RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181786
ทั้งหมด:13493025
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 21, 22, 23 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2014 9:05 am    Post subject: Reply with quote

ชิงเม็ดเงินก้อนโต ไฮสปีดเทรน7แสนล้าน
โดย...ทีมข่าวเศรษฐกิจภาครัฐ
โพสต์ทูเดย์
21 ตุลาคม 2557 เวลา 11:55 น.

//---------------------
รุมแย่งไทยเป็นประตูขนส่ง จีน-ญี่ปุ่นเล็งเป้าเชื่อมประเทศซีแอลเอ็มวี ครม.ได้ทีขยายลงทุนไฮสปีดเทรน3เส้นทาง
โพสต์ทูเดย์
22 ตุลาคม 2557

นักวิชาการชี้ จีน-ญี่ปุ่นล็อบบี้ลงทุนรถไฟความเร็วสูง หวังใช้ไทยเป็นประตูขนส่งสู่อาเซียน
นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เปิดเผยว่า การที่ประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นต่างเสนอตัวเข้ามาลงทุนพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย เพราะต้องการใช้ศักยภาพของประเทศไทยที่เป็น Main Land Asian เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศกลุ่มซีแอลเอ็มวี ทั้งกัมพูชา ลาวพม่า และเวียดนาม ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมการขนส่ง ทำให้ประเทศมหาอำนาจทั้งจีนและญี่ปุ่นต้องการเข้ามาลงทุนในไทยให้ได้

//-------------------

ครม.อนุมัติแผนยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งปี 58-65
โดย ณัฐญา เนตรหิน
คอลัมน์ : ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2557 เวลา 17:26 น.

ครม. อนุมัติงบ 58 วงเงิน 6.8 หมื่นล้าน เดินหน้ารถไฟทางคู่ ซื้อรถเมล์ NGV 3,183 คัน ทบทวนงบยุทธศาสตร์ 2.4 ล้านล้าน
วันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2557

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 ซึ่งกำหนดไว้ 5 แนวทาง เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาการคมนาคมขนส่งทั้งระบบ ตั้งเป้าใช้วงเงินงบประมาณปี 58 สำหรับดำเนินการใน 5 แผน วงเงินรวม 68,000 ล้านบาท


ซึ่งมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 4 เป้าหมาย ประกอบด้วย
1) เสริมสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม
2) เสริมสร้างรากฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
3) เสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัย และ
4) สร้างโอกาสสำหรับการแข่งขันและให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน และ

5 แผนงาน ประกอบด้วย
1) การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง
2) การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
3) การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศ และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
4) การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ และ
5) การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ

สำหรับ5 แผนงาน ประกอบด้วย

1.การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง ซึ่งจะมีการดำเนินการใน 3 เรื่อง คือ
1.1 การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานรถไฟให้ใช้งานได้ดี และการพัฒนาระบบรางคู่ในระยะเร่งด่วน 6 เส้นทาง ระยะทาง 903 กิโลเมตร และ วงเงิน 129,308 ล้านบาทได้แก่

1.1.1 โครงการที่พร้อมก่อสร้าง 1 เส้นทาง ได้แก่ สายฉะเชิงเทรา-คลอง 19–แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 11272 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มต้นประมูลและก่อสร้างได้ต้นปี 2558


1.1.2 โครงการที่อยู่ระหว่างนำเสนอ ครม. ขออนุมัติโครงการ 2 เส้นทาง ได้แก่
1.1.2.1. สายชุมทางจิระ–ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร - วงเงิน 26007 ล้านบาท - ปัจจุบันได้อนุมัติรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว

1.1.2.2. ขณะที่สายประจวบคีรีจันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร - วงเงิน 17292 ล้านบาท กำลังพิจารณารายงานอีไอเอ คาดว่าจะแล้วเสร็จสิ้นปี 2557


1.1.3 โครงการที่อยู่ระหว่างนำเสนอของอนุมัติรายงานอีไอเอ 3 เส้นทาง ได้แก่
1.1.3.1. สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 167 กิโลเมตร - วงเงิน 24842 ล้านบาท
1.1.3.2. สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 167 กิโลเมตร - วงเงิน 29855 ล้านบาท และ
1.1.3.3. สายนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร - วงเงิน 20038 ล้านบาท

1.2 การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานรถไฟให้ใช้งานได้ดี และการพัฒนาระบบรางคู่ในระยะที่ 2 จำนวน 8 เส้นทาง ระยะทางประมาณ 1,626 กิโลเมตร
1. สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กิโลเมตร
2. สายปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กิโลเมตร
3. สายชุมทางจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กิโลเมตร
4. สายขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กิโลมเตร
5. สายชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กิโลเมตร
6. สุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง 339 กิโลเมตร
7. สายหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร
8. สายเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 217 กิโลเมตร
และ
1.3 นอกจากนี้ มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่สำคัญในโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร จากรายงานก่อนหน้านี้โดยนำเส้นทางสายเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ออกจากแผนเดิมที่ระบุไว้ 2 เส้นทาง ได้แก่
1. สายหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด
2. สายเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ระยะทางรวม 1,392 กิโลเมตร วงเงิน 741,460 ล้านบาท

โดย แก้ไขแผนงานใหม่เป็น การพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ระยะทางรวม 1,060 กิโลเมตร ใน 3 เส้นทาง คือ

1.3.1. กรุงเทพฯ-นครราชสีมาและนครราชสีมา-มาบตาพุด ระยะทาง 512 กม.
1.3.2. เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 193 กม.
1.3.3.นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม.

2. การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมลฑล ประกอบด้วย
2.1 การเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย ซี่งในปี 58 จะเดินหน้าในสายสีส้ม สีเหลือง สีชมพู สีแดง(บางซื่อ-หัวลำโพง-หัวหมาก) สีแดง (รังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต) และ
2.2 การจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี โดยเตรียมรถเมล์เป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน 489 คัน จากทั้งหมด 3,189 คัน โดยเตรียมส่งมอบล็อตแรกในเดือนม.ค.-มี.ค.58

3. การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเชื่อมโยงการผลิตของประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะมีการดำเนินการโครงการเร่งรัดก่อสร้างขยาย 4 ช่องจราจรทั่วประเทศประกอบด้วย 5 เส้นทางสำคัญ ซึ่งสามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2558 ได้แก่ เส้นทาง
(1) ทล.304 อำเภอกบินทร์บุรี – อำเภอวังน้ำเขียว ตอน 3 ระยะทาง 15.51 กิโลเมตร
(2) ทล.304 กบินทร์บุรี – อำเภอปักธงชัย (ทางเชื่อมผืนป่า) ระยะทาง 3 กิโลเมตร
(3) ทล.4 กระบี่ – อำเภอห้วยยอด ระยะทาง 16.45 กิโลเมตร
(4) ทล.3138 อำเภอบ้านบึง – อำเภอบ้านค่าย ตอน 3 ระยะทาง 18.23 กิโลเมตร และ
(5) ทล.314 อำเภอบางปะกง – ฉะเชิงเทรา ตอน 2 ระยะทาง 3.25 กิโลเมตร

ก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 4 เส้นทางสำคัญ ซึ่งสามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2558 ได้แก่ เส้นทาง
(1) ทล.212 อำเภอโพนพิสัย – บึงกาฬ ตอน 1 ระยะทาง 30 กิโลเมตร
(2) ทล.12 ตาก – แม่สอด ตอน 3 ระยะทาง 25.50 กิโลเมตร
(3) ทล.12 กาฬสินธุ์ – อำเภอสมเด็จ ตอน 2 ระยะทาง 11.00 กิโลเมตร และ
(4) ทล. 3 ตราด – หาดเล็ก ตอน 2 จังหวัดตราด ระยะทาง 35 กิโลเมตร


4. การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำจะมีการขยายท่าเรือแหลมฉบังในการรองรับสินค้า พัฒนาท่าเรือชุมพร และเพิ่มประสิทธิภาพแม่น้ำป่าสักรองรับการขนส่งสินค้าทางน้ำ

5. การเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการขนส่งทางอากาศ ในโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แผนพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต

//--------------------

งานนี้งดรางมาตรฐานไปเชียงของ แต่เน้นทางไหนองคายแทนหลังมีข่าวล่าสุดว่า จีนเพื่งอนุมติโครงการทางคู่ติดระบบรถไฟฟ้า จากอิ๋วซี (50 กิโลเมตรจาก คุนหมืง) ผ่านเมืองเชียงรุ้งในแคว้นสิบสองปันนา ไปด่านม่อหาน - ต่อไปจะทำทางไปลาว จากด่านบ่อแตน ไป นครหลวงเวียงจันแน่ๆ ที่น่าเชื่อว่าจะเชื่อมกะด่านม่อหานแน่ ... เลยจะเน้นทางนี้ก่อน - และคราวนี้ มีทางจากกรุงเทพไประยองด้วย โดย กรุงเทพ - ระยองส่อว่าจะเป็นส่วนต่อขยาย Airport Link ซึ่งทำหน้าที่เป็น backbone รถไฟความไวสูงซะด้วย

ส่วนที่งดไปเชียงของก็เพราะโดนภาคเอกชนไทยท้วงติงว่าเสียเวลาศึกษาไปเปล่าๆ - สู้เร่งทำทางจากเด่านชัยผ่านแพร่และเชียงรายไปเชียงของดีกว่า และที่มีทางไปกรุงเทพด้วยก็เพราะ ทั้งญี่ปุ่นและจีนแดงบอกว่า แค่ไปท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุดไม่พอ ต้องไปกรุงเทพด้วย


Last edited by Wisarut on 22/10/2014 6:51 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/10/2014 6:39 pm    Post subject: Reply with quote

"ประจิน" ยืดลงทุนยุทธศาสตร์เป็น 10 ปี
เดลินิวส์ วันพุธ 22 ตุลาคม 2557 เวลา 17:30 น.

“ประจิน” เร่งเคาะตัวเลข เงินลงทุนยุทธศาสตร์ เดือนพ.ย. เตรียมขยายแอ็คชั่นแพลนยุทธศาสตร์จาก8ปีเป็น10ปี เหตุมีโครงการต่อเนื่องเยอะ


พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณี ครม.อนุมัติยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ปี58-65 ว่า กระทรวงคมนาคมจะสรุปกรอบวงเงินงบประมาณ และรายละเอียดในการลงทุนตามแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานในทุกๆด้านได้เสร็จในเดือนพ.ย.นี้ พร้อมกับเสนอขอขยายกรอบระยะเวลาแผนยุทธศาสตร์จาก 8 ปี เป็น 10 ปี หรือเริ่มตั้งแต่ปี 59-68 เนื่องจากเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่ามีหลายโครงการที่เป็นโครงการต่อเนื่องที่ต้องทำระยะยาว อีกทั้งต้องทำให้สอดคล้องกับแผนการใช้จ่ายงบประมาณ

ส่วนประเด็นที่ว่ากรอบการลงทุนทั้งหมดจะใช้เงินมากกว่า 2 ล้านล้านบาทหรือไม่นั้น เบื้องต้น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาไว้ว่าใช้เงินประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท แต่ยังไม่รวมงานก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 ที่ใช้งบประมาณ 62,000-79,000 ล้านบาทบาท และโครงการก่อสร้างรถไฟรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ดังนั้น หากพิจาณาตามเนื้องานที่มีอยู่งบการลงทุนอาจมากกว่า 2 ล้านล้านบาท แต่จะมีเนื้องานที่เพิ่มมากขึ้น

สำหรับแผนงานก่อสร้างที่มีความชัดเจน ได้แก่
Quote:
- โครงการรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร มี 6 เส้นทาง กรอบวงเงินลงทุน 1.29 แสนล้านบาท โดยเริ่มดำเนินการได้ในปี 58
- โครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็ว 160 กม.ต่อชั่วโมง ระยะทางรวม 1,060 กม. แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่
กรุงเทพฯ -นครราชสีมาและนครราชสีมา-มาบตาพุด ระยะทาง 512 กม.
กรุงเทพฯ -ระยอง ระยะทาง 193 กม. และ
นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม.
ซึ่งจะมีการตั้งงบสำรวจออกแบบแล้วเสร็จในกลางปี 58 และตั้งงบประมาณก่อสร้างได้ปี 59


"การสร้างรถไฟกึ่งความเร็วสูงได้มีการปรับแบบใหม่ ให้สามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านได้ดีขึ้น และอนาคตจะมีเส้นทางรถไฟทางคู่รางมาตรฐานสายใต้เพิ่ม เพื่อเชื่อมจากจากหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ จากนั้นจะดำเนินการทางสายเหนือ นอกจากนี้กรอบยุทธศาสตร์ยังมีการอนุมัติเพิ่มเติมอีก 2 เส้น คืออีสต์- เวสต์คอริดอร์ เชื่อม 2 ฝั่งของไทย กับเส้นทางด้านอีสานบน-อีสานใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดนำเข้าครม. ส่วนทางถนนมีหลายสายที่จะเชื่อมต่อด่านชายแดน"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/10/2014 10:40 pm    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กจิน"สั่งศึกษารถไฟทางคู่รางมาตรฐานอีก2 สายเชื่อม East - West และอีสานเหนือ-ใต้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 ตุลาคม 2557 21:03 น.

"ประจิน"สั่งผุดรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน 1.435 เมตร อีก 2 สาย เชื่อมตะวันออก-ตะวันตกและ อีสานเหนือ-อีสานใต้ เร่งศึกษารายละเอียดเสนอครม.เพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์คมนาคม ยันของบปี 59 สร้างสายแรกจากหนองคาย-สระบุรี-ระยอง เผยเม็ดเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเกิน2 ลล. เหตุมีท่าเรือและสนามบินด้วย ไม่เหมือนแผนรัฐบาลเดิม ยันความโปร่งใส มีทั้งคตร.,คสช.ช่วยกันตรวจสอบ ส่วนสุวรรณภูมิเฟส 2 ปรับแผนใหม่มีรันเวย์3 กรอบ6.2- 7.9 หมื่นล.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า การดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) เส้นทางหลักที่จะดำเนินการ คือ
1. ช่วง หนองคาย-สระบุรี-ระยอง และ
2. ช่วงสระบุรี-กรุงเทพ
ระยะทางรวม 737 กม. ซึ่งได้รับงบประมาณในการสำรวจออกแบบแล้วโดยจะแล้วเสร็จกลางปี 2558 จากนั้น จะขอตั้งงบประมาณปี 2559 สำหรับการก่อสร้าง
ส่วนเส้นทางที่ 2 จะเป็นสายใต้ จากกรุงเทพ-หาดใหญ่ -ปาดังเบซาร์ และสายเหนือ (เชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี) ระยะทาง 655 กม. และในกรอบยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน ได้ขออนุมัติที่จะดำเนินการเพิ่มอีก 2 เส้นทาง คือ แนวจากตะวันตก-ตะวันออก (East - West Corridor) ของไทย จาก ตาก-พิษณุโลก-ขอนแก่นกับอีสานบน-อีสานใต้ จากหนองคาย-มุกดาหาร-อุบลราชธานี โดยจะต้องทำรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้รายงานความคืบหน้าแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ระยะเวลา 8 ปี (2558-2565) ต่อที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมาซึ่งเป็นแผนที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เคยเห็นชอบแล้ว แบ่งเป็น 4 ยุทธศาสตร์ 5 แผนงาน ครอบคลุมการพัฒนาด้านการขนส่งทั้งระบบราง ถนน ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งแตกต่างจากแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2 ล้านล้านบาทเดิม ที่ไม่มีการลงทุนในส่วนของสนามบินและท่าเรือ จึงเป็นแผนงานที่มีโครงการต่างกัน

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า วงเงินลงทุนรวมของโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกชัดเจนได้เนื่องจาก ต้องรอแผนปฎิบัติ (Action Plan) ซึ่งขณะนี้ทำไปแล้ว 70-80% จะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งเป้าหมายของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้ให้บริการระบบขนส่งมีมาตรฐาน และมีความปลอดภัยตามหลักมาตรฐานโลก โดยมีครม. คสช.และคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ร่วมตรวจสอบเรื่องความโปร่งใส

โดยโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง มีระยะทางรวม 903 กิโลเมตร วงเงินรวม 129,308 ล้านบาท จะเริ่มดำเนินงานในปี 2558 โดยมีขณะนี้อยู่ระหว่างประกวดราคา 1 เส้นทาง คือ สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย วงเงิน 11,348.35 ล้านบาท และอีก 2 เส้นทางกำลังเสนอครม.เปิดประกวดราคาคือ สายชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 26,007 ล้านบาทและ สายประจวบคีรีขันธ์ –ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,293 ล้านบาทส่วนอีก 4 เส้นทาง รอเสนอผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ( EIA ) คือสายนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 20,038 ล้านบาท 5.สายมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 29,855 ล้านบาท 6.สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร วงเงิน 24,842 ล้านบาท

ส่วนโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 วงเงิน 6.25 หมื่นล้านบาทจะเสนอครม.เพื่อขอปรับเปลี่ยนแผนงานโครงการใหม่ โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ช่วง วงเงินลงทุน อยู่ระหว่าง 6.2- 7.9 หมื่นล้านบาท โดยจะมีการก่อสร้างทางวิ่ง (รัยเวย์) ที่ 3 เพิ่มเติมเข้ามาด้วย โดยคณะทำงานจองกระทรวงคมนาคมและบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.อยู่ระหว่างหารือให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในเดือนพฤศจิกายนนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2014 2:18 am    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลประยุทธ์ผุดมินิไฮสปีดเทรนประหยัดงบ30% นำร่อง2สายไป"โคราช-ระยอง"180กม./ชม.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
23 ตุลาคม 2557 เวลา 21:01:48 น.


รัฐบาลประยุทธ์เดินหน้าโครงการมินิไฮสปีดเทรนความเร็ว 180 กม./ชม. เชื่อมการค้าจีนตอนใต้จาก "หนองคาย" ทะลุ "ปาดังเบซาร์" ระยะทาง 1,837 กม. นำร่อง 2 สาย "กทม.-โคราช และ กทม.-ระยอง" ปลุกเศรษฐกิจและท่องเที่ยวภาคอีสาน-ตะวันออก กลางปีหน้าศึกษาเสร็จ คาดเงินลงทุนถูกกว่าไฮสปีดเทรนเพื่อไทย 20-30% จับตา "จีน-ญี่ปุ่น" แบ่งเค้ก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้พูดถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคม จะมียุทธศาสตร์การพัฒนาระยะสั้นและระยะยาวว่าจะไปในทิศทางไหน เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนและพัฒนาประเทศให้เดินหน้าต่อไป ทั้งด้านเศรษฐกิจในประเทศ ต่างประเทศ อาเซียน และเขตเศรษฐกิจพิเศษ สั่งสร้างทางคู่เชื่อมชายแดน

"ต้องวางแผนเส้นทางคมนาคมให้สอดคล้องกัน จะเชื่อมโยงอย่างไรในประเทศและไปพื้นที่ชายแดน ไปอาเซียน อย่างวันนี้จะสร้างรถไฟทางคู่เพิ่มในปี"57-58

เส้นทางที่จำเป็นหลัก ๆ จะไปด่านชายแดน เป็นการขนส่งสินค้า และเตรียมเชื่อมต่อกับประชาคมโลกต่อไปที่ไกลออกไปจากรอบบ้านเรา ต้องเตรียมแผนอนาคตไว้" พลเอกประยุทธ์กล่าวและว่า

ขณะเดียวกันในประเทศต้องเพิ่มเส้นทางการขนส่งสินค้า ต่อไปต้องแยกสินค้ากับขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งรถโดยสารจะต้องวิ่งด้วยความเร็วมากกว่า อาจจะใช้รางแบบ 1.435 เมตร และใช้รถรุ่นใหม่มาวิ่งบริการ ซึ่งแนวทางการพัฒนาในอนาคตจะต้องเดินไปตามนี้ ต้องมีการวางแผนว่าจะเริ่มดำเนินการได้ปีไหนและแหล่งเงินที่จะมาลงทุนก่อสร้าง ทางฝ่ายเศรษฐกิจจะต้องไปหาวิธีการ เช่น เพิ่มเศรษฐกิจการค้าขาย

เฟสแรกได้ข้อสรุปกลางปีหน้า

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กลางปีหน้าผลการศึกษาโครงการการพัฒนารถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร เชื่อมการค้าประเทศจีนตอนใต้จะแล้วเสร็จในเส้นทางระยะเร่งด่วน สายหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด และแก่งคอย-บ้านภาชี-ชุมทางบางซื่อ ระยะทาง 867 กม. โดยจะนำร่องระยะแรก ได้แก่ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-ระยอง รูปแบบโครงการจะสร้างบนทางใหม่คู่ขนานไปกับแนวรถไฟปัจจุบัน และขบวนรถจะขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าความเร็ว 180 กม./ชม.

"นโยบายของรัฐบาลจะเร่งพัฒนารถไฟทางคู่ระยะแรก 6 สาย ให้เสร็จใน 4-5 ปีข้างหน้า และจะพัฒนารถไฟทางคู่วิ่งด้วยความเร็วสูงควบคู่ไปด้วย แต่จะปรับให้สอดรับกับความต้องการในการเดินทางและการท่องเที่ยว ปีหน้าจะชัดเจนว่ารูปแบบเหมาะสมจะขนส่งสินค้าหรือผู้โดยสาร รวมถึงเม็ดเงินลงทุนด้วย"

รอเคาะข้อเสนอจีน-ญี่ปุ่น

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า อย่างไรก็ตามรัฐบาลประเทศจีนและญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจจะมาลงทุนระบบรถไฟให้ พร้อมแหล่งเงินลงทุนและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีด้วย แต่ยังไม่สามารถตอบได้ขณะนี้ จะต้องรอดูนโยบายโดยรวมของรัฐบาล ซึ่งเดือนพฤศจิกายนนี้นายกรัฐมนตรีไทยและผู้นำจีนจะหารือร่วมกัน อีกทั้งต้องดูผลศึกษาจะสรุปปีหน้าด้วย จะลงทุนรูปแบบไหนถึงจะเหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทย ต้องพิจารณาให้รอบคอบทั้งผลดีและผลเสียเพื่อไม่ให้กระทบต่อวินัยการคลังของประเทศ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การพัฒนารถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร ล่าสุดนโยบายจะเน้นเส้นทางเชื่อมกับจีนที่หนองคาย ผ่านกรุงเทพฯและสิ้นสุดที่ปาดังเบซาร์ รวม 1,837 กม. โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาโครงการระยะเร่งด่วนให้เสร็จกลางปี 2558 คือ สายหนองคาย-นครราชสีมา-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด และแก่งคอย-บ้านภาชี-ชุมทางบางซื่อ 867 กม. และระยะต่อไปสายบางซื่อ-นครปฐม-ประจวบคีรีขันธ์-สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ 970 กม.

นำร่อง 2 สาย ไปโคราช-ระยอง

"จะนำผลศึกษารถไฟความเร็วสูงที่เคยศึกษาไว้ในเฟสแรก คือ กรุงเทพฯ-โคราช และกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง มาทบทวน ซึ่งจะปรับลดความเร็วจาก 250 กม./ชม. เหลือ 180 กม./ชม. คาดว่าเม็ดเงินลงทุนจะถูกลงกว่าเดิม 20-30% ส่วนแนวสายทางและที่ตั้งสถานีจะคงเดิม ตามแผนงานเมื่อศึกษาเสร็จในปีหน้า คาดว่าจะเริ่มประมูลและก่อสร้างในปี"59 แล้วเสร็จในปี"63"

ทั้งนี้สำหรับผลการศึกษาเดิมในสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กม. ใช้เงินค่าก่อสร้าง 176,598 ล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 14.95% และผู้โดยสาร 14,658 เที่ยวคน/วัน ล่าสุด สนข.ได้เสนอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยแนวเส้นทางจะเริ่มจากสถานีบางซื่อ ผ่านดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ชุมทางบ้านภาชี จากนั้นเบี่ยงไปทางแนวรถไฟสายอีสาน มุ่งหน้าสระบุรีผ่านปากช่อง วิ่งเลียบเขื่อนลำตะคองไปนครราชสีมา มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีสระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา มีเวนคืนที่ดิน 1,600 ไร่

ส่วนเฟส 2 จากนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 359 กม. ทาง สนข.กำลังจ้างที่ปรึกษาศึกษาโครงการ เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนก่อสร้าง 170,725 ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง มีระยะทาง 221 กม. ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังศึกษาโครงการอีก 3 เดือนจะแล้วเสร็จคาดว่าจะใช้เงินก่อสร้างกว่า 1 แสนล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 13.05% รูปแบบก่อสร้างจะเหมือนแอร์พอร์ตลิงก์

ปรับที่ตั้งสถานีสายระยองใหม่

"อาจจะปรับแนวเส้นทางและสถานีใหม่ ให้จอดที่สนามบินอู่ตะเภา พัทยา สัตหีบ และปลายทางที่ระยอง ตามนโยบายของ พล.อ.อ.ประจิน ที่ต้องการจะสร้างรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน คือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

สำหรับแนวเส้นทางสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยองเดิม จะเริ่มต้นที่สถานีบางซื่อไปตามทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านพญาไท มักกะสัน ลาดกระบัง หรือสนามบินสุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา สิ้นสุดที่ระยอง มี 7 สถานี

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทั้ง 2 สาย ทางจีนและญี่ปุ่นได้ศึกษาโครงการเเละถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ โดยสายกรุงเทพฯ-หนองคายทางจีนศึกษาให้ เพราะจะสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมการค้าแนวเหนือ-ใต้จากคุนหมิงผ่านนครเวียงจันทน์ สปป.ลาว มายังหนองคายมาถึงกรุงเทพฯไปปาดังเบซาร์ทะลุสิงคโปร์ ส่วนสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยองทางญี่ปุ่นเป็นผู้ศึกษาให้ ซึ่งเส้นนี้จะรองรับการท่องเที่ยวเป็นหลัก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2014 8:40 am    Post subject: Reply with quote

นายกไทยจะโอ้โลมกับจีนโครงการรถไฟ
วิทยุเอเซียเสรี
22 ตุลาคม 2014
http://www.rfa.org/lao/economy/railroad_project/thai-pm-to-discuss-rail-ways-projects-on-china-visit-10222014012155.html
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/10/2014 6:34 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมยอมรับใช้เงินลงทุน 3 ล้านล้านบาท เดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ 8 ปี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 24 ต.ค. 2557 เวลา 18:10:42 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกระทรวงคมนาคมในยุทธศาสตร์ 8 ปีว่า จะใช้เงินลงทุนมากกว่า 3 ล้านล้านบาท ซึ่งมีแผนดำเนินการเร่งรัดการลงทุนทุกระบบขนส่ง เช่น โครงการรถไฟทางคู่ทั้งโครงการราง 1 เมตร และ 1.435 เมตร ภายในปี 2559 ระบบรถไฟทางคู่จะมีเพิ่มขึ้นอีก 900 กม. ทำให้สัดส่วนรถไฟทางคู่ของไทยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 22.3 เมื่อเทียบกับสัดส่วนระบบรางทั้งหมด นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดทั้งโครงการรถไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหาภายในเมือง การพัฒนาทางหลวง และมอเตอร์เวย์ การพัฒนาท่าเรือแห่งใหม่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 และท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ในยุทธศาสตร์ 8 ปีที่กระทรวงคมนาคมดำเนินการ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ เร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจไทย ซึ่งจากแผนงานที่กระทรวงคมนาคมเตรียมไว้นั้น มั่นใจว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานปี 2558 จะมากกว่าปี 2557 แน่นอน ประมาณร้อยละ 5-10 หรือ มีงบประมาณลงทุนจากหน่วยงานราชการ และ รัฐวิสาหกิจ ไตรมาสละ 3 แสนล้านบาท รวมเป็น 1.2ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ โดยขณะนี้รัฐบาลส่งสัญญาณชัดเจนว่าสำหรับโครงการที่เคยล่าช้าในอดีตและรอการเซ็นสัญญาเพื่อเริ่มก่อสร้าง ก็จะมีการลงนามสัญญาทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม 2557 และสามารถเริ่มก่อสร้างไตรมาส 1 ปี 2558 ซึ่งหากดำเนินการได้ตามแผนเศรษฐกิจไทยปีหน้าเติบโตได้มากกว่าร้อยละ 3.5-4.5 ตามที่ สศช.ประมาณการไว้

"ล่าสุดทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกเติบโตร้อยละ 3.3 เป็นร้อยละ 3.8 เช่นเดียวกับธนาคารโลกที่ปรับประมาณเศรษฐกิจโลกปี 2558 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.6 เป็นร้อยละ 3.2 ดังนั้น จึงเชื่อว่าหากการส่งออกไทยปีหน้ามีการเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 จะผลักดันให้ เศรษฐกิจไทยปีหน้าเติบโตได้มากกว่าร้อยละ 3.5-4.5 ตามที่ สศช.ประมาณการไว้" นายอาคมกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2014 12:07 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่”แจงแผนยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม 8 ปี
โดย เมธา สกาวรัตน์
คอลัมน์ : ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ
วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม 2014 เวลา 20:48 น.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ คืนความสุข ให้คนในชาติ ว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์นี้ กระทรวงคมนาคมได้เสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ 8ปี ต่อ คณะรัฐมนตรี ซึ่งแบ่งเป็นการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทั้งหมด 5ด้าน ส่วนจะทำเมื่อไร อย่างไร ก็ว่ากันอีกครั้ง โดยทั้ง 5ด้าน ประกอบด้วย

1.การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง จะมีการปรับปรุงระบบอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ที่จะแยกเป็นโครงการระยะเร่งด่วน 6เส้นทาง คิดเป็นระยะทางรวม 903กม. คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2561และโครงการระยะที่ 2ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2560อีก 8เส้นทาง คิดเป็นระยะทางรวม 1,626กม.

นอกจากนี้ จะพัฒนาทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) ขนาด 1.435เมตร อีก 3เส้นทาง ที่เน้นการขนส่งเชื่อมโยงไปยังเขตอุตสาหกรรมและประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กรุงเทพฯ - นครราชสีมา - มาบตาพุด, กรุงเทพฯ - ระยอง และ นครราชสีมา - หนองคาย คิดเป็นระยะทาง 705กม.

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมจะเร่งการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาจราจรในพื้นที่ โดยระยะแรก จะเร่งรัดก่อสร้างใน 4สาย ได้แก่ สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ จะรีบดำเนินการให้เสร็จก่อนปี 2560สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค สายสีแดง บางซื่อ-รังสิต จะเร่งให้แล้วเสร็จในปี 2562และสายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ ให้เสร็จในปี 2563อีกทั้งจะเร่งกระบวนการประกวดราคา และศึกษารายละเอียดอีก 7เส้นทางเพิ่มเติม โดยจะพยายามเร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2564เพื่อช่วยให้การเดินทางของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตปริมณฑลให้สะดวกมากขึ้น

2.การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร โดยจะพัฒนาให้เชื่อมโยงไปทุกภูมิภาค และเชื่อมต่อไปยังจุดผ่านแดนต่างๆ ทั้งนี้ จะเร่งให้การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2560

3.การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน

4.การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ การพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ให้รองรับเรือได้มากขึ้น และจะพัฒนาให้เป็น "ศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ" โดยจะเริ่มดำเนินการในปีหน้าและจะให้แล้วเสร็จในปี 2560นอกจากนี้ รัฐบาลจะเร่งดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางน้ำ โดยจะพัฒนาตลิ่งและร่องน้ำในเขตแม่น้ำป่าสัก ให้สามารถขนส่งสินค้าทางเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.การพัฒนาการเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งทางอากาศ จะพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิให้มีพื้นที่ Terminal ลานจอดเครื่องบิน และอุโมงค์เชื่อมต่อ ทางวิ่งสำรองและอาคารจอดรถที่พักผู้โดยสารเพิ่มเติม ซึ่งจะดำเนินการในปี 2558 นี้ รวมถึงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ โดยการสร้างหลุมจอดเครื่องบินเพิ่มอีก 15 หลุม ซึ่งจะให้แล้วเสร็จในปีหน้า และการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารเพิ่มเติมที่มีแผนจะเริ่มดำเนินการในปีหน้าเช่นเดียวกัน


Last edited by Wisarut on 29/10/2014 8:30 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/10/2014 11:50 am    Post subject: Reply with quote

จีนรุกรัฐบาลประยุทธ์ขอลงทุนรถไฟยกเข่ง ฟื้นบาร์เตอร์เทรด"ไทย-จีน"ชง"ข้าว-ยาง"แลกรถไฟทางคู่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 27 ต.ค. 2557 เวลา 09:01:50 น.

จีนรุกรัฐบาลประยุทธ์ ขอลงทุนรถไฟยกเข่ง ทางคู่ 1-1.435 เมตร "กทม.-หนองคาย" เชื่อมไฮสปีดเทรนคุนหมิง-เวียงจันทน์ ทวงสัญญาตั้งบริษัทร่วมทุน งัดบาร์เตอร์เทรดซื้อข้าว-ยางพาราแลกค่าก่อสร้าง ทำแผนชง "นายกฯตู่" ถกผู้นำจีน พ.ย.นี้

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ได้รับมอบหมายให้รวบรวมรายละเอียดความร่วมมือกับประเทศจีน เพื่อพัฒนาระบบรถไฟทั้งการก่อสร้างรถไฟทางคู่ราง 1 เมตร รถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร ที่รัฐบาลมีแผนจะลงทุนก่อสร้างตามยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย เพื่อเสนอข้อมูลให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้เป็นข้อมูลประชุมร่วมกับผู้นำประเทศจีน 9-11 พฤศจิกายนนี้

"โดยการหารือกับจีนจะปรึกษาหารือกันในระดับนโยบาย เรื่องของแผนงาน แผนเงินที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และความสามารถในการที่จะได้มาซึ่งงบฯลงทุนอย่างไรบ้าง เช่น จ่ายเป็นรูปแบบเงินสด หรือสินค้าเกษตร คาดว่ารายละเอียดทั้งหมดจะได้ข้อสรุปก่อนนายกรัฐมนตรีไปจีน โดยกระทรวงการต่างประเทศ พาณิชย์ คลัง และคมนาคม รวบรวมข้อมูลแล้ว"

ฟื้นข้อตกลงบาร์เตอร์เทรด

"หลักในการเจรจาความร่วมมือกับจีน จะนำข้อมูลที่เป็นข้อตกลงระหว่างไทย-จีนตั้งแต่ปี"53 และปี"56 มาสานต่อในด้านความร่วมมือก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือในการชำระค่าก่อสร้างทั้งเงินสดหรือสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา และความร่วมมือในการจัดตั้งคณะทำงานศึกษารายละเอียดร่วมกัน โดยให้อยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบของทั้งสองประเทศ" พล.อ.อ.ประจินกล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศจีนกำลังใช้มาตรการเชิงรุกเข้มข้นเพื่อขอเป็นผู้ลงทุนระบบรถไฟในประเทศไทย ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้ปรับความเร็วจาก 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง มาเป็นรถไฟขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็ว 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง

โครงการระยะแรก สายหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด และแก่งคอย-บ้านภาชี-ชุมทางบางซื่อ ระยะทาง 1,060 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงของจีนที่จะสร้างจากคุนหมิงมายังนครเวียงจันทน์ สปป.ลาว แยกเป็น 3 ช่วง คือ 1.กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และนครราชสีมา-มาบตาพุด ระยะทาง 512 กิโลเมตร 2.ช่วงกรุงเทพฯ-ระยอง 193 กิโลเมตร 3.ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย 355 กิโลเมตร มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 21 ตุลาคมให้ความเห็นชอบแล้ว

"ตามแผนนำร่อง 2 สาย ช่วงกรุงเทพฯ-โคราช 252 กิโลเมตร กับกรุงเทพฯ-ระยอง 193 กิโลเมตร ผลศึกษาจะเสร็จกลางปีหน้า ถึงตอนนั้นจะรู้ว่าใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี"59 แล้วเสร็จปี"62-63" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

ย้อนรอยเอ็มโอยู 2 รัฐบาล

แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับข้อตกลง (MOU) เมื่อปี 2553 สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ไทยและจีนได้เซ็นเอ็มโอยูร่วมกันจัดตั้งบริษัทร่วมทุนรูปแบบรัฐวิสาหกิจ สัดส่วน 51 : 49 มีทุนจดทะเบียนเริ่ม 1 แสนล้านบาท โดยจะขอสัมปทานเช่าใช้เส้นทางจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 50 ปี ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ในมาตรา 190 แล้ว แต่รัฐบาลยุบสภาไปเสียก่อน

ต่อมาสมัยรัฐบาลเพื่อไทยปี 2555 ไทยและจีนได้เซ็นเอ็มโอยูพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง โดยจีนได้ศึกษารายละเอียดโครงการเบื้องต้นให้ประเทศไทยด้วยคือ สายกรุงเทพฯ-หนองคาย กับรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วิ่งด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง พร้อมกับถ่ายทอดความรู้ให้ 100 คน

นอกจากนี้ยังลงนามเอ็มโอยูระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ว่าด้วยโครงการความร่วมมือระดับรัฐบาลด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย ที่เชื่อมโยงกับการชำระค่าใช้จ่ายด้วยสินค้าเกษตร เมื่อเดือนตุลาคม 2556 โดยมีการลงนามซื้อข้าวจากไทย 1 ล้านตัน ระยะเวลา 5 ปี รวม 5 ล้านตัน และเพิ่มเติมอีกปีละ 1 ล้านตัน เป็นเวลา 2 ปี รวม 2 ล้านตัน ในราคาตันละ 13,000 บาท คิดเป็นมูลค่าประมาณ 26,000 ล้านบาท รวมถึงจีนจะรับซื้อยางพาราจากไทยปีละ 2 แสนตันด้วย แต่ไม่ทราบว่ารัฐบาลชุดนี้จะยังยืนยันข้อตกลงเดิม หรือมีการปรับเปลี่ยนนโยบายหรือไม่

พาณิชย์รอคำสั่ง

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานเกี่ยวกับการมอบหมายให้ ก.พาณิชย์ศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการซื้อขายแลกเปลี่ยน (บาร์เตอร์เทรด) สินค้าเกษตรและรถไฟฟ้าจากจีน

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำสั่งเรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ในการทำบาร์เตอร์เทรด สอดคล้องกับนางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ก็ไม่ได้รับทราบเรื่องดังกล่าวเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/10/2014 6:42 pm    Post subject: Reply with quote

"ประยุทธ์" แจงแผนพัฒนายุทธศาสตร์ 3 ล้านล้าน ต่างกับ 2 ล้านล้าน เพราะไม่กู้ล่วงหน้า
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 28 ต.ค. 2557 เวลา 17:25:27 น.

"ประยุทธ์" แจงแผนพัฒนายุทธศาสตร์ 3 ล้านล้าน ต่างกับ 2 ล้านล้าน เพราะไม่กู้ล่วงหน้า เน้นรถไฟทางคู่ ดูความเหมาะสมไฮสปีดเทรน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ถึงยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของไทย ว่า วันนี้ต้องชัดเจนว่าต้องเดินหน้าประเทศอย่างไร เรื่องการเชื่อมโยงภูมิภาค ต้องดูในอาเซียน เศรษฐกิจพิเศษต่อเนื่องกับประเทศเพื่อนบ้าน 5 จุด เช่น ลาว กัมพูชา มาเลเซีย จากนั้นดูถนนเส้นทางทำให้ดีขึ้น บริหารช่องทางศุลกากรให้ดีขึ้น เร็วขึ้น เพื่อเพิ่มการขนส่งสินค้าให้มากขึ้น ดังนั้น ต้องมุ่งเน้นเศรษฐกิจชายแดนให้มากขึ้น ส่วนการคมนาคมทางรางถ้ายังไม่เพียงพอต้องเพิ่มรางคู่กับเส้นทางเดิม เนื่องจากวันนี้รถไฟวิ่งสวนทางกันไม่ได้ รถไฟจึงวิ่งเร็วไม่ได้ ดังนั้น ต้องดูคู่กับการพัฒนาทั้งระบบ

ดูแผนรอบประเทศมีการสร้างเครือข่ายคมนาคมอย่างไร เหนือ ลาว เวียดนาม ต้องดูว่าจะต่อกับเส้นทางเหล่านั้นได้อย่างไร โดยเส้นทางเหล่านั้นอาจจะต้องเกิดขึ้นก่อน อาจมีการเจรจารัฐบาลต่อรัฐบาล เจรจากับคู่เจรจาที่ให้การช่วยเหลือเรา พูดถึงว่าเรามีสินค้าอะไรบ้างแลกเปลี่ยนกับเขา อย่ากังวลเราพยายามไม่ให้เป็นปัญหา

"การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3 ล้านล้าน วันนี้เราดูทางบก ราง เครื่องบิน สนามบิน คูคลองแหล่งน้ำ ท่าเรือ เราเอาทั้งหมดทบทวนใหม่ทั้งหมด อันไหนจำเป็น หรือไม่จำเป็น วันนี้รถไฟทางคู่ราง 1 เมตร กับราง 1.435 เมตร เพื่อเชื่อมต่อกับรอบประเทศ รถไฟความเร็วสูงควรจะเกิดขึ้นหรือยัง ถ้ายังก็ชะลอไว้ก่อนแต่ยังอยู่ในแผน ดังนั้น แผนงาน 3 ล้านล้านบาท ที่บอกว่าเงินมากขึ้นกว่าเดิมต่างกันเราวางเม็ดเงินเท่านี้แต่ยังไม่ได้ทำ ทำเป็นล็อต ๆ ไป อาจเป็น 6 หมื่นล้านบาทในช่วงแรก 1 แสนล้านในช่วงที่สอง ช่วงสามเอาเงินงบประมาณใส่ลงไป แต่ถ้ามีใครมาสนับสนุนเรามันก็ทำได้เร็วขึ้น ไม่ใช่ไปกู้เงินทั้งก้อนมาวางไว้ล่วงหน้าไว้เลยนี่คือความแตกต่าง เราทำ 8 ปี ทำที่ละสัญญา ไม่ได้กู้เงินล่วงหน้ามา" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2014 8:31 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดแผนยุทธศาสตร์ 3 ล้านล้าน เมกะโปรเจคท์พลิกประเทศไทย
ทีมข่าวเศรษฐกิจ
เดลินิวส์
วันอังคาร 28 ตุลาคม 2557 เวลา 00:00 น.

เริ่มมีความชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับโครงการลงทุนเมกะโปรเจคท์ตามยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของไทย

เริ่มมีความชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับโครงการลงทุนเมกะโปรเจคท์ตามยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของไทย ซึ่งล่าสุดกระทรวงคมนาคมระบุแล้วว่าอาจต้องใช้เงินลงทุนตั้งแต่ปี 58-65 เกิน 3 ล้านล้านบาท เพื่อพลิกโฉมให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค

ในรายละเอียดยุทธศาสตร์ยังมีความชัดเจนว่าจะใช้เวลาเพียง 8 ปีเท่านั้น จากเดิมที่เตรียมขยายเป็น 10 ปี เพราะรัฐบาลเห็นว่าเป็นโครงการที่จำเป็นต้องทำเร่งด่วน ซึ่งจะเริ่มลงทุนก้อนแรกในปี 58 ก่อน 6.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่ภาพรวมการลงทุนจะเน้นไปที่ระบบรางกว่า 2 ล้านล้าน หรือเกิน 60% ของงบลงทุนทั้งหมด รองลงมาก็เป็นการลงทุนถนน ทางอากาศ และทางน้ำ โดยมีรายละเอียด ดังนี้



พัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง

เริ่มจากการลงทุนระบบรางจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง ที่จะลงทุนไม่ต่ำกว่า 1.6 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการพัฒนารถไฟขนาดราง 1 เมตร จากทางเดี่ยวเป็นทางคู่ ระยะเร่งด่วนปี 58 จำนวน 6 เส้น รวม 903 กม. วงเงิน 129,308 ล้านบาท ได้แก่ ฉะเชิงเทรา-คลอง19-แก่งคอย (106 กม.) วงเงิน 11,272 ล้านบาท ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น (185 กม.) วงเงิน 26,007 ล้านบาท ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร (167 กม.) วงเงิน 17,292 ล้านบาท ลพบุรี-ปากน้ำโพ (148 กม.) วงเงิน 24,842 ล้านบาท มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ (132 กม.)วงเงิน 29,855 ล้านบาท และนครปฐม-หัวหิน (165 กม.) วงเงิน 20,038 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีอีก 8 เส้นทาง ระยะทาง 1,626 กม. ที่จะศึกษาในปี 58 ได้แก่ เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 90 กม. ปากน้ำโพ-เด่นชัย 285 กม. ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 309 กม. ขอนแก่น-หนองคาย 174 กม. ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 167 กม. สุราษฎร์ธานี-สงขลา 339 กม. หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45 กม. และเด่นชัย-เชียงใหม่ 217 กม. ซึ่งหากทำครบ 14 เส้นทางจะทำให้ไทยมีรถไฟทางคู่เพิ่มอีก 2,529 กม.

นอกจากการทำรถไฟทางคู่แล้ว ยังจะมีการลงทุนรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็ว 180 กม. ต่อชั่วโมง เป็นลักษณะรถไฟฟ้ากึ่งความเร็วสูง ที่จะใช้วิ่งเชื่อมเมืองขนส่งคนและสินค้าตั้งแต่หนองคาย-กรุงเทพฯ–ระยอง และเชื่อมต่อกับประเทศจีน-ลาว-ไทยด้วย แบ่งการลงทุนเป็น 3 ช่วง ได้แก่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และนครราชสีมา-มาบตาพุด ระยะทาง 512 กม. กรุงเทพฯ-ระยอง 193 กม. และนครราชสีมา-หนองคาย 355 กม. รวมระยะทาง 1,060 กม. โดยเริ่มศึกษาได้ปี 58 ก่อสร้างปี 60 และเสร็จปี 62-63 หลังจากนั้นยังมีแผนสร้างเส้นทางลงใต้กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่อีก



พัฒนาโครงข่ายรถไฟในเมืองหลวง

ถัดมาเป็นการพัฒนาโครงข่ายระบบรางในเมือง มีแผนสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 10 เส้นทาง รวม 464 กม. ลงทุนมากกว่า 4-5 แสนล้านบาท ประกอบด้วย เส้นทาง มธ.รังสิต-มหาชัย (80.8 กม.) ศาลายา-หัวหมาก (48 กม.) ยศเส-บางหว้า (15.5 กม.) บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ(42.8 กม.) ลำลูกกา-บางปู (66.5 กม.) แคราย-มีนบุรี (36 กม.) บางซื่อ-ท่าพระ-พุทธมณฑล สาย 4 (55 กม.) แอร์พอร์ตลิงค์ดอนเมือง-พญาไท (50.3 กม.) ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (37.5 กม.) 8 และลาดพร้าว-สำโรง (30.4 กม.)โดยโครงการทั้งหมดจะเริ่มก่อสร้างได้ปี 58-60 และทยอยเสร็จตั้งแต่ปี 60-64



พัฒนาระบบขนส่งทางถนน

ด้านระบบถนน จะใช้เงินลงทุนตลอด 8 ปี เกินกว่า 4 แสนล้านบาท มีโครงการสำคัญ เช่น การขยายทางหลวงเป็น 4 ช่องทางจราจร เริ่มปี 58-61 ได้แก่ กบินทร์บุรี-วังน้ำเขียว ตอน 3 ระยะ 15.51 กม. วงเงิน 1,600 ล้านบาท กบินทร์บุรี-ปักธงชัย 3 กม. 1,379 ล้านบาท กระบี่-ห้วยยอด 16.45 กม. วงเงิน 600 ล้านบาท บ้านบึง-บ้านค่าย 18.63 กม. 670 ล้านบาท บางปะกง-ฉะเชิงเทรา 3.25 กม.220 ล้านบาท

การพัฒนาทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ได้แก่ โพนพิสัย-บึงกาฬ ตอน 1 (30 กม.) วงเงิน 1,200 ล้านบาท ตาก-แม่สอด ตอน 3 (25.50 กม.) วงเงิน 1,400 ล้านบาท กาฬสินธุ์-สมเด็จ (11 กม.) วงเงิน 470 ล้านบาท ตราด-หาดเล็ก ตอน 2 (35 กม.) วงเงิน 1,400 ล้านบาท นอกจากนี้ยังสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ สายพัทยา-มาบตาพุด 32 กม.วงเงิน 16,700 ล้านบาท รวมถึงการจัดหารถโดยสารเอ็นจีวีให้กับ ขสมก. อีก 3,183 คัน 13,162

ล้านบาท ซึ่งทยอยรับรอบแรกได้ 489 คัน ในเดือน เม.ย.ปีหน้า



พัฒนาระบบขนส่งทางอากาศ

สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถทางอากาศ ใช้เงินลงทุนประมาณ 1.3 แสนล้านบาท โครงการใหญ่สุดเป็นการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิปี 58-61 เพื่อเพิ่มความจุผู้โดยสารจาก45 ล้านคนต่อปี เป็น 65 ล้านคน ใช้เงินลงทุนกว่า 79,000 ล้านบาท อาทิ การสร้างทางวิ่งสำรองด้านทิศตะวันตก 16,100 ล้านบาท งานระบบพื้นที่ปฏิบัติการด้านการบิน 40,745 ล้านบาท งานอาคารที่พักผู้โดยสารอเนกประสงค์ 7,405 ล้านบาท และงานระบบสาธารณูปโภค 2,693 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีแผนปรับปรุงท่าอากาศยานดอนเมือง ในส่วนตัวอาคารอีก 15,000 ล้านบาท ให้รองรับผู้โดยสารเพิ่มจาก 18.5 ล้านคนต่อปี เป็น 30 ล้านคน การปรับปรุงท่าอากาศยานภูเก็ต ด้วยการเพิ่มทางขับ 1 เส้น เพิ่มหลุมจอดเป็น 21 หลุม รองรับผู้โดยสาร 12.5 ล้านคน ในปี 58 และสร้างอาคารผู้โดยสารชั่วคราวเพิ่มในปี 61 อีก 2,851 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมีแผนลงทุนพัฒนาสนามบินแม่สอด จ.ตาก การปรับปรุงสนามบิน จ.กระบี่ สนามบินอู่ตะเภา จ.ชลบุรี ให้ใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้เพิ่มเติม

พัฒนาระบบขนส่งทางน้ำ

ส่วนการลงทุนทางน้ำ จะมีการพัฒนาทั้งทางทะเลและแม่น้ำ วงเงินรวม 76,666 ล้านบาท โดยโครงการเร่งด่วนปี 58-60 ได้แก่ การพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่งแหลมฉบัง ความยาวหน้าท่า 125 เมตร และ 120 เมตร วงเงิน 1,864 ล้านบาท การพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบังระยะแรก 2,944 ล้านบาท โครงการเพิ่มประสิทธิภาพขนส่งสินค้าในแม่น้ำป่าสัก ทำแนวป้องกันตลิ่งเพื่อพัฒนาร่องน้ำทางเรือเดิน (ระยะที่ 1) 2,220 ล้านบาท

สำหรับขั้นตอนการจัดทำเมกะโปรเจคท์หลังจากนี้ พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ระบุว่า “ต้องรอสรุปขั้นสุดท้ายก่อน เพราะยังมีอีกบางโครงการที่ต้องปรับรายละเอียด แต่ตั้งใจจะทำรายละเอียดทั้งตัวโครงการ วงเงิน ที่มาของแหล่งเงิน ให้เสร็จเป็นแผนปฏิบัติการก่อนวันที่ 10 พ.ย.นี้ เพื่อส่งให้ ครม.อนุมัติได้ในกลางเดือนเดียวกัน หากผ่านก็จะเดินหน้าการลงทุนได้ทันที”

แต่ในความเป็นจริงแม้โครงการจะผ่านไฟเขียวจาก ครม.แล้ว แต่สิ่งที่รัฐบาลจะลืมไม่ได้ คือการตอบข้อสงสัยจากสังคมให้เคลียร์ เพราะยิ่งโครงการนี้ใช้เงินถึง 3 ล้านล้าน มากกว่าโครงการของรัฐบาลชุดก่อน 2 ล้านล้านที่ถูกโจมตีเละเทะ ก็ยิ่งทำให้รัฐบาลต้องทำการบ้านหนักกว่าเดิม เพื่อชี้แจงให้ได้ว่า ตัวเงินที่มากกว่ามีความจำเป็น และคุ้มค่าแค่ไหน ที่มาของแหล่งเงิน ภาระหนี้สินและความโปร่งใสในการลงทุนเป็นอย่างไร เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาชนอยากรู้ไม่แพ้โครงการสวยหรูที่จะเกิดขึ้นเช่นกัน.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 21, 22, 23 ... 121, 122, 123  Next
Page 22 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©