Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13270771
ทั้งหมด:13582060
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 94, 95, 96 ... 100, 101, 102  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/10/2022 7:53 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ กระจกไร้เงา: สายสีเขียวยังไม่จบ
Source - ไทยโพสต์
Monday, October 31, 2022 03:53

กัลยา ยืนยง

ยังคงหาทางออกไม่เจอสำหรับปมกรณีขยายสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ลากยาวมาถึงกรณีการเก็บค่าโดยสารของส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 ช่วงหมอชิตคูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งอยู่ในกระแสความสนใจของประชาชน โดยล่าสุดถือเป็นเผือกร้อนสุดๆ ของผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สืบเนื่องจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้หยิบยกวาระการพิจารณาค่าโดยสารมาพูดอีกครั้ง และมีการนำเสนอเข้าที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร (สภา กทม.) พิจารณาด้วย

เบื้องต้น เสนอให้เก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 15 บาท เป็นราคาทดลอง และอาจจะปรับอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้สภา กทม.รับทราบก่อน เนื่องจากการเก็บค่าโดยสารอัตรา 15 บาทนั้นไม่พอกับค่าจ้างการเดินรถที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ต้องจ่ายให้กับบริษัท ขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC แต่ที่มีมูลค่าอยู่ ซึ่งชัชชาติมองว่า 15 บาทเป็นอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม

โดยคาดว่าหากสภา กทม.เห็นชอบแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนเพื่อแจ้งไปยังบริษัท กรุงเทพธนาคม หรือ KT ประกาศให้ผู้โดยสารทราบเพื่อจัดเก็บค่าโดยสารภายใน 1 เดือน หรือประมาณเดือน ธ.ค.2565-ม.ค.2566 ขณะเดียวกันในส่วนการทำความเห็นตอบกลับกระทรวงมหาดไทย กรณีการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ให้บีทีเอส สัญญาจะหมดปี 2572) ในส่วนของผู้บริหาร กทม.มีความเห็น 2 ประเด็น คือ

1.ไม่เห็นด้วยกับการต่อสัญญาสัมปทานโดยคำสั่งคณะ รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่ 3/2562 โดยให้นำสัมปทานมาจัดประมูลตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ 2562 (พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562) และ 2.จะเสนอรัฐ บาลเข้ามารับภาระค่างานก่อสร้างส่วนต่อขยายช่วงหมอชิตสะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ วงเงินประมาณ 58,000 ล้านบาท เหมือนโครงการอื่นๆ ของรัฐบาล

เนื่องจาก กทม.มองว่าการขออุดหนุนค่าโครงสร้างพื้นฐานเป็นเรื่องปกติของการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งปัจจุบันค่าโครงสร้างงานโยธารถไฟฟ้าส่วนต่อขยายส่วน 2 กทม.รับโอนหนี้จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประมาณ 5.8-5.9 หมื่นล้านบาท (รวมดอกเบี้ย) หากรัฐบาลไม่เห็นด้วยในการขออุดหนุน กทม.มีแนวทางที่จะเจรจา เพื่อที่จะขอโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งสาย

ได้แก่ ส่วนสัมปทานช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ส่วนต่อขายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่งสมุทรปราการให้กับรัฐบาล โดยมีเงื่อนไขบางประการ เช่น การของบประมาณชดเชย กำหนดเพดานค่าโดยสาร เป็นต้น

ล่าสุดในการประชุมสภา กทม. เมื่อวันที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่มีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยนายวิรัช คงคาเขตร ส.ก.เขตบางกอกใหญ่ ให้ข้อมูลว่า สำหรับญัตติที่ กทม.เสนอมานั้น ต้องหารือประธานสภา กทม.และผู้ว่าฯ กทม. เรื่องคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมองว่าใหญ่กว่าข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร จึงขอให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาเรื่องนี้อีกครั้ง

แน่นอนว่า การประชุมครั้งนี้ไม่ได้ข้อสรุปตามที่ กทม.นำเรื่องเสนอในที่ประชุม โดยที่ประชุมสภา กทม.เสนอว่า ควรให้ ส.ก.ชุดปัจจุบันได้รู้รายละเอียดต่างๆ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้มากกว่านี้ จึงเห็นว่าควรให้ถอนญัตติดังกล่าวออกไปก่อนแล้วค่อยกลับมาหารือกันใหม่อีกครั้ง แน่นอนว่าญัตติที่ กทม.เสนอมานั้น ส.ก.ได้ขออภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับญัตติดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้อยู่ในอำนาจของสภา กทม.

ดูเหมือนว่ามหากาพย์สายสีเขียวยังคงมีประเด็นถกอีกยาว ซึ่งที่ประชุมฯ มองว่าเรื่องดังกล่าวไม่ควรเป็นญัตติ ควรเป็นการเสนอขอความเห็นเท่านั้น แต่ที่สุดแล้วรายละเอียดยังไม่ชัดเจน อีกทั้งเรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นอำนาจหน้าที่ของสภา กทม.และผู้ว่าฯ กทม. จึงขอให้ถอนญัตติดังกล่าวออกไป แน่นอนว่าส่งผลให้ญัตติของ กทม.ที่เสนอในที่ประชุมนั้นต้องตกไปโดยปริยาย ก็ต้องมาลุ้นว่าในการประชุมครั้งถัดไปจะมีการหยิบยกญัตติดังกล่าวมาพิจารณาและจะได้ข้อสรุปหรือไม่.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 31 ต.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2022 8:03 pm    Post subject: Reply with quote

^^^^
งานนี้กลืนไม่เข้า คายไม่ออกจริงๆ เพราะ จะเอาแบบประชานิยมโดยไม่จ่ายหนี้ที่ค้างกันไว้ ก็ เสี่ยงที่จะพาสภากรุงเทพมหานครเข้าห้องขังได้ ที่พอลยจาลากเอาผู้ว่า กทมง ไปเข้าห้องขังตามไปด้วย


รถไฟฟ้ามาหา'ชัชชาติ'
28 ตุลาคม 2565 เวลา 0:04 น.

ไม่ใช่เรื่องรถไฟชนกันครับ

แต่เป็นเรื่องรถไฟฟ้าทับขา "ผู้ว่าฯ ชัชชาติ"

ไม่ขาด แต่ห้อยรุ่งริ่ง

เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ประชาชนต้องจดจำไว้เป็นบทเรียนว่า เวลานักการเมืองหาเสียง อย่าเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์

เพราะถึงคราวลงมือปฏิบัติ จะได้ไม่ถึงครึ่งที่หาเสียง

หรือทำไม่ได้เลย

เมื่อคราวหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. "ผู้ว่าฯ ชัชชาติ" พูดถึงการแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวว่าเป็น ๑ ใน ๔ ปัญหาเร่งด่วน ที่ต้องเริ่มทันทีหากได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม.

แล้วก็เป็นตามที่หาเสียงจริงๆ วันแรกของการรับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ หารือกับทีมรองผู้ว่าฯ กทม. บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) รวมไปถึงทีมที่ปรึกษาผู้ว่าฯ ถึงทางแก้ปัญหาและหนี้ที่ กทม.ต้องแบกรับ

หลังหารือ "ผู้ว่าฯ ชัชชาติ" แถลงข่าวให้คนกรุงได้ปลาบปลื้ม

คือวิธีการทำให้ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง ประชาชนสามารถเดินทางในราคาค่าโดยสาร ๒๕ บาทตลอดสายมีอะไรบ้าง?

“หนี้” ที่ กทม.ต้องแบกรับรวมๆ แล้วกว่า ๑.๒ แสนล้านบาท

แยกหนี้ออกเป็น ๓ ก้อน ดังนี้

ก้อนแรก ค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ จำนวน ๒.๓ หมื่นล้านบาท และส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ประมาณ ๔ หมื่นล้านบาท

รวม ๖.๓ หมื่นล้านบาท

หากรวมดอกเบี้ยที่ไม่จ่ายไปจนถึงปี ๒๕๗๒ ประมาณ ๗ หมื่นล้านบาท

โดยเจ้าหนี้ คือ กระทรวงการคลัง

หนี้ก้อนที่ ๒ คือ ค่าซื้องานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ๒.๔ หมื่นล้านบาท

เจ้าหนี้ คือ บีทีเอส มีกำหนดชำระภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ หากรวมดอกเบี้ยคาดว่าในปี ๒๕๗๒ จะมียอดหนี้รวม ๓ หมื่นล้านบาท

และหนี้ก้อนที่ ๓ คือ ค่าจ้างบีทีเอสในการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ รวมทั้งสิ้น ๑.๒ หมื่นล้านบาท

หนี้ทั้ง ๓ ก้อน คาดว่าในปี ๒๕๗๒ กทม.จะแบกหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวจำนวน ๑๒๑,๓๓๓ ล้านบาท

ถึงตรงนี้ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ รู้ปัญหาหมดแล้ว

วิธีแก้ไขล่ะ

ไอเดียของ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ คือ...

นี่คือหนี้โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ฉะนั้นจะเจรจากับรัฐบาลว่าสามารถโอนหนี้ส่วนดังกล่าวคืนได้หรือไม่

เหตุผลคือเนื่องจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายอื่นๆ รัฐบาลจะรับผิดชอบ จึงเห็นว่าในส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว รัฐบาลก็ควรจะต้องรับผิดชอบเช่นกัน

ฉะนั้นหากเป็นไปตามแผน ราคาค่าโดยสารลดลงมาได้ถึง ๒๕ บาท

มาถึงสิ่งที่ "ผู้ว่าฯ ชัชชาติ" ทำ

วันที่ ๒๖ ตุลาคม ไปขอความเห็นสภา กทม. เหตุผลคืออยากให้ทางสภา กทม.มีความเห็นด้วย เพราะต้องใช้งบประมาณจ่ายค่าส่วนต่างค่าเดินรถ

“เป็นเรื่องที่ต้องพูดคุย จะได้ทำอนาคตให้ถูก เป็นเหตุผลตามระบอบประชาธิปไตย ทางฝ่ายบริหารต้องรับฟัง ซึ่งถ้าสภา กทม.ไม่อนุมัติงบประมาณจ่ายส่วนต่อขยายที่ ๒ ให้ จากนี้ไปก็ต้องทำเป็นสัญญาให้ถูกต้องตามขั้นตอน"

มันคือการโยนให้สภา กทม.เป็นผู้ตัดสินใจ!

ผลของการคุยกันในสภา กทม.คือ ส.ก.ไม่เห็นด้วย เพราะไม่ได้อยู่ในอำนาจของสภา กทม.

สุดท้ายนำไปสู่การวอล์กเอาต์

ญัตติที่เสนอโดย ผู้ว่าฯ กทม. ก็ตกไป!

เริ่มจะมองเห็นแนวทางแก้ปัญหาของ "ผู้ว่าฯ ชัชชาติ" ใช้วิธีค่อนข้างง่ายคือ ปัดให้พ้น

ก็เหมือนกรณีไฟฟ้าสายสีเทาและสายสีเงิน ตามแผนงานที่ กทม.ต้องลงทุน

ปัดให้ รฟม.ลงทุน ด้วยข้ออ้างโครงการบางส่วนอยู่นอกพื้นที่ กทม. และตัดกับรถไฟฟ้าหลายสาย เกรงต้องเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน

น่าตกใจกับวิธีคิดแบบนี้

เพราะค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนในปัจจุบัน ควรต้องหาทางออกให้ได้ มันคือปัญหาที่ต้องแก้ ไม่ใช่ต้องหนี หรือปัดให้พ้นตัว

ผู้ว่าฯ ที่คนกรุงเลือกด้วยคะแนน ๑.๓ ล้านเสียง ต้องใช้จุดแข็งนี้ให้เป็นประโยชน์

ไม่ใช่มีไว้โม้อย่างเดียว

ณ ตอนนี้ ผู้ว่าฯ กทม. ๑.๓ ล้านเสียงของเรายังคิดไม่ออกครับว่าเรื่องรถไฟฟ้าจะเดินไงต่อ

หากไล่เรียงตั้งแต่ตอนหาเสียง วันนี้ยังเท่ากับศูนย์ครับ

เดินมาถึงทางตัน!

แต่ก็ไม่ถึงกับตันเสียทีเดียว

เพราะหลังจาก กทม.มีผู้ว่าฯ คนใหม่ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา มท.๑ มีหนังสือลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ ถึงผู้ว่าฯ กทม. ขอทราบแนวทางการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเสนอ ครม.ต่อไป

เหตุผลเพราะผู้ว่าฯ กทม.มีหนังสือถึง มท.๑ ขอความเห็นชอบให้ขยายสัมปทานให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นเวลา ๓๐ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๗๒-๒๖๐๒

โดยมีเงื่อนไขให้ BTSC แบกภาระหนี้สินทั้งหมดที่ กทม.มีอยู่กับ BTSC และ รฟม.

พร้อมกับแบ่งรายได้ให้ กทม.ไม่น้อยกว่า ๒ แสนล้านบาท

และกำหนดให้ BTSC เก็บค่าโดยสารในอัตรา ๑๕-๖๕ บาท

แต่แนวทางนี้ก็ถูกค้านจากเอ็นจีโอ และนักวิชาการ มองว่าประชาชนเสียประโยชน์ เอกชนรับทรัพย์

ก็ยังไม่ทราบครับว่าจะจบอย่างไร แต่หากไม่จัดการอะไร หนี้ กทม.ก็พอกขึ้นเรื่อยๆ

ประชาชนเลือกนักการเมืองมาเพื่อให้แก้ปัญหา

ถ้าแก้ไม่ได้ก็บอกประชาชนไปตรงๆ

การซื้อเวลาโยนปัญหาไปเรื่อยๆ ไม่ควรอยู่ในวิสัย

"ชัชชาติ" เป็นผู้ว่าฯ กทม.ร่วมครึ่งปีแล้ว เหลือเวลาอีกแค่ ๓ ปีครึ่งเท่านั้น ถือว่าไม่มาก ผลงานที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้มีอะไรบ้าง

ไลฟ์สด เข็นรถ ดนตรีในสวนที่เขาจัดกันมานานแล้ว

ตอนหาเสียง "ชัชชาติ" บอกว่านโยบายสวน ๑๕ นาที ทั่วกรุง ทำได้เลย

เมื่อได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. "ชัชชาติ" พานักข่าวไปดู สวนให้สถานี MRT วงศ์สว่าง ๒ ไร่ มูลค่า ๒๐๐ ล้านที่เอกชนยกให้

ไลฟ์สดแข็งขัน จะจัดสวนใหม่ มีทางให้วิ่งออกกำลังกาย ไม่ยากๆๆๆๆ

สภาพวันนี้ยังเป็นพงหญ้า.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/11/2022 11:30 am    Post subject: Reply with quote

'องค์กรผู้บริโภค' ชี้มีการโมเมหนี้แฝงรถไฟฟ้าสายสีเขียว ดักทางผู้ว่าฯกทม.จะไม่ต่อสัญญา
ไทยโพสต์ 2 พฤศจิกายน 2565 เวลา 9:14 น.

'กมล' ชี้มีการโมเมหนี้แฝงเพื่อเป็นข้ออ้างต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวอีก 30 ปี อย่างไม่โปร่งใส เผยคำนวณแล้วค่าโดยสารไป-กลับตลอดสาย 29.26 บาทเท่านั้น หวังผู้ว่าฯ กทม. จะไม่ต่อสัญญาที่จะสร้างภาระให้กับปชช.ในอนาคต

2 พ.ย.2565 - นายกมล กมลตระกูล กรรมการนโยบาย และประธานอนุกรรมการ ด้านการเงินการธนาคาร สภาองค์กรของผู้บริโภค โพสต์ข้อความถึงปัญหา รถไฟฟ้าสายสีเขียว มีเนื้อหาดังนี้

ชาวก.ท.ม. ควรมีโอกาสใช้รถไฟฟ้าราคาถูกเหมือนนานาประเทศ คือจ่ายค่าโดยสารไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าจ้างขั้นต่ำต่อวัน

การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งเป็นไข่แดงของระบบทั้งหมด ยังน่าเป็นห่วงว่าจะเดินหน้า แล้วประชาชนต้องจ่ายค่าโดยสารแพงกว่าที่คนทั่วโลกจ่ายในประเทศของเขา

หากเดินหน้าต่อสัญญาก่อนสัญญาเก่าหมดอายุตั้ง 7 ปี จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าทำไมไม่ให้หมดสัญญาแล้ว จ้างบริหารโดยการแบ่งรายได้ ซึ่ง ก.ท.ม. สามารถกำหนดราคาได้

หนี้รถไฟฟ้า มีหนี้แฝงที่เป็นการคาดการณ์ว่าจะเกิด หาก ก.ท.ม. เดินรถเอง และยังไม่เกิดนำมารวมด้วยในการต่อรองขอต่อสัญญา

ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดและไม่คัดค้านการต่อสัญญา ซึ่งมีความพยายามจะรวบหัวรวบหางมาก่อนหน้านี้

จากการศึกษาของสภาองค์กรของผู้บริโภคพบว่า

การต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งเป็นสายหลักใจกลางเมือง ที่ยืดเยื้อมานานตั้งแต่สมัยอดีตผู้คนเก่า กรุงเทพมหานคร แต่ปัจจุบันยังลูกผีลูกคนอยู่ว่าจะต่อหรือไม่

By TaboolaSponsored
ห้ามนำอาหารเหล่านี้แช่เย็นเด็ดขาด!
HealthSupportmag.com
ในอดีตมีการโมเมตัวเลขหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวให้เกินจริงโดยรวมหนี้ใน 10 ปีข้างหน้าที่ยังไม่เกิดมารวมเป็นหนี้ปัจจุบันเพื่อเป็นข้ออ้างต่ออายุสัมปทานสายสีเขียวีก 30 ปีอย่างไม่โปร่งใส

ตัวเลขหนี้ที่เคยเผยแพร่ในสื่อ คือ จำนวน 148,716.2 ล้านบาท( ประชาชาติธุรกิจ 14 กุมภาพันธ์ 64) ที่ กทม. อ้างขึ้นมาเพื่อแลกกับการต่ออายุสัมปทานแล้วคิดค่าโดยสารตลอดวาย 104 บาท หรือ 208 บาทในการเดินทางไปกลับ

แต่ตัวเลขที่กทม. ค้างจ่ายจริง ณ.ปัจจุบัน มีเพียง 34,837.00 ล้านบาทเท่านั้น

แบ่งเป็น หนี้การลงทุนโครงสร้าง 18,145.00 ล้านบาท

เงินชดเชยส่วนต่อขยาย 7090.00 ล้านบาท

หนี้ค้างชำระเดินรถ 3 ปี9 เดือน 9602.00 ล้านบาท

ตัวเลขต่างกันถึง 113,879.2 ล้านบาท คือ 1 แสน 1 หมื่น 3 พัน 8 ร้อย 79.2 ล้านบาท ทั้งนี้โดยคิดรวม ค่าใช้คืนดอกเบี้ยและค่างานระบบในอนาคตตั้งแต่ปี 2573 ถึงหมดอายุสัมปทานเป็นเงิน 88,904 ล้านบาท และ หนี้ค้างเดินรถส่วนต่อขยาย ตั้ง ปี 2562-2572 อีก 21,132 ล้านบาท ฯลฯ

ทั้งหมดนี้ได้ถูกนำมาเป็นยอดหนี้ในการพิจารณาของกทม.เพื่อแลกกับการต่ออายุสัมปทานไปอีก 30 ปี โดยอ้างว่า เป็นการล้างหนี้ ให้เอกชนจ่ายแทน

จากข้อมูลที่ถูกนำเสนอในกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร พบว่า กรุงเทพมหานครสามารถคืนหนี้สินได้ทั้งหมด และยังมีเงินเหลือนำส่งรัฐบาลได้มากถึง 380,200 ล้านบาท ในปี 2602 หากกทม. ไม่ต่อสัญญาสัมปทานล่วงหน้า โดยใช้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ผู้บริโภค ต้องจ่าย 49.83 บาท ในการคำนวณ

2. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีเขียวจะเหลือเพียง 29.26 บาท เพราะกทม. สามารถนำกำไรที่เกิดขึ้น 380,200 ล้านบาท มาสนับสนุนการลดค่าโดยสาร ซึ่งจะทำให้ลดได้ถึงปีละ มากกว่า 12,673.33 ล้านบาท หรือเดือนละ 1,056.11 ล้านบาท หรือวันละ 35.20 ล้านบาท หากคิดจำนวนผู้โดยสารวันละ 1 ล้านคน เราสามารถลดราคาให้ผู้บริโภคได้สูงถึง 35.20 บาทต่อคนต่อวัน เมื่อนำไปหักลบจากราคาที่ตั้งต้นค่าโดยสาร 49.83-35.20 = 14.63 บาทต่อเที่ยว ไปกลับตลอดสายทั้งวันจำนวน 29.26 บาทเท่านั้น

นี่ยังไม่รวมรายได้จากเชิงพาณิชย์ และรายได้จากการขายพื้นที่ให้โฆษณาตามสถานี และตลอดระยะทางของเส้นทางเดินรถอีกต่างหาก

ซึ่งสามารถนำรายได้นี้มาชดเชยลดค่าโดยสารลงได้อีก

จากตัวเลขข้างต้น จึงเกิดคำถามว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนและพวกพ้องใช่หรือไม่??

หากกทม. ไม่เร่งต่อสัญญา นอกจากจะคืนหนี้ได้หมด โดยไม่นำรายได้มาลดค่าโดยสารรถให้กับประชาชน ก็ยังสามารถนำเงินส่งรัฐ ได้สูงถึง 380,200 บาท

การต่อสัญญาจึงเป็นการสร้างภาระให้ผู้บริโภคที่ต้องจ่ายสูง ถึง 65 บาทตลอดสายต่อ 1 เที่ยว ไปกลับ 130 บาทต่อวัน เท่ากับ 40% จากค่าแรงขั้นต่ำ 331 บาทในกรุงเทพ ฯ

ยังไม่มีข้อมูล หลักฐานชี้แจงให้กับสาธารณชน ว่าคิดราคา 65 บาทต่อเที่ยว จากฐานคิดอะไร

ราคาค่ารถไฟฟ้าตลอดสายตามมาตรฐานสากลในเมืองใหญ่ๆเกือบทุกเมืองล้วนไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าจ้างขั้นต่ำของเมืองนั้นทั้งสิ้น

ค่ารถไฟฟ้าของไทยต่อเที่ยวตลอดสายจึงไม่ควรเกิน 20 บาท ไปกลับตลอดสายไม่เกิน 40 บาท

ดังนั้นการต่อสัญญาที่ไม่กำหนดเพดานการคิดราคาไม่ให้เกินร้อยละ 10 ของค่าจ้างขั้นต่ำตามมาตรฐานสากลจึงเป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนยาวนานถึง 38 ปี จนถึงปีพ.ศ. 2602

หวังว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด กทม. จะไม่เดินหน้าต่อสัญญาที่จะสร้างภาระให้กับประชาชนยาวนานไปในอนาคตอีก 30 ปีข้างหน้า


บทความ: รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว กับการแก้ปัญหาที่ต่างกัน (1)
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Saturday, November 05, 2022 05:59

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แสดงความเห็นถึงปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีเขียว ว่า รถ ไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-สายสีเขียว ปัญหาเหมือนกัน รฟม. "แก้" แต่ กทม. "โยน"

หลายคนคงไม่รู้ว่ารถ ไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีเขียว มีปัญหาทางการเงินในการต่อขยายเส้นทางเหมือนกัน รฟม.เจ้าของสายสีน้ำเงินแก้ปัญหาด้วยการขยายสัมปทานให้ผู้เดินรถไฟฟ้า แต่ กทม.เจ้าของสายสีเขียวแก้ปัญหาด้วยการ "โยน" ปัญหาให้รัฐบาล

รฟม.แก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายอย่างไร โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินภายใต้การกำกับดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ประกอบด้วยเส้นทางส่วนหลักและส่วนต่อขยาย ดังนี้

1.1 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนหลัก

ส่วนหลัก ช่วงหัวลำโพงบางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร รฟม.ลงทุนงานโยธาเป็นเงินจำนวน 91,249 ล้านบาท และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานลงทุนงานระบบรถไฟฟ้า อาณัติ สัญญาณ สื่อสาร และระบบตั๋ว เป็นเงินจำนวน 24,563 ล้าน บาท และให้บริการเดินรถตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547-2572 มีอัตราค่าโดยสารในปัจจุบัน 17-42 บาท

1.2 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย

ส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อท่าพระ ระยะทาง 11.08 กิโลเมตร และช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร รฟม.ลงทุนงานโยธาเป็นเงินจำนวน 59,583.75 ล้านบาท และ BEM ลงทุนงานระบบรถไฟฟ้า อาณัติ สัญญาณ สื่อสาร และระบบตั๋ว เป็นเงินจำนวน 22,785.42 ล้านบาท และให้บริการเดินรถตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2592 มีอัตราค่าโดยสารในปัจจุบัน 17-42 บาท

1.3 ปัญหาของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และวิธีแก้ปัญหาของ รฟม.

ขณะเดียวกันปัญหาของสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายคือหากผู้เดินรถไม่ใช่ BEM ผู้โดยสารจะต้องเปลี่ยนขบวนรถ ไม่สามารถเดินทางแบบต่อเนื่อง (Through Operation) ได้ และจะต้องเสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน รฟม. (โดยคณะกรรมการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ที่ 42/2559) จึงแก้ปัญหาโดยให้ BEM เป็นผู้รับสัมปทานลงทุนงานระบบรถไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ สื่อสาร และระบบตั๋ว และให้บริการเดินรถตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2592 เพื่อให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่อง และไม่มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน

เนื่องจากสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายมีผู้โดยสารน้อย ทำให้ BEM ขาดทุน ด้วยเหตุนี้ รฟม. (โดยคณะกรรมการตามคำสั่ง คสช.) จึงขยายสัมปทานสายสีน้ำเงินส่วนหลักให้ BEM เป็นเวลา 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2572-2592 เพื่อนำรายได้จากส่วนหลักมาชดเชยการให้บริการเดินรถส่วนต่อขยาย

นายสามารถ กล่าวต่อว่า ส่วนกทม.แก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรุงเทพ มหานคร (กทม.) ประกอบด้วยเส้นทางส่วนหลักและส่วนต่อขยาย ดังนี้

2.1 รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลัก

ส่วนหลัก ช่วงหมอชิตอ่อนนุช ระยะทาง 17 กิโลเมตร และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติสะพานตากสิน ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 16-44 บาท กทม.ได้ให้สัมปทานแก่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542-2572 โดย BTSC เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 100% ทั้งงานโยธาและงานระบบรถไฟฟ้า อาณัติ สัญญาณ สื่อสาร และระบบตั๋ว เป็นเงินประมาณ 53,000 ล้านบาท

2.2 รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย

2.2.1 ส่วนต่อขยายที่ 1 ประกอบด้วยช่วงสะพานตากสินบางหว้า ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 16-31 บาท และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย โดย กทม.ลงทุนในส่วนต่อขยายที่ 1 เป็นเงิน 16,675 ล้านบาท (รวมค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลบางส่วน แต่ไม่รวมค่าขบวนรถซึ่งลงทุนโดย BTSC) และจ้าง BTSC ให้เดินรถตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2585

2.2.2 ส่วนต่อขยายที่ 2 ประกอบด้วยช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร และช่วงหมอชิต-คูคต ระยะทาง 17.8 กิโลเมตร ยังไม่เก็บค่าโดยสาร ส่วนต่อขยายที่ 2 นี้ กทม. รับโอนมาจาก รฟม. พร้อมหนี้งานโยธาประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาท และได้จ้าง BTSC ให้เดินรถตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559-2585

2.3 ปัญหาของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย และวิธีแก้ปัญหาของ กทม.

ปัญหาของสายสีเขียวส่วนต่อขยายคือ หากผู้เดินรถไม่ใช่ BTSC ผู้โดยสารจะต้องเปลี่ยนขบวนรถ ไม่สามารถเดินทางแบบต่อเนื่องได้ และจะต้องเสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน กทม. (โดยคณะกรรมการตามคำสั่ง คสช.ที่ 3/2562) จึงแก้ปัญหาโดยให้ BTSC เป็นผู้รับสัมปทานลงทุนงานระบบระบบรถไฟฟ้า อาณัติสัญญาณ สื่อสาร และระบบตั๋ว และให้บริการเดินรถจนถึงปี พ.ศ. 2602 เพื่อให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่อง และไม่มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน

บรรยายใต้ภาพ

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 6 - 9 พ.ย. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/11/2022 4:15 pm    Post subject: Reply with quote

'บีทีเอส' เปิดคลิปจี้รัฐสางหนี้ 4 หมื่นล้านรถไฟฟ้าสายสีเขียว
กรุงเทพธุรกิจ 21 พ.ย. 2565 เวลา 13:45 น.

"บีทีเอส" เปิดคลิปทวงหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว 4 หมื่นล้าน บนรถไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าทุกแห่ง จี้ผู้มีอำนาจบริหารประเทศเร่งสางปัญหา หลังดอกเบี้ยขึ้นต่อเนื่อง

รายงานข่าวจากบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า วันนี้ (21 พ.ย.) บีทีเอสได้เริ่มเผยแพร่คลิปวิดีโอ ทวงหนี้ 40,000 ล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยระบุข้อความว่า “คนเราจะอดทนกับการแบกหนี้ได้นานแค่ไหน… ทำงานแต่ไม่ได้เงิน ต้นทุนเพิ่มขึ้นทุกวัน… ผู้มีอำนาจโยนไปโยนมา ไร้การตัดสินใจ ถึงเวลาเข้ามาจัดการปัญหา อย่าหนีปัญหา…อย่าปล่อยให้เอกชนสู้เพียงลำพัง ถึงเวลาจ่ายหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว 40,000 ล้าน #ติดหนี้ต้องจ่าย”

สำหรับเนื้อหาในคลิปวีดีโอดังกล่าว นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า “จ่ายเงินที่ควรจ่าย 3 ปีกว่า จำนวนเงิน 40,000 กว่าล้าน เพราะเอกชนผู้ลงทุน จ่ายทุกวัน พนักงานก็ต้องจ่าย ค่าไฟต้องจ่าย ผู้ที่มีอำนาจ บริหารประเทศอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกทม. หรือ การเมืองของประเทศ ต้องเข้ามาดูได้แล้ว ดอกเบี้ยขึ้นทุกวัน ท่านใดที่อยู่ในอำนาจควรคิดได้แล้วว่า ดอกเบี้ยที่ต้องเสียไป ยังไงก็ต้องจ่ายผม มันเป็นสิ่งที่ใครเสียหาย ผมเชื่อว่าประชาชน ภาษีเราเสียหาย อย่าปล่อยให้มันลอยไปลอยมาอย่างนี้ จะเอาอย่างไร เพราะสิ่งหนึ่งที่เราไม่ทำอยู่อย่างเดียวก็คือว่า เราไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ผมรับปากกับประชาชน ว่าผมจะไม่ยอมหยุดรถ เพราะหยุดรถนี่ ความเสียหายเกิดกับประชาชน ไม่ได้เกิดกับผมอย่างเดียว ไม่ได้เกิดกับนักการเมืองคนไหน ผมเชื่อว่าผู้โดยสารของผม คงเข้าใจผม"

ทั้งนี้ บีทีเอสมีกำหนดจะเปิดคลิปวีดีโอดังกล่าวบนรถไฟฟ้า และสถานีรถไฟฟ้าของบีทีเอสทุกแห่ง เป็นระยะเวลา 15 วัน

คนเราจะอดทนกับการแบกหนี้ได้นานแค่ไหน…
BTSSkyTrainChannel
Nov 21, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=QUkYv1Vtvdc

คนเราจะอดทนกับการแบกหนี้ได้นานแค่ไหน…
ทำงานแต่ไม่ได้เงิน ต้นทุนเพิ่มขึ้นทุกวัน…
ผู้มีอำนาจโยนไปโยนมา ไร้การตัดสินใจ ถึงเวลาเข้ามาจัดการปัญหา อย่าหนีปัญหา…อย่าปล่อยให้เอกชนสู้เพียงลำพัง ถึงเวลาจ่ายหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว 40,000 ล้าน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/11/2022 7:25 am    Post subject: Reply with quote

กทม.โยนครม.ฟันธงสายสีเขียว ยันมีเงินพร้อมจ่ายหนี้ BTS หมื่นล้าน
Source - แนวหน้า
Wednesday, November 23, 2022 06:10

กทม. โยนครม. ฟันธงสายสีเขียว ยันพร้อม จ่ายหนี้หมื่นล้าน ไม่มีเจตนาเบี้ยว

วันที่ 22 พ.ย.2565 นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายต่อศักดิ์ โชติมงคล ประธาน ที่ปรึกษาผู้ว่าราขการกรุงเทพมหานคร แถลงความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีเขียว ณ ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) สืบเนื่องกรณีบีทีเอส ปล่อยคลิปทวงหนี้ 40,000 ล้านบาท โดยกล่าวว่า กทม.ไม่มีเจตนาชะลอการชำระหนี้ แต่มีเหตุผลที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนี้ ส่วนต่อขยาย 1 คือ สถานีอ่อนนุช-สถานีแบริ่ง และสถานีตากสิน-สถานีบางหว้า เนื่องจากมีคำสั่ง คสช. เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการให้ไปเจรจากับเอกชน รับภาระค่าจ้างเดินรถส่วนต่อ ขยายที่ 1 ตั้งแต่พฤษภาคม 2562 จึงไม่สามารถ จ่ายได้ อีกทั้งมูลค่าหนี้อยู่ระหว่างให้บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที คิดอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม

ส่วนต่อขยาย 2 คือสถานีหมอชิตสะพานใหม่-คูคต และ สถานีแบริ่งสมุทรปราการ เนื่องจากสัญญาส่วนต่อขยายดังกล่าว ไม่เป็นไปตามขั้นตอน คือ ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร แต่เคทีกลับไปว่าจ้างเอกชนให้ดำเนินการวันที่ 28 มิถุนายน 2559 ก่อนจะมีบันทึกมอบหมาย ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ขณะที่ ส่วนต่อขยาย 1 ผ่านความเห็นชอบจากสภากทม.เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ส่วนต่อ ขยาย 1 และ 2 ต้องรอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและมีมติขยายสัมปทานหรือไม่ หาก ครม. อนุมัติทุกอย่างจะไปเป็นตามสัญญาใหม่ที่เอกชนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย แต่ถ้า ครม. ไม่อนุมัติ เป็นหน้าที่ กทม. ที่จะต้องกลับมาพิจารณาใหม่ เพื่อให้ขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมาย โดยมี 2 วิธี ได้แก่ 1.ให้สภากทม.ให้สัตยาบรรณย้อนหลังสัญญาจ้างเดินรถและสัญญาติดตั้งระบบ และ 2.ถ้าสภากทม. ไม่ให้สัตยาบรรณ ให้รอศาลปกครองตัดสิน

ด้านนายต่อศักดิ์กล่าวว่า กทม.มีเงินเพียงพอที่จะชำระหนี้ โดยเป็นเงินสะสมของ กทม. ที่มีอยู่ 7 หมื่นล้านบาท เบื้องต้นได้เตรียมไว้ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อมาชำระหนี้ ยืนยันว่าพร้อมจ่ายเงินทันที แต่กระบวนการไม่พร้อม จึงต้องทำอย่างรอบคอบ

ขณะที่รายงานข่าวแจ้งว่า มูลค่าหนี้ที่เอกชนทวงเป็นจำนวน 4 หมื่นล้านบาท มาจากค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยาย 1 จำนวน 3,800 ล้านบาท ค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยาย 2 จำนวน 14,000 ล้านบาท ค่าระบบอาณัติสัญญาณ จำนวน 19,000 ล้านบาท

ที่มา: นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 23 พ.ย. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2022 12:18 pm    Post subject: Reply with quote

“ยิ่งเจริญสแควร์” เปิดสิ้นปีหน้า ปั้นแลนด์มาร์กใหม่ดอนเมือง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:21 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 16:21 น.

ผู้จัดการรายวัน 360 - ตลาดยิ่งเจริญ เตรียมคิกออฟ “ยิ่งเจริญ สแควร์” สะพานใหม่-ดอนเมือง ภายใต้แนวคิด ความอร่อยแห่งใหม่ ใกล้บ้านคุณ เป็นอาคารสูง 4 ชั้น มีรูปแบบผสมผสานร่วมสมัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมกว่า 16,000 ตารางเมตร รองรับผู้ประกอบการ และร้านค้าอาหารที่หลากหลาย ท่ามกลางชุมชนขนาดใหญ่ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องของกรุงเทพมหานครตอนเหนือ บนพื้นที่ติดถนนพหลโยธิน และรถไฟฟ้าสายสีเขียว เชื่อมสถานีสะพานใหม่ N20 ปักหมุดเป็น “แลนด์มาร์คแหล่งใหม่” ใจกลางชุมชนสะพานใหม่-ดอนเมือง สานต่อนโยบาย Yingcharoen Together ยิ่งเจริญไปด้วยกัน ศูนย์กลางชุมชนที่เชื่อมโยง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคที่หลากหลาย เปิดจองพื้นที่แล้ววันนี้


ดร. ณฤมล ธรรมวัฒนะ ประธานกรรมการบริหารตลาดยิ่งเจริญ กล่าวว่า ตลาดยิ่งเจริญเตรียมเปิดตัว “ยิ่งเจริญ สแควร์” เป็นอาคารผสมผสาน ร่วมสมัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความสูงรวม 4 ชั้น และมีพื้นที่กว่า 16,000 ตารางเมตร รองรับผู้ประกอบการ และร้านอาหารนานาชาติ พร้อมพื้นที่รองรับการใช้บริการของประชาชนทุกกลุ่มทุกวัย ที่มีความสะอาด สะดวกสบาย ปลอดภัย และที่สำคัญสามารถมาพักผ่อนหย่อนใจ ทำกิจกรรมกับครอบครัว เพื่อนฝูงอย่างลงตัว ด้วยอาคารนี้จะแวดล้อมด้วยธรรมชาติ และโครงการ “คิดจากคลอง” ที่ฟื้นฟูสภาพคลองลำผักชี คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2566

โดยอาคารนี้ มุ่งพัฒนาจากรากฐานตลาดคือศูนย์กลางชุมชน ดังนั้นจึงตั้งเป้าหมายเป็น “สะพานใหม่ แลนด์มาร์ค” เพื่อให้สอดรับกับพัฒนาองค์กรอย่างมีส่วนร่วม รับผิดชอบ และยั่งยืน ด้วยการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ สังคม-ชุมชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชนชาวสะพานใหม่-กรุงเทพ ฯ ตอนเหนือ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายของชุมชนในย่านนี้ อาทิ การจัดการพื้นที่ส่วนกลาง และบริการร้านค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะแก่การพักผ่อน (Common Area) การจัดการพื้นที่กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์



นอกจากนี้ความโดดเด่นของอาคารคือ สถานที่ตั้ง ที่การเดินทางสะดวก ด้วยติดกับถนนพหลโยธิน และเชื่อมกับสถานีสะพานใหม่ (N20) รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว และใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ สนามบินนานาชาติและฐานทัพอากาศดอนเมือง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีปทุม ราชภัฎพระนคร เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินรถโดยสารสาธารณะในถนนสายหลัก และสายรอง แวดล้อมด้วยชุมชนขนาดใหญ่ และชุมชนขยาย คอนโดกว่า 3,500 ยูนิต ซึ่งปัจจุบันตลาดยิ่งเจริญมีผู้ใช้บริการหมุนเวียนเฉลี่ยต่อวัน อย่างน้อยกว่า 25,000 คน

นายอริย ธรรมวัฒนะ กรรมการบริหารตลาดยิ่งเจริญ กล่าวว่าการพัฒนาตล าดยิ่งเจริญ ยังคงยึดหลักและขับเคลื่อนตามนโยบาย “Y Together” ยิ่งเจริญไปด้วยกันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีพันธกิจมากกว่า ตลาดสด หากแต่มุ่งหวังตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย เปลี่ยนแปลง และเพิ่มขึ้น ของลูกค้าทุกกลุ่มทุกวัย พร้อมทั้งยังอนุรักษ์ตลาดให้อยู่คู่สังคมไทย ถือเป็นวิถีไทย วิถีโลก ควบคู่กับการสร้างงานสร้างอาชีพ และสร้างประโยชน์ต่อชุมชน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งแนวคิดการพัฒนาศูนย์จัดการขยะเหลือศูนย์ร่วมกับเขตบางเขน กทม. จัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้แนวคิดขยะคือทอง เพื่อการเรียนรู้ชุมชนที่สร้างสรรค์ และยั่งยืน



นอกจากนี้ต่อยอดการแบ่งปันร่วมกับสังคม เพื่อสนับสนุนทุนทรัพย์แด่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ผ่านมูลนิธิโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ในการจัดโครงการ “ยิ่งส่ง ยิ่งสุข เพื่อโรงพยาบาลพ่อ” ผ่าน #ส่งสดดอทคอม https://www.songsod.com/ ด้วย 4 แนวทาง ได้แก่

1. สื่อสารการทำอาหารสุขภาพด้วยคริป VDO ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ต โดยสั่งอาหารมาทานได้เองผ่าน “ส่งสด”
2. ส่งสุขภาพพร้อมทานร้านที่เข้าร่วมโครงการสามารถใส่เมนูสุขภาพสามารถเชิญชวนหน้าร้านหรือผ่านเดลิเวอร์รี่ต่างๆ ทุกยอดการสั่งซื้อสามารถเข้าร่วมทำบุญได้ตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันนี้ - 27 มี.ค. 66
3. ส่งสุขให้กับเพื่อนมนุษย์โดยผ่านการบริจาคได้ทุกช่องทางผ่านพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการ
4. ส่งสุขให้เต็มอิ่ม จัดงานยิ่งส่ง ยิ่งสุข รวมร้านค้ามากกว่าร้อยบูธ เพื่อรับบริจาคและรับของที่ระลึก


ในปัจจุบันตลาดยิ่งเจริญตั้งอยู่บนที่ดินกว่า 30 ไร่ มีจำนวนร้านค้าประมาณ 1500 ร้าน แบ่งเป็นโซนต่างๆเพื่อความสะดวกในการซื้อสินค้าครบทุกประเภท นอกจากนี้ยังมีโซนต่างๆ เปิดให้บริการอีก เช่น โซนตลาดนัดคนกันเอง ตลาดนัดคลองถม 2 ลานโปรโมชั่น ยิ่งเจริญพลาซ่า ศูนย์อาหารให้บริการ 24 ชั่วโมง และโรงเรียนการเรือนยิ่งเจริญ เป็นต้น ตลาดยิ่งเจริญถือเป็นตลาดค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร มีคนเข้ามาจับจ่ายซื้อของในตลาดสดจำนวนประมาณ 25,000 คน ต่อวัน โดยพบว่ามีรถเข้ามาใช้บริการราว 7,000 – 8,000 คัน ในวันปกติ และในเทศกาลสำคัญไม่ต่ำกว่า 10,000 คัน ต่อวัน แบ่งสินค้าออกเป็น 15 กลุ่ม ได้แก่
1.เนื้อสัตว์
2.ปลา และของทะเล
3.ผัก
4.สินค้าชำ
5.อาหารแปรรูป
6.อาหารสำเร็จรูป
7.เครื่องดื่ม
8.สินค้าทานเล่น ขนม
9.ผลไม้
10.ดอกไม้
11.เครื่องแต่งกาย
12.อุปกรณ์เครื่องใช้
13.อุปกรณ์ไอที
14.บริการ
15. อื่นๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2023 11:00 am    Post subject: Reply with quote

พรุ่งนี้รถไฟฟ้าสีเขียวเข้าสภา กทม. “ชัชชาติ” ขอก่อหนี้ผูกพัน ส.ก.ขอตั้ง กก.แก้ปัญหา
ข่าวทั่วไทย กทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันอังคาร ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 09:30 น.

วันที่ 9 ม.ค.66 น.ส.นฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ โฆษกสภากรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 วันที่ 11 ม.ค. มีญัตติเสนอต่อที่ประชุมสภา กทม.ทั้งหมด 7 ญัตติ ดังนี้
1.ญัตติของ น.ส.นิภาพรรณ จึงเลิศศิริ ส.ก.เขตป้อมปราบฯ เรื่อง ขอให้ กทม.พิจารณาออกกฎหมายให้มีการ จัดการมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง
2.ญัตติของนายฉัตรชัย หมอดี ส.ก.เขตบางนา เรื่อง ขอให้ กทม.สำรวจและปรับปรุงทางเท้าให้มีคุณภาพดีเท่ากันทั่วเมือง
3.ญัตติด้วยวาจาของนายพีรพล กนกวลัย ส.ก.เขตพญาไท เรื่อง ขอให้สภา กทม.ตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาความคุ้มค่าของโครงการต่างๆในการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

4.ญัตติด้วยวาจาของนายนภาพล จีระกุล ส.ก.เขตบางกอกน้อย เรื่อง ขอให้สภา กทม.ตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว
5.ญัตติของนายสุร จิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ส.ก.เขตลาดกระบัง เรื่องขอให้ กทม.พิจารณาจัดสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพของโรงเรียนในสังกัด กทม.ให้มีความเหมาะสม
6.ญัตติของนางสาวภัทราภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย ส.ก.เขตบางซื่อ เรื่อง ขอให้ กทม.แก้ไขปัญหาการติดตั้งลิฟต์โดยสารที่ไม่ได้มาตรฐานของโรงเรียนในสังกัด กทม.
7.ญัตติของนายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ส.ก.เขตจอมทอง เรื่อง ขอให้สภา กทม.ตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาระบบขนส่งมวลชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว นอกจากนี้ จะมีวาระการพิจารณาซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ว่าฯ กทม.เสนอ คือ เรื่อง ขอความเห็นชอบเพิ่มวงเงินงบประมาณก่อนดำเนินการก่อหนี้ผูกพัน และรายงานผลการดำเนินงานของ กทม.ตามญัตติที่ ส.ก.ได้เสนอไว้ให้ที่ประชุมรับทราบ 3 เรื่อง.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/01/2023 6:59 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
พรุ่งนี้รถไฟฟ้าสีเขียวเข้าสภา กทม. “ชัชชาติ” ขอก่อหนี้ผูกพัน ส.ก.ขอตั้ง กก.แก้ปัญหา
ข่าวทั่วไทย กทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันอังคาร ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 09:30 น.

กทม.โดน BTS ฟ้องครั้งที่ 2
Source - ไทยรัฐ
Monday, January 16, 2023 04:07
ค้างค่าจ้างเดินรถปี 64-65 ต่อเนื่องหนี้ก้อนแรก

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. กล่าวถึงบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ BTSC ยื่นฟ้องกทม. ครั้งที่ 2 กรณีไม่ชำระค่าจ้างให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2564 ถึงวันที่ 20 พ.ย.2565 ว่าในการประชุมสภา กทม. วันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมามีมติเห็นชอบกับญัตติเรื่อง ขอให้สภา กทม.ตั้งคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และเสนอให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญฯ 23 คน โดยเป็น ส.ก.18 คน และฝ่ายบริหาร 5 คน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวต้องรอผลสรุปอีกครั้ง ส่วนทางด้านคดีก็ว่าไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย

ด้านนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. ได้รายงานแจ้งให้ทราบกรณีดังกล่าวแล้ว ถือว่าเป็นสิทธิของบริษัท ที่จะดำเนินการฟ้องร้อง ซึ่งเป็นการฟ้องครั้งที่ 2 เพื่อให้ชำระค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2564 ถึงวันที่ 20 พ.ย.2565 ซึ่งเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องจากการฟ้องจากครั้งที่ 1 ที่ให้ชำระค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตั้งแต่เดือน พ.ค.2562 ถึงเดือน มิ.ย.2564 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการอุทธรณ์คดี ทั้งนี้ การฟ้องคดีครั้งที่ 2 น่าจะเป็นผลดีต่อ กทม.ที่จะได้มีการชี้แจงข้อมูลรายละเอียดให้ศาลได้รับทราบ เพราะการฟ้องครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน กทม.ไม่สามารถชี้แจงข้อมูลได้ เนื่องจากเลยกำหนดเวลา ดังนั้น กทม. จะใช้โอกาสนี้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากที่ปรึกษาบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือเคที และจากคณะทำงานของ กทม.ที่ตั้งขึ้น ที่ได้มีการวิเคราะห์เรื่องการลงทุนการคำนวณค่าจ้างในการเดินรถที่เหมาะสม เพื่อรายงานต่อศาลรับทราบต่อไป.

ที่มา: นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 16 ม.ค. 2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 25/01/2023 5:17 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลง
ก่อนและหลังที่จะมีรถไฟฟ้า BTS คูคตเกิดขึ้น
ฝั่งกรุงเทพ เขตสายไหม
1.) ตลาดเอซี สายไหม เริ่มเปิดให้บริการปี 2558
2.) หมู่บ้าน AP The City พหลโยธิน เริ่มเปิดปี 2559
3.) ถนนตัดใหม่ประตูกรุงเทพช่วงพหลโยธิน - ลำลูกกา เปิดใช้ปี 2561
4.) ศูนย์ซ่อมบำรุงและโรงเก็บรถไฟฟ้าสายสีเขียว
ฝั่งปทุมธานี อำเภอลำลูกกา
1.) รถไฟฟ้า BTS สถานีคูคต เปิดให้บริการวันที่ 16 ธันวาคม 2563
2.) มีอาคารจอดรถรองรับคนจากพื้นที่เขตสายไหมและลำลูกกา
3.) มีการสร้างคอนโดติดรถไฟฟ้า Nue Cross
เป็นการรองรับการเข้าถึงของรถไฟฟ้าทั้งสองฝั่งด้วยกัน
จุดเด่นของเขตสายไหมคือมีอยู่อาศัยที่มากที่สุดเป็นอันดับ
หนึ่งของกรุงเทพเพราะแหล่งที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่
และปทุมธานีก็มีรถไฟฟ้า 2 สายแล้ว
เยี่ยม....👍
https://www.facebook.com/krungthepMK/posts/219085497150516
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/02/2023 10:14 am    Post subject: Reply with quote

มท.ตอบ กทม.สายสีเขียว ของบหนุนให้เสนอ ครม.-กทม.เตรียมนัดถก
ไทยรัฐออนไลน์ 20 ก.พ. 2566 09:35 น.

มท.ส่งหนังสือตอบกลับรับทราบแนวทางแก้ปัญหาสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 2 แนว ชี้ให้ทำตามหน้าที่ กทม.เตรียมเรียกประชุมหน่วยสรุปข้อมูลทำเอกสารเสนอ ครม. พิจารณาเห็นชอบเร็วที่สุด

นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม.เปิดเผยว่า ตามที่ กทม.ส่งหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทยขอความเห็นแนวทางแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ซึ่ง กทม.ได้เสนอ 2 แนวทาง ได้แก่ 1.รัฐบาลต้องอุดหนุนค่างานโยธาส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตและช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ที่รับโอนทรัพย์สินและหนี้สินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2559 และปี 2561 วงเงิน 58,000 ล้านบาท 2.การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวตามคำสั่ง คสช.ที่ 3/2562 นั้น ไม่ควรดำเนินการตามนี้ แต่ควรเปิดให้มีการประมูลตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนปี 2562

นายวิศณุกล่าวว่า เมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยได้ทำหนังสือตอบกลับ กทม. ว่า 1.รับทราบข้อมูลของ กทม.และขอให้พิจารณาดำเนินการตามแนวทางที่ กทม.ได้พิจารณาแล้วตามอำนาจหน้าที่ต่อไป 2.หากประสงค์จะยื่นเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น ขอสนับสนุนงบประมาณ เป็นต้น ขอให้จัดทำข้อมูลโดยละเอียดให้กระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี ปี 2548 และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ปี 2548 เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ กทม.เตรียมนัดหน่วยงานในสังกัดที่รับผิดชอบ ประชุมหารือกำหนดรายละเอียดและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อจัดทำเอกสารเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบโดยเร็วที่สุด.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 94, 95, 96 ... 100, 101, 102  Next
Page 95 of 102

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©