RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180447
ทั้งหมด:13491681
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 32, 33, 34 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2015 10:31 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ ประชุมบีโอไอ ตั้งคณะอนุฯ บูรณาการข้อมูล อนุมัติ 24 โครงการ 7 หมื่นล้าน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
12 กุมภาพันธ์ 2558 14:15 น. (แก้ไขล่าสุด 12 กุมภาพันธ์ 2558 16:14 น.)

“ประยุทธ์” แจงหลังประชุม คกก.ส่งเสริมลงทุน ตั้งคณะอนุฯ ทำข้อมูลบูรณาการ ยันไทยคบค้ากับทุกประเทศ เพิ่มรถไฟรางคู่ ระยะแรก 300-400 โล ชี้ถ้าอยากได้รถไฟความเร็วสูงให้เศรษฐีมาร่วมทุน แจงสามล้านล้านวางไว้คร่าวๆ เล็งเปิดกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน อนุมัติแล้ว 24 โครงการ 7 หมื่นล้าน แย้มรักษาการบีโอไอ ถ้าทำดีก็นั่งต่อ


พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า ที่ประชุมในวันนี้มีการพูดคุยในเรื่องรถไฟ ซึ่งได้อธิบายว่า เราจะมีรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร ที่ต้องมีการเพิ่มเส้นทางในประเทศในส่วนการสัญจรไปมา การขนส่งสินค้า ให้มากขึ้น ความทันสมัยของตู้โดยสาร อยู่ในแผนงานที่จะต้องเริ่มในปี 58 โดยในระยะแรก อาจทำได้ประมาณ 300-400 กิโลเมตร ระยะต่อไป รัฐบาลหน้ารัฐบาลไหนก็มาทำไป ถ้ามีแผนที่ดีกว่าก็ไปเปลี่ยนเอาเอง วันนี้เราวางไว้แค่นั้น แต่เห็นความชัดเจนในเรื่องเส้นทางของรถไฟทางคู่ รถไฟขนาดราง 1.435 รถไฟความเร็วปานกลาง จะมีการเชื่อมโยงไปยังที่ไหนบ้าง วันนี้ได้หารือกันว่าจะสามารถทดลองเกิดรถไฟความเร็วสูงสักช่วงระยะเวลาหนึ่งได้หรือไม่สำหรับการท่องเที่ยวในพื้นที่ เช่น พัทยา หัวหิน ในลักษณะการร่วมลงทุน ตนกำลังประชาสัมพันธ์ภาคเอกชนของไทยที่รวยเยอะๆ มาร่วมลงทุน เป็นพีพีพี จากที่ไปดูที่ประเทศญี่ปุ่นมา ระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร ใช้งบประมาณ 4 แสนล้านบาท แต่เรามีที่ดินอยู่ ถ้าเศรษฐีไทยมาร่วมลงทุน และต่างประเทศมาร่วมหุ้นบ้างก็น่าจะดี อยากจะให้มีการเริ่มดำเนินการให้เร็วที่สุด แต่เราไม่มีเงิน ต้องหาคนมาร่วมลงทุน โดยการทำเส้นทางนั้นตนได้บอกไปว่าถ้าจะทำโดยมองเศรษฐกิจอย่างเดียวคงไม่ได้ ไทยต้องได้ประโยชน์ และสิ่งสำคัญ ต้องพิจารณาในเรื่องการดูแลคนจนและผู้มีรายได้น้อย ให้สามารถมีการค้าขายได้ตามเส้นทางเหล่านั้น โดยคิดว่าบ้านเรามีโอกาสสูงในการสร้างรถไฟความเร็วสูงเพราะมีเส้นทางเยอะแยะ ส่วนเส้นทางนั้น ถ้ามีพอก็คู่ขนานกับเส้นทางเดิมได้ แต่ถ้าไม่พอต้องเวนคืนที่ดินมาทำเส้นทาง ทำให้ทุนเราไม่มี

“ที่ผ่านมามีการวางแผนงานไว้แล้วเป็นตัวเลขหลายล้าน แล้วมีการประมูลไปเลย มันไม่ได้ เราต้องมีการเตรียมของเราให้พร้อม เพื่อมีข้อต่อรองได้ แต่ถ้าให้เอกชนเขาไปเลย เขาก็ต้องไปทำอีไอเอ เอชไอเอและการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเองหมด เขาจะทำได้หรือ ส่วนวันนี้อะไรเราทำได้ ทำก่อน โดยใช้เงินที่มีอยู่ จะกู้หรือลงทุนก็ว่าไปเป็นเรื่องๆ ตัวเลขที่วางไว้ 3 ล้านล้าน เพราะมันยังไม่ได้ทำเลย เพียงแต่วางไว้คร่าวๆ โดยใช้เงินทีละช่วง แต่ถ้าอยากจะมีเร็วก็ต้องร่วมลงทุน ก็ขอเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เช่นรถไฟ ที่วันหน้าต้องเป็นเอกชนมาบริหารทั้งหมดเหมือนกับต่างประเทศ โดยมีกระทรวงกำกับข้างบน ถ้าบริหารด้วยราชการยังไงก็สู้เขาไม่ทัน มันเปิดแนวคิดใหม่ไปแล้ว” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อว่า ส่วนการลงทุนรถไฟกับจีนที่ว่าจะมีการลงทุนอย่างไร เอาเงินจากไหน ถ้าเงินกู้มันมากไป มันแพง เราจะเอาเงินของเราหรือจะไปกู้ที่อื่นก็มีวิธีหลายอย่าง ทางเลือกหลายอย่าง ไม่ใช่บังคับทุกอย่าง มันไม่ได้ แต่สิ่งที่ดีคือจีนร่วมมือกับเรา ตรงนี้สำคัญเพราะเขาวางใจว่าเรารักษาสัญญา ซึ่งจะต้องต่อรองกันไป เรามีคณะกรรมการทำอยู่ ไม่ได้มอบให้บริษัทไหนไปทำ เป็นเรื่องของรัฐบาลต่อรัฐบาล

ผู้สื่อข่าวถามถึงการแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า นางหิรัญญา สุจินัย รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ยังไม่เกษียณ แต่จะตั้งเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น มันอยู่ที่ว่าจะทำอะไร อย่าไปสนใจว่าใครอยู่ตรงไหน ถ้าเขาทำดีก็ให้ทำไปก่อน ตนสั่งทุกเรื่อง แต่ไม่ได้สั่งโดยไม่ฟังใคร ตนมีข้อมูล จากปัญหาที่สรุปมาทั้งหมดและสั่งไปตามนั้นเพราะเวลามีจำกัด อย่าไปเขียนว่าตนสั่งตามที่ใครพูดอย่างเดียว แต่เพราะอ่านมาแล้ว ถ้ามีเรื่องใหม่มาก็ฟังหมดแล้วจึงตัดสินใจสั่งการ ไม่เช่นนั้นมันช้า

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า จากตนเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นมา เขาชื่นชมว่าเรามีเสถียรภาพ แต่ขอให้ไปสู่ประชาธิปไตย ตนได้บอกว่าไปอยู่แล้ว ยังไงก็ไป และอธิบายว่าวันนี้ที่บริหารก็ด้วยประชาธิปไตย คือองค์กรต่างๆ ทำงานทั้งหมด ไม่อย่างนั้นก็ไม่ต้องคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สั่งผ่าน คสช.อย่างเดียวไม่ดีกว่าหรือ แต่ตนไม่ได้ทำอย่างนั้นสักอย่าง เขาก็เข้าใจ เพียงแต่จะไปเลือกตั้งเมื่อไหร่นั้น ก็ไปเลือกมา เลือกได้ก็เลือก ถ้าไม่ได้ก็ไปว่ากันมา ใครจะทำตนก็ไม่รู้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2015 11:50 am    Post subject: Reply with quote

นักวิชาการแนะรัฐบาลจัด "วาระชาติ" ดูแลรักษาระบบรางคู่งานก่อสร้าง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
13 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 11:10:08 น.


นายประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตรองผู้อำนวยการสถาบันขนส่ง เปิดเผยถึงโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลว่า ที่ผ่านมามีการนำเสนอเฉพาะข้อมูลการดำเนินโครงการ ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณที่ใช้จากเดิมเป็น 2 ล้านล้านบาท มาเป็น 2.4 ล้านล้านบาท และภายหลังได้ขึ้นมาอยู่ที่ 3 ล้านล้านบาท แต่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงเรื่องการดูแลรักษาภายหลังก่อสร้างเสร็จแล้ว ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากดูแลรักษาไม่มีประสิทธิภาพก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้นมาได้ เช่น กรณีของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เดินรถเอง ซึ่งมีปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะเรื่องการจัดหาอุปกรณ์ชิ้นต่างๆ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มีกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง จนเกิดความล่าช้าและมีปัญหาขึ้น

นายประมวลกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีใครพูดถึงปัญหาในอนาคตเลย จึงควรหาแนวทางป้องกันด้วย ซึ่งเรื่องนี้ได้เคยมีการศึกษามาตั้งแต่ปี 2552 คือจะต้องผลิตอะไหล่ชิ้นส่วนต่างๆ ขึ้นมาใช้เอง เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีความพร้อมในการผลิตอยู่แล้ว แต่ต้องมีนโยบายและได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง และต้องมีการประกอบขบวนรถไฟฟ้าใช้เองด้วย

"หากจะให้สำเร็จ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะต้องจัดทำเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันผลักดันให้เป็นรูปธรรม โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักจะดำเนินการในเรื่องของการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยว ข้อง กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความรู้ กระทรวงแรงงานฝึกฝนฝีมือแรงงาน ส่วนกระทรวงคมนาคม ก็สนับสนุนให้ใช้วัสดุอุปกรณ์และขบวนรถไฟที่ประกอบในประเทศไปให้บริการใน โครงการรถไฟฟ้าในเส้นทางต่างๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2015 12:01 pm    Post subject: Reply with quote

"ประยุทธ์" สั่งปัดฝุ่น "ไฮสปีดเทรน กทม.-พัทยา" ดึงเจ้าสัวร่วมลงทุน เลียนแบบชินคันเซน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
13 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 10:40:21 น.


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ครั้งที่ 1/2558 ว่า ที่ประชุมพูดคุยในเรื่องรถไฟ โดยได้สั่งการศึกษาแนวคิดสร้างรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯกับแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ซึ่งอาจจะเป็นเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน หรือกรุงเทพฯ-พัทยา

พร้อมทั้งเปิดให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยอาจจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์) หรือการเชิญชวนภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมลงทุนกับไทย

"วันนี้ผมหารือเรื่องรถไฟความเร็วสูง ถ้าจะทดลองให้เกิดขึ้นได้ห้วงเวลาหนึ่งสำหรับการท่องเที่ยว อาจไปพัทยา หรือไปหัวหินได้ไหม แต่เป็นลักษณะร่วมลงทุน ผมก็ประชาสัมพันธ์ภาคเอกชนของไทยที่รวยๆ มาเริ่มกันเยอะๆ ในลักษณะพีพีพี รัฐบาลลงทุนเส้นทาง เรื่องที่ดินหรือถ้ามีเศรษฐีไทยมาร่วมลงทุน และมีต่างประเทศมาร่วมก็น่าจะดี"

ด้านนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลมีแผนที่จะลงทุนในโครงการรถไฟขนาดปานกลางขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร และรถไฟขนาดราง 1 เมตร ทำให้การลงทุนรถไฟความเร็วสูงที่ต้องใช้งบประมาณสูงถึงเส้นทางละประมาณ 4 แสนล้านบาท รัฐบาลอาจไม่อยู่ในสถานะที่จะลงทุนได้ จึงเปิดโอกาสให้เอกชนยื่นข้อเสนอเข้ามาเป็นผู้ลงทุนแทนโดยจะมีการหารือในรายละเอียดกับกระทรวงคมนาคมต่อไป

เอกชนจะสามารถยื่นข้อเสนอในการเป็นผู้ลงทุนรถไฟความเร็วสูงได้ทุกเส้นทางเช่น กทม.-เชียงใหม่, กทม.-ระยอง, กทม.-นครราชสีมา, กทม.-พิษณุโลก, กทม.-หัวหิน และกทม.-พัทยา ซึ่งมองว่าเส้นทาง กทม.-พัทยามีความเป็นไปได้มากที่สุด เนื่องจากพัทยามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง

เส้นทางนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เคยเสนอให้รัฐบาลลงทุนเพราะเป็นเส้นทางที่ผ่านทั้งท่าเรือแหลมฉบังและ จ.ชลบุรี ที่ถือว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งการบริหารรถไฟโดยเอกชนมีตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่น ที่บริหารรถไฟความเร็วสูงชินคันเซนได้ผลดีมาแล้ว Wink
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2015 4:07 pm    Post subject: Reply with quote

“สามารถ” ชี้หากจีนยังเห็นแก่ได้ รถไฟสายหนองคาย-มาบตาพุด ริบหรี่


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
13 กุมภาพันธ์ 2558 14:06 น. (แก้ไขล่าสุด 13 กุมภาพันธ์ 2558 15:03 น.)


อดีตรองผู้ว่าฯ กทม.ชี้โอกาสจะได้ใช้รถไฟความเร็วสูงสายหนองคาย-มาบตาพุด ริบหรี่ หากจีนยังเอาเปรียบเห็นแก่ได้ ทั้งดอกเบี้ยสูง ขอออกแบบก่อสร้าง บริการจัดการเดินรถเอง ขณะที่ญี่ปุ่นให้ดอกเบี้ยต่ำกว่า

นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. ได้แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวใจความว่าตนได้วิเคราะห์ “เรื่อง จีน-ญี่ปุ่น ใครจะได้ลุ้นสร้างรถไฟ (กึ่ง) ความเร็วสูงไทย” ไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 ว่า จีนได้เส้นทางดีกว่าญี่ปุ่น เพราะจะได้รับประโยชน์จากเส้นทางเชื่อมจีน-ไทย หากจีนไม่หวังผลตอบแทนจากการลงทุนมากนักก็น่าจะมีโอกาสได้งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 734 กิโลเมตร และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง 133 กิโลเมตร ส่วนเส้นทางที่รัฐบาลต้องการมอบให้ญี่ปุ่นนั้น คือ เส้นทางพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-สระแก้ว-กัมพูชา เป็นเส้นทางที่ญี่ปุ่นไม่ได้รับประโยชน์โดยตรง อีกทั้งเส้นทางนี้ยังขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายอีกด้วย ทำให้ยากที่จะเจรจากับญี่ปุ่นจนบรรลุผลสำเร็จได้มาถึงวันนี้ การเจรจารายละเอียดกับจีนยกแรกเพิ่งผ่านไป ในขณะที่การเจรจากับญี่ปุ่นยังไม่เริ่มขึ้น มีแต่เพียงการไปเยือนญี่ปุ่นพร้อมกับทดลองนั่งชินคันเซ็น หรือรถไฟความเร็วสูงเส้นทางแรกของโลกจากกรุงโตเกียวไปสู่โอซาก้า โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะเมื่อเร็วๆ นี้เท่านั้น ผลการเจรจากับจีนครั้งที่ 1 ปรากฏว่าจีนเสนอเงินกู้ให้ไทยใช้ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจีน-ไทย โดยมีเงื่อนไขดังนี้

1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 2-4% ต่อปี ซึ่งแพงกว่าดอกเบี้ยที่ญี่ปุ่นให้ไทยกู้เงินก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ที่มีอัตราดอกเบี้ย 1.4% ต่อปี หากย้อนดูอดีตจะพบว่าญี่ปุ่นเคยให้ไทยกู้เงินก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ โดยคิดดอกเบี้ยต่ำมาก คือคิดเพียงแค่ 0.75% ต่อปีเท่านั้น

2. ระยะเวลาปลอดหนี้ 4 ปี ในขณะที่เงินกู้ของญี่ปุ่นสำหรับก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงให้ระยะเวลาปลอดหนี้ 7 ปี 3. ระยะเวลาชำระหนี้เงินกู้ 20 ปี ในขณะที่เงินกู้ของญี่ปุ่นสำหรับก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงให้ 25 ปี

ดูเงื่อนไขเงินกู้แล้วเห็นได้ว่าจีนสู้ญี่ปุ่นไม่ได้ กล่าวคือจีนต้องการผลประโยชน์จากการให้กู้เงินมากกว่าญี่ปุ่น ยิ่งไปกว่านั้นจีนยังต้องการให้ไทยใช้เทคโนโลยีรถไฟของจีน พร้อมทั้งให้จีนออกแบบ ก่อสร้าง และบริหารจัดการเดินรถ แนวทางการลงทุนเช่นนี้จะทำให้จีนได้รับประโยชน์จากเงินกู้ ได้กำไรจากการขายขบวนรถไฟ ระบบราง ระบบตั๋ว ระบบจ่ายไฟ และระบบอาณัติสัญญาณและสื่อสาร ได้กำไรจากการออกแบบและก่อสร้าง และยังได้กำไรจากการรับจ้างบริหารจัดการเดินรถอีกด้วยด้วย เหตุนี้หากจีนไม่ยอมเปลี่ยนแนวคิดที่จะหารูปแบบการลงทุนใหม่ โดยจีนจะต้องยอมรับภาระความเสี่ยงจากการลงทุนร่วมกับไทย เช่น จัดตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีน ไม่หวังที่จะหาประโยชน์จากการลงทุนอย่างเดียว โอกาสที่จะได้ใช้รถไฟความเร็วสูงเส้นทางเชื่อมจีน-ไทยคงริบหรี่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2015 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ จี้สร้างจิตสำนึก 14 ก.พ. แนะ ให้กล้วยไม้แทนกุหลาบ-อย่าห่วงรถไฟไทย จีน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
13 กุมภาพันธ์ 2558 16:51 น. (แก้ไขล่าสุด 13 กุมภาพันธ์ 2558 18:05 น.)


“ประยุทธ์” เผยวาเลนไทน์ให้คำนึงถึงธรรมเนียมไทย สร้างจิตสำนึก รับห่วงเหตุตนก็มีลูกสาวแต่ยังไม่มีแฟน ชี้ชายสมัยนี้ไวไฟ ติงต้องเป็นสุภาพบุรุษ ผู้หญิงต้องสร้างเกราะตัวเอง แนะมอบกล้วยไม้แทนกุหลาบ ขออย่ากังวลรถไฟไทย-จีน ยัน รบ.นี้โปร่งใส บ่น รฟม.กก.ยังตั้งไม่ได้ มัวแต่ทะเลาะ โต้ไม่ใช่เมืองขึ้นยุ่น ปัดติดใจชินคังเซ็น แค่ลองดูเป็นไปได้ไหม



นายกฯ กล่าวต่อถึงความร่วมมือรถไฟไทย-จีนว่า วันนี้ทุกคนกังวลเรื่องความร่วมมือรถไฟกับจีนก็ยังไม่ได้ตกลงสักอันเลย ตกลงความร่วมมือ ตกลงว่าจะสร้าง แต่มีคณะกรรมการทำอยู่ แล้วเงินตรงไหน ถ้ามันแพงก็ไม่เอา ตรงนั้นมีคณะกรรมการย่อย 5-6 คณะดูแล ทั้งเรื่องการลงทุน การสร้างเส้นทาง เรื่องการเดินรถ การควบคุม เรื่องผลประโยชน์บนเส้นทาง ผลประโยชน์ข้างทาง ถ้าอันไหนทำไม่ได้ก็เลิก ไปหาคนใหม่ ไปเปิดประมูลก็จบแล้ว อย่าไปกังวลเรื่องเหล่านี้ มันไม่ใช่แบบเดิม ไม่ใช่ไปกู้โครมหมดแล้วบริษัทไปทำกันเอง รัฐบาลต้องเข้าไปดู ไปตรวจสอบความโปร่งใส ให้เข้าใจกันซะด้วย ถ้าทำแบบเดิมก็มีปัญหาเรื่องความโปร่งใส โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดเป็นเงินเท่านี้ บริษัทประมูลได้เป็นช่วงๆ แต่ในนั้นยังไม่ได้ทำอะไร วางแผนชัดเจนเรื่องการลงทุน ได้เงินไปแล้วไปทำให้เสร็จ กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) อพยพประชาชนต่างๆ บริษัททำทั้งหมดทำได้หรือเปล่า ก็ไม่ได้ รัฐต้องเป็นคนทำ รัฐถึงต้องนำส่วนนี้ไปลงทุนกับเขา ต้องมีการตกลงกันเรื่องพื้นที่ เรื่องผลประโยชน์ว่าตรงไหนจะร่วม ตรงไหนจะลงร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องตีค่าทั้งหมด ตนคิดแบบนี้ และทำแบบนี้อยู่

“อย่ากังวล สื่อก็อย่ากังวล ผมไม่เอาเรื่องเดิมมาให้เกิดปัญหาอีก ถ้ามันทำได้เราก็จะเกิดรถไฟทางคู่และรถไฟขับเคลื่อนไฟฟ้าราง 1,435 เมตร ของเดิมมีอยู่ 2,000 กว่ากิโลเมตร ก็เพิ่มอีก 900 ในปีนี้ปีหน้า จะได้เพิ่มสักที ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 มายังไม่มีการเพิ่มเลย จะได้เร็วขึ้น น้ำหนักมากขึ้น รถไฟใหม่ขึ้น ส้วมหอมขึ้น ผมขึ้นรถไฟตั้งแต่เด็กๆ กลิ่นเหมือนเดิมเลย ก็อยู่ที่การบริหารทุกส่วน ดังนั้นถ้าเกิดรถไฟเส้นนี้ได้ก็เกิดจะในปีนี้ จะร่วมมือกันอย่างไรก็ไปว่ามา ภายในประเทศประมูลกันมา แต่เดี๋ยวก็ฟ้องกันไปมาอีก ไปไม่ได้ ขนาด รฟม.ยังตั้งกรรมการไม่ได้ อะไรกันนักหนา ผมไม่เข้าใจ เอาออกทั้งคู่ละ ดูแล้ว หรือไม่ก็ยุบไปทั้งคณะ ไม่ต้องทำแล้ว ผมต้องการให้มันไปได้ ก็ยังทะเลาะกันอยู่ได้ ไม่รู้อะไรกัน” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

นายกฯ กล่าวต่อว่า รถไฟความเร็วสูงไม่ใช่ตนไปติดใจรถไฟชินคังเซ็น แต่พอตนไปมาก็ลองคิดดูว่าเป็นไปได้ไหม ไม่ใช่ตนไปเป็นเมืองขึ้นญี่ปุ่นหรือใคร เราเป็นไม่ได้ เราคือคนไทย ผลประโยชน์ต้องอยู่กับคนไทย แต่ต้องร่วมมือกับเขา ต้องเชื่อมโยงเศรษฐกิจ เตรียมการเข้าสู่เออีซี เราเสียเปรียบต่างประเทศ เพราะเราไม่มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง

//----------------


นายกฯ สั่งหน่วยงานรัฐหารือ เปิดทางเอกชนเสนอโครงการลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูง
มติชน
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 14:21:00 น.


นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานว่า ในการประชุม ทาง นายกฯ ได้สั่งการแนวทางการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง ในประเทศไทย ว่า ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูแนวทางในการเปิดรับข้อเสนอการลงทุนของเอกชนที่ ต้องการเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทยทั้งการก่อสร้างรางและ ระบบเดินรถ แล้วทางรัฐบาลจะเป็นฝ่ายพิจารณาโครงการ โดยอาจจะเป็นข้อเสนอสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางระยะสั้นก่อนก็ได้ เช่น กรุงเทพฯ - พิษณุโลก หรือ กรุงเทพฯ – โคราช และหากสร้างแล้วเกิดผลดี ค่อยพัฒนาเส้นทางต่อไปได้ ทั้งนี้การสร้างรถไฟความเร็วนั้นจะไม่ใช้เงินของรัฐบาลเลย แต่เป็นการลงทุนของภาคเอกชน ทางเอกชนจะเป็นเจ้าของและผู้บริหารรถไฟความเร็วสูง ซึ่งรายละเอียดนั้นจะต้องหารือกับทางกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง


นาย จักรมณฑ์กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลมีแผนที่จะลงทุนในโครงการรถไฟขนาดปานกลางขนาดราง มาตรฐาน 1.435 เมตร และรถไฟขนาดราง 1 เมตร ที่เป็นโครงการรถไฟทางคู่อยู่แล้ว โดยการลงทุนรถไฟความเร็วสูงที่ต้องใช้งบประมาณสูงถึงเส้นทางละประมาณ 4 แสนล้านบาท อย่างรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็นของญี่ปุ่น แต่ทางรัฐบาลอาจไม่อยู่ในสถานะที่จะลงทุนได้ เนื่องจากอาจเป็นภาระกับงบประมาณมากเกินไปจึงจะเปิดโอกาสให้เอกชนยื่นข้อ เสนอเข้ามาเป็นผู้ลงทุนแทนโดยจะมีการหารือในรายละเอียดกับกระทรวงคมนาคมต่อ ไป


“รัฐบาลคงไม่สามารถลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูงได้แล้ว เพราะเรากำลังสร้างรถไฟรางคู่ หากเราลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูงก็จะหนักพอสมควร จึงเสนอว่า หากเอกชนเห็นช่องทางลงทุนรถไฟความเร็วสูงได้ ก็ลองเสนอโครงการมาทั้งหมด อย่างโมเดลรถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่นที่เคยพิจารณานั้น รัฐบาลไม่ได้มีเจ้าของรถไฟความเร็วสูงแม้แต่เส้นทางเดียว รัฐบาลให้เอกชนพัฒนาหมดเลย จนตอนนี้รถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่นพัฒนาไปมากแล้ว”นายจักรมณฑ์กล่าวและว่า ทางภาคเอกชนนั้น นอกจากจะเสนอโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น ก็สามารถขอให้ทางรัฐบาลช่วยสนับสนุนได้ เช่นกัน โดยสิ่งที่ทางรัฐบาลอาจจะทำได้คือ ลดหย่อนภาษีนำเข้าเครื่องจักรในการก่อสร้าง หรือลดหย่อนภาษีเงินได้ ทั้งนี้การลงทุนต่างๆ นั้น รัฐบาลจะไม่ได้ประโยชน์ใดๆ เลย แต่จะเป็นช่วยเหลือด้านคมนาคมกับประชาชนและนักลงทุน


นายจักรมณฑ์กล่าวอีกว่า สำหรับผมนั้น มองว่า เส้นทาง กทม.-พัทยา มีความเป็นไปได้มากที่สุดเนื่องจากพัทยามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและเส้น ทางนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เคยเสนอให้รัฐบาลลงทุนเพราะเป็นเส้นทางที่ผ่านทั้งท่าเรือแหลมฉบังและ จ.ชลบุรีที่ถือว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งการยื่นข้อเสนอของเอกชนในแต่ละเส้นทางรัฐบาลก็ต้องดูถึงความเป็นไปได้ และดูเงื่อนไขต่างๆว่ามีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการสัญจรของประชาชน มากน้อยเพียงใด ซึ่งการบริหารรถไฟโดยเอกชนก็มีตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่นที่บริหารรถไฟความ เร็วสูงชินคันเซ็นได้ผลดีมาแล้ว


นอกจากนี้ทาง นายกฯ ยังสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือกับผู้ประกอบการ นักลงทุนต่างประเทศ ในกรณีร่วมลงทุนจัดตั้งอุตสาหกรรมเหล็กเป็นต้นน้ำในประเทศ เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล็กเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐาน ต่อ อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ หากไทยยังไม่เร่งสร้างอาจจะมีปัญหาต่อภาคอุตสาหกรรมไทยได้ นอก จากนี้ที่ประชุมฯบีโอไอได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการภาวะการลงทุน ซึ่งมีสำนักงานบีโอไอเป็นเลขานุการทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การลงทุนจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงแรงงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (สอท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทั้ง หมดไว้ให้เป็นระบบเพื่อให้ง่ายต่อการที่จะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจของฝ่าย นโยบาย


Last edited by Wisarut on 14/02/2015 5:44 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2015 10:47 pm    Post subject: Reply with quote

รวค.ลงนามระบบรางไทย-ญี่ปุ่น
ข่าว โดย น.ส.ดริน ชัยเดช
ภาพ โดย น.ส.ประไพจิตร โภชน์พันธุ์
กระทรวงคมนาคม - 9 กุมภาพันธ์ 2558
ผู้มีส่วนร่วม: กระทรวงคมนาคม หูกวาง (owner), Beerabell Drin, กองสารนิเทศ กระทรวงคมนาคม และคนอื่นๆ อีก 2 คน
อัพเดทล่าสุดเมื่อ ประมาณชั่วโมงที่แล้ว
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ นายอะคิฮิโระ โอตะ รัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ร่วมหารือทวิภาคีและลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนง (Memorandum of Intent : MOI) เกี่ยวกับความร่วมมือในการพัฒนาระบบราง โดยระบุเส้นทางที่มีความสำคัญลำดับต้นที่สองฝ่ายจะร่วมมือพัฒนา และการยกระดับกลไกคณะทำงานระบบรางไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 ณ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2015 5:20 pm    Post subject: Reply with quote

"หม่อมอุ๋ย"เผยฝรั่งเศสเตรียมยื่นซองประมูลปิโตรเลียมรอบที่ 21


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
13 กุมภาพันธ์ 2558 19:41 น.

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังให้การต้อนรับนายตีแยรี วีโต เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ที่เข้าเยี่ยมคาราวะว่า ฝรั่งเศสมีความสนใจที่จะร่วมลงทุนเกี่ยวกับการก่อสร้างรถไฟความเร็วปานกลางรูปแบบเดียวกับที่ไทยร่วมลงทุนกับจีนและญี่ปุ่น เนื่องจากมีความถนัด แต่ฝ่ายไทยได้ดำเนินการมีความคืบหน้าไปมากแล้ว จึงแนะนำให้ฝรั่งเศสมาร่วมลงทุนด้านการวางระบบการเดินรถขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร หากภาคเอกชนของฝรั่งเศสมีความสนใจก็สามารถร่วมแข่งขันกับเอกชนไทยได้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวอีกว่า ฝรั่งเศสได้ยืนยันจะเดินหน้ายื่นซองประมูลขอรับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในนามบริษัทโทแทล จำกัด และพร้อมยื่นซองแข่งขันภายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งข้อมูลล่าสุดมีบริษัทที่สนใจซื้อซองประมูลขอรับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมรอบที่ 21 จำนวน 13 ราย
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการแก้ไขหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม โดยยกเลิกระบบสัมปทานมาเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งต้องเจรจากับเอกชนที่ร่วมสัมปทานในแหล่งสำรวจ 3 บ่อใหญ่ที่เคยสำรวจแล้วพบปิโตรเลียม
ส่วนแนวคิดของนายกรัฐมนตรีเรื่องรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา หรือกรุงเทพ-หัวหิน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า ยังไม่มีแนวคิดเรื่องดังกล่าว ขณะนี้รัฐบาลได้ลงทุนในส่วนของรถไฟความเร็วปานกลางที่ร่วมมือกับจีนและญี่ปุ่นอยู่แล้ว เรื่องรถไฟความเร็วสูงน่าจะเป็นเรื่องของรัฐบาลใหม่นำไปต่อยอดต่อไป

//----------

ยันรัฐอยู่ปีเดียวทำ 2 สายก็เท่แล้ว
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
14 กุมภาพันธ์ 2558 05:30

“ฝรั่งเศส”แจมสัมปทานปิโตรเลียม “อุ๋ย”ไม่สนข้อเสนอ “รถไฟเอกชน”

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวคิดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่จะให้เอกชนยื่นข้อเสนอการสร้างรถไฟความเร็วสูงมาให้รัฐบาลพิจารณาว่า รัฐบาลมีเวลาบริหารเหลืออยู่ปีเดียว ขอทำแค่ 2 เส้นทางก่อน ยังไม่คิดเส้นทางอื่น คือ ทำความร่วมมือกับจีนและญี่ปุ่นก็จบ สายอื่นให้รัฐบาลอื่นมาทำต่อ ไม่ควรไปทำแทนรัฐบาลอื่นไปหมด แค่ 2 เส้นทางที่จะทำ เริ่มเจรจาก็ยังงงๆ เส้นใหม่ถ้าอยากทำก็เจรจากับรัฐบาลใหม่ไป ขณะนี้อย่าไปพูดอะไรที่ต้องเป็นพันธะสัญญาต่อไปอีก 5 ปี

สำหรับเงื่อนไขการเจรจาความร่วมมือกับจีนในการสร้างรถไฟทางคู่ หนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ที่จีนจะเสนอเงินกู้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า อย่าไปคิดอะไรมาก เงินของไทยก็มี แต่ถ้าจีนอยากเสนอเงินกู้ให้ก็ให้ทางจีนเสนอเงื่อนไขมาก่อน ถ้าคิดอัตราดอกเบี้ยแพงก็ไม่เอา เพราะไทยสามารถออกพันธบัตรโครงสร้างพื้นฐานได้อยู่แล้ว ถ้าจีนอยากแสดงว่าต้องการช่วยจริง ก็เสนออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถูกให้ไทย

“มันอยู่ที่สกุลเงินด้วย ถ้ากู้เป็นเงินสกุลหยวนมาผมไม่เอา เพราะค่าเงินหยวนมีแนวโน้มแข็งขึ้น เวลาเราใช้หนี้จะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเอ็มโอยูไม่มีพูดเรื่องเงินกู้ คือเรื่องเงินไม่ใช่ประเด็น เราหมุนเงินในประเทศได้ ประเด็นมันอยู่ที่ ใครก่อสร้าง ใครบริหารจัดการมากกว่า”

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ยังกล่าวภายหลังนายตีแยรี วีโต เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยเข้าพบด้วยว่า ทางฝรั่งเศสได้ยืนยันว่าบริษัทโทเทล ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจและผลิตน้ำมันรายใหญ่ของฝรั่งเศส จะเข้าร่วมการประมูลสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ด้วย ซึ่งขณะนี้มีเอกชนเข้ามาซื้อซองประมูลแล้วจำนวน 13 ราย โดยกำหนดให้ยื่นซองวันที่ 18 ก.พ.นี้ ส่วนกระแสคัดค้านให้รัฐบาลชะลอการเปิดสัมปทานนั้น ยังไม่กระทบกับความเชื่อมั่นของเอกชน.


Last edited by Wisarut on 14/02/2015 5:45 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2015 5:42 pm    Post subject: Reply with quote

จีนดึงCCPทำหมอนคอนกรีต
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE
- คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อวันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 10:37 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,026 วันที่ 12 - 14 กุมถาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทุนจีนทาบ CCP ร่วมทุนตั้งโรงงานผลิตหมอนคอนกรีตบนพื้นที่ 50 ไร่ที่ชลบุรีป้อนโครงการรถไฟไทย-จีนโดยเฉพาะเส้นทางโซนภาคตะวันออก "อาทิตย์" เผยเล็งจีบโรงหล่อซิโน-ไทยย่านบ้านบึงขายโรงงานผลิตเพื่อขยายไลน์การผลิตเพิ่มให้เพียงพอ ก่อนลุยงานถนนและทางน้ำตามแผนรัฐบาล-เอกชน ล่าสุดเปิดแผนปี 58 ตั้งเป้าคว้างานภาครัฐเพิ่ม ดันรายได้โตอย่างน้อย 10%
alt นายอาทิตย์ ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน) (CCP) หนึ่งในผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายคอนกรีตครบวงจร ย่านโซนภาคตะวันออก เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า บริษัทได้รับการติดต่อจากกลุ่มบริษัทผู้ผลิตหมอนคอนกรีตรายใหญ่ของจีนซึ่งขอสงวนนามไว้ก่อน ที่จะร่วมลงทุนตั้งโรงงานเพื่อผลิตหมอนคอนกรีตในการใช้งานกับรางรถไฟ-รถไฟฟ้าตามแผนความร่วมมือโครงการพัฒนารถไฟไทย-จีนที่จะเร่งก่อสร้างเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-คลองสิบเก้า-ศรีราชา-แหลมฉบัง ซึ่งเส้นทางส่วนหนึ่งอยู่ในโซนภาคตะวันออกที่ CCP ได้เปรียบทางด้านต้นทุนการขนส่ง
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาต่อกัน ส่วนจุดเด่นของกลุ่มทุนจีนในครั้งนี้เห็นว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหมอนรถไฟ ซึ่งพร้อมจะนำจุดเด่นดังกล่าวมาร่วมกับ CCP ที่ยังไม่มีความชำนาญการผลิตหมอนรถไฟ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับแนวทางในเบื้องต้นจะซื้อที่ดินขนาดพื้นที่ประมาณ 50 ไร่เพื่อตั้งโรงงานดังกล่าวโดยไม่ใช้โรงงานผลิตเดิมในปัจจุบัน แต่จะต้องหาซื้อที่ดินเพิ่มในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อก่อสร้างโรงงานตามที่ฝ่ายจีนต้องการ
"ตามแผนงานที่กระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟแห่งประเทศไทยเร่งผลักดันโครงการรถไฟไทย-จีนพื้นที่ส่วนหนึ่งจะอยู่ในโซนภาคตะวันออก นอกจากนั้น CCP ยังเล็งหมอนคอนกรีตเพื่อนำไปใช้งานในโครงการรถไฟทางคู่ รถไฟในเส้นทางสายใหม่ รถไฟความเร็วสูง หรือรถไฟรางมาตรฐานในเส้นทางอื่นๆควบคู่กันไปด้วย"
นายอาทิตย์กล่าวอีกว่านอกจากโครงการผลิตหมอนรถไฟที่จะนำไปใช้กับรถไฟไทย-จีนและรถไฟทางคู่เส้นทางคลองสิบเก้า-แก่งคอย ตลอดจนทางคู่เส้นทางอื่นๆ หรือรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ชลบุรี-ระยองและเส้นทางอื่นๆแล้ว CCP ยังเล็งเข้าร่วมประมูลเสนอผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้กับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) เส้นทางพัทยา-มาบตาพุด ตลอดจนโครงการก่อสร้างถนนของกรมทางหลวง(ทล.)และกรมทางหลวงชนบท(ทช.)ที่จัดอยู่ในงบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วนที่ทล.และทช.ได้รับงบกว่า 3-4 หมื่นล้านบาท ตลอดจนโครงการในงบประมาณปี 2558 ภายใต้วงเงิน 1.4 แสนล้านบาทและงบปี 2559 วงเงินกว่า 1.7 แสนล้านบาทอีกด้วย เนื่องจากรายได้หลักของ CCP ล้วนมาจากโครงการเหล่านี้นั่นเอง นอกจากนั้นยังทาบทามซื้อโรงงานผลิตเซ็กเมนต์ของบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งฯ ที่จะนำไปใช้ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าและทางด่วนเพื่อขยายไลน์การผลิตของ CCP ในอนาคตเนื่องจากพื้นที่ติดกัน โดยปัจจุบันยังใช้ซีเมนต์ของ CCP เป็นหลักในการผลิตดังกล่าว
สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2558 บริษัทเชื่อมั่นว่าในปีนี้รายได้รวมของบริษัทจะเติบโตอย่างน้อย 10% หรือมีรายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 2,900 ล้านบาท ขณะที่มูลค่างานในมือปัจจุบัน(Backlog) อยู่ที่ 2,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงปลายปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 1800 ล้านบาท
ทั้งนี้ปริมาณงานในมือดังกล่าว เนื่องจากบริษัทมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการรับงานโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ ที่เริ่มทยอยดำเนินโครงการตั้งแต่ช่วงต้นปี อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ โครงการสร้างถนนเลียบชายฝั่ง ฯลฯซึ่งในปีนี้บริษัทจะมุ่งเน้นการเข้ารับงานโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐมากขึ้น ขณะเดียวกันบริษัทได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast) ภายใต้แบรนด์ CPS(CCP Paving Stones Co., Ltd) ซึ่งเป็นนวัตกรรมสำหรับงานก่อสร้าง ตอบโจทย์งานก่อสร้างรูปแบบใหม่ ทั้งในแง่ของการช่วยประหยัดแรงงาน และทำให้งานก่อสร้างเสร็จรวดเร็ว
"ประการสำคัญยังมองงานที่จะเกิดจากภาคเอกชนตามมาอย่างต่อเนื่องเนื่องจากจะต้องเร่งขยับขยายธุรกิจของแต่ละรายให้พร้อมรองรับเอาไว้ตั้งแต่วันนี้นั่นเอง นอกจากนี้ CCP ยังเตรียมรุกรับงานโครงการทางน้ำของกรมเจ้าท่าประเภทงานป้องกันตลิ่งพังในปี 2558 นี้อีกด้วย โดยจะเน้นเจาะกลุ่มงาน Landscape และลูกค้าโครงการที่ต้องสร้างระบบด้านงานระบายน้ำ งานป้องกันน้ำท่วม ก่อสร้างถนน ลานจอดรถ และนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการเลือกใช้วัสดุคอนกรีตสำเร็จรูปในงานก่อสร้างให้กับลูกค้า ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการแนะนำผลิตภัณฑ์กับลูกค้าทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชนแล้ว และมีกระแสตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก คาดว่าจะสามารถทำรายได้ให้กับบริษัท ประมาณ 5 % อยู่ที่ 150 ล้านบาท"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2015 12:15 am    Post subject: Reply with quote

"มาตรฐานรถไฟไทย-จีน" เรื่องที่รัฐบาลต้องหยุดคิด
ข่าวเที่ยง ตรงประเด็น
NowTV26
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558

ก่อนหน้าที่จะมีการหารือคณะกรรมการบริหารการรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 2 ที่กรุงปักกิ่ง ทางจีนได้เสนอให้ไทยกู้เงินในอัตราดอกเบี้ย 2-4% ซึ่งฝ่ายไทยมองว่าสูงเกินไปแต่ข้อสรุปนี้จะเป็นอย่างไร คงต้องรอผลการหารือจากทางกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง
ล่าสุด ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การก่อสร้างทางรถไฟกับจีนมีเงื่อนไขในเรื่องการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี แต่ในเอ็มโอยูระหว่างไทยกับจีนไม่มีเงื่อนไขว่าเราต้องกู้เงินจากจีนเพื่อมาก่อสร้างซึ่งการที่จีนกำหนดอัตราดอกเบี้ย 2 - 4% ซึ่งถ้าไทยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยสูงเกินไปหรือจีนกำหนดเงื่อนไขว่าต้องกู้เงินสกุลหยวนซึ่งมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงเวลาที่มีการชำระหนี้ตรงนี้ไทยก็ไม่จำเป็นต้องกู้เพราะไทยสามารถใช้วิธีการระดมเงินทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ได้
เนื่องจากสภาพคล่องในประเทศเอื้ออำนวยในการออกพันธบัตรแต่ประเด็นอยู่ที่ว่าใครจะเป็นผู้เดินรถเมื่อโครงการแล้วเสร็จซึ่ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธรมองว่าไม่ควรให้จีนมาเดินรถเพราะไทยเป็นผู้ลงทุนเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2015 10:26 am    Post subject: Reply with quote

แบ่งเค้กรถไฟฟ้าทางคู่ จับตา"บิ๊กจิน"คุยจีน ลุ้นญี่ปุ่นผุดไฮสปีดเทรนม้วนเดียวจบ
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
มติชน
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 09:20:04 น.

แบ่งเค้กรถไฟฟ้าทางคู่ จับตา"บิ๊กจิน"คุยจีน ลุ้นญี่ปุ่นผุดไฮสปีดเทรนม้วนเดียวจบ

การเดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะร่วมติดตาม ระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ถูกจับตามองจากหลายฝ่ายอย่างใกล้ชิด เพราะนอกจากจะสร้างความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศให้แนบแน่นขึ้นอีกระดับหนึ่งแล้ว ยังมีโครงการลงทุนที่สำคัญร่วมกันคือ การพัฒนาระบบราง ซึ่งเป็นโครงการที่ 2 ถัดจากโครงการแรกที่รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับรัฐบาลจีนเพื่อดำเนินโครงการก่อ สร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตรไปก่อนหน้านี้

- เตรียมรถไฟ3สายให้ญี่ปุ่น

ก่อน การเดินทางไปเยือนญี่ปุ่น กระทรวงคมนาคมในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการได้จัดทำราย ละเอียดการพัฒนารถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร จำนวน 3 เส้นทางไว้ล่วงหน้า เพื่อนำไปให้รัฐบาลญี่ปุ่นพิจารณา โดย 2 เส้นทางแรกจะเชื่อมฝั่งตะวันออกและตะวันตกของประเทศไทย คือ

1.จากพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-จ.ฉะเชิงเทรา จากนั้นจะแยกไปอ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และอีกทางจะแยกจากฉะเชิงเทราไป อ.มาบตาพุด จ.ระยอง เส้นทางที่

2. จาก อ.แม่สอด จ.ตาก-จ.มุกดาหาร และ

3.เส้นทางเชื่อมภาคเหนือ กรุงเทพฯ-จ.เชียงใหม่ เบื้องต้นความร่วมมือในครั้งนี้ได้กำหนดเป็นการศึกษาแนวทางเส้นทาง ความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ และความคุ้มค่าของการลงทุนร่วมกัน

ขณะเดียวกันยังได้พิจารณาเส้นทางที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ ที่จะมีการศึกษาในรายละเอียด คือ เส้นทางจากพุน้ำร้อน กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา แยกไป อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และแยกไป อ.มาบตาพุด จ.ระยอง เพราะจะสามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่เศรษฐกิจโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคม อุตสาหกรรมทวาย กับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดได้ ส่วนเส้นทางแม่สอด จ.ตาก-จ.มุกดาหาร ที่ผ่านมายังไม่มีผลการศึกษามาก่อน ซึ่งญี่ปุ่นจะช่วยศึกษาให้ ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทางญี่ปุ่นให้ความสนใจ เพราะเป็นการเชื่อมพื้นที่จากภาคเหนือสู่ภาคใต้ของไทย

- ไทย-ญี่ปุ่นลงนามพัฒนาระบบราง

ทันที ที่ พล.อ.ประยุทธ์เดินทางถึงญี่ปุ่น โอกาสแรกที่เข้าหารือทวิภาคีกับนายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลญี่ปุ่น วันที่ 9 กุมภาพันธ์ จึงได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีแลกเปลี่ยนและลงนามเอกสารความร่วมมือ 2 ฉบับ คือ 1.บันทึกแสดงเจตจำนง (เอ็มโอไอ) ความร่วมมือในการพัฒนาระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมไทย-ญี่ปุ่น และ 2.บันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอซี) ในการส่งเสริมการทำธุรกิจและการลงทุนของไทยในญี่ปุ่น เพื่อผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน

พร้อมกันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ยังกล่าวว่า โครงการระบบรางที่ 2 ฝ่ายได้ลงนามเจตจำนงระหว่างกัน ที่จะศึกษาและพัฒนา 3 เส้นทางเร่งด่วนในไทย จะเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ทั้งด้านบนและด้านล่าง และโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในพม่า โดยทั้งหมดนี้เป็นการส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลให้กับเอกชน ญี่ปุ่น โดยมีไทยเป็นฐานการผลิต จุดเชื่อมโยง และศูนย์กลางการกระจายสินค้าในภูมิภาค

- นายกฯอยากทำไฮสปีดเทรน

วัน ถัดมา พล.อ.ประยุทธ์ยังเรียกเสียงฮือฮาจากประชาชนคนไทยได้ไม่น้อย ด้วยประโยคที่ว่า "ประเทศไทยเองอยากให้มีชินคันเซนเช่นกัน อย่างไรก็ดีต้องขึ้นกับการให้ความสนับสนุนของญี่ปุ่น" ภายหลังรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานีรถไฟโตเกียว รถไฟสายต่างๆ และการพัฒนาด้านระบบรางของญี่ปุ่น ก่อนที่จะทดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงชินคันเซน จากสถานีโตเกียวไปยังนครโอซากา

เมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทย พล.อ.ประยุทธ์ยังได้ชวนเศรษฐีมาทำรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ด้วย โดยระบุว่าในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้หารือกันว่าจะสามารถทดลองให้เกิดรถไฟความเร็วสูงสักช่วงได้หรือไม่ สำหรับการท่องเที่ยวในพื้นที่ เช่น พัทยา หัวหิน ในลักษณะการร่วมลงทุน โดยกำลังประชาสัมพันธ์ภาคเอกชนของไทยที่รวยเยอะๆ มาร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) ซึ่งจากที่ไปดูที่ประเทศญี่ปุ่น หากเป็นระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร ใช้งบประมาณ 4 แสนล้านบาท แต่ไทยมีที่ดินอยู่ ถ้าเศรษฐีไทยมาร่วมลงทุน และต่างประเทศมาร่วมหุ้นบ้างก็น่าจะดี

- หนุนเส้นทางกทม.-พัทยา

ในเรื่องนี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรมก็ออกมาตอบรับด้วยว่า เบื้องต้นอาจพิจารณาส่งเสริมให้ทำไฮสปีดเทรนในเส้นทางระยะสั้นก่อน เช่น กรุงเทพฯ-พิษณุโลก หรือกรุงเทพฯ-นครราชสีมา หากสร้างแล้วเกิดผลดีค่อยพัฒนาเส้นทางต่อไปได้ ขณะเดียวกันยังเห็นว่าเส้นทาง กรุงเทพฯ-พัทยา มีความเป็นไปได้มากที่สุด เนื่องจากพัทยามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง และเส้นทางนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เคยเสนอให้รัฐบาลลงทุน เพราะเป็นเส้นทางที่ผ่านทั้งท่าเรือแหลมฉบังและจังหวัดชลบุรี ที่ถือว่ามีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเป็นชุมชนขนาดใหญ่

(ความหมายของ รถไฟความเร็วสูงที่หลายประเทศนิยามเอาไว้จะเป็นรถไฟที่ใช้ความเร็วได้ ตั้งแต่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป หรือบางประเทศกำหนดไว้ที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป)

- แบ่งเค้กญี่ปุ่น-จีน

หาก เปรียบเทียบความร่วมมือในการพัฒนาระบบรางไทย-ญี่ปุ่น คงจะไม่แตกต่างจากความร่วมมือไทย-จีน ที่ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (เอ็มโอยู) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 มากเท่าไหร่ จะต่างกันก็ตรงที่ความร่วมมือระหว่างไทย-จีน รุดหน้าไปไกลมากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนดเส้นทางที่จะก่อสร้างจาก หนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย รวมระยะทาง 873 กิโลเมตรอย่างชัดเจน โดยเป็นรถระบบรถไฟฟ้า ที่ใช้ความเร็วได้ตั้งแต่ 160-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แบ่งการก่อสร้างเป็น 4 ช่วง เพื่อความรวดเร็ว คือ

1.ช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโลเมตร 2.ช่วงแก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กิโลเมตร ซึ่งทั้ง 2 ช่วงนี้จะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนกันยายนหรือต้นเดือนตุลาคม 2558 เพื่อให้แล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการปลายปี 2560 หรือต้นปี 2561 ส่วนช่วงที่ 3 คือ แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กิโลเมตร และ 4.ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตร จะเริ่มก่อสร้างภายในเดือนธันวาคม 2558 หรือต้นปี 2559 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 2561 ตามแผนการดำเนินงานในวันที่ 1 มีนาคมนี้ เจ้าหน้าที่จะเริ่มลงพื้นที่สำรวจตลอดแนวการก่อสร้างรวมถึงการศึกษาและสำรวจ ออกแบบจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม แผนและรูปแบบการลงทุน ซึ่งทุกเรื่องจะต้องมีข้อสรุปที่ชัดเจนภายในเดือนกรกฎาคม 2558 เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

- ลุ้นจีนลดดอกเบี้ยเงินกู้

จาก การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างไทย-จีน ในช่วงที่ผ่านมา ทางจีนได้เสนอรูปแบบการลงทุนในลักษณะของการกู้ร่วมกันผ่านธนาคารเพื่อการส่ง ออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน (เอ็กซิมแบงก์จีน) ในอัตราดอกเบี้ย 2-4% ระยะเวลาปลอดหนี้ 4 ปี และคืนทุนภายใน 20 ปี ให้ใช้เทคโนโลยีของประเทศจีน ให้จีนเป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้างงานโยธา และบริหารการเดินรถเอง แต่ทางการไทยได้ยืนยันไปว่าการเดินรถ ไทยจะเป็นผู้บริหารจัดการเอง ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่จีนเสนอนั้นก็สูงเกินไป เนื่องจากก่อนหน้านี้ไทยเคยกู้เงินจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่ง ญี่ปุ่น (ไจก้า) เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าบางเส้นทาง ได้ดอกเบี้ยเพียง 1.5% เท่านั้น จึงได้เสนอให้ฝ่ายจีนลดอัตราดอกเบี้ยลงให้เป็นอัตราดอกเบี้ยพิเศษมากกว่านี้ และเพิ่มระยะเวลาปลอดหนี้ให้มากขึ้น

ด้าน พล.อ.อ.ประจินก็ยืนยันในทำนองเดียวกันว่า หากทางจีนเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงมากเกินไปและไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยพิเศษจริง ไทยจะพิจารณาหาแหล่งเงินกู้อื่นเข้ามาดำเนินการก่อสร้างรถไฟแน่นอน โดยเบื้องต้นได้จัดเตรียมแผนการดำเนินงานไว้แล้ว โดยจะใช้เงินภายในประเทศ เนื่องจากเพียงพอที่จะสามารถก่อสร้างในระยะแรกได้อย่างแน่นอน พร้อมกันนี้ยังบอกด้วยว่า

เท่าที่ศึกษามาทราบว่าการกู้เงินจากจีนโดยปกติจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 3% แต่หากเป็นอัตราพิเศษจะต่ำกว่า 3% ซึ่งไทยก็หวังที่จะได้พิเศษมากหน่อย แต่หากได้ไม่มากตามที่หวังไว้ก็มีทางเลือกอยู่ คือ ใช้เงินในประเทศ ถึงแม้จะได้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า แต่ก็เป็นเงินของไทยซึ่งจะช่วยในการขับเคลื่อนและหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ โดยอาจจะใช้วิธีตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์) ก็ได้ ส่วนดอกเบี้ยระหว่าง 2-4% เห็นว่าสูงเกินไปยังไม่พิเศษมาก หากยังอยู่ในระดับ 2% ก็อาจจะพิจารณากู้จากจีนเพียงบางส่วน และที่เหลือจะใช้เงินในประเทศไทยเอง

- จับตาญี่ปุ่นเริ่มที่ไฮสปีดเทรน

ล่า สุดเมื่อวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พล.อ.อ.ประจินพร้อมด้วยหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางไปประชุมอย่างเป็นทางการที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อนำรายละเอียดการดำเนินโครงการที่ร่วมกันพิจารณาและศึกษาไว้ก่อนหน้านี้ ไปร่วมกันพิจารณากับรัฐบาลจีนให้มีความชัดเจนในทุกเรื่อง ซึ่งหลักๆ ที่จะต้องหาข้อสรุปให้ได้ คือ 1.ด้านเทคนิค จะเป็นเรื่องของกรอบเวลาการทำงาน พิจารณารายชื่อบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินการก่อสร้าง การดำเนินการในเรื่องราง ไม้หมอน และระบบควบคุมการเดินรถ เป็นต้น

และ 2.ด้านการเงิน จะเป็นเรื่องของการลงทุน เพื่อพิจารณารูปแบบการลงทุน เมื่อได้ข้อสรุปร่วมกันในเรื่องไหนแล้ว ก็จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง แต่บางเรื่องนอกจากจะต้องผ่านความเห็นชอบจาก ครม.แล้ว ยังต้องนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)พิจารณาด้วย ซึ่งรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลการประชุมจะมีความชัดเจนในสัปดาห์นี้ ภายหลัง พล.อ.อ.ประจินเดินทางกลับมาถึงประเทศไทย

ท้ายที่สุดเค้ก ก้อนนี้จะถูกแบ่งเป็น 2 ชิ้นเท่ากันหรือไม่ คงต้องจับตา แม้จีนจะได้สิทธิให้เริ่มเดินหน้าโครงการไปก่อน แต่ก็คงจะร้อนๆ หนาวๆ บ้างที่ "นายกฯประยุทธ์" อยากมีชินคันเซน!

งานนี้ญี่ปุ่นอาจจะติดเทอร์โบไฮสปีดเทรนแซงม้วนเดียวจบเลยก็เป็นได้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 32, 33, 34 ... 121, 122, 123  Next
Page 33 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©