RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263286
ทั้งหมด:13574569
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 56, 57, 58 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2016 12:36 pm    Post subject: Reply with quote

บี้รฟม.เร่งใช้งบลงทุนปีหน้า ลดความถี่รถสีม่วงแก้ขาดทุน
เดลินิวส์
พุธที่ 9 พฤศจิกายน 2559 เวลา 19.40 น.

สมคิดสั่ง รฟม. เร่งเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาส 1 และ 2ในปีหน้า ให้เพิ่ม หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้นปี60 รฟม.จะนำแผนโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้นผ่านความเห็นชอบจากครม. ถือการลงทุนครั้งประวัติศาสตร์จ่อปรับลดความถี่เดินรถไฟฟ้าสีม่วงแก้ขาดทุน


  
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่9พ.ย. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการ ตรวจเยี่ยมและติดตามการลงทุนโครงการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) พร้อมด้วย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม และดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย รัฐวิสาหกิจ (สคร.)ว่า ในปีหน้าขอให้ รฟม. เร่งเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาส 1 และ 2 ให้มากขึ้น จากที่ผ่านมาขอชมว่าบิกจ่ายงบประมาณได้สูงสุดกว่ารัฐวิสาหกิจอื่นๆ โดยในไตรมาส 1 ปีหน้า รฟม.จะนำแผนโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้นผ่านความเห็นชอบจากครม. จะเห็นภาพรวมเส้นทางรถไฟฟ้าเชื่อมเมืองและระหว่างชัดขึ้น ซึ่งนับเป็นการลงทุนครั้งประวัติศาสตร์ เพราะในอดีตโครงการลงทุนรถไฟฟ้าในเมืองใหญ่ในภูมิภาคของไทยหายไป

นายสมคิด กล่าวต่อว่า ช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านการบริหารจัดการโครงการลงทุนคมนาคมอย่างมหาศาล แบบไม่เคยมีมาก่อนและยิ่งโครงการใหญ่ๆ ที่ขับเคลื่อนมาตลอดใกล้คลอดทีละโครงการ ซึ่งจะดีต่อเศรษฐกิจไทยแลในปีหน้าเศรษฐกิจโลกดีขึ้น ซึ่งนายประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เน้นการกระจายงบประมาณในลักษณะของกลุ่มจังหวัด ล่าสุดคณะกรรมการ รฟม. ได้รับซองยื่นคุณสมบัติและราคาจากเอกชนร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและชมพู แล้ว โดยกำชับ รฟม.ว่าให้รู้ผลผู้ชนะการประมูลทั้ง 2 สาย ก่อนกลางเดือนธ.ค.นี้ จากแผนเดิมที่จะรู้ผลเดือนม.ค.ปีหน้า หากทำได้จะการสร้างความมั่นใจระหว่างรัฐและเอกชนตามแนวนโยบายของการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี)

ด้านนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า ในปีงบประมาณ60 รฟม. มีแผนลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าวงเงินรวม 3.6 หมื่นล.บาท รวมทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าภูเก็ต ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังสรุปรายละเอียดการศึกษาเบื้องต้นเสนอ รฟม. นอกจากนี้ยังเตรียมศึกษารายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะอีก3แห่ง จ. เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา

ส่วนกรณีปัญหาขาดทุนเฉลี่ยวันละ 4 ล.บาทของการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน เชื่อว่าเมื่อมีจุดเชื่อมแล้วว่ายอดผู้โดยสารสายสีม่วงจะเพิ่ม โดยเฉพาะรถไฟฟ้าสายโดยสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเปิดจะให้บริการในปี 63 ซึ่งจากปัญหาขาดทุนดังกล่าว รฟ ม. อาจจะต้องทำเรื่องไปยังสำนักงบประมาณเพื่อขอชดเชยงบประมาณในปี61 เพิ่มเติม โดยในปี 60 รฟม.ได้จัดสรรงบประมาณไว้ใช้ในการจ่ายค่าติดตั้งอุปกรณ์การเดินรถ ค่าจ้างเดินรถ และชดเชยภาระขาดทุนจากการดำเนินงานรวม 2,000 ล.บาทรวมทั้งจะต้องมีการปรับแผนให้ปรับลดความถี่ในการให้บริการลงหากมีผู้ใช้บริการน้อย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2016 7:07 pm    Post subject: Reply with quote

สอบทุจริตรถไฟฟ้าสีม่วง ป.ป.ช.กังขารฟม.จ่ายเงินล่วงหน้า15%ให้ BEM
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
10 พฤศจิกายน 2559

รฟม.หนาว ป.ป.ช. ส่งหนังสือบี้ถามหาความโปร่งใสยกสัญญาสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงให้ BEM จี้แจงข้อมูลจ่ายหนี้เงินกู้แทนบริษัท พร้อมให้เบิกค่าจ้างล่วงหน้า15% “ยงสิทธิ์” อดีตผู้ว่าการ รฟม.ยันเรื่องปกติ

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) โดยนายสาโรจน์ พึงรำพรรณผู้อำนวยการสำนักไต่สวนการทุจริตภาครัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการ ป.ป.ช.ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐาน เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการป.ป.ช.ที่ได้รับเรื่องกล่าวหาพนักงาน รฟม. ว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ กรณีทำสัญญาให้สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ระยะที่ 1 ออกแบบและก่อสร้างจัดซื้อขบวนรถ และอุปกรณ์เดินรถระยะที่ 2 การให้บริการเดินรถไฟฟ้า) แก่บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือBEM เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2556 และจ่ายเงินล่วงหน้าโดยมิชอบ

ป.ป.ช.ระบุว่า สำนักงานป.ป.ช. มีความจำเป็นต้องทราบข้อเท็จจริงและขอเอกสารหลักฐาน ประกอบการพิจารณา ดังนี้1. ขอทราบว่ารฟม. ได้ทำสัญญาให้สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีม่วง แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดย รฟม. รับผิดชอบชำระหนี้เงินกู้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย กรณีการจัดหาขบวนรถ อุปกรณ์และระบบเดินรถ นั้นมีข้อเท็จจริงเป็นประการใด และรฟม. ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย หรือระเบียบ ข้อบังคับ หรือสัญญาใด
2.ขอทราบว่า ในการทำสัญญาให้สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีม่วงดังกล่าว รฟม.ได้ให้ บริษัท BEM เบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้า 15% ของค่าอุปกรณ์ระบบงาน หรือไม่ ข้อเท็จจริงเป็นประการใด

นอกจากนี้ ปปช. ยังตั้งคำถามว่ารฟม. ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือสัญญาใด 3.ขอทราบชื่อและตำแหน่งของบุคคลที่เกี่ยวข้องในการทำสัญญาดังกล่าว และ4.ขอเอกสารหลักฐานแสดงถึงความเป็นรัฐวิสาหกิจของ รฟม.

Advertisement
ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยขอให้รฟม.ชี้แจงข้อเท็จจริงและจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องซึ่งรับรองสำเนาถูกต้องทุกแผ่นให้สำนักงานป.ป.ช. ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ

ผู้ว่าการรฟม.เร่งรวบรวมข้อมูล

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากูล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ต่อกรณีนี้ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงไปยังคณะกรรมการป.ป.ช.ตามที่ได้สอบถามมาแต่ไม่สามารถที่จะเปิดเผยรายละเอียดต่อสื่อมวลชนในขณะนี้ได้

“รฟม.พร้อมให้ข้อมูลแก่ป.ป.ช.ตามที่แจ้งไว้ในหนังสือส่งมายังรฟม. โดยในหนังสือระบุว่าเกิดในวันที่ 4 กันยายน 2556 แต่จากที่อ่านรายละเอียดในหนังสือของป.ป.ช.แล้วจะพบว่าข้อทราบข้อมูลรายละเอียดและยังไม่ได้ชี้ว่าถูกหรือผิดแต่อย่างใด ดังนั้นป.ป.ช.จึงต้องรวบรวมหลักฐานต่างๆเพื่อนำไปพิจารณาว่าคดีนี้มีมูลหรือไม่ จึงต้องทำหนังสือมายังรฟม.ซึ่งรฟม.จะเร่งตอบกลับไปยังป.ป.ช.โดยเร็วต่อไป”

ซัดเหตุเกิดสมัยผู้ว่าฯยงสิทธิ์

นายรณชิต แย้มสะอาด อดีตรองผู้ว่ารฟม.กล่าวว่า ช่วงนั้นได้ทำหน้าที่คณะกรรมการมาตรา 13 ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยอยู่ในช่วงที่นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรฟม. แต่จำไม่ได้ว่าจะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้หรือไม่และขอตรวจสอบในรายละเอียดนี้อีกครั้งเนื่องจากผ่านพ้นมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ทั้งนี้เข้าใจว่าสัญญาทั้งหมดผ่านการพิจารณาของครม.แล้วพร้อมอนุมัติให้ลงนามว่าจ้างกับผู้รับจ้างต่อไป

”ยงสิทธ์”ยันทำถูกขั้นตอน

ด้านนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล อดีตผู้ว่าการรฟม. กล่าวว่าสัญญาต่างๆจะต้องผ่านการตรวจสอบของอัยการสูงสุด อีกทั้งยังต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการตามมาตรา 13 ซึ่งหากผ่านการพิจารณาก็จะต้องส่งเรื่องให้รฟม.เสนอคณะกรรมการรฟม.รับทราบเท่านั้นก่อนที่รฟม.จะต้องส่งเรื่องให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาต่อไป

“เข้าใจว่าป.ป.ช.ยังไม่ตัดสินว่าโดยมิชอบคืออะไร เนื่องจากจะต้องรวบรวมเอกสารข้อเท็จจริงๆต่างก่อนพิจารณาชี้ชัด ยอมรับว่าช่วงนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรฟม.และมีหน้าที่เซ็นหนังสือก่อนนำเสนอบอร์ดรฟม.และกระทรวงคมนาคม เสนอครม.ต่อไป ประการสำคัญยังมีเอกสารประกวดราคากำหนดไว้ชัดเจนอย่างไร และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 13 เรียบร้อยแล้วจึงจะสามารถเปิดประมูลได้ ดังนั้นจึงยืนยันว่าเป็นการดำเนินการที่ปฏิบัติตามขั้นตอนและผ่านการพิจารณาของหน่วยงานและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว ส่วนการจ่ายเงินล่วงหน้าเข้าใจว่าระบุเอาไว้ในเงื่อนไขทีโออาร์ด้วยและเป็นการปฏิบัติตามปกติดังเช่นที่ปฏิบัติในสัญญาการก่อสร้างทั่วไปอยู่แล้วของการเบิกจ่าย 15% เมื่อเซ็นสัญญาว่าจ้าง ขณะเดียวกับเอกชนคู่สัญญายังจะต้องวางเงินประกันหรือแบงค์การันตีเอาไว้ด้วยจึงถือว่ากรณีดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามปกติที่ได้ปฏิบัติกันทั่วไป” อดีตผู้ว่า รฟม. กล่าว

บริษัท BMCLหรือบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน)ต่อมาได้ควบรวมกับบริษัท BECL หรือบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) เป็นบริษัท BEM หรือบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ราคาซื้อ-ขายปิดตลาดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน อยู่ที่ 7.80 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2016 7:08 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟฟ้าสีม่วง ขาดทุนวันละ 1.29 แสนบาท
by วชิราภรณ์ นาสวน
Voice TV
9 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:58 น.

9 ข้อควรพิจารณาหลังรถไฟฟ้าสายสีม่วงขาดทุน
โพสต์ทูเดย์
10 พฤศจิกายน 2559 เวลา 12:10 น.

อ.วิศวะ จุฬาฯ แนะ 9 ข้อควรคิดต่อ หลังรถไฟฟ้าสีม่วงยังขาดทุนไม่หยุด
มติชน
วันที่: 10 พฤศจิกายน 2559 เวลา : 00:14 น.

กรณีสถานการณ์รถไฟฟ้าสายสีม่วงซึ่งเปิดให้บริการมามาพักใหญ่เกิดปัญหาการขาดทุน แม้จะมีมาตรการในการจูงใจให้คนใช้บริการ ผศ.ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และอดีตรองผู้อำนวยการ สถาบันการขนส่ง จุฬาฯ นำเสนอ บทเรียนสำคัญเรื่องการขาดทุนของรถไฟฟ้าสายสีม่วง และข้อควรพิจารณาคิดต่อเกี่ยวกับการวางแผนด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีรายละเอียดดังนี้

1. ผมไม่ปฏิเสธการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับสังคม ตรงกันข้าม การพัฒนาคุณภาพชีวิตคือเป้าหมายหลักของการพิจารณาดำเนินโครงการใดๆ หากการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ รัฐก็ควรเร่งดำเนินการ

2. แต่การเร่งดำเนินการ ต้องไม่ใช้เพียงปัจจัยเวลามาเป็นตัวพิจารณารัฐบาลต้องพิจารณาให้รอบด้าน ครอบคลุมแนวเส้นทาง ผังเมือง การพัฒนาเมือง วิถีชีวิต การลงทุน ผลตอบแทน รูปแบบธุรกิจ การให้บริการ การจัดหา การบริหารเทคโนโลยี ความเข้ากันได้กับระบบรวม การซ่อมบำรุง การจัดหาอะไหล่ การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาบุคคลากร (ทั้งเพื่อ operations & maintenance การผลิต และการวิจัยพัฒนา)

ซึ่งภารกิจในลักษณะนี้ ต้องผ่านการบูรณาการข้ามกระทรวง มิใช่เพียงภารกิจของกระทรวงคมนาคม และต้องเป็นแบบ top-down ไม่ใช่ bottom-up รอให้ใครเสนองานวิจัยบูรณาการอะไรให้รัฐ

3. ต้องเปลี่ยนชุดความคิดจากการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าแยกเป็นเส้นทาง เป็นการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนเรื่องนี้ฟังผ่านๆ ดูเหมือนง่าย ภาษาสวย แต่นี่เป็นอีกเรื่องที่อาจจะเข้าใจผิดกันเยอะมาก

4. จากข้อ 3. ในระยะสั้นการพัฒนาตามแนวเส้นทางอาจจะทำให้การตัดสินใจเลือกแนวเส้นทางเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการกำหนดชัยภูมิตั้งต้นระบบขนส่งมวลชน และอาจถือเป็นจุดตั้งต้นของ town center ในมิติของระบบโครงข่าย

แต่ในระยะยาว เมื่อโครงข่ายกระจายครอบคลุมไปทั่วเมือง แนวเส้นทางจะกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญลดลงๆ ในที่สุดความสำคัญจะอยูที่ “จุดต้นทาง” กับ “จุดปลายทาง” ว่าอยู่ตำแหน่งไหนในโครงข่าย

5. ระบบขนส่งมวลชนที่ดี ต้องสนับสนุนการทำกิจกรรม การดำรงชีวิตของผู้คนที่อาศัยหรือประกอบอาชีพอยู่ในบริเวณที่มีการพัฒนาระบบขนส่งฯ ต้องทำให้ผู้คนใช้ระบบขนส่งฯ ไปๆ มาๆ อยู่ตลอดทั้งวัน (ไม่ใช่เพียงเช้าไปรอบหนึ่ง เย็นกลับรอบหนึ่ง)

6. จากข้อ 5. การจัดลำดับการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งฯ ว่าท่อนไหน (ในโครงข่าย) ควรลงทุนก่อน ท่อนไหนควรลงทุนทีหลัง เพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาเมือง (การเติบโตของเมือง) เพื่อเอื้อให้เกิดการใช้ประโยชน์เต็มที่ ไม่กลายเป็นรถไฟฟ้าว่างๆ ที่มีคนขึ้นน้อย นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องถูกพิจารณาแบบเข้มข้นมากกว่าการเลือกลงทุนตามแนวเส้นทาง ด้วยเงื่อนไขอื่นๆ เช่น อย่างที่มีการพูดกันว่าบริเวณไหนเวนคืนพื้นที่ง่ายกว่าก็ทำไปก่อน ซึ่งอาจเป็นบริเวณที่การเติบโตของเมืองไม่สัมพันธ์กับการเติบโตของระบบขนส่งมวลชน เป็นต้น

7. กรณีสายสีม่วง มิใช่เป็นปัญหาของแนวเส้นทาง หากแต่เป็นปัญหาของการจัดลำดับการพัฒนา และมาผนวกกับการขาดแผนรองรับการใช้งานที่ดี สังเกตได้ว่าการตัดสินใจลดค่าโดยสารนำไปสู่สภาวะขาดทุนมากกว่าเดิม และกำลังคาดหวังกันว่าการเชื่อมต่อระบบบริเวณบางซื่อ-เตาปูน จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นความเข้าใจผิด (ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ดีขึ้น แต่จะไม่เพิ่มขึ้นแบบพรวดพราด หรือแก้ปัญหาหลักได้ทันที)

8. ถ้ารัฐบาล (ไม่ได้หมายถึงกระทรวงคมนาคมเพียงกระทรวงเดียวนะครับ) ยังพัฒนาระบบโครงข่ายแบบไม่มององค์รวม ระบบใหม่ๆ ที่จะถูกลงทุนเพิ่มเติมเข้าไปในโครงข่ายจะยิ่งสร้างปัญหาใหม่ๆ พอกพูนใส่เข้าไปในระบบแทนที่จะแก้ปัญหา ยิ่งทำยิ่งยุ่ง พันกันเหมือนลิงแก้แห

9. ณ เวลานี้ ทุกอย่างยังสามารถแตะเบรคเพื่อปรับแผนให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ แต่หากเร่งจะทำโครงการด้วยเหตุผลว่าเดี๋ยวจะล่าช้า ต้องเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ ผมเกรงว่านี่จะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่สำหรับคนในอนาคตครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2016 10:56 am    Post subject: Reply with quote

ถอดบทเรียนรถไฟฟ้าสีม่วง ทำไมคนเมินหันใช้รถล้นถนน
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
เดลินิวส์
อังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2559 เวลา 08.00 น.

รถใหม่เพิ่มขึ้นทุกวันเนื่องจากใช้รถส่วนตัวสะดวกสบาย ขณะที่รถไฟฟ้าสายใหม่ ผู้โดยสารกลับเมินใช้บริการ ผู้เกี่ยวข้องรีบถอดบทเรียนจาก “รถไฟฟ้าสายสีม่วง”ด่วน ก่อนที่รถไฟฟ้าอีกหลากสีจะทยอยเปิดให้บริการ

กรมการขนส่งทางบก เผยตัวเลขการจดทะเบียนรถใหม่ (ป้ายแดง) ทั่วประเทศช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคมที่ผ่านมา พุ่งกระฉูดถึง 2,456,686 คัน หรือเฉลี่ยเดือนละกว่า 240,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ช่วงเดียวกัน 100,949 คัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.28

เมื่อแบ่งประเภทรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ.2522 มี 2,392,630 คัน รถจักรยานยนต์จดทะเบียนมากที่สุด 1,620,901 คัน เพิ่มขึ้น 84,281 คัน หรือร้อยละ 5.48 รองลงมา คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) 490,124 คัน เพิ่มขึ้น 35,854 คัน หรือร้อยละ 7.89 และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถปิกอัพ) 212,281 คัน ลดลง 3,631 คัน หรือร้อยละ 1.68

รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 จดทะเบียนใหม่รวม 64,056 คัน ลดลง 8,512 คัน หรือร้อยละ 11.72 ได้แก่ รถบรรทุก 54,501 คัน ลดลง 4,195 คัน หรือร้อยละ 7.14 รถโดยสาร 9,554 คัน ลดลง 4,311 คัน หรือร้อยละ 31.09 ส่งผลให้จำนวนรถจดทะเบียนสะสมทั่วประเทศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม2559 ทะลุไปถึง 37,268,655 คัน โดยรถจักรยานยนต์ครองแชมป์ 20,289,721 คัน รถเก๋ง 8,146,250 คัน รถปิกอัพ 6,259,806 คัน รถบรรทุก 1,049,749 คัน และรถโดยสาร 156,089 คัน



...แม้จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากแสดงให้เห็นว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ข่าวร้ายที่แฝงมากับข่าวดีนั่นก็คือ...รถส่วนตัวทะลักเต็มท้องถนนเมืองไทย อันจะส่งผลต่อสภาพการจราจรทั้งในกรุงเทพฯ เมืองใหญ่ทั่วประเทศ รวมถึงเมืองที่มีแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิต ซึ่งผู้เกี่ยวข้องจะต้องหาทางรับมือกับวิกฤติจราจร ที่จะยิ่งทวีความรุนแรง

ขณะที่รถส่วนตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งรถจักรยานยนต์ รถเก๋ง และรถปิกอัพ หันมาดูระบบขนส่งมวลชนหลัก อย่าง “รถไฟฟ้า” กันบ้าง ตามแผนแม่บทจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้าหลากสีในกรุงเทพฯ และปริมณฑลรวม 10 สาย ระยะทางรวมประมาณ 464 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในปี 2565 นี้

จากปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 3 สาย คือ รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวส่วนแรก รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล หรือรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินส่วนแรก (หัวลำโพง- บางซื่อ) และรถไฟฟ้าสายสีม่วงจากบางใหญ่-เตาปูน รวมแล้วไม่ถึง 100 กิโลเมตร รถไฟฟ้าบีทีเอสกับรถไฟฟ้าใต้ดินที่เรียกกันติดปากว่า “รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที” คงไม่ต้องเจาะรายละเอียด เพราะเปิดมากว่า 10 ปีแล้ว

สำหรับรถไฟฟ้าสายใหม่ล่าสุด “สายสีม่วง” หรือ “รถไฟฟ้าฉลองรัชธรรม” ที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของเมกะโปรเจ็กท์นี้ เปิดให้บริการเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา ช่วยร่นการเดินทางระหว่าง “กรุงเทพฯ” กับ “จังหวัดนนทบุรี” ให้สั้นลง เป็นทางยกระดับตลอดสายยาว 22 กม. มี 16 สถานี งบประมาณก่อสร้าง 60,019 ล้านบาท รฟม.ว่าจ้างบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม เป็นผู้เดินรถ

แต่เมื่อการเชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูนของสายสีม่วงกับสถานีบางซื่อของสายสีน้ำเงิน ซึ่งห่างกันแค่ 1 กม. ยังมีปัญหาขาดช่วง เชื่อมกับไม่ได้ จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น รฟม. แก้ไขด้วยการให้ผู้โดยสารที่ต้องการเชื่อมต่อโครงการลงรถไฟฟ้าแล้วนั่งรถไฟธรรมดาจากสถานีบางซ่อนเข้าสถานีบางซื่อ หรือนั่งรถเมล์ชัตเติ้ลบัสของขสมก. ฟรี ไปต่อรถไฟฟ้าสถานีบางซื่อ จนกว่าการก่อสร้างเชื่อมต่อทั้ง 2 สถานีจะแล้วเสร็จประมาณกลางปีหน้า



ล่าสุดมีตัวเลขจาก รฟม. พบว่า หลังเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงวันที่ 6 - 16สิงหาคม 2559 โดยใช้อัตราค่าโดยสาร 14-42 บาท มีผู้โดยสาร  524,527 คนเที่ยว หรือเฉลี่ยวันละ 2 หมื่นกว่าคน มีรายได้รวม 15.81 ล้านบาท พลาดจากเป้าหมายที่ตั้งไว้กว่าแสนคนต่อวัน กระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้นโยบายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาเพื่อดึงดูดใจประชาชนผู้ใช้บริการ

นำมาสู่การประกาศปรับลดค่าโดยสารลง 50% เหลือ 14-29 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559ปรากฏว่าเดือนกันยายน รฟม. เก็บค่าโดยสารได้ 14.47 ล้านบาท ผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 20,990 คน เดือนตุลาคมเก็บค่าโดยสารได้ 14.82 ล้านบาท ผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 20,981 คน ขณะที่เดือนพฤศจิกายน ผู้โดยสารวันละ 20,942 คนต่อเที่ยว ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงสุดวันละประมาณ 2-3 พันคนเท่านั้น ทำให้ รฟม. ขาดทุนจากการปรับลดค่าโดยสารเฉลี่ยวันละ 129,000 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 3.9 ล้านบาท

...นี่ขนาดยังไม่นับรวมตัวเลขการขาดทุนของเดิมจากปริมาณผู้โดยสารที่น้อยกว่าเป้าหมาย ซึ่งขาดทุนวันละประมาณ 3 ล้านบาทอยู่แล้ว แม้ยอมหั่นราคาเหลือ 50% แต่ผู้โดยสารก็ยังโหรงเหรง จากปัญหาการเดินรถขาดช่วง 1 สถานีระหว่างสถานีเตาปูนกับสถานีบางซื่อไม่ต่อกัน ทำให้ประชาชนไม่สะดวกในการเดินทาง จึงใช้บริการน้อย ขณะเดียวกันเส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้ไม่ใช่ทำเลทอง อย่างรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ผ่านใจกลางเมือง ถูกจริตผู้โดยสารพากันใช้บริการหนาแน่นกว่า 6 แสนคนต่อวัน เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพการจราจรติดหนึบบนท้องถนน

รถใหม่เพิ่มขึ้นทุกวัน เนื่องจากความสะดวกสบายในการใช้รถส่วนตัว ขณะที่ “รถไฟฟ้าสายใหม่” ผู้โดยสารกลับเมินใช้บริการโหรงเหรง ผู้เกี่ยวข้องรีบถอดบทเรียนจาก “รถไฟฟ้าสายสีม่วง” ด่วน ก่อนที่ “รถไฟฟ้า” อีกหลากสีกำลังจะทยอยเปิดให้บริการ...!!

…....................................
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2016 7:49 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เล็งโยกค่าสัมปทานน้ำเงินโปะขาดทุนสีม่วง ปี 60 ตั้งงบกว่า 2 พันล้าน ยังไม่พอรายจ่าย
โดย MGR Online
14 พฤศจิกายน 2559 14:24 น. (แก้ไขล่าสุด 14 พฤศจิกายน 2559 18:45 น.)

“รฟม.” ดิ้นหาเงินชดเชยเดินรถสายม่วงเพิ่ม หลังผู้โดยสารใช้จริงตั้งแต่เปิดเดือน ส.ค. 59 ต่ำจากที่คาดการณ์ไว้มาก ส่งผลให้ขาดทุน “ผู้ว่าฯ รฟม.“ เผยปี 60 ตั้งงบค่าใช้จ่ายสีม่วงไว้ 2 พันล้าน หากไม่พอต้องโอนรายได้ค่าสีมปทานมาอุดขาดทุน ส่วนปี 61 ต้องประเมินใหม่ตามจริง

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สีม่วง) ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน เปิดช่วงแรกที่มีผู้โดยสารประมาณ 2 หมื่นคนต่อวัน แต่ขณะนี้อยู่ที่ประมาณเฉลี่ย 2.3 หมื่นคนต่อวัน หลังจากมีการปรับลดค่าโดยสารลง 50% จาก จาก 14-42 บาท เหลือ 14-29 บาท ซึ่งยังเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าเป้าหมาย และทำให้ รฟม.ขาดทุนจากประมาณการ โดยการเชื่อมต่อช่วง 1 สถานี จากเตาปูน-บางซื่อ และเปิดเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแคจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสารของสายสีม่วงอย่างเป็นสาระสำคัญ หรือประมาณปี 2563 ที่สายสีน้ำเงินต่อขยายจะเปิดเดินรถได้

ทั้งนี้ ในการเดินรถสายสีม่วงนั้น รฟม.มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เนื่องจากเป็นรูปแบบ PPP-Gross Cost คือ จ้างเอกชนจัดหาติดตั้งระบบระไฟฟ้า และเดินรถ ซึ่งได้ตั้งงบประมาณในปี 2560 ไว้กว่า 2,000 ล้านบาท โดยจะมีค่าใช้จ่าย 2 ส่วน คือ การชำระค่าอุปกรณ์และค่าติดตั้ง ค่าตัวรถ งานระบบที่บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้ลงทุนไปประมาณ 200 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 10 ปี และอีกส่วนเป็นค่าจ้างเดินรถ ประมาณ 1,800 ล้านบาท ยอมรับว่าจำนวนผู้โดยสารที่ต่ำกว่าประมาณการทำให้เกิดส่วนต่างของรายได้และรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปะเมินไว้เดิม

โดยก่อนหน้านี้ ประเมินว่ารัฐต้องชดเชยค่าใช้จ่ายของสายสีม่วง ประมาณ 11 ปี ตลอดสัญญาจ้าง แต่ขณะนี้ตัวเลขค่าชดเชยอาจจะมากกว่าที่ประมาณการไว้ เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารสีม่วงต่ำกว่าประมาณการ ซึ่งส่วนต่างจะเพิ่มขึ้นในปี 2560 อาจจะพิจารณาจากรายได้อื่นๆ เช่น ค่าสัมปทานมาช่วย ส่วนปี 2561 รฟม.ต้องพิจารณาเพื่อปรับเพิ่มการของบประมาณในการชดเชยรายได้สายสีม่วงอีกครั้ง

“กรณีการจ้างเดินรถจะจ่ายตามจำนวนเที่ยวและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งมีการกำหนดเที่ยววิ่ง คุณภาพในการให้บริการไว้ ส่วนกรณีที่มีผู้โดยสารน้อยเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งในปีแรก รฟม.อาจจะยังไม่รู้ฐานตัวเลขผู้โดยสารที่แท้จริง ดังนั้นในปีต่อๆ ไปจะมีการปรับตัวเลขตามจริงอีก หากงบปี 60 ที่ตั้งไว้สำหรับชดเชยรายได้ไม่เพียงพอ รฟม.จะต้องหารายได้จากส่วนอื่นๆ มาชดเชยไปก่อน เช่น รายได้จากค่าสัมปทานสายสีน้ำเงิน เป็นต้น” ผู้ว่าฯ รฟม.กล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า ตารางความถี่การเดินรถสายสีม่วงช่วงเวลาเร่งด่วน เช้า, เย็น อยู่ที่ 3 นาที/ขบวน ช่วงนอกเวลาเร่งด่วน 7 นาที/ขบวน ซึ่งในทางปฏิบัติการปรับลดความถี่ในกรณีที่มีผู้โดยสารน้อยจะไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพในการให้บริการระบบรางที่จะต้องมีความสม่ำเสมอ ดังนั้น แม้ว่าผู้โดยสารจะน้อยยังต้องคงตารางการเดินรถไว้ ขณะที่ในปีแรกที่เปิดเดินรถ รฟม.คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารไว้ที่ 7 หมื่นคน/วัน แต่เนื่องจากขาดช่วง 1 สถานี (เตาปูน-บางซื่อ) ทำให้ผู้โดยสารไม่สะดวกและเสียเวลาในการต่อ Shuttle Bus ส่งผลต่อการตัดสินใจมาใช้สายสีม่วง ดังนั้น รฟม.จะต้องเร่งเปิดเดินรถช่วงรอยต่อ 1 สถานีให้เร็วที่สุด รวมถึงหามาตรการจูงใจเพื่อเพิ่มจำนวนผู้โดยสารตามเป้าหมาย ซึ่งยอมรับว่าอาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2016 8:19 pm    Post subject: Reply with quote

“สามารถ” บ่นเสียดายเงินสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง เสี่ยงขาดทุนปีละ 1.2 พันล้าน
โดย MGR Online
15 พฤศจิกายน 2559 14:27 น. (แก้ไขล่าสุด 15 พฤศจิกายน 2559 15:53 น.)


อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เสียดายเงินก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง อ้างไม่เห็นคนเดินขึ้นลงสถานี ชี้ เสี่ยงขาดทุนปีละ 1,273 ล้านบาท แนะเร่งสำรวจความเห็นผู้ใช้ ก่อนแก้ปัญหาด่วน

วันนี้ (15 พ.ย.) นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า เป็นเวลา 3 เดือนเศษแล้ว ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ - เตาปูน ปรากฏว่า จำนวนผู้โดยสารไม่ได้เพิ่มขึ้นมาเลย ไม่เป็นไปตามที่ผู้เกี่ยวข้องคาดการณ์ไว้ว่า จำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นหลังจากประชาชนคุ้นเคยกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้ แต่ในความเป็นจริง ตนแทบไม่เห็นผู้โดยสารเดินขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงเลย ไม่ว่าช่วงเวลาใดก็ตาม ซึ่งถือว่าผิดปกติ น่าเสียดายเงินจำนวนมหาศาลที่ใช้ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้ยิ่งนัก ซึ่งในช่วงระหว่างวันที่ 6 - 31 ส.ค. ก่อนการลดค่าโดยสารเป็น 14 - 29 บาท รถไฟฟ้าสายนี้มีผู้โดยสารเฉลี่ย 20,164 คนต่อวัน และหลังจากลดค่าโดยสารลงแล้ว ปรากฏว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 1 ก.ย.- 13 พ.ย. มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 21,080 คนต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นเพียง 4.5% เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับค่าโดยสารเฉลี่ยที่ลดลงจาก 30.17 บาทต่อเที่ยว เป็น 22.77 บาทต่อเที่ยว หรือลดลงถึง 24.5%

นายสามารถ ระบุต่อไปว่า ตั้งแต่เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงมาจนถึงวันที่ 13 พ.ย. ทาง รฟม. มีรายได้จากค่าโดยสารเฉลี่ย 513,306 บาทต่อวัน ในขณะที่ รฟม. ต้องเสียค่าใช้จ่ายถึงวันละ 4 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย ค่าจ้างบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม ให้บริหารจัดการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา 3.6 ล้านบาทต่อวัน 2. ค่าจ้างองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ให้รับส่งผู้โดยสารระหว่างสถานีเตาปูน - บางซื่อ 0.2 ล้านบาทต่อวัน และ 3. ค่าจ้างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้รับส่งผู้โดยสารระหว่างสถานีบางซ่อน - บางซื่อ 0.2 ล้านบาทต่อวัน ดังนั้น รฟม. จึงขาดทุนเฉลี่ย 3,486,694 บาทต่อวัน หรือหากรวมจำนวนเงินขาดทุนตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค.- 13 พ.ย. จะขาดทุนถึง 349 ล้านบาท ถ้าจำนวนผู้โดยสารยังคงเป็นไปเช่นนี้ต่อไป ก็จะทำให้ รฟม. ขาดทุนถึงปีละ 1,273 ล้านบาท

“แม้ว่าเวลานี้ รฟม. จะพยายามเร่งเชื่อมต่อสถานีเตาปูน กับสถานีบางซื่อ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเชื่อมต่อกันได้ในราวๆ กลางปีหน้า หากสองสถานีสามารถเชื่อมต่อกันได้แล้ว แต่จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นไม่มาก รฟม. ก็ยังคงจะต้องแบกภาระการขาดทุนอันหนักอึ้งต่อไป เพราะในปีหน้าค่าจ้างบีอีเอ็มให้เดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาจะเพิ่มขึ้นจาก 3.6 ล้านบาทต่อวัน เป็น 5.1 ล้านบาทต่อวัน ด้วยเหตุนี้เพื่อหาทางแก้ปัญหาที่ประชาชนไม่นิยมใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วงให้ตรงจุด รฟม. ควรทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนสองข้างทางรถไฟฟ้าสายนี้ รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียง ว่า เหตุใดจึงไม่ใช้รถไฟฟ้าสายนี้ เมื่อได้คำตอบแล้ว รฟม. จะต้องเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน อย่าปล่อยให้รถไฟฟ้าสายสีม่วงร้างเลย เสียดายเงินลงทุนถึง 62,902.96 ล้านบาท รวมทั้งเงินขาดทุนอีกปีละประมาณ 1,273 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่มาจากภาษีของพวกเราทุกคน” นายสามารถ ระบุ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/11/2016 10:11 pm    Post subject: Reply with quote

บทความ “ผลประโยชน์ที่แท้จริงของระบบขนส่งสาธารณะ”
โดย ดร.ศิรดล ศิริธร

อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาระบบขนส่งทางราง มหาวิทยาลัยมหิดล



ความกังวลของหลายคนต่อการ “ขาดทุน” ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง สะท้อนให้เห็นมุมมองในด้านธุรกิจที่ชัดเจน จนน่าสงสัยว่าแท้จริงแล้วระบบขนส่งสาธารณะเป็นกิจการที่รัฐควรได้กำไรเป็นตัวเงินจากประชาชน ขณะที่ถนนที่ลงทุนสร้างและซ่อมมหาศาลกว่าในแต่ละปีเป็นสิ่งที่รัฐต้องสร้างให้ประชาชนใช้ฟรีหรือ

นอกจากเรื่องการเชื่อมต่อที่ขาดหายแล้ว ความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ประการหนึ่งคือการขาดการพัฒนาพื้นที่ที่สอดคล้องกันเป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปริมาณผู้โดยสารสายสีม่วงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่ควรจะถูกวัดเป็นตัวเงินแต่เป็นค่าสูญเสียโอกาสในการนำทรัพยากรไปดำเนินการขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น เช่น รถเมล์ด่วน รถตู้ หรือบริการสาธารณะรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถสร้างประโยชน์ได้มากกว่า หากมีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมอยู่จริง

ผลประโยชน์ของระบบขนส่งสาธารณะที่แท้จริงไม่ควรถูกวัดจากผลกำไรขาดทุน แต่ควรวัดจากผลประโยชน์ที่ตกอยู่กับสังคม

ปัจจุบันสายสีม่วงมีผู้โดยสารวันละสองหมื่นคน สมมติว่าเทียบเท่ารถที่ไม่ต้องวิ่งบนถนนหนึ่งหมื่นคัน ค่าน้ำมันวันละ 100 บาทต่อคัน เป็นผลประโยชน์ที่ประชาชนได้เดือนละสามสิบล้านบาท นอกจากนี้การจราจรที่ดีขึ้นทำให้คนอื่นๆ ที่ยังขับรถอยู่ตลอดแนวสายสีม่วงอีกหลายหมื่นคันประหยัดน้ำมันไปได้อีกไม่รู้กี่ล้าน เวลาเดินทางที่ลดลง อุบัติเหตุที่ลดลง มลพิษที่ลดลง การสูญเสียพื้นที่ลดลง ที่จอดรถที่ไม่ต้องสร้าง ธุรกิจใหม่ การจ้างงาน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นตลอดแนวเส้นทางสายสีม่วง เป็นผลประโยชน์อีกมากมายที่จะรอวันจะคืนกลับให้สังคม ผลประโยชน์แบบที่ถนนไม่สามารถให้ได้ เสียดายที่ไม่มีใครจดบันทึกตัวเงินที่มองไม่เห็นเหล่านี้

วันนี้โครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีม่วงก็เปิดดำเนินการไปแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะต้องนำไปถอดเป็นบทเรียนในโครงการต่อไป ขณะที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็กำลังหาทางออกอย่างเร่งด่วนตามหน้าที่ของทุกคน และเราก็สามารถช่วยเพิ่มความคุ้มค่าของรถไฟฟ้าได้ด้วยตัวเอง

วันนี้เราลองทิ้งรถยนต์ไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะกันบ้างรึยัง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2016 5:33 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.เคาะเปิดประมูลพัฒนาพื้นที่สถานีสีม่วง ไม่เลือกเจรจา BEM เกรงครหาเอื้อประโยชน์
โดย MGR Online
17 พฤศจิกายน 2559 09:48 น. (แก้ไขล่าสุด 17 พฤศจิกายน 2559 10:28 น.)


บอร์ด รฟม.เห็นชอบเปิดประมูลงานพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง (คลองบางไผ่-เตาปูน) เหตุมีความโปร่งใสกว่าเลือกวิธีเจรจา BEM แม้ว่าจะใช้เวลามากกว่า 6-8 เดือน สั่ง รฟม.เร่งประเมินมูลค่าโครงการ และดูขั้นตอนใน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 อย่างละเอียด พร้อมอนุมัติแผนวิสาหกิจปี 60-64 เร่งสร้างรถไฟฟ้าให้ครบโครงข่ายตามแผนเพื่อเพิ่มจำนวนผู้โดยสาร

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ที่มี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ได้เห็นชอบในหลักการให้ รฟม.เปิดประกวดราคางานพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง (คลองบางไผ่-เตาปูน) จำนวน 16 สถานี เห็นว่าการเปิดประกวดราคาจะมีความโปร่งใสมากกว่าวิธีเจรจากับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการเดินรถสายสีม่วง โดยให้ทบทวนเรื่องขั้นตอนการดำเนินงานที่รวดเร็วที่สุด โดยให้พิจารณาแนวทางและเสนอให้บอร์ดพิจารณาโดยเร็ว

กรณีที่บอร์ดไม่เห็นด้วยกับการใช้วิธีเจรจากับ BEM เป็นเรื่องความโปร่งใส และกังวลประเด็นข้อกฎหมาย ขณะที่ระยะเวลาระหว่างการประกวดราคาอาจจะมากกว่าการเจรจา 6-8 เดือน โดยให้พิจารณาแนวทางที่สามารถเร่งรัดขั้นตอนได้ ซึ่งจะมีการศึกษารายละเอียด เช่น มูลค่าโครงการจะเข้าข่ายโครงการร่วมลงทุนขนาดเล็ก ประมาณ 1,000 ล้านบาท ขนาดกลาง 5,000 ล้านบาท หรือขนาดใหญ่ เกิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งการประเมินมูลค่าจะอยู่ที่ทรัพย์สินหรือพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินโครงการมีมูลค่าเท่าใด โดยจะเป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งมีเกณฑ์ของ สคร.ในการพิจารณาขนาดโครงการจะมีผลต่อระยะเวลาในการดำเนินงาน เพราะหากขนาดเล็กไม่ถึง 5,000 ล้านบาทสามารถเสนอ รมว.คมนาคมอนุมัติได้ คาดว่าจะเสนอบอร์ด รฟม.ได้อีกครั้งประมาณต้นปี 2560

“เดิมมีแนวคิดจะเจรจากับ BEM เพราะมีความสะดวกในการพัฒนา ซึ่งเป็นพื้นที่เกี่ยวเนื่องกับที่ BEM ให้บริการเดินรถ ดังนั้นหากเป็นเอกชนรายอื่นจะเกิดความไม่สะดวกในการใช้พื้นที่ แต่บอร์ดเห็นว่าควรหลีกเลี่ยงประเด็นที่อาจถูกมองว่าเอื้อเอกชน”

นอกจากนี้ ที่ประชุมอนุมัติแผนวิสาหกิจปี 2560-2564 เป้าหมายในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ อย่างไร ซึ่งหลังจากนี้จะเสนอไปยัง สคร.ต่อไป โดยเป้าหมายจะต้องดำเนินโครงการรถไฟฟ้าให้ได้ตามแผน แผนงานเพิ่มจำนวนผู้โดยสาร การเพิ่มรายได้ และการทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าในบางสายจำนวนผู้โดยสารยังไม่เป็นไปตามแผน จะต้องหาแผน และแนวทาง ซึ่งประเด็นที่สำคัญคือ ความสมบูรณ์ของโครงข่ายรถไฟฟ้าแล้วเสร็จเมื่อใด จะมีส่วนทำให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น โดยตามแผนงานภายในปี 2564 จะสามารถเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) และเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) สีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ส่วนที่เหลือจะเริ่มเปิดช่วงปี 2565 เช่นสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) จะก่อสร้างประมาณ 5 ปี

นอกจากนี้ ในปี 2560 จะเป็นปีที่หลายโครงการได้เริ่มต้น เช่น สายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) สายสีน้ำเงินต่อขยาย (บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) ส่วนต่อขยายสีเขียว (คูคต-ลำลูกกา) และสีเขียว (สมุทรปราการ-บางปู) รวมไปถึงระบบขนส่งในภูมิภาค ที่จังหวัดภูเก็ตจะได้เริ่มทำการศึกษา ออกแบบรายละเอียด และปี 2561 จะสามารถขออนุมัติโครงการได้

“แผนรายได้ของ รฟม.มี 2 ส่วน คือ 1. รายได้จากค่าโดยสาร ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายที่เคยประมาณการไว้ เช่น สายสีน้ำเงิน ซึ่งได้จากส่วนแบ่งค่าโดยสารเฉลี่ยปีละ 1,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีผู้โดยสารเฉลี่ยเกือบ 3 แสนคน/วัน หากสามารถเปิดเดินรถส่วนต่อขยายในปลายปี 2563 หรือต้นปี 2563 จำนวนผู้โดยสารจะขึ้นมาอยู่ที่ 5-6 แสนคน/วัน ส่วนสายสีม่วงยังต่ำกว่าเป้าหมาย โดยมีหลายปัจจัย ทั้งเรื่องการเติบโตของประชากรในจังหวัดนนทบุรี อีกทั้งรูปแบบของสายสีม่วงเป็นฟีดเดอร์ แต่โครงข่ายยังไม่ครบถ้วนโดยเฉพาะสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และ 2. รายได้จากเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีประมาณ 150 ล้านบาทต่อปี คาดว่าจะเติบโตประมาณ 5% ต่อปี”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 20/11/2016 10:08 pm    Post subject: Reply with quote

คาดประชุม ครม. 22 พ.ย.อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้
โดย MGR Online
20 พฤศจิกายน 2559 14:08 น.

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า คาดว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 พ.ย. ทางคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน - ราชบูรณะ หลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้เสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการกลั่นกรองแล้ว หากเอกสารพร้อมและไม่ติดปัญหาคาดว่าจะบรรจุในวาระการประชุม ส่วนแผนยุทธศาสตร์ระยะเวลา 20 ปี ตามข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินจัดทำแผนงานนั้น กระทรวงอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดทั้งหมด ซึ่งน่าจะเสนอที่ประชุม ครม.ได้สัปดาห์ถัดไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 29/11/2016 1:33 pm    Post subject: Reply with quote

ประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์สายสีม่วง สุดท้ายไม่พ้นมือBEM
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,213 วันที่ 27 – 30 พฤศจิกายน 2559


แม้ว่าคราวประชุมบอร์ดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ที่มี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธานเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมามีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางต่อแนวคิดของนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม.ที่เสนอให้เจรจาตรงกับบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือ BEM ผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงในปัจจุบันให้เป็นผู้บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีและภายในตัวรถโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ แทนการเปิดประมูล โดยอ้างขั้นตอนการดำเนินงานที่รวดเร็วกว่า อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดคณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้มีการเปิดประมูล โดยอ้างเหตุมีความโปร่งใสกว่าเลือกวิธีเจรจาบีอีเอ็มตามที่ผู้ว่าการ รฟม.ตั้งแท่นเสนอ

หลังการประชุมบอร์ดรฟม.นายพีระยุทธ ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า การเปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นการทั่วไปด้วยรูปแบบรัฐเอกชนร่วมลงทุน หรือ พีพีพี ตามมติคณะกรรมการ รฟม. นั้น เกรงว่าหากเจรจากับบีอีเอ็มโดยตรง อาจจะทำให้มีปัญหาด้านกฎหมายและระยะเวลาระหว่างการเปิดประมูลกับการเจรจา ต่างกันเพียง 6 ถึง 8 เดือน ซึ่งน่าจะเร่งกระบวนการเปิดประมูล โดยให้พิจารณาแนวทางที่สามารถเร่งรัดขั้นตอนได้

ลุ้นระดับชั้นการร่วมลงทุน

จากนี้ไป รฟม. คงต้องศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่จะนำมาใช้ในโครงการมีมูลค่าเท่าใด เพื่อประเมินว่าจะเข้าข่ายร่วมลงทุนระดับไหน โดย ขนาดเล็กมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท ขนาดกลาง 5,000 ล้านบาท หรือขนาดใหญ่ เกิน 5,000 ล้านบาท ส่วนรูปแบบนั้นจะเป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ปี 2556 ซึ่งมีเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)ในการพิจารณาขนาดโครงการและระยะเวลาการดำเนินงาน เพราะหากขนาดเล็กไม่ถึง 5,000 ล้านบาทสามารถเสนอระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอนุมัติได้เลยโดยกรณีดังกล่าวคาดว่าจะเสนอบอร์ด รฟม.ได้อีกครั้งประมาณต้นปี 2560 นี้


ตามผลศึกษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้นได้กำหนดแผนรายได้ของ รฟม.ไว้ 2 ส่วน คือ
1. รายได้จากค่าโดยสาร และ
2. รายได้จากเชิงพาณิชย์ โดยที่ปรึกษาได้ประมาณการลงทุนในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ว่ามีมูลค่าประมาณ 520 ล้านบาท กำหนดระยะสัญญา 30 ปีคาดว่าจะเติบโตประมาณ 5% ต่อปีทั้งจากค่าจัดทำป้ายกล่องไฟบริเวณสถานี 81.20 ล้านบาท อัตราเช่า 2,000 บาท-5 หมื่นบาท/หน่วย/ป้าย/สถานี/เดือน ค่างานระบบโฆษณา 40 ล้านบาท ค่างานติดตั้งร้านค้าปลีก 11.44 ล้านบาท ค่างานระบบไฟฟ้าและปรับปรุงพื้นที่ 11.12 ล้านบาท ค่างานสื่อโฆษณาประเภทจอ LED 24.30 ล้านบาท อัตราเช่าประมาณ 8 หมื่นบาท ค่างานสื่อโฆษณาประเภทจอภายในรถโดยสาร347 ล้านบาท อัตราเช่าประมาณ 1 แสนบาทและค่างานโฆษณาในตัวรถไฟ 5.04 ล้านบาท อัตราเช่าประมาณ 1.2 แสนบาท

โดยในการศึกษาได้แบ่งสถานีรถไฟฟ้า 16 สถานี เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ

A : กลุ่มที่มีศักยภาพในการพัฒนาเชิงพาณิชย์สูง จำนวน 3 สถานี คือ สถานีตลาดบางใหญ่ สถานีแยกนนทบุรี 1 และสถานีเตาปูน อัตราเช่าประมาณ 1,200 บาท/ตร.ม./เดือน

B: ปานกลาง จำนวน3 สถานี คือ คลองบางไผ่ บางพลู และกระทรวงสาธารณสุข อัตราเช่าประมาณ 1,100 บาท/ตร.ม./เดือน และ

C: ต่ำ จำนวน 10 สถานีคือ สามแยกบางใหญ่ บางรักใหญ่ บางรักน้อยท่าอิฐ ไทรม้า สะพานพระนั่งเกล้า บางกระสอ ศูนย์ราชการนนทบุรี แยกติวานนท์ วงศ์สว่าง และบางซ่อน อัตราเช่า 1,000 บาท/ตร.ม./เดือน

ประเด็นที่น่าติดตามคือจำนวนผู้โดยสารและรายได้จากค่าโดยสารตามที่รฟม.ควบคุมดูแลยังต่ำกว่าเป้าหมายจากเป้าหมายคาดว่าจะมีผู้โดยสารกว่า 7.3 หมื่นคนต่อวัน แต่ตัวเลขจริงอยู่ที่กว่า 2 หมื่นคนต่อวันซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจของเจ้าสินค้าและบริการที่จะเช่าพื้นที่เพื่อจำหน่ายสินค้าหรือโฆษณาก็ตาม อย่างไรก็ตาม คงไม่มีเอกชนรายใด กระทั่ง BTS ที่จะเข้ามาประมูลแข่งกับกลุ่ม BEM ที่เป็นต่อในเรื่องการบริหารจัดการเดินรถสายสีม่วงอยู่แล้ว มีความสะดวกในการพัฒนาพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่อง หากเป็นเอกชนรายอื่นจะเกิดความไม่สะดวกในการใช้พื้นที่ แต่กรรมการบอร์ดหลายคนกลับเห็นว่าควรหลีกเลี่ยงประเด็นที่อาจถูกมองว่าเอื้อเอกชนหวังว่าต้นปี 2560 รฟม.คงมีคำตอบให้อย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 56, 57, 58 ... 121, 122, 123  Next
Page 57 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©