Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271125
ทั้งหมด:13582414
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 31, 32, 33 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2015 8:57 pm    Post subject: Reply with quote

ไทย-ญี่ปุ่น ลงนามรถไฟทางคู่
เดลินิวส์
วันพุธ 28 มกราคม 2558 เวลา 18:08 น.

ไทย-ญี่ปุ่น เตรียมลงนามความร่วมมือโครงข่ายรถไฟทางคู่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
28 มกราคม 2558 19:03 น.


นายกฯ เยือนญี่ปุ่น ลงนามเอ็มโอยู รถไฟทางคู่ "อาคม" ยันญี่ปุ่นสนใจร่วมศึกษา 3 เส้นทาง แต่ยังไม่ฟันธงให้ใครสร้างเส้นทางไหน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่าในการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 8-10 ก.พ.นี้ว่าจะมีการลงนามความร่วมมือในการศึกษาพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ รางขนาด 1.435 เมตรรวม 3 เส้นทาง เพื่อเชื่อมฝั่งตะวันออกและตะวันตกของประเทศไทย 2 เส้น คือจาก

1. พุน้ำร้อน กาญจนบุรี- กรุงเทพฯ- ฉะเชิงเทรา แยกไป อรัญประเทศ จ.สระแก้วและอีกทางแยกจากฉะเชิงเทราไป อ.มาบตาพุด จ.ระยอง
2. อีกเส้นทางเป็น อ.แม่สอดจ.ตาก-จ.มุกดาหาร รวมถึงเส้นทางเชื่อมภาคเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

ทั้งนี้ทางญี่ปุ่นสนใจและรับไว้พิจารณาทั้ง 3 เส้นทางโดยเบื้องต้นการร่วมมือจะเป็นแนวทางในการศึกษาโครงข่าย ความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์และความคุ้มค่าของการลงทุนสำหรับเส้นทางที่มีความสำคัญอันดับต้นๆที่จะมีการศึกษาในรายละเอียดคือเส้นทางจากพุน้ำร้อน กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา แยกไป อรัญประเทศ จ.สระแก้วและแยกไป อ.มาบตาพุด จ.ระยองเพราะจะสามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่เศรษฐกิจโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายเข้ากับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้ ขณะที่เส้นทางแม่สอด จ.ตาก- มุกดาหารนั้นที่ผ่านมายังไม่มีผลการศึกษามาก่อน แต่ทางญี่ปุ่นรับไว้เข้ามาช่วยศึกษาด้วย




https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=js4Xx6imzVE&x-yt-ts=1422503916&x-yt-cl=85027636

//------------------------------

เลาะจุดเสี่ยง "รถไฟ คสช." เทียบฟอร์มรูปแบบลงทุน-เงินกู้ญี่ปุ่น
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
28 มกราคม 2558 เวลา 22:00:17 น.


ผ่านการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีนนัดแรกด้วยดี โครงการเมกะดีลรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน เส้นทาง "หนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพ" แต่ถึงนาทีนี้กำลังเป็นที่จับตาว่าจะตอกเข็มต้นแรกในเดือนกันยายนนี้ได้หรือไม่

ถึงแม้ป๋าดันจะมาจาก2 บิ๊ก คสช.(คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) "บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมตรี กับ "บิ๊กจิน-พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และถึงแม้เส้นทางไม่น่าจะมีอุปสรรคมากนัก เนื่องจากสร้างในแนวรถไฟเดิมที่มีเขตทางกว้างพอรองรับทางคู่ราง 1.435 เมตรได้สบาย ๆ

แต่อุปสรรคใหม่ก็เกิดขึ้นได้รายวันเหมือนกัน นั่นคือรูปแบบลงทุน-แหล่งเงิน เรื่องของเรื่องเพราะเกิดอาการ "เสียงแตก" เมื่อจับสัญญาณจากคำให้สัมภาษณ์ของรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ "หม่อมอุ๋ย-ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล" ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องใช้เงินกู้จากจีนเพราะมีความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เงินในประเทศมีเหลือเฟือ ที่สำคัญดอกเบี้ยอาจจะถูกกว่าเงินกู้จีนอีกต่างหาก

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากวงในระบุว่า โครงการนี้ในทางลับ ว่ากันว่าระดับนโยบายมีการคุยรายละเอียดจบไปแล้ว ตั้งแต่ "บิ๊กป้อม-พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กับ "บิ๊กตู่" เดินทางเยือนจีนเป็นทางการเมื่อปีที่ผ่านมา

เหลียวกลับมาดู "บิ๊กจิน" เจ้ากระทรวงคมนาคม ได้เปิดโมเดลลงทุนหลังกลับจากร่วมทริปเมืองจีนไปกับนายกรัฐมนตรี มี 3 รูปแบบคือ
1. EPC&F (Engineering Procurement Construction and Finance) โดยจีนดำเนินการให้เบ็ดเสร็จตั้งแต่ออกแบบ จัดหาระบบ ก่อสร้าง เงินลงทุน
2. รัฐและเอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP ในรูปแบบสัมปทาน และ
3. ลงทุนตั้งบริษัทร่วมกัน โดยมีเงินกู้เป็นธงนำ

จนเป็นที่มาของการลงนาม MOU (บันทึกความเข้าใจ) เมื่อ 19 ธันวาคม 2557 ทั้ง 2 ฉบับ 2 กระทรวงเศรษฐกิจ คือ ด้านรถไฟโดยกระทรวงคมนาคมและขายสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ยางพารา โดยกระทรวงพาณิชย์พร้อมกับเคลียร์ข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงรูปแบบการลงทุนที่หนาหูว่า "บิ๊กจิน" เทใจเลือกใช้เงินกู้จีนทั้งหมด

"...ให้เริ่มมาดูกันใหม่จากผลการประชุมทั้ง 2 ฝ่าย เพราะที่เข้าใจครั้งแรกแตกต่างจากที่ได้รับข้อมูล ต้องดูให้รอบคอบเพราะการร่วมลงทุนโครงการเป็นสิ่งที่คนไทยอยากรู้ จะร่วมกับจีนยังไง จะเป็นภาระหนี้สินต่อคนไทยอย่างไร ต้องให้ชัดเจน โปร่งใส เพราะเป็นเรื่องอ่อนไหวสำหรับประเทศไทย คาดว่าจะได้ข้อสรุปที่กรุงปักกิ่งซึ่งจีนเป็นเจ้าภาพประชุมวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์นี้"

ควบคู่กับส่งไม้ต่อให้ "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการสภาพัฒน์ เป็นประธานพิจารณา จากข้อมูลในมือตอนนี้ ตามที่จีนเสนอมา 3 รูปแบบ ได้แก่

1. จีนให้เงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ แต่ไม่ระบุอัตรา ผ่านไชน่า เอ็กซิมแบงก์
2. ใช้รูปแบบ PPP รัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนงานระบบ
3. ลงทุนรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี

"แต่ถ้าต้องการให้เร็วใช้เงินกู้เป็นไปได้มากสุด โดยรัฐรับภาระหมดทั้งก่อสร้างและเดินรถ แต่ดูเงื่อนไขจีนด้วย เพราะไทยไม่เคยกู้เงินจีนเลย ต้องเปรียบเทียบให้ดีที่สุด"

ประเด็นไฮไลต์น่าจะอยู่ที่ "เงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษของจีน" จากเดิมที่เคยมีข้อสรุปก่อนหน้านี้ อาทิ โมเดลของรัฐบาลประยุทธ์ ให้กู้เงินจีน กรอบเวลา 30-40 ปี ดอกเบี้ย 3% ใช้เงินจากการขายข้าวและยางพาราให้จีนมาชำระหนี้ และให้จีนมาก่อสร้างโดยมีผู้รับเหมาไทยเข้าร่วมด้วย กับโมเดลของรัฐบาลประชาธิปัตย์เมื่อปี 2553 ให้ตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีน สัดส่วน 51:49 และกู้เงินจีนมาเป็นทุนจดทะบียนตั้งไข่โครงการ

ไม่ว่าจะรูปแบบไหน "จีน" ก็ได้ทั้งขึ้นทั้งล่องเว้นแต่ว่า

1.จีนเสนอเงื่อนไขไม่ดีจนไทยรับไม่ได้
2.จีนเสนอดอกเบี้ยสูง ซึ่งมีตัวเปรียบเทียบคือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของ "ไจก้า-องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น" ที่ให้ไทยกู้อัตรา 0.75% ยาว 30-40 ปี สร้างรถไฟฟ้าใต้ดินและสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) มาแล้ว

คำตอบที่ทั้งคืบและทั้งชัดเจน คาดว่าจะมาจากที่ประชุมร่วมไทย-จีนรอบ 2 ที่กรุงปักกิ่ง ก่อนเทศกาลวาเลนไทน์ปีนี้จะมาถึง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 03/02/2015 12:24 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
Click on the image for full size

ดึงญี่ปุ่น'หุ้นส่วนเศรษฐกิจ'
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 10:00 น.

"บิ๊กตู่" ดึงญี่ปุ่นลงทุนแบบจัดเต็ม! เหมาเข่งปั้นเขตศก.พิเศษ-รถไฟ-ทวาย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 14:15:53 น.

ระหว่างการถกกะญี่ปุ่นเรื่อง โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย นั้นได้พ่วงโครงการรถไฟรางมาตรฐาน เพื่อขนทั้งคนและสินค้า 3 สาย โดยหวังใช้เงินกู้ญี่ปุ่น ดอกร้อยละ 1.5 ต่อปี จ่าย 40 ปี เหมือนรถใต้ดิน

1. สายตะวันตก - ตะวันออก สาย 1
1.1 พุน้ำร้อน - กาญจนบุรี - สถานีกลางบางซื่อ - 180 กิโลเมตร มูลค่า 72,000 ล้านบาท
1.2 สถานีกลางบางซื่อ - ฉะเชิงเทรา - แหลมฉบัง - ระยอง - 200 กิโลเมตร มูลค่า 80,000 ล้านบาท
1.3 สถานีกลางบางซื่อ - ฉะเชิงเทรา - อรัญประเทศ - 255 กิโลเมตร มูลค่า 102,000 ล้านบาท - แม้ว่าการเสริมความมั่นคงทางช่วง ฉะเชิงเทรา - อรัญประเทศ จะเสร็จในปี 2559 ก็ตามที

นี่คือการสร้างสมดุลแห่งอำนาจ เพื่อต่อรองกะจีนได้

อย่างไรก็ตาม ทาง จากแม่สอด ผ่านเมืองตาก - สุโขทัย - พิษณุโลก - เพชรบูรณ์ - บ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - เลิงนกทา - มุกดาหาร ระยะทาง 658 กิโลเมตร และ ทางจาก สถานีกลางบางซื่อ - พิษณุโลก - เชียงใหม่ ระยะทาง 749 กิโลเมตร นั้นต้องกู้เงินเพิ่มอีกมาก เพราะ เส้นทาง ช่วง พิษณุโลก - เพชรบูรณ์ - บ้านไผ่ ต้องผ่าน อุทยานแห่งชาติ และป่าดง ต้องศึกษาอีก 1 ปี ก่อนที่ญี่ปุ่นจะตัดสินใจ - ไทยต้องให้ข้อมูลที่ไทยศึกษาไว้แล้วช่วยญี่ปุ่นด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2015 8:23 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเล็งเสนองบปี 59 กว่า 1.77 แสนล้าน เน้นลงทุนระบบราง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
5 กุมภาพันธ์ 2558 19:08 น. (แก้ไขล่าสุด 6 กุมภาพันธ์ 2558 10:56 น.)

คมนาคมถกแผนจัดทำงบประมาณปี 2559 เตรียมเสนอขอวงเงินกว่า 1.77 แสนล้านบาท มากกว่าปีก่อน 65% “ประจิน” เผยเน้นลงทุนระบบรางตามแผนยุทธศาสตร์ฯ 8 ปีและโครงข่ายถนนรับ AEC เผย 7 ก.พ.ได้ข้อสรุปค่าโดยสารรถร่วมฯ ขสมก.ได้ขึ้นกี่บาท

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารหน่วยงานในสังกัด เพื่อมอบนโยบายการจัดทำงบประมาณปี 2559 วันนี้ (5 ก.พ.) ว่า กระทรวงคมนาคมได้เตรียมเสนอของบประมาณที่ 177,095 ล้านบาท โดยเมื่อเปรียบเทียบงบในปี 2558 เพิ่มขึ้นประมาณ 65.56% โดยงบประมาณที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ระยะเวลา 8 ปี (2558-2565) ซึ่งจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาระบบรางเป็นหลัก การพัฒนาทางหลวงเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน (AEC) และการเชื่อมโยงไปยังเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 ด่านชายแดน

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี, สีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และสีส้ม บางขุนนนท์-พระราม 9 นั้นจะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้ ซึ่งยอมรับว่ามีความล่าช้ากว่าแผนเดิมประมาณ 2 เดือน เนื่องจากต้องทำการปรับแบบสายสีส้มโดยเบี่ยงเส้นทางจากเดิมผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์เพื่อเชื่อมต่อไปยังศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เปลี่ยนเป็นก่อสร้างตามแนวถนนพระราม 9 โดยใช้สถานีพระราม 9 เป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า สายเฉลิมรัชมงคล ทำให้ดำเนินการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ใหม่

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า โครงการที่มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจคือ ความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน (Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ซึ่งการทำงานรวดเร็วกว่าแผนที่วางไว้ โดยจะมีการหารือครั้งสุดท้ายในวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ และจีนจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาสำรวจเส้นทางได้ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ จากเดิมที่วางแผนว่าจะเริ่มสำรวจได้ในเดือนมีนาคม 2558

ส่วนการดำเนินความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น ด้วยการลงนามบันทึกแสดงเจตจำนง (MOI) ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมไทย-ญี่ปุ่นนั้น ทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะแถลงความชัดเจนในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ ขณะที่นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2558

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมของไทยเตรียมเสนอให้ผู้นำทั้ง 2 ประเทศหารือความร่วมมือโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน โดยมี 3 เส้นทางให้ญี่ปุ่นเลือก คือ แม่สอด (จ.ตาก)-พิษณุโลก-ขอนแก่น-มุกดาหาร ระยะทาง 770 กม. เส้นทางพุน้ำร้อน (จ.กาญจนบุรี)-กรุงเทพฯ-มาบตาพุด จ.ระยอง ระยะทาง 339 กม. และเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 653 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2015 4:03 am    Post subject: Reply with quote

"ประจิน" เล็งกู้ในประเทศสร้างรถไฟไทย-จีน เลื่อนตอกเข็ม เฟสแรกปลายปี-ต้นปี′59
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
6 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 19:02:21 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2558 คณะกรรมการบริหารการรถไฟไทย-จีน จะเดินทางไปประชุม ครั้งที่ 2 ที่ปักกิ่ง เพื่อเร่งรัดโครงการรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพ ระยะทาง 873 กิโลเมตร มีประเด็นหารือร่วมกันหลักๆ 2 ส่วน คือ ทางด้านเทคนิค และการเงิน

โดยด้านเทคนิค จะคุยในเรื่องของขอบเขตของงาน แผนงาน กรอบเวลาทำงาน และพิจารณารายชื่อบริษัทของฝ่ายจีนว่าจะมีบริษัทใดบ้างที่จะเสนอให้ทางฝ่ายไทยได้พิจารณา จากนั้นก็จะมีการปรึกษาหารือกันว่ารูปแบบของการทำงานจะแบ่งงานทางด้านการก่อสร้างออกเป็นกี่ส่วน เช่น ส่วนของระบบสื่อสาร ระบบราง ไม้หมอน ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบควบคุมการเดินรถ ระบบบำรุงรักษา เพื่อให้สื่อสารเข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย

สำหรับด้านการเงิน หลังจากได้รูปแบบการลงทุนแล้ว สิ่งที่จะพิจารณาต่อไปคือสัดส่วนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเดินรถว่าแต่ละฝ่ายจะลงทุนในสัดส่วนเท่าไหร่ โดยจะพยายามให้ได้เจตจำนงร่วมกันในการประชุมครั้งที่ 2 คาดว่าจะลงนามร่วมกัน ภายในเดือนกุมภาพันธ์

จากนั้นประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคม จะทำการสำรวจและออกแบบรายละเอียด เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องวงเงินก่อสร้างจากเดิมที่กำหนดไว้เบื้องต้น ประมาณ 400,000 ล้าบาท ขณะเดียวกันจะพิจารณารายละเอียดข้อตกลงต่างๆว่าจะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งจะพยายามให้จบภายในเดือนมีนาคม

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวต่อว่า ทั้งนี้จากปัญหาเรื่องการกำหนดรูปแบบการลงทุนและด้านการเงิน คาดว่าการวางแผนการดำเนินการก่อสร้างจะล่าช้าประมาณ 1 เดือน จากเดิมเดือนกันยายน อาจจะเป็นเดือนตุลาคม หรือเดือนธันวาคม หรือเดือนมกราคม 2559 เนื่องจากเราไม่มีการตัดสินใจตั้งแต่แรก

ส่วนกรณีเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จีนเสนอมาอยู่ที่ 2-4%นั้น พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ผลของการให้กู้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ อย่างไรก็ตามได้มีแผนสำรองไว้รองรับถ้าหากจีนไม่ยอมลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ถูกลงกว่านี้ โดยอาจจะกู้จากแหล่งเงินกู้อื่น เช่น กู้ในประเทศ

"เราอาจะใช้เงินกู้จีนบางส่วนถ้าหากดอกเบี้ยยังสูง เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงในเอ็มโอยูที่ได้ลงนามกันไว้ ส่วนที่เหลืออาจจะใช้เงินกู้จากแหล่งอื่นแทน" พล.อ.อ.ประจินกล่าวย้ำ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2015 8:35 pm    Post subject: Reply with quote

"กรณ์" หนุนรถไฟความเร็วสูงจีน-หนองคาย
เนชั่นทันข่าว
วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา เวลา 16:13 น.

เมื่อวันที่ 8 ก.พ.2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า "เราอยากเห็นการดำเนินการโดยเร็วในโครงการรถไฟเชื่อมกับจีนที่หนองคาย แต่ผมมองว่าเป็นข่าวดีที่มีการรายงานว่ามีการสะดุดในการเจรจาระหว่างไทยกับจีนต่อเงื่อนไขการกู้เงินเพื่อลงทุนในรถไฟความเร็วสูงสะท้อนให้เห็นว่าข้าราชการกระทรวงการคลังยังทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของไทยเราได้ดี ไม่ได้ยอมเขาไปทุกเรื่อง ซึ่งปัญหาที่ทำให้สะดุดคืออัตราดอกเบี้ยที่จีนเสนอ และเงื่อนไขของจีนที่ต้องให้จีนรับผิดชอบในทุกขั้นตอนของโครงการ รวมถึงการบริหารรถไฟด้วย ผมว่าทางจีนอาจสบายเกินไป รถไฟก็ได้ขาย งานก่อสร้างก็ได้ทำ เงินไม่ต้องลง แถมได้เก็บดอกเบี้ยจากเรา วันนี้ไทยเราควรเจรจาให้เป็นการร่วมลงทุนตามแนวบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) เดิมที่เราเคยเจรจาไว้กับจีน วิธีการคือไทยใช้เส้นทางรางเป็นทุน จีนลงเงิน และสองประเทศร่วมกันถือหุ้นในบริษัทที่มีสัมปทานเดินรถและบริหารโครงการ การกู้เงินเป็นการกู้โดยบริษัทร่วมทุนแทนที่จะเป็นการกู้โดยรัฐไทย

การกู้เงินมาลงทุนนั้นง่ายกว่าเพราะไม่ต้องเหนื่อยเจรจาเงื่อนไขอะไรมาก แต่ความเสี่ยงตกอยู่ที่เรา 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งๆที่ฝ่ายจีนได้ประโยชน์มหาศาลทั้งในแง่รายได้จากของที่ขายเรา และในทางยุทธศาสตร์ที่สามารถเชื่อมผ่านเราสู่อาเซียนได้ ซึ่งการเอาง่ายไว้ก่อนมักซ่อนภัยไว้ภายหลัง"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 10/02/2015 1:27 pm    Post subject: Reply with quote

ไทยไม่เหวอ จีนก็ไม่เหวอ


โดย บัณรส บัวคลี่
9 กุมภาพันธ์ 2558 13:12 น.


​ข่าวชิ้นเดียวกันแต่หากมองด้วยแว่นคนละสี ภาพของข่าวนั้นสามารถเป็นบวกหรือลบได้ขึ้นกับแว่นสายตาของผู้นำเสนอ

​อ่านข่าวมติชนออนไลน์เมื่อวันก่อน ข่าวไทยเหวอ “ไทยเหวอ ต้องถอย! สร้างรถไฟทางคู่ชะงัก จีนให้กู้รีดดอกเบี้ยสูง แถมขอสร้างเดินรถเองอีก"เป็นพาดหัวที่สะดุดสายตาอย่างยิ่ง ข่าวชิ้นนี้ทำให้คนที่ไม่ชอบรัฐบาลตีปีกพั่บๆ เอาไปเย้ยต่อแถมยังได้โอกาสเทียบกับเงินกู้สองล้านล้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ถูกทำแท้งไปอีกต่างหาก

​ผมน่ะ ไม่รู้จะเรียกตลกดีหรืออะไรดีกับพวกที่เยาะเย้ยคำแถลงของกระทรวงคมนาคมที่ส่งสัญญาณผ่าน “แถลงข่าวต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการ” แสดงท่าทีส่งต่อไปยังทางการจีนบอกว่าดอกเบี้ยและเงื่อนไขที่เสนอมามันสูงไป นั่นเพราะว่านี่ก็แค่ขั้นตอนและกระบวนการเจรจาต่อรอง ยังไม่จบ มันไม่ใช่เรื่องไทยเหวอ ไทยถอย ไทยหน้าแหกอะไรเลย...

​จะเกลียดขี้หน้ารัฐบาลก็เกลียดไปเถอะครับ เพราะบางเรื่องรัฐบาลก็ทำตนให้น่าเกลียดอยู่บ้าง แต่ถ้าหากเหมารวมทุกกิริยาอาการทำอะไรผิดไปหมดมันก็ออกจะเกินเลยไปหน่อย

​การเมืองแบบสองขั้วกีฬาสีตลอดสิบปีมานี้มีอิทธิพลต่อความคิดและมุมมองคนในสังคมของเราไม่น้อย อารมณ์แบบกองเชียร์ฟุตบอลมักจะทำให้ตัวเราทุ่มเทเชียร์ทีมที่รักแบบเอาเป็นเอาตาย ทำยังไงก็ได้ขอให้ทีมรักชนะหรือได้เปรียบแล้วเกทับบลัฟแหลกทีมตรงกันข้าม ...

​บ้างเชียร์กันไปโดยที่ลืมไปว่าตัวเองในฐานะกองเชียร์ไม่เคยได้อะไรจากการนี้

​กองเชียร์หลายคนทุ่มเทลงทุนให้แถมต้องซื้อตั๋วเข้าเชียร์อีกต่างหาก ตอนที่ทีมฝ่ายตัวเองชนะก็ได้แค่ไชโยโห่ร้องร่วมดีใจแล้วก็แยกย้ายกลับบ้านไปกินน้ำพริกผักลวก ส่วนคนที่ได้ประโยชน์ตัวจริงคือผู้เล่นสตาฟโค้ชและคนวงในใกล้ชิดของทีมต่างหากที่คว้าพุงปลาได้เงินได้กล่องกินอาหารหรูฉลองกันพุงกาง

​ครั้นเมื่อมีการแข่งขันใหม่ทีมอีกฝ่ายหนึ่งเกิดได้ชัยชนะจากวิธีการอะไรก็แล้วแต่ กองเชียร์ซึ่งกำลังกินผักลวกจิ้มน้ำพริกก็อุตส่าห์ตากแดดตากฝน ออกมาแช่งชักด่าว่าทีมอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นเดือดเป็นร้อนแทนผู้เล่นและสตาฟโค้ชฝ่ายตน บางคนเผลอไปทำอะไรผิดกฎหมายถูกจับไปแทน ทั้งๆ ที่ผู้เล่นเจ้านายทั้งหลายเหล่านั้นไม่ได้เดือดร้อนอะไร ก็แค่ไม่ได้อิ่มหนำเหมือนเดิม รอจังหวะเปิดฤดูกาลใหม่แค่นั้นเอง

​กองเชียร์ฟุตบอลก็เหมือนกับมวลชนคนเสื้อสีที่ถูกอารมณ์สีกูสีมึงบดบังตา คิดแต่ประโยชน์เจ้านายผู้ปกครองอันเป็นที่รักจนลืมไปว่าประโยชน์ของตัวเองคืออะไร ทีมรักฝ่ายเจ้านายคดโกงกินกันก็แกล้งหลับตายินดีด้วยทั้งๆ ไอ้ที่เขาโกงน่ะมันเงินภาษีของเราเองแท้ๆ ไป ที่ยกตัวอย่างมานี้ก็เพื่อบอกว่าการที่เราต่อรองไม่เอาดอกเบี้ยแพงๆ มันคือประโยชน์ของชาติที่ประชาชนทั้งหลายไม่ต้องเสียภาษีมากขึ้น แต่การเมืองแบบเชียร์ฟุตบอลไม่สนเรื่องพวกนี้หรอก จ้องแต่หามุมเตะสกัดเยาะเย้ยให้เสียรังวัดเป็นพอ

​ถ้าเรายกสายตาเสื้อสีแบบกองเชียร์ทีมรักไปก่อน อ่านข่าวที่รัฐมนตรีช่วยคมนาคมในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนภายใต้บันทึกความเข้าใจ ไทย-จีน เรื่องโครงการดำเนินงานก่อสร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐานอีกรอบมันก็แค่ท่าทีของฝ่ายไทยที่ไม่รับข้อเสนอซึ่งฝ่ายจีนยื่นมา บอกทำนองว่า “อาเฮีย ที่ลื้อบอกมาน่ะมันแพงไปโหน่ยนา ถ้าแพงแบบนี้อั๊วะรับม่ายหวาย คงต้องไปหากู้จากที่อื่ง ลื้อลดให้อั๊วะได้อีกรึป่าว?” มันก็แค่นั้นเอง แล้วในเนื้อข่าวก็ระบุไว้อยู่แล้วว่าจะมีการเจรจาในรายละเอียดเงื่อนไขเหล่านี้อีกครั้งในระหว่าง 11-12 ก.พ.นี้ที่ปักกิ่ง

​เรื่องของเรื่อง..มันก็แค่นี้เอง ! แหมพาดหัวโปรยข่าวซะเหวอ..เงิบราวกับประเทศนี้มันสิ้นไร้ไม้ตอก ไม่มีแล้วรถไฟเลิกทำกันแล้ว อะไรขนาดนั้น

​ประชาชนคนไทยไม่ควรจะอินกับการเมืองแบ่งฟากไม่มึงก็กูยับกันไปข้าง ขนาดที่ยอมทิ้งผลประโยชน์ของประชาชนด้วยกันเพียงแค่ได้ขัดขวางทีมฝ่ายตรงข้าม เพราะวิธีคิดแบบนี้มันเป็นวิธีคิดแบบสมุนลิ่วล้อ ไม่ใช่เสรีชนที่มีอำนาจเป็นเจ้าของประเทศ

สังเกตดูระยะหลังๆ ความคิดแบบสีเสื้อไม่ใช่แค่เชียร์ทีมรัก เพื่อไทย ปชป. รัฐบาลทหาร เท่านั้นยังลามไปแบ่งฝักฝ่ายระดับโลก ไปโน่นเลย

​กองเชียร์ฝ่ายแดงตั้งอกตั้งใจเชียร์อเมริกา ตะวันตก มีคนไปยกป้ายค้านอเมริกาก็จะมีพวกยกป้ายหนุน บางคนมีตำแหน่งมาก่อนยกป้ายไม่ได้ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าอเมริกาเป็นลูกพี่ว่าไปถึงขนาดนั้น ส่วนฝ่ายไม่ชอบแดงทักษิณก็ตั้งอกตั้งใจเชียร์จีน-รัสเซียแบบสมุนเป่าตูด มังกรหมีขาวขยับอะไรท่าไหนส่งเสียงเชียร์ไปทุกท่า ซึ่งอีแบบนี้ก็ไม่เข้าท่าเหมือนกันนั่นล่ะ

​อย่าไปถือหางชนิดเข้าพวกในสังกัด อินทรี มังกร หมีขาว แล้วใช้ความคิดแบบกองเชียร์เสื้อสีไปผูกพันเลยครับ... เราเกิดอยู่นี่ ตายอยู่นี่ เป็นคนในรัฐชาตินี้ ในเมื่อกติกาโลกมันเป็นเช่นนี้ก็ต้องยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติเราเป็นสำคัญสิครับ...จึงจะถูก!

​มองรอบๆ บ้านเรา ลาว พม่า ประเทศเล็กแท้ๆ เขายังพยายามดิ้นรนต่อรองไม่ให้มหาอำนาจครอบงำจนเกินไป พม่าเองถูกตะวันตกบอยคอตมายาวนานเป็นช่องให้ต้องพึ่งพิงจีนมากขึ้นๆ จนกระทั่งผู้นำพม่าปฏิรูปปรับวิสัยทัศน์กระบวนทัศน์ใหม่แบบ 360 องศา คือนอกจากปฏิรูปการเมืองการเศรษฐกิจขนาดยอมให้โค้กไปขายแล้ว การต่างประเทศก็ยังปรับใหม่ลดการพึ่งพาจีนน้อยลง อย่างทางรถไฟจากคุนหมิงเข้าพม่าซึ่งเป็นหนึ่งในแผนดั้งเดิมรัฐบาลเนปิดอว์ก็ทบทวนนะครับ หรือแม้กระทั่งลาวซึ่งเป็นทางผ่านของทางรถไฟที่จีนกำหนดจะผ่านเชื่อมหนองคายลงไปถึงทะเลแต่ลาวเขาก็ไม่อยู่นิ่งตามใจพี่เบิ้มจีนไปเสียทั้งหมด มีเงื่อนไขต่อรองเพื่อให้ตนสามารถดำเนินการและได้ประโยชน์สูงสุดจากโครงการ

​ลาวกับพม่ายังไม่ยอมตามจีนทั้งร้อยเลย จะให้ไทยก้มหัวหงอเขาบอกอะไรมาต้องทำตามนั้นทั้งหมดเลยหรือ? ครั้นจะต่อรองกลับไป พวกก็ว่าเหวอเป็นเงิบไปซะแล้ว

​มองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่ มหาอำนาจไม่ว่าจีน อังกฤษ อเมริกา รัสเซีย หรือประเทศอื่นๆ ต่างก็มีวาระของตน ทำหรือไม่ทำก็เพื่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชนในชาติของตนทั้งนั้น ต่อให้เราเบื่อบทบาทจอมแส่ มือถือขวาถือเผือก มือซ้ายถือสากอย่างอเมริกาขนาดไหน แต่ส่วนดีของอเมริกาก็พอมีไม่ใช่ตั้งหน้าเกลียดชังมันไปทุกประตู เช่นเดียวกันกับจีน หรือรัสเซียที่ต่างก็มีวาระเพื่อประโยชน์ตนเป็นหลัก โครงการทางรถไฟเชื่อมภูมิภาคอาเซียนที่เสมือนทางสายไหมตอนใต้ในศตวรรษ 21 ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างผลักดันนี้จีนได้ประโยชน์เต็มๆ ดังนั้นชาติเล็กชาติน้อยรวมทั้งไทยก็ต้องมีเกราะป้องกันตัวเองให้รัดกุมที่สุด

​การต่อรองให้เราได้ประโยชน์สูงสุด เสียหายน้อยสุดอย่างที่ทำอยู่ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ไม่ใช่เรื่องเหวอ หน้าแตกเหมือนเขาวิจารณ์กัน ภายใต้ MOU จะสร้างทางรถไฟเชื่อมลงมาจากหนองคายถึงท่าเรือและกรุงเทพฯ เราควรได้ประโยชน์สูงสุดภายใต้การลงทุนที่สมเหตุสมผล ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบพื้นฐานที่รัฐบาลไม่ว่ามาจากเลือกตั้งหรือจากรัฐประหารควรจะต้องทำ

​งานนี้ไทยไม่ได้เหวอ หรือกระทั่งจีนเองก็ยังไม่ได้เหวอ เพราะมันยังอยู่ในกระบวนการเจรจาต่อรอง

​สิ่งที่คนไทยเจ้าของประเทศควรสนใจนับจากนี้คือผลสุดท้ายของเงื่อนไขเจรจาต่อรองว่ารูปแบบการลงทุนที่ว่ามันยังผลประโยชน์แก่ประเทศชาติและส่วนรวมหรือไม่ หรืออาจรวมถึงมีใครหน้าไหนเอกชนกลุ่มไหนคว้าพุงปลาไปแบบมิชอบหรือมีการเบียดบังประโยชน์ที่ประชาชนควรได้หรือเปล่า ?

​ถ้าผลออกมาไม่เข้าท่าแล้วสื่อพาดหัวว่าประชาชนเหวอ ประชาชนเงิบ อีแบบนี้ค่อยดูสมเหตุสมผลขึ้นมาหน่อย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2015 11:17 am    Post subject: Reply with quote

"ประยุทธ์"ดึงญี่ปุ่นร่วมทุนสร้างรถไฟ
ข่าวค่ำ ตรงประเด็น
NowTV
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558

วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการวันสุดท้าย โดยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยที่ติดตามไปรายงานข่าวว่า ได้หารือกับภาครัฐและเอกชนญี่ปุ่น โดยเฉพาะการหารือกับนายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการระบบรางร่วมกัน
การพัฒนาระบบรางของไทย ได้นำเสนอแนวทางการร่วมทุน เพราะไทยมีที่ดินอยู่แล้ว โดยเชื่อว่าหากไทยมีรถไฟความเร็วสูง จะทำให้ได้รับประโยชน์ในด้านการค้าขาย ที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เนื่องจากตลอดเส้นทางการเดินรถไฟและสถานีจะทำการค้าขายได้
รวมทั้งได้เยี่ยมชมศูนย์ควบคุมรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็น ที่สถานีรถไฟโตเกียว และได้ทดลองนั่งจากกรุงโตเกียวไปนครโอซากา ซึ่งต้องการให้ไทยมีชินคันเซน แต่ก็ขึ้นกับการให้ความสนับสนุนของญี่ปุ่น

ส่วนสถานการณ์การเมืองของไทยเชื่อว่าญี่ปุ่นเข้าใจและเชื่อมั่นไทย และได้ชี้แจงไปว่า ไทยเดินหน้าสู่ระบอบประชาธิปไตยตามแผนโรดแมปที่วางไว้ การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใช้เวลาอีกไม่นาน และจะจัดเลือกตั้งในต้นปี 2559 และยืนยันว่าเข้ามาบริหารประเทศ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งให้ไทยเดินไปสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและยั่งยืน

ทั้งนี้ ก่อนเดินทางกลับ พล.อ.ประยุทธ์ หารือกับองค์กรเศรษฐกิจ 5 แห่งในเขตคันไซ หรือ เขตภาคกลางตอนล่างของญี่ปุ่น และเวลา 16.00 น. เดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ ถึงท่าอากาศยานทหาร 2 (กองบิน 6) เวลา 20.10 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2015 1:54 pm    Post subject: Reply with quote

รายงานพิเศษ : ไทยพัฒนาระบบรางเชื่อมโยงอาเซียน
ช่อง 7 สี
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 11:33 น.



Link :Embedวันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์นี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อลงนามความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างประเทศ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูประบบคมนาคมทางรางของไทยให้ทันสมัย

โดยโครงการความร่วมมือก่อสร้างรถไฟทางคู่ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เชื่อมต่อภาคตะวันตก และภาคตะวันออกของไทย เข้าด้วยกัน จากเมืองทวาย เมียนมาร์ ผ่านบ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี เข้าสู่กรุงเทพมหานคร ต่อไปยังอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และเข้าสู่กัมพูชา

ซึ่งญี่ปุ่น ถือเป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีและเป็นต้นแบบในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในเส้นทางที่ญี่ปุ่น สนใจจะลงทุน

ส่วนโครงการความร่วมมือก่อสร้างรถไฟทางคู่ระหว่างไทย-จีน ในเส้นทางคุนหมิง เวียงจันทน์ เชื่อมเข้ามายังประเทศไทย ผ่านจังหวัดหนองคาย นครราชสีมา เข้าสู่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และเข้าสู่อำเภอมาบตาพุด จังหวัดระยอง มีระยะทางรวม 873 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เริ่มก่อสร้างได้ไม่เกินต้นปีหน้า จีนจะได้ประโยชน์จากการขยายโครงข่ายคมนาคมครอบคลุมทั่วอาเซียน ส่วนไทยได้ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า

แม้นักวิชาการด้านวิศวกรรมฯ จะสนับสนุน 2 โครงการนี้ว่ามีประโยชน์ แต่ก็แนะให้ไทยเร่งพัฒนาระบบรางและบุคคลากรในประเทศไปพร้อมๆ กันด้วย ไม่เพียงแต่รับถ่ายโอนเทคโนโลยีสมัยใหม่

https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=rcJ52d457ig

//-----------------------------

ญี่ปุ่นโอเคเขตเศรษฐกิจพิเศษลุยตั้งโรงงาน-ฐานผลิต
ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 14:30:34 น.


"บิ๊กตู่"ควง ครม.บุกญี่ปุ่น โรดโชว์ดึงเอกชนลงทุน 6 เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ตั้งโรงงาน-ฐานผลิตรับเออีซี สำรวจรถไฟ 3 เส้นทาง กู้สร้างถนน 138 กม. บูมท่าเรือทวาย มหาดไทยชี้จุดผังเมืองสระแก้วและตาก บิ๊กจินลุยจีนกู้เงินสร้างรถไฟ 4 แสนล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 8-10 ก.พ.นี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี มีกำหนดการเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ จะหารือในประเด็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาระบบราง โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย การเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยสู่ญี่ปุ่น

เซ็นลงนามร่วม 2 ฉบับ

จะมีลงนามความร่วมมือ 2 ฉบับ คือ บันทึกแสดงเจตจำนง MOI (Memorandum of Intent) พัฒนาระบบราง โดยระบุเส้นทางที่มีความสำคัญลำดับต้นที่สองฝ่ายจะร่วมมือพัฒนา และการยกระดับกลไกคณะทำงานระบบรางไทย-ญี่ปุ่น และบันทึกความร่วมมือMOC (Memorandum of Cooperation)ความร่วมมือส่งเสริมธุรกิจไทยในญี่ปุ่น, ญี่ปุ่นในไทย และธุรกิจระหว่างกันในประเทศที่สาม

กู้ญี่ปุ่นสร้างถนนรับทวาย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การหารือหลัก ๆ คือ การลงนาม MOI ศึกษาและสำรวจเส้นทางรถไฟราง 1.435 เมตร 3 เส้นทาง ได้แก่ 1.แม่สอด-สุโขทัย-พิษณุโลก-บ้านไผ่-มุกดาหาร 2.บ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ, กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง(และกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ) และ 3.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจเป็นลำดับแรกคือเส้นทางบ้านพุน้ำ ร้อน-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ

อีกทั้งจะให้ญี่ปุ่นจัดเงินกู้ดอกเบี้ย พิเศษให้รัฐบาลเมียนมาร์สร้างถนนในโครงการทวายจากบ้านพุน้ำร้อน-ทวาย ระยะทาง 138 กม. วงเงิน 3,900 ล้านบาท เพราะเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะต้องให้รัฐบาลเมียนมาร์เป็นผู้รับผิด ชอบการก่อสร้างแทน บมจ.อิตาเลียนไทยฯและจะลงนาม MOC กับญี่ปุ่นเพื่อร่วมกันพัฒนาทวายที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่ 3 เข้ามาร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทยและเมียนมาร์หลังเฟสแรกทางอิตาเลียนไทยฯพัฒนา พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแล้ว

ดึงญี่ปุ่นบูม 6 เขตเศรษฐกิจพิเศษ

สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน นายกรัฐมนตรีจะเชิญให้บริษัทเอกชนญี่ปุ่นเข้ามาตั้งโรงงานและฐานการผลิตใน เขตเศรษฐกิจ 6 แห่ง ได้แก่ ตาก มุกดาหาร ตราด สระแก้ว สงขลา และหนองคาย

"จะให้ญี่ปุ่นสนับสนุนให้เอกชนเข้ามาลงทุนเขตเศรษฐกิจชายแดนทั้ง 6 แห่ง อยู่ที่ว่าเขาจะให้ความสนใจว่าแห่งไหน ซึ่งไทยจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไว้รองรับ เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ด่านศุลกากร ในปี"58-59 ลงทุน 1 หมื่นล้านบาท ที่ผ่านมาญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยทุกอย่าง ทั้งอาหารบริการ และชิ้นส่วนรถยนต์ แต่ถ้ามาลงทุนเพิ่มในเขตเศรษฐกิจที่จัดไว้ จะได้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น"

เปิดเงื่อนไขบีโอไอพลัส

สำหรับการพิจารณาสิทธิประโยชน์จะเป็นไปตามเกณฑ์ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ฉบับใหม่ที่ปรับแก้รายละเอียดแล้วโดยให้สิทธิพิเศษผู้ลงทุนในพื้นที่เพิ่ม ขึ้น เช่น ถ้าเป็นกิจการเป้าหมายและตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ลดหย่อนสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตรา 50% ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี เป็นต้น

ส่วนกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมจากบี โอไอ จะได้ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 20% เหลือ 10% เป็นเวลา 10 รอบบัญชี ด้านมาตรการการเงิน ให้เงินกู้ดอกเบี้ยผ่อนปรนรายละ 10-20 ล้านบาท ด้านสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากกรมศุลกากร กรณีตั้งเขตปลอดอากรและคลังสินค้า จะยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบที่นำมาผลิตเพื่อส่งออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 30-50 ปี

นาย อาคมกล่าวว่า พื้นที่จะพัฒนานิคมอุตสาหกรรมนั้น ยังไม่ชัดเจนจะอยู่บริเวณไหน แต่จะอยู่พื้นที่อำเภอที่ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ แต่ที่ดินมีราคาแพงมากจึงต้องใช้ที่ดินของราชการ เช่น ที่ราชพัสดุ ที่ดินกรมธนารักษ์ ที่ป่าเสื่อมโทรมมาดำเนินการแทน ที่จะทำได้ทันทีคือ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ส่วนที่จะพัฒนาพื้นที่นิคมอยู่ระหว่างพิจารณาจะให้เอกชนเช่าที่ดินของรัฐ หรือจะให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นผู้จัดหาที่ดินมาบริหารจัดการต่อไป

หากเอกชนจะเช่าที่ดินของรัฐ กรณีที่เป็นคนต่างชาติ ตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 ให้สิทธิในการเช่าอสังหาฯเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมเกินกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน50 ปี ครบกำหนดสัญญาต่อระยะเวลาการเช่าได้อีกไม่เกิน 50 ปี

เคาะที่ตั้ง-คลอดผังเมือง

พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กำลังเร่งรัดหาพื้นที่จะพัฒนาเขตเศรษฐกิจ จะโฟกัสจุดไหนบ้างจากที่ได้ประกาศครอบคลุมไว้แล้วโดย 6 แห่งนำร่องคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ พร้อมกับการจัดวางผังเมืองที่จะชี้นำการพัฒนาแต่ละพื้นที่ เช่น พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย กรมโยธาธิการและผังเมืองจะดำเนินการเสร็จ ก.พ.-มี.ค.นี้

"จะพยายามใช้พื้นที่ส่วนราชการเป็นหลักในการพัฒนา เช่น พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ที่ราชพัสดุกรมธนารักษ์ เพราะทำให้ต้นทุนการพัฒนาของเอกชนที่จะมาลงทุนถูกลง แต่จะต้องสำรวจว่าพื้นที่ไหนที่ยังมีการบุกรุก จะเร่งรื้อย้ายออกไป"

พลเอกอนุพงษ์กล่าวอีกว่า จากการลงพื้นที่สำรวจ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว พื้นที่เหมาะที่จะอยู่ ต.ป่าไร่ และ ต.บ้านใหม่หนองไทร เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่ถูกน้ำท่วมและมีที่สาธารณประโยชน์ 2,145 ไร่ คาดว่าพื้นที่อรัญประเทศจะเกิดได้ก่อนพื้นที่อื่น ๆ

ปัจจุบันกรมโยธาฯร่วมกับการนิคมฯ ร่วมกันศึกษาพื้นที่เพื่อออกแบบวางผังพื้นที่เฉพาะเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ 1.ต.ป่าไร่ เนื้อที่ 500 ไร่ อยู่ในการดูแลของกรมป่าไม้ ห่างจากจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึกประมาณ 10 กม. 2.ต.ป่าไร่ เนื้อที่ 679 ไร่ เป็นที่ น.ส.ล. อยู่ในการดูแลของเทศบาลตำบลป่าไร่ 3.พื้นที่ ต.บ้านด่าน เนื้อที่ 1,000 ไร่ เป็นที่ ส.ป.ก. อยู่ในการดูแลของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินฯ ห่างจากจุดผ่านแดนคลองลึก 12 กม. และ 4.บริเวณ ต.บ้านด่าน เนื้อที่ 1,000 ไร่ เป็นที่ของการรถไฟฯและเอกชน

ส่วนพื้นที่เขตเศรษฐกิจตาก พลเอกอนุพงษ์กล่าวว่า จะอยู่ที่อำเภอแม่สอด จะใช้ที่ป่าเสื่อมโทรมของกรมป่าไม้บริเวณ ต.แม่ปะและ ต.ท่าสายลวด

เร่งเจรจาจีนสร้างรถไฟ

ขณะที่ความคืบหน้ารูปแบบการลงทุนรถไฟไทย-จีนเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา- แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ 873 กม. วงเงิน 4 แสนล้านบาท ที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 2 ที่ปักกิ่งวันที่ 11-13 ก.พ.นี้

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าเสนอการลงทุน 2 รูปแบบเจรจากับจีน คือ รูปแบบที่ 1 ช่วงก่อสร้างรัฐบาลไทยรับผิดชอบการก่อสร้างโครงการรูปแบบ EPC+F+O คือ จีนจะสำรวจ ออกแบบ จัดหาระบบ ก่อสร้าง และให้เงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ โดยเสนอดอกเบี้ย 2-4% ปลอดหนี้ 4 ปี คืนทุน 20 ปี แต่จะเจรจาให้ข้อเสนอดีที่สุด โดยจะนำแหล่งเงินอื่นมาเปรียบเทียบด้วย เช่น องค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ดอกเบี้ย 1.5%

"ส่วนการเดินรถจะให้จัดตั้งบริษัทร่วมไทย-จีน รูปแบบบริษัทรัฐวิสาหกิจ เพื่อบริการเดินรถตามสัดส่วนที่ตกลงกัน อาจจะเป็นไทย 51% และจีน 49%"

แหล่งข่าวกล่าวว่า รูปแบบที่ 2 จัดตั้ง SPV (นิติบุคคลเฉพาะกิจ) ไทย-จีน มาดำเนินการก่อสร้างและให้บริการเดินรถ แต่มีความเป็นไปได้ว่ารูปแบบที่ 1 จะมีความเป็นไปได้มากที่สุด เพราะต้องเร่งรัดการดำเนินการให้ทันการก่อสร้างเดือนกันยายนนี้ที่รัฐบาล ตั้งเป้าไว้ ช่วงแรกจากกรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2015 9:04 pm    Post subject: Reply with quote

เคาะรูปแบบลงทุน "รถไฟไทย-จีน" กู้ผสมบาท-หยวนตั้งไข่ "กทม.-แก่งคอย"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
11 กุมภาพันธ์ 2558 2558 เวลา 20:29:03 น.


เข้าสู่การประชุมนัดที่ 2 ของคณะกรรมการร่วมขับเคลื่อน "รถไฟไทย-จีน" เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน เซ็น MOU ร่วมกันพัฒนา 873 กม. ความเร็ว 160-180 กม./ชม.

ครั้งนี้หารือกันที่ "ปักกิ่ง" โดย "จีน" เป็นเจ้าภาพประชุม 11-13 ก.พ.2558 ถัดจากนี้ "รูปแบบลงทุนและวงเงินกู้" น่าจะชัดขึ้น

เปิด 2 โมเดลลงทุน

การเจรจาจะอยู่ภายใต้กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท มีการลงทุน 2 รูปแบบ ที่ "ไทย" จะเจรจากับ "จีน" โดย "รูปแบบที่ 1" EPC+F+O ซึ่งรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของโครงการ แบ่งเป็น 2 ช่วงดำเนินการ

คือ ช่วงก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลไทยรับผิดชอบการก่อสร้าง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หรือกรมราง โดยจีนเป็นผู้ออกแบบ จัดหาระบบและก่อสร้างให้ ส่วนเงินลงทุนจะเจรจาจีนให้ลดดอกเบี้ยแบบพิเศษอาจจะเหลือ 2% เพิ่มระยะเวลาปลอดหนี้และขยายเวลาการชำระคืนให้ยาวขึ้น เช่น 30-40 ปี หลังจีนมีข้อเสนอให้กู้ดอกเบี้ย 2-4% ปลอดหนี้ 4 ปี และชำระคืน 20 ปี

ขณะที่ "การเดินรถ" ให้จีนเป็นพี่เลี้ยง 3-5 ปีแรก ถ่ายทอดระบบเทคโนโลยี จากนั้นการเปิดบริการจะเป็นรูปแบบร่วมทุน (จอยต์เวนเจอร์) ตั้งบริษัทไทย-จีนเป็นรัฐวิสาหกิจร่วมกัน ตามสัดส่วนที่ตกลง เช่น ไทย 51% จีน 49% เพื่อให้บริการเดินรถ และนำรายได้จากพัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานีที่ให้เอกชนพัฒนามาชำระหนี้

ส่วน "รูปแบบที่ 2" จัดตั้ง SPV ไทย-จีน (นิติบุคคลเฉพาะกิจ) ร่วมกันในสัดส่วนไทย 51% และจีน 49% มาดำเนินการทั้งโครงสร้างพื้นฐานและให้บริการเดินรถ โดยช่วงก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน "ไทย" จะเป็นผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินและสิทธิที่เกี่ยวข้องเป็นทุน ส่วน "SPV" จะออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนจากจีน ขณะที่ช่วงให้บริการ "SPV" เป็นผู้ดำเนินการ และออกอินฟราฟันด์ หากมีรายได้ไม่เพียงพอ และอาจจะแปลงหุ้นกู้เป็นทุนของฝ่ายจีนใน SPV



ข้อดี-ข้อเสียแต่ละรูปแบบ

ทั้งนี้เมื่อดู"ข้อดี-ข้อเสีย" ของ 2 รูปแบบการลงทุน (ดูตาราง) ด้วยข้อตกลง MOU ที่เป็นรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) และเดดไลน์ที่ "บิ๊กจิน"จะให้เริ่มเฟสแรก "กรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด" ในปีนี้ ก็เป็นไปได้สูง"รูปแบบ EPC+F+O"จะเป็นทางเลือกดีที่สุด

"รูปแบบลงทุนเป็น EPC แน่ แต่สิ่งที่มาพิจารณากันต่อคือ ดอกเบี้ยที่ให้จีนปรับลดอีก เพราะเป็นอัตราดอกบี้ยที่ต่ำกว่าที่จีนเคยปล่อยกู้ จีนต้องขออนุมัติจากรัฐบาลด้วย หากไม่ได้ตามเป้าอาจจะกู้ไม่เต็มทั้งโครงการ กู้แค่บางส่วนระยะแรกอาจจะ 20-30% ของวงเงินลงทุน ที่เหลือกู้ในประเทศ หรือแหล่งอื่นที่ดอกเบี้ยถูกกว่า หลังประชุมครั้งนี้น่าจะชัดขึ้น" แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

"ไทยต้องกู้เงินจีน อยู่ที่ว่าจะกู้มากหรือน้อย เพื่อให้เป็นตามข้อตกลง MOU และโครงการนี้เป็นจีทูจี จีนต้องทำ EPC คือ ออกแบบ จัดหาระบบและก่อสร้าง โดยคัดเลือกบริษัทจีนมา 5 ราย ร่วมกับบริษัทไทยก็มีหลายรูปแบบอยู่ที่ความเชี่ยวชาญ เช่น โครงสร้างพื้นฐานจะให้รับเหมาไทยดำเนินการ งานระบบรถและควบคุมเดินรถให้จีนเป็นผู้ดำเนินการหลัก" แหล่งข่าวกล่าวย้ำ

เร่งตอกเข็มให้ทันปีนี้

ว่ากันว่า ประเด็น "ดอกเบี้ย" กำลังเป็นที่หนักใจ "บิ๊กจิน-พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" เจ้ากระทรวง หากท้ายสุด "จีน" ไม่มีอัตราพิเศษให้อย่างที่รับปาก อาจกระทบชิ่งแผนงานก่อสร้างเฟสแรกขยับไป 1 เดือน จากเดิมตั้งเป้าตอกเข็ม ก.ย.เป็น ต.ค.นี้ และเฟส 2 "แก่งคอย-โคราช-หนองคาย" ขยับจาก ธ.ค.เป็น ม.ค. 2559

แต่ให้ทุกอย่างอยู่ในกรอบเวลาที่ตั้งไว้ การประชุมครั้งนี้ "บิ๊กจิน" จึงหมายมั่นจะได้ข้อสรุปสุดท้ายทั้งรูปแบบลงทุนและบริษัทจะมาร่วมออกแบบรายละเอียดและก่อสร้าง เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไป

ในเดือนมี.ค.นี้จะสำรวจพื้นที่และออกแบบรายละเอียดให้เสร็จ 6 เดือน โดยใช้ฐานข้อมูลผลศึกษาของจีนเมื่อปี 2553 ที่น่าจะใช้ประโยชน์ได้เกิน 50% มาต่อยอดโครงการ ผสมผสานกับใช้เทคโนโลยีทันสมัยจีนมาสำรวจพื้นที่ ยิ่งจะทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น และสร้างเสร็จใน 2 ปีครึ่ง

สภาพัฒน์สแกนยิบ

ต้องลุ้น "บิ๊กจิน" จะดันโครงการให้ฟันฝ่าปัญหาไปได้ไกลแค่ไหน เพราะยังต้องฝ่าด่าน "ครม.-สนช." และทำผลศึกษาความเหมาะสมโครงการและรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) อีก

ถึงจะมีแบบ "ไฮสปีดเทรน" เดิม ก็ต้องทบทวนใหม่ทั้งความเร็วและเงินลงทุน ซึ่งประเด็นนี้ถกกันมากที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณารูปแบบการลงทุน มี "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" เป็นประธาน

โดยสภาพัฒน์ฯมองว่าเป็นคนละโครงการกัน ต้องมาว่ากันใหม่ ดังนั้นเดดไลน์ก.ย.จะตอกเข็ม ว่ากันว่าเป็นไปได้ยากแต่ถ้า "บิ๊กจิน" รุกหนักก็มีสิทธิ์ลุ้นคิกออฟ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2015 6:41 pm    Post subject: Reply with quote

รมว.อุตฯ แจงไอเดียนายกฯ ให้เอกชนร่วมรถไฟความเร็วสูง ตั้งอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
12 กุมภาพันธ์ 2558 16:38 น. (แก้ไขล่าสุด 12 กุมภาพันธ์ 2558 17:28 น.)

“จักรมณฑ์” เผยหลังประชุมบีโอไอ นายกฯ อนุมัติ 23 โครงการ 7 หมื่นล้าน ให้นักลงทุนเดิมขอรับส่งเสริมเพิ่มได้ พร้อมตั้งอนุ กก.ภาวะการลงทุน เป็นข้อมูลเสริมการลงทุน รับนายกฯ ย้ำต้องมีอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ผุดแนวคิดเอกชนร่วมรถไฟความเร็วสูง ชี้เส้นไปพัทยา-หัวหินมีสิทธิ์ทำ รับรัฐทุ่มรถไฟรางคู่ คงไม่ลงทุนเพิ่ม

วันนี้ (12 ก.พ.) ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบอร์ดบีโอไอ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมบอร์ดบีโอไอนัดแรกของปี 2558 โดยพิจารณาอนุมัติให้มีการส่งเสริมลงทุนแก่กิจการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่ช่วงปี 2557 รวม 23 โครงการ เงินลงทุนกว่า 77,228 ล้านบาท พร้อมเห็นชอบให้นักลงทุนรายเดิมที่เคยได้รับส่งเสริมสามารถขอรับส่งเสริมเพิ่มเติมได้หากลงทุนเพิ่มในด้านพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน เช่น วิจัยพัฒนา การออกแบบผลิตภัณฑ์ ฝึกอบรมขั้นสูง

นายจักรมณฑ์กล่าวว่า นายกฯ มีมติแต่งตั้งอนุกรรมการภาวะการลงทุน โดยให้บีโอไอ เป็นฝ่ายเลขานุการ โดยคณะกรรมการชุดนี้ ประกอบด้วยกระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงแรงงาน, ธนาคารแห่งประเทศไทย, กระทรวงพาณิชย์, สภาหอการค้า และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ทั้งนี้ ข้อมูลส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องมีอยู่เป็นเฉพาะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ SME ในเรื่องของข้อมูลอุตสาหกรรมเกี่ยวกับ รง.4 และการค้าเชิงพาณิชย์ รวมถึงการบริการต่างๆ เป็นข้อมูลการส่งเสริมการลงทุนของประเทศทั้งหมดให้รวมในที่เดียวกัน

นายจักรมณฑ์กล่าวต่อว่า นายกฯมีแนวคิดตั้งอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ โดยกำชับว่าจำเป็นต้องมี อยากให้ทำ แต่เหลือเพียงการแก้ปัญหาบางข้อ ทั้งนี้มอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปดูและประสานว่าจะทำอย่างไร โดยต้องพูดคุยกับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนักลงทุนต่างประเทศกรณีที่มีการร่วมทุน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมก็ได้รับเรื่องและเล็งเห็นว่าถ้าไม่ทำเรื่องนี้ ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวกับเหล็กคงจะไม่สมบูรณ์ อาจเกิดวิกฤตได้

นายจักรมณฑ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเรื่องรถไฟความเร็วสูงนั้น นายกฯ มีแนวคิดถึงการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามายื่นข้อเสนอ พร้อมเส้นทางแก่รัฐบาล และรัฐฯ จะรับพิจารณาอีกที คาดว่าเส้นทางที่มีโอกาสเป็นไปได้ คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา เป็นระยะทางที่ไม่ไกลเกินไป อีกทั้งยังผ่านชลบุรี ศรีราชา แหลมฉบัง ที่เป็นบริเวณชุมชนหนาแน่น สายเศรษฐกิจหลักของประเทศ แต่การสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้นจะต้องทำเป็นเส้นทางตรง เน้นความแข็งแรง จึงจะต้องสำรวจดูเส้นทางใหม่ ทำสะพานใหม่ และคาบเกี่ยวเรื่องการเวนคืนที่ดินด้วย ทั้งนี้หลังจากที่ประเทศไทยได้เซ็นบนทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) กับจีนเกี่ยวกับการสร้างรางคู่ขนาน มีการลงทุน 4 แสนล้านบาท

“พูดง่ายๆ ว่ารัฐบาลคงไม่ไปลงทุนด้วยแล้ว เราทำรถไฟรางคู่ แล้วหากสมทบใหม่ก็จะหนักไป แต่ถ้าเอกชนบอกว่ายากจะให้รัฐช่วยเหลืออะไรก็ยื่นข้อเสนอมา ไม่ใช่ให้ร่างเอง จะฟังข้อเสนอก่อน” นายจักรมณฑ์กล่าว

//-----------------


นายกฯ ชวนเอกชนลงทุนร่วมภาครัฐสร้างรถไฟความเร็วสูง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
12 กุมภาพันธ์ 2558 15:19 น.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า ได้มอบนโยบาย แนวทางการทำงานใหม่ให้ที่ประชุม โดยให้ฝ่ายราชการทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ขณะที่ภาคเอกชนทำหน้าที่ขับเคลื่อนการลงทุน พร้อมเชิญชวนภาคเอกชนร่วมกลุ่มลักษณะกองทุน ร่วมลงทุนกับภาครัฐ เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญ เช่น กรุงเทพฯ-พัทยา กรุงเทพฯ-หัวหิน เป็นต้น
ส่วนข้อกังวลต่อการกำหนดดอกเบี้ย และเงื่อนไขของจีนในการก่อสร้างรถไฟในประเทศไทย ตามที่ได้มีการลงนามใน MOU กันไว้นั้น นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า จะต้องยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ซึ่งเรื่องนี้ยังสามารถต่อรองกันได้ และยังสามารถใช้แหล่งเงินทุนอื่นนอกเหนือจากจีนได้
//----------
เยอรมันสนใจสร้างรถไฟไปหัวหิน
เยอรมันขอเอี่ยวสร้างรถไฟทางคู่กรุงเทพฯ – หัวหิน หลังจีน – ญี่ปุ่นกินรวบรถไฟทางไกล พร้อมขอสร้างโรงงานกำจัดปรอทน้ำมัน

วันพุธ 11 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 16:30 น.
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิชรมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังนายรอล์ฟ ซูลเช่ เอกอัครราชทูตวิสามัญสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี ประจำประเทศไทยเข้าหารือว่า เยอรมันนี สนใจที่จะลงทุนรถไฟทางคู่ระยะสั้นเส้นทางกรุงเทพฯ – หัวหิน ความเร็วประมาณ 160 กม.ต่อชั่วโมง เนื่องจากเยอรมนี เห็นว่า ที่ผ่านมาประเทศจีนและญี่ปุ่น ได้เสนอตัวเข้ามาร่วมลงทุนแต่เป็นเส้นทางระยะยาว จึงสนใจระยะสั้นและเยอรมันนี มีบริษัท ซีเมนส์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถไฟฟ้าโดยที่ผ่านมาเคยลงทุนในไทยแล้ว เช่นโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ ตนได้แจ้งว่า โครงการลงทุนรถไฟเส้นทางดังกล่าวไม่ได้อยู่ในแผนการลงทุนของรัฐบาลชุดปัจจุบัน แต่หากรัฐบาลมีแผนจะลงทุนจะแจ้งกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป

นอกจากนี้เยอรมันนียังสนใจลงทุนกำจัดสารปรอทจากน้ำมันซึ่งเป็นกากอุตสาหกรรมที่เกิดจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยเฉพาะจากการผลิตของบมจ.ปตท. เนื่องจากปัจจุบันบมจ. ปตท. ส่งสารปรอทไปกำจัดที่ประเทศเยอรมนีและสวิสเซอร์แลนด์ ทางบริษัทเอกชนผู้รับกำจัดของเยอรมันนี จึงมีความสนใจที่เข้ามาลงทุนโรงงานในไทยทางกระทรวง ฯ ได้ให้คำแนะนำลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อความเหมาะสม ซึ่งหลังจากนี้บริษัทกำจัดกากฯ จะหารือเพื่อดำเนินการอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 31, 32, 33 ... 121, 122, 123  Next
Page 32 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©