Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181656
ทั้งหมด:13492894
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 90, 91, 92 ... 100, 101, 102  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/02/2022 3:39 pm    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์ 19 ก.พ.นี้ “คมนาคม” จัดทีมสัมมนา แก้ปมสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว
หน้าแรก เศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 18 ก.พ. 2565 เวลา 12:39 น.

“คมนาคม” ดึงกมธ.-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดสัมมนารถไฟฟ้าสายสีเขียวจะเป็นอย่างไรต่อ พร้อมหาทางออกปมสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้า วันที่ 19 ก.พ.นี้

เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 65 นายอดิพงษ์ ฐิติพิทยา เลขานุการคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย (ภท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการคมนาคมมีกำหนดจัดสัมมนา เรื่อง "สายสีเขียวจะไปอย่างไรต่อ" วันเสาร์ที่ 19 ก.พ.65 ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กทม. เวลา 09.00 น. โดยมี นายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานเปิดพิธีสัมมนา

สำหรับการสัมมนาเรื่อง "สายสีเขียวจะไปอย่างไรต่อ" จะมีวิทยากรมาร่วมอภิปราย ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ พรรคก้าวไกล ผู้แทนพรรคการเมือง น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ดำเนินรายการโดย นายเจษฎา จี้สละ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2022 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
‘ซูเปอร์โพล’ เผยปชช.ส่วนใหญ่เคลือบแคลงปมขัดแย้งรถไฟฟ้าสายสีเขียว
เดลินิวส์ 14 กุมภาพันธ์ 2565 12:27 น.
การเมือง


4 ว่าที่ผู้สมัคร ผู้ว่ากทม.แนะทางออกค่าโดยสาร 25 บาท แก้สัมปทานสายสีเขียว
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
14 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 17:13 น.

4 แคนดิเดตว่าผู้สมัครชิงผู้ว่ากทม.ค้านต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวแลกหนี้ พร้อมเสนอทางออก แก้ปัญหาค่าโดยสารแพง หลังกทม.อ่วมแบกหนี้แสนล้าน ยืนยันเก็บค่าโดยสาร 25 บาท ช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า กรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวออกไป 30 ปี นั้น ปัจจุบันแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว แบ่งออกเป็น 3 ช่วง 1.สายสีเขียวหลักช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งเป็นสัมปทานที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2572 2.ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง 3.ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดย 2 ช่วงดังกล่าวกทม.เป็นผู้ลงทุนและจ้างเอกชนเดินรถ ที่ผ่านมาอดีตผู้ว่ากทม.ได้มีการขยายสัญญาจ้างเดินรถทั้งเส้นทางสายหลักถึงปี 2585 จากเดิมที่สัมปทานเส้นทางหลักมีสัญญาเดินรถที่สิ้นสุดในปี 2572 โดยนำเรื่องหนี้เพื่อดำเนินการต่อสัญญาสัมปทานถึงปี 2602 ทำให้เป็นที่มาของการคิดอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 65 บาท







“สิ่งที่สำคัญคือความไม่ชัดเจนของสัญญาจ้างเดินรถถึงปี 2585 อีกทั้งการเสนอครม.ในการขอต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวถึงปี 2602 และการคิดอัตราค่าโดยสาร 65 บาท เชื่อว่าไม่เคยมีใครเห็นรายละเอียด เมื่อไม่มีข้อมูลที่โปร่งใสทำให้การตัดสินใจเป็นไปได้ยาก สิ่งที่ทำได้คือการนำข้อมูลของเอกชนที่อยู่ในตลาดหุ้น พบว่าค่าจ้างเดินรถค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับการรายงานผลดำเนินงานของบริษัทในตลาดหุ้น”





นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า สำหรับนโยบาย 5 ข้อ ถึงการแก้ไขสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ดังนี้ 1.ไม่ควรต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวออกไปถึงปี 2602 เนื่องจากยังมีเวลาให้ดำเนินการพิจารณา รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านพ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ ซึ่งมีการการกำหนดเรื่องความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล อีกทั้งการต่อสัญญาสัมปทานนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมาตรา 44 หากต้องดำเนินการควรทำตามพ.ร.บร่วมลงทุนให้ถูกกฎหมาย 2.กทม.ต้องรีบเจรจาเรื่องหนี้ค่าจ้างเดินรถและหนี้ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล เนื่องจากที่ผ่านมารฟม.และครม.ได้มีการโยนหนี้ให้กทม.เป็นผู้รับผิดชอบ รวมกว่าแสนล้านบาท ตามหลักแล้วกทม.ไม่ควรรับหนี้ในส่วนนี้เพราะไม่ใช่เรื่องของเรา โดยการนำเรื่องนี้มาเกี่ยวข้องเชื่อว่าจะเป็นเงื่อนไขในการเร่งต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าโดยอ้างเหตุผลว่าไม่มีเงินชำระหนี้ 3.ปัจจุบันมีการเปิดให้บริการฟรีในช่วงส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เป็นเวลานาน 3 ปี ทำให้หนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งกทม.ต้องเร่งดำเนินจัดเก็บค่าโดยสารให้เร็วขึ้นเพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ในเส้นทางสายหลัก ซึ่งเอกชนเป็นผู้จัดเก็บรายได้ ทำให้สามารถต่อรองกับเอกชนได้ในราคาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดภาระหนี้ลลง







4.เปิดเผยสัญญาจ้างเดินรถปี 2585 ให้ชัดเจนในการคำนวณต้นทุนการเดินรถและมีรายละเอียดส่วนใดที่ทำให้รัฐเสียเปรียบหรือไม่ ซึ่งเป็นต้นทุนในการคิดอัตราค่าโดยสาร หากยังไม่ต่อสัญญาสัมปทานรายได้ทั้งหมดจะกลายเป็นของกทม.ทันที ทำให้กทม.สามารถชำระค่าเดินรถให้กับเอกชนได้ 5.หารายได้อื่นประกอบ ปัจจุบันเอกชนมีรายได้จากการจัดเก็บค่าโดยสารและรายได้จากการเช่าพื้นที่โฆษณา หากสิ้นสุดสัมปทานปี 2572 รายได้ดังกล่าวควรนำมาเป็นส่วนแบ่งรายได้ให้กับภาครัฐด้วย ซึ่งจะช่วยลดค่าโดยสารลงเหลือ 25-30 บาทได้

นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวว่า การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวในครั้งนี้ เพราะกทม.อ้างมีหนี้ค่าจ้างเดินรถและค่าระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล ราว 30,000 หมื่นล้านบาท แต่ปัจจุบันกทม.ยังไม่ได้รับหนี้โครงสร้างพื้นฐานงานโยธาจากรฟม.ราว 70,000 ล้านบาท ขณะที่กระทรวงคมนาคมยังคัดค้านการต่อสัญญาสัมปทาน เนื่องจากรฟม.ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ให้กับกทม.ทำให้ไม่สามารถต่อสัญญาสัมปทานทั้งสายให้เอกชนได้ แสดงให้เห็นว่ากทม.ไม่สามารถจัดการกับภาระหนี้ของตนเองได้ จึงต้องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าที่มีการเพิ่มในส่วนแบ่งรายได้ของกทม. 200,000 ล้านบาท ทำให้ประชาชนต้องแบกรับค่าโดยสาร 65 บาท ออกไปอีก 30 ปี





“หากมีการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทำให้ไม่สามารถทำระบบตั๋วร่วมได้ทุกเส้นทาง เท่ากับกทม.เป็นเหมือนจรเข้ขวางคลอง เพราะจะมีการเรียกเก็บค่าโดยสารแรกเข้าซ้ำซ้อน ซึ่งไม่มีทางที่ประชาชนสามารถจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าในราคาถูกลงได้ เราอยากเสนอการค้านต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลงในปี 2572 กทม.จะเป็นเจ้าของทันที โดยจะยกให้รัฐบาลและรฟม.ไปดำเนินการ โดยไม่รับส่วนแบ่งรายได้จากเอกชน เพื่อให้ระบบรถไฟฟ้าสามารถเชื่อมต่อร่วมกันได้ทั้งระบบ ซึ่งทำให้ราคาค่าโดยสารมีราคาเดียวอยู่ที่ 40-45 บาท โดยใช้สูตรการคิดคำนวณค่าโดยสารของรฟม.คือ ค่าแรกเช้า 12 บาท+2 บาทต่อสถานี หากสามารถดำเนินการได้จะทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 3-5 ล้านคนต่อวัน จากเดิมที่มีผู้โดยสารใช้บริการอยู่ที่ 1.2 แสนคนต่อวัน”





นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล กล่าวว่า หากการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวในครั้งนี้ลากยาวไปถึงปี 2602 นั้นเท่ากับประชาชนจะต้องแบกรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพงถึง 30 ปี เบื้องต้นพบว่าการต่อสัญญาสัมปทานในครั้งนี้ไม่มีเงื่อนไขการจัดเก็บค่าโดยสารแบบตั๋วร่วม หากไม่มีการใช้ระบบตั๋วร่วมที่สามารถใช้เดินทางข้ามรถไฟฟ้าแต่ละสายและรถโดยสารร่วมกัน ซึ่งเป็นช่องทางของระบบขนส่งสาธารณะที่สำคัญที่ไม่ควรมีการเก็บค่าโดยสารซ้ำซ้อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดไม่ได้หากเงื่อนไขดังกล่าวไม่อยู่ในการต่อสัญญาสัมปทานในครั้งนี้







“หากถามว่าทำไมรถไฟฟ้าสายนี้ถึงสำคัญ เนื่องจากรถไฟฟ้าสายนี้มีเส้นทางสายหลักที่เป็นไข่แดง ซึ่งมีปริมาณผู้โดยสารใช้บริการมากที่สุด หากไม่ดำเนินการกำหนดเงื่อนไขค่าโดยสารร่วมกัน จะทำให้ไม่สามารถกำหนดราคาค่าโดยสารที่ถูกลงได้ หากต่อสัญญาสัมปทานแล้วจะไม่สามารถแก้ไขเงื่อนไขใดๆได้”







นายวิโรจน์ กล่าวต่อว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร เมื่อวันที่11 เม.ย.2562 คณะรัฐประหารใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งที่ 3/2562 ตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดเงื่อนไขและไม่ใช้พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งจุดแตกต่างระหว่างการใช้อำนาจมาตรา 44 กับการใช้พ.ร.บ.การร่วมลงทุน คือการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสให้ประชาชนได้รับทราบ ซึ่งคนกรุงเทพฯ ควรรับรู้ค่าโดยสารในส่วนนี้ ทั้งนี้ควรเปิดเผยเงื่อนไขและเกณฑ์ที่กำหนดในการใช้มาตรา 44 คืออะไร แต่ปัจจุบันแม้สิทธิที่จะรู้เงื่อนไขนั้นยังไม่สามารถแก้ไขได้





ขณะที่เรื่องการโอนรับหนี้ของรฟม.นั้นทางกทม.ไปรับหนี้มาได้อย่างไร หากการยอมรับหนี้ในครั้งนี้เท่ากับว่ากทม.ยอมจำนนกับสภาพที่เป็นอยู่ โดยหนี้ที่ได้จากรฟม.ทางกทม.ควรไปเจรจาและอย่ามาเป็นข้อต่อรองเพื่อให้นายทุนเอกชนมาบีบคนกรุงเทพฯแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนชำระหนี้หรือไม่รับหนี้ได้หรือไม่ เพราะมันไม่ได้เป็นเจตจำนงของคนกรุงเทพ และควรเจรจาผ่อนผันหนี้กับบีทีเอสกว่า 3.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นหน้าที่ผู้ว่ากทม.ที่ต้องแก้ไขปัญหาในการคุยและเจรจากับภาครัฐโดยกทม.ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมการเจรจากับรถไฟฟ้าทุกสาย หากคนกรุงเทพต้องการค่าโดยสารตั้งแต่15-45 บาท ก็ควรเปิดเผยรายละเอียดให้คนกรุงเทพฯรับทราบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส


นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ว่าที่ผู้สมัครกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สาเหตุการต่อสัญญาสัมปทานในครั้งนี้มาจากกระทรวงคมนาคมคิดไม่ครบ ทำไม่เสร็จ สุดท้ายจะทำให้ภาระอยู่ที่ประชาชนและกทม. ที่ผ่านมาภาครัฐมีการสร้างส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-คูคต-สะพานใหม่และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยมีค่างานโยธาราว 8 หมื่นล้านบาท เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ และเมื่อมีการแยกการบริหารจัดการทำให้มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าที่ต่างกันทั้งๆที่เป็นเส้นทางเดียวกันควรมีผู้รับสัมปทานรายเดียว เพื่อให้การจัดเก็บค่าโดยสารง่ายกับประชาชน ขณะเดียวกันระบบขนส่งมวลชนทั่วโลกเป็นสวัสดิการของภาครัฐ แต่กลายเป็นว่าค่างานโยธาที่มีการโยนให้กับกทม.และเอกชน ทำให้ค่าโดยสารไม่สามารถถูกลงได้ ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ไม่สามารถทำให้ค่าโดยสารถูกลงได้









“เราควรคิดอัตราค่าโดยสารจากกำลังการจ่ายค่าโดยสารของประชาชนทุกคนว่ามีอยู่เท่าไร โดยคิดจากเปอร์เซ็นต์ของค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และไม่ควรให้ประชาชนเสียค่าเดินทางเกิน 20% ของค่าแรงขั้นต่ำ หรือไม่เกิน 60 บาท เพื่อไม่เป็นภาระต่อกทม.โดยกทม.ต้องแก้ปัญหาหนี้กว่า 30,000 ล้านบาท และภาครัฐต้องดำเนนิการให้เท่าเทียมเหมือนกับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ และจะทำอย่างไรให้ค่าโดยอยู่ที่ 20-25 บาท ปัจจุบันค่าเดินรถ 7,000 ล้านบาทต่อปี หากกทม.มีการจัดเก็บค่าโดยสารอยู่ที่ 20 บาท เมื่อราคาค่าโดยสารลดลง จะทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ซึ่งเพียงพอต่อการชำระหนี้เดินรถ ขณะที่การแก้ปัญหาหนี้ 30,000 ล้านบาท นั้นยังพบว่ามีรายได้อื่นๆด้วย เช่น การเช่าพื้นที่โฆษณา การเช่าพื้นที่ค้าขาย ราว 2,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งปัจจุบันยังมีสัญญาสัมปทาน ทำให้เราสามารถชำระหนี้ในส่วนนี้ได้ ขณะเดียวกันกทม.สามรถใช้ระบบทางการเงินในการออกพันธบัตร ดอกเบี้ยอยู่ที่ 3%ต่อปี ดีกว่าฝากเงินที่ได้ดอกเบี้ยไม่ถึง 1% ซึ่งจะได้เงินจำนวนนี้มาชำระหนี้ได้ครบเต็มจำนวน และสามารถจัดเก็บค่าโดยสารอยู่ที่ 20-25 บาทได้ทันที”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2022 11:59 am    Post subject: Reply with quote

ทางออก "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" ภาคประชาชน-ก้าวไกล ประสานเสียง ชะลอต่อสัมปทาน
กรุงเทพธุรกิจ 19 ก.พ. 2565 เวลา 11:36 น.

19 ก.พ.2565 ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล คณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร โดย นายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฏร ได้จัดสัมมนาในหัวข้อ ‘สายสีเขียวจะไปอย่างไรต่อ’ โดยมีผู้เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐ และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

นายโสภณ กล่าวว่า จากกรณีที่ประชาชนมีการวิพากวิจารณ์โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวของรัฐ ทำให้ กมธ.คมนาคม มีความเป็นห่วง ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ จึงมีความเห็นที่จะเชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายผู้รับผิดชอบทั้งกระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงคมนาคม มาสัมมาเพื่อหาทางออก เพื่อให้ได้ทราบสถานะรถไฟฟ้าสายสีเขียว และเพื่อให้ได้เข้าใจถึงวิธีและทราบข้อมูลการเสนอต่ออายุสัมมปทานว่าจะเป็นผลดีผลเสียต่อประชาชนอย่างไร หากเลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนได้อย่างไร และเพื่อเป็นการหาทางออกร่วมกัน

ผู้เข้าร่วมสัมมนา อย่างนางสาวสารี อ่องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวบนเวทีสัมมนาว่า จะเป็นโอกาสที่ทำให้เข้าไปจัดการรถไฟฟ้าทั้งระบบได้ โดยจะต้องชะลอการต่อสัญญาสัมปทาน ซึ่งบริษัทจะไม่เสียสิทธิ์ เพราะยังอยู่ในระยะเวลา และมองว่า รัฐบาลและ กทม.จะต้องจ่ายหนี้บริษัท เพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องร้องและบริษัทไม่เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน

และองค์กรผู้บริโภคมองว่า ราคา 25 บาทต่อเที่ยวประเทศไทยสามารถทำได้ โดยการเอาจำนวนเที่ยวทั้งหมดต่อปีบวกค่าใช้จ่ายในการเดินรถ คำนวนออกมาแล้ว เพื่อให้ราคาเป็นธรรมกับผู้บริโภค ซึ่งราคาปัจจุบัน65บาท ถือเป็นราคาที่ไม่เป็นธรรม

ทั้งนี้ มีข้อเสนอระยะสั้น เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งเป็นข้อเสนอถึงปี 2572 โดยให้มีการเก็บค่าโดยสาร 15-44บาท โดยรวมส่วนต่อขยายทั้งหมด และคิดอัตราค่าโดยสารใหม่ โดยกำหนดหลักเกณฑ์คิดตามระยะทาง เช่น เพิ่มสถานีละ1บาท สูงสุด44บาท เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้บริโภค และส่งเสริมให้ผู้บริโภคเข้าถึงรถไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น รวมถึง หารายได้จากสถานีส่วนต่อขยาย เช่น เปิดเช่าพื้นที่ ค่าโฆษณา ค่าเชื่อมต่อสถานี อีกทั้ง กทม.และรัฐบาลจะต้องจ่ายหนี้บริษัททั้งหมด

ส่วนข้อเสนอหลังหมดสัญญาสัมปทาน หลังปี 2572 จะต้องเปิดประมูลการเดินรถ โดยกำหนดเงื่อนไข มาตรฐานการบริการ และราคาต่ำสุดสำหรับประชาชนแต่ต้องไม่เกิน25บาทต่อสาย และให้แยกประมูลหารายได้จากส่วนต่อขยาย ทั้งค่าเช่าพื้นที่ ค่าโฆษณาสถานี ค่าเชื่อมต่อสถานี ทั้งนี้ทางองค์กรผู้บริโภค ก็จะเปิดให้ร่วมลงชื่อคัดค้านการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวด้วย

ขณะที่ นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวบนเวทีเสวนา ว่า กระทรวงมหาดไทย รับฟังความคิดเห็นในข้อเสนอทุกข้อจากทุกฝ่าย เช่น เรื่องการลดค่าโดยสาร ที่ได้ข้อมูลจาก กทม.ว่า ถ้าไม่เป็นหนี้ก็สามารถลดราคาได้ แต่หากเป็นหนี้ ก็ไม่สามารถทำได้ ซึ่ง กระทรวงมหาดไทยก็จะรับฟังข้อมูลต่างๆที่เป็นข้อเสนอ เพื่อนำไปหารือกับ กทม. ก่อนที่จะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพราะกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูล

ด้านนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม มี3หน้าที่คือ ผู้ปฏิบัติ ผู้กำกับดูแล เพราะโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายได้มอบหมายให้ กระทรวงคมนาคมดำเนินการ และที่กระทรวงคมนาคมรับมาดำเนินการดูแลรับผิดชอบเพราะอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร

และชี้แจงว่า ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคม พยายามที่จะช่วยเหลือและบรรเทาภาระให้กับประชาชน ในการคิดค่าโดยสาร เพราะจากการสำรวจพบว่า ประชาชนไม่เดินทางตั้งแต่ต้นสายยันปลายสาย แต่เดินทางไม่เกิน12กิโลเมตร ดังนั้นการคิดค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสในปัจจุบันราคาค่อนข้างสูง ประกอบกับค่าโดยสารแรกเข้าที่มีราคาเริ่มต้นสูงเช่นกัน แต่หากมีการใช้สูตรคำนวนค่าแรกเข้าเหมือนรถไฟฟ้า MRT ก็จะทำให้ค่าโดยสารถูกลงถึง14บาท

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคม ได้กำหนดสัญญาของรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองในอนาคตไว้แล้ว ว่าหากใครจะมาเป็นผู้ถือสัมปทาน จะต้องไม่คิดค่าแรกเข้า สำหรับผู้ที่เดืนทางมาจากระบบขนส่งมวลชนต่างสาย โดยส่วนนี้มองว่า จะช่วยลดค่าโดยสารให้กับประชาชนในสายนั้นๆได้ ซึ่งตนเองตั้งคำถามว่า การเขียนสัญญาของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ได้คำนึงถึงเรื่องนี้หรือไม่

ส่วนนายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการขยายสัญญาสัมปทานตามร่างสัญญาปัจจุบัน และตั้งแต่ปี 2562 พรรคก้าวไกลได้ต่อสู้เรื่องนี้มาตลอด ทั้งการปกปิดการต่ออายุสัมปทาน ที่มองว่า มีการใช้ ม.44 ไปเจรจาแบบไม่เปิดเผยในการต่อสัมปทานอีก30ปี จากเดิมที่เหลือ7ปี ทำให้ไม่ว่มารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้จึงเสนอใช้ พรบ.ร่วมทุนปี 2562 ในการแก้ไขปัญหา
ทั้งนี้ยังมองว่าอีกว่า งานเสวนา เกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวในแต่บะเวทีไม่เคยมีตัวแทนของ กทม. และ บีทีเอส มาร่วมวงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/02/2022 8:40 am    Post subject: Reply with quote

กมธ.คมนาคม เสนอ 2 ทางออก ขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว-ตั้งคกก.ชุดใหม่ทบทวน
หน้าแรก อสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจ 20 ก.พ. 2565 เวลา 8:19 น.

เวทีสัมมนา กมธ.คมนาคม เสนอ 2 ทางออกขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว-ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ทบทวนร่างสัญญาสัมปทาน พร้อมกําหนดเกณฑ์แบ่งปันผลประโยชน์ค่าโดยสาร เสนอคลังผ่อนผันหนี้

การสัมมนาเรื่อง "สายสีเขียวจะไปอย่างไรต่อ" เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งจัดโดย คณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับปัญหาขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่กำลังเป็นประเด็นจับตาของสังคมขณะนี้

นายโสภณ ซารัมย์ ประธานกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า หลังจากฟังความเห็นจากทุกฝ่าย คณะกรรมาธิการการคมนาคมเห็นควรให้ทุกฝ่ายร่วมผลักดัน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการต่อสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ไปต่อได้ ภายใต้หลักการธรรมาภิบาล ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากในกรณีที่การเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวแล้ว ครม. พิจารณาไม่เห็นชอบ กทม. จะมีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้

กรณีที่ 1 ดำเนินการต่อสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้

กรณีที่ 2 ให้กระทรวงมหาดไทย โดย กทม. พิจารณาทบทวนผลการเจรจา และปรับปรุงร่างสัญญาสัมปทาน แล้วจึงดำเนินการตามคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562 ข้อ 3 เพื่อให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โครงการส่วนต่อขยายที่ 1 และโครงการส่วนต่อขยายที่ 2 สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation) รวมทั้งอัตราค่าโดยสารเป็นไปอย่างเหมาะสม ให้กระทรวงมหาดไทยดําเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง โดยคณะกรรมการมีหน้าที่กําหนดหลักเกณฑ์การแบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสาร รวมถึงหลักเกณฑ์อื่น เพื่อประโยชน์ในการรวมโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โครงการส่วนต่อขยายที่ 1 และโครงการส่วนต่อขยายที่ 2 พร้อมดําเนินการเจรจาร่วมกับผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

รวมทั้งการพิจารณาเจรจาและทบทวนร่างสัญญาสัมปทานอีกครั้ง โดยให้ผู้ว่า กทม. ที่จะได้รับเลือกตั้งใหม่ ในปี 2565 มาร่วมพิจารณาดำเนินการ ภายใต้การรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภค ประชาชนผู้ใช้บริการ แล้วจึงนำมาเสนอ ครม. พิจารณาอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดได้

อาทิ การคิดคำนวณอัตราค่าโดยสาร การบริหารจัดการรายได้ รวมทั้งการบริหารจัดการหนี้สิน ภายใต้กรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งการแก้ไขภาระหนี้สินที่ กทม. แบกรับในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ควรแบ่งการพิจารณา ดังนี้

ภาระหนี้ส่วนที่ 1 งานระบบไฟฟ้าในส่วนต่อขยายกว่า 20,000 ล้านบาท ควรให้กระทรวงการคลังบันทึกทำเป็นรายการหนี้ไปก่อน ไม่จำเป็นต้องชำระหนี้ในทันที แต่ให้ขอผ่อนผันชำระหนี้ภายหลังการบริหารจัดการรายได้แล้ว

ภาระหนี้ส่วนที่ 2 ค่าใช้จ่ายในการบริหารเดินรถในส่วนต่อขยายกว่า 17,000 ล้านบาท ควรพิจารณาจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายในอัตรา 15 บาทตลอดสาย เพื่อนำรายได้มาแบ่งเบาภาระหนี้สินและเมื่อดำเนินการบริหารจัดการโครงการ ให้นำรายได้ตลอดทั้งโครงการภายหลังปี 2572 มาบริหารระดมทุนในกองทุนที่จัดตั้งเพื่อบริหารจัดการภาระหนี้สินดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2022 8:21 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ทางออก "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" ภาคประชาชน-ก้าวไกล ประสานเสียง ชะลอต่อสัมปทาน
กรุงเทพธุรกิจ
วันเสาร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 11:36 น.

ถกแก้!แก้สัมปทานสายสีเขียว แนะโละม.44ตั้งกก.ชุดใหม่ยึดพรบ.ร่วมทุน
วันเสาร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 13.37 น.

กมธ.คมนาคมฯ จัดเสวนาเสนอทางออกแก้ปัญหา สัมปทานสายสีเขียว แนะยกเลิก ม.44 ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้และตั้งกรรมการชุดใหม่ นำกลับเข้าไปพิจารณา ตาม พรบ.ร่วมทุนฯ ขณะที่สภาองค์กรของผู้บริโภค เผยคนไทย จะใช้รถไฟฟ้า จ่ายเงินสูงเกือบ 40 % ต่อรายได้พื้นฐาน


เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีการจัดสัมมนา “สายสีเขียวจะไปอย่างไรต่อ “ จัดโดย คณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับปัญหาขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่กำลังเป็นประเด็นจับตาของสังคมขณะนี้


นายโสภณ ซารัมย์ ประธานกรรมาธิการ คมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า หลังจากฟังความเห็นจากทุกฝ่ายวันนี้ กรรมาธิการฯ ขอเสนอทางออก เกี่ยวกับ ปัญหาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งแน่นอนท้ายที่สุดจะต้องมีการนำเรื่องนี้เข้าพิจารณาในครม. โดยทางออกสามารถดำเนินการได้ คือเมื่อ ครม.พิจารณา ก็สามารถ มีมติไม่เห็นด้วยกับที่กระทรวงมหาดไทยนำเสนอ และขอให้นำกลับไปพิจารณารายละเอียดใหม่

ขั้นตอนต่อไป นายกรัฐมนตรีและ ครม. ต้องมีมติยกเลิกคำสั่ง ม.44 เดิม เพื่อให้สามารถนำประเด็นเรื่องนี้ กลับไปพิจารณาตามขั้นตอน พรบ. ร่วมทุนฯ ได้ และให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการๆ ชุดใหม่ซึ่งเป็นที่ยอมรับ มาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษารายละเอียดและเจรจากับเอกชน ให้ครอบคลุมทั้งปัญหา การดำเนินการจัดการปัญหากรรมสิทธิ์ให้ถูกต้อง อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม การดำเนินการตามระบบตั๋วร่วม รวมถึงกรอบระยะเวลาในการดำเนินงาน การจัดการภาระหนี้สินที่ กทม.มีอยู่ โดยต้องทำให้ทุกอย่างโปร่งใสและถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเชื่อแนวทางนี้ก็จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด



ส่วนหาก ครม. จะยังดันเดินหน้านำประเด็นการขยายสัมปทาน 30 ปี เข้าสู่การพิจารณา ครม. อีกรอบ และเห็นชอบไป ประธานกรรมาธิการ คมนาคม ระบุว่า ครม. ก็ต้องรับชอบตามกฎหมาย ที่ดำเนินการไปเช่นนั้นเอง

ส่วนความจากผู้เข้าร่วมสัมมนา เวทีนี้ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค ระบุ ย้ำปัญหาเรื่องนี้ สภาองค์กรฯ มีข้อมูลชัดเจนว่า ปัจจุบัน คนไทยต้องใช้บริการรถไฟฟ้าแพง เมื่อเทียบกับรายได้พื้นฐาน เช่น ฝรั่งเศส ใช้ค่าโดยสาร 3 % ต่อ รายได้ขั้นต่ำของประชาชน ญี่ปุ่น 9 % แต่คนไทยปัจจุบันต้องจ่าย 28 % หากสัมปทานสายสีเขียวต่อไปอีก 30 ปี ต้องเก็บค่าโดยสาร สูงสุด 65 บาท จะเท่ากับคนไทย ต้องจ่ายค่ารถไฟฟ้า 39 % เมื่อเทียบกับรายได้พื้นฐาน

“เรื่องนี้ ย้ำว่า รัฐบาลอย่าดัน ต่อสัมปทาน อย่าทำให้หมดโอกาส จัดระบบรถไฟฟ้า เป็นโครงข่าย ราคาเดียว และหากไปขยายสัญญาสัมปทานสายสีเขียว จากที่จะหมดสัญญาปี 2572 ไปถึง 2602 หรืออีก 37 ปี จะเป็นการสร้างภาระในอนาคต เกิดภาระให้คนในรุ่นต่อไป”

โดยย้ำว่าสภาองค์กรฯ ไม่มีต้องการทำให้เกิดปัญหาเอกชน หรือ กทม .ขาดสภาพคล่อง และขอย้ำว่า ราคารถไฟฟ้าสายสีเขียว คนละ 25 บาท เดินทางทุกโครงข่ายไม่เกิน 33 บาท เป็นราคาทำได้จริง โดยตามอัตราค่าโดยสารนี้ กทม มี .รายได้ 23,200 ล้านบาท ในช่วงดังกล่าว ซึ่งเพียงพอแล้ว และสภามีข้อเสนอทางออกเรื่องนี้ คือ



1 .ส่วนภาคเอกชน จนกว่าจะหมดสัมปทานในปี 2572 สภาองค์กรฯ มีข้อเสนอ 3 ข้อ คือ ให้มีการจัดเก็บค่าโดยสาร 15 บาท และสูงสุดไม่เกิน 44 บาท โดยส่วนต่อขยาย สามารถเก็บค่าโดยสารเพิ่ม กม.ละ 1 บาท เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการรถไฟฟ้า /ให้มีการหารายได้จากพื้นที่พาณิชย์ และโฆษณา ในส่วนต่อขยาย และ กทม . หรือภาครัฐ ไปจ่ายหนี้แก่เอกชน

2 . หลังปี 2572 ซึ่งเอกชน ยังถือสัญญา จ้างเดินรถถึงปี 2585 ก็สามารถเปิดประมูลจ้างเดินรถ ถึงปี 2585 (แนวเส้นทางบีทีเอส เดิม) ซึ่ง บีทีเอส ก็สามารถร่วมประมูลได้ หากบีทีเอส ชนะประมูลก็ไม่มีปัญหา หากเป็นรายอื่นในสัญญา สามารถกำหนดให้รายใหม่ต้องเจรจากับบีทีเอส . ซึ่งเป็นผู้รับจ้างเดินรถส่วนต่อขยายอยู่

ยืนยันว่า เรื่องนี้ เมื่อบริการรถไฟฟ้าเป็นการจัดการบริการสาธารณะ ต้องถกเถียงกันได้ เพราะหากครม. ยังฝืนมีมติดังกล่าว ต่อสัมปทานไป ทุกคนทำอะไรไม่ได้ หากจะไปยกเลิกในอนาคต กลายเป็นค่าโง่ ที่เป็นภาระของภาษีประชาชนอีก

ส่วนประเด็นที่รัฐบาล กังวลว่า หากไม่เอาเรื่องนี้ เข้าครม . จะโดน ดำเนินคดี 157 ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ยืนยัน หากรัฐบาลนำเข้าพิจารณาใน ครม. และบอกว่า ไม่เห็นด้วยกับที่ กระทรวงมหาดไทย เสนอ ก็ถือว่า รัฐบาลทำแล้ว ถ้าหากรัฐบาลไปดันขยายต่อสัมปทาน ก็จะโดนดำเนินคดี 157 เช่นเดียวกัน



นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ปัญหาเรื่องนี้ เกิดจากการที่ คสช. ไป มุมมิบ ใช้ ม.44 ในการเจรจา ขยายสัมปทาน กับเอกชน ในเดือนเม.ย. 2562 โดยไม่เคย เปิดเผยข้อมูลอะไรเลยให้ สาธารณชนทราบ ทั้งๆที่ ควรเปิดเผยว่า หลังหมดสัมปทานปี 2572 ช่วงเส้นทางสัมปทานของบีทีเอส เดิม ที่เป็นไข่แดง (หมอชิต-อ่อนนุช-สนามกีฬาฯ) เอกชนมีกำไรเท่าไหร่ ซึ่งจะใช้มาเป็นฐานตัวเลขในการคำนวณ ค่าโดยสารที่เหมาะสมหลังปี 2572 และควรดำเนินการให้เป็นไปตาม พรบ.ร่วมทุนฯ คือโปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่ใช่ไปใช้ ม.44 มาทำแบบตรวจสอบอะไรไม่ได้เลย

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัด กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ผ่าน กระทรวงคมนาคม ได้พยายามขอตัวเลข ที่เกี่ยวข้องกับ กทม จาก กทม. ส่วนทางออกของปัญหาเรื่องนี้ ท้ายสุดควรเป็นอย่างไร กระทรวงคมนาคม มีจุดยืนมาตลอด ให้ กทม. เร่งเคลียร์ ประเด็น กฎหมาย เรื่อง กรรมสิทธ์ ให้จบ จากปัญหาการรับโอนส่วนต่อขยาย สายสีเขียว ด้านทิศเหนือ ทิศใต้ เพื่อให้กทม. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ถูกต้อง ตามหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งประเด็นนี้ย้ำว่า ทั้ง 2 ฝ่ายต้องหันหน้าเข้าหากัน



ส่วนการแก้ปัญหาหนี้ ของ กทม. เรื่องนี้ สามารถใช้แนวทาง เช่า กทม .ไปออกตราสารหนี้ (บอนด์) เพื่อระดมทุนในการแก้ปัญหาหนี้ ก่อนหมดสัมปทานอีก 7 ปี หลังจากนั้น สามารถเปิดประมูลหาผู้รับจ้างเดินรถสัมปทานบีทีเอส.เดิม เพื่อหารายได้ มารับภาระที่เกิดจากการออกบอนด์ ในอนาคต โดยสามารถจัดตั้งหน่วยงานบริหารการเดินรถไฟฟ้าทั้งระบบ เช่น เดียวกับมหานครชั้นนำ อย่างลอนดอน อังกฤษ ซึ่งทุกคนก็เอาใจช่วย ให้ กทม . จัดบริการขนส่งสาธารณะ ให้ดี

ด้านนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ที่ผ่านมา ซึ่งมีกฎหมายออกมา (ประกาศ คสช) ให้กระทรวงมหาดไทย ต้องดำเนินการเรื่องนี้ หากไม่ดำเนินการนำเรื่องนี้ เข้า ครม. กระทรวงมหาดไทย ก็กลายเป็นว่า ไม่ได้ทำตามกฎหมาย แต่กระทรวงมหาดไทย จะดำเนินการอย่างไร ก็ต้องให้ กทม. ซึ่งเป็นต้นเรื่อง ทำการศึกษา ส่งรายละเอียดมา เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณา ครม. ในอนาคต
กมธ.คมนาคม เสนอ 2 ทางออก ขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว-ตั้งคกก.ชุดใหม่ทบทวน
หน้า อสังหาริมทรัพย์
วันอาทิตย์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 8:19 น.

เวทีสัมมนา กมธ.คมนาคม เสนอ 2 ทางออกขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว-ตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ทบทวนร่างสัญญาสัมปทาน พร้อมกําหนดเกณฑ์แบ่งปันผลประโยชน์ค่าโดยสาร เสนอคลังผ่อนผันหนี้

การสัมมนาเรื่อง "สายสีเขียวจะไปอย่างไรต่อ" เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งจัดโดย คณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับปัญหาขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่กำลังเป็นประเด็นจับตาของสังคมขณะนี้



นายโสภณ ซารัมย์ ประธานกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า หลังจากฟังความเห็นจากทุกฝ่าย คณะกรรมาธิการการคมนาคมเห็นควรให้ทุกฝ่ายร่วมผลักดัน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการต่อสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ไปต่อได้ ภายใต้หลักการธรรมาภิบาล ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากในกรณีที่การเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวแล้ว ครม. พิจารณาไม่เห็นชอบ กทม. จะมีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้


กรณีที่ 1 ดำเนินการต่อสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้



กรณีที่ 2 ให้กระทรวงมหาดไทย โดย กทม. พิจารณาทบทวนผลการเจรจา และปรับปรุงร่างสัญญาสัมปทาน แล้วจึงดำเนินการตามคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562 ข้อ 3 เพื่อให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โครงการส่วนต่อขยายที่ 1 และโครงการส่วนต่อขยายที่ 2 สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation) รวมทั้งอัตราค่าโดยสารเป็นไปอย่างเหมาะสม ให้กระทรวงมหาดไทยดําเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง โดยคณะกรรมการมีหน้าที่กําหนดหลักเกณฑ์การแบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสาร รวมถึงหลักเกณฑ์อื่น เพื่อประโยชน์ในการรวมโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โครงการส่วนต่อขยายที่ 1 และโครงการส่วนต่อขยายที่ 2 พร้อมดําเนินการเจรจาร่วมกับผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว



รวมทั้งการพิจารณาเจรจาและทบทวนร่างสัญญาสัมปทานอีกครั้ง โดยให้ผู้ว่า กทม. ที่จะได้รับเลือกตั้งใหม่ ในปี 2565 มาร่วมพิจารณาดำเนินการ ภายใต้การรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภค ประชาชนผู้ใช้บริการ แล้วจึงนำมาเสนอ ครม. พิจารณาอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดได้



อาทิ การคิดคำนวณอัตราค่าโดยสาร การบริหารจัดการรายได้ รวมทั้งการบริหารจัดการหนี้สิน ภายใต้กรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งการแก้ไขภาระหนี้สินที่ กทม. แบกรับในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ควรแบ่งการพิจารณา ดังนี้




ภาระหนี้ส่วนที่ 1 งานระบบไฟฟ้าในส่วนต่อขยายกว่า 20,000 ล้านบาท ควรให้กระทรวงการคลังบันทึกทำเป็นรายการหนี้ไปก่อน ไม่จำเป็นต้องชำระหนี้ในทันที แต่ให้ขอผ่อนผันชำระหนี้ภายหลังการบริหารจัดการรายได้แล้ว



ภาระหนี้ส่วนที่ 2 ค่าใช้จ่ายในการบริหารเดินรถในส่วนต่อขยายกว่า 17,000 ล้านบาท ควรพิจารณาจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายในอัตรา 15 บาทตลอดสาย เพื่อนำรายได้มาแบ่งเบาภาระหนี้สินและเมื่อดำเนินการบริหารจัดการโครงการ ให้นำรายได้ตลอดทั้งโครงการภายหลังปี 2572 มาบริหารระดมทุนในกองทุนที่จัดตั้งเพื่อบริหารจัดการภาระหนี้สินดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2022 1:28 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.รับติดตั้งสะพานเหล็กเอง จบปมหนี้ "สายสีเขียว" กมธ.คมนาคมแนะตั้งกรรมการชุดใหม่เจรจา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 08:08 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 08:08 น.

กทม.ตอบ "คมนาคม" แล้ว ชี้แจงปมข้อสังเกตต่อสัมปทานสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เคาะรับโอนติดตั้งสะพานเหล็ก 2 ตัวมาติดตั้ง จบปมหนี้สิน ด้าน "โสภณ ซารัมย์" สรุปผลสัมมนา "กมธ.คมนาคม" แนะตั้ง กก.ชุดใหม่เจรจาต่อสัมปทานบีทีเอส

รายงานข่าวแจ้งว่า จากที่กระทรวงคมนาคมมีความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2565 เรื่องขอความเห็นชอบผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เนื่องจากข้อมูลที่ กทม.จัดทำเพิ่มเติมนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงในข้อเท็จจริงที่ทำให้การวิเคราะห์ของกระทรวงคมนาคมแตกต่างไปจากเดิม ทั้งประเด็นการคำนวณอัตราค่าโดยสาร การรองรับระบบตั๋วร่วม และความชัดเจนของประเด็นข้อกฎหมาย และ กรรมสิทธิ์ ที่ปัจจุบันการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยังคงเป็นหน่วยงานเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างและที่ดินตลอดแนวโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 ช่วง ล่าสุดมีรายงานข่าวจากผู้บริหารระดับสูง กทม.เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กทม.ได้ส่งหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม เพื่อชี้แจงประเด็นข้อสังเกตประกอบการพิจารณาผลการเจรจาและเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตามที่กระทรวงคมนาคมสอบถาม 4 ประเด็นเรียบร้อยแล้ว โดย 3 ประเด็นแรก คือ อัตราค่าโดยสาร ระบบตั๋วร่วม และเรื่องกฎหมาย กทม.ยืนยันข้อมูลเดิม ซึ่งได้ข้อยุติเรียบร้อยแล้ว

ส่วนประเด็นที่ 4 เรื่องการโอนกรรมสิทธิ์โครงการจาก รฟม.ที่ระบุว่ายังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากยังไม่ได้ข้อสรุปรายละเอียดด้านการเงิน ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ตามแนวทางการดำเนินการตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เข้าพื้นที่กรณีที่ รฟม.รื้อโครงสร้างสะพานเหล็กจากแยกรัชโยธิน และแยกเกษตร และนำไปติดตั้งที่แยกหทัยราษฎร์และแยกพุทธมณฑลสาย 2 ทดแทนตามจุดที่ กทม.กำหนดนั้น กทม.ระบุว่า ปัจจุบันโครงสร้างสะพานยังอยู่ที่ รฟม. โดย รฟม.ให้เหตุผลว่ายังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากจุดติดตั้งสะพานอยู่นอกพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จึงเป็นเหตุต่อการพิจารณากรอบวงเงินลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ตามที่มีข้อสังเกต ซึ่งเป็นประเด็นใหม่ที่ได้มีการตั้งข้อสังเกตสอบถามความชัดเจนจาก กทม. และมีผลต่อการพิจารณาผลการเจรจาและเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ดังนั้น กทม. โดยสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ร่วมกับสำนักการโยธา (สนย.) ได้มีการประชุมหารือเพื่อหาข้อยุติปัญหาดังกล่าว ได้ข้อสรุปว่า สนย.จะรับโอนสะพานเหล็กทั้ง 2 จุดมาดำเนินการติดตั้งเอง จากเงื่อนไขเดิม รฟม.ต้องรับผิดชอบติดตั้ง ซึ่งทราบว่า รฟม.มีการเสนอของบเพิ่มเติมจากกระทรวงการคลัง แต่ไม่ได้รับอนุมัติ เพราะกระทรวงการคลังเห็นว่าจุดติดตั้งอยู่นอกพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

อย่างไรก็ตาม สนย.เตรียมเสนอ กทม.ของบดำเนินการติดตั้งสะพานเบื้องต้น จำนวน 480 ล้านบาท เพื่อตัดงบส่วนนี้ออกจากกรอบวงเงินลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ของ รฟม. เพื่อให้กรอบการลงทุนลงตัว ทั้งนี้ กทม.ได้สรุปผลดำเนินการรายงานกระทรวงมหาดไทย รับทราบเพื่อเสนอ ครม.พิจารณาเห็นชอบต่อไป

@กมธ.คมนาคมแนะตั้ง กก.ชุดใหม่เจรจาต่อสัมปทานบีทีเอส

ขณะที่เวทีการสัมมนา เรื่อง “สายสีเขียวจะไปอย่างไรต่อ” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2565 โดยมีผู้แทนกระทรวงมหาดไทย (นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย) ผู้แทนกระทรวงคมนาคม (นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม) เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค (นางสาวสารี อ๋องสมหวัง) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล (นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ) ร่วมสัมมนาฯ นั้น

นายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยภายหลังการสัมมนาว่า เรื่องสายสีเขียวอย่างไร รัฐบาลจะต้องนำเรื่องเข้า ครม. ดังนั้น ต้องมาดูว่าจะเดินต่ออย่างไร ซึ่งมี 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 นำเข้า ครม.และ ครม.มีมติไม่เห็นด้วย โดยให้นำเรื่องกลับไปดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ซึ่งแนวทางนี้ ครม.จะต้องไปยกเลิก มาตรา 44 ของ คสช. ซึ่งเห็นว่าเป็นแนวทางที่น่าจะเดินไปลำบาก

X

แนวทางที่ 2 นำเข้า ครม. และ ครม.มีมติไม่เห็นด้วย โดยให้กระทรวงมหาดไทย โดย กทม.พิจารณาทบทวนผลการเจรจา และปรับปรุงร่างสัญญาสัมปทาน แล้วจึงดำเนินการตามคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562 ข้อ 3 หมายความว่า ไปเจรจาใหม่ โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ที่ทุกฝ่ายยอมรับ ทำหน้าที่พิจารณา ระเบียบข้อกฎหมาย ระยะเวลาสัมปทาน อัตราค่าโดยสาร ระบบตั๋วร่วม ปัญหาหนี้สิน และโอนกรรมสิทธิ์ กันใหม่

"กรรมการชุดเก่าขาดความน่าเชื่อถือแล้ว ต้องรื้อใหม่ ตั้งกรรมการที่ทุกฝ่ายยอมรับ และมีส่วนร่วมเพื่อความโปร่งใส ให้สังคมมีส่วนร่วมและเกิดความน่าเชื่อถือ
แบบนี้เดินต่อไปได้ แต่แนวทาวนี้ ครม.ต้องไม่เห็นด้วยก่อน

เรื่องมาขนาดนี้ ถ้าไม่ทำให้ทุกฝ่ายยอมรับไม่ว่าจะออกทางไหน ไม่ว่าจะต่อหรือไม่ต่อสัมปทานก็เป็นเรื่องที่สังคมเคลือบแคลง ดังนั้นเพื่อให้โครงการเดินต่อไปได้ ข้อเสนอนี้เป็นทางออกที่ดี ทุกฝ่ายยอมรับได้" นายโสภณกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 23/02/2022 8:20 pm    Post subject: Reply with quote

'เพื่อไทย' ข้องใจ 'ปชป.' นิ่งเงียบเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว
23 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 12:16 น.

'เพื่อไทย' ซัด 'ประชาธิปัตย์' นิ่งเงียบรถไฟฟ้าสายสีเขียว หวั่นรถไฟสายสีส้มเริ่มประวิงเวลา ส่อแววหมกเม็ดหาประโยชน์

23 ก.พ.2565 - นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีรัฐบาลพยายามขยายอายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้บีทีเอส โดยหลบหลีกการประมูลภายใต้พระราชบัญญัติร่วมทุนว่า การลุแก่อำนาจ เอื้อประโยชน์ให้นายทุนของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ในครั้งนี้ จะทำให้กลุ่มทุนเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เอาจากประชาชน ด้วยการขึ้นค่าโดยสารซึ่งรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในอนาคตจนกว่าจะหมดสัญญาสัมปทานในอีก 37 ปี เป็นการผูกขาดการบริหารระบบขนส่งมวลชนโดยภาคเอกชนไปจนถึงปี 2602 ซึ่งรวมถึงอาจปิดประตูระบบตั๋วร่วม และการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้อย่างแท้จริง จึงอยากวอนขอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทุกพรรคฟังเสียงประชาชนบ้าง อย่าปล่อยผ่านและซ้ำเติมปัญหาค่าครองชีพของประชาชนเช่นนี้ และอยากตั้งคำถามไปถึง ครม.ในสัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ว่าเหตุใดจึงไม่เคยมีท่าทีคัดค้านที่หนักแน่นในการต่อสัญญาที่ทำร้ายคนกรุงเทพฯ ในวงกว้างครั้งนี้ หรือว่าพรรค ปชป.ทิ้งคนกรุงเทพฯ แล้ว จึงยอมปล่อยให้รัฐบาลที่มีเสียงสนับสนุนจากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ทำอะไรได้ตามอำเภอใจ ถ้าเป็นเช่นนั้นคนกรุงเทพฯ คงต้องจนใจ

เมื่อสิงโตจับจิ้งจอกที่บาดเจ็บได้: สิ่งที่ไม่คาดคิดก็ได้บังเกิดขึ้น (16 รูปภาพ)
Story To Hear
นายชนินทร์กล่าวว่า ภายหลังจากที่ศาลปกครองมีคำวินิจฉัยชี้แล้วว่าการแก้หลักเกณฑ์การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรีของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รัฐบาลก็ควรรีบคลี่คลายปัญหาที่ค้างคาอยู่ แล้วเร่งเปิดประมูลใหม่ให้ถูกต้อง อย่าลากเรื่องค้างคาให้เป็นปัญหาระยะยาวต่อประชาชน จึงอยากเสนอให้รัฐบาลพิจารณาใหม่ดังนี้

1.แยกประมูลบริหารการเดินรถช่วง ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (ตะวันออก) ที่ก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จแล้วออกจากช่วง บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม (ตะวันตก) ที่ยังไม่เริ่มสร้าง เพื่อให้สามารถให้บริการได้ก่อน ไม่ต้องรอประมูลเบ็ดเสร็จทั้งเส้น

2.พิจารณาเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตกจากเดิมที่ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน มาเป็นให้รัฐเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างเอง เพื่อที่จะสามารถเชื่อมต่อระบบในอนาคตได้สะดวก และควบคุมราคาและระบบตั๋วได้ทันที

3.ออกแบบสัญญาประมูลบริหารการเดินรถที่คำนึงถึงประชาชนผู้ใช้บริการเป็นที่ตั้ง คิดค่าบริการเป็นระบบเดียวกันทั้งโครงข่าย คิดค่าแรกเข้าทีเดียว และบังคับให้รองรับระบบตั๋วร่วมทันที เพื่อทำให้การบริการรถไฟฟ้าเป็นขนส่งเพื่อมวลชนและเพื่อสาธารณะที่แท้จริง

“รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เห็นปัญหาในอดีตมาโดยตลอดว่าการอนุมัติให้เอกชนก่อสร้างทางและรางเป็นเหตุให้ค่าโดยสารมีราคาสูง หากเห็นแก่ประชาชนจริง ควรพิจารณาให้ภาครัฐเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานเอง แล้วว่าจ้างเอกชนในการเดินรถและซ่อมบำรุงรถแทน จะช่วยป้องกันการผูกขาดการให้บริการและปรับราคาค่าโดยสารลงมาได้ เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถใช้รถไฟฟ้าได้อย่างเท่าเทียมกัน”นายชนินทร์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2022 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสายสีเขียว: ประยุทธ์ เผยยังไม่เข้า ครม. สัปดาห์นี้
การเมือง
วันจันทร์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 16:36 น.



นายกรัฐมนตรีเผยการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคาร ที่ 22 ก.พ.นี้ ยังไม่เห็นรายงานสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้า รัฐบาลต้องการให้ทุกคนเข้าถึงบริการในราคาที่เหมาะสม ย้ำไม่อยากทำผิดกฎหมาย

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์กรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียวจะมีข้อสรุปในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 22 กุมภาพันธ์นี้หรือไม่ว่า “ยังไม่มีเข้า ครม.ไม่ใช่หรือ ผมยังไม่เห็นเข้าเลย ไม่มีเรื่องเข้ามา เขาไปหารายละเอียดอยู่ ว่าตรงไหนอะไรอย่างไร มันติดตรงไหน กฎหมายที่ว่าเป็นอย่างไร เขาต้องนำข้อสังเกตมาพิจารณาไม่ได้ง่ายนักหรอก”


พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า มันสำคัญอยู่ที่ว่าปัญหาของรัฐบาลต้องแก้ปัญหาการเข้าถึงการดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ประชาชนมีความต้องการ และปัญหาสำคัญคือเรื่องค่าโดยสาร ในเรื่องของการเดินทางต่อระยะ สิ่งที่รัฐบาลมุ่งหวัง คือ ต้องการให้ทุกคนเข้าถึงการบริการในราคาที่เหมาะสม ลดภาระในการต่อระยะ สิ่งที่เราทำมาต้องการให้เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงด้วยระบบเดียวกัน รัฐบาลก็มุ่งหวังแค่นั้นส่วนใครจะได้ ไม่ได้ประโยชน์ก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการดำเนินการอยู่ไม่ใช่หรือ



“บางอย่างมันก็เกินเลยที่รัฐบาลจะลงไปยุ่งเกี่ยวข้างล่าง มีคณะกรรมการทำมามากมายก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการทำตามกฎหมาย มีการรับรองต่าง ๆ จากฝ่ายกฎหมาย ก็ว่าไปสิ่งสำคัญที่สุดที่เดือดร้อนคือประชาชน ตนต้องการแก้ปัญหาประชาชน ในทางที่ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ ผมไม่อยากทำผิดกฎหมายอยู่แล้ว”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2022 2:18 am    Post subject: Reply with quote

ชำแหละปมค้านต่อสัมปทานสายสีเขียว หนี้ 3.7 หมื่นล้านบาทส่อผิดกฎหมาย เงื่อนตายวัดใจนายกฯ พา ครม.ลุยไฟหรือล้มดีล!
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 07:11 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 07:11 น.


เปิดปม "คมนาคม" คัดค้านขยายอายุสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ "บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์" ออกไปอีก 30 ปี หรือไปสิ้นสุดปี 2602 จากเดิมสิ้นสุดปี 2572 แลกกับการเก็บค่าโดยสาร 65 บาท ถามไปตอบไม่เคลียร์ พบพิรุธก่อหนี้ส่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย หมกเม็ดคิดค่าโดยสาร “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม ยืนยัน “ต้องยึดตามระเบียบ กฎหมาย มติ ครม.” ล่าสุด 7 รมต.ภูมิใจไทยบอยคอต พร้อมใจลาประชุม ครม. ตอกย้ำ...ค้านสุดซอย

จากที่กระทรวงมหาดไทยได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบในการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวถึง 7 ครั้ง แต่ยังไม่มีการอนุมัติ เนื่องจากมีประเด็นข้อสงสัยของกระทรวงคมนาคมที่สอบถามกรุงเทพมหานคร (กทม.) แต่ยังไม่ได้รับการชี้แจงที่ครบถ้วน ทำให้กระทรวงคมนาคมมีความเห็นคัดค้านการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ในเครือบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ออกไปอีก 30 ปี หรือไปสิ้นสุดปี 2602 จากเดิมสิ้นสุดปี 2572 แลกกับการเก็บค่าโดยสาร 65 บาท

คมนาคมถาม 7 ครั้ง กทม.ตอบ 6 ครั้ง ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน

แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า จากที่กระทรวงมหาดไทยได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบในการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวถึง 7 ครั้ง แต่ยังไม่มีการอนุมัติ เนื่องจากมีประเด็นข้อสงสัยของกระทรวงคมนาคมที่สอบถามกรุงเทพมหานคร (กทม.) แต่ยังไม่ได้รับการชี้แจงที่ครบถ้วน ทำให้กระทรวงคมนาคมมีความเห็นคัดค้านการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้บีทีเอส

โดยคมนาคมได้มีหนังสือขอข้อมูลจาก กทม.รวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง โดย กทม.ตอบกลับมา 6 ครั้ง

ครั้งที่ 1 วันที่ 17 ธ.ค. 2563 ขอข้อมูล 9 ประเด็น ได้แก่ ผลการเจรจาต่อรองกับผู้รับสัมปทานโดยละเอียด, แบบจำลองทางการเงินที่แสดงปริมาณผู้โดยสาร, รายได้ค่าโดยสารและการพัฒนาเชิงพาณิชย์, มูลค่าการลงทุนระบบรถไฟฟ้าและส่วนที่เกี่ยวข้อง, มูลค่าหนี้ที่เอกชนต้องชำระแทน กทม., ต้นทุนการบริหารจัดการเดินรถ, ค่าจ้างในการบริหารจัดการเดินรถ, ส่วนแบ่งรายได้แก่รัฐ สัญญาสัมปทาน, สัญญาร่วมลงทุนฉบับเดิมทั้งหมด/กทม. ตอบ วันที่ 18 ม.ค. 2564 ใน 2 ประเด็น คือ สรุปผลการเจรจาและร่างสัญญาฉบับใหม่

ครั้งที่ 2 วันที่ 27 ม.ค. 2564 ขอข้อมูลที่ยังไม่ครบ 7 ประเด็น/กทม.ไม่ตอบ

ครั้งที่ 3 วันที่ 8 เม.ย. 2564 ขอข้อมูลโดยละเอียด 10 ประเด็น/กทม.ไม่ตอบ

ครั้งที่ 4 วันที่ 21 เม.ย. 2564 ขอให้เร่งรัดจัดส่ง 10 ประเด็น ตามที่เคยขอความอนุเคราะห์ตามหนังสือ 8 เม.ย. 2564/กทม.ตอบ วันที่ 22 เม.ย. 2564 ประเด็น ปริมาณผู้โดยสารบางส่วน รายได้บางส่วน ค่าจ้างเดินรถบางส่วน สัญญาฉบับเดิมไม่มีภาคผนวก และรายงานผลการศึกษา

ครั้งที่ 5 วันที่ 8 มิ.ย. 2564 ขอข้อมูล 10 ประเด็นในส่วนที่ไม่ครบถ้น/กทม.ตอบ วันที่ 14 มิ.ย. 2564 คือ ตารางสรุปผลการเจรจา ปริมาณผู้โดยสารและรายได้ถึงปี 2602 เอกสารแนบท้ายสัญญาที่ระบุค่าจ้างเดินรถ หลักเกณฑ์แบ่งค่าโดยสาร มูลค่าลงทุนของเอกชน มูลค่าซื้อขายงานระบบไฟฟ้า ค่าจ้างเดินรถ รายงานผลการศึกษาเฉพาะบทที่ 5

ครั้งที่ 6 วันที่ 13 ก.ย. 2564 ขอให้เร่งรัดจัดส่งในส่วนที่ไม่ครบถ้ว/กทม.ตอบ วันที่ 7 ต.ค. 2564 เรื่อง จำนวนขบวน และความถี่ในการเดินรถ สำหรับส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 รายงานผลการศึกษาฯ เฉพาะบทที่ 4

ครั้งที่ 7 วันที่ 11 ต.ค. 2564 ขอให้เร่งรัดจัดส่งในส่วนที่ไม่ครบถ้วน และขอให้ชี้แจงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการว่าจ้างเอกชนติดตั้งระบบรถไฟฟ้/กทม.ตอบ วันที่ 26 ต.ค. 2564 และวันที่ 2 พ.ย. 2564 เรื่อง ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนหลัก ส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 รายงานการศึกษาทั้งฉบับ และคำชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการตามกฎหมายการติดตั้งระบบรถไฟฟ้า

ไร้กฎหมายรองรับ กทม.ให้เอกชนติดตั้งระบบทั้งที่ยังไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

เนื่องจากข้อมูลที่ได้จาก กทม.แต่ละประเด็นยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ จึงทำให้กระทรวงคมนาคมมีความเห็นเพิ่มเติม ลงวันที่ 16 พ.ย. 2563 เพื่อประกอบการพิจารณาของ ครม. โดยมีข้อสังเกต 4 ประเด็น ดังนี้ 1. ประเด็นความครบถ้วนตามหลักการของ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562, 2.ประเด็นการคิดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ

3. ประเด็นการใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด, 4. ประเด็นข้อพิพาททางกฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นจากกรณีกรุงเทพมหานครได้ทำสัญญาจ้าง BTSC เดินรถส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 อยู่ระหว่างการพิจารณาของ ป.ป.ช. จะมีผลกระทบต่อสัญญาสัมปทานที่อยู่ระหว่างการดำเนินการต่อสัญญา

วันที่ 31 พ.ค. 2564 คมนาคมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้ง 2 ช่วง กทม.ได้รับโอนทรัพย์สินและภาระทางการเงินจาก รฟม. และจะโอนภาระหนี้ดังกล่าวให้เอกชนผู้รับสัมปทาน พร้อมทั้งนำภาระหนี้สินในโครงสร้างพื้นฐานมาเป็นต้นทุนในการคิดอัตราค่าโดยสารด้วย จะทำให้เกิดภาระต่อประชาชนผู้ใช้บริการ และอาจมีประเด็นที่สมควรตรวจสอบถึงกระบวนการการดำเนินการให้เกิดความชัดเจนตามหลักธรรมาภิบาลก่อนดำเนินการต่อไป

วันที่ 3 ส.ค. 2564 และ วันที่ 5 ต.ค. 2564 คมนาคมยืนยันตามความเห็นเดิมเนื่องจากข้อมูลที่ได้จาก กทม.ขาดรายละเอียดไม่มีผลการเจรจาและร่างสัญญา

วันที่ 9 ธ.ค. 2564 คมนาคมได้ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ กทม.จัดส่ง มีความเห็นคือ กรอบระยะเวลาในการเจรจาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดในสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชน ระหว่าง กทม.กับผู้รับสัมปทาน เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2535 ข้อ 27.1 ที่ระบุว่า หากบริษัทประสงค์จะขอให้ กทม.พิจารณาขยายอายุสัญญา บริษัทจะต้องแจ้งความประสงค์ไปยัง กทม.ในเวลาไม่มากกว่า 5 ปี และไม่น้อยกว่า 3 ปี ก่อนวันสิ้นสุด และต้องได้รับการอนุมัติจาก ครม.ก่อน

การโอนกรรมสิทธิ์ยังไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามมติ ครม.วันที่ 26 พ.ย. 2561 โดย กทม.ยังไม่ได้ชำระภาระทางการเงินของส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ดังนั้น กทม.ยังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์

ทั้งนี้ การว่าจ้างเอกชนติดตั้งระบบไฟฟ้าและการเดินรถ ส่วนต่อขยายที่ 2 และว่าจ้างเดินรถต่อไปถึงปี 2585 นั้น กระทำในปี 2559 แต่ตามมติ ครม.ให้ รฟม.จำหน่ายโครงการฯ ให้ กทม.เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2561 จะเห็นได้ว่า กทม.ให้เอกชนติดตั้งระบบ ในขณะที่ยังไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์นั้นถูกต้องหรือไม่

เนื่องจากกรรมสิทธิ์จะเป็นของ กทม.ก็ต่อเมื่อ กทม.ได้ชำระภาระทางการเงินของโครงการครบถ้วนและไปดำเนินการทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินตามขั้นตอนของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อโอนกรรมสิทธิ์สมบูรณ์แล้วจึงจะดำเนินการตามคำสั่ง คสช.ที่ 3/2562

การก่อหนี้ 37,000 ล้าน ส่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สำหรับหนี้ 37,000 ล้านบาทที่ระบุว่ามาจาก 2 ส่วน คือ การติดตั้งงานระบบ 20,000 ล้านบาท และจ้างเดินรถ 17,000 ล้านบาท มีข้อสังเกตว่ากรณี กทม.ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ( KT) ติดตั้งงานระบบเดินรถ มีการจัดซื้อจัดจ้างงานฯ เป็นไปตามระเบียบกฎหมายครบถ้วนหรือไม่ และมีการแข่งขันทางด้านราคาเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อรัฐหรือไม่ และการจ้างเอกชนรายเดิม โดยไม่ได้เปิดให้เกิดการแข่งขัน จะเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2564 (กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับฮั้ว) หรือไม่

อีกทั้งตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 การจัดซื้อหรือก่อหนี้จะต้องเสนอสภา กทม.เห็นชอบก่อน ดังนั้น เมื่อหนี้ 2 ส่วนดังกล่าวยังมีประเด็นไม่ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย หาก ครม.เห็นชอบ อาจถือเป็นเจตนาชดใช้หนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ภาคประชาชน-พรรคการเมืองร่วมต้าน "ค่าโดยสารแพง-ไร้ตั๋วร่วม"

ขณะที่ภาคประชาสังคม สภาองค์กรของผู้บริโภค ฝ่ายค้าน ว่าที่ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ฯลฯ ต่างออกมาคัดค้านการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวกันอย่างมากมาย

โดยจากเอกสารสรุปผลการเจรจาต่อรองผู้รับสัมปทาน ข้อ 4.4 และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ พบว่ามีเงื่อนไขที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อรัฐและประชาชนผู้ใช้บริการ เนื่องจากกำหนดจะยกเว้นค่าแรกเข้าเฉพาะผู้โดยสารระบบเปลี่ยนถ่ายในโครงการ ภายใต้ระบบตั๋วร่วมเท่านั้น โดยที่ระบบตั๋วร่วมจะต้องไม่มีการแก้ไขระบบที่ติดตั้งไว้เดิม

โขกค่าโดยสาร 65 บาท หมกเม็ดส่วนต่าง กำไร 4.3 แสนล้านบาท

สำหรับอัตราค่าโดยสารซึ่งรายงานการศึกษาของ กทม. แนวทางการดำเนินการและผลสรุปการเจรจาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว บทที่ 5 สรุปว่า กรณีรัฐดำเนินการเอง รวมปี 2562-2602 จะมีกระแสเงินสดสุทธิมากกว่ากรณีให้เอกชนดำเนินการสูงถึง 435,132 ล้านบาท โดยจะมีรายได้รวม 1,577,141 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย 1,109,312 ล้านบาท ทำให้มีกระแสเงินสดสุทธิ 467,822 ล้านบาท

กรณีเอกชนดำเนินการ พบว่า กทม.จะได้รับส่วนแบ่ง 230,450 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่าย 197,760 ล้านบาท ทำให้มีกระแสเงินสดสุทธิเพียง 32,690 ล้านบาท

ดังนั้น รัฐควรดำเนินการเอง เพราะจะมีกระแสเงินสดสุทธิถึง 435,132 ล้านบาท ที่นำมาช่วยอุดหนุนค่าโดยสารให้ถูกลงได้

อย่างไรก็ตาม กรณีที่รัฐดำเนินการเอง การคิดอัตราค่าโดยสาร ตาม MRT Assessment Standardization ซึ่งค่าโดยสารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ค่าแรกเข้า และค่าโดยสารตามระยะทาง โดยใช้ดัชนี CPI non Food & Beverages ประกอบการคำนวณอัตราค่าแรกเข้า ทั้งนี้ โครงสร้างอัตราค่าโดยสารในปี 2563 จึงควรมีอัตราค่าแรกเข้าที่ 12 บาท และค่าโดยสารตามระยะทาง 2 บาท (โครงสร้างอัตราค่าโดยสาร คือ 12+2X) เพดานค่าโดยสารสูงสุด 42 บาท มีผลตอบแทนตลอดโครงการ 30 ปี นับจากสัมปทานปัจจุบันหมดอายุปี 2572-2602) ถึง 370,038.47 ล้านบาท

ขณะที่ผลที่ กทม.เจรจาต่อรองผู้รับสัมปทาน ข้อ 4 กำหนดอัตราค่าโดยสารแรกเข้า 15 บาท ค่าโดยสารต่อสถานี 3 บาท (โครงสร้างอัตราค่าโดยสาร คือ 15+3X) ค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท

แนะเร่งเคลียร์หนี้โอนกรรมสิทธิ์ก่อน เปิดประมูลตามกม.ร่วมลงทุนฯ

อย่างไรก็ตาม คมนาคมมีข้อเสนอในการดำเนินโครงการ หาก กทม.ต้องการต่อขยายสัญญาสัมปทานฯ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ควรมีการชำระหนี้ให้แก่ รฟม.ให้สอดคล้องกับข้อตกลง มติ ครม. และเป็นไปตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้เรียบร้อยก่อน...แต่หาก กทม.ไม่ประสงค์จะดำเนินการในโครงการฯ ให้นำเสนอ ครม.พิจารณาทบทวนมติ ครม.วันที่ 26 พ.ย. 2561 และมอบหมายให้ รฟม.ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป หรือหากมีการดำเนินการเจรจาการต่อขยายสัญญาสัมปทาน ควรให้สอดคล้องตามสัญญาหลักในปี 2535 ข้อ 27.1 ที่ระบุให้บริษัทจะต้องแจ้งความประสงค์ไปยัง กทม.ในเวลาไม่มากกว่า 5 ปี และไม่น้อยกว่า 3 ปีก่อนวันสิ้นสุดสัญญา และตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562

แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า การตรวจสอบข้อมูล ทำให้พบว่าเรื่องหนี้ค่าติดตั้งระบบ ค่าจ้างเดินรถ มีประเด็นว่าน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ เป็นเรื่องที่ กทม.ต้องหาหลักฐานมาอธิบาย การให้บีทีเอสเข้ามาติดตั้งระบบ ในฐานะที่ กทม.เป็นรัฐ จะต้องทำตามกฎหมายวิธีการจัดหา ไม่ใช่อยากจะให้ใครเข้ามาทำก็ได้เลย เรื่องนี้ก็ต้องอธิบาย

คมนาคมพยายามหาทางออก หลักการต้องทำตามระเบียบกฎหมาย ระเบียบ ครม. เพราะเรื่องนี้เป็นการดำเนินการบนทรัพย์ของรัฐ แต่เรื่องไม่ชอบมาตั้งแต่ต้น ปัญหาใหญ่คือที่มาของสัญญาไม่ชอบ ภาระหนี้ที่นำมาผูกไว้ เกิดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คมนาคมพยายามบอก ทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่แต่เพราะมีการสอบถาม คมนาคมให้ความเห็นโดยสุจริต ตามข้อเท็จจริง กลับถูกมองว่า มีปัญหา

มหาดไทยพยายามผลักดันเสนอ ครม.หลายครั้ง ซึ่งวาระยังค้างอยู่ที่ ครม. หากจะพิจารณาอนุมัติสามารถทำได้ ซึ่ง ครม.มี รมต. 35 คน หาก รมต. 7 คนของภูมิใจไทยไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้มีผลกระทบ เพราะ ไม่มีกฎหมายบอกว่าให้ รมต.ทั้ง 35 คนต้องเห็นชอบทั้งหมดถึงจะผ่านได้ ดังนั้นเรื่องนี้ ครม.สามารถอนุมัติได้ โดยไม่ต้องสนใจความเห็นของ 7 รมต.ภูมิใจไทย แต่ทำไมยังไม่ผ่าน ...

“หาก รฟม.-กทม.ตกลงเรื่องหนี้ให้เรียบร้อย กรรมสิทธิ์เป็นของ กทม.สมบูรณ์ ขั้นต่อไปคือทำตามกฎหมายร่วมลงทุน ปี 2562 แต่....มีเงื่อนตายก็ตรงที่ กทม.ไปให้เอกชนมาติดตั้งระบบโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจะจัดการอย่างไร กทม.จะสามารถนำทรัพย์นั้นมาใช้หรือไม่ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ... ทุกปัญหาเป็นเงื่อนปมที่ กทม.ผูกไว้เองตั้งแต่แรก และเมื่อหนี้...ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ครม.จะไม่กล้าอนุมัติ หรือไม่? จุดชี้ชะตา รถไฟฟ้าสายสีเขียว...ที่ กทม.อาจต้องล้มดีล!
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/03/2022 7:16 pm    Post subject: Reply with quote

"ศักดิ์สยาม" ชี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว รอกทม.-คมนาคมคุยชัดเจน ปัดโยนไปรัฐบาลหน้า
เผยแพร่: 2 มี.ค. 2565 16:33
ปรับปรุง: 2 มี.ค. 2565 16:33
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

รมว.คมนาคม เผย ปมรถไฟฟ้าสายสีเขียว รอกทม.-คมนาคม คุยชัดเจน ปัดไม่มีโยนไปรัฐบาลหน้า ย้ำยึดระเบียบ ฟังความเห็นปชช.

วันนี้ (2มี.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าแนวทางการแก้ปัญหาของร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า เรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวต้องรอเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ตอนนี้ยังไม่มีวาระเข้าที่ประชุมครม. ซึ่งกระทรวงคมนาคมก็ทำตามอำนาจหน้าที่ของเรา เมื่อถามว่า กระทรวงคมนาคมได้หารือกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) แล้วใช่หรือไม่ นายศักดิ์สยาม กล่าววว่า ยังไม่ได้ประชุมกัน รอกทม. ประสานมา ส่วนเรื่องกรอบเวลานั้น ตนยังไม่ทราบเพราะวันที่ครม. มีมติ ตนไม่ได้เข้าประชุม แต่รับทราบว่าครม. มีมติรับทราบ และให้ทางกทม. ไปหารือให้ได้ข้อยุติ กับกระทรวงคมนาคม ซึ่งปลัดกระทรวงคมนาคม และคณะทำงานที่ตนตั้งไว้ ก็พร้อมจะประชุมร่วมกับครม.

เมื่อถามว่า ทางกระทรวงมหาดไทยได้แจ้งว่า ปลัดกทม. ได้ส่งเรื่องมายังเลขา ครม. แล้ว นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ตนยังไม่ทราบ เมื่อถามย้ำว่า หมายความว่าเป็นการจบขั้นตอนที่กทม. จะคุยกับกระทรวงคมนาคมแล้วใช่หรือไม่ นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า เดี๋ยวตนจะไปตรวจสอบให้ก็แล้วกัน เมื่อถามว่า จะได้ข้อยุติในรัฐบาลนี้ หรือต้องโยนไปรัฐบาลหน้า นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า คงไม่มีโยนหรอก ทุกเรื่องตนเชื่อว่าถ้าเราดำเนินตามระเบียบกฎหมาย มติครม. และหลักธรรมาภิบาล รวมถึงต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เราสามารถดำเนินการได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 90, 91, 92 ... 100, 101, 102  Next
Page 91 of 102

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©