RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271182
ทั้งหมด:13582471
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - งานเสวนา 'อาคารสถานีรถไฟมรดกทางสถาปัตยกรรมของไทย' 11-6-54
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

งานเสวนา 'อาคารสถานีรถไฟมรดกทางสถาปัตยกรรมของไทย' 11-6-54
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
headtrack
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/05/2009
Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง

PostPosted: 11/06/2011 11:42 pm    Post subject: Reply with quote

...กระผมลงทะเบียนและไปในนามอิสระครับ ได้รับข้อมูลที่เปนประโยชน์สามารถนำไปต่อยอดได้มาก...
(ขณะนี้ศึกษา M-Real Estate Development อยู่น่ะครับ...)...

...และต้องขออภัยพี่หนุ่ม...และอาจารย์ด้วย ที่ไม่ได้ทักทายกัน เห็นว่าฉุกละหุกและมีผู้มาสนทนาด้วยเยอะ
น่ะครับ...หวังว่าคราวหน้า คงมีโอกาสได้พบปะกันอีก...
_________________
Click on the image for full size
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow
Back to top
View user's profile Send private message
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 12/06/2011 8:41 am    Post subject: Reply with quote

suraphat wrote:
และประเด็นสุดท้ายเลยก็คือประเด็นการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์รถไฟ โดยในที่ประชุมแห่งนี้ก็ได้มีการนำเสนอเอาอาคารโรงงานที่มักกะสันมาก่อสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟ หากอาคารที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ถูกยกเลิกการใช้งานต่อไปในอีกไม่ช้านนี้นะครับ


ถ้าใช้อาคารเก่าในมักกะสัน ทำพิพิธภัณฑ์รถไฟได้จริงๆ ก็น่าสนใจมากๆ เลยครับ เพราะในนั้นเหมือนเป็นบ้านของรถไฟอยู่แล้ว และมีประวัติศาสตร์อันยาวนานของรถไฟไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน

ส่วนอาคารอื่นๆ และพื้นที่อื่นๆ ..... "No Comment" ครับ

Razz
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
pattharachai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย

PostPosted: 12/06/2011 10:56 am    Post subject: Reply with quote

^
^
กดไลท์



-------------------

ภาพจากกระบวนการ Vernadoc ที่สเก็ตออกมาเป็นรูปสถานีนครลำปาง(และอื่นๆ) สวยงามมากครับ จริงๆมีแบบที่เป็นเสื้อยืดด้วย แต่ไม่มีจำหน่ายแล้ว งั้นจะได้อุดหนุนบ้าง (การเสวนานี้ทำให้ผมมีความรู้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกระบวนการ Vernadoc ของทางสถาปัตยกรรม)
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website
pasakorn
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/01/2009
Posts: 671
Location: ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ., หลักสี่

PostPosted: 23/06/2011 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

อาจารย์ตุ้ย wrote:

ถ้ามีการบันทึกภาพหรือพิมพ์เนื้อหาที่เสวนากันเป็นรูปเล่มให้ศึกษาย้อนหลังได้จะดีมากเลยครับ Idea


ผมก็มีโอกาสได้เข้าร่วมงานเสวนาในครั้งนี้ด้วยครับ และได้บันทึกเสียงเก็บเอาไว้ระหว่างนั่งฟังการบรรยายของ อ.ปริญญา ชูแก้ว ซึ่งเป็นเลขาธิการสมาคมอีโคโมสไทย และเป็นวิทยากรบรรยายในงานครั้งนี้ครับ ซึ่งผมได้ลองนำมาถอดความจากเสียงที่บันทึกใว้มาเป็นตัวหนังสือดู (แต่ก็ไม่มีโอกาสได้นำมาลงเว็บให้ทุกท่านได้อ่านกันสักที) ซึ่งผมจะถอดความแบบทุกคำพูดที่อาจารย์ปริญญาได้บรรยายใว้เลยนะครับ

อ.ปริญญาได้บรรยายในประเด็นหัวข้อ : อาคารสถานีรถไฟในประเทศไทย เนื้อหาดังนี้ครับ ..

ผมเรียนที่เทคโนลาดกระบัง สมัยก่อนสนามบินยังไม่มี ตกรถไฟทีก็ร้องให้ทีกว่าจะกลับไปที่เทคโนฯใด้ เพราะมันไกลมาก ก็เลยมีความผูกพันกับมันจนกระทั้ง ได้ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ที่ผังเมืองลาดกระบัง ก็ทำเรื่องบ้านพักของพนักงานรถไฟในกรุงเทพมหานคร แล้วก็ หลังจากนั้นก็ แค่ติดตามข่าวสารทั่วๆไปก็ไมได้่มีโอกาสศึกษาศึกษาอะไรมากนัก จนกระทั่ง 2 ปีให้หลังมาเนี่ย ผมเริ่มสนใจที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานีรถไฟในประเทศไทย ผมอยากรู้ว่า ไอ้114 ปีที่ผ่านมาเนี่ย มันเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทยของเราบ้าง โดยเฉพาะ เอ่อ ผมจำได้แน่นอนผมเรียนที่เทคโนฯเนี่ย สถานีรถไฟหัวตะเข้เนี่ยมันเป็นสถานีรถไฟไม้สองชั้น แล้วพอเค้ามีนโยบายทำรถไฟรางคู่จากหัวหมากไปถึงฉะเชิงเทรา เค้าก็รื้อทุบสถานีออกแล้วก็สร้างเป็นสถานีใหญ่ยักษ์ขึ้นมาชั้นเดียว บางสถานีพอสร้างเสร็จก็ไม่มีคนใช้ ก็กลายเป็นที่อยู่อาศัยของพวกไม่มีที่อยู่อาศัย ถ้ามีโอกาสก็ลองนั่งรถไฟไปเส้นตะวันออกก็จะเห็นสถานีที่ผมพูดถึงนะครับ

คราวนี้เนี่ย เอ่อ.. ได้มีโอกาสรู้จักกับ อ.ตุ๊ก ก็คือ อ.สุจิตต์ สนั่นไหว เมื่อปีที่แล้ว ที่เข้าไปสำรวจสถานีรถไฟที่บ้านปิน, ลำปาง , แล้วก็ที่แม่ทะ ก็ได้มีโอกาสคุยกันแล้วก็ หลังจากนั้นเนี่ยผมก็ได้เริ่มติดต่อกับคนในเว็บไซด์ rotfaithai.com ไม่รู้จักใครเลยแต่ผม หาคนในเว็บไซด์บอก ช่วยผมหน่อย ผมอยากได้ข้อมูล คือ.. เว็บไซด์นี้ดีมากนะครับ มันเป็นแหล่งรวมความรู้ที่สำคัญมากต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยด้วยซ้ำ ผมจำได้ว่าสมัยที่ผมทำ thesis ใหม่ๆ ผมเข้าไปการรถไฟเนี่ยเหมือนผมต้องไปกราบเค้าอ่ะ มันเป็นตึก 3 ชั้นแต่ผมใช้เวลาครึ่งวันเพื่อที่จะไปหาคนๆนึงที่จะบอกได้ว่าผมจะได้แบบพิมพ์เขียวได้ที่ไหน คือมันเป็นเรื่องที่ยากมากนะครับ ไปมาแล้วที่นึง ต้องเตรียมตัวเหมือนกับ.. เหมือนกับไปออกรบอ่ะ.. ออกจากเทคโนฯ 8 โมงนั่งรถไฟจากหัวตะเข้มาที่หัวลำโพง เดินจากหัวลำโพงไปที่สำนักงานใหญ่ ไปที่ประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์ก็จะชี้นิ้วบอกไปที่ห้องนั้น ไปเจอคนๆนึง อีกคนนึงก็จะบอก ไปที่ห้องนี้.. ถ้าไม่มีลายเซ็นต์ของคนใดคนนึงผมก็จะไม่มี่โอกาสได้แบบพิมพ์เขียว

แต่ว่าโชคดีฮะ ณ.ปัจจุบันเนี่ย ได้รู้จักกับพี่วรุศ ซึ่งเป็นสถาปนิกผมก็เลยใช้ “เส้นสาย” ครับ อยากได้พิมพ์เขียวยังไงผมก็โทรหาพี่วรุศ “พี่ ผมอยากได้สถานีเนี้ย พี่มีรึเปล่า” คือมันง่ายมากฮะตอนเนี้ย คือถ้ารู้นะครับ คือมันไม่มีอะไรแบบ มันไม่มีความลับเลยอ่ะ ไอ้ตัว.. ตัวแบบพิมพ์เขียวเนี่ยแต่ทำไมมันยุ่งยากได้ขนาดเนี้ย.. มันก็เป็นเรื่อง เรื่องที่น่าคิดเหมือนกัน
_________________
ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ ก่อนที่ท่านจะลงจากขบวนรถ โปรดตรวจสอบสัมภาระของท่านที่นำติดตัวมา นำลงให้ถูกต้องครบถ้วนด้วยครับ....

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
pasakorn
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/01/2009
Posts: 671
Location: ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ., หลักสี่

PostPosted: 23/06/2011 12:47 pm    Post subject: Reply with quote

คราวนี้เนี่ย สิ่งที่ผมจะพูดวันนี้ก็คือเรื่องสถานีรถไฟนะครับ เอ่อ ผมจะไม่พูดเรื่องประวัติมากๆ ไอ้ที่มันเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเต็มไปหมดซึ่งทุกท่านสามารถที่จะหาได้อยู่แล้ว แต่ว่าสิ่งที่ผมจะพูดเนี่ย ผมจะพูดในภาพรวมก็คือผมไปเจออะไรมาตลอดระยะเวลา 2 ปีในการเก็บรวบรวมข้อมูล นะครับ

ที่ผมจะพูด ก็จะพูดเรื่องประวัติความเป็นมาคร่าวๆนะครับ สำหรับทั้งสถานี ลักษณะทางสถาปัตยกรรม และคุณค่ามรดกทางสถาปัตยกรรม แล้วก็ สถาณการณ์ ณ. ปัจจุบันและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และพัฒนาแล้วก็สรุปผล ก็มีอยู่ ซึ่งถ้าใครได้เอกสารวันนี้ก็ สิ่งที่ผมจะพูดวันนี้ ก็อยู่ในเอกสารในมือท่านเนี่ยแหล่ะครับ

รถไฟสายแรกของประเทศไทยปี 2429 นะครับ จากกรุงเทพถึงสมุทรปราการ เส้นทางนี้ ยกเลิกไปแล้วนะครับ ไม่ได้ใช้ หลังจากนั้น 4 ปีเนี่ยรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งกรมรถไฟพอตั้งเสร็จแล้วก็มีการเปิดเดินรถจากกรุงเทพถึงอยุธยาในปี 2439 แล้วก็ ไล่เรียงมาจนกระทั่งถึง 2473 ถึงอุบลราชธานีก็คือบ้านผมเอง นะฮะ.. หลังจากนั้นก็มีต่อขยายสายอื่น ปัจจุบันเนี่ย มันมีเส้นทางรถไฟประเทศไทยเนี่ยประมาณ 4000 กว่ากิโลเมตรนะครับ มีทั้งหมดอยู่ 431 สถานี กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศของเรานะครับ นอกจากเค้าจะสร้างทางรถไฟแล้วเค้าก็จะมีสร้างสถานีรถไฟ โรงงานซ่อมบำรุง บ้านพักอาศัยให้กับวิศวกร ซึ่งบ้านพักอาศัยนี้เยอะมากสร้างให้กับคนที่ทำงานเกี่ยวกับการเดินรถเพราะมันจะต้องเหมือน 7-Eleven อ่ะ ที่เหมือนเซเว่นก็คือจะต้อง.. ถ้ามันเกิดปัญหากับการเดินรถเนี่ย ต้องลุกออกจากที่นอนแล้วไปจัดการให้เรียบร้อยนะครับ.. คือถ้ามีโอกาสได้ไปดูในกรุงเทพเนี่ย ให้ไปดูที่สามเหลี่ยมรถไฟจิตรลดานะครับ คือมาเห็นตรงสามเหลี่ยมตรงนั้นสามเหลี่ยมยมราชนะฮะ ระหว่าง เป็นสามเหลี่ยมที่ตัดกันระหว่างสายเหนือกับสายตะวันออก มันเป็นผังที่สวยมากๆ แล้วก็บ้านพักเนี่ย ก็เป็นบ้านไม้สัก ซึ่งย้ายมาจากสถานีรถไฟหัวลำโพง เอาไปตั้งใว้ที่นั่น น่าเสียดายว่าปัจจุบันโทรมมากพร้อมที่จะพังได้ทุกเมื่อ แล้วก็ตามสถานีใหญ่ๆเนี่ย เค้าก็จะมีนิคมรถไฟซึ่งใหญ่ยักษ์มาก ที่ทุ่งสงเนี่ยเดินเข้าไปเหมือนหมู่บ้านจัดสรรชั้นดีในกรุงเทพมหานคร เพียงแต่ว่าเนี่ย ไอ้ที่เราเห็นว่ามันโทรมๆ เพราะว่าบ้านมันสร้างด้วยไม้มันเก่า แต่ถ้าดูผังจริงๆหน่ะ เค้าออกแบบดีมากเลยนะครับ ventilation (การระบายอากาศ) เนี่ยสุดยอด เดินเข้าไปเนี่ยเหมือนเป็นอีกโลกนึง คือมันเย็นสบายดีมาก ที่ทุ่งสงนะครับ คือผมเพิ่งไปมา หรือแม้กระทั่งที่นครลำปางเอง

คราวนี้นอกจากสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวกับการรถไฟแล้วเนี่ย มันยังมีชุมชนซึ่งเกี่ยวพันกับกิจการเดินรถของรถไฟเราเนี่ย เอ่อ ถ้ามีโอกาสลองเข้าไปดูใน Google Earth ก่อนนะครับ แล้วก็ลองดูเส้นทางรถไฟ แล้วก็หาสถานีรถไฟให้เจอ แล้วก็ หลังสถานีรถไฟหรือหน้าสถานีรถไฟเราก็จะเจอเส้นถนนเล็กๆเส้นนึง ถ้าเข้าใจว่ามองที่หลังคาถ้ารู้ว่าเรือนเก่าไม้หลังคาปูนจั่วเนี่ย นั่นแหล่ะครับคือชุมชนดั้งเดิมที่เกี่ยวพันกับรถไฟ

ผมโชคดีอย่างนึงก็คือว่า ปีที่แล้ว ได้ร่วมงานกับ ดร.ยงธนิศร์ ซึ่งเป็นนายกสมาคม เราทำงานให้การเคหะแห่งชาติเรื่องชุมชนที่อยู่อาศัยดั้งเดิม ทำให้ผมได้มีโอกาสเดินทางทั่วประเทศไทย คือแทนที่จะไปดูชุมชนดั้งเดิมแล้วผมก้ไปดูสถานีรถไฟแล้วก็ไปคุยกับนายสถานีรถไฟด้วย ก็ได้เก็บข้อมูลไปในเวลาเดียวกัน

คราวนี้เนี่ย พอรถไฟมันขยายตัวมากขึ้น มันก็มีชุมชนที่เกี่ยวพัน เพราะสมัยก่อนเนี่ยเราขนส่งทางน้ำมาเป็นรถไฟ และเปลี่ยนจากรถไฟมาเป็นทางหลวง สิิ่งที่เกิดขึ้นที่ผมเจอก็คือว่า ชุมชนดั้งเดิมเล็กๆ ที่อยู่กับริมรถไฟเนี่ย เริ่มเสื่อมสลายไป เสื่อมโทรมลง เกิดคำถามว่าเราจะดูแลรักษามันอย่างไร ถ้าโชคดีก็อาจจะดังเหมือนสามชุก(สุพรรณบุรี) ถ้าโชคไม่ดี บ้านไม้ก็จะพังลงไปทีละหลังสองหลัง

คราวนี้เนี่ย ในระหว่างปี 2484-88 เนี่ยเกิดสงครามเอเซียบูรพา ซึ่งช่วงนี้เนี่ย มีไฟไหม้อาคารสถานีรถไฟเยอะมาก ในประเทศไทยโดนรื้อ โดนถล่มด้วยระเบิดบางเส้นเนี่ย ตัวอย่างก็คือสถานีรถไฟชุมพร ถ้าดูรูปขวามือเนี่ย คือผมไม่มีแบบพิมพ์เขียว และมีรูปนี้รูปเดียวที่พอจะสันนิษฐานได้ว่า มันมีลักษณะคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟกันตัง แล้วพอมันโดนบอมบ์โดนรื้อไป ก็เลยสร้างมาเป็น อาคารคอนกรีตสองชั้น ซึ่งตรงนี้ ถ้าผมคิดว่าผมจำไม่ผิดน่าจะเป็น พ.ศ. 248สิบกว่า หรือเก้าสิบกว่าๆนะครับ ที่เริ่มสร้างสถานีรถไฟตรงนี้ ที่ชุมพร ครับ ตอนนี้ก็ประมาณ 60 ปีแล้วหล่ะ

คราวนี้เนี่ย อย่างที่บอกแล้วว่า พอปี 2500 เนี่ย รัฐบาลประเทศเราเริ่มสร้างทางหลวง ทำให้การค้าที่เคยใช้สถานีรถไฟเนี่ย มันเสื่อมลง คนใช้น้อย บางสถานีรถไฟกลายเป็นที่หยุดรถ แล้วก็ สิ่งที่ตามมาก็คือ พอเป็นที่หยุดรถปุ๊บ พนักงานสถานีรถไฟก็จะย้ายไปทำงานที่สถานีอื่น สิ่งที่ตามาก็คือว่า ถ้าการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีนโยบายจะดูแลรักษาไอ้สถานีตัวเนี๊ย มันก็จะค่อยๆโทรมลงไปเรื่อยๆ สุดท้ายการรถไฟดูไม่ไหว ก็ต้องรื้อไป.. ก็เกิดคำถามว่าเราจะทำยังไงดีกะที่เกิดขึ้น ณ. ปัจจุบัน
_________________
ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ ก่อนที่ท่านจะลงจากขบวนรถ โปรดตรวจสอบสัมภาระของท่านที่นำติดตัวมา นำลงให้ถูกต้องครบถ้วนด้วยครับ....

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
pasakorn
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/01/2009
Posts: 671
Location: ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ., หลักสี่

PostPosted: 23/06/2011 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

คราวนี้เนี่ย เอ่อ ตัวสถานีรถไฟเองเนี่ย การรถไฟแห่งประเทศไทยเนี่ย เค้าแบ่งสถานีรถไฟออกเป็น 5 ระดับนะครับ ก็คือ ชั้นพิเศษ ชั้น 1 ,ชั้น 2 ,ชั้น 3 ,ชั้น 4 ก็กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศของเรานะครับ ก็คือ ผมไปถามเค้าก็คือ เค้าจะใช้จากจำนวนผู้โดยสาร ประชากร รายใด้ที่เก็บได้ของตัวสถานีอะไรประมาณเนี๊ยอ่ะครับ เป็นหลักที่จะแบ่งว่า อันไหนอยู่ชั้น 1 ,ชั้น 2 ,ชั้น 3 ,ชั้น 4 นะครับ ถ้าเป็นพิเศษเนี่ย ใหญ่ยักษ์เนี่ยเราก็รู้คือกรุงเทพเนี่ย อันนี้ไม่ต้องบรรยายมากนะครับ ก็เป็นสถานีหลักของประเทศเรานะครับ ก็เป็นชั้นพิเศษ

เอ่อ สถานีรถไฟกรุงเทพเนี่ย ตอนที่เค้าเริ่มสร้างนะครับเนี่ย เริ่มสร้างจากอาคารโดมนี้ก่อนนะครับ แล้วเสร็จแล้วก็มีการต่อเติมที่เป็นมุขยื่นด้านหน้า แล้วพอต่อเติมครั้งที่ 3 เนี่ย คือเป็นมุขที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นโรงแรมราชธานีมาก่อน คืออาคารสถานีรถไฟหัวลำโพงเนี่ย มีสถาปนิกต่างชาติออกแบบสามท่านนะครับ ซึ่งระยะเวลาการออกแบบไม่ตรงกันนะครับ เริม่จาก หลังคาโค้งก่อน มุขด้านหน้า แล้วก็โรงแรมราชธานีซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออกนะครับ

คราวนี้เนี่ย สถานีรถไฟชั้น 1 ที่เจอเนี่ยนะครับ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองเป็นหลัก นะครับ ก็ตามหัวเมืองต่างๆที่มีรถไฟผ่าน เอ่อ มันจะมี อาคารเนี่ย แน่นอนมันจะต้องใหญ่กว่าชาวบ้านเค้าเพราะมันจะต้องรองรับปริมาณผู้โดยสารเยอะพอสมควรแต่ละปีนะครับ แล้วก็ อาคารสถานีชั้น 1 เนี่ย ได้รับการดูแลดีมาก งบประมาณก็จะเยอะก็จะมาดูแลพวกสถานีเนี่ยครับ เป็นหลัก

คราวนี้เนี่ย สถานีรถไฟชั้น 2 เนี่ย มันจะตั้งอยู่ที่ตามอำเภอ อำเภอขนาดใหญ่ ก็อย่างเช่นที่ ชะอำ บางปะอิน หรือที่สูงเนิน หรือที่ท่าสัก หรือที่แม่ทะ นะครับ คือรูปแบบของสถานีรถไฟก็แล้วแต่นะครับว่ามันมากมันมีช่วงไหน ใครเป็นคนออกแบบ อะไรก็แล้วแต่ อย่างของแม่ทะเนี่ย สร้างมา เอ่อ 2464 มั้งฮะถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ ก็จะมีรูปแบบ แบบฝรั๊งงง ฝรั่งนะครับ แล้วก็ อย่างของสูงเนิน หรือไม่ก็ของท่าสักเนี่ยก็ ก็เริ่มแบบมาตรฐานแล้วไง ที่เป็น 2 ชั้นลักษณะอย่างนี้หน่ะครับ

คราวนี้เนี่ย สถานีรถไฟชั้น 3 อ่า.. ก็คือ แบบ medium ก็คือที่มันเล็กลงมาหน่อย อย่างที่บ้านปิน หรือที่กันตัง คือสมัยก่อนมันอาจเป็นสถานีที่คนใช้เยอะแตปัจจุบันคนใช้น้อยก็โดนลดลำดับชั้นลงมาเพราะมันเกี่ยวข้องกับงบประมาณการดูแลอะไรด้วย สถานีกันตังตอนที่ผมไปดูเมื่อสองปีที่แล้วคือยังไม่บูรณะนะครับ ตอนนี้ก็บูรณะแล้ว สวยงามแล้วครับ ดูดี แล้วก็ที่ผมเห็นว่ามันน่าจะใช้ model ของกันตังใด้ในการบูรณะก็คือว่า เค้าไม่ได้ทำให้เป็นตัวอาคารสถานีรถไฟที่คนมานั่งแล้วก็ขึ้นรถไฟไป เค้าแบ่งเป็นห้องๆ ห้องนึงเป็นห้องจัดนิทรรศการอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถของรถไฟแล้วให้ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งผมว่ามันเป็นความคิดที่ดีมากเลย ที่สามารถแบ่งบางส่วนของสถานีรถไฟใหญ่ยักษ์ตัวเนี๊ยเข้ามาให้ความรู้กับประชาชนตรัง เอ่อ.. แล้วก็อย่างของบ้านทับช้างเนี่ย มันต้องสร้างแทนสถานีไม้ ผมจำได้ตอนผมเรียนปีหนึ่งที่เทคโนฯลาดกระบัง มันยังเป็นสถานีไม้อยู่ พอมีนโยบายทำเป็นรถไฟรางคู่ก็สร้างเป็นสถานีคอนกรีตตัวนี้ขึ้นมา เดี๋ยวตอนเสวนาพี่คนนึงซึ่งเป็นสถาปนิกการรถไฟแห่งประเทศไทยอาจจะเล่าให้ฟังได้นะครับ ว่า การเปลี่ยนผัง ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของรถไฟมันมีการเปลี่ยนแปลงอะไรยังไงบ้าง

อันนี้เนี่ย สถานีรถไฟชั้น 4 เนี่ย มันจะเป็นสถานีเล็กๆ อยู่ตามตำบล นะครับ แล้วส่วนใหญ่เนี่ย มันเป็นแบบมาตรฐาน แบบมาตรฐานที่ผมพูดถึงก็คือว่า เอ่อ มันเป็นเหมือนหมู่บ้านจัดสรรนะครับ คือมันมีแบบเดียวแล้วสร้างกระจายกันทั่วประเทศไทย สถานีเนี้ย มันก็จะเล็กๆมากมีห้องทำงานนายสถานีห้องนึง ห้องขายตั๋วแล้วก็มีโถงพักผ่อน ก็นั่นหน่ะครับที่อยู่ตามต่างจังหวัด ที่ผมเจอเนี่ย ผมไปเจอแบบพิมพ์เขียวผมพบว่าสถานีคลองมะพลับเนี่ย เล็กๆเนี่ยคือสถานีรถไฟไม้ที่เล็กที่สุดในประเทศไทย มีแค่ 3 bay เนี่ย เล็กๆเนี่ยครับ มีตรงเนี้ยครับ คือที่พักผ่อน ห้องขายตั๋วและห้องทำงานายสถานี ผมได้เจอแบบพิมพ์เขียวมาแล้วก็เจอพิกัดพิมพ์เขียวนี้ ก็สามารถได้สืบค้นข้อมูลต่อได้
_________________
ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ ก่อนที่ท่านจะลงจากขบวนรถ โปรดตรวจสอบสัมภาระของท่านที่นำติดตัวมา นำลงให้ถูกต้องครบถ้วนด้วยครับ....

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
pasakorn
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/01/2009
Posts: 671
Location: ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ., หลักสี่

PostPosted: 23/06/2011 12:51 pm    Post subject: Reply with quote

คราวนี้ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เจอของสถานีรถไฟเนี่ย มันแบ่งออก เอ่อ ผมแบ่งเองนะครับ ก็คือมันแบ่งออกรวมเป็น 3 ลักษณะก็คือ แบบที่ 1 เนี่ย มันมีรูปแบบ แบบผสมผสานกับตะวันตก ก็คือส่วนใหญ่เนี่ยมันจะเป็นสถานีซึ่งได้รับการออกแบบจากสถาปนิกหรือวิศวกรที่มาสร้างทางเมื่อแรกเริ่มของเราเนี่ย นะครับ หรือ มีสถาปนิกชาวไทยที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศแต่ยังคิดว่าสถานีรถไฟเนี่ย มันน่าจะมีกลิ่นอายของตะวันตก ก็มีส่วนเหมือนกัน หรือ มีการผสมผสานระหว่างภาคพื้นเมือง เช่นที่ห้างฉัตรอย่างเนี้ยอ่ะครับ ก็ มีลายฉลุสวยงามมาก ที่สถานีรถไฟห้างฉัตรเนี่ยครับ ถึงแม้ว่ารูปแบบสถาปัตยกรรมมันจะมีแบบอิทธิพลตะวันตกแบบเยอะมาก แต่ว่าก็จะมีแบบใส่ลายแกะสลักที่เป็นของภาคเหนือนี้เข้าไปด้วย เป็นต้นนะครับ ก็จะเห็นลายฉลุที่อยู่ตามส่วนต่างๆของสถานีรถไฟเราได้

คราวนี้เนี่ย มันก็จะมีอีกแบบนึงซึ่งเป็นแบบ แบบไทยประยุกต์ คือสถานีพวกนี้จะสร้างขึ้นมายุคหลังๆแล้วหล่ะ ที่เราเห็นแบบนี้ส่วนใหญ่มันจะอยู่ที่อำเภอเมือง ผมจำได้ตอนเด็กๆเนี่ยสถานีรถไฟที่บ้านผมที่อุบลเนี่ย มันเหมือนสถานีรถไฟกันตังเคยเห็นรูปอยู่เป็นชั้นเดียวเป็นไม้ยาวๆ แล้วพอมันรื้อไปมันก็มาสร้างเป็นอาคารเหมือนสถานีต่างๆที่เราเห็นทั่วประเทศไทย ตัวนี้ขึ้นมานะครับ

อันนี้เนี่ย อีกตัวนึงที่น่าสนใจมากก็คือ ประยุกต์โมเดิร์น เป็นสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นละ ก็คือคนที่ออกแบบส่วนใหญ่เป็นสถาปนิกที่จบจากต่างประเทศนะครับ อย่างหม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ มาทำ อย่างที่เราเห็นชัดๆ่ก็คือที่สถานีรถไฟตรังซึ่ง น่าเสียดายนะครับ ที่สถานีรถไฟ เอ่อ สามเสน ที่มาโดนรื้อไป มันสวยมากนะครับ ผมว่า ถ้ามันอยู่นี่มันคง สุดยอดของประเทศละ! สถานีของที่สามเสน นะครับ หรือสถานีเล็กๆอย่างเนี้ย ที่วัดงิ้วราย ผมไปเจอแบบพิมพ์เขียวเนี่ย ปี 2495 นะครับหลังนี้ถ้าผมจำไม่ผิด ที่วัดงิ้วรายเนี่ย เป็นคอนกรีตสองชั้น สวยมากนะหลังเนี้ย หรือที่มักกะสัน ตัวนี้ผมยัง มักกะสันก็เป็นสองชั้น

คราวนี้เนี่ย เราจะมาพูดว่าสถานีรถไฟเนี่ย มันสวยๆๆ มันมีคุณค่าอะไรยังไงเนี่ย คนอื่นไม่เข้าใจ เราต้องอธิบายให้เค้าเข้าใจว่าคุณค่าที่เรากำลังพูดถึงเนี่ยมันคือยังไงบ้าง
คือปัจจุบันเนี่ย สถานีรถไฟมันแสดงออกถึงรูปแบบ วัสดุที่มีการก่อสร้างซึ่งมันมีความหลากหลายมาก มันมีทั้งไม้ มีทั้งก่ออิฐฉาบปูน มันมีทั้งผสมปนเปกันไปหมดรูปแบบ มีทั้งไทย มีทั้งฝรั่ง มีทั้งพื้นถิ่นต่างๆเอามารวมกันตรงเนี้ย แล้วก็มีการศึกษาและก็การขึ้นทะเบียนอย่างเช่น เอ่อ ใน 4 หลังเนี่ย อย่างพลับพลาที่ประทับ นี่ก็สถานีรถไฟสงขลาเดิม แล้วก็สถานีรถไฟธนบุรีเดิมซึ่งตอนนี้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานนะครับ ตึกพัสดุตรงเนี้ยซึ่งอยู่แถวๆหัวลำโพงเนี่ยได้รับรางวัลอนุรักษ์จากสมาคมสถาปนิกสยาม เอ่อ เราจะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนอย่างเช่นพลับพลาที่ประทับเนี่ย ได้รับการดูแลดีมาก เป็นโบราณสถาน แต่ในขณะเดียวกันโบราณสถานอีกชิ้นนึงก็คือสถานีรถไฟสงขลา ซึ่งเดี๋ยวอาจารย์สุดจิต จะมาเล่าให้ฟัง ว่าไปทำ VERNADOC มา ก็จะรู้ว่ามันโทรมมาก ไม่รู้ว่าทำไมมันถึงโทรมได้ขนาดนี้ ธนบุรีตอนนี้ก็ได้รับการปรับปรุงซะสวยหรูเลย แล้วก็คงใกล้จะเปิดอีกไม่นานนะครับ

เอ่อ คราวนี้เนี่ย มันจะต้องมีการเก็บข้อมูล จะต้องเขียนให้เค้า คือภาพถ่ายอย่างเดียวมันอธิบายไม่พอหรอกครับ คือมันจะต้องมีการสำรวจและรังวัด และเก็บเป็นฐานข้อมูลไว้ว่า อาคารหลังนี้มันกว้างคูณยาวเท่าไหร่ สูงเท่าไหร่ ใช้วัสดุอะไรยังไงบ้าง ซึ่งมีเทคนิควิธีการที่คล้ายกันก็คือ เป็นวิธีการเขียนรางวัดด้วยมือ ซึ่งเดี๋ยว อ.สุดจิต จะมาเล่าให้ฟัง ว่า วิธี vernacular documentation มันเป็นอย่างไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน แล้วมันหยุดคนที่เข้าไปทำงานอย่างไร แล้วก็อีกแบบนึงก็คือใช้คอมพิวเตอร์ อันนี้ก็ ตัวเลขเท่าไหร่ใส่คอมพิวเตอร์เข้าไป ซึ่งสองแบบเนี่ย ก็จะมีเทคนิคซึ่งแตกต่างกัน แต่ว่าวัตถุประสงค์ก็จะไม่ต่างกันมาก ก็คือเป็นการเก็บข้อมูล ณ. เวลานั้น ของสิ่งก่อสร้างใดตัวใดตัวหนึ่ง ก็อย่างนี้ก็อย่างเช่นสถานีรถไฟกันตัง หรือว่าแบบมาตรฐานสองชั้น ก็สถานีรถไฟมักกะสันนี่ก็เป็นบ้านพักอาศัยของการรถไฟ

คราวนี้เนี่ย คำถามก็คือว่า นอกจากสถานีรถไฟแล้ว มันมีอย่างอื่นรึเปล่า มีครับ! มันก็มีบ้านพัก มีหอรับสัญญาณ อาคารที่ทำการ โรงรถจักร ถังเก็บน้ำ สะพาน บ้านเรือนที่เกี่ยวพัน มันเกี่ยวพันในเรื่องเดียวกันทั้งหมด คือเราไม่สามารถจะศึกษาแค่ สถานีรถไฟตัวเดียวแล้วก็จะบอกได้ว่า อย่างอื่นไม่มีความสำคัญ มันเกี่ยวพันกันทั้งหมดเลยนะครับ

คราวนี้เนี่ย เราจะศึกษาหรือเราจะทำยังไง นั่นก็ต้องหาวิธีคุยกันหน่ะครับ ว่า เอ๊ะ นอกจากสถานีรถไฟแล้วเนี่ย ยังมีอย่างอื่นอีกมั้ย จะทำยังไงดี
_________________
ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ ก่อนที่ท่านจะลงจากขบวนรถ โปรดตรวจสอบสัมภาระของท่านที่นำติดตัวมา นำลงให้ถูกต้องครบถ้วนด้วยครับ....

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
pasakorn
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/01/2009
Posts: 671
Location: ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ., หลักสี่

PostPosted: 23/06/2011 12:54 pm    Post subject: Reply with quote

คราวนี้เนี่ย เอ่อ ณ. ปัจจุบันเนี่ย สถานการณ์และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรับรอง..
ว่าจะเล่าให้ฟังว่าผมไปเจออะไรมา เช่นในรูปนี้อ่ะครับ มันเป็น สถานีตลาดหนองคายเดิม ตอนนี้อ่ะนะครับมันมีรถไฟไปประเทศลาวใช่มั้ย ข้ามแม่น้ำโขง สถานีนี้เค้าไม่ใช้ ตอนที่ผมไปสำรวจปีที่แล้ว สถานีรถไฟตัวนี้มันสร้างปี 2500 นะครับ สวยมาก มีชั้นเดียว แล้วเค้าก็รื้อไป บ้านพักเค้ายังไม่รื้อแต่ให้ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยเข้ามาอยู่ คือผมเห็นแล้วผมก็เศร้าใจนะครับ ทั้งที่มันเป็นประวัติศาสตร์ของเมืองนะครับ แล้วไม่ให้ความสำคัญกับมันเลย ทำเหมือนอะไรก็ไม่รู้ คนที่ไปหนองคายเนี่ย สถานีรถไฟตลาดหนองคายเนี่ย ไม่รู้ มันเป็นอะไรก็ไม่รู้แล้วตอนนี้ เนี่ย มันเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย นี่คือสิ่งที่ผมพยายามคิดตลอดเวลา เพราะถ้าสมมุติว่าเราสูญเสียประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งส่วนนี้ไปแล้วมันกลับคืนมาไม่ได้ สุดท้าย ผมว่าในอนาคตก็คงมีการติดป้ายแล้วก็บอกว่า “อดีตสถานีรถไฟหนองคาย” แล้วก็ ไม่มีอะไรเลย แค่มีแต่ป้าย อาจเป็นอย่างนั้นก็ได้ สิ่งที่เจอก็คือว่า อันที่ 1. คือการขาดนโยบายการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ ที่เราเห็นชัดๆเลยคือ ไอ้รถไฟโฮปเวลล์เนี่ย เห็นชัดๆเลย มันรื้อ มันร้าง มันเอาไปหมดเลยนะครับ แล้วก็.. ที่สำคัญก็คือว่า เรา เรานี่หมายถึงการรถไฟฯในฐานะที่เป็นเจ้าของนะครับ ยังไม่มีนโยบายที่เขียนลงไปเลยว่า เราจะอนุรักษ์และพัฒนาตัวลถานีรถไฟและอดีตสถานีรถไฟยังไง นะครับ..

แล้วก็ เนื่องจากว่า สถานีรถไฟมันสร้างด้วยไม้มันโทรมมาก ณ. ปัจจุบันเนี้ย เราจะทำยังไงกับมัน แล้วการรถไฟฯเนี่ย ยังไม่มีบัญชีเป็นของตัวเองเลย เพราะของตัวเองมันเป็นของตีจำหน่ายให้คนอื่นมาบอก ถ้าไม่กรมศิลปากรก็สมาคมสถาปนิกสยาม หรือไม่ก็ท่านที่นั่งอยู่ที่เนี่ย (ผู้เข้าร่วมฟังเสวนา) มาบอกการรถไฟ เฮ้ย ท่านมีของดี แล้วการรถไฟก็เงียบไม่ทำอะไรต่อ นะครับ แล้วก็มีหลายหน่วยงาน สำรวจแล้วก็บันทึกข้อมูลแล้วนะครับ อย่างเช่น ปีนี้นะครับก็ 5 สถานีรถไฟ แม่ทะ ปางป๋วย แม่จาง แก่งหลวง แล้วก็ห้างฉัตร 5 สถานีรถไฟได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม จากสมาคมสถาปนิกสยาม ๆอ้หน้าสถานีรถไฟมันใช้แบบมาตรฐานแบบเดียวกัน เล็กๆเนี่ยอ่ะครับ
แล้วก็มันมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวซึ่งไม่เหมือนกะที่อื่นด้วยเทคนิคและวิธีการสองข้าง นะครับ แต่มันโทรมนะครับ สถานีพวกนี้ก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไงดี

สิ่งที่ผมอยากจะเสนอผู้ที่เกี่ยวข้องก็คือว่า อันที่ 1. เนี่ย มันน่าจะมีการสำรวจ ก่อนที่คุณจะทำอะไร คุณต้องดูว่าคุณมีของดีอยู่ในมือ มีตรงไหนบ้าง คุณระบุคุณค่าความสำคัญ เพราะว่าอาคารสถานีรถไฟ 400 หลังมันมีความสำคัญไม่เหมือนกันนะ ความสำคัญในแง่สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์หรือเทคนิคและวิธีการก่อสร้าง มันจะต้องแบ่งชั้นก่อน ว่าใครอยู่ที่ไหนอะไรยังไงบ้าง นะครับ แล้วก็ เอ่อ อดีตสถานีเนี่ย จะปรับเปลี่ยนใช้สอยอะไรยังไงได้บ้าง เพราะมันมีแนวโน้มว่าตัวสถานีเก่าเล็กๆเนี่ยมันอาจจะกลายเป็นที่หยุดรถเพราะว่าคนใช้รถไฟน้อยลงนะครับ เราจะทำยังไงกับมัน

แล้วนอกจากนั้นก็คือ เราจะทำยังไงกับ นิคมรถไฟของบ้านพักรถไฟ แล้วก็ชุมชนรถไฟที่เกี่ยวพันกับตัวสถานีรถไฟ เราจะทำยังไงกับของเก่าๆพวกนี้ จะพัฒนาและอนุรักษ์ยังไงนะครับ แล้วก็ ถ้าเป็นไปได้เนี่ย น่าจะมีการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบเลย การรถไฟฯน่าจะเป็นเจ้าภาพเพราะว่ามันเป็นของเค้าเลยเนี่ย เค้าน่าจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบขึ้นมาดูเลยเพราะว่า เค้่าจะบริหารจัดการยังไง ดูแลทรัพย์สินของเค้าได้ยังไงนะครับ
_________________
ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ ก่อนที่ท่านจะลงจากขบวนรถ โปรดตรวจสอบสัมภาระของท่านที่นำติดตัวมา นำลงให้ถูกต้องครบถ้วนด้วยครับ....

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
pasakorn
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/01/2009
Posts: 671
Location: ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ., หลักสี่

PostPosted: 23/06/2011 12:58 pm    Post subject: Reply with quote

อย่างเนี้ย ผมเพิ่งไปที่แม่พวกมา เมื่อ เอ่อ.. วันจันทร์ที่ผ่านมา ผมไปที่แม่พวกเนี่ยครับคือ คือผมเขียนโครงการไปที่ลาดกระบัง ที่คณะสถาปัตย์ ขอตังค์ไป 80,000 ผมจะไปสำรวจสถานีแล้วก็เขียนมาอย่างนั้น คือผมเป็นอาจารย์พิเศษอ่ะ ผมไม่ได้เป็นอาจารย์ประจำเพราะฉนั้นผมก็เลยต้องไปขอรองคณะบดี พี่เป็นนอมินีให้ผม แล้วผมไปช่วย พี่ไปหาตังค์แล้วผมจัดการเอง แล้วพี่เอาความดีความชอบไปผมไม่สน ผมจะทำ ผมก็นั่งคิดอย่างเนี๊ย ตอนนี้ไปอยู่ที่คณะไม่รู้จะได้รึเปล่า แต่ผมก็จะทำแล้วแหล่ะ ผมก็ไปที่สถานีแม่พวกเนี่ย ก่อนไปเนี่ย ผมก็ serch ใน internet ผมอยากรู้ว่า ไอ้ตัวเนี้ย มันอยู่ในพื้นที่ใคร เผอิญ.. ผมก็ไปได้เบอร์มือถือของนายก อบต. นายก อบต. ก็เลยให้เบอร์มือถือของผู้ใหญ่บ้าน ผมก็เลยโทรคุยกับผู้ใหญ่บ้านแม่พวก เสร็จแล้วก็เลยไปที่นู่น ที่แม่พวก พอได้ไปที่แม่พวกเนี่ย เนื่องจากว่า มันเปลี่ยวแล้วมันเงียบมันเหงาอ่ะ แล้วผมคิดว่าผมจะไปสำรวจรางวัด ผมกลัวผีอ่ะผมก็เลยบอก “ผู้ใหญ่ หาคนให้ผมคนนึงสิ่ ผมไม่ไหวแล้วผมจะตาย แบบ มันเงียบมันเหงามันวังเวงมาก ฝนก็ตกอย่างเนี้ย ถ้าเดินดุ่ยๆเข้าไปอยู่คนเดียวเนี่ย” เค้าเลยหาคนมาช่วยผมรังวัด

อันนี้เนี่ย คือตอนแรกผมไม่แน่ใจว่า สถานีนี้มันมีแบบพิมพ์เขียวรึเปล่า มันสร้างมาตั้งแต่ 2460 สถานีรถไฟแม่พวกตรงเนี้ย คือถ้ามันมีแบบพิมพ์เขียวมันจะช่วยชีวิตผมได้เยอะมาก แต่ถ้ามันไม่มีก็ช่าง ผมจะรังวัดผมก็ทำของผมเอง นะครับ คือที่ๆผมจะทำก็คือจะเขียนเรื่องประวัติืความเป็นมา ลักษณะทางสถาปัตยกรรม สภาพ ณ. ปัจจุบัน แล้วก็แนวทางที่จะพัฒนาไอ่ที่หยุดรถตรงนี้ได้ จะทำยังไงกับมัน คือมันอาจจะเป็นวิธีการนึงก็ได้ที่จะเสนอการรถไฟฯ เฮ้ย มันจะมีการบริหารจัดการ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีการรื้อสถานีรถไฟก็ได้นะ โชคดีแต่ก่อนสถานีรถไฟแม่พวกเนี่ย พอเค้าเปลี่ยนเป็นที่หยุดรถ คนในพื้นที่เนี่ย ขอร้อง อย่ารื้อได้มั้ยขอพวกเราดูแลต่ออะไรประมาณนี้ มันรก็เลยไม่โดนรื้อมันก็เลย ตอนนี้คนในพื้นที่ก็ยังมาใช้อยู่ ข้างหน้าก็เป็นลานกีฬานะครับ แต่ตัวพื้นตัวหลังคานี่ค่อนข้างรั่ว เริ่มไม่ค่อยดีครับ

อันนี้เนี่ย ตัวสุดท้ายก็คือว่า สิ่งที่ผมทำเนี่ย ณ. ปัจจุบันผมแค่เริ่มต้น ผมเป็นแค่การสำรวจแหล่งมรดกเฉยๆ หรือขั้น addict อยู่ขั้นที่ 1. เนี่ยมันอยู่ที่ไหน เป็นอะไรยังไงบ้างนะครับ ซึ่งจะเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์โบราณคดี สถาปัตยกรรมอะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่เราต้องต่อไปก็คือว่า พอผมได้ขั้น 1 แล้วเนี่ย วิธีการอนุรักษ์เนี่ย จะใช้วิธีอะไร แบบไหนนะครับ แล้วเกณฑ์ที่เราจะต้องมาพิจารณาเนี่ย พิจารณาเรื่องความ ไอ่สิ่งที่มันมีอยู่ของเดิมเนี่ย มันเหลืออยู่เท่าไหร่ มันถึงจะเป็นคำถามที่ว่าหลังจากเนี้ย วิธีการที่เรานำมาปฏิบัติพร้อมจะพัฒนายังไงกฏหมายเป็นยังไงซ่อมยังไง ใครทำ คณะกรรมการดูแล มีมาตรฐานการดูแลยังไง งบประมาณเอามาจากไหน นี่คือกระบวนการซึ่งมันใช้กันทั่วโลกนะครับก็คือกระบวนการในการวางแผน มันจะมีอยู่ 3 ข้อแล้วมันก็จะวิ่งไปวิ่งมาอยู่อย่างนี้อ่ะครับ สิ่งที่ผมทำแค่เสี้ยวนึงของข้อที่ 1. ก็หวังว่าทุกท่านน่าจะคุยกันต่อนะครับ ถ้าจะทำต่อข้อที่ 2. ข้อที่ 3. มันน่าจะมีแนวทางอะไรยังไงบ้าง ผมก็ขอจบการบรรยายแค่นี้ สวัสดีครับ.


ในส่วนการบรรยายของ ผศ. สุดจิต สนั่นไหว ซึ่งได้บรรยายเรื่อง การสำรวจ รังวัด และเขียนแบบสภาพปัจจุบันของสถานีรถไฟด้วยวิธี Vernacular Documentation นั้น ผมไม่ได้ถอดคำบรรยายครับ เพราะเนื่องจากค่อนข้างเกี่ยวกับเรื่องของเทคนิคและวิธีการเขียนแบบซะเป็นส่วนใหญ่ เลยไม่ขอถอดความมาลงครับ Wink
_________________
ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ ก่อนที่ท่านจะลงจากขบวนรถ โปรดตรวจสอบสัมภาระของท่านที่นำติดตัวมา นำลงให้ถูกต้องครบถ้วนด้วยครับ....

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
pattharachai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย

PostPosted: 23/06/2011 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

โหพี่ ถอดเทปละเอียดยิบเลย

ขอบคุณครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5  Next
Page 3 of 5

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©