Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช)
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 38021
Location: NECTEC
Posted: 29/12/2021 1:20 pm Post subject:
เพิ่มความแรง รถไฟฟ้าสายสีแดง ปักธงสร้างส่วนขยายปี 66 เปิดปี 69
คอลัมน์ มุมคนเมือง
โดย ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง.
28 ธันวาคม 2564 เวลา 08:00 น.
เปิดมาได้ 4 เดือน เเม้ตัวเลขจะยังไม่ตามเป้าเเต่ถือว่า "สัญญาณดีแรงต่อเนื่อง" สำหรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) จนต้องสร้างส่วนขยายจะเปิดใช้ในปี 69
เปิดให้บริการมากว่า 4 เดือนแล้ว สำหรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) หรือรถไฟฟ้าสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.30 กิโลเมตร(กม.) และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15.3 กม รวม 41.6 กม. นับตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.64 ที่ให้ประชาชนทดลองใช้บริการแบบไม่เก็บค่าโดยสาร (ฟรี) และเริ่มเก็บค่าโดยสารตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. อัตรา 12-42 บาท
ตัวเลขผู้โดยสารปัจจุบันเฉลี่ยวันละ 10,267 คน ตลอดเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้โดยสารรวม 265,038 คน เพิ่มขึ้น 31.96% จากเดือนต.ค. และเพิ่มขึ้นจากช่วงแรกที่ทดลองให้บริการฟรีอยู่ที่ประมาณ 2-3 พันคนต่อวัน ก่อนไต่ขึ้นเป็น 4-5 พันคนต่อวัน กระทั่งก่อนยกเลิกเคอร์ฟิวมีผู้โดยสาร 6-7 พัน แม้เริ่มเก็บเงินก็ยังเกิน 1 หมื่นคน แม้ตัวเลขจะยังไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ว่า จะมีผู้โดยสารประมาณ 8 หมื่นคนต่อวัน แต่สัญญาณดีแรงต่อเนื่อง
นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง ระบุว่า ในปี 65 คาดว่าผู้โดยสารจะสูงขึ้นไปอีกเฉลี่ย 3 หมื่นคนต่อวันแน่นอน.
เมื่อรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนแรก สิ้นสุดการรอคอยที่มีมาอย่างยาวนานถึง 31 ปี หากนับตั้งแต่เป็นโครงการโฮปเวลล์ที่เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2533 เสียงเรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้เร่งก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดงกระหึ่มขึ้นอีกครั้ง ประชาชนจะได้เข้าถึงรถไฟฟ้าสายนี้มากขึ้น
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท. ให้ความกระจ่างเรื่องโครงการส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดงว่า ผลการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการจัดทำเอกสารประกวดราคา และการดำเนินงานตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) 4 โครงการ ระยะทางรวม 55.24 กม. วงเงิน 7.93 หมื่นล้านบาท เสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย
1.ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) 25.9 กม.วงเงิน 4.96 หมื่นล้านบาท
2.ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต 8.84 กม. วงเงิน 6.64 พันล้านบาท 3.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และก่อสร้างสถานีเพิ่มเติม ประกอบด้วย สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย-การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และสถานีบ้านฉิมพลี 14.8 กม. วงเงิน 1.06 หมื่นล้านบาท และ 4.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 5.7 กม. วงเงิน 4.73 พันล้านบาท
เส้นทางของส่วนต่อขยาย หลังจากนี้ที่ปรึกษาต้องสรุปผลการศึกษาเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. และกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเดือน พ.ค.65 หากเห็นชอบคาดว่าจะเปิดสรรหาเอกชนเพื่อเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบเอกชนลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ทั้ง 4 เส้นทางได้ในช่วงปลายปี 65 และได้ผู้รับจ้าง พร้อมเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 66
สำหรับรูปแบบการลงทุนฯ จะเสนอ 3 แนวทางให้กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และ ครม.พิจารณา โดยลงทุนเป็นรูปแบบ PPP Net Cost จัดจ้างเอกชนจัดเก็บค่าบริการจัดส่งให้รัฐ แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ประกอบด้วย
แนวทางที่ 1 คือรัฐบาล รับภาระเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานงานโยธา งานระบบควบคุมการเดินรถ และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า ขณะที่เอกชนลงทุนระบบบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงระบบ แนวทางที่ 2 รัฐลงทุนงานโยธา และจัดหาขบวนรถไฟฟ้า ขณะที่เอกชนลงทุน งานระบบควบคุมการเดินรถ บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงระบบ และแนวทางที่ 3 เอกชนรับผิดชอบเองทั้งหมด ได้แก่ งานโยธา ระบบควบคุมการเดินรถ จัดหาขบวนรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถ และซ่อมบำรุง
แนวโน้มที่คุ้มค่าการลงทุน และเหมาะสมที่สุด น่าจะเป็นรูปแบบ PPP Net Cost แนวทางที่ 1 โดยรัฐ เป็นผู้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ระบบรถไฟฟ้า และการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้า ส่วนเอกชน เป็นผู้รับผิดชอบการเดินรถและซ่อมบำรุง ตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง ผู้ว่าการ รฟท. ส่งสัญญาณถึงแนวทางที่รฟท.จะเลือก
ลงรายละเอียดแผนการก่อสร้างเบื้องต้นช่วง รังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช จะเริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค. 66- ก.ค. 69 และเปิดบริการปี 69 ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง จะเริ่มก่อสร้างเดือน ส.ค.66-ม.ค.71 เปิดบริการปี 71 สำหรับอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 12 บาท และเพิ่มขึ้น 2.10 บาทต่อ กม. ค่าโดยสารสูงสุดแต่ละช่วงไม่เกิน 42 บาท จะปรับเพิ่มขึ้นทุก 2 ปี ครั้งละ 3%
คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารเมื่อเริ่มเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายในปี 69 ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช เพิ่มขึ้นเป็น 2.5แสนคนต่อวัน และเมื่อเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 71จะมีใช้บริการประมาณ 4 แสนคนต่อวัน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายใน 50 ปี จะมีผู้โดยสารทะลุ 1.3 ล้านคนต่อวัน.
อดทนรอคอยรถไฟฟ้าสีแดงส่วนแรกมายาวนานกว่า 31 ปี ให้รอภาครัฐขยายแขนขาของรถไฟฟ้าสายนี้ไปชานเมืองให้ยาวขึ้นอีก 5 ปี คนกรุงเทพฯและปริมณฑลก็รอไหว เพราะรถไฟฟ้าตอบโจทย์ปัญหารถติด
แต่จะเอื้อมถึงได้ใช้บริการหรือไม่?? อยู่ที่ค่าโดยสารต้องไม่แพงเกินไป
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 35591
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 31/12/2021 7:27 am Post subject:
ร.ฟ.ท.ชง PPP รถไฟสายสีแดง 4 เส้นทาง วงเงิน 6.7 หมื่นล้าน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 - 07:20 น.
การรถไฟชง PPP สายสีแดง 4 เส้นทาง วงเงิน 6.7 หมื่นล้าน เล็งดึงงานโยธาต่อขยายสร้างเอง คาดได้ข้อสรุปภายในปี 2565
นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง ผู้ช่วยผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง จำนวน 4 เส้นทาง วงเงินรวม 67,575.37 ล้านบาท ปัจจุบันผลการศึกษารูปแบบการลงทุน PPP ใกล้จัดทำเสร็จแล้ว ในระหว่างนี้จะเร่งสรุปรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม คาดว่าได้ข้อสรุปภายในปี 2565
รายละเอียด 4 เส้นทางมีดังนี้
1.ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท
2.สีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร กรอบวงเงิน 10,202.18 ล้านบาท
3.สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร กรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท และ
4.ช่วง missing link บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท
ตามผลการศึกษามีรูปแบบการลงทุนวางไว้ 3 แบบ ได้แก่
net cost แบบที่ 1เอกชนลงทุนงานโยธา-ระบบ-บริหารโครงการ แล้วแบ่งรายได้ให้รัฐ เอกชนรับความเสี่ยงทั้งหมด
net cost แบบที่ 2 รัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนด้านงานระบบเดินรถพร้อมซ่อมบำรุง
และ net cost แบบที่ 3 รัฐลงทุนก่อสร้างงานโยธาและจัดหาขบวนรถ ส่วนเอกชนเข้ามาบริหารเดินรถ-ซ่อมบำรุงตัวรถ-บำรุงรักษาโครงสร้างด้วย โดยรัฐเก็บรายได้ทั้งหมด และจ่ายเป็นค่าจ้างบริหารให้เอกชน
ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ทำให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ (EIRR : Economics Internal Rate of Return) น้อยกว่า 12% จึงมีแนวทางเสนอตัวเลือกระยะเวลาสัญญาที่เหมาะสมระหว่าง 30 ปีและ 50 ปี
ล่าสุด มีแนวโน้มรูปแบบ PPP net cost แบบที่ 3 ถือว่าเหมาะสมมากที่สุด แต่เนื่องจากทั้ง 4 สายทางผ่านที่ประชุม ครม.มานานแล้ว จึงต้องกลับไปตรวจสอบกรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติก่อนหน้านี้ มีเนื้องานอะไรที่ต้องปรับเพิ่ม และมูลค่าโครงการเกินกรอบวงเงินหรือไม่
หลังจากนั้น จะนำเสนอผลการศึกษาให้กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) พิจารณา และเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในระยะต่อไป
คาดว่าทั้ง 4 สายทางจะผ่านการพิจารณาในปี 2565 หลังจากนั้นเตรียมเปิดประมูลในปี 2566 ใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี มีกำหนดแล้วเสร็จและทยอยเปิดบริการในปี 2569-2570
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 35591
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 01/05/2022 1:09 pm Post subject:
พ.ค.นี้ การรถไฟฯ เปิดหวูด พีพีพีเดินรถ - ก่อสร้างสายสีแดง
By วรรณิกา จิตตินรากร
กรุงเทพธุรกิจ 01 พ.ค. 2565 เวลา 10:00 น.
ร.ฟ.ท.ปักธง พ.ค.นี้ เปิดหวูดประมูลพีพีพีรถไฟชานเมืองสายสีแดง 6 เส้นทาง 4.48 แสนล้านบาท ดึงเอกชนบริหารเดินรถสัมปทาน 50 ปี พร้อมลุยประมูลสร้างโยธาส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง
รถไฟฟ้า จะไม่ใช่การคมนาคมสำหรับคนเมืองเท่านั้นอีกต่อไป หลังโครงการศึกษา ทบทวนและวิเคราะห์ความเหมาะสมฯ ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ได้ฉายภาพผ่านจากการวิเคราะห์ปริมาณผู้โดยสาร คาดว่าเมื่อเปิดให้บริการครบทั้ง 6 เส้นทาง ครบคลุมเมืองใหม่รอบนอกให้ได้เชื่อมกับใจกลางเมืองได้เกือบทุกทิศทางประกอบด้วย
1.บางซื่อ-ตลิ่งชัน
2.บางซื่อ-รังสิต
3.บางซื่อพญาไท-มักกะสัน-หัวหมากและบางซื่อหัวลำโพง
4. ธรรมศาสตร์รังสิต
5.ตลิ่งชัน-ศาลายา
6.ตลิ่งชัน-ศิริราช
ในจำนวนนี้ เปิดให้บริการแล้ว 2 เส้นทาง อีก 4 เส้นทางคาดว่าจะทยอยแล้วเสร็จในปี 2569 คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 4 แสนคนต่อวัน และปีเปิดที่ 50 จะมีผู้ใช้บริการ 1.3 ล้านคนต่อวัน ทั้งนี้ผลตอบแทนโครงการ 50 ปี มีรายได้ประมาณ 5.8 แสนล้านบาท โดยจากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ความคุ้มค่าโครงการอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (EIRR) 30.96% ถือว่ามีความคุ้มค่าต่อการลงทุน
คณพศ วชิรกำธร ที่ปรึกษาจัดทำโครงการศึกษา ทบทวนและวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ จัดทำเอกสารประกวดราคาและการดำเนินงาน ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้กำหนดแผนงานในเบื้องต้น คาดว่าจะเริ่มจัดทำร่างเอกสารประกวดราคาภายในเดือน พ.ค.นี้ และจะดำเนินการตามขั้นตอน พ.ร.บ.การร่วมลงทุน ระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 (พีพีพี) ได้ตัวเอกชนผู้รับสัมปทานภายในปี 2565
สำหรับโครงการพีพีพีระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง เอกชนผู้เสนอให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดจะได้รับสัมปทานระยะเวลา 50 ปี โดยเป็นการร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost แบ่งเป็น รัฐจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน งานโยธา และงานระบบ ส่วนเอกชนจัดหาขบวนรถ เดินรถ และจัดเก็บรายได้ ซึ่งส่วนนี้เอกชนจะต้องชำระค่าสัมปทานและผลตอบแทนให้แก่รัฐตามที่เสนอไว้
หลังจากออกประกาศเชิญชวนและเปิดขายเอกสารคัดเลือกเอกชน จะเข้าสู่ขั้นตอนการเจรจา หลังจากนั้นภาครัฐจะต้องนำเสนอผลการคัดเลือกไปยังกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมตรวจสอบร่างสัญญาโดยอัยการสูงสุด ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 14 เดือน ระหว่างเดือน มิ.ย.2565-ก.ค.2566 จึงคาดว่าเอกชนผู้รับสัมปทานจะเริ่มเข้ามาถ่ายโอนระบบในกลางปี 2568
ขณะที่มูลค่าการลงทุนโครงการรวม 4.48 แสนล้านบาท แบ่งเป็น งานโยธา งานระบบ และจัดหาขบวนรถ 1.88 แสนล้านบาท, การดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) 2.22 แสนล้านบาท และงานเพิ่มเติม 3.87 หมื่นล้านบาท โดยเอกชนผู้รับสัมปทานจะต้องทยอยเข้าบริหารโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน 2 เส้นทาง คือ
ช่วงบางซื่อ - รังสิต
บางซื่อ - ตลิ่งชัน
เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเข้าบริหารโครงการดังกล่าวได้ในช่วงปี 2569
ขณะเดียวกัน เอกชนจะต้องเตรียมเข้ารับบริหารส่วนต่อขยายโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เตรียมก่อสร้างและคาดว่าจะทยอยแล้วเสร็จภายในปี 2569 เป็นต้นไปอีก 4 เส้นทาง ประกอบด้วย
1.สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต
2.สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา
3.สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช
4.ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง หรือ Missing Link
ทั้งนี้ ปัจจุบันโครงการส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง ออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างแล้ว รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) แล้ว มีเพียงช่วงรังสิต - มธ.ศูนย์รังสิต อยู่ระหว่างการพิจารณา เบื้องต้น ร.ฟ.ท.มั่นใจว่าจะสามารถเปิดประกวดราคางานโยธาแล้วเสร็จสอดคล้องไปกับการสรรหาเอกชนพีพีพีเดินรถในครั้งนี้ด้วย
สำหรับการเปิดพีพีพีบริหารสายสีแดงนั้น ร.ฟ.ท.กำหนดรายละเอียดเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal : RFP) มี 5 ซองข้อเสนอ ได้แก่ 1.ซองเปิดผนึก, 2.ซองปิดผนึก ซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติ, 3.ซองปิดผนึก ซองที่ 2 ด้านเทคนิค, 4.ซองปิดผนึก ซองที่ 3 ด้านการเงิน ซึ่งผู้ยื่นข้อเสนอรายใดให้ผลประโยชน์ตอบแทนในรูปตัวเงินกับ ร.ฟ.ท. สูงสุด จะเป็นผู้ชนะประมูล และ 5.ซองปิดผนึก ซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ต้องเป็นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ซึ่งซองนี้คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะเปิดซองหรือไม่เปิดก็ได้
สำหรับข้อกำหนดในเอกสารคัดเลือกเอกชน จะแบ่งเป็น ข้อมูลทั่วไป อาทิ การระบุสถานะผู้ยื่นข้อเสนอ ซึ่ง ร.ฟ.ท.เปิดกว้างนิติบุคคลรายเดียว นิติบุคคลกลุ่ม กิจการร่วมค้า หรือควบรวมกิจการ แต่ต้องมีนิติไทยถือหุ้นอย่างน้อย 25% นอกจากนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขเทคนิค ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ให้บริการเดินรถ สรรหาขบวนรถ ต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี เป็นต้น
ขณะที่เอกสารคัดเลือกเอกชน มี 5 ส่วน ได้แก่ ซองเปิดผนึก, ซอง 1 คุณสมบัติทั่วไป, ซอง 2 ด้านเทคนิค ซึ่งส่วนนี้จะแสดงรายละเอียดของการวางโครงสร้างองค์กร อาทิ แผนงาน และแผนการถ่ายโอนพนักงานของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ที่ปัจจุบันเป็นผู้เดินรถชานเมืองสายสีแดงอยู่ เมื่อโครงการนี้ได้เอกชนเข้ามาดำเนินงาน จะได้สิทธิบริหารโครงการสีแดงที่เปิดอยู่ ก็ต้องรับพนักงานของ รฟฟท.ด้วย
ส่วนซอง 3 การเงิน จะมีสาระสำคัญ 5 ส่วน แผนดำเนินงานธุรกิจทั้งหมด แผนการเงิน แผนวางกลยุทธ์ดำเนินโครงการ แผนจัดสรรผลประโยชน์แก่รัฐ และแผนจัดทำค่าโดยสาร โดยการพิจารณาจะใช้เกณฑ์ผู้ให้ผลประโยชน์รัฐสูงสุดจะผ่านเกณฑ์ และซอง 4 ข้อเสนออื่นๆ ซึ่งจะต้องเป็นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ โดยซองนี้สงวนสิทธิ์เปิดหรือไม่ก็ได้
เมื่อได้ตัวเอกชนเข้ามารับสิทธิบริหารโครงการแล้ว เอกชนจะต้องจัดทำแผนจ่ายคืนรัฐในส่วนของค่าขบวนรถที่จัดหามาให้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงในปัจจุบัน จำนวนเงิน 6 พันล้านบาท หลังจากนั้นเอกชนจะต้องวางแผนธุรกิจ เตรียมในเรื่องของการถ่ายโอนบุคลากรของ รฟฟท. และจัดหาขบวนรถใหม่เพื่อเตรียมพร้อมเข้ามาให้บริการเดินรถช่วงส่วนต่อขยายที่การรถไฟฯ จะดำเนินการก่อสร้าง
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.มีแผนจะเปิดประกวดราคาจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดง 3 โครงการที่มีความพร้อม วงเงินรวมกว่า 2.27 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย
1.ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6.4 พันล้านบาท
2.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท
3.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 6.1 พันล้านบาท
โดยเบื้องต้นคาดว่าจะเปิดขายซองเอกสารประกวดราคาในเดือน พ.ค.นี้ และคาดว่าจะได้ตัวผู้รับเหมาในเดือน ต.ค.2565 หลังจากนั้นจะเร่งรัดให้ดำเนินการก่อสร้างทันที ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 4.2 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนปรับแบบก่อสร้าง จึงคาดว่าจะดำเนินการประมูลก่อสร้างในระยะต่อไป
แม้ปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพมีรถไฟฟ้าทั้งที่กำลังก่อสร้างและให้บริการแล้วหลายเส้นทางแต่ส่วนใหญ่ยังเป็นการให้บริการในพื้นที่กรุงเทพชั้นในและรอบนอกเท่านั้น ขณะที่การเติบโตของเมืองได้กระจายตัวไปยังชานเมืองในเกือบทุกทิศทุกทาง ส่วนต่อขยายสายสีแดง ทั้ง 6 เส้นทางจึงเป็นเหมือนโครงข่ายแห่งการเดินทางที่จากนี้จะไม่ได้มีไว้แค่คนในเมืองเท่านั้นอีกต่อไป
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group