RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181524
ทั้งหมด:13492762
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 63, 64, 65  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2018 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

ย้าย "หัวลำโพง" มา "บางซื่อ" ปี 2564 เปลี่ยนฮวงจุ้ย กทม.รอบ 200 ปี
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV

23 ตุลาคม 2561 17:37

การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดงานทดสอบความสนใจของนักลงทุน หรือ Market Sounding โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน แปลง A มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยจะประกาศเชิญชวนเอกชนในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ติดตามจากรายงานคุณวชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย

"การพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ ให้กลายเป็นศูนย์คมนาคมพหลโยธิน จะทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงฮวงจุ้ยของกรุงเทพมหานครครั้งใหญ่ในรอบ 200 ปี" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ชวนนักลงทุนที่เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน หรือ Market sounding การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีกไทยและต่างประเทศ เช่น ซี.พี.แลนด์ เซ็นทรัลพัฒนา สิงห์เอสเตท สยามแม๊คโคร เดอะมอลล์ และแสนสิริ


จากการที่สถานีกลางบางซื่อมีขนาดพื้นที่ใหญ่มากจำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ จึงมีการรจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพยลโยธิน พื้นที่รวม 2,325 ไร่ แบ่งพื้นที่ออกเป็น 9 แปลงมีระยะการพัฒนา 3 ระยะ มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2565,2570,2575 ตามลำดับ

ในเบื้องต้นการรถไฟแห่งประเทศไทยจะนำพื้นที่เชิงพาณิชย์แปลง A มีเนื้อที่ประมาณ 32 ไร่มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ มาพัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร โดยเป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงาน โรงแรม และพื้นที่การค้าปลีก เพื่อให้สอดรับกับการเปิดให้บริการของสถานีกลางบางซื่อในปี 2564

โดยนักลงทุน จะลงทุนในรูปแบบ PPP ทั้งการออกแบบ ก่อสร้าง หาเงินทุน บริการจัดการ และส่งมอบ ในระยะสัมปทาน 30 ปี

รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย วรวุฒิ มาลา บอกถึงระยะเวลาในการดำเนินการจะเริ่มจาก- เดือนมกราคม ปี 2562 ประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน - เปิดขายเอกสารคัดเลือกเอกชนในเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนเมษายน ยื่นข้อเสนอ - เดือนสิงหาคมลงนามสัญญาร่วมทุน - กลางปี 2564 พื้นที่แปลง A เปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการบางส่วน

สำหรับศูนย์คมนาคมพหลโยธิน จะเป็นศูนย์กลางระบบรางอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าในเมือง และรถไฟความเร็วสูง มีการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งยังนำหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่ เมื่อแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2566 สถานีกลางบางซื่อจะเป็นสถานีรถไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีมาตรฐานเทียบเท่าสถานีกลางต่างๆ ทั่วโลก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2018 9:23 pm    Post subject: Reply with quote

พาชม สถานีกลางบางซื่อ อนาคตชุมทางรถไฟใหญ่ที่สุดในอาเซียน
25 ตุลาคม 2561 เวลา 16:12 น.

เจาะประเด็นข่าวค่ำ - ในอนาคต การเดินทางของผู้โดยสารทั้งชาวไทย และต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย คงจะสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เมื่อสถานีกลางบางซื่อ จะสร้างแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งจะกลายเป็นชุมทางรถไฟแห่งใหม่ของประเทศไทย แทนที่ หัวลำโพง สถานีรถไฟหลักของกรุงเทพฯ ที่เปิดใช้มากว่าร้อยปี คุณเนติ์ ตันเจริญ จะพาคุณผู้ชมไปรู้จักกับสถานีกลางบางซื่อ ไปติดตามกัน

ภาพชุมทางบางซื่อ บนถนนเทอดดำริ กำลังถูกแทนที่ด้วยสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ที่จะสร้างเสร็จในปี 2563 ทำให้สถานที่นี้กลายเป็นชุมทางรถไฟหลักสุดทันสมัยของประเทศไทย ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 400 ไร่ เพื่อรองรับการเดินทางของคนไทย และนักท่องเที่ยวนับล้าน ให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น

โถงผู้โดยสาร ชั้นคอนคอร์ด ใต้โดมโค้ง เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะมีหน้าตาเป็นแบบนี้ ส่วนนี้จะมีห้องจำหน่ายตั๋ว โซนร้านค้า และยังเป็นที่พักคอยรถไฟ ติดแอร์ มีห้องน้ำ พร้อมลิฟต์ และบันไดเลื่อนขึ้นไปที่ชานชาลาทั้ง 24 แห่ง

ขึ้นมาอีกหนึ่งชั้น จะเป็นชานชาลา ชุมทางรถไฟทางไกลสายเหนือ สายตะวันออก และสายใต้ รวมถึงระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง พูดง่าย ๆ ก็คือ ยกสถานีหัวลำโพงทั้งสถานี มาไว้ที่ชั้นสองแห่งนี้

ส่วนชั้นบนสุด สร้างไว้สำหรับรถไฟความเร็วสูง ที่จะพัฒนาในอนาคต เพื่อเชื่อมสู่ภูมิภาค 10 ชานชาลา และ Airport Link เชื่อมต่อสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง และสนามบินอู่ตะเภา 2 ชานชาลา

สถานีกลางบางซื่อ มีพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน เมื่อเปิดให้บริการ จะเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และภูมิภาคอาเซียน แทนที่สถานี KL Sentral ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2018 11:30 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ย้าย "หัวลำโพง" มา "บางซื่อ" ปี 2564 เปลี่ยนฮวงจุ้ย กทม.รอบ 200 ปี
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV


ย้ายฮวงจุ้ยจาก “หัวลำโพง” มา “สถานีรถไฟบางซื่อ”
by chanika 256
24 ตุลาคม 2561

กระทรวงคมนาคม ชวนนักลงทุนที่เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน เพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อให้เป็นสถานีครบวงจรสุดในอาเซียน ในระยะสัมปทาน 30 ปี

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ชวนนักลงทุนที่เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (Market sounding) การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีกไทยและต่างประเทศ เช่น ซี.พี.แลนด์ เซ็นทรัลพัฒนา สิงห์เอสเตท สยามแมคโคร เดอะมอลล์ และแสนสิริ



“ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 200 ปี ของ กทม. ที่จะเกิดเปลี่ยนแปลงฮวงจุ้ย เดิมทีศูนย์กลางของเมืองพัฒนาเกิดจาก เกาะรัตนโกสินทร์ หรือเขตสัมพันธวงศ์ ซึ่งมีสถานีรถไฟกลางอยู่ที่ หัวลำโพง ซึ่งปัจจุบันใน กทม. ขยายตัวมีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 10 ล้านคน” นายไพรินทร์ กล่าว



สถานีกลางบางซื่อ มีขนาดพื้นที่ใหญ่จึงจำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ โดยมีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพยลโยธิน พื้นที่รวม 2,325 ไร่ แบ่งเป็น 9 แปลง มีระยะการพัฒนา 3 ระยะ ได้แก่ เฟส 1 พื้นที่ 9.58 ไร่ พัฒนาเป็นย่านค้าปลีก ร้านค้า ร้านอาหาร เฟส 2 พื้นที่ 8.95 ไร่ พัฒนาเป็นอาคารสำนักงานและ Co-Working Space รวมถึงกิจการขนส่งโลจิสติกส์ ส่วนเฟส 3 พื้นที่ 13.58 ไร่ พัฒนาเป็นโรงแรมและธุรกิจท่องเที่ยว



เบื้องต้นการรถไฟแห่งประเทศไทย จะนำพื้นที่เชิงพาณิชย์แปลง A เนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท ตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ มาพัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร โดยเป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงาน โรงแรม และพื้นที่การค้าปลีก เพื่อให้สอดรับกับการเปิดให้บริการของสถานีกลางบางซื่อในปี 2564 โดยนักลงทุน จะลงทุนในรูปแบบ PPP ทั้งการออกแบบ ก่อสร้าง หาเงินทุน บริการจัดการ และส่งมอบ ในระยะสัมปทาน 30 ปี



นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เผยว่า ระยะเวลาในการดำเนินการจะเริ่มจาก เดือนมกราคม ปี 2562 โดยประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน – เปิดขายเอกสารคัดเลือกเอกชนใน เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน 2562 และยื่นข้อเสนอ เดือนสิงหาคม ลงนามสัญญาร่วมทุน – กลางปี 2564 พื้นที่แปลง A เปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการบางส่วน



สำหรับศูนย์คมนาคมพหลโยธิน จะเป็นศูนย์กลางระบบรางอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าในเมือง และรถไฟความเร็วสูง มีการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งยังนำหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม มาใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่ เมื่อแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2566 สถานีกลางบางซื่อจะเป็นสถานีรถไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีมาตรฐานเทียบเท่าสถานีกลางทั่วโลก



ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการบางส่วนได้ในปี 2564 รับกับการเปิดเดินรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และจะเปิดบริการสมบูรณ์แบบในปี 2566 รองรับเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินอีอี
https://www.facebook.com/moremovemag/photos/a.160625153949804/2168849829793983/?type=3&eid=ARDfCM8sr9T6oVo5kQ9F4VMRjxN3QHiExTmB6zYWdL1f8LHCBK60CNkI2TUdLZ0kWaY_JFKYuDgCqDnW&__tn__=EEHH-R
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2018 11:12 am    Post subject: Reply with quote


บริษัทดาวฤกษ์จัดทำวิดีโอแผนพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ
https://www.youtube.com/watch?v=NR_Ks9AkmCI
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2018 10:36 pm    Post subject: Reply with quote

สนข. ลงพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินพร้อมเปิดปี 64
อังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2561 เวลา 16.34 น.
 สนข.ลงพื้นที่ สมาร์ทซิตี้ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน-สถานีกลางบางซื่อ ต่อยอดแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี-แผนงานในอนาคต แนะอนาคตจัดจุดเข้าออกสถานีกลางบางซื่อให้สะดวกพร้อมเปิดใช้งานปี 64


  
นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 61 ได้นำทีมผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ สนข. เข้าเยี่ยมชมเพื่อศึกษาดูงานการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) พื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ซึ่งการดูงานครั้งนี้เป็นการดูงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ สนข. รับทราบแผนงาน โครงการที่จะมีการพัฒนาในอนาคต รวมทั้งรับทราบถึงปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข และความคืบหน้าของการดำเนินงานโครงการต่างๆในพื้นที่ ได้แก่ แผนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์คมนาคมพหลโยธิน การจราจรเข้าออกศูนย์พหลฯ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต  โครงข่ายทางเชื่อมระหว่างทางยกระดับอุตราภิมุขและทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (Missing Link) เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้เห็นกายภาพของพื้นที่ ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ พื้นที่ก่อสร้างฐานตอม่อของโครงการ Missing Link เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของ สนข. ได้นำข้อมูลและความรู้ที่ได้จากการดูงานครั้งนี้ไปประยุกต์ในการทำงานต่อไป



นายสราวุธ  กล่าวต่อว่า โดยเฉพาะเรื่องพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์คมนาคมพหลโยธิน อาจนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะปัจจุบัน สนข. อยู่ระหว่างศึกษา แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development หรือ TOD) เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ การออกแบบและหาพื้นที่เหมาะสม การดูงาน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาดูงานครั้งนี้พบว่า บริเวณสถานีกลางบางซื่อที่มีจุดทางเข้าทั้งหมด 3 แห่ง และ จุดทางออก 4 แห่ง โดยบริเวณดังกล่าวมีทั้งทางถนนและทางด่วน อนาคตเมื่อเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อบางส่วนในปี 64 เพื่อรองรับประชาชนที่มาใช้รถไฟฟ้าชายเมืองสายสีแดง รวมทั้งภายในสถานีกลางบางซื่อจะมีการให้บริการรถโดยสารรับส่งประชาชนภายในสถานี ทำให้มีประชาชนมีการเดินทางเข้าออกสถานีกลางบางซื่อจำนวนมาก

นายสราวุธ  กล่าวอีกว่า  ในส่วนนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) ต้องพิจารณาร่วมกันถึงมาตรการและแนวทางจัดจราจรการเข้า-ออกสถานีกลางบางซื่อ เพื่อให้มีความสะดวกและปลอดภัย โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการจราจรในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สัปดาห์หน้าจะลงพื้นที่ดูงานที่สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง หรือ ไอซีดี ลาดกระบังด้วย เพื่อนำมาพัฒนาในโครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค ที่ สนข. กำลังศึกษาอยู่ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/12/2018 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางรถไฟแห่งใหม่ของไทย
Render Thailand
Published on Dec 20, 2018
สถานีกลางบางซื่อ สถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของไทย
อยู่ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ออกแบบให้รอบรับรถไฟความเร็วสูงทุกสาย
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถไฟทางไกล

มีชานชาลาทั้งหมด 24 ชานชาลา
ชานชาลาชั้นสามมี 12 ชานชาลา รองรับรถไฟความเร็วสูง
ชานชาลาชั้นสองมี 12 ชานชาลา รองรับรถไฟทางไกลและรถไฟฟ้าสายสีแดง
ชั้นหนึ่งเป็นห้องจำหน่ายตั๋ว พื้นที่พักคอย และร้านค้า
ที่ชั้นใต้ดินสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน

สถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีต้นทางแห่งใหม่แทนสถานีกรุงเทพ(หัวลำโพง)
กำหนดเปิดให้บริการต้นปี 2564

------------------------------------------------------------------

วิดีโองานก่อสร้างสถานีถ่ายเมื่อเดือนตุลาคม 2561
ป้ายบอกทางภายในสถานีกลางบางซื่ออ้างอิงข้อมูลจากแบบเก่า คาดว่าปัจจุบันมีการปรับรูปแบบป้าย


https://www.youtube.com/watch?v=jME5hO8cV58
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2019 10:34 am    Post subject: Reply with quote

เปิดโมเดลจ้างเอกชนบริหารสถานีบางซื่อ -รฟท.แยกร้านค้าเปิดประมูลตรง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 06:06



รฟท.เร่งสรุปการศึกษาบริหารพื้นที่ภายในสถานีกลางบางซื่อ วางโมเดล จ้างเอกชนบริหารพื้นที่ดูแล ความสะอาด ความปลอดภัย ส่วนพื้นที่ร้านค้า เชิงพาณิชย์ รฟท.แยกสัญญาประมูลเอง “วรวุฒิ”เผยให้สัมปทานเอกชนคุมเบ็ดเสร็จไม่คุ้มค่า ส่วนบ.ลูกสีแดงรับ10สถานีหารายได้

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟท.อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมด้านธุรกิจและการลงทุน ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ เพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดงในต้นปี 2564 โดยได้ว่าจ้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษา ซึ่งได้มีการส่งรายงานความคืบหน้าการศึกษาบางส่วนแล้ว ส่วนผลการศึกษาสมบูรณ์ จะแล้วเสร็จใน 2 เดือนนี้ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการจัดทำร่างทีโออาร์ ต่อไป

ทั้งนี้ หลักการบริหารพื้นที่ของสถานีกลางบางซื่อ เพื่อรองรับผู้ใช้บริการรถไฟสายสีแดงนั้น รฟท. จะคัดเลือกเอกชนโดยทำสัญญาในลักษณะจ้างบริหารตามสัญญา (Management Contract) เช่น บริหารงาน ด้านความสะอาด การรักษาความปลอดภัย ด้านประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งรฟท. จะตั้งใช้งบประมาณประจำปีสำหรับจ่ายค่าจ้าง ซึ่งไม่เกี่ยวกับพื้นที่ร้านค้า พื้นที่หรือกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ที่จะเป็นส่วนทีสามารถสร้างรายได้

โดยในส่วนของร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานีกลางบางซื่อ รฟท.จะแยกประมูลต่างหาก โดยคาดว่าจะแบ่งเป็นกลุ่มงาน เช่น สัญญาพื้นที่ร้านค้า สัญญาป้ายโฆษณา เป็นต้น เนื่องจากในตัวสถานีจะมีพื้นที่สำหรับเชิงพาณิชย์ไม่มากนัก และคาดว่าจะไม่ได้สร้างรายได้ให้มากนัก ดังนั้นการเปิดประมูลให้สัมปทานเอกชนเข้ามาจะไม่คุ้มค่า

“รฟท.จะเป็นผู้บริหาร พื้นที่ของสถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมืองและสถานีรังสิตเอง โดยจะนำร่องที่สถานีบางซื่อก่อน แต่ไม่ใช่รูปแบบสัมปทานพัฒนาพื้นที่ในสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่สถานีบางซื่อใช้ สำหรับการให้บริการเดินรถค่อนข้างมาก ส่วนบริษัทลูก รถไฟสายสีแดง จะเป็นผู้บริหารอีก 10 สถานีตามแนวสายสีแดง ซึ่งยอมรับว่า รายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามแนวสถานี ไม่มากนัก โดยคาดว่า รถไฟสายสีแดงจะมีรายได้จากค่าโดยสารมากกว่า”นายวรวุฒิกล่าว

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้จำนวนผู้โดยสารเป็นไปตามคาดการณ์ รฟท.จะต้องเร่งวางแผนในการจัดทำระบบเชื่อมต่อ หรือ ฟีดเดอร์เพื่อให้การเดินทางเข้าสู่สถานีรถไฟสายสีแดง ทุกๆ สถานีมีความสะดวกในหลายๆรูปแบบ เพื่อจูงใจให้ประชาชนใช้บริการ

ส่วนบริษัทลูก สายสีแดงอยู่ในขั้นตอนการเสนอขออนุมัติ เพื่อจัดตั้ง โดยจะโอนพนักงานจากบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ที่มีประมาณ 400 คน และรับเพิ่มเพื่อให้ครบตามที่ต้องการประมาณ 700 คน

ส่วนผู้บริหาร หรือซีอีโอของบริษัทลูกสายสีแดง จะมีการสรรหาโดยคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท.จะพิจารณาการสรรหา โดยมีคณะกรรมการสรรหาฯ กำหนดเกณฑ์คุณสมบัติให้สอดคล้องกับภารกิจของสายสีแดงต่อไป เนื่องจากสายสีแดงมีสเกลและขอบเขตการทำงานที่ใหญ่กว่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ส่วนซีอีโอของ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด จะเป็นตัวเลือกที่จะเข้ารับการสรรหาได้

สำหรับสถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบราง เป็นสถานีชุมทางของรถไฟทางไกล ระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง แอร์พอร์ตเรลลิงก์ และรถไฟความเร็วสูง อาคาร กว้าง 244 เมตร ยาว 596.6 เมตร สูงประมาณ 43 เมตรมีพื้นที่ใช้สอย 3 แสน ตร.ม. รูปแบบสถานีมี 4 ชั้น โดยชั้นใต้ดิน เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน

ชั้น 1 เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว พื้นที่พักคอยผู้โดยสาร เขตร้านค้า พื้นที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และจุดเชื่อมต่อรถโดยสาร ขสมก. และ บขส. ชั้น 2และชั้น 3 เป็นชานชาลาของรถไฟสายต่างๆ รวมทั้งหมด 24 ชานชาลาเป็นชั้นชานชาลารถไฟชานเมืองสายสีแดง จำนวน 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกลทุกเส้นทาง จำนวน 8 ชานชาลา และชั้น 3 เป็นชั้นชานชาลารถไฟความเร็วสูงทุกเส้นทาง จำนวน 10 ชานชาลา และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ จำนวน 2 ชานชาลา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2019 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

จี้รฟท.แจงแผนสมาร์ทซิตี ศูนย์พหลฯ-สถานีกลางบางซื่อรับเมืองอัจฉริยะ
ออนไลน์เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,442 วันที่ 7 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 หน้า 27




สภา กทม. เรียก ร.ฟ.ท. ชำแหละพื้นที่ศูนย์พหลโยธินและสถานีกลางบางซื่อเสนอแผนพัฒนาเป็นพื้นที่สมาร์ทซิตีเพื่อรองรับการพัฒนาเมืองและฮับระบบรางให้สอดคล้องแผนพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบ

พล.ต.ต.ประสพโชค พร้อมมูล ประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางพัฒนาให้กรุงเทพ มหานครเป็นเมืองอัจฉริยะ สภากรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการวิสามัญศึกษาแนวทางการพัฒนาให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองอัจฉริยะ(สมาร์ทซิตี) ครั้งที่ 4/2562 ได้เชิญหน่วยงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัท กรุงเทพพัฒนาเมือง จำกัด ผู้แทนเขตต่างๆ ในกรุงเทพฯ อาทิ เขตสัมพันธวงศ์ บางรัก สาทร คลองเตย วัฒนา เข้าร่วมหารือแนวทางและแผนการพัฒนาในแต่ละพื้นที่


พล.ต.ต.ประสพโชค พร้อมมูล



นอกจากแต่ละเขตพื้นที่ของกทม.แล้วทางสภากทม.ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ทั้ง 2,300 ไร่ในศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ซึ่งมีพื้นที่สถานีกลางบางซื่อของร.ฟ.ท.รวมอยู่ด้วยนั้นว่ามีแผนการพัฒนาไว้อย่างไรบ้าง ทำให้ทราบว่าพื้นที่สถานีกลางบางซื่อร.ฟ.ท.ได้แบ่งออกเป็น แปลง A B C D ชัดเจน โดยจะนำพื้นที่แปลง A เปิดให้มีการร่วมทุนภายในปีนี้ หลังจากนั้นจะทยอยพัฒนาแต่ละแปลงต่อเนื่องกันไป

สำหรับแปลง C ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของบริษัท ขนส่ง จำกัด ใช้บริการจะมีการขยับพื้นที่และลดขนาดพื้นที่ลงเหลือประมาณ 16 ไร่จากปัจจุบันประมาณ 70 ไร่ ส่วนแปลง D ซึ่งเป็นพื้นที่พวงรางในขณะนี้นั้นอยู่ระหว่างการปรับพื้นที่ เช่นเดียวกับแปลง B




“ให้ร.ฟ.ท.มานำเสนอแผนว่ามียุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ศูนย์พหลโยธินและสถานีกลางบางซื่อว่ามีการดำเนินงานอย่างไรบ้าง ที่ในอนาคตจะเป็นฮับการเดินทาง มีผู้ใช้บริการเฉลี่ย 8 แสนคนต่อวัน โดยต้องการให้เกิดการเชื่อมโยง ทั้งระบบล้อ ราง เรือ ให้สอดคล้องกัน ตลอดจนระบบขยะ นํ้าเสีย จะดำเนินการอย่างไรบ้าง เช่นเดียวกับระบบความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างสอดประสานกันได้อย่างลงตัว ไม่เว้นแม้กระทั่งระบบอัจฉริยะทั้งอี-คอมเมิร์ซหรืออี-เพย์เมนต์ที่จะต้องนำมาใช้ในพื้นที่แห่งนี้”




สำหรับการพัฒนาสมาร์ทซิตีของกทม.นั้นสภากทม.มีแผนดำเนินการทั้ง 20 เขต โดยได้เลือก 5 เขตมาหารือร่วมกันก่อนในครั้งนี้ ร่วมกับทางสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯและร.ฟ.ท. เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกันด้านการพัฒนาเมืองอย่างสอดคล้องกัน นอกจากนั้นยังต้องประสานงานด้านการใช้งานแอพพลิเคชันของภาคเอกชน ร่วมกับหน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงิน อาทิ ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. เพื่ออำนวยความสะดวกให้กลุ่มสมาร์ทซิตีตลอดจนผู้ค้าขายในพื้นที่ของกทม.เกิดความสะดวกในการใช้บริการระบบอัจฉริยะด้านต่างๆเช่นอี-เพย์เมนต์ อี-คอมเมิรซ์ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2019 12:48 am    Post subject: Reply with quote

เดินหน้าประเทศไทย : สถานีกลางบางซื่อ
Post dated: วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 18:46 น.
ติดตามผลการพัฒนาระบบขนส่งทางบก ราง น้ำ อากาศ ที่รัฐได้เร่งลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น สร้างมอเตอร์เวย์ 3 สาย ขยายถนน 4 ช่อง 1,050 กม. เพิ่มเส้นทางรถไฟจาก 359 กม. เป็น 3,531 กม. รถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทางและเชื่อม 3 สนามบิน พัฒนาสนามบินและท่าเรือน้ำลึกทั่วประเทศ ติดตามในรายการเดินหน้าประเทศไทยสร้างไทยไปด้วยกัน เสาร์นี้
https://www.bugaboo.tv/watch/428352
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2019 6:40 pm    Post subject: Reply with quote

“สถานีกลางบางซื่อ” คืบหน้าแล้วกว่า 77% เร่งเดินหน้าเชื่อมระบบถนน - ราง พลิกโฉมประเทศไทย
ไทยคู่ฟ้า
25 กุมภาพันธ์ 2562

ปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศไทยมีการขยายตัวต่อเนื่อง เกิดการพัฒนาทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการบริการ ดังนั้น การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อรองรับความเจริญเติบโตของเมือง รวมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายการเดินทางและขนส่งทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านแบบ “ไร้รอยต่อ”

ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน (Phaholyothin Transport Center) โดยเฉพาะ “สถานีกลางบางซื่อ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยปี 2558 - 2565 ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จะกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางของประเทศ เชื่อมโยงทั้งระบบถนนและระบบราง เป็นสถานีต้นทางของรถไฟทางไกลและรถไฟความเร็วสูงไปทั่วประเทศแทนสถานีหัวลำโพง

เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายไปสู่รถไฟฟ้าชานเมืองรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าบีทีเอส รวมทั้งเชื่อมโยงกับแอร์พอร์ตเรียลลิงค์ไปสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง

นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน เช่น กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม สิงคโปร์ รวมทั้งไปไกลถึงจีน ยุโรป และตะวันออกกลางในอนาคต

สถานีกลางบางซื่อมีอาคารยาว 660 เมตร ซึ่งถือว่ายาวที่สุดในประเทศ จะถูกยกระดับให้เป็น “แกรนด์ สเตชั่น” หรือสถานีด้านการคมนาคม คล้ายกับโตเกียวสเตชั่นของญี่ปุ่น หรือคล้ายกับไทเป เมน สเตชั่นของไต้หวัน มีทั้งหมด 4 ชั้น ประกอบด้วย
• ชั้นใต้ดิน - เป็นลานจอดรถที่สามารถรองรับได้ 1,700 คัน
• ชั้น 1 - เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว พื้นที่พักคอย เขตร้านค้า และจุดเชื่อมต่อรถโดยสารขสมก. และ บขส.
• ชั้น 2 – เป็นชานชาลาของรถไฟสายต่าง ๆ รวมทั้งหมด 24 ชานชาลา เป็นชั้นชานชาลารถไฟชานเมืองสายสีแดง จำนวน 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกลทุกเส้นทาง จำนวน 8 ชานชาลา
• ชั้น 3 - เป็นชั้นชานชาลารถไฟความเร็วสูงทุกเส้นทาง จำนวน 10 ชานชาลา และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ จำนวน 2 ชานชาลา

โครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ที่จะมาเชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อมีหลายเส้นทาง เช่น
• รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ - ท่าพระ
• รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ – รังสิต
• รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
• รถไฟฟ้า Airport Rail Link ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท - บางซื่อ
• รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา)

ขณะนี้การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 77.37 โดยเฉพาะงานก่อสร้างตัวสถานีและศูนย์ซ่อมบำรุง และอยู่ระหว่างการเก็บรายละเอียด เช่น ปูหินแกรนิต ติดกระจก และตกแต่งภายใน ส่วนงานก่อสร้างทางรถไฟฟ้าเสร็จเกือบสมบูรณ์ และกำลังเร่งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ซึ่งทั้งหมดจะเรียบร้อยและเปิดให้บริการได้ในปี 2563

นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบเป็น Smart Business Complex สร้างธุรกิจใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น และยังช่วยกระจายความเจริญออกไปยังพื้นที่นอกเมืองมากขึ้น เช่น เชียงราก และรังสิต ส่วนพื้นที่เดิมอย่างหัวลำโพงจะกลายเป็นเขตเมืองเก่าและพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของประชาชน

จากความมุ่งมั่นในการพัฒนาด้านระบบโลจิสติกส์ของประเทศตลอด 4 ปีที่ผ่านมา จึงทำให้ธนาคารโลกจัดอันดับให้ไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านโลจิสติกส์สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน อันดับ 9 ของเอเชีย และอันดับ 32 ของโลก เมื่อปี 2561 นับว่าดีขึ้นถึง 13 อันดับจากปีก่อนหน้า

ซึ่งจะช่วยพลิกโฉมประเทศไทยภายใน 5 ปีนี้อีกด้วย...
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2177834545596812&set=a.1950409178339351&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 63, 64, 65  Next
Page 6 of 65

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©