีไม่มีเรื่องของความลาดชันเข้ามาเกี่ยว

3. ทั้ง 2 กรณีนั้น ถ้าการชนนั้น เป็นลักษณะการเข้าไปเบียดตามแนวของรางละครับ

อันไหนจะก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่ากันครับ......ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นทางเลือกในการพิจารณา เพื่อเป็นฐานความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป.....ขอบคุณล่วงหน้านะครับ...สำหรับคำตอบ


สำหรับคำถามทั้งสามข้อผมขอไม่ตอบ แต่ในฐานะของครูสอนวิศวกรจะขอตอบว่าถ้าถามแบบคนที่ไม่รู้ผมจะตอบครับ แต่ถ้าผู้ถามนั้นเคยผ่านวิชาการเหล่านี้มาแล้ว หรือพูดง่าย ๆ ว่าเคยเดินตามกันมาบนเส้นทางเดียวกันนี่ถือว่าเป็นการลองภูมิ ท่านก็เป็นศิษย์สำนักเดียวกับผม และผมก็จะย้อนถามท่านว่าคำถามที่ท่านยกขึ้นมาถามนั้นก็คงไม่ต้องถึงครูสอนวิศวกรตอบหรอกครับ เพราะมันเป็นพื้นฐานของวิชาฟิสิกซ์ในระดับ ปวช. แล้วก็วิชากลศาสตร์วิศวกรรมในระดับ ปวส. คนที่สอนผมมากับคนที่สอนท่านมาก็คนเดียวกันไม่ใช่หรือครับ ก็ไม่ใช่ใคร อ.ชูชาติ กรุดทอง หรือ ปัจจุบันก็คือ ผศ.ชูชาติ กรุดทอง นั่นเอง แล้วตัวท่านเองก็จบวิศวจากบางมดมาไม่ใช่หรือ แต่ก็น่าจะลอง ๆ ให้ว่าที่วิศวกรในนี้ลองตอบดูเห็นมีหลายคน แต่ตอบให้สักข้อก็ได้

ข้อ 1 ก็ดูรถยนต์สองคันวิ่งชนแบบประสานงาน่ะเอาที่ขนาดเท่า ๆ กันเป็นยังไงล่ะมันก็เละเท่า ๆ นั่นแหละไม่ต้องคิดอะไรมาก

Cummin wrote:
ลักษณะนี้ในมุมมองของผมเป็นเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายครับ


KaittipsBOT wrote:
ตามหลักแล้วสิ่งที่เหนือความคาดหมายในทางวิศวกรรม วิศวกรจะถูกสร้างขึ้นมาให้ควบคุมมันไม่ใช่หรือครับ......หรือกรณีดังกล่าวเป็นมุมมองในฐานะ พขร. เท่านั้นครับ

ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วไม่ใช่หรือครับว่า "เหนือความคาดหมาย" ตัวท่านเองก็จบวิศวะมาก็ลอง ๆ ดูซิว่าจะควบคุมมันได้มั้ยอย่างกรณียานชาเลนเจอร์ระเบิดเมื่อปี 1986 นั่นน่ะเกิดจากอะไรวิศวกรทั้งนาซา คาดมั้ยว่าจะเกิดเหตุการณ์นั้น หรือไม่กรณีของยานโคลัมเบียเมื่อสักสองปีที่ผ่านมานั่นก็คล้าย ๆ กันตอนขึ้นไปก็เกิดมีเศษวัสดุตกใส่โคนปีกจนกระทั่งแผ่นกันความร้อนหลุด ตอนขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ตอนลงมาเป็นเรื่องความร้อนจากการเสียดสีกับบรรยากาศเล็ดลอดเข้าไปทำลายโครงสร้างของปีกได้จนทำให้เกิดหายนะในที่สุด ถามครับว่าวิศวกรสามรถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้หรือไม่ เอาแค่เครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้งานอยู่ในสำนักงานก็พอ ถ่าย ๆ อยู่ดี ๆ กระดาษติดบ้าง ยับบ้าง ถ่ายไม่ติดบ้าง แล้วควบคุมเหตุการณ์เหล่านี้ได้มั้ย ก็เหมือนที่เค้าขับรถไฟมาดี ๆ แล้วอยู่ ๆ โดนสิบล้อเฉี่ยวตกรางอย่างที่วัดคูบัวน่ะถ้าท่านเป็นคนขับคาดการณ์ได้มั้ยล่ะว่ามันจะแซงคิวเค้าขึ้นมา แล้วควบคุม หรือแก้ไขสถานการณ์ได้มั้ยล่ะครับ

ปล.กรณีของ 211 กับ 36 อันนั้น เป็นการชนของวัตถุเคลื่อนที่ทั้ง 2 ชิ้นเช่นกัน แต่ทิศทางของวัตถุ อาจจะไม่เหมือนกับกรณีที่สมมุตินะครับ....
ใช่ไม่เหมือนกันแต่เป็นเงื่อนไขเดียวกันครับคือระยะของการเคลื่อนที่ที่สัมพันธ์กับระยะทาง นั่นก็คือการตัดสินใจที่ลงห้ามล้อ หรือตัดสินใจท่ีจะวิ่งหนีไงครับ ก็ลองกลับไปอ่านโชเฟอร์ล้อเหล็กตอนที่ 29 เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายดูน่ะครับ กรณีนั้นคือเห็นชัดเจนครับว่ามันแหกเครื่องกั้นออกมาก็ตัดสินใจลงห้ามล้อเราช้าลงก็ทำให้มันผ่านหน้าเราไปได้สัมพันธ์กันพอดีก็แค่นั้น
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
KaittipsBOT
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 4150

PostPosted: 21/09/2010 10:12 am    Post subject: Reply with quote

Razz ขอขอบคุณกับคำตอบนะครับ ส่วนตัวไม่ได้มีเจตนาคิดที่ลองภูมิท่านศิษย์พี่แต่อย่างใด..แต่ที่ถามก็เพื่อให้ท่านอธิบายโดยใช้หลักของทฤษฏีของวิศวกรรม ในฐานะที่เป็นกูรูด้านวิศวกรรมอยู่แล้ว การอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ทุกอย่างมันมีคำตอบในตัวของมันเองอยู่แล้ว แต่ถ้าตอบด้วยความรู้สึกแบบเอาความอคติเข้าไปผสมด้วยแล้ว คำตอบก็จะเบี่ยงเบนไป เจตนาที่ตั้งกระทู้ถามไปก็เพื่อให้เป็นฐานของความรู้ที่จะเกิดขึ้น และอานิสงค์ก็จะเกิดกับผู้อ่านทุกๆ คนในบ้านหลังนี้.....ที่ถามไปก็เพื่อให้ท่านอธิบายให้สมาชิกเราได้อ่านกัน ไม่ได้มีเจตนาอื่นใดแอบแฝง ส่วนตัวก็พอจะเข้าใจถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นในบางส่วนแล้ว....

ท้ายที่สุดนี้ ผมขอขอบคุณอาจารย์กิตติอีกครั้งนะครับ สำหรับคำตอบที่ท่านอาจารย์คิดว่าดีสุดแล้ว......ผมก็หมดข้อสงสัยแล้วนะครับ......
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
beer45
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/06/2007
Posts: 4249
Location: ประเทศสยาม

PostPosted: 21/09/2010 11:48 am    Post subject: Reply with quote

ฟังทั้งสองท่าน ช่วยกันขบคิดกับปัญหามาแล้ว หนักใจพอควรครับ Question Question อันดับแรกผมก็ขอบอกเลยว่าผมก็เคยชินกับเส้นทางสายนี้ ทั้งทางขึ้นทางลง แต่เหตุการณ์แบบนี้ขอบอกได้เลยว่าเวลาตัดสินใจแค่เสี้ยววินาที ไม่ต้องถามว่าใครถูกหรือผิดครับ อันดับแรกขอถอดหมวก พขร ออกก่อน มองในแบบธรรมดาและหลักการและเหตุผล Arrow Arrow สมมุติถ้า ทางขึ้นการใช้ห้ามล้อหยุดขบวนรถจะกระทำได้ดีกว่าทางราบ เวลาที่ใช้หยุดได้เร็วกว่าแน่นอน ขอหยุดไว้ตรงนี้ก่อน Exclamation Exclamation ถ้า ผมเป็น พขร แบบที่ อ.กิตติว่า ได้ยิน ว เขียว ทางสะดวกดีแล้ว เตรียมตัวเปิดคันเร่งส่งอยู่แล้วเพราะเป็นทางขึ้น ไม่ได้มีการประเมินไว้ว่ารถจะไหลทะลุออกมา แต่ทว่าเรามาลองหาเหตุผลประกอบหลายด้าน ถ้ารถไหลออกมาในขณะที่รถขบวนกำลังวิ่งอยู่ ความเสียหายเกิดมากว่าจริงไหมครับ แล้วถ้าเราหยุดแล้วให้รถไหลมาชนความเสียหายเกิดน้อยกว่าจริงไหมครับ Idea Idea ผมหนักใจแทนเพราะเวลาคิดมีนิดเดียวในขณะนั้น เปิดคอลโทรลหนีก็ไม่ผิด จอดก็ไม่ผิด คราวนี้พูดถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น Arrow Arrow ถ้าวัตถุ 1 อยู่กับที่แล้วมีการไหลมาชน กับ วัตถุเคลื่อนที่มาเบียดกัน อย่างไหนเกิดความเสียหายมากกว่ากัน ลองคิดแบบนอกกรอบดูบ้าง ถ้ามันช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ครับ Idea Idea แต่ เหตุที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น มันก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละคน แต่บางครั้งหลักการต่างๆ มันก็มีเหตุผลและคำตอบอยู่ในตัวเองครับ Idea Idea คิดไว้ล่วงหน้ามันก็ไม่เสียหายอะไรใช่ไหมครับ แต่แนวทางป้องกันเหตุอันตราย พี่อำนาจ ฉท.10 ก็ได้เสนอแนะเป็นแนวทางไว้แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/09/2010 12:05 pm    Post subject: Reply with quote

ขอขอบคุณสำหรับความรู้ทางด้านเทคนิควิศวกรรมครับ
นึกถึงสมัยเรียนการเคลื่อนที่ การชนของวัตถุแข็งเกร็ง ตอนเรียนฟิสิกส์
ได้นำมาประยุกต์ใช้ในงานอย่างนี้นี่เอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
anusorn
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/09/2006
Posts: 1642
Location: มณฑลอาคเนย์

PostPosted: 21/09/2010 12:21 pm    Post subject: Reply with quote

จากความเห็นก่อนๆ หน้า ขอแยกประเด็นครับ ระหว่างสัญชาตญาณการปฏิบัติหน้าที่ กับ คำอธิบายเชิงวิศวกรรมในเรื่องการชนครับ ทั้ง 2 ฝ่ายไม่ผิดที่ได้เลือกปฏิบัติครับตามความเห็นตนเอง แต่คำตอบมันต่างกัน เพราะฝ่ายปฏิบัติงานต่างก็พยายามจะให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุดเท่าที่ผู้ปฏิบัติงานเชื่อว่าสามารถควบคุมได้ในสถานการณ์ที่มี เวลา และข้อมูลที่ทราบจำกัด แต่อีกฝ่ายมีการวิเคราะห์ที่ถูกต้องในสถานการณ์ที่มีเวลา และข้อมูลไม่จำกัด

แต่ถ้านำทางเลือกหลายๆ ทางเลือกที่จะสามารถคิดได้ และมีการวิเคราะห์ที่ถูกต้องในสถานการณ์ที่มีเวลา และข้อมูลไม่จำกัด เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่มี เวลา และข้อมูลที่ทราบจำกัดได้ ก็จะลดความสูญเสียและอุบัติเหตุลงได้มากเลยทีเดียวครับ

ทีนี้ถ้าจะวิเคราะห์การชนซึ่งก็เป็นไปตามที่ อ.Cummims กล่าวไว้ว่าสามารถเรียน หรืออ่านได้ในระดับ ม.ปลาย ปวช. หรือ วิชากลศาสตร์วิศวกรรม ในชั้น ปวส. หรือ ป.ตรี ปี 1 แต่สำหรับผู้อ่านที่ไม่มีพื้นความรู้ทางด้านนี้ จะขออธิบายเรียบเรียงให้ง่ายขึ้นครับ

กฎของการชนของวัตถุ 2 สิ่งกล่าว ไว้หลักๆ ว่า

1. ชนแล้วหยุดนิ่ง มักเกิดจากวัตถุเล็กวิ่งชนวัตถุใหญ่ หรือมีวัตถุ 1 ชิ้น หยุดนิ่ง

2. ชนแล้ววิ่งออกจากกัน ชนแล้วกระเด็นไปคนละทิศทาง

3. ชนแล้ววิ่งติดไปด้วยกัน แสดงว่าวัตถุชิ้นที่ชนมีโมเมนตัมค่อนข้างสูง

4. ชนแล้วระเบิดแตกออกมากกว่า 2 ชิ้นขึ้นไป กรณีนี้นิยมนำมาออกแบบยานยนต์สมัยใหม่ครับ กระจายโมเมนตัมให้ระเบิดออกไปเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยทำให้ไม่อัดเข้ากับตัวถังรถ เรามักจะเห็นรถยนต์ เวลาชนแล้วมีชิ้นส่วนพังเสียหายมากเป็นชิ้นๆ ซึ่งผิดกับรถบางยี่ห้อที่ตัวถังหนาชิ้นใหญ่ที่ บุบ งอ เพียงเล็กน้อย

แต่ถามว่าเวลาเปลี่ยนก็เห็นยกชิ้นใหม่หมด ใครจ่ายแพงกว่ากันล่ะก็ไอ้ประเภท ชิ้นใหญ่ หนา นั่นแหละครับ

แต่การชนมีแบ่งตามลักษณะการเคลื่อนที่ด้วยคือ วิ่งเข้าหากัน วิ่งตามกัน ซึ่งถ้ากระทบเฉียงๆ ก็จะน้อยกว่าโดยตรง

สรุปว่ากรณีที่หนักหนาสาหัสสุดก็คือ ชนสวนทางกัน โดยต่างวัตถุมีความเร็ว เช่นขบวน 178 พุ่งเข้าชน 39/41 ในรางหลีกที่ผ่านมาไม่กี่ปีนี้

กรณีนี้เป็นการชนแบบทำมุมเอียง(เฉียง) แต่มีความเร็วทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งก็น้อยกว่ากรณีข้างต้นเพียงเล็กน้อย

การแก้ปัญหาของทั้ง แง่ปฏิบัติงาน และทางวิศวกรรม นั้นตั้งเงื่อนไขไว้คนละแบบ

แง่ปฏิบัติงาน ต้องการหลีกเลี่ยง ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุภายใต้สถานการณ์ เวลา และข้อมูลที่ทราบจำกัด

เชิงวิศวกรรม ต้องการหลีกเลี่ยง ให้การเสียหายน้อยที่สุดภายใต้สถานการณ์ เวลา และข้อมูลที่ไม่จำกัด

ถ้าหน่วยงานเกี่ยวข้องสามารถนำการหลีกเลี่ยง ให้การเสียหายน้อยที่สุดภายใต้สถานการณ์ เวลา และข้อมูลที่ไม่จำกัด ไปกำหนดให้เกิดการปฏิบัติงานไม่ให้เกิดอุบัติเหตุภายใต้สถานการณ์ เวลา และข้อมูลที่ทราบจำกัดได้

ก็จะยกระดับความน่าเชื่อขององค์กร ในสายตาของผู้เกี่ยวข้อง และผู้ใช้บริการได้มาก เช่นเดียวกับการจัดการด้านการบินครับ

ส่วนตัวผมเองเชื่อว่าการคิดทางเลือกแก้ปัญหาเผื่อไว้หลายๆ รูปแบบ เป็นแนวทางการแก้ปัญหาอุบัติเหตุต่อไปที่ดีที่สุด โดยใช้รถไฟจำลอง จำลองสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
KaittipsBOT
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 4150

PostPosted: 21/09/2010 3:02 pm    Post subject: Reply with quote

Razz ขอบคุณ อ.อนุสรณ์มากครับ.....นี้คือคำตอบที่คาดหวังเอาไว้ในทีแรกครับ ที่ผมเรียนถาม อ.Cummims ไปในรีพลายก่อนหน้า ผมต้องการคำตอบเพื่อให้เหล่าสมาชิกเราได้เข้าใจถึงข้อเท็จจริงสำหรับการแก้ไขสถานะการณ์เฉพาะหน้า โดยมีข้อมูลพื้นฐานที่ประกอบสำหรับการตัดสินใจของทางเลือก ที่ลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น ตรงนี้แหละที่มันจะเป็นอานิสงค์และฐานของความรู้สำหรับผู้พบเห็นอีกจำนวนมากที่ผ่านมาอ่านในเว็บของเรา และมันจะเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานของผู้เกี่ยวข้อง....

ส่วนตัวผมไม่เห็นตัวกับการตัดสินเลือกที่จะเพิ่มความเร็วของขบวนรถเพื่อเร่งให้พ้นปะแจตัวที่เกิดเหตุ และผมก็พยายามหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากบุคคลที่มีความรู้ ทั้งในส่วนของหน้างาน และผู้ทรงคุณวุฒิในทางด้านวิศวกรรมในส่วนของบ้านเรา เพื่อประกอบกับการพิจารณาว่าที่จริงแล้วทางเลือกที่เขาปฏิบัติมันได้ถูกประเมินในส่วนของโอกาส หรือความเสี่ยง ระหว่างเพิ่มความเร็วขบวนรถแล้วพ้น กับเพิ่มแล้วไม่พ้น ซึ่งจากข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาเมื่อนำมาวิเคราะห์ตามหลักฟิสิคส์แล้ว อย่างไรมันก็ไม่น่าพ้นมาแต่ทีแรก เพราะวัตถุ 2 ชิ้น มีอัตราเร่งที่แตกต่างกัน เนื่องจากอยู่บนทางลาดชันเดียวกัน แต่ทิศทางตรงข้ามกัน แถมตัวที่กำลังไต่ทางลาดชัน มีมวลมากกว่าที่ไหลลงเนินมา เพราะฉนั้นเวลาในแต่ละช่วงความเร็ว จะแตกต่างกันมาก เพราะฉนั้นความยาวส่วนที่เหลือ 1 ใน 4 ของขบวนที่ยังไม่พ้นปะแจ ซึ่งประมาณระยะคร่าวๆ ได้น่าจะมากกว่า 50 เมตรขึ้นไป (และถ้าพิจารณาจากภาพแล้วรถหินเริ่มเบียดขบวนราวๆ คันที่ 25 เป็นต้นไป และเกิดการเกี่ยวกันในลักษณะปะทะกับคอนเทรนเนอร์ในคันที่ 27 ,28 และทำให้คันถัดไปตกรางเพราะแรงปะทะ) ซึ่งยังเหลือรถอีกประมาณ 3-4 คันก่อนสิ้นสุดท้ายขบวน แต่ก็ไม่กล้าฟังธงลงไป เลยต้องมาถามจากผู้รู้ในบ้านเราเพื่อประกอบการพิจารณา....

และจากข้อมูลของ ท่านเบียร์45 ผู้มีประสบการณ์ในการขับรถจักร บอกเสริมไว้ว่าการหยุดรถในทางลาดชัน ขณะกำลังขึ้นทางลาดชัน ถ้าจะหยุดขบวนรถสามารถใช้เวลาในการหยุดน้อยกว่าเมื่อเทียบกับทางราบ ที่ความเร็วเท่าๆ กัน ....

จากประเด็นตรงนี้แหละเราก็จะนำเอามาประมวล แล้วหาแนวทางป้องกัน หรือลดความรุนแรงของอุบัติเหตุในอนาคตได้ และข้อมูลตรงนี้แหละครับที่จะนำไปถ่ายทอดให้กับ ผู้เกี่ยวข้องต่อไป เพราะอย่าลืมว่าเราก็เหมือนผู้โดยสารทั่วไปที่ใช้บริการรถไฟไทย ขบวน 875 ดีที่เป็นสินค้า ในทางกลับกันถ้าเป็นผู้โดยสารหละครับ กี่ร้อยที่ชีวิตที่อยู่ในขบวน และต้องฝากเรื่องความปลอดภัยไว้กับคนขับรถ และเราก็ไม่มีโอกาสทราบด้วยว่า เมื่อเกิดวิกฤต ทางเลือกที่คนขับได้ตัดสินใจเลือกไปนั้นมันถูกต้องหรือไม่ ถ้าเลือกแล้วพ้นมันก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเลือกแล้วไม่พ้น อะไรที่จะเกิดขึ้นตามมา คือความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สิน เราๆ คงไม่อยากให้เกิดความผิดพลาดแบบนั้นเกิดขึ้นเลย หรือเกิดน้อยที่สุด และที่สำคัญถ้ามันมาจากการเลือกของคนขับที่เข้าใจอะไรที่ผิดๆ ขาดข้อมูล ปัจจัยต่างๆ ที่นำมาประมวลผลแบบผิดๆ และส่งผลให้ทางเลือกนั้นผิด แล้วก่อให้เกิดความเสียหาย อย่างน้อยถ้าเรารู้เท่า รู้ทัน กับสิ่งที่เรียกว่า "เหนือความคาดหมาย" แต่สิ่งๆ นั้นมันเป็นวิทยาศาสตร์ ที่ทุกอย่างมันมีคำตอบ และบวกกับมนุษย์ที่เข้าใจมัน และควบคุมมันได้ อย่างน้อย การผ่อนหนักเป็นเบา และในฐานะผู้ปฏิบัติงานถ้าเราสามารถลดความเสียหายลงได้ มันก็เป็นผลดีต่องานของเราเอง และภาพลักษณ์ที่ดีสำหรับองค์กรต่อไป.....

(เรารับได้หรือไม่ละว่า ถ้าความสูญเสียของผู้โดยสารหรือสินค้า เป็นเพียงแค่ผลของการกระทำ หรือการเลือกทางแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ผิดๆ ขาดซึ่งความรู้และความเข้าใจหลักการที่ถูกต้องของมันจริงๆ)

ขอบคุณ อ.อนุสรณ์อีกครั้ง และหวังว่าข้อมูลเหล่านี้ ทางผู้เกี่ยวข้องจะได้นำไปประยุกต์เพิ่มเติมเป็นความรู้เพื่อถ่ายทอดให้กับผู้เกี่ยวข้องต่อไป และจะเป็นประโยชน์กับผู้พบเห็นต่อไปนะครับ.....ด้วยความปราถนาดี
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
OverSize
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 10/03/2009
Posts: 34

PostPosted: 26/09/2010 10:44 pm    Post subject: Reply with quote

อ่านแล้วชอบมากครับ
"แง่ปฏิบัติงาน ต้องการหลีกเลี่ยง ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุภายใต้สถานการณ์ เวลา และข้อมูลที่ทราบจำกัด "

"เชิงวิศวกรรม ต้องการหลีกเลี่ยง ให้การเสียหายน้อยที่สุดภายใต้สถานการณ์ เวลา และข้อมูลที่ไม่จำกัด"

ชัดเจนครับทั้งคำตอบและแนวทางปฏิบัติ

ปล.คำตอบของท่าน cummins ถูกใจที่สุดครับ

ปล2. Nobody perfect ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
This topic is locked: you cannot edit posts or make replies.    Rotfaithai.Com Forum Index -> อุบัติเหตุเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3
Page 3 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©