RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263659
ทั้งหมด:13574942
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 17, 18, 19 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2014 8:22 pm    Post subject: Reply with quote

คำต่อคำ "ประยุทธ์-สร้อยทิพย์" 2 แม่ทัพกำกับเมกะโปรเจ็กต์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
14 สิงหาคม 2557 เวลา 12:43:37 น.


ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งไทยใน 8 ปี ยุค "คสช.-คณะ รักษาความสงบแห่งชาติ"กลายเป็นที่จับตามองว่า แผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์จะแสนถูกหรือแสนแพงกว่ารัฐบาลชุดที่ผ่านมา ตั้งเลขตั้งต้นมีตั้งแต่ 5 แสน-4 ล้านล้าน รอเพียง "คมนาคม" ร่อนตะแกรงโครงการ+ดีดลูกคิดแหล่งเงิน คาดว่าได้สรุปก่อนมีรัฐบาลใหม่ในเดือนกันยายนนี้

แต่เพราะวงเงินที่ออกมาจากหลายแหล่งจนหวั่นทำให้เกิดความสับสน ล่าสุดเย็น 8 ส.ค.ที่ผ่านมา "บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา" หัวหน้า คสช.เคลียร์ข้อสงสัยผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ

"การปรับปรุง สาธารณูปโภคพื้นฐาน กระทรวงคมนาคมได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ไว้ 8 ปี 5 แผนงาน แผนยุทธศาสตร์คือวางแผนระยะยาวเอาไว้ทั้ง 5 แผนงาน 8 ปี ไม่ใช่สร้างทั้งหมดกี่ล้าน ๆ ยังไม่ทราบตัวเลข ที่ว่า 2.4 ล้านล้านอะไรต่างๆ มันตัวเลข 8 ปีนะ" บิ๊กตู่เริ่มเปิดประเด็นโดยระบุว่า จากนั้นนำแผนที่วางมาตัดตอนว่าจะทำปีไหน งบประมาณมาจากที่ไหน ยังไม่ได้ทำอะไรทั้งสิ้น เป็นเรื่องของการอนุมัติแผนงานโครงการระยะยาว เหมือนที่วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เดินไปทุก 5 ปี

"จะมีการเชื่อมโครงข่ายคมนาคมกับประตูการค้าเมืองหลัก กทม.-ปริมณฑล ทั้งชายแดน ส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น ต้องต่อเนื่องเชื่อมโยง ให้เกิดการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม"

"ต่อไปที่จะ เร่งคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทางราง เพราะไม่มีการขนส่งใดที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการให้บริการทางราง ทั้งขนส่ง โดยสาร การบริการอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกนั้นเป็นเรื่องทางน้ำ ทางบกสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็เป็นเรื่องจำเป็นทุกอย่าง ต้องทยอยทำไปตามแผนงาน จะไปหาเงินที่ไหน จะกู้ ใช้เงินงบประมาณในประเทศ ยังไม่ได้พูดถึงตรงนั้น พูดตัวเลขคร่าว ๆ เท่านั้น"

"ถึงเวลานั้น อาจจะถูกกว่านี้ แพงกว่านี้อีกก็ได้ ถ้าเราตีเส้นว่าจะเท่านี้เท่านั้น จะทำอะไรไม่ได้ทั้งหมด ไปแยกขั้นตอนให้เป็น คิดให้ออก ถ้ากลับมาที่เก่าก็ทำอะไรไม่ได้สักอย่าง" คำกล่าวของหัวหน้า คสช.

สอด คล้องกับ "สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์" ปลัดคมนาคม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า อยู่ระหว่างรวบรวมโครงการและมูลค่าโครงการ หากทำตามยุทธศาสตร์ 5 แผนงานนี้ใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ในระยะเร่งด่วนและถัดไป สิ่งที่กำลังทำเป็นการทำงานใหม่ไม่สนใจของเดิมว่ามีโครงการอะไรและมูลค่าเท่าไหร่ "เมื่อมีหลักจับต้องลืมเรื่องนั้นไปเลย พอมาใส่แล้วสับสนและกลายเป็นการซ้ำซากและไม่ไปไหนอีก ต้องพูดเรื่องใหม่เพราะเป็นของใหม่ ทำงานมา 1 เดือนได้แบบนี้ก็เห็นภาพแบบนี้ชัดเจน โจทย์มันชัดก็ไปได้"

"ปลัดคมนาคม" ย้ำว่า ยังไม่รู้เมื่อถึงที่สุดแล้วจะต้องตัดกี่โครงการ เช่น ถนนวงแหวนรอบ 3 ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ไม่ต้องรีบเพราะยังไม่เต็ม พัฒนาเฉพาะปรับปรุงท่าเรือชายฝั่งกับสถานีรถไฟขนส่งในท่าเรือก็พอ หรือทางด่วนที่ยังไม่พร้อม ก็ให้หน่วยงานไปดำเนินการตามภารกิจต่อไป

"จะเน้นที่ทำได้จริง มีเงินสร้างแน่ ที่ไม่จำเป็นค่อยมาว่ากัน สั่งสนข.ให้ทำรายละเอียดจะเสร็จปี"59 มีกี่งาน ปี"60 กี่งาน รายละเอียดเยอะมาก ทำแน่ ถนน รถไฟฟ้า 4 สาย สีเขียว ชมพู ส้ม เหลือง ซื้อรถเมล์ใหม่ รถไฟทางคู่ระยะแรก 6 สาย เพราะเป็นหัวใจลดต้นทุนขนส่งที่ถูกที่สุด ขยายสุวรรณภูมิเฟส 2 อู่ตะเภา ดอนเมือง"

ยุทธศาสตร์ครั้งนี้เน้นเชื่อมประตูค้าชายแดนเป็นหลัก สิ่งที่เสนอไปในที่ประชุม คสช.ชุดใหญ่และอนุมัติมานั้น...ก็ยังไม่ใช่อีก "เป็นภาพรวมที่ต้องการให้เห็นว่า ปี"58 ได้เท่าไหร่ ปี"59 ใส่เงินอีกเท่าไหร่ กี่ปีเสร็จ"

สำหรับรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร 2 สายทางเชื่อมจีนใต้ ความเร็ว 160 กม./ชั่วโมง "ปลัดคมนาคม" กล่าวว่ารอดูผลศึกษาที่จะออกมาใน 1 ปีนี้ ไม่ใช่เส้นทางใหม่ เป็นของเดิมที่การรถไฟฯศึกษาไว้ ไม่ว่าทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ จะต้องปรับใหม่เป็นราง 1.435 เมตร รวมถึงรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน "กทม.-นครราชสีมา" สายเหนือ "กทม.-เชียงใหม่" และต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ "กทม.-ระยอง" ก็ทบทวนผลศึกษาใหม่ปรับลดสปีด 250 กม.เหลือ 160 กม./ชม.

โดย ให้การรถไฟฯไปดูส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ หากจะเชื่อมการท่องเที่ยวจะเร่งได้หรือไม่ เพราะเป็นรางมาตรฐาน และวิ่งด้วยความเร็ว 160 กม.อยู่แล้วมาสเตอร์แพลนเมกะโปรเจ็กต์ที่พูดมา คาดว่าปีหน้าทุกอย่างจะเริ่มชัดขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/08/2014 12:38 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมกางยุทธศาสตร์8ปีทุ่ม8แสนล.ผุดทางคู่เพิ่มขีดแข่งขัน
คมชัดลึก 18 ส.ค. 57

โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ การทำให้ต้นทุนค่าขนส่งลดลง จะช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการ และยังดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชน

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ปี 2558-2565 หรือแผน 8 ปี ว่า เป้าหมายคือ
1.การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง และก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2.สร้างรากฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยลดต้นทุนค่าขนส่ง เพิ่มความเร็วในการเดินทาง และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคการผลิต
3.สร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม ด้วยการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง และ
4.สร้างโอกาสสำหรับการแข่งขันและให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน

สาเหตุที่ต้องจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพราะปัจจุบันไทยใช้พลังงานในภาคขนส่งถึง 35% หรือคิดเป็นเงินปีละประมาณ 7 แสนล้านบาท แต่รูปแบบการขนส่งไม่สอดคล้องกับต้นทุน โดยการขนส่งทางถนนมีสัดส่วนสูงถึง 87.50% ทั้งที่การขนส่งประเภทนี้มีต้นทุนสูงสุดถึง 2.12 บาทต่อตัน-กิโลเมตร ขณะที่การขนส่งทางรางมีต้นทุนเพียง 0.95 บาทต่อตัน-กิโลเมตร แต่มีสัดส่วนการขนส่งเพียง 1.40% เท่านั้น และจากการจัดอันดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละประเทศจากการประชุมเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ประจำปี 2556-2557 พบว่าคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานในภาพรวมของไทยอยู่ในอันดับที่ 61 ขณะที่ประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น สิงคโปร์ อยู่อันดับที่ 5 ส่วนประเทศมาเลเซียอยู่อันดับที่ 25

การขนส่งทางถนนนอกจากจะทำให้เกิดความสูญเสียด้านพลังงานแล้ว ยังก่อให้เกิดความสูญเสียจากอุบัติเหตุเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยไทยเป็นประเทศที่มีอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ซึ่งธนาคารโลกระบุว่ามูลค่าความเสียหายจากอุบัติเหตุในประเทศไทยสูงถึงปีละ 2.32 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันการขนส่งทางถนนยังก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ โดยประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากปัญหามลภาวะทางอากาศ เช่น ปอดอักเสบ หลอดลม โรคหืดและระบบหายใจปีละกว่า 7,000 ล้านบาท

เดินหน้าทางคู่เร่งด่วน 6 เส้นทาง 1.1 แสนล้าน

ทั้งนี้ การลดสัดส่วนการขนส่งทางถนนและเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางราง จำเป็นต้องพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟให้มีความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย ปัจจุบันไทยมีรางรถไฟทั่วประเทศ 4,043 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 47 จังหวัด ซึ่ง 93% ของรางทั้งหมดเป็นทางเดี่ยว ทำให้รถไฟไม่สามารถแล่นสวนกันได้ ต้องรอสับหลีก ประกอบกับสภาพรางทรุดโทรมจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน ไม่สามารถใช้ความเร็วได้เท่าที่ควร การขนส่งทางรถไฟจึงไม่ได้รับความนิยมเพราะต้องใช้เวลานาน กระทรวงคมนาคมจึงมีแผนก่อสร้างโครงการทางคู่ระยะเร่งด่วน 6 เส้นทาง ขนาดราง 1 เมตร วงเงินลงทุนรวม 117,472 ล้านบาท

สำหรับเส้นทางแรกที่จะเปิดประมูลในช่วงปลายปีนี้คือชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 16,007 ล้านบาท เพราะผ่านการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว หลังจากนี้จะเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.อนุมัติโครงการก่อนเปิดประมูลคัดเลือกผู้รับเหมาต่อไป
หลังจากนั้นคือเส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,293 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม


ส่วนที่เหลืออีก 4 เส้นทาง คือ
นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 20,083 ล้านบาท
มาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 29,855 ล้านบาท
ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร วงเงิน 24,842 ล้านบาท และ
หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กิโลเมตร วงเงิน 9,437 ล้านบาท
ทั้งหมดนี้อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

โครงการทางคู่ระยะเร่งด่วนทั้ง 6 เส้นทาง จะเป็นการพัฒนาโครงข่ายระหว่างเมือง ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 6 จังหวัด ช่วยให้ความเร็วในการเดินรถขนส่งผู้โดยสารเพิ่มเป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากปัจจุบัน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ความเร็วของรถขนสินค้าจะเพิ่มเป็น 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากปัจจุบัน 29 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และขบวนรถที่ให้บริการจะเพิ่มเป็นวันละ 800 เที่ยว จากปัจจุบันวันละ 288 เที่ยว ขณะที่สัดส่วนการขนส่งทางรถไฟจะเพิ่มเป็น 5% ภายในปี 2563 และประชาชนสามารถเข้าถึงการเดินทางโดยรถไฟได้ง่ายขึ้น การเดินทางและการขนส่งทางรถไฟจะมีความตรงเวลา สะดวกปลอดภัยมากขึ้น

"แหล่งเงินลงทุนที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโครงการตามยุทธศาสตร์ จะมาจาก 4 แหล่ง คือ งบประมาณ เงินกู้ การร่วมทุนกับภาคเอกชน และการระดมทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. จะร่วมกันหาข้อสรุปถึงความเหมาะสมของแนวทางลงทุนในแต่ละโครงการต่อไป"

เล็งสร้างทางคู่รางมาตรฐานกว่า 7 แสนล้าน

ในระยะต่อไป กระทรวงคมนาคมยังมีแผนพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร วงเงินลงทุนรวม 741,460 ล้านบาท ซึ่งยึดตามแนวเส้นทางโครงการรถไฟความเร็วสูงเดิม ขั้นตอนต่อไปคือการทบทวนผลการศึกษาเดิมและศึกษาเพิ่มเติมบางส่วน คาดว่าจะใช้เวลา 10-12 เดือน โดยเป้าหมายการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 2 เส้นทางดังกล่าว คือการเชื่อมโยงโครงข่ายประตูการค้าระหว่างประเทศ เพราะเชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ สามารถส่งผ่านสินค้ามายังท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ช่วยให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งเชื่อมโยงโครงข่ายประตูการค้าชายแดนของไทย ซึ่งมีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมามูลค่าการค้าชายแดนของไทยสูงถึง 924,241 ล้านบาท

สำหรับเส้นทางแรกที่คาดว่าจะเปิดประมูลได้ก่อน คือ หนองคาย-นครราชสีมา-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ระยะทาง 737 กิโลเมตร วงเงิน 392,570 ล้านบาท หลังจากนั้นจะเป็นเส้นทางเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ระยะทาง 655 กิโลเมตร วงเงิน 348,890 ล้านบาท

"ทางคู่ 2 สายใหม่นี้จะเป็นโครงข่ายรถไฟไฟฟ้าในอนาคต สามารถเพิ่มความเร็วในการเดินรถสินค้าได้เป็น 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเพิ่มความเร็วในการเดินรถโดยสารเป็น 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศเมื่อเข้าสู่เออีซี และการเชื่อมโครงข่ายไปถึงประเทศจีนตอนใต้ จะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยเพิ่มขึ้น"

สานต่อรถไฟฟ้าแก้จราจรกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

แผนยุทธศาสตร์ 8 ปี ยังครอบคลุมถึงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งโครงการที่จะเสนอให้ คสช.อนุมัติภายในปีนี้ มี 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 86.4 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวมระบบรถไฟฟ้ากว่า 2 แสนล้านบาท ประกอบด้วย
1.รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กิโลเมตร วงเงิน 58,624 ล้านบาท
2.สายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 20 กิโลเมตร วงเงิน 95,108 ล้านบาท และ
3.สายสีเหลือง ลาดพร้าว-พัฒนาการ-สำโรง ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร วงเงิน 48,619.38 ล้านบาท
คาดว่าจะเปิดประมูลคัดเลือกผู้รับเหมาได้ในช่วงปลายปีนี้ หรือต้นปี 2558

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.4 กิโลเมตร วงเงินรวม 3.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเปิดประมูลไปแล้ว มีผู้รับเหมาซื้อซองรวม 31 ราย ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการปรับเงื่อนไขทีโออาร์เรื่องคุณสมบัติและการให้คะแนนผู้รับเหมา คาดว่าจะเปิดให้ยื่นซองประมูลเร็วๆ นี้

"เมื่อการก่อสร้างทั้ง 4 โครงการ รวมกับที่อยู่ระหว่างก่อสร้างในปัจจุบันอีก 4 เส้นทางแล้วเสร็จ จะทำให้โครงข่ายรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 299 กิโลเมตรภายใน 5 ปี จากที่ให้บริการในปัจจุบัน 100 กิโลเมตร และสัดส่วนการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะจะเพิ่มเป็น 60% ขณะที่การเดินทางโดยรถส่วนตัวจะลดเหลือ 40% สามารถลดปัญหาจราจร ลดความสูญเสียด้านพลังงาน ทำให้โครงข่ายถนนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีความคล่องตัวมากขึ้น"

การก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะต้องดำเนินการควบคู่กับโครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวี จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 1.3 หมื่นล้านบาท ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. เพราะในอนาคตรถโดยสาร ขสมก.จะทำหน้าที่สนับสนุนการเดินทางหรือเป็นฟีดเดอร์กระจายผู้โดยสารจากรถไฟฟ้า ขณะเดียวกันต้องวางแผนการจัดระบบการจราจรเพื่อลดความแออัด เพราะระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าจะเกิดผลกระทบต่อปัญหาจราจรอย่างมาก ซึ่งโครงการจัดซื้อรถเอ็นจีวีจะช่วยลดการขาดทุนของ ขสมก.จากการใช้เชื้อเพลิงที่ประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่คุณภาพการให้บริการจะดีขึ้นจากในปัจจุบัน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าในระยะต่อไป มี 8 โครงการ คือ
สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10 กิโลเมตร
ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร
ช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก ระยะทาง 19 กิโลเมตร และ
ช่วงพญาไท-ท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร
สายสีม่วงช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 19.8 กิโลเมตร
สายสีส้ม ช่วงจรัญสนิทวงศ์-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 12.5 กิโลเมตร
สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14 กิโลเมตร และ
ศิริราช-ตลิ่งชัน ระยะทาง 6 กิโลเมตร และ
สายสีเขียวสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กิโลเมตร

ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางน้ำอีก20%

แผนยุทธศาสตร์ 8 ปี ยังครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนน ทางน้ำ และทางอากาศ โดยทางถนนจะพัฒนาทางหลวงเชื่อมโยงพื้นที่สำคัญของประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มีถนน 4 ช่องจราจร 1,864 กิโลเมตร ในทางหลวงสายหลักทั่วประเทศ มีโครงข่ายทางหลวงอาเซียนทั้งหมดในไทยอย่างน้อยเป็นถนน 4 ช่องจราจร ดึงดูดการกระจายตัวในการตั้งถิ่นฐาน การใช้พื้นที่ของภาคต่างๆ เป็นฐานการผลิตของประเทศและของประชาคมอาเซียน

ส่วนการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ เช่น การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือปากบารา รวมทั้งท่าเรือชายฝั่งต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางน้ำเพิ่มขึ้นอีก 20% จากปัจจุบันที่มีสัดส่วน 11.08% เพราะเป็นการขนส่งที่มีต้นทุนต่ำสุดเพียง 0.65 บาทต่อตัน-กิโลเมตร และเพื่อเปิดประตูการขนส่งด้านฝั่งทะเลอันดามันที่สามารถเชื่อมโยงเป็นสะพานเศรษฐกิจกับท่าเรือฝั่งอ่าวไทย ทำให้เมืองท่าของประเทศขยายตัวจากภาคตะวันออกไปสู่ภาคใต้ ขณะที่ประชาชนจะมีทางเลือกในการขนส่งที่ประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ใหม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/08/2014 1:34 pm    Post subject: Reply with quote

แกะรอยแผนหาเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานยุค คสช. หนุนตั้งอินฟราฯฟันด์-กองทุนอสังหาฯ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 18 ส.ค. 2557 เวลา 13:02:41 น.

แกะรอยแผนหาเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานยุค คสช. หนุนตั้งอินฟราฯฟันด์-กองทุนอสังหาฯ "ทอท." จับเข่าคุย ก.ล.ต.หารูปแบบที่เหมาะสม สบน.ชี้รถไฟฟ้า-ทางด่วน มีโอกาส เผยเงินกู้ลงทุนปี"58 วงเงิน 7 หมื่นล้าน เน้นเงินกู้ในประเทศ ดันหนี้สาธารณะแตะ 47.1%

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า แนวคิดการระดมทุนไปใช้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมนั้น จากการประชุมเมื่อ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไปหารือกับหน่วยงานของกระทรวงคมนาคมที่เป็นเจ้าของโครงการ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุน

Click on the image for full size

ในการประชุมหน่วยงานด้านตลาดทุนได้นำเสนอ 3 รูปแบบ ได้แก่
1) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
2) กองทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) และ
3) การทำซีเคียวริไทเซชั่น (แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์) ที่ต้องมีการตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) ขึ้นมาดำเนินการ

"สำหรับการทำซีเคียวริไทเซชั่น ยังต้องไปดูว่าต้นทุนต่ำจริงหรือเปล่า และนับเป็นการกู้หรือไม่ เพราะถ้าเป็นการกู้ก็จะต้องนับเป็นหนี้สาธารณะ" นายกฤษฎากล่าว

ก.ล.ต.ตั้งโต๊ะรับปรึกษารัฐวิสาหกิจ

นายประกิด บุณยัษฐิติ ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ในวันที่ 15 ส.ค. บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) จะเข้ามาหารือถึงการใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อระดมทุนไปใช้ในโครงการต่าง ๆ ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เห็นชอบให้ดำเนินการ ซึ่ง ก.ล.ต.จะทำหน้าที่แนะนำให้ว่าควรจะใช้เครื่องมือรูปแบบใดจึงจะเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม ส่วนรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ยังไม่ได้มีการนัดหารือในขณะนี้

หากมีรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพในการระดมทุนเข้ามาหารือเพิ่มเติม เช่นกรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย ก.ล.ต.จะวิเคราะห์ว่ากระแสเงินสดรายรับในอนาคตของธุรกิจเป็นอย่างไร สินทรัพย์อื่น ๆ ในครอบครองมีหรือไม่ เป็นต้น

กรณีที่วิเคราะห์ว่าควรทำกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ต้องมาพิจารณาสินทรัพย์ที่ใช้อ้างอิงว่าควรเป็นสินทรัพย์ที่แล้วเสร็จพร้อมสร้างรายได้ (Brown Field) ทั้งหมด หรือควรจะผสมระหว่างสินทรัพย์ที่แล้วเสร็จพร้อมสร้างรายได้และสินทรัพย์ที่ยังสร้างไม่เสร็จยังไม่มีรายได้(Green Field) และหากเป็นกองทุนผสมควรอยู่ในสัดส่วนเท่าไหร่

เนื่องจากตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต.ระบุว่า กองทุนที่มีส่วนผสมของ Brown Field 70% และ Green Field 30% จะสามารถเสนอขายต่อนักลงทุนรายย่อยได้ แต่หาก Green Field มีสัดส่วนมากกว่า 30% ต้องเสนอขายต่อนักลงทุนรายใหญ่เท่านั้น ทั้งต้องให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนระดับสูงด้วย ซึ่งจะกลายเป็นต้นทุนของรัฐวิสาหกิจ

"กรณีการรถไฟฯขอยกตัวอย่างง่าย ๆ ก.ล.ต.อาจแนะนำให้เอาที่ดินที่มีอยู่หลายจุดมาให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์ทำธุรกิจ ซึ่งรายได้ที่ได้รับจากเอกชน อาจนำมาตั้งกองทุน REIT เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าวิธีการทำได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับรัฐวิสาหกิจแต่ละรายว่ามีสินทรัพย์อะไร" นายประกิดกล่าว

นอกจากนี้ กรณีของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ก็อยู่ในข่ายที่ถูกพูดถึงว่าอาจนำบางโครงการมาจัดตั้งกองทุน เพื่อนำไปพัฒนาโครงการส่วนอื่น ๆ และเพื่อไม่ให้เกิดภาระหนี้สาธารณะ

รถไฟฟ้า-ทางด่วนเล็งตั้งกองทุน

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่ได้สรุปว่าจะมีโครงการไหนบ้างที่จะตั้งอินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ แต่ตามหลักการต้องดูโครงการที่มีรายได้ในอนาคต อย่างเช่น โครงการรถไฟฟ้า ทางด่วน เป็นต้น คือเอามาใช้เป็นหลักประกันผลตอบแทน ซึ่งคณะทำงานก็ต้องไปดู ซึ่งหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจบอกว่ายิ่งเร็วยิ่งดี ถ้ามีโครงการไหนน่าจะมีความเป็นไปได้ ก็ให้เร่งศึกษาได้เลย เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้งบประมาณ หรือใช้เงินกู้

สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในระยะเร่งด่วนในปีงบประมาณ 2558 จะประกอบด้วยงบประมาณ เงินกู้ภายใต้แผนบริหารหนี้สาธารณะ และรายได้ของรัฐวิสาหกิจเอง นางสาวจุฬารัตน์กล่าวว่า ในแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2558 มีการกู้เงินสำหรับการลงทุนด้านคมนาคมที่เป็นโครงการใหม่วงเงินกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท และอีกส่วนเป็นวงเงินกู้สำหรับโครงการต่อเนื่อง ซึ่งกระทรวงการคลังจะเน้นกู้เงินในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากสภาพคล่องในระบบมีเพียงพอ

"ในปีงบประมาณ 2558 ถ้ามีโครงการไหนที่พร้อมจะลงทุนอีก และโครงการได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็จะนำมาใส่แผนกู้เงินให้ ซึ่งต้องดูโครงการที่พร้อมจริง ๆ ว่าเข้าตามเกณฑ์ ผ่านสภาพัฒน์ ผ่านอีไอเอแล้ว ก็ให้หมด" นางสาวจุฬารัตน์กล่าว

เคาะกู้ลงทุนคมนาคม 7 หมื่น ล.

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า ในแผนบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2558 บรรจุโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมรวม 70,226 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

1) โครงการลงทุนใหม่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) วงเงินกู้รวม 17,248 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันให้ และ

2) เงินกู้โครงการลงทุนต่อเนื่อง โดยรัฐบาลกู้มาให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ 2 แห่ง คือ ร.ฟ.ท.และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) วงเงินกู้รวม 52,978 ล้านบาท

สำหรับเงินกู้ลงทุนใหม่ของ ร.ฟ.ท.มี 6 โครงการ วงเงิน 8,976 ล้านบาท ได้แก่
จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า 20 คัน,
รถโบกี้บรรทุกสินค้า 308 คัน,
รถจักรดีเซลไฟฟ้า 50 คัน,
รถจักรโดยสารรุ่นใหม่ 115 คัน
รวมทั้งเงินกู้สำหรับงานไฟฟ้า เครื่องกล
โครงการรถไฟสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) และ
ขสมก. ขอใช้เงินกู้ 8,272 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน

ส่วนเงินกู้ต่อเนื่องโครงการเดิมเป็นของ ร.ฟ.ท. จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 32,595 ล้านบาท ได้แก่
ค่างานโยธาและค่าที่ปรึกษา และค่าปรับแผนของโครงการรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต วงเงิน 15,506 ล้านบาท
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่มี 3 โครงการ ได้แก่
ทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 3,459 ล้านบาท,
ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 1,716 ล้านบาท และ
ช่วงชุมทางจิระ-ขอนแก่น วงเงิน 2,538 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย วงเงิน 3,497 ล้านบาท,
งานปรับปรุงสะพาน 2,792 ล้านบาท,
งานติดตั้งรั้วสองข้างทางตามแนวรถไฟ 2,058 ล้านบาท,
งานก่อสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ที่แก่งคอย 541 ล้านบาท และ
จัดหารถไฟฟ้าธรรมดา 7 ขบวน ของแอร์พอร์ตลิงก์ วงเงิน 485 ล้านบาท

ขณะที่ รฟม.กู้ต่อใน 3 โครงการ วงเงินรวม 20,383 ล้านบาท ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ วงเงิน 1,938 ล้านบาท, รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ วงเงิน 14,597 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ วงเงิน 3,848 ล้านบาท

"การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ถือเป็นนโยบายสำคัญของ คสช. ดังนั้น หากระหว่างปีมีโครงการที่มีความพร้อมเพิ่มเติม ก็อาจจะมีการปรับปรุงใส่ไว้ในแผนบริหารหนี้เพิ่มให้ โดยจัดลำดับความสำคัญเป็นลำดับแรกที่จะได้รับการพิจารณาบรรจุในแผนบริหารหนี้" แหล่งข่าวกล่าว

สิ้น 58 หนี้สาธารณะแตะ 47.1%

แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับแผนบริหารหนี้ปีงบประมาณ 2558 วงเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 1.416 ล้านล้านบาท เป็นการก่อหนี้ใหม่ 375,929 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล 310,178 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 250,000 ล้านบาท และที่เหลือเป็นการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ วงเงินรวม 65,750 ล้านบาท

"การก่อหนี้ใหม่จำนวนดังกล่าว สามารถดำเนินการกู้ในประเทศได้ เนื่องจากสภาพคล่องมีเพียงพอรองรับได้ เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่าสภาพคล่องในระบบจะอยู่ที่ 1.43 ล้านล้านบาท" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

ทั้งนี้แผนบริหารหนี้ปีงบประมาณ 2558 จะเสนอคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ที่ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ ก่อนที่จะเสนอ คสช.

กระทรวงการคลังประเมินว่า ตามแผนในสิ้นปีงบประมาณ 2558 หนี้สาธารณะต่อ GDP จะอยู่ที่ 47.1% เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2557 ที่อยู่ที่ 46.6% แต่แผนในระยะ 5 ปีหลังจากนั้นจะทยอยลดลง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559-2560 จะอยู่ที่ 46.3%, 45.3%, 44.1%, 42.6% และ 40.5% (ตามลำดับ)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2014 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ข่อง 3 HD ได้พูดถึงโครงการรถไฟ จากเชียงของไปบ้านภาชี และ จากหนองคายไปแหลมฉบังและมาบตาพุด และทางคู่อื่นๆ
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=8Cq7Nddd19w
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/08/2014 5:06 pm    Post subject: Reply with quote

ลงทุนเมกะโปรเจ็กต์5แสนล.รับรัฐบาลใหม่ คิวร้อนซื้อหัวรถจักร-ต.ค.คิกออฟรถไฟฟ้า-ทางคู่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 25 สิงหาคม 2557 เวลา 15:55:15 น.


เปิดโผบิ๊กโปรเจ็กต์คมนาคม ตั้งแท่นรอรัฐบาลใหม่เซ็นประทับตราและอนุมัติโครงการ มูลค่าลงทุนกว่า 4.8 แสนล้านบาท ครบถ้วนทั้งรถไฟฟ้าหลากสี รถไฟทางคู่ ซื้อหัวรถจักร ขยาย 3 สนามบิน ถนน 4 เลน ซื้อรถเมล์ใหม่ คิกออฟ ต.ค. นี้ กระตุ้นเศรษฐกิจปี"58

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากการสำรวจโครงการใหม่ของกระทรวงคมนาคมทั้งที่เป็นงบประมาณประจำปีและโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่เปิดประมูลแล้วและจะขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะจัดตั้งรัฐบาลในเดือน ก.ย.นี้ พบว่ามีหลายโครงการ คิดเป็นมูลค่ารวม 487,644 ล้านบาท (ดูตาราง) ทั้งรถไฟฟ้า, ทางคู่, หัวรถจักร, รถเมล์ใหม่ และสนามบิน



ปี"58 งบฯลงทุนใหม่กว่าแสนล้าน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากโรดแมปของ คสช.จะตั้งรัฐบาลใหม่ในเดือนก.ย.นี้ ทางกระทรวงมีโครงการใหม่ที่ประมูลแล้วและพร้อมจะเสนอ ครม.ชุดใหม่อนุมัติให้แล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.นี้เพื่อเริ่มต้นก่อสร้างปี 2558 โดยเฉพาะโครงการลงทุนตามงบประมาณประจำปีที่จะเปิดประมูลในเดือนต.ค.นี้ทันทีที่งบประมาณผ่านการพิจารณา เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

ในปี 2558 กระทรวงได้รับงบฯโดยรวม 146,781 ล้านบาท ในนี้เป็นงบฯลงทุน 108,845 ล้านบาท และมีโครงการยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งไทย (2558-2565) 19,438 ล้านบาท ที่จะใช้ดำเนินการโครงการเร่งด่วนในปี 2558 เช่น ถนน 4 เลน, เวนคืนรถไฟทางคู่ อีกทั้งมีโครงการที่เตรียมขออนุมัติโครงการจาก ครม.ใหม่ เช่น รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) เงินลงทุน 56,691 ล้านบาท, สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) เงินลงทุน 110,117 ล้านบาท, รถไฟทางคู่ 2 สาย คือ จิระ-ขอนแก่น เงินลงทุน 26,007 ล้านบาท และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร เงินลงทุน 18,146 ล้านบาท ซื้อรถเมล์ NGV จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162 ล้านบาท รวมถึงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เช่น บมจ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ ทอท.จะก่อสร้างอาคารผู้โดยสารในประเทศสนามบินสุวรรณภูมิ ขยายดอนเมือง และภูเก็ต

ก.ย. ยื่นซองรถไฟฟ้าสายสีเขียว

นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เมื่อวันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติให้ รฟม.เดินหน้าประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ระยะทาง 18.7 กม. หลังจากที่แผนงานล่าช้ามาหลายเดือนตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว โดยจะให้ผู้รับเหมาทั้ง 31 รายที่ซื้อเอกสารประกวดราคายื่นซองราคาในวันที่ 30 ก.ย.นี้ คาดว่าจะเซ็นสัญญาภายในเดือน ธ.ค.นี้และเริ่มก่อสร้างต้นปี 2558 จะใช้เวลาก่อสร้าง 1,350 วัน ตามแผนจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการกลางปี 2561

ทั้งนี้การประมูล แบ่งเป็น 4 สัญญา วงเงิน 26,642 ล้านบาท (ยังไม่รวมค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด) แยกเป็น 1.งานโยธา (หมอชิต-สะพานใหม่) 11.4 กม. และสถานี 12 สถานี วงเงิน 14,201 ล้านบาท 2.งานโยธา (สะพานใหม่-คูคต) 6.8 กม.และสถานี 4 สถานี วงเงิน 6,125 ล้านบาท 3.งานศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง วงเงิน 3,708 ล้านบาท และ 4.งานวางระบบราง 2,608 ล้านบาท

จ้างเดินรถสายสีเขียวไปปากน้ำ

นอกจากนี้ บอร์ดยังให้ รฟม.จ้างเอกชนมาเดินระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) วงเงิน 9,555 ล้านบาท โดยให้ รฟม.เป็นผู้จัดหาระบบรถเอง จำนวน 39 ตู้ เป็นโมเดลเดียวกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่จ้าง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอสซีเดินรถบีทีเอสส่วนต่อขยาย เนื่องจากรถไฟฟ้าสายนี้ไม่ได้ใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯตั้งแต่แรก จึงต้องใช้วิธีการจ้างระยะยาวแทน หลังจากนี้ รฟม.จะเร่งรัดเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อนำเสนอให้ ครม.ชุดใหม่พิจารณาโดยเร็วให้ทันทดสอบระบบต้นปี 2560 และเปิดบริการปลายปีหรือต้นปี 2561

ส่วนการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) วงเงิน 22,231 ล้านบาท บอร์ดให้ดำเนินการแบบ PPP Gross Cost และมอบนโยบายว่าให้การเดินรถต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายเดิมที่ บมจ. รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือบีเอ็มซีแอลรับสัมปทานอยู่ ซึ่ง รฟม.จะแจ้งให้คณะกรรมการมาตรา 13 ทราบต่อไป เพื่อเปลี่ยนมาเจรจากับบีเอ็มซีแอลแทน

หลังคณะกรรมการมีมติจะให้เปิดประมูลใหม่ เพื่อให้การเดินรถทันกับงานก่อสร้างจะเสร็จในปี 2560 ที่ รฟม.จะทยอยเปิดบริการไปก่อนตามความพร้อม

รถไฟงานรอเซ็นสัญญาเพียบ

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ได้อนุมัติให้ ร.ฟ.ท.เซ็นสัญญาจัดซื้อโบกี้รถบรรทุกสินค้า 308 คัน วงเงิน 770 ล้านบาทกับบริษัท สยามโบกี้ จำกัด และจัดหารถโดยสารใหม่สำหรับเชิงพาณิชย์ 115 คัน วงเงิน 4,668 ล้านบาทกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีซี หลังคณะกรรมการติดตาม และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ (คตร.) อนุมัติแล้ว

อีกทั้งเร่งเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย ระยะทาง 106 กม. วงเงิน 11,348 ล้านบาท จำนวน 2 สัญญาตามเดิม เนื่องจากหากยุบรวมเป็น 1 สัญญาตามที่ คตร.ให้ดำเนินการ ทำให้เสียเวลาออกไปอีก 8 เดือนเพราะต้องปรับทีโออาร์ใหม่และทำให้วงเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 300-400 ล้านบาท เพราะต้องปรับราคากลางให้เป็นปัจจุบันก่อนเปิดประมูลใหม่ จะชี้แจงให้ คตร.รับทราบต่อไป คาดว่าจะเคาะราคาได้อีก 2-3 เดือนนี้ อีกทั้งให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้บริหารโครงการแอร์พอร์ตลิงก์เปิดประมูลซ่อมใหญ่รถไฟฟ้า 9 ขบวน วงเงิน 385 ล้านบาท

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้มีโครงการรอประมูลอีกหลายงาน เช่น จัดซื้อหัวรถจักร 50 คัน วงเงิน 6,563 ล้านบาท จะประกาศทีโออาร์เดือน ต.ค.นี้ หลังทบทวนราคากลางและร่างทีโออาร์เสร็จแล้วตามคำท้วงติงของ คตร. ที่ให้เพิ่มคุณสมบัติในการตรวจสอบความมั่นคงของผู้เสนอราคาให้ดูงบการเงินย้อนหลัง 3 ปี ส่วนการซ่อมบูรณะรถจักรอัลสตอม 56 คันที่ คตร.ให้เปลี่ยนจากซ่อมเป็นซื้อใหม่ ซึ่งจะซื้อ 39 คัน วงเงินเท่าเดิม 3,360 ล้านบาท และมีซื้อรถแอร์พอร์ตลิงก์ 7 ขบวน วงเงิน 4,800 ล้านบาทที่จะเปิดประมูลเร็ว ๆ นี้เช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/08/2014 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

สบช่องคสช.ดันระบบราง ดึง100บ.โชว์รถไฟไฮเทค
วันอังคารที่ 19 สิงหาคม 2014 เวลา 13:18 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

เอเชียน เอ็กซ์ซิบิชั่น สบช่องแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของคสช. ผนึก "โกลบอล ทรานสปอร์ต ฟอรั่ม" ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดประชุมรถไฟจากอังกฤษ ผุดงานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีรถไฟ และรถไฟใต้ดิน ดึง 100 บริษัทชั้นนำระดับโลกโชว์เทคโนโลยีรถไฟ รถไฟใต้ดิน และระบบราง

นายเดวิด อิ๊ทคิ่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียน เอ็กซ์ซิบิชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด เปิดเผยว่า บริษัท เอเชียน เอ็กซ์ซิบิชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด ได้ร่วมมือกับบริษัท โกลบอล ทรานสปอร์ต ฟอรั่ม จำกัด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดงานประชุมด้านรถไฟจากประเทศอังกฤษ เตรียมจัดงานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีรถไฟ และรถไฟใต้ดิน "SmartRail Asia 2014" ระหว่างวันที่ 26-28 พฤศจิกายนนี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา

ไฮไลต์ภายในงาน จะเป็นการจัดงานอย่างเต็มรูปแบบ บนพื้นที่แสดงสินค้ากว่า 8 พันตารางเมตร โดยจะรวบรวมบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งยุโรปและเอเชีย มาร่วมแสดงเทคโนโลยีรถไฟ รถไฟใต้ดิน และระบบราง ราว 100 บริษัทชั้นนำ อาทิ Alstorm , Bombardier , JR East, Frauscher, Moxa รวมทั้งการจัดสัมมนาที่มีผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคให้เกียรติมาแสดงวิสัยทัศน์และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ซึ่งแบ่งโซน การจัดประชุมสัมมนา และแสดงสินค้าภายในบริเวณเดียวกัน เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ และเกี่ยวข้องโดยตรงสามารถชมเทคโนโลยีได้ในคราวเดียวกัน

การจัดงานในปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 3 พันคนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ภาคใต้ของจีน ตะวันออกกลางและไทย ทั้งยังคาดหวังว่าภายหลังการจัดงานจะทำให้เกิดการซื้อขายเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อรองรับนโยบายด้านการลงทุนในระบบรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้น

โดยเฉพาะทิศทางพัฒนาการขนส่งทางรางของไทย จากนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบขนส่งมวลชนระดับชาติ ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่มีมติเห็นชอบแนวทางการพัฒนาในระยะเร่งด่วนเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2557-2558 ประกอบด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งทางราง และการพัฒนาการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงประตูการค้า เมืองหลัก กทม.และปริมณฑล ด้วยวงเงินกว่า 8 แสนล้านบาท ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้านระบบรถไฟและรถไฟใต้ดินตื่นตัวครั้งใหญ่ เพื่อเป็นการรองรับและตอบสนองการทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้านเทคโนโลยีรถไฟและรถไฟใต้ดินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเม็ดเงินการลงทุนในระบบรถไฟฟ้าของทั่วโลกราว 30% เป็นการลงทุนในเอเชียรวมถึงไทยด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,976 วันที่ 21 - 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/08/2014 6:13 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม เร่งเคาะแผนพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน 5 เขตเศรษฐกิจพิเศษ 1.2 แสนล้าน ชงประยุทธ์ 28 ส.ค.นี้ พร้อมเล็งวางแผนเพิ่มโครงการ รถไฟฟ้า เชื่อมมาเลเซีย
เดลินิวส์ วันอังคาร 26 สิงหาคม 2557 เวลา 17:58 น.

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการโครงสร้างพื้นฐาน และด่านศุลกากรว่า ขณะนี้กระทรวงฯ กำลังเร่งสรุปรายละเอียดแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ด่านศุลกากร จุดผ่านแดน และแผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรม (กนอ.) ใน 5 เขตเศรษฐกิจพิเศษ 6 ด่าน คือ แม่สอด จ.ตาก อรัญประเทศ จ.สระแก้ว, ชายแดน จ.ตราด, ชายแดน จ.มุกดาหาร, ด่านศุลกากร สะเดา และด่านศุลกากรประดังเบซาร์ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ภายในวันที่ 28 ส.ค. นี้

สำหรับงบประมาณลงทุน ในส่วนของกระทรวงคมนาคม เบื้องต้นมีโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม เช่น ถนน รถไฟ รวม 40 โครงการ วงเงิน 122,965 ล้านบาท และยังมีงบประมาณของหน่วยงานอื่นอีก เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานศุลกากรอีก 10 โครงการ วงเงิน 5,146 ล้านบาท รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานนิคมอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้ กระทรวงฯยังไม่ได้สรุปงบประมาณ เพราะกำลังพิจารณาเพิ่มโครงการเข้ามาอยู่ในแผนเพิ่มเติมอีกหลายโครงการ

ทั้งนี้ ประกอบด้วย การใช้งบ 40 ล้านบาท เพื่อศึกษาความคุ้มค่าของโครงการลงทุนรถไฟรางคู่เส้นทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระบบไฟฟ้า ระยะทาง 70 – 80 กม. ขนาดราง 1 เมตร ซึ่งจะศึกษาภายในปี 58-59 เพื่อช่วยรองรับการค้าชายแดนไทย-มาเลเซียที่มีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านบาท การพัฒนาสนามบินเลิงนกทา จ.ยโสธร เป็นสนามบินเพื่อการพาณิชย์ เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าของ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร ซึ่งมอบหมายให้กรมการบินพลเรือนไปศึกษาวงเงิน 8 ล้านบาท

นางสร้อยทิพย์ กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ยังเสนอให้พัฒนารถไฟสายใหม่ ช่วงพิษณุโลก-สุโขทัย-ตาก-แม่สอด เพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขันของเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดและการค้าชายแดน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับเส้นทางที่อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบจากขอนแก่น (บ้านไผ่) –ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบังด้วย ในขณะที่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟม.) ของบประมาณ 58 เพื่อศึกษาความเหมาะสมรถไฟทางคู่สายนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด

ส่วนการแก้ปัญหาความแออัดบริเวณด่านแม่สอดนั้น บพ. เห็นชอบให้กรมศุลกากรใช้พื้นหน้าสนามบินแม่สอดเพื่อเป็นจุดตรวจสินค้าจากด่านศุลกากรแม่สอดที่ปัจจุบันมีปัญหาแออัด ใช้งบประมาณปรับปรุง 26.8 ล้านบาท จะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 8 เดือน ซึ่งจะลดความแออัดหน้าด่านได้ รวมถึงมีแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จ.ตาก เช่น การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 ขยายทางหลวงหมายเลข 12 (ตาก-แม่สอด) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบัง ศูนย์บริการรถบรรทุกและสถานีขนส่งสินค้าชายแดนและขยายท่าอากาศยานแม่สอด ส่วนพื้นที่ จ.สระแก้ว จะขยายทางหลวง 359 (ตราด-หาดเล็ก) จุดพักรถบรรทุกสินค้า เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/08/2014 7:10 am    Post subject: Reply with quote

ข้อเท็จจริงระบบรถไฟไทย (ตอนที่1): ความเข้าใจผิดและความจริงเกี่ยวกับระบบ “ราง” ของไทยและอาเซียน
ThaiPublica 26 ส.ค. 57
Arrow http://thaipublica.org/2014/08/the-truth-of-thailand-rail-system-1/

ข้อเท็จจริงรถไฟไทย (ตอนที่ 2): รางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร VS รางขนาด 1 เมตร
ThaiPublica 29 ส.ค. 57
Arrow http://thaipublica.org/2014/08/the-truth-of-thailand-rail-system-2/


Last edited by Mongwin on 29/08/2014 6:24 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/08/2014 9:52 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเท 1.3 แสนล.ทำโครงข่าย 6 ด่านเชื่อมเพื่อนบ้าน
วันอังคารที่ 26 สิงหาคม 2014 เวลา 21:12 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังเป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร ในคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ(กนพ.) ว่า ได้หารือถึงรูปแบบการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เหลืออีก 5 ด่าน ได้แก่ ด่านสะเดา ด่านปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา ,ด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ,ด่านหาดเล็ก จังหวัดตราด และด่านมุกดาหาร ซึ่งหากรวมกับด่านชายแดนแม่สอด จังหวัดตาก ที่ได้มีการสรุปรายละเอียดเพิ่มเติม ทำให้ทางกระทรวงคมนาคม พร้อมที่จะเสนอแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนทั้ง 6 ด่าน ต่อทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 28 สิงหาคมนี้ ซึ่งคาดว่างบประมาณที่จะใช้ในการพัฒนาทั้ง 6 ด่านจะอยู่ที่ประมาณ 130,000 ล้านบาท

สำหรับด่านทั้ง 5 แห่งได้แก่
1.ด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ได้สั่งการให้ทางกรมทางหลวงชนบท ทำการพัฒนาเส้นทางถนนและระบบราง เพื่อให้เชื่อมต่อไปยังปอยเปตได้สะดวกยิ่งขึ้น

2.ด่านหาดเล็ก จังหวัดตราด กรมเจ้าท่า ทำการก่อสร้างท่าเรืออเนกประสงค์ ช่วงคลองใหญ่ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการขนส่งสินค้า ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว 58 % และคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2558 และในส่วนกรมทางหลวง(ทล.) ได้ของบประมาณในปี 2558 เพื่อสร้างทางต่อเชื่อมหมายเลข 3 ถนนเส้นทางตราด-หาดเล็ก ช่วงที่ 1 คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2560 ส่วนเส้นทางตราด – หาดเล็ก ช่วงที่ 2 คาดว่าจะมีการดำเนินการของบประมาณในปี 2558 และได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ทำการพัฒนาเส้นทางรถไฟ จากจังหวัดระยองไปยังจ.ตราด เพื่อเพิ่มปริมาณการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้ารองรับไว้ตั้งแต่วันนี้

3.ด่านมุกดาหาร กรมทางหลวงทำการออกแบบเส้นทางถนนสายใหม่ โดยจะมีการตัดตรงถนน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา และเชื่อมโยงโครงข่ายเข้าสู่ด่านมุกดาหาร ซึ่งจะมีการเสนอของบประมาณในการก่อสร้างในปี 2559 นอกจากนี้ร.ฟ.ท.ยังได้เร่งว่าจ้างที่ปรึกษา ทำการศึกษาออกแบบเส้นทาง บ้านไผ่-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม วงเงินราว 40 ล้านบาท และเตรียมพัฒนาให้ด่านมุกดาหารเป็นเมืองโลจิสติกส์ รวมถึงทางสภาหอการค้าไทย ได้เสนอให้พัฒนาด่านนี้เป็นจุดศูนย์กระจายสินค้า บริเวณด้านหน้าพื้นที่ขนส่งมุกดาหาร พื้นที่ประมาณ 200 ไร่

4.ด่านสะเดา ได้สั่งการให้ ทล.ทำการซ่อมบำรุงทางหลวง หมายเลข 4 ที่จะเข้าไปยังพื้นที่ด่านสะเดา เนื่องจากมีการจราจรที่แออัด รวมถึงการออกแบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) จากสะเดาถึงหาดใหญ่ สำหรับการขนส่งสินค้าและเดินทาง นอกจากนี้ยังใช้งบประมาณลงทุน 2,605 ล้านบาท ในการก่อสร้างด่านสะเดา แบ่งเป็นงบประมาณซื้อพื้นที่ 960 ล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาขอใช้พื้นที่ รวม 25 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ด่านขาออก 20 ไร่ และขาเข้า 5ไร่ ตั้งห่างจากด่านเดิมประมาณ 50 กิโลเมตร และ

5. ด่านปาดังเบซาร์ ได้ให้ร.ฟ.ท.ออกแบบรถไฟทางคู่ระบบไฟฟ้า จากปาดังเบซาร์ถึงหาดใหญ่ เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางสู่มาเลเซีย และทางกรมศุลกากรได้ของบประมาณเพิ่มอีก 20 ล้านบาท ในการสร้างศุลกากรบริเวณด่านปาดังเบซาร์ หลังจากที่ช่วงก่อนนี้ของบ 50 ล้านบาท แต่ได้รับอนุมัติเพียง 30 ล้านบาทเท่านั้น

ด้านนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ได้ทำการศึกษาความคุ้มค่าของโครงการลงทุนรถไฟรางคู่ เส้นทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 70-80 กิโลเมตร ด้วยงบประมาณจำนวน 40 ล้านบาท ในปี 2558-2559 โดยรถไฟดังกล่าวจะสิ้นสุดที่ชายแดน และเชื่อมต่อกับรถไฟจากมาเลเซีย ขนาดรางมิเตอร์เกจกว้าง 1 เมตร ใช้ขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้าด้วยความเร็ว 100-120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งหากให้รถไฟขบวนนี้เชื่อมต่อกับประเทศมาเลเซีย ก็ต้องใช้รางรถไฟขนาดมิเตอร์เกจเช่นกัน การรถไฟสายนี้จะช่วยรองรับการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่มีมูลค่า 5 แสนล้านบาทในปี 2556 และขยายตัวยอย่างต่อเนื่องทุกปี

นอกจากนี้ หอการค้าจังหวัดมุกดาหาร ยังได้เสนอแนวทางพัฒนาเขตเศรษฐกิจมุกดาหาร 5 ข้อ ได้แก่
1.) ควรพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่ง เนื่องจากเป็นเมืองขนาดเล็ก และมีจุดขายด้านการท่องเที่ยว จึงเสนอให้สร้างจุดกระจายสินค้าบนพื้นที่ 400 ไร่ หน้าด่านมุกดาหาร
2.) จัดตั้งสถานีรถขนส่งระดับนานาชาติ
3.) บริหารจัดการความแออัดหน้าด่านศุลกากร
4.) ขอให้เปิดด่านถึง 22.00 น. และ
5.) พัฒนาสนามบินเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นสนามบินเก่าให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์

ส่วนการบินพลเรือน(บพ.) และกรมศุลกากร ได้เห็นชอบร่วมกันให้ใช้พื้นที่หน้าสนามบินแม่สอดรองรับการตรวจสินค้าจากด่านศุลกากรแม่สอดแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีความแออัด โดยเมื่อได้งบประมาณปรับปรุงพื้นที่จำนวน 26.8 ล้านบาท จะสามารถปรับปรุงได้เสร็จภายใน 8 เดือน ช่วยลดปัญหาความแออัดของหน้าด่าน ทั้งนี้ มีแผนจะพัฒนาเขตเศรษฐกิจแม่สอด ให้รองรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เพื่อรองรับแรงงานในพื้นที่และแรงงานต่างด่าน ไม่ให้ไหลทะลักออกมาข้างนอกเขต

อย่างไรก็ตาม ทางกรมศุลกากรได้เสนอให้มีการทำระบบสมาร์ทการ์ดกับแรงงานที่ต้องข้ามด่านชายแดนทุกวันทั้ง 5 ด่าน แทนการตรวจเอกสารแบบเดิม ซึ่งจะทำให้การเข้าออกด่านสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ส่วนด้านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอให้จัดตั้งจุดตรวจสอบด้านการเกษตรแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) ที่ด่านทั้ง 5 แห่ง เพื่ออำนวยความสะดวก จึงมอบหมายให้ทั้ง 2 หน่วยงาน กลับไปจัดทำรายละเอียดเรื่องดังกล่าวมาเสนอ กนพ. เพราะเป็นเรื่องในอนาคตที่ควรพัฒนา แม้จะไม่ทันการของบประมาณปี 2558 เพราะยังไม่รวมอยู่แผนงานโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมด้านเขตเศรษฐกิจพิเศษแผนหลักและแผนรองจำนวน 1.22 แสนล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/08/2014 11:57 am    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคม ระดมความคิดเห็นการพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน รองรับระบบรถไฟความเร็วสูงในอนาคต
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 27 สิงหาคม 2557

กระทรวงคมนาคม ระดมความคิดเห็นการพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน รองรับระบบรถไฟความเร็วสูงในอนาคต พร้อมเร่งศึกษาการพัฒนาทางคู่ขนาดรางมาตรฐานทางใหม่ 2 เส้นทาง

นายชาญชัย สุวิสุทธะกุล รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน Standard Gauge ความเร็ว 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รองรับระบบรถไฟความเร็วสูงในอนาคต" ว่า เป็นการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นถึงความเป็นไปได้ที่ประเทศไทย จะพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร หรือ Standard Gauge ความเร็ว 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ว่า ในอนาคตจะสามารถปรับระบบรางมารองรับระบบรถไฟความเร็วสูงในอนาคตได้หรือไม่ เบื้องต้นด้านงานโยธาก่อสร้างกระทรวงคมนาคมได้มีการออกแบบคำนวณแนวเส้นทาง รวมถึงรูปแบบในการก่อสร้างรองรับระบบรถไฟความเร็วสูงไว้แล้ว ส่วนระบบอาณัติสัญญาณ เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหา ทั้งนี้ภายในงานสัมมนาได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งมาร่วมสัมมนา ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการคาดการณ์ปริมาณการขนส่งมาชี้แจงถึงความต้องการด้านการขนส่งทางรางของประเทศไทย //โครงสร้างทางรถไฟ Conventional standards rail และการพัฒนาเป็นระบบรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย จากผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแนวเส้นทางรถไฟ และผู้แทนจากสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบรางของเกาหลีใต้ และในทวีปยุโรป และได้นำตัวอย่างการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ รองรับระบบรถไฟความเร็วสูง และระบบรถไฟที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากแผนระยะเร่งด่วนในการพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐานแนวทางใหม่ ประกอบด้วยเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ระยะทาง 737 กิโลเมตร และเส้นทางเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ระยะทาง 655 กิโลเมตร เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า ซึ่งทั้ง 2 เส้นทางสามารถเชื่อมโยงการเดินทางจากประเทศเพื่อนบ้านและจากจีนตอนใต้สอดคล้องกับแผนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของจีนมายัง ประเทศลาว และในอนาคตประเทศไทยจะมีการพัฒนารถไฟทางคู่ไปยังปาดังเบซาร์ และจะเชื่อมโยงกับเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก หรือ East-West Economic Corridor

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เปิดเผยว่า การปรับรูปแบบการก่อสร้างรถไฟความเร็วมาเป็นการพัฒนารถไฟทางคู่ช่วยประหยัดงบประมาณในการดำเนินงานเป็อย่างมาก อย่างไรก็ตามขณะนี้ สนข.ยังอยู่ระหว่างการลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ โดยล่าสุดได้เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนแนวเส้นทางก่อสร้างโครงการดังกล่าว เป็นครั้งที่ 2 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งผลการศึกษาที่ได้จะนำไปประกอบการจัดทำโครงการ ในส่วนของ 2 เส้นทางทางใหม่ในปี 2558 จะเริ่มจ้างที่ปรึกษามาทำการศึกษาในการก่อสร้างรอบด้านทั้งความคุ้มค่าในการลงทุน รวมถึงศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมวงเงิน 350 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 17, 18, 19 ... 121, 122, 123  Next
Page 18 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©