RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180010
ทั้งหมด:13491242
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการรถไฟฟ้าภูเก็ต
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 25, 26, 27  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2019 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มปักป้ายตามเส้นทางแล้วครับ
https://www.facebook.com/Thfutu/photos/a.105677750798573/147891069910574/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2019 11:13 am    Post subject: Re: ขอส่วนต่อขยาย หรือ สายใหม่ ผ่านกระทู้ไปหาดป่าตอง Reply with quote

Wisarut wrote:
ต่อขยาย ‘รางเบา’ ภูเก็ต เชื่อมกะทู้-ป่าตอง
ออนไลน์เมื่อ 15 กรกฎาคม 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 25-26
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,487
วันที่ 14-17 กรกฎาคม 2562

รอคอย'แทรมภูเก็ต' รฟม.พร้อมเสิร์ฟตจว.สายแรก

ชาวภูเก็ตและคนต่างจังหวัดกำลังรอคอยได้นั่งรถไฟฟ้าสายแรก เตรียมเสนอ ครม.ขออนุมัติ
หากได้ไฟเขียว พร้อมเปิดประมูลต้นปี 63

อังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2562

สัปดาห์นี้ไปอัพเดทแทรมภูเก็ต รถไฟฟ้าสายแรกของต่างจังหวัดที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เตรียมเสนอ ครม. อนุมัติรายงาน “พีพีพี” การร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนหากได้ไฟเขียว พร้อมเปิดประมูลต้นปี 63 ไปดูกันเลย!!

กระทรวงคมนาคม มอบหมายสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
ศึกษาระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบของรถไฟฟ้าใน 5 จังหวัดเสร็จเรียบร้อยแล้วประกอบด้วย
จ.ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น และ จ.สงขลา พร้อมส่งต่อการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมรวมทั้งพิจารณารูปแบบการลงทุน โดย รฟม.
เริ่มศึกษารถไฟฟ้ารางเบาหรือแทรมภูเก็ตเป็นสายแรก และเกิดปัญหาเรื่องการปรับแบบก่อสร้างบริเวณจุดตัด เนื่องจากกรมทางหลวง (ทล.) เจ้าของพื้นที่มีข้อกังวลเรื่องการแชร์เลนถนนระหว่างแทรมกับรถยนต์เพราะกังวลปัญหาจราจรและเรื่องอุบัติเหตุ

ล่าสุด รฟม. และกรมทางหลวงเจรจาได้ข้อสรุปลงตัวแล้ว ทำให้โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต หรือรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) กลายเป็นโปรเจ็กท์รถไฟฟ้าในต่างจังหวัดที่มีความคืบหน้ามากที่สุด โดยมีแผนก่อสร้างระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร (กม.) ก่อน


ขณะนี้ รฟม. ได้จัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2562 (PPP) เสร็จเรียบร้อยแล้ว เตรียมเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม., กระทรวงคมนาคม, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) คณะกรรมการ PPP และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาตามขั้นตอน หากได้รับอนุมัติในหลักการ คาดว่าต้นปี 63 จะประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการได้ โดยวางแผนเริ่มก่อสร้างภายในปี 63
ใช้เวลาสร้างประมาณ 3 ปีครึ่ง เปิดบริการปี 67

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. บอกว่า ประเด็นการปรับแบบการก่อสร้างร่วมกับกรมทางหลวงเพื่อลดปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุได้ข้อสรุปแล้วิ โดยต้องปรับต้นทุนโครงการเพิ่มกว่า 3 พันล้านบาท รวมวงเงินลงทุนกว่า 3.4 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้จะปรับแบบบริเวณแยกบางคู
และแยกอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นอุโมงค์ทางลอดใต้ดินสำหรับแทรมส่วนบริเวณแยกสนามบินภูเก็ต จะทำเป็นทางยกระดับข้ามแยกหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัด
จากเดิมจะใช้เลนร่วมกันการสร้างอุโมงค์ทางลอดใต้ดิน ไม่มีความยุ่งยาก เพราะไม่ได้อยู่ในเขตเมืองเก่าที่ต้องสำรวจทางโบราณคดีก่อน จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความล่าช้าของโครงการ

นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการปลายปี 67 ถือเป็นรถไฟฟ้าในต่างจังหวัดเส้นทางแรกของ รฟม.

อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อเสนอของประชาชนที่ต้องการให้สร้างส่วนต่อขยายแทรมภูเก็ตไปถึง อ.กระทู้ และต่อไปถึงบริเวณเมืองป่าตองนั้น ในส่วนนี้จะอยู่ในเฟส 2 เวลานี้ต้องทำเฟส 1 ซึ่งเป็นเส้นทางหลักก่อน จากนั้นจะสามารถต่อไปยังเส้นทางรองได้ทันที

แนวเส้นทางโครงการฯ เริ่มจากท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ไปตามทางหลวงหมายเลข 4031
(แยกศาลาแดง-แยกหมากปรก) เชื่อมทางหลวงหมายเลข 4036 (แยกเหนือคลอง-แหลมกรวด) เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 402 (โคกกลอย-เมืองภูเก็ต) เพื่อเข้าเมืองภูเก็ต จากนั้นผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี และท้าวศรีสุนทร ข้ามสะพานสารสิน มุ่งหน้าสถานีปลายทางท่าเรือฉลอง คาดว่าปีแรกที่เปิดให้บริการจะมีผู้โดยสาร 7 หมื่นคนต่อวัน และจะเพิ่มเป็น 1.14 แสนคนต่อวันในปี 94

ไม่ใช่แค่ รฟม. ที่กำลังลุ้นรถไฟฟ้าสายแรก แต่ชาวภูเก็ตและคนต่างจังหวัดกำลังรอคอยนั่งรถไฟฟ้าสายแรกเช่นกัน.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1286633071518264&id=317342891780625&__tn__=H-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/11/2019 3:20 pm    Post subject: Reply with quote

‘สราวุธ’ นั่งหัวโต๊ะประชุมบอร์ด รฟม. ชงเคาะ ‘รถไฟฟ้าภูเก็ต’ เป็นงานแรก
โดย NOPPHAWHAN TECHASANEE
11 พฤศจิกายน 2562 เวลา 14:00

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธาน จะนัดประชุมเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 โดยมีวาระสำคัญในการพิจารณาหลายเรื่อง เนื่องจากบอร์ดไม่ได้ประชุมมาเป็นระยะเวลา 2 เดือน ส่งผลให้มีเรื่องตกค้างที่ต้องพิจารณาจำนวนมาก

ชง “แทรมภูเก็ต” 3.5 หมื่นล้านบาท

ยกตัวอย่างเช่น การพิจารณารายงานวิเคราะห์การร่วมทุน (PPP) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดิน (Tram) จังหวัดภูเก็ต ซึ่ง รฟม. ได้ปรับแบบการก่อสร้างให้สอดคล้องกับการจราจรทางถนนใน 3 จุด ส่งผลให้วงเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 3,000 ล้านบาท รวมเป็น 3.5 หมื่นล้านบาท แต่ รฟม. ยังคงกำหนดอัตราค่าโดยสารอยู่ในระดับเดิม

ถ้าบอร์ดให้ความเห็นชอบตามที่เสนอ รฟม. ก็จะเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคม, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.), คณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน และ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาตามลำดับ

นอกจากนี้ รฟม. จะเสนอรายงาน PPP การเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ใต้) ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ให้ที่ประชุมบอร์ดพิจารณาอีกครั้ง หลังจากบอร์ดได้สั่งให้ไปทบทวนรายงาน PPP เมื่อเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา

หากบอร์ดเห็นชอบ ก็จะเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคม, สคร., บอร์ด PPP และ ครม. พิจารณาตามลำดับ โดย รฟม. จะผลักดันการเปิดประมูลหาผู้เดินรถ คู่ขนานไปกับการเปิดประมูลงานโยธารถไฟฟ้าสายสีม่วง (ใต้) ส่วนมูลค่า PPP เดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ใต้) ยังไม่สามารถเปิดเผยได้จนกว่าบอร์ดจะให้ความเห็นชอบ

ขุดอุโมงค์ลอดแยก Bypass ยาว 2 กม.

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การปรับแบบก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดินจังหวัดภูเก็ต ส่งผลให้วงเงินงานโยธาเพิ่มขึ้นเป็น 2.6-2.7 หมื่นล้านบาทและวงเงินลงทุนภาพรวมเพิ่มขึ้น 3,000 ล้านบาท เป็น 3.5 หมื่นล้านบาท

โดยหลักๆ มีการปรับแบบก่อสร้างใน 3 จุดได้แก่ 1.ก่อสร้างทางยกระดับบริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4026 ซึ่งเป็นทางแยกเข้าสู่สนามบินภูเก็ต, 2.ก่อสร้างอุโมงค์ลอดแยกบางคู (แยก Bypass) ระยะทาง 2 กิโลเมตร สาเหตุที่ระยะทางค่อนข้างยาว เพราะต้องออกแบบทางขึ้น-ลงอุโมงค์ให้ห่างจากอุโมงค์ของกรมทางหลวง ป้องกันปัญหาจราจรแออัด และ 3.ปรับปรุงพื้นที่กายภาพรอบวงเวียนอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีท้าวศรีสุนทร เช่น ปรับสัญญาณไฟจราจร เกาะกลางถนน เพื่อให้การจราจรคล่องตัว

ตลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้าจะไม่มีการลดจำนวนช่องจราจรทางถนน แต่จะลดขนาดช่องจราจรบางส่วนลง เช่น จากเดิมช่องจราจรมีขนาด 3.5 เมตร ก็ลดลงเหลือ 3.25-3.20 เมตร ซึ่งจะส่งผลให้รถยนต์ทำความเร็วได้น้อยลง แต่ก็สอดคล้องกับสภาพการจราจรในจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน ซึ่งค่อนข้างแออัด ทำความเร็วได้ไม่มากนัก ประมาณ 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น

คาดรวบตึงประมูล 1 สัญญา

รายงานข่าวเปิดเผยต่อว่า สำหรับแนวทางการลงทุนจะเป็นแบบ PPP ส่วนจะเป็น PPP ทั้งโครงการ เหมือนโครงการรถไฟฟ้า BTS สายสีชมพูและสายสีเหลือง หรือจะเป็น PPP เฉพาะการเดินรถเหมือนรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ก็ต้องรอให้บอร์ดพิจารณาในวันที่ 19 ตุลาคม 2562 แต่เบื้องต้นมีแนวโน้มจะรวมงานโยธาและการเดินรถเป็น PPP สัญญาเดียว

ถ้าหากบอร์ดเห็นชอบโครงการตามที่ รฟม. เสนอ ก็คาดว่าจะเสนอเรื่องเข้า ครม. ได้ในกลางปี 2563 และเปิดประมูลในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2563 จากนั้นจะใช้เวลาคัดเลือกผู้ประกอบการ 1 ปี ก่อนเริ่มก่อสร้างช่วงปลายปี 2564 โดยจะใช้เวลาก่อสร้างกว่า 3 ปี จึงเปิดให้บริการได้ในปี 2568

ค้างเติ่งร่วม 2 เดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ตมีปัญหาเรื่องรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) เนื่องจากกรมทางหลวงกังวลว่า การเปิดให้รถไฟฟ้ารางเบาใช้พื้นผิวจราจรร่วมกับรถยนต์ จะทำให้เกิดปัญหาจราจรและความไม่ปลอดภัยทางถนน

ในช่วงที่นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม จึงได้เข้ามาช่วยปรับแบบการก่อสร้าง รวมถึงไกล่เกลี่ยปัญหาระหว่าง รฟม. และ ทล. เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้

จากนั้นแม้การปรับแบบงานโยธาและการแก้ไขรายงาน PPP จะเสร็จแล้ว แต่ รฟม. ยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ ต่อไปได้ เนื่องจากนายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานบอร์ด รฟม. ชุดเดิมได้ยื่นหนังสือลาออกในช่วงต้นเดือนกันยายน 2562 ทาง รฟม. จึงต้องรอเสนอโครงการให้บอร์ดชุดใหม่ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล เป็นประธานพิจารณาแทนในวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2019 10:18 am    Post subject: Reply with quote

19 พ.ย.ชงบอร์ดรฟม.ไฟเขียวสร้างแทรมภูเก็ต3.5หมื่นล. – ลดค่าตั๋วรถไฟฟ้าสูงสุดเหลือ47บาท/ที่ยว

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562

19 พ.ย. ชงบอร์ด รฟม. ไฟเขียวสร้างรถแทรมภูเก็ต 3.5 หมื่นล้าน ผุดอุโมงค์ลอดแยก Bypass 2 กม. คาดเปิดวิ่งปี 68 พร้อมอนุมัติมาตรการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า

ชงสร้างแทรมภูเก็ต-ลดค่าตั๋ว – นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 พ.ย. คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธานคนใหม่ จะนัดประชุมบอร์ดชุดใหม่เป็นครั้งแรก โดยรฟม. จะเสนอให้บอร์ดพิจารณาวาระสำคัญที่ตกค้างมาราว 2 เดือน เช่น รายงานวิเคราะห์การร่วมทุน (PPP) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดิน (Tram) จังหวัดภูเก็ต ซึ่ง รฟม. ได้ปรับแบบการก่อสร้างให้สอดคล้องกับการจราจรทางถนนใน 3 จุด ส่งผลให้วงเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 3,000 ล้านบาท รวมเป็น 3.5 หมื่นล้านบาท แต่ รฟม. ยังคงกำหนดอัตราค่าโดยสารอยู่ในระดับเดิม ทั้งนี้

หากบอร์ดเห็นชอบจะเสนอให้กระทรวงคมนาคม, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.), คณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน และ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ จะเสนอรายงาน PPP การเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ใต้) ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ด้วยหากบอร์ดเห็นชอบ จะเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคม, สคร., บอร์ด PPP และ ครม. พิจารณาต่อไป โดย จะเปิดประมูลหาผู้เดินรถ คู่ขนานไปกับงานโยธารถไฟฟ้าสายสีม่วง (ใต้) ส่วนมูลค่า PPP เดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ใต้) ยังเปิดเผยไม่ได้ต้องรอบอร์ดเห็นชอบก่อน

นอกจากนี้ จะนำเสนอมาตรการลดค่าครองชีพ ให้บอร์ดพิจารณาอนุมัติด้วย ซึ่งประกอบด้วย

มาตรการที่ 1 เปิดจำหน่ายตั๋วโดยสารร่วมระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง โดยตั๋วประเภทนี้จะคิดอัตราค่าโดยสารต่อเที่ยวถูกลง จากปกติการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายจะเก็บค่าโดยสารสูงสุดในอัตรา 70 บาทต่อเที่ยว โดยมีรายละเอียดดังนี้

• ตั๋วโดยสารร่วมจำนวน 15 เที่ยว ราคา 780 บาท คิดเป็นอัตราค่าโดยสาร 52 บาทต่อเที่ยว
• ตั๋วโดยสารร่วมจำนวน 25 เที่ยว ราคา 1,250 บาท คิดเป็นอัตราค่าโดยสาร 50 บาทต่อเที่ยว
• ตั๋วโดยสารร่วมจำนวน 40 เที่ยว ราคา 1,920 บาท คิดเป็นอัตราค่าโดยสาร 48 บาทต่อเที่ยว
• ตั๋วโดยสารร่วมจำนวน 50 เที่ยว ราคา 2,350 บาท คิดเป็นอัตราค่าโดยสาร 47 บาทต่อเที่ยว

มาตรการที่ 2 ลดอัตราค่าโดยสารในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) ระหว่าง 9.00-15.30 น. และช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งปัจจุบันเก็บอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 14-42 บาทต่อเที่ยว โดยมีรายละเอียดดังนี้

• เดินทางเข้า-ออกระบบในสถานีแรก ภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง เก็บค่าโดยสาร 14 บาทเท่าเดิม
• สถานีที่ 2 เก็บค่าโดยสาร 17 บาทเท่าเดิม
• สถานีที่ 3 เป็นต้นไป เก็บค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

รายงานข่าวจากรฟม. แจ้งว่า การปรับแบบก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดินจังหวัดภูเก็ต ส่งผลให้วงเงินงานโยธาเพิ่มขึ้นเป็น 2.6-2.7 หมื่นล้านบาท และวงเงินลงทุนภาพรวมเพิ่มขึ้น 3,000 ล้านบาท เป็น 3.5 หมื่นล้านบาทนั้น จะมีการปรับแบบก่อสร้างใน 3 จุดได้แก่

1. ก่อสร้างทางยกระดับบริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4026 ซึ่งเป็นทางแยกเข้าสู่สนามบินภูเก็ต,

2. ก่อสร้างอุโมงค์ลอดแยกบางคู (แยก Bypass) ระยะทาง 2 กิโลเมตร และ

3. ปรับปรุงพื้นที่กายภาพรอบวงเวียนอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีท้าวศรีสุนทร เช่น ปรับสัญญาณไฟจราจร เกาะกลางถนน เพื่อให้การจราจรคล่องตัว

ส่วนรูปแบบลงทุน จะเป็นแบบ PPP จะทั้งโครงการ เหมือนโครงการรถไฟฟ้า BTS สายสีชมพูและสายสีเหลือง หรือจะเป็น PPP เฉพาะการเดินรถเหมือนรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ต้องรอบอร์ดพิจารณา แต่เบื้องต้นอาจะรวมงานโยธาและเดินรถเป็นสัญญาเดียว คาดว่าหากบอร์ดเห็นชอบ จะเสนอเข้า ครม. กลางปี 2563 และเปิดประมูลส.ค.-ก.ย. 2563 เริ่มก่อสร้างปลายปี 2564 แล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2568
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2019 11:32 am    Post subject: Reply with quote

ปรับแบบ”แทรมป์ภูเก็ต”ลงตัว รฟม.ชงบอร์ด ประมูลกลางปี63
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 07:03
ปรับปรุง: วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 09:55

บอร์ด รฟม.รับทราบผลศึกษา PPP “แทรมป์ภูเก็ต” สั่งอนุฯ ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง ก่อนชงบอร์ดอนุมัติในเดือน ธ.ค. เผยปรับแบบยกระดับแก้ปัญหาแชร์เลนถนน ค่าก่อสร้างเพิ่มเป็น 2.7 หมื่นล้าน “สราวุธ” คาดเปิดประมูล กลางปี 63

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม.เมื่อวันที่ 19 พ.ย.ที่ผ่านมาได้รับทราบรายงานผลการศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tram) ซึ่งมีการจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562 ซึ่งจะใช้รูปแบบ PPP Net Cost

ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นการประชุมบอร์ด รฟม.ชุดที่มีตนเป็นประธานครั้งแรก ดังนั้นเพื่อความรอบคอบบอร์ดจึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการบอร์ดฯ ไปพิจารณารายละเอียดทั้งหมดอีกครั้ง และสรุปรายงานบอร์ดในการประชุมครั้งต่อไป โดยหลังจากบอร์ดเห็นชอบแล้วจะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ PPP ตามขั้นตอน โดยคาดหากไม่มีข้อติดขัดจะสามารถเริ่มขั้นตอนการประมูลคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนได้กลางปี 2563

“รถแทรมป์ภูเก็ตต้องเกิดแน่ ในฐานะที่ผมเกี่ยวข้องกับโครงการนี้มาตั้งแต่แรก จากทั้ง 4 หน่วยที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เป็น ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อธิบดีกรมการขนส่งทางราง และขณะนี้เป็นอธิบดีกรมทางหลวงและเป็นประธานบอร์ด รฟม.ด้วย ซึ่งตอนนี้กรณีที่ต้องมีการปรับแบบก่อสร้าง บนเส้นทางที่อยู่บนเขตทางหลวงได้ข้อสรุปหมดแล้ว โดยเน้นเรื่องความปลอดภัยมากที่สุด” นายสราวุธกล่าว

ด้านนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าฯ รฟม. กล่าวว่า การปรับแบบตามข้อเสนอกรมทางหลวง (ทล.) เพื่อลดผลกระทบการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 402ได้ข้อสรุปลงตัวแล้ว ซึ่งในการดำเนินโครงการระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กม. จะมีโครงสร้างบางช่วงเป็นทางยกระดับ และมีส่วนที่ต้องเวนคืนเพิ่ม เช่น เพื่อเพิ่มความโค้งของแนวเส้นทางช่วงจากแยกทางเข้าสนามบิน กว้างประมาณ10-12 เมตร ใช้พื้นที่รวมประมาณเกือบ 10 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่โล่ง ที่ดินของเอกชน

ทำให้ค่างานโยธาเพิ่มจาก 23,499 ล้านบาท เป็นกว่า 27,000 ล้านบาท งานระบบอยู่ที่ประมาณ 6,600 ล้านบาท ส่วนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่ที่ประมาณกว่า 1,500 ล้านบาท ผลตอบแทนการลงทุน (EIRR) ประมาณ 12.9 % ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีครึ่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/12/2019 11:12 am    Post subject: Reply with quote

เคาะเปิดประมูลรถไฟฟ้าภูเก็ต กลางปี 63 รัฐอุ้มค่าก่อสร้าง 2.7 หมื่นล้านบาท
วันจันทร์ ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08:00 น.

รฟม. คาดผู้โดยสารวันละ 70,000 คน สัมปทานเอกชน 28 ปี ด้านรถไฟฟ้าสายสีส้มเลื่อนประมูลไปอีก 5 เดือน

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) จ.ภูเก็ต ช่วงท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลองวงเงินราว 3.4 หมื่นล้านบาท ระยะทาง 41.7 กม. นั้น ขณะนี้ปรับแบบการก่อสร้างเรียบร้อยแล้วเตรียมเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ก่อนเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อขอความเห็นชอบและส่งต่อไปยังคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดพีพีพี) คาดว่า จะเปิดประมูลได้ในช่วงกลางปี 2563 ควบคู่ไปกับการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ในส่วนที่ปรับแบบ

อย่างไรก็ตามปัญหาพื้นที่ก่อสร้างนั้นเคลียร์กับกรมทางหลวงเรียบร้อยแล้วจะมีการเพิ่มอุโมงค์หลายแห่งและรางรถไฟยกระดับบริเวณทางเข้าสนามบิน

ส่วนรูปแบบการเปิดประมูลนั้น ใช้การร่วมทุนรัฐ-เอกชนแบบ PPP Net Cost เอกชนเป็นผู้ลงทุนและรับความเสี่ยงทั้งหมด โดยแบ่งรายได้ให้รัฐภายใต้สัญญาสัมปทาน 28 ปี แบ่งเป็น ก่อสร้าง 3 ปี และ บริหารอีก 25 ปี ซึ่งรัฐจะช่วยเอกชนอุดหนุนค่าก่อสร้างราว 2.7 หมื่นล้านบาท คาดการณ์ผู้โดยสารอยู่ที่ 70,000 คน/วัน

ทั้งนี้ อัตราค่าโดยสารตามที่ศึกษามา คิดค่าโดยสารตามระยะทางเริ่มต้น 18 บาท จากนั้นกิโลเมตรละ 2.5 บาท สูงสุด 100-137 บาทต่อเที่ยว มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 12.9%

ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางขุนนนท์ วงเงินราว 2 แสนล้านบาทนั้นต้องเลื่อนประมูลโครงการออกไปอีก 5 เดือน เพื่อทบทวนรูปแบบการลงทุนและแบ่งสัญญาการประมูลโครงการ

นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่าด้านความคืบหน้าโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี และรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว - พหลโยธิน 24 วงเงินลงทุนรวม 7 พันล้านบาท นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการ ซึ่งส่วนต่อขยายสายสีชมพูได้เข้าสู่การประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ

"กำลังเจรจาตัวเลขรายได้ที่เอกชนต้องจ่ายให้รัฐเพิ่มหากมีส่วนต่อขยายใหม่ ขณะที่ส่วนต่อขยายสายสีเหลืองอยู่ระหว่างขอความเห็นชอบ EIA เช่นเดียวกับเรื่องข้อพิพาทเอกชนเรื่องการแย่งรายได้ทับซ้อนเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินนั้นคาดว่าจะได้ข้อสรุปในปีนี้ อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ประชาชนเป็นที่ตั้ง" นายภคพงศ์ กล่าว

//-------------------------------------

ประมูลรถไฟฟ้าภูเก็ตปีหน้า
วันจันทร์ ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เวลา 06.00 น.

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เปิดเผยเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) จังหวัดภูเก็ต เส้นทางช่วงท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง วงเงินประมาณ 34,000 ล้านบาท ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร ว่าขณะนี้ได้มีการปรับแบบการก่อสร้างแล้วเสร็จและเตรียมเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม. ก่อนเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อขอความเห็นชอบเพื่อส่งให้ยังคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) ต่อไป โดยคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ในช่วงกลางปีหน้า

ในส่วนของความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางขุนนนท์ วงเงินประมาณ 200,000 ล้านบาทนั้น จะต้องเลื่อนประมูลโครงการออกไปอีก 5 เดือน เพื่อทบทวนรูปแบบการลงทุน และแบ่งสัญญาการประมูลโครงการ (เดิมคาดว่าจะได้ผู้ชนะประมูลในปี 2563)


ส่วนความคืบหน้าโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พหลโยธิน 24 วงเงินลงทุนรวมประมาณ 7,000 ล้านบาท ปัจจุบันก็อยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2019 2:41 pm    Post subject: Reply with quote

หวั่นผู้โดยสารน้อย”แทรมภูเก็ต”ขาดทุนซ้ำรอยสายสีม่วง
*เปิดเหตุผลบอร์ดเบรกรถไฟฟ้าสายแรกตจว.
*รฟม.ยันผลศึกษาเป๊ะชงบอร์ดอีกรอบม.ค.63
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2468141130074057
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/01/2020 5:58 pm    Post subject: Reply with quote

ส่องโครงข่ายคมนาคมภูเก็ตไปถึงไหน จะอยู่แค่บนกระดาษ หรือฝันเป็นจริง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 3 มกราคม 2563 10:13
ปรับปรุง: 3 มกราคม 2563 11:04


ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ส่องโครงข่ายคมนาคมภูเก็ต เพื่อแก้ปัญหาจราจรรับมือท่องเที่ยว ยังไปไม่ถึงไหน หลังเดินหน้าผลักดันกันมายาวนาน รถไฟฟ้ารางเบา ล่าสุด ส่งกลับศึกษาใหม่ ถนนยังติด EIA ส่วนอุโมงค์ป่าตอง อยู่ในขั้นตอนขออนุญาตใช้พื้นที่ป่า ถ้าทุกอย่างผ่านเตรียมเสนอ ครม.อนุมัติต่อไป

จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาภูเก็ตปีละกว่า 13 ล้านคน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ไม่เพียงพอ และสอดรับต่อการเติบโตของเมืองในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านคมนาคมขนส่งนักท่องเที่ยว ระบบขนส่งมวลชน ปัญหากาจราจรติดขัด ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ขยะ น้ำเสีย ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในช่วงหน้าแล้งของทุกๆ ปี และอีกหลายปัญหาที่ตามมา โดยเฉพาะโครงข่ายด้านคมนาคม และระบบขนส่งมวลชน ทำให้ภูเก็ตต้องประสบปัญหาการจราจรติดขัด และขาดระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัยและได้มาตรฐานระดับโลกในการรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้พยายามในการแก้ปัญหา ด้วยการผลักดันโครงการต่างๆ ให้เกิดขึ้นในภูเก็ต เพื่อแก้ปัญหาและรองรับการเติบโตทางการท่องเที่ยวและเมืองภูเก็ตในหลายๆ โครงการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟฟ้ารางเบา จากสนามบินภูเก็ตมายังห้าแยกฉลอง โครงการอุโมงค์หรือทางลอดป่าตอง โครงการถนนสายคู่ขนานถนนเทพกระษัตรี โครงการถนนสายวัดหลวงปู่สุภา-ป่าตอง และอื่นๆ ซึ่งแต่ละโครงการมีการผลักดันกันมาอย่างยาวนานก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่มีโครงการใดเกิดขึ้นจริงในภูเก็ต ยังคงเป็นแค่โครงการที่เกิดขึ้นบนกระดาษเท่านั้น วันนี้เรามาส่องดูความคืบหน้าของแต่ละโครงการต่างๆ กันว่ามีความคืบหน้าไปถึงไหนอย่างไรกันแล้วบ้าง

เริ่มจากโครงการรถไฟฟ้ารางเบา เป็นโครงการที่หลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนพยายามผลักดันมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาความเป็นไปได้นับครั้งไม่ถ้วน จากงบประมาณในการก่อสร้างจนตอนนี้งบประมาณปาเข้าไปกว่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่พยายามผลักดันให้เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ที่นับวันเริ่มมีการจราจรติดขึ้นเพราะความเติบโตของเมืองที่โตขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ซึ่งการเดินหน้าผลักดันโครงการดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เมื่อทางกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าภาพในการดำเนินโครงการ

และหลังได้รับมอบหมาย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เข้าหารือจังหวัดภูเก็ต เพื่อเร่งศึกษา PPP ร่วมทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ตามแผนเดิมจะสามารถลงนามสัญญาได้ประมาณกลางปี 2563 และมีแผนจะเริ่มก่อสร้างในปีเดียวกัน โดยใช้เวลาในการก่อสร้าง 3.5 ปี สามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 66 โดยให้ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี

แต่ล่าสุด ฝันต้องสะดุดอีกครั้ง เมื่อบอร์ด รฟม.แตะเบรกโปรเจกต์ดังกล่าว โดยขอศึกษาใหม่ในประเด็นปริมาณผู้โดยสาร และนักท่องเที่ยวใช้บริการ โดยนายสราวุธ ทรงศิริวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยในฐานะประธานกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม.วันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา มีมติให้ รฟม.นำผลการศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชน หรือแทรมภูเก็ต กลับไปศึกษาให้รอบด้าน ซึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องทบทวน เช่น ปริมาณผู้โดยสารที่ประเมินไว้อาจสูงเกินความเป็นจริง ประกอบกับต้องศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของคนในพื้นที่ เทียบขนส่งสาธารณะประเภทอื่น และประมาณการผู้โดยสารต่างชาติที่จะเข้ามาใช้บริการด้วย

“แนวโน้มตอนนี้ยังมีการลงทุนโครงการนี้ต่อ แต่บอร์ดมีข้อสังเกต เพื่อให้มีความมั่นใจในการลงทุนมากขึ้น ทำให้การศึกษาครบทุกมิติ ซึ่งขอให้ฝ่ายบริหารกลับไปทำข้อมูลเพิ่มเติมและกลับมาเสนอในการประชุมบอร์ดครั้งหน้า ส่วนประเด็นข้อตกลงด้านการใช้พื้นที่โครงการระหว่าง รฟม.และ ทล.ตอนนี้ได้ข้อยุติแล้ว โครงการนี้จะมีแนวเส้นทางรวม 42 กิโลเมตร เป็นทางระดับดิน 30.2 กิโลเมตร ทางยกระดับ 2.7 กิโลเมตร และเป็นระบบใต้ดินอีก 9.1 กิโลเมตร”

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า สถานะโครงการแทรมภูเก็ต ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ควบคู่กับการศึกษารูปแบบการลงทุน รวมทั้งจะพิจารณาข้อสังเกตของบอร์ดที่ได้สั่งการมาเพิ่มเติม คาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุมบอร์ดรับทราบในการประชุมครั้งหน้า หากบอร์ดเห็นชอบก็จะเข้าสู่ขั้นตอนเสนอขออนุมัติจากกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยยังมั่นใจว่าโครงการแทรมภูเก็ต จะสามารถเปิดประมูลได้ภายในปี 2563

สำหรับรูปแบบการลงทุนจะจัดทำในลักษณะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (พีพีพี) โดยโครงการจะจัดใช้งบประมาณราว 3.45 หมื่นล้านบาท แบ่งออกเป็น งบก่อสร้างงานโยธา 2.6 หมื่นล้าน งบเวนคืนที่ดิน 1.5 พันล้านบาท และงบงานระบบรถไฟฟ้า 7 พันล้านบาท โครงการจะก่อสร้างแนวเส้นทางช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 42 กิโลเมตร รวม 21 สถานี ซึ่งขั้นตอนอีไอเอ กับขั้นตอนเสนอขออนุมัติโครงการจาก ครม. สามารถทำควบคู่กันไปได้ ซึ่งตอนนี้ รฟม.ก็ดำเนินการอยู่ คาดว่าปีหน้าน่าจะเริ่มประมูลโครงการได้
....

สรุปจนถึงขณะนี้ โครงการต่างๆ ที่มีความพยายามในการผลักดันกันมายาวนาน ของทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีแผนงานโครงการที่ชัดเจน มีหน่วยงานที่รับผิดชอบทุกโครงการ แต่ก็ยังเดินต่อไม่สุดเนื่องจากติดปัญหาหลายอย่าง ทั้งเรื่องของผลกระทบสิ่งแวดล้อม เรื่องป่าไม้ รวมทั้งเรื่องของงบประมาณในการก่อสร้างที่ดีดตัวสูงขึ้นมหาศาล
https://www.youtube.com/watch?v=NbI6D2z_lAI
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/01/2020 10:07 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้นเดือนแห่งความรัก(กุมภา)รถไฟฟ้าไปหาภูเก็ต
*ชงบอร์ดรอบ2-รฟม.ยันผู้โดยสาร3.9หมื่น
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2508350392719797
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2020 12:32 pm    Post subject: ฝรั่งเศสศึกษารถไฟฟ้า LRT ภูเก็ตสายสอง (บางคู-ป่าตอง ) Reply with quote

ฝรั่งเศสพร้อมศึกษารถไฟฟ้าภูเก็ตให้ไทย

วันอังคาร ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563, 16.29 น.


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง Mr. Yazid Bensaid ผู้อำนวยการสำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (AFD) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย เข้าพบ โดยมีผู้แทนกรมทางหลวง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กรมการขนส่งทางราง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เข้าร่วม ทั้งนี้ AFD ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้รัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินนโยบายด้านการพัฒนาและส่งเสริมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของนานาชาติ ได้นำเสนอโครงการความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองและการรักษามรดกชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (Technical Cooperation on Sustainable Urban Transport and Heritage (SUTRHE) Project in Phuket) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต (Light Rail Trasit: LRT) รวมถึงพัฒนาการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจและรักษามรดกชุมชน โดยโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต เป็นโครงการที่จะพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดภูเก็ตให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ รองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการขอความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) มีแผนดำเนินโครงการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2566


“ถือเป็นการขอความร่วมมือให้ประเทศฝรั่งเศสต่อยอดงานโครงการที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากเมืองภูเก็ตที่สถานที่ที่จะต้องคงไว้ ซึ่งการศึกษาดังกล่าวจะเป็นการพัฒนาเมืองแบบยั่งยืน ทั้งนี้ แนวความคิดของฝรั่งเศสก็มีความเข้าใจที่จะประยุกต์ระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่ และคงความเป็นเมืองภูเก็ตเข้าด้วยกันได้ จากนี้จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างไทย-ฝรั่งเศส โดยมีตนเป็นประธานในกรอบระยะเวลาที่ต้องศึกษา 8 เดือน อย่างไรก็ตาม งบประมาณในการศึกษาดังกล่าวนั้นฝรั่งเศสจะเป็นผู้รับผิดชอบ” นายชัยวัฒน์ กล่าว

‘ฝรั่งเศส’ จ่ายเงินเอง! ลุยศึกษาแทรมภูเก็ตสายรอง ‘บางคู-ป่าตอง’ รับนักท่องเที่ยวเยือนไข่มุกอันดามัน คาดสรุปผล ส.ค.นี้
วันพุธ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2563,

“ฝรั่งเศส” บุก “ไทย” ลุยศึกษาแทรมภูเก็ตสายรอง “บางคู-ป่าตอง” รับนักท่องเที่ยวเยือนไข่มุกอันดามัน อนุรักษ์เมืองเก่ามรดกโลก ขีดเส้นแล้วเสร็จ ส.ค.นี้ ก่อนชงคมนาคมไฟเขียว
รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า วานนี้ (29 ม.ค. 2563) สำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (AFD) ได้เข้าพบนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เพื่อหารือถึงความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมืองและการรักษามรดกชุมชนอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต นำมาประยุกต์ใช้ในโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต (แทรม) รวมถึงพัฒนาการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ และรักษามรดกชุมชน โดยในการหารือดังกล่าว นายชัยวัฒน์ ได้ตั้งคณะทำงาน เพื่อให้มาพิจารณาความเหมาะสมโครงการฯ ด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของงบประมาณในการดำเนินการศึกษานั้น ฝรั่งเศสจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด





นอกจากนี้ AFD จะเข้ามาศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ พร้อมแนวทางในการพัฒนารถไฟฟ้ารางเบาสายรอง (สเปอร์ไลน์) เส้นทางบางคู-ป่าตอง เนื่องจากป่าตองเป็นจุดหมายปลายทางหลักของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ เส้นทางดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับโครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และเชื่อมต่อกับแทรมภูเก็ตสายหลักในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง บริเวณสถานีบางคู ที่ในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รวมถึงการขอความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) มีแผนดำเนินโครงการแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2566 อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าว มีกรอบระยะเวลา 8 เดือน (นับตั้งแต่ ม.ค. 2563) หรือแล้วเสร็จภายใน ส.ค. 2563 ก่อนที่จะเสนอมายังกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป

สำหรับโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ตนั้น เป็นโครงการที่จะพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดภูเก็ต ให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ รองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน จังหวัดภูเก็ตถือเป็นเมืองเก่าที่เตรียมความพร้อมสู่การเป็นเมืองมรดกโลก AFD จึงเข้ามาให้ความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาและอนุรักษ์ไม่ให้กระทบในด้านต่างๆ ยังคงความเป็นเมืองภูเก็ตไว้

ฝรั่งเศสช่วย8เดือนศึกษารถไฟฟ้าสายรอง“บางคู-ป่าตอง”
*เชื่อมเส้นหลัก”สนามบิน-ห้าแยกฉลอง”กับทางด่วน
*ประยุกต์โมเดลยุโรปพัฒนาควบคู่อนุรักษ์เมืองเก่า
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2509218095966360
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 25, 26, 27  Next
Page 19 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©