Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179611
ทั้งหมด:13490843
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2022 12:06 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท. ลุยประมูลงานโยธา “ต่อขยาย” รถไฟสีแดง 4 เส้นทางก่อน PPP เดินรถ
เดลินิวส์ 18 สิงหาคม 2565 8:59 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์


ดูที่นี่ก้ได้ครับ
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/615844713326100
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/08/2022 11:03 am    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯตั้งธงเปิดประมูลสายสีแดงส่วนต่อขยายปลายปี65
ไทยโพสต์ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 10:34 น.

การรถไฟฯ เล็งทบทวนปรับเพิ่มวงเงินสายสีแดงส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น ตั้งธงดัน 3 โครงการ เสนอ ครม. และเปิดประมูลได้ภายในช่วงปลายปี65 เตรียมเสนอคมนาคมพิจารณาแผน6 เส้นทาง เปิดPPP ระยะสัมปทาน 50 ปี

29 ส.ค. 2565 – นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายว่า ในขณะนี้ รฟท.อยู่ระหว่างการสรุปข้อมูลและรายละเอียดผลการทบทวนราคาค่าก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทาง ตามมติการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ในครั้งก่อนหน้านี้ ที่ได้มีมติเห็นชอบผลการทบทวนฯ แล้ว ซึ่งหลังจากนี้ เตรียมเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม ก่อนที่จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติต่อไป

สำหรับการทบทวนราคาค่าก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยายจำนวน 3 เส้นทางนั้น แบ่งเป็น การอนุมัติกรอบวงเงินที่เพิ่มขึ้น จำนวน 1 เส้นทาง คือ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร (กม.) กรอบวงเงินใหม่ 10,670.27 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 468 ล้านบาท จากกรอบวงเงินเดิม 10,202.18 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุที่ต้องขอปรับเพิ่มกรอบวงเงิน เนื่องจากในเส้นทางดังกล่าว จะต้องมีการก่อสร้างสถานีรถไฟเพิ่มเติม 3 สถานี คือ สถานีสะพานพระราม 6, สถานีบางกรวย-กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี ทำให้กรอบวงเงินเดิมไม่เพียงพอ จากค่าก่อสร้างงานโยธาเพิ่มขึ้น รวมถึงวัสดุก่อสร้างมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นด้วย

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ในส่วนของอีก 2 เส้นทางที่มีการทบทวนราคา โดยมีการปรับลดกรอบวงเงินรวม 2,052.38 ล้านบาท ได้แก่
1.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. กรอบวงเงินใหม่ 4,694.36 ล้านบาท ปรับลดลง 1,950.67 ล้านบาท จากกรอบวงเงินเดิม 6,645.03 ล้านบาท เนื่องจากการจัดหาตู้รถไฟฟ้า จำนวน 4 ขบวน หรือทั้งหมด 16 ตู้ ได้มีการขอเปลี่ยนรูปแบบเป็นการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ทำให้งบประมาณในการจัดหาตู้รถไฟฟ้าลดลง รวมถึงงานไฟฟ้าและเครื่องกล ก็ได้มีการปรับลดลงไปด้วยเช่นกัน

2.ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ระยะทาง 8.84 กม. กรอบวงเงินใหม่ 6,468.69 ล้านบาท ปรับลดลง 101.71 ล้านบาท จากกรอบวงเงินเดิม 6,570.40 ล้านบาท เนื่องจากเส้นทางดังกล่าว ได้มีการปรับแผน และปรับเนื้องานในส่วนของระบบงานโยธา ทำให้งานโยธาไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ รวมถึงไม่มีการซื้อขบวนรถ และมีการปรับลดค่าเวนคืนที่ดินที่เกี่ยวข้อง วงเงิน 90 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม 2 เส้นทางที่ปรับลดวงเงินนั้น จะเสนอให้ ครม.เพื่อรับทราบเท่านั้น เนื่องจากยังอยู่ในกรอบวงเงินเดิมที่เคยอนุมัติในก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 เส้นทาง คาดว่า จะเสนอ ครม. และเปิดประมูลได้ภายในช่วงปลายปี 2565

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า ในส่วนของ PPP นั้น หลังจากนี้จะเสนอให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนส่งต่อไปยังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อขออนุมัติโครงการรถไฟสายสีแดงส่วนต่อขยาย ซึ่งจะนำทั้ง 6 เส้นทางมารวมกัน โดยมี 3 เส้นทางดังกล่าวข้างต้น รวมด้วยช่วงบางซื่อ-รังสิต, ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน, ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ด้วย

ทั้งนี้ ภาครัฐ จะเป็นผู้ดำเนินการในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่เอกชนมีระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี จะรับผิดชอบเรื่องการจัดหารถ การบริหารจัดการ และการเดินรถ ซึ่งจะต้องให้สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต สำหรับการเปิด PPP เดินรถนั้น คาดว่าจะเปิดประมูลไม่ทันในปี 2566 เนื่องจากต้องดำเนินการเปิดรับฟังความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding) ตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน รวมถึงขั้นตอนการอนุมัติ อย่างไรก็ตาม คาดว่า จะสามารถเปิดประมูลได้ภายในต้นปี 2567

สำหรับช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. วงเงินลงทุน 44,157.76 ล้านบาท มีทั้งหมด 9 สถานีนั้น ขณะนี้ อยู่ระหว่างปรับแบบสถานีราชวิถี และย้ายตำแหน่งสถานีใหม่ เพื่อให้ผู้โดยสาร สามารถเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก ทั้งนี้ จะมีการประเมินกรอบวงเงินใหม่ด้วยเช่นกัน โดยจะเร่งดำเนินการ เพื่อที่จะเสนอให้ ครม.พิจารณาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2022 7:17 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
การรถไฟฯตั้งธงเปิดประมูลสายสีแดงส่วนต่อขยายปลายปี65
ไทยโพสต์ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 10:34 น.


ชง “ครม.” เพิ่มวงเงิน “ส่วนต่อขยาย” รถไฟฟ้าสายสีแดง 1,258 ล้าน
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
29 สิงหาคม 2565 เวลา 08:20 น.

รฟท. ชง ครม. ปรับกรอบวงเงิน “ส่วนต่อขยาย” รถไฟฟ้าสีแดง ต้นทุนก่อสร้างพุ่ง ภาพรวม 4 เส้นขยับเพิ่ม 1,258 ล้าน ลุยเปิดประมูลงานโยธาปลายปีนี้ 3 เส้น “ตลิ่งชัน-ศาลายา/ตลิ่งชัน-ศิริราช/รังสิต-มธ.” ขณะที่มิสซิงลิงก์ประมูลปีหน้า เร่งดัน PPP เดินรถ 6 เส้น 3.6 แสนล้าน สัมปทาน 50 ปี เปิดประมูลปี 67


นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท. ได้เสนอขออนุมัติปรับกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8  กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 10,670 ล้านบาท, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม. วงเงิน 4,694 ล้านบาท และช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ระยะทาง 8.84  กม. วงเงิน 6,468 ล้านบาท ไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว คาดว่าจะเปิดประกวดราคา (ประมูล) ทั้ง 3 เส้นทางได้ในปลายปี 65 

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ทั้ง 3 เส้นทางผ่านความเห็นชอบจาก ครม. แล้ว แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีหลายปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้น อาทิ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น จากเดิม 25 บาทต่อลิตร เป็น 35 บาทต่อลิตร, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จากเดิม 31.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และค่าวัสดุก่อสร้างต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ รฟท. จึงต้องทบทวนราคาค่าก่อสร้างใหม่

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า สำหรับช่วง ตลิ่งชัน-ศาลายา ครม. อนุมัติเดือน ก.พ.62 วงเงิน 10,202.18 ล้านบาท แต่มีงานก่อสร้างเพิ่ม 2 สถานี ได้แก่ สถานีบางกรวย-กฟผ. และสถานีสะพานพระราม 6 ทำให้กรอบวงเงินเดิมไม่เพียงพอ ต้องเสนอขอเพิ่ม 468.09 ล้านบาท ส่งผลให้วงเงินกรอบใหม่อยู่ที่ 10,670.27 ล้านบาท ส่วนช่วง ตลิ่งชัน-ศิริราช ครม.อนุมัติเดือน มี.ค.62 วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท แต่ได้ปรับลดวงเงินลง 1,950.67 ล้านบาท เนื่องจากเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานในส่วนของการจัดหาขบวนรถ 4 ตู้ 4 ขบวน มาอยู่ในการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) งานเดินรถ งานระบบตั๋ว จัดหาขบวนรถ และการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ทำให้กรอบวงเงินใหม่อยู่ที่ 4,694.36 ล้านบาท

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า ขณะที่ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ครม. อนุมัติเดือน ก.พ.64 วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท ปัจจุบันมีการปรับแบบ แต่งานโยธาเปลี่ยนแปลงไม่มาก และปรับขอบเขตงานให้น้อยลง รวมถึงค่าเวนคืนที่ดินลดลง ส่งผลให้กรอบวงเงินจึงลดลงจากเดิม 101.71 ล้านบาท และกรอบวงเงินใหม่อยู่ที่ 6,468.69 ล้านบาท ส่วนช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. อยู่ระหว่างปรับแบบสถานีราชวิถีใหม่ ให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีได้สะดวก  

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังต้องประเมินราคาค่าก่อสร้างใหม่ด้วย เบื้องต้น Missing Link ต้องปรับกรอบวงเงินเพิ่มประมาณ 2,843 ล้านบาท จากเดิม 44,157 ล้านบาท เป็นประมาณ 47,000 ล้านบาท โดยเส้นทางนี้คาดว่าจะเสนอ ครม. เห็นชอบในปี 65 และเปิดประมูลปี 66 อย่างไรก็ตามกรอบวงเงินใหม่ทั้ง 4 เส้น มีทั้งปรับเพิ่ม และลดลง จึงทำให้กรอบวงเงินของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) ขยับเพิ่มขึ้นจากกรอบวงเงินเดิมประมาณ 1,258 ล้านบาท     


นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า รฟท. จะเร่งเปิดประมูลงานก่อสร้าง และงานระบบก่อน ขณะเดียวกันจะเร่งดำเนินการ PPP งานเดินรถฯ ทั้ง 6 เส้นทาง วงเงินประมาณ 3.6 แสนล้านบาท สัมปทาน 50 ปี แบ่งเป็น ส่วนต่อขยาย 4 เส้นทาง และเส้นทางที่เปิดบริการแล้ว 2 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยขณะนี้เรื่องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. แล้ว เตรียมเสนอกระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ ครม. พิจารณาต่อไป คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปี 67 ทั้งนี้คาดการณ์ว่าปีแรกของการเปิดให้บริการครบทั้ง 6 เส้น จะมีผู้โดยสารประมาณ 9 หมื่นคนต่อวัน ประมาณการรายได้ 50 ปี อยู่ที่ประมาณ 5.8 แสนล้านบาท..
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/622956835948221
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 30/08/2022 11:11 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รออีก5ปีได้นั่งรถไฟฟ้าไปหาหมอ
Source - เดลินิวส์
Wednesday, August 17, 2022 08:37

สีส้ม&แดงเชื่อมรพ.ศิริราช สถานีเพื่อสุขภาพแห่งแรก


นับหนึ่งใหม่…นั่งรถไฟฟ้าไปหาหมอ “สถานีร่วมศิริราช”เพื่อสุขภาพแห่งแรก
มุมคนเมือง
…ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง….
วันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08:00 น.

”สถานีร่วมศิริราช” สถานีสุดพิเศษไม่ใช่แค่สถานีร่วมของรถไฟฟ้า แต่ยังเชื่อมอาคารรักษาพยาบาลของ "รพ.ศิริราช" จึงเป็นสถานีแห่งแรกที่เราจะได้นั่งรถไฟฟ้าทะลุเข้าโรงพยาบาลไปหาหมอได้!!!



แจ้งเกิดไว้ตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค. 2562 สำหรับ “สถานีร่วมศิริราช” สถานีสุดพิเศษไม่ใช่แค่สถานีร่วมของรถไฟฟ้า 2 สาย 2 สีส่วนต่อขยายสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช กับรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี แต่ยังเชื่อมอาคารรักษาพยาบาลของ รพ.ศิริราช จึงเป็นสถานีแห่งแรกที่เราจะได้นั่งรถไฟฟ้าทะลุเข้าโรงพยาบาลไปหาหมอได้


วันนั้นเมื่อ 3 ปีก่อน อดีต รมว.คมนาคม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างสถานีร่วมศิริราช และอาคารรักษาพยาบาล ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศ (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล



ไม่นานมานี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างสถานีร่วมศิริราชและอาคารรักษาพยาบาล ระหว่างรฟท. รฟม. และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขยายบันทึกความเข้าใจความร่วมมือเดิม 3 ปี (2 พ.ค.62 – พ.ค.65 ) ออกไปจนกว่า โครงการก่อสร้างระบบรถไฟชานเมือง (รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และอาคารรักษาพยาบาลของรพ.ศิริราช จะแล้วเสร็จทั้ง 3 โครงการ


โครงการนี้จะเป็นจริงได้..!!! หรือแค่วามฝัน?? เมื่อต้องขยายบันทึกความเข้าใจ จากความล่าช้าของโครงการด้วยปัญหาอุปสรรคต่างๆ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ ให้คำตอบว่า หลังขยายบันทึกความเข้าใจระหว่าง 3 หน่วยงานแล้ว คณะทำงานเตรียมการก่อสร้างและบริหารโครงการฯได้มอบหมาย รฟม. ซึ่งเป็นผู้บูรณาการแผนงาน ได้ปรับปรุงแผนปฏิบัติการ (Action Plan) โครงการก่อสร้างสถานีศิริราชและอาคารรักษาพยาบาล โดยให้จัดทำข้อมูลรายละเอียดกิจกรรม (Activity) ของโครงการที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน


ในส่วนของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กม.นั้น ล่าสุด รฟท.ได้เสนอขออนุมัติปรับกรอบวงเงินโครงการไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป คาดว่าจะเปิดประกวดราคา (ประมูล) ปลายปี 65

เดิม ครม.อนุมัติโครงการการก่อสร้างเมื่อเดือน มี.ค.62 วงเงิน 6,645.03 ล้านบาท รฟท.ได้ปรับลดวงเงินลง 1,950.67 ล้านบาท เนื่องจากเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานในส่วนของการจัดหาขบวนรถ 4 ตู้ 4 ขบวน ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) งานเดินรถ งานระบบตั๋ว จัดหาขบวนรถ และการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ทำให้กรอบวงเงินใหม่อยู่ที่ 4,694.36 ล้านบาท จึงต้องเสนอ ครม.อีกครั้ง

ขณะเดียวกัน รฟท. ได้จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และราคากลาง โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประกวดราคากลางแล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างเดือน พ.ค.66 ใช้เวลา 36 เดือน และเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ปี 70

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท รฟม.อยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการ โดยเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอแล้ว คาดว่าจะลงนามสัญญาร่วมลงทุนได้ช่วงต้นปี 66 และเปิดบริการเดินรถโครงการส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ภายในปี 68 (จากเดิมปี 66) และเปิดบริการโครงการส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ตลอดทั้งเส้นทางในปี 71


สำหรับอาคารรักษาพยาบาลของ รพ.ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ออกแบบแล้ว กำลังนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เพื่อประกอบการขออนุญาตในขั้นตอนการก่อสร้างจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) และอยู่ระหว่างนำเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติโครงการ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างกลางปี 66 พร้อมเปิดบริการปี 70

ที่ประชุมขอให้ รฟท. และคณะแพทยศาสตร์ฯ กำหนดเงื่อนไขความร่วมมือการก่อสร้างสถานีร่วมศิริราช และอาคารรักษาพยาบาลไว้ในร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) เหมือนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มด้วย รวมทั้งให้ทุกหน่วยตรวจสอบว่ามีเงื่อนไขอื่นๆ ใดที่ต้องการเพิ่มเติมในทีโออาร์อีกหรือไม่

อาคารรักษาพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีวงเงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท สูง 15 ชั้น ชั้นใต้ดิน 3 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 55,057 ตารางเมตร (ตร.ม.) แบ่งเป็น พื้นที่โรงพยาบาล 50,741 ตร.ม. พื้นที่รถไฟฟ้าสีแดงอ่อน 3,410 ตร.ม. และพื้นที่รถไฟฟ้าสายสีส้ม 906 ตร.ม.

เมื่อแล้วเสร็จจะเป็นสถานีร่วมที่ใช้ประโยชน์ในการเดินทาง อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาการเดินทาง ลดความแออัดของผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์ สะดวกสบายจากการเดินทางในระบบขนส่งสาธารณะและการบริการสาธารณสุขมากยิ่งขึ้น


จะเป็น “สถานีขนส่งมวลชนเพื่อสุขภาพและสาธารณสุขแห่งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย” โมเดลต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่สถานีขนส่งมวลชนโครงการอื่นๆ ตามเป้าประสงค์ แต่ต้องนับหนึ่งกันใหม่ไปอีก 5 ปี

https://www.dailynews.co.th/articles/1409045/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/09/2022 10:15 am    Post subject: Reply with quote

ครม.อนุมัติ 3.8 พันล้าน สร้างอาคาร รพ.ศิริราช และสถานีรถไฟฟ้า เข้าถึงการรักษาได้รวดเร็ว
ไทยโพสต์ 27 กันยายน 2565 เวลา 16:00 น.

ครม.อนุมัติ 3.85 พันล้าน พัฒนาสถานีศิริราชเป็นอาคารรักษาพยาบาลและสถานีรถไฟฟ้าแห่งแรกของประเทศ เชื่อมรถไฟสายสีแดงอ่อน-รถไฟฟ้าสายสีส้ม

27 ก.ย.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติการดำเนินโครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล งบประมาณรวมทั้งสิ้น 3,851.27 ล้านบาท แบ่งเป็นงบลงทุนค่าก่อสร้าง 2,338.27 ล้านบาท ครุภัณฑ์การแพทย์ 1,400 ล้านบาท และงบบุคลากร (หมวดเงินเดือน) 113.01 ล้านบาท โดยขออนุมัติงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566 - 2569 จำนวน 2,552.50 ล้านบาท และเงินสมทบจากเงินนอกงบประมาณ จำนวน 1,298.77 ล้านบาท ในลักษณะเป็นเงินอุดหนุน

โครงการนี้เกิดขึ้นโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช เพื่อให้เป็นสถานีขนส่งมวลชนเพื่อสุขภาพและสาธารณสุขแห่งแรกของประเทศไทย โดยพัฒนาจุดเชื่อมโยงการเดินทางโดยรถไฟฟ้าบริเวณโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 2 สถานี คือ สถานีศิริราช รถไฟฟ้าสายสีส้มของ รฟม. และสถานีธนบุรี - ศิริราช รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนของ รฟท. และเพิ่มประโยชน์การใช้งานนอกเหนือจากสถานีรถไฟฟ้าด้วยการบริการรักษาพยาบาล เช่น งานบริการผู้ป่วยนอก งานบริการผู้ป่วยใน งานบริการตรวจผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องพักค้าง เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาการเดินทางและลดความแออัดของผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลศิริราชด้วยการเป็น One Stop Service และ Best Integrated Care

นางสาวรัชดา กล่าวว่า โครงการนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ รฟท. ซึ่งต่อเนื่องกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี - ศิริราช ช่วงเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน เลียบคลองบางกอกน้อย โดยเป็นการเช่าที่ดินของ รฟท. บนพื้นที่ 4.67 ไร่ (7,456 ตารางเมตร) ระยะเวลาเช่า 30 ปี สำหรับลักษณะของโครงการ เป็นการก่อสร้างอาคารสูง 15 ชั้น ชั้นใต้ดิน 3 ชั้น รวมความสูงของอาคารเท่ากับ 81 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 51,853 ตารางเมตร แบ่งเป็น 1.พื้นที่โรงพยาบาล 47,537 ตารางเมตร 2.พื้นที่รถไฟสายสีแดงอ่อน 3,410 ตารางเมตร และ 3.พื้นที่รถไฟฟ้าสายสีส้ม 906 ตารางเมตร พร้อมพื้นที่จอดรถ 79 คัน ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 32 เดือน รวมระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี

“ปัจจุบันโรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลขนาด 2,100 เตียง ให้บริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ยประมาณ 3 ล้านคนต่อปี และบริการผู้ป่วยในเฉลี่ยประมาณ 8.3 หมื่นคนต่อปี ซึ่งการดำเนินการโครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราชนี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็วและลดความแออัดในโรงพยาบาลศิริราช อีกทั้ง เป็นการยกระดับการให้บริการด้านสาธารณสุขไทย ในรูปแบบสถานีขนส่งมวลชนเพื่อสุขภาพและสาธารณสุขแห่งแรกของประเทศด้วย” นางสาวรัชดากล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2022 6:19 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ครม.อนุมัติ 3.8 พันล้าน สร้างอาคาร รพ.ศิริราช และสถานีรถไฟฟ้า เข้าถึงการรักษาได้รวดเร็ว
ไทยโพสต์
วันอังคาร ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:00 น.




ครม.ทุ่ม 3.85 พันล้าน สร้างอาคารรักษาพยาบาล บนที่ดิน ร.ฟ.ท.เชื่อม รพ.ศิริราช
การเมือง
วันอังคาร ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:03 น.

ครม.อนุมัติ 3.85 พันล้าน พัฒนาสถานีศิริราชเป็นอาคารรักษาพยาบาลและสถานีรถไฟฟ้าแห่งแรกของประเทศ เชื่อมรถไฟสายสีแดงอ่อน-รถไฟฟ้าสายสีส้ม

วันที่ 27 กันยายน 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการดำเนินโครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล งบประมาณรวมทั้งสิ้น 3,851.27 ล้านบาท แบ่งเป็นงบฯลงทุนค่าก่อสร้าง 2,338.27 ล้านบาท ครุภัณฑ์การแพทย์ 1,400 ล้านบาท และงบฯบุคลากร (หมวดเงินเดือน) 113.01 ล้านบาท โดยขออนุมัติงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566-2569 จำนวน 2,552.50 ล้านบาท และเงินสมทบจากเงินนอกงบประมาณ จำนวน 1,298.77 ล้านบาท ในลักษณะเป็นเงินอุดหนุน



น.ส.รัชดากล่าวว่า โครงการนี้เกิดขึ้นโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช เพื่อให้เป็นสถานีขนส่งมวลชนเพื่อสุขภาพและสาธารณสุขแห่งแรกของประเทศไทย

โดยพัฒนาจุดเชื่อมโยงการเดินทางโดยรถไฟฟ้าบริเวณโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 2 สถานี คือ สถานีศิริราช รถไฟฟ้าสายสีส้มของ รฟม. และสถานีธนบุรี-ศิริราช รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนของ ร.ฟ.ท. และเพิ่มประโยชน์การใช้งานนอกเหนือจากสถานีรถไฟฟ้าด้วยการบริการรักษาพยาบาล เช่น งานบริการผู้ป่วยนอก งานบริการผู้ป่วยใน งานบริการตรวจผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องพักค้าง เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาการเดินทางและลดความแออัดของผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลศิริราช ด้วยการเป็น One Stop Service และ Best Integrated Care








น.ส.รัชดากล่าวว่า โครงการนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ ร.ฟ.ท. ซึ่งต่อเนื่องกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี-ศิริราช ช่วงเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน เลียบคลองบางกอกน้อย โดยเป็นการเช่าที่ดินของ ร.ฟ.ท. บนพื้นที่ 4.67 ไร่ (7,456 ตารางเมตร) ระยะเวลาเช่า 30 ปี

สำหรับลักษณะของโครงการ เป็นการก่อสร้างอาคารสูง 15 ชั้น ชั้นใต้ดิน 3 ชั้น รวมความสูงของอาคารเท่ากับ 81 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 51,853 ตารางเมตร แบ่งเป็น 1.พื้นที่โรงพยาบาล 47,537 ตารางเมตร 2.พื้นที่รถไฟสายสีแดงอ่อน 3,410 ตารางเมตร และ 3.พื้นที่รถไฟฟ้าสายสีส้ม 906 ตารางเมตร พร้อมพื้นที่จอดรถ 79 คัน ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 32 เดือน รวมระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี

“ปัจจุบันโรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลขนาด 2,100 เตียง ให้บริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ยประมาณ 3 ล้านคนต่อปี และบริการผู้ป่วยในเฉลี่ยประมาณ 8.3 หมื่นคนต่อปี ซึ่งการดำเนินการโครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราชนี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็วและลดความแออัดในโรงพยาบาลศิริราช อีกทั้งเป็นการยกระดับการให้บริการด้านสาธารณสุขไทย ในรูปแบบสถานีขนส่งมวลชนเพื่อสุขภาพและสาธารณสุขแห่งแรกของประเทศด้วย” น.ส.รัชดากล่าว


https://www.prachachat.net/politics/news-1062816
https://www.youtube.com/watch?v=rrjPbSospyU
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/10/2022 3:34 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”เตรียมชงบิ๊กโปรเจ็กต์ครม.โค้งสุดท้าย ต่อขยายโทลล์เวย์-ทางคู่ขอนแก่น-หนองคาย และสายสีแดง
เผยแพร่: 4 ต.ค. 2565 15:04
ปรับปรุง: 4 ต.ค. 2565 15:04
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“ศักดิ์สยาม”เตรียมดันบิ๊กโปรเจ็กต์ ชงครม.โค้งสุดท้ายรัฐบาล เร่งสรุปปรับแบบมอเตอร์เวย์”บางปะอิน”16ตอน, ชง PPP ต่อขยายโทลล์เวย์ 2.87 หมื่นล. รถไฟทางคู่”ขอนแก่น-หนองคาย"และสายสีแดงต่อขยาย 3 เส้นทาง มั่นใจงานไม่สะดุด

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า นโยบายในการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม ในการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนั้น ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มต้นรัฐบาล ซึ่งหลายเรื่องต้องใช้เวลา และมีหลายโครงการสามารถแปรไปสู่การปฎิบัติแล้ว เช่น รถขนส่งโดยสารที่ใช้พลังงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (รถโดยสารEV) ซึ่งได้เปิดให้บริการนำร่องในส่วนของผู้ประกอบการเอกชนแล้วโดยภายในปีนี้จะมีรถให้บริการรวม 1,250 คัน

ทั้งนี้ ในช่วงท้ายก่อนรัฐบาลก่อนครบวาระนั้น ในส่วนชองกระทรวงคมนาคม มีงานหลายโครงการที่ต้องการผลักดัน เช่น การแก้ปัญหาโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา หรือ มอเตอร์เวย์ ( M6 )ระยะทาง 196 กม. ในกรอบวงเงิน 84,600 ล้านบาทที่มีการปรับแบบและปรับเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้าง จำนวน 16 ตอน คาดว่าจะเร่งเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเร็วๆนี้ โดยอาจจะทำให้การเปิดให้บรืการเต็มรูปแบบล่าช้าไปประมาณครึ่งปี หรือเดิมจะแล้วเสร็จปี 2566 ไปเป็นประมาณกลางปี2567

นอกจากนี้ กรมทางหลวง (ทล.) ยังมีโครงการ

ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) (M5) ช่วงรังสิต – บางปะอิน ระยะทาง 22 กม. มูลค่าโครงการ 28,700ล้านบาท ซึ่งจะแก้ปัญหาจราจรและเชื่อมโยงกับโครงข่ายมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-ปากเกร็ด (M6 ) โดยจะเป็นการร่วมลงทุนเอกชน โดยอยู่ระหว่างเตรียมเสนอขออนุมัติโครงการ

และ โครงการสะพานเศรษฐกิจ หรือแลนด์บริดจ์ (ชุมพร-ระนอง) ซึ่งจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคใต้เชื่อมโยงสองฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน

ส่วนระบบรางจะมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 167 กม. มูลค่าโครงการ 29,748 ล้านบาทโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร มี 6 สถานี วงเงิน10,670.27 ล้านบาท

สายสีแดง (ส่วนต่อขยาย) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร วงเงิน 4,694.36 ล้านบาท และ สายสีแดง(สาวนต่อขยาย) ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง8.84 กิโลเมตร มี 6 สถานี วงเงิน 6,468.69 ล้านบาท

ที่ศึกษาเสร็จเรียบร้อย พร้อมเสนอขออนุมัติ

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า การผลักดันโครงการต่างๆ จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการหยุดชะงัก แม้ว่ารัฐบาลจะครบวาระ 4 ปีเนื่องจากจะมีช่วงที่รัฐบาลยังคงทำหน้าที่ รักษาการ ในช่วงก่อนที่จะจะมีการเลือกตั้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/10/2022 8:56 am    Post subject: Reply with quote

ขยายแน่ๆสายสีแดง4เส้นทาง
Source - เดลินิวส์
Friday, October 28, 2022 04:45

ผ่านบอร์ดชู้ตครม.เพื่อทราบ 6.8หมื่นล้านเริ่มประมูลต้นปี

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. วันที่ 28 ต.ค.65 รฟท. จะเสนอขอความเห็นชอบผลการทบทวนราคาค่าก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.7 กิโลเมตร (กม.) จากเดิมที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติวงเงิน 6,645 ล้านบาท ปรับเป็นวงเงิน 4,694 ล้านบาท เนื่องจากเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานในส่วนของการจัดหาขบวนรถ มาให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) งานเดินรถ งานระบบตั๋ว จัดหาขบวนรถ และการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M)

และสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. จากเดิมที่ ครม.อนุมัติ วงเงิน 6,570 ล้านบาท ปรับเป็น 6,468 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับแบบ แต่งานโยธาเปลี่ยนแปลงไม่มาก และปรับขอบเขตงานให้น้อยลง รวมถึงค่าเวนคืนที่ดินลดลง วงเงินจึงลดลง หากบอร์ด รฟท. เห็นชอบ คาดว่าจะเสนอกระทรวงคมนาคม และ ครม. รับทราบได้ภายในเดือน พ.ย. 65

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า วงเงินค่าก่อสร้างส่วนต่อขยายสาย 4 แดงทั้ง 4 เส้นทางอยู่ที่ 6.8 หมื่นล้านบาท เบื้องต้น รฟท. มีแผนเปิดประกวดราคางานก่อสร้างส่วนต่อขยายก่อน 3 เส้นทางช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 66 ประกอบด้วย 1.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช, 2.ช่วงรังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต และ 3.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.8 กม. วงเงิน 10,670 ล้านบาท คาดว่าจะได้ผู้รับจ้างประมาณเดือน พ.ค. 66 ลงนามสัญญากับผู้รับจ้างประมาณเดือน มิ.ย. 66 จากนั้นจะ เริ่มก่อสร้างต่อไป คาดว่าเส้นทางช่วงรังสิตมธ.ศูนย์รังสิต จะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดบริการเดือน พ.ค. 69 ส่วนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา เปิดบริการประมาณเดือน มิ.ย. 69 ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช เปิดบริการประมาณเดือน พ.ค. 70

ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อหัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กม. อยู่ระหว่างปรับแบบสถานีราชวิถีใหม่ให้ผู้โดยสารเดินเชื่อมเข้าสู่อาคาร รพ. รามาธิบดี ได้สะดวก พร้อมประเมินค่าก่อสร้างใหม่ เบื้องต้นอาจต้องปรับกรอบวงเงินเพิ่มประมาณ 2,843 ล้านบาท จากเดิม 44,157 ล้านบาท เป็นประมาณ 47,000 ล้านบาท โดยเส้นทางนี้คาดว่าจะเสนอ ครม. เดือน ธ.ค. 65 เปิดประมูลปี 66 ได้ผู้รับจ้างเดือน ก.ย. 66 เปิดบริการ เม.ย. 71

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับงานเดินรถ งานระบบตั๋ว จัดหาขบวนรถ และการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) จะร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. แล้ว เตรียมเสนอกระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) และ ครม. พิจารณาต่อไป คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในปี 67 ทั้งนี้คาดการณ์ปีแรกเปิดบริการครบทั้ง 6 เส้นทาง จะมีผู้โดยสารราว 9 หมื่นคนต่อวัน ประมาณการรายได้ 50 ปี อยู่ที่ 5.8 แสนล้านบาท.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 28 ต.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/10/2022 8:36 pm    Post subject: Reply with quote

ขยายแน่ๆ! รถไฟฟ้าสายสีแดง 4 เส้นทาง 6.8 หมื่นล้าน เริ่มประมูลต้นปี 66 | DAILYNEWSTODAY 28/10/65
Oct 28, 2022
Dailynews Online


https://www.youtube.com/watch?v=6WiDLcS_ugs
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/12/2022 6:58 am    Post subject: Reply with quote

'ศิริราชคอมเพล็กซ์'บูมฝั่งธนฯเร่งเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดง-ส้ม
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, December 03, 2022 04:47

คอมเพล็กซ์หมื่นล้าน "ศิริราช" เปิดใช้แน่ภายใน 5 ปี ปูทางสร้าง "โรงพยาบาลลอยฟ้า" ครั้งแรกของประเทศ ลงทุนเชื่อม 2 รถไฟฟ้าสายสีแดง-สีส้ม ปลุกทำเลแห่งอนาคต ศูนย์กลางความเจริญการแพทย์แห่งใหม่ย่านฝั่งธนฯ บูม "สถานีธนบุรี-พรานนก" เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยชั้นดี เชื่อมโครงข่ายคมนาคมครบวงจร

"พลิกโฉมที่ดินการรถไฟฯ เพื่อการใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่า เสริมรายได้ สร้างอนาคต" เป็นนโยบายของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีธนบุรี เป็นอีกหนึ่งโครงการใหญ่ที่ทุกฝ่ายต่างให้ความสนใจ เนื่องจากปัจจุบันการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ยังขาดแนวทางการควบคุมที่ชัดเจน ทั้งการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบยังไม่เป็นระเบียบ ทำให้ที่ดิน 147.92 ไร่ ตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่านสถานีธนบุรีไปจนถึงบริเวณใกล้ถนนจรัญสนิทวงศ์ มีการใช้ที่ดินได้ไม่เต็มศักยภาพ ขณะที่เมืองเริ่มขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ

ช้าเพราะโควิด

รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า การพัฒนาที่ดินแปลงใหม่ผืนนี้ได้แบ่งเป็น 4 โซน ดังนี้

Zone 1 : พื้นที่ภายใต้การใช้กิจกรรมของ ร.ฟ.ท.เดิม จะเป็นการใช้ประโยชน์ประเภทพื้นที่สถานีธนบุรี, สถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดง, พื้นที่แนวรางรถไฟ และศูนย์ซ่อมบำรุง

Zone 2 : Rented Area เป็นพื้นที่ที่การรถไฟฯ ปล่อยเช่าให้กับเอกชนหรือภาครัฐในการใช้ประโยชน์ ได้แก่ โรงพยาบาล ศิริราช, หอพักโรงพยาบาลศิริราช, ปัมน้ำมัน, ลานจอดรถ และตลาดศาลาน้ำเย็น

Zone 3 : New Residential and SRT Town พื้นที่โซนที่พักอาศัย รองรับกลุ่มผู้อยู่อาศัยใหม่มี 3 อาคาร คือ ที่พักอาศัยพนักงาน นักศึกษาแพทย์ พนักงาน ร.ฟ.ท. และผู้อยู่อาศัยใหม่ รวมถึงอาคารที่พักอาศัยแพทย์ และพื้นที่สีเขียว ลานกิจกรรมของชุมชน

Zone 4 : Thonburi Railway New Commercial พื้นที่ส่วนกลางที่เป็นตลาด รองรับกิจกรรมของกลุ่มผู้อยู่อาศัยใหม่ และกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่เดิม

แต่จากสถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบ ทำให้แผนพัฒนาที่ดินดังกล่าวล่าช้า แต่ ร.ฟ.ท.ยืนยันว่า การทำงานภายในยังคงดำเนินต่อเนื่อง เพราะเป็นโปรเจ็กต์สำคัญ แต่เกี่ยวโยงกับภาครัฐและเอกชนหลายส่วน จึงต้องใช้เวลา

มั่นใจ 5 ปีเกิดแน่

ล่าสุด ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า พื้นที่ศิริราชมีทั้งหมด 70 ไร่ ขณะนี้ได้ใช้ประโยชน์เต็มทุกพื้นที่แล้ว

ในอนาคตอันใกล้ที่ดินย่านนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยมีการพัฒนาพื้นที่ของศิริราชบางส่วน ที่ต่อเชื่อมกับที่ดินการรถไฟฯ บริเวณด้านสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ และพื้นที่จอดรถอีก 5 ไร่ จะกลายเป็นสถานีรถไฟศิริราช ซึ่งจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนที่มาจากพุทธมณฑล-ตลิ่งชัน และสายสีส้มที่มาจากศูนย์วัฒนธรรม ลอดอุโมงค์แม่น้ำเจ้าพระยาข้ามมาย่านฝั่งธนบุรี

ซึ่งเมื่อเดือนตุลาคม 2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ศิริราชก่อสร้าง โดยอนุมัติวงเงิน 3,800 ล้านบาท เพื่อสร้าง อาคารใหม่ ภาพอนาคต เราจะมีโรงพยาบาล อยู่ในคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ จะทำให้ การเดินทางสะดวกขึ้นมากทุกคนไม่ต้อง ขับรถมา โดยเฉพาะคนที่ช่วยเหลือ ตัวเองได้อย่างกลุ่มคนรุ่นใหม่จะสามารถโดยสารรถไฟฟ้าเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในทุกด้าน

"คาดว่าอาคารใหม่น่าจะเสร็จในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะเป็นอาคารที่มีทั้งศูนย์การตรวจสุขภาพ ฟี้นฟูสมรรถภาพ ศูนย์ผ่าตัดย่อย และไอซียู ถือเป็นโปรเจ็กต์ ขนาดใหญ่ที่ตัวอาคารจะตั้งอยู่บนอาคารสถานีรถไฟ ซึ่งเป็นที่แรกในประเทศไทย" ศ.นพ.อภิชาติกล่าวและว่า

ด้านการลงทุน ครม.จะสนับสนุนงบประมาณ 67% จาก 3,800 ล้านบาท อีก 33% ศิริราชจะเป็นผู้จัดหาเงินลงทุนมาดำเนินการร่วมกัน ซึ่งแต่ละปีศิริราชจะลงทุนโดยเฉลี่ยปีละ 20,000 ล้านบาท เพราะเราต้องบริหารตัวเองในแง่ของบริการสาธารณะ ควบคู่กับการเป็น BU หนึ่ง

ตามหลักการลงทุนตอนนี้ ศิริราชได้ออกนอกระบบแล้ว แต่ยังอยู่ภายใต้กำกับของรัฐบาล ซึ่งเคยเป็นหน่วยงานราชการ โดยมีพระราชบัญญัติเป็นของตัวเอง เนื่องจากเป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีพระราชบัญญัติแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

"การทำงานโครงการต่าง ๆ ศิริราชจะล้อไปกับภาครัฐ และต้องผ่านกระบวนตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจคุณภาพต่าง ๆ แต่มีการเปิดช่องว่างให้เราสามารถบริหารภายในได้อย่างคล่องตัว เงินทุกบาท ทุกสตางค์ของที่นี่ก็คือเงินของประชาชนที่เราต้องดูแลให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด"
เปิดแผนแม่บท

โครงการดังกล่าวออกแบบเสร็จแล้ว โดยได้รับอนุมัติจากสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้มีการปรับใช้ประโยชน์ที่ดินจากปัจจุบันเป็นสีน้ำตาล (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) มีข้อจำกัดสร้างอาคารได้ไม่เกิน 5 ชั้น เป็นพื้นที่สีน้ำเงิน (ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ) เพื่อพัฒนาอาคารสูงได้ ตามแผนจะต้องก่อสร้างอาคารให้เสร็จในปี 2567 แต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 เสียก่อน

ส่วนสายสีแดงจะเปิดให้บริการปี 2566 สายสีส้มเปิดในปี 2569 อีกทั้งมีแผนจะปรับปรุงอาคารผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นศูนย์การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินของประเทศไทยอีก 4,000-5,000 ล้านบาท สร้างอาคารกุมารแพทย์ใหม่ 1,000 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติ โครงการอาคารรักษาพยาบาล และสถานี ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล งบประมาณรวม 3,851.27 ล้านบาท แบ่งเป็น งบฯลงทุน ค่าก่อสร้าง 2,338.27 ล้านบาท ครุภัณฑ์การแพทย์ 1,400 ล้านบาท และงบฯบุคลากร (หมวดเงินเดือน) 113.01 ล้านบาท โดยขออนุมัติงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566-2569 จำนวน 2,552.50 ล้านบาท และเงินสมทบจากเงินนอกงบประมาณ จำนวน 1,298.77 ล้านบาท ในลักษณะเป็นเงินอุดหนุน

โครงการนี้เกิดขึ้นโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร.ฟ.ท. และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช เพื่อให้เป็นสถานีขนส่งมวลชนเพื่อสุขภาพและสาธารณสุขแห่งแรกของประเทศไทย

โดยพัฒนาจุดเชื่อมโยงการเดินทางโดยรถไฟฟ้าบริเวณโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 2 สถานี คือ สถานีศิริราช รถไฟฟ้า สายสีส้มของ รฟม. และสถานีธนบุรี-ศิริราช รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนของ ร.ฟ.ท. และ เพิ่มประโยชน์การใช้งานนอกเหนือจาก สถานีรถไฟฟ้าด้วยการบริการรักษาพยาบาล เช่น งานบริการผู้ป่วยนอก งาน บริการผู้ป่วยใน งานบริการตรวจผู้ป่วย ที่ไม่จำเป็นต้องพักค้าง เป็นต้น เพื่อ อำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึง การรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ลด ระยะเวลาการเดินทางและลดความแออัดของผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลศิริราช ด้วยการเป็น One Stop Service และ Best Integrated Care

โครงการนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ ร.ฟ.ท. ซึ่งต่อเนื่องกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี-ศิริราช ช่วงเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน เลียบคลองบางกอกน้อย โดยเป็นการเช่าที่ดินของ ร.ฟ.ท. บนพื้นที่ 4.67 ไร่ (7,456 ตารางเมตร) ระยะเวลาเช่า 30 ปี

ลักษณะของโครงการ เป็นการก่อสร้างอาคารสูง 15 ชั้น ชั้นใต้ดิน 3 ชั้น รวมความสูงของอาคารเท่ากับ 81 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 51,853 ตารางเมตร แบ่งเป็น 1.พื้นที่โรงพยาบาล 47,537 ตารางเมตร 2.พื้นที่รถไฟสายสีแดงอ่อน 3,410 ตารางเมตร และ 3.พื้นที่รถไฟฟ้าสายสีส้ม 906 ตารางเมตร พร้อมพื้นที่จอดรถ 79 คัน ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 32 เดือน รวมระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 - 7 ธ.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12, 13, 14  Next
Page 11 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©