RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271349
ทั้งหมด:13582638
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 25, 26, 27  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 21/08/2013 12:05 am    Post subject: Reply with quote

นักธุรกิจจีน เสนอความพร้อมลงทุนรถไฟฟ้าภูเก็ต
Written by Siripong
19 สิงหาคม 2556


เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 19 สิงหาคม 2556 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายธวัชชัย เหล่าศิริหงส์ทอง ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี นำคณะผู้บริหาร China Railway และผู้บริหาร Sparro Assets corp ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าพบนายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายประเจียด อักษรธรรมกุล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดภูเก็ต นายปัณยา สำเภารัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลป่าคลอก อ.ถลาง ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอความพร้อมในการลงทุนพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าของจังหวัดภูเก็ต เพื่อแก้ปัญหาด้านการจราจร

นายธวัชชัย เหล่าศิริหงส์ทอง ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวถึงเหตุผลที่มีการนำคณะผู้บริหารของบริษัทจากประเทศจีนดังกล่าวมาพบกับผู้ว่าฯ นั้นเพื่อนำเสนอความพร้อมที่จะลงทุนรถไฟฟ้าทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีการก่อสร้างและเงินทุน ซึ่งทางจังหวัดภูเก็ตได้เคยมีการศึกษาข้อมูลไว้เมื่อปี 2549 และในฐานะที่ตนเป็นผู้ดำเนินการศึกษาโครงการดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ตที่มีแนวโน้มความคับคั่งของปริมาณจราจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในครั้งนั้นได้เสนอแนวทางในการพัฒนารถไฟฟ้าของจังหวัดภูเก็ตไว้ 7 เส้นทาง ประกอบด้วย 1. สนามบินภูเก็ต-เซ็นทรัล- ห้าแยกฉลอง 2.ป่าตอง-เซ็นทรัล-อ.เมืองภูเก็ต 3.สามแยกบางคู-ห้าแยกฉลอง 4.สี่แยกท่าเรือ-ป่าตอง ระยะทาง 24 กม. 5. ป่าตอง-ห้าแยกฉลอง 6.ห้าแยกฉลอง-กะตะ และ 7.สถานีตำรวจทางหลวงภูเก็ต-สี่แยกท่าเรือ โดยเส้นทางที่มีความจำเป็นในลำดับแรก คือ เส้นทางที่ 1 -3 และจนถึงขณะนี้ก็ยืนยันว่าจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างรถไฟฟ้า

“จากที่ทั้งสองบริษัทได้ศึกษาข้อมูลในเบื้องต้นก็มีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน โดยในส่วนของChina Railway มีความพร้อมในเรื่องของเทคโนโลยีด้านการก่อสร้างสามารถทำได้ทั้งรถไฟฟ้าบนดินและใต้ดิน ขึ้นอยู่การตัดสินใจของทางจังหวัด ที่ผ่านมาเขาได้มีการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟฟ้า การขุดเจาะอุโมงค์สร้างทางรถไฟฟ้าในประเทศจีนมาแล้วหลายโครงการ รวมถึงการพัฒนาทางด้านอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วย อาจนับได้ว่าเป็นบริษัทอันดับ1 ของประเทศจีนที่พัฒนาในด้านนี้ และยังเป็นบริษัทที่รัฐบาลถือหุ้นอยู่ด้วย ขณะที่ Sparro Assetscorp เองก็พร้อมที่จะสนับสนุนเงินลงทุน”นายธวัชชัย กล่าว

ขณะที่ นายไมตรี กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้ทางคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทำการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษารถไฟเส้นทางสุราษฎร์ (ดอนสัก) – ท่านุ่น จ.พังงา ดังนั้นหลังจากนี้ก็จะได้นำข้อมูลที่ทางบริษัทเสนอไปมอบให้กับทาง สนข.เพื่อประกอบพิจารณาด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 29/05/2014 10:24 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้ารางเบาเหมาะสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง
ข่าวสังคม :
เสียงใต้รายวัน
อัพเดทเมื่อ พุธ ที่ 28 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2557

ผู้ว่าฯ ภูเก็ตประชุมติดตามความคืบหน้าศึกษาออกแบบเส้นทางสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ก่อนเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชน ผลศึกษาพบว่า รถไฟฟ้ารางเบา เป็นระบบที่เหมาะสม ขณะที่เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการฯ ดังกล่าวแต่ห่วงผลกระทบวิถีชุมชน เพราะต้องตัดผ่านย่านการค้าเมืองเก่าภูเก็ตด้วย

วันที่ 27 พ.ค.ที่ห้องประชุมศูนย์ประชุมกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2557 เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของจังหวัดภูเก็ต กรณีศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยว เส้นทางสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต พื้นที่ จ.ภูเก็ต เส้นทางสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ก่อนที่จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในวันที่ 3 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ ที่โรงแรมเมโทรโพลภูเก็ต โดยมีการหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม

สำหรับโครงการศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางสุราษฎร์ธานี–พังงา–ภูเก็ต ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ว่าจ้างให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป จำกัด บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท ล้านนา เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ส จำกัด บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด บริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด และ EGIS RAIL ให้เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งในโครงการดังกล่าว ได้มีการศึกษาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต เส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่า ระบบที่เหมาะสมคือ รถไฟฟ้ารางเบา โดยเริ่มจากท่าอากาศยานภูเก็ต –ห้าแยกฉลอง ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ซึ่งต้องผ่านย่านเมืองเก่าภูเก็ตด้วย

ทั้งนี้ภาคส่วนต่างๆ ได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว แต่มีความกังวลเรื่องของเส้นทางที่ต้องตัดผ่านย่านเมืองเก่าภูเก็ต ซึ่งจะมีผลกระทบต่อวิถีชุมชน และข้อจำกัดเรื่องของผิวการจราจรที่ค่อนข้างแคบ ดังนั้นทางบริษัทที่ปรึกษาจะต้องอธิบายชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนทุกภาคส่วนให้เข้าใจความจำเป็นของโครงการ หรืออาจจะมีการเสนอทางเลือกเพิ่มเติม รวมถึงสถานีจอดและซ่อมบำรุง

//---------------------------

เลือกระบบรถไฟฟ้ารางเบา ช่วยแก้ปัญหาจราจรภูเก็ต
OKnation
วันพุธ ที่ 28 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2557

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 ที่ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์ประชุมกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2557 เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของ จังหวัดภูเก็ต



กรณีศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยว เส้นทางสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต พื้นที่ จ.ภูเก็ต เส้นทางสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ก่อนที่จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในวันที่ 3 มิถุนายนนี้ ที่โรงแรมเมโทรโพลภูเก็ต โดยมีการหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม



สำหรับโครงการศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางสุราษฎร์ธานี – พังงา – ภูเก็ต ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ว่าจ้างให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป จำกัด บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท ล้านนา เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ส จำกัด บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด บริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด และ EGIS RAIL ให้เป็นผู้ดำเนินการ



ซึ่งในโครงการดังกล่าว ได้มีการศึกษาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต เส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่า ระบบที่เหมาะสมคือ รถไฟฟ้ารางเบา โดยเริ่มจากท่าอากาศยานภูเก็ต –ห้าแยกฉลอง ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ซึ่งต้องผ่านย่านเมืองเก่าภูเก็ตด้วย



ทั้งนี้ภาคส่วนต่างๆ ได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว แต่มีความกังวลเรื่องของเส้นทางที่ต้องตัดผ่านย่านเมืองเก่าภูเก็ต ซึ่งจะมีผลกระทบต่อวิถีชุมชน และข้อจำกัดเรื่องของผิวการจราจรที่ค่อนข้างแคบ ดังนั้นทางบริษัทที่ปรึกษาจะต้องอธิบายชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนทุกภาค ส่วนให้เข้าใจความจำเป็นของโครงการ หรืออาจจะมีการเสนอทางเลือกเพิ่มเติม รวมถึงสถานีจอดและซ่อมบำรุง


Last edited by Wisarut on 04/06/2014 12:40 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2014 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

รายงานพิเศษ : รถไฟฟ้ารางเบาเส้นทางแห่งอนาคต สนามบิน-ห้าแยกฉลอง
Written by Siripong |
ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ Phuketpost
2 มิถุนายน 2557

โครงการรถไฟฟ้ารางเบาในภูเก็ต เป็นอีกอภิมหาโปรเจ็กท์ที่ถูกหยิบยกมา เป็นประเด็นสาธารณะ จากหน่วยงานราชการหลายยุคหลายสมัย และเป็นข่าวให้ชาวภูเก็ตได้ตื่นเต้นมาหลายครั้ง ว่าจะได้โดยสารรถไฟฟ้าเหมือนในเมืองท่องเที่ยวชั้นนำอื่นๆโดยความคืบหน้าโครงการในแต่ละครั้ง ต่างแค่เปลี่ยนตัวละคร คือ บริษัทที่เข้ามาพูดคุยเพื่อเจรจาสร้างรถไฟฟ้ารางเบา ทั้งจากภายในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งเราต่างได้ยินเพียงแค่ขั้นตอนทำการศึกษา แต่ไม่ได้เห็นความเป็นรูปธรรมใดๆ


รถไฟฟ้ารางเบาเส้นทางแห่งอนาคต สนามบิน-ห้าแยกฉลอง

ล่าสุดทางจังหวัดภูเก็ต (เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557) ได้จัดการประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2557 เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของ จังหวัดภูเก็ต กรณีศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยว เส้นทางสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต พื้นที่ จ.ภูเก็ต เส้นทางสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ก่อนที่จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในวันที่ 3 มิถุนายน 2557 ที่โรงแรมเมโทรโพลภูเก็ต โดยมีการหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

สำหรับโครงการศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางสุราษฎร์ธานี – พังงา – ภูเก็ต ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ว่าจ้างให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา EGIS RAIL จากสิงคโปร์ ให้เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งในโครงการดังกล่าว ได้มีการศึกษาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต เส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง

ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่า ระบบที่เหมาะสมคือ รถไฟฟ้ารางเบา โดยเริ่มจากท่าอากาศยานภูเก็ต –ห้าแยกฉลอง ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร ซึ่งต้อง ผ่านย่านเมืองเก่าภูเก็ตด้วย ทั้งนี้ภาคส่วนต่างๆ ได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว แต่มีความกังวลเรื่องของเส้นทางที่ต้องตัดผ่านย่านเมืองเก่าภูเก็ต ซึ่งจะมีผลกระทบต่อวิถีชุมชน และข้อจำกัดเรื่องของผิวการจราจรที่ค่อนข้างแคบ ดังนั้นทางบริษัทที่ปรึกษาจะต้องอธิบายชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนทุกภาค ส่วนให้เข้าใจความจำเป็นของโครงการ หรืออาจจะมีการเสนอทางเลือกเพิ่มเติม รวมถึงสถานีจอดและซ่อมบำรุง

รถไฟฟ้ารางเบา

ทำไมต้องเส้นทาง สนามบิน-ห้าแยกฉลอง

นายสมัคร เลือดวงหัด ผู้อำนวยการแขวงการทางภูเก็ต กล่าวว่า บริเวณห้าแยกฉลอง มีปัญหาการจราจรติดขัดมาก โดยปริมาณรถที่ผ่านมาทางดังกล่าวทางแยกไปหาดกะตะ กะรน วันละประมาณ 20,000 คัน และแยกไปราไวย์ แหลมพรหมเทพ อีก 10,000 กว่าคัน จากตัวเลขนี้บ่งบอกได้ชัดเจนว่าห้าแยกฉลองกำลังจะเป็นปัญหาใหญ่ด้านการจราจรต่อจากสี่แยกเซ็นทรัลฯ (สร้างทางลอดแก้ปัญหาจราจรแล้ว) ดังนั้นสำหรับห้าแยกฉลอง จำเป็นที่จะต้องสร้างโครงการคมนาคมพื้นฐาน สำหรับบรรเทาสภาพความแออัดของการจราจรให้แล้วเสร็จอย่างช้าที่สุดภายใน 5-10 ปีต่อจากนี้

โดยอีกเหตุผลก็คือ ตำบลฉลอง กำลังจะกลายเป็นฮับแห่งใหม่ของการท่องเที่ยวภูเก็ต ที่มีความเหมาะสมในการเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวบนเกาะภูเก็ต ซึ่งเชื่อมโยงเส้นทางต่างๆ มาบรรจบกัน (ตัวเมืองภูเก็ต-กะตะ-กะรน-ราไวย์) โดยมีความพร้อมทั้งท่าเทียบเรือ, อสังหาฯ ,สถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ และสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่กำลังก่อสร้างในขณะนี้ ดังนั้นก็สร้างรถไฟรางเบาจากสนามบิน ผ่านเข้าตัวเมืองภูเก็ต และต่อไปยังฉลอง เป็นแผนการเพื่ออนาคตอย่างแท้จริง

รถไฟฟ้ารางเบา

รถไฟฟ้ารางเบา บนย่านเมืองเก่า เห็นด้วยดีมั้ย?

ย่านเมืองเก่าภูเก็ต (Phuket Old Town) คือผลงานเชิดหน้าชูตาของเทศบาลนครภูเก็ต ที่ดำเนินนโยบายด้านอนุรักษ์วัฒนธรรม ผ่านตึกรามบ้านช่องแนวชิโนโปรตุกีส และกิจกรรมอันมีเอกลักษณ์ด้านต่างๆ จนสามารถโปรโมทให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้มาเยือนทุกคนต้องสนใจ เคียงคู่กับหาดสวรรค์ แม้เราจะบอกว่าเมืองโบราณสวยๆ หลายเมืองที่ยุโรป ก็มีรถไฟฟ้ารางเบาผ่าน แต่สำหรับเมืองเก่าภูเก็ต มีความละเอียดอ่อนมากกว่า และต้องสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นอย่างละเอียดรอบคอบ ว่าข้อดี-ข้อเสีย เป็นอย่างไร และคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน

เพราะชาวภูเก็ตหัวอนุรักษ์นิยม ซึ่งร่วมมือกันสร้างให้เมืองเก่าภูเก็ตมีชื่อเสียงมากมาย อาจจะคัดค้านแนวทางนี้ แต่ถ้าทางการแสดงให้ชาวภูเก็ตได้เห็นถึงประโยชน์และสิ่งที่จะได้รับตามมา หากมีการสร้างโครงการรถไฟฟ้ารางเบา ก็อาจจะทำให้ทุกฝ่ายเห็นพ้อง เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ถึงการพัฒนาเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ตให้ทัดเทียมกับเพื่อนบ้าน AEC อย่างสิงคโปร์ หรือมาเลเซีย ที่มีระบบคมนาคมขนส่งนำหน้าเราไปมาก

และเหมือนเช่นเคยที่โครงการนี้ ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งครั้งที่ทำให้ชาวภูเก็ตดีใจเก้ออีกหรือไม่ จุดประสงค์ที่ทีมงานเลือกเรื่องราวโครงการคมนาคมน่าสนใจมาเสนอ ก็เพื่อให้สาธารณะชนได้รับรู้ พิจารณา พูดคุย ถกเถียง เพราะเราเชื่อว่าในปัจจุบันเสียงของประชาชนมีความสำคัญ และช่วยกำหนดทิศทางการพัฒนาได้…ไว้มีความคืบหน้าโครงการมากกว่านี้ Phuketindex.com จะนำมาเสนออย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2014 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติ
โดย Phuketandamannews
3 มิถุนายน 2557

สนข.สรุปรถไฟฟ้ารางเบาเหมาะสมกับภูเก็ตที่สุด คาดต้องลงทุน 2 หมื่นล้าน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มิถุนายน 2557 16:38 น.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จัดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ครั้งที่ 2

เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (3 มิ.ย. 57) ที่ห้องประชุม ชั้น 3 โรงแรมเมโทรโพลภูเก็ต อ. เมือง จ. ภูเก็ต นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กล่าวถึงการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 2 การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ซึ่งมีนายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน โดยการประชุมดังกล่าว ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ผู้แทนหน่วยงานราชการ กลุ่มผู้นำทางด้านความคิด ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ ตลอดจนตัวแทนภาคประชาชนและสื่อมวลชนเข้าร่วมการประชุมจำนวนมาก

นายจุฬา กล่าวว่า จากผลการศึกษา ฯ ระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต-ห้าแยกฉลองนั้น ได้ศึกษาแนวเส้นทางโดยเสนอให้พัฒนาระบบรถไฟฟ้า จากจำนวน 3 เส้นทาง โดยคัดเลือกเส้นทางที่เริ่มต้นจากสถานีรถไฟท่านุ่น จังหวัดพังงาสู่ท่าฉัตรไชย จังหวัดภูเก็ต โดยใช้สะพานสารสินแล้วมุ่งหน้าไปตามทางหลวงหมายเลข 402 จนถึงทางแยกทางหลวงชนบท ภก.3033 ซึ่งเป็นเส้นทางไปยังหาดไม้ขาว โดยมุ่งหน้าไปตามทางหลวงหมายเลข 402 เลี้ยวขวาเข้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ตามทางหลวงหมายเลข 4031 ขนานไปกับแนวทางวิ่ง(Runway) จากนั้นออกจากท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ไปตามทางหลวงหมายเลข 4026 ออกไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 402 จนไปบรรจบกับสามแยกบางคู ตรงไปทางทิศใต้ตามแนวถนนเทพกระษัตรี เข้าสู่ตัวเมืองเทศบาลนครภูเก็ต จนถึงแยกรัษฎา ตรงไปตามถนนภูเก็ต แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนศักดิเดชน์ ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4021 มุ่งหน้าสู่ห้าแยกฉลอง โดยไปสิ้นสุดที่ท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง

อย่างไรก็ตาม ในเส้นทางดังกล่าว สนข.ทำการคัดเลือกเทคโนโลยีระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมกับภูเก็ต ให้สามารถรองรับปริมาณการเดินทางของ ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และมวลชนน้อยที่สุด โดยจะพิจารณาถึงความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจการลงทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ได้แก่ ระบบ LRT/Tramway ซึ่งจะสามารถช่วยเสริมให้โครงข่ายที่พัฒนาขึ้นใหม่ มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาระบบโครงการพื้นฐานด้านการ คมนาคมขนส่ง เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรวมทั้งแก้ไขปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ต
ในส่วนของภาคประชาชนผู้มีส่วนได้เสียนั้นได้นำเสนอให้ทางจังหวัดภูเก็ต จัดทำผังเมืองรวมของจังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ หลังจากมีระบบขนส่งมวลชน ทั้งนี้ สนข. จะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมประชุมไปใช้ประกอบการศึกษาพัฒนาโครงการดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

นายจุฬา กล่าวต่อว่า สนข.ได้คัดเลือกเทคโนโลยีระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมกับจังหวัดภูเก็ต สำหรับนำมาจัดทำแบบแนวคิดเบื้องต้น เพื่อกำหนดรูปแบบระบบขนส่งมวลชน และองค์ประกอบต่างๆ เช่น สถานี โครงสร้าง ทางวิ่ง ตัวรถ ศูนย์ซ่อมบำรุง ให้มีความเหมาะสม สามารถรองรับปริมาณการเดินทางประชาชน และนักท่องเที่ยวในภูเก็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม และมวลชนน้อยที่สุด โดยจากการศึกษาระบบขนส่งมวลชนที่มีอยู่ในประเทศ และต่างประเทศ ได้พิจารณาถึงความเหมาะสมต้องการของท้องถิ่น ความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจการลงทุน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม ได้ข้อสรุปว่า ระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมสำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง คือ ระบบ LRT/Tramway หรือรถไฟฟ้ารางเบา ที่วิ่งบนผิวดิน หรือเกาะกลางถนน โดยจะมีทั้งหมด 20 สถานี คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีการศึกษาในรายละเอียดของการลงทุนอีกครั้งหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม การรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ คนภูเก็ตเห็นด้วยที่จะให้มีระบบขนส่งมวลชนในภูเก็ต เพื่อแก้ปัญหาการจราจรคับคั่ง และเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างต่อเมืองภูเก็ตกับสนามบินที่จะให้บริการทั้งในส่วนของประชาชนชาวภูเก็ต และนักท่องเที่ยว แต่อยากจะให้คำนึงถึงความปลอดภัยหากต้องวิ่งอยู่ระดับเดียวกับการจราจรบนถนน คำนึงถึงผลกระทบด้านสังคม วัฒนธรรมของท้องถิ่น เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2014 5:21 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

รถไฟฟ้า LRT ที่หมายใจจะใช้ที่ภูเก็ต มี 20 สถานี ระยะทาง 60 กิโลเมตร

1 สถานีท่านุ่น ...........................
2 สถานีท่าอากาศยานภูเก็ต .............
3 สถานีถลาง .............................
4 สถานีท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร..
5 สถานีเกาะแก้ว.........................
6 สถานีขนส่ง.............................
7 สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.......
8 สถานีทุ่งคา.............................
9 สถานีถนนถลาง........................
10 สถานีหอนาฬิกา......................
11สถานีบางเหนียว
12สถานีห้องสมุดประชาชนภูเก็ต
13 สถานีสะพานหิน
14 สถานีศักดิเดชน์
15 สถานีดาวรุ่ง
16 สถานีวิชิต
17 สถานีเจ้าฟ้าตะวันออก
18สถานีป่าหล่าย
19 สถานีบ้านโคกโตนด
20 สถานีห้าแยกฉลอง
http://www.phuketgazette.net/phuket-news/Video-Report-Phuket-lightrail-garners-support-residents/29678#ad-image-0
http://www.phuketgazette.net/phuket-news/Lightrail-proposed-trundle-Phuket-Town/29613#ad-image-2
http://www.thephuketnews.com/details-of-light-rail-tram-system-for-phuket-revealed-46652.php
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2014 11:34 pm    Post subject: Reply with quote

เหตุที่เลือกใช้รถรางกะเกาะภูเก็ต
http://suratphuket-railtransit.com/Dowload/Brochure_Phu_M2.pdf
http://suratphuket-railtransit.com/Dowload/Paper%20PUH_M%202.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2014 12:11 pm    Post subject: Reply with quote

ภูเก็ตเดินหน้ารถไฟฟ้ารางเบาสนามบิน-ห้าแยกฉลอง ฟังความเห็นครั้งใหญ่ต้น ม.ค.นี้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
24 ธันวาคม 2557 11:07 น.


นายกนก เข็มนาค ผู้เชี่ยวชาญสิ่งแวดล้อมโครงการศึกษา ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง



ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ภูเก็ตเดินหน้าระบบขนส่งมวลชน เส้นทางสนามบิน-ห้าแยกฉลอง รูปแบบรถไฟรางเบา งบลงทุน 23,000 ล้านบาท รองรับชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยว จัดประชุมใหญ่ฟังความเห็นโครงการฯ อีกครั้ง 6 ม.ค.ปีหน้า

นายกนก เข็มนาค ผู้เชี่ยวชาญสิ่งแวดล้อมโครงการศึกษา ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการออกแบบระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ขณะนี้ผลการศึกษาอยู่ในขั้นการออกแบบรายละเอียด ซึ่งขณะนี้ใกล้แล้วเสร็จ โดยกำหนดส่งงานให้แก่ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในวันที่ 5 ม.ค.2558
จากการศึกษาสำรวจสรุปออกมาเป็นรถไฟรางเบา หรือระบบรถรางที่วิ่งบนเกาะกลางของถนนสาย 402 เริ่มตั้งแต่ท่านุ่น จ.พังงา มาถึงสนามบินภูเก็ต ผ่าน อ.ถลาง อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร แยกบางคู ผ่านโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ไปวงเวียนหอนาฬิกา เลี้ยวขวาที่สวนสาธารณะสะพานหิน ไปตามถนนสะพานมหาชนก แล้วไปถนนผ่านป่าชายเลนคลองเกาะผีที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน และไปเลี้ยวซ้ายบริเวณแยกหน้าโรงเรียนดาวรุ่ง ไปตามถนนเจ้าฟ้าตะวันออก จนสิ้นสุดที่ท่าเรืออ่าวฉลอง

อย่างไรก็ตาม เส้นทางดังกล่าวบางช่วงที่เข้ามาในเขตเมืองภูเก็ต จะมีข้อจำกัดเรื่องทางแคบ อาจมีความจำเป็นต้องปิดถนนในบางช่วง โดยที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนเรื่องของจราจรใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม เราได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชนทั้ง 2 ฝั่ง โดยเฉพาะบนถนนภูเก็ต เนื่องจากเป็นเขตเมืองเก่า จึงมีแนวคิดที่จะใช้รถไฟฟ้าเส้นนี้เป็นตัวส่งเสริมในเรื่องของการท่องเที่ยว กับเรื่อง walking street และกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เน้นเรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรม ในช่วงนั้นก็จะปิดถนน และอาจจะให้เจ้าของอาคารต่างๆ เข้าสามารถเข้าออกได้ในบางช่วงเวลาที่ไม่มีการเดินรถ

นายกนก กล่าวต่อว่า การออกแบบโครงการนี้เราได้คำนึงถึงเรื่องของผู้ใช้บริการในกลุ่มประชาชน ซึ่งอยากให้เส้นนี้ได้ประโยชน์ทั้งนักท่องเที่ยว ทั้งประชาชน และนักเรียนเป็นหลัก เพราะแต่ล่ะเส้นทางผ่านสถาบันการศึกษาใหญ่ๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย โรงเรียนสตรีภูเก็ต บางเหนียว หอสมุดประชาชน และคนที่จะมาออกกำลังกายที่สะพานหินด้วย ต้องคำนึงถึงความสะดวกของนักเรียนที่จะเดินทางจากต่างอำเภอ ซึ่งได้ประสานกับเทศบาลนครภูเก็ตในการทำจุดจอดรถด้วย

ในส่วนของงบลงทุนโครงการฯ ประมาณ 23,000 ล้านบาท ส่วนรูปแบบการลงทุนต้องดูว่าจะมีเอกชนให้ความสนใจในการลงทุน ขอสัมปทานจากเราไปดำเนินการ จะคล้ายบีทีเอส หรือว่าเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน

ส่วนการประชุมรับฟังความคิดเห็นของโครงการฯ ครั้งต่อไป นายกนก กล่าวว่า สำหรับการประชุมโครงการฯ ดังกล่าวครั้งต่อไปในวันที่ 6 ม.ค.2558 ที่โรงแรมเมโทรโพลภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต จะเป็นการประชุมใหญ่รับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 สำหรับผลการศึกษาโครงการฯ โดยจะเรียนเชิญภาคประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองภูเก็ต ให้มาช่วยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้ ซึ่งจากการสำรวจ และรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มองเห็นอนาคตว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการท่องเที่ยวได้ด้วย นายกนก กล่าวในที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2015 8:00 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เดินหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเบาท่านุ่น-ห้าแยกฉลอง จ.ภูเก็ต คาดปี 64 ดำเนินการได้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
6 มกราคม 2558 18:51 น.




ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สนข.เดินหน้ารับฟังความคิดเห็นโครงการรถไฟฟ้ารางเบา ออกแบบระบบขนส่งมวลจังหวัดภูเก็ต เส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และแก้ไขปัญหาการจราจร โดยการพัฒนาการคมนาคมระบบราง คาดใช้งบเกือบ 2,400 ล้านบาท ขณะที่คนภูเก็ตเห็นด้วยแต่ควรแก้ไขในบางจุด

วันนี้ (6 ม.ค.) ที่ห้องประชุมพระพิทักษ์แกรนด์บอลรูม โรงแรมเมโทรโพลภูเก็ต อ.เมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต นายพีระพล ถารวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 3 การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง หรือโครงการรถไฟฟ้ารางเบา เพื่อนำเสนอผลการศึกษาด้านวิศวกรรม ผลการคัดเลือกแนวเส้นทาง การออกแบบ ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน รวมทั้งผลการศึกษาและมาตรฐานการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนโดยมีนายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้แทนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสากิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาในพื้นที่ และภาคประชาชนในจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมประชุมกว่า 350 คน

สำหรับโครงการการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง หรือโครงการรถไฟฟ้ารางเบา นั้น ทาง สนข.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาออกแบบโครงการดังกล่าวเพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดภูเก็ตให้มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รวมทั้งเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวรวมทั้งแก้ไขปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ต ที่เกิดจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้ายของการศึกษาออกแบบเพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นมาปรับปรับปรุงการออกแบบให้ตรงต่อความต้องการของคนในพื้นที่ ก่อนที่จะส่งผลการศึกษาออกแบบให้แก่ทาง สนข.ตรวจสอบเพื่อดำเนินโครงการต่อไป

นายวีระ ศานติวรกุล วิศวกรโครงการ กล่าวว่า สำหรับการออกและศึกษาความเหมาะสมของโครงการดังกล่าว ได้ข้อสรุปที่จะดำเนินโครงการไฟฟ้ารางเบา ซึ่งเชื่อว่าเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมต่อจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจะมีการดำเนินการทั้งรางคู่และรางเดี่ยวในแต่ละพื้นที่ เพราะบางจุดมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ก็จะปรับจากรางคู่มาเป็นรางเดียว ส่วนเส้นทางที่มีการนำเสนอเป็นเส้นทางเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนจากสถานีรถไฟฟ้าท่านุ่น จ.พังงา สู่ท่าฉัตรไชย จังหวัดภูเก็ต โดยใช้สะพานเทพกระษัตรี แล้วมุ่งหน้าไปตามทางหลวงหมายเลข 402 (ถนนเทพกระษัตรี) โดยก่อสร้างไปกลางเกาะกลางถนน จนถึงทางแยกทางหลวงชนบท ภก.3033 ซึ่งเป็นเส้นทางไปยังหาดไม้ขาว โดยมุ่งหน้าไปตามทางหลวงหมายเลข 402 (ถนนเทพกระษัตรี) เลี้ยวขวาเข้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ตามทางหลวงหมายเลข 4031 ขนานไปกับแนวทางวิ่ง (Runway) จากนั้นออกจากท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ไปตามทางหลวงหมายเลข 4026 ออกไปบรรจบกับทางตามทางหลวงหมายเลข 402 (ถนนเทพกระษัตรี) โดยเลี้ยวขวา แล้วตรงไปจนถึงแยกถนนดอนจอมเฒ่า จากนั้นแนวเส้นทางจะไปตามทางหลวงหมายเลข 402 (ถนนเทพกระษัตรี จนไปบรรจบกับสามแยกบางคูโดยตรงไปทางทิศใต้ตามแนวถนนเทพกระษัตรี เข้าสู่ตัวเมืองเทศบาลนครภูเก็ต จนถึงแยกถนนรัษฎา ตรงไปตามถนนภูเก็ตแล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนศักดิเดช ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4021 (ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก) มุ่งหน้าสู่ห้าแยกฉลอง ระยะทางโดยประมาณ 60 กิโลเมตร มีจำนวน 20 สถานี ได้แก่

1. สถานีท่านุ่น (ต่อกะ สถานีปลายราง ที่ ท่านุ่น เมืองพังงา)
2. สถานีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
3. สถานีกลาง
4. สถานีอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร
5. สถานีเกาะแก้ว
6. สถานีสถานีขนส่งผู้โดยสารภูเก็ตแห่งที่ 2
7. สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
8. สถานีทุ่งคา
9. สถานีเมืองเก่า
10. สถานีวงเวียนหอนาฬิกา
11. สถานีบางเหนียว
12. สถานีห้องสมุดประชาชนจังหวัดภูเก็ต
13. สถานีสะพานหิน
14. สถานีศักดิเดช
15. สถานีดาวรุ่ง
16. สถานีวิชิต
17. สถานีเจ้าฟ้าตะวันออก
18. สถานีป่าหล่าย
19. สถานีบ้านโคกโตนด และ
20. สถานีฉลอง

โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ได้มีการออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายการเชื่อมต่อการเดินทาง และเป็นการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดของจังหวัดภูเก็ต ด้วยการสร้างทางเลือกในการเดินทางให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน และสามารถบรรเทาปัญหาการคมนาคมที่คับคั่งของจังหวัดภูเก็ต และลดต้นทุนการขนส่งให้ถูกลงจากเดิมที่ใช้ทางรถยนต์เป็นหลัก นอกจากนี้ โครงการฯ ได้กำหนดรูปแบบการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนน จำนวน 189 จุด ซึ่งคำนึงถึงความเหมาะสมต่อรูปแบบเดินทางเดิมในท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนสัญจรได้อย่างปลอดภัย โดยมีการออกแบบไว้จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ สัญญาณไฟจราจร เครื่องกั้น และปิดจุดตัดทางผ่าน (โดยทดแทนด้วยการกลับรถที่ทางแยก)

รถไฟฟ้ารางเบามีการออกแบบรองรับความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สำหรับผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจ และการเงินของโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง พบว่า มีความเหมาะสมในการลงทุน โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจร้อยละ 23.78% มูลค่าการลงทุน 23498.74 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณปี 2564 ส่วนเรื่องการลงทุนนั้นเสนอในรูปแบบของการร่วมลงทุน โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนในเรื่องของระบบสาธารณูปโภค เช่น การสร้างราง การสร้างสถานี ส่วนภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนในเรื่องของระบบ


นายกนก เข็มนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้มีผู้เข้าร่วมการสัมมนา และประชาชนในจังหวัดภูเก็ตที่อยู่ในแนวเส้นทางโครงการฯ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนาไปพิจารณาร่วมกับการออกแบบรายละเอียดของโครงการให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องต่อความต้องการของท้องถิ่นมากที่สุด


ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมใหญ่รับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 สนข. จะนำเสนอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน และระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการได้ที่ http://suratphuket-railtransit.com

อย่างไรก็ตาม การรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ ชาวภูเก็ตส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ที่จะเชื่อมโยงโครงข่ายการเชื่อมต่อการเดินทาง และเป็นการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดของจังหวัดภูเก็ต แต่อยากให้มีระบบการป้องกันอุบัติเหตุที่จะตามมา และอยากให้มีสถานีเพิ่มเติมรวม ทั้งคำนึงถึงการรองรับการใช้บริการของผู้สูงอายุ และผู้พิการ เป็นต้น เช่น นายพงศ์สันต์ คงจิตนาน ชาวบ้านในพื้นที่ ต.ไม้ขาว กล่าวว่า เห็นด้วยต่อโครงการรถไฟฟ้ารางเบาที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ จ.ภูเก็ต แต่อยากให้เกิดขึ้นจริงๆ ไม่ใช่พอศึกษาเสร็จก็หายเงียบไป และสิ่งที่อยากให้มีการพิจารณา และปรับเปลี่ยนคือเรื่องของสถานีจอดรถ ซึ่งจากการนำเสนอของบริษัทที่ปรึกษาพบว่า สถานีไปกระจุกอยู่ในตัวเมือง จึงอยากให้มีการเพิ่มสถานีในพื้นที่ไม้ขาวให้มากขึ้น เพราะรถวิ่งผ่านโรงเรียนต่างๆ ด้วย

ด้านนายสถิรพงค์ ณ ตะกั่วทุ่ง นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า เห็นด้วยต่อโครงการรถไฟฟ้ารางเบาที่จะเกิดขึ้นในภูเก็ต ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เพราะจะเป็นการช่วยยกระดับเมืองท่องเที่ยวของภูเก็ตให้ดีขึ้น ซึ่งโครงการรถไฟเส้นทางสุราษฎร์ฯ-ท่านุ่นนั้นไม่น่าเป็นห่วง เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ารางเบาเส้นทาง จากท่านุ่นมาถึงทุ่งคา ก็ไม่น่าเป็นห่วง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เส้นทางจากทุ่งคา เข้ามาในเขตเมืองเก่า ซึ่งตามโครงการย่านเมืองเก่านั้นจะทำเป็นถนนคนเดิน ไม่มีที่สำหรับจอดรถ แล้วคนในพื้นที่ดังกล่าวจะจอดรถที่ไหน ซึ่งจะต้องหามาตรการเรื่องของที่จอดรถมารองรับด้วยถ้าทำได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร


ขณะที่ นายดอน ลิ้มนันทพิสิฐ ประธานชุมชนย่านเมืองเก่า กล่าวว่า เห็นด้วยเพราะเมืองเก่าทุกเมืองไม่สามารถที่จะขยายถนนได้ ทำอะไรก็รถติด การมีระบบขนส่งเข้ามาถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่จะต้องดูในเรื่องของสถานที่จอดรถสำหรับคนที่จะมาใช้บริการขนส่งมวลชนเอารถมาจอดได้ด้วย รวมทั้งจะต้องมีที่ที่จะให้กลุ่มรถบริการมาจอดเพื่อรับส่งผู้โดยสารไปยังจุดต่างๆ เพราะระบบขนส่งมวลชนไม่สามารถที่จะเข้าไปถึงซอยต่างๆ ได้

ด้าน นายอดิศักดิ์ อัคสินธวังกูร กล่าวว่า เห็นด้วยเรื่องของระบบขนส่งมวลชน แต่ในส่วนของการเข้ามาในเขตเมืองไม่เห็นด้วย คิดว่าน่าจะไปในสายนอกมากกว่า เพราะกลัวว่าถ้าเข้ามาในเขตเมืองจะทำให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น โดยเฉพาะบริเวณจุดตัดต่างๆ ถ้าจะเข้ามาในเมืองก็ควรจะทำในรูปแบบของการยกระดับ

ส่วน น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีเทศบาลนครภูเก็ต กล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นการมองไปยังอนาคตสำหรับลูกหลาน ซึ่งเรื่องของการกำหนดเส้นทางก็ได้มีการดำเนินการโดยคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนในภูเก็ตเป็นที่ตั้ง ปัจจุบัน ในเขตเมืองมีสถานศึกษาเยอะมาก และมีเด็กจากข้างนอกเข้ามาเรียนในเมืองจำนวนมาก เช่น โครงการนี้น่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการจราจรได้ระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่อยากจะให้ สนข.ดำเนินการต่อคือ ให้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบจราจรในเขตเทศบาลด้วยเพราะโครงการรถไฟจะทำให้ถนนในเมืองที่รถไฟผ่านเสียไป 1 ช่องจราจร ส่วนเรื่องของการสร้างสถานีนั้นอยากให้คำนึงถึงความมีอัตลักษณ์ของภูเก็ตด้วย และจะต้องระมัดระวังในการก่อสร้างโดยเฉพาะย่านเมืองเก่า

http://suratphuket-railtransit.com/Dowload/Brochure-Phuket_M3.pdf
https://www.youtube.com/watch?v=cg9u8rAi-uw
http://suratphuket-railtransit.com/Dowload/Board_M3_Phuket.pdf


Last edited by Wisarut on 19/01/2015 7:30 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2015 7:37 pm    Post subject: Reply with quote

พอคนใต้อ่านข่าวนี้แม้จะชอบโครงการแต่เรื่องการตั้งชื่อสถานีมีการแจกกล้วยแจกดอให้สนข. และ บริษัทที่ปรึกษาด้วย
http://www.siangtai.com/new/index7.php?name=hotnews&file=readnews&id=27959
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2015 11:22 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้ารางเบา คำตอบปัญหารถติดภูเก็ต?
by Preeyarat Boonmee
Voice TV
8 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 17:05 น.


การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูเก็ต มาพร้อมกับปัญหาการจราจรหนาแน่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเสนอโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบาเพื่อแก้ปัญหานี้ จะทำได้จริงหรือไม่

ทางหลวงหมายเลข 402 คือ ถนนเส้นหลักเข้าสู่ตัวเมืองภูเก็ต ที่นี่ จึงมีปัญหารถติดไม่ต่างจากเมืองกรุง เพราะร้อยละ 80 ของประชากรใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้ "โครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบา" หรือระบบรถรางที่วิ่งบนเกาะกลางถนนสายนี้ เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากอำเภอท่านุ่น จังหวัดพังงา ไปสิ้นสุดที่ 5 แยกฉลอง

รถไฟฟ้ารางเบา มีระยะทาง60 กิโลเมตร รวม 20 สถานี คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 23,500 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบก่อสร้างและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ หากผ่านการอนุมัติจากกระทรวงคมนาคม และ ครม. จะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2560 แล้วเสร็จในปี 2564 ค่าโดยสารเบื้องต้น เริ่มที่ 18 บาท และบวกเพิ่มทุก 2 บาท 50 สตางค์ต่อกิโลเมตร

ประโยชน์ที่คนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว จะได้รับ นั่นคือ ปัญหารถติดจะลดลงร้อยละ 50 แต่ก็มีบางคนที่กังวลว่า จะเข้าถึงบริการรถไฟฟ้ารางเบาได้หรือไม่

รถไฟฟ้ารางเบาจะเกิดประโยชน์และช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรได้แท้จริง ภาครัฐต้องเข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงการใช้บริการ โดยเฉพาะการวางระบบฟรีดเดอร์ หรือรถขนส่งมวลชนท้องถิ่น เพื่อตอบสนองจุดหมายปลายทางของผู้ใช้บริการได้อย่างทั่วถึง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 7, 8, 9 ... 25, 26, 27  Next
Page 8 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©