RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181426
ทั้งหมด:13492664
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/12/2017 11:12 am    Post subject: Reply with quote

บางซื่อ สถานีแรกรถไฟความเร็วสูง
ครอบครัวข่าว 3 หมวดข่าว:เศรษฐกิจวันที่ 22 ธ.ค. 60 เวลา 10:21:36 น.

ต่อไปสถานีรถไฟหัวลำโพงจะเป็นอดีต เปลี่ยนเป็นสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีเริ่มต้น และยังเป็นสถานีเริ่มต้นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย

คลิปข่าว Arrow http://www.krobkruakao.com/economy/59158
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/01/2018 9:02 am    Post subject: Reply with quote

รมว.คมนาคม เผยบอร์ดรฟท.เตรียมถกแผนแม่บทพัฒนาสถานีกลางบางซื่อในม.ค.,PTT สนใจเอี่ยวลงทุนด้านพลังงาน
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 5 มกราคม 2561 08:16:04 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงว่า ขณะนี้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้สรุปผลการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาภายในเดือนม.ค.นี้ ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติเดินหน้าโครงการต่อไป โดยได้นำผลศึกษาเดิมของการรฟท. และบมจ.ปตท. (PTT) ที่มีผลศึกษาเรื่องแนวคิดสมาร์ทซิตี้ไว้แล้วมาบูรณาการร่วมด้วย ซึ่งทางผู้แทนของปตท.ก็ได้เข้าพบเพื่อติดตามในเรื่องนี้ด้วย

สำหรับแผนแม่บทที่ไจก้าศึกษาพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ จะมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน คือ
1. สถานีรถไฟเป็นหลัก ระบบขนส่งมวลชนเชื่อมภายในพื้นที่ ซึ่งได้นำแนวคิดสมาร์ทซิตี้ของปตท.มาบูรณาการร่วมกันในแผน โดยปตท.เสนอเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือ Light Rail แต่ทางไจก้าพิจารณาจากปริมาณความต้องการแล้ว เห็นว่าในระยะแรก ควรเป็นระบบ BRT ส่วน Light Rail อาจจะพัฒนาในภายหลัง
2. โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอล
3. โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เช่น ระบบท่อก๊าซ ที่ส่งต่อพลังงานที่ใช้หมุนเวียนในพื้นที่ ให้ประหยัดมากที่สุด
4. การพัฒนาเชิงพาณิชย์ Business Center ศูนย์ธุรกิจและโรงแรม ช็อปปิ้งมอลล์ เป็นต้น

หลังจากครม.อนุมัติแผนแม่บทแล้วจะพิจารณาการพัฒนาในแต่ละส่วน โดยมีระยะเวลาการพัฒนาทั้งหมด 10-15 ปี ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในส่วนของการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน และดิจิตอล ภายในปีนี้บางส่วน ซึ่งทางปตท.สนใจเข้ามาลงทุนด้านพลังงาน ก็อาจพิจารณาระหว่างแนวทางการเปิดประมูลในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnerships : PPP) หรือจะตกลงมอบสิทธิ ในรูปแบบการลงทุนระหว่างรัฐวิสาหกิจต่อรัฐวิสาหกิจได้หรือไม่ ซึ่งจะต้องพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง

ส่วนการพัฒนาเชิงพาณิชย์นั้น โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แปลง A (ขนาดพื้นที่ประมาณ 32 ไร่) บริเวณสถานีกลางบางซื่อได้ผ่านการพิจารณาคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) แล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลได้ก่อน ส่วนแปลง B , แปลง C , แปลง D จะพิจารณาเป็นลำดับต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/02/2018 8:29 am    Post subject: Reply with quote

ดันสถานีบางซื่อเทียบชั้นสุวรรณภูมิ “ไพรินทร์”สั่งใช้โมเดลทอท.ดึงเอกชนบริหาร
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 - 02:37 น.

สถานีกลางบางซื่อ - อาณาจักร 400 ไร่ของสถานีกลางบางซื่อ ได้ชื่อว่าเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาค กำลังเดินหน้าก่อสร้างมีความคืบหน้า 65% ล่าสุดการรถไฟฯเตรียมจ้างเอกชนบริหารพื้นที่ 300,000 ตร.ม.
“ไพรินทร์” สั่งรถไฟใช้โมเดล ทอท.บริหารสนามบินสุวรรณภูมิ ต้นแบบจัดการพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ 3 แสนตารางเมตร หวั่นตั้งบริษัทลูกไม่ทัน เล็ง outsource เอกชนมืออาชีพดำเนินการรายสัญญา ไล่ตั้งแต่พื้นที่ร้านค้า เก็บค่าจอดรถ จ้างแม่บ้านยัน รปภ. ส่องผลงานก่อสร้างรุดหน้ากว่า 60% อิตาเลียนไทยขอขยายเวลาเพิ่ม 100 วัน ร.ฟ.ท.ยังคงเป้าเปิดหวูด มิ.ย. 2563


แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ถึงแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สถานีกลางบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) เพื่อให้ได้ข้อสรุปก่อนจะเปิดบริการในเดือน มิ.ย. 2563

“จะต้องสรุปว่าการบริหารจัดการจะให้ ร.ฟ.ท.ดำเนินการเองหรือให้เอกชนมาบริหารโครงการ และต้องเปิด PPP หรือไม่ เนื่องจากการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สิน บริษัทลูก ร.ฟ.ท.มาดำเนินการ คงจะไม่ทันกับกำหนดการเปิดบริการของรถไฟฟ้า”

สถานีบางซื่อน้อง ๆ สุวรรณภูมิ

แหล่งข่าวกล่าวว่า ทั้งนี้สถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีที่มีขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 300,000 ตารางเมตร หรือเท่ากับ 1 ใน 3 ของพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้ต้องบริหารพื้นที่สถานีให้เหมือนกับสนามบินสุวรรณภูมิ จะต้องมีการบริหารพื้นที่หลายส่วน เช่น พื้นที่เชิงพาณิชย์ มีอยู่ 6,000 ตารางเมตร การจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลภายในและภายนอกสถานี พนักงานรักษาความสะอาด การติดตั้งกล้องวงจรปิด จัดเก็บค่าที่จอดรถ ระบบไฟฟ้า น้ำประปา เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยยังไม่เคยมีสถานีรถไฟที่ใหญ่ขนาดนี้มาก่อน

ล่าสุด นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งการให้ ร.ฟ.ท.ไปหารือกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ว่า จะมีแนวทางเสนอแนะอย่างไรได้บ้าง เนื่องจากลักษณะการบริหารจะคล้ายกัน พร้อมกับย้ำว่า ร.ฟ.ท.ไม่ควรจะดำเนินการเอง ควรจ้างเอกชนดำเนินการ เนื่องจากจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

จ้างเอกชนบริหารจัดการ

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทั้งนี้มีความเป็นไปได้สูงที่ ร.ฟ.ท.จะดำเนินการเอง โดยเปิดให้เอกชนมาดำเนินการในแต่ละงาน ในลักษณะเอาต์ซอร์ซ (outsource) เหมือนกับที่สนามบินสุวรรณภูมิ ที่จะมีการจ้างบริษัทมาเข็นกระเป๋า บริหารพื้นที่ร้านค้า เนื่องจากการให้เอกชนมาร่วม PPP จะต้องใช้เวลาดำเนินการ 2 ปี

“เรื่องเร่งด่วนตอนนี้ คือ จะทำยังไงกับการบริหารพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ทุกอย่างต้องแล้วเสร็จในปี 2562 เพราะเมื่อถึงปี 2563 รถไฟฟ้าเปิดใช้แล้ว พื้นที่คอมเมอร์เชี่ยลหรือการบริการอื่น ๆ ก็ต้องพร้อมให้บริการผู้โดยสารที่มาใช้รถไฟฟ้าด้วย”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานีกลางบางซื่อ มีพื้นที่กว่า 400 ไร่ (สถานีบางซื่อเก่ารวมกับบริเวณใกล้เคียง) เป็นสถานีต้นทางของรถไฟฟ้าสายสีแดง และเป็นสถานีมีพื้นที่ใหญ่ที่สุด โดยอาคารสถานีมีพื้นที่ใช้สอย 300,000 ตารางเมตร เมื่อแล้วเสร็จจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางแห่งใหม่และใหญ่ที่สุดของประเทศและภูมิภาคอาเซียน

เนื่องจากจะเป็นสถานีชุมทางของรถไฟทางไกลสายเหนือ สายตะวันออก และสายใต้ ระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง แอร์พอร์ตลิงก์ และรถไฟความเร็วสูงที่จะพัฒนาในอนาคต

รูปแบบสถานีออกแบบเป็น 4 ชั้น มี 24 ชานชาลา เริ่มจาก “ชั้นใต้ดิน” เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน มีโถงเชื่อมต่อขึ้นไปยังชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร และมีทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีบางซื่อ

“ชั้นพื้นดิน” หรือชั้น 1 เป็นพื้นที่โถงพักคอยและรับผู้โดยสาร มีพื้นที่ชั้นลอยสำหรับควบคุมระบบการเดินรถ และต้อนรับบุคคลสำคัญ มีพื้นที่จำหน่ายตั๋วโดยสาร พื้นที่พาณิชยกรรม ร้านค้า และเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าใต้ดิน รถ บขส.และ ขสมก.

“ชั้นที่ 2” เป็นชั้นชานชาลารถไฟสายสีแดง 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกลทุกเส้นทาง 8 ชานชาลา และ “ชั้นที่ 3” เป็นชั้นชานชาลารถไฟความเร็วสูงทุกเส้นทาง 10 ชานชาลา และรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ 2 ชานชาลา

ใช้โมเดล ทอท.เป็นต้นแบบ

ด้านนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ได้มอบให้ ร.ฟ.ท.ไปศึกษารูปแบบการจัดการบริหารพื้นที่สถานีกลางบางซื่อกับ ทอท. เนื่องจาก ทอท.มีประสบการณ์บริหารพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิมาแล้ว

ซึ่งสถานีกลางบางซื่อส่วนที่เป็นอาคารสถานีมีขนาดใหญ่มากพอ ๆ กับสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะออกแบบเป็นอาคารสูง 3 ชั้นรวมใต้ดินเป็น 4 ชั้น ส่วนการดำเนินการยังไม่สรุปว่า ร.ฟ.ท.จะดำเนินการเองโดยจ้างเอกชนมาดำเนินการเป็นส่วน ๆ หรือให้บริษัทลูกที่ ร.ฟ.ท.จะจัดตั้งมาบริหารจัดการ อยู่ระหว่างทำรายละเอียด แต่คงไม่ให้ ร.ฟ.ท.ดำเนินการเองเหมือนที่ผ่านมา ที่มีการซอยสัญญายิบย่อย ทั้งนี้จะเร่งดำเนินการโดยเร็วเพื่อให้เปิดบริการพร้อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงในปี 2563

งานก่อสร้างคืบหน้า 60%

สำหรับความคืบหน้าของรถไฟฟ้าสายสีแดง แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้ภาพรวมงานก่อสร้างทั้งโครงการคืบหน้าแล้วกว่า 60% แยกเป็นงานสัญญาที่ 1 งานสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง เริ่มงานก่อสร้างเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2556 มีกลุ่มกิจการร่วมค้า SU (บมจ.ซิโน-ไทยฯ และ บมจ.ยูนิคฯ) เป็นผู้ก่อสร้าง ล่าสุดมีผลงานเร็วกว่าแผน มีความคืบหน้าอยู่ที่ประมาณ 65% ตามแผนที่ปรับตามการขอขยายเวลาของผู้รับเหมาจะแล้วเสร็จในปี 2562

สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างทางวิ่งยกระดับและระดับพื้น งานสถานี 8 แห่ง และถนนเลียบทางรถไฟและถนนทางข้ามไซต์ก่อสร้างของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หลังเริ่มงานตอกเข็มเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2556 ปัจจุบันคืบหน้า 94.65% ยังล่าช้าจากแผนเล็กน้อย ล่าสุดขอขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก 100 วัน จากสิ้นสุดวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา เป็นเดือน พ.ค. 2561

และสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้า เครื่องกลและจัดหาตู้รถไฟฟ้า ได้กลุ่มมิตซูบิชิ-ฮิตาชิ-สุมิโตโมจากประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งได้เริ่มงานเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2559 ล่าสุดมีความคืบหน้า 24.39% ยังล่าช้าจากแผน 20% ตามแผนจะแล้วเสร็จในปี 2563
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/03/2018 8:29 am    Post subject: Reply with quote

อย่ามัวแต่…เงื้อง่าราคาแพง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 - 21:50 น.

คอลัมน์ ชั้น 5 ประชาชาติ

โดย ประเสริฐ จารึก

อีกเดือนเศษ ๆ จะหมดไตรมาสแรกของปี 2561

แต่ดูเหมือนการผลักดันงานประมูลโครงการขนาดใหญ่ภายใต้การขับเคลื่อนของ “รัฐบาลทหาร” ยังนิ่งสงบ

ไม่คึกคักอย่างที่นักลงทุนคาดหวัง และเฝ้ารอ

ทุกโปรเจ็กต์ที่บรรจุไว้ใน Action Plan หรือแผนปฏิบัติการเร่งด่วนปี 2561 จำนวน 44 โครงการ มูลค่าลงทุนร่วม 2 ล้านล้านบาท

ล้วนเป็นโครงการเก่าที่นำมาเล่ากันใหม่ นับจากรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่กลางปี 2557

ผ่านมากว่า 3 ปี โครงการเหล่านี้ก็ยังไม่คืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมมากนัก

มีบางโครงการไทม์ไลน์ต้องขยับจาก “แรมเดือน” เป็น “แรมปี”

ไม่รู้ถึงสิ้นปีจะได้เห็นการอนุมัติและเปิดประมูลโครงการได้มากน้อยแค่ไหน

วันนี้มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 2 ล้านล้าน หากปล่อยเวลาเนิ่นนานออกไป โอกาสที่เงินลงทุนจะทะยานไปมากกว่านี้ก็มีสูง

เพราะต้นทุนก่อสร้างวิ่งขึ้นตามดัชนีวัสดุก่อสร้าง แรงงาน และราคาที่ดิน

บทเรียนจากมอเตอร์เวย์ “บางใหญ่-กาญจนบุรี” มีค่าเวนคืนเพิ่มขึ้น 280% จากเดิม 5,420 ล้านบาท เป็น 19,737 ล้านบาท

น่าจะสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง

ไม่ว่าการบริหารและขาดความรอบคอบในการรีเช็กข้อมูล ก่อนที่จะเสนออนุมัติโครงการ

มอเตอร์เวย์สายนี้ผลการศึกษาเสร็จเมื่อปี 2551 ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อกลางปี 2558 โดยไม่ได้รับการตรวจสอบข้อมูลสภาพพื้นที่ว่าเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน

ทั้งราคาที่ดินที่ต้องปรับทุก 5 ปี ศูนย์การค้าและหมู่บ้านจัดสรรที่สร้างใหม่

เพิ่งมาสำรวจจริงจัง หลังโครงการได้รับไฟเขียวไปแล้ว ถึงกับผงะค่าเวนคืนที่เพิ่มกระฉูด จากรถไฟฟ้าสายสีม่วง หมู่บ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้าที่ปั่นราคาที่ดินให้สูงลิ่ว

ย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีก่อน กรมทางหลวงเคยเปิดประมูลมอเตอร์เวย์ “บางใหญ่-บ้านโป่ง” ระยะทาง 51 กม.ไปแล้ว เป็นรูปแบบ PPP วงเงิน 17,126 ล้านบาท มีค่าเวนคืนกว่า 4,000 ล้านบาท

แต่ไม่ได้รับความสนใจจากเอกชน จนมาปัดฝุ่นใหม่ขยายไปถึงกาญจนบุรี

หากวันนั้นรัฐกล้าเดินหน้าก่อสร้างอย่างจริงจัง คงประหยัดค่าเวนคืนในวันนี้ไปได้บ้าง

“รถไฟฟ้าสายสีม่วง” ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ เป็นอีกโครงการที่ให้เห็นภาพของการตัดสินใจล่าช้าของผู้คุมนโยบาย ที่เสียเวลากว่า 2 ปีเจรจาเอกชนเพื่อเดินรถขาดช่วง 1 สถานี (เตาปูน-บางซื่อ)

กว่าจะตัดสินใจได้ ปล่อยให้ประชาชนตาดำ ๆ ตกระกำลำบากต่อรถ 2 ต่อ เพื่อนั่งรถไฟฟ้าเข้าเมืองร่วมปีกว่าจะเชื่อมกันติด

ที่สำคัญ รัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณไปหลายล้านบาท จ้างรถเมล์ ขสมก.รับส่งผู้โดยสารจากเตาปูน-บางซื่อ

กำลังน่าเป็นห่วง “สถานีกลางบางซื่อ” ของรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต) มีกำหนดเปิดบริการในเดือน มิ.ย. 2563

ก็ยังไม่รู้จะเกิดเหตุซ้ำรอย “สายสีม่วง” หรือไม่

เมื่อผู้กำกับนโยบายยังไม่มีความชัดเจนในการบริหารพื้นที่ใช้สอยของสถานี 300,000 ตารางเมตร ที่ใหญ่พอ ๆ กับสนามบินสุวรรณภูมิ

เป็นงานเฉพาะหน้า-เฉพาะกิจที่ระดับนโยบายต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันนี้

อย่าได้แต่จด ๆ จ้อง ๆ “เดี๋ยวเอาไว้ก่อน ค่อยมาคุยกันภายหลัง”

แล้วปล่อยให้ “การรถไฟแห่งประเทศไทย” ดำเนินการไปตามยถากรรม ไปดูโมเดลคนอื่นมาดำเนินการ

เมื่อต้องการให้ “สถานีกลางบางซื่อ” เป็นศูนย์กลางระบบรางที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยและในภูมิภาค

ก็ต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันนี้ ปีนี้ อย่าปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์

มาเร่งรัดตัดตอน เมื่อใกล้ถึงวันเปิดใช้บริการ แล้วหาช่องทางพิเศษจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้เปิดได้ทันตามเดดไลน์

เหมือนหลาย ๆ โครงการที่ผ่านมา !
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/05/2018 7:34 am    Post subject: Reply with quote

บางซื่อ พลิกโฉมประเทศ
กรุงเทพธุรกิจ 10 พ.ค. 61

Click on the image for full size

คมนาคมเปิดแผนระบบราง Bangsue Junction ดันไทยศูนย์กลางธุรกิจอาเซียน เม็ดเงินลงทุนรวม 4 แสนล้านบาท ออกทีโออาร์ภายในปีนี้ เฟสแรกนำร่องเปิดใช้ปี 63 คาดมีผู้โดยสารผ่านสถานีวันละ 1 แสนคน

มีศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมเชิงพาณิชยกรรมโยงระบบขนส่งบนเนื้อที่ 2,325ไร่ อาคม
เผยเชื่อมต่อแอร์พอร์ตลิงค์-รถไฟฟ้าสีน้ำเงิน-เขียว-ม่วง พร้อมให้เอกชนพัฒนาพื้นที่รอบสถานี

การคมนาคมและระบบขนส่ง (logistics) มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ไม่เพียงช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ยังยกระดับประเทศไปสู่เวทีโลก สถานีกลางบางซื่อ โครงการสำคัญ หัวใจของระบบรางกำลังก้าวสู่ฮับของอาเซียน
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเล็งเห็นความสำคัญจัดสัมมนา BANGKOKs New Center สถานีกลางบางซื่อ : พลิกโฉมมหานครกรุงเทพ โดยมีนายอาคม
เติมพิทยาไพสิฐ (ภาพซ้ายมือ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษ เมื่อวานนี้
(9 พ.ค.) ณ รร.อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ พร้อมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญคับคั่ง

นายอาคมเปิดเผยถึงแผน Bangsue Junction ศูนย์กลางธุรกิจอาเซียน ว่า จากปัจจุบันกรุงเทพฯมีถนนไม่เพียงพอรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
โดยมีความต้องการเดินทางเพิ่มจาก 19.8 ล้านเที่ยว/วันในปี 2558 เพิ่มเป็น 23.9
ล้านเที่ยว/วันในปี 2564 ปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 9.8 ล้านคัน ในปี 2560
ในขณะที่ถนนมีเพียง 7% ของพื้นที่ทั้งหมด ทำให้มีความเร็วของรถยนต์เฉลี่ยเพียง 14
กม./ชม. รัฐบาลจึงได้มีวิสัยทัศน์ กรุงเทพฯ เมืองแห่งการเคลื่อนไหว ด้วยระบบราง
ที่เน้นให้ประชาชนเข้าถึงการบริการขนส่งสาธารณะได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ง
และปลอดภัย โดยในปัจจุบันมีโครงข่ายรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง รวมระยะทาง 110 กม.
แต่ในอนาคตปี 2575 กรุงเทพฯจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ระยะทางรวม 464 กม.
จะพลิกโฉมกรุงเทพฯเป็นมหานครระบบราง มีเส้นทางรถไฟฟ้ายาวเป็นอันดับ 3 ของโลก
โดยในปัจจุบัน เซี่ยงไฮ้มีระยะทาง 588 กม. โซล 508 กม. กรุงเทพฯในปี 2575 464 กม.
ลอนดอน 402 กม. นิวยอร์ก394 กม. และโตเกียว 203 กม.
และจะเพิ่มสัดส่วนการใช้รถไฟฟ้าจาก 5% เป็น 30%

การที่จะไปให้ถึงจุดหมายดังกล่าว
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีศูนย์กลางการเดินทางแห่งใหม่
แทนหัวลำโพงที่เป็นศูนย์กลางระบบรางของกรุงเทพฯเดิม
โดยกระทรวงคมนาคมจะพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ
ขึ้นมาเป็นศูนย์กลางคมนาคมแห่งใหม่ของประเทศ ซึ่งจะก่อสร้างเสร็จในช่วงปลายปี 2562
เนื่องจากมีการเชื่อมต่อกับระบบขนส่ง 4 สาย ได้แก่ สถานีขนส่งหมอชิต
สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน สถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว แอร์พอร์ต เรล ลิงค์
และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ซึ่งหากพัฒนาโครงการนี้แล้วเสร็จ
คาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 5 เท่า ภายใน 10 ปี โดยมจาก 136,000 คน/วัน
ในปี 2565 เพิ่มเป็น 359,000 คน/วัน ในปี 2570 และเพิ่มเป็น 624,000 คน/วันในปี
2575

ในอนาคตปี 2575
สถานีกลางบางซื้อจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางกับพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้
ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการเชื่อมโยงจะสมบูรณ์ใน 3 ลักษณะ คือ
1. เชื่อมโยงระบบการเดินทางภายใน กทม. 2. เชื่อมโยงกับภาคต่างๆ และ3. เชื่อมโยงระหว่างประเทศ
ได้แก่ ลาว จีน และมาเลเซีย

สถานีกลางบางซื่อ ตั้งภายในศูนย์คมนาคมพหลโยธินจะพัฒนาสถานีควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี
โดยหน่วยงานภาครัฐจะเป็นผู้ลงทุนในโครงสร้างระบบขนส่งมวลชนทางราง
ภายใต้เม็ดเงินลงทุน 1.5 แสนล้านบาท ส่วนภาคเอกชนจะพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน
เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างต้นทุนที่ภาครัฐลงทุนกับผลกำไรจากการพัฒนาที่ดิน
ตามที่รัฐชี้นำอย่างเหมาะสม และมีความสมดุลระหว่างแหล่งงานกับที่อยู่อาศัย
โดยมีระบบรางเป็นศูนย์กลาง ในรัศมีชั้นในพัฒนาเป็นพื้นที่พาณิชย์ยกรรม
และพื้นที่ชั้นนอกเป็นที่อยู่อาศัย มีพื้นที่รวม 2,325 ไร่

สำหรับกรอบการพัฒนาพื้นที่ศักยภาพรอบสถานีบางซื่อ จะแบ่งเป็น โซน A พื้นที่รวม 35
ไร่ (เฟสแรก แล้วเสร็จปี 2563) มีศักยภาพสูงในเชิงที่ตั้ง
ซึ่งอยู่ติดกับสถานีกลางบางซื่อ
มีศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมเชิงพาณิชย์ยกรรมที่มีความเยวเนื่องกับระบบขนส่ง
ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ พีพีพี พื้นที่โซน B ต่อเนื่องถึงขอบโซน
D ในเขตรถไฟฟ้าสายสีแดง
มีศักยภาพสูงในเชิงที่ตั้ง เนื่องจากอยู่ติดกับสถานีกลางบางซื่อ
เป็นพื้นที่แปลงใหญ่ จึงมีศักยภาพในการพัฒนาผลสมผสานหลากหลายรูปแบบ
ดังนั้นพื้นที่บริเวณนี้จึงมีความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางของย่านตามแนวคิด Transit Oriented Development (TOD) โซน D พื้นที่รวม 83
ไร่ มีศักยภาพสูงในการพัฒนา TOD โดยอาศัยความได้เปรียบจากที่ตั้งที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีเขียว
อยู่ใกล้กับย่านพาณิชยกรรม โดยเฉพาะบริเวณตลาดนัดจตุจักร สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก
จึงมีโอกาสต่อยอดการพัฒนาผสมผสานที่เกี่ยวเนื่องมายังพื้นที่โซน D ได้ง่าย พื้นที่ต่อเนื่องทางด้านเหนือโซน
D มีศักยภาพในการพัฒนาปานกลาง
เนื่องจากอยู่ถัดออกมาจากรัศมีการเดินเท้า 500 เมตร จากสถานีกลางบางซื่อ
จึงมีศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัย
พื้นที่พัฒนาเดิมต่อเนื่องด้านใต้ของโซน D ได้แก่ บริเวณตลาดนัดจตุจักร ตลาด
อตก. และบริเวณโดยรอบ มีศักยภาพในการพัฒนาสูง
แต่ยังคงเอกลักษณ์และรูปแบบย่านพาณิชยกรรมเดิมไว้

พื้นที่โซน C สำหรับที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมบริษัทข้ามชาติ
การประชุมนานาชาติ และการจัดนิทรรศการ(ไมซ์) มีศูนย์กีฬาขนาดใหญ่
เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสนามบิน และพื้นที่ชั้นในของ กทม. ได้อย่างสะดวก
พื้นที่ย่านตึกแดง มีพื้นที่รวม 119 ไร่ มีศักยภาพสูงในเชิงที่ตั้ง
เนื่องจากอยู่ในระยะเดินเท้า 500 เมตร จากสถานีกลางบางซื่อ
ดึงดูดให้เกิดการพัฒนารูปแบบผสมผสานพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย แบ่งโซนการพัฒนาเป็น
2 พื้นที่ย่อย ได้แก่ พื้นที่โซน E เป็นพื้นที่สำนักงานของหน่วยราชการ
โดยออกแบบให้มีตึกระฟ้า เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ พื้นที่โซน F เป็นย่านศูนย์การค้า
ซึ่งมีความหลากหลาย ทั้งร้านค้า ร้านอาหาร และแหล่งบันเทิงต่างๆ

พื้นที่ย่าน กม.11 พื้นที่รวม 360 ไร่
เนื่องจากเป็นพื้นที่แปลงใหญ่ จึงมีศักยภาพในการพัฒนา TOD ในระดับที่แตกต่างกันในแต่ละบริเวณ โดยด้านตะวันตกและตะวันออก
ซึ่งอยู่ในระยะเดินทาง 500 เมตร จากสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง สีน้ำเงิน
และสีเขียวส่วนต่อขยายมีศักยภาพในการพัฒนาสูง
เมื่อรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีเขียวส่วนต่อขยายเปิดให้บริการในอนาคต พื้นที่ตอนกลาง
มีศักยภาพปานกลางในการพัฒนา TOD เนื่องจากไม่อยู่ในระยะเดินเท้าจากสภานีระบบราง
จำเป็นต้องพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรองก่อน
เพื่อสร้างการเชื่อมต่อกับสถานีและกิจกรรมหลักโดยรอบ

สำหรับการพัฒนา Bang Sue Junction ศูนย์กลางธุรกิจอาเซียน โดยการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีกลางบางซื่อจะดำเนินการเป็น
3 ระยะ ใช้เวลา15 ปี โดยพิจารณาถึงความพร้อมในพื้นที่ และความคุ้มค่าของการลงทุน
โดยในระยะที่ 1 (ภายในปี 2567) เป็นช่วงที่สถานีกลางบางซื่อเปิดให้บริการ
จะเป็นช่วงการพัฒนาย่านการค้าและสำนักงานเป็นหลัก ระยะที่ 2 (ภายในปี 2572)
เน้นการพัฒนาพื้นที่สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมบริษัทข้ามชาติ
(ไมซ์) และย่านศูนย์การค้า และระยะที่ 3 (ภายในปี 2577)
พัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมและพื้นที่อยู่อาศัยที่เหลือ</p>
<p>ทางที่ปรึกษาจากญี่ปุ่นมองว่าโครงการนี้จะมีบริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งออฟฟิตในประเทศไทย
จำเป็นจะต้องมีแลนด์มาร์ค เพื่อเป็นจุดขายของสถานที่ ซึ่งอาจจะเป็นตึกที่สูงที่สุดในอาเซียน
ที่เป็นอาคารธุรกิจ
ซึ่งจะต้องระดมความคิดเพื่อสร้างให้เป็นแลนด์มาร์คที่น่าสนใจต่อไป

ในส่วนของระบบสาธารณูปโภคทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ได้ทำการศึกษาพัฒนาให้เป็นสมาร์ทซิตี้ ซึ่งจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด
และจะเปิดให้เอกชนเข้ามาสร้างระบบสาธารณ์ปโภค และระบบโทรคมนาคมต่างๆ สร้างรายได้ให้กับ
ร.ฟ.ท. ต่อไป

***เงินลงทุนโครงการ4แสนล้าน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน
การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า โครงการศูนย์คมนาคมพหลโยธิน
และสถานีกลางบางซื่อ จะใช้เงินลงทุนทั้งโครงการประมาณ 4 แสนล้านบาท
แบ่งเป็นการลงทุนอาคารสถานที่ ประมาณ 1.5 แสนล้านบาท
และลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้า ระบบราง ระบบโทรคมนาคมต่างๆ
อีกประมาณ 2-3 แสนล้านบาท โดยในระยะแรก สถานีกลางบางซื้อ และบางส่วนของโซน A จะสร้างเสร็จในปลายปี
2562 พร้อมๆกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งจะออก ทีโออาร์ ได้ภายในปีนี้
มั่นใจว่าเหลือระยะเวลาอีกประมาณ 2 ปี จะสามารถก่อสร้างได้ทัน
ซึ่งคาดว่าจะมีผู้โดยสารผ่านสถานีนี้วันละ 1 แสนคน

ส่วนระบบขนส่งรองที่จะเชื่อมต่อบริเวณต่างๆในพื้นที่ อาจจะเป็นระบบ
บีอาร์ที หรือโมโนเรล ก็ได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา
รวมทั้งมีแผนที่จะตั้งบริษัทลูก เพื่อเข้ามาดูแลโครงการสถานีกลางบางซื่อโดยเฉพาะ
เพื่อความสะดวกในการดำเนินงาน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 10/05/2018 10:05 am    Post subject: Reply with quote

อดใจรอบางซื่อประตูสู่เทพนคร
พุธที่ 9 พฤษภาคม 2561 เวลา 19.13 น.
บางซื่อประตูสู่เทพนคร พร้อมให้บริการปี63 เปิดประมูลโซนเอสิ้นปีนี้ คาดแล้วเสร็จทั้งหมดปี75 เพิ่มปริมาณผู้ใช้รถไฟฟ้า5เท่า ด้านไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่น คมนาคมดันเข้าครม.มิ.ย.นี้


เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษ “เปิดแผน..."บางซื่อ" ศูนย์กลางโลจิสติกส์อาเซียน” ในงานสัมมนา BANGKOK's New Center : สถานีกลางบางซื่อ พลิกโฉมมหานครกรุงเทพฯ ว่า ปัจจุบันกรุงเทพมีโครงข่ายรถไฟฟ้า5เส้นทาง รวมระยะทาง 110กิโลเมตร (กม.) แต่ในปี 75จะมีรถไฟฟ้า10เส้นทาง ระยะทางรวม 474กม. ซึ่งจะพลิกโฉมกรุงเทพฯ เป็นมหานครระบบราง ที่มีเส้นทางรถไฟฟ้ายาวเป็นอันดับ3ของโลก ต่อจากเซี่ยงไฮ้ที่มีเส้นทางยาวอันดับ1คือ588กม. และโซล อันดับ2คือ 508กม. โดยมีศูนย์คมนาคมพหลโยธิน หรือสถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมแห่งใหม่ ในพื้นที่ 2,325ไร่ ที่เป็นทั้งศูนย์กลางการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการเดินทางเชื่อมต่อไปยังทุกภาคของประเทศ และเชื่อมโยงไปยังลาว จีน และมาเลเซีย ซึ่งจะทำให้สถานีกลางบางซื่อกลายเป็นประตูสู่เทพนคร(กรุงเทพฯ)ในที่สุด

นายอาคม กล่าวต่อว่า สถานีกลางบางซื่อ พร้อมเปิดให้บริการเฟสแรกปี 63 ซึ่งหากพัฒนาเต็มศักยภาพตามแผนแม่บท ประมาณการว่าจะเพิ่มปริมาณผู้โดยสาร5เท่า ภายในเวลา10ปี จาก136,000คนต่อเที่ยวต่อวันในปี 65 เป็น359,000คน ต่อเที่ยวต่อวัน สำหรับแผนการพัฒนาที่ดินย่านสถานีกลางบางซื่อนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)จะคงพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร และสวนสาธารณะไว้ตามเดิม เนื่องจากเป็นเสน่ห์ของเมืองไทย ส่วนพื้นที่ที่เหลือจะแบ่งการพัฒนาเป็น 8โซน โดยคาดว่าจะเปิดประมูลโซนเอ ซึ่งมี 35ไร่ อยู่ห่างสถานีกลางบางซื่อ 50-100เมตร ได้ปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า ส่วนโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กม. นั้น มั่นใจว่าจะเปิดเดินรถได้ในปี 63

นายอาคม ยังกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น เฟส 1 เส้นทาง กทม.-พิษณุโลก ว่า ขณะนี้ญี่ปุ่นได้ส่งมอบ รายงานผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการฉบับสมบูรณ์ให้ไทยแล้ว คาดว่าจะนำเสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาได้ในเดือนมิ.ย.นี้ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการออกแบบ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 63 และแล้วเสร็จปี 67.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2018 2:02 am    Post subject: Reply with quote


แผนพัฒนาบางซื่อ - ฟังตรงนาทีที่ 4.30 ให้ดีำ เพราะ จะค่อยทะยอยให้รถจากสถานีกรุงเทพที่หัวลำโพงย้ายไปเริ่มที่บางซื่อ ซึ่งจะเริ่มทำ เมื่อ เปิดสถานีกลางบางซื่อดช่วงไตรมาส3 ปี2563
https://www.youtube.com/watch?v=dasVP4ux6Ps&feature=youtu.be
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2018 7:02 pm    Post subject: Reply with quote

พลิกโฉม "บางซื่อ" ศูนย์กลางโลจิสติกส์อาเซียน ปลุกความเชื่อมั่นธุรกิจไทย


Publisher : 18 พฤษภาคม 2561

จากพื้นที่ 2,325 ไร่ของย่านพหลโยธิน การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ได้คัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ 4 โซน ได้แก่ พื้นที่โซน A, B, C, D รวมพื้นที่ประมาณ 305 ไร่เพื่อนำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ให้เป็นศูนย์กลางการเดินรถไฟของประเทศไทยและศูนย์กลางการเดินทางสู่ระดับอาเซียน ล่าสุดอยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบการร่วมลงทุนของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการพีพีพี) ก่อนที่จะเสนอเปิดประมูลหาผู้ร่วมลงทุนต่อไป

พื้นที่ทำเลทองแห่งนี้ปัจจุบันสามารถเข้าถึงง่ายขึ้นด้วยโครงข่ายการเดินทางหลากหลายรูปแบบ ทั้งระบบรางอย่างรถไฟชานเมือง รถไฟทางไกล รถไฟฟ้า MRT ที่สามารถเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง และบีทีเอสได้อีกด้วย ส่วนทางถนนและระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ มีทั้งรถตู้ รถเมล์ ขสมก. รถแท็กซี่จึงพร้อมรองรับผู้คนจากทั่วประเทศ และนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

ในอีกไม่นานนี้สถานีกลางบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายระบบคมนาคมขนส่งทางรางแห่งใหม่ของไทยที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน รองรับได้ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งรถไฟฟ้าเชื่อมต่อการเดินทางทั่วกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

สำหรับการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างสถานีกลางบางซื่อนั้นตามผลการศึกษาจะนำรูปแบบการเชื่อมโยงตามหลัก Transit Oriented Development :TOD คือการพัฒนาโดยใช้สถานีขนส่งสาธารณะเป็นศูนย์กลางเพื่อใช้ที่ดินแบบผสมผสานโดยใช้ความสามารถในการเข้าถึงอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดพร้อมส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ



โดยโซน A มีพื้นที่ 35 ไร่ใกล้กับสถานีกลางบางซื่อประมาณ 100 เมตรตามผลการศึกษาจะพัฒนาให้เป็น “ศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร” แหล่งรวมอาคารสำนักงานที่ทันสมัยและธุรกิจบริการ อาทิ โรงแรมและศูนย์อาหารรองรับผู้เดินทาง นักท่องเที่ยว และนักธุรกิจทั่วไปที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของโลกธุรกิจแห่งอนาคต

โซน B พื้นที่ 78 ไร่ห่างจากตลาดนัดจตุจักรประมาณ 700 เมตรจึงเหมาะกับการพัฒนาเป็นย่านพาณิชยกรรมแห่งใหม่ แหล่งค้าปลีก ค้าส่งระดับอาเซียน

โซน C พื้นที่ 105 ไร่ เพื่อพัฒนาให้เป็นเมืองแห่งความมีชีวิตชีวาด้วยการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งงานและแหล่งพักผ่อนหย่อนใจพร้อมตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ของคนเมืองในอนาคต

และโซน D พื้นที่ 87.5 ไร่ อยู่ติดกับตลาดนัดจตุจักรพัฒนาให้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการขนส่งระดับโลก โดยร.ฟ.ท.มีแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบรองด้วยระบบรถบีอาร์ทีให้เชื่อมต่อทุกโซน รวมถึงพื้นที่กม.11 ตลาดนัดจตุจักร สวนสาธารณะ ตลอดจนเชื่อมต่อด้วยระบบทางเดินเท้าและการปั่นจักรยาน รวมระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร จำนวนประมาณ 15 สถานี

ดังนั้นราวปี 2563 ที่มีแผนจะเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อคงจะทำให้ศูนย์กลางการเดินทางของอาเซียนแห่งนี้ได้สร้างสีสันปลุกกระแสสร้างความเชื่อมั่นทางธุรกิจให้กับประเทศไทยได้อีกไม่น้อย

แต่หลายฝ่ายก็บอกเสียดายที่การออกแบบให้ร.ฟ.ท.ใช้พื้นที่สถานีกลางบางซื่อได้อย่างไม่คุ้มค่ากับโบนัสที่ได้รับตามกฎหมาย ทั้งๆที่น่าจะสร้างอาคารได้สูงหลายสิบชั้นบนพื้นที่นับแสนตารางเมตรแต่กลับสร้างเพียง 3-4 ชั้นเท่านั้น มูลค่าหลักแสนล้านบาทสามารถสร้างรายได้นำไปปลดภาระหนี้ของร.ฟ.ท.ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับปล่อยโอกาสนั้นสูญเปล่าไปอย่างน่าเสียดาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2018 10:28 am    Post subject: Reply with quote

รฟท. ตรวจความก้าวหน้า "รถไฟชานเมืองสายสีแดง" คาดเสร็จทันปี 62

25 พฤษภาคม 2561

วันนี้ (25 พ.ค. 61) เวลา 09.30 น. ณ บริเวณโครงการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ–รังสิต นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน พร้อมด้วยผู้บริหารการรถไฟฯ นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้าการก่อสร้าง โดยมี นายกำพล บุญชม รองวิศวกรใหญ่ด้านโครงการพิเศษ ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ผู้อำนวยการโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง บรรยายความก้าวหน้าการดำเนินงานของโครงการฯ

นายวรวุฒิฯ กล่าวว่า ภาพรวมโครงการ สถานะการดำเนินงานในปัจจุบัน ตามสัญญาต่าง ๆ ได้แก่ สัญญาที่ 1 เป็นงานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ และสถานีจตุจักร ทางรถไฟยกระดับ จาก กม.6+000 ถึง กม.12+201.700 ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าชานเมือง ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟทางไกล ย่านจอดรถไฟ และอาคารอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมการเดินรถ ตลอดจนถนน สะพานยกระดับเข้า-ออกสถานี และระบบระบายน้ำ ซึ่งมีความคืบหน้าคิดเป็น 69.31% สัญญาที่ 2 เป็นงานโยธาสำหรับทางรถไฟ ช่วงบางซื่อ-รังสิต ประกอบด้วย สถานี 8 สถานี ทางรถไฟยกระดับและทางรถไฟระดับดิน ถนนเลียบทางรถไฟ สะพานกลับรถ สะพานข้ามทางรถไฟ และระบบระบายน้ำมีความคืบหน้าคิดเป็น 97.94 % สัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟ สำหรับช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีความก้าวหน้าของงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จคิดเป็น 26.71%

จากนั้นนำคณะสื่อมวลชนไปชมการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อที่ปัจจุบันมีความคืบหน้าในการก่อสร้าง 49.31 % โดยมีรูปแบบการก่อสร้างแบ่งเป็นอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วย

1. ชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน โดยมีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถขึ้นไปยังชั้นที่ 1
2. ชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว มีโถงพักคอยและรับผู้โดยสาร รวมถึงพื้นที่พาณิชยกรรม และร้านค้า สามารถเชื่อมต่อกับ MRT
3. ชั้นที่ 2 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) มี 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกล มี 8 ชานชาลา
4. ชั้นที่ 3 เป็นชานชาลาสำหรับรองรับรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เชื่อมภูมิภาค มีทั้งหมด 10 ชานชาลา แบ่งเป็น รถไฟสายใต้ 4 ชานชาลา รถไฟสายเหนือ และสายอีสานรวม 6 ชานชาลา


นอกจากนี้ ยังสามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคตและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ได้อีก 2 ชานชาลา และมีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หลังจากนั้น ได้พาคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมงานก่อสร้างสถานีทุ่งสองห้อง ซึ่งปัจจุบันแล้วเสร็จเกือบ 100% ตัวสถานีตั้งอยู่บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 และถนนวิภาวดี-รังสิต ใกล้แฟลตการเคหะฯ โครงสร้างสถานีแบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นพื้นดิน (Ground Floor Level) เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถรับ-ส่งผู้โดยสาร ชั้นที่ 2 (Concourse Level) เป็นชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร และเป็นพื้นที่รองรับผู้โดยสารที่จะผ่านขึ้นไปยังชานชาลา และชั้นที่ 3 (CT Platform Level) เป็นชั้นชานชาลา มีทางวิ่ง 4 ทาง โดย 2 ทางวิ่งด้านข้าง รองรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ส่วน 2 ทางตรงกลาง รองรับรถไฟทางไกล โดยมีชานชาลาด้านข้างสองฝั่ง (Side Platform) รองรับผู้ใช้บริการรถไฟสายสีแดง โดยตลอดแนวเส้นทางโครงการจะมีสถานียกระดับทั้งสิ้น 8 สถานี ได้แก่ สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ สถานีการเคหะ สถานีดอนเมือง และสถานีรังสิต

สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต คาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในปี 2562 สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารจากรังสิตสู่บางซื่อไม่น้อยกว่า 306,608 คน/วัน รวมทั้งรองรับการเดินทางทุกประเภท ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูงที่จะเชื่อม 3 ท่าอากาศยาน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) รถไฟฟ้า 3 สาย (สายสีน้ำเงิน สายสีชมพู สายสีเขียว) รถไฟใต้ดิน และรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ซึ่งเป็นการพลิกโฉมการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศไทย และกลายเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2018 1:27 am    Post subject: Reply with quote

เปิดใจ ‘วรวุฒิ มาลา’ รับบัญชา ปั้นฮับบางซื่อรับสายสีแดง
ออนไลน์เมื่อ 31 พฤษภาคม 2561
เซกชั่น:เศรษฐกิจมหภาค|หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3370 ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2561

แม้จะมีข่าวเล็ดลอดออกมาในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อนนี้ว่าจะมีการเสนอแต่งตั้งให้ “วรวุฒิ มาลา” รองผู้ว่า การหัวหน้าหน่วยธุรกิจบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ไปทำหน้าที่รักษาราชการแทนผู้ว่าการร.ฟ.ท. ที่มี “อานนท์ เหลืองบริบูรณ์” ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่อยู่ในขณะนั้นภายใต้การบริหารของคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. ชุดใหม่ที่มีนายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากรเป็นประธานล่าสุดนั้นพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งอย่างเป็นทางการให้ “วรวุฒิ มาลา” ไปทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าการร.ฟ.ท.โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ “วรวุฒิ” ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงภารกิจมากมายที่รอการพิสูจน์ฝีมือการบริหารองค์กรของร.ฟ.ท.ในครั้งนี้ที่ดูเหมือนจะท้าทายความสามารถในหลายประเด็นที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมขับเคลื่อนโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน โครงการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินเพื่อบริหารจัดการที่ดินทั่วประเทศ โครงการบริหารจัดการรถไฟฟ้าสายสีแดงการตั้งบริษัทลูกสายสีแดงที่จะเข้ารายงานบอร์ดเดือนมิถุนายนนี้ซึ่งจะใช้บุคลากรของแอร์พอร์ตลิงค์ทั้งหมด และการขับเคลื่อนสถานีกลางบางซื่อที่มีแผนจะเปิดให้บริการในปี 2563 ล้วนเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเร่งขับเคลื่อนไปพร้อมกัน

เร่งสายสีแดงและเชื่อม 3สนามบิน
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้นปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและช่วงบางซื่อ-รังสิต หากก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถเปิดให้บริการไปพร้อมรับช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันที่ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ รอการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณไปพร้อมกับสถานีกลางบางซื่อและช่วงบางซื่อ-รังสิตเท่านั้น โดยมีแผนที่จะเปิดให้บริการในปี 2563

โดยโซน A ที่อยู่ใกล้สถานีกลางบางซื่อและใกล้กับสำนักงานใหญ่ร.ฟ.ท.แห่งใหม่ที่จะย้ายไปอยู่ในโซนพื้นที่ 105 ไร่ย่านตึกแดง บางซื่อ มีนโยบายให้พัฒนาระบบสมาร์ทซิตีบนโครงการรูปแบบมิกซ์ยูสควบคู่กันไปด้วย เร่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2556 ต้องการนำร่องและต้องให้สำเร็จ แต่กว่าจะถึงวันนั้นยังมีอีกหลายสิ่งที่จะต้องเร่งขับเคลื่อนให้แล้วเสร็จพร้อมรองรับการเปิดให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประมูลหาบริษัทจัดการเรื่องขยะมูลฝอย บริษัทรักษาความปลอดภัย ระบบประปา ไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่โฆษณา เส้นทางการเดินรถเชื่อมโยงอำนวยความสะดวกในพื้นที่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นงานเร่งด่วนที่จะต้องเริ่มขับเคลื่อนตั้งแต่วันนี้และปี 2562 เพื่อให้เตรียมความพร้อมก่อนเปิดให้บริการในปี 2563 คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการไม่น้อยกว่า 3 หมื่นคนในช่วงแรกนี้

สำหรับรถไฟเชื่อม 3 สนามบินนั้นจะเริ่มมีการประกาศประกวดราคาใน 2-3 สัปดาห์นี้หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ออกมาแถลงความชัดเจนต่อสื่อมวลชนไปเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยกรณีดังกล่าวนี้จะต้องควบคุมดูแลให้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์สามารถให้บริการผู้โดยสารไปได้อีกประมาณ 2 ปีก่อนที่จะส่งมอบโครงการให้เอกชนผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินรับไปดำเนินการต่อ อีกทั้งยังจะโยกย้ายบุคลากรของบริษัทรถไฟฟ้าร.ฟ.ท.จำกัดที่ดำเนินการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ในปัจจุบันทั้งหมดไปบริหารจัดการรถไฟฟ้าสายสีแดงต่อไป

“การจัดซื้อรถขบวนใหม่ไม่เกิดขึ้นแน่ แต่จะซ่อมขบวนที่มีอยู่การปรับ ปรุงขบวนสัมภาระและจัดให้บริการรถดีเซลรางไปให้บริการอย่างเพียงพอก่อนในช่วงการเปลี่ยนผ่านสำคัญนี้คาดว่าจะสามารถรองรับได้อีกประมาณ 1 หมื่นคน ขณะนี้เริ่มดำเนินการไปแล้ว”

เตรียมสรรหาผู้ว่าการคนใหม่

เบื้องต้นจะเสนอตั้งระดับรองผู้ว่าการร.ฟ.ท.อีก 2 ตำแหน่ง อีกทั้งจะเสนอบอร์ดร.ฟ.ท.จ้างประธานเจ้าหน้าที่การเงิน (Chief Financial Officer : CFO) ให้ได้ก่อนเนื่องจากร.ฟ.ท.มีการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการจึงต้องได้มืออาชีพด้านการเงินเข้ามาบริหารจัดการควบคู่กับการสรรหาผู้ว่าการร.ฟ.ท.ที่จะครบกำหนดในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อให้ CFO สามารถวิเคราะห์วางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะนำเสนอพิจารณาในการประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.ครั้งต่อไป

ทั้งนี้ “วรวุฒิ มาลา” หนึ่งในลูกหม้อร.ฟ.ท.เริ่มเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2528 อายุงานกว่า 32 ปี ครบกำหนดการเกษียณราชการในวันที่ 1 ตุลาคม 2563 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จบปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ สาขาการบริหารและจัดการการขนส่ง จากมหาวิทยาลัยโกลเด้นเกตซานฟรานซิสโก เริ่มเข้าทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ร.ฟ.ท.ฝ่ายการพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา จนปี2546 ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการ 1 ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและบัญชี รองผู้ว่าการหน่วยธุรกิจการเดินรถ รองผู้ว่าการกลุ่มอำนวยการ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สินตามลำดับจนล่าสุดได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2561
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 63, 64, 65  Next
Page 4 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©