RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269971
ทั้งหมด:13581258
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/05/2014 7:07 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมลุ้นโรดแม็ปเศรษฐกิจประเทศ รถไฟฟ้าความเร็วสูงส่อแววเป็นหมัน!
ไทยรัฐออนไลน์ 30 พ.ค. 2557 06:30

นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) จะต้องรอความชัดเจนจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำเป็นโรดแม็ปเศรษฐกิจประเทศ โดยกระทรวงคมนาคมมีความพร้อมที่จะเร่งดำเนินการทุกโครงการที่ คสช.เห็นว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ด้านนายพีระพล ถาวรเจริญ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา สนข.ได้ศึกษาออกแบบรถไฟความเร็วสูงในบางเส้นทางเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างยื่นรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ส่วนจะนำเสนอให้ คสช.พิจารณาหรือไม่ ต้องรอดูผลโรดแม็ปเศรษฐกิจของประเทศที่ คสช.จะแถลงในวันที่ 6 มิ.ย.นี้ก่อน ว่าจะมีนโยบายไปในทิศทางใด หากมีความชัดเจนในเรื่องใดทาง สนข.ก็จะนำเสนอให้สอดคล้องกับโรดแม็ปที่ออกมาด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สนข.ได้ยื่นอีไอเอโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง คือ
1. สายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะแรกเริ่มดำเนินการช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 382 กิโลเมตร (กม.) ก่อน และ
2.สายใต้ กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ ระยะแรกเริ่มดำเนินการช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 225 กม.ก่อน
ส่วนสายอีสาน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะแรกเริ่มดำเนินการช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 256 กม.ก่อน อยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบเพื่อจัดข้อมูลก่อนยื่นอีไอเอต่อไป ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง แม้จะใช้เงินลงทุนหลายแสนล้านบาท แต่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งคงไม่มีใครจะกล้าปฏิเสธว่าประเทศไทยไม่ควรมีรถไฟความเร็วสูง เพราะประเทศเพื่อนบ้าน ต่างมีแผนการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเกือบทุกประเทศ.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/06/2014 6:01 pm    Post subject: Reply with quote

คสช.ถก คมนาคม พิจารณายุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานทางราง-บก-น้ำ-อากาศ ระยะ 8 ปี วงเงิน 3 ล้านล้าน
เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี 12 มิถุนายน 2557 เวลา 17:15 น.

ที่กรมช่างอากาศ วันที่ 12 มิ.ย.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ได้ประชุมร่วมกับนายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณารายละเอียดแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งไทยทั้งหมด โดยโครงการส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมเดิมที่เน้นโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า 10 สาย การปรับปรุงทางหลวงแผ่นดินของกรมทางหลวง ถนนลาดยางของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) การก่อสร้างท่าเทียบเรือ การขุดลอกร่องน้ำ รวมถึงการพัฒนาท่าอากาศยาน

ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของไทย ถือเป็นยุทธศาสตร์เชิงนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีระยะเวลาดำเนินการ 8 ปี ตั้งแต่ปี 58-65 กรอบวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 3 ล้านล้านบาท ซึ่งจะเพิ่มจากแผนเดิมที่รัฐบาลชุดที่แล้วจะดำเนินการใน พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เนื่องจากแผนยุทธศาสตร์นี้ จะถือเป็นแผนแม่บทที่มีโครงการรวม ทั้งทางราง ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ จากเดิมที่ไม่ได้ใส่โครงการทางอากาศไว้ ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง นั้นยังจะไม่มีการนำเสนอในแผนครั้งนี้ เพราะอยู่ระหว่างการศึกษาคาดว่าจะแล้วเสร็จ ในปี 59
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/06/2014 9:42 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“คมนาคม” ชง “ประจิน” เคาะยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย วงเงินลงทุน 3 ล้านล้าน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 มิถุนายน 2557 22:09 น.

ไฟเขียว 3 ล้านล. ลงทุน'คมนาคม'ปี 58-65
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ฮือฮา! คสช.ไฟเขียวงบ 3 ล้านล้านลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งทั่วประเทศระหว่างปี 2558-2565 ย้ำชัดยังไม่ทำไฮสปีดเทรนเพราะไม่ได้จำ เป็นเร่งด่วน "ประยุทธ์" นั่งหัวโต๊ะถกการบริหารจัดการน้ำกับ 36 หน่วยงาน เน้นการมีส่วนร่วมพร้อมน้อมนำพระราชดำริ รื้อแผนโครงการ 3.5 แสนล้านให้ไปศึกษาเริ่มใหม่ทั้งหมด

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมนำเสนอแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ ต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนยุทธ ศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของ ประเทศ วงเงิน 3 ล้านล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างปี 2558-2565 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ แต่ขอให้ตัดโครงการรถไฟความเร็วสูงออกจากแผนไปก่อน เนื่องจากที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ใช่โครงการจำเป็นเร่งด่วน

ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมกลับไปหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาแหล่งเงินทุนที่จะนำไปใช้ในการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า และนำกลับมาเสนอให้ พล.อ.อ.ประจินพิจารณาอีกครั้งก่อนวันที่ 19 มิ.ย.นี้ ซึ่งแผนการใช้เงินต้องมีการระบุรายละเอียดการใช้เงินแต่ละปีชัดเจน

"ที่ประชุมให้ตัดโครงการไฮสปีดเทรนออกไปก่อน เพราะเห็นว่าไม่ได้เป็นโครงการจำเป็นเร่งด่วน ไม่ต้องรีบทำ โดยหากในอนาคตกระทรวงจะนำเสนอเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าวงเงินโดยรวมมากกว่าวงเงินตาม พ.ร.บ.กู้เงินของรัฐบาลก่อน ก็เนื่องจากว่า พล.อ.อ.ประจิน ต้องการให้มีการนำเสนอแผนยุทธศาสตร์ในภาพรวมพร้อมกันทั้งหมด ทั้งทางรถไฟ ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งตาม พ.ร.บ.กู้เงินของเดิม ไม่มีการลงทุนทางอากาศ ทำให้วงเงินน้อยกว่าแผนที่นำเสนอครั้งนี้" นายสมชัยกล่าว

นายสมชัยกล่าวว่า สำหรับโครงการที่นำเสนอส่วนใหญ่เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นด้านคมนาคมขนส่ง เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า 10 สาย การปรับปรุงทางหลวงแผ่นดินของกรมทางหลวง (ทล.) ถนนลาดยางของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) และการก่อสร้างท่าเทียบเรือและการขุดลอกร่องน้ำ

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า ยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของไทย ซึ่งจะยุทธศาสตร์เชิงนโยบายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จะมีระยะเวลาดำเนินการในปี 2558-2565 กรอบวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 3 ล้านล้านบาท ซึ่งจะเพิ่มจากแผนเดิมที่รัฐบาลชุดที่แล้วจะดำเนินการใน พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เนื่องจากแผนยุทธศาสตร์นี้จะถือเป็นแผนแม่บทที่มีโครงการรวม ทั้งทางราง ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ จากเดิมที่ไม่ได้ใส่โครงการทางอากาศไว้

5 ยุทธศาสตร์คมนาคม

ทั้งนี้ ในส่วนการลงทุนนั้น หน่วยรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่จะสามารถใช้เงินลงทุนของตัวเองได้ ดังนั้นในส่วนโครงการที่เป็นของหน่วยงานราชการนั้น หลังจาก คสช.ฝ่ายเศรษฐกิจพิจารณาแล้ว จะต้องหารือกับทางสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เพื่อจัดสรรงบประมาณอีกครั้ง โดยกระทรวงคมนาคมได้จัดแผนออกเป็น 5 ยุทธศาสตร์หลัก คือ
1.ยุทธศาสตร์รถไฟ จะมีโครงการรถไฟระหว่างเมือง เช่น รถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง วงเงินรวม 1.16 แสนล้านบาท คือ
1.ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท
2.มาบกะเบานครราชสีมา (ถนนจิระ) ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท
3.ถนนจิระขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท
4.นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และ
5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท
โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ เป็นงานปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้ว

2.โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอรดับและปรับปรุงเครื่องกั้น
3.โครงการปรับ ปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ และ
4.โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม

โครงการก่อสร้างทางคู่ 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,364 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท คือ
1.หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม.
2.ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม.
3.สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 339 กม.
4.ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม.
5.ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. และ
6.ชุมทางถนนจิระอุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม. และ
โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 696 กม. วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ พ.ร.บ.2 กู้เงิน คือ
1.เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม.
2.บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ดมุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กม. และ
3.ชุมทางบ้านภาชี-อ.นครหลวง ระยะทาง 15 กม.


2.ยุทธศาสตร์ขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เช่น รถไฟฟ้า 10 สาย ถนนรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นต้น

3.ยุทธศาสตร์ถนน เช่น โครงการถนนเชื่อมภูมิภาค เชื่อมระหว่างจังหวัด แบ่ง เป็น 3 ระดับ เชื่อมในระดับพื้นที่ ระดับเชื่อมเมืองหลัก และระดับเชื่อมต่างประเทศ โครงการขยายถนน 4 ช่องจราจร รวมถึงโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และโครงการทางพิเศษเชื่อม ภูมิภาค 5 โครงการ เช่น โครงการทางพิเศษสายดาวคะนอง-พระราม 2 ของการ ทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

4.ยุทธ ศาสตร์ทางน้ำ โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือ และเขื่อนป้องกันตลิ่ง โครงการขุดลอกร่อง น้ำ การบำรุงรักษาร่องน้ำ
5.ยุทธศาสตร์ทาง อากาศ เช่น โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 โครงการขยายท่าอากาศ ยานดอนเมือง โครงการจัดจราจรทางอากาศ และการจัดซื้อเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยจะแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 เฟส โดยเฟส 1 เป็นโครงการที่เริ่มดำเนินการในปี 2558 ทั้งในส่วนของการก่อสร้างหรือศึกษา วงเงินลงทุนรวมประมาณ 2.1 แสนล้านบาท เฟส 2 เป็นโครงการที่เริ่มดำเนินการในปี 2559-2560 วงเงินลงทุน

สำหรับโครงการใหม่ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท และจะเป็นการลงทุนในส่วนของโครงการที่ต่อเนื่องมาจากเฟสแรกอีกส่วนหนึ่ง ส่วนเฟส 3 คือโครงการที่เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงที่มีการนำเสนอในที่ประชุม แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบ คือเส้นทางกรุงเทพฯพิษณุโลก หรือกรุงเทพฯ-โคราชหนองคาย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 13/06/2014 10:07 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
1.ยุทธศาสตร์รถไฟ จะมีโครงการรถไฟระหว่างเมือง เช่น รถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง วงเงินรวม 1.16 แสนล้านบาท คือ
1.ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท
2.มาบกะเบานครราชสีมา (ถนนจิระ) ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท
3.ถนนจิระขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท
4.นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และ
5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท
โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ เป็นงานปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้ว

2.โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอรดับและปรับปรุงเครื่องกั้น
3.โครงการปรับ ปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ และ
4.โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม

โครงการก่อสร้างทางคู่ 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,364 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท คือ
1.หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม.
2.ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม.
3.สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 339 กม.
4.ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม.
5.ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. และ
6.ชุมทางถนนจิระอุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม. และ
โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 696 กม. วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ พ.ร.บ.2 กู้เงิน คือ
1.เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม.
2.บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ดมุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กม. และ
3.ชุมทางบ้านภาชี-อ.นครหลวง ระยะทาง 15 กม.



1. ยุทธศาสตร์รถไฟ จะมีโครงการรถไฟระหว่างเมือง เช่น รถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง วงเงินรวม 1.16 แสนล้านบาท คือ
1.1. ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท => กำลังรอการประเมิน EIA
1.2. มาบกะเบา-นครราชสีมา (ถนนจิระ) ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท => กำลังรอการประเมิน EIA
1.3. ถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท => กำลังรอการประเมิน EIA
1.4. นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และ => กำลังรอการประเมิน EIA
1.5. ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท => กำลังรอการประเมิน EIA

ที่ไม่กล่าวถึงทางคู่แก่งคอย - คลอง 19 ฉะเชิงเทรา มูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาทนั้น เนื่องจากอยู่ขั้นตอนการประมูลเมื่อผ่าน EIA แล้ว

2.โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ เป็นงานปรับปรุงทางราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้ว 2.1. โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับและปรับปรุงเครื่องกั้น
2.2. โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ และ
2.3. โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม

3.โครงการก่อสร้างทางคู่ 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,364 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท คือ
3.1. หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. วงเงิน 9437 ล้านบาท => ยังไม่เริ่มศึกษาออกแบบเลย
3.2. ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท => ยังไม่เริ่มศึกษาออกแบบเลย
3.3. สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 339 กม.วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท => ยังไม่เริ่มศึกษาออกแบบเลย
3.4. ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท => ยังไม่เริ่มศึกษาออกแบบเลย
3.5. ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท => ยังไม่เริ่มศึกษาออกแบบเลย และ
3.6. ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม. วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาท => ยังไม่เริ่มศึกษาออกแบบเลย และ

4. โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 696 กม. วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ พ.ร.บ.2 กู้เงิน คือ
4.1. เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. วงเงิน 7.7 หมื่นล้านบาท => กำลังรอการประเมิน EIA
4.2. บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กม. วงเงิน 4.2 หมื่นล้านบาท => กำลังศึกษาก่อนส่งไปประเมิน EIA
4.3. ชุมทางบ้านภาชี-อ.นครหลวง ระยะทาง 15 กม. วงเงิน 2934 ล้านบาท => ยังไม่เริ่มศึกษาออกแบบเลย
...
ข่าวล่าสุด ให้ งดรถไฟความไวสูงไปก่อน ตามข่าวต่อไปนี้

คสช.ตัดรถไฟเร็วสูงจากแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
โพสต์ทูเดย์
12 มิถุนายน 2557 เวลา 22:17 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/06/2014 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

ติดแหง็กอยู่ตรง EIA หลายโครงการเลยครับ คสช.ต้องเข้าไปเร่งแล้ว ไม่งั้นก็ไม่ขยับสักที
โดยเฉพาะโครงการที่ไม่ต้องแก้แนวรางใหม่ หรือสร้างสถานีใหม่อลังการ แต่มีความจำเป็นมาก เช่น ทางคู่ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/06/2014 12:19 pm    Post subject: Reply with quote

ด่วน! “ประยุทธ์" ยืนยันยังไม่มีการพิจารณาโครงการลงทุนด้านคมนาคม 3 ล้านลบ.
วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน 2557 เวลา 12:07:08 น.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาโครงการลงทุนด้านคมนาคม มูลค่า 3 ล้านล้านบาท ตามที่มีข่าวในวันนี้ โดยระบุว่า เป็นการสร้างข่าว เพื่อให้เกิดกระแสการต่อต้าน คสช.

"วันนี้ โครงการ 3 ล้านล้าน ยังไม่มีสักเรื่อง ผมถามว่า วันนี้รู้หรือยังว่ารัฐบาลมีเงินอยู่เท่าไหร่ จะเอาไปทำอะไรบ้างก็ยังไม่รู้ มีคนปล่อยเรื่องนี้เพื่อให้ประชาชนออกมาต่อต้านคัดค้าน เรื่องต่างๆ เหล่านี้ เรื่องไหนที่ยังไม่ชัดจเน ยังไม่ผ่านมาถึงผมจะยังไม่มีการประกาศออกไป" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวระหว่างการประชุมหัวหน้าส่วน ราชการทุกกระทรวง เพื่อมอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 58

ขณะที่หนังสือพิมพ์หลายฉบับ รายงานในวันนี้โดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ของ นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม ว่า คสช.เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่ง วงเงิน 3 ล้านล้านบาท ระยะเวลา 8 ปี ระหว่างปี 58-65 ตามที่ กระทรวงคมนาคมเสนอ แต่ขอให้ตัดโครงการรถไฟความเร็วสูง ออกจากแผนไปก่อน เนื่องจากไม่ใช่โครงการจำเป็นเร่งด่วน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/06/2014 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเตรียมสรุปแผนลงทุนเสนอคสช.19 มิ.ย.
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 13 มิถุนายน 2557 12:29

ปลัด คค.เตรียมข้อมูลแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานเสนอ คสช.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 มิถุนายน 2557 12:57 น.

นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้เตรียมข้อมูลแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคม เสนอในการประชุมร่วมกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของ คสช.ในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการตามแผนยุทธศาสตร์เดิม ซึ่งจะดำเนินการในปี 2558 -2565 วงเงินรวม 3 ล้านล้านบาท ซึ่งเพิ่มจากแผนเดิมของรัฐบาลชุดที่แล้ว เพราะว่าเพิ่มโครงการทางอากาศเข้าไว้ด้วย โดยจะต้องหารือกันถึงเงินลงทุนกับกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง

แผนลงทุนทั้งหมดจะแบ่งออกเป็น 5 ยุทธศาสตร์คือ ยุทธศาสตร์รถไฟ เช่น รถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง และสายใหม่อีก 3 เส้นทาง ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือเรื่องการขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เช่น รถไฟฟ้า 10 สาย ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือด้านถนน เช่น โครงการถนนเชื่อมภูมิภาคระหว่างจังหวัด และมอเตอร์เวย์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือด้านน้ำ โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือ และเขื่อนป้องกันตลิ่ง และยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านอากาศคือ โครงการขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และดอนเมือง เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/06/2014 1:04 pm    Post subject: Reply with quote

กรอบลงทุนยุค คสช. 3 ล้านล้าน เมกะโปรเจ็กต์เป็นไปได้แค่เฟสแรก
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 16 มิ.ย. 2557 เวลา 10:45:59 น.

Click on the image for full size

ฝ่าด่านแรกเป็นที่เรียบร้อย สำหรับ "แผนงาน" โครงการลงทุนของกระทรวงคมนาคม หลัง "บิ๊กจิน-พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดไฟเขียวให้เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อใหม่ "ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย" โดยตั้งกรอบเวลาดำเนินการ 9 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2566

ส่วน "แผนเงิน" ให้ "คมนาคม" หารือกับกระทรวงการคลัง จัดสรรแหล่งเงินอีกครั้ง ทั้งหมด "บิ๊กจิน" ตั้งเป้าจะสรุป "แผนงาน-แผนเงิน" ให้ชัดเจนวันที่ 19 มิ.ย.นี้ เพราะต้องรีบนำเสนอให้ "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" หัวหน้าคณะคสช.พิจารณา เนื่องจากใกล้งวดจะถึงเวลาแถลงโรดแมปเต็มที

เปิดกรอบ 5 แผนงาน 3 ล้านล้าน

ในรายละเอียดยุทธศาสตร์มี 5 แผนงาน ลงทุนครบถ้วนทั้งบก ราง น้ำ และอากาศ จากการรวบรวมของ "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" โดยยังไม่ตัดโครงการรถไฟความเร็วสูงคาดว่าจะใช้เงินลงทุนจบโครงการทั้งสิ้น 3.1 ล้านล้านบาท

แผนงานแรก "การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง" มีปรับปรุงระบบรถไฟ 21,712 ล้านบาท รถไฟทางคู่ 17 สาย 475,002 ล้านบาท รถไฟความเร็วสูง 2 สาย 598,443 ล้านบาท

แผนงานที่ 2 "การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" มีรถไฟฟ้า 10 สาย 530,635 ล้านบาท ซื้อรถเมล์ NGV 3,183 คัน 13,416 ล้านบาท โครงข่ายถนนและสะพาน 652,391 ล้านบาท ถนนแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯและปริมณฑล ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา

แผนงานที่ 3 "การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่สำคัญภายในประเทศและสู่ประชาคมอาเซียน" จะมีถนนเข้าถึงพื้นที่เกษตรและท่องเที่ยว (ถนนลาดยาง) 50,209 ล้านบาท การเชื่อมโยงระหว่างเมืองหลักและระหว่างฐานการผลิตหลักของประเทศ 502,669 ล้านบาท การเชื่อมโยงประตูการขนส่งระหว่างประเทศ 43,924 ล้านบาท การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งทางถนนและองค์ประกอบต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ 45,626 ล้านบาท

แผนงานที่ 4 "การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ" มีพัฒนาท่าเรือแห่งใหม่ 61,898 ล้านบาท เสริมประสิทธิภาพการขนส่งทางน้ำ และบำรุงรักษาร่องน้ำเพื่อการเดินเรือ 38,102 ล้านบาท

และแผนงานที่ 5 "การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการด้านขนส่งทางอากาศ" มีเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยาน 97,670 ล้านบาท การจัดการจราจรทางอากาศให้ได้มาตรฐานสากล 2,378 ล้านบาท เพิ่มฝูงบิน 35,969 ล้านบาท ก่อสร้างอาคารเพื่อรองรับการพัฒนาบุคลากรการบินพลเรือน วงเงิน 969 ล้านบาท

แบ่ง 3 เฟสตามความพร้อม

จาก 5 แผนงาน แบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ ตามความพร้อมของโครงการ

ระยะที่ 1 เริ่มปี 2558 ทั้งงานศึกษา ออกแบบ เวนคืนและก่อสร้าง โครงการจะผูกพันถึงปี 2560-2564 มีติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม อาณัติสัญญาณและเครื่องกั้นถนนรถไฟ ซื้อหัวรถจักร 70 คัน รถโบกี้บรรทุกสินค้า 308 คัน รถโดยสาร 115 คัน และรถไฟทางคู่ 6 สาย คือ
สายลพบุรี-ปากน้ำโพ,
มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ,
ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น,
นครปฐม-หัวหิน,
ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และ
สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

ส่วนรถไฟฟ้ามี 8 สาย
ก่อสร้างสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต),
ประมูลและเวนคืนสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี),
สีชมพู (แคราย-มีนบุรี),
สีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง),
สีเขียว (สมุทรปราการ-บางปู),
สีแดง (บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก)
ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-ดอนเมือง)
ศึกษาสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑล สาย 4)


เร่ง ถ.เลียบเจ้าพระยา-ผุดด่วนพระราม 3

โครงการอื่นมีจัดซื้อรถเมล์ NGV 3,183 คัน พร้อมอู่จอดรถ 5 แห่ง ถนนเชื่อมต่อถนนราชพฤกษ์-วงแหวนรอบนอกตะวันออกแนวเหนือ-ใต้ ศึกษาถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด่วนสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก ถนนลาดยาง ถนน 4 ช่องจราจร และเวนคืนมอเตอร์เวย์ 3 สาย คือ สายบางปะอิน-โคราช จะสร้างช่วง "บางปะอิน-ปากช่อง" ก่อน ที่เหลือมีสายพัทยา-มาบตาพุด และบางใหญ่-กาญจนบุรี สร้างทางแยกต่างระดับ ถนนรอยัลโคสต์ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายขนส่งสินค้าเชียงราย สถานีขนส่งสินค้า 15 แห่ง เป็นต้น

เพิ่มงบฯทางอากาศกว่า 1.36 แสนล้าน

มีสร้างท่าเรืออ่างทอง ทบทวนอีไอเอท่าเรือปากบารา ท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ ท่าเทียบเรือชายฝั่ง ศูนย์ขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่แหลมฉบัง ระบบป้องกันตลิ่งเพื่อพัฒนาร่องน้ำ อีกทั้งยังเพิ่มโครงการทางอากาศเข้ามาอีกกว่า 1.36 แสนล้านบาท เช่น สุวรรณภูมิ เฟส 2 ขยายดอนเมือง สนามบินเบตง ปรับปรุงสนามบินแม่สอด ศึกษาและออกแบบขยายรันเวย์ที่ 3 สนามบินสุวรรณภูมิ และจัดหาเครื่องบินของการบินไทย

แยกไฮสปีดออก-ตั้งคณะทำงานเพิ่ม

โครงการระยะที่ 2 เริ่มปี 2559-2560 มีทั้งโครงการใน 2 ล้านล้านเดิม และเพิ่มเข้ามาใหม่ คือ รถไฟทางคู่ 8 สาย มีสายปากน้ำโพ-เด่นชัย, ชุมทางจิระ-อุบลราชธานี, ขอนแก่น-หนองคาย, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์,บ้านไผ่-นครพนม และบ้านภาชี-อ.นครหลวง ส่วน "รถไฟความเร็วสูง" เดิม "สนข." ใส่ไว้เฟส 2 และเฟส 3 เริ่มก่อสร้างปี 2559 มี 2 สาย คือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก และกรุงเทพฯ-หนองคาย เงินลงทุนกว่า 5 .98 แสนล้านบาท ล่าสุด "บิ๊กจิน" ให้แยกโปรเจ็กต์ออกจากบัญชี และตั้งคณะทำงานมาศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบใน 3 เดือน และให้เสนอในครั้งต่อไป หากตัดเงินลงทุนไฮสปีดเทรนออกกรอบวงเงินจะเหลือ 2.55 ล้านล้านบาทส่วน "รถไฟฟ้า" มีสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม), สีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ), สีเขียว (คูคต-ลำลูกกา)

ปัดฝุ่นวงแหวนรอบ 3

โครงการเสนอใหม่ มี "ถนนวงแหวนรอบที่ 3 ด้านตะวันออก" 5.3 หมื่นล้านบาท ขยายโทลล์เวย์ (รังสิต-บางปะอิน) 2.3 หมื่นล้านบาท, ขยายถนนบรมราชชนนี-เพชรเกษม, ทางยกระดับธนบุรี-ปากท่อ และมอเตอร์เวย์สายนครปฐม-ชะอำ และหาดใหญ่-ชายแดนไทย-มาเลเซีย ส่วนทางด่วนมีเพิ่ม 4 สาย คือ สายกะทู้-ป่าตอง 9,415 ล้านบาท, บูรพาวิถี-พัทยา กว่า 8 พันล้านบาท, อุดรรัถยา-อยุธยา และฉลองรัช-สระบุรี ส่วนท่าเรือมีปากบารา ชุมพร สงขลาแห่งที่ 2 และท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ รวมถึงก่อสร้างเขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา

โครงการระยะที่ 3 เริ่มปี 2561-2562 เช่น รถไฟทางคู่ 2 สาย 72,241 ล้านบาท ได้แก่ สายขอนแก่น-เพชรบูรณ์-พิษณุโลก-ตาก และอุบลราชธานี-มุกดาหาร ศูนย์ขนส่งชายแดน จ.นครพนม

นี่คือโครงการที่จัดสรรโดยคมนาคม เป็นหนังม้วนเดียวกับ 2 ล้านล้าน แค่เปลี่ยนผู้กำกับจากเพื่อไทยมาเป็นคสช. ว่ากันว่าโครงการในเฟสแรกเป็นไปได้สูงที่จะได้เดินหน้า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/06/2014 5:31 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ปรับลดวงเงินโครงสร้างพื้นฐาน เหลือ 2.4 ล้านล้านบาท
ครอบครัวข่าว 3 วันที่ 16 มิถุนายน 2557 เวลา 15:45:37 น.

สนข.ปรับลดวงเงินโครงการยุทธศาสตร์การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จากเดิมที่กำหนดไว้ 3 ล้านล้านบาท เหลือ 2.4 ล้านล้านบาท

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เปิดเผยก่อนประชุมร่วมกับผู้บริหาร สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อคัดเลือกและคัดกรองโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทั้ง 5 ด้าน โดยจะใช้วงเงินใหม่จำนวน 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่งปรับลดจากเดิม 6 แสนล้านบาท โดยเลือกโครงการเร่งด่วนที่จะใช้ในส่วนของงบประมาณปี 2558 ก่อน

โดยเบื้องต้นจะเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม, สายสีชมพู, สายสีเหลือง, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ (เชื่อมโยงถึงดอนเมือง) รวมถึงรถไฟรางคู่ ที่จะดูงบด้านการเวนคืนที่ดินต่าง ๆ

พร้อมกันนี้จะหารือถึงรูปแบบการเชิญภาคเอกชนมาลงทุนร่วมกับภาครัฐ โดยจะให้กลุ่มเอกชนดูแลในส่วนงานกลุ่มการเดินรถไฟ และการเก็บค่าโดยสาร ซึ่งหากทำได้จะสามารถทำให้วงเงินที่ใช้ต่ำกว่า 2.4 ล้านล้านบาท

----

สนข.ดันโครงการเร่งด่วนรถไฟฟ้า 3 สาย ส่วนต่อขยายมอเตอร์เวย์-รถไฟรางคู่
By สำนักข่าวไทย TNA News | 16 มิ.ย. 2557 19:02

กรุงเทพฯ 16 มิ.ย.-สนข.เผยคมนาคมเสนอโครงการลงทุนยาว 7 ปี กว่า 2.4 ล้านล้านบาท หลังตัดรถไฟความเร็วสูงออกไปก่อน พร้อมดันโครงการเร่งด่วน “รถไฟฟ้า3 สาย ส่วนต่อขยายมอเตอร์เวย์ และรถไฟรางคู่” ใช้งบปี 58

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า การหารือของหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงคมนาคมกับทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่ปี 2558-2564 ของกระทรวงคมนาคม หลังจากที่มีการปรับลดวงเงินจาก 3 ล้านล้านบาท เหลือ 2.4 ล้านล้านบาท โดยได้ชะลอการลงทุนรถไฟความเร็วสูงออกไปก่อน

ทั้งนี้ โครงการลงทุนดังกล่าวจะประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่งทางน้ำ การพัฒนาระบบขนส่งทางราง การพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศ การพัฒนาระบบขนส่งทางถนน และระบบขนส่งรถไฟฟ้าชานเมือง โดยจะมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการเพื่อจัดหาแหล่งเงินให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการดำเนินโครงการต่อไป ซึ่งจะต้องสรุปโครงการเพื่อนำเสนอต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ ทั้งส่วนของการใช้เงินงบประมาณปี 2558 และการใช้เงินกู้

สำหรับโครงการเร่งด่วนที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2558 คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายชมพู สายสีเหลือง โครงการมอเตอร์เวย์ และรถไฟรางคู่ โดยจะใช้เงินงบประมาณของปี 2558 เป็นค่าเวนคืนที่ดิน ส่วนค่าก่อสร้างจะใช้เงินกู้และบางส่วนใช้เงินรายได้ของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ นอกจากนั้นจะใช้วิธีเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน เช่นเดียวกับการบริหารการเดินรถของรถไฟฟ้า หรือเก็บเงินทางด่วนมอเตอร์เวย์ เป็นต้น

นายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า มี 2 โครงการที่แห็นว่าจำเป็นเร่งด่วนต้องดำเนินการในปีงบ 58 ทันที คือ การบรูณะซ่อมแซมเส้นทางหลักทั่วประเทศ เช่น ถนนพหลโยธิน ถนนเพชรเกษม ถนนสายเอเชีย ซึ่งจะใช้เม็ดเงินกว่า 20,000 ล้านบาท และโครงการขยายถนน 4 เลน ที่มีปัญหาในขณะนี้ คือ เส้นแม่สอด ซึ่งจะใช้วงเงิน 3,000-4,000 ล้านบาท และเส้นกบินทร์บุรี ปักธงชัย ใช้วงเงิน 2,800 ล้านบาท เนื่องจาก 2 เส้นทางดังกล่าวมีปัญหาคอขวด จึงต้องเร่งดำเนินการทันทีคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2-3 ปี จึงจะแล้วเสร็จ

ด้านนายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการ สบน. กล่าวว่า การหารือในวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปถึงการใช้เงินกู้ของแต่ละโครงการ เพราะต้องรอให้สำนักงบประมาณหารือกับกระทรวงคมนาคมอีกครั้งในการเกลี่ยวงเงินไปยังกรมต่างๆ และโครงการลงทุนต่างๆ หากงบมีจัดแต่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมีความจำเป็นก็จะนำมาบรรจุในแผนก่อหนี้ปี 2558 ต่อไป ซึ่งตามปกติแต่ละปี สบน.สามารถกู้ได้เต็มที่ ร้อยละ 50 ของวงเงินรายจ่ายประจำปี โดยปีนี้ก็น่าจะกู้ได้ถึง 1.3 ล้านล้านบาท แต่ที่ผ่านมาก็จะกู้จริงเพียงครึ่งเดียวหรือประมาณกว่า 700,000 ล้านบาทเท่านั้น.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/06/2014 5:43 pm    Post subject: Reply with quote

เฟสแรก"คสช."พร้อมกดปุ่มประมูล 7.3แสนล้านดึง"เอกชน"ลงทุนร่วม
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 20 มิ.ย. 2557 เวลา 10:11:15 น.

เปิดโผโปรเจ็กต์คมนาคมลงทุนเฟสแรก 7.3 แสนล้าน พร้อมกดปุ่มประมูล เวนคืนและศึกษาออกแบบโครงการ ดีเดย์ปีนี้ ประมูลรถสายสีเขียว "หมอชิต-คูคต" และสีแดง "รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์" จัดซื้อหัวรถจักร-ซ่อมรางรถไฟ-ซื้อรถเมล์ NGV ฉลุย

Click on the image for full size

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การจัดทำโรดแมปโครงการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คืบหน้าไปมาก หลังคมนาคมหารือกับกระทรวงการคลังล่าสุด โครงการที่จะดำเนินการตามยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย 2558-2566 วงเงินลงทุนรวม 2.469 ล้านล้านบาท (ไม่รวมไฮสปีดเทรน) จะดำเนินการได้ทันที เป็นแผนงานระยะที่ 1 (2558-2564) เงินลงทุน 730,944 ล้านบาท จะดูตามความพร้อมโครงการ โดยปีงบประมาณ 2558 จะใช้เงินลงทุน 194,585 ล้านบาท (รวมเงินลงทุนรัฐวิสาหกิจ) จาก 3 แหล่ง คืองบประมาณประจำปี เงินกู้ หรือรายได้รัฐวิสาหกิจ และเอกชนร่วมลงทุน

ปีนี้ประมูลรถไฟฟ้าสี "เขียว-แดง"

โครงการพร้อมประมูลทันทีในปีนี้ มีรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร 38,165 ล้านบาท คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาปลายปี จากนั้นปี 2558 เริ่มเวนคืนและก่อสร้าง แล้วเสร็จปี 2562 รถไฟชานเมืองสายสีแดง (รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์) ระยะทาง 10 กม. วงเงิน 5,412 ล้านบาท

ส่วนที่เหลือยังต้องรอขั้นตอนขออนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) สภาพัฒน์ และ คสช. จะเริ่มได้ปี 2558 เป็นต้นไป ได้แก่ สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) สายสีแดง (บางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง) ส่วนสายทางอื่น อยู่แผนงานระยะที่ 2 โดยสำนักงบฯให้ค่าเวนคืน 3 สาย คือสีส้ม สีชมพู และสีเหลือง ส่วนค่าก่อสร้างจะใช้เงินกู้


ซ่อมราง-ซื้อหัวรถจักรฉลุย

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้มีแผนงานที่เริ่มได้เลย คือโครงการปรับปรุงระบบ อุปกรณ์ และโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 21,712 ล้านบาท เช่น ติดตั้งระบบโครงข่ายคมนาคม อาณัติสัญญาณ เครื่องกั้นถนนเสมอระดับดิน หัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าพร้อมอะไหล่ 70 คัน ซ่อมบำรุงรถจักร 56 คัน โบกี้รถบรรทุกสินค้า 308 คัน รถโดยสารรุ่นใหม่ 115 คัน มีกรอบวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติไปแล้วเมื่อปี 2553 จำนวน 1.76 แสนล้านบาท ซึ่ง ร.ฟ.ท.สามารถดำเนินการได้ทันที

รางคู่ให้แค่กรอบค่าเวนคืน

สำหรับรถไฟทางคู่ 17 สายทาง เนื่องจากยังไม่ได้รับอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และไม่ได้ศึกษาออกแบบรายละเอียด กระทรวงการคลังจึงไม่อนุมัติเงินให้ แต่ได้ค่าเวนคืน 1,500 ล้านบาท จากทั้งหมด 3,000 ล้านบาท

ในส่วนของรถไฟทางคู่เร่งด่วน 5 สาย ระยะทาง 767 กิโลเมตร เงินลงทุน 118,816 ล้านบาท ได้แก่ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ, มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ, ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น, นครปฐม-หัวหิน และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร

รวมถึงค่าเวนคืนบางส่วนรถไฟสายใหม่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 77,485 ล้านบาท และให้งบฯศึกษาอีก 8 สายทางที่เหลือเพื่อดำเนินการระยะต่อไป ได้แก่ สายปากน้ำโพ-เด่นชัย, จิระ-อุบลราชธานี, ขอนแก่น-หนองคาย, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์, บ้านไผ่-นครพนม และชุมทางบ้านภาชี-อ.นครหลวง จะเริ่มสร้างปี 2560-2563


กู้ซื้อรถเมล์-ลงทุนสนามบิน

และได้เห็นชอบให้จัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน และอู่จอดรถ 13,416 ล้านบาท โดยให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ใช้เงินกู้จัดซื้อรถ ส่วนอู่จอดรถให้ใช้งบประมาณ ขณะที่การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 วงเงินกว่า 6 หมื่นล้านบาท และสนามบินดอนเมือง อีกกว่า 7 พันล้านบาท ของ บมจ.ท่าอากาศยานไทย และจัดหาเครื่องบินของ บมจ.การบินไทย อีกกว่า 3.5 หมื่นล้าน ให้ใช้รายได้ลงทุนเอง

ล่าสุดคลังและคมนาคมได้ข้อสรุปร่วมกันว่ากรอบงบฯ ลงทุนของคมนาคมปี 2558 อยู่ที่ 141,422 ล้านบาท แยกเป็นงบฯ ลงทุนหน่วยงานราชการ 107,181 ล้านบาท งบฯ รัฐวิสาหกิจ 34,241 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบปี 2557 ที่ 5%

ส่วนโครงการอื่น ๆ มีแก้ไขปัญหาจราจรในปริมณฑลและภูมิภาค ระยะที่ 1 วงเงิน 7,087 ล้านบาท ถนนลาดยาง ถนนจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสะพานในภูมิภาค 38,483 ล้านบาท ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแม่น้ำป่าสัก 3,819 ล้านบาท เป็นต้น

ทล.กดปุ่มประมูล 3.8 หมื่นล้าน

แหล่งข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกับสำนักงบฯ เบื้องต้นเห็นด้วยตามที่กรมเสนอไป ซึ่งกรมมีโครงการพร้อมประมูลทันทีปีนี้ วงเงิน 3.8 หมื่นล้านบาท ได้แก่ ถนน 4 เลน เช่น กบินทร์บุรี-ปักธงชัย 2,800 ล้านบาท สายตาก-แม่สอด 2,400 ล้านบาท เป็นต้น สะพานข้ามทางรถไฟ 10 แห่ง สะพานต่างระดับและจุดกลับรถ โครงข่ายถนนเชื่อมโยงระหว่างประเทศ บูรณะทางสายหลัก 2 หมื่นล้านบาท งานซ่อมถนนจะแล้วเสร็จใน 1 ปี ส่วนที่เหลือจะผูกพัน 3-5 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2560

สร้างมอเตอร์เวย์สายอีสาน

นอกจากนี้ ยังได้รับจัดสรรค่าเวนคืนมอเตอร์เวย์ 2 สาย คือสายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ซึ่งกรมเสนอให้ก่อสร้าง ตอนที่ 1 จากบางปะอิน-ปากช่อง ระยะทาง 96 กิโลเมตร เงินลงทุน 51,970 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืน 6,630 ล้านบาท และก่อสร้าง 45,340 ล้านบาท โดยค่าก่อสร้างจะใช้เงินกู้หรือให้เอกชนร่วมลงทุน อีกสายเป็นสายพัทยา-มาบตาพุด 89 กิโลเมตร ได้รับค่าเวนคืน 2,500 ล้านบาท ส่วนค่าก่อสร้าง 14,000 ล้านบาท จะใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์

ชะลอโปรเจ็กต์ใหญ่-รอศึกษาตรึม

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการที่จะศึกษา ออกแบบรายละเอียด และทำอีไอเอในปี 2558 นอกจากรถไฟทางคู่ 8 สาย มีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑล สาย 4) เริ่มเวนคืนปี 2560 สร้างปี 2561-2566, ถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา, ทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก เวนคืนปี 2560 ก่อสร้างปี 2561-2563, สถานีขนส่งสินค้า 15 แห่ง, ท่าเรือประหยัดพลังงาน จ.อ่างทอง, ปากบารา, ท่าเรือสำราญขนาดใหญ่, ทางวิ่งที่ 3 สนามบินสุวรรณภูมิ 7,583 ล้านบาท เริ่มสร้างปลายปี 2559-2562

และมีโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างเปิดขายแบบและจะเปิดขายแบบ แต่ถูกชะลอออกไปรอจนกว่า คสช.จะประกาศโรดแมปอย่างเป็นทางการ ได้แก่ รถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 106 กิโลเมตร วงเงินกว่า 1.1 หมื่นล้าน รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) กว่า 2.6 หมื่นล้านบาท สนามบินสุวรรณภูมิ วงเงินกว่า 6 หมื่นล้านบาท


ปี 58 คมนาคมได้ไม่ถึง 1 แสน ล.

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า การหารือกับคมนาคมเมื่อ 16 มิ.ย. ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเรื่องแหล่งเงินลงทุน เป็นเพียงการเชิญส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องมาหารือถึงความพร้อมแต่ละโครงการ ก่อนนำรายละเอียดเสนอฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.19 มิ.ย.นี้ โดยจะจัดสรรงบฯลงทุนในส่วนของคมนาคมไม่ถึง 1 แสนล้านบาท จากงบฯลงทุนในปี 2558 ทั้งสิ้น 4.06 แสนล้านบาท ต้องเลือกจัดลำดับโครงการที่มีความพร้อมจริง ๆ

"ตอนนี้ผู้มีอำนาจอยากให้ใช้กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานมาช่วยระดมเงินลงทุน แต่บางโครงการยังทำไม่ได้ โดยเฉพาะรถไฟรางคู่ ซึ่งเป็นเรื่องยาก เรื่องการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ลงทุนยาก ต่างจากการสร้างทางด่วน น้ำประปา ไฟฟ้า"

ลั่นใช้เงินกู้เป็นทางเลือกสุดท้าย

ด้านนายประสงค์ พูนธเนศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า เรื่องแหล่งเงินลงทุนคงต้องรอความชัดเจนก่อน ขณะที่ในส่วนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน มีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่พร้อมจัดตั้งกองทุน วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท จะสรุปเรื่องให้ สคร.พิจารณาเดือน ส.ค. และน่าจะเริ่มได้ในปีนี้

ขณะที่นายสุวิชญ โรจนวานิช ที่ปรึกษาด้านตราสารหนี้ สบน. กล่าวว่า การพิจารณาแหล่งเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้น ต้องใช้จากงบประมาณประจำปีก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงพิจารณาช่องทางอื่น โดยทาง คสช.ต้องการให้พิจารณาให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน (PPP) ให้ได้มากที่สุด ส่วนเงินกู้จะพิจารณาเป็นลำดับสุดท้าย

สำหรับโครงการลงทุนส่วนที่เป็นของ บมจ.การบินไทย และ ทอท. หน่วยงานสามารถบริหารจัดการเงินลงทุนเองได้ ไม่ต้องให้ สบน.กู้ และไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ อีกทั้งในระยะข้างหน้า สบน.จะเน้นกู้เงินในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากสภาพคล่องในประเทศยังสูง และช่วยส่งเสริมการออมในประเทศ ส่วนการใช้เงินกู้สัดส่วน 10% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้น ต้องมีสัดส่วนที่ใช้เงินตราต่างประเทศ 50%

ขณะเดียวกัน สบน.จะปรับแผนบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2557 อีกครั้ง โดยปรับลดแผนกู้ เงินของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง และปรับเพิ่มบางแห่ง อาทิ ร.ฟ.ท. เดิมมีการกู้เงินจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ซึ่งต้องมีการกู้เงินบาทสมทบเพิ่มเติม 465 ล้านบาท จึงต้องเสนอเข้าแผนบริหารหนี้สาธารณะ ปีงบประมาณ 2557
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 121, 122, 123  Next
Page 13 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©