Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311288
ทั่วไป:13270547
ทั้งหมด:13581835
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 20, 21, 22 ... 25, 26, 27  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2020 7:37 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ปักหมุดภูเก็ต 7.5 หมื่นล้านสร้างรถไฟฟ้า-ทางด่วน-ถนนสายใหม่
แนะนำข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 - 17:49 น.

“ศักดิ์สยาม” บุกแดนใต้อันดามัน เช็กอัพ 6 โครงการ “บก-ราง-อากาศ” ทั้งด่วนกะทู้-ป่าตอง ชง พ.ร.ฎ. เวนคืนต้นปี 64 “รถไฟฟ้าภูเก็ต” จ่อเสนอสคร.-บอร์ด PPP เวนคืนหมื่นล้านผุด ถนน 4 เลน สายใหม่ “บ้านสาคู-ทล.4027 “รอเคาะ EIA” พร้อมของบ 18 ล้านศึกษาทางแยก ทล. 402-4027 เร่งขยายรันเวย์ สนามบินตรัง

วันที่ 2 พ.ย. 2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารระดับสูง ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล)

ศักดิ์สยามตะลุยรีเช็ค 6 โครงการ
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในโครงการไปบูรณาการร่วมกันในการศึกษารายละเอียดของเส้นทางและปริมาณของผู้ใช้บริการในโครงการต่างๆ โดยให้ตรวจสอบพื้นที่อย่างถี่ถ้วน อีกทั้งศึกษาการใช้เทคโนโลยี่ให้ทันกับยุคสมัยในปัจจุบันเพราะมีผลต่อโครงการและการกำหนดราคาค่าโดยสาร หากสามารถลดต้นทุนของโครงการลงได้ก็จะทำให้ราคาค่าโดยสารถูกลง

รวมทั้งให้รฟม. ทบทวนการจัดทำเอกสารข้อเสนอ RFP เพื่อเปิดกว้างให้บริษัทเข้าร่วมเสนองานรูปแบบโครงการที่เหมาะสมกับสถาณการณ์ปัจจุบันเพื่อให้สามารถลดต้นทุนของโครงการ และให้ความสำคัญในด้านมาตรการความปลอดภัยจากการใช้เส้นทางด้วย โดยมีโครงการที่พิจารณา 6 โครงการ รวมวงเงิน 75,596 ล้านบาท ประกอบด้วย

ชง พ.ร.ฎ.เวนคืนทางด่วนกะทู้ต้นปี 64
1.โครงการทางพิเศษ สายกะทู้ – ป่าตอง จ.ภูเก็ต กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นผู้ดำเนินการเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางจากอำเภอกะทู้ไปยังหาดป่าตอง และอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับคนในพื้นที่ นักท่องเที่ยว รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต

เนื่องจากปัจจุบันการเดินทางจากอ.กะทู้ไปยังหาดป่าตองต้องใช้ ทล.4029 ซึ่งมีขนาด 2 ช่องจราจร ผ่านภูเขามีความคดเคี้ยวและลาดชันสูง โดยโครงการจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาการจราจร และอุบัติเหตุ รวมทั้งใช้เป็นเส้นทางอพยพกรณีเกิดภัยพิบัติ เช่น กรณีเกิดสึนามิ เป็นต้น

โดยก่อสร้างเป็นทางยกระดับ มีอุโมงค์อยู่ในช่วงกลางของแนวสายทางระยะทาง 3.98 กม. มีจุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อกับถนนพระเมตตา ในพื้นที่ตำบลป่าตอง เป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจรต่อทิศทาง ยกระดับข้ามถ.พิศิษฐ์กรณีย์ จนถึงเขานาคเกิด แล้วเป็นอุโมงค์ลอดเขานาคเกิด หลังจากผ่านช่วงเขาจะเป็นทางยกระดับจนสิ้นสุดโครงการในพื้นที่ตำบลกะทู้ บริเวณจุดตัด ทล.4029 วงเงินโครงการ 14,177.22 ล้านบาท

คาดว่าจะนำเสนอคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในหลักการให้ใช้ PPP และอนุมัติร่าง พ.ร.ฎ. เวรคืน.ในช่วงต้นปี 2564 เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2566 และแล้วเสร็จในปี 2570

จ่อชงรถไฟฟ้าภูเก็ต 3.5 หมื่นล้าน
2.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง โดยแบ่งเส้นทางออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง และระยะที่ 2 ช่วงสถานีรถไฟท่านุ่น – สถานีเมืองใหม่ ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.) ได้เริ่มดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 เป็นลำดับแรก ระยะทางรวม 41.7 กม. วงเงินลงทุนเบื้องต้น 35,201 ล้านบาท


PlayvolumeTruvid00:51Ad

โดยมีแนวเส้นทางเริ่มจากท่าอากาศยานภูเก็ต ก่อสร้างเป็นทางยกระดับบน ทล.4031 จากนั้น ลดระดับลงสู่ระดับดินที่ ทล.4026 และปรับโครงสร้างยกระดับอีกครั้งเพื่อข้ามทางแยกสนามบินและอุโมงค์ทางลอด ทางแยกสนามบิน เลี้ยวขวาแล้วจึงลดระดับสู่ระดับดินบน ทล.402 เพื่อเข้าสู่เมืองภูเก็ตโดยแนวเส้นทางช่วงที่ผ่านอำเภอถลางจะลดระดับเป็นทางลอดใต้ดิน ระยะทางประมาณ 3 กม. ก่อนจะปรับกลับขึ้นสู่ระดับดิน ผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี – ท้าวศรีสุนทร

ต่อมาก่อนเส้นทางทางเข้าสู่แยกบางคูจะลดระดับเป็นทางลอดใต้ดินผ่านทางแยกบางคู (แยกบายพาส) ก่อนกลับขึ้นสู่ระดับดิน เข้าสู่สถานีขนส่ง ผ่านเข้าเทศบาลเมืองภูเก็ต ถนนภูเก็ต และข้ามสะพานเทพศริสินธุ์ (คลองเกาะผี) เข้าสู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก และไปสิ้นสุดเส้นทางใกล้กับท่าเรือฉลอง บริเวณห้าแยกฉลอง

เปิด PPP เริ่มสร้างปี’66
ปัจจุบัน อยู่ระหว่าง รฟม.จัดทำเรื่องเพื่อนำเสนอกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) และครม.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักการของโครงการฯ ระยะที่ 1 และรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562

ทั้งนี้จากการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบ PPP ที่เหมาะสมในเบื้องต้น คือ การให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเอกชนลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา งานระบบ และขบวนรถไฟฟ้า และให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 30 ปี

รวมทั้งเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร และรับความเสี่ยงด้านรายได้ค่าโดยสาร รายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมด โดยรัฐจะช่วยสนับสนุนทางการเงินให้แก่เอกชนในส่วนของค่าก่อสร้างงานโยธา คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างโครงการฯ ในปี 2566 แล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2569

ตัดถนนใหม่”บ้านสาคู-บ้านเกาะแก้ว”
3.โครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่ สายเมืองใหม่ – เกาะแก้ว เนื่องจากในปัจจุบันจังหวัดภูเก็ตมีสภาพการจราจรติดขัด ส่งผลให้การเดินทางไป – กลับท่าอากาศยานภูเก็ตต้องใช้เวลานานจนผู้ใช้รถใช้ถนนบางส่วนหันไปใช้ถนนสายรองนำไปสู่อุบัติเหตุบ่อยครั้งเพราะมีสภาพคดเคี้ยวและผ่านแหล่งชุมชนอีกทั้ง ทล.4026 ยังมีแผนก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเชื่อมถึงท่าอากาศยานภูเก็ตถึงห้าแยกฉลอง

ดังนั้น กรมทางหลวงจึงได้จ้างที่ปรึกษาเพื่อบริการด้านวิศวกรรมการสำรวจและออกแบบรายละเอียดทางหลวง 4 ช่องจราจร แนวใหม่ สายบ้านสาคู – บ้านเกาะแก้ว ระยะทาง 22.4 กม. วงเงินค่าก่อสร้าง 11,568 ล้านบาท ค่าเวนคืน 11,150 ล้านบาท

จากการศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้น พบว่าโครงการฯ มีความเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุนรวมทั้งมีศักยภาพในการลดปัญหาจราจรติดขัดตลอดจนมีศักยภาพในการขยายพื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตได้อีกด้วย

ประการสำคัญจัดเป็นโครงข่ายที่ถ.วงแหวนทางด้านเหนือของเกาะภูเก็ตจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางภายในเกาะให้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันทล. ได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ

แต่เนื่องจากโครงการนี้อยู่ใกล้พื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม จึงต้องจัดทำรายงาน EIA ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะสามารถขอรับการจัดสรรงบประมาณก่อสร้างได้ในปี 2567 เปิดให้บริการในปี 2569

ลุ้นสผ.เคาะ EIA ถนน 4027
4. โครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวง 4027 ระยะทาง 20.8 กม. วงเงินค่าก่อสร้าง 1,200 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,150 ล้านบาท แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 บ้านท่าเรือ – ป่าคลอก ระยะทาง 5.9 กม. ปัจจุบันเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรแล้ว ตอนที่ 2 บ้านป่าคลอก – บ้านพารา ระยะทาง 8.4 กม.

ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร มีความก้าวหน้าประมาณร้อยละ 71 และตอนที่ 3 บ้านพารา – บ้านเมืองใหม่ ระยะทาง 6.5 กม. โดยขยายเส้นทางเดิมเป็น 4 ช่องจราจร ปัจจุบันได้ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการเตรียมการจัดส่งรายงาน EIA ให้สำนักงานและนโยบายแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 นี้

ทุ่ม 18 ล้านศึกษาทางแยก ทล.402-4027
5.โครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับที่จุดตัด ทล.402 กับ ทล.4027 (แยกท่าเรือ) ปัจจุบันมีลักษณะเป็นวงเวียนที่ตั้งของอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร มีปริมาณการจราจรคับคั่ง ความจุของทางแยกไม่เพียงพอรองรับการจราจร ก่อให้เกิดความล่าช้าและปัญหาจราจร กรมทางหลวงจึงจะดำเนินการก่อสร้างเป็นอุโมงค์ลอดใต้ทางแยกขนาด 4 ช่องจราจร โดยในปีงบประมาณ 2564 ได้รับงบประมาณสำหรับการออกแบบและรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในวงเงิน 18 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถเสนอของบประมาณก่อสร้างในปีงบประมาณ 2567

เซ็นขยายรันเวย์สนามบินตรัง มิ.ย. 64
และ 6. การพัฒนาขยายความยาวทางวิ่งท่าอากาศยานตรัง ความยาวของทางวิ่งจากเดิม 2,100 เมตร เป็น 2,990 เมตร วงเงิน 1,800 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำข้อกำหนดและขอบเขตของการจ้าง คาดว่าจะดำเนินการตามขั้นตอนและลงนามในสัญญาได้ภายในเดือนมิถุนายน 2564

ทั้งนี้ การขยายความยาวทางวิ่ง มีที่ดินที่ต้องเวนคืนทั้งสิ้น 670 ไร่ วงเงิน 500 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อออก พ.ร.ฎ. เวนคืนที่ดิน และขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2565
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2020 10:31 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ศักดิ์สยาม” ปักหมุดภูเก็ต 7.5 หมื่นล้านสร้างรถไฟฟ้า-ทางด่วน-ถนนสายใหม่
แนะนำข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 - 17:49 น.



·
“ศักดิ์สยาม”เช็กโปรเจกต์ภาคใต้ฝั่งอันดามัน 7.6 หมื่นล้าน
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 - 17:06 น.

สั่งทุกหน่วยดูเส้นทาง-ปริมาณผู้โดยสารให้ชัดๆ ชี้หากหั่นต้นทุนได้จะช่วยทำให้ค่าโดยสารถูกลง
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ส่วนโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) จ.ภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง มอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินโครงการ แบ่งเส้นทางเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต - ห้าแยกฉลอง และระยะที่ 2 ช่วงสถานีรถไฟท่านุ่น - สถานีเมืองใหม่ ซึ่ง รฟม. ได้เริ่มดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 เป็นลำดับแรก ระยะทางรวม 41.7 กม. วงเงินลงทุน 3.52 หมื่นล้านบาท
ปัจจุบัน รฟม. อยู่ระหว่างจัดทำเรื่องเพื่อเสนอกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และครม. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักการของโครงการระยะที่ 1 และรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 66 แล้วเสร็จและเปิดบริการปี 69
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44616
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/11/2020 7:21 am    Post subject: Reply with quote

'แทรม'ภูเก็ตฉลุย!เปิดประมูลมี.ค.65 ไฟเขียวขยับสถานี
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ภูเก็ต * "ครม." รับทราบโครงการรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต วงเงินลงทุน 3.52 หมื่นล้านบาท หวังช่วยแก้ปัญหาจราจร รองรับการท่องเที่ยว คาด มี.ค.65 เปิดประมูล ลงเสาเข็ม เม.ย.2566 ก่อนเปิดบริการ ก.ค.2569

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณ กุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร (ครม.สัญจร) รับทราบผลการดำเนินงานโครงการระบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยมีกรอบวงเงินลงทุนเบื้องต้น 35,201 ล้านบาท โดยตามแผนการดำเนินงาน ครม.จะ อนุมัติรูปแบบการลงทุนโครง การได้ในเดือน ต.ค.2564 คัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการในเดือน มี.ค.2565 - มี.ค.2566 เริ่มก่อสร้างเดือนเม.ย.2566 และเปิดให้บริการในเดือน ก.ค.2569

"โครงการดังกล่าวจะ ช่วยพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของ จ.ภูเก็ต ให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ แก้ไขปัญหาการจราจร เสริม สร้างศักยภาพระบบโครง สร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง สนับสนุนและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน" น.ส. ไตรศุลี กล่าว

สำหรับแนวเส้นทางโครงการของระบบขนส่งมวลชน จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 จะเริ่มจากสถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต และไปสิ้นสุดบริเวณห้าแยกฉลอง ระยะทางรวม 42 กิโลเมตร มีสถานีทั้งสิ้น 21 สถานี มีศูนย์ซ่อมบำรุงตั้งอยู่บริเวณใกล้ห้างเทสโก้โลตัสถลาง ส่วนของระบบรถไฟฟ้าจะเป็น ระบบรถไฟฟ้ารางเบาประเภท Tram แบบพื้นต่ำ เป็นระบบล้อเหล็กหรือล้อยาง ความเร็วสูงสุดไม่ต่ำกว่า 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือศีรษะ และมีระบบแบต เตอรี่สำรองสำหรับขับเคลื่อนในระยะสั้น คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารประมาณ 39,000 คน/วัน

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวถึงกรณี บจ.รถไฟความ เร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน ภายใต้การนำของกลุ่ม ซี.พี. จะขอขยับสถานีของโครงการรถไฟความ เร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอน เมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ตามสัญญาการพิจารณาคัดเลือกเอกชนเดิม ว่า เป็นสิทธิตามสัญญาที่ปรับตำแหน่งได้ หากเห็นว่าพื้นที่ใหม่เป็นประโยชน์มากกว่า และต้องได้รับอนุมัติจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ก่อนจึงย้ายได้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2020 11:29 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ปักหมุดภูเก็ต 7.5 หมื่นล้านสร้างรถไฟฟ้า-ทางด่วน-ถนนสายใหม่
แนะนำข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 - 17:49 น.

“ศักดิ์สยาม” บุกแดนใต้อันดามัน เช็กอัพ 6 โครงการ “บก-ราง-อากาศ” ทั้งด่วนกะทู้-ป่าตอง ชง พ.ร.ฎ. เวนคืนต้นปี 64 “รถไฟฟ้าภูเก็ต” จ่อเสนอสคร.-บอร์ด PPP เวนคืนหมื่นล้านผุด ถนน 4 เลน สายใหม่ “บ้านสาคู-ทล.4027 “รอเคาะ EIA” พร้อมของบ 18 ล้านศึกษาทางแยก ทล. 402-4027 เร่งขยายรันเวย์ สนามบินตรัง

วันที่ 2 พ.ย. 2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารระดับสูง ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล)

ศักดิ์สยามตะลุยรีเช็ค 6 โครงการ
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในโครงการไปบูรณาการร่วมกันในการศึกษารายละเอียดของเส้นทางและปริมาณของผู้ใช้บริการในโครงการต่างๆ โดยให้ตรวจสอบพื้นที่อย่างถี่ถ้วน อีกทั้งศึกษาการใช้เทคโนโลยี่ให้ทันกับยุคสมัยในปัจจุบันเพราะมีผลต่อโครงการและการกำหนดราคาค่าโดยสาร หากสามารถลดต้นทุนของโครงการลงได้ก็จะทำให้ราคาค่าโดยสารถูกลง

รวมทั้งให้รฟม. ทบทวนการจัดทำเอกสารข้อเสนอ RFP เพื่อเปิดกว้างให้บริษัทเข้าร่วมเสนองานรูปแบบโครงการที่เหมาะสมกับสถาณการณ์ปัจจุบันเพื่อให้สามารถลดต้นทุนของโครงการ และให้ความสำคัญในด้านมาตรการความปลอดภัยจากการใช้เส้นทางด้วย โดยมีโครงการที่พิจารณา 6 โครงการ รวมวงเงิน 75,596 ล้านบาท ประกอบด้วย



จ่อชงรถไฟฟ้าภูเก็ต 3.5 หมื่นล้าน
2.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง โดยแบ่งเส้นทางออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง และระยะที่ 2 ช่วงสถานีรถไฟท่านุ่น – สถานีเมืองใหม่ ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.) ได้เริ่มดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 เป็นลำดับแรก ระยะทางรวม 41.7 กม. วงเงินลงทุนเบื้องต้น 35,201 ล้านบาท

โดยมีแนวเส้นทางเริ่มจากท่าอากาศยานภูเก็ต ก่อสร้างเป็นทางยกระดับบน ทล.4031 จากนั้น ลดระดับลงสู่ระดับดินที่ ทล.4026 และปรับโครงสร้างยกระดับอีกครั้งเพื่อข้ามทางแยกสนามบินและอุโมงค์ทางลอด ทางแยกสนามบิน เลี้ยวขวาแล้วจึงลดระดับสู่ระดับดินบน ทล.402 เพื่อเข้าสู่เมืองภูเก็ตโดยแนวเส้นทางช่วงที่ผ่านอำเภอถลางจะลดระดับเป็นทางลอดใต้ดิน ระยะทางประมาณ 3 กม. ก่อนจะปรับกลับขึ้นสู่ระดับดิน ผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี – ท้าวศรีสุนทร

ต่อมาก่อนเส้นทางทางเข้าสู่แยกบางคูจะลดระดับเป็นทางลอดใต้ดินผ่านทางแยกบางคู (แยกบายพาส) ก่อนกลับขึ้นสู่ระดับดิน เข้าสู่สถานีขนส่ง ผ่านเข้าเทศบาลเมืองภูเก็ต ถนนภูเก็ต และข้ามสะพานเทพศริสินธุ์ (คลองเกาะผี) เข้าสู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก และไปสิ้นสุดเส้นทางใกล้กับท่าเรือฉลอง บริเวณห้าแยกฉลอง

เปิด PPP เริ่มสร้างปี’66
ปัจจุบัน อยู่ระหว่าง รฟม.จัดทำเรื่องเพื่อนำเสนอกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) และครม.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหลักการของโครงการฯ ระยะที่ 1 และรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562

ทั้งนี้จากการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบ PPP ที่เหมาะสมในเบื้องต้น คือ การให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเอกชนลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา งานระบบ และขบวนรถไฟฟ้า และให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 30 ปี

รวมทั้งเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร และรับความเสี่ยงด้านรายได้ค่าโดยสาร รายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมด โดยรัฐจะช่วยสนับสนุนทางการเงินให้แก่เอกชนในส่วนของค่าก่อสร้างงานโยธา คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างโครงการฯ ในปี 2566 แล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2569
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2020 10:50 am    Post subject: Reply with quote

ผ่าแผนคมนาคมอัดฉีด 3.06 แสนล้านพัฒนาบิ๊กโปรเจกต์ ผุด “ทางด่วน-รถไฟฟ้า” ขยายถนน-สนามบินกระตุ้น ศก.ฟื้นท่องเที่ยวอันดามัน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15:32 น.

@เปิดเอกชนร่วมลงทุนทางด่วน-รถไฟฟ้า แก้จราจร “ภูเก็ต”

โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต อยู่ในความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าฯ กทพ. กล่าวว่า เริ่มแรกปี 2552 ทางด่วนสายนี้ ริเริ่มโดยเทศบาลเมืองป่าตอง การศึกษาพบว่ามีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ แต่มูลค่าการลงทุนสูง ทางเทศบาลเมืองป่าตองไม่สามารถดำเนินการเองได้ ต่อมาในปี 2555 ในการประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดภูเก็ต ครม.ได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมโดย กทพ.ดำเนินการ โดยได้มีการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการและจัดทำรายงานการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน Public Private Partnership (PPP) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบรายงาน EIA แล้วเมื่อปี 2561

ขณะนี้ได้ทำหนังสือขออนุญาตใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้ ซึ่งล่าสุดกรมป่าไม้จะเร่งรัดการประสานงานกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) คาดว่าจะอนุญาตการใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการอย่างช้าไม่เกินเดือน ม.ค. 2564

ตามแผนงาน กทพ.คาดว่าจะเสนอโครงการฯ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เห็นชอบในเดือน ม.ค. 2564 และ ครม.อนุมัติหลักการของโครงการในเดือน พ.ค. 2564 และดำเนินการคัดเลือกผู้รับสัมปทานให้ได้ภายในเดือน มิ.ย. 2564 หากเป็นไปตามแผนคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2570

ทางด่วนสายกะทู้-ป่าตองมีระยะทาง 3.98 กม. มูลค่า 14,177 ล้านบาท เป็นโครงการแรกของ กทพ.ที่ดำเนินโครงการในต่างจังหวัด มีลักษณะพิเศษที่จะมีการเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาความยาว 1.85 กม. และจะเป็นทางด่วนที่อนุญาตให้รถจักรยานยนต์ขึ้นใช้ได้สายแรก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากทั้งต่อประชาชนในพื้นที่รวมถึงนักท่องเที่ยว เพราะปัจจุบันการเดินทางจากอำเภอกะทู้ไปยังชายหาดป่าตองต้องใช้เส้นทางข้ามภูเขานาคเกิด เส้นทางมีความคดเคี้ยว ลาดชัน ทำให้ที่ผ่านมามีอุบัติเหตุและเกิดความสูญเสียบ่อยครั้ง

ส่วนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ศึกษาเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (แทรมป์) ระยะทาง 60 กม. แบ่งดำเนินการ 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น-เมืองใหม่ ซึ่งขณะนี้ รฟม.ได้ศึกษาจัดทำ PPP ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. วงเงินลงทุน 35,201 ล้านบาท อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลนำเสนอกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติได้ในเดือน ต.ค. 2564 เปิดประมูลในช่วงต้นปี 2565 ก่อสร้างปี 2566 เปิดให้บริการปี 2569

แทรมป์ภูเก็ตจะใช้รูปแบบ PPP Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเอกชนลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา งานระบบ และขบวนรถไฟฟ้า และให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 30 ปี รวมทั้งเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร และรับความเสี่ยงด้านรายได้ค่าโดยสาร โดยรัฐจะสนับสนุนเอกชนในส่วนของค่าก่อสร้างงานโยธา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44616
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2020 7:26 am    Post subject: Reply with quote

ฝันค้างแทรมภูเก็ตเหลือบีอาร์ที
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ศักดิ์สยามสั่งปรับแบบลดต้นทุน ประหยัดกว่าหมื่นล้านชงครม.ปีนี้

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้รายงานความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้า รางเบา (แทรม) จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติ-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. วงเงินประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.) สัญจร ที่ จ.ภูเก็ต ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานรับทราบ โดยขณะนี้ได้มอบ รฟม.ไปพิจารณาปรับรูปแบบระบบการเดินรถ เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้างซึ่งปัจจุบันเมืองใหญ่ ๆ ในต่างประเทศ ก็ปรับมาใช้รถเมล์ไฟฟ้า (EV) ล้อยางกันแล้วช่วยประหยัดค่าก่อสร้างได้หมื่นกว่าล้านบาท ไม่ต้องทำระบบราง และระบบอาณัติสัญญาณอีกทั้งยังเกิดประโยชน์กับประชาชน เพราะค่าโดยสารถูกลง

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า รฟม. กำลังออกแบบ รายละเอียดโครงการ ยังปรับปรุงได้ในร่างเงื่อนไขเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) ก็ไม่ได้ปิดกั้นว่าต้องเป็นแทรมเท่านั้นเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนก็ควรเปลี่ยนการเดินรถรูปแบบเดิม ๆ ที่มีราคาแพงและความคุ้มค่าน้อย เพราะดูผลการศึกษาล่าสุดก็พบว่ามีผู้ใช้บริการเพียงแค่ประมาณ 3.9 หมื่นคนต่อวัน การปรับ รูปแบบน่าจะใช้เวลาพิจารณาไม่นานว่าจะเลือกใช้รูปแบบใดแทนแทรม เบื้องต้นน่าจะเป็นรูปแบบรถเมล์บีอาร์ที แต่เป็นแบบ ไฟฟ้า วิ่งตามแนวเกาะกลางถนนคาดว่าจะเสนอที่ประชุม ครม.พิจารณาเห็นชอบได้ภายในปี 63 และมีแผนเปิดบริการปี 69

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า การใช้พื้นที่เกาะกลางถนน ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรซึ่ง รฟม. ได้หารือกรมทางหลวง (ทล.) แล้ว จะรื้อเกาะกลางออกทำผิวจราจรใหม่และใช้แบริเออร์กั้นระหว่างเลนของรถเมล์บีอาร์ทีและรถยนต์ทั่วไป แต่สิ่งที่ รฟม.ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือ การสร้างสถานีให้ผู้โดยสารเข้าใช้บริการ ต้องปรับแบบเพิ่มเติมหรือไม่ และบางแห่งยังใช้พื้นที่เป็นเชิงพาณิชย์ได้ด้วย นอก จากนี้ต้องพิจารณาด้วยว่าเมื่อ รถถึงทางแยกต้องปรับเป็นแบบใด เช่น ทำเป็นอุโมงค์ลอด หรือหากจะให้ประหยัดเงินมากขึ้นควรใช้เพียงแค่การบริหารสัญญาณ ไฟจราจรต้องให้รถเมล์บีอาร์ที ไปก่อน

นายศักดิ์สยาม กล่าว ด้วยว่า ส่วนเรื่องเส้นทางเดินรถและจำนวนสถานีนั้นยังคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงโดยมีระยะทางประมาณ 42 กม. และมี 21 สถานี ในอนาคตยังมีแผนให้โครงการนี้เชื่อมกับรถไฟที่จะไปพังงาที่บริเวณท่าอากาศยานภูเก็ตด้วยเพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไป จ.พังงา มีระยะทางประมาณ 4 กม.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับ โครงการแทรมภูเก็ต แนวเส้นทาง โครงการฯ เริ่มจากท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ไปตามทางหลวง หมายเลข 4031 (แยกศาลาแดง-แยกหมากปรก) เชื่อมทางหลวงหมายเลข 4036 (แยกเหนือคลอง-แหลมกรวด) เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 (โคกกลอย-เมืองภูเก็ต) เพื่อเข้าเมืองภูเก็ต จากนั้นผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร ข้ามสะพานสารสินมุ่งหน้าสถานีปลายทางท่าเรือฉลอง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2020 10:42 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ฝันค้างแทรมภูเก็ตเหลือบีอาร์ที
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ช่างหาเรื่องฆ่าตัวตายทางการเมืองโดยแท้

คมนาคมปรับแบบแทรมภูเก็ตลั่นช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างกว่าหมื่นล้าน

06 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09:51 น.

6 พ.ย.63-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) จ.ภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติ-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร (กม.) วงเงินประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.)สัญจร ที่ จ.ภูเก็ต ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานรับทราบ โดยขณะนี้ได้มอบให้ รฟม. ไปพิจารณาปรับรูปแบบระบบการเดินรถ เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบันเมืองใหญ่ๆ ในต่างประเทศ ก็ปรับมาใช้เป็นรถเมล์ไฟฟ้า (EV) ล้อยางกันแล้ว ช่วยประหยัดค่าก่อสร้างได้หมื่นกว่าล้านบาท เพราะไม่ต้องทำระบบราง และระบบอาณัติสัญญาณ อีกทั้งยังเกิดประโยชน์กับประชาชน เพราะค่าโดยสารจะถูกลงด้วย

ผมบาง ผมร่วง แก้ปัญหาง่ายๆ นวัตกรรมหนึ่งเดียวทีมีทั้งอะดีโนซีนและคาเฟอีน มีงานวิจัยรองรับ
Dr.Somchai I Skin Solutions
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงที่ รฟม. กำลังออกแบบรายละเอียดโครงการยังสามารถปรับปรุงได้ และในร่างเงื่อนไขเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) ก็ไม่ได้ปิดกั้นว่าจะต้องเป็นแทรมเท่านั้น ดังนั้นเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ก็ควรเปลี่ยนการเดินรถในรูปแบบเดิมๆ ที่มีราคาแพง และความคุ้มค่าน้อย เพราะจากการดูผลการศึกษาล่าสุด ก็พบว่ามีผู้ใช้บริการเพียงแค่ประมาณ 3.9 หมื่นคนต่อวัน อย่างไรก็ตามการปรับรูปแบบระบบการเดินรถดังกล่าว น่าจะใช้เวลาในการพิจารณาไม่นานว่าจะเลือกใช้รูปแบบใดแทนแทรม เบื้องต้นน่าจะเป็นรูปแบบรถเมล์บีอาร์ที แต่เป็นแบบไฟฟ้า วิ่งตามแนวเกาะกลางถนน โดยคาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาเห็นชอบได้ภายในปี 63 และมีแผนจะเปิดให้บริการในปี 69

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า การใช้พื้นที่เกาะกลางถนน ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ซึ่ง รฟม. ได้หารือกับกรมทางหลวง (ทล.) แล้ว ซึ่งการดำเนินการจะรื้อเกาะกลางออก ทำผิวจราจรใหม่ และใช้แบริเออร์กั้นระหว่างเลนของรถเมล์บีอาร์ที และรถยนต์ทั่วไป แต่สิ่งที่ รฟม. ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือ การสร้างสถานีที่จะให้ผู้โดยสารเข้าไปใช้บริการ ต้องมีการปรับแบบเพิ่มเติมหรือไม่ และบางแห่งยังสามารถนำพื้นที่ใช้เป็นเชิงพาณิชย์ได้ด้วย นอกจากนี้ต้องพิจารณาด้วยว่าเมื่อรถถึงทางแยก จะต้องปรับเป็นแบบใด เช่น ทำเป็นอุโมงค์ลอด หรือหากจะให้ประหยัดเงินมากขึ้น ก็ควรใช้เพียงแค่การบริหารสัญญาณไฟจราจร ซึ่งต้องให้รถเมล์บีอาร์ทีไปก่อน

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ส่วนเรื่องเส้นทางเดินรถ และจำนวนสถานีนั้น ยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีระยะทางประมาณ 42 กม. และมี 21 สถานี อย่างไรก็ตามในอนาคตยังมีแผนจะให้โครงการนี้เชื่อมกับรถไฟที่จะไปพังงาที่บริเวณท่าอากาศยานภูเก็ตด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไป จ.พังงา มีระยะทางประมาณ 4 กม.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงการแทรมภูเก็ต แนวเส้นทางโครงการฯ เริ่มจากท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ไปตามทางหลวงหมายเลข 4031 (แยกศาลาแดง-แยกหมากปรก) เชื่อมทางหลวงหมายเลข 4036 (แยกเหนือคลอง-แหลมกรวด) เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 (โคกกลอย-เมืองภูเก็ต) เพื่อเข้าเมืองภูเก็ต จากนั้นผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี และท้าวศรีสุนทร ข้ามสะพานสารสิน มุ่งหน้าสถานีปลายทางท่าเรือฉลอง.


รื้อแทรมป์ภูเก็ต! “ศักดิ์สยาม” ตีกลับสั่ง รฟม.ปรับใช้ BRT ล้อยาง-ประหยัดค่าก่อสร้าง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 06 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 14:52 น.



“ศักดิ์สยาม” ตีกลับรถแทรมป์ภูเก็ต สั่ง รฟม.รื้อศึกษาใหม่ปรับเป็นล้อยาง รูปแบบ BRT เพื่อประหยัดค่าก่อสร้าง หลังประเมินมีผู้โดยสาร 39,000 คน/วัน ทำให้ผลตอบแทนต่ำ ชี้เป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาจราจร เน้นการลงทุนต่ำ ก่อสร้างได้เร็ว

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้สรุปผลการศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. กรอบวงเงินลงทุนเบื้องต้น 35,201 ล้านบาท และได้รายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่ จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 3 พ.ย.นั้นไปแล้ว ตนได้ให้นโยบายแก่ รฟม.ศึกษาปรับปรุงรูปแบบโครงการเพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้าง และใช้เวลาก่อสร้างน้อยกว่า เบื้องต้น นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม รายงานว่ามีเทคโนโลยีอื่นที่สามารถดำเนินการแทนรถแทรมป์ที่เป็นล้อเหล็กได้ เช่น ปรับเป็นรถล้อยาง ซึ่งมีเทคโนโลยีที่มีต้นทุนต่ำกว่า คือ ระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) โดยใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน เป็นต้น

ส่วนผลศึกษาที่สรุปเป็นรถไฟฟ้ารางเบา หรือรถแทรมป์นั้น พบว่าใช้เงินลงทุนสูง เพราะคาดจำนวนผู้โดยสารประมาณ 39,000 คนต่อวัน ทำให้ผลตอบแทนการลงทุน EIRR ต่ำมาก ซึ่งในการลงทุนโครงการจะต้องดูเรื่องความคุ้มค่า และผลตอบแทนประกอบด้วย

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า เป้าหมายของการแก้ปัญหาจราจรที่จังหวัดภูเก็ต คือ สร้างระบบขนส่งมวลชนที่ขนคนและทำให้เดินทางเร็วขึ้น ซึ่งรถ BRT เป็นทางเลือกหนึ่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า การก่อสร้างทำได้ง่ายกว่า โดยใช้พื้นที่เกาะกลางถนน ปรับปรุงผิวทางและแบ่งกั้นช่องทางให้ชัดเจน และในอนาคตหากมีจำนวนผู้โดยสารมากขึ้น สามารถพ่วงต่อรถโดยสารเพิ่มได้

“ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอโครงการ สามารถปรับปรุงเพิ่มเติมได้ และยังมีเวลาโดยตามแผนจะมีการประมูลและก่อสร้างในปี 2564 ส่วน TOR จะไม่มีการปิดกั้นการนำเสนอของเอกชน โดยสุดท้ายจะตัดสินกันที่เทคนิคและความคุ้มค่าการลงทุน”

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. มูลค่า 35,201 ล้านบาท คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธาน ได้มีมติอนุมัติผลการศึกษาเมื่อ วันที่ 21 ต.ค. 63 โดยอยู่ในขั้นตอนเสนอกระทรวงคมนาคม จากนั้นจะเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) โดยตามแผนงานคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติได้ในเดือน ต.ค. 2564 คาดว่าจะเปิดประมูล ในช่วงต้นปี 2565 คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างโครงการฯ ในปี 2566 แล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2569

โครงการจะดำเนินในรูปแบบ PPP Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเอกชนลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา งานระบบ และขบวนรถไฟฟ้า และให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 30 ปี รวมทั้งเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร และรับความเสี่ยงด้านรายได้ค่าโดยสาร รายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมด โดยรัฐจะช่วยสนับสนุนทางการเงินให้แก่เอกชนในส่วนของค่าก่อสร้างงานโยธา มีมูลค่ารวม 35,201 ล้านบาท มีค่างานโยธา 24,774 ล้านบาท งานระบบ รถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท ค่าขบวนรถไฟฟ้า 2,921 ล้านบาท ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,449 ล้านบาท ค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 50 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง 1,065 ล้านบาท ค่า Provisional Sum 1,428 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีครึ่ง
แนวเส้นทางเริ่มจากท่าอากาศยานภูเก็ต ก่อสร้างเป็นทางยกระดับบน ทล.4031 จากนั้นลดระดับลงสู่ระดับดินที่ ทล.4026 และปรับโครงสร้างยกระดับอีกครั้งเพื่อข้ามทางแยกสนามบินและอุโมงค์ทางลอด ทางแยกสนามบิน เลี้ยวขวาแล้วจึงลดระดับสู่ระดับดินบน ทล.402 เพื่อเข้าสู่เมืองภูเก็ตโดยแนวเส้นทางช่วงที่ผ่านอำเภอถลางจะลดระดับเป็นทางลอดใต้ดิน ระยะทางประมาณ 3 กม. ก่อนจะปรับกลับขึ้นสู่ระดับดิน ผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร ต่อมาก่อนเส้นทางทางเข้าสู่แยกบางคูจะลดระดับเป็นทางลอดใต้ดินผ่านทางแยกบางคู (แยกบายพาส) ก่อนกลับขึ้นสู่ระดับดิน เข้าสู่สถานีขนส่ง ผ่านเข้าเทศบาลเมืองภูเก็ต ถนนภูเก็ต และข้ามสะพานเทพศริสินธุ์ (คลองเกาะผี) เข้าสู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก และไปสิ้นสุดเส้นทางใกล้กับท่าเรือฉลอง บริเวณห้าแยกฉลอง มี 21 สถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2020 9:08 pm    Post subject: Reply with quote

หา!!! อะไรนะ!!! รมต. แซ่รื้อ จะเปลี่ยนรถไฟฟ้าภูเก็ต จาก LRT (รถราง) เป็น รถเมล์ด่วน BRT จากของเดิมก็เปิดกว้างให้ใช้ LRT ล้อยางได้!!! รื้อไป รื้อมา ไม่ต้องสร้างกันพอดี
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
06 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 18:38 น.

วันนี้ขอเอา Topic ใหญ่จาก เพจ ข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์ เรื่องที่ รัฐมนตรีคมนาคม สั่งให้ปรับ รูปแบบรถไฟฟ้า LRT (รถราง) เมืองภูเก็ต เป็น รถเมล์ BRT ไฟฟ้า (EV) แทน เพื่อลดมูลค่าการลงทุน

ผมเลยขอเอารายละเอียดโครงการ รถไฟฟ้า LRT ภูเก็ต ที่เคยเสนอ มาให้เพื่อนๆ อ่านหน่อยครับ
—————————
ผมจะขอดึงรายละเอียด จากผลการศึกษาเดิม ส่วนหนึ่ง มาเพื่อให้ข้อมูล เรื่องระบบรถไฟฟ้า ที่จะให้บริการในโครงการ
ซึ่งในโครงการศึกษารถไฟฟ้าภูเก็ต ได้เปิดกว้าง ในด้านเทคโนโลยี ของรถไฟฟ้า LRT ให้สามารถ ใช้แบบ ล้อเหล็ก หรือ ล้อยาง แบบ Auto tram ก็ได้
ซึ่งมันก็ครอบคลุมการให้บริการ และการลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้ แต่เปิดช่องให้เอกชนเป็นผู้เลือกรูปแบบที่เหมาะสมในการลงทุนเอง ที่จะมองไปถึงอนาคต กับการปริมาณผู้โดยสารเอง ให้เหมาะสม
แต่การที่ รมต. ได้ตั้งธงเปลี่ยนรูปแบบให้เป็น BRT แบบนี้ จะกลายเป็นการจำกัดกรอบของระบบรถไฟฟ้าไปเลย

ซึ่งการที่บอกว่า จากการประเมินผู้โดยสาร 30,000 คน/วัน ที่ รมต. บอกว่าน้อย ไม่คุ้มนั้น
รู้รึเปล่าว่าภูเก็ต เป็นระบบขนส่งมวลชนในภูมิภาค ที่มีผู้โดยสารใช้บริการมากที่สุดเลย ถ้าเทียบกับโครงการของจังหวัดภูมิภาคอื่นๆ มีแค่หลัก 10,000-20,000 เท่านั้นเอง!!!
—————————
ข้อดีของระบบรถรางที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ
ระบบรถรางเป็นะระบบรถไฟฟ้า ที่มีผลกับจิตวิทยาของผู้โดยสาร เพื่อส่งเสริมการการเดินเท้า พัฒนาเมืองสร้างสรรค์ และการพัฒนา Walkable City ไปในทันที
แต่การทำ BRT เป็นเหมือนการตัดระบบขนส่งทางถนนไม่ขาด ถ้ารถติดก็จะเอารถมาวิ่งบนเลน BRT เหมือน BRT พระราม 3 ซึ่งสุดท้าย มันก็ไม่ตอบโจทย์ของระบบขนส่งมวลชน ซึ่งเป็นหลักของเมืองอยู่ดี
—————————
แต่ถ้าต้องการจะทำเป็น BRT จริงๆ
ผมขอเสนอเป็น Bus Lane และขยายสายรถเมล์ให้มากขึ้นกว่าการทำสายหลักดีกว่าครับ
น่าจะมีประโยชน์กับคนหมู่มาก มากกว่า การทำ BRT สายเดียวครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2020 7:02 pm    Post subject: Reply with quote

ทัวร์ลง! ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ดับฝัน"แทรมภูเก็ต"เปลี่ยนเป็นบีอาร์ที
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง
อังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08.00 น.


เหมือนจะมีความชัดเจนว่าจ. ภูเก็ตจะไม่มีแทรมเป็นระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งโครงการนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาโครงการมาตั้งแต่ปี 2555 เส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต–ห้าแยกฉลอง และส่งไม้ต่อให้รฟม.



เป็นอีก1บิ๊กโปรเจกท์ล๊อตใหญ่งบประมาณรวมนับแสนล้านที่รัฐบาลอัดใส่จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและเขย่าเศรษฐกิจในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.)สัญจรที่ จ.ภูเก็ตเมื่อวันที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา โครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา หรือแทรม จ.ภูเก็ตระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติ-ห้าแยกฉลองระยะทาง 41.7 กม. วงเงินประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท ของกระทรวงคมนาคมที่นำรายงานสถานะโครงการให้ที่ประชุมครม.รับทราบ

แต่ในที่สุด นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กลับให้คำตอบกับผู้สื่อข่าวกระทรวงคมนาคม ว่า ได้มอบหมายการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เจ้าของโครงการไปพิจารณาปรับรูปแบบระบบการเดินรถ เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบันเมืองใหญ่ๆ ในต่างประเทศ ปรับมาใช้เป็นรถเมล์ไฟฟ้า (EV) ล้อยางกันแล้ว ช่วยประหยัดค่าก่อสร้างได้หมื่นกว่าล้านบาท เพราะไม่ต้องทำระบบราง และระบบอาณัติสัญญาณ อีกทั้งยังเกิดประโยชน์กับประชาชนเนื่องจากค่าโดยสารจะถูกลงด้วย





เหมือนจะมีความชัดเจนว่าจ. ภูเก็ตจะไม่มีแทรมเป็นระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งโครงการนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาโครงการมาตั้งแต่ปี 2555 เส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต–ห้าแยกฉลอง และส่งไม้ต่อให้รฟม. จัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 รวมทั้งจัดทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการต่อไป

“ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงที่ รฟม. กำลังออกแบบรายละเอียดโครงการยังสามารถปรับปรุงได้ และในร่างเงื่อนไขเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) ก็ไม่ได้ปิดกั้นว่าจะต้องเป็นแทรมเท่านั้น ดังนั้นเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ก็ควรเปลี่ยนการเดินรถในรูปแบบเดิมๆ ที่มีราคาแพง และความคุ้มค่าน้อย เพราะดูผลการศึกษาล่าสุดก็พบว่ามีผู้ใช้บริการเพียงแค่ประมาณ 3.9 หมื่นคนต่อวัน น่าจะใช้เวลาพิจารณาไม่นานว่าจะเลือกใช้รูปแบบใดแทนแทรม เบื้องต้นน่าจะเป็นรูปแบบรถเมล์บีอาร์ที แต่เป็นแบบไฟฟ้า วิ่งตามแนวเกาะกลางถนน โดยคาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาเห็นชอบได้ภายในปี 63 และมีแผนเปิดบริการในปี 69 ” รมว.คมนาคมอธิบายถึงความสมเหตุสมผลทีต้องเปลี่ยน

รมว.คมนาคมระบุด้วยว่า การใช้พื้นที่เกาะกลางถนน ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ซึ่ง รฟม. ได้หารือกับกรมทางหลวง (ทล.) แล้ว จะรื้อเกาะกลางออก ทำผิวจราจรใหม่ และใช้แบริเออร์กั้นระหว่างเลนของรถเมล์บีอาร์ที และรถยนต์ทั่วไป แต่สิ่งที่ รฟม. ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือ การสร้างสถานีที่จะให้ผู้โดยสารเข้าไปใช้บริการ ต้องปรับแบบเพิ่มเติมหรือไม่ และบางแห่งยังสามารถใช้พื้นที่ในเชิงพาณิชย์ได้ด้วย นอกจากนี้ต้องพิจารณาด้วยว่าเมื่อรถถึงทางแยก จะต้องปรับเป็นแบบใด เช่น ทำเป็นอุโมงค์ลอด หรือหากจะให้ประหยัดเงินมากขึ้น ก็ควรใช้เพียงแค่การบริหารสัญญาณไฟจราจรให้รถเมล์บีอาร์ทีไปก่อน







บรรดาโครงการรถไฟฟ้ารางเบาในภูมิภาค ภายใต้ความรับผิดชอบของรฟม.นอกจากแทรมภูเก็ตแล้วยังมีอีก 3จังหวัดคือ เชียงใหม่ นครราชสีมา และพิษณุโลก ตามแผนเดิมรฟม.หมายมั่นว่าแทรมภูเก็ตจะเป็นจังหวัดแรกที่รฟม.จะปักธงด้วยการขยายรถไฟฟ้าให้คนต่างจังหวัดได้ใช้บริการ สาเหตุสำคัญที่แทรมภูเก็ตต้องเปลี่ยนมาเป็นบีอาร์ทีเพราะตัวเลขผู้โดยสารที่สนข.คาดการณ์จะอยู่ที่วันละ8หมื่นคนแต่ผลการศึกษาของรฟม.ออกมาจะมีผู้ใช้บริการแค่3หมื่นกว่าคนเท่านั้น

ขณะเดียวกันมีรายงานข่าวว่า ก่อนหน้านี้คณะกรรม(บอร์ด)รฟม.ได้สั่งการให้รฟม.ทบทวนความคุ้มค่าในการสร้างแทรมใน 4 จังหวัดอย่างละเอียดก่อนเปิดประมูลจริง เพราะกังวลว่ารูปแบบการลงทุนแบบพีพีพีเมื่อเปิดให้บริการแล้ว เกิดภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เอกชนทิ้งโครงการ รฟม.ทำได้แค่ยึดเงินประกันซึ่งมีไม่มาก ขณะเดียวคนในต่างจังหวัดนิยมใช้รถจักรยานยนต์ เพราะสะดวกและรวดเร็วกว่า

ฉับพลันที่นายศักดิ์สยาม ประกาศเปลี่ยนโครงการรถไฟฟ้าจ. ภูเก็ตเป็นแค่บีอาร์ที ทัวร์ลง! รมว. คมนาคมทันที ถูกวิพากษ์วิจารณ์ยับว่าสมฉายา “แซ่รื้อ” ดับฝันคนต่างจังหวัดที่จะได้นั่งรถไฟฟ้า ขนาดภูเก็ตเมืองท่องเที่ยวอันดับ1 ของประเทศไทย ยังฝันสลายที่จะมีแทรมมาสร้างมูลค่าให้เมืองภูมิภาค และดึงดูดนักท่องเที่ยว นับประสาอะไรกับจังหวัดอื่นๆ ที่รฟม. กำลังศึกษาคงจะฝันค้างเช่นเดียวกัน





ปัจจุบันรถโดยสารด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit) หรือ BRT เปิดบริการในกรุงเทพฯโดยบริษัทกรุงเทพธนาคมหรือเคที ให้บริการมาตั้งแต่ปี 2553 บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และถนนพระราม 3 เริ่มต้นที่สถานีสาทร สิ้นสุดสถานีราชพฤกษ์ รวม 12 สถานี ระยะทาง 16 กม. มีรถให้บริการ 25 คันตั้งแต่เวลา 06:00 - 24:00 น. อัตราค่าโดยสาร 15 บาท ตลอดสาย เป็นระบบขนส่งมวลชนที่มีผลประกอบการขาดทุน

ย้อนไปนานกว่านั้น เคยมีบีอาร์ทีวิ่งชิดเกาะกลางลาดพร้าว แต่ก็ต้องล้มโครงการเพราะไม่เวิร์ก ก่อนหน้านี้ประมาณช่วงต้นปีที่ผ่านมา รมว. ศักดิ์สยาม สั่งการให้สนข. ศึกษาโครงการบัสเลนกลางถนน โดยใช้โมเดลจากประเทศเกาหลีใต้ที่ไปดูงานมาเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ หวังแจ้งเกิดบนถนนพระราม4 และถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แต่จนป่านนี้ก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างเพราะมีปัญหาอุปสรรคต่างๆมากมาย


แทรมภูเก็ตถูกดับฝันไปแล้ว 1 สาย ต้องตามลุ้นว่าที่เหลือจะแจ้งเกิดได้หรือไม่!!!
................................
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2020 6:57 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. รับลูก “ศักดิ์สยาม” รื้อแทรมภูเก็ตเป็น “รถ BRT ไฟฟ้า” ลงทุน 3 หมื่นล้าน
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 - 16:38 น.

บอร์ด รฟม. รับทราบผลศึกษารถไฟฟ้า จ.ภูเก็ต หลัง ”ศักดิ์สยาม” สั่งทบทวนใหม่ หวังลดเงินลงทุนโครงการ 3.5 หมื่นล้าน ชง 2 ระบบให้เลือก ”รถรางล้อยาง” ต้นทุนทะลุ 3.7 หมื่นล้าน ส่วนรถบีอาร์ทีไฟฟ้าประหยัด 30% เหลือ 3 หมื่นล้าน คาดโครงการดีเลย์ 1 ปี

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2563 ได้รายงานที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. มี นายสราวุธ ทรงศิวิไล เป็นประธาน ถึงผลการศึกษาทางเลือกของโครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต ช่วงสนามบินภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กม. วงเงิน 35,201 ล้านบาท

หลังมีข้อสังเกตจาก นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งได้ลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต แล้วให้รฟม.ทบทวนนำระบบรถเมล์ชิดเกาะกลาง (บีอาร์ที) ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า เป็นทางเลือกเพิ่ม เพื่อลดต้นทุนโครงการจากเดิม รฟม.เสนอเป็นระบบรถรางล้อเหล็ก (แทรม)

เสนอ 2 ระบบเปรียบเทียบ
รายงานบอร์ดในเบื้องต้นศึกษา 2 รูปแบบ คือ รถรางแบบล้อยาง มีข้อดีเรื่องวงเลี้ยว แต่ข้อเสียสามารถเกิดยางระเบิดได้ง่าย หากวิ่งบนสภาพื้นที่มีอากาศร้อน อาจจะไม่เหมาะกับประเทศไทย อีกทั้งในตลาดมีผู้ผลิตน้อยราย อาทิ ฝรังเศส จีน และยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ทำให้ต้นทุนการจัดหาระบบจะสูงกว่าระบบเดิมเป็นรถรางล้อเหล็กประมาณ 15% ส่งผลให้มูลค่าลงทุนเพิ่มจากระบบเดิม 35,201 ล้านบาท เป็น 37,000 ล้านบาท



อีกระบบเป็นรถบีอาร์ที ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า ต้นทุนจะถูกว่าระบบเดิมประมาณ 30% อยู่ที่ประมาณ 30,000 ล้านบาท แต่จำนวนขบวนรถจะต้องซื้อเพิ่มจากเดิม 22 ขบวน เป็น 44 ขบวน เนื่องจากขบวนรถบีอาร์ทีสั้นจุผู้โดยสารได้น้อยกว่า แต่ราคาเฉลี่ยต่อคันจะถูกกว่าประมาณ 30% และไม่ต้องวิ่งบนราง สามารถลดต้นทุนไปได้ แต่จะต้องสร้างสถานีชาร์จไฟฟ้าเพิ่มขึ้น


PlayvolumeTruvid00:08Ad

“แนวเส้นทาง การเวนคืนที่ดิน และระบบโครสร้างงานโยาธายังเหมือนเดิมมีวิ่งบนระดับพื้นดินและโครงสร้างยกระดับ แต่ตัดงานวางรางออก และเพิ่มการสร้างสถานีชาร์จไฟฟ้า”

ศึกษา PPP-EIA ใหม่ ดีเลย์ 1 ปี
นายภคพงศ์กล่าวอีกว่า ทั้งนี้บอร์ดให้ รฟม.นำผลศึกษาเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณาเพิ่มเติมจากเดิมที่เสนอโครงการไปแล้ว หากเห็นกระทรวงเห็นด้วยกับผลศึกษาที่ส่งเพิ่มไปและเลือกว่าจะใช้ระบบไหน จากนั้น รฟม.ต้องกลับมาศึกษารูปแบบ PPP ใหม่ ถึงความคุ้มทุนของโครงการ ซึ่งหากนโยบายให้สร้างเป็นระบบบีอาร์ทีไฟฟ้า รัฐจะได้ผลตอบแทนสูงกว่าเดิม 2 เท่า และค่าโดยสารจะถูกลงด้วย จากเดิมเก็บสูงสุด 150 บาท

รวมถึงทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ใหม่ด้วยเช่นกัน คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 6-8 เดือน ทำให้โครงการล่าช้าจากแผนเดิมประมาณ 1 ปี เนื่องจากมีขั้นตอนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) พิจารณา จากเดิมคาดว่าเสนอ ครม. ในเดือน ต.ค. 2564 จะขยับเป็น ต.ค.2565
เริ่มประมูลปี 2566 เริ่มสร้างปี 2567 และเปิดบริการในปี 2570 คาดว่ามีผู้โดยสาร 39,000 เที่ยวคน/วัน

เอกชนลงทุนทั้งโครงการ
“รูปแบบการลงทุน ยังคงเป็น PPP net cost ระยะเวลา 30 ปีให้เอกชนลงทุนทั้งก่อสร้าง จัดหาระบบและรับสัมปทานเดินรถ โดย รฟม.เวนคืนที่ดินและสนับสนุนไม่เกินค่างานโยธา เหมือนสายสีชมพู สีเหลือง และสีส้มตะวันตก” นายภคพงศ์กล่าว

สำหรับโครงการตามผลศึกษาเดิมผ่านการอนุมัติบอร์ด รฟม. ไปเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2563 มีวงเงินลงทุน 35,201 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,499 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 24,774 ล้านบาท ค่างานระบบรถไฟฟ้า 3,514 ล้านบาท ค่าขบวนรถไฟฟ้า 2,921ล้านบาท, ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 1,065 ล้านบาท และ Provisional Sum 1,428 ล้านบาท

แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีสนามบินภูเก็ต โดยแนวเส้นทางช่วงนี้เป็นโครงสร้างแบบยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 4031 จากนั้นลดระดับลงสู่ระดับดินที่ทางหลวงหมายเลข 4026 มุ่งหน้าเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 เพื่อเข้าสู่เมืองภูเก็ต

โดยแนวเส้นทางช่วงผ่าน อ.ถลาง จะลดระดับเป็นทางลอดใต้ดิน มีระยะทางประมาณ 3 กม. จากนั้นแนวเส้นทางจะกลับขึ้นสู่ระดับดิน ผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี – ท้าวศรีสุนทร (อนุสาวรีย์วีรสตรี) สถานีขนส่ง

เข้าสู่เขตเทศบาลเมืองภูเก็ต ผ่าน ถ.ภูเก็ต และข้ามสะพานเทพศรีสินธุ์ (สะพานข้ามคลองเกาะผี) เพื่อเข้าสู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก (ทางหลวงหมายเลข 4021) และไปสิ้นสุดที่บริเวณห้าแยกฉลอง ระยะทางรวมประมาณ 42 กม.

รฟม.ปรับโมเดล “รถไฟฟ้าภูเก็ต” เป็น BRT ประหยัด 5,000 ล้าน เร่งชง “ศักดิ์สยาม” ตัดสินใจ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 - 17:49 น.




บอร์ด รฟม.เคาะเพิ่ม 2 ทางเลือกระบบขนส่งภูเก็ต ชง “ศักดิ์สยาม” ตัดสินใจ เผย “แทรมป์ล้อยาง” ค่าลงทุน 3.7 หมื่นล้าน เพิ่มจากเดิม 2 พันล้าน ส่วน BRT ไฟฟ้าถูกสุดเหลือ 3 หมื่นล้าน คาดรื้อการศึกษา PPP เลื่อนแผนเปิดเป็นปี 70

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล เป็นประธาน วานนี้ (18 พ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการศึกษาเบื้องต้นทางเลือกโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทางรวม 41.7 กม. เพิ่มเติม 2 รูปแบบ คือ ระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง (รถแทรมป์) และรถโดยสารด่วนพิเศษไฟฟ้า (BRT) โดยจะนำรายงานต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป ซึ่งเป็นการดำเนินการตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีข้อสังเกตในการเลือกระบบขนส่งมวลชนที่ลดต้นทุนในการดำเนินงาน ในช่วงที่ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดภูเก็ตเมื่อต้นเดือน พ.ย.

ผลการศึกษาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตที่ รฟม.สรุปเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมไปก่อนหน้านี้ จะเป็นรถแทรมป์ล้อเหล็ก มีมูลค่าลงทุน 35,201 ล้านบาท รูปแบบ PPP Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเอกชนลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธา งานระบบ และขบวนรถไฟฟ้า และให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 30 ปี รวมทั้งเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร และรับความเสี่ยงด้านรายได้ค่าโดยสาร โดยรัฐจะสนับสนุนเอกชนในส่วนของค่าก่อสร้างงานโยธา คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2566 และเปิดให้บริการในปี 2569

สำหรับทางเลือกเพิ่มเติมรถแทรมป์ล้อยางนั้น การศึกษาเบื้องต้นประเมินค่าลงทุนประมาณ 37,000 ล้านบาท สูงกว่าแทรมป์ล้อเหล็ก 15% เนื่องจากเป็นระบบที่มีการใช้ไม่แพร่หลายมากนัก ผู้ผลิตน้อยราย มีต้นทุนค่าจัดหาขบวนรถสูงกว่า นอกจากนี้ มีข้อเสียกรณีความร้อนในการขับเคลื่อนเกิดยางระเบิดได้ ไม่เหมาะต่อสภาพอากาศประเทศไทยมากนัก หลายประเทศเกิดปัญหาต้องเปลี่ยนเป็นล้อเหล็กแทน เช่นไต้หวัน

ส่วนทางเลือกรถ BRT ระบบไฟฟ้า ประเมินค่าลงทุนที่ 30,000 ล้านบาท ต่ำกว่าแทรมป์ล้อเหล็กประมาณ 30% โดยมีข้อด้อยในเรื่องความจุต่อขบวนที่น้อยกว่า จึงต้องพ่วง 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน ขณะที่แทรมป์จะใช้ 2 ตู้ต่อ 1 ขบวน นอกจากนี้ยังต้องลงทุนก่อสร้างสถานีประจุไฟฟ้าเพิ่มเติม

โดยทั้ง 3 ทางเลือกจะก่อสร้างไปตามแนวเส้นทางเดิมที่มีโครงสร้างทั้งที่เป็นทางยกระดับ, อุโมงค์ทางลอด และทางระดับดิน ตามที่มีการออกแบบไว้ และมีช่องทางวิ่งเฉพาะ โดยมีค่าเวนคืนเท่าเดิม

ทั้งนี้ รฟม.จะรายงานการศึกษา 2 ทางเลือกเพิ่มเติมไปยังกระทรวงคมนาคม ซึ่งหากพิจารณาให้ปรับเป็นรถ BRT ไฟฟ้า รฟม.จะต้องทำการศึกษาปรับปรุงรายงาน PPP และจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ใหม่ โดยคาดว่าจะใช้เวลาศึกษาประมาณ 6-8 เดือน จากนั้นจะเร่งนำเสนอบอร์ด รฟม.ต่อไป ซึ่งประเมินว่าจะต้องปรับไทม์ไลน์ในการดำเนินโครงการออกไปอีก1 ปี โดยเสนอ ครม.ปี 2565 เปิดประมูลปี 2566 เริ่มก่อสร้างปี 2567 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี และเปิดให้บริการในปี 2570

@บอร์ดรับทราบคืบหน้า ร้องประมูล “สีส้ม”

นอกจากนี้ รฟม.ได้รายงานความคืบหน้ากรณีประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งวันที่ 17 พ.ย. ศาลปกครองสูงสุดได้ไต่สวนกรณีที่ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้ทุเลาการบังคับใช้หลักเกณฑ์การร่วมลงทุนที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1

รฟม.และ กก.มาตรา 36 ได้ชี้แจงต่อศาลว่า เป็นการดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและระเบียบ โดยหลักเกณฑ์ใหม่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและภาครัฐ พร้อมกันนี้ ได้แจ้งถึงการเลื่อนกำหนดเปิดซองข้อเสนอออกไปก่อนจนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะมีคำสั่ง ซึ่งบอร์ดรับทราบและกำชับให้ รฟม.ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 20, 21, 22 ... 25, 26, 27  Next
Page 21 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©