RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180204
ทั้งหมด:13491438
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2021 9:04 pm    Post subject: Reply with quote

มั่นใจมีกำไร! รื้อแผนสถานีกลางบางซื่อ เพิ่มพื้นที่ร้านค้า-ใช้โมเดลสัมปทาน ทอท.ประมูล มิ.ย.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 08:05 น.
ปรับปรุง: วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 08:05 น.




รฟท.ปรับแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์ สถานีกลางบางซื่อ ใช้โมเดล ทอท. ขึงพื้นที่ให้สัมปทานมีกำไรตั้งแต่ปีแรก เร่งประมูล มิ.ย.คาดรายได้เฉลี่ย 200 ล้าน/ปี เตรียมชง คนร.ทบทวนมติ ขอเปิดPPP เดินรถสีแดงแทนตั้งบริษัทลูก

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงแผนการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ สถานีกลางบางซื่อ ว่าจากที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม สั่งให้ รฟท.ปรับแผนใหม่หลังจากแนวทางเดิม พบว่า ในช่วง 4 ปีแรก (64-67) ขาดทุนปีละเกือบ 300 ล้านบาท โดยให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เข้ามาช่วยศึกษาแนวทางการให้สัมปทานเอกชน โดยมุ่งสร้างรายได้จากค่าเช่า หรือส่วนแบ่งรายได้ ธุรกิจรีเทลค้าปลีก, ร้านอาหาร, โอทอป, พื้นที่โฆษณา และบริการที่จอดรถให้เพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาความปลอดภัย และค่าซ่อมบำรุงสถานี

ทั้งนี้ ได้มีการปรับเพิ่มพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น จากพื้นที่ที่ผู้โดยสารเข้าถึง (Passenger Accessible area) ที่มีทั้งหมด 129,400 ตร.ม. ซึ่งแผนเดิมจะพัฒนาเชิงพาณิชย์สัดส่วน 10% เพิ่มเป็นเป็น 33.6% (43,465 ตร.ม.) โดยผู้โดยสารยังได้รับความสะดวกในการใช้บริการ ขณะที่สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่สถานีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

จากการคาดการณ์รายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์ 10 ปี เฉลี่ยประมาณ 221-238 ล้านบาท/ปี (คิดที่ 815-852 บาท/ตร.ม./เดือน) โดยรายได้จะเติบโตจาก 75 ล้านบาทในปี 2564 เป็น 300 ล้านบาทในปี 2573 ส่วนธุรกิจโฆษณามีรายได้เฉลี่ย 233-244 ล้านบาท/ปี โดยรายได้จะเติบโตจาก 140 ล้านบาท ในปี 2564 เพิ่มเป็น 307 ล้านบาทในปี 2573

ขณะที่รายได้จากการบริหารที่จอดรถ เฉลี่ย 10 ปี ประมาณ 84-89 ล้านบาท/ปี โดยรายได้จะค่อยๆ เติบโตขึ้นจาก 46 ล้านบาทในปี 2564 เป็น 128 ล้านบาทในปี 2573

โดยรายได้เชิงพาณิชย์จะนำมาชดเชยค่าใช้จ่ายของสถานีที่คาดว่ามีประมาณ 40 ล้าน/เดือน หรือ 200-300 ล้านบาท/ปี โดยปีต้นๆ รายได้จะพอเลี้ยงรายจ่าย โดยปี 2564 มี EBITDA เป็นบวกประมาณ 8 แสนบาท ปี 2565 เพิ่มขึ้นเป็น 26.41 ล้านบาท และค่อยๆ เพิ่มขึ้นตลอด 10 ปี โดยปี 2573 มี EBITDA บวก 410 ล้านบาท ขึ้นกับปริมาณผู้โดยสารที่จะมาจากสายสีแดง และรถไฟทางไกล

โดยจะศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมทั้งอายุสัมปทานตั้งแต่ 10-15-20 ปี คาดว่าจะใช้เวลาในการคัดเลือกเอกชน 6-9 เดือน โดยเปิดประมูลต้นเดือน มิ.ย. 2564 และคัดเลือก 3 เดือน ได้ตัวเอกชนต้นเดือน ก.ย. 2564

สำหรับคาดการณ์ปริมาณผู้ใช้บริการที่สถานีกลางบางซื่อจากผู้โดยสาร รถไฟสายสีแดง รถไฟทางไกล มีประมาณ 100,000 คน/วัน ซึ่งยังน้อยเมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่ ดังนั้น การพัฒนาเชิงพาณิชย์ ร้านค้า หรือโอทอป จะต้องมีศักยภาพ และสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเดินทางมายังสถานีเพื่อซื้อสินค้านอกเหนือจากมาใช้บริการรถไฟ

อย่างไรก็ตาม ทอท.ระบุว่าจากการวิเคราะห์โครงการบริหารจัดการกิจการภายใต้ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 ไม่เข้าเกณฑ์กิจการเกี่ยวเนื่องจำเป็น ดังนั้น การให้เอกชนรับสัมปทานบริหารพื้นที่สถานีรถไฟ จึงไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 โดย รฟท.ดำเนินการตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างปกติ แต่จะต้องแยกการบริหารที่จอดรถมาดำเนินการเอง เพราะหากนำไปรวมกับพื้นที่เชิงพาณิชย์ของสถานีบางซื่อจะทำให้เข้าข่ายและต้องปฎิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562

เร่งเสนอ คนร.ทบทวนมติ ขอเปิด PPP เดินรถสายสีแดง

ส่วนการเดินรถนั้น รฟท.อยู่ระหว่างศึกษาPPP ตามนโยบาย รมว.คมนาคม คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ใน มี.ค. 2565 เปิดประมูลคัดเลือกเอกชน เม.ย. 2565 - มี.ค. 2566 ได้ตัวเอกชนและถ่ายโอนงาน เม.ย. 2566 - ก.ย. 2567

งาน PPP จะครอบคลุมการบริหารเดินรถไฟสายสีแดงบริหารพื้นที่ 12 สถานี (ไม่รวมบางซื่อ) และก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ส่วนต่อขยายช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต 8.84 กม. 6,570.40 ล้านบาท ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14.8 กม. 10,202.18 ล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 4.3 กม. 6,645.03 ล้านบาท ก่อสร้าง 3 ปี (เม.ย. 66 - มี.ค. 69)

3. Missing Link บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง 25.9 กม. 44,157.76 ล้านบาท ก่อสร้าง 4 ปีครึ่ง (เม.ย. 66 - ธ.ค. 70)

ในระหว่างขั้นตอน PPP ยังไม่เสร็จ รฟท.จะเพิ่มพันธกิจให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) บริหารการเดินรถเป็นเวลา 3 ปี (พ.ย. 64 - ก.ย. 67) โดย รฟท.จะต้องนำเสนอคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เพื่อทบทวนมติเดิมด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2021 8:27 am    Post subject: Reply with quote

จับตา'คมนาคม'รื้อโปรเจ็กต์แสนล.
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ด่วนพระราม3 ประมูลมี.ค.64

คมนาคมรื้อ-ล้ม เมกะโปรเจ็กต์แสนล้าน จับตาด่วนพระราม 3 สัญญา 1 กับ 3 ส่อซ้ำรอยสายสีส้ม ดันสร้างเทอมินัลตัดแปะ ไม่สนเสียงค้าน ปิดท้ายประมูลที่ดินแปลง A ของรฟท. เอกชนเมินเหตุอยากได้ยกผืน

การเข้ามานั่งเก้าอี้ตัวใหญ่ในกระทรวงคมนาคม ของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เกิดปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลง วิธีการ การลงทุนเมกะโปรเจ็กต์หลายโครงการ แบบแปลกแปร่งเห็นได้จากการ ยกเลิกการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี) มูลค่า 1.4 แสนล้านบาท แบบค้านสายตา ทั้งที่คดียังคาอยู่ในศาลปกครอง ขณะโครงการที่มีโอกาส ย่ำรอยรถไฟฟ้าเส้นนี้ มองว่ามีอีกหลายโครงการ ที่น่าจับตา

เริ่มจาก โครงการก่อสร้างทางพิเศษ (ด่วน) สายพระราม 3-ดาวคะนองถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร มูลค่า 3.1 หมื่นล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ตอน ขณะนี้ สัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 3 ถูกล้มประมูลตั้งแต่กลางปี 2562 ปัจจุบัน ยังไม่สามารถ เปิดประมูลใหม่ ได้ แวดวงผู้รับเหมาเปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สาเหตุใหญ่ สองสัญญา มีความล่าช้า เพราะติดปัญหารื้อหลักเกณฑ์ทีโออาร์ใหม่ มองว่าครั้งนี้ ผู้รับเหมารายใหญ่น่าจะคว้าชัย หรือไม่ก็ผู้มีอำนาจทางการเมือง

สำหรับโครงการทางด่วนพระราม 3 สัญญาที่ 1 ราคากลาง 6,980 ล้านบาท ประมูลได้ราคา 5,897 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 15.5% ผู้ชนะการประกวดราคา คือ กิจการร่วมค้า CNA ประกอบด้วยบริษัท ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่งคอร์ปอเรชั่น จำกัด ,บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด และบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) หรือ NWRในเวลาต่อมา ITD ยื่นคำร้องเรื่องคุณสมบัติผู้ประกวดราคาผลต้องยกเลิกสัญญารอประกวดราคาใหม่ เช่นเดียวกับ สัญญาที่ 3 ราคากลาง 6,991 ล้านบาท ประมูลได้ราคา 6,098 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 12.77%ผู้ชนะการประกวดราคา คือ กิจการร่วมค้าไชน่าเรลเวย์-บมจ.ซีวิลเอนจิเนียริ่งบริษัทบุญชัยพานิชย์ จำกัด แต่ติดปัญหา ITD และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQUE ร้องเรื่องผู้ประกวดราคาขาดคุณสมบัติด้านผลงาน จึงเป็นเหตุยกเลิกสัญญารอประกวดราคาใหม่ดังกล่าว โดยทั้ง 2 สัญญา อยู่ระหว่าง จัดทำราคากลางและเงื่อนไขการประกวดราคาใหม่ คาดจะสามารถเปิดประมูลได้ภายใน 2 เดือนนับจากนี้

ขณะสัญญาที่ 2 ราคากลาง 7,242 ล้านบาท ประมูลได้ราคา 6,440 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 11.07% ผู้ชนะการประกวดราคา กิจการร่วมค้า CTB ประกอบด้วย บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง คัมปะนี ลิมิเต็ด บริษัท ทิพากร จำกัด, และบริษัท บุรีรัมย์ธงชัยก่อสร้าง จำกัด เซ็นสัญญา เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563 เช่นเดียวกับ สัญญาที่ 4 สะพานขึงยาว 2 กิโลเมตรราคากลาง 7,944 ล้านบาท ประมูลได้ราคา 6,636 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16.5 % ผู้ชนะการประกวดราคา คือบริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) เซ็นสัญญา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2562

ประมูลใหม่มี.ค. 64

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าความคืบหน้าการประมูลทางด่วนพระราม 3 จะ เกิดขึ้นภายในเดือนมีนาคม 2564 สอดคล้องนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ (กทพ.) ระบุว่ากทพ. อยู่ระหว่างเร่งจัดทำร่างเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) สัญญาที่ 1 และสัญญาที่ 3 ฉบับใหม่ เสนอไปยังกรมบัญชีกลาง เพื่อเพิ่มเติมรายละเอียดบางเรื่องที่นอกเหนือจากเงื่อนไขในประกาศของกรมบัญชีกลาง

"เรายอมว่าการก่อสร้างโครงการดังกล่าวอาจมีความล่าช้าจากแผนเดิมที่วางไว้ แต่หลังจากการประมูลแล้วเสร็จ และได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว จะต้องเร่งรัดเอกชนให้เข้าพื้นที่ก่อสร้าง และเร่งรัดการทำงาน เพื่อผลักดันให้สามารถเปิดบริการได้ตามกำหนดภายในปี 2565"

ยันไม่ล็อกสเปก

รายงานข่าวจากกทพ. ระบุว่า ส่วนสาเหตุที่ต้องดำเนินการพิจารณาประกาศประกวดราคาโครงการฯ เนื่องจากที่ผ่านมาเอกชนมีการยื่นอุทธรณ์ผลการประกวดราคาถึงคุณสมบัติและผลงานของผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำสุด ขณะเดียวกันกทพ. ได้ทำเรื่องไปยังกรมบัญชีกลาง เพื่อขอเพิ่มรายละเอียดในส่วนของคุณสมบัติผู้ที่จะเข้ามาประมูล โดยต้องเป็นบริษัทที่เคยมีผลงานการก่อสร้างงานติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป (Segment) มูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,400 ล้านบาท

"ยืนยันว่าไม่ได้เป็นการล็อกสเปกให้บริษัทใด แต่ที่ต้องกำหนดคุณสมบัติดังกล่าวไว้ เพราะเป็นงานโครงสร้างที่เป็นชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีความยาวมากกว่า 30 เมตร บริษัทที่ชนะประมูลควรต้องมีประสบการณ์ด้านนี้ด้วย"

ดังทุรังเทอร์มินัลตัดแปะ

ขณะความดันทุรังของกระทรวงคมนาคม ยังมีต่อเนื่องเมื่อผู้รับเหมา สะท้อนว่า ได้มีความพยายามผลักดันการก่อสร้างเทอร์มินัล 2 (ตัดแปะ)หรือส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือในสนามบินสุวรรณภูมิ ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ไม่สนใจเสียงคัดค้าน ของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)หรือ สภาพัฒน์ สอดคล้องกับนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้คัดค้านมาโดยตลอด

รื้อขุมทรัพย์รถไฟ

เช่นเดียวกับการปรับเปลี่ยน แผนพัฒนาเชิงพาณิชย์ สถานีกลางบางซื่อ ใช้โมเดล ทอท. ซึ่งมีพื้นที่สัมปทานมีกำไรตั้งแต่ปีแรก รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า จากที่นายศักดิ์สยาม สั่งการให้ รฟท.ปรับแผนใหม่หลังจากแนวทางเดิม พบว่า ในช่วง 4 ปีแรก (64-67) ขาดทุนปีละเกือบ 300 ล้านบาท โดยให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เข้ามาช่วยศึกษาแนวทางการให้สัมปทานเอกชน โดยมุ่งสร้างรายได้จากค่าเช่า หรือส่วนแบ่งรายได้ ธุรกิจรีเทลค้าปลีก, ร้านอาหาร, โอทอป, พื้นที่โฆษณา และบริการที่จอดรถให้เพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาความปลอดภัย และค่าซ่อมบำรุงสถานี ขณะที่ดินแปลง A 32 ไร่ เปิดประมูล 2 ครั้ง ปรากฏว่า เอกชนไม่สนใจ เนื่องจากที่ดินไม่เชื่อมต่อกัน ที่สำคัญเอกชนท้วงติงว่า ต้องการที่ดินทั้งผืน กว่า 1,000 ไร่ โดยไม่แบ่งซอย

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท. ระบุว่า ได้เปิดขายซองประมูลครั้งที่ 2 แต่ปัจจุบันไม่มีเอกชนรายใดให้ความสนใจเข้ามาซื้อซองประมูล ซึ่งรฟท.จะต้องปรับรูปแบบใหม่ตามข้อสั่งการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ดำเนินการพร้อมกันทุกแปลงโดยเริ่มนับหนึ่งทุกแปลงรอบสถานีกลางบางซื่อไปด้วยกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 10/02/2021 7:42 pm    Post subject: Reply with quote

อินฟราฟัน : ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ โฉมใหม่ของสถานีบางซื่อ
หน้า เศรษฐกิจ
ผู้เขียน พรภค
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 - 11:33 น.

ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว หลังจาก อินฟราฟัน พาทุกคนไปรู้จักกับรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) กันมากขึ้น มาในสัปดาห์นี้ จะลงไปเจาะลึกถึงความพร้อมของตัวสถานีหลัก อย่างสถานีกลางบางซื่อ ที่ปัจจุบันนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างเตรียมทดสอบเดินรถเสมือนจริง รถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และช่วงบางซื่อ-รังสิต ในเดือนมีนาคมนี้ ก่อนเปิดให้ประชาชนทดลองใช้รถไฟฟ้าในวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 และเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการเดือนพฤศจิกายน 2564

จากไทม์ไลน์ดังกล่าว เป็นแรงขับเคลื่อนชั้นดีที่ทำให้ ร.ฟ.ท.ต้องเร่งปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณเป็นระบบควบคุมรถไฟของยุโรป (อีทีซีเอส) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานในการป้องกันและควบคุมความปลอดภัยอัตโนมัติของรถไฟ (เอทีพี) โดยจะติดตั้งบนหัวรถจักรปัจจุบัน ซึ่งเป็นระบบควบคุมระยะห่างระหว่างขบวนรถให้อยู่ในระยะที่ปลอดภัย กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจะเบรกอัตโนมัติ เพื่อให้รถไฟชานเมืองของ ร.ฟ.ท.ทั้งหมด สามารถให้บริการรองรับระบบภายในสถานีกลางบางซื่อได้ ขณะนี้ ร.ฟ.ท.นำร่องติดตั้งระบบเอทีพีกับรถไฟดีเซลเสร็จแล้ว 2 คัน

อีกทั้ง ร.ฟ.ท.มีแผนติดตั้งระบบเอทีพี เพื่อปรับปรุงรถไฟดีเซล รองรับการใช้สถานีกลางบางซื่อ เบื้องต้นกำหนดแผนติดตั้งระบบดังกล่าว แบ่งเป็น 2 ระยะ รวม 177 คัน แบ่งเป็น ระยะ 1 จำนวน 120 คัน ประกอบด้วย นำรถจักรดีเซลในปัจจุบัน จำนวน 70 คัน มาติดตั้งระบบเอทีพี เร่งรัดแล้วเสร็จระหว่างปี 2564-2566 และทยอยรับมอบหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า น้ำหนักกดเพลา 16 ตัน/เพลา พร้อมอะไหล่ 50 คัน รวมวงเงินกว่า 6.5 พันล้านบาท จะทยอยส่งมอบตั้งแต่ปี 2565


ส่วนระยะที่ 2 จะทยอยปรับปรุงหัวรถจักรของ ร.ฟ.ท. เพิ่มเติมอีก 57 ขบวน เนื่องจากปัจจุบันหัวรถจักรดังกล่าว อยู่ระหว่างทยอยปรับปรุงซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ ตามแผนเมื่อมีการปรับปรุงเครื่องยนต์ก็จะติดตั้งระบบเอทีพี คู่ขนานไปด้วย เพื่อพร้อมต่อการให้บริการ อย่างไรก็ตาม จากแผนที่กำหนดในเบื้องต้น ร.ฟ.ท.มั่นใจว่าจะเพียงพอต่อการให้บริการ รองรับการเปลี่ยนแปลงระบบ พัฒนารถไฟไทยสู่มาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด


อย่างไรก็ดี ระบบอีทีซีเอส จะเข้ามาช่วยยกระดับความปลอดภัยให้กับการขนส่งระบบบรางในประเทศไทย เนื่องจากระบบดังกล่าวสามารถคำนวณความเร็วสูงสุดที่ปลอดภัยสำหรับรถไฟแต่ละคัน โดยมีระบบอาณัติสัญญาณเตือนในห้องพนักงานขับรถไฟ และระบบออนบอร์ดที่ทำการบังคับรถไฟหากมีการใช้ความเร็วเกินกว่าอัตราความปลอดภัยกำหนดได้ดียิ่งขึ้น

การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ คงทำให้ไทยไปสู่จุดหมายฮับระบบรางใหญ่ที่สุดในอาเซียนได้โดยไม่ยาก!!!

https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3792929817420602
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/02/2021 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

ปรับโฉมรถไฟ 128 คัน 314 ล้านเข้าสถานีกลางบางซื่อ
เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17.00 น.

รฟท. ลุยเนรมิตขบวนรถไฟ 128 คัน 314 ล้านบาท พ่วงเพาเวอร์คาร์ อดใจรอได้ยลโฉมใหม่ใช้ระบบไฟฟ้า ไร้ควัน ห้องน้ำระบบปิดแบบสุญญากาศ ติดตั้งสุขภัณฑ์ใหม่ รองรับเดินรถเข้าสถานีกลางบางซื่อ คาดแล้วเสร็จปลายปีนี้

นายศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟท. เตรียมเปิดประกวดราคา (ประมูล) โครงการดัดแปลงรถโดยสารเพื่อใช้งานร่วมกับรถโบกี้ไฟฟ้ากำลัง (พาวเวอร์คาร์) ปรับอากาศ พร้อมทั้งปรับปรุงห้องน้ำรถปรับอากาศชั้น 2 เป็นระบบสุญญากาศ และติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์ใหม่ จำนวน 128 คัน วงเงิน 314 ล้านบาท เพื่อรองรับการเดินขบวนรถเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ เนื่องจากสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีปิด ดังนั้นขบวนรถที่จะเข้ามายังสถานี ต้องเป็นรถที่ไม่มีควัน และห้องน้ำต้องเป็นระบบปิดทั้งหมด
 
นายศิริพงศ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน รฟท. มีขบวนรถไฟที่สามารถเดินรถเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อได้เพียง 115 คัน ซึ่งเป็นรถด่วนพิเศษปรับอากาศ 4 เส้นทาง ได้แก่ สายเหนือ ขบวนรถด่วนพิเศษอุตราวิถี ที่ 9 และ 10 กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ, สายตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนรถด่วนพิเศษอีสานวัตนา ที่ 23 และ 24 กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี-กรุงเทพฯ, สายตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนรถด่วนพิเศษอีสานมรรคา ที่ 25 และ 26 กรุงเทพฯ-หนองคาย-กรุงเทพฯ และสายใต้ ขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ ที่ 31 และ 32 กรุงเทพฯ-ชุมทางหาดใหญ่-กรุงเทพฯ

นายศิริพงศ์ กล่าวอีกว่า เวลานี้ รฟท. จึงต้องเร่งปรับปรุงรถไฟที่ปัจจุบันใช้ระบบน้ำมันปั่นไฟแบบติดตั้งภายในขบวนรถ ให้เป็นขบวนรถที่สามารถนำไปพ่วงกับพาวเวอร์คาร์ได้ โดยจะทำให้ช่วยประหยัดต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลดควัน ลดมลพิษ และสามารถเดินรถเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อได้ นอกจากนี้ขบวนรถทุกคันจะมีห้องน้ำเป็นระบบปิดด้วย อย่างไรก็ตาม โครงการดัดแปลงรถโดยสารฯ คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปลายปี 64 จากนั้นจะดำเนินการทยอยดัดแปลงรถโดยสารที่เหลือเพื่อใช้งานร่วมกับพาวเวอร์คาร์ให้ครบทั้งหมดต่อไป

นายศิริพงศ์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของรถพาวเวอร์คาร์ที่จะมาพ่วงกับขบวนรถโดยสารที่ปรับปรุงแล้วนั้น ขณะนี้ รฟท.ได้ดำเนินการดัดแปลงในระยะ (เฟส) ที่ 1 เสร็จแล้ว 8 คัน วงเงิน 100 ล้านบาท โดยมีแผนจะมาพ่วงกับรถโดยสารในเส้นทาง อาทิ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-ตรัง และกรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างเตรียมเปิดประกวดราคาโครงการดัดแปลงรถไฟฟ้ากำลังพาวเวอร์คาร์ เฟสที่ 2 อีก 12 คัน วงเงิน 195 ล้านบาท คาดว่าจะดัดแปลงแล้วเสร็จภายในปีนี้ ซึ่งจะนำมาพ่วงกับรถโดยสารในเส้นทาง อาทิ กรุงเทพฯ-สุไหงโก-ลก และกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี รวมถึงจะนำไปพ่วงกับขบวนรถไฟ VIP ที่นำเอารถไฟ JR WEST จากประเทศญี่ปุ่นมาปรับปรุง และรถไฟท่องเที่ยว ที่เป็นรถไฟมือสองจาก JR Hokkaido ประเทศญี่ปุ่นด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2021 10:21 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ล้ม PPP ศูนย์บางซื่อ ฉีกผลศึกษา‘ไจก้า’อ้างไปไม่รอด หันประมูลเช่า2.3พันไร่
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 03:00 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าว หน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,653
วันที่ 14 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

รฟท.ล้ม PPP ศูนย์บางซื่อ ฉีกผลศึกษา‘ไจก้า’อ้างไปไม่รอด หันประมูลเช่า2.3พันไร่
รฟท. รับลูกคมนาคม ล้มPPPสถานีกลางบางซื่อโละผลศึกษาไจก้า ที่ดินพัฒนาเชิงพาณิชย์ 9 แปลง 2,352 ไร่ มูลค่า 3.5แสนล้าน ปลดล็อก แปลงไหนพร้อม เปิดประมูลเช่า ตั้งธงดึงทอท.บริหารพื้นที่ ภายในอาคารผู้โดยสาร ยึดโมเดลสถานีโตเกียว-สนามบิน เล็งผลเลิศ รีดค่าเช่า ที่รถไฟ 5 พันสัญญา 3.6 หมื่นไร่ 3 พันล้าน/ปี

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ไม่ประสบความสำเร็จกับการ เปิดประมูลที่ดินแปลง A ใน รูปแบบ สรรหาเอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมทุน ปี 2556 มาแล้วถึง 2 ครั้ง ปรากฏ ไม่มีเอกชนรายใดให้ความสนใจ สะท้อนว่า ที่ดินแปลงดังกล่าว อาจไม่อยู่ในความสนใจของนักลงทุน สาธารณปโภคไม่เชื่อมโยงกับถนนสายหลักและรถไฟฟ้าสายสีเขียว ขณะรฟท.ยอมรับที่ดินมีข้อด้อย แปลงที่ดินมีขนาดเล็ก เนื้อที่ไม่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน เมื่อเทียบกับกระบวนการพีพีพีที่มีขั้นตอนอยู่มาก ผลที่ตามมา คือความล่าช้า ไม่คุ้มทุน

ล้ม“พีพีพี”-“ไจก้า”สำหรับ ทางออก รฟท.ยกเลิกการประมูลรูปพีพีพี ที่ดินแปลงเอ และกำหนดแนวทางการพัฒนาที่ดินพาณิชย์รอบสถานีกลางบางซื่อทั้ง9แปลง เนื้อที่ 2,352ไร่ เป็นรูปแบบให้ เช่า ระยะยาวเหมือนกับ ที่ดินแปลงรัชดาภิเษก 186ไร่ ที่ประสบความสำเร็จมาจนถึงปัจจุบัน หากแปลงไหนพร้อมเอกชนรายใดสนใจ สามารถ เช่าระยะยาว พร้อมกับยกเลิก แผน แม่บท ตามผลศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ ไจก้า ที่แบ่งการพัฒนาเป็น3เฟส ๆละ5ปี รวม15 ปี ตั้งแต่ ปี 2560-2575 วงเงิน3.5แสน ล้านบาท ที่ เดิมเอกชนต้องลงทุน ระบบเชื่อมต่อสาธารณูปโภค ถนนในโครงการ โครงการเชิงพาณชย์ อาทิ โรงแรมศูนย์การค้า ศูนย์ประชุม ที่อยู่อาศัย ระบบอัจฉริยะฯลฯ ซึ่งมองว่า เป็นวงเงินที่สูงและไม่มีใครสนใจโดยดูจาก ที่ดินแปลง Aทอท.บริหารพื้นที่สถานีรายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สำหรับความคืบหน้าแผนการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ สถานีกลางบางซื่อ ทั้งหมด 129,400 ตารางเมตร (ตร.ม.) เบื้องต้นรฟท.มีแนวคิดที่จะปรับแผนดังกล่าวโดยยึดโมเดลของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสั่งให้ รฟท.ปรับแผนใหม่หลังจากแนวทางเดิม เนื่องจากพบว่า ในช่วง 4 ปีแรก (2564-2567) ขาดทุน 300 ล้านบาทต่อปี ขณะเดียวกันการบริหารรูปแบบสถานีฯ ต้องการให้เอกชนรายเดียวเป็นผู้เข้ามาร่วมลงทุนเพื่อบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ของสถานีกลางบางซื่อ ทั้งนี้ทอท.จะเข้ามาช่วยศึกษาแนวทางการให้สัมปทานเอกชน โดยมุ่งสร้างรายได้จากค่าเช่า หรือส่วนแบ่งรายได้ ธุรกิจรีเทลค้าปลีก, ร้านอาหาร, โอท็อป, พื้นที่โฆษณา และบริการที่จอดรถให้เพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาความปลอดภัย และค่าซ่อมบำรุงสถานี“ทอท.จะเข้ามาช่วยรฟท.ในการวางแผนการบริหารภายในพื้นที่เชิงพาณิชย์ของสถานีกลางบางซื่อ เช่น การศึกษาอายุสัญญาสัมปทาน การจัดวางร้านค้า คาดว่าภายในเดือนพฤศจิกายน 2564 จำเป็นต้องมีร้านค้าเข้าไปอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งต้องพร้อมกับการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ของรถไฟชานเมืองสายสีแดงด้วย แต่ทั้งนี้ทอท.ต้องเข้าใจด้วยว่า รฟท.ไม่สามารถดำเนินการตามแบบได้สมบูรณ์เหมือนทอท.อยู่แล้ว เนื่องจากการประสานงานต่างๆมีความแตกต่างกัน รวมทั้งการว่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานทำความสะอาด และการหารายได้ให้กับรฟท. ซึ่งทอท.คงมีแนวคิดแบ่งสัดส่วนไว้อยู่แล้วว่าจะดำเนินการอย่างไร”ทั้งนี้จากการคาดการณ์รายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์ 10 ปี เฉลี่ยประมาณ 221-238 ล้านบาทต่อปี โดยรายได้จะเติบโตจาก 75 ล้านบาทในปี 2564 เป็น 300 ล้านบาทในปี 2573 ขณะที่ธุรกิจโฆษณามีรายได้เฉลี่ย 233-244 ล้านบาทต่อปี โดยรายได้จะเติบโตจาก 140 ล้านบาท ในปี 2564 เพิ่มเป็น 307 ล้านบาทในปี 2573 ส่วนรายได้จากการบริหารที่จอดรถ เฉลี่ย 10 ปี ประมาณ 84-89 ล้านบาทต่อปี โดยรายได้จะค่อยๆ เติบโตขึ้นจาก 46 ล้านบาทในปี 2564 เป็น 128 ล้านบาทในปี 2573 โดยรายได้เชิงพาณิชย์จะนำมาชดเชยค่าใช้จ่ายของสถานีที่คาดว่ามีประมาณ 40 ล้านต่อเดือนรายงานข่าวจากทอท.ระบุว่า ทอท.อยู่ระหว่างการศึกษาวิเคราะห์แผนดังกล่าวภายในระยะเวลา 2 เดือน เพื่อวางแผนดำเนินการอย่างไรได้บ้าง โดยเข้าไปช่วยรฟท.พิจารณาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณใดที่มีศักยภาพเพื่อให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน เนื่องจากพื้นที่ในบริเวณสถานีกลางบางซื่อค่อนข้างใหญ่ ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคสูงถึง 30-40 ล้านบาทต่อเดือนหาก รฟท.ไม่คิดนอกกรอบที่ดำเนินการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์จะทำให้ขาดทุนตั้งแต่ค่าโอเปอร์เรตสถานีกลางบางซื่อ


โมเดลสถานีโตเกียว ทั้งนี้ โจทย์ที่ทอท.ได้รับเพื่อช่วยศึกษาให้รฟท.นั้น หากมองสถานีกลางบางซื่อเป็นสนามบิน ซึ่งมีพื้นที่ที่สามารถพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ และให้บริการผู้โดยสารได้ก็จะเป็นประโยชน์ เรามองว่าพื้นที่เหล่านี้สามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างเหมือนกับสถานีรถไฟโตเกียวหรือสถานีรถไฟชินจุกุในประเทศญี่ปุ่น ที่ประชาชนสนใจอยากเลือกซื้อสินค้าและบริการ ขณะเดียวกันจะช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาเลือกซื้อสินค้าได้ทำให้เป็นแรงจูงใจให้ประชาชนเดินทางมาที่สถานีกลางบางซื่อมากขึ้น รฟท.จะได้รายได้เพิ่มด้วยสำหรับกระบวนการเปิดประมูลแผนการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ สถานีกลางบางซื่อ ภายใน 2 เดือน เริ่มศึกษาวิเคราะห์แผนฯ และจัดทำร่างเอกสารการประกวดราคา (ทีโออาร์) เริ่มเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนภายในเดือนมิถุนายน 2564 ได้ตัวเอกชนภายในเดือนสิงหาคม คาดว่าจะดำเนินการได้เต็มรูปแบบภายในต้นปี 2565 มีทั้งหมด 4 รูปแบบ ประกอบด้วย
1.พื้นที่ร้านอาหาร
2.พื้นที่ร้านค้า
3.พื้นที่ผลิตภัณฑ์ด้านโอทอป (OTOP)
4.พื้นที่โฆษณาต่างๆ โดยนำรายได้ทั้ง 4 รูปแบบมารวมกัน โดยแต่ละรูปแบบค่าดำเนินการจะไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลกำไรแต่ละรูปแบบ

5พันสัญญาโกย3พันล.นอกจากนี้ขณะสัญญาเช่าที่ดินอสังหาริมทรัพย์รวมกว่า 4,000-5,000 สัญญา พื้นที่ 36,000 ไร่ และพื้นที่เขตทางรถไฟ ราว 200,000 ไร่ ปี 2564 ตั้งเป้ารายได้เฉลี่ยจากสัญญาเช่าที่ดินอสังหาริมทรัพย์โดยรวม 3,000 ล้านบาทต่อปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 10:03 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ปรับโฉมรถไฟ 128 คัน 314 ล้านเข้าสถานีกลางบางซื่อ
เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17.00 น.


ลิงก์มาแล้วครับ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2837067563181410
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 12:59 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ปรับแผน “บางซื่อ” ประมูลรวด 3 แปลงต้นปี 65 ผุด “ออฟฟิศ-คอนโดฯ-ศูนย์การค้า” กว่า 6 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 07:54 น.
ปรับปรุง: วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 07:54 น.


รฟท.รับลูก “ศักดิ์สยาม” รื้อแผนพัฒนาที่ดิน 9 แปลงย่านบางซื่อ ดันประมูล 3 แปลงแรก A, E,G ในต้นปี 65 คาดมีมูลค่ากว่า 6 หมื่นล้าน เร่งจ้างที่ปรึกษาทำ market sounding ประเมินนักลงทุน ชูจุดเด่นติดสถานีกลางบางซื่อศักยภาพสูง

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟท.ได้ปรับแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ 9 แปลง เนื้อที่ 2,325 ไร่ รอบสถานีกลางบางซื่อใหม่ ตามนโยบาย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการให้เร่งดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับการเปิดเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดงและการเปิดสถานีกลางบางซื่อ โดยครอบคลุมเรื่อง TOD ซึ่งจะเสนอแผนใหม่ต่อกระทรวงคมนาคมได้ในเดือน ก.พ.นี้

แนวทางล่าสุด ได้แบ่งพื้นที่ 9 แปลงออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อม มี 5 แปลง โดยมี 3 แปลงที่จะนำออกประมูลได้ก่อนในช่วงต้นปี 2565 เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพมากที่สุด ได้แก่
แปลง A ขนาด 35 ไร่
แปลง E (ย่านตึกแดง) พื้นที่ประมาณ 79 ไร่ อยู่ติดสถานีกลางบางซื่อ ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า MRT สีน้ำเงิน และสำนักงาน SCG แนวทางพัฒนาเป็นสำนักงาน เป็นศูนย์ราชการ และที่ทำการแห่งใหม่ของการรถไฟฯ

และแปลง G (บ้านพักพนักงานรถไฟ กม. 11) พื้นที่ประมาณ 270 ไร่ พัฒนาเป็นแหล่งที่พักอาศัย คอนโดมิเนียม และที่พักอาศัยของพนักงานการรถไฟฯ ซึ่งทั้ง 3 แปลงจะเป็นแหล่งอาคารสำนักงาน ทั้งส่วนราชการ และเอกชน แหล่งที่อยู่ และแหล่งชอปปิ้ง ซึ่งจะสร้างปริมาณผู้โดยสารสนับสนุนรถไฟสีแดง

ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่แต่ละแปลงมีความคืบหน้าไม่เท่ากัน จึงต้องปรับแผนใหม่ให้สอดคล้องกัน โดยแปลง A หลังจากที่เปิดประมูลรอบที่สองแล้วไม่มีผู้สนใจยื่นประมูล รฟท.จะเร่งเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ยกเลิกประมูลแปลง A รวมถึงเสนอไปยังสำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อยกเลิก PPP แปลง A ด้วย

ในขณะเดียวกันจะเสนอบอร์ด รฟท.เพื่อขออนุมัติดำเนินการแปลง G และขอจัดจ้างที่ปรึกษา วงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาทเพื่อทบทวนการศึกษาในการพัฒนาพื้นที่แปลง A E G ในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกัน ส่วนจะประมูลเป็นสัญญาเดียวหรือแยกสัญญาอย่างไร จะต้องทำ Market Sounding สำรวจความต้องการของนักลงทุนจึงจะสรุปแนวทางที่เหมาะสมที่สุดได้

ทั้งนี้ ตามไทม์ไลน์คาดว่าจะจัดทำรายงานการศึกษา และเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) เดือน พ.ค.-ต.ค. 2564 เสนอบอร์ด รฟท.พิจารณาเดือน พ.ย.-ธ.ค. 2564 จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการประมูลคัดเลือกเอกชนช่วง มี.ค. 2565 สรุปผลการคัดเลือก เม.ย. 2566 เสนอผลการคัดเลือกลงนามสัญญา ต.ค 2566 จากนั้นจะเป็นการก่อสร้างและทยอยเข้าใช้ประโยชน์ คาดว่าใช้ประโยชน์พื้นที่ทั้ง 3 แปลงได้เต็มตาม RFP เดือน เม.ย. 2570

ส่วนอีก 2 แปลง คือแปลง B พื้นที่ติดถนน และติดกับตลาดนัดจตุจักรเดิม และมีพวงราง ทำให้การพัฒนามูลค่าโครงการสูงเนื่องจากต้องสร้างอาคารเชิงพาณิชย์คร่อมรางรถไฟ จึงต้องมีการศึกษาทบทวนเพิ่มเติม และแปลง D (ตลาดนัดจตุจักรเดิม) ยังติดสัญญาเช่าระยะยาว ซึ่งจะมีการพิจารณาตัดพื้นที่ที่ไม่ติดและมีความพร้อมออกมาทยอยเปิดประมูล ซึ่งจะต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สำหรับกลุ่มที่ 2 ยังไม่มีความพร้อม เนื่องจากพื้นที่ยังมีการใช้งาน มี 4 แปลง ได้แก่
แปลง C พื้นที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 โดย บขส.อยู่ระหว่างพิจารณาคืนพื้นที่บางส่วนให้ รฟท.ใช้ประโยชน์,
แปลง F (ด้านหลังสถานีขนส่งหมอชิต 2 ติดกับถนนเทอดดำริ) ติดโรงซ่อมรถจักรบางซื่อ โดยจะเร่งแผนย้ายไปที่แก่งคอยประมาณ 3-4 ปี และแนวทางรถไฟสายใต้,
แปลง H มีโรงตรวจซ่อมวาระรถโดยสาร (LD Depot) และ
แปลง I มีโรงซ่อมรถไฟฟ้า CT (CT Depot)


จากที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้ประชุมติดตามการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีกลางบางซื่อ ได้มีการกำชับให้ รฟท.เร่งพัฒนา 4 แปลงหลังด้วยเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องกับกลุ่มแรก นอกจากนี้ กรณีที่ส่วนราชการขอใช้พื้นที่นั้นให้ รฟท.เป็นแกนหลักในการบูรณาการ เน้นการพัฒนาเป็นแนวสูงเพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อย่างไรก็ตาม ตามการศึกษาแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่ย่านบางซื่อแบบบูรณาการ จำนวน 2,325 ไร่ โดยองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ซึ่งแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2565, ปี 2570 และปี 2575 (ตามลำดับ) ประเมินวงเงินลงทุนไว้กว่า 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าการพัฒนาพื้นที่แปลง A+E+G ออกประมูลพร้อมกันจะมีมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 6 หมื่นล้านบาทแน่นอน โดยมีแนวคิดในการรวมแปลง A มูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท และแปลง E มูลค่า 4.6 หมื่นล้านบาท เข้าด้วยกันเพราะอยู่ติดสถานีบางซื่อและมีศักยภาพสูงเพื่อจูงใจนักลงทุน



Wisarut wrote:
รฟท.ล้ม PPP ศูนย์บางซื่อ ฉีกผลศึกษา‘ไจก้า’อ้างไปไม่รอด หันประมูลเช่า2.3พันไร่
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 03:00 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าว หน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,653
วันที่ 14 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2021 11:04 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
ปรับโฉมรถไฟ 128 คัน 314 ล้านเข้าสถานีกลางบางซื่อ
เดลินิวส์ ศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 17.00 น.


ลิงก์มาแล้วครับ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2837067563181410


14 ก.พ.64 แวะมาดูริ้วรถ บนท.ป. ที่เป็นส่วนหนึ่งใน 128 คันที่จะปรับปรุงห้องสุขาเป็นระบบปิด และเอาเครื่องยนต์ออก ปรับเป็นระบบไฟฟ้าสำหรับต่อพ่วงกับรถโบกี้ปั่นไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.) เพื่อลดการปล่อยควันและทำริ้วขบวนเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อในอนาคต
ป.ล. โครงการปรับปรุงรถโดยสารปรับอากาศ 128 คัน ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนตั้งไข่ยังไม่เผยแพร่รร่างขอบเขตงาน (TOR) เพื่อรับฟังความคิดเห็น ก่อนทีาจะออกประกวดราคาต่อไป
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3803557053024545
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/02/2021 9:23 am    Post subject: Reply with quote

ฮับบางซื่อ6หมื่นล.จัดประมูลเช่า5แปลง
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

รฟท.ตั้งบริษัทลูก"เอสอาร์ที แอสเสท"บริหาร

กลุ่มทุนจ้องทึ้งกม.11

คมนาคมสั่งรฟท.ปั้นรายได้เชิงพาณิชย์สร้างเมืองมิกซ์ยูส รับ"ฮับ" บางซื่อ 5 แปลงรวด มูลค่า 6 หมื่นล้านในปีนี้ หลังล้ม PPP ที่ดินแปลง A พร้อมตั้งบริษัทลูก "เอสอาร์ที แอสเสท" โอนทรัพย์สิน3.8หมื่นไร่ดูแล

หลังที่ดินแปลงA เนื้อที่ 32 ไร่มูลค่า1.1หมื่นล้านบาทของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน ในรูปแบบรัฐร่วมเอกชนตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมทุนปี2556 หรือ PPP ส่งผลให้ กระทรวงคมนาคม มอบให้รฟท.ปรับรูปการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์บริเวณรอบสถานีกลางบางซื่อ ทั้ง 9 แปลง 2,352 ไร่ เป็นประมูลเช่าระยะยาวลดขั้นตอนการดำเนินงาน สะดวกต่อการดึงคนเข้าพื้นที่รองรับความเป็น "ฮับ" หรือ ศูนย์กลางการเดินทางเชื่อมโยงคมนาคมทางรางทันสมัยและใหญ่ที่สุดในระดับอาเซียน ที่มีกำหนดเปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2564 พร้อมกับขบวนรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันวิ่งเข้าจอด ภายในสถานีกลางบางซื่อ นอกจากสายสีน้ำเงิน และในอนาคต จะมีเส้นทางรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าสายใหม่อีกทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อมการเดินทางจากฮับบางซื่อสู่ภูมิภาค สร้างความเจริญให้กับพื้นที่

งัดที่5แปลงล่อใจบิกทุน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่าได้มอบนโยบายให้กับรฟท.เร่งรัดหารายได้จากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีกลางบางซื่อ เนื่องจากพื้นที่โดยรอบดังกล่าวมีพื้นที่ค่อนข้างมาก มีศักยภาพและสามารถสร้างรายได้ให้รฟท.ได้ ซึ่งเบื้องต้นทราบว่าพื้นที่พร้อม พัฒนาในขณะนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.แปลงที่มีความพร้อมของพื้นที่ประกอบด้วย แปลง A แปลง B แปลง D แปลง E และแปลง G และ 2.แปลงที่ยังติดปัญหาต้องรื้อย้าย ประกอบด้วย แปลง C แปลง F แปลง H และแปลง I เบื้องต้นสั่งการให้รฟท. เร่งนำพื้นที่ที่มีความพร้อมแล้วจัดเตรียมข้อมูลและเปิดประกาศเชิญชวน ภายในปี2564โดยให้ดำเนินการศึกษาข้อกฎหมายและรอบคอบ

"พื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อทั้ง 5 แปลงที่มีความพร้อมแล้วต้องเร่งนำมาเปิดประมูลให้ได้ภายในปีนี้ จะทำอย่างไรก็ขอให้การรถไฟฯ ไปดำเนินการจัดทำแผนขณะเดียวกันต้องสร้างรายได้มากพอกับค่าใช้จ่าย และขอให้ทำแผนแต่ละพื้นที่พัฒนาด้วย จะต้องมีทั้งที่ทำงานที่อยู่อาศัย และการอุปโภคบริโภค ส่วนแปลงที่เหลือให้เร่งแก้ไขและกำหนดเปิดไล่เลี่ยกัน ทั้งนี้ตามแผนเราจะเปิดพีพีพีหาเอกชนเข้ามาบริหารสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้าสายสีแดงอยู่แล้ว แต่ในระหว่างนี้ที่รฟท.ต้องบริหาร มีค่าใช้จ่ายอยู่รวม 4 ปี กว่า 1.4 พันล้านบาท ดังนั้นต้องหารายได้ให้เพียงพอหรือมากกว่า ซึ่งพื้นที่เชิงพาณิชย์จะทำแบบไหนก็ให้ไปศึกษามารูปแบบจะจ้างงานให้กับกลุ่มเอกชนที่มีความชำนาญ (เอาต์ซอร์ส) ได้ ขอให้ศึกษาทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย"

ปั้นเมืองมิกซ์ยูส

แหล่งข่าวจากรฟท.ระบุว่า พื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบสถานีกลางบางซื่อที่มีความพร้อมพัฒนาแล้วทั้ง 5 แปลง รวมพื้นที่กว่า 570 ไร่ ประกอบด้วย แปลง A พื้นที่ 32 ไร่ ที่ รฟท.เคยเปิดประมูลไปแล้ว แต่ไม่มีเอกชนยื่นข้อเสนอ มูลค่าพื้นที่ราว 1.1 หมื่นล้านบาท ตามแผนจะพัฒนาในลักษณะมิกซ์ยูส มีทั้งห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน และโรงแรม ขณะที่แปลง B พื้นที่ ประมาณ 73 ไร่ อยู่ติดกับสถานีกลางบางซื่อ และเป็นพื้นที่แปลงใหญ่ มีศักยภาพในการพัฒนาผสมผสานหลากหลายรูปแบบ ด้านแปลง D พื้นที่ราว 32 ไร่ อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีเขียว ติดบริเวณย่านพาณิชยกรรมริมถนนพหลโยธินและตลาดนัดจตุจักร ปัจจุบันมีสัญญาเช่าอยู่กับโครงการ JJ Mall ซึ่งพื้นที่ส่วนนี้ถือว่ามีศักยภาพสูง สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่อยอดการพัฒนาแบบมิกซ์ยูสได้อย่างดี

ทุนจ้องทึ้งกม.11

ส่วนแปลง E มีพื้นที่ราว 79 ไร่ รฟท.เคยทำการศึกษาจะนำมาเปิดประมูลพร้อมกับแปลง A เพื่อดึงดูดนักลงทุน ประเมินมูลค่าที่ดินไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้าน โดยพื้นที่ส่วนนี้อยู่ติดกับสถานีกลางบางซื่อ รองรับการพัฒนามิกซ์ยูส และแปลง G เป็นแปลงใหญ่ที่มีพื้นที่มากที่สุด เนื่องจากเป็นบ้านพักพนักงานบริเวณย่าน กม.11 ขนาดพื้นที่ 359 ไร่ ศักยภาพในการพัฒนาแตกต่างกันออกไป โดยด้านตะวันตกและตะวันออกของพื้นที่ มีระยะเดินเท้าที่สามารถเดินถึงรถไฟฟ้าสายสีแดง สายสีน้ำเงินและสายสีเขียว ส่วนพื้นที่ตอนกลางสามารถพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสได้ แต่จำเป็นต้องเพิ่มระบบขนส่งมวลชนรองเพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง

แหล่งข่าวจากรฟท. เสริมว่าที่ดิน ทั้ง 5 แปลง ที่มีความพร้อมจะเปิดประมูลแบบเช่า ระยะพัฒนาประมาณ 4 ปี ซึ่งอาจเป็นได้ว่าจะ เป็นได้ทั้งเอกชนรายเดียว เหมาทั้ง 5 แปลงหรือ เอกชนเช่ารายแปลงก็ได้ทั้งนี้หากพัฒนาแล้วจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า6หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา เอกชนได้ให้ความสนใจที่ดินรอบสถานีกลางบางซื่อ โดยเฉพาะหากรฟท. เปิดประมูลผืนใหญ่ติดต่อกัน บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) สนใจเช่าแบบรวมแปลง ร่วมทั้งกลุ่มบีทีเอสกรุ๊ปได้ให้ความสนใจที่ดินบริเวณกม.11

ตั้งบริษัทลูกดูแลที่ดิน

ส่วนความคืบหน้าของการจัดตั้งบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด หรือ บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรฟท.กล่าวว่ารฟท.อยู่ระหว่างการสรรหากรรมการ (บอร์ด) ของบริษัทเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการตั้งต้นรวม 9 คน ส่วนกระบวนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จไม่เกินเดือนเมษายน 2564

ขณะเดียวกันหลังจากจัดทำกระบวนการจัดตั้งบริษัทลูกและสรรหาบอร์ดรวมกรรมการผู้จัดการแล้วเสร็จ จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างรฟท.และบริษัทลูก เพื่อโอนงานหรือโอนทรัพย์สินที่ดินของรฟท.ที่มีอยู่ราว 3.8 หมื่นไร่ มอบให้บริษัทลูกนำไปดูแลบริหารและพัฒนาต่อ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2021 10:54 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ฮับบางซื่อ6หมื่นล.จัดประมูลเช่า5แปลง
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

รฟท.ตั้งบริษัทลูก"เอสอาร์ที แอสเสท"บริหาร

กลุ่มทุนจ้องทึ้งกม.11

คมนาคมสั่งรฟท.ปั้นรายได้เชิงพาณิชย์สร้างเมืองมิกซ์ยูส รับ"ฮับ" บางซื่อ 5 แปลงรวด มูลค่า 6 หมื่นล้านในปีนี้ หลังล้ม PPP ที่ดินแปลง A พร้อมตั้งบริษัทลูก "เอสอาร์ที แอสเสท" โอนทรัพย์สิน3.8หมื่นไร่ดูแล


ข่าวหน้า 1 วันนี้เอง รอลิงค์ที่จะมาเร็วๆนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 19, 20, 21 ... 63, 64, 65  Next
Page 20 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©