Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262446
ทั้งหมด:13573726
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - วิธีอ่านค่าตำแหน่งพิกัดทางทหาร ในเอกสารราชการไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

วิธีอ่านค่าตำแหน่งพิกัดทางทหาร ในเอกสารราชการไทย
Goto page Previous  1, 2, 3, 4
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44509
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/08/2012 9:13 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณพี่สมชายมาก ๆ ครับที่เก็บภาพหมุดหลักฐานของ 3 หน่วยงานมาฝาก ให้ชมเปรียบเทียบกัน ชอบมากครับ Very Happy

หมุดแรกของกรมแผนที่ทหารครับ เป็นหมุดในโครงข่ายหมุดหลักฐานทางราบแห่งชาติที่ใช้ดาวเทียมแทนการรังวัดภาคพื้นดินแบบเดิม
ที่แหลมพรหมเทพนี้ เป็นหมุด 1 ใน 7 หมุดอ้างอิงของไทยครับ อยู่ที่ อุทัยธานี ศรีสะเกษ ลำปาง ชุมพร ปัตตานี ชลบุรีและภูเก็ต
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ http://www.rtsd.mi.th/section/New_Section/Geodesy/pdf/10.pdf

หมุดที่สอง ของกรมเจ้าท่า ผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับหมุดชนิดนี้เลยครับ โดยเฉพาะที่มาของความเชื่อในการวางเหรียญ
สมัยที่คุณเจฟ KTTA-50-L ไปเที่ยวภูเก็ต ยังไม่มีการวางเหรียญเลยครับ
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4484&postdays=0&postorder=asc&start=150
หมุดของกรมเจ้าท่่านี้ ผมเคยเห็นของจริงที่ปลายทางรถไฟสายสงขลาที่ท่าเรือริมทะเลสาบ เมื่อครั้งไปสำรวจกับคุณเจฟ KTTA-50-L และป้าติ๋ว เมื่อปี 52 ครับ

Click on the image for full size
ที่มา: http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3738&start=110

ส่วนหมุดที่ 3 คือ หมุด DMR ของกรมทรัพยากรธรณี ผมยังไม่เคยเห็นของจริงเลยครับ
ทราบเพียงว่าเป็นหมุดหลักฐานทางดิ่ง ใช้ดูอัตราการทรุดตัวของแผ่นดิน
เฮียใช้เคยพบหมุดนี้ที่สถานีรถไฟเทพา จ.สงขลาด้วยครับ

Click on the image for full size
ที่มา: http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3312&postdays=0&postorder=asc&start=70

--------------
เรื่องหมุดหลักฐานนี้ มีคุยกันอีกเล็กน้อยที่กระทู้นี้ด้วยครับ น่าสนใจดี
http://thaitopo.editboard.com/t733-topic
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 13/08/2012 11:00 pm    Post subject: Reply with quote

Laughing ขอบคุณมาก ครับ อาจารย์เอก สำหรับ คำอธิบาย ได้ความรู้มากมายเลย ครับ
เมื่อวาน(๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕) ผมไปเที่ยวแหลมพรหมเทพ อีกครั้งหนึ่งครับ
ที่ประภาคารกาญจนาภิเษก มีข้อ ความบอกพิกัด ของประภาคาร และป้ายบอกเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก ในแต่ละวันด้วย

Click on the image for full size

ผมเข้าไปดูที่ เวปไซด์ของ สมาคมดาราศาสตร์ไทย เวลาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ขึ้น-ตก
มีการคำนวณเวลาไว้ล่วงหน้าเป็นปีเลย นะ ครับ แต่ไม่ทราบว่าเขามีวิธีการคำนวณอย่างไร Question
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44509
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/08/2012 3:47 am    Post subject: Reply with quote

จากข้อมูลเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น ทำให้ทราบว่าช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน เป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นเร็วที่สุดในรอบปีนะครับ
ส่วนช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ดวงอาทิตย์ตกช้าที่สุด Very Happy

การคำนวณเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ใช้วิชาตรีโกณมิติเป็นหลักในการคำนวณครับ ยากและสลับซับซ้อนมากทีเดียว
http://en.wikipedia.org/wiki/Sunrise_equation

ดูดวงอาทิตย์ตกที่แหลมพรหมเทพแล้ว ต้องไปดูดวงอาทิตย์ขึ้นที่ผาชะนะได อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานีด้วยนะครับพี่สมชาย จะได้สมบูรณ์แบบ Wink
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 01/08/2014 9:42 pm    Post subject: Reply with quote

Laughing เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ได้มีโอกาสขึ้นไปเที่ยวดอยสุเทพ และได้ไปชมพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ไปเจอหลักหมุดนี้ ครับ

Click on the image for full size

Wink ที่หลักหมุดนี้มีคำอธิบายไว้อย่างละเดียด ข้อความดังนี้ ครับ
"เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๖ รอบ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ กรมผังเมือง
ขอร่วมงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย
โดยการสร้างหมุดหลักฐานชั้นที่ ๑ เพื่ออ้างอิงพิกัด สำหรับ
ใช้ประโยชน์ในการสำรวจทางกิจการแผนที่ งานวิศวกรรม และ
งานพัฒนาที่ต้องอาศัยหมุดหลักฐานนี้
หมุดหลักฐานทางราบและทางดิ่ง
ประเภทงาน : รังวัดรับสัญญาณดาวเทียม GPS.
หมายเลข : ชม.๙
ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ พื้นที่หลักฐาน WGS. ๘๔
เส้นรุ้ง (LATITUDE) ๑๘ ๔๘’ ๒๒.๙๓๙๔๒” เหนือ
เส้นแวง (LONGTITUDE) ๙๘ ๕๓’ ๕๔.๔๘๒๖๑” ตะวันออก
ค่าพิกัดฉาก (UTM) โซน ๔๗
พื้นหลักฐานประเทศไทย (อินเดียน ๑๙๗๕)
เหทือ (N) = ๒,๐๗๙,๑๐๒.๘๕๗ เมตร
ตะวันออก (E) = ๔๘๙,๖๓๕.๖๒๘ เมตร
ค่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง = ๑๔๑๘.๖๖๓ เมตร"

Click on the image for full size

Laughing จากคำอธิบายจึงได้ทราบว่าบนพระตำหนักภูพิงคราขนิเวศนี้ อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๑๔๑๘.๖๖๓ เมตร ครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44509
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/08/2014 10:01 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณพี่สมชายมากครับ ที่เก็บภาพและข้อมูลมาฝากอย่างละเอียดเลย
ผมเคยขึ้นไปเที่ยวดอยสุเทพเพียงครั้งเดียว แต่ไม่เคยเห็นหมุดนี้ครับ

แสดงว่าพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์อยู่สูงกว่าจุดสูงสุดของดอยขุนตาลเล็กน้อยนะครับ
(ดอยขุนตาล สูง ๑,๓๗๓ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 01/08/2014 10:12 pm    Post subject: Reply with quote

Quote:
พื้นหลักฐานประเทศไทย (อินเดียน ๑๙๗๕)
เหทือ (N) = ๒,๐๗๙,๑๐๒.๘๕๗ เมตร
ตะวันออก (E) = ๔๘๙,๖๓๕.๖๒๘ เมตร


Laughing รบกวนสอบถามอาจารย์เอก ครับ ค่านี้ คือค่าอะไร ครับ Question


bow ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้า ครับ สำหรับคำตอบ bow
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44509
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/08/2014 8:18 am    Post subject: Reply with quote

ขออนุญาตอธิบายแบบบ้าน ๆ นะครับ ไม่ลงในทฤษฎีมาก (กลัวผิดครับ)

ข้อมูลในหมุดหลักฐาน ชม.๙ ที่พี่สมชายนำมาให้ชมนี้ มีข้อมูลพิกัดอยู่ ๒ ชุดครับ
ชุดแรก เป็นข้อมูลพิกัดที่ได้จากเครื่อง GPS ซึ่งอ้างอิงจากดาวเทียม เป็นเทคโนโลยีใหม่
ใช้ฐานข้อมูล (datum, data) อ้างอิงที่มีการประชุมตกลงกันในปี ๑๙๘๔ เรียกว่า WGS ๘๔

ระบบนี้ใช้หลักการว่า โลกกลม และวัดระยะห่างของจุดต่าง ๆ บนผิวโลก โดยอ้างอิงเชิงมุมครับ โดยใช้เส้นสมมุติบนผิวโลกเป็นเส้นรุ้ง เส้นแวง (ละติจูด ลองจิจูด) นั่นคือ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ อยู่ที่ ๑๘ ๔๘’ ๒๒.๙๓๙๔๒” เหนือ นั่นคือ ถ้าลากเส้นจากหมุดนี้ไปยังใจกลางโลกแล้วลากจากใจกลางโลกกลับมาที่เส้นศูนย์สูตร จะได้มุม ๑๘ องศากว่า ๆ ครับ

ในทำนองเดียวกันกับเส้นแวง ก็ใช้หลักการคล้าย ๆ กันครับ (รุ้งตะแคง แวงตั้ง)
ปัจจุบัน พิักัดใน GPS และในโปรแกรม Google Maps, Google Earth ใช้ WGS ๘๔ ทั้งหมดครับ
----
ชุดที่สอง เป็นข้อมูลที่ได้จากการรังวัดแบบโบราณ ตกลงกันในปี 1975 เรียกว่า Indian 1975

พิกัดที่ระบุเป็นตัวเลขเมตรเยอะ ๆ นี้ เรียกว่า UTM ครับ
วิธีนี้สมมุติให้โลกเป็นพื้นระนาบ แล้วขีดตารางสี่เหลี่ยม (กริด) ลงบนพื้นโลก ประเทศไทยอยู่ในตารางที่ ๔๗
จากนั้นก็วัดระยะห่างจากขอบตารางมาที่หมุด ครับ กรณีหมุด ชม.๙ จะห่างจากขอบกริดในแนวเหนือใต้ ๒,๐๗๙ กิโลเมตรกว่า ๆ (นับจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งอยู่ใกล้ประเทศสิงคโปร์)
ระยะห่างในแนวตะวันออกตะวันตกก็ในทำนองเดียวกันครับ

พิกัด UTM นิยมใช้ในเอกสารของกรมที่ดิน กรมแผนที่ทหาร เพราะสะดวกมากครับ ถ้าเป็นแผนที่มาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐ วัดจากเส้นกริดในแผนที่มายังจุดที่ต้องการหาพิกัดได้ ๒ ซม. ก็แสดงว่าระยะทางจริง ๑๐๐,๐๐๐ ซม. หรือ ๑ กม. ครับ
----
ปัจจุบัน Indian ๑๙๗๕ และ พิกัดทางทหาร (UTM) ก็ยังใช้อยู่ครับ เลิกไม่ได้ เพราะแผนที่เก่า ๆ ใช้พื้นหลักฐานแบบนี้ทั้งนั้นครับ โดยเฉพาะเอกสารราชการ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44509
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/08/2014 8:34 am    Post subject: Reply with quote

ถามว่า พิกัดแบบไหนดีกว่ากัน ระหว่างค่าพิกัดภูมิศาสตร์ (รุ้งแวง) กับค่าพิกัดฉาก (UTM)
ผมคิดว่าดีกันคนละอย่างครับ
สมัยที่ไม่มี GPS ไม่มีโปรแกรม Google Earth ผมว่าค่าพิกัดฉากใช้ง่ายกว่า เพราะไม่ต้องคำนวณในระบบเลขฐาน 60 แต่นับระยะทางเป็นเมตร เป็นกิโลเมตรเอาเลย เห็นภาพชัดกว่าครับ

ยกตัวอย่างแบบบ้าน ๆ นะครับ เช่น
ถามว่า กรุงเทพอยู่ที่ไหน ก็บอกว่า อยู่ห่างจากเชียงใหม่ไปทางใต้ 575 กม. ห่างจากอุบลราชธานีไปทางตะวันตก 500 กม. ก็พอมองเห็นตำแหน่งของกรุงเทพได้ ถ้าคนถามรู้จักตำแหน่งของเชียงใหม่กับอุบลราชธานี

แต่ถ้าบอกว่า กรุงเทพอยู่ที่เส้นรุ้ง 14 องศาเหนือ เส้นแวง 100 องศาตะวันออก ก็จะนึกไม่ออกครับว่าอยู่ห่างจากอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ที่เส้นรุ้ง 15 องศาเหนือ เส้นแวง 105 องศาตะวันออกกี่กิโล ไกลมั้ย Wink

----
เวลาผมไปซื้อภาพถ่ายทางอากาศที่กรมแผนที่ทหาร เจ้าหน้าที่ท่านจะใช้พิกัดฉาก UTM ในการค้นหาว่าภาพที่เราต้องการอยู่ในแผนที่ระวางไหน ต้องใช้ภาพกี่ภาพจึงจะครอบคลุมบริเวณที่เราต้องการครับ ถ้าพิกัดเป็นรุ้งแวง จะวุ่นวายมาก เพราะจะนึกไม่ออกว่า รุ้งแวงห่างกัน 1 องศา จะห่างกันกี่กิโล แต่ถ้าระบุ UTM เป็นเมตร วัดง่ายกว่าเยอะครับ Wink

แต่ก็ต้องระวังดี ๆ ครับ ต้องตรวจสอบตำแหน่งในฟิล์มให้ดี ๆ ครับ เคยขอภาพถ่ายย่านโรงปูนที่วัง แต่ได้หมวดศิลาทุ่งสงมาแล้วครับ Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44509
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/08/2014 8:57 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ksomchai wrote:
ค่าพิกัดฉาก (UTM) โซน ๔๗
พื้นหลักฐานประเทศไทย (อินเดียน ๑๙๗๕)
เหนือ (N) = ๒,๐๗๙,๑๐๒.๘๕๗ เมตร
ตะวันออก (E) = ๔๘๙,๖๓๕.๖๒๘ เมตร
ค่าความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง = ๑๔๑๘.๖๖๓ เมตร"

เปรียบเทียบกับค่าที่แสดงในโปรแกรม Google Earth ถือว่าใกล้เคียงมากครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4
Page 4 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©