RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180272
ทั้งหมด:13491506
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 27, 28, 29 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2014 6:45 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯย้ำอย่ากังวลของขวัญปีใหม่ ตั้งเป้าทางรถไฟเชื่อมต่อเมืองจีน
แนวหน้า
วันอังคาร ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557, 18.13 น.


16 ธ.ค. 57 เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมครม.ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. ปรารภในที่ประชุมครม.ว่า เรื่องของขวัญปีใหม่ที่จะมอบให้ประชาชนนั้น ไม่ต้องกังวลมาก อันไหนทำได้ก็ทำ มาตรการที่ออกไปเป็นแบบระยะสั้น อยากให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม เข้าใจถึงการแก้ปัญหาระยะยาว การวางรากฐานต่างๆล้วนมีความสำคัญ หลายเรื่องเป็นเรื่องยาก เช่นการลดความเหลื่อมล้ำ การเข้าสู่บริการของรัฐ จัดระเบียบต่างๆ การแก้ปัญหาให้พี่น้องเกษตรกร แต่เหล่านี้ถือเป็นของขวัญให้ประชาชนได้เช่นกัน จึงขอให้ทุกกระทรวงไปประมวลผลงานก่อนการแถลงผลงานรัฐบาลรอบ 3 เดือนในวันที่ 25 ธ.ค

ขณะเดียวกันนายกฯบอกว่าสิ่งที่ตั้งเป้าจะทำให้ได้คือเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อประเทศจีน และประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตามนายกฯได้ให้กำลังใจรัฐมนตรีในการทำงานที่ผ่านมา โดยระบุว่ามาตรการต่างที่ทำไปบางครั้งไม่ได้ผล 100% ได้ 70-80% ก็ขอให้ทำต่อไป อย่าไปกลัวการถูกกล่าวหาทุจริต ถ้ามีความบริสุทธิ์ใจ ท่านนายกฯกำชับว่าสิ่งสำคัญคืออย่าทำงานช้าต้องกล้าทำ เพราะตนเองกล้าตัดสินใจทุกเรื่อง

'บิ๊กตู่'จัดทหารรับผู้นำจีนยิ่งใหญ่ จ่อลงนามข้อตกลง'รถไฟ-ค้าข้าว'
แนวหน้า
วันอังคาร ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557, 18.08 น.


16 ธ.ค. 57 ที่ทำเนียบรัฐบาล เจ้าหน้าที่ทหารจาก พัน.ร.มทบ.11 จำนวน 30 นาย ได้ซักซ้อมจัดแถวทหารเพื่อให้การต้อนรับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่จะเดินทางมาร่วมประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 5 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 19 - 20 ธ.ค. ที่โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพฯ ซึ่งมีผู้นำระดับนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จีน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมาร์ เข้าร่วม

และในโอกาสนี้ วันที่ 19 ธ.ค.เวลา 16.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะให้การต้อนรับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ทำเนียบรัฐบาล ในการเยือนประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งการเยือนครั้งนี้ จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน 2 ฉบับ ได้แก่ บันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับเส้นทางรถไฟความเร็วปานกลาง 2 เส้นทางคือ "หนองคาย - แก่งคอย - มาบตาพุด" และ "แก่งคอย - กรุงเทพฯ" และบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการซื้อขายข้าวระหว่างไทยกับจีน

ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า การจัดแถวทหารครั้งนี้แตกต่างจากการจัดแถวทหารเกียรติยศต้อนรับผู้นำต่างประเทศที่ผ่านๆ มา โดยรูปแบบนี้ทหารถือว่าเป็นการให้เกียรติสูงสุดกับผู้นำที่มาเยือน และถือเป็นครั้งแรก โดยการซ้อมครั้งนี้ พล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ลงมาติดตามการซักซ้อมด้วยตัวเอง

อย่างไรก็ตามได้มีการจัดแถวทหารตั้งแต่ประตู 1 ทำเนียบรัฐบาล จนถึงประตูทางเข้าตึกไทยคู่ฟ้า ขณะที่ พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค ที่ปรึกษาโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การจัดแถวกองทหารเกียรติยศลักษณะนี้ เนื่องจากนายกฯ ต้องการให้เกียรติผู้นำต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน ภายหลังจากที่นายกฯ เดินทางไปเยือนจีน ซึ่งก็ได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ และจะได้เห็นการต้อนรับรูปแบบนี้ในรัฐบาลชุดนี้อย่างต่อเนื่อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2014 9:39 pm    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์ 19 ธ.ค. ไทย-จีน ลงนามสร้างรถไฟรางคู่-ซื้อข้าว
โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
17 ธันวาคม พ.ศ. 2557 14:14

ไทย-จีน เซ็นเอ็มโอยู ก่อสร้างรถไฟรางคู่ พรุ่งนี้ (19 ธ.ค.) พร้อมลงนามจีนซื้อข้าวไทย ระหว่าง รมว.พาณิชย์ของทั้ง 2 ประเทศ…

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า รัฐบาลไทยจะจัดพิธีลงนามในข้อตกลงเบื้องต้น (MOU) ความร่วมมือในโครงการ ก่อสร้างรถไฟรางคู่กับทางการจีน ในวันที่ 19 ธ.ค. เวลา 16.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยฝ่ายไทยจะมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เป็นประธาน ขณะที่ฝ่ายจีนมี รมว.การรถไฟของจีนเป็นตัวแทน

นอกจากนี้ ในโอกาสเดียวกันจะมีการลงนามการซื้อขายข้าวระหว่างไทย-จีนอีก 1 ฉบับด้วย โดยมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ ร่วมลงนามกับ รมว.พาณิชย์ของจีน.

//---------------


ได้ฤกษ์ลงนามทำรถไฟไทย-จีน
เดลินิวส์
วันพุธ 17 ธันวาคม 2557 เวลา 15:30 น.

รัฐบาลนัดลงนามเอ็มโอยู บ่าย 19 ธ.ค.นี้ ทั้งเรื่องรถไฟทางคู่ และความร่วมมือซื้อข้าว-ยาง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ธ.ค.นี้เวลา 16.00 น. รัฐบาลไทยจะมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) กับรัฐบาลจีน 2 ฉบับ คือ ด้านการพัฒนารถไฟระหว่างประเทศไทย-จีน ขนาดรางมาตรฐาน ความกว้าง1.435เมตร (แสตนดาร์ตเกต)และด้านสินค้าเกษตรไทย-จีนซึ่งจีนสนใจที่จะซื้อข้าว และยางพาราจากไทย โดยเอ็มโอยูฉบับแรกจะมีพล.อ.อ.ประจิน จั่นตองรมว.คมนาคม เป็นผู้ลงนามร่วมกับรมว.กระทรวงรถไฟของจีน ส่วนอีกฉบับพล.อ.ฉัตรชัยสาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ ลงนามร่วมกับรัฐมนตรีด้านการเกษตรของจีน

“นอกจากการลงนามเอ็มโอยูความร่วมมือกับประเทศจีนแล้วฝ่ายไทยยังเตรียมหารือแบบทวิภาคีในด้านความร่วมมือด้านต่างๆ กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กัมพูชา และเวียดนามซึ่งรายละเอียดของการหารือคงมีการติดตามความคืบหน้าในทุกด้านที่เคยทำร่วมกันมาแล้ว”

สำหรับร่างเอ็มโอยูไทย-จีน ด้านการพัฒนารถไฟมีสาระสำคัญคือการร่วมมือสร้างรถไฟทางคู่ในเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง731กิโลเมตรและเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง133กิโลเมตรซึ่งเป็นความร่วมมือในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวร่วมกัน


Last edited by Wisarut on 18/12/2014 12:18 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2014 12:17 pm    Post subject: Reply with quote

ย้อนรอยเอ็มโอยูรถไฟไทย-จีน จับตา‘บิ๊กตู่’สานฝันที่รอคอย...
โดย ศักดิ์ชัย อินทร์จันทร์
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 18 ธันวาคม 2557 เวลา 05:00 น.

รัฐบาลไทยเตรียมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู )กับรัฐบาลจีน ในโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร 2 เส้นทาง


การประชุมสุดยอดผู้นำของกลุ่มประเทศ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงครั้งที่ 5 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ วันที่ 19-20 ธ.ค.นี้ กำลังจะกลายเป็นเวทีที่น่าสนใจและกลายเป็นประวัติศาสตร์อีกครั้ง เพราะนอกเหนือจากการหารือของ 6 ชาติสมาชิก ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน เพื่อติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคแล้ว อีกไฮไลต์สำคัญ...คือ รัฐบาลไทยเตรียมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู )กับรัฐบาลจีน ในโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด และ เส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ มูลค่าหลายแสนล้านบาทอีกด้วย

การลงนามครั้งนี้ถือว่ารวดเร็วกว่ากำหนดเดิม ที่กำหนดจะให้ลงนามในช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินทางไปเยือนประเทศจีน ระหว่างวันที่ 22-23 ธ.ค.นี้ เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่าย เห็นว่าเป็นโครงการสำคัญที่ก่อให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งเอ็มโอยูนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ของไทยแล้ว จึงควรรีบลงนามทันที โดยมี นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน เดินทางมาประชุมและลงนามด้วยตัวเอง และสาระสำคัญของร่างเอ็มโอยูฉบับนี้มี 7 ด้าน คือ

1.รัฐบาลไทยตกลงให้รัฐบาลจีนเข้ามีส่วนร่วมดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็ว 160-180 กม.ต่อชม. เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง 734 กม. และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง 133 กม. ซึ่งเป็นโครงการทางคู่ขนาดมาตรฐานโครงการแรกของไทย โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะใช้ความร่วมมือในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือจีทูจี

2. หลักการดำเนินงานทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบ ให้ฝ่ายจีนรับผิดชอบก่อสร้างและพัฒนาระบบรถไฟเส้นทาง แต่การสนับสนุนเรื่องเงินลงทุน และการชำระเงินลงทุนจะมีการหารือกันต่อไป รวมถึงให้ฝ่ายจีนเข้ามามีส่วนร่วมในโอกาสแรกที่เป็นไปได้ ในขั้นตอนการเตรียมการของโครงการ เพื่อให้เริ่มการก่อสร้างได้ปี 59 ส่วนการประเมินมูลค่าโครงการ จะต้องหารือระหว่างไทยกับจีน รวมทั้งให้องค์กรที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของ 2 ฝ่ายเป็นผู้ประเมินอย่างรอบคอบ

3. ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารร่วมขึ้นใหม่ 1 ชุด เพื่อกำกับดูแลการดำเนินการ โดยฝ่ายไทยให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เป็นประธานร่วม ขณะที่จีนให้ผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติเป็นประธานร่วม 4. แต่ในการดำเนินการในเอ็มโอยูฉบับนี้ จะต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในประเทศคู่ภาคีคือ ไทยและจีน 5. กรณีสาระสำคัญของบันทึก
ความเข้าใจฉบับนี้ ขัดหรือแย้งกับบันทึกความเข้าใจใด ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านรถไฟที่ลงนามระหว่างปี 54-56 ให้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้มีผลเหนือกว่า...ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการยกเลิก เอ็มโอยูเรื่องรถไฟไทย-จีน ของยุครัฐบาลก่อน ๆ ทั้งสมัย “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” หรือสมัย “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ไปโดยปริยาย

6. เอ็มโอยูฉบับนี้อาจแก้ไขได้โดยความเห็นชอบร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรได้ และสุดท้ายข้อ 7. ให้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ณ วันที่ลงนาม และจะมีผลบังคับใช้ต่อไปอีก 5 ปี นอกจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 6 เดือน แต่หากไม่มีการบอกเลิกเอ็มโอยูฉบับนี้จะต่ออายุโดยอัตโนมัติอีกครั้งละ 5 ปี

แต่...เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งคิดใหม่ ทำใหม่ โดยรัฐบาลบิ๊กตู่ แต่ประเทศไทยเคยมีความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนมาแล้วถึง 2 สมัย ตั้งแต่ความร่วมมือสมัยนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี 53-54 และนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี 55-56 ซึ่งใช้เป็นทุนเดิมในการวางแผนโครงการรถไฟขนาดรางมาตรฐาน หรือรถไฟความเร็วสูง ที่มีระบบโครงสร้างเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่ความเร็วเท่านั้น

ย้อนเวลากลับไปจุดเริ่มช่วงปี 53 รัฐบาลจีนมียุทธศาสตร์ขยายเส้นทางสายใหม่เชื่อมจีนตอนใต้กับอาเซียน ด้วยรถไฟความเร็วสูงสายเอเชียเพื่อแผ่ขยายอิทธิพลการเมือง เศรษฐกิจ การค้า เริ่มเส้นทางตั้งแต่นครคุนหมิง ผ่านหลวงพระบาง นครเวียงจันทน์ ของลาว เข้าประเทศไทยทางหนองคาย ผ่านนครราชสีมา ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ กรุงเทพมหานคร จากนั้นต่อไปปาดังเบซาร์ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย และไปสิ้นสุดเส้นทางที่ สิงคโปร์ รวมระยะทางทั้งสิ้น 5,500 กม. ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ที่มองว่า หากมีการสร้างรถไฟความเร็วสูงจริง จะทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการค้า การท่องเที่ยว และช่วยผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งโลจิสติกส์ในภูมิภาคด้วย เนื่องจากมีเส้นทางลากผ่านประเทศไทยมากสุด

การหารือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ช่วงนั้น มีการคุยกันหลายรอบและพูดถึงการทำเอ็มโอยูความร่วมมือพัฒนาระบบรางร่วมกัน โดยมีสาระสำคัญว่าจะมีการสร้างรถไฟความเร็วสูงขนสินค้าด้วยความเร็ว 120 กม. ต่อ ชม. และรับส่งผู้โดยสารด้วยความเร็ว 200 กม. ต่อ ชม. เริ่มเส้นทางแรก กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 620 กม. เพื่อเชื่อมต่อจากเวียงจันทน์ เมืองหลวงของ สปป.ลาว มายังประเทศไทย ลักษณะเป็นรางเดี่ยว กรอบวงเงินลงทุน 150,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกันยังวางแผนจัดตั้ง บริษัทร่วมทุนระหว่างไทยกับจีน เพื่อรับสัมปทานบริหาร 30 ปี ซึ่งไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% ส่วนจีนถือหุ้น 49 % มีทุนจดทะเบียนเบื้องต้น 1,000-2,000 ล้านบาท ใช้เงินลงทุน 30% ที่เหลือ 70% ให้จีนปล่อยกู้ดอกเบี้ยไม่เกิน 3% แต่ความร่วมมือครั้งนั้นต้องยุติไป หลังพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศยุบสภาและแพ้การเลือกตั้ง ทำให้พรรคเพื่อไทย ขึ้นบริหาร และเปลี่ยนมาเจรจาการลงทุนเป็นรายประเทศ ผ่านโครงการ 2 ล้านล้านบาท ที่เป็นรถไฟความเร็ว 250 กม. ต่อ ชม. ใน 4 เส้นทาง ทิศเหนือ อีสาน ตะวันออก และใต้แทน
แต่ถึงกระนั้นในปี 56 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ได้มีการลงนามเอ็มโอยูกับจีนตามมา เกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ว่าด้วยความร่วมมือรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านรถไฟในประเทศไทยแลกเปลี่ยนกับสินค้าเกษตร เพื่อนำข้าวไปแลกกับรถไฟความเร็วสูง แต่แผนเหล่านี้ก็ต้องหยุดชะงักไปหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ประกอบกับมีการยุบสภา ต่อเนื่องด้วยการถูกรัฐประหารจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ คนปัจจุบัน

เห็นได้ว่าการลงนามเอ็มโอยูของรัฐบาล “บิ๊กตู่” ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการนำโมเดลความคิดจากรัฐบาลเดิม ๆ โดยเฉพาะจากพรรคประชาธิปัตย์มาขยายผลต่อ

ดังนั้น... การลงนามเอ็มโอยูครั้งนี้ จึงเป็นเพียงก้าวแรก ในความพยายามเดินหน้ารถไฟความเร็วสูงอีกหน แต่ยังเหลือขั้นตอนเหลือรายละเอียดอีก ที่ต้องคิดต้องทำต่อ โดยเฉพาะประเด็นรูปแบบการร่วมลงทุนและการบริหารโครงการ ที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเป็นเรื่องของผลประโยชน์ร่วม ที่คาดว่าหลังจากนี้ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี

จากนี้ไปคงต้องลุ้นฝีมือรัฐบาลท็อปบู๊ต ว่าจะผลักดันรถไฟความเร็วสูงนี้เกิดขึ้นได้จริงหรือไม่! เพราะในความเป็นจริงแล้ว “ของถูกไม่ดี ของฟรีไม่มีในโลก”.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/12/2014 9:21 am    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์เอ็มโอยูไทย-จีน19ธันวาฯ จับมือลงนามพร้อมกัน2ฉบับรวด เดินหน้ารถไฟทางคู่ซื้อขายข้าว/ยาง
มติชน
วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 22:41:12 น.


"ประจิน"เผย 19 ธันวาคม ไทยเซ็นเอ็มโอยูจีนร่วมลงทุนทำรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นหนองคาย-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ซื้อขายสินค้าเกษตรข้าวและยางพารา ส่วนปริมาณสินค้าจะเป็นเท่าไหร่ต้องตกลงกันอีกครั้ง


พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ธันวาคม เวลา 16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาชนจีนนำคณะเดินทางเยือนประเทศไทยและเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (จีเอ็มเอส) 6 ประเทศ ครั้งที่ 5 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 19-20 ธันวาคม 2557 ที่โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ และมีผู้นำระดับนายกรัฐมนตรีของไทย จีน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่าเข้าร่วม ทางรัฐบาลไทยจะมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) กับรัฐบาลจีน เรื่องโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง 734 กิโลเมตร และช่วงแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง 133 กิโลเมตร จากนั้นกระทรวงคมนาคมจะตั้งคณะทำงาน 2 ฝ่าย และทำกรอบวางแผนงาน ซึ่งภายในสัปดาห์ที่สองของเดือนมกราคม 2558 จะเชิญฝ่ายจีนมาหารือก่อนอย่างน้อย 2 ครั้ง และไทยจะไปหารือรายละเอียดต่อที่จีนก่อนสรุปรายละเอียด

"จะต้องมีการหารือเกี่ยวกับข้อกฎหมาย รูปแบบการร่วมทุน เทคนิคในการสำรวจมีอะไรบ้าง และต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาทั้งไทยและอังกฤษ เข้ามาช่วยดูรายละเอียด เพื่อป้องกันปัญหาการสื่อสารผิดพลาด ซึ่งอาจจะเกิดข้อขัดแย้งในภายหลังได้ โดยรูปแบบการลงทุนนั้นขอให้คณะทำงานได้หารือกันก่อน คาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนประชุมร่วมกับจีนในเดือนมกราคม 2558แน่นอน" พล.อ.อ.ประจินกล่าว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ทางรัฐบาลไทยจะมีการลงนามเอ็มโอยูกับรัฐบาลจีน 2 ฉบับ คือ ด้านการพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน และด้านสินค้าเกษตรไทย-จีน ซึ่งจีนสนใจที่จะซื้อข้าวและยางพาราจากไทย โดยเอ็มโอยูฉบับแรกจะมี พล.อ.อ.ประจินเป็นผู้ลงนามร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงรถไฟของจีน ส่วนอีกฉบับ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นผู้ลงนามร่วมกับรัฐมนตรีด้านการเกษตรของจีน

นายอาคมกล่าวว่า นอกจากการลงนามเอ็มโอยูความร่วมมือกับสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว ประเทศไทยไทยยังเตรียมหารือแบบทวิภาคีในด้านความร่วมมือด้านต่างๆ กับ ลาว กัมพูชา และเวียดนามด้วย โดยรายละเอียดของการหารือร่วมกันคงเป็นการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานในทุกด้านที่เคยทำร่วมกันมาก่อนหน้านี้แล้ว

นายอาคมกล่าวว่า สำหรับร่างเอ็มโอยูไทย-จีน ด้านการพัฒนารถไฟ จะเป็นความร่วมมือในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวร่วมกัน ส่วนเอ็มโอยูความร่วมมือในด้านสินค้าเกษตรไทย-จีน ซึ่งจีนสนใจที่จะซื้อข้าว และยางพาราจากไทยนั้น เพื่อเป็นการสานความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ที่จะครบรอบ 40 ปีในปีหน้า ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะมีการตกลงปริมาณสินค้าเกษตรของไทยที่จีนจะซื้ออีกครั้งว่า จะขายข้าวและยางให้จีนจำนวนเท่าใด

//------------------------

บทความพิเศษ : รถไฟความเร็วสูงคุ้มสำหรับประเทศไทย
โพสต์ทูเดย์
18 ธันวาคม 2557 เวลา 19:46 น.
การรถไฟไทยจีนร่วมมือกัน ประเทศไทยได้รับประโยชน์มากกว่า

1. ต่างได้ประโยชน์กำไรทั้งสองฝ่าย ไทยได้รับประโยชน์มากกว่า การรถไฟไทยจีนร่วมมือกัน อยู่ในปริมณฑลความร่วมมือที่เป็นจุดหนักซึ่งผู้นำไทยจีนทั้งสองประเทศร่วมกันผลักดันด้วยตนเอง การริเริ่มและนำสู่การปฏิบัติของความร่วมมือการรถไฟของทั้งสองประเทศจะปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคือโครงสร้างพื้นฐานด้านทางรถไฟ เกิดความสะดวกในการไปมาหาสู่ของประชาชน ยกระดับการไหลเวียนของสินค้า ลดมลภาวะ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาของเมืองใหม่ สร้างงานให้กับท้องถิ่น เสริมความแข็งแรงแก่การพัฒนาเศรษฐกิจ ยกฐานะของไทยที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมในประชาคมอาเชี่ยน กระตุ้นเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ ในประชาคมอาเชี่ยนและระหว่างประเทศจีนกับประชาคมอาเชี่ยน จะเกิดบทบาทที่เป็นคุณในการติดต่อไปมาหาสู่ของผู้คน

ขณะเดียวกัน การรถไฟไทยจีนร่วมมือกันก็ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรถไฟของจีนได้รับประโยชน์ด้วย ตามที่ทั้งสองประเทศได้บรรลุซึ่งการเข้าใจร่วมกัน ประเทศจีนจะสนองเทคโนโลยีแก่การพัฒนาการรถไฟของไทย สนับสนุนด้านการดำเนินการและการเงิน พร้อมกันนั้นทางจีนจะเปิดตลาดการค้าแก่สินค้าการเกษตรของไทยเป็นพิเศษ จะเพิ่มการซื้อสินค้าการเกษตรเช่น ข้าวไทย และยางพาราเป็นต้น มาตรการเหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาตึงมือที่รัฐบาลระยะผ่านของไทยกำลังเผชิญอยู่ สร้างความผาสุกแก่ประชาชนไทย กระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย รวมความแล้วก็คือ การรถไฟไทยจีนร่วมมือกันเป็นความร่วมมือที่ต่างได้ประโยชน์และกำไรทั้งสองฝ่าย โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยที่ได้รับการปรับปรุงดีขึ้นจะส่งผลดีแก่การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยและประชาชนไทย

2. รถไฟความเร็วสูงของจีนปลอดภัยเชื่อถือได้ ย้อนมองประวัติการพัฒนาการรถไฟของโลก การเกิดอุบัติเหตุไม่ใช่มีเพียงประเทศจีนประเทศเดียวเท่านั้น การพัฒนาการรถไฟของมหาประเทศ ล้วนเคยเกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ที่มีคนเจ็บคนตายเป็นจำนวนมาก ประเทศเยอรมัน ญี่ปุ่น อังกฤษ อิตาลี สเปน อเมริกาเป็นต้น ล้วนเคยเกิดอุบัติเหตุทางรถไฟมาแล้วไม่น้อยกว่า และไม่เล็กกว่าประเทศจีนมาแล้วทั้งสิ้น สถิติเกี่ยวกับเรื่องนี้ล้วนมีรายงานเป็นหลักฐานสามารถสืบค้นได้ ตราบถึงวันที่ 10 เดือนธันวาคม ปี 2014 รถไฟความเร็วสูงของจีนที่เปิดการเดินรถแล้วมีระยะทาง 13,000 กิโลเมตร ทั่วประเทศในแต่ละวันมีขบวนรถไฟขนส่งผู้โดยสารจำนวน 2,673.5 คู่ ในจำนวนนี้เป็นรถไฟความเร็วสูง 1,500 คู่ เป็น 60% ของขบวนรถโดยสาร

ในจำนวนนี้ที่ชุกที่สุดคือรถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่งเซี่ยงไฮ้ในแต่ละวันจะเปิดการเดินรถถึง 164 คู่ ถึงขั้นที่ว่าไปถึงเมื่อไรได้ออกเดินทางเมื่อนั้น ปี 2013 รถไฟจีนขนส่งผู้โดยสาร 2,106 ล้านคน/เที่ยว ในจำนวนนี้ที่โดยสารรถไฟความเร็วสูงมี 530 ล้านคน/เที่ยว เป็น 25% ของยอดการขนส่งผู้โดยสาร ปี 2014 “1 ตุลาคม” ช่วงสัปดาห์ทอง การขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟมีจำนวนผู้โดยสารรวม 91,007,000 คน/เที่ยว เฉลี่ยวันละ 9,000,000 คน/เที่ยวขึ้นไป วันที่ 1 ตุลาคมขนส่งผู้โดยสาร 11,726,000 คน/เที่ยว

จากสถิติ การขนส่งทางรถไฟของจีนมีระยะทางคิดเป็น 7% ของโลก มีปริมาณการขนส่งคิดเป็น 25%ของโลก การขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟที่ชุกชุมถี่ยิบนี้เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากในขอบเขตทั่วโลก หลังเกิดอุบัติเหตุในวันที่ 23 เดือนกรกฎาคมปี 2011 รถไฟความเร็วสูงของจีนก็ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุที่มีคนตายเป็นจำนวนมากอีกเลย จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีของจีนนั้นสุกงอม ก้าวหน้า การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพสูง มีระเบียบ ปลอดภัย มีหลักประกัน

3. การเปรียบเทียบราคาตามคุณภาพ รถไฟจีนดีที่สุด จากคำรายงาน “วิเคราะห์ผลกระทบเศรษฐกิจภูมิภาครถไฟความเร็วสูงของจีน” ที่ประกาศในเดือนมิถุนายน 2014 ของธนาคารโลก ได้กล่าวถึงต้นทุนในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของจีนว่า ต้นทุนในการก่อสร้างรถไฟความเร็ว 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยทั่วไปตกกิโลเมตรละ 100 -125 ล้านหยวน แต่รถไฟความเร็วสูงของยุโรป (การออกแบบก่อสร้างรถไฟความเร็ว 300 กิโลเมตรขึ้นไป) ต้นทุนอยู่ที่ 150-240 ล้านหยวน ต้นทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่แคลิฟอร์เนียของอเมริกา (ไม่รวมค่าที่ดิน หัวรถจักรและโบกี้รวมทั้งดอกเบี้ยในระหว่างก่อสร้าง) ต้นทุนสูงถึง 52 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 320 ล้านหยวน) รถไฟความเร็วสูง 4 สายของฝรั่งเศสที่อยู่ระหว่างก่อสร้างในปี 2013 ต้นทุนก่อสร้างตกกิโลเมตรละ 150-210 ล้านหยวน

ฉะนั้น การรถไฟของจีนในระยะเวลา 6-7 ปี ได้ก่อสร้างโครงข่ายทางรถไฟสำเร็จลุล่วงเป็นระยะทาง 10,000 กิโลเมตร และต้นทุนการก่อสร้างต่อหน่วยถูกกว่าประเทศอื่น ๆ อย่างมากที่สุดก็แค่ 2 ใน 3 ของประเทศอื่น เรียกว่าทำได้ดีมากความได้เปรียบเรื่องต้นทุนนอกจากค่าแรงต่ำแล้ว สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ โครงข่ายของรถไฟความเร็วสูงมีขนาดใหญ่โตมาก สามารถทำให้การออกแบบก่อสร้างในส่วนต่าง ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งทำให้การผลิตอุปกรณ์และดำเนินการก่อสร้างมีการแข่งขัน และพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ อีกทั้งตัดรายการอุปกรณ์ที่มีราคาแพงออกไป ฉะนั้น ด้วยข้อได้เปรียบและประสบการณ์ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของจีน สามารถสนองบริการราคาถูกคุณภาพสูงแก่การก่อสร้างและขนส่งในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงของไทย....
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/12/2014 11:54 am    Post subject: Reply with quote

ความร่วมมือรถไฟไทย-จีน : ปฏิวัติรถไฟไทยและบทพิสูจน์เทคโนโลยีรถไฟจีน
โดย
Prof.Dr.Tang Zhimin
อรสา รัตนอมรภิรมย์
ศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ASTVผู้จัดการออนไลน์
19 ธันวาคม 2557 09:54 น.



https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=vazDXxROxOA

จากงานศึกษาวิจัยของศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เรื่อง “ความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย-จีน” พบว่า ประวัติศาสาตร์การคมนาคมขนส่งทางรางของไทยกำลังจะพลิกโฉมหน้าครั้งสำคัญ เมื่อรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนเตรียมที่จะลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือการก่อสร้างรถไฟความเร็วปานกลาง 160-180 กม./ชม. ระหว่างที่นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จะเดินทางมาร่วมประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregion-GMS Summit) ระหว่างวันที่ 19-20 ธ.ค. 2557 นี้ ที่กรุงเทพฯ

การลงนาม MOU ความร่วมมือครั้งใหม่นี้ เป็นรูปธรรมมากขึ้นจาก 2 ครั้งแรก โดยข้อตกลง MOU เมื่อปี 2553 สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ไทยและจีนได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทร่วมทุนรูปแบบรัฐวิสาหกิจ สัดส่วน 51 : 49 มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่หนึ่งแสนล้านบาท โดยฝ่ายจีนจะขอสัมปทานเช่าใช้เส้นทางจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 50 ปี ซึ่ง MOU ฉบับนี้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาในมาตรา 190 แล้ว แต่รัฐบาลยุบสภาไปเสียก่อน

ส่วนผลของ MOU สมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทยปี 2555 จีนได้ช่วยเหลือไทยแบบให้เปล่าแก่ประเทศไทย ในการศึกษารายละเอียดโครงการเบื้องต้นในเส้นทางรถไฟสองสาย คือ สายกรุงเทพฯ-หนองคาย กับกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วิ่งด้วยความเร็ว 250 กม./ชม. โดยฝ่ายจีนได้ส่งมอบรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ (Pre-Feasibility Study) ของทั้งสองเส้นทางให้แก่กระทรวงคมนาคมไทยในเดือนตุลาคม 2555

ต่อมาเมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง เดินทางเยือนไทยอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2556 นอกจากเป็นช่วงที่ฝ่ายจีนจัดนิทรรศการเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของจีนแล้ว ทั้งสองฝ่ายยังได้ลงนามใน MOU ว่าด้วยความร่วมมืออีกขั้นหนึ่ง โดยจีนได้จัดฝึกอบรมบุคลากรด้านรถไฟความเร็วสูงให้แก่ฝ่ายไทยรวม 100 คน

สำหรับ MOU ฉบับใหม่ที่จะลงนามระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทยกับประธานคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ในวันที่ 19-20 ธันวาคมนี้ จะนำมาซึ่งโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร โครงการแรกของประเทศไทย ในเส้นทางหนองคายถึงมาบตาพุด ความยาวรวม 867 กิโลเมตร โดยไทยและจีนจะร่วมกันดำเนินการศึกษารายละเอียดโครงการในปี 2558 และถือเป็นส่วนหนึ่งในวาระฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ครบรอบ 40 ปี ทั้งสองฝ่ายยังตั้งเป้าจะเริ่มการก่อสร้างให้ได้ในปี 2559

ความสำเร็จของความร่วมมือนี้ เป็นเพราะทั้งไทยและจีนต่างได้ปรับกระบวนทัศน์ของตนเองใหม่ โดยรัฐบาลไทยภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้น มีความเด็ดขาดในการตัดสินใจ ยอมปรับลดแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน “อภิมหาโปรเจ็ค” ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและประโยชน์ในการใช้งานมากขึ้น

โดยทั่วไปแล้ว รถไฟความเร็วสูงที่วิ่งตั้งแต่ 200 หรือ 250 กม./ชม. ขึ้นไปนั้น มักจะเน้นใช้ขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก ส่วนการขนส่งสินค้าจะกำหนดไว้ที่ราว 120 กม./ชม. ซึ่งการปรับความเร็วของรถไฟไทยให้อยู่ที่ระดับ 160-180 กม./ชม. นั้น ถือเป็นการปรับเพื่อให้รองรับได้ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า อีกทั้งช่วยปรับลดงบประมาณก่อสร้างลงอีกด้วย หากในอนาคตประเทศไทยมีปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าโดยทางรถไฟมากขึ้นเรื่อยๆ รางรถไฟขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตรนี้ ก็สามารถยกระดับเป็นรถไฟความเร็วสูง ถือเป็นการแบ่งเบาภาระการลงทุนให้สมดุลมากขึ้น โดยไม่ต้องทุ่มงบประมาณมหาศาลในครั้งเดียว จนอาจนำไปสู่ปัญหาการคลังของประเทศ

ในขณะที่ฝ่ายจีนเองก็ปรับตัวเช่นกัน โดยเคารพในปัจจัยภายในของประเทศไทย ทั้งจากปัญหาการเมืองและระดับความพร้อมในการพัฒนาสู่ยุครถไฟความเร็วสูงที่ยังต้องมี “ระยะเปลี่ยนผ่าน” ทั้งเรื่องการจัดสรรงบประมาณ จำนวนผู้โดยสาร การพัฒนาเทคโนโลยี เป็นต้น พร้อมทั้งได้แสดงความจริงใจที่จะช่วยเหลือพัฒนาศักยภาพการรถไฟของไทยอย่างแข็งขัน ทั้งการช่วยศึกษาความเป็นไปได้ การจัดฝึกอบรม และให้เงินทุน ตลอดจนสร้างความชัดเจนที่จะไม่ถือครองพื้นที่สองข้างทางรถไฟ อันเป็นประเด็นอ่อนไหวที่หลายฝ่ายจับจ้อง


สาระสำคัญของร่าง MOU
รัฐบาลไทยตกลงให้รัฐบาลจีนเข้ามีส่วนร่วมดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน (Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 734 กิโลเมตร และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร รวมระยะทาง 867 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐานโครงการแรกของไทย โดยทั้งสองฝ่ายจะใช้ความร่วมมือในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล

โดยฝ่ายจีนจะรับผิดชอบการก่อสร้างและพัฒนาระบบรถไฟเส้นทางดังกล่าว สำหรับการสนับสนุนเงินลงทุน และการชำระเงินลงทุนจะมีการหารือกันต่อไป ส่วนฝ่ายไทยตกลงที่จะให้ฝ่ายจีนเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนการเตรียมการของโครงการฯ รวมถึงการศึกษาความเป็นไปได้ และจะพยายามให้เริ่มการก่อสร้างได้ภายในปี 2559

นอกจากนั้น จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารร่วมขึ้นใหม่ชุดหนึ่ง เพื่อกำกับดูแลการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ สำหรับไทยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานร่วม สำหรับจีน ให้ประธานคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (National Development and Reform Council) เป็นประธานร่วม บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้ 5 ปี นับจากวันลงนาม

รูปแบบความร่วมมือ
การลงทุนภายใต้ MOU ไทย-จีนฉบับใหม่ จะมีรูปแบบความร่วมมือใน 3 แนวทาง (1) การร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (Public-Private Partnership หรือ PPP) ซึ่งเอกชนในที่นี้หมายถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของจีนที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานก่อสร้าง (2) Build-Operate-Transfer Contract หรือ BOT คือ เอกชนเป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง บริหาร พร้อมให้สัมปทานบริหารและเก็บค่าบริการจนครบอายุสัมปทาน จากนั้นจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ให้กับรัฐบาลไทย (3) Engineering Procurement Construction and Finance หรือ EPC&F คือให้เอกชนลงทุนสำรวจออกแบบก่อสร้าง และบริหาร จัดการ จัดเก็บค่าบริการ เพื่อชำระหนี้ โดยในข้อตกลงจีนจะเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินทุนให้ ส่วนไทยจะทำหน้าที่บริหารโครงการและชำระหนี้คืนในระยะยาว

ทั้งนี้ พล.อ. ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย เคยเปิดเผยว่า "รูปแบบที่ 3 น่าจะดีที่สุด โดยรัฐบาลไทย-จีนจะจัดตั้งบริษัทร่วมกันในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ ซึ่งไทยมีสิทธิจะเลือก

รัฐวิสาหกิจของจีน ซึ่งมี 5 บริษัทมาร่วมลงทุน ส่วนการถือหุ้นสัดส่วนยังไม่นิ่ง อาจจะเป็นไทย 80% จีน 20% หรือไทย 85% จีน 15% ขณะที่การพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางรถไฟนั้น จะยังคงเป็นสิทธิของรัฐบาลไทย ทางจีนได้สิทธิแค่การก่อสร้างและพัฒนาด้านเทคโนโลยีและแรงงานร่วมกันเท่านั้น"

สอดคล้องยุทธศาสตร์การพัฒนาของทั้งสองชาติ
โครงการความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างไทย-จีน ที่กำลังจะก้าวสู่ศักราชใหม่นี้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของทั้งสองชาติ มีนัยสำคัญต่อความสัมพันธ์ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของทั้งไทยกับจีน ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนุนนำสำคัญที่ทำให้ความร่วมมือครั้งนี้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยสามารถสรุปได้ดังตาราง


ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน
พิธีลงนามข้อตกลง MOU เป็นเพียงจุดเริ่มต้นแห่งศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์นี้ จะสำเร็จลุล่วงได้ ยังมีสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายต้องคำนึงถึง

สำหรับฝ่ายจีนนั้น แม้หลายปีมานี้จะพยายามขยายความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูงกับหลายประเทศทั่วโลก แต่จีนยังไม่เคยมีรูปแบบ “การส่งออก” รถไฟความเร็วสูงแบบครบวงจร คือตั้งแต่กระบวนการสำรวจออกแบบ ก่อสร้าง วางระบบอาณัติสัญญาณ-ระบบรถไฟ จนถึงจัดหาขบวนรถไฟและบริหารการเดินรถ เหมือนยักษ์ใหญ่ในวงการอย่างซีเมนต์ บอมบาร์ดิเอร์ หรือ อัลสตอม ซึ่งหากจีนต้องการให้ครบวงจรดังกล่าว จีนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในรูปแบบพิเศษเฉพาะ ความร่วมมือระหว่างไทย-จีนครั้งนี้ จะเป็นบทพิสูจน์ว่ารถไฟความเร็วสูงจีน พร้อมแล้วหรือไม่ ที่จะกลายเป็นผู้เล่นระดับแถวหน้าของโลกด้านรถไฟความเร็วสูง

แม้ปัจจุบันจีนจะเป็นประเทศที่มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่เปิดให้บริการระยะทางยาวที่สุดของโลกรวมเกือบ 12,000 กิโลเมตร และที่อยู่ระหว่างก่อสร้างอีกราว 11,000 กิโลเมตร และมีจุดเด่นที่ต้นทุนก่อสร้างถูกที่สุดในโลก กล่าวคือ ต้นทุนก่อสร้างเฉลี่ยโครงการรถไฟที่วิ่ง 350 กม./ชม. คิดเป็น 125 ล้านหยวนต่อ 1 กิโลเมตร ส่วนรถไฟที่วิ่ง 250 กม./ชม. คิดเป็น 87 ล้านหยวนต่อ 1 กิโลเมตร ขณะที่สถิติจาก International Transportation Forum เมื่อเดือนธันวาคม 2556 ระบุว่า ต้นทุนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในประเทศฝรั่งเศส คิดเป็น 150-210 ล้านหยวนต่อ 1 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม ความได้เปรียบด้านต้นทุนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของจีนที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นนั้น เป็นผลจากปัจจัยภายในประเทศของจีนเอง นั่นคือ ต้นทุนการเวนคืนที่ดินและต้นทุนแรงงานต่ำ ขณะที่มีขอบข่ายการก่อสร้างขนาดใหญ่ ล้วนส่งผลให้จีนก่อสร้างได้เร็วและค่าใช้จ่ายต่ำกว่าชาติอื่น ซึ่งต่างจากสถานการณ์ภายในของไทย เนื่องจากที่ดินของไทยเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ต้องมีกระบวนการเวนคืนที่ดินที่ซับซ้อนกว่าจีน ส่วนต้นทุนแรงงานแม้จะถูกกว่าจีน แต่ศักยภาพและประสบการณ์ก่อสร้างของแรงงานไทยด้านรถไฟสมัยใหม่ด้อยกว่าจีนมาก

ขณะเดียวกัน สิ่งที่รัฐบาลไทยต้องคำนึงถึงคือ การบริหารต้นทุนการก่อสร้างและหนี้สินที่จะตามมา รวมทั้งแผนการบริหารการเดินรถเพื่อให้เกิดผลกำไร จากผลการศึกษาของธนาคารโลกระบุว่า ความหนาแน่นของประชากรตามแนวรถไฟนั้น ต้องไม่น้อยกว่า 20 ล้านคน จึงจะคืนทุน นอกจากนั้นแล้ว เนื่องจากระบบรถไฟรางมาตรฐานที่จะสร้างขึ้นใหม่นี้ใช้ระบบไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ฉะนั้น ไทยยังต้องคำนึงถึงอุปทานไฟฟ้าที่เพียงพอสำหรับรองรับการเดินรถไฟตลอดเส้นทาง ซึ่งย่อมหมายถึงไทยต้องหาทางเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าและต้องสร้างสถานีจ่ายไฟฟ้าเป็นระยะๆ ตามแนวเส้นทางรถไฟด้วย

ดังนั้น ความร่วมมือระหว่างไทย-จีนครั้งนี้ ด้านหนึ่งจึงเป็นการปฏิวัติวงการรถไฟครั้งประวัติศาสตร์ของไทย และด้านหนึ่งจะเป็นบทพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีรถไฟที่ทันสมัยของจีนนั้น จะเป็นที่ยอมรับและครองความเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนได้สำเร็จหรือไม่

---------------------------------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/12/2014 8:44 pm    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กตู่-หลี่ เค่อเฉียง"ร่วมสักขีพยาน ลงนามเอ็มโอยูไทย-จีน สร้างรถไฟทางคู่-ซื้อสินค้าเกษตร
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 19 ธันวาคม 2557 เวลา 19:11:33 น.

'ไทย-จีน'บรรลุความตกลง2ฉบับ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 19 ธันวาคม 2557 19:05

ลงนามแล้วเอ็มโอยูไทย-จีน สร้างทางรถไฟ ซื้อข้าวและยางพารา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
19 ธันวาคม 2557 19:05 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ที่ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้การต้อนรับนาย หลี่เค่อเฉียง (Mr. Li Keqiang) นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในโอกาสหารือทวิภาคีและร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลง 2 ฉบับระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมหารือ ประกอบด้วยฝ่ายไทยได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกรรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุลรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายปิติพงศ์พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

สำหรับฝ่ายจีน ได้แก่ นาย Gao Hucheng รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นาย Lou Jiwei รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง นาย Wang Yi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนาย Yang Chuantang รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นาย ZhouXiaochuan ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งประเทศจีน และนายฉีเจ้าฉื่อ (XU SHAOSHI) ผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติและนาย Sheng Guangzu ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศจีน



ร.อ.นพ.ยงยุทธมัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สาระสำคัญการหารือในวันนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีต้อนรับนายกรัฐมนตรีจีนซึ่งเป็นการพบปะกันครั้งแรกในประเทศไทย และยินดีที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอด (GMSSummit) ครั้งที่ 5 ซึ่งจีนมีบทบาทสำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ไทยและจีนบรรลุการลงนามความตกลงที่สำคัญ2 ฉบับ ได้แก่

1. บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วยความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 - 2565 (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People’s Republic of China (PRC) on Cooperation on the Thailand’s Railways Infrastructure Development on The Strategic Framework for Development of Thailand’s Transportation Infrastructure 2015-2022(B.E.2558-2565)泰王国政府和中华人民共和国政府关于在泰国2015 至2022 年交通运输基础设施发展战略框架下开展铁路基础设施发展合作的谅解备忘录 - ระหว่าง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายฉี เจ้าฉื่อ(XU SHAOSHI) ผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ

2. บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้าสินค้าเกษตร Memorandum of Understanding between the Government of the People’s Republic of China (PRC) and the Government of the Kingdom of Thailand for Cooperation on Agricultural Products Trade 泰王国政府和中华人民共和国政府关于农产品贸易合作的谅解备忘录 ระหว่าง โดยพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยและนายฉี เจ้าฉื่อ(XU SHAOSHI) ผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวขอบคุณในการต้อนรับอย่างอบอุ่น การลงนามความตกลงทั้ง2ฉบับ เป็นการยืนยันถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศการพัฒนาเส้นทางรถไฟจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมจีนลาว ไทย จะทำให้มีการเพิ่มพูนปริมาณสินค้าและจำนวนนักท่องเที่ยวระว่างประเทศในภูมิภาคต่อไปในอนาคต สำหรับความร่วมมือด้านการซื้อสินค้าเกษตรจีนจะพิจารณาเพิ่มปริมาณการซื้อสินค้าเกษตรจากไทยให้มากยิ่งขึ้น เช่น ข้าวและยางพารา


ทั้งนี้หลังเสร็จสิ้นการหารือนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีจีนร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน2 ฉบับ ดังนี้1.บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วยความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565ระหว่าง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายฉี เจ้าฉื่อ (XU SHAOSHI) ผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ


สาระสำคัญของร่าง MOU ดังกล่าวมีดังนี้ รัฐบาลไทยตกลงให้รัฐบาลจีนเข้ามีส่วนร่วมดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทยพ.ศ. 2558-2565 โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน (Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุดระยะทางประมาณ 734 กิโลเมตร และช่วงแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตรซึ่งเป็นโครงการทางคู่ขนาดมาตรฐานโครงการแรกของไทย โดยทั้ง 2ฝ่ายจะใช้ความร่วมมือในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล



2.บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้าสินค้าเกษตรโดยพลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยและนายฉีเจ้าฉื่อ (XU SHAOSHI) ผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ



สาระสำคัญของร่าง MOU มีดังนี้สำหรับบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้าสินค้าเกษตรนั้นจะเป็นการแสดงเจตจำนงของจีนในการซื้อสินค้าเกษตรของไทย โดยเฉพาะ ข้าวและยางพารารวมทั้งจะเพิ่มปริมาณการสินค้าเกษตรอื่นจากไทยอย่างต่อเนื่อง



ร.อ.นพ.ยงยุทธกล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงกรอบความร่วมมือ GMS เป็นอนุภูมิภาคที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดแห่งหนึ่งไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับจีนในการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งในอนุภูมิภาค GMS ทั้งทางถนนราง และน้ำ ขณะนี้ได้มีการพัฒนาโครงข่ายถนนเชื่อมโยงในเส้นทาง R3A(กรุงเทพฯ - คุนหมิง) เพื่อให้การขนส่งคนและสินค้าเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วขึ้น ไทย สปป. ลาว และเวียดนามยังได้เห็นชอบในหลักการในการพัฒนาเส้นทางหมายเลข R8และR12 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงไปยังกว่างซีในอนาคต



นอกจากนี้ ไทยยังได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแนวเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจ ไทยอยู่ระหว่างการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามระเบียงเศรษฐกิจในบริเวณชายแดน ซึ่งในอนาคตสามารถเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนที่อยู่ตามระเบียงเศรษฐกิจเดียวกันเพื่อพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษข้ามพรมแดนต่อไป



สำหรับความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติจีนมีบทบาทสำคัญในการจะช่วยสนับสนุนการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติภายใต้กรอบGMS โดยเฉพาะการจัดการภัยพิบัติเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจการส่งเสริม Credit Guarantee สำหรับ SMEs ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจรวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนจีนเข้ามาลงทุนในโครงการต่าง ๆ ในไทยและอนุภูมิภาค



ความร่วมมือในภูมิภาค GMS นั้นจีนพร้อมที่จะร่วมมือกับไทยในการส่งเสริมการพัฒนาในอนุภูมิภาคในทุกมิติพร้อมที่จะได้มีการร่วมมือกับประเทศสมาชิกในการเชื่อมโยงเส้นทางถนน เพื่อประโยชน์ในการขนส่งคนและสินค้าในอนาคตนายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่สถานการณ์ภายในประเทศไทยมีเสถียรภาพและความมั่นคงเป็นผลให้มีนักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนี้นาย หลี่ เค่อเฉียงนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จะเข้าร่วมงานอาหารค่ำ (Gala Dinner) ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำที่เข้าร่วมการการประชุมสุดยอดผู้นำประเทศ ครั้งที่ 5 ณโรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพมหานคร

///-----------------------------

'เอกชน' ประเมินรถไฟทางคู่ไทย-จีน
"NOW26" TV
วันที่ 19 ธันวาคม 2557
มุมมอง "ธนิต โสรัตน์" นายกฯสมาคมขนส่งและโลจิสติกส์ฯ "เอกชน" ประเมินรถไฟทางคู่ไทย-จีน

//--------------------

'รถไฟทางคู่' สานสัมพันธ์ไทย-จีน
Morning News ช่วง Zoom in
"NOW26"
วันที่ 19 ธันวาคม 2557


Last edited by Wisarut on 26/12/2014 8:17 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2014 10:59 pm    Post subject: Reply with quote

สำนักข่าวซินหัวรายงานการลงนามใน MOU ครั้งประวัติศาสตร์นี้
http://en.people.cn/n/2014/1219/c90883-8825584.html

แม้ทางรถไฟสายหนองคาย - มาบตาพุดและ กรุงเทพ - แก่งคอยจะยกให้จีนแดงทำก็ตามที แต่บิกจินเสนอว่า ยังมีสาย ไปบ้านพุน้ำร้อน (ท่าเรือทวาย) - กาญจนบุรี - กรุงเทพ - ระยอง และ สาย มุกดาหาร ผ่าน ขอนแก่น - เพชรบูรณ์ - พิษณุโลก - สุโขทัย - ตาก แม่สอด ให้ เกาหลี - ญี่ปุ่น - และ ฝรั่งเศสแข่งกัน - นอกเหนือจากสาย เหนือ ผ่านพิษณุโลก ไปเชียงใหม่ และ สายใต้ไป ปาดังเบซาร์
http://www.nationmultimedia.com/national/Other-countries-welcome-to-invest-in-three-other-r-30250323.html

เลขานายกฯ เปิดงานยุวโฆษก เผย รบ.สร้างรถไฟเร็วปานกลางพอ เร็วสูงไม่เหมาะกับไทย
มติชน
วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 10:31:55 น.

เลขานายกฯ เปิดงานยุวโฆษก เผย รบ.สร้างรถไฟเร็วปานกลางพอเเล้ว ชาวบ้านได้ใช้ด้วย เร็วสูงไม่เหมาะกับไทย


เมื่อเวลา 9.30 น. พล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดโครงการยุวโฆษก รุ่นที่ 8 ณ ห้องมิ่งเมือง โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ ถนนรองเมือง เขตปทุมวัน โดยโครงการดังกล่าวเป็นการจัดขึ้นโดยสำนักโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อคัดเลือกจากการประกวดบทภาพยนตร์เกี่ยวกับการเผยแพร่ค่านิยม 12 ประการ นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้การทำงานของรัฐบาล เพื่อเข้าใจแนวทางการปฏิรูปประเทศ โดยมีพล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมี รอ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเข้าร่วม

โดยพล.อ.วิลาศ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีความสำคัญเพื่อเผยแพร่ผลงานของรัฐบาลและความภูมิใจของชาติไทยให้กับเยาวชนและนักศึกษา ทั้งนี้ตำแหน่งโฆษกถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญ ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวต้องมีความรู้ความเข้าใจทุกด้าน ทั้งนี้ยังหวังให้เยาวชนทุกคนจะต้องมีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างความภูมิใจในชาติ นอกจากนี้ยังต้องสำนึกเรื่องการยอมรับในความหลากหลาย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง

โดยพล.อ.วิลาศ ยังได้ยกตัวอย่าง การสร้างรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาล ที่เพิ่งมีการลงนามกับนายกรัฐมนตรี ว่าเป็นการพัฒนาโครงสร้างของประเทศเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งการที่ไทยตัดสินใจที่จะสร้างรถไฟความเร็วปานกลาง เพราะหากไม่พัฒนา ประเทศชาติก็จะไม่เจริญ ทั้งนี้เชื่อว่ารถไฟขนาดความเร็วปานกลาง ก็เพียงพอสำหรับการใช้แล้ว เชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงแบบในประเทศในยุโรป ยังไม่พร้อมสำหรับเมืองไทย เพราะหากจะทำอะไร ก็ต้องทำให้ชาวบ้านในต่างจังหวัดใช้ได้ด้วย เพราะนักท่องเที่ยวคงมาใช้ไม่มาก ซึ่งในอนาคตก็อาจจะดำเนินการสร้างได้ ดังนั้นเวลาจะทำอะไร ก็อย่าทำไปตามกระแส แต่ให้ทำตามความต้องการของคนส่วนใหญ่ด้วย

นอกจากนี้ยังขอให้คนรุ่นใหม่มองการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์อย่างเป็นสากล และขอให้แสดงออกซึ่งความเป็นไทยอย่างสง่างาม จึงจะสามารถเข้าใจและเผยแพร่งานของรัฐบาลได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/12/2014 6:16 pm    Post subject: Reply with quote

เตรียมเฮ! รถไฟรางคู่ “กทม.-หนองคาย” เสร็จภายใน 4 ปี
โดย pimtawan
หน้า เศรษฐกิจ
สปริงนิวส์
22 ธันวาคม 2014 เวลา 12:06 น.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงโครงการรถไฟทางคู่ กทม.-หนองคาย เสร็จไม่เกินปี 2563 เพื่อยกระดับการขนส่ง

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ที่หอประชุมเปรม ติณสูลานนท์ หลังศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะเดินทางมาตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการดำเนินการ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ ด้านคมนาคมขนส่งในพื้นที่ จ.นครราชสีมา พร้อมร่วมประชุมกับหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า แนวทางความก้าวหน้าของแต่ละโครงการฯ ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นรูปธรรม เนื่องจากสภาพเส้นทางคมนาคมของ จ.นครราชสีมา เป็นประตูสู่ 20 จังหวัดภาคอีสาน มีลักษณะเป็นคอขวด การเดินทางมีปัญหาในช่วงเทศกาลสำคัญ จึงสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประสานงานผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลงพื้นที่สำรวจและชี้แจงการดำเนินโครงการฯ โดยกระทรวงคมนาคม จะเร่งพิจารณางบจากส่วนกลางมาซ่อมบำรุง และเพิ่มประสิทธิภาพเส้นทางที่มีปัญหาโดยเร็ว

ทั้งนี้ สำหรับโครงการสำคัญ คงเป็นโครงข่ายเชื่อมเส้นทาง โดยเฉพาะถนนบายพาส ระหว่างเมืองสู่เมือง มีความก้าวหน้าไปพอสมควร และโครงการรถไฟทางคู่ กรุงเทพ-หนองคาย เชื่อมถึงมาบตะพุด จ.ระยอง รวมระยะทางกว่า 900 กิโลเมตร ซึ่งรัฐบาลจีน และรัฐบาลไทย ได้ลงนามทำบันทึกข้อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว และในปี 2559 จะเริ่มดำเนินก่อสร้าง ซึ่งเป็นรถไฟทางคู่สายแรกของประเทศ จะแล้วเสร็จภายในปี 2563 หรือประมาณ 4 ปี เพื่อยกระดับการขนส่งและการโดยสารให้สมบูรณ์แบบ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/12/2014 9:20 am    Post subject: Reply with quote

ปลอบใจญี่ปุ่น! คมนาคม เเบ่งเค้กให้3เส้นทาง สร้างรถไฟทางคู่
มติชนออนไลน์ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 07:56:24 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวว่า หลังจากลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันพัฒนารถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน 1.435 เมตร ระหว่างไทยกับจีน ปรากฏว่าประเทศญี่ปุ่นสนใจที่จะดำเนินการรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง คือเส้นทางพุน้ำร้อน กาญจนบุรี-ระยอง เส้นทางแม่สอด ตาก-มุกดาหาร และเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ คาดว่าจะมีความชัดเจนหลังจากญี่ปุ่นตั้งรัฐบาลใหม่

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งในแผนแม่บทของรัฐบาล เพราะเป็นแนวคิดในการพัฒนาระบบขนส่งทางราง เชื่อมต่อระหว่างนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ไปยังท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศพม่า

แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก จากพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 160 ก.ม. ช่วงที่สอง กรุงเทพฯ-มาบตาพุด จ.ระยอง ระยะทางประมาณ 179 ก.ม. เป็นการพัฒนาทั้งระบบรางขนาด 1 เมตร และระบบรางขนาด 1.435 เมตร และจะมีการพัฒนารถไฟ

คู่ขนานไปกับการก่อสร้างถนน ซึ่งมีความสะดวกและ คุ้มค่า สิ่งสำคัญจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งโดยรวมของประเทศอีกด้วย

"ส่วนเส้นทางแม่สอด ตาก-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์ขอนแก่น-มุกดาหาร ปัจจุบันได้เสนอให้ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาศึกษาออกแบบความเป็นไปได้แล้ว และรอการตั้งคณะทำงานไปติดต่ออย่างเป็นทางการอีกครั้ง ส่วนการลงทุนก่อสร้างจริงจะรอผลสรุปการศึกษาก่อน"

สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่-เชียงของ นั้น พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของรัฐบาลอยู่ เนื่องจากรัฐบาลมีขีดจำกัดในเรื่องการลงทุน แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นก็สนใจการร่วมลงทุนพัฒนาเส้นทางนี้ เช่นกัน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นได้แสดงความไม่พอใจที่รัฐบาลไทยบันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับจีนภายในระยะเวลาไม่นาน แม้ว่าพล.อ.อ.ประจินจะระบุว่าเป็นการสานต่อจากที่เคยมีข้อตกลงจากรัฐบาลก่อนหน้านี้ ดังนั้น จึงมีกระแสข่าวว่ารัฐบาลจะจัดสรรโครงการลงทุนขนาดใหญ่ให้กับประเทศต่างๆ ที่สนใจและมีความพร้อม โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟทางคู่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งจีนก็มีความสนใจเช่นเดียวกับญี่ปุ่นด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/12/2014 9:33 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"บิ๊กตู่-หลี่ เค่อเฉียง"ร่วมสักขีพยาน ลงนามเอ็มโอยูไทย-จีน สร้างรถไฟทางคู่-ซื้อสินค้าเกษตร
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 19 ธันวาคม 2557 เวลา 19:11:33 น.


CCTV ออกข่าวเรื่องทางรถไฟที่ว่านั้นด้วย
https://www.facebook.com/CCTV.CH/posts/1113975842023307?reply_comment_id=1114253551995536&total_comments=1
http://news.cntv.cn/2014/12/23/VIDE1419333297371560.shtml
http://video.sina.com.cn/p/news/c/v/2014-11-19/064664267925.html
http://xinwenlianbo.cc/zhibo/20141221/29086.html
http://sztv.cutv.com/news/events/201412/23136359023.shtml
http://www.haijiangzx.com/2014/caijing_1224/235808_1_0.html

กงสุลจีนที่เชียงใหม่ก็เล่นข่าวเรื่องรถไฟความไวสูง เมื่อปี 2554 โดยเรียกสถานีกลางบางซื่อว่า 邦思总站
http://chiangmai.mofcom.gov.cn/article/e/201103/20110307464437.shtml

แม้แต่ลาวก็ลงข่าวเรื่อง MOU ฉบับนี้
http://lao.voanews.com/content/thai-government-approved-project-to-link-railway-with-china-through-laos/2564340.html
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 27, 28, 29 ... 121, 122, 123  Next
Page 28 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©