Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311279
ทั่วไป:13261255
ทั้งหมด:13572534
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 88, 89, 90 ... 100, 101, 102  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/02/2022 1:29 pm    Post subject: Reply with quote

'บิ๊กตู่'ชี้ปมรถไฟฟ้าสายสีเขียวจำเป็นต้องพิจารณา เพื่อประโยชน์ปชช.-ประเทศ
แนวหน้า วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 13.04 น.

"บิ๊กตู่"ชี้ปมรถไฟฟ้าสายสีเขียวจำเป็นต้องพิจารณา เพื่อประโยชน์ปชช.-ประเทศ ย้ำไม่เป็นปัญหาพรรคภูมิใจไทย

เมื่อเวลา 11.20 น.วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า เมื่อมีข้อสังเกตเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งทราบว่ามีการทำมาหลายครั้ง เมื่อทำมาเดี๋ยวก็ชี้แจงกลับไป และเมื่อเรียบเรียงพร้อมแล้วก็จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
    "มันจำเป็นต้องพิจารณา เพราะมันเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา มันไม่มีวิธีทางอื่นที่จะแก้ไขปัญหา เพราะปัญหามันเกิดขึ้นแล้ว มันมีหนี้สินและอะไรต่างๆ ที่จะเพิ่มขึ้นทุกวัน ที่ถือเป็นภาระของรัฐบาลเหมือนกัน ก็ต้องบอกกันตรงนี้ และถ้าพูดกันจริงๆ รถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเส้นแรกของประเทศไทยและมีการต่อขยายออกมา เพราะฉะนั้นการเป็นเส้นแรกมันก็อย่างว่า สมัยก่อนก็เป็นการลงทุนจากภาครัฐอย่างเดียว แต่ต่อมาก็จะมีในเรื่องของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ก็มีความซับซ้อนอยู่เล็กน้อย แต่ผมยืนยันไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ใครทั้งสิ้น ผลประโยชน์เพื่อประชาชนและประเทศชาติ ทำอย่างไรเราจะไม่เพิ่มภาระในเรื่องของหนี้สาธารณะ การบริการเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องทำ แต่ทั้งนี้ที่สุดก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของครม.ว่าจะออกมาอย่างไร ไม่ได้ขัดแย้งอะไรกันหรอก ทุกคนต่างก็มีความเห็น ผมก็ฟังได้ทุกคน แต่ทุกคนก็ต้องขึ้นอยู่กับเหตุและผล และข้อกฎหมายที่มีอยู่ และผมเองก็ต้องให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณาไม่ว่า จะเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกา หรืออัยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งทั้งหมดมีคำชี้แจงหมดแล้ว แต่จะทำได้หรือไม่ได้ก็ต้องรอดูต่อไป ปัญหามันเยอะอยู่แล้ว รัฐบาลพยายามแก้อยู่" นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า แล้วจะเป็นปัญหาหรือไม่ในเมื่อพรรคร่วมรัฐบาลอย่างพรรคภูมิใจไทยไม่เห็นด้วย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวยืนยันว่า "ไม่เป็นหรอก จะเป็นได้อย่างไร ถ้าเป็นอย่างนี้มันก็ไม่ใช่เรื่อง"

เมื่อถามว่า หากท้ายที่สุดพรรคภูมิใจไทยไม่เห็นด้วยแล้วจะเดินหน้าโครงการต่อไปอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ก็เป็นเรื่องของ ครม.ใครเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่ ถ้าเขาสามารถชี้แจงได้ในที่ประชุมแล้วที่ประชุมเห็นชอบก็เป็นเรื่องของการดำเนินการที่จะตัดสินใจร่วมกัน

เมื่อถามย้ำว่า ในการประชุม ครม.ข้างหน้าถ้ามติออกมาเป็นอย่างไรก็ถือเป็นมติใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็สุดแล้วแต่ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร เดี๋ยวก็เตรียมการอยู่ เรื่องนี้อย่าเพิ่งไปตอบตอนนี้เลย เดี๋ยวไปเพิ่มปัญหาขึ้นมาอีก ยืนยันว่ารัฐบาลพยามแก้ปัญหาทุกอย่าง ทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน และคุยกันอย่างวันที่ 8 ก.พ.ทุกคนก็รับรู้ถึงปัญหา แต่ว่าบางครั้งทุกคนไปพูดกันปลายทางเสียเยอะ ก็กลายเป็นว่าไปพูดเรื่องความขัดแย้งเสียเยอะ เราควรไปมองต้นทางว่าปัญหามันอยู่ที่ไหน มีอะไรเกิดขึ้นมาแล้วบ้าง จะแก้อย่างไรนั่นเป็นสิ่งที่ต้องทำและเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องทำเพราะเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล เมื่อถามว่า ยืนยันใช่หรือไม่ว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่มีปัญหาอะไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเสียงดังขนาดเดินออกจากโพเดียมว่า "โอ้ยไม่มีอะไรหรอก ไม่มีหรอก ถ้าเธอมายุ่งมันก็ไม่มีมั้ง"

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการประชุมคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 1/2565 พล.อ.ประยุทธ์ ได้หารือนอกรอบอย่างเคร่งเครียดเป็นเวลากว่า 20 นาที กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี , พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2022 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'บิ๊กตู่'ชี้ปมรถไฟฟ้าสายสีเขียวจำเป็นต้องพิจารณา เพื่อประโยชน์ปชช.-ประเทศ
แนวหน้า วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 13.04 น.


ฟังอีกมุมจากBTS!ปมร้อนฉ่า‘รถไฟฟ้าสายสีเขียว’ เตรียมฟ้องทวงหนี้อีก 2 หมื่นล้าน
วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 13.18 น.

9 กุมภาพันธ์ 2565 นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS กล่าวถึงกรณีการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวออกไปอีก 30 ปี ว่า เราเป็นบริษัทเอกชนมีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญา ตอนนี้มีสัญญาว่าจ้างให้เดินรถอยู่ เราได้ปฏิบัติตามสัญญาอย่างครบถ้วนมาโดยตลอด แม้ตอนนี้ยังไม่ได้รับการชำระเงินค่าจ้าง เรื่องของสัมปทานเป็นเรื่องที่บริษัทให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ปัญหาอย่างดีที่สุด หนี้มูลค่า 30,000 ล้านบาทที่เกิดขึ้นมาจากการให้บริการจริงกับประชาชน ทั้งการเดินรถและการติดตั้งระบบ




ทั้งนี้ การต่อสัมปทานเป็นเรื่องที่รัฐพยายามจะแก้ปัญหาหนี้ที่ กทม. รับภาระค่าก่อสร้างโยธามาจาก รฟม.มูลค่า 60,000 ล้านบาท และเรื่องค่าโดยสารที่จะให้เก็บค่าโดย สาร 65 บาทตลอดสาย จากหลักเกณฑ์เดิม คือ 158 บาทตลอดสาย ซึ่งรัฐพยายามแก้ไขปัญหาโดยเจรจากับทาง BTS การต่อสัญญาสัมปทานเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ในเรื่องของการเดินรถ ทางเราก็อยากให้รัฐบาลจัดการช่วยเหลือในเรื่องของหนี้สินที่ยังค้างอยู่ ตอนนี้มูลค่าเกือบ 40,000 ล้านบาทแล้ว เป็นภาระใหญ่สำหรับบริษัท เราไม่อยากให้เกิดผลกระทบกับประชาชน โดยพยายามเดินรถอย่างเต็มที่



“เราเป็นเอกชนจะเป็นอย่างไรก็ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะเอาอย่างไร จะให้เราเป็นผู้รับจ้างเดินรถต่อไปก็ไม่มีปัญหา ขอแค่ให้ชำระค่าจ้าง ส่วนที่จะใช้สัมปทานมาให้ BTS ช่วยลดภาระของประชาชน ภาระตรงนี้ค่อนข้างเยอะ มูลค่าหลายแสนล้าน ไม่ใช่แค่ 30,000-40,000 ล้านบาทอย่างที่พูดกันทั้งเรื่องหนี้สินที่ กทม.แบกรับแทน รฟม. ภาวะขาดทุนที่เกิดจากการเก็บค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย เป็นเวลา 10 ปี รวมทั้งภาระดอกเบี้ยเงินกู้ และ BTS ยังต้องแบ่งรายได้ให้ กทม.ตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี เป็นแสนล้านบาท โดยเราได้มีการทวงถามหนี้สินหลายครั้ง และเมื่อวันที่ 15 ก.ค.64 ได้ยื่นฟ้องทวงหนี้กทม.ในส่วนของค่าดำเนินการเดินรถ 12,000 ล้านบาท ขณะนี้เรากำลังเตรียมฟ้องทวงหนี้ในส่วนของค่าติดตั้งระบบเดินรถอีก 20,000 ล้านบาท” นายสุรพงษ์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2022 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคม ยืนยันความเห็น ในการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว
ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและภาครัฐ อย่างเหมาะสมเป็นธรรม

กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 18.04 น.

1. เงื่อนไขการจัดเก็บค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อ
ผลการเจรจาต่อรองผู้รับสัมปทาน ข้อ 4.4 กำหนดจะยกเว้นค่าแรกเข้าเฉพาะระบบเปลี่ยนถ่ายมาจากโครงการฯ ภายใต้ระบบตั๋วร่วมเท่านั้น โดยที่ระบบตั๋วร่วมจะต้องไม่มีการแก้ไขระบบที่ติดตั้งไว้เดิม ซึ่งไม่เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจำหน่ายทรัพย์สินและโอนภาระทางการเงิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ – คูคต (MOU) ของ รฟม. กับ กรุงเทพมหานครฯ เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2561 ข้อ 7 ที่กำหนดให้ กทม. รับทราบนโยบายของรัฐบาล เรื่องค่าแรกเข้าระบบ และระบบตั๋วร่วม โดยกรุงเทพมหานครฯ จะดำเนินการให้มีการยกเว้นค่าแรกเข้าระบบหรือค่าธรรมเนียมในลักษณะเดียวกัน หากผู้โดยสารเปลี่ยนถ่ายจากรถไฟฟ้าสายอื่นของ รฟม. โดยระบบโครงการรถไฟฟ้าที่ผู้โดยสารขึ้นลำดับแรกจะเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้าระบบ ดังนั้น การดำเนินงานเรื่องระบบตั๋วร่วม หากไม่มีการแก้ไขระบบที่ติดตั้งไว้เดิม จะไม่เกิดระบบตั๋วร่วมในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียว อาจทำให้เป็นข้อจำกัดที่จะยกเว้นค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อได้ โดยกระทรวงคมนาคม มีข้อกำหนดการจัดเก็บค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้า ดังนี้
- การกำหนดการจัดเก็บอัตราค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อของโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อเป็นเกณฑ์มาตฐานให้ผู้ให้บริการขนส่งทางรางนำไปใช้ในการจัดเก็บอัตราค่าแรกเข้าเมื่อการเดินทางเชื่อมต่อของโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
- ให้ผู้ให้บริการเดินรถจัดเก็บค่าโดยสารแรกเข้าเพียงครั้งเดียวไม่ว่าผู้โดยสารจะเดินทางรถไฟฟ้าเส้นทางเดียว หรือหลายเส้นทาง
- กรณีผู้ใช้บริการขนส่งทางรางเดินทางเปลี่ยนถ่ายระหว่างเส้นทางรถไฟฟ้าของผู้ให้บริการขนส่งทางราง ไม่ว่ากี่เส้นทางให้ผู้ใช้บริการเสียค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว
2. รายได้กรณีรัฐดำเนินการเอง
การใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรพิจารณาถึงการใช้สินทรัพย์ว่ารัฐควรได้ประโยชน์จากการขยายสัมปทานเป็นจำนวนเท่าไหร่ อย่างไร จนกว่าจะครบอายุสัญญา โดยคำนึงถึงค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้ใช้บริการเพื่อส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากรายงานการศึกษาแนวทางการดำเนินการและผลสรุปการเจรจาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว บทที่ 5 มีผลสรุปว่า
- กรณีรัฐดำเนินการเอง รวมปี 2562–2602 จะมีรายได้รวม 1,577,141 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย 1,109,312 ล้านบาท ทำให้มีกระแสเงินสดสุทธิ 467,822 ล้านบาท
- กรณีเอกชนดำเนินการ พบว่า ภาครัฐจะมีกระแสเงินสดสุทธิเพียง 32,690 ล้านบาท
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่ากรณีรัฐเป็นผู้จ้างเดินรถ จะทำให้รัฐมีกระแสเงินสดสุทธิมากกว่า กรณีให้เอกชนดำเนินการสูงถึง 435,132 ล้านบาท
3. การคิดอัตราค่าโดยสารไม่เป็นไปตาม MRT Assessment Standardization
การกำหนดค่าโดยสารสูงสุดที่ 65 บาท ตามร่างสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีเงื่อนไขจะเริ่มใช้หลังวันที่ 5 ธันวาคม 2572 ดังนั้น ช่วงระหว่างรอต่อสัญญาทำให้ปัจจุบัน การกำหนดค่าโดยสารตลอดสายอยู่ที่ 158 บาท แต่ กทม. มีการยกเว้นค่าแรกเข้า จึงคงเหลืออัตราค่าโดยสารที่ 104 บาท ปัจจุบันไทยใช้รูปแบบค่าโดยสารรถไฟฟ้าตามระยะทาง (Distance – Base Fare) ตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization ซึ่งค่าโดยสารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ค่าแรกเข้า และค่าโดยสารตามระยะทาง โดยใช้ดัชนี CPI non Food & Beverages ประกอบการคำนวณอัตราค่าแรกเข้า ทั้งนี้ โครงสร้างอัตราค่าโดยสารในปี 2563 จึงควรมีอัตราค่าแรกเข้าที่ 12 บาท และค่าโดยสารตามระยะทาง
2 บาท (โครงสร้างอัตราค่าโดยสาร คือ 12+2X) ในขณะที่ผลการเจรจาต่อรองผู้รับสัมปทาน ข้อ 4 กำหนดอัตราค่าโดยสารแรกเข้า 15 บาท
ค่าโดยสารต่อสถานี 3 บาท (โครงสร้างอัตราค่าโดยสาร คือ 15+3X) โดยใช้ Headline CPI หรือ ดัชนีราคาที่รวมสินค้าทุกหมวด ทำให้อัตราค่าโดยสารสูงกว่าการใช้ ดัชนี CPI : Non Food & Beverages เมื่อเปรียบเทียบรายได้ค่าโดยสารจากสูตร MRT Assessment Standardization และข้อเสนอของ BTS พบว่า ข้อเสนอของ BTS จะมีรายได้ค่าโดยสารมากกว่าแบบ MRT Assessment Standardization ประมาณ 4.6 แสนล้านบาท
ดังนั้น โครงสร้างอัตราค่าโดยสาร คือ 12+2X ของ MRT Assessment Standardization จะทำให้ผู้โดยสารจะได้รับประโยชน์จากค่าโดยสารที่ถูกลง และรัฐบาลจะสามารถช่วยลดค่าครองชีพ ให้ผู้โดยสารได้ปีละ 15,000 ล้านบาท
4. ข้อเสนอเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน
เนื่องจาก ร่างสัญญาสัมปทาน ไม่มีเงื่อนไขที่ระบุชัดเจนถึงมาตรการส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ รวมถึงมาตรการส่งเสริมการเดินทางด้วยบัตรโดยสารรายเดือนเพราะเป็นดุลพินิจของเอกชน โดยภาครัฐไม่มีส่วนในการกำกับดูแล ดังนั้น กทม. ควรมีมาตรการส่งเสริมการเดินทาง เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน และประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด


“คมนาคม” แจงยิบ! เหตุค้านสัญญาร่วมทุน ต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 18.10 น.

“คมนาคม” ตั้งโต๊ะแจงยิบเหตุคัดค้านสัญญาร่วมทุน ต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ชี้ กทม. ทำผิดข้อตกลง เผยหากรัฐดำเนินการเอง จะมีกระแสเงินสด 4.6 แสนล้าน ขณะที่ให้เอกชนดำเนินการรัฐจะมีกระแสเงินสดแค่ 3.2 หมื่นล้าน แฉคิดค่าโดยสารแบบ BTS ผู้โดยสารต้องควัก 158 บาท แถมไม่มีมาตรการลดค่าครองชีพ

เมื่อวันที่ 9 ก.พ. ที่กระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม แถลงข่าวกรณีการเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) เรื่อง ขอความเห็นชอบผลการเจรจาและเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า การเสนอความเห็นฯ ของกระทรวงคมนาคม ได้ยึดหลักความถูกต้อง และประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนพึงจะได้รับเป็นลำดับแรก โดยเฉพาะเรื่องอัตราค่าโดยสาร, การกำหนดเงื่อนไขการเข้าระบบตั๋วร่วมที่ครอบคลุมทุกโครงข่าย และความถูกต้อง ครบถ้วนของขั้นตอนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง



นายสรพงศ์ กล่าวต่อว่า ยืนยันว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ซึ่ง รฟม. อนุญาตให้กรุงเทพมหานคร(กทม.) เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่ทำร่วมกันไว้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงกรณีที่ กทม. ไปว่าจ้างเอกชนมาดำเนินการ ดังนั้น รฟม. จึงไม่รับทราบหนี้สินของ กทม.ในส่วนที่ไปว่าจ้างบริษัทเอกชนดำเนินการ

ด้านนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) กล่าวว่า เหตุผลที่กระทรวงคมนาคมเห็นว่าผลการเจรจา และร่างสัญญาที่ กทม.เสนอ ครม. ยังไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและราชการ มีดังนี้
1.เงื่อนไขการจัดเก็บค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อ ในร่างสัญญาฯ จะยกเว้นค่าแรกเข้าเฉพาะระบบเปลี่ยนถ่ายมาจากโครงการฯ ภายใต้ระบบตั๋วร่วมเท่านั้น โดยที่ระบบตั๋วร่วมต้องไม่มีการแก้ไขระบบที่ติดตั้ง ไว้เดิม ซึ่งไม่เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจำหน่ายทรัพย์สินและโอนภาระทางการเงิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวฯ ของ รฟม. กับ กทม. ที่กำหนดให้ กทม. ยกเว้นค่าแรกเข้าระบบ หรือค่าธรรมเนียม หากผู้โดยสารเปลี่ยนถ่ายจากรถไฟฟ้าสายอื่นของ รฟม. โดยระบบรถไฟฟ้าที่ผู้โดยสารขึ้นลำดับแรกจะเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้าระบบ


นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า
2.รายได้กรณีรัฐดำเนินการเอง จากรายงานการศึกษาแนวทางการดำเนินการ และผลสรุปการเจรจาโครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียว บทที่ 5 มีผลสรุปว่า กรณีรัฐดำเนินการเอง ปี 2562–2602 จะมีรายได้รวม 1,577,141 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย 1,109,312 ล้านบาท ทำให้มีกระแสเงินสดสุทธิ 467,822 ล้านบาท กรณีเอกชนดำเนินการ พบว่า ภาครัฐจะมีกระแสเงินสดสุทธิเพียง 32,690 ล้านบาท ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ากรณีรัฐเป็นผู้จ้างเดินรถ จะทำให้รัฐมีกระแสเงินสดสุทธิมากกว่า กรณีให้เอกชนดำเนินการสูงถึง 435,132 ล้านบาท


นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า 3.การคิดอัตราค่าโดยสารไม่เป็นไปตาม MRT Assessment Standardization การกำหนดค่าโดยสารสูงสุดที่ 65 บาท โดยตามร่างสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีเงื่อนไขจะเริ่มใช้หลังวันที่ 5 ธ.ค.72 ดังนั้นช่วงระหว่างรอต่อสัญญาทำให้ปัจจุบันค่าโดยสารตลอดสายอยู่ที่ 158 บาท แต่ กทม. มีการยกเว้นค่าแรกเข้า จึงเหลือค่าโดยสารที่ 104 บาท ทั้งนี้ปัจจุบันไทยใช้รูปแบบค่าโดยสารรถไฟฟ้าตามระยะทาง ตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบรายได้ค่าโดยสารจากสูตร MRT และข้อเสนอของ BTS พบว่า ข้อเสนอของ BTS มีรายได้ค่าโดยสารมากกว่าแบบ MRT ประมาณ 4.6 แสนล้านบาท ดังนั้นการคิดค่าโดยสารแบบ MRT Assessment Standardization จะทำให้ผู้โดยสารได้รับประโยชน์จากค่าโดยสารที่ถูกลง และรัฐบาลช่วยลดค่าครองชีพ ให้ผู้โดยสารได้ปีละ 1.5 หมื่นล้านบาท และ 4.ในร่างสัญญาฯ ไม่มีเงื่อนไขที่ระบุชัดในการลดค่าครองชีพให้ประชาชน

ขณะที่นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า ปัจจุบัน รฟม. ยังไม่สามารถโอนหนี้สินจากการก่อสร้าง ช่วงหมอชิต-คูคต ให้แก่ กทม. เนื่องจากยังไม่สามารถสรุปรายละเอียดด้านการเงิน ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ทำให้ไม่สามารถโอนโครงการได้ และที่ผ่านมาได้ดำเนินการติดตามการจัดทำรายละเอียดเป็นหนังสือถึง กทม. เป็นระยะ แต่ยังคงไม่ได้รับคำตอบ อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กทม. จะพิจารณาทบทวนการดำเนินการ โดยมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนและภาครัฐพึงได้รับจากการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งระบบ โดยดำเนินการให้ครบถ้วน ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ มติ ครม.และหลักธรรมาภิบาล ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดต่อไป.

คมนาคมตั้งโต๊ะแฉแหลก! เหตุต้านขยายสัญญาบีทีเอส
*รัฐบาลดูแลรถไฟฟ้าสีเขียวเองมีรายได้ 1.5ล้านล้าน
*เงินสดพุ่ง4.6แสนล้านให้เอกชนได้แค่3.2หมื่นล้าน
*คิดค่าโดยสารแบบBTSปชช.เสียเปรียบจ่ายเกินจริง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3108163039405193
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2022 6:25 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'บิ๊กตู่'ชี้ปมรถไฟฟ้าสายสีเขียวจำเป็นต้องพิจารณา เพื่อประโยชน์ปชช.-ประเทศ
แนวหน้า วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 13.04 น.

สายสีเขียวจบไม่ได้ ไปต่อไม่เป็นวันนี้ก็เพราะเสือเงียบ! อนุพงษ์ เผ่าจินดา และ กทม.!! ** เมื่อคลื่นการเมืองถาโถม “3 ลุง” ต้องหันหน้ามาจูบปากโชว์อีกรอบ
ข่าวปนคน คนปนข่าว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 04:30 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 04:30 น.


**สายสีเขียวจบไม่ได้ ไปต่อไม่เป็นวันนี้ก็เพราะเสือเงียบ! อนุพงษ์ เผ่าจินดา และ กทม.!!

ปรากฏการณ์ “บอยคอต” ด้วยการลาประชุม ครม.ของ 7 รัฐมนตรี นำโดย “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม ในฐานะหัวหน้า และ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย เพื่อคัดค้านวาระพิจารณา ขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอส) ต้องเรียกว่า เป็นเรื่องสำคัญที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันไปทั่วบ้านทั่วเมือง

เรื่องนี้ยืดเยื้อกันมานาน มหาดไทย โดย “พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา” มท.1 พยายามผลักดันเข้า ครม.หลายครั้ง กระทั่งล่าสุดสบช่องการเมืองวุ่นวายก็ชงมา นายกฯพยักหน้าเอาเข้า ครม. ก็เชื่อว่าจะได้รับไฟเขียวผ่านตลอด จบๆ กันไปซะที แต่ที่ไหนได้ พรรคภูมิใจไทย ที่กำกับดูแล คมนาคม ยืนยันไม่ขอร่วม “สังฆกรรม” แบบเอาชีวิตเข้าแลก ด้วยเหตุผลอธิบายในหนังสือ “ความเห็น” ว่าไม่เห็นด้วยชัดเจน

แน่นอน พรรคภูมิใจไทย มีสิทธิ์ที่จะไม่เห็นด้วย โดยประเด็นหลัก ตั้งข้อสังเกตให้มหาดไทย และ กทม.พิจารณาไปแล้วหลายครั้ง แต่ก็กลับมาแบบ “ตีมึน” เมินเฉย ไม่สนใจทุกที

ว่ากันว่า คมนาคมเสนอไปก่อนหน้านี้ 4 ประเด็น มาครั้งล่าสุดเสนอเพิ่มเติมไปอีก 2 โดยเฉพาะ ข้อสังเกตที่สุ่มเสี่ยง “ผิดกฎหมาย” และราคาค่าโดยสารที่สูงเกินไป ไม่มีหลักในการคำนวณ อีกทั้ง กทม.ติดหนี้ รฟม. ที่ยังไม่มีทีท่าจะจ่ายชำระคืนกว่า 5.5 หมื่นล้าน ก็ไม่มีการตอบสนองจาก ทั้ง มหาดไทย และ กทม.

ว่ากันตรงๆ ที่พรรคภูมิใจไทยให้ กทม. ตอบคำถาม และจี้ให้ทำตามมติ ครม. กฎหมาย ระเบียบ ให้ครบถ้วน เหตุที่ต้องถามหลายครั้ง เพราะ กทม. ส่งข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. กฎหมาย ระเบียบ ให้ครบถ้วน จึงไม่สามารถสรุปเรื่องได้
คำถาม คือ ทำไม กทม.กับมหาดไทย จึงไม่ชี้แจงให้สิ้นสงสัย ?

พูดง่ายๆ ว่า ทั้ง “มหาดไทย และ กทม.” หลับหูหลับตาคิดแต่จะลุยถั่วมั่วต่อสัมปทานถ่ายเดียว โดยไม่ฟังเสียงใคร ไม่สนธรรมาภิบาล หรือตอบคำถามชาว กทม.

ขณะเดียวกัน “พล.อ.อนุพงษ์” ที่ดูแลมหาดไทย ก็เพิ่งจะประกาศว่ากำลังจะเตรียมการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ราวกลางปีนี้ ทำให้สงสัยกันว่า เรื่องนี้เร่งรีบอย่างมีเงื่อนงำหรือไม่ ทำไมไม่รอให้ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่เข้ามาดู ในเมื่อสัมปทานต้องผูกพันไปอีก 40 ปี ด้วยมูลค่าที่ว่ากัน 4 แสนล้าน ผลประโยชน์และความโปร่งใส ควรที่จะต้องทำออกมาให้รอบคอบ ตอบได้ทุกคำถาม มากกว่าที่จะถูกมองว่า “ทิ้งทวน”!!

เรื่องนี้ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับเอกชน ซึ่งก็คือ BTS ในแง่ของธุรกิจย่อมต้องการแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุน ที่ผ่านมาก็ดิ้นสู้ฟัดเพื่อปกป้องรักษาสิทธิ์ของตัวเอง เป็นเรื่องธรรมดา


แว่วว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมาถึงจุดที่เจ้าของเริ่มมองไม่เห็น “ความคุ้มค่า” ในการลงทุนแถมยังบอบช้ำจากภาระหนี้ ที่ กทม.ไม่ยอมจ่ายนับหมื่นล้าน จนต้องขึ้นป้ายทวงหนี้ออกสื่อ
งานนี้ได้ไม่คุ้มเสีย สำหรับเจ้าสัวจริงๆ!
มิหนำซ้ำ ผลกระทบเที่ยวล่านี้ ยังลามไปถึงราคาหุ้น ทั้ง BTS และในเครือกอดคอกันร่วง เพราะถูกลากเข้าไปในเกมลุยถั่วของ มหาดไทย และ กทม.

“พล.อ.อนุพงษ์” และ “พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” ผู้ว่าฯ กทม. เป็นสองคนที่รู้เรื่องนี้ดีที่สุดมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่อยู่ในช่วงรัฐบาล คสช.มาด้วยกัน เกือบๆ 8 ปี ที่อยู่ในตำแหน่ง ทำอะไรอยู่ ? ข้อสังเกตที่คมนาคมโดยพรรคภูมิใจไทย มองกันลึกลงไปเป็นเรื่องที่ต้องทำ แต่ทำไมกลับไม่ทำ เป็นเรื่องที่หาคำอธิบายกันไม่ได้

เมื่อสุดท้ายใน ครม.ยกขึ้นมาพิจารณา มีถกเถียงกันพอหอมปากหอมคอ เห็นว่า มีรัฐมนตรีพรรคร่วมบางพรรค ฉวยโอกาส “เอาดีใส่ตัว โยนชั่วให้คนอื่น” ตามบทถนัด ก่อนที่ “ลุงตู่” จะหน้าเขียว โบกมือให้รถไฟฟ้าสายร้อนตีกลับ ให้มหาดไทยไปดำเนินการเจรจากับคมนาคมเพิ่มเติม

มีเบื้องลึกใน ครม.น่าสนใจว่า ทำไม ครม.จึงไม่ลงมติ เพราะเป็นเสียงข้างมากในที่ประชุมอยู่แล้ว

เป็นไปได้ที่ ครม.ไม่มั่นใจ หรือ “ลุงตู่” พอจะมองออกว่า มหาดไทยเสนอมานั่นถูกต้องแล้วหรือ? และมหาดไทย ก็ยอมถอนเรื่องกลับไปเอง เพื่อตอบคำถามที่คมนาคม ตั้งประเด็นไว้ ให้ครบถ้วน


งานนี้ หลังเลิกประชุม ครม. “พล.อ.อนุพงษ์” หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะตอบคำถามสื่อ ต้องอ้อมๆ แอ้มๆ รักษาหน้าตาตัวเอง และนายกฯน้องตู่ ไปทำนองว่า สงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหาร การนี้แค่ “ไอ้เสือถอย” ไม่ใช่ถอนวาระ แต่จะกลับไปคุยกับคมนาคมเพิ่มเติม และจะกลับมานำเสนอใหม่อีกครั้ง

คำถามก็ยังคงมีต่อว่า ประเด็นที่มหาดไทยจะหารือกับคมนาคม คืออะไร โดยท่าทีของ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม ยืนกรานว่า หากมหาดไทยไม่ดำเนินการตามข้อสังเกต หรือทำให้ถูกต้องตามระเบียบขั้นตอนของกฎหมาย ก็อย่าหมายว่า พรรคภูมิใจไทยจะสนับสนุน เสนอเข้าวาระเมื่อไหร่ ก็ไม่ร่วมสังฆกรรมเหมือนเดิม เพราะเรื่องนี้หากลุยถั่ว ไม่ทำให้ถูกต้อง จะเป็นผลทางกฎหมายทันที

ถามว่า เมื่องัดกันขนาดนี้ สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว มาถึงตรงนี้จะไปต่อหรือพอแค่นี้ ก็คงต้องติดตามกันต่อไป
แต่ที่แน่ๆ ทั้ง “บิ๊กป๊อก” เจ้าของฉายา “เสีอเงียบ” มท.1 และ “พล.ต.อ.อัศวิน” ผู้ว่าฯ กทม.ย่อมรู้แก่ใจ ความวุ่นวายของสายสีเขียวทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้น เพราะใคร?
"บิ๊กตู่"ลั่นไม่มีขัดแย้ง"ภูมิใจไทย"ปมรถไฟฟ้าสายสีเขียว มติอยู่ที่ ครม.ตัดสินใจร่วมกัน ยันทำเพื่อ ปชช.ประเทศชาติ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 13:06 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 13:06 น.

"บิ๊กตู่"ลั่นไม่มีขัดแย้ง "ภูมิใจไทย" ชี้ ปมปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวอยู่ที่มติครม.ตัดสินใจร่วมกัน ยันไม่มีผลประโยชน์ใครทั้งสิ้น แต่เพื่อประชาชน-ประเทศชาติ
วันนี้ (9 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.20 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า เมื่อมีข้อสังเกตเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งทราบว่ามีการทำมาหลายครั้ง เมื่อทำมาเดี๋ยวก็ชี้แจงกลับไป และเมื่อเรียบเรียงพร้อมแล้วก็จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
“มันจำเป็นต้องพิจารณา เพราะมันเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา มันไม่มีวิธีทางอื่นที่จะแก้ไขปัญหา เพราะปัญหามันเกิดขึ้นแล้ว มันมีหนี้สินและอะไรต่างๆที่จะเพิ่มขึ้นทุกวัน ที่ถือเป็นภาระของรัฐบาลเหมือนกัน ก็ต้องบอกกันตรงนี้ และถ้าพูดกันจริงๆรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเส้นแรกของประเทศไทยและมีการต่อขยายออกมา เพราะฉะนั้นการเป็นเส้นแรกมันก็อย่างว่า สมัยก่อนก็เป็นการลงทุนจากภาครัฐอย่างเดียว แต่ต่อมาก็จะมีในเรื่องของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ก็มีความซับซ้อนอยู่เล็กน้อย แต่ผมยืนยันไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ใครทั้งสิ้น ผลประโยชน์เพื่อประชาชนและประเทศชาติ ทำอย่างไรเราจะไม่เพิ่มภาระในเรื่องของหนี้สาธารณะ นั่นเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องทำ แต่ทั้งนี้ที่สุดก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของครม.ว่าจะออกมาอย่างไร ไม่ได้ขัดแย้งอะไรกันหรอก ทุกคนต่างก็มีความเห็น ผมก็ฟังได้ทุกคน แต่ทุกคนก็ต้องขึ้นอยู่กับเหตุและผล และข้อกฎหมายที่มีอยู่ และผมเองก็ต้องให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาหรืออัยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งทั้งหมดมีคำชี้แจงหมดแล้ว แต่จะทำได้หรือไม่ได้ก็ต้องรอดูต่อไป ปัญหามันเยอะอยู่แล้ว รัฐบาลพยายามแก้อยู่” นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า แล้วจะเป็นปัญหาหรือไม่ในเมื่อพรรคร่วมรัฐบาลอย่างพรรคภูมิใจไทยไม่เห็นด้วย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวยืนยันว่า ”ไม่เป็นหรอก จะเป็นได้อย่างไร ถ้าเป็นอย่างนี้มันก็ไม่ใช่เรื่อง”

เมื่อถามว่า หากท้ายที่สุดพรรคภูมิใจไทยไม่เห็นด้วยแล้วจะเดินหน้าโครงการต่อไปอย่างไร
นายกฯ กล่าวว่า ก็เป็นเรื่องของครม.ใครเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่ ถ้าเขาสามารถชี้แจงได้ในที่ประชุม แล้วที่ประชุมเห็นชอบก็เป็นเรื่องของการดำเนินการที่จะตัดสินใจร่วมกัน

เมื่อถามย้ำว่าในการประชุมครม.ครั้งหน้าถ้ามติออกมาเป็นอย่างไรก็ถือเป็นมติใช่หรือไม่ พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็สุดแล้วแต่ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร เดี๋ยวก็เตรียมการอยู่ เรื่องนี้อย่าเพิ่งไปตอบตอนนี้เลย เดี๋ยวไปเพิ่มปัญหาขึ้นมาอีก ยืนยันว่ารัฐบาลพยายามแก้ปัญหาทุกอย่าง ทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน และคุยกันเมื่อวันที่ 8 ก.พ. ทุกคนก็รับรู้ถึงปัญหา แต่ว่าบางครั้งทุกคนไปพูดกันปลายทางเสียเยอะ ก็กลายเป็นว่าไปพูดเรื่องความขัดแย้งเสียเยอะ เราควรไปมองต้นทางว่าปัญหามันอยู่ที่ไหน มีอะไรเกิดขึ้นมาแล้วบ้าง จะแก้อย่างไร นั่นเป็นสิ่งที่ต้องทำ รัฐบาลต้องทำ เพราะเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล เมื่อถามว่ายืนยันใช่หรือไม่ว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่มีปัญหาอะไรพล.อ.ประยุทธ์กล่าวเสียงดังขณะเดินออกจากโพเดียมว่า “โอ้ย ไม่มีอะไรหรอกๆ ถ้าเธอไม่ยุ่งมันก็ไม่มีมั้ง”
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการประชุมคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 1/2565 พล.อ.ประยุทธ์ ได้หารือนอกรอบอย่างเคร่งเครียดเป็นเวลากว่า 20 นาทีกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว. มหาดไทย และ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง

ภท.แถลงการณ์ยึดหลัก 3 ข้อถูกกม. ประโยชน์ของรัฐ ราคาเป็นธรรม พิจารณาสายสีเขียว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 16:59 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 16:59 น.

โฆษกภูมิใจไทย เผย ออกแถลงการณ์ ระบุ พรรคภูมิใจไทยยึดหลัก 3 ข้อพิจารณารถไฟฟ้าสายสีเขียว ถูกกฎหมาย - ประโยชน์ของรัฐ – ราคาเป็นธรรม

วันนี้ (9ก.พ.) นายภราดร ปริศนานันทกุล โฆษกพรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า พรรคภูมิใจไทย ออกแถลงการณ์เรื่อง พรรคภูมิใจไทยยึดหลัก 3 ข้อพิจารณารถไฟฟ้าสายสีเขียว ถูกกฎหมาย - ประโยชน์ของรัฐ – ราคาเป็นธรรม เพื่อชี้แจงกรณีที่รัฐมนตรี 7 คนของพรรคไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี เนื่องจากต้องการคัดค้านการแปลงสัญญาสัมปทาน เป็นสัญญาร่วมลงทุน โดยมีเนื้องหาว่า

พรรคภูมิใจไทย เป็นพรรคร่วมรัฐบาล มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล และเป็นผู้บังคับบัญชา การไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี เป็นไปตามที่ได้เคยแสดงเจตนารมณ์กับนายกรัฐมนตรี ไว้แล้วว่า หากมีการนำวาระนี้ เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย จะขอสงวนสิทธิ แสดงความเห็นคัดค้าน ในส่วนที่กระทรวงคมนาคม ชี้ประเด็นว่า แนวทางที่กทม. เสนอมา จะส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของรัฐ และประชาชน

การไม่เข้าประชุม เป็นแนวทางหนึ่งที่จะรักษาบรรยากาศการประชุมคณะรัฐมนตรี และการทำงานร่วมกันของรัฐบาล ไม่ให้มีความขัดแย้ง และ ได้แจ้งลาการประชุมคณะรัฐมนตรี ต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่หลบหน้า หรือ หายตัวไปเฉยๆ

ประเด็นสำคัญของวาระเพื่อพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว คือ การแปลงสัญญาสัมปทาน เป็นสัญญาร่วมทุน ซึ่งมีประเด็นที่ต้องพิจารณา และยังมีมุมมองที่เห็นต่างกันอยู่ ระหว่างกระทรวงคมนาคม กับ กระทรวงมหาดไทย ในฐานะต้นสังกัดของ กทม.

กระทรวงคมนาคม ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีประเด็นคำถาม ที่ต้องการข้อมูลเอกสารจาก กทม. และยังได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน จึงแสดงความเห็นคัดค้านการดำเนินการที่ไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี กฎหมาย และ ระเบียบ อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ส่วนต่อขยาย จากรฟม. ไปเป็นของกทม. ซึ่งกทม. ยังไม่ได้แจ้งว่าได้ดำเนินการแล้วเสร็จถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี แล้วหรือไม่

เรื่องค่าโดยสาร เป็นอีกประเด็นสำคัญ ซึ่งกระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางราง ในฐานะที่เป็นผู้กำกับมาตรฐานการเดินรถ การประกอบกิจการของรถไฟฟ้า เห็นว่าสามารถจัดเก็บได้ต่ำกว่าที่กทม. เสนอ และเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน จึงท้วงติงประเด็นนี้ พร้อมทั้งขอข้อมูลประกอการพิจารณาเพิ่มเติมว่าทำไมจึงต้องเป็น 65 บาท ในขณะที่กระทรวงคมนาคม คำนวณได้ต่ำกว่า 65 บาท

พรรคภูมิใจไทย ขอเรียนว่า การพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว พรรคภูมิใจไทย ยึดหลักการ 3 ข้อ คือ

1.พรรคภูมิใจไทย พิจารณาในฐานะที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล คำนึงถึงประโยชน์ของรัฐ และ ประชาชน สูงสุด พร้อมกันนี้ ต้องรักษามารยาทการร่วมรัฐบาล และไม่สร้างความขัดแย้ง ที่จะกระทบเสถียรภาพของรัฐบาล

2.พรรคภูมิใจไทย เสนอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการนี้ คือ กทม. ดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี กฎหมาย ระเบียบ และ หลักธรรมาภิบาล ซึ่งหากมีการดำเนินการครบถ้วน มีข้อมูล เอกสารใหม่ ที่ครบถ้วน พรรคภูมิใจไทย พร้อมที่จะพิจารณาใหม่ และให้ความเห็นชอบ

3.พรรคภูมิใจไทย ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนราษฎร คุ้มครองประชาชนผู้บริโภค หรือ ประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ให้ได้รับความเป็นธรรมจากการกำหนดราคาค่าโดยสาร และได้รับการบริการที่ดี เป็นไปตามมาตรฐานการประกอบกิจการ

การไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นท่าทีที่ทำให้คณะรัฐมนตรี ต้องพิจารณาโครงการนี้อย่างรอบคอบ อีกครั้งหนึ่ง และมอบให้กระทรวงมหาดไทย ตอบคำถามของกระทรวงคมนาคม ให้ครบถ้วนก่อน แล้วเสนอกลับมาให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

พรรคภูมิใจไทย ขอเรียนว่า พรรคภูมิใจไทย ไม่มีความขัดแย้งกับพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล แต่การทำงานของพรรค มีแนวทางที่ชัดเจน คือ ต้องถูกต้องตามกฎหมาย และ เพื่อประโยชน์ของประชาชน หากเป็นไปตามนี้ เราไม่มีเหตุที่จะคัดค้าน และ จะพร้อมให้การสนับสนุน

ข่าวลึกปมลับ : ภูมิใจไทย งัด "บิ๊กป็อก" ระเบิดเวลาลูกใหญ่พรรคร่วมรัฐบาล
โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 16:19 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 16:19 น.


“ข่าวลึกปมลับ” เผยแพร่ทางแอปพลิเคชั่น SONDHI APP และสถานีโทรทัศน์ NEWS1 โดย นพรัฐ พรวนสุข บก.ข่าวการเมืองและกระบวนการยุติธรรม เครือผู้จัดการ วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ตอน ภูมิใจไทย งัด "บิ๊กป็อก" ระเบิดเวลาลูกใหญ่พรรคร่วมรัฐบาล

ศึกงัดข้อแกนนำรัฐบาล จากปมความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างกระทรวงคมนาคม กับกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การต่ออายุสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวของกรุงเทพมหานคร จนทำให้ภูมิใจไทยที่คุมกระทรวงคมนาคม และเคลื่อนไหวคัดค้านการทำสัญญามาตลอด ออกแอ็คชั่นแรงๆ

ด้วยการที่ 7 รัฐมนตรีของพรรคที่นำโดยศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม แท็กทีม ไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

ปมปัญหา การต่ออายุสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวของกรุงเทพมหานคร ที่กระทรวงมหาดไทย ต้องการให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ขยายสัญญาสัมปทานให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือBTSC ออกไปอีก 30 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 ไปเป็นปี 2602 แลกกับการเก็บค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย

ทำให้ ภูมิใจไทย พรรคร่วมรัฐบาลที่มีเสียง ส.ส.เป็นอันดับสองในรัฐบาล เปิดหน้า ทำศึกกับ บิ๊กป๊อก มท. 1 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา และมีบริษัทบีทีเอสซี ที่มีเจ้าสัว คีรี กาญจนพาสน์ ถือหุ้นใหญ่

สุดท้าย คณะรัฐมนตรี เลือกใช้วิธีซื้อเวลาด้วยการให้ กระทรวงมหาดไทย ไปทำคำชี้แจงในประเด็นข้อทักท้วงการต่อสัญญาดังกล่าวตามที่กระทรวงคมนาคมทักท้วงไม่เห็นด้วย ที่ทำออกมาสี่ประเด็น

คือเรื่องค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่ศักดิ์สยาม และภูมิใจไทย ชูเรื่องนี้เป็นประเด็นหลักว่าค่าโดยสาร65 บาทตลอดสาย เป็นอัตราค่าโดยสารที่สูงเกินกว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในปัจจุบันเสียอีก อันจะมีผลทำให้ประชาชนแบกรับภาระค่าครองชีพมากเกินความจำเป็น

ภูมิใจไทยให้เหตุผลว่าเพราะปัจจุบัน ประชาชน เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเฉลี่ย130 บาทต่อวัน ที่คิดเป็น 35 เปอร์เซนต์ของค่าแรงขั้นต่ำ อีกทั้งสายสีเขียวเปิดให้บริการมา 21 ปี ผ่านจุดคุ้มทุนมาแล้ว มีผู้โดยสายเฉลี่ยวันละแปดแสนถึงหนึ่งล้านคน ในช่วงก่อนเกิดโควิด คมนาคม จึงเห็นว่า สามารถกำหนดค่าโดยสารให้ต่ำกว่า 65 บาทได้

สำหรับ สายสีน้ำเงิน เป็นโครงการที่รัฐลงทุน ส่วนสายสีเขียว บริษัทบีทีเอสซี ลงทุนงานโยธาและระบบเอง แต่เพราะเป็นรายละเอียดที่ซับซ้อน จึงทำให้การหักล้างของกทม.และเอกชน กับฝ่ายคมนาคม ไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าใดนัก เพราะคนจะฟังเรื่องค่าโดยสาร ต้องถูกไว้ก่อน

จึงไม่แปลกที่กองเชียร์ในฝั่งภูมิใจไทย จะหนาตากว่า ฝั่งมหาดไทยและบริษัทเอกชนค่อนข้างเยอะ

นอกจากนี้ ก็ยังมีอีกสามประเด็นที่คมนาคมคัดค้านเช่นการรองรับระบบตั๋วร่วม -ความชัดเจนของประเด็นข้อกฎหมายเป็นต้น

ที่สุดท้าย กระทรวงมหาดไทยขอเวลาในการเคลียร์เรื่องนี้สองสัปดาห์ และจะนำวาระร้อนที่มีผลประโยชน์ชาติหลายแสนล้านบาท กลับมาให้ครม.พิจารณาอีกครั้ง ภายในสองสัปดาห์ข้างหน้าต่อจากนี้ หลังพลเอกประยุทธ์ นายกฯ ระบุชัดเรื่องนี้ต้องจบได้แล้ว

สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือการซื้อเวลาออกไปของคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะ3 ป. ที่ไม่กล้าหักกับภูมิใจไทย ด้วยเหตุผลหลายอย่างโดยเฉพาะคงประเมินแล้วว่า เรื่องค่าโดยสารต้องต่ำกว่า 65 บาท ยังเป็นเรื่องที่ ฝ่ายบิ๊กป๊อก ยังตกเป็นรอง ศักดิ์สยาม อยู่เยอะ เลยต้องประวิงเวลาไว้เพื่อรอเคลียร์ระเบิดลูกนี้ก่อน

แต่ท่าทีของกระทรวงมหาดไทย คงไม่ยอมถอย เพราะเป็นปมสัญญาที่ยืดเยื้อมาหลายปี แม้ที่ผ่านมาจะมีการพยายามหาทางออกหลายวิธีเช่น การให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งกรรมาธิการมาศึกษาพิจารณาเรื่องนี้กินเวลาหลายเดือน

ซึ่งข้อสรุปเวลานั้นเสียงส่วนใหญ่ในกรรมาธิการพบว่า ไม่เห็นด้วยกับการขยายสัมปทานออกไปเพราะสัมปทานยังเหลืออีกหลายปี กว่าจะถึงปี 2572

ข้อเสนอของกรรมาธิการคือให้ ดำเนินการทำสัญญาจ้างเดินรถส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ไปก่อน หากสิ้นสุดสัญญาภายในปี 2572 ให้ใช้วิธีเปิดประมูลโครงการเพื่อจัดหาผู้เดินรถไฟฟ้ารายใหม่ไปเลยด้วยรูปแบบให้เอกชนมาร่วมลงทุนในกิจการของรัฐหรือ PPP อันเป็นข้อสรุปที่เข้าทางภูมิใจไทยและศักดิ์สยาม แต่ไม่ถูกใจ กระทรวงมหาดไทยและเอกชนอย่างยิ่ง

ปมร้อนสัญญาสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว จึงเป็น ระเบิดเวลาการเมืองอีกลูกหนึ่งที่รออยู่ สำหรับแกนนำรัฐบาลสาย 3 ป. กับภูมิใจไทย หาก บิ๊กป็อก ถอยดื้อๆ คงเสียหน้า เพราะหนุนมาอย่างเต็มสูบ เคยนำเรื่องนี้ไปหารือในที่ประชุมครม.7 ครั้งแล้วแต่ไม่ได้ข้อสรุป

แต่ตอนนี้ต้องทุบโต๊ะ เนื่องจากสถานการณ์รัฐบาลคงอยู่อีกไม่ นาน เรื่องไหนสำคัญๆ ผลประโยชน์มหาศาลเช่นนี้ต้องเร่งแล้ว

ขณะที่ ภูมิใจไทย เมื่อเปิดหน้าชนแล้ว
หลังจากนี้ จะยอมถอยง่าย ๆ ก็เสียเหลี่ยมทางการเมือง จะถูกด่าได้ว่า เอาประชาชนมาอ้างในการคัดค้าน แต่สุดท้ายหากถอยกลางคัน ย่อมถูกมองไปในทางเสียหายได้

แต่นายศักดิ์สยาม ประกาศมาชัดเจนแล้วว่า หากในการประชุม ครม. ครั้งต่อๆไปทางกระทรวงมหาดไทย จะยังมีการเสนอ วาระดังกล่าว เข้าที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาอีกครั้ง ทางพรรคภูมิใจไทย จะแสดงท่าทีอย่างไรนั้น ยืนยันว่า หากกระทรวงมหาดไทยเสนอวาระดังกล่าวกลับเข้ามา และมีการทำให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย และ หลักธรรมาภิบาล ทางพรรคภูมิใจไทยก็จะสนับสนุน

แต่ถ้ายังไม่มีการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบของกฎหมาย ก็บอกได้เลยว่า พรรคภูมิใจไทยจะยังคงคัดค้านเหมือนเดิม เพราะหากไม่มีการดำเนินการให้ถูกต้อง จะเป็นการกระทำที่ไม่ถูกกฎหมาย


รถไฟฟ้าสายสีเขียว พรรคภูมิใจไทย ออกแถลงการณ์เคลียร์ปมร่วมรัฐบาล
การเมือง
วันพุธ ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 18:12 น.

โฆษกพรรคภูมิใจไทย แจงแถลงการณ์ 7 รัฐมนตรีประท้วงวาระรถไฟฟ้าสายสีเขียว เผยท่าทีไม่เข้าประชุม ครม. ต้องการแสดงออก ท้าทายมหาดไทยตอบไม่เคลียร์

ad
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง โฆษกพรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า พรรคภูมิใจไทย ได้ออกแถลงการณ์ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 เรื่อง พรรคภูมิใจไทยยึดหลัก 3 ข้อพิจารณารถไฟฟ้าสายสีเขียว ถูกกฎหมาย – ประโยชน์ของรัฐ – ลดรายจ่ายให้ประชาชน มีเนื้อหาดังนี้

พรรคภูมิใจไทย เป็นพรรคร่วมรัฐบาล มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล และเป็นผู้บังคับบัญชา

การไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี เป็นไปตามที่ได้เคยแสดงเจตนารมณ์กับนายกรัฐมนตรี ไว้แล้วว่า หากมีการนำวาระนี้ เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย จะขอสงวนสิทธิ แสดงความเห็นคัดค้าน ในส่วนที่กระทรวงคมนาคม ชี้ประเด็นว่า แนวทางที่ กทม. เสนอมา จะส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของรัฐ และประชาชน

การไม่เข้าประชุม เป็นแนวทางหนึ่งที่จะรักษาบรรยากาศการประชุมคณะรัฐมนตรี และการทำงานร่วมกันของรัฐบาล ไม่ให้มีความขัดแย้ง และได้แจ้งลาการประชุมคณะรัฐมนตรี ต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่หลบหน้า หรือหายตัวไปเฉยๆ

ประเด็นสำคัญของวาระเพื่อพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว คือ การแปลงสัญญาสัมปทาน เป็นสัญญาร่วมทุน ซึ่งมีประเด็นที่ต้องพิจารณา และยังมีมุมมองที่เห็นต่างกันอยู่ ระหว่างกระทรวงคมนาคม กับ กระทรวงมหาดไทย ในฐานะต้นสังกัดของ กทม.

กระทรวงคมนาคม ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีประเด็นคำถาม ที่ต้องการข้อมูลเอกสารจาก กทม. และยังได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน จึงแสดงความเห็นคัดค้านการดำเนินการที่ไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี กฎหมาย และระเบียบ อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ส่วนต่อขยาย จาก รฟม. ไปเป็นของ กทม. ซึ่ง กทม.ยังไม่ได้แจ้งว่าได้ดำเนินการแล้วเสร็จถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี แล้วหรือไม่

เรื่องค่าโดยสาร เป็นอีกประเด็นสำคัญ ซึ่งกระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางราง ในฐานะที่เป็นผู้กำกับมาตรฐานการเดินรถ การประกอบกิจการของรถไฟฟ้า เห็นว่าสามารถจัดเก็บได้ต่ำกว่าที่ กทม.เสนอ และเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน จึงท้วงติงประเด็นนี้ พร้อมทั้งขอข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมว่าทำไมจึงต้องเป็น 65 บาท ในขณะที่กระทรวงคมนาคม คำนวณได้ต่ำกว่า 65 บาท

พรรคภูมิใจไทย ขอเรียนว่า การพิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว พรรคภูมิใจไทยยึดหลักการ 3 ข้อ คือ


1.พรรคภูมิใจไทยพิจารณาในฐานะที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล คำนึงถึงประโยชน์ของรัฐ และประชาชนสูงสุด พร้อมกันนี้ ต้องรักษามารยาทการร่วมรัฐบาล และไม่สร้างความขัดแย้ง ที่จะกระทบเสถียรภาพของรัฐบาล

2.พรรคภูมิใจไทย เสนอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการนี้ คือ กทม. ดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี กฎหมาย ระเบียบ และหลักธรรมาภิบาล ซึ่งหากมีการดำเนินการครบถ้วน มีข้อมูล เอกสารใหม่ ที่ครบถ้วน พรรคภูมิใจไทยพร้อมที่จะพิจารณาใหม่ และให้ความเห็นชอบ

3.พรรคภูมิใจไทย ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนราษฎร คุ้มครองประชาชนผู้บริโภค หรือประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ให้ได้รับความเป็นธรรมจากการกำหนดราคาค่าโดยสาร และได้รับการบริการที่ดี เป็นไปตามมาตรฐานการประกอบกิจการ





การไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นท่าทีที่ทำให้คณะรัฐมนตรี ต้องพิจารณาโครงการนี้อย่างรอบคอบ อีกครั้งหนึ่ง และมอบให้กระทรวงมหาดไทย ตอบคำถามของกระทรวงคมนาคม ให้ครบถ้วนก่อน แล้วเสนอกลับมาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

พรรคภูมิใจไทยขอเรียนว่า พรรคภูมิใจไทยไม่มีความขัดแย้งกับพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล แต่การทำงานของพรรคมีแนวทางที่ชัดเจน คือ ต้องถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อประโยชน์ของประชาชน หากเป็นไปตามนี้ เราไม่มีเหตุที่จะคัดค้าน และจะพร้อมให้การสนับสนุน


Last edited by Wisarut on 11/02/2022 2:43 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44497
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2022 6:21 am    Post subject: Reply with quote

แฉปมลึกรถไฟฟ้าสายสีเขียวสะดุด หวังบีบ‘บีทีเอส’วางมือสายสีส้ม-ถอนฟ้องรฟม.ทุกคดี
แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 06.00 น.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมกล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้เลื่อนวาระการพิจารณาแปลงสัญญาสัมปทานเป็นสัญญาร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC บริษัทในเครือบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ตามที่ กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอออกไปก่อนว่า ต้องขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี และ ครม.ที่เข้าร่วมประชุม ที่ทำให้ได้มีการเปิดโอกาสรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะในการให้กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร (กทม.) ชี้แจง ซึ่งในส่วนกระทรวงคมนาคมได้ตั้งข้อสังเกตให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักของกฎหมาย และหลักธรรมาภิบาล เพราะหลายประเด็นทาง กทม.ยังทำไม่รอบด้านและครบถ้วน

ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ข้อเสนอแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้า สายสีเขียวที่จะนำไปสู่การต่อขยายสัญญาสัมปทานออกไปอีก 30 ปีนั้นเป็นการดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ที่ให้กระทรวงมหาดไทยตั้งคณะทำว่าแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ กทม.มีอยู่กับบีทีเอสโดยเร็ว ก่อนจะได้ข้อยุติที่จะให้ต่อขยายสัญญาสัมปทานบีทีเอสจำนวน 30 ปีแลกกับการให้เอกชนต้องรับภาระหนี้ของ กทม.ไปทั้งหมด ซึ่งแนวทางดังกล่าวกระทรวงมหาดไทยได้นำเสนอต่อประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2562 โดยที่กระทรวงคมนาคมเองก็มีหนังสือยืนยันเห็นด้วยมาโดยตลอด แต่เมื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ครั้งต่อๆ มา กลับปรากฏว่า กระทรวงคมนาคมที่เคยให้ความเห็นชอบมาโดยตลอด กลับจัดทำความเห็นคัดค้าน โดยอ้างว่าอัตราค่าโดยสารที่กำหนดไว้ 65 บาทตลอดสายสูงเกินไป เมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าของ รฟม.และยังมีประเด็นข้อกฎหมายและมติ คณะรัฐมนตรีที่กระทรวงคมนาคมยังดำเนินการไม่ครบถ้วน จึงทำให้กระทรวงมหาดไทยต้องขอถอนเรื่องออกจากที่ประชุม ครม.ไปแล้วถึง 2 ครั้งก่อนหน้านี้

แหล่งข่าวกล่าวว่าอีกการคัดค้านการต่อขยายสัญญาสัมปทานบีทีเอสของกระทรวงคมนาคมเต็มไปด้วยข้อสงสัย จากที่ คมนาคมไม่ได้มีท่าทีคัดค้านมาก่อนแต่อย่างใด โดยนับตั้งแต่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เข้ามารับตำแหน่งเมื่อส.ค.2562 แต่หลังเกิดปัญหาการประมูลรถไฟฟ้า สายสีส้ม วงเงินกว่า 1.427 แสนล้านบาท ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ถูก BTS ฟ้องร้อง ผู้ว่าฯรฟม.-และคณะกรรมการคัดเลือกตาม ม.36 กรณีปรับเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกที่ไม่เป็นไปตาม RFP/TOR จนศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองและระงับการใช้เกณฑ์ดังกล่าว ท่าทีของกระทรวงคมนาคมที่มีต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวก็เปลี่ยนไปทันที และลุกขึ้นมาทำหนังสือทักท้วงการต่อขยายสัญญาสัมปทานบีทีเอสในทันที และออกโรงคัดค้านการต่อขยายสัมปทานอย่างหนักหน่วง ซึ่งคนในครม.และวงการรู้ดีว่านี่คือ ต่อรองเพื่อหวังจะให้นายกรัฐมนตรีเจรจาให้กลุ่ม บีทีเอส วางมือจากการประมูลโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม รวมทั้งถอนฟ้องคดีความทั้งหมดที่มีอยู่หรือไม่
    “แนวทางการต่อขยายสัญญาสัมปทานดังกล่าว ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้คงค้างร่วม 1 แสนล้าน ที่กทม. มีอยู่กับบีทีเอส การที่รัฐบาลและ ครม.ยังคงดึงเรื่องการต่อขยายสัญญาออกไปจะยิ่งทำให้ กทม.ต้องแบกภาระหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก เนื่องจากไม่สามารถจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า ส่วนต่อขยายได้”
ทั้งนี้ข้ออ้างว่าต้องคัดค้านการต่อสัมปทานเพราะหากปล่อยให้สัญญาสัมปทานหมดลง รถไฟฟ้าสายสีเขียวก็จะกลับมาเป็นของรัฐ และจะทำให้ค่าโดยสารถูกลงได้ เป็นเรื่องปาหี่ทางการเมืองเพราะความจริงปรากฏอยู่แล้วว่า ขนาดรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่เป็นระบบรถไฟฟ้าที่อยู่ในการดูแลของรัฐ และรัฐควักเงินลงทุนโครงสร้างเป็นเงินถึง 70% ของการลงทุน ค่าโดยสารของรถไฟฟ้าในระบบนี้ก็ควรจะต้องถูกกว่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างน้อยต้อง 70% เพราะเป็นส่วนที่รัฐได้ลงทุนไปให้เอกชน หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่รัฐลงทุนเองทั้งหมด แต่เหตุไฉนกลับเก็บค่าโดยสารแพงกว่าระบบรถไฟฟ้าที่เอกชนลงทุน 100% เสียอีก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2022 2:56 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
แฉปมลึกรถไฟฟ้าสายสีเขียวสะดุด หวังบีบ‘บีทีเอส’วางมือสายสีส้ม-ถอนฟ้องรฟม.ทุกคดี
แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 06.00 น.


“อนุทิน”ยันไม่ถอย ปม“สายสีเขียว” พร้อมถกในครม.รอบหน้า
หน้าแรกการเมือง
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพฤหัสบดี ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 11:24 น.

"อนุทิน"ยันสัมพันธ์พรรคร่วมไร้ปัญหา ย้ำเหตุไม่ร่วมประชุม ครม. เลี่ยงปะทะคารมปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ยันถกครม.รอบหน้าถ้ามีโหวตอีกไม่ลาแล้ว ส่วนจะจับมือการเมืองกับ"ธรรมนัส"หรือไม่ ต้องรอหลังเลือกตั้ง

วันที่ 10 ก.พ.2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ผ่านทางรายการ "มุมการเมือง" ทาง ThaiPBS กรณี 7 รัฐมนตรีบอยคอตค้านต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ยืนยันความสัมพันธ์ กับพรรคร่วมรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ไม่มีปัญหา สิ่งที่แสดงออกไปเป็นการพิทักษ์ผลประโยชน์ของประเทศและประชาชน การทำงานยังเป็นมืออาชีพ ไม่เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ เพราะการทำงานร่วมกันมีความเห็นแตกต่างกันเป็นเรื่องปกติของการทำงานเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องความสัมพันธ์ หรือขัดแย้งใดๆ ทำงานได้ตามปกติ เรื่องอื่นๆนายกรัฐมนตรียังคงสั่งงาน และได้รายงานนายกรัฐมนตรี ตามปกติ ส่วนจุดยืนโหวตเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น เราไม่ได้ขัดแย้งที่จะให้ปรับแก้สัญญารถไฟฟาสายสีเขียว แต่กระทรวงคมนาคมมีข้อกังวลที่ขอให้ปรับปรุง ชี้แจง ตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคม ทำหนังสือไป



นายอนุทิน กล่าวต่อว่า ขณะที่ปฏิกิริยางัดข้อของพรรคภูมิใจไทย จะกลายเป็นระเบิดลูกใหม่ของรัฐบาลหรือไม่นั้น เวลาไม่ปกป้องผลประโยชน์ประชาชน ก็ถูกว่า ถูกตำหนิ หรือวิพากษ์วิจารณ์ เวลาปกป้องก็ผิดอีก ก็จะไม่ใช่การทำงาน ตนไม่ใช่พวกลากมากไป ไม่ต่างจากระบบสภา ถ้าถึงเวลาจริงๆตกลงกันไม่ได้ ความเห็นขัดแย้ง ทิศทางยังจูนกันไม่ได้ ก็จะใช้วิธีโหวต ตามระบอบประชาธิปไตย และเมื่อผลโหวตออกมาอย่างไรทุกฝ่ายก็ต้องตามนั้น



"การที่รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทยไม่ได้เข้าร่วมประชุม ครม.เพราะเราแจ้งนายกรัฐมนตรี ทุกครั้งว่า ถ้าประเด็นรถไฟฟ้านี้ไม่ได้คำตอบจาก กทม.เราขอสงวนสิทธิ์ เพราะเราไม่อยากโต้เถียง เพราะคนที่ลำบากใจที่สุดคือประธานในที่ประชุม ดังนั้นเมื่อทราบว่าจะมีวาระจรเรื่องนี้บรรจุเข้ามาทันที เพื่อเป็นการรักษาบรรยากาศการประชุม เราเลยถอยออกมา และก็ได้ส่งหนังสือชี้แจงไป" นายอนุทิน กล่าว



นายอนุทิน กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีการเขียนข่าวกันไปว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ ก็ต้องรับมตินั้น ถือเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ที่เราจะต้องรับมติครม. แต่มีการทำหนังสือให้ความเห็นเป็นการสงวนสิทธิตรงนี้ไว้ และเรา 7 คนคิดว่าถ้าเรื่องนี้มีความสมบูรณ์ ก็น่าจะผ่านไปได้ และเราก็สบายใจที่สงวนสิทธิ์ไม่เข้าประชุม ไม่โต้แย้ง ไม่ถกเกียง แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีจดหมายหนังสือ แสดงเจตจำนงต์ ข้อคิดเห็นข้อสังเกต ถึง 8 ฉบับไปแล้ว เราหลีกเลี่ยงการปะทะ ไม่ต้องการโต้คารมกัน แต่ถ้าหากมีการประชุม ครม. เพื่อโหวตครั้งต่อไปนั้น ถ้ามีคำตอบ และดำเนินการตามกฎหมายขั้นตอนที่ชัดเจนแล้วเราไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้ายังคงเดิม ก็จะไม่ลาประชุมแล้ว เพราะถือว่าแสดงท่าทีไปแล้วว่าถ้าไม่มีการแก้ไขตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ก็จะใช้สิทธิในการพิจารณา



ส่วนกรณีที่ไม่ได้ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมประชุมเอเปคว่า เป็นคนละเรื่องกัน แต่เพราะตนติดประชุม คณะกรรมการยาแห่งชาติ ซึ่งได้เขียนโน๊ตชี้แจงนายกรัฐมนตรีแล้ว ขออย่ามาสังเกตท่าที และในวันพรุ่งนี้ (11 ก.พ.) มีการประชุมศบค.ในเวลา 09.00 น.ที่ตนเป็นเจ้าภาพนับเป็นเรื่องใหญ่ ที่เกี่ยวกับสุขภาพคน ตนก็จะเข้าร่วม ยืนยันว่าไม่มีปัญหาเรื่องการทำงาน เพราะทราบดีว่ามีความสำคัญอย่างไร



เมื่อถามถึงกรณีที่ปรากฎภาพไปร่วมประชุมรัฐสภา และประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้เจอและพูดคุย กับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคเศรษฐกิจไทย ถึง 2 วันติดต่อกันนั้น เป็นการเปิดดีลอะไรกันหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า ตนคุยกับใครไม่ได้เลยหรือ ร.อ.ธรรมนัส เข้ามาประชุมในนามพรรคใหม่ และเป็นช่วงจังหวะเวลาไปลงคะแนนในที่ประชุม ระหว่างนั้นทางเดินสายหลักในห้องประชุมสภามีเส้นเดียวเจอกัน จึงทักทายกันปกติ และส่วนตัวเป็นเพื่อนกับร.อ.ธรรมนัสมากว่า 20 ปี ถ้าเทียบก็รุ่นเดียวกัน โดยร.อ.ธรรมนัสเป็น เตรียมทหารรุ่นที่ 25 ตนก็รุ่น 25 มีเพื่อนกลุ่มเดียวกันมากมาย จึงเป็นเรื่องปกติที่เจอกัน เป็นคนละเรื่องระหว่างการทำงานและการเมือง



ส่วนโอกาสจะร่วมงานทางการเมืองกับ ร.อ.ธรรมนัส ในอนาคตนั้น ก็ต้องรอดูผลการเลือกตั้ง ยอมรับว่าในทางการเมืองเวลาฟอร์มทีมรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ต้องรอผลหลังการเลือกตั้ง คิดไว้ก่อนไม่ได้ ตนเคยเห็นผู้หลักผู้ใหญ่ก่อนเลือกตั้งจับมือกันเป็นพันธมิตรกัน แต่หลังเลือกตั้งผลไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ มือก็หลุด เห็นมาเยอะ จึงไม่มีความวิตกกังวล ทุกอย่างจะชัดต่อเมื่อผลการเลือกตั้งประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ อย่าไปผูกมัดอะไร



นายอนุทิน ยังกล่าวถึงการเข้าสู่สนามเลือกตั้งในอนาคตว่า มั่นใจทุกพรรคพร้อม เช่นเดียวกับพรรคภูมิใจไทย เพราะเมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 ทุกคนต้องคิดเรื่องการเลือกตั้ง ต้องมีการเตรียมนโยบาย เพื่อสื่อสารไปยังประชาชน และต้องเร่งผลิตนโยบายที่ทำให้ประชาชนและประเทศพลิกฟื้นได้ทุกมิติ ถ้าไม่พร้อมจะไม่มีนโยบายใดไปขายให้ประชาชน ซึ่งพรรคภูมิใจไทยทำได้ครบตามที่พูดไว้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2022 2:31 pm    Post subject: Reply with quote

อนุทิน ท้านายกฯ 7 รัฐมนตรีภูมิใจไทย “โหวตโน” รถไฟฟ้าสายสีเขียว
การเมือง
วันพฤหัสบดี ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา15:51 น.


อนุทิน ท้าโครงการรถไฟสายสีเขียว หากเข้า ครม. อีกครั้งหากไม่มีการแก้ไข จะโหวตโน เผย “อนุพงษ์-อนุทิน” นายกฯต้องเลือกอนุพงษ์อยู่แล้ว

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท) ให้สัมภาษณ์ถึงสาเหตุที่ 7 รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทยไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่พิจารณาเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว จะส่งผลกระทบต่อการพิจารณาเรื่องดังกล่าวในอนาคตหรือไม่ ว่าต้องดูเป็นประเด็น ๆ ไป เพราะกระทรวงคมนาคมได้ทำความเห็นออกมาแล้วเป็นหนังสือ 8 ฉบับ


หากกระทรวงคมนาคมคลายความกังวลหรือข้อวิตกแล้วก็ดำเนินต่อไปได้ เราไม่ได้ไม่เห็นชอบเรื่องต่อหรือไม่ต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว แต่เราต้องการความชัดเจน ขอให้ทำตามขั้นตอนที่ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงคมนาคมเห็นว่ายังขาดอยู่ คือเรื่องการรับโอนทรัพย์สินจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มอบให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ถือเป็นส่วนเดียวที่คมนาคมเกี่ยวข้อง

เมื่อถามว่าหากสุดท้ายกระทรวงมหาดไทยและ กทม.แก้ไขแล้วยังไม่ตรงกับที่กระทรวงคมนาคมต้องการจะมีผลอย่างไร นายอนุทินกล่าวว่า ต้องไปถามนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

เมื่อถามว่าเรื่องนี้จะกระทบความสัมพันธ์พรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ นายอนุทินกล่าวว่า ไม่เกี่ยว นี่เป็นเรื่องความเห็นของการทำงานที่ ครม.มีสิทธิเห็นไม่ตรงกันได้

“ถ้าให้ภารกิจนี้เดินต่อไปก็ต้องลงมติ แต่ถ้าคนที่เห็นว่ายังผิดอยู่เขาสามารถสงวนสิทธิได้และเป็นสิ่งที่พรรค ภูมิใจไทยทำมา ไม่ได้ขัดขวางอะไรเลย และที่เราไม่เข้าประชุม ครม.เพราะเห็นมีการบรรจุวาระดังกล่าวเข้ามาล่วงหน้า และก่อนหน้านี้ก็ได้นำความกราบเรียนนายกฯ ตลอดเวลา เรามีความลำบากใจในประเด็นนี้ และถ้าจะให้ผ่านไปโดยไม่ต้องทะเลาะโต้เถียงกันหรือปะทะคารมกัน ชี้แจงกันไปกันมาทำให้บรรยากาศการประชุมเสีย เราจึงทำความเห็นเป็นหนังสือชี้แจงเหตุผลของทั้ง 7 คนไป ซึ่งเราก็นึกว่าเรื่องผ่านไปแล้ว” นายอนุทินกล่าว

เมื่อถามว่าหลังการประชุม ครม.ได้ชี้แจงกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้วหรือยัง หลังการประชุม ครม.ดังกล่าว นายอนุทินกล่าวว่า ได้ชี้แจงแล้ว เรื่องที่เกิดขึ้นวันอังคาร ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ทุกฝ่ายรับทราบกันหมด ทั้งทีมงานนายกฯ ก็ได้ประสานงานโทรคุยกันหมด เมื่อถามว่าพรรคภูมิใจไทยเล่นไม้เดิมเวลาพิจารณาเรื่องนี้ก็จะมีคำถามใหม่ของกระทรวงคมนาคมเพิ่มมาตลอด

“ภูมิใจไทยเล่นอะไร ไม่ได้เล่นอะไรเลย ถามนำอีกแล้ว ตรงไปตรงมา”

เมื่อถามย้ำว่าการที่รัฐมนตรีไม่เข้าประชุม ครม. 7 คน เป็นการส่งสัญญาณต่อไปจะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลในเรื่องสายสีเขียวใช่หรือไม่ นายอนุทินกล่าวว่า รัฐบาลนี้ หรือรัฐบาลไหน ไม่ใช่พวกมากลากไป ไม่ใช่ใครอยากจะทำอะไรก็ทำได้ ถ้าคิดอย่างนั้นได้ก็ไม่ต้องมีอะไรมาเข้าที่ประชุม ครม. อย่างนี้ถ้าตนอยากบรรจุข้าราชการสาธารณสุขอีก 5 หมื่นคน ตนก็ทำได้เลย ไม่ต้องมาเข้า ครม. ไม่ต้องมาขอนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ไม่ต้องขอ ผอ.สำนักงบประมาณ เพราะสุดท้ายต้องเป็นเรื่องที่เราต้องมาหารือในรัฐบาล และหากประเด็นยังค้างคาก็ต้องนำไปแก้ไขให้ถูกต้อง ทุกฝ่ายรับได้ นั่นคือเป้าหมาย ถ้าหากรับไม่ได้จริงๆ ก็ต้องโหวต

นายอนุทินกล่าวว่า พรรคภูมิใจไทยเห็นว่า ครม. มี 36 คน ถ้าจะผ่านให้ได้โหวตอย่างไรเราก็แพ้อยู่แล้ว เพราะมีเสียงเพียง 7 ต่อ 36 แต่ทำไมเราต้องไปถึงจุดนั้น ทำไมต้องทำความลำบากใจมาให้นายกฯ เราจึงทำหนังสือสงวนสิทธิของเราไปให้นายกฯ และหากนายกฯเห็นว่ามันต้องผ่านก็ผ่านมติ ครม.ก็นำไปปฏิบัติได้


แต่ถ้ามีเรื่องราวอะไรภายหลังร้องเรียนคดีความต่าง ๆ ครม.ก็ต้องรับผิดชอบส่วนบุคคลอยู่ แต่รัฐมนตรีทั้ง 7 คนของพรรค ภูมิใจไทยก็มีหนังสือยืนยันว่าเราไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขที่นำเสนอในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ในรัฐบาลเพราะยังดีอยู่ ปึ้กแน่นอน ฟังเสียงปึ้กดูก็รู้

นายอนุทินกล่าวว่า ขอย้ำว่าถ้ามีการปรับปรุงอะไรแล้วเราไม่มีปัญหาเรื่องการถ่ายโอนทรัพย์สินระหว่าง รฟม.และกทม.เพราะยังเป็นสมบัติของ รฟม. ที่เป็นหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม ซึ่ง กทม. ก็ควรโอนให้เรียบร้อย รฟม. พร้อมแล้ว

เมื่อถามว่าในการประชุม ครม.สัปดาห์ต่อไป รัฐมนตรีของพรรคภูมิใจไทย จะเข้าประชุมหรือไม่ นายอนุทินกล่าวว่า เราได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนแล้ว และเคลียร์กันหมดแล้ว จากนี้ไปจะไม่มีการไม่เข้าประชุม ครม.แล้ว ถ้าเข้าประชุมหมายความว่าพร้อมที่จะรับฟัง นายศักดิ์สยามจะเข้ามาซักถามหรือโต้แย้ง หากนายกฯ เห็นว่ามีความจำเป็นและต้องดำเนินต่อไปในทางใดทางหนึ่ง นายกฯ ก็สามารถสั่งการได้

นายอนุทินระบุอีกว่า เราถือว่าเราหลบและหมอบแล้ว ในเรื่องของความเห็นไม่ตรงกัน พูดให้ชัดเจนคือ เมื่อถึงเวลาโหวต ไม่เกิดการแก้ไขอะไรเลย เราก็โหวตโน แต่ถ้าแก้ไขมาและไม่มีความกังวลว่าจะมีอะไรตามมาบ้างหลังจากที่พ้นตำแหน่งและถูกต้องตามกระบวนการทุกอย่าง ค่าโดยสารถูกลง เรามีแต่จะเร่งให้รีบโอนและทำให้สำเร็จโดยเร็ว




เมื่อถามว่าหากไม่โหวตร่วมกับ ครม.จะรอดพ้นจากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้หรือไม่ นายอนุทินกล่าวว่า เราไม่ก้าวก่ายแล้ว เพราะเราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด แต่ไม่ใช่ไม่โหวตเพราะกลัวว่าเราจะเป็นอะไร สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ผิดกฎหมาย เป็นไปตามขั้นตอน ประชาชน ประเทศชาติ และรัฐบาลต้องได้ประโยชน์ เราพยายามอยู่ในแนวทางนี้

เมื่อผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า การเคลื่อนไหวของรัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทยไม่ได้เป็นการกดดันให้นายกฯหนักใจ และให้นายกฯ ต้องเลือกระหว่าง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กับนายอนุทินใช่หรือไม่ นายอนุทิน กล่าวด้วยเสียงดังว่า (์NO NO NO) ระหว่าง พล.อ.อนุพงศ์กับอนุทิน ไม่ต้องถามว่า นายกฯจะเลือกใคร ท่านเป็นพี่น้องกัน รู้สี่ รู้แปด ภาษาบรรพบุรุษผมเรียกว่า รู้สี่รู้แปด รู้ใหญ่รู้เล็ก ไม่ได้เทียบกันตรงนั้น คนละเรื่องกัน ผมไม่ต้องการให้เลือก เพราะต้องเลือกประชาชน

เมื่อถามถึงกรณีที่มีความเป็นห่วงว่า หากประเด็นรถไฟฟ้าสายสีเขียวยังไม่จบ อาจจะทำให้มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นายอนุทินกล่าวว่า เราทำตามหน้าที่ที่พึงปฏิบัติทุกอย่าง ไม่ได้มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งใคร มีแต่เจตนาที่จะรักษาผลประโยชน์ของประชาชน มุมมองของแต่ละฝ่ายแตกต่างกันเป็นเรื่องปกติของการทำงาน

เมื่อถามย้ำว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าจะต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ นายอนุทินกล่าวว่า ควรจะพิจารณาให้รอบคอบ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวกับความเป็นความตายเหมือนกัน ใน ครม.ชุดนี้มีคนที่เคยเข้าฟังศาลฎีกาแผนกคดีอาญา แผนกทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาแล้วกี่คน มีแค่ตนและนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ที่เคยเข้าไปฟังศาล ถามว่ามีความสุขหรือไม่ ทั้งที่ไม่ได้ทำผิดอะไรเลย ตอนเข้า ครม.ทุกอย่างก็ถูกหมด สุดท้ายเป็นอย่างไร ทั้งเรื่องกล้ายาง ห้องแล็บ ซีทีเอ็กซ์ หวย

เมื่อถามว่า ไม่อยากซ้ำรอยแบบเมื่อตอนคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ใช่หรือไม่ นายอนุทินกล่าวว่า ครั้งเดียวก็เกินพอ



เมื่อถามว่า ความเห็นของ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ยืนยันว่าทำได้ เชื่อไม่ได้ใช่หรือไม่ นายอนุทิน ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม โดยระบุว่า “ไม่ตอบหรอก อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2022 2:33 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีเขียว: อัศวิน ตอบ ภูมิใจไทยไปแล้ว 8 รอบ
วันศุกร์ ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 11:24 น.

อัศวิน ปลง ตอบคำถามรถไฟฟ้าสายสีเขียว ภูมิใจไทยไปแล้ว 8 รอบ ส่วนผลจะออกมาอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้หลักผู้ใหญ่

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) กล่าวถึงกรณีการต่อสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ว่า ต้องถามพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย อย่างไรก็ตาม พรรคภูมิใจไทยถามมา 4 ประเด็น ซึ่งกทม.ก็จะตอบกลับไปให้กับพล.อ.อนุพงษ์


“เราก็ตอบไปหลายครั้งแล้ว ส่วนเขาจะว่ายังไงก็แล้วแต่ข้างบน ผมถือว่าหมดหน้าที่แล้ว ทำทุกอย่างส่งไปตามหน้าที่ ผมยังไงก็ได้ เพราะมันไม่ได้เกิดเหตุในสมัยผม เรื่องมันมีมานานแล้ว ตั้งต้นมาจากตรงนั้น แล้วผมก็มาสานต่อให้มันจบตามหน้าที่ที่เราต้องทำ ส่วนผลจะออกมาก็ต้องแล้วแต่ แล้วแต่ผู้หลักผู้ใหญ่ก็แล้วกัน ผมทำตามคำสั่งอย่างเดียว เรื่องมันมานานแล้ว ตั้ง 20-30 ปีแล้ว ผมก็มาทำต่อให้มันถูกต้องตามกระบวนการ แต่ผมยืนยันว่าเราทำตามกฎหมายทุกอย่าง หารือฝ่ายกฎหมายทุกส่วน ผมก็อยากทำให้มันถูกต้อง ส่วนผมจะออกมายังไงก็แล้วแต่ผู้หลักผู้ใหญ่”



ผู้สื่อข่าวถามว่า คำถามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) สอบถามไปล่าสุด ตอบไปหรือยัง พล.ต.อ.อัศวินกล่าวว่า “ตอบไปให้มหาดไทยแล้ว ตอบอย่างนี้มา 8 รอบแล้ว”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2022 2:42 pm    Post subject: Reply with quote

ภท.เสียงเข้ม!ลั่นมท.อธิบายวิธีโอนหนี้‘สายสีเขียว’ไม่เคลียร์ ขอ‘สงวนความเห็น’
หน้าการเมือง
วันศุกร์ ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 13.32 น.


‘ศักดิ์สยาม’ยันปม‘สายสีเขียว’ไม่กระทบถึงขั้นถอนตัวรัฐบาล เสียงเข้ม‘มท.’ต้องอธิบายวิธีโอนหนี้ขยายสัญญาให้ได้ ไม่ขัดกฎหมาย ถ้าไม่เคลียร์ ‘ภท.’ต้องสงวนความเห็น สวน กทม. 8 รอบให้‘คำตอบ’อะไร

เมื่อเวลา 12.00 น.วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงการพิจารณารถไฟฟ้าสายสีเขียวขณะนี้ได้รับคำชี้แจงจากกระทรวงมหาดไทยแล้วหรือยัง ว่ายังรอคำตอบอยู่ หากยังไม่ได้รับคำตอบก่อนนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคมยังยืนยันเหมือนเดิม ส่วนกรณีที่ผู้ว่าฯกทม.บอกว่าให้คำตอบไปแล้ว 8 รอบนั้น ที่ตอบ 8 รอบนั้นตอบอะไร การตอบ 8 รอบก็ต้องตอบให้เคลียร์ ได้ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายหรือไม่




เมื่อถามว่าหาก ครม.ยืนยันโหวตและยืนยันตามเสียงส่วนใหญ่ พรรคภูมิใจไทยมีปัญหาอะไรหรือไม่ นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า เราก็ใช้เอกสิทธิแค่นั้นเอง อันนี้เป็นเรื่องปกติ เวลาประชุมไม่ได้หมายความว่าความเห็นต้องเหมือนกันหมดอยู่แล้ว เราก็พิจารณาจากข้อเท็จจริงตามข้อกฎหมายที่เราเห็น หากเห็นว่าเรื่องนี้ยังมีความไม่เรียบร้อยเราก็ต้องสงวนความเห็นแค่นั้น

ADVERTISEMENT



เมื่อถามว่าจะถึงขั้นถอนตัวออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ไม่เกี่ยว คนละเรื่อง เพราะในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลายครั้งมีเรื่องที่เห็นไม่ตรงกัน ปกตินายกฯจะบอกให้กลับไปหารือกันมีแค่นั้น

เมื่อถามว่าจุดยืนของกระทรวงคมนาคมคืออะไร นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ทุกเรื่องต้องทำตามระเบียบกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี ต้องเอาข้อเท็จจริงมาดูว่าได้ทำตามนั้นหรือไม่ ประเด็นที่อยากให้ดูคือเรื่องหนี้ที่นำมาใช้ในเรื่องนี้ ว่ามีระเบียบกฎหมายรองรับหรือไม่ ถ้าอธิบายได้ว่าหนี้เกิดขึ้นโดยการดำเนินการตามระเบียบกฎหมายก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าอธิบายไม่ได้แล้วเอาหนี้ที่ไม่มีระเบียบกฎหมายรองรับมาดำเนินการขยายสัญญาตรงนี้เป็นอะไรที่อันตราย



เมื่อถามว่าต่อให้ได้คำตอบหรือไม่ได้คำตอบจากกระทรวงมหาดไทย หากมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวในวันอังคารที่ 15 ก.พ. รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทยจะเข้าร่วมประชุมใช่หรือไม่ นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า เรื่องประชุมคณะรัฐมนตรีปกติ แต่ตนไม่อยู่เพราะติดภารกิจที่ประเทศสิงคโปร์ แต่หัวหน้าพรรคและรัฐมนตรีคนอื่นๆก็ยังเข้าร่วมประชุม

-005
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42697
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2022 8:00 pm    Post subject: Reply with quote

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัด กระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ,นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดแถลงข่าว กรณีการเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่อง ขอความเห็นชอบผลการเจรจาและเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว
นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวยืนยันว่า กระทรวงคมนาคมยืนยัน 4 ประเด็นสำคัญที่เคยเสนอความเห็นแก่คณะรัฐมนตรี
1. กระทรวงคมนาคม ยึดหลักความถูกต้องและผลประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับค่าโดยสารที่จะมีจากปัจจุบันไปถึงปี 2602 เห็นว่ารถไฟฟ้าทุกระบบจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบตั๋วร่วมเพื่อให้เกิดอัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรม
2. โครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เนื่องจากที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีบันทึกลงนามในข้อตกลงร่วมกัน ที่จะรับโอนให้กรุงเทพมหาคร(กทม.) ทาง กทม. ยังไม่เคยจ่ายค่าชดเชยในการก่อสร้างให้กับ รฟม. ครบ และการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับ กทม. ทางรฟม. ให้กทม. เข้าพื้นที่ เพื่อจัดเดินรถให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน เท่านั้น ส่วนภาระหนี้สินที่ กทม. มีการว่าจ้างเอกชนเข้ามาเดินรถนั้นทาง รฟม. ยืนยันว่าไม่ได้รับทราบหนี้สินในส่วนที่กทม.ไปว่าจ้างเอกชนเดินรถแต่อย่างใด
3. ขณะที่กรมการขนส่งทางราง (ขร.)ได้เผยข้อมูลตามผลศึกษาที่เป็นของกรุงเทพมหานครเ เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์ โครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในช่วงระยะเวลาที่ถูกอ้างอิงว่าจะมีการขยายสัมปทานถึงปี 2602 มีตัวเลขชัดเจนว่า กรณีหมดสัมปทาน และ รัฐเป็นผู้ดำเนินการเองระหว่างปี 2562 ถึง 2602 โครงการจะมีกระแสเงินสดสุทธิเป็น 467,822 ล้านบาท แต่หากเอกชนดำเนินเข้ามาดำเนินการแทน กทม.จะมีกระแสเงินสดเพียง 32,690 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้เห็นว่าหากภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการเดินรถเอง จะทำให้รัฐมีกระแสเงินสดมากกว่าให้เอกชนดำเนินการถึง 435,132 ล้านบาท ที่สำคัญการที่รัฐเป็นผู้บริหารโครงข่ายเองจะมีนัยยะสำคัญในการกำหนดค่าแรกเข้าของโครงข่ายระบบไฟฟ้าทั้งหมดเป็นอัตราที่เหมาะสมและช่วยแก้ปัญหาค่าครองชีพของประชาชน ทำให้ผู้โดยสารทุกกลุ่มสามารถเข้าใช้บริการรถไฟฟ้าได้
4. ที่ผ่านมา รฟม. ยืนยันถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้าง และที่ดินตลอดแนวโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายทั้ง 2 ช่วง และปัจจุบันยังไม่สามารถโอนหนี้สิน จากการก่อสร้างช่วงหมอชิต-คูคต และ กระทรวงคมนาคม ได้ทำหนังสือทวงถามถึง กทม เป็นระยะแต่ยังไม่ได้รับคำตอบ
ในเรื่องของการโอนกรรมสิทธิ์ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ขณะนี้ได้มีการนัดหมายเบื้องต้นระหว่างกระทรวงคมนาคมและ กทม. แล้ว ซึ่งจะมีหารือร่วมกันภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
https://www.thebangkokinsight.com/news/business/803585/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 88, 89, 90 ... 100, 101, 102  Next
Page 89 of 102

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©