RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181686
ทั้งหมด:13492924
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่และเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 84, 85, 86 ... 120, 121, 122  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2021 12:51 am    Post subject: Reply with quote

พาซูมบรรยากาศเดินทางระบบรางผู้โดยสารหาย 8 แสนคน
*จากนับล้านรถไฟฟ้า/รถไฟเหลือใช้บริการวันละ1.7แสน
*สั่งล็อกดาวน์ผวาโควิดระลอก 3 ตัวเลขทุบสถิติต่ำที่สุด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2952788344942664
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 22/07/2021 3:51 am    Post subject: Reply with quote

วงการรับเหมา แฉ TOR "รถไฟฟ้าสีม่วงใต้" ส่อล็อคสเปค ตามรอยสายสีส้ม
หน้าเศรษฐกิจมหภาค คมนาคม
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 7:00 น.

วงการรับเหมาแฉยับ ประมูลสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ จ่อล็อกสเปคเอื้อผู้รับเหมารายใหญ่ ยึดเกณฑ์เทคนิคและราคา 70-30 ถอดแบบประมูลสายสีส้ม อ้างพื้นที่โครงการฯซับซ้อน วอนนายกฯ สั่งตรวจสอบ หวั่นฮั้วประมูล ซ้ำรอยทางคู่สายเหนือ-อีสาน

แหล่งข่าวจากวงการผู้รับเหมาก่อสร้าง เปิดเผยว่า สำหรับโครงการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม.วงเงินลงทุน 101,112 ล้านบาท ที่แยกเป็นระบบงานโยธา 78,813 ล้านบาท ค่าเวนคืน 15,913 ล้านบาท การก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ 1,335 ล้านบาทและค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 3,582 ล้านบาท ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กำลังเป็นที่จับตาของหลายฝ่าย ว่าจะเดินรอยตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) วงเงินลงทุนกว่า 1.427 แสนล้านบาท ที่มีการร้องเรียนกันอยู่ในขณะนี้หรือไม่



เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ออกประกาศประกวดราคาก่อสร้างระบบงงานโยธา วงเงิน 78,813 ล้านบาทไปเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีกำหนดขายซองตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค.-ถึงวันที่ 7 ต.ค.2564 และมีกำหนดให้เอกชนเข้ายื่นซองข้อเสนอในวันที่ 8 ต.ค.2564 เพราะนอกจากจะแบ่งเนื้องานโครงการออกเป็น 6 สัญญาแล้ว ยังมีการกำหนดเงื่อนไขการพิจารณาเพิ่มเติมที่ผิดแผกแตกต่างไปจากการประมูลโครงการเมกะโปรเจ็กต์อื่น ๆ ด้วย


ทั้งนี้ใน 6 สัญญา ประกอบด้วย
สัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ ระยะทาง 4.9 กม.และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สถานี ราคากลาง 18,574.868 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้า ระยะทาง 2.3 กม. และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สถานี ราคากลาง 15,155 ล้านบาท

สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพุทธ ระยะทาง 3.1 กม. และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 2 สถานี ราคากลาง 14,452.35 ล้านบาท

สัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ-ดาวคะนอง เป็นงานออกแบบควบคู่การก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า-ดาวคะนอง ระยะทาง 4 กม. และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 2 สถานี ราคากลาง 14,337 ล้านบาท

สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง-ครุใน พร้อมอาคารจอดรถไฟฟ้าและอาคารจอดแล้วจร ราคากลาง 12,769 ล้านบาท และสัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างวางระบบรางรถไฟฟ้าตลอดแนวเส้นทาง ราคากลาง 3,423 ล้านบาท )

แหล่งข่าวจากวงการผู้รับเหมา กล่าวต่อว่า แม้โครงการดังกล่าว จะมีการแบ่งแยกเนื้องานออกเป็น 6 สัญญาเช่นเดียวกับโครงการรถไฟทางคู่ของการรถไฟฯ มูลค่ากว่า 1.28 แสนล้านบาทก่อนหน้า แต่ รฟม.มีการกำหนดเงื่อนไขการประมูลเพิ่มเติมที่แตกต่างไปจากการประมูลโครงการรถไฟทางคู่ และโครงการเมกะโปรเจกต์อื่นๆ โดยกำหนดเกณฑ์พิจารณาผู้ชนะการประมูลแต่ละสัญญาจากข้อเสนอด้านเทคนิค และราคาประกอบกันในสัดส่วน 30-70 ซึ่งถอดแบบมาจากการประมูลสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 1.427 แสนล้าน ของรฟม.ก่อนหน้าทุกกระเบียดนิ้ว ด้วยข้ออ้างเป็นโครงการใหญ่ที่มีความซับซ้อน ต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงในการก่อสร้าง จำเป็นต้องได้ผู้รับเหมาที่มีศักยภาพ



“การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว มีการตั้งข้อสังเกตุว่า เป็นการเอื้อให้กับผู้รับเหมาบางรายหรือไม่ เพราะข้ออ้างของ รฟม.ที่ว่าโครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ที่มีความซับซอนต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง จำเป็นต้องได้ผู้รับเหมาที่มีศักยภาพนั้น ในข้อเท็จจริงเงื่อนไขการประมูลได้กำหนดเกณฑ์ชี้ขาดอันเข้มข้นไว้อยู่แล้ว



โดยกลุ่มบริษัทรับเหมาที่จะผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิคจะต้องมีคำแนนประเมินด้านเทคนิคในแต่ละหัวข้อไม่น้อยกว่า 80 คะแนน และคะแนนรวมด้านเทคนิคต้องไม่ต่ำกว่า 85 คะแนน ซึ่งถือเป็นเกณฑ์พิจารณาที่เข้มข้นอยู่แล้ว จึงไม่เข้าใจว่าเหตุใด รฟม.จึงไปกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ทอนคะแนนด้านเทคนิคที่ได้ลงมาเหลือ 30 คะแนน แล้วไปพิจารณาข้อเสนอทางการเงินประกอบอีก 70% กลายเป็นการเปิดช่องให้กรรมการคัดเลือกสามารถบวกเพิ่มคะแนนให้กับกลุ่มทุนรับเหมารายใดก็ได้ แม้จะพ่ายคะแนนด้านเทคนิค ก็ยังมีคะแนนช่วยด้านราคาได้อีก”



ทั้งนี้ การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว ได้เคยสร้างปัญหาให้กับ รฟม.มาแล้ว จากการประมูลหาเอกชนเข้าร่วมลงทุน (PPP) โครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) วงเงินลงทุนกว่า 1.427 สานล้านบาท เพราะถูกบริษัทรับเหมาเอกชนที่เช้าร่วมประมูลยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ



เนื่องจากเป็นการกำหนดเงื่อนไขที่ไม่โปร่งใส เต็มไปด้วยความย้อนแย้งจนทำให้โครงการรถไฟฟ้า สายสีส้มคาราคาซังมากกว่าขวบปี จนถึงเวลานี้ รฟม.ยังไม่สามารถหาผู้ชนะประมูลเข้าร่วมลงทุนในโครงการได้



อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.64 เพิ่งจะมีมติให้หน่วยงานของรัฐที่มีโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ต่าง ๆ หรือมีโครงการร่วมลงทุนกับเอกช จะต้องนำโครงการเข้าทำสัญญาข้อตกลงคุณธรรม(Integrity Pact) เพื่อสนับสนุนให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต



รวมถึงสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ แต่กระทรวงคมนาคมและ รฟม.ที่เพิ่งออกประกาศประกวดราคาประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ ยังไม่มีแผนจะดำเนินการตามมติ ครม.ดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งเข้ามาตรวจสอบการประมูลโครงการนี้อย่างใกล้ชิด เพราะไม่เช่นนั้น อาจจะส่อไปในแนวทางเดียวกับการประมูลรถไฟทางคู่ มูลค่ากว่า 1.28 แสนล้านบาทของการรถไฟฯที่ผลประมูลที่ได้นั้น



พบว่า บริษัทรับเหมาที่เข้าร่วมประมูลโครงการจำนวน 5 รายใน 5 สัญญานั้นรวมหัวกันเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางเพียง 30-40 ล้านบาทหรือแค่ 0.08% ของมูลค่าโครงการเท่านั้น ทั้งที่โครงการดังกล่าวมีมูลค่ากว่า 1.28 แสนล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 22/07/2021 3:58 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.เตรียมเปิดสถานีชาร์จไฟรถยนต์ ที่อาคารจอดรถ MRT
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:15 น.
ปรับปรุง: 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:15 น.




รฟม.เตรียมติดตั้งสถานีอัดประจุรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) บริเวณอาคารและลานจอดรถของ รฟม.ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า MRT ส่งเสริมการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเต็มรูปแบบ

กองประชาสัมพันธ์ สำนักสื่อสารองค์กร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า รฟม.เตรียมติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่ที่มีศักยภาพของ รฟม. เช่น บริเวณอาคารและลานจอดรถของ รฟม. โดยร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การบูรณาการเพื่อการพัฒนาและขยายธุรกิจด้านระบบโลจิสติกส์ ยานยนต์ไฟฟ้า พลังงาน และกิจการอื่นที่เกี่ยวข้อง” กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วยยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า และสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดมลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ติดตามรายละเอียดและข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และเฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทร. 0-2716-4044
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2021 1:15 am    Post subject: Reply with quote

เข้าคิว-อย่าหันหน้าหากัน-นั่งเว้นยืนห่าง-หยุดพูด
*รถไฟฟ้า MRTประกาศกติกาใช้บริการ
*ลดแออัดในสถานี/ขบวนรถลดแพร่เชื้อ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2958032124418286

รถไฟฟ้า MRT คุมเข้มโควิด “นั่งที่เว้นที่-ไม่คุยในขบวนรถ”

เศรษฐกิจ-ยานยนต์
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:46 น.

รถไฟฟ้า MRT สีน้ำเงิน-สีม่วง คุมเข้มโควิด ให้นั่งที่เว้นที่ ยืนห่าง 0.5-1 เมตร งดพูดคุยภายในขบวนรถ สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา จัดลำดับการเข้าใช้บริการ ลดแออัดในสถานี-ขบวนรถ ย้ำให้บริการขบวนสุดท้ายถึงปลายทาง 3 ทุ่ม

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่รุนแรง และมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นนั้น รฟม. และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ขอความร่วมมือผู้โดยสารปฏิบัติตนเมื่อเข้าใช้บริการรถไฟฟ้า MRT ดังนี้ สวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยตลอดการเข้าใช้บริการ, หากผู้โดยสารหนาแน่น จะจัดลำดับการเข้าใช้บริการของผู้โดยสาร (Group Release) เพื่อควบคุมปริมาณผู้ใช้บริการไม่ให้แออัด ทั้งในสถานีและขบวนรถไฟฟ้า


นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ต้องเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลบริเวณที่นั่งภายในขบวนรถไฟฟ้า แบบที่เว้นที่, เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลในการยืนประมาณ 0.5 – 1 เมตร, ขอความร่วมมือผู้โดยสารงดการสนทนาขณะโดยสารภายในขบวนรถ, ไม่หันหน้าเข้าหากันเมื่ออยู่ภายในสถานีและภายในขบวนรถไฟฟ้า, สแกน QR Code ไทยชนะ ที่ติดอยู่ในตู้โดยสาร, ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ก่อนและหลังการใช้บริการทุกครั้ง ทั้งนี้ รฟม. และ BEM ได้ตระหนักและห่วงใยในความปลอดภัยของผู้โดยสาร โดยดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในระบบรถไฟฟ้า MRT ทั้ง 2 สาย อย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้บริการ



นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า ได้จัดให้มีจุดตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าทุกสถานี  ตลอดระยะเวลาการให้บริการ การตั้งจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือภายในสถานีรถไฟฟ้าทุกสถานี การเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อภายในสถานีและภายในขบวนรถไฟฟ้า การทำความสะอาดเหรียญโดยสารก่อนนำไปให้บริการ รวมถึงตรวจวัดอุณหภูมิของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการในสถานี เพื่อความปลอดภัยของทุกคน อย่างไรก็ตามปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT ได้ปรับเวลาในการให้บริการ โดยรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ให้บริการเวลา 06.00 – 21.00 น. และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ให้บริการเวลา 05.30 – 21.00 น. (รถไฟขบวนสุดท้ายถึงสถานีปลายทาง เวลา 21.00 น.).


Last edited by Wisarut on 28/07/2021 12:22 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/07/2021 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ 1/4 Special Report: สังคมสงสัย'ประมูล'ทะแม่งๆ 2 สายทางคู่-รถไฟฟ้าสีม่วงใต้
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กับเรื่องราวของการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ ที่ทีมข่าว "1/4 Special Report" เกาะติดความเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีกลิ่นทะแม่ง ๆ ของโครงการดังกล่าวออกมาเรื่อย ๆ ไม่เช่นนั้นนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย คงไม่บุกไปยื่นหนังสือกับ 2 หน่วยงาน

ทั้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เพื่อตรวจสอบการประมูลโครงการรถไฟฟ้าทางคู่ ของกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในเส้นทางสายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ ระยะทาง 323 กม. มูลค่าก่อสร้าง 72,920 ล้านบาท และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหารนครพนม ระยะทาง 355 กม. มูลค่าก่อสร้าง 55,458 ล้านบาท

เนื่องจากการประมูลพบพิรุธเรื่องการจัดทำทีโออาร์ ทำให้เกิดข้อสงสัยตามมาในลักษณะล็อกสเปกเอื้อผู้ประกอบการรายใหญ่ 5 รายเท่านั้น ให้เข้าสู่การประมูล ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดกลางเข้าร่วมการประมูลได้ จึงไม่สามารถแข่งขันให้ราคาถูกลง หากเทียบกับเส้นทางรถไฟในภาคใต้เมื่อปี 60 ที่เขียนทีโออาร์ให้ผู้ประกอบการขนาดกลางสามารถเข้าร่วมการประมูล จึงมีผู้เข้าร่วมประมูลมาก ทำให้รัฐได้ราคาถูกลง ประหยัดงบลง 2-3 พันล้านบาท

5 สัญญา 5 ผู้รับเหมารายใหญ่-บังเอิญเหลือเกิน!

นอกจากนี้องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) หรือ "ACT" ยังออกโรงเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะผู้นำรัฐบาลเร่งทบทวนการประมูล เพราะผลการประมูลโครงการที่การรถไฟฯ แบ่งเนื้องานในโครงการออกเป็น 5 สัญญา โดยมี 5 ผู้รับเหมารายใหญ่เข้าร่วมประมูล ช่างเป็นเรื่องบังเอิญเหลือเกิน

โดยไม่รู้ว่าผู้รับเหมาแข่งขันบี้ราคากันแบบไหน จากราคาประมูลที่เคาะกันออกมาถึงต่ำกว่าราคากลางสุดเหลือเชื่อแค่ 0.08% เท่านั้น จากมูลค่างาน 2 โครงการนี้สูงกว่า 1.28 แสนล้าน แต่ผู้รับเหมากลับเคาะต่ำกว่าราคากลางแค่ 30-40 ล้านบาท (0.08%) ชนิดเส้นยาแดงผ่าแปดเท่านั้น จะบอกว่าไม่มีอะไรในกอไผ่ และไม่ให้คนอื่นตั้งข้อสงสัยได้อย่างไร งานนี้มีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีการเดินเกมขอแก้มติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อให้มีการแก้เงื่อนไขทีโออาร์การประมูลกันอย่างน่ากังขา จากเดิมครม.เคยวางไลน์เอาไว้ให้มีการเปิดเสรีการแข่งขัน เพราะงานสร้างทางรถไฟไม่ได้ใช้เทคโนโลยีสูงส่งอะไรนัก จึงให้หั่นโครงการออกเป็น 20-30 สัญญา เพื่อเปิดทางให้ผู้รับเหมาขนาดกลาง ๆ เข้าร่วมประมูลได้ ทำให้มีการเคาะราคาก่อสร้างไว้ต่ำกว่าราคากลางกัน 20-30%

แต่การประมูลรถไฟทางคู่ 2 สายทางเหนือ-อีสาน กลับมีการแก้ไขมติครม.กันอีกหรือเปล่า? เพื่อให้รวมงานก่อสร้างให้เป็นบิ๊กลอต และรวมงานระบบอาณัติสัญญาณมาผูกไว้เป็นสัญญาเดียว เปิดทางให้เฉพาะผู้รับเหมารายใหญ่เข้าร่วมประมูลได้เท่านั้น ทำให้เลขาธิการ ACT ออกมาระบุว่าหากรัฐบาลปล่อยผ่านไปจะกลายเป็นบรรทัดฐานการคอร์รัปชั่นที่ถูกต้องตามขั้นตอนหรือเปล่า? โดยในอนาคตจะส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และเป็นเรื่องย้อนแย้งกับสิ่งที่รัฐบาลเที่ยวป่าวประกาศเจตนารมณ์ไว้เป็น"วาระแห่งชาติ" ในการต่อต้านคอร์รัปชั่น ตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ

รถไฟฟ้าสีม่วงใต้อาจซ้ำรอย "สีส้ม"

นอกจากโครงการรถไฟทางคู่ 2 เส้นทางแล้ว กระทรวงคมนาคมยังมีโครงการประมูลจัดหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) วงเงินลงทุน 1.427 แสนล้านบาท โดยล่าสุดโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23 กม.กว่า ๆ วงเงินลงทุน 1.1 แสนล้าน (งานโยธา 78,713 ล้านบาท) โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพิ่งประกาศประกวดราคาไปเมื่อสัปดาห์ต้นเดือนก.ค.ที่ผ่านมา และมีกำหนดให้ยื่นซองในวันที่ 8 ต.ค.นี้

เหตุผลสำคัญคงเป็นเพราะได้ใจจากการประมูลรถไฟทางคู่ จึงทำให้การประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เดินตามรอยรถไฟทางคู่เกือบทุกกระเบียดนิ้ว คือนอกจากรฟม.จะแยกงานโยธาออกเป็น 6 สัญญา ( 5+1สัญญา) ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ ระยะทาง 4.9 กม. ราคากลาง 18,574.868 ล้านบาท สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้า ระยะทาง 2.3 กม. ราคากลาง 15,155 ล้านบาท สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพุทธ ระยะทาง 3.1 กม. ราคากลาง 14,452.35 ล้านบาท

สัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ-ดาวคะนอง ราคากลาง 14,337 ล้านบาท สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง-ครุใน พร้อมอาคารจอดรถไฟฟ้าและอาคารจอดแล้วจร ราคากลาง 12,769 ล้านบาท และสัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างวางระบบรางรถไฟฟ้าตลอดแนวเส้นทาง ราคากลาง 3,423 ล้านบาท

แต่ในเงื่อนไขทีโออาร์ ก็มีเอกชนหลายรายตั้งข้อสงสัยว่าถอดแบบมาจากการประมูลสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่เคยอื้อฉาวจนต้องล้มประมูล และมีการยื่นฟ้องศาลไปก่อนหน้านี้หรือไม่? นั่นคือการกำหนดเงื่อนไขให้เอกชนที่เข้าประมูลต้องยื่นข้อเสนอออกเป็น 3 ซอง ประกอบด้วย 1.ซองข้อเสนอด้านคุณสมบัติ 2.ซองข้อเสนอด้านเทคนิค และ 3. ซองข้อเสนอราคา ผู้ที่ผ่านข้อเสนอด้านเทคนิคแล้วเท่านั้น รฟม.จึงจะพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคและราคาประกอบกัน (สัดส่วน 30-70) ด้วยข้ออ้างเป็นโครงการใหญ่ที่มีความซับซ้อน ต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงในการก่อสร้าง จำเป็นต้องได้ผู้รับเหมาที่มีศักยภาพในการดำเนินโครงการ

โยง "ผู้กว้างขวาง" จัดสรรงานให้ผู้รับเหมา

"ซีอีโอ" บริษัทรับเหมารายใหญ่เปิดเผยว่า การกำหนดเงื่อนไขประมูลครั้งนี้ แตกต่างไปจากการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ของรฟม.ก่อนหน้าที่พิจารณาด้านราคาเป็นหลัก โดยรฟม.จะพิจารณาเปิดซองเฉพาะเอกชนที่ผ่านข้อเสนอด้านคุณสมบัติ และด้านเทคนิคมแล้วเท่านั้น แล้วจึงเปิดซองราคา

แต่ครั้งนี้กลับไปใช้เงื่อนไขเดียวกับโครงการประมูลหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่รฟม.ยังไม่สามารถผ่าทางตันการประมูลไปได้ เพื่อหวังให้ทุกฝ่ายได้เห็นว่าเงื่อนไขการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคและราคาประกอบกัน ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการประมูล หรือได้ผู้รับเหมาที่มีศักยภาพหรือทำให้โครงการล่าช้าแต่อย่างใด

ทั้งที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ และรถไฟฟ้าสายสีส้ม แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ รฟม.ต้องการเพียงผู้รับเหมาก่อสร้าง แต่รถไฟฟ้าสายสีส้ม ได้รวมสัมปทานการบริหารโครงการเข้ามาอยู่ในโครงการด้วย

แต่งานนี้ไม่ว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะกอดกันกลม ทุกพรรคยังรับปากจะไม่ทอดทิ้งพล.อ.ประยุทธ์ แต่พล.อ.ประยุทธ์และ"ทีมเสธ."ที่อยู่รอบ ๆ นายกฯ จะไม่ฉงนสงสัยเข้าไปตรวจสอบความโปร่งใสบ้างหรือ? ไม่ว่าจะเป็นการประมูลโครงการรถไฟทางคู่ 2 สาย วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ วงเงิน 78,713 ล้านบาท มีการเมาท์กันในแซ่ด! ทั้งในสภา ในทำเนียบรัฐบาล และนอกทำเนียบรัฐบาล ว่าผู้กว้างขวางในภาคอีสานตอนล่าง เป็นคนจัดสรรงานแต่ละสัญญาให้กับผู้รับเหมา เพื่อเตรียมกระสุนดินดำไว้รองรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในกลางปีหน้า อาจจะมีการเลือกตั้ง.

ประหยัดงบได้น้อยมากกว่าสายใต้...เป็นไปได้ไง!

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะวิศวกรอาวุโส ตั้งข้อสังเกตการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือ (ช่วงเด่นชัยเชียงราย-เชียงของ) และสายอีสาน (ช่วงบ้านไผ่ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม) เป็นการประมูลที่สร้างความประหลาดใจให้กับผู้คนจำนวนมาก เนื่องจากราคาที่ได้จากการประมูลต่ำกว่าราคากลางเพียงนิดเดียวเท่านั้น อีกทั้งยังต่ำกว่าราคากลางเป็นสัดส่วนที่เท่ากัน คือแค่ 0.08% เท่านั้น พูดได้ว่าไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ!

การประมูลรถไฟทางคู่ 2 สาย สร้างความประหลาดใจอย่างไร? 1.จำนวนสัญญาการประมูลเท่ากับจำนวนผู้รับเหมาขนาดใหญ่พอดี สายเหนือแบ่งการประมูลเป็น 3 สัญญา สายอีสานแบ่งออกเป็น 2 สัญญา รวม 5 สัญญา เท่ากับจำนวนผู้รับเหมาขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าประมูล โดยมีผู้รับเหมาขนาดใหญ่เข้าประมูล 5 ราย และชนะการประมูลทุกราย
2. ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางเท่ากัน โดยสายเหนือประมูลเมื่อวันที่ 18 พ.ค.64 ราคากลาง 72,918 ล้านบาท ราคาที่ได้จากการประมูล 72,858 ล้านบาท นั่นคือประหยัดค่าก่อสร้างได้เพียง 60 ล้านบาท เท่านั้น คิดเป็น 0.08% ส่วนสายอีสาน ประมูลเมื่อวันที่ 25 พ.ค.64 ราคากลาง 55,456 ล้านบาท ราคาที่ได้จากการประมูล 55,410 ล้านบาท นั่นคือประหยัดค่าก่อสร้างได้แค่ 46 ล้านบาท เท่านั้นคิดเป็น 0.08% เท่ากับสายเหนืออย่างน่ากังขา

เมื่อเปรียบเทียบกับการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-หัวหิน-ประจวบฯ-ชุมพร ในปี 60 ประหยัดค่าก่อสร้างได้มากกว่า โดยสายใต้มีราคากลาง 36,021 ล้านบาท ราคาที่ได้จากการประมูล 33,982 ล้านบาท ประหยัดได้ถึง 2,039 ล้านบาท คิดเป็น 5.66% หากการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือ สายอีสาน สามารถประหยัดค่าก่อสร้างได้เท่ากับสายใต้ นั่นคือ 5.66% จะทำให้ประหยัดค่าก่อสร้างได้มากถึง 7,266 ล้านบาท แต่ในความเป็นจริงการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน ประหยัดค่าก่อสร้างได้เพียง 106 ล้านบาท

เหตุที่การประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน ประหยัดค่าก่อสร้างได้น้อยกว่าสายใต้มากอาจเป็นเพราะร.ฟ.ท. ไม่นำทีโออาร์ (ข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง)ของสายใต้มาใช้ในการประมูลสายเหนือและสายอีสาน อะไรเป็นเหตุให้ร.ฟ.ท.เปลี่ยนทีโออาร์ในการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน งานนี้ต้องติดตามกันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2021 3:55 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คอลัมน์ 1/4 Special Report: สังคมสงสัย'ประมูล'ทะแม่งๆ 2 สายทางคู่-รถไฟฟ้าสีม่วงใต้
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564


ยันประมูล “สายสีม่วงใต้” โปร่งใส-เป็นไปตามกฎหมาย
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:41 น.


รฟม. ยันประมูลสายสีม่วงใต้โปร่งใสมีการลงนามในข้อตกลงคุณธรรม เปิดประมูลนานาชาติเป็นไปตามกฎหมาย เชื่อจะได้ผู้รับเหมามีคุณภาพที่สุด

วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจงกรณีที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ในประเด็นเงื่อนไขการประกวดราคาโครงการนั้น

รฟม. ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประกวดราคาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาพิเศษ) และการกำหนดเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประกวดราคา ดังนี้

ลงนามข้อตกลงคุณธรรม
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีวงเงินในการจัดจ้างมูลค่าสูงและมีผลกระทบโดยตรงต่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปด้วยความรอบคอบ โปร่งใสและตรวจสอบได้ รฟม.จึงได้แจ้งความประสงค์เสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ เข้าร่วมการดำเนินงานภายใต้ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 และได้มีการลงนามข้อตกลงคุณธรรม ระหว่าง รฟม. และผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2561

เนื่องจาก โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนและต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการก่อสร้าง ประกอบกับสภาพพื้นที่เส้นทางโครงการฯ ที่ผ่านเขตชุมชนหนาแน่น พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวสูง รวมถึงพื้นที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น

จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้ผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์และมีสมรรถนะสูงเพียงพอสำหรับการก่อสร้าง เพื่อให้สามารถดำเนินงานก่อสร้างให้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามแผนงานได้อย่างมีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด รวมทั้งสามารถลดผลกระทบด้านการจราจรและด้านสิ่งแวดล้อมในระหว่างการก่อสร้างให้ได้มากที่สุด และส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อภาครัฐและประชาชนผู้ใช้บริการ

ประมูลนานาชาติเป็นไปตามกฎหมาย
ในการดำเนินการคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา รฟม. ได้ใช้รูปแบบการประกวดราคานานาชาติ (International Competition Bidding: ICB) โดยกำหนดเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประกวดราคา และใช้เกณฑ์ด้านราคาประกอบเกณฑ์เทคนิค ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 มาตรา 65 และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 ข้อ 83 (2)

เชื่อได้รับเหมามีคุณภาพ
ประกอบกับแนวทางการปฏิบัติในการจัดทำร่างขอบเขตของงาน กรณีหน่วยงานของรัฐกำหนดเกณฑ์การพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่น ตามหนังสือของคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค(กวจ)0405.2/ว198 ลงวันที่ 8 เมษายน 2564 เพื่อให้ได้ผู้รับจ้างที่มีศักยภาพสูงและเหมาะสมที่จะสามารถดำเนินงานโครงการได้สำเร็จตามแผนงานและมีคุณภาพภายใต้กรอบงบประมาณที่กำหนดไว้


นอกจากนี้ รฟม. ได้นำร่างประกาศประกวดราคาและร่างเอกสารประกวดราคาทั้งหมดเผยแพร่ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP) กรมบัญชีกลาง และเว็บไซต์ของ รฟม. เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลทั่วไปและผู้ประกอบการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ทุกประการแล้ว

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างนนทบุรี กับกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี รวมถึงสมุทรปราการ เข้าด้วยกัน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร 7 สถานี โดยมีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2570

ทวน 6 สัญญายื่นซอง ต.ค. 64
โดยออกแบบก่อสร้างเป็น 6 สัญญา วงเงินรวม 78,720 ล้านบาท ประกอบด้วย งานใต้ดิน 4 สัญญา งานทางยกระดับ 1 สัญญา และงานระบบราง 1 สัญญา ประกอบด้วย

สัญญาที่ 1 (งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง และสถานีใต้ดิน ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ ระยะทาง 4.9 กม. และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สถานี ราคากลาง 1.85 หมื่นล้านบาท

สัญญาที่ 2 ( งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง และสถานีใต้ดิน ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้า) ระยะทาง 2.3 กม. และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สถานี ราคากลาง 1.51 หมื่นล้านบาท



สัญญาที่ 3 (งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพุทธ) เป็นงานออกแบบควบคู่การก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพระพุทธยอดฟ้า ระยะทาง 3.1 กม. และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 2 สถานี ราคากลาง 1.44 หมื่นล้านบาท

สัญญาที่ 4 (งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง และสถานีใต้ดิน ช่วงสะพานพุทธ-ดาวคะนอง) เป็นงานออกแบบควบคู่การก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า-ดาวคะนอง ระยะทาง 4 กม. และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 2 สถานี ราคากลาง 1.43 หมื่นล้านบาท

สัญญาที่ 5 ( งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่ง และสถานียกระดับช่วงดาวคะนอง-ครุใน อาคารจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard) และอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride) ) เป็นงานก่อสร้างทางวิ่งยกระดับ ช่วงดาวคะนอง-ครุใน ระยะทาง 9.3 กม. สถานียกระดับ 7 สถานี อาคารจอดรถไฟฟ้า และอาคารจอดแล้วจร ราคากลาง 1.27 หมื่นล้านบาท

และสัญญาที่ 6 (งานออกแบบและก่อสร้างระบบรางตลอดแนวเส้นทางโครงการ) เป็นงานออกแบบควบคู่การก่อสร้างงานระบบราง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ตลอดเส้นทางโครงการ และภายในอาคารจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard) ราคากลาง 3.42 พันล้านบาท

โดยขณะนี้ได้ปิดการขายซองแล้ว และจะมีกำหนดให้ยื่นซองข้อเสนอในเดือน ต.ค.2564 ระหว่างเวลา 09.00-15.00 น. ที่กองจัดหาพัสดุโครงการ ฝ่ายจัดซื้อและบริการ รฟม.ต่อไป

รฟม.ขอแจงความใสรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ 8.2 หมื่นล้าน
*”เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ”ทุกขั้นตอนตรวจสอบได้
*ใช้กติการาคา + เทคนิคโปรเจกท์ใหญ่ซับซ้อน
*ผู้รับเหมาต้องไฮเทคมืออาชีพมากประสบการณ์
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2959557974265701


Last edited by Wisarut on 28/07/2021 12:22 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2021 4:06 am    Post subject: Reply with quote

วงการรับเหมา แฉ TOR "รถไฟฟ้าสีม่วงใต้" ส่อล็อคสเปค ตามรอยสายสีส้ม
หน้าเศรษฐกิจมหภาค - คมนาคม
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 7:00 น.

วงการรับเหมาแฉยับ ประมูลสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ จ่อล็อกสเปคเอื้อผู้รับเหมารายใหญ่ ยึดเกณฑ์เทคนิคและราคา 70-30 ถอดแบบประมูลสายสีส้ม อ้างพื้นที่โครงการฯซับซ้อน วอนนายกฯ สั่งตรวจสอบ หวั่นฮั้วประมูล ซ้ำรอยทางคู่สายเหนือ-อีสาน

แหล่งข่าวจากวงการผู้รับเหมาก่อสร้าง เปิดเผยว่า สำหรับโครงการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม.วงเงินลงทุน 101,112 ล้านบาท ที่แยกเป็นระบบงานโยธา 78,813 ล้านบาท ค่าเวนคืน 15,913 ล้านบาท การก่อสร้างทดแทนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ 1,335 ล้านบาทและค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 3,582 ล้านบาท ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) กำลังเป็นที่จับตาของหลายฝ่าย ว่าจะเดินรอยตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) วงเงินลงทุนกว่า 1.427 แสนล้านบาท ที่มีการร้องเรียนกันอยู่ในขณะนี้หรือไม่



เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ออกประกาศประกวดราคาก่อสร้างระบบงงานโยธา วงเงิน 78,813 ล้านบาทไปเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีกำหนดขายซองตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค.-ถึงวันที่ 7 ต.ค.2564 และมีกำหนดให้เอกชนเข้ายื่นซองข้อเสนอในวันที่ 8 ต.ค.2564 เพราะนอกจากจะแบ่งเนื้องานโครงการออกเป็น 6 สัญญาแล้ว ยังมีการกำหนดเงื่อนไขการพิจารณาเพิ่มเติมที่ผิดแผกแตกต่างไปจากการประมูลโครงการเมกะโปรเจ็กต์อื่น ๆ ด้วย


ทั้งนี้ใน 6 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ ระยะทาง 4.9 กม.และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สถานี ราคากลาง 18,574.868 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้า ระยะทาง 2.3 กม. และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สถานี ราคากลาง 15,155 ล้านบาท

สัญญาที่ 3 ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพุทธ ระยะทาง 3.1 กม. และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 2 สถานี ราคากลาง 14,452.35 ล้านบาท

สัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ-ดาวคะนอง เป็นงานออกแบบควบคู่การก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า-ดาวคะนอง ระยะทาง 4 กม. และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 2 สถานี ราคากลาง 14,337 ล้านบาท

สัญญาที่ 5 ช่วงดาวคะนอง-ครุใน พร้อมอาคารจอดรถไฟฟ้าและอาคารจอดแล้วจร ราคากลาง 12,769 ล้านบาท และสัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างวางระบบรางรถไฟฟ้าตลอดแนวเส้นทาง ราคากลาง 3,423 ล้านบาท )

แหล่งข่าวจากวงการผู้รับเหมา กล่าวต่อว่า แม้โครงการดังกล่าว จะมีการแบ่งแยกเนื้องานออกเป็น 6 สัญญาเช่นเดียวกับโครงการรถไฟทางคู่ของการรถไฟฯ มูลค่ากว่า 1.28 แสนล้านบาทก่อนหน้า แต่ รฟม.มีการกำหนดเงื่อนไขการประมูลเพิ่มเติมที่แตกต่างไปจากการประมูลโครงการรถไฟทางคู่ และโครงการเมกะโปรเจกต์อื่นๆ โดยกำหนดเกณฑ์พิจารณาผู้ชนะการประมูลแต่ละสัญญาจากข้อเสนอด้านเทคนิค และราคาประกอบกันในสัดส่วน 30-70 ซึ่งถอดแบบมาจากการประมูลสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีส้ม มูลค่า 1.427 แสนล้าน ของรฟม.ก่อนหน้าทุกกระเบียดนิ้ว ด้วยข้ออ้างเป็นโครงการใหญ่ที่มีความซับซ้อน ต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงในการก่อสร้าง จำเป็นต้องได้ผู้รับเหมาที่มีศักยภาพ



“การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว มีการตั้งข้อสังเกตุว่า เป็นการเอื้อให้กับผู้รับเหมาบางรายหรือไม่ เพราะข้ออ้างของ รฟม.ที่ว่าโครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ที่มีความซับซอนต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง จำเป็นต้องได้ผู้รับเหมาที่มีศักยภาพนั้น ในข้อเท็จจริงเงื่อนไขการประมูลได้กำหนดเกณฑ์ชี้ขาดอันเข้มข้นไว้อยู่แล้ว



โดยกลุ่มบริษัทรับเหมาที่จะผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิคจะต้องมีคำแนนประเมินด้านเทคนิคในแต่ละหัวข้อไม่น้อยกว่า 80 คะแนน และคะแนนรวมด้านเทคนิคต้องไม่ต่ำกว่า 85 คะแนน ซึ่งถือเป็นเกณฑ์พิจารณาที่เข้มข้นอยู่แล้ว จึงไม่เข้าใจว่าเหตุใด รฟม.จึงไปกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้ทอนคะแนนด้านเทคนิคที่ได้ลงมาเหลือ 30 คะแนน แล้วไปพิจารณาข้อเสนอทางการเงินประกอบอีก 70% กลายเป็นการเปิดช่องให้กรรมการคัดเลือกสามารถบวกเพิ่มคะแนนให้กับกลุ่มทุนรับเหมารายใดก็ได้ แม้จะพ่ายคะแนนด้านเทคนิค ก็ยังมีคะแนนช่วยด้านราคาได้อีก”



ทั้งนี้ การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว ได้เคยสร้างปัญหาให้กับ รฟม.มาแล้ว จากการประมูลหาเอกชนเข้าร่วมลงทุน (PPP) โครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) วงเงินลงทุนกว่า 1.427 สานล้านบาท เพราะถูกบริษัทรับเหมาเอกชนที่เช้าร่วมประมูลยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ



เนื่องจากเป็นการกำหนดเงื่อนไขที่ไม่โปร่งใส เต็มไปด้วยความย้อนแย้งจนทำให้โครงการรถไฟฟ้า สายสีส้มคาราคาซังมากกว่าขวบปี จนถึงเวลานี้ รฟม.ยังไม่สามารถหาผู้ชนะประมูลเข้าร่วมลงทุนในโครงการได้



อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.64 เพิ่งจะมีมติให้หน่วยงานของรัฐที่มีโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ต่าง ๆ หรือมีโครงการร่วมลงทุนกับเอกช จะต้องนำโครงการเข้าทำสัญญาข้อตกลงคุณธรรม(Integrity Pact) เพื่อสนับสนุนให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต



รวมถึงสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ แต่กระทรวงคมนาคมและ รฟม.ที่เพิ่งออกประกาศประกวดราคาประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วงใต้ ยังไม่มีแผนจะดำเนินการตามมติ ครม.ดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งเข้ามาตรวจสอบการประมูลโครงการนี้อย่างใกล้ชิด เพราะไม่เช่นนั้น อาจจะส่อไปในแนวทางเดียวกับการประมูลรถไฟทางคู่ มูลค่ากว่า 1.28 แสนล้านบาทของการรถไฟฯที่ผลประมูลที่ได้นั้น



พบว่า บริษัทรับเหมาที่เข้าร่วมประมูลโครงการจำนวน 5 รายใน 5 สัญญานั้นรวมหัวกันเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางเพียง 30-40 ล้านบาทหรือแค่ 0.08% ของมูลค่าโครงการเท่านั้น ทั้งที่โครงการดังกล่าวมีมูลค่ากว่า 1.28 แสนล้านบาท


Last edited by Wisarut on 28/07/2021 12:20 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2021 12:20 am    Post subject: Reply with quote

เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ใครได้ประโยชน์?จี้พิจารณาเทคนิคก่อนราคา
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 9:39 น.

เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ใครได้ประโยชน์? “สามารถ ราชพลสิทธิ์” ระบุหาก รฟม. จะทำให้ภาครัฐได้ประโยชน์สูงสุดก็ควรที่จะใช้เกณฑ์ประมูล โดยพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อนการพิจารณาข้อเสนอด้านราคา ซึ่งจะทำให้ รฟม. เสียค่าก่อสร้างต่ำกว่า ได้ผู้รับเหมาที่มีสมรรถนะ

สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุ เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ใครได้ประโยชน์? โดยระบุว่า รฟม. กำลังเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงินงานโยธา 78,720 ล้านบาท โดยใช้เกณฑ์คัดเลือกผู้รับเหมาเหมือนกับการคัดเลือกผู้ร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มที่เป็นข่าวอื้อฉาวและยังมีคดีฟ้องร้องกันอยู่ที่ศาล ซึ่งอาจจะมีคนติดคุก! แล้วทำไม รฟม. จึงอยากใช้เกณฑ์นี้อีก? และใครจะได้ประโยชน์จากการใช้เกณฑ์นี้?



ผมเห็นด้วยที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) หรือที่เรียกกันว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร เพราะจะทำให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนจำนวนมาก



แต่ผมไม่เห็นด้วยกับเกณฑ์คัดเลือกผู้รับเหมาที่ รฟม.ใช้ เนื่องจากผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำสุด และมีความสามารถในการก่อสร้างสูงอาจไม่ได้รับเลือก ทำให้รัฐต้องเสียค่าก่อสร้างสูงกว่าอย่างน่าเสียดาย และที่สำคัญ เกณฑ์คัดเลือกนี้จะสามารถเอื้อประโยชน์ให้กับผู้รับเหมารายใดรายหนึ่งก็ได้ หรือล็อกผู้รับเหมาได้ง่ายกว่านั่นเอง



เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้



รฟม.พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคาพร้อมๆกัน โดยให้คะแนนด้านเทคนิค 30% และคะแนนด้านราคา 70% ใครได้คะแนนรวมสูงสุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล ทั้งนี้ รฟม. ให้เหตุผลที่ใช้เกณฑ์นี้ว่าจำเป็นต้องได้ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์และสมรรถนะสูง เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้มีเส้นทางผ่านเขตชุมชนหนาแน่น และพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวสูง ดังเช่นพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เป็นต้น


เกณฑ์ประมูลโครงการขนาดใหญ่อื่นๆ



โครงการขนาดใหญ่อื่นๆ ใช้เกณฑ์ประมูลโดยพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อนข้อเสนอด้านราคา กล่าวคือให้คะแนนด้านเทคนิค 100% และคะแนนด้านราคา 100% หากผู้รับเหมารายใดสอบผ่านด้านเทคนิคก็จะพิจารณาข้อเสนอด้านราคาต่อไป ใครได้คะแนนด้านราคาสูงสุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล

เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ใครได้ประโยชน์?จี้พิจารณาเทคนิคก่อนราคา
เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ใครได้ประโยชน์?จี้พิจารณาเทคนิคก่อนราคา

เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้มีข้อเสียอย่างไร?



การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอด้านราคามีข้อเสีย ดังนี้



1. รฟม. อาจต้องเสียค่าก่อสร้างมากกว่า

การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอด้านราคาอาจทำให้ผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำสุดไม่ได้รับการคัดเลือก เพราะเขาอาจได้คะแนนรวม (ด้านเทคนิค+ด้านราคา) น้อยกว่า ทำให้ รฟม. ต้องเสียค่าก่อสร้างมากกว่า



2. ล็อกผู้รับเหมาได้ง่าย

หากกรรมการคัดเลือกต้องการช่วยผู้รับเหมารายใดรายหนึ่งสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากมีการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคพร้อมกับข้อเสนอด้านราคา หากเห็นว่าผู้รับเหมารายนั้นเสนอราคาค่าก่อสร้างสูงซึ่งจะทำให้ได้คะแนนด้านราคาต่ำกว่าก็จะเพิ่มคะแนนด้านเทคนิคให้มากขึ้น



ด้วยเหตุนี้ โครงการขนาดใหญ่จึงใช้เกณฑ์ประมูลนี้น้อยมาก รวมทั้งโครงการของ รฟม. ด้วย เท่าที่ทราบ รฟม. เคยใช้เกณฑ์พิจารณาด้านเทคนิคพร้อมกับด้านราคามาก่อน แต่เป็นเวลานานกว่า 20 ปีแล้ว โดยใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ หลังจากนั้น รฟม.ไม่ใช้เกณฑ์นี้อีกเลย เพราะรู้ว่าเกณฑ์นี้ลดความสำคัญของข้อเสนอด้านเทคนิค ไม่เหมาะสมกับโครงการที่มีความซับซ้อน



ดังนั้นในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าต่อมา รฟม. จึงเลือกพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อน หากสอบผ่านจึงจะพิจารณาข้อเสนอด้านราคา หากสอบตกก็จะไม่พิจารณาข้อเสนอด้านราคา ซึ่งถือว่าเป็นการให้ความสำคัญต่อข้อเสนอด้านเทคนิคอย่างแท้จริง ทำให้ได้ผู้รับเหมาที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง และคิดราคาค่าก่อสร้างต่ำกว่า



เกณฑ์ประมูลโครงการขนาดใหญ่อื่นๆ มีข้อดีอย่างไร?

การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อนข้อเสนอด้านราคามีข้อดีดังนี้



1. รฟม. เสียค่าก่อสร้างต่ำกว่า

เกณฑ์นี้มีการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อนข้อเสนอด้านราคา หากสอบผ่านด้านเทคนิคจึงจะพิจารณาด้านราคา ผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำสุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อนข้อเสนอด้านราคาจะทำให้ให้ รฟม. ได้ผู้รับเหมาที่มีความสามารถสูง เหมาะสมกับงาน และทำให้ รฟม. เสียค่าก่อสร้างต่ำกว่าด้วย



2. ล็อกผู้รับเหมาได้ยาก

การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อนข้อเสนอด้านราคาจะทำให้กรรมการคัดเลือกไม่สามารถช่วยผู้รับเหมารายใดรายหนึ่งได้ เนื่องจากผู้รับเหมาที่สอบผ่านด้านเทคนิคจะต้องเป็นผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดเท่านั้นจึงจะได้รับการคัดเลือก กรรมการไม่สามารถให้คะแนนด้านราคาตามความต้องการของตนได้



ด้วยเหตุนี้ เกณฑ์การประมูลที่พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อนข้อเสนอด้านราคาจึงเป็นที่นิยมใช้สำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโครงการที่มีการก่อสร้างผ่านเขตชุมชนหนาแน่น และพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวสูง ดังเช่นพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ หรือการก่อสร้างที่มีความซับซ้อน ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงทั้งโครงการของ รฟม. และของหน่วยงานอื่น เช่น



1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค ของ รฟม. ซึ่งต้องขุดอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา



2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง ของ รฟม. ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ไม่เคยมีการก่อสร้างในประเทศไทยมาก่อน



3. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของ ร.ฟ.ท. ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่ภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทยไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน และใช้วงเงินลงทุนสูง



4. โครงการมอเตอร์เวย์หมายเลข 6 (สายอีสาน) และหมายเลข 81 (บางใหญ่-กาญจนบุรี) ของกรมทางหลวง



5. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)



สรุป

เห็นกันชัดๆ แล้วว่า เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มีผลกระทบต่อภาครัฐ ดังนั้น หาก รฟม. ประสงค์ที่จะทำให้ภาครัฐได้ประโยชน์สูงสุดก็ควรที่จะใช้เกณฑ์ประมูลที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับโครงการขนาดใหญ่ นั่นคือพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคก่อนการพิจารณาข้อเสนอด้านราคา ซึ่งจะทำให้ รฟม. เสียค่าก่อสร้างต่ำกว่า และได้ผู้รับเหมาที่มีสมรรถนะสูงเหมาะสมกับงานของ รฟม. ที่สำคัญ จะไม่ถูกกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมารายใดรายหนึ่ง



ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2021 12:39 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ใครได้ประโยชน์?จี้พิจารณาเทคนิคก่อนราคา
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 9:39 น.

รฟม. แจงการประกวดราคาโครงการ “รถไฟฟ้าสายสีม่วง” โปร่งใส ไร้ล็อกสเปค
หน้าเศรษฐกิจมหภาค คมนาคม
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:09 น.

รฟม. โต้ข้อกล่าวหาหลังวงการผู้รับเหมาระบุ เงื่อนไขการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ล็อกสเปคเอื้อบิ๊กบริษัทก่อสร้าง ย้ำเป็นโครงการใหญ่ วงเงินจัดจ้างมูลค่าสูงต้องรัดกุม การคัดเลือกผู้รับจ้างงานโยธาเป็นไปตามระเบียบ ไม่มีล็อกสเปค

หนังสือชี้แจงของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ระบุ ตามที่เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ ได้นำเสนอข่าวเมื่อวันอังคารที่ 20 กรกฎาคม 2564 กรณี การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) หัวข้อข่าว “วงการรับเหมา แฉ TOR รถไฟฟ้าสีม่วงใต้ ส่อล็อคสเปค ตามรอยสายสีส้ม” นั้น

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประกวดราคาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาพิเศษ) และการกำหนดเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประกวดราคา ดังนี้

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่มีวงเงินในการจัดจ้างมูลค่าสูงและมีผลกระทบโดยตรงต่อประโยชน์สาธารณะ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปด้วยความรอบคอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้ รฟม. จึงได้แจ้งความประสงค์เสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ เข้าร่วมการดำเนินงานภายใต้ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และได้มีการลงนามข้อตกลงคุณธรรม ระหว่าง รฟม. และผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2561

เนื่องจาก โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงฯ เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนและต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการก่อสร้าง ประกอบกับสภาพพื้นที่เส้นทางโครงการฯ ที่ผ่านเขตชุมชนหนาแน่น พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวสูง รวมถึงพื้นที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้ผู้รับจ้างที่มีประสบการณ์และมีสมรรถนะสูงเพียงพอสำหรับการก่อสร้าง เพื่อให้สามารถดำเนินงานก่อสร้างให้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามแผนงานได้อย่างมีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด รวมทั้งสามารถลดผลกระทบด้านการจราจรและด้านสิ่งแวดล้อมในระหว่างการก่อสร้างให้ได้มากที่สุด และส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อภาครัฐและประชาชนผู้ใช้บริการ


ในการดำเนินการคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา รฟม. ได้ใช้ รูปแบบการประกวดราคานานาชาติ (International Competition Bidding: ICB) โดยกำหนดเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประกวดราคา และใช้เกณฑ์ด้านราคาประกอบเกณฑ์เทคนิค ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 65 และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 83 (2) ประกอบกับแนวทางการปฏิบัติในการจัดทำร่างขอบเขตของงาน กรณีหน่วยงานของรัฐกำหนดเกณฑ์การพิจารณาโดยใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่น ตามหนังสือของคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค(กวจ)0405.2/ว198 ลงวันที่ 8 เมษายน 2564 เพื่อให้ได้ผู้รับจ้างที่มีศักยภาพสูงและเหมาะสมที่จะสามารถดำเนินงานโครงการได้สำเร็จตามแผนงานและมีคุณภาพภายใต้กรอบงบประมาณที่กำหนดไว้

นอกจากนี้ รฟม. ได้นำร่างประกาศประกวดราคาและร่างเอกสารประกวดราคาทั้งหมดเผยแพร่ในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (eGP) กรมบัญชีกลาง และเว็บไซต์ของ รฟม. เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลทั่วไปและผู้ประกอบการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ทุกประการแล้ว

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างนนทบุรี กับกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี รวมถึงสมุทรปราการเข้าด้วยกัน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร 7 สถานี โดยมีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/08/2021 4:59 am    Post subject: Reply with quote

รฟม. โต้"สามารถ"เกณฑ์ประมูลรถไฟฟ้าสีม่วงใต้เปิดกว้าง รับเหมา"ไทย-เทศ" เข้าร่วมได้หลายราย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:16 น.
ปรับปรุง: 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:16 น.



รฟม.ชี้แจง เงื่อนไขประมูลรถไฟฟ้าสีม่วงใต้ "เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ"เปิดกว้าง ชี้ที่ปรึกษาตรวจสอบเกณฑ์ผลงานโยธาใต้ดิน ยกระดับ ระบบราง มีต่างชาติหลายรายมีผลงานเข้าประมูลแข่งกับผู้รับเหมาไทยได้

วันที่ 31 ก.ค.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปืดเผยว่า ตามที่ ปรากฏข่าวเผยแพร่ทางสื่อมวลชน อ้างอิงถึงข้อความใน Facebook ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ในหัวข้อ “ขอดเกล็ดรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ประมูลแบบ นานาชาติ แต่ ผู้รับเหมาต่างชาติกระอัก” นั้น

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงประเด็น ทีโออาร์ กำหนดว่าผู้เข้าประมูลจะต้องมีผลงานกับ “รัฐบาลไทย” ในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา ดังนี้

รฟม. ได้ดำเนินการคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 โดย รฟม.พิจารณาดำเนินการ โดยวิธีประกวดราคานานาชาติ (International Competition Bidding: ICB) ทั้งนี้ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รวมถึงกฎกระทรวง ประกาศและหนังสือเวียน ที่ออกตาม พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวข้างต้น

ซึ่งในการกำหนดผลงานของผู้เข้าประมูลนั้น รฟม. ได้กำหนดไว้ว่าต้องเป็นผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกันกับงานที่จะดำเนินการจัดจ้างก่อสร้าง โดยกำหนดวงเงินผลงานไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินงบประมาณ หรือวงเงินที่จะจ้างก่อสร้าง และเป็นผลงานในสัญญาเดียว ซึ่งเป็นไปตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 214 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ การกำหนดผลงาน การระบุคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือยี่ห้อของพัสดุ และการพิจารณาคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอของหน่วยงานของรัฐกรณีการกำหนดสิ่งที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ข้อ 1.1.4

ส่วนการกำหนดว่าต้องเป็นผลงานกับรัฐบาลไทยนั้น เป็นการกำหนดตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ที่ กค (กวจ) 0405.3/24575 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เรื่อง ข้อหารือความหมายคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งระบุว่า “ผลงานที่ผู้ยื่นข้อเสนอเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็น “หน่วยงานรัฐ” ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติฯ เท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงหน่วยงานของรัฐในต่างประเทศแต่อย่างใด”

ทั้งนี้ การกำหนดว่าต้องมีผลงานกับรัฐบาลไทยนั้น จากข้อเท็จจริงที่กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา BMTP (ที่ปรึกษาของ รฟม.) ได้ตรวจสอบแล้ว พบว่ามีผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาต่างชาติที่มีผลงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินกับรัฐบาลไทยอย่างน้อย 5 ราย และผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาไทย ที่มีผลงานกับรัฐบาลไทยอีกอย่างน้อย 5 ราย ส่วนผลงานสำหรับโครงการยกระดับ มีผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาต่างชาติอย่างน้อย 2 ราย และผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาไทยอีกอย่างน้อย 12 ราย ส่วนผลงานสำหรับงานระบบราง มีผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาต่างชาติอย่างน้อย 1 ราย และผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาไทยอีกอย่างน้อย 4 ราย

ซึ่งการกำหนดให้ต้องเป็นผลงานกับรัฐบาลไทยเป็นไปตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างฯ โดยมีผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาต่างชาติและผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาไทย สามารถเข้าร่วมประมูลได้มากราย รวมทั้ง ทีโออาร์ ยังเปิดกว้างให้ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาต่างชาติ สามารถเป็น Lead Firm (ผู้เข้าร่วมค้าหลัก) ในกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ได้ ทั้งนี้ต้องเข้าร่วมกับผู้ประกอบการคนไทย โดยผู้ประกอบการคนไทยต้องถือหุ้นรวมกันมากกว่าร้อยละ 50

โดยรฟม.ได้เปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มี ราคากลางที่ 78,713.17 ล้านบาท แบ่งเป็น 5 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 งานโยธา โครงการใต้ดิน ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ ระยะทาง 4.8 กิโลเมตร ราคากลาง 1.85 หมื่นล้านบาท

สัญญาที่ 2 งานโยธา โครงการใต้ดิน ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้าฯ ระยะทางประมาณ 2.4 กิโลเมตร ราคากลาง 1.51 หมื่นล้านบาท

สัญญาที่ 3 งานโยธา โครงการใต้ดิน ช่วงผ่านฟ้าฯ-สะพานพระพุทธยอดฟ้า ระยะทางประมาณ 3.1 กิโลเมตร ราคากลาง 1.44 หมื่นล้านบาท สัญญาที่ 4 งานโยธา โครงการใต้ดิน ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า-ดาวคะนอง ระยะทางประมาณ 4.1 กิโลเมตร ราคากลาง 1.43 หมื่นล้านบาท



สัญญาที่ 5 งานโยธา โครงการยกระดับ ช่วงดาวคะนอง-ครุใน ระยะทางประมาณ 9.0 กิโลเมตร ราคากลาง 1.27 หมื่นล้านบาท

สัญญาที่ 6 งานออกแบบควบคู่งานก่อสร้างระบบราง ราคากลาง 3.42 พันล้านบาท

โดยขายเอกสารประกวดราคา ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 จนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2564

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างนนทบุรี กับกรุงเทพมหานครฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี รวมถึงสมุทรปราการ เข้าด้วยกัน มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 13.6 กิโลเมตร 10 สถานี และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 10 กิโลเมตร 7 สถานี โดยมีแผนจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2570
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 84, 85, 86 ... 120, 121, 122  Next
Page 85 of 122

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©