Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180604
ทั้งหมด:13491839
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/11/2014 9:41 pm    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กจิน”เร่งเครื่องรถไฟทางคู่กทม.-หนองคายเชื่อมจีน ชงครม.เห็นชอบเอ็มโอยู ยกเลิกเงื่อนไขรบ.ชุดที่แล้ว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤศจิกายน 2557 18:45 น.

“ประจิน”เผยเตรียมชงครม.18 พ.ย.นี้ เห็นชอบกรอบเอ็มโอยู ไทย-จีนพัฒนารถไฟทางคู่รางมาตราฐาน 1.435 เมตรเส้นทาง หนองคาย-แก่งคอย-บ้านภาชี-บางซื่อ วงงิน 4 แสนล. เล็งยกเลิกข้อตกลงแลกสินค้าเกษตรเดิม เปิดทางจีนหาแหล่งเงินทุน คาดตั้งคณะทำงานร่วมเริ่มสำรวจแนวเส้นทาง ออกแบบ ม.ค. 58 นี้ เล็งดึงญี่ปุ่น เกาหลีร่วมพัฒนาสนามบินและบริหารจัดการน้ำ พร้อมกันนี้ได้เร่งสรุปแผนพัฒนาโครงข่ายถนน และสนามบิน 6 ด่านศก.พิเศษ

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า แนวทางความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับจีน ในการพัฒนาเส้นทางรถไฟซึ่งจีนมีความต้องการฟื้นเส้นทางสายไหมเชื่อมจากเวียงจันทน์ต่อกับไทยที่หนองคาย เส้นทาง กรุงเทพ –หนองคาย ระยะทางรวม 867 กม.ซึ่งจะเป็นรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) แบ่งเป็นช่วงหนองคาย-แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 734 กม. และช่วงแก่งคอย-บ้านภาชี-บางซื่อ ระยะทาง 133 กม. วงเงินลงทุนรวมประมาณ 4 แสนล้านบาท โดยจะเป็นความร่วมมือแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยจะจัดทำกรอบบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ว่าด้วยความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างไทย-จีน เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นขอบในหลักการ ในการประชุม วันที่ 18 พฤศจิกายน หรืออย่างข้าไม่เกินสัปดาห์ต่อไป เพื่อเสนอต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)พิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และลงนามในเอ็มโอยูร่วมกัน ให้ได้ภายในเดือนธันวาคมนี้ที่ประเทศจีน เพื่อให้มีผลทางปฎิบัติในเดือนมกราคม 2558 โดยทั้ง 2 ฝ่ายจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันในการสำรวจออกแบบและประมาณการราคาค่าก่อสร้างที่ชัดเจน

โดยขณะนี้มี 2 แนวคิดที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาคือ ยกเลิกข้อตกลงในเอ็มโอยูของรัฐบาลเดิม ที่เคยลงนามมาก่อนหน้านี้ซึ่งมีข้อตกลงการใช้สินค้าเกษตร ข้าว ยางพาราของไทย แลกกับการให้จีนลงทุนโครงการพื้นฐาน หรือ 2. คงเงื่อนไขใน เอ็มโอยู ฉบับเก่า ที่เป็นประ โยชน์ไว้ รวมกับเอ็มโอยูที่จะมีการลงนามใหม่ โดยหลักการ จะไม่มีรูปแบบการใช้สินค้าเกษตรแลกเปลี่ยนแล้ว

สำหรับรูปแบบการลงทุนในเอ็มโอยูไทย-จีน จะมี 3แนวทาง โดยจะเป็นการร่วมลงทุน โดยไทยจะมีสัดส่วนน้อยกว่าจีน เช่น 20 ต่อ 80 หรือ 15 ต่อ 85 หรือ 0 ต่อ100 โดยมีหลายแนวทางเช่น การร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (Public–Private Partnership หรือ PPP) ซึ่งเอกชนในที่นี้หมายถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของจีนที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานก่อสร้าง หรือ Build-Operate-Transfer Contract หรือ BOT คือ เอกชนเป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง บริหาร พร้อมให้สัมปทานบริหารและเก็บค่าบริการ จนครบอายุสัมปทาน จะโอนกรรมสิทธิ์ให้กับรัฐบาลไทย 3. Engineering Procurement Construction and Finance หรือ EPC&F คือให้เอกชนลงทุนสำรวจออกแบบก่อสร้าง และบริหาร จัดการ จัดเก็บค่าบริการ เพื่อชำระหนี้ โดยในข้อตกลงจีนจะเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินทุนให้

“ในแง่ของการลงทุน ไทยกับจีนจะร่วมกันแต่เราลงน้อยกว่า และเราจะเลือกรัฐวิสาหกิจของจีนที่มีอยู่ 5หน่วย ว่าจะใช้หน่วยไหนมารับผิดชอบงานก่อสร้าง ซึ่งหลังจากลงนามเอ็มโอยูร่วมกันเดือนมกราคม 2558 จะเริ่มต้นสำรวจแนวเส้นทาง ออกแบบ และประเมินค่าก่อสร้างให้ชัดเจน โดย 4 แสนล้านเป็นกรอบคร่าวๆ ที่วางไว้เบื้องต้น ต้องรอการสำรวจรายละเอียดจึงจะได้วงเงินลงทุนที่ชัดเจน”พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือไทย-จีน ขณะนี้มีเส้นทางรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1 เส้นทาง และในเดือนธันวาคมนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการหารือในการร่วมมือพัฒนา ท่าอากาศยาน และท่าเรือร่วมกัน รวมถึงความร่วมมือกับประเทศอื่น เช่น เกาหลี ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น

***เร่งสรุปแผนพัฒนาโครงข่ายถนน และสนามบิน 6 ด่านศก.พิเศษ

นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมได้มีการประชุมเพื่อสรุปแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษระยะเร่งด่วน 5 พื้นที่ 6 ด่าน เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) บริเวณชายแดน ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ ในการเชื่อมโยงโครงข่ายด้านคมนาคมและด่านศุลกากร ซึ่งจะเริ่มมีการพัฒนาในปีงบประมาณ 2558 เช่นการสำรวจ ออกแบบ เวนคืน และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่วนปี 2559 จะต้องเร่งทำแผนงานให้ชัดเจนให้แล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2558 เพื่อบรรจุให้ทันกับงบประมาณปี 2559
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2014 11:40 am    Post subject: Reply with quote

จีนทุ่ม 4 แสนล้านเชื่อมรถไฟ “ประจิน” ชง ครม.อนุมัติแผนร่วมทุนสองประเทศ
หน้า เศรษฐกิจ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 14 พ.ย. 2557 06:15




“ประจิน” เสนอแผนร่วมมือโครงสร้างพื้นฐานไทย-จีน เข้า ครม.18 พ.ย.นี้ ก่อนเซ็นเอ็มโอยูในเดือน ธ.ค. ย้ำเดินหน้ารถไฟฟ้ากึ่งเร็วสูงเชื่อมไทย-ลาว-จีน แบบจีทูจี ประเดิมสายกรุงเทพฯ-โคราช 4 แสนล้านบาท เริ่มปี 58 จีนทุนหนักควักให้ 80-100% ไทยผ่อนทีหลัง ไม่เอี่ยวสินค้าเกษตร แย้มข่าวดีร่วมมือญี่ปุ่นเพิ่ม น้ำ พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมเตรียมนำเสนอหลักการความร่วมมือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ในวันที่ 18 พ.ย.นี้ หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้หารือกับผู้นำจีน ในช่วงที่เดินทางไปร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบที่จะทำยุทธศาสตร์ร่วมกัน ซึ่งจีนจะเป็นยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมจากจีนสู่อาเซียน ขณะที่ไทยจะเป็นยุทธศาสตร์เชื่อมไทยกับอาเซียน

ทั้งนี้ การประชุมร่วมกันกับผู้นำจีนได้พูดถึงเส้นทางเชื่อมต่อจากลาว โดยเห็นชอบที่จะก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน (สแตนดาร์ด เกจ) 1.435 เมตร ร่วมกันระหว่างจีนและไทยใน 3 ช่วง คือ

ช่วงหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย
ช่วงแก่งคอย-กรุงเทพฯ และ
ช่วงแก่งคอย-ชลบุรี-มาบตาพุด

รวมระยะทาง 867 กิโลเมตร โดยขั้นตอนหลังจากนี้จะมีการตั้งคณะทำงานเจรจา กำหนดรายละเอียดเส้นทางเพื่อให้เริ่มดำเนินการศึกษาและออกแบบได้ปี 2558 และเริ่มก่อสร้างปี 2559 เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ใช้เงินลงทุน 400,000 ล้านบาท

“ตอนนี้ชัดเจนแล้วว่าความร่วมมือจะเป็นแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยมีเส้นทางรถไฟที่จะก่อสร้างแน่นอนเป็นรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน ความเร็ว 160-180 กม.ต่อชั่วโมง ซึ่งจากนี้จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมไทย-จีน ในระดับ รมว.คมนาคมกับผู้อำนวยการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีน เพื่อผลักดันเรื่องนี้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และทั้ง 2 ฝ่าย จะมีการลงนามเอ็มโอยูร่วมกันในเดือน ธ.ค.นี้ ช่วงที่คณะของไทยจะเดินทางไปจีน เพื่อให้มีผลบังคับเดือน ม.ค.2558”

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า การร่วมมือครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร เพราะเป็นการลงทุนสร้างทางรถไฟร่วมกันเท่านั้น โดยความร่วมมือลงทุนมี 3 แนวทาง คือ รูปแบบพีพีพี คือ ภาครัฐและเอกชนร่วมดำเนินการ ซึ่งเป็นไปได้น้อย รูปแบบบีโอที คือสัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งสร้างแล้วนำไปบริหารจัดการจนครบสัญญาแล้วโอนกลับคืน และอีซีพีแอนด์เอฟ คือการที่จีนเข้ามาร่วมลงทุนก่อสร้าง แต่ให้ไทยเป็นผู้บริหารจัดการ และไทยค่อยชำระเงินคืนให้กับจีนระยะยาว ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นมากสุด สำหรับสัดส่วนการลงทุนจีนอาจมากถึง 80-100% ขณะที่ไทยจะลงทุนไม่เกิน 20% แต่ยังไม่สรุป

นอกจากนี้ กลางเดือน ธ.ค. คณะนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่น และอาจมีข่าวดีเกี่ยวกับความร่วมมือทั้ง 2 ประเทศ โดยจะนำเรื่องโครงการบริหารจัดการน้ำ พลังงาน และโครง-สร้างพื้นฐานไปหารือด้วย ขณะเดียวกันยืนยันว่า การดำเนินโครงการจะเปิดกว้างให้ทุกประเทศที่สนใจไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน หรือยุโรป เพราะกระทรวงคมนาคมยังมีอีกหลายโครงการที่ต้องดำเนินการ

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคมว่า แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ปี 2558-2565 ที่กระทรวงคมนาคมกำลังจัดทำอยู่ คาดว่าจะใช้เงินทุนสูงเกิน 3 ล้านล้านบาท ครอบคลุมทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และอากาศ โดยกรอบวงเงินและโครงการที่มีความชัดเจนแล้ว แบ่งเป็นทางถนน 400,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นโครงการเร่งด่วนประมาณ 100,000 ล้านบาท ทางรางประมาณ 2 ล้านล้านบาท ทางอากาศ 110,000 ล้านบาท และทางน้ำ 76,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีโครงการอยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมด้วย สำหรับที่มาของแหล่งเงินทุนจะนำมาจาก 4 แหล่งเหมือนเดิม ได้แก่ การใช้งบประมาณของรัฐ การกู้เงินทั้งในและต่างประเทศ การร่วมทุนรัฐและเอกชน และการใช้กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะใช้แนวทางใด

ทั้งนี้ โครงการเร่งด่วนที่จะดำเนินการแน่นอน เช่น การก่อสร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร เส้นทางแรก คือ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และนครราชสีมา-มาบตาพุด กรุงเทพฯ-ระยอง และนครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งจะนำเสนอ ครม.และสร้างให้เสร็จใน 4 ปี การก่อสร้างรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง เช่น ฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย (106 กม.) วงเงิน 11,272 ล้านบาท ชท.ถนนจิระ-ขอนแก่น (185 กม.) วงเงิน 26,007 ล้านบาท ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร (167 กม.) วงเงิน 17,292 ล้านบาท เป็นต้น

นอกจากนี้ มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลรวม 10 สาย ระยะทาง 464 กม. ใช้เงินลงทุนมากกว่า 400,000-500,000 ล้านบาท ส่วนทางอากาศ จะมีการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต สนามบินอู่ตะเภา ขณะที่โครงการสร้างถนน มีโครงการเร่งด่วนสร้างและขยายถนนทางหลวงระหว่างประเทศกับเพื่อนบ้าน และขยายถนนทางหลวงในประเทศเป็น 4 เลน สำหรับทางน้ำ จะมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ปาก-บารา จ.สตูล ฝั่งอันดามัน เพื่อเชื่อมโยงกับท่าเรือสงขลา 2 ทางฝั่งอ่าวไทย การพัฒนาท่าเรือแม่น้ำป่าสัก เป็นต้น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/11/2014 6:55 pm    Post subject: Reply with quote

'อังกฤษ-ฝรั่งเศส'สนใจร่วมลงทุนรถไฟทางคู่
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 16:06

"อังกฤษ-ฝรั่งเศส" สนใจร่วมลงทุนรถไฟทางคู่ หวังเพิ่มความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับไทย

นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวภายหลังที่ นาย Roger Godsiff ประธานสมาชิกรัฐสภาของอังกฤษ ซึ่งเป็นกลุ่มมิตรภาพอังกฤษ-ไทย (Chairnam of All-Party Parliament Group หรือ APPG พร้อมด้วยนาย Graham Brady และ นาย David Amess สมาชิกรัฐสภาอังกฤษ เดินทางเข้าพบ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายมาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยร่วมด้วย โดยการหารือครั้งนี้ ทางสมาชิกรัฐสภาอังกฤษแสดงความยินดีในพัฒนาการทางการเมืองของไทย และการเดินหน้าตามโรปแมปที่ประกาศไว้ รวมทั้งกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ได้เล่าว่า ในขณะนี้ไทยได้จัดตั้ง สนช. สปช. และนำไปสู่สภาร่างรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน ทางสมาชิกรัฐสภาอังกฤษพร้อมส่งผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกระบวนการปฏิรูปประชาธิปไตยของไทย

นายเสข กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สมาชิกรัฐสภาอังกฤษต้องส่งเสริมนโยบายการลงทุน การค้าระหว่างกันให้มากขึ้น เพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชนของสองประเทศ โดยทางอังกฤษสนใจจะร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในไทย เนื่องจากคำนึงถึงบทบาทไทยในภูมิภาคในการเชื่อมโครงโครงสร้างคมนาคม เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในภูมิภาค อีกทั้งไทยและอังกฤษพร้อมจะร่วมมือกันให้ความรู้ทางวิชาการกับประเทศในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม พล.อ.ธนะศักดิ์ได้แจ้งให้อังกฤษทราบเรื่อง พรบ.การประกอบธุรกิจแรงงานต่างด้าว ซึ่งอยู่ระหว่าง สปช.ทำการศึกษา ถ้าทางอังกฤษมีประเด็นที่ห่วงกังวล และมีข้อเสนอแนะในเรื่องใด ก็ขอให้ส่งมา เพื่อให้กฎหมายอำนวยด้านการค้ากับนักลงทุนต่างชาติมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นายเสข กล่าวต่อว่า ในวันเดียวกัน นายฟิลลิป วาแรง ผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสได้เข้าพบ พลเอกธนะศักดิ์ ในโอกาสที่นายวาแรง เดินทางเยือนไทย ในการเป็นประธานเปิดงานเวทีประชุมที่ปรึกษาด้านการค้าต่างประเทศระหว่างฝรั่งเศส กับเอเชีย จะจัดขึ้นในวันที่ 17 พ.ย. 2557 ซึ่งมีนักธุรกิจฝรั่งเศส อาเซียน และหลายประเทศในเอเชีย เข้าร่วมกว่า 300 คน ที่ประเทศไทย

นายเสข กล่าวด้วยว่า ในการพบปะกันระหว่าง พล.อ.ธนะศักดิ์ และผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสครั้งนี้ นายวาแรง ได้ย้ำถึงความสำคัญบทบาทไทยในการเป็นศูนย์กลางทางภูมิภาค ใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งผู้แทนพิเศษของรมต.ฝรั่งเศสแสดงความเชื่อมั่นด้านการค้าการลงทุนและสนใจร่วมมือกับประเทศไทยในด้านต่างๆ ได้แก่ การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมีนักท่องเที่ยวฝรั่งเศสเดินทางมาไทย 6 แสนคนต่อปี ฝรั่งเศสจึงมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในไทย ต้องการส่งเสริมให้นักธุรกิจไทยไปลงทุนไทยในฝรั่งเศส ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทไทยไปลงทุนในฝรั่งเศสแล้ว เช่น บริษัทกระดาษดับเบิ้ลเอ บริษัท ปตท. ซึ่งในปัจจุบัน มีบริษัทฝรั่งเศสมี 300 กว่าบริษัทในไทย มีการว่าจ้างงานคนไทยประมาณ 7 หมื่นคน ขณะเดี่ยวกัน มีคนฝรั่งเศสในไทยราว 2 แสนคน

นายเสข กล่าวว่า ขณะเดียวกันฝรั่งต้องการการขยายสินค้าส่งออกมายังประเทศไทย รวมทั้งการบริการในไทย อาทิ ด้านเทคโนโลยีเภสัชศาสตร์ พยาบาล พลังงาน การเกษตร นอกจากนี้ ทางฝรั่งเศสสนับสนุนให้นักศึกษาไทยเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสมากขึ้นกว่าเดิม โดยแสดงความพร้อมให้ทุนแก่นักเรียนทุนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการพบปะกันครั้งนี้ ทั้งอังกฤษและผรั่งสนใจร่วมสนใจลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะรถไฟทางคู่ โดยพลเอก ธนะศักดิ์ ขอให้เขียนแผนเสนอมายังประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/11/2014 3:07 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเตรียมชงโครงการรถไฟรางคู่ร่วมกับจีนเข้า ครม.พรุ่งนี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2557 14:27 น.

ในวันพรุ่งนี้ (18 พ.ย.) พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเสนอโครงการความร่วมมือสร้างรถไฟรางคู่ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยจะเสนอหลักการความร่วมมือที่จะดำเนินการกับประเทศจีน หลังจากนั้นจึงจะร่วมมือกับจีนกำหนดกรอบความร่วมมือให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตั้งเป้าเดินทางไปลงนามเอ็มโอยู (บันทึกความเข้าใจ) ในเดือนธันวาคมนี้ที่ประเทศจีนจากนั้นไทย และจีนจะเริ่มเดินหน้าโครงการภายใต้ความร่วมมืออย่างจริงจังต่อไป

สำหรับโครงการดังกล่าว จะเป็นการลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ใน 3 ช่วง คือ ช่วงหนองคายนครราชสีมา-แก่งคอย ช่วงแก่งคอย-กรุงเทพฯ และช่วงแก่งคอย-ชลบุรี-มาบตาพุด รวมระยะทางประมาณ 867 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟจากจีนผ่านลาวเข้ามาในไทย หลังตั้งคณะทำงานเจรจากำหนดรายละเอียดเส้นทางในปี 2558 แล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2559

เบื้องต้นจะใช้เงินลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท เป็นระบบรถไฟฟ้าที่สามารถวิ่งให้บริการได้ด้วยความเร็ว 160-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความร่วมมือจะเป็นแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ส่วนรูปแบบการลงทุนพิจารณาไว้ 3 รูปแบบคือ พีพีพี คือ รัฐเอกชนร่วมดำเนินการ แต่ พล.อ.อ.ประจิน ระบุว่า จะไม่ใช่ทางเลือกแรกแน่นอน บีโอที หรือสร้างและเดินรถแล้วยกให้รัฐถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง และอีซีพีแอนด์เอฟ คือ การที่จีนเข้ามาลงทุนก่อสร้างแล้วทางไทยเป็นผู้บริหารจัดการเอง โดยไทยชำระเงินคืนให้กับจีนในระยะยาว หรือเป็นการให้จีนลงทุนก่อสร้าง และไทยบริหารจัดการ และชำระเงินคืน ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกดีที่สุดสำหรับสัดส่วนการลงทุนอาจจะกำหนดให้จีนลงทุน 85% ไทย 15% หรือไทย 20% จีน 80% หรือจีน 100% ไทย 0%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2014 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
เห็นสัดสวนเช่นนี้แล้วกลุ้มใจหนอ เล่น 80-20 อย่างไรก็ไม่พ้นสิ่งที่คล้ายๆกะมาตรา 90 เด้ออ้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/11/2014 3:18 pm    Post subject: Reply with quote

"ประยุทธ์" เผยครม.ไฟเขียวจับมือรัฐบาลจีนทำเส้นทางรถไฟร่วมกันแบบจีทูจี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 18 พ.ย. 2557 เวลา 14:29:21 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 18 พ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่หน้าตึกบัญชาการ 1 โดยกล่าวว่า ครม.เห็นชอบกับกระทรวงคมนาคมในเรื่องความร่วมมือกับรัฐบาลจีน ในการทำเส้นทางรถไฟร่วมกัน โดยจะจัดทำแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี ซึ่ง ครม.เห็นชอบให้จะมีการเร่งรัดโครงการนี้โดยเร็ว

นายกฯกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ความร่วมมือกับจีน ยังมีประเด็นที่จีนจะซื้อผลผลิตทางการเกษตรจำนวนหนึ่งจากไทยด้วย เนื่องในวาระครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน 40 ปี

----

ครม.เห็นชอบสร้างรถไฟรางคู่ ยันเป็นความร่วมมือรัฐต่อรัฐ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2557 15:21 น.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า วันนี้ (18 พ.ย.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีหารือร่างพระราชบัญญัติภาษีมรดก ตามที่กระทรวงการคลังแล้ว พบว่ายังมีรายละเอียดที่ต้องศึกษาอีกมาก และต้องใช้เวลาศึกษาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรียังมีมติเห็นชอบการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ตามมาตรฐานยุโรป ขนาด 1.435 เมตร เส้นทางแรกคือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา นครราชสีมา-มาบตาพุด กรุงเทพฯ-ระยอง และนครราชสีมา-หนองคาย โดยจะสร้างให้แล้วเสร็จใน 4 ปี ซึ่งนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าเป็นความร่วมมือแบบรัฐต่อรัฐ ไม่ผ่านบริษัทเอกชน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/11/2014 12:12 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.สั่งคมนาคมร่างMOUไทย-จีน ฉบับรถไฟและฉบับสินค้าเกษตร


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 18 พฤศจิกายน 2557 21:39 น.


ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.เห็นชอบ คมนาคมและพาณิชย์ จัดทำร่างเอ็มโอยู ไทย-จีน 2 ฉบับ รถไฟและฉบับสินค้าเกษตร โดยให้เสนอร่างเอ็มโอยูเห็นชอบในสัปดาห์หน้า “ประจิน”เผย มติเดิมให้ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ดำเนินการแต่รองนายกฯยังอยู่ต่างประเทศจึงให้คมนาคมและพาณิชย์จัดทำ นอกจากนี้ ครม.ไฟเขียวออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินสร้างรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้(18 พ.ย.) ได้มีมติเห็นชอบหลักการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ตามที่ได้มอบหมายให้มีการแยกข้อตกลงเป็น 2 ฉบับ คือ ร่างเอ็มโอยูความร่วมมือ ไทย-จีน เรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรือโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่

และร่างเอ็มโอยูความร่วมมือไทย-จีน เรื่องการซื้อขายสินค้าเกษตร โดยประสงค์ให้ 2 ฝ่ายคือไทย-จีน ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้เพื่อให้นำร่างเอ็มโอยูที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน เสนอครม.เห็นชอบในการประชุมครม.วันที่ 25 พฤศจิกายน ต่อไป

“เป็นเรื่องเดิมที่ก่อนหน้านี้ครม.ได้เคยเห็นชอบไปแล้ว โดยมอบหมายให้ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ไปดำเนินการจัดทำ ร่างเอ็มโอยู 2 ฉบับและนำเสนอครม. แต่เนื่องจากรองนายกฯยังอยู่ระหว่างเยือนต่างประเทศหลายวัน และเป็นช่วงที่นายกฯเพิ่งกลับจากจีน จึงเป็นจังหวะที่ควรจะเดินหน้า ครม.จึงเห็นชอบให้ไปจัดทำร่างเอ็มโอยู ฉบับ โครงสร้างพื้นฐานและฉบับสินค้าเกษตร ซึ่งตัดมติเดิมที่มอบให้รองนายกฯเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งทั้งไทย-จีน มีคณะทำงานอย่างไม่เป็นทางการ เจรจาร่วมกันแล้ว ซึ่งในส่วนของรถไฟที่กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบ พร้อมจะนำเสนอครม.ขอความเห็นชอบร่างเอ็ทโอยูได้ในวันที่ 25 พฤศจิกายนแน่นอน และพร้อมที่จะเสนอต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)พิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทันที”พล.อ.อ.ประจินกล่าว

โดยร่างเอ็มโอยูความร่วมมือด้านรถไฟนั้น มาจากหลักยุทธศาสตร์ เส้นทางสายไหมของจีน ยุทธศาสตร์การเชื่อมเครือข่ายของไทยที่เส้นทางจะมาเชื่อมต่อกัน และความสัมพันธ์ไทย-จีนและเอ็มโอยูที่รัฐบาลไทย -จีนเคยมีต่อกัน เห็นควรให้จีนมาร่วมดำเนินการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน1.435 เมตร (Standard Gauge) แบ่งเป็นช่วงหนองคาย-แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 734 กม.และช่วงแก่งคอย-บ้านภาชี-บางซื่อ ระยะทาง 133 กม. โดยจะให้มีคณะทำงาน โดยรถไฟจะมอบหมายให้รมว.คมนาคมเจรจารายละเอียด ส่วนสินค้าเกษตร จะมอบให้รมว.พาณิชย์เจรจารายละเอียด ส่วนกรณีที่จีน จะซื้อข้าวจากไทยนั้น เป็นเอ็มโอยูอีกฉบับที่ไม่เกี่ยวกับเอ็มโอยูการก่อสร้างทางรถไฟ

ด้านนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมครม.ยังได้มีมติอนุมัติหลักการร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ 5 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.เส้นทางรถไฟสายเหนือ ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ จำนวน4 ฉบับ เพื่อสร้างทางและสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 2. เส้นทางชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น รวม 4 ฉบับ
เพื่อสร้างทางและสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ ตามโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ

3.สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ รวม 15 ฉบับ 4.สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน รวม 19 ฉบับ และ 5.สายใต้ ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร รวม 8ฉบับ นอกจากนี้ยังได้อนุมัติหลักการร่างพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในตำบลจันทึก จังหวัดนครราชสีมา เพื่อสร้างทางสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟและทางรถไฟทางคู่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/11/2014 7:38 pm    Post subject: Reply with quote

คาดนายกฯลงนามสร้างรถไฟทางคู่กับจีนเดือนหน้า
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 12:05


"สร้อยทิพย์" คาด "นายกรัฐมนตรี" จะลงนามก่อสร้างรถไฟทางคู่หนองคาย-มาบตาพุดกับรัฐบาลจีน เดือนธ.ค.นี้



นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงฯอยู่ระหว่างการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ(MOU) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วานนี้มีมติให้ความเห็นชอบในหลักการแล้ว และคาดว่าจะเสนอให้ ครม.อนุมัติในสัปดาห์ก่อนจะส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ตรวจสอบข้อกฎหมายและประเด็นต่างๆ จากนั้นจะมีการลงนามร่วมกับรัฐบาลจีน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีกำหนดเดินทางเยือนจีนในเดือน ธ.ค.นี้

สาระสำคัญภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทย-จีนจะพัฒนาโครงการสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตรเส้นทางจากหนองคาย-แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 734 กม.และ กรุงเทพ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กม. รวมระยะทาง 867 กม. ซึ่งทางจีนจะจัดหาเงินลงทุนให้ พร้อมกับรับผิดชอบโครงการก่อสร้างทั้งงานโยธาและงานวางราง ส่วนทางฝ่ายไทยจะเป็นผู้บริหารโครงการ

นางสร้อยทิพย์ กล่าวว่า หลังจากการลงนามใน MOU ร่วมกันแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลงานก่อสร้างโครงการดังกล่าว โดยจะมีตัวแทนทั้งจากฝ่ายจีนและไทย รวมทั้งนักวิชาการที่จะเข้ามาร่วมออกแบบและประเมินเงินลงทุน ซึ่งจะมีการหารือถึงรายละเอียดในทุกด้าน และส่วนสำคัญคือแนวทางการชำระเงินคืนให้กับจีนด้วย ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมจะเร่งดำเนินโครงการนี้ให้สามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 59

"จีนจะรับผิดชอบเรื่องการก่อสร้างโครงการ ส่วนเงินจีนเป็นคนหาให้ ส่วนเราจะใช้คืนอย่างไรต้องหารือกัน ที่จะหารือกันในคณะกรรมการร่วมกันจะมีความพยายามอย่างสูงสุดที่จะเริ่มก่อสร้างให้ได้ในปี 59"นางสร้อยทิพย์ กล่าว
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=jhzUXq3FHjU
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/11/2014 10:18 am    Post subject: Reply with quote

เตรียมร่วมญี่ปุ่น ผุด‘ไฮสปีดเทรน’ ทาง867กิโลเมตร
ไทยโพสต์
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2557 - 00:00

“ประยุทธ์” เตรียมเยือนญี่ปุ่นช่วงปลายปี คาดจับมือสร้าง “ไฮสปีดเทรน” เส้นใหม่ ตาก-มุกดาหาร เชื่อมฝั่งตะวันตกและตะวันออกของประเทศ ส่ง “บิ๊กป้อม-สมคิด” นำร่องเจรจาเหมือนคราวจีน “ประจิน” แจงรถไฟจีทูจีจีนเร็วปรื๋อเพราะเป็นเรื่องต่อเนื่อง ซ้ำสอดคล้องแผนพัฒนาม้าเหล็กดินแดนมังกร
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า ในช่วงเดือนธันวาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะมีภารกิจระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ 1 ธ.ค. จะเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ, วันที่ 11-12 ธ.ค. จะร่วมประชุมอาเซียน-เกาหลี ที่ประเทศเกาหลีใต้ และวันที่ 19-20 ธ.ค. จะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (จีเอ็มเอส) และในช่วงปลายเดือนอาจจะมีการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่ได้มีการหารือทวิภาคีในระหว่างประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป หรืออาเซม ครั้งที่ 10 เมื่อเดือน ต.ค.

แหล่งข่าวกล่าวว่า การไปเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ อาจมีการทำความตกลงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับญี่ปุ่น เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน 1.435 เมตร ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นเส้นทางสายใหม่จากจังหวัดตากไปยังจังหวัดมุกดาหาร เพื่อเชื่อมฝั่งตะวันตกไปตะวันออก และเป็น 1 ใน 2 เส้นทางที่รัฐบาลกำหนดเอาไว้

ส่วนเส้นทางแรกได้ตกลงให้รัฐบาลจีนเข้ามาดำเนินการ คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย และหนองคาย-แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 867 กิโลเมตร

“เบื้องต้นคาดว่าไทยจะให้ญี่ปุ่นเข้ามาดำเนินโครงการรถไฟสายใหม่ ช่วงตาก-มุกดาหาร แต่ก่อนที่คณะของนายกฯ จะเดินทางไปเยือน คาดว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ พร้อมด้วยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานที่ปรึกษานายกฯ จะร่วมคณะไปด้วย เพื่อเจรจากรอบความตกลงในเบื้องต้นเหมือนกรณีเดียวกับจีน“ แหล่งข่าวระบุ

ด้าน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ยอมรับว่า เส้นทางรถไฟสายใหม่นี้เป็นรถไฟทางคู่ รางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็ว 160-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งรัฐบาลต้องการผลักดันเพื่อต่อเชื่อมจากฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมแม่สอดเชื่อมไปยัง จ.มุกดาหาร ที่จะต่อเข้าไปยัง สปป.ลาว ส่วนแนวทางที่จะให้ญี่ปุ่นเข้ามาดำเนินการนั้น ยังไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจน แต่ขณะนี้มีเพียงญี่ปุ่นเพียงรายเดียวที่แสดงความสนใจเส้นทางที่จะเชื่อมต่อกับโครงการทวาย นอกจากรถไฟทางคู่จากทวาย-บ้านพุน้ำร้อน แต่ก็ยังเปิดกว้างให้ทุกประเทศสนใจเข้าร่วมได้

เมื่อถามว่า ทำไมจีนไม่สนใจรถไฟสายนี้ พล.อ.อ.ประจินตอบว่า เป็นทางรถไฟสายใหม่ของ คสช.ที่กำหนดแนวทางการพัฒนารถไฟทางคู่ที่จะเชื่อมจากฝั่งตะวันตก-ฝั่งตะวันออก กับเส้นทางเชื่อมอีสานตอนบนกับอีสานตอนล่าง และมาบรรจบกับเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่เป็นเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด-หนองคาย

“หากมีเพียงญี่ปุ่นที่ตอบตกลงเข้ามาร่วมศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การดำเนินโครงการก็น่าจะเป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ส่วนรายละเอียดทางรถไฟสายใหม่ มอบหมายให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม ในฐานะที่เป็นเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับผิดชอบ และจะร่วมเดินทางไปกับคณะของนายกฯ ในการเยือนญี่ปุ่นด้วย รวมทั้งอาจร่วมเดินทางไปกับคณะของ พล.อ.ประวิตร ที่จะเดินทางไปหารืออย่างไม่เป็นทางการล่วงหน้าด้วย”พล.อ.อ.ประจินกล่าว

พล.อ.อ.ประจินยังกล่าวถึงความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับจีนในการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่สายกรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด-หนองคาย ว่า เป็นผลมาจากรัฐบาลก่อนเมื่อปี 2553 และรัฐบาลในเวลาต่อมาได้ทำความตกลงบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) กับรัฐบาลจีนว่าจะร่วมมือกันพัฒนารถไฟสายนี้ และจีนได้เข้าร่วมศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการด้วย จึงเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธ รวมทั้งสอดคล้องกับแผนพัฒนารถไฟสายไหมของจีนที่จะผ่านลาวมาไทยและเชื่อมต่อไปยังมาเลเซีย ก็ทำให้การเจรจาครั้งนี้ได้ข้อสรุปอย่างรวดเร็ว

พล.อ.อ.ประจินกล่าวต่อว่า ในที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 18 พ.ย. เป็นการรายงานข้อมูลความร่วมมือในการการพัฒนารถไฟทางคู่ไทยจีนแบบรัฐต่อรัฐ และในวันที่ 21 พ.ย.นี้ จะสรุปกรอบความตกลงที่จะลงนามในเอ็มโอยู ก่อนเสนอขออนุมัติจาก ครม.ในวันที่ 25 พ.ย.นี้ เพื่อนำเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยจะเป็นเพียงการวางกรอบแนวทางเบื้องต้นและมอบอำนาจให้ รมว.คมนาคมเป็นหัวหน้าคณะเจรจาในรายละเอียดของความร่วมมือต่อไป ส่วนเงื่อนไขรายละเอียดข้อตกลงนั้น จะเป็นการตกลงของผู้แทนทั้งสองฝ่าย และต้องได้รับความเห็นชอบตามขั้นตอนจากระดับประธานาธิบดีของจีน และ ครม.ของไทย ก่อนเปิดเผยรายละเอียดได้

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า แผนการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน 1.435 เมตร ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าตามแผนเดิมนั้น มี 5 เส้น โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนมี 2 เส้นทาง คือ

1.เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา (โคราช)-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ระยะทาง 737 กม. วงเงินก่อสร้าง 392,570 ล้านบาท และ
2.เส้นทางเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ระยะทาง 655 กม. วงเงินก่อสร้าง 348,890 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ คาดว่าจะเริ่มดำเนินก่อสร้างได้พร้อมกันทั้ง 2 เส้นทางในปลายปี 2558 และกำหนดแล้วเสร็จในปี 2564
ส่วนระยะที่ 2 มี 3 เส้นทาง คือ

1.ตาก-พิษณุโลก-บ้านไผ่ เป็นเส้นทางที่เน้นเชื่อมต่อการเดินทางจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออกของไทย เป็นการเชื่อมต่อประตูการค้าจากฝั่งพม่า-ไทย-ลาว
2.หนองคาย-อุบลราชธานี จะเน้นเชื่อมต่อประตูการค้าด้านอีสานตอนบนกับตอนล่าง เพื่อต่อไปยังเวียดนามและกัมพูชา และ
3.บ้านภาชี-กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ เป็นการเชื่อมต่อลงภาคใต้ตอนล่างไปยังมาเลเซีย จะดำเนินการช่วงปี 2565-2572.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/11/2014 11:23 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เตรียมร่วมญี่ปุ่น ผุด‘ไฮสปีดเทรน’ ทาง867กิโลเมตร
ไทยโพสต์
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2557 - 00:00

ญี่ปุ่นเกาะขบวนรถไฟทางคู่ เปิดสายใหม่ตาก-มุกดาหารเชื่อมอีสต์-เวสต์
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 20 พ.ย. 2557 06:15

คมนาคมเปิดทางดึงญี่ปุ่นร่วมโปรเจกต์รถไฟทางคู่สายใหม่ตาก-มุกดาหาร เชื่อมฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก “ประจิน” แจงเอ็มโอยูไทย-จีนสายหนองคาย–มาบตาพุด ทำมาก่อนรัฐบาลชุดนี้แล้วจึงยากปฏิเสธ

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคมว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในเดือน ธ.ค.นี้ โดยคาดว่าจะมีการทำความตกลงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน 1.435 เมตรที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นเส้นทางสายใหม่ จาก จ.ตากไปยัง จ.มุกดาหาร เพื่อเชื่อมฝั่งตะวันตกไปตะวันออกของไทย และเป็น 1 ใน 2 เส้นทางที่รัฐบาล คสช.กำหนดเอาไว้ ส่วนเส้นทางแรกที่ตกลงให้รัฐบาลจีนเข้ามาดำเนินการ คือเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย และหนองคาย-แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทางรวม 867 กิโลเมตร

ด้าน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวว่า เส้นทางรถไฟสายใหม่ตาก-มุกดาหาร เป็นรถไฟทางคู่ รางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็ว 160-180 กม.ต่อชั่วโมง ซึ่งรัฐบาลต้องการผลักดันเพื่อต่อเชื่อมจากฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมแม่สอดเชื่อมไปยังมุกดาหารที่จะเชื่อมต่อเข้าไปยังประเทศลาว

ส่วนแนวทางที่จะให้ญี่ปุ่นเข้ามาดำเนินการนั้นยังไม่ได้มีข้อตกลงที่ชัดเจน แต่ขณะนี้มีเพียงญี่ปุ่นเพียงรายเดียวที่แสดงความสนใจนอกจากรถไฟทางคู่จากทวาย-บ้านพุน้ำร้อน เพราะญี่ปุ่นสนใจเส้นทางที่จะเชื่อมต่อกับโครงการทวายอยู่แล้ว ขณะนี้ถือว่ายังเปิดกว้างให้กับทุกประเทศ ที่สนใจเข้าร่วมได้ แต่หากในที่สุดมีเพียงญี่ปุ่นที่ตอบตกลงที่จะเข้ามาร่วมศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การดำเนินโครงการก็น่าจะเป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยจะเริ่มต้นจากการเข้าร่วมในการศึกษารายละเอียดของเส้นทางและความเป็นไปได้ของโครงการ

สำหรับรายละเอียดทางรถไฟสายใหม่นั้น ได้มอบหมายให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับผิดชอบและจะร่วมเดินทางไปกับคณะของนายก– รัฐมนตรีในการเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ด้วย และอาจร่วมเดินทางไปกับคณะของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่จะเดินทางไปหารืออย่างไม่เป็นทางการล่วงหน้า

นอกจากนี้ พล.อ.อ.ประจิน ยังชี้แจงถึงความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนในการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่หนองคาย-มาบตาพุด ว่าเป็นผลสืบเนื่องจากรัฐบาลก่อนหน้านี้เมื่อปี 2553 และรัฐบาลในเวลาต่อมามีการทำความตกลงบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) กับทางรัฐบาลจีนว่าจะร่วมมือ กันพัฒนารถไฟสายนี้ และจีนได้เข้าร่วมในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธ

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ในที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้รายงานข้อมูลความร่วมมือในการพัฒนารถไฟทางคู่ไทย-จีน แบบรัฐต่อรัฐ โดยจะสรุปกรอบความตกลงที่จะลงนามในบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ซึ่งจะเสนอขออนุมัติจาก ครม.อีกครั้งในวันที่ 25 พ.ย.นี้ ก่อนที่จะนำเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยจะเป็นเพียงการวางกรอบแนวทางเบื้องต้นและมอบอำนาจให้ รมว.คมนาคมเป็นหัวหน้าคณะในการเจรจาในรายละเอียดของความร่วมมือต่อไป ส่วนเงื่อนไขรายละเอียดข้อตกลงนั้นจะมีการตกลงของผู้แทนทั้งสองฝ่ายและต้องได้รับความเห็นชอบตามขั้นตอนจากระดับประธานาธิบดีของจีนและ ครม.ของไทย ก่อนที่จะเปิดเผยรายละเอียดได้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 121, 122, 123  Next
Page 25 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©