Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179690
ทั้งหมด:13490922
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 29, 30, 31 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2015 3:00 am    Post subject: Reply with quote

20 ม.ค.นี้ คิกออฟรถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-มาบตาพุด "บิ๊กจิน" ลั่นประมูลสิ้นปี สร้างเสร็จใน 2 ปี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
9 มกราคม 2558 เวลา 17:50:15 น.


พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 20-22 มกราคมนี้ คณะทำงานร่วมรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนจะประชุมหารือถึงการพัฒนาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน หรือ Standard Gauge ราง 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 734 กิโลเมตร และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร ความเร็ว 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทยกับจีน ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทยปี 2558-2565 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา

ทั่งนี้ จะมีการประชุมเป็นครั้งแรกหลังมีลงนามความร่วมมือระหว่างกัน โดยจะมีการหารือถึงรูปแบบการตั้งคณะกรรมการบริหารงานร่วมกัน 2 ฝ่าย การจัดทำแผนงาน เพื่อความสะดวกในการวางแผนสำรวจออกแบบ การประมาณการด้านราคา และบทบาทหน้าที่ในการรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย

จากนั้นระหว่างวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ จะมีการประชุมถึงรูปแบบการลงทุนและแหล่งที่มาของงบประมาณที่จะนำมาลงทุนก่อสร้างโดยจะกู้เงินจากธนาคารของจีนอย่างแน่นอนเนื่องจากเป็นข้อตกลงในMOUซึ่งมีหลายแหล่ง

จากนั้นช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมจะมีการลงพื้นที่สำรวจการก่อสร้างเมื่อดำเนินสำรวจออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วคาดว่าประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้จะทราบถึงตัวเลขงบประมาณที่ต้องนำมาลงทุนและประมูลก่อสร้างได้ในสิ้นปีนี้

สำหรับรูปแบบการก่อสร้างจะนำเทคโนโลยีของจีนมาวางระบบรางและการเดินรถโดยตั้งเป้าการก่อสร้างต้องแล้วเสร็จใน2ปีจากเดิมกำหนดไว้4ปีเนื่องจากมีการแบ่งการก่อสร้างเป็น 4 ช่วง จะทำให้รวดเร็วขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2015 7:58 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมแจงครม. เดินหน้าความร่วมมือโครงการรถไฟไทย-จีน ดีเดย์ประชุมนัดแรกปลาย เดือนม.ค.นี้
เดลินิวส์ วันอังคาร 13 มกราคม 2558 เวลา 18:09 น.

ร.อ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.ได้รับทราบความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าไทย-จีน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยวันที่ 21-23 ม.ค.นี้ ผู้แทนคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายจีน จะหารือร่วมกันครั้งแรก เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน และวันที่ 5-7 ก.พ.จะหารือร่วมกันเป็นครั้งที่ 2 เพื่อตกลงแผนงาน บทบาท หน้าที่ ของแต่ละฝ่าย รวมถึงการสำรวจ และออกแบบการก่อสร้าง เพื่อเดินหน้าโครงการฯให้เป็นรูปธรรมต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประเด็นสำคัญในการหารือรอบแรกนั้น จะพูดคุยถึงการศึกษา การออกแบบ การเวนคืนที่ดิน เพื่อการก่อสร้างว่าจะใช้เส้นทางเดิม หรือเส้นทางใหม่ รวมถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานร่วมไทย-จีน เพื่อกำหนดแผนงาน ประเมินราคา และการแบ่งหน้าที่ 2 ฝ่ายให้ชัดเจน ส่วนรอบสองวันที่ 5-7 ก.พ. 58 จะหารือด้านการลงทุนว่า จะใช้งบประมาณจากฝ่ายจีนและฝ่ายไทยเท่าไร และใช้เวลาลงทุนโครงการกี่ปี จากการนั้นช่วงปลายเดือน ก.พ.ถึงต้นเดือน มี.ค.58 จะเดินทางไปสำรวจพื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้างต่อไป

นอกจากนี้ทางการจีน จะนำรายชื่อสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมเงื่อนไขการปล่อยกู้มาให้รัฐบาลไทยพิจารณาด้วย โดยคาดว่าใช้เวลาอีก 6 เดือน หรือภายในเดือน ส.ค.จะได้ข้อสรุปว่ารูปแบบการศึกษาโครงการ แหล่งเงินกู้ รวมถึงงบประมาณที่ใช้ลงทุนครั้งแรกจะมีวงเงินเท่าไร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 13/01/2015 10:08 pm    Post subject: Reply with quote

ชง“บิ๊กตู่”พบนายกฯญี่ปุ่น
เดลินิวส์
วันอังคาร 13 มกราคม 2558 เวลา 17:32 น.

คมนาคม ชง “ประยุทธ์” เยือนญี่ปุ่น ถกผู้นำประเทศร่วมมือรถไฟเร็วสูง ให้เลือก 3 เส้นทาง คาดเลือก กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ยันนโยบายแบ่งเค้กทั่วถึง ไม่ให้ผูกขาด


พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงการเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือกับนายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรี ญี่ปุ่น วันที่ 8 ก.พ.นี้ว่า กระทรวงคมนาคมจะเสนอให้ผู้นำทั้ง 2 ประเทศ หารือความร่วมมือโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตรร่วมกัน โดยมี 3 เส้นทางให้ญี่ปุ่นเลือก ได้แก่ เส้นทางแม่สอด จ.ตาก-พิษณุโลก-ขอนแก่น-มุกดาหาร ระยะทาง 770 กม.เส้นทางพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-มาบตาพุด จ.ระยอง ระยะทาง 339 กม. และเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 653 กม.

ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าญี่ปุ่นจะเลือกเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เนื่องจากมีโอกาสเกิดขึ้นได้ก่อนเส้นทางอื่น โดยหากผู้นำทั้ง 2 ประเทศเห็นชอบร่วมกัน ขั้นตอนต่อไปจะมีการนัดลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) การพัฒนารถไฟทางคู่ทั้ง 2 ประเทศแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) และจัดตั้งคณะทำงานเพื่อทำการศึกษา กำหนดรายละเอียดเส้นทาง การลงทุน ซึ่งเป็นลักษณะการลงทุนเดียวกับที่ไทยได้ทำกับรัฐบาลจีน

“ก่อนหน้านี้ ตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่นได้หารือกับกระทรวงคมนาคมในการพัฒนาระบบรางร่วมกัน 2 ครั้งตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ต่อมารัฐบาลญี่ปุ่นได้ยุบสภา จึงต้องชะลอการพูดคุยจนกระทั่งญี่ปุ่นได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งล่าสุด เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 58 ปลัดกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน (เมติ) ของญี่ปุ่นก็ได้เข้าพบอีกครั้ง เพื่อสอบถามความคืบหน้าความร่วมมือ ก่อนที่ผู้นำทั้ง 2 ประเทศจะพบกัน ซึ่งในการเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ได้ให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม เดินทางไปด้วย ในฐานะเลขาฯ คณะนายกรัฐมนตรี”

ทั้งนี้เส้นทางรถไฟทางคู่สายเหนือ เดิมจะสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ–เชียงของ เพื่อเชื่อมไปต่อไปสปป.ลาว และจีน แต่ต่อมาจีนได้เปลี่ยนเส้นทางเชื่อมต่อไปที่ จ.หนองคาย แทน จึงได้ตัดเหลือแค่กรุงเทพฯ-เชียงใหม่เท่านั้น แต่ทั้ง 3 เส้นทางที่จะหารือกับญี่ปุ่นได้อยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ตั้งแต่สมัยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อเดือนก.ค.57 อยู่แล้ว โดยมีแผนทั้งการทำถนนและรถไฟทางคู่จากฝั่งตะวันออกกับตะวันตก รวมถึงเพื่อเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตลอดจนเชื่อมต่อทะเลฝั่งอันดามันเข้ากับทะเลแปซิฟิกตอนใต้

สำหรับ นโยบายการลงทุนพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ของไทย นอกจากจะหารือกับรัฐบาลจีนและญี่ปุ่น แล้ว รัฐบาลเกาหลีใต้ยังแสดงความสนใจร่วมมือกับไทยเช่นกัน ซึ่งขณะนี้ไทยได้ส่งข้อมูลแผนการลงทุนไปให้ทางสถานทูตเกาหลีประจำประเทศไทย แล้ว รวมถึงทางคณะทูตอังกฤษก็ได้สอบถามด้วย แต่รัฐบาลไม่มีนโยบายให้ประเทศเดียวทำทุกสายแน่นอน แต่พร้อมจะร่วมมือกับทุกประเทศ หากมีประเทศที่สนใจร่วมมือ ก็จะศึกษา และร่วมลงทุนด้วยกัน แต่หากไม่มีประเทศใดสนใจเลย ก็จะให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปศึกษาการลงทุนเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/01/2015 5:00 pm    Post subject: Reply with quote

คาดญี่ปุ่นสนทางคู่ "กทม.-เชียงใหม่" บิ๊กตู่เตรียมบินถก "อาเบะ" พร้อมเซ็นเอ็มโอยูลงทุน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
14 มกราคม 2558 เวลา 13:40:02 น.


ไทยพร้อมประเคนรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร รวม 3 เส้นทางให้ญี่ปุ่นจิ้มเลือกว่าจะทำ เส้นไหน โดยบิ๊กตู่เตรียมบินจับเข่า"ชินโซะ อาเบะ" ต้นเดือนหน้า คาดญี่ปุ่นสนใจสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในการเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือกับนายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในวันที่ 8 ก.พ. นี้ว่า กระทรวงคมนาคมจะเสนอให้ผู้นำทั้ง 2 ประเทศ หารือความ ร่วมมือโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตรร่วมกัน

โดยฝ่ายไทยจะเสนอให้ญี่ปุ่นพิจารณาเลือกดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในไทย จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางแม่สอด จ.ตาก-พิษณุโลก-ขอนแก่น-มุกดาหาร ระยะทาง 770 ก.ม., เส้นทางพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-มาบตาพุด จ.ระยอง ระยะทาง 339 ก.ม. และเส้นทางกรุงเทพฯฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 653 ก.ม.

"มีความเป็นไปได้ว่าญี่ปุ่นจะเลือกเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เนื่องจากมีโอกาสเกิดขึ้นได้ก่อนเส้นทางอื่น โดยหากผู้นำทั้ง 2 ประเทศเห็นชอบร่วมกัน ขั้นตอนต่อไปจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) การพัฒนารถไฟทางคู่ทั้ง 2 ประเทศแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) และ จัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษา กำหนดรายละเอียดเส้นทาง การลงทุน ซึ่งเป็นลักษณะการลงทุนเดียวกับที่ไทยได้ทำกับรัฐบาลจีน

ก่อนหน้านี้ตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่นได้หารือกับกระทรวงคมนาคมในการพัฒนาระบบรางร่วมกัน 2 ครั้ง แต่ต่อมารัฐบาลญี่ปุ่นยุบสภาจึงต้องชะลอการพูดคุยจนกระทั่งญี่ปุ่นได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ ล่าสุดปลัดกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน (เมติ) ของญี่ปุ่นก็ได้เข้าพบอีกครั้ง เพื่อสอบถามความคืบหน้าความร่วมมือ ก่อนที่ผู้นำทั้ง 2 ประเทศจะพบกัน

สำหรับเส้นทางรถไฟทางคู่สายเหนือ เดิมจะสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงของ เพื่อเชื่อมไปสปป.ลาว และจีน แต่ต่อมาจีนได้เปลี่ยนเส้นทางเชื่อมต่อไปที่ จ.หนองคาย แทน จึงตัดเหลือแค่กรุงเทพฯ-เชียงใหม่เท่านั้น แต่ทั้ง 3 เส้นทางที่จะหารือกับญี่ปุ่นอยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ตั้งแต่สมัยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดือนก.ค.2557 อยู่แล้ว โดยจะทำทั้งถนนและรถไฟทางคู่จากฝั่งตะวันออกกับตะวันตก เพื่อเชื่อมเขตเศรษฐกิจ พิเศษทวายกับนิคมฯ มาบตาพุด และยังเป็นการเชื่อมต่อทะเลฝั่งอันดามันเข้ากับทะเลแปซิฟิกตอนใต้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2015 11:54 pm    Post subject: Reply with quote

ประจิน”คิกออฟรถไฟไทย-จีน ดีเดย์ตอกเข็มช่วง กรุงเทพ-แก่งคอย 1 ก.ย.58

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
15 มกราคม 2558 16:08 น.


“ประจิน”ติดเครื่องรถไฟทางคู่ไทย-จีน รางมาตรฐาน หนองคาย-แก่งคอย-มาบตาพุด-กรุงเทพ มูลค่า 4แสนล. วางกรอบหารือคณะทำงาน 3 ครั้ง ตั้งเป้า 1 มี.ค.ลงพื้นที่สำรวจออกแบบก่อสร้าง 2 ระยะ เริ่ม 1 ก.ย.58 สร้างเสร็จใน 2 ปีครึ่ง ขึ้นทะเบียนรับเหมาไทยคัดชื่อร่วมงานก่อสร้าง เล็งให้ร.ฟ.ท.เป็นหลักงานเดินรถ

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย (คบร.) วันนี้ (15 ม.ค.) ว่า ได้ประชุมเพื่อเตรียมการฝ่ายไทยสำหรับการประชุมร่วมไทย-จีนเพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ครั้งที่ 1 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 21-22 มกราคม 2558 นี้โดยแต่ละฝ่ายจะนำเสนอหัวข้อในการร่วมมือในภาพรวม และจะสรุปเนื้อหาทั้งหมดในการประชุมครั้งที่ 2 วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2558 และครั้งที่ 3 วันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ 2558

ทั้งนี้ แผนงานการก่อสร้างรถไฟทางมาตรฐาน (Standard gauge) 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 734 กม. และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ 133 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาทนั้น จะมี 4 ช่วง โดยแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ระยะ
ก่อสร้างช่วงที่ 1 กรุงเทพ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กม. และ
ช่วงที่ 2. แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กม. เริ่มก่อสร้าง 1 กันยายน 2558
คาดว่าจะเปิดให้บริการเดินรถได้ในเดือนธันวาคม 2560

ระยะที่สอง จะเป็น
การก่อสร้างช่วงที่ 3. แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม.และ
ช่วงที่ 4. นครราชสีมา –หนองคาย ระยะทาง 355 กม. เริ่มก่อสร้าง 1 ธันวาคม 2558 คาดว่าจะเปิดให้บริการเดินรถได้ในเดือนมีนาคม 2561

โดยหลังจากคณะกรรมการบริหารโครงการฯสรุปรายละเอียดแล้ว จะสามารถเริ่มทำงาน จัดทีมลงพื้นที่สำรวจออกแบบ ได้ในวันที่ 1 มีนาคม 2558 และในการสำรวจออกแบบจะใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่มันสมัยเข้ามาช่วย ซึ่งนอกจากจะลดค่าใช้จ่ายและยังทำให้การทำงานรวดเร็วมากขึ้น ใช้เวลาลดลงจากการทำงานแบบเดิม 1 ใน 3 โดยเส้นทางเกือบ 1,000 กม. จะใช้เวลาออกแบบ 6-7 เดือนจากวิธีเดิมจะใช้เวลา 1.5 ปี ส่วนการก่อสร้างจะแบ่งเป็นช่วงจะแล้วเสร็จใน 2.5 ปี จากเดิมไม่น้อยกว่า 4 ปี

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า เรื่องการก่อสร้างในส่วนของไทยได้รวบรวมบริษัทก่อสร้างทั้งรายใหญ่ บริษัทรับเหมาช่วง และบริษัทผู้แทนบริษัทต่างชาติ ที่มีผลงานและความน่าเชื่อถือไว้ มีประสบการณ์การทำงานในต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 15 บริษัทแล้วตั้งแต่ ช่วงกันยายน-ตุลาคม 2557 และยังเปิดโอกาสให้เสนอตัวเข้ามาอีก ส่วนฝ่ายจีนมีรัฐวิสาหกิจด้านรถไฟ 5 แห่ง และมีบริษัทย่อยที่มีความสามารถด้านก่อสร้าง งานระบบรถ อาณัติสัญญาณ อีกจำนวนมาก ซึ่งจะจัดลำดับรายชื่อไว้และนำมาคัดเลือกร่วมกับฝ่ายจีนต่อไป ไม่ประกวดราคาเพราะเป็นความร่วมมือรัฐต่อรัฐ ( จีทูจี) ส่วนงานเดินรถนั้น ไทยมีหน่วยงานหลักจะเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยจะศึกษารูปแบบที่เหมาะสม ว่าจะต้องร่วมกับเอกชนอย่างไร

“การทำงานแบบคู่ขนานและใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีมาช่วย จะรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายได้ พร้อมกันนี้เพื่อให้การดำเนินงานและความร่วมมือของ 2 ฝ่าย บรรลุตามเป้าหมาย จะมีคณะกรรมการจากหลายฝ่ายเข้ามาช่วยให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะโดยนำปัญหาอุปสรรคในอดีตมาเป็นข้อมูลเพื่อเตรียมแผนแก้ไขไว้ล่วงหน้าอีกด้วย ” พล.อ.อ.ประจินกล่าว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรองประธานคณะกรรมการบริหารโครงการฯ กล่าวว่า แนวทางการลงทุนนั้น ทางจีนมีความพร้อม และเปิดกว้างทุกรูปแบบ ทั้งให้เงินกู้ 100% หรือลงทุนให้ก่อน100%และไทยใช้คืนภายหลัง หรือจะเป็นการร่วมลงทุน ซึ่งคณะอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบลงทุนของไทยจะพิจารณาเลือกรูปแบบที่ดีที่สุด
โดยหากเป็นการร่วมทุนจะต้องพิจารณาว่า ฝ่ายไทยจะลงทุนกี่รายการ และต้องใช้แหล่งเงินจากที่ใด ซึ่งมีทั้ง งบประมาณ เงินกู้ หรือ ระดมทุนด้วยการออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนระบบและตัวรถไฟฟ้านั้น จะใช้เทคโนโลยีของจีนแน่นอน แต่จะต้องออกแบบให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศของไทย ที่ภาคอีสานเป็นที่ราบและมีบางช่วงที่ต้องผ่านภูเขา เป็นต้นพร้อมกันนี้จะมีการพัฒนาบุคลากรให้พร้อมกับเทคโนโลยีการก่อสร้างและเทคโนโลยีเดินรถ

สำหรับ ฝ่ายไทยนั้น มีการจัดตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการชุดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ ภายใต้ MOU รถไฟไทย-จีน ประกอบด้วย คณะกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการกำกับการดำเนินโครงการ มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน คณะกรรมการบริหารโครงการ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน คณะอนุกรรมการ 3 ชุด คือ คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาโดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน คณะอนุกรรมการบูรณาการแผนงานและการดำเนินงาน ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน คณะอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุน ที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน

//-------------------------

แผนลงทุนรถไฟไทย-จีน ได้ข้อสรุป ก.พ. นี้
by Rachida Chuabunmee
VoiceTV
15 มกราคม 2558 เวลา 17:17 น.


กระทรวงคมนาคม เดินหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟร่วมกับจีน คาดได้ข้อสรุปแผนดำเนินงานภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ มั่นใจแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2561


ที่ประชุมเตรียมการฝ่ายไทย-จีน เพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ได้จัดทำโรดแมปโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร จำนวน 2 เส้นทาง ระยะทาง 873 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 4 แสนล้านบาท แบ่งการดำเนินงานเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย 133 กิโลเมตร ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด 246.5 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา 138.5 กิโลเมตร และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย 355 กิโลเมตร

โดยช่วงที่ 1 และ 2 ได้เริ่มออกแบบก่อสร้างและเวนคืนที่ดินแล้ว จะเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ 1 กันยายนนี้ และก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการเดือนธันวาคม 2560 ส่วนช่วงที่ 3 และ 4 คาดจะเริ่มก่อสร้างสิ้นปีนี้ ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการเดือนมีนาคม 2561

พลอากาศเอกประจิน กล่าวว่า ในวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์นี้ จะมีการประชุมทำความเข้าใจแผนงานและบทบาทหน้าที่ และพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคการก่อสร้างระหว่างไทย-จีน ก่อนประชุมพิจารณารูปแบบการลงทุนและคัดเลือกหน่วยงานหรือบริษัทจีนเข้ามาดำเนินการร่วมกับไทยในวันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ คาดจะได้ข้อสรุปและเดินหน้าตามแผนงานวันที่ 1 มีนาคมนี้

ทั้งนี้ ฝ่ายจีนพร้อมร่วมมือกับไทยใน 3 รูปแบบ คือ จีนลงทุน 100% , กู้เงินจากจีนมาลงทุน หรือร่วมลงทุนกับจีน ซึ่งจะเลือกรูปแบบที่ดีที่สุด ส่วนการเดินรถ ฝ่ายไทยจะดำเนินการเองทั้งหมด ยกเว้นเทคโนโลยีและตัวรถ จะเป็นบริษัทจากจีน

ขณะนี้ มีผู้ประกอบการไทยและจีนทั้งรายใหญ่และรายย่อย เสนอชื่อเข้าร่วมโครงการหลายราย ซึ่งมอบหมายให้ที่ปรึกษาไปรวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการทั้งฝ่ายไทยและจีน เพื่อจับคู่คัดเลือกบริษัทที่มีความเหมาะสมเข้ามาดำเนินงานร่วมกัน

//----------------

ประจิน ฟุ้งรถไฟเร็วสูงไทย-จีนเสร็จปี61
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 15 มกราคม 2558 เวลา 19:00 น.

"ประจิน" มั่นใจก่อสร้างรถไฟเร็วสูงไทย-จีน เสร็จใน 2 ปีครึ่ง พร้อมนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ช่วยสร้างเร็ว-ประหยัดงบ
...

“การออกแบบก่อสร้างจะมีการนำเทคโนโลยีเครื่องบินติดกล้องภาพถ่ายแผนที่ทางอากาศและระบบเซ็นเซอร์พื้นดินที่ทันสมัยมาใช้ในการสำรวจแนวก่อสร้าง ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้การสำรวจออกแบบทำได้เร็ว และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย สำหรับกรอบวงเงินเดิมกำหนด หากสร้างรถไฟทางคู่ 1,000 กม. ใช้เงินลงทุน 4 แสนล้านบาท แต่ครั้งนี้อาจจะใช้เงินไม่ถึงเพราะระยะทางทำแค่ 873 กม.เท่านั้น”

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวต่อว่า การประชุมคณะทำงานร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 1 วันที่ 21-22 ม.ค.นี้ มีประเด็นสำคัญพูดคุยถึงความสำคัญของโครงการ การศึกษา การออกแบบ และการแบ่งบทบาทหน้าที่ 2 ฝ่ายให้ชัดเจน หลังจากนั้นวันที่ 5-7 ก.พ. 58 จะประชุมรอบสองเพื่อหารือแผนการลงทุนว่า จะใช้งบประมาณจากฝ่ายจีนและไทยเท่าไร และครั้งสุดท้ายวันที่ 25-27 ก.พ.จะหารือเพื่อสรุปกรอบการทำงานทั้งหมด

ส่วนการเปิดประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างต่างๆนั้น เนื่องจากโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับจีน จึงได้มีการรวบรวมข้อมูลบริษัทไทยที่มีขีดความสามารถดำเนินโครงการ 12–15 บริษัท เป็นทั้งบริษัทระดับใหญ่ ระดับกลางและผู้แทนของบริษัทต่างชาติ ส่วนฝ่ายจีนก็มีการสรุปรายชื่อบริษัทผู้รับเหมาเช่นกัน ซึ่งมากจาก 5 รัฐวิสาหกิจของจีน ซึ่งทั้งฝ่ายไทยและจีนจะนำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกัน และจับคู่คัดเลือกหาบริษัทที่มีความเหมาะสมที่จะเข้ามาดำเนินงานต่อไป เพื่อสรุปและนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมร่วมไทย-จีนครั้งที่ 3 ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2015 10:57 am    Post subject: Reply with quote

เคาะงบรถไฟไทย-จีน4แสนล้าน
การเงิน - การลงทุน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 16 มกราคม 2558 10:00

"ประจิน"เดินหน้ารถไฟทางคู่ไทย-จีน ตีกรอบงบ4แสนล้าน ใช้เวลาก่อสร้าง2ปีครึ่ง คาดเริ่มก่อเฟสแรกเดือนก.ย.58

เปิดบริการได้ปลายปี 2560 ด้านบัวแก้วชี้เป็นการยืนยันไทยเป็นศูนย์กลางขนส่งอาเซียน ขณะนักวิชาการชี้หวั่นงบบานปลาย หากเลี่ยงประมูล แนะเปิดรายละเอียดสัญญาลงทุน

กระทรวงคมนาคมได้ข้อสรุปสำหรับฝ่ายไทย เตรียมเสนอในที่ประชุมร่วม ไทย-จีนในโครงการรถไฟทางคู่ กรุงเทพฯ-แก่งคอย และหนองคาย-มาบตาพุด ระยะทางรวม 873 กิโลเมตร โดยใช้งบลงทุน 4 แสนล้านบาท เริ่มก่อสร้างปลายปีนี้และแล้วเสร็จภายในเวลา 2 ปีครึ่ง

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมเตรียมการฝ่ายไทยสำหรับการประชุมร่วม ไทย-จีน เพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ครั้งที่ 1 ว่า โครงการรถไฟทางคู่ เป็นทางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด และกรุงเทพ-แก่งคอย ที่เคยลงนามเซ็นเอ็มโอยูกับจีนเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมา จะดำเนินการประชุมเพื่อศึกษารายละเอียดแผนงานและขั้นตอนการดำเนินโครงการเพื่อให้ได้ข้อสรุปภายในเดือนก.พ. 2558 พร้อมเริ่มดำเนินโครงการในการศึกษาและสำรวจออกแบบจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม แผนและรูปแบบการลงทุนภายในวันที่ 1 มี.ค. 2558

"คาดว่าจะสามารถสรุปผลการดำเนินงานทุกอย่างรวมถึงรูปแบบการลงทุนได้ในเดือน ก.ค. 2558"

การประชุมคณะกรรมการบริหารงานโครงสร้างพื้นฐานรถไฟไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งฝ่ายไทยเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 21-22 ม.ค.นี้ เพื่อเสนอหัวข้อรายละเอียด หลังจากนั้น จะมีการจัดประชุมรอบสอง ในวันที่ 5-7 ก.พ.เพื่อสรุปข้อเสนอทั้งหมด และ ครั้งสุดท้ายในวันที่ 25-27 ก.พ.ก่อนจะเริ่มลงพื้นที่สำรวจศึกษาออกแบบก่อสร้างในวันที่ 1 มี.ค.

ส่วนแผนการดำเนินงานก่อสร้างงานโยธาจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ระยะทางรวม 873 กม. คือ
ช่วงที่ 1 กรุงเทพ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กม.
ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กม.
ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม. และ
ช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย 355 กม.

จากนั้นก็พร้อมดำเนินการก่อสร้างงานโยธาช่วงที่ 1-2 ได้ในวันที่ 1 ก.ย. 2558 งานก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดให้บริการเดินรถในเดือนธ.ค. 2560 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธาช่วงที่ 3-4 ในวันที่ 1 ธ.ค. 2558 ก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดให้บริการเดินรถ มี.ค. 2561 โดยใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2ปีครึ่ง เพราะมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยด้วย

“การแบ่งย่อยโครงการออกเป็น 4 ช่วง เพื่อความสะดวกและความรวดเร็วในการสำรวจและออกแบบ มีการจัดทีมงาน 4 ชุดลงพื้นที่ทำงานคู่ขนานกันไป ส่วนสำนักงานบริหารโครงการตั้งอยู่ที่กระทรวงคมนาคม มีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าสำนักงาน เพื่อจะดำเนินการสำรวจออกแบบงานโยธา ระบบราง ระบบสัญญาณ การจัดหาพื้นที่ การจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ตลอดจนการบริหารกิจการมวลชนสัมพันธ์และข่าวสารเพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อให้การก่อสร้างและการดำเนินงานทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด” พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

เปิดประมูลผู้รับเหมาทั้งไทย-จีน

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ในขณะที่การเปิดประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างต่างๆนั้น เนื่องจากโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับจีน ขณะนี้ได้มีการรวบรวมข้อมูลบริษัทไทยที่มีขีดความสามารถดำเนินโครงการในด้านต่างๆ ประมาณ 12 - 15 บริษัท เป็นทั้งบริษัทระดับใหญ่ ระดับกลางและผู้แทนของบริษัทต่างชาติ ส่วนฝ่ายจีนก็มีการสรุปรายชื่อบริษัทผู้รับเหมาเช่นกัน ซึ่งมาจาก 5 รัฐวิสาหกิจของจีน แต่มีจำนวนบริษัทมากกว่า

"ฝ่ายไทยและจีนจะนำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกันจับคู่คัดเลือกหาบริษัทที่มีความเหมาะสมที่จะเข้ามาดำเนินงานต่อไป โดยจะเร่งดำเนินการสรุปและนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมร่วมไทย-จีนครั้งที่ 3"

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่าค่าก่อสร้างงานโยธานั้นคณะทำงานได้เดิมประเมินค่าก่อสร้างไว้ที่ 1,000 กม. ประมาณ 4 แสนล้านบาท ส่วนโครงการนี้ 873 กม. ค่าก่อสร้างประมาณ 3.5 แสนล้านบาท แต่ขึ้นอยู่กับข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจว่าแนวก่อสร้างเส้นทางกับการเวนคืนที่ดิน ซึ่งพยายามจะยึดตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม เพื่อจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่หากต้องตัดแนวเส้นทางใหม่ก็อาจมีค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นด้วย

เผยใช้ตัวรถ-เทคโนโลยีจีน

ด้าน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในการหารือครั้งแรกจะมีการตกลงเรื่องโครงสร้างและรูปแบบการทำงานร่วมกัน โดยมีการตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมาทำงานร่วมกัน กรอบเวลาในการทำงาน ช่วงเวลาในการศึกษาออกแบบ ประมาณการค่าใช้จ่าย ส่วนการก่อสร้างจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง จากนั้นจะหารือในรายละเอียดเรื่องการศึกษาและสำรวจออกแบบ

ส่วนระบบเทคโนโลยีและตัวรถจะใช้ระบบของประเทศจีน แต่จะให้มีการออกแบบให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศของไทย เพราะตามแนวเส้นทางบางผ่านภูเขาอาจต้องทำเป็นอุโมงค์ด้วย รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากร และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการก่อสร้างทางและการเดินรถ ซึ่งจะมีการจัดตั้งบริษัทหรือหน่วยงาน หรือบริษัทร่วมทุนหากเลือกรูปแบบการร่วมทุน เข้ามารับผิดชอบงานด้านการก่อสร้าง

จีนเปิดกว้างเงื่อนไขลงทุนให้ไทยเลือก

ในเรื่องแหล่งเงินและรูปแบบการลงทุนนั้น นายอาคม กล่าวว่า คณะอนุกรรมการคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุน จะต้องไปศึกษาในรายละเอียดทั้งรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม เกิดประโยชน์กับประเทศไทยสูงสุด ก่อนจะนำเข้าหารือร่วมกันในการประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 5 -7 ก.พ. 2558 จากการหารือกับฝ่ายจีนนั้นไม่ได้ติดใจรูปแบบการลงทุน แต่มีข้อเสนอที่เปิดกว้างพร้อมจะลงทุนให้ก่อน หรือให้เงินกู้กับฝ่ายไทย หรือาจเป็นการร่วมทุน ส่วนฝ่ายไทยต้องไปพิจารณาหาแหล่งเงินทุน หากเป็นการร่วมทุนต้องมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายและสัดส่วนการร่วมทุน ส่วนที่จะใช้เงินงบประมาณ กับส่วนที่เป็นเงินกู้ หรือการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยใช้เครื่องมือการระดมทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นต้น

“จีนเปิดกว้างตั้งแต่ออกเงินทุนให้ 100 % ให้ใช้คืนทีหลัง หรืออาจใช้วิธีการกู้เงินจากจีน หรือจะเป็นการลงทุนร่วมกัน ทั้งในส่วนของการก่อสร้างและระบบอาณัติสัญญาณและตัวรถ ส่วนการเดินรถชัดเจนว่าไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบในการเดินรถเอง ไทยจะลงทุน 100 % “ นายอาคมกล่าว

ชี้ยอมรับไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคม

ขณะที่ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การประชุมร่วมไทยจีนครั้งแรก จะย้ำถึงความสำคัญของโครงการร่วมมือความสัมพันธ์ไทยจีน เพราะถือว่าโครงการนี้เป็นการบุกเบิกโครงสร้างพื้นฐานของรถไฟไทยที่เป็นความร่วมมือกับจีนเป็นครั้งแรก เป็นการส่งเสริมเชิงยุทธศาสตร์ของทั้ง 2 ประเทศ ถือว่าเป็นการพัฒนาพื้นที่ทางรถไฟเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นการยอมรับว่าไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในภูมิภาคอาเซียน

"เริ่มต้นจากเส้นทางรถไฟหนองคายมากรุงเทพและระยอง เพื่อที่จะต่อขยายไปในเส้นทางสายอื่นๆ กับประเทศอื่นๆ ในอนาคต เป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศอาเซียน"

ทีดีอาร์ไอหวั่นไม่ประมูลทำราคาสูง

นายสุเมธ องกิตติกุลผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่ง และโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวการเดินหน้าโครงการดังกล่าวถือว่ามีความรวดเร็วเนื่องจากการกำหนดระยะเวลาในการสำรวจและออกแบบการก่อสร้างในระยะเวลา 6 เดือนถือว่าใช้เวลาน้อยกว่าโครงการขนาดใหญ่โครงการอื่นๆ ที่จะต้องใช้เวลาในการออกแบบ สำรวจเส้นทางเป็นเวลา 1-2 ปี เพราะโครงการมีรายละเอียดมากการออกแบบจึงจะต้องทำอย่างรอบคอบ

ทั้งนี้ มองว่าการดำเนินโครงการในระยะเวลาที่จำกัดกระทรวงคมนาคมอาจจะไม่มีการเปิดประมูลโครงการ ซึ่งการไม่เปิดประมูลก็ทำให้ราคาโครงการอาจสูงกว่าความเป็นจริงเนื่องจากจะไม่มีการต่อรองราคากับผู้รับเหมาก่อสร้าง

“การประเมินราคาก่อสร้างไว้ที่ 4 แสนล้านบาทเข้าใจว่าเป็นการประเมินราคากลางทั้งเส้นทาง แต่ในการดำเนินการจริงๆจะต้องมีการแบ่งสัญญาการก่อสร้างออกเป็นสัญญาย่อยๆ ถ้าไม่มีการประมูลแล้วถึงเวลาก่อสร้างจริงๆ หากงบประมาณบานปลายขึ้นมาจะทำอย่างไร จะมีมาตรการในการดูแลอย่างไร เรื่องนี้ต้องจับตามองเพราะความสำเร็จของการดำเนินโครงการขนาดใหญ่จะต้องมาพร้อมกับความถูกต้องของการดำเนินการในทุกโครงการด้วย” นายสุเมธกล่าว

ชี้ควรเปิดเผยรายละเอียดลงทุน

นายสุมเมธกล่าวต่อไปว่าสำหรับการลงทุนในโครงการนี้ที่กระทรวงคมนาคมระบุว่าประเทศจีนมีความพร้อมที่จะลงทุนในโครงการนี้ให้ทั้ง 100% ว่าการที่เข้ามาลงทุนในโครงการคมนาคมและโครงการขนาดใหญ่ในประเทศไทยของต่างชาติเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแต่สิ่งที่กระทรวงคมนาคมควรจะมีการเปิดเผยก็คือเงื่อนไขของการลงทุนในโครงการนี้ของประเทศจีนมีอย่างไร หากเป็นลักษณะการให้ประเทศไทยกู้เงินและจีนคิดผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยจากเงินกู้ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีเงื่อนไขอื่นๆ ก็ต้องดูว่าเป็นเงื่อนไขที่เราเสียเปรียบหรือทำให้โครงการมีมูลค่าสูงกว่าความเป็นจริงหรือไม่

“การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ที่เปิดโอกาสให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนถือว่าเป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งในอดีตเป็นการกู้เงินมาลงทุนเช่นเงินกู้ของไจก้าของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการกู้เงินที่มีเงื่อนไขให้ดอกเบี้ยต่ำ ส่วนโครงการที่จะลงทุนใหม่ก็ต้องดูว่าเงื่อนไขแต่ละโครงการคืออะไรเป็นเรื่องที่เราต้องคุยกับผู้ลงทุนให้ชัดและเปิดเผยให้สังคมทราบ เพราะการที่รัฐบาลระบุว่าโครงการไหนให้ประเทศใดลงทุนก็มีความเสี่ยงที่โครงการจะมีราคาสูงกว่าการเปิดประมูลทั่วไปเพราะที่ผ่านมาก็มีการกำหนดเงื่อนไขว่าให้ใช้วัสดุก่อสร้างหรือเทคโนโลยีจากประเทศใดประเทศหนึ่งทำให้ไม่เกิดการต่อรองราคา” นายสุเมธกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/01/2015 5:53 pm    Post subject: Reply with quote

ข่าวการเริ่มโครงการ เร็วปานสายฟ้าแลบ ก็ฮือฮาไปถึงเมืองจีนหละ
http://europe.chinadaily.com.cn/business/2015-01/16/content_19337985.htm
http://www.guancha.cn/Industry/2015_01_16_306475.shtml
http://blog.wenxuecity.com/myblog/67837/201501/17253.html
http://mil.news.sina.com.cn/2015-01-16/1525818467.html

ข่าวนี้ออก ซีซีทีวีด้วย
http://news.qq.com/a/20150116/001920.htm

คมนาคมลั่นปี 60-ได้นั่งไฮสปีดเทรน เปิดบริการสายแรก "กรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
16 มกราคม 2558 เวลา 14:30:53 น.


"ประจิน" มั่นใจอีก 2 ปีเปิดใช้รถไฟความเร็วปานกลางสายแรกกรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด จากนั้นอีกไม่ถึงปีเสร็จอีกสายแก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย เผยมีเอกชนทั้งไทย-จีนหลายสิบบริษัทเสนอเข้าร่วม เร่งสรุปจะลงทุนรูปแบบไหน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมเตรียมการฝ่ายไทย-จีน เพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ครั้งที่ 1 ว่าที่ประชุมจัดทำโรดแม็ปการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร จำนวน 2 เส้นทาง รวมระยะทาง 873 ก.ม. วงเงินลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท

แบ่งแผนการดำเนินการออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ 1.กรุงเทพฯ-แก่งคอย 133 ก.ม., 2.แก่งคอย-มาบตาพุด 246.5 ก.ม., 3.แก่งคอย-นครราชสีมา 138.5 ก.ม. และ 4. นครราชสีมา-หนองคาย 355 ก.ม.

"โดยช่วงที่ 1 และ 2 จะเริ่มออกแบบก่อสร้างและเวนคืนที่ดินช่วงตั้งแต่ 1 ม.ค. 2558 เริ่มก่อสร้าง 1 ก.ย. 2558 แล้วเสร็จและเปิดเดินรถภายในเดือน ธ.ค.2560 ส่วนช่วงที่ 3 และ 4 คาดว่าจะเริ่มออกแบบก่อสร้างและเวนคืนที่ดินช่วงม.ค.2558 เริ่มก่อสร้าง 1 ธ.ค. 2558 ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการเดินรถ มี.ค. 2561"

การออกแบบก่อสร้างจะนำเทคโนโลยีเครื่องบินติดกล้องถ่ายภาพแผนที่ทางอากาศ และระบบเซ็นเซอร์พื้นที่ที่ทันสมัยมาใช้ในการสำรวจแนวก่อสร้าง เชื่อว่าจะทำให้การสำรวจออกแบบทำได้เร็วและช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย มั่นใจว่าโครงการรถไฟไทย-จีนระยะทาง 873 ก.ม. เราจะก่อสร้างให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีครึ่ง ซึ่งจะเร็วกว่าแผนงานการก่อสร้างรถไฟทั่วไปที่จะใช้เวลา 4 ปี"

ขณะนี้มีผู้ประกอบการทั้งภาคเอกชนของไทยและจีนได้เสนอตัวเข้าร่วม โดยมีผู้ประกอบการไทยจำนวนรวมประมาณ 12-15 บริษัท ส่วนฝ่ายจีนมีจำนวนมากกว่า มอบหมายให้ที่ปรึกษาไปรวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการทั้งฝ่ายไทยและจีนมาพิจารณาร่วมกันจับคู่คัดเลือกหาบริษัทที่เหมาะสม โดยจะสรุปและนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 25-27 ก.พ.นี้

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนกล่าวว่า ขณะนี้ฝ่ายจีนได้เปิดกว้างโดยพร้อมให้ความร่วมมือกับไทยด้านการลงทุนทั้ง 3 รูปแบบคือ ให้จีนลงทุนให้ทั้ง 100%, กู้เงินจากจีนมาลงทุน และร่วมลงทุนกับจีน ซึ่งคณะอนุกรรมการจะต้องกลับไปพิจารณาเลือกรูปแบบที่ดีที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/01/2015 10:41 am    Post subject: Reply with quote

เอ็มโอยูรถไฟ "ไทย-จีน" หวัง “พลิกโฉม” ระบบราง
ไทยโพสต์ Monday, 19 January, 2015 - 00:00

หลังจากรัฐบาลภายใต้การนำ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า ความก้าวหน้าและการเจริญเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจ เห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้อย่างชัดเจน

เริ่มจากที่มีการตั้งทีมเศรษฐกิจขึ้นมา เพื่อติดตามแผนงานของแต่ละกระทรวงให้เดินหน้า พร้อมทั้งให้รายงานปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อผลักดันให้แผนงานตามกรอบที่วางไว้ และแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด

มาที่โครงการเมกะโปรเจ็กต์ ตามที่รัฐบาลได้เร่งผลักดัน คือ โครงการรถไฟทางคู่ จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ได้แถลงไว้ว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบกับกระทรวงคมนาคมในเรื่องความร่วมมือกับรัฐบาลจีน ในการทำเส้นทางรถไฟร่วมกัน โดยจะจัดทำแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี ซึ่ง ครม.เห็นชอบให้จะมีการเร่งรัดโครงการนี้โดยเร็ว

จากนั้นเป็นต้นมา ดูเหมือนว่าจะเกิดความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2557 พล.อ.ประยุทธ์ รวมถึง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม และ นายหลี เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ในกรอบยุทธศาสตร์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน (สแตนดาร์ดเกจ) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 734 กิโลเมตร และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร

สำหรับสาระสำคัญของร่างเอ็มโอยูดังกล่าวนั้น รัฐบาลไทยตกลงให้รัฐบาลจีนเข้ามีส่วนร่วมดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน (สแตนดาร์ดเกจ) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 734 กิโลเมตร และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร รวมระยะทาง 867 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐานโครงการแรกของไทย โดยทั้งสองฝ่ายจะใช้ความร่วมมือในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวภายหลังการประชุมเตรียมการฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 15 ม.ค.ว่า สำหรับการประชุมเตรียมการประชุมร่วมไทย-จีน เพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศ เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด และกรุงเทพฯ-แก่งคอย ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกัน 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 วันที่ 20-21 ม.ค.นี้, ครั้งที่ 2 วันที่ 5-7 ก.พ.2558 และครั้งที่ 3 วันที่ 25-27 ก.พ.2558

จากนั้นจะเริ่มเดินหน้าโครงการในการศึกษาและสำรวจออกแบบจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แผนและรูปแบบการลงทุน ซึ่งมีข้อสรุปที่ชัดเจนภายในเดือน ก.ค.2558 จากนั้นจะเริ่มก่อสร้างช่วงแรกภายใน ก.ย.2558 กำหนดแล้วเสร็จเปิดให้บริการ ธ.ค.2560 และช่วงหลัง ภายใน ธ.ค.2558 กำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการ มี.ค.2561 โดยใช้เวลาก่อสร้างเพียง 2 ปีครึ่ง

สำหรับความชัดเจนของแผนดำเนินงาน จะก่อสร้างรถไฟทางคู่ เป็นทางมาตรฐาน 1.435 เมตร โดยจะย่อยโครงการออกเป็น 4 ช่วง ระยะทางรวม 873 กม. คือ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กม., ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กม., ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม. และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย 355 กม. โดยในเดือน ม.ค.2558 จะเริ่มวางแผนการดำเนินงานทั้งหมดเริ่มจากการศึกษาและสำรวจออกแบบรายละเอียดต่างๆ

ส่วนการก่อสร้างจะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก ช่วงที่ 1 และ 2 จะก่อสร้างภายใน ก.ย.2558 เพื่อให้แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการเดินรถ ธ.ค.2560 ส่วนระยะที่ 2 ช่วงที่ 3-4 จะเริ่มก่อสร้างภายใน ธ.ค.2558 กำหนดแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการเดินรถ มี.ค.2561

สำหรับการแบ่งย่อยโครงการออกเป็น 4 ช่วง เพื่อความสะดวกและความรวดเร็วในการสำรวจและออกแบบ มีการจัดทีมงาน 4 ชุดลงพื้นที่ทำงานคู่ขนานกันไป ส่วนสำนักงานบริหารโครงการ ตั้งอยู่ที่กระทรวงคมนาคม มี นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นหัวหน้าสำนักงาน เพื่อจะดำเนินการสำรวจออกแบบงานโยธา ระบบราง ระบบสัญญาณ การจัดหาพื้นที่ การจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ตลอดจนการบริหารกิจการมวลชนสัมพันธ์และข่าวสารเพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างราบรื่น

ดังนั้น ตั้งแต่ต้นวันที่ 1 มี.ค.2558 จะเริ่มคิกออฟโครงการได้ จะมีการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจตลอดแนวการก่อสร้างโครงการ ทุกอย่างจะต้องเดินหน้าไปตามกรอบแผนงานที่กำหนดไว้ เพื่อให้การก่อสร้างและการดำเนินงานทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

สำหรับการประชุมร่วมไทย-จีน รอบแรก ในวันที่ 22 ม.ค.2558 เวลา 12.00 น. จะมีการสรุปผลการประชุมพร้อมกับการลงนามในรายละเอียดเพื่อขยายความร่วมมือไปสู่การประชุมในครั้งต่อไป ซึ่งจะมีความชัดเจนในเรื่องรายละเอียดของการสำรวจและลงพื้นที่ แผนการก่อสร้างและกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จต่างๆ ตลอดจนข้อมูลสัดส่วนการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ จะมีความชัดเจน

ส่วนการเปิดประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้าง เนื่องจากโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับจีน ขณะนี้ได้มีการรวบรวมข้อมูลบริษัทไทยที่มีขีดความสามารถดำเนินโครงการในด้านต่างๆ ประมาณ 12-15 บริษัท เป็นทั้งบริษัทระดับใหญ่ ระดับกลาง และผู้แทนของบริษัทต่างชาติ ส่วนฝ่ายจีนก็มีการสรุปรายชื่อบริษัทผู้รับเหมาเช่นกัน ซึ่งมาจาก 5 รัฐวิสาหกิจของจีน แต่มีจำนวนบริษัทมากกว่า

ซึ่งทั้งฝ่ายไทยและจีน จะนำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกัน จับคู่คัดเลือกหาบริษัทที่มีความเหมาะสมที่จะเข้ามาดำเนินงานต่อไป โดยจะสรุปและนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 3 ด้วย ทั้งนี้ ฝ่ายจีนจะรับผิดชอบการก่อสร้างและพัฒนาระบบรถไฟเส้นทางดังกล่าว

นอกจากนี้ จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารร่วมขึ้นใหม่ชุดหนึ่ง เพื่อกำกับดูแลการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ สำหรับไทยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานร่วม สำหรับจีน ให้ประธานคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ เป็นประธานร่วม

โดยบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้ 7 ปี (2558-2564) นับจากวันลงนาม

สำหรับแหล่งเงินและรูปแบบการลงทุนนั้น นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม กล่าวว่า คณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุน จะต้องไปศึกษาในรายละเอียด ทั้งรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม เกิดประโยชน์กับประเทศไทยสูงสุด ก่อนจะนำเข้าหารือร่วมกันในการประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 5-7 ก.พ.2558

โดยจากการหารือกับฝ่ายจีนนั้น ไม่ได้ติดใจรูปแบบการลงทุน แต่มีข้อเสนอที่เปิดกว้าง พร้อมจะลงทุนให้ก่อน หรือให้เงินกู้กับฝ่ายไทย หรือาจเป็นการร่วมทุน ส่วนฝ่ายไทยต้องไปพิจารณาหาแหล่งเงินทุน หากเป็นการร่วมทุนต้องมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายและสัดส่วนการร่วมทุน ส่วนที่จะใช้เงินงบประมาณกับส่วนที่เป็นเงินกู้ หรือการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยใช้เครื่องมือการระดมทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น

ส่วนค่าก่อสร้างนั้น นายอาคมกล่าวว่า เดิมประเมินค่าก่อสร้างไว้ที่ 1,000 กม. ประมาณ 4 แสนล้านบาท ส่วนโครงการนี้ 873 กม. ค่าก่อสร้างประมาณ 3.5 แสนล้านบาท แต่ขึ้นอยู่กับข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจว่าแนวก่อสร้างเส้นทางกับการเวนคืนที่ดิน ซึ่งพยายามจะยึดตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม เพื่อจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่หากต้องตัดแนวเส้นทางใหม่ก็อาจมีค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นด้วย

ปัจจุบันจีนจะเป็นประเทศที่มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่เปิดให้บริการระยะทางยาวที่สุดของโลก รวมเกือบ 12,000 กิโลเมตร และที่อยู่ระหว่างก่อสร้างอีกราว 11,000 กิโลเมตร และมีจุดเด่นที่ต้นทุนก่อสร้างถูกที่สุดในโลก กล่าวคือ ต้นทุนก่อสร้างเฉลี่ยโครงการรถไฟที่วิ่ง 350 กม./ชม. คิดเป็น 125 ล้านหยวนต่อ 1 กิโลเมตร ส่วนรถไฟที่วิ่ง 250 กม./ชม. คิดเป็น 87 ล้านหยวนต่อ 1 กิโลเมตร ขณะที่สถิติจาก International Transportation Forum เมื่อเดือนธันวาคม 2556 ระบุว่า ต้นทุนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในประเทศฝรั่งเศส คิดเป็น 150-210 ล้านหยวนต่อ 1 กิโลเมตร

ขณะเดียวกัน สิ่งที่รัฐบาลไทยต้องคำนึงคือ การบริหารต้นทุนการก่อสร้าง และหนี้สินที่จะตามมา รวมทั้งแผนการบริหารการเดินรถเพื่อให้เกิดผลกำไร ซึ่งจากผลการศึกษาของ ธนาคารโลก ระบุว่า ความหนาแน่นของประชากรตามแนวรถไฟนั้น ต้องไม่น้อยกว่า 20 ล้านคน จึงจะคืนทุน

นอกจากนั้นแล้ว เนื่องจากระบบรถไฟรางมาตรฐานที่จะสร้างขึ้นใหม่นี้ ใช้ระบบไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ฉะนั้น ไทยยังต้องคำนึงถึงอุปทานไฟฟ้าที่เพียงพอสำหรับรองรับการเดินรถไฟตลอดเส้นทางด้วย ซึ่งย่อมหมายถึงไทยต้องหาทางเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า และต้องสร้างสถานีจ่ายไฟฟ้าเป็นระยะๆ ตามแนวเส้นทางรถไฟด้วย

ดังนั้น ความร่วมมือระหว่างไทย-จีนครั้งนี้ ด้านหนึ่ง จึงเป็นการปฏิวัติวงการรถไฟครั้งประวัติศาสตร์ของไทย และด้านหนึ่งจะเป็นบทพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีรถไฟที่ทันสมัยของจีน จะเป็นที่ยอมรับและครองความเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนได้สำเร็จหรือไม่

ต้องติดตามกันต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2015 6:37 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เอ็มโอยูรถไฟ "ไทย-จีน" หวัง “พลิกโฉม” ระบบราง
ไทยโพสต์ Monday, 19 January, 2015 - 00:00



ดูข่าวได้ที่นี่ครับ

https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=n7iSUYqC6yw

รัฐพับแผนไฮสปีดเทรนฉุดอสังหาฯอุดรธานี
ข่าวค่ำ ตรงประเด็น
Now TV 26
วันที่ 19 มกราคม 2558
คุณณรงค์ชัย หอมศรีประเสริฐ เจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่อยู่อาศัยในจังหวัดอุดรธานี ในพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ คือที่ต.หมากแข้ง อ.เมือง บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับคอมมูนิตี้มอลล์ “ยูดีทาวน์” เริ่มชะลอตัวจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วประเทศ โดยเฉพาะหลังจากที่ปีที่แล้ว รัฐปรับเปลี่ยนแผนการขยายโครงสร้างพื้นฐาน จากโครงการรถไฟความเร็วสูง มาเป็นรถไฟทางคู่แทน
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในจังหวัดอุดรธานี ได้รับผลบวกมาตั้งแต่แผนการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นับตั้งแต่ปี 2554 ที่รัฐมีนโยบายโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้น
พิจารณาได้จากการจัดเก็บภาษีการโอนที่ดิน ที่เคยจัดเก็บได้สูงสุดในปี 2554 และเริ่มลดลงในปี 2557 โดยลดลงประมาณ 60 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2554


สำหรับราคาประเมินที่ดินในบริเวณศูนย์กลางธุรกิจของจ.อุดรธานี บริเวณ 5 แยกน้ำพุ แถบโครงการยูดีทาวน์นั้น คุณณรงค์ชัยระบุว่าปัจจุบันราคาประเมินสูงสุดอยู่ที่ตารางวาละ 1 แสน 5 หมื่นบาท ซึ่งราคาสูงขึ้นเมื่อปี 2554-2555 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน นอกจากนี้จำนวนที่อยู่อาศัยประเภท บ้านเดี่ยวและคอนโดมีเนียม ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะคอนโดมีเนียม ที่ภายใน 2 ปี มีการก่อสร้างถึง 5 พันยูนิต จากผู้ประกอบการทั้งจากท้องถิ่น และรายใหญ่อย่างแสนสิริ ลุมพินี และกลุ่มซีพี
อย่างไรก็ตามผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัว และแบงก์เข้มงวดปล่อยกู้ลูกค้า ทำให้บางโครงการขายได้เพียงประมาณ 40-60%

“แสนสิริ”เบรกคอนโดฯอุดรธานี
สำหรับปัญหาของโครงการ คอนโดมิเนียมของกลุ่มแสนสิริ ในนามบริษัทพิวรรธนา ซึ่งมีอยู่ 2 โครงการในจ.อุดรธานี คือ เดอะเบส ไฮท์ จำนวน 408 ยูนิต ราคาเริ่มต้น 1.9 ล้านบาท กำลังก่อสร้างและคาดว่าจะโอนได้ในไตรมาส 4 ปีนี้ ส่วนอีกโครงการคือเดอะเบสท์ เซ็นทรัล อุดรธานี 573 ยูนิต มียอดจองไม่ถึง 40% และเพิ่งแจ้งลูกค้าที่จองว่าขอยุติโครงการ และพร้อมคืนเงินให้ผู้จองนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการลงเสาเข็ม


รายงานข่าวแจ้งว่าลุมพินีได้เข้าไปลงทุนโครงการคอนโดมีเนียมใน จ.อุดรธานีก่อนแสนสิริ ด้วยโครงการขนาด 1,300 ยูนิต ราคาเริ่มต้นประมาณ 1 ล้านบาท และปรับราคาเพิ่มเป็น 1.4 ล้านบาท โดยลุมพินีมีต้นทุนที่ดินที่ถูกกว่า เพราะซื้อมาในราคาตารางวาละ 50,000 บาท ขณะที่แสนสิริซื้อที่ดินมาในราคาสูงถึงประมาณ 100,000-150,000 บาท ทำให้แสนสิริทำตลาดได้ยาก ต้องตั้งราคาขายสูงกว่าอยู่ที่ยูนิตละ 2.6 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีนักธุรกิจท้องถิ่นกลุ่มสกายแลนด์ที่มีราคาขายสูงสุด 6-7 ล้านบาทต่อยูนิต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/01/2015 5:42 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมถกแผนลงทุนรถไฟไทย-จีน
การเงิน - การลงทุน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 20 มกราคม 2558 16:49


"อาคม" รมช.คมนาคม ถกแผนลงทุนรถไฟไทย-จีนนัดแรก คาดสรุปต้นเดือนก.พ. ก่อนบินไปจีน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม กล่าวว่า วานนี้ได้ประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการเงิน และรูปแบบการลงทุนภายใต้บันทึกข้อตกลง รถไฟทางคู่ไทย-จีน ขนาดราง 1.435 เมตรครั้งแรก เพื่อหาแนวทางการระดมทุน สัดส่วนการลงทุน และวงเงิน สำหรับใช้ก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ทั้ง 4 ช่วง กรุงเทพฯ-แก่งคอย 133 กม. แก่งคอย-มาบตาพุด 246.5 กม. แก่งคอย-นครราชสีมา 138.5 กม. และนครราชสีมา-หนองคาย 355 กม.

“การประชุมคณะอนุกรรมการครั้งแรก ยังไม่มีข้อยุติเรื่องการลงทุนชัด แต่คาดจะสรุปรายละเอียดวงเงินลงทุน รูปแบบการลงทุนได้ในการประชุมคณะทำงานร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 2 วันที่ 5-7 ก.พ. จากนั้นในการประชุมครั้งที่ 3 วันที่ 25-27 ก.พ. รัฐบาลจะบินไปประชุมที่ประเทศจีน เพื่อสรุปรายละเอียด และรูปแบบการลงทุนทั้งหมด หากทั้ง 2 รัฐบาลสรุปภาพรวมโครงการ รูปแบบการลงทุนได้ก็จะลงนามบันทึกข้อตกลงในสัญญาร่วมกันได้ในการประชุมครั้งที่ 3 ทันที”

แนวทางการลงทุน เบื้องต้นมีทางเลือก เช่น อาจเป็นเงินกู้จากจีนทั้งหมด หรืออาจเป็นการร่วมทุนกัน ซึ่งรัฐบาลไทยต้องดูรูปแบบที่ดีที่สุด ส่วนแนวโน้มจะเป็นลักษณะใดยังตอบไม่ได้ แต่ทางจีนพร้อมรับได้หมดเพียงแต่เราต้องดูให้ที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ
https://www.youtube.com/watch?x-yt-ts=1421782837&v=cHWh_7D2a-I&x-yt-cl=84359240&feature=player_embedded

///--------------------------------

เตรียมข้อมูลลงทุนรถไฟทางคู่ หารือที่ประชุมไทย-จีน รอบ 2



โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
20 มกราคม 2558 17:52 น.


อนุฯ ด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนรถไฟทางคู่ไทย-จีน รางมาตรฐาน ยึดผลศึกษารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราชเป็นต้นแบบเจรจา เหตุใช้แนวเดียวกัน รอลงพื้นที่ประเมินค่าก่อสร้างและจำนวนผู้โดยสารใหม่ คาดอาจจ้างที่ปรึกษาทบทวนผลศึกษาเดิมเพื่อประเมินรายได้และการพัฒนาเชิงพาณิชย์

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน (Standard Gauge) 1.435 เมตร ระหว่างไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 734 กม. และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ 133 กม. ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ได้รับทราบกรอบเวลาการทำงานที่คณะกรรมการบริหารโครงการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย (คบร.) ที่มี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน กำหนดเบื้องต้น

โดยรูปแบบการลงทุนนั้น คณะอนุฯ ด้านการเงินเห็นว่าควรนำผลการศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา สนข.ได้ดำเนินการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว และอยู่ระหว่างศึกษาช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ส่วนต่อขยายกรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ศึกษานำมาประมวลเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ไทย-จีนก่อน เนื่องจากแนวเส้นทางและที่ตั้งสถานีของรถไฟความเร็วสูงมีความสอดคล้องกับรถไฟทางคู่ และหลังจากทั้งสองฝ่ายตั้งคณะทำงานลงสำรวจออกแบบในเดือนมีนาคม 2558 จะมีความชัดเจนมากขึ้นว่าจะมีค่าก่อสร้างเท่าไร รวมถึงการประเมินเรื่องจำนวนผู้โดยสาร เนื่องจากจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อรายได้และการพัฒนาเชิงพาณิชย์

“ฝ่ายไทยมีความเห็นในส่วนของไทย แต่จะรอความเห็นจากฝ่ายจีนด้วยว่าจะลงทุนรูปแบบใด คาดว่าการหารือร่วมไทย-จีน ในรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์นี้จะได้ข้อยุติเรื่องรูปแบบการลงทุนได้ชัดเจนขึ้น หากมีความจำเป็นอาจต้องว่าจ้างที่ปรึกษาเข้ามาทบทวนผลการศึกษาเพิ่มเติมเพราะรถไฟทางคู่อาจมีความเร็วลดลงจากรถไฟความเร็งสูง จำนวนผู้โดยสารจะเป็นอย่างไร สถานีจะพัฒนากันอย่างไร ส่วนแนวเส้นทางน่าจะเป็นแนวเส้นทางเดียวกัน”

ส่วนการประชุมระหว่างไทย-จีน ระหว่างวันที่ 21-22 มกราคมนี้ เป็นการหารือร่วมเป็นครั้งแรก โดยฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ซึ่งเบื้องต้นจะมีการหารือถึงแผนการทำงานที่ฝ่ายไทยได้วางไว้ก่อน คือ การแบ่งงานก่อสร้างเป็น 4 ช่วง ระยะทางรวม 873 กิโลเมตร วงเงินเบื้องต้นเกือบ 4 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1. ช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโลเมตร 2. แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กิโลเมตร

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษารูปแบบการเงินและการลงทุน โดยมีนายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานกรรรมการ บริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) ทำหน้าที่ร่วมกับสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เพื่อศึกษาจัดทำข้อมูลความเป็นไปได้ของโครงการรถไฟไทย-จีน โดยจะนำข้อมูลการศึกษาเดิมที่ สนข.เคยทำไว้มาปรับปรุงใช้กับโครงการใหม่นี้ให้เกิดความเหมาะสม

“โครงการรถไฟทางคู่ไทย-จีน เป็นความร่วมมือแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) ซึ่งไทยต้องพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมที่สุด โดยนำข้อมูลที่ สนข.ศึกษาการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง หนองคาย-กรุงเทพฯ และโครงการเดิม แอร์พอร์ตเรลลิงก์ไปถึงระยอง มาปรับมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับโครงการรถไฟไทย-จีน รอบนี้ด้วย ทั้งในด้านความเป็นไปได้ของโครงการ, การก่อสร้าง, การออกแบบ, ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ทางการเงิน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีการลงสำรวจพื้นที่จริง เพื่อกำหนดแนวทางที่ชัดเจน”

สำหรับกรอบการประชุมคณะทำงานร่วมไทย-จีน ได้กำหนดไว้ 3 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 21-22 ม.ค.นี้ จะหารือกรอบความสำคัญของโครงการ การศึกษา การออกแบบ และการแบ่งบทบาทหน้าที่ 2 ฝ่ายให้ชัดเจน ครั้งที่ 2 วันที่ 5-7 ก.พ. 58 จะหารือกำหนดแผนการลงทุนว่า ใช้งบประมาณจากฝ่ายจีนและไทยเท่าไร และครั้งสุดท้ายวันที่ 25-27 ก.พ.จะหารือเพื่อสรุปกรอบการทำงานทั้งหมด และหลังจากนั้นต้องจัดตั้งสำนักงานโครงการในพื้นที่รวมถึงลงพื้นที่เพื่อสำรวจเพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?x-yt-cl=84359240&v=oXMDU79yi0E&feature=player_embedded&x-yt-ts=1421782837
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 29, 30, 31 ... 121, 122, 123  Next
Page 30 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©