Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263767
ทั้งหมด:13575050
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 32, 33, 34 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/12/2021 8:01 pm    Post subject: Reply with quote

คลิปชี้แจงกรณีหัวลำโพง ตอนที่ 4 แนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกรุงเทพ l กระทรวงคมนาคม l 19 ธ.ค. 64
Dec 16, 2021
Daoreuk Channel

โดย กระทรวงคมนาคม


https://www.youtube.com/watch?v=8qeYOnUFSFw



“ศักดิ์สยาม” นัดถกอีกรอบ 20 ธ.ค.นี้ เคาะเปิดรถไฟทางไกล @สถานีกลางบางซื่อ
เดลินิวส์ 17 ธันวาคม 2564 17:38 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

รฟท. เร่งรวบรวมเสียงประชาชนพัฒนาสถานีหัวลำโพง “ศักดิ์สยาม” ชี้หากยังไม่ตกผลึก ก็ยังไม่ดำเนินการ ยันยังมีขบวนรถไฟเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพง 20 ธ.ค.นี้ ถกอีกรอบให้ชัวร์เปิดบริการรถไฟทางไกล @สถานีกลางบางซื่อ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างเร่งรวบรวมข้อมูลหลังจากได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน ในหัวข้อ “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” เพื่อนำมาประมวลผลว่า ประชาชนมีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างไร และหากดำเนินการแล้วจะเกิดผลกระทบ และประโยชน์อะไรกับประชาชนบ้าง ทั้งนี้ยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมไม่มีแนวคิดทุบสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) และเรื่องการพัฒนาสถานีหัวลำโพงไม่ใช่แนวคิดที่เกิดขึ้นในสมัยที่ตนเป็น รมว.คมนาคม เรื่องนี้เป็นผลการศึกษามานานแล้วตั้งแต่การสร้างสถานีกลางบางซื่อ ตนเพียงแค่นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาการบริหารงานของ รฟท. ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ประสบภาวะขาดทุนเท่านั้น

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า เรื่องการพัฒนาสถานีหัวลำโพงหากยังไม่ตกผลึก ก็ยังจะไม่ดำเนินการ ส่วนเรื่องการปรับลดขบวนรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง เหลือ 22 ขบวนตามแผนของ รฟท. นั้น ตนเพียงแค่มอบโจทย์ให้ รฟท. ไปพิจารณาและวิเคราะห์ว่า จะมีแนวทางอย่างไรที่ทำให้การเดินรถทั้ง 22 ขบวน กระทบกับการจราจรทางบกให้น้อยกว่านี้ได้หรือไม่ อย่างไร หากไม่มีก็ยังคงให้เดินรถเข้าหัวลำโพง 22 ขบวน ดังนั้นยืนยันว่ายังคงมีขบวนรถไฟเดินรถเข้าสถานีหัวลำโพงอย่างแน่นอน

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ขอให้ รฟท. พิจารณาทบทวนชะลอแผนงานการเปิดให้บริการรถไฟทางไกล (LD) ไปที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.64 เป็นต้นไปออกไปก่อนจนกว่าจะมีความพร้อม เพื่อไม่ให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบนั้น คงต้องนำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งทุกเรื่องทุกแนวคิดต้องมีเหตุผลมาสนับสนุน จะใช้ความรู้สึกส่วนตัวมาสนับสนุน หรือตัดสินใจไม่ได้ อย่างไรก็ตามในวันที่ 20 ธ.ค.64 จะมีการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการ และการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ โดยจะนำเรื่องการเปิดให้บริการรถไฟทางไกล ที่สถานีกลางบางซื่อมาพิจารณาด้วย เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนที่จะเปิดให้บริการในวันที่ 23 ธ.ค.64 ตามแผนของ รฟท.



Click on the image for full size
https://www.facebook.com/photo/?fbid=661773308322245&set=gm.5014506258601446

การรถไฟแห่งประเทศไทย

เนื่องจาก การรถไฟฯ มีกำหนดให้ขบวนรถโดยสารทั้งหมด เดินรถบนทางยกระดับในระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2564 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการที่สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ ป้ายหยุดรถ กม.11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และป้ายหยุดรถการเคหะ กม.19 ส่วนสถานีดอนเมือง จะย้ายการให้บริการไปที่สถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 23 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ซึ่งผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะเดินทาง สามารถใช้บริการที่สถานีของระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

การรถไฟฯ ใคร่ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี่ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

การรถไฟแห่งประเทศไทย



ประชาชนถล่มยับรฟท.ไม่วางแผนเหลือ3วันนัดประชุมรถไฟทางไกล
Source - เดลินิวส์
Sunday, December 19, 2021 05:01

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีประชาชนจำนวนมากร้องเรียน "ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์" ถึงความสับสนในการใช้บริการรถไฟ หลังจากนายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประกาศเป็นทางการว่า ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.64 การเดินขบวนรถไฟจากสถานีชุมทางบางซื่อ ถึงสถานีรังสิต ขบวนรถไฟโดยสารทั้งหมดจะขึ้นไปใช้ทางรถไฟยกระดับเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีแดง และยุติการเดินขบวนรถไฟโดยสารบนทางรถไฟระดับพื้นดิน ทำให้ไม่สามารถให้บริการที่สถานีและที่หยุดรถระดับพื้นดินรวม 5 แห่ง ได้แก่ สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ ที่หยุดรถ กม. 11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และที่หยุด รถเคหะ กม. 19

ขณะที่ผู้โดยสารบางรายระบุว่าไปจองซื้อตั๋วรถไฟทางไกลตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค. จะไม่รับส่งที่สถานีกรุงเทพ (สถานีหัวลำโพง) แล้ว เพราะรถไฟทางไกลจะสิ้นสุดที่สถานีกลางบางซื่อ และหลายรายระบุว่า เมื่อสอบถามสายด่วนการรถไฟฯ 1690 เพื่อขอความชัดเจนจะได้วางแผนเรื่องการเดินทาง ก็ไม่มีข้อมูลให้ว่าช่วงหลังวันที่ 23 ธ.ค. จะรับส่งที่สถานีหัวลำโพงหรือไม่ และมีขบวนใดบ้างที่ยังเข้าสถานีหัวลำโพง และไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนเรื่องการยกเลิกวิ่งรถไฟบนทางพื้นราบเช่นกัน โดยแจ้งกับประชาชนผู้สอบถามว่าต้องรอแผนงานและนโยบายจากผู้บริหารก่อน สร้างความสับสนให้กับประชาชนและวิพากษ์วิจารณ์ว่ารฟท.ทำงานเช้าชามเย็นชาม ไร้แผนการทำงาน แทนที่จะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้วางแผนการเดินทางล่วงหน้า กลับไม่ดำเนินการ ถือว่าไม่พัฒนาบริการ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. นายสราวุธ สราญวงศ์ รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรฟท. (สร.รฟท.) เข้ายื่นหนังสือด่วนที่สุดต่อ นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. และนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า รฟท. ขอให้พิจารณาทบทวนชะลอแผนงานการเปิดให้บริการรถไฟทางไกล (LD) ไปที่สถานีกลางบางซื่อตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.ออกไปก่อนจนกว่ารฟท.จะมีความพร้อมเพื่อไม่ให้ประชาชนผู้ใช้บริการจำนวนมากได้รับผลกระทบความเดือดร้อนในการใช้บริการที่ไม่สะดวก

ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 20 ธ.ค. นี้จะ ประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการ และการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ โดยจะนำเรื่องการเปิดให้บริการ รถไฟทางไกล ที่สถานีกลางบางซื่อมาพิจารณาด้วย เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนเปิดบริการในวันที่ 23 ธ.ค.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 20 ธ.ค. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/12/2021 9:37 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ยกเลิกจุดจอด 3 สถานีดีเดย์ 23 ธ.ค.นี้
TNN 19 ธันวาคม 2564, 12:11 น.

รฟท.ยกเลิกจุดจอด 3 สถานีดีเดย์ 23 ธ.ค.นี้
รฟท.ประกาศหยุดให้บริการที่สถานีบางเขน-หลักสี่-ดอนเมือง ตั้งแต่ 23 ธ.ค.นี้ หลังกำหนดให้ขบวนรถโดยสารทั้งหมดเดินรถบนทางยกระดับรถไฟฟ้าชานเมือง

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทยแจ้งว่า ในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ รฟท.กำหนดให้ขบวนรถโดยสารทั้งหมด เดินรถบนทางยกระดับในระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องหยุดให้บริการที่สถานีบางเขน สถานีหลักสี่ ป้ายหยุดรถ กม.11 ที่หยุดรถทุ่งสองห้อง และป้ายหยุดรถการเคหะ กม.19 ส่วนสถานีดอนเมือง จะย้ายการให้บริการไปที่สถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 23 ธ.ค. เป็นต้นไป ซึ่งผู้โดยสารที่มีความประสงค์จะเดินทาง สามารถใช้บริการที่สถานีของระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

สำหรับการบริการเปิดเดินรถไฟทางไกลเส้นทางสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ วิ่งบนทางยกระดับสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต จะเริ่มวันที่ 21 ธ.ค.เป็นต้นไป ทำให้ไม่มีขบวนรถโดยสารวิ่งให้บริการรับส่งผู้โดยสารที่สถานีบางเขน หลักสี่ และดอนเมือง ที่ระดับพื้นบนทางประธานสายเหนืออีกต่อไป แต่ยังมีความจำเป็นสำหรับการเดินขบวนรถสินค้าและขบวนรถอื่นๆในช่วงเวลากลางคืนหรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

ทั้งนี้รฟท.จะปิดสถานีบางเขน สถานีหลักสี่ และสถานีดอนเมือง ตลอด 24 ชั่วโมง และให้ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติในการเดินรถตามคำสั่งทั่วไป เรื่องกำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อมีการปิดสถานีชั่วคราวในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง และคำสั่งทั่วไป เรื่องกำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับการเดินรถในพื้นที่ควบคุมการเดินรถจากศูนย์กลาง โดยเคร่งครัด ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง





23 ธ.ค.นี้ ขึ้นรถไฟ ณ “สถานีกลางบางซื่อ” คมนาคมยันความพร้อมกว่า 90%
กรุงเทพธุรกิจ by วรรณิกา จิตตินรากร19 ธ.ค. 2564 เวลา 9:30 น.

การรถไฟฯ เดินหน้าปรับแผนเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง 23 ธ.ค.นี้ ดันใช้ฮับใหม่สถานีกลางบางซื่อ ลั่นมีความพร้อมแล้วกว่า 90%

23 ธ.ค.นี้ หลังกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วน “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” ยังคงยืนยันปรับแผนการเดินรถไฟไปใช้ศูนย์กลาง (ฮับ) ที่สถานีกลางบางซื่อ

สรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวยืนยันว่า “เราพยายามให้ถนนทุกสายมุ่งไปที่บางซื่อ ถนนและรางมาอยู่ที่นี่ ดังนั้นรถไฟทางไกลจะมีการเปลี่ยนบทบาทฮับหัวลำโพงมาเป็นฮับที่บางซื่อแทน แต่ยังมีการเดินรถไฟชานเมืองอยู่ นี่คือคำว่าลดบทบาท”

อย่างไรก็ดี วันนี้กระทรวงคมนาคมและ ร.ฟ.ท. เตรียมความพร้อมมากกว่า 90% ในเรื่องของระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อ รถเมล์เตรียมแผนวิ่งเข้าแล้ว 15 สาย การบริหารจัดการการเดินรถมีความพร้อม อัตราค่าบริการได้ข้อสรุปจัดเก็บอย่างเหมาะสม การประชาสัมพันธ์ การเชื่อมต่อโหมดอื่นๆ และการดูแลความเรียบร้อย

สำหรับแผนการเดินรถของ ร.ฟ.ท.ตามนโยลายลดบทบาทสถานีหัวลำโพง จะมีการปรับขบวนรถเข้าสถานีหัวลำโพงตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.นี้ เดิม 118 ขบวนต่อวัน เหลือ 22 ขบวนต่อวัน แบ่งเป็น

สายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัจจุบันให้บริการ 66 ขบวนต่อวัน

หยุดและออกที่ Gateway 17 ขบวนต่อวัน

หยุดที่สถานีกลางบางซื่อ 42 ขบวนต่อวัน

เข้าสถานีหัวลำโพง 6 ขบวนต่อวัน

สายใต้

ปัจจุบันให้บริการ 24 ขบวนต่อวัน

หยุดและออกที่ Gateway 0 ขบวนต่อวัน

หยุดที่สถานีกลางบางซื่อ 22 ขบวนต่อวัน

เข้าสถานีหัวลำโพง 2 ขบวนต่อวัน

สายตะวันออก

ปัจจุบันให้บริการ 28 ขบวนต่อวัน

หยุดและออกที่ Gateway 14 ขบวนต่อวัน

หยุดที่สถานีกลางบางซื่อ 0 ขบวนต่อวัน

เข้าสถานีหัวลำโพง 14 ขบวนต่อวัน


นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร 3 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนระบบการขนส่งเป็นโหมดรถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ประกอบด้วย

    1. สถานีรังสิต เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารของรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ
    2. สถานีชุมทางตลิ่งชัน เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายของสายใต้
    3. สถานีรถไฟฟ้ามักกะสันและที่หยุดรถอโศก เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายของสายตะวันออก

ทั้งนี้ สถานีกลางบางซื่อ จะนับเป็นศูนย์กลางการคมนาคมแห่งใหม่ของประเทศ และใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยมีพื้นที่ใช้สอยรวม 298,200 ตารางเมตร 24 ชานชาลา รองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 624,000 คนเที่ยวต่อวัน แบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็น

ชั้นใต้ดินมีพื้นที่ 72,500 ตารางเมตร

ที่จอดรถ 1,700 คัน
ชั้นที่ 1 มีพื้นที่ 87,200 ตารางเมตร

ชั้นลอยมีพื้นที่ 20,700 ตาราเมตร

ชั้นที่ 2 มีพื้นที่ 58,000 ตารางเมตร 12 ชานชาลา แบ่งเป็น

รถไฟชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา
รถไฟทางไกล 8 ชานชาลา
ชั้นที่ 3 มีพื้นที่ 58,900 ตารางเมตร 12 ชานชาลา แบ่งเป็น

รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน 2 ชานชาลา
รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ - สายตะวันออกเฉียงเหนือ 6 ชานชาลา
รถไฟความเร็วสูงสายใต้ 4 ชานชาลา





ลุ้นปรับแผนวิ่งรถไฟเชิงสังคม 52 ขบวนเข้า”หัวลำโพง”หลังฟังเสียงประชาชนเดือดร้อนหนัก
เผยแพร่: 19 ธ.ค. 2564 19:16 ปรับปรุง: 19 ธ.ค. 2564 19:16 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

จับตา 20 ธ.ค. คมนาคม-รฟท.ถกแผนปิด”หัวลำโพง”รฟท.จ่อชง วิ่งรถเชิงสังคม 52 ขบวนต่อ ลดผลกระ ด้านสหภาพฯ ชี้ระบบสถานีกลางบางซื่อไม่พร้อม แถมยังมี 14 ขบวนรถเชิงสังคม หยุดแค่ดอนเมือง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าหลังจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็น หัวข้อ “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2564 ขณะนี้รฟท.กำลงรวบรวมข้อมูล สรุปความเห็นคิดจากทุกภาคส่วน ซึ่งกระทรวงคมนาคมนั้นพร้อมรับฟังทุกฝ่ายและนำมาประมวลผล ว่าหากดำเนินการแล้วจะเกิด ประโยชน์อะไรกับประชาชนอย่างไรบ้าง

ซึ่งการเปิดเวทีสาธารณะเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้รู้ว่า มีการเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างไร ซึ่งยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมไม่มีแนวคิดทุบสถานี หัวลำโพง และเรื่องการพัฒนาสถานีหัวลำโพงไม่ใช่แนวคิดผม เป็นเรื่องที่เกิดมาก่อนแล้ว มีการศึกษา ตั้งแต่มีการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ผมเพียงแค่นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาการบริหารงานของ รฟท. ว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ประสบภาวะขาดทุนเท่านั้น เพราะหลายประเทศทำสำเร็จแล้ว เช่า ญี่ปุ่น ซึ่งหากข้อมูล ยังไม่ตกผลึก ก็ยังจะไม่ดำเนินการ

ส่วนเรื่องการเดินรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพง ในวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ขณะนี้ ขืนยันว่า จะมีการเดินรถเข้าไป สถานีหัวลำโพง จำนวน 22 ขบวน ตามแผนของ รฟท. ซึ่งได้ให้ โจทย์ รฟท. ไปพิจารณาและวิเคราะห์ว่า จะมีแนวทางอย่างไรที่ทำให้การเดินรถทั้ง 22 ขบวนลดผลกระทบกับการจราจรทางบก ได้อีกหรือไม่อย่างไร หากมีก็ให้เสนอมา แต่หากไม่มีและวิ่ง 22 ขบวน ถือเป็นแนวทางที่ดีที่สุดแล้ว ก็ดำเนินการตามแผนนี้

ส่วนกรณีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ขอให้ รฟท. พิจารณาทบทวนชะลอแผนงานการเปิดให้บริการรถไฟทางไกล(LD)ไปที่สถานีกลางบางซื่อ และคงการเดินรถชานเมืองทั้งหมด เข้าสถานีหัวลำโพงต่อไปก่อน เนื่องจาก ยังไม่มีความพร้อม เพื่อไม่ให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบนั้น

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ทุกเรื่องทุกแนวคิดต้องมีเหตุผลและหลักการสนับสนุน จะใช้ความรู้สึกส่วนตัวมาสนับสนุน หรือตัดสินใจไม่ได้ ผมไม่เคยทำงานแบบนั้น คงต้องนำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งการปรับแผนเดินรถต่างๆ ขณะนี้รฟท.กำลังเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ

อย่างไรก็ตาม ช่วงบ่าย วันที่ 20 ธ.ค.64 จะมีการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการ และการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ โดยจะนำเรื่องการเปิดให้บริการรถไฟทางไกล ที่สถานีกลางบางซื่อมาพิจารณาด้วย

@รฟท.จ่อเสนอวิ่งรถเชิงสังคม 52 ขบวนเข้าหัวลำโพงไปถึงปีใหม่ ลดผลกระทบ

รายงานข่าว แจ้งว่า จากการที่รฟท.ได้เปิดเวทีรับฟังข้อมูล ข้อคิดเห็นของประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงมีข้อเรียกร้องจากสหภาพฯรฟท.ให้ชะลอกรณีการย้ายรถไฟทางไกลและรถไฟชานเมืองจากสถานีหัวลำโพงไปให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อ ออกไปจากที่กำหนดเริ่มในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ ดังนั้น รฟท.จะสรุปรายละเอียดข้อคิดเห็น เสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อขอเดินรถบริการเชิงสังคม ที่มีทั้งหมด ประมาณ 52 ขบวน /วัน เข้าสถานีหัวลำโพงต่อไปก่อน เพื่อลดผลกระทบกับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ที่คาดว่าจะมีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยรถไฟจำนวนมาก

หลังจากนั้น ควรเปิดรับฟังความเห็นประชาชนอีกครั้งเพื่อพิจารณาปรับรายละเอียดและแนวทางใดที่เกิดประโยชน์สุงที่สุด

@ไม่ให้รถเชิงสังคมเข้าสถานีกลางบางซื่อ 14 ขบวนต้องไปขึ้นที่”ดอนเมือง”

รายงานข่าวแจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.2564 เป็นต้นไป ตามแผนเบื้องต้น รถไฟทางไกลสายเหนือ สายอีสาน จะหยุดบริการ ที่สถานีกลางบางซื่อ ไม่เข้าสถานีหัวลำโพงแล้ว จำนวน 42 ขบวน /วัน (ไป 21 ขบวน กลับ 21 ขบวน) เช่น กรุงเทพ -เชียงใหม่ ,กรุงเทพ-เด่นชัย ,กรุงเทพ-ศิลาอาสน์ ,กรุงเทพ-หนองคาย , กรุงเทพ-อุบลราชธานี เป็นต้น

ส่วนสายใต้ จะหยุดที่สถานีบางซื่อ (สถานีเก่า) ไม่เข้าสถานีกลางบางซื่อ จำนวน 26 ขบวน/วัน (ไป 13 ขบวน กลับ 13 ขบวน) ได้แก่ กรุงเทพ-หาดใหญ่,กรุงเทพ-สุราษฏร์ธานี,กรุงเทพ-นครศรีธรรมราช กรุงเทพ-ตรัง , กรุงเทพ-สุไหงโกลก
สำหรับขบวนรถธรรมดา อีก 14 ขบวน (ไป7 ขบวน กลับ 7 ขบวน) จะหยุดบริการที่สถานีดอนเมือง ไม่วิ่งเข้าสถานีกลางบางซื่อ ได้แก่ กรุงเทพ-นครสวรรค์ ,กรุงเทพ-บ้านภาชี, กรุงเทพ-ลพบุรี ,กรุงเทพ-แก่งคอย,กรุงเทพ-พิษณุโลก,กรุงเทพ-ตะพานหิน ,กรุงเทพ-สุรินทร์

โดยสถานีดอนเมือง จะเป็นสถานีต้นทาง/ปลายทาง ดงนั้น ผู้โดยสารที่ต้องการจะเข้าบางซื่อ จะต้องลงที่สถานีดอนเมืองและเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง โดยรฟท.ระบุว่า สามารถใช้ตั๋วโดยสารเดิมในการใช้บริการสายสีแดงได้

สาเหตุที่รถไฟธรรมดา 14 ขบวนดังกล่าว ไม่สามารถเข้าสถานีกลางบางซื่อได้ เนื่องจากเป็นรถไฟดีเซล และเป็นบริการรถเชิงสังคม ซึ่งผู้อำนวยการฝ่ายการโดยสาร รฟท. ระบุว่า รถดีเซลไม่ให้เข้าสถานีบางซื่อ จะให้เข้าเฉพาะขบวนรถเชิงพาณิชย์ เพื่อลดจำนวนรถและผู้โดยสารเนื่องจากการ Operate สถานีกลางบางซื่อ ยังไม่พร้อม

ขณะที่การทำขบวนรถธรรมดา ดังกล่าว หากให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อ. จะต้องลากขบวนออกจากเดปโป้บางซื่อขึ้นไปบนทางยกระดับ จนถึงวัดเสมียรนารี จากนั้นต้องถอยขบวนรถกลับมาที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเสียเวลา อีกทั้งหัวรถจักรมีไม่เพียงพอที่จะลากไปตั้งขบวน จึงตัดปัญหาหยุดสถานีสุดท้ายที่ ดอนเมือง เพื่อให้รถลากออกจาเดปโป้ไปทำขบวนที่สถานีดอนเมือง ไม่ต้องย้อนกลับมาที่สถานีกลางบางซื่อ


เสียงค้านได้ผล! "ศักดิ์สยาม" เบรกย้ายรถไฟไปบางซื่อ ยื้ออีก 30 วันให้ศึกษาผลกระทบอีกรอบ
เผยแพร่: 20 ธ.ค. 2564 17:53 ปรับปรุง: 20 ธ.ค. 2564 17:53 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“ศักดิ์สยาม” ยอมเบรกย้ายรถไฟไป "บางซื่อ" คงเดินรถเข้าหัวลำโพงตามปกติทุกขบวน สั่ง รฟท.เช็กลิสต์ผลกระทบทุกด้านใน 30 วัน ทั้งประชาชน การขนส่ง และจราจร ด้านผู้ว่าฯ รฟท.เตรียมแถลงพรุ่งนี้ (21 ธ.ค.) ขณะที่สายสีแดงผู้โดยสารเฉลี่ยกว่า 1 หมื่นคน/วัน สั่งเร่งทำฟีดเดอร์เข้าสถานีรังสิตเพิ่มความสะดวก

วันที่ 20 ธ.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ครั้งที่ 8/2564 เพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานการให้บริการหลังการเปิดบริการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) อย่างเป็นทางการ และการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในฐานะประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นายพิเชษฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงบประมาณ หัวหน้าหน่วยงานและผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “อนาคตสถานีหัวลำโพง ประวัติศาสตร์คู่การพัฒนา” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ณ ตึกปฏิบัติการวิทยุโทรทัศน์ บมจ.อสมท โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคม รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ร่วมชี้แจง โดยได้นำเสนอเหตุผลความจำเป็นในการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ และการเปลี่ยนผ่านการเป็นสถานีหลักในการเชื่อมต่อระบบรางของประเทศจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังสถานีกลางบางซื่อ และการพัฒนาสถานีหัวลำโพงในอนาคต ซึ่ง รฟท.จะได้นำข้อเสนอจากภาคประชาชนจากการรับฟังความคิดเห็นเพื่อไปปรับปรุงการดำเนินการให้มีความเหมาะสมต่อไป

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ได้มีข้อสั่งการให้ รฟท.ดำเนินการจัดทำเช็กลิสต์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องร่วมให้คำแนะนำ เพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อของประชาชนและการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและความปลอดภัยในการเดินรถ โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วัน โดยการดำเนินการทุกขั้นตอนจะต้องเป็นไปตามผลการศึกษา ข้อกฎหมาย มติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง ก่อนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องต่อไป

โดยในระหว่างการดำเนินการดังกล่าว ให้ รฟท.ยังคงรูปแบบการเดินรถไฟทุกขบวนเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ทั้งขบวนรถเชิงพาณิชย์และเชิงสังคมตามเดิม รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ใช้บริการทราบต่อไป

รายงานข่าวจาก รฟท.เปิดเผยว่า ข้อสรุปในการประชุมครั้งนี้ ทำให้ในวันที่ 23 ธันวาคม 2564 นี้ รฟท.ยังคงเดินรถไฟทุกขบวนในปัจจุบันเข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตามปกติ โดยมีรถไฟทางไกล รถไฟเชิงสังคมจำนวน 118 ขบวน ทั้งนี้เนื่องจากใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ซึ่งจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนการเดินรถจากหัวลำโพงไปสถานีกลางบางซื่อ โดยจะมีเวลาในการศึกษาข้อมูลรอบด้านให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน จากนั้นมาพิจารณาปรับปรุงต่อไป

@สายสีแดงผู้โดยสารเฉลี่ยกว่า 1 หมื่นคน/วัน สั่งเร่งทำฟีดเดอร์เชื่อมสถานีรังสิต

นายศักดิ์สยามกล่าวถึงโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ซึ่งเริ่มเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 พบว่า ปัจจุบันมียอดผู้โดยสารโดยเฉลี่ยวันละ 10,267 คน ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนพฤศจิกายนมีผู้โดยสารรวม 265,038 คน เพิ่มขึ้น 31.96% จากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ รฟท.ได้ดำเนินการเชิงรุกเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาลักลอบตัดสายอาณัติสัญญาณในระบบรถไฟฟ้า เช่น การเฝ้าระวังจากระบบเตือนที่ศูนย์ควบคุม จัดให้มีการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เป็นต้น และในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรองรับการให้บริการรถไฟทางไกลของ รฟท.ในอนาคต

ส่วนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรังสิต หรือระบบ Feeder นั้น กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ประชุมคณะทำงานเพื่อจัดให้มีระบบขนส่งสาธารณะเพื่อเชื่อมต่อรถไฟสายสีแดงที่สถานีรังสิต เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 โดยที่ประชุมรับทราบวัตถุประสงค์โครงการและกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล แนวทางการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น และมีการลงพื้นที่สำรวจด้านกายภาพของเส้นทางเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564

สำหรับค่าโดยสาร เมื่อเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ใน 3 ปีแรก (2565-2568) จะมีค่าแรกเข้า 12 บาท และอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง 1.5 บาทต่อกิโลเมตร กำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดในการเดินทางหนึ่งเที่ยวไม่เกิน 42 บาท เมื่อถึงปีที่เอกชนดำเนินการให้เสนอใช้อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ รฟท.ได้ประชาสัมพันธ์ตารางอัตราค่าโดยสาร (Fare Table) ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าแล้ว โดยสามารถชำระค่าโดยสารได้ทั้งเหรียญโดยสาร (Token) และบัตรโดยสารทั้งบัตรเติมเงินสำหรับการเดินทางแบบเที่ยวเดียว และบัตรโดยสารแบบรายเดือน

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/12/2021 10:07 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟ แจงกรณีศูนย์อาหารในสถานีกลางบางซื่อ
บ้านเมือง วันศุกร์ ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 20.44 น.

Click on the image for full size

ตามที่มีสื่อสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่ภาพศูนย์อาหาร (ชั่วคราว) ภายในสถานีกลางบางซื่อ บริเวณทางเข้าประตู 4 พร้อมแสดงความคิดเห็นว่าไม่มีความเหมาะสม กับตัวอาคารสถานีที่มีความทันสมัย สะอาด สวยงาม

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชี้แจงว่า รูปภาพศูนย์อาหารดังกล่าว เป็นการจัดเตรียมศูนย์อาหารชั่วคราว สำหรับรองรับผู้เข้ามาใช้บริการฉีดวัคซีนที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งยังไม่ใช้ร้านค้าหรือศูนย์อาหารที่จะให้บริการในพื้นที่เชิงพาณิชย์ของสถานีกลางบางซื่อแต่อย่างใด โดยพื้นที่ให้บริการศูนย์อาหาร และบริการทางเชิงพาณิชย์ในขณะนี้ อยู่ระหว่างขั้นตอนการออกแบบและดำเนินการจัดทำพื้นที่เชิงพาณิชย์ดังกล่าวให้มีความเหมาะสม สะอาด สวยงาม ทันสมัย เหมาะสมกับรูปแบบตัวอาคารสถานีและสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯ พร้อมรับฟังความเห็นจากประชาชน และทุกภาคส่วนเพื่อนำไปทำการปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นเสมอ และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง และเหมาะสมกับภาพลักษณ์ของสถานีกลางบางซื่อ ดังนั้น การรถไฟฯ จึงได้สั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าไปปรับรูปแบบของโต๊ะ เก้าอี้ ของศูนย์อาหารชั่วคราวแล้ว อีกทั้ง ยังจัดให้มีตู้อาหาร เครื่องดื่ม แบบหยอดเหรียญอัตโนมัติไว้รองรับให้บริการเพิ่มเติมอีกด้วย เพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่มาใช้บริการได้รับความสะดวกสบายสูงสุดต่อไป



‘ศักดิ์สยาม’ เซ็นตั้งคณะอนุกรรมการ 58 อรหันต์ ประเมินคุณภาพ พ่วงอัพเกรด สายสีแดง-บางซื่อ
มติชน วันที่ 25 ธันวาคม 2564 - 16:59 น.

‘ศักดิ์สยาม’ เซ็นตั้งคณะอนุกรรมการ 58 อรหันต์ ประเมินคุณภาพ พ่วงอัพเกรด ‘รถไฟสายสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ-รูปแบบการเดินรถเข้าหัวลำโพง’ พร้อมประสานหน่วยงานรัฐ-เอกชน หลังสั่ง รฟท.-ขร. เร่งเช็คลิสต์ เดดไลน์ภายใน 30 วัน

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วานนี้ (24 ธ.ค. 2564) ตนได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ 1061/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มเติมอีก 1 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางชื่อ และรูปแบบการเดินรถไฟเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ภายใต้คณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการรถฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางชื่อ เพิ่มเติม ครั้งที่ 3 โดยคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว มีนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง เป็นประธานอนุกรรมการ

ขณะเดียวกัน ยังผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 58 ราย อาทิ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม, กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด, กรรมการผู้จัดการบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด, ประธานสหภาพแรงงานการรถไฟฯ, เลขาธิการสภาวิศวกร, เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค, ผู้แทนมหาวิทยาลัยต่างๆ ฯลฯ

สำหรับการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มเติมอีก 1 คณะนั้นนับเป็นคณะที่ 6 หลังจากก่อนหน้านี้ ในอนุสนธิคำสั่งกระทรวงคมนาคมที่ 71/2664 สั่ง ณ วันที่ 10 ก.พ. 2564 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมเปิดให้บริการและการบริหารโครงการรถฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คณะ

ทั้งนี้ เป็นไปตามที่เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2564 ตนได้มีข้อสั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ไปดำเนินการจัดทำเช็คลิสต์ (Checklist) โดยมีผู้เชี่ยวชาญและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องร่วมให้คำแนะนำ เพื่อตรวจสอบผลกระทบกับประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อของประชาชน และการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจร และความปลอดภัยในการเดินรถ โดยให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วัน

ในส่วนอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ ที่แต่งตั้งเพิ่มเติมนั้น จะพิจารณาหลักการเกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ เพื่อการยกระดับมาตรฐานการบริการขนส่งทางรางในส่วนโครงข่ายระบบขนส่งทางราง โดยเฉพาะระบบรถไฟชานเมือง รถไฟระหว่างเมือง ตลอดจนระบบการเดินทางเชื่อมต่อ เพื่อประเมินระดับคุณภาพสถานีขนส่งทางรางให้เป็นไปตามเกณฑ์การคัดเลือกที่เหมาะสม

นอกจากนี้ จะประเมินระดับคุณภาพสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพสถานีฯ ต่อปลัดกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รวมถึงประสานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการปรับปรุง ดำเนินการจัดการในส่วนที่จำเป็น เพื่อยกระดับคุณภาพสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดงและสถานีกลางบางชื่อให้สามารถรองรับการใช้บริการของประชาชนได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเท่าเทียมประเมินรูปแบบการเดินรถไฟทุกขบวนเข้าสู่สถานีหัวลำโพง ทั้งขบวนรถเชิงพาณิชย์ และเชิงสังคม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/12/2021 7:44 pm    Post subject: Reply with quote

เปลี่ยนแล้วนะ! “ศูนย์อาหารสถานีกลางบางซื่อ” เปลี่ยนเก้าอี้แล้ว หลังโดนดราม่าเหมือนโรงอาหารในโรงเรียน
เผยแพร่: 29 ธ.ค. 2564 19:06 ปรับปรุง: 29 ธ.ค. 2564 19:06 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size
ศูนย์อาหารสถานีกลางบางซื่อ ภาพอัพเดตวันที่ 29 ธ.ค. 64 (ภาพจากเฟสบุค Ratthanan Torpanya)

หลังจากโดนชาวเน็ตติงว่าบรรยากาศเหมือนโรงอาหารในโรงเรียน ล่าสุด “ศูนย์อาหารสถานีกลางบางซื่อ” ก็ยอมเปลี่ยนเก้าอี้ใหม่ให้ดูไฉไลมากขึ้น

Click on the image for full size
ศูนย์อาหารสถานีกลางบางซื่อ ภาพวันที่ 23 ธ.ค. 64 (ภาพจากเฟสบุคเพจ LivingPop)

อ่านต่อที่ https://mgronline.com/travel/detail/9640000129003
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/01/2022 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีกลางบางซื่อ คมนาคมปรับใหม่แก้ปัญหาป้ายบอกทาง จุดรับส่งผู้โดยสาร
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 10 มกราคม 2565 - 19:50 น.

Click on the image for full size

คมนาคม ปรับระบบรับรองผู้โดยสารใช้งานสถานีกลางบางซื่อ กำหนดทางเข้า-ออก ป้ายบอกทางใหม่หมด ล้างความงุนงงผู้เข้ามาใช้บริการ ด้านกรมรางเซตระบบมาตรฐานปลอดภัยสายสีแดง

วันที่ 10 มกราคม 2565 นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมหัวหน้ากลุ่มด้านภารกิจขนส่ง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อและรูปแบบการเดินรถไฟเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ครั้งที่ 1/2564 ร่วมกันพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ ณ สถานีกลางบางซื่อ ในกรณีย้ายสถานีปลายทางของขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์สายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือจากสถานีกรุงเทพมายังสถานีกลางบางซื่อ ประกอบด้วย

1) การจัดระบบสัญจรโดยรอบพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ โดยมีการกำหนดการเดินทางเข้า-ออกสถานีกลางบางซื่อให้เป็นลักษณะเดินรถทางเดียว (One Way) และกำหนดจุดรับ-ส่ง (Drop Off) บริเวณด้านหน้าสถานีสำหรับผู้โดยสารขาออก และด้านหลังสถานีสำหรับผู้โดยสารขาเข้า รวมทั้งได้เตรียมพื้นที่จอดรถใต้ดินซึ่งสามารถรองรับรถยนต์ได้กว่า 1,600 คัน เพื่อรองรับการจอดรถยนต์ส่วนบุคคล

2) การจัดระบบหมุนเวียนผู้โดยสาร แบ่งเป็นผู้โดยสารขาออก (Departure) แสดงลูกศรสีเหลือง

โดยผู้โดยสารสามารถใช้ประตูทางเข้าได้จำนวน 6 ประตู ประกอบด้วย ประตูทางเข้าด้านหน้าสถานีจำนวน 4 ประตู สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากจุดรับ-ส่ง (Drop Off) บริเวณด้านหน้าของสถานี และสำหรับผู้โดยสารขาออกที่เดินทางมาจากสถานีชุมทางบางซื่อ (เดิม) สามารถใช้ประตูทางออกด้านหลังสถานีกลางบางซื่อได้จำนวน 2 ประตู ได้แก่ ประตูทางออก 1 และประตูทางออก 4 เพื่อเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อได้อย่างสะดวก

มีจุดจำหน่ายตั๋วโดยสารไว้จำนวน 2 จุด ได้แก่ จุดจำหน่ายตั๋วสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ซึ่งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ และจุดจำหน่ายตั๋วโดยสารสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากจุดรับ-ส่ง (Drop Off) บริเวณประตูทางเข้า 4 ด้านหน้าของสถานีกลางบางซื่อ

และผู้โดยสารขาเข้า (Arrive) แสดงลูกศรสีส้ม สามารถใช้บันไดเลื่อนหรือลิฟต์โดยสารลงจากชั้นชานชาลา 5 และ 6 มาสู่บริเวณพื้นที่ชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร (Ground Level) ซึ่งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ โดยสามารถเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่พื้นที่สำหรับผู้โดยสารที่ชำระค่าโดยสารแล้ว (Paid Area) ของรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) หรือเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ได้อย่างสะดวก

และสามารถใช้ประตูทางออกเพื่อไปจุดจอดรับ-ส่ง (Pick Up & Drop Off) บริเวณด้านหลังสถานี หรือไปสถานีชุมทางบางซื่อ จำนวน 2 ประตู ได้แก่ ประตูทางออก 1 และประตูทางออก 4 ทั้งนี้ ประตูทางออก 2 และ 3 เป็นทางเข้าออกสำหรับประชาชนผู้มารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด 19 เท่านั้น

3) ความพร้อมด้านขบวนรถ มีการการปรับปรุงห้องน้ำภายในขบวนรถ การลดมลพิษจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลที่มาจากหัวรถจักรโดยให้มีการทำเครื่องหมายกำหนดตำแหน่งจุดจอดของรถไฟให้ชัดเจน เพื่อให้พนักงานขับรถไฟจอดรถไฟตรงกับช่องดูดควันของสถานี เพื่อช่วยระบายควันจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


4) ความพร้อมด้านสิ่งอ้านวยความสะดวกภายในสถานีกลางบางซื่อ มีการปรับปรุงระบบป้ายบอกทางภายในสถานีกลางบางซื่อให้สอดคล้องกับผังการสัญจรภายในสถานีฯ เพิ่มป้ายบอกทางในระบบการเดินทางที่ยังไม่มีให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบรถไฟความเร็วสูง (HSR) และระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL) เพื่อป้องกันความสับสนแก่ประชาชน ปรับปรุงป้ายสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางบางจุดที่มีการติดตั้งไม่สอดคล้องกับเส้นทางสัญจรภายในสถานี เช่น ป้ายบอกทางออกเพื่อลงบันได บันไดเลื่อน หรือลิฟต์ ติดตั้งป้ายบอกทางเพื่อชื่อมต่อการเดินทาง การปรับปรุงระบบการสื่อสารและเสียงประกาศภายในสถานีกลางบางซื่อ การจัดเตรียมเก้าอี้ส้าหรับผู้โดยสารนั่งพักคอย

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการบริหารจัดการเบื้องต้นดังกล่าว และเห็นควรให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นำความเห็นที่ประชุมไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ และผู้ที่ไม่เห็นด้วย รวมทั้งจัดทำข้อมูลการปรับปรุงห้องสุขาบนขบวนรถไฟให้เป็นระบบปิด ผลทดสอบการดูดควันในชั้นชานชาลา ความคืบหน้าการปรับปรุงป้ายบอกทาง และทิศทางการหมุนเวียนของผู้โดยสารภายในสถานีและบริเวณใกล้เคียง เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมในครั้งต่อไป

รถไฟชานเมืองเข้าหัวลำโพงตามปกติ รฟท.ปัดหยุดดอนเมืองดันคนใช้สายสีแดง
นายสรพงศ์ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการดังกล่าวเกิดขึ้นจาก ในคราวการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางชื่อ ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และร.ฟ.ท. ดำเนินการจัดทำเซ็คลิสต์ (Checklist) ร่วมกับผู้เชี่ยวขาญและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คำแนะนำ เพื่อตรวจสอบผลกระทบกับประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อของประชาชนและการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและความปลอดภัยในการเดินรถ

ซึ่ง ขร. ได้ดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อ โดยอ้างอิงจากมาตรฐานสากลต่างประเทศ ได้แก่ EN13816 CoMET and Nova IRS RSI NRPS ประกอบไปด้วย 8 ด้าน ดังนี้

1) โครงสร้างพื้นฐาน
2) การเชื่อมต่อ
3) การให้ข้อมูล
4) ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย
5) ความสะดวกสบาย
6) การออกแบบสำหรับทุกคน
7) การให้บริการ และ 8) ความสวยงาม

โดยการประเมินดังกล่าวจะเป็นการยกระดับมาตรฐานการให้บริการขนส่งทางราง ความสามารถในการรองรับการใช้บริการของประชาชนได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเท่าเทียมในระบบรถไฟชานเมือง รถไฟระหว่างเมือง ตลอดจนระบบการเตินทางเชื่อมต่อรอบสถานีรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) โดยกำหนดเริ่มลงสำรวจพื้นที่ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/01/2022 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

วาง 8 ข้อเช็คลิสต์ผลกระทบย้ายรถไฟไปบางซื่อ เร่งเซทระบบใหม่ทั้งรอบนอกสถานีและด้านใน
เผยแพร่: 10 ม.ค. 2565 18:06 ปรับปรุง: 10 ม.ค. 2565 18:06 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

“กรมราง”วาง 8 หัวข้อเช็คลิสต์ประเมินคุณภาพ สถานีกลางบางซื่อและสายสีแดงอิงมาตรฐานต่างประเทศ เร่งเซทระบบใหม่รองรับย้ายรถไฟทางไกล รถเชิงพาณิชย์ จากหัวลำโพง จัดเดินรถทางเดียวและจุดรับ-ส่ง ปรับปรุงป้ายบอกทาง เร่งรฟท.ปรับปรุงระบบห้องน้ำบนขบวนรถ

วันที่10 ม.ค. 2565 นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มด้านภารกิจขนส่ง เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อและรูปแบบการเดินรถไฟเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ครั้งที่ 1/2564 โดยมี นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการเข้าร่วม ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม, บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด, บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด, สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ, สภาวิศวกร, สภาองค์กรของผู้บริโภค และสถาบันการศึกษาต่างๆ

นายสรพงศ์ เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางชื่อ ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ซึ่งนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้ ขร. และ รฟท.ดำเนินการจัดทำเซ็คลิสต์ (Checklist) ร่วมกับผู้เชี่ยวขาญและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คำแนะนำ เพื่อตรวจสอบผลกระทบกับประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อของประชาชนและการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและความปลอดภัยในการเดินรถนั้น

ทาง ขร. กำหนดเริ่มลงสำรวจพื้นที่ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ได้ดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อ โดยอ้างอิงจากมาตรฐานสากลต่างประเทศ ได้แก่ EN13816 CoMET and Nova IRS RSI NRPS ประกอบไปด้วย 8 ด้าน ได้แก่ 1. โครงสร้างพื้นฐาน 2. การเชื่อมต่อ 3. การให้ข้อมูล 4. ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย 5. ความสะดวกสบาย 6. การออกแบบสำหรับทุกคน 7. การให้บริการ และ 8. ความสวยงาม

ซึ่งการประเมินดังกล่าวจะเป็นการยกระดับมาตรฐานการให้บริการขนส่งทางราง ความสามารถในการรองรับการใช้บริการของประชาชนได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเท่าเทียมในระบบรถไฟชานเมือง รถไฟระหว่างเมือง ตลอดจนระบบการเตินทางเชื่อมต่อรอบสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังร่วมกันพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ ณ สถานีกลางบางซื่อ ในกรณีย้ายสถานีปลายทางของขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์สายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังสถานีกลางบางซื่อ โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย

1. การจัดระบบสัญจรโดยรอบพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ โดยมีการกำหนดการเดินทางเข้า-ออกสถานีกลางบางซื่อให้เป็นลักษณะเดินรถทางเดียว (One Way) และกำหนดจุดรับ-ส่ง (Drop Off) บริเวณด้านหน้าสถานีสำหรับผู้โดยสารขาออก และด้านหลังสถานีสำหรับผู้โดยสารขาเข้า รวมทั้งได้เตรียมพื้นที่จอดรถใต้ดินซึ่งสามารถรองรับรถยนต์ได้กว่า 1,600 คัน เพื่อรองรับการจอดรถยนต์ส่วนบุคคล

2. การจัดระบบหมุนเวียนผู้โดยสาร แบ่งเป็นผู้โดยสารขาออก (Departure) (ลูกศรสีเหลือง) โดยผู้โดยสารสามารถใช้ประตูทางเข้าได้จำนวน 6 ประตู ประกอบด้วย ประตูทางเข้าด้านหน้าสถานีจำนวน 4 ประตู สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากจุดรับ-ส่ง (Drop Off) บริเวณด้านหน้าของสถานี และสำหรับผู้โดยสารขาออกที่เดินทางมาจากสถานีชุมทางบางซื่อ (เดิม) สามารถใช้ประตูทางออกด้านหลังสถานีกลางบางซื่อได้จำนวน 2 ประตู ได้แก่ ประตูทางออก 1 และประตูทางออก 4 เพื่อเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อได้อย่างสะดวก

มีจุดจำหน่ายตั๋วโดยสารไว้จำนวน 2 จุด ได้แก่ จุดจำหน่ายตั๋วสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ซึ่งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ และจุดจำหน่ายตั๋วโดยสารสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากจุดรับ-ส่ง (Drop Off) บริเวณประตูทางเข้า 4 ด้านหน้าของสถานีกลางบางซื่อ และผู้โดยสารขาเข้า (Arrive) (ลูกศรสีส้ม) สามารถใช้บันไดเลื่อนหรือลิฟต์โดยสารลงจากชั้นชานชาลา 5 และ 6 มาสู่บริเวณพื้นที่ชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร (Ground Level) ซึ่งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ

โดยสามารถเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่พื้นที่สำหรับผู้โดยสารที่ชำระค่าโดยสารแล้ว (Paid Area) ของรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) หรือเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ได้อย่างสะดวกและสามารถใช้ประตูทางออกเพื่อไปจุดจอดรับ-ส่ง (Pick Up & Drop Off) บริเวณด้านหลังสถานี หรือไปสถานีชุมทางบางซื่อ จำนวน 2 ประตู ได้แก่ ประตูทางออก 1 และประตูทางออก 4 ทั้งนี้ ประตูทางออก 2 และ 3 เป็นทางเข้าออกสำหรับประชาชนผู้มารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด 19 เท่านั้น

3. ความพร้อมด้านขบวนรถ มีการการปรับปรุงห้องน้ำภายในขบวนรถ การลดมลพิษจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลที่มาจากหัวรถจักรโดยให้มีการทำเครื่องหมายกำหนดตำแหน่งจุดจอดของรถไฟให้ชัดเจน เพื่อให้พนักงานขับรถไฟจอดรถไฟตรงกับช่องดูดควันของสถานี เพื่อช่วยระบายควันจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีกลางบางซื่อ มีการปรับปรุงระบบป้ายบอกทางภายในสถานีกลางบางซื่อให้สอดคล้องกับผังการสัญจรภายในสถานีฯ เพิ่มป้ายบอกทางในระบบการเดินทางที่ยังไม่มีให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ ระบบรถไฟความเร็วสูง (HSR) และระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL) เพื่อป้องกันความสับสนแก่ประชาชน ปรับปรุงป้ายสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางบางจุดที่มีการติดตั้งไม่สอดคล้องกับเส้นทางสัญจรภายในสถานี เช่น ป้ายบอกทางออกเพื่อลงบันได บันไดเลื่อน หรือลิฟต์ ติดตั้งป้ายบอกทางเพื่อชื่อมต่อการเดินทาง การปรับปรุงระบบการสื่อสารและเสียงประกาศภายในสถานีกลางบางซื่อ และการจัดเตรียมเก้าอี้สำหรับผู้โดยสารนั่งพักคอย

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการบริหารจัดการเบื้องต้นและให้รฟท.จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ และผู้ที่ไม่เห็นด้วย รวมทั้งจัดทำข้อมูลการปรับปรุงห้องสุขาบนขบวนรถไฟให้เป็นระบบปิด ผลทดสอบการดูดควันในชั้นชานชาลา ความคืบหน้าการปรับปรุงป้ายบอกทาง และทิศทางการหมุนเวียนของผู้โดยสารภายในสถานีและบริเวณใกล้เคียง นำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2022 8:43 pm    Post subject: Reply with quote

เช็กลิสต์คุณภาพ8ด้าน”สายสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ”
*เริ่ม 16 ม.ค.นี้ กรมรางใช้มาตรฐานสากลตรวจ
*เปิดแผนบริหารจัดการเดินรถไฟ@สถานีบางซื่อ
*เมื่อย้ายขบวนรถเชิงพาณิชย์มาจาก”หัวลำโพง”
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3087196098168554
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/01/2022 11:57 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เช็กลิสต์คุณภาพ8ด้าน”สายสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ”
*เริ่ม 16 ม.ค.นี้ กรมรางใช้มาตรฐานสากลตรวจ
*เปิดแผนบริหารจัดการเดินรถไฟ@สถานีบางซื่อ
*เมื่อย้ายขบวนรถเชิงพาณิชย์มาจาก”หัวลำโพง”
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3087196098168554
คมนาคมเตรียมแผนรองรับรถไฟทางไกลให้บริการที่บางซื่อ
ไทยโพสต์ 11 มกราคม 2565 เวลา 10:45 น.

“คมนาคม”ประชุมเตรียมความพร้อมแผนย้ายสถานีปลายทางของขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์สายเหนือและสาตะวันออกเฉียงเหนือจากสถานีกรุงเทพมายังสถานีกลางบางซื่อ สั่งรฟท.เปิดฟังความคิดเห็นจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ

11 ม.ค. 2565. นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมหัวหน้ากลุ่มด้านภารกิจขนส่ง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อและรูปแบบการเดินรถไฟเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า ในการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางชื่อ ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการจัดทำเซ็คลิสต์ (Checklist) ร่วมกับผู้เชี่ยวขาญและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คำแนะนำ

ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบผลกระทบกับประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อของประชาชนและการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและความปลอดภัยในการเดินรถ ซึ่ง ขร. ได้ดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อ โดยอ้างอิงจากมาตรฐานสากลต่างประเทศ ได้แก่ EN13816 CoMET and Nova IRS RSI NRPS ประกอบไปด้วย 8 ด้าน ดังนี้
    1 โครงสร้างพื้นฐาน
    2.การเชื่อมต่อ
    3. การให้ข้อมูล
    4.ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย
    5. ความสะดวกสบาย
    6. การออกแบบสำหรับทุกคน
    7. การให้บริการ และ
    8. ความสวยงาม
ซึ่งการประเมินดังกล่าวจะเป็นการยกระดับมาตรฐานการให้บริการขนส่งทางราง ความสามารถในการรองรับการใช้บริการของประชาชนได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเท่าเทียมในระบบรถไฟชานเมือง รถไฟระหว่างเมือง ตลอดจนระบบการเตินทางเชื่อมต่อรอบสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)โดยกำหนดเริ่มลงสำรวจพื้นที่ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2565 เป็นต้นไป

นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังร่วมกันพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ ณ สถานีกลางบางซื่อ ในกรณีย้ายสถานีปลายทางของขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์สายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือจากสถานีกรุงเทพมายังสถานีกลางบางซื่อ ประกอบด้วย การจัดระบบสัญจรโดยรอบพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ โดยมีการกำหนดการเดินทางเข้า-ออกสถานีกลางบางซื่อให้เป็นลักษณะเดินรถทางเดียว (One Way) และกำหนดจุดรับ-ส่ง บริเวณด้านหน้าสถานีสำหรับผู้โดยสารขาออก และด้านหลังสถานีสำหรับผู้โดยสารขาเข้า รวมทั้งได้เตรียมพื้นที่จอดรถใต้ดินซึ่งสามารถรองรับรถยนต์ได้กว่า 1,600 คัน เพื่อรองรับการจอดรถยนต์ส่วนบุคคล

นอกจากนี้รวมถึงการจัดระบบหมุนเวียนผู้โดยสาร แบ่งเป็นผู้โดยสารขาออก (Departure) (ลูกศรสีเหลือง) โดยผู้โดยสารสามารถใช้ประตูทางเข้าได้จำนวน 6 ประตู ประกอบด้วย ประตูทางเข้าด้านหน้าสถานีจำนวน 4 ประตู สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากจุดรับ-ส่ง (Drop Off) บริเวณด้านหน้าของสถานี และสำหรับผู้โดยสารขาออกที่เดินทางมาจากสถานีชุมทางบางซื่อ (เดิม) สามารถใช้ประตูทางออกด้านหลังสถานีกลางบางซื่อได้จำนวน 2 ประตู ได้แก่ ประตูทางออก 1 และประตูทางออก 4 เพื่อเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อได้อย่างสะดวก โดยมีจุดจำหน่ายตั๋วโดยสารไว้จำนวน 2 จุด ได้แก่ จุดจำหน่ายตั๋วสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ซึ่งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ

นายสรพงศ์ กล่าวว่า ส่วนความพร้อมด้านขบวนรถ มีการการปรับปรุงห้องน้ำภายในขบวนรถ การลดมลพิษจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลที่มาจากหัวรถจักรโดยให้มีการทำเครื่องหมายกำหนดตำแหน่งจุดจอดของรถไฟให้ชัดเจน เพื่อให้พนักงานขับรถไฟจอดรถไฟตรงกับช่องดูดควันของสถานี เพื่อช่วยระบายควันจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงความพร้อมด้านสิ่งอ้านวยความสะดวกภายในสถานีกลางบางซื่อ มีการปรับปรุงระบบป้ายบอกทางภายในสถานีกลางบางซื่อให้สอดคล้องกับผังการสัญจรภายในสถานีฯ เพิ่มป้ายบอกทางในระบบการเดินทาง

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการบริหารจัดการเบื้องต้นดังกล่าว และเห็นควรให้การรถไฟแห่งประเทศไทยนำความเห็นที่ประชุมไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ และผู้ที่ไม่เห็นด้วย รวมทั้งจัดทำข้อมูลการปรับปรุงห้องสุขาบนขบวนรถไฟให้เป็นระบบปิด ผลทดสอบการดูดควันในชั้นชานชาลา ความคืบหน้าการปรับปรุงป้ายบอกทาง และทิศทางการหมุนเวียนของผู้โดยสารภายในสถานีและบริเวณใกล้เคียง เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมในครั้งต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/01/2022 11:01 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
วาง 8 ข้อเช็คลิสต์ผลกระทบย้ายรถไฟไปบางซื่อ เร่งเซทระบบใหม่ทั้งรอบนอกสถานีและด้านใน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 10 มกราคม 2565 เวลา 18:06 น.
ปรับปรุง: 10 มกราคม 2565 เวลา 18:06 น.


คมนาคมเตรียมแผนรองรับรถไฟทางไกลให้บริการที่บางซื่อ
11 มกราคม 2565 เวลา 10:45 น.

“คมนาคม”ประชุมเตรียมความพร้อมแผนย้ายสถานีปลายทางของขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์สายเหนือและสาตะวันออกเฉียงเหนือจากสถานีกรุงเทพมายังสถานีกลางบางซื่อ สั่งรฟท.เปิดฟังความคิดเห็นจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ

11 ม.ค. 2565. นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมหัวหน้ากลุ่มด้านภารกิจขนส่ง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อและรูปแบบการเดินรถไฟเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า ในการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางชื่อ ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการจัดทำเซ็คลิสต์ (Checklist) ร่วมกับผู้เชี่ยวขาญและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คำแนะนำ


ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบผลกระทบกับประชาชน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมต่อของประชาชนและการขนส่งสินค้า การอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและความปลอดภัยในการเดินรถ ซึ่ง ขร. ได้ดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อ โดยอ้างอิงจากมาตรฐานสากลต่างประเทศ ได้แก่ EN13816 CoMET and Nova IRS RSI NRPS ประกอบไปด้วย 8 ด้าน ดังนี้

1 โครงสร้างพื้นฐาน
2.การเชื่อมต่อ
3. การให้ข้อมูล

4.ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย
5. ความสะดวกสบาย
6. การออกแบบสำหรับทุกคน
7. การให้บริการ และ
8. ความสวยงาม

ซึ่งการประเมินดังกล่าวจะเป็นการยกระดับมาตรฐานการให้บริการขนส่งทางราง ความสามารถในการรองรับการใช้บริการของประชาชนได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเท่าเทียมในระบบรถไฟชานเมือง รถไฟระหว่างเมือง ตลอดจนระบบการเตินทางเชื่อมต่อรอบสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)โดยกำหนดเริ่มลงสำรวจพื้นที่ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. 2565 เป็นต้นไป

นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังร่วมกันพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ ณ สถานีกลางบางซื่อ ในกรณีย้ายสถานีปลายทางของขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์สายเหนือและสาตะวันออกเฉียงเหนือจากสถานีกรุงเทพมายังสถานีกลางบางซื่อ ประกอบด้วย การจัดระบบสัญจรโดยรอบพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ โดยมีการกำหนดการเดินทางเข้า-ออกสถานีกลางบางซื่อให้เป็นลักษณะเดินรถทางเดียว (One Way) และกำหนดจุดรับ-ส่ง บริเวณด้านหน้าสถานีสำหรับผู้โดยสารขาออก และด้านหลังสถานีสำหรับผู้โดยสารขาเข้า รวมทั้งได้เตรียมพื้นที่จอดรถใต้ดินซึ่งสามารถรองรับรถยนต์ได้กว่า 1,600 คัน เพื่อรองรับการจอดรถยนต์ส่วนบุคคล

นอกจากนี้รวมถึงการจัดระบบหมุนเวียนผู้โดยสาร แบ่งเป็นผู้โดยสารขาออก (Departure) (ลูกศรสีเหลือง) โดยผู้โดยสารสามารถใช้ประตูทางเข้าได้จำนวน 6 ประตู ประกอบด้วย ประตูทางเข้าด้านหน้าสถานีจำนวน 4 ประตู สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากจุดรับ-ส่ง (Drop Off) บริเวณด้านหน้าของสถานี และสำหรับผู้โดยสารขาออกที่เดินทางมาจากสถานีชุมทางบางซื่อ (เดิม) สามารถใช้ประตูทางออกด้านหลังสถานีกลางบางซื่อได้จำนวน 2 ประตู ได้แก่ ประตูทางออก 1 และประตูทางออก 4 เพื่อเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อได้อย่างสะดวก โดยมีจุดจำหน่ายตั๋วโดยสารไว้จำนวน 2 จุด ได้แก่ จุดจำหน่ายตั๋วสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ซึ่งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ

นายสรพงศ์ กล่าวว่า ส่วนความพร้อมด้านขบวนรถ มีการการปรับปรุงห้องน้ำภายในขบวนรถ การลดมลพิษจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลที่มาจากหัวรถจักรโดยให้มีการทำเครื่องหมายกำหนดตำแหน่งจุดจอดของรถไฟให้ชัดเจน เพื่อให้พนักงานขับรถไฟจอดรถไฟตรงกับช่องดูดควันของสถานี เพื่อช่วยระบายควันจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงความพร้อมด้านสิ่งอ้านวยความสะดวกภายในสถานีกลางบางซื่อ มีการปรับปรุงระบบป้ายบอกทางภายในสถานีกลางบางซื่อให้สอดคล้องกับผังการสัญจรภายในสถานีฯ เพิ่มป้ายบอกทางในระบบการเดินทาง

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการบริหารจัดการเบื้องต้นดังกล่าว และเห็นควรให้การรถไฟแห่งประเทศไทยนำความเห็นที่ประชุมไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ และผู้ที่ไม่เห็นด้วย รวมทั้งจัดทำข้อมูลการปรับปรุงห้องสุขาบนขบวนรถไฟให้เป็นระบบปิด ผลทดสอบการดูดควันในชั้นชานชาลา ความคืบหน้าการปรับปรุงป้ายบอกทาง และทิศทางการหมุนเวียนของผู้โดยสารภายในสถานีและบริเวณใกล้เคียง เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมในครั้งต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2022 12:24 am    Post subject: Reply with quote

เร่งปรับปรุงหลายจุด "สีแดง-สถานีกลางบางซื่อ" ผลเช็กลิสต์ยังมีปัญหาให้บริการ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาทิตย์ ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 14:29 น.
ปรับปรุง: วันอาทิตย์ ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 14:29 น.

คณะกรรมการเช็กลิสต์ "สีแดง-สถานีกลางบางซื่อ" ลุยสแกนทุกจุดแก้ปัญหาบริการ สั่งปรับปรุงป้ายให้เข้าใจง่าย ไม่สับสน พร้อมประเมินความพร้อมการให้บริการรูปแบบการเดินรถไฟเข้าสถานี หัวลำโพงตามนโยบาย "คมนาคม" ต่อไป

วันนี้ (16 ม.ค. 65) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มด้านภารกิจขนส่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ และรูปแบบการเดินรถไฟเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) พร้อมด้วย นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง อนุกรรมการและเลขานุการ นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผศ.ดร.พิศิษฐ์ แสง-ชูโต เลขาธิการสภาวิศวกร ผู้แทนอนุกรรมการจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา รวมทั้งองค์กรวิชาชีพ ภาคีเครือข่ายภาคประชาชน และเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางราง ลงสำรวจตรวจประเมินคุณภาพสถานีกลางบางซื่อ เพื่อประเมินความพร้อมการให้บริการตามเกณฑ์การประเมินความพร้อมด้านการบริการ (Checklist) 8 ด้านของ ขร. ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานสากล ประกอบด้วย

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2. ด้านการเชื่อมต่อ
3. ด้านการให้ข้อมูล
4. ด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย
5. ด้านความสะดวกสบาย
6. ด้านการออกแบบเพื่อคนทุกคน
7. ด้านการให้บริการ
8. ด้านสุนทรียภาพความงดงาม

คณะอนุกรรมการฯ ได้สำรวจในภาพรวมสำหรับเตรียมการรองรับผู้โดยสาร ตั้งแต่ทางเข้า-ออก จุดจำหน่ายตั๋วโดยสาร ที่พักคอย สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ลิฟต์ บันไดเลื่อน ห้องสุขา เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ เป็นต้น

ซึ่งการประเมินดังกล่าวเป็นการบูรณาการความเชี่ยวชาญ ความรู้ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการยกระดับมาตรฐานการให้บริการขนส่งทางราง ให้สามารถรองรับการใช้บริการของประชาชนได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเท่าเทียมในระบบรถไฟชานเมือง รถไฟระหว่างเมือง ตลอดจนระบบการเดินทางเชื่อมต่อรอบสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) รวมทั้งพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ ณ สถานีกลางบางซื่อ ในกรณีย้ายสถานีต้นทาง/ปลายทางของขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์สายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือจากสถานีกรุงเทพมายังสถานีกลางบางซื่อ

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการได้มีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ เช่น:

1.ให้ ขร. ออกประกาศ แนวทางปฏิบัติการให้บริการสำหรับผู้โดยสารวีลแชร์ในระบบราง
-ให้มี sticker สัญลักษณ์ วีลแชร์ ติดที่พื้นจุดรอเข้าขบวนรถ แบบขนานกับ warning block ห่างประมาณ 1 เมตร
-ให้ รปภ. ขอความร่วมมือให้วีลแชร์หันทิศทางแบบขนานชานชาลา
2.ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ให้ทำมีทางลาดบริเวณจุด drop-off ครบทุกประตู ปรับตะแกรงครอบรางระบายน้ำให้วีลแชร์ผ่านได้ ปรับความกว้างราวจับราวจับบริเวณโถปัสสาวะในห้องน้ำชายและเอาตัวครอบใต้อ่างล้างมือออก จะช่วยให้วีลแชร์ใช้งานได้สะดวก
3.ปรับปรุงระบบป้ายบอกทางและสัญลักษณ์ระบบรถไฟภายในสถานี และป้ายบอกทางเชื่อมต่อการเดินทางไประบบขนส่งระบบอื่น เช่น รถเมล์ รถแท๊กซี่ เป็นต้น
4. ให้ทำป้ายข้อมูลสายรถเมล์ ป้ายจุดจอดรถเมล์ถาวร บริเวณจุดรับ-ส่งด้านหลังสถานี
5. ปรับปรุงที่ตั้งตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติให้อยู่ในตำแหน่งที่ผดส.มองเห็นได้สะดวกเมื่อเดินเข้าสถานี
6. จัดทำทางข้ามบริเวณจุดรับ-ส่ง และป้ายรถเมล์ด้านหน้าสถานี (จะทำป้ายรถเมล์ในอนาคต)
7. ปรับปรุงถนน และทางเชื่อมต่อระหว่างสถานีกลางบางซื่อและสถานีรถไฟบางซื่อ

อย่างไรก็ตาม ขร.จะได้ประมวลผล ตลอดจนข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการต่อคณะอนุกรรมการด้านประเมินคุณภาพสถานีรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ และรูปแบบการเดินรถไฟเข้าสู่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) พิจารณา ก่อนรายงานกระทรวงคมนาคมต่อไป
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/1082217849221825
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 32, 33, 34 ... 63, 64, 65  Next
Page 33 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©