Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264858
ทั้งหมด:13576141
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 37, 38, 39 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2015 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

เตรียมดึงรถไฟฟ้านอกแผนลงทุน บรรจุใน PPP
by Chitnapa sommano
Voice TV
23 มีนาคม 2558 เวลา 18:40 น.


กระทรวงการคลัง เดินหน้าดึงเอกชนร่วมลงทุนโครงการภาครัฐ เตรียมดึงโครงการรถไฟฟ้านอกแผนการลงทุน เข้าร่วมใน PPP เพิ่มเติม

นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า รัฐบาลจะเดินหน้าโครงการลงทุนประมาณ 2 ล้านล้านบาท ในอีก 8 ปีข้างหน้า หรือประมาณ 2 แสน 5 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยในปีงบประมาณปี 2558 จะมีสัดส่วนร้อยละ 10 ของงบประมาณ และในปี 2559 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 โดยขณะนี้ขั้นตอน ร่าง พ.ร.บ.ร่วมลงทุนมีความคืบหน้าไปมากแล้ว โดยเฉพาะการออกฎกหมายลูกเพิ่มเติม

นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า จะนำความเห็นจากทุกฝ่ายในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ PPP นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ PPP พิจารณาในวันที่ 3 เมษายนนี้ เพื่อเสนอ ครม.พิจารณาในขั้นต่อไป

เบื้องต้น หลังจากคณะกรรมการ PPP มีนโยบายให้เจรจากับกระทรวงคมนาคม เพื่อนำโครงการลงทุนนอกแผนยุทธศาสตร์ ให้เข้ามาอยู่ในการร่วมลงทุน PPP เช่น การสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ หากภาคเอกชนสนใจร่วมลงทุนด้วยการก่อสร้างระบบราง และบริหารการเดินรถ โดยลงทุนซื้อรถด้วย จะสามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนแบบ PPP จากร้อยละ 15 ซึ่งเป็นเงินประมาณ 3 แสนล้านบาท เพิ่มเป็นร้อยละ 20 เป็นเงินประมาณ 4 แสนล้านบาท ของการลงทุนโดรงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ PPP พิจารณา ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44539
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/03/2015 9:30 am    Post subject: Reply with quote

อบจ.เพชรบูรณ์ร่วมแสดงจุดยืนรถไฟผ่านจังหวัด
INN News ข่าวภูมิภาค วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2558 18:33น.

Click on the image for full size

อบจ.เพชรบูรณ์ร่วมแสดงจุดยืนผลักดันรถไฟผ่านจังหวัด ในขณะที่ “วิศัลย์” ทวงถามเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์

ความคืบหน้ากรณีชาวเพชรบูรณ์รณรงค์ขอเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ ล่าสุด นายอัครเดช ทองใจสด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมประชุมกับสมาชิก อบจ. ทั้ง 30 เขตและข้าราชการในส่วนของ อบจ. เพื่อหารือถึงการร่วมผลักดันเส้นทางรถไฟผ่านจังหวัดในหัวข้อ “มิติใหม่เส้นทางรถไฟสายเพชรบูรณ์” โดยมี นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด และ นายเสกสรร นิยมเพ็ง ประธานสันนิบาตเทศบาลจังหวัด ในฐานะคณะทำงานรวบรวมข้อมูลจังหวัด เข้าร่วมชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็นที่ชาวเพชรบูรณ์ต้องการให้เส้นทางรถไฟสายนี้ผ่านจังหวัด นอกจากนี้ ยังชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและจุดแข็งและโอกาสที่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือก พร้อมระบุว่าโดยในราวปลายเดือนเมษายนนี้จะมีการตัดสินชี้ขาดแล้ว

นายวิศัลย์ ยังระบุด้วยว่า หากไม่มีกระแสจากเพชรบูรณ์เชื่อว่าทุกอย่างคงจบเรียบร้อยไปแล้ว เนื่องจากบริษัทที่ปรึกษาซึ่งนอกจากจะไม่ให้ความสำคัญกับเพชรบูรณ์ และหากพลิกประวัติศาสตร์ช่วงนครบาลเพชรบูรณ์ เส้นทางรถไฟสายแก่งคอย-เพชรบูรณ์น่าจะเกิดขึ้นนานแล้ว จึงเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ จะลุกขึ้นมาทวงถามถึงเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์เส้นนี้

หลังจากนั้น นายอัครเดช ได้เป็นตัวแทนประกาศเจตนารมณ์ในนาม อบจ.เพชรบูรณ์ พร้อมแสดงจุดยืนร่วมกับสมาชิก อบจ.ประกาศร่วมผลักดันเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ให้เกิดขึ้นจริง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2015 10:17 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
เวอร์ชัน ASTV ดูที่นี่ครับ
อบจ.เอาด้วยรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ ขุดประวัติศาสตร์ร่วมหนุนเต็มที่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
24 มีนาคม 2558 10:59 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44539
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/03/2015 10:23 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมจุดพลุ PPP โครงสร้างพื้นฐาน รถไฟฟ้า,ไฮสปีด,ทางด่วนกระทู้-ป่าตอง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มีนาคม 2558 19:00 น.

คมนาคมจัดทัพโครงการใหญ่ บรรจุยุทธศาสตร์ PPP ทั้ง รถไฟฟ้า ,ไฮสปีดเทรน,ทางด่วนกะทู้-ป่าตอง,ท่าเรือปากบารา,สงขลา,คลองใหญ่ พร้อมเร่งร.ฟ.ท.สรุปแผนลงทุนสายสีแดงและแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย ชี้เอกชนร่วมทุนช่วยลดลดภาระภาครัฐ และกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราชและบางใหญ่-กาญจนบุรี ใช้เงินกู้ลงทุนชงครม.อนุมัติประมูลในปีนี้

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า วันนี้ (24 มี.ค.) ได้ประชุมร่วมกับนายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) พ.ศ. 2558-2562 โดยนำโครงการลงทุนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยจัดเข้ากลุ่มแผนงาน หรือจัดทำ Project Pipeline และนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) ซึ่งจะมีการประชุมภายในสัปดาห์หน้า

ทั้งนี้ ได้แบ่งกิจการด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมจนส่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มกิจการที่สมควรให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (Opt-out) ซึ่งหมายถึงต้องเป็นการร่วมทุนกับเอกชน ประกอบด้วย
1. กิจการระบบขนส่งมวลชนทางรางในเมือง เช่น รถไฟฟ้า 10 สาย เป็นต้น ส่วนรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และ โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-ดอนเมือง นั้นเนื่องจากยังไม่เคยมีการศึกษารูปแบบการลงทุนจึงให้ร.ฟ.ท.เร่งดำเนินการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมและข้อดี ข้อเสีย โดยมอบหมายให้นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดกระทรวงคมนาคมติดตามความคืบหน้าหากได้ความชัดเจนจะได้นำมาบรรจุในแผนงาน

2.กิจการพัฒนาถนนที่มีการเก็บค่าผ่านทางในเมือง หรือระบบทางพิเศษ เช่น โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต โครงการทางพิเศษสายกระทู้-ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ระยะทาง 3.9 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 8.37 พันล้านบาท

3. กิจการพัฒนาท่าเรือขนส่งสินค้า เช่น โครงการท่าเรือปากบารา ท่าเรือสงขลา ท่าเรือชุมพร ท่าเรือคลองใหญ่ และท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) เป็นต้น
4. กิจการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) จำนวน 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพ-หัวหิน และกรุงเทพ-ระยอง เป็นต้น

กลุ่มกิจการที่รัฐส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุน (Opt-in) ประกอบด้วย
1. กิจการพัฒนาถนนที่มีการเก็บค่าผ่านทางระหว่างเมือง เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ที่อยู่ในแผนแม่บทของกรมทางหลวง (ทล.) ยกเว้นสาย บางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร วงเงิน 84,600 ล้านบาท และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร วงเงิน 55,620 ล้านบาท ซึ่งได้เสนอไปที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติโครงการแล้ว โดยใช้เงินกู้มาลงทุนโครงการ ส่วน สายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32.10กิโลเมตร มูลค่า 20,200 ล้านบาทแบ่งเป็น ใช้เงินจากกองทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางมอเตอร์เวย์มาเป็นค่าก่อสร้าง
2. กิจการพัฒนาสถานีขนส่งบรรจุแยกและกระจายสินค้า (ICD)
3. กิจการพัฒนาระบบตั๋วร่วม
4. กิจการพัฒนาท่าอากาศยาน และ
5. กิจการพัฒนาธุรกิจและบริหารพื้นที่ท่าอากาศยาน

“โครงการที่นำมาบรรจุในแผน PPP เป็นโครงการที่มีวงเงินลงทุนสูง การให้เอกชนร่วมลงทุนเพื่อลดภาระของภาครัฐ และทำให้ภาคเอกชนเกิดความมั่นใจต่อแผนงานที่มีความชัดเจนมากขึ้น และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งตามขั้นตอนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐนั้น ตามกฎหมายจะต้องบรรจุแผนงานและรับฟังความคิดเห็น ก่อนเสนอคณะกรรมการ PPP ดังนั้นทุกกระทรวงที่มีโครงการลงทุนจะต้องเสนอแผนงานเข้ามาเพื่อให้สคร.จัดหมวดหมู่”ปลัดคมนาคมกล่าว

สำหรับการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมนั้น ขณะนี้ได้ทยอยเสนอไปที่ครม.แล้ว เช่น
- มอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา และ
- สายบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี โดยรอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน
นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้าง
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม.วงเงิน 56,000 ล้านบาท
- สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม.วงเงิน 54,000 ล้านบาท
- สายสีส้ม ช่วงพระราม 9-มีนบุรี วงเงิน 106,655.76 ล้านบาท
- รวมทั้งรถไฟทางคู่ เส้นทางชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 26,007 ล้านบาท ซึ่งจะเร่งนำเสนอ ครม.ภายในวันที่ 15 เมษายนนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2015 10:30 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมจุดพลุ PPP โครงสร้างพื้นฐาน รถไฟฟ้า, ไฮสปีด, ทางด่วนกระทู้-ป่าตอง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
24 มีนาคม 2558 19:00 น. (แก้ไขล่าสุด 25 มีนาคม 2558 11:16 น.)

รัฐหนุนเอกชนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน คาดปีนี้เดินหน้าได้อย่างน้อย 1 โครงการ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
24 มีนาคม 2558 06:01


คมนาคมจัดทัพโครงการใหญ่ บรรจุยุทธศาสตร์ PPP ทั้ง รถไฟฟ้า, ไฮสปีดเทรน, ทางด่วนกะทู้-ป่าตอง, ท่าเรือปากบารา, สงขลา, คลองใหญ่ พร้อมเร่ง ร.ฟ.ท.สรุปแผนลงทุนสายสีแดงและแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย ชี้เอกชนร่วมทุนช่วยลดภาระภาครัฐ และกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี ใช้เงินกู้ลงทุน ชง ครม.อนุมัติประมูลในปีนี้

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ (24 มี.ค.) ได้ประชุมร่วมกับ นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) พ.ศ. 2558-2562 โดยนำโครงการลงทุนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยจัดเข้ากลุ่มแผนงาน หรือจัดทำ Project Pipeline และนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) ซึ่งจะมีการประชุมภายในสัปดาห์หน้า

ทั้งนี้ ได้แบ่งกิจการด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มกิจการที่สมควรให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน (Opt-out) ซึ่งหมายถึงต้องเป็นการร่วมทุนกับเอกชน ประกอบด้วย 1. กิจการระบบขนส่งมวลชนทางรางในเมือง เช่น รถไฟฟ้า 10 สาย เป็นต้น ส่วนรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-ดอนเมือง นั้นเนื่องจากยังไม่เคยมีการศึกษารูปแบบการลงทุนจึงให้ ร.ฟ.ท.เร่งดำเนินการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมและข้อดี ข้อเสีย โดยมอบหมายให้ นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม ติดตามความคืบหน้า หากได้ความชัดเจนจะได้นำมาบรรจุในแผนงาน

2. กิจการพัฒนาถนนที่มีการเก็บค่าผ่านทางในเมือง หรือระบบทางพิเศษ เช่น โครงการทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต ระยะทาง 3.9 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 8.37 พันล้านบาท

3. กิจการพัฒนาท่าเรือขนส่งสินค้า เช่น โครงการท่าเรือปากบารา ท่าเรือสงขลา ท่าเรือชุมพร ท่าเรือคลองใหญ่ และท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) เป็นต้น 4. กิจการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) จำนวน 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง เป็นต้น

กลุ่มกิจการที่รัฐส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุน (Opt-in) ประกอบด้วย 1. กิจการพัฒนาถนนที่มีการเก็บค่าผ่านทางระหว่างเมือง เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ที่อยู่ในแผนแม่บทของกรมทางหลวง (ทล.) ยกเว้นสาย บางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร วงเงิน 84,600 ล้านบาท และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร วงเงิน 55,620 ล้านบาท ซึ่งได้เสนอไปที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติโครงการแล้ว โดยใช้เงินกู้มาลงทุนโครงการ ส่วนสายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32.10 กิโลเมตร มูลค่า 20,200 ล้านบาท แบ่งเป็นใช้เงินจากกองทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางมอเตอร์เวย์มาเป็นค่าก่อสร้าง

2. กิจการพัฒนาสถานีขนส่งบรรจุแยกและกระจายสินค้า (ICD) 3. กิจการพัฒนาระบบตั๋วร่วม 4. กิจการพัฒนาท่าอากาศยาน และ 5. กิจการพัฒนาธุรกิจและบริหารพื้นที่ท่าอากาศยาน

“โครงการที่นำมาบรรจุในแผน PPP เป็นโครงการที่มีวงเงินลงทุนสูง การให้เอกชนร่วมลงทุนเพื่อลดภาระของภาครัฐ และทำให้ภาคเอกชนเกิดความมั่นใจต่อแผนงานที่มีความชัดเจนมากขึ้น และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งตามขั้นตอนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐนั้น ตามกฎหมายจะต้องบรรจุแผนงานและรับฟังความคิดเห็นก่อนเสนอคณะกรรมการ PPP ดังนั้นทุกกระทรวงที่มีโครงการลงทุนจะต้องเสนอแผนงานเข้ามาเพื่อให้ สคร.จัดหมวดหมู่” ปลัดคมนาคมกล่าว

สำหรับการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมนั้น ขณะนี้ได้ทยอยเสนอไปที่ ครม.แล้ว เช่น มอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี โดยรอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. วงเงิน 56,000 ล้านบาท สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 54,000 ล้านบาท สายสีส้ม ช่วงพระราม 9-มีนบุรี วงเงิน 106,655.76 ล้านบาท รวมทั้งรถไฟทางคู่ เส้นทางชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 26,007 ล้านบาท ซึ่งจะเร่งนำ เสนอ ครม.ภายในวันที่ 15 เมษายนนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2015 12:01 am    Post subject: Reply with quote

ดับฝัน “บิ๊กตู่” ดันเมกะโปรเจกต์กระตุ้น ศก. ยึดคติ “ช้าแต่ชัวร์” ดีกว่าถูกครหาโกงกิน!


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
24 มีนาคม 2558 19:15 น. (แก้ไขล่าสุด 24 มีนาคม 2558 20:29 น.)

แผนดันเมกะโปรเจกต์รถไฟฟ้า-รถไฟชานเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ “ไม่หมู” แม้ลงทุนเร่งให้ทุกอย่างเดินหน้า แต่อุปสรรคเพียบ คนวงในชี้รัฐบาลได้ภาพว่างานเดิน โปร่งใส จับต้องได้ แต่เป็นเพียงแค่การสานต่อโครงการเก่าจากรัฐบาลก่อน อีกทั้งหลายฝ่ายเกร็งหวั่นเรื่องคอร์รัปชัน หลายโครงการต้องรื้อ ส่วนแผนรถไฟระหว่างเมืองยังมีปัญหาเรื่องแหล่งเงินกู้ทั้งจากจีนและญี่ปุ่น ดับหวังใช้กระตุ้นเศรษฐกิจไทย “ดร.สามารถ” เชียร์เร่งเดินหน้าก่อสร้าง เชื่อนายกฯ เจตนาดี ขณะที่รัฐบาลปรับแผนอัดฉีดเงินเร่งด่วนแทน ซ่อมถนน-ล้างหนี้เกษตรกร


โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าและรถไฟชานเมืองถือเป็น 1 ใน 11 นโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่แสดงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อ 12 กันยายน 2557 โดยเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อจะช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีทั้งในวงการก่อสร้าง วงการอสังหาริมทรัพย์และตลาดการเงิน

เรียกง่ายๆ ว่าต้องการให้โครงการเหล่านี้เป็นหนึ่งในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวขึ้น จากการลงทุนภาครัฐ ดังนั้นรัฐบาลนี้จึงให้ความสำคัญกับโครงการดังกล่าว โดยมีพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รับหน้าที่หลักในการผลักดันให้โครงการเหล่านี้เดินหน้าต่อไปได้

ทั้งนี้โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่จะทำให้เกิดการจ้างงานเป็นจำนวนมาก ทั้งแรงงานด้านก่อสร้าง และยังช่วยให้ธุรกิจด้านวัสดุก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ เหล็ก สามารถขายสินค้าได้มากขึ้น เมื่อภาคที่ได้รับประโยชน์จากงานก่อสร้างขนาดใหญ่มีรายได้เข้ามา พนักงานของบริษัทเหล่านี้ก็จะมีรายได้นำไปจับจ่ายใช้สอย ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น ซึ่งในหลายรัฐบาลก็ใช้แนวคิดเหล่านี้มาเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ผลักดันอยู่ในขณะนี้ล้วนเป็นการสานต่อจากโครงการที่มีอยู่เดิมจากรัฐบาลชุดก่อน ด้วยเม็ดเงินกว่า 2.4 ล้านล้านบาท แยกได้เป็นในส่วนของโครงการรถไฟฟ้ามี 10 สายหลักประกอบด้วย

1. สายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย) รถไฟฟ้าชานเมือง ระยะทาง 80.8 กิโลเมตร 2. สายสีแดงอ่อน (ศิริราช-ศาลายา-ตลิ่งชัน-หัวหมาก) รถไฟฟ้าชานเมือง ระยะทาง 54 กิโลเมตร 3. สายท่าอากาศยานแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 50.3 กิโลเมตร 4. สายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-สมุทรปราการ) รถไฟฟ้ายกระดับ ระยะทาง 66.5 กิโลเมตร 5. สายสีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) รถไฟฟ้ายกระดับ ระยะทาง 15.5 กิโลเมตร

สายที่ 6 สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4) รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ ระยะทาง 55 กิโลเมตร 7. สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ ระยะทาง 42.8 กิโลเมตร 8. สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร 9. สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กิโลเมตร 10.สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร

ทั้ง 10 เส้นทางนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว ส่วนอีก 3 สายได้แก่ สายสีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) ระยะทาง 26 กิโลเมตร สายสีฟ้า (ดินแดง-สาทร) อยู่ระหว่างฟื้นฟูโครงการ สายสีน้ำตาล (แคราย-บึงกุ่ม) ระยะทาง 21 กิโลเมตร ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง

นอกจากนี้ทางกระทรวงคมนาคมยังมีแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตรเพิ่มเติมอีกประมาณ 2,500 กิโลเมตร จากปัจจุบันมีระยะทางประมาณ 4,000 กิโลเมตร หากรวมระยะทางรถไฟที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในอนาคตจะมีระยะทางรวมทั่วประเทศประมาณ 6,500 กิโลเมตร

การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง แยกเป็น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตร เชื่อมต่อกับโครงข่ายทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ใน 6 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.สายชุมทางจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร 2.สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กิโลเมตร 3.สายนครปฐม-หัวหิน 165 กิโลเมตร 4.สายมาบกะเบา-นครราชสีมา 132 กิโลเมตร 5.สายลพบุรี- ปากน้ำโพ 148 กิโลเมตร และ 6.สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 90 กิโลเมตร

อีกโครงการหนึ่งเป็นการก่อสร้างรถไฟขนาดรางมาตรฐานความกว้าง 1.435 เมตร วิ่งด้วยความเร็ว 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทาง 3,000 กิโลเมตร

โครงการแรกคือ 1.เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง 867 กิโลเมตร ที่ร่วมลงทุนกับจีน 2.เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 700-800 กิโลเมตร 3.เส้นทางกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 970 กิโลเมตร 4.เส้นระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก ด้านบนจากแม่สอด จังหวัดตาก-พิษณุโลก-มุกดาหาร ระยะทาง 900 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมพม่าและลาว 5.ด้านล่างจากบ้านพุน้ำร้อน กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรางกับประเทศเพื่อนบ้านในเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้จากตะวันออกไปตะวันตก เส้นทางที่ 6 คือ ท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูล-ท่าเรือสงขลา ระยะทาง 150 กิโลเมตร เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าและบริการระหว่างทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

อีกทั้งยังมีโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทางคือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน 211 กิโลเมตร และกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง เพิ่งศึกษาเสร็จ 196 กิโลเมตร



รถไฟฟ้ากระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงหรือ

โดยโครงการดังกล่าว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญและเป็นประธานในการเปิดงานโดยตลอด เห็นได้จากการให้สัมภาษณ์ในพิธีเปิดเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาอุโมงค์ที่สอง โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายฯ สัญญา 2 ช่วงสถานีสนามไชย - สถานีท่าพระ ที่กล่าวว่า

“โครงการรถไฟฟ้ามีการใช้วัสดุและแรงงานในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นจึงเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ด้วย ซึ่งทุกอย่างต้องประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านเศรษฐกิจ ทั้งการส่งออก นำเข้า ผลิตค้าขายในประเทศ แรงงานต่างๆ ทั้งหมด อย่างที่บอกแล้วว่าประเทศเราตัวเลขคนว่างงานนั้นน้อย เพราะประเทศไทยอะไรก็เป็นอาชีพไปหมด ทำอะไรก็มีรายได้ แรงงานได้วันละ 300 บาท”

แหล่งข่าวด้านคมนาคมกล่าวว่า การโหมมาให้ความสำคัญกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าและรถไฟชานเมืองถือเป็นหนึ่งในด้านมิติทางการเมือง ที่คนทั่วไปมองเห็นได้ง่าย ดูเหมือนเป็นผลงานที่จับต้องได้ ด้วยความหวังที่จะให้โครงการเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศให้ฟื้นตัว แต่ยังมีอุปสรรคหลายด้านให้ต้องเร่งแก้ไข

ขณะที่ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รถไฟฟ้าโครงการเก่าตามแผนแม่บทเป็นสิ่งที่ดีแล้ว ที่รัฐบาลชุดนี้ควรเร่งดำเนินงาน เนื่องจากก่อนหน้ารัฐบาลอภิสิทธิ์และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มักมีการเปลี่ยนโครงการนี้กันบ่อย ทำให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ต้องทำการศึกษากันใหม่ เสียทั้งงบประมาณและเวลา

การเร่งดำเนินการให้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าและรถไฟชานเมืองเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว และควรดำเนินการด้วยความรวดเร็ว ควรเร่งออกแบบ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ยึดเส้นทางเดิม ทำให้เร็วที่สุด จะทำให้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้ระดับหนึ่ง

อย่างราง 1 เมตรนั้นมีการศึกษาไว้แล้ว ซึ่งในทางปฏิบัติราง 1 เมตรก็สามารถทำความเร็วได้ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ต้องไปแก้ปัญหาเรื่องจุดตัดต่างๆ โดยทำทางข้ามยกระดับขึ้นไป แล้วควรเปลี่ยนหัวรถจักรจากดีเซลมาเป็นระบบไฟฟ้า ส่วนรางที่ 1.435 เมตรกับความเร็วที่ 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในเส้นทางอื่นนั้นต้องศึกษาเรื่องความคุ้มทุนประกอบด้วย อีกทั้งเรื่องของแหล่งเงินกู้กับประเทศจีนที่ยังไม่สรุปว่าจะเป็นอย่างไร แต่จากการเจรจารอบที่ 3 ถือว่าดีกว่าเดิมที่ยอมลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเหลือ 2% จาก 2-4%

ถ้าจีนไม่หวังกำไรมาก มองว่าเส้นทางนี้เป็นอีกยุทธศาสตร์หนึ่งในการออกทะเลมาประเทศไทย ก็น่าจะทำให้โครงการนี้เดินหน้าต่อไปได้ง่ายขึ้น

ดร.สามารถยอมรับว่าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าและรถไฟชานเมืองยังมีอุปสรรคอีกมาก หากจะหวังให้โครงการนี้มาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศคงไม่สามารถช่วยได้ เว้นแต่ต้องเร่งดำเนินการก่อสร้างอย่างรวดเร็ว

“เราเข้าใจว่าเป็นเจตนาดีของท่านนายกฯ แต่ในหลายโครงการต้องมีการประเมินถึงความคุ้มค่าในด้านการลงทุนด้วยเช่นกัน อย่างโครงการรถไฟความเร็วสูงกับระยะทางร้อยกว่ากิโลเมตรกับเงินลงทุนเกือบแสนล้านบาท ต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมในประเทศไทยด้วย เรามีทั้งสายการบินต้นทุนต่ำ กำลังซื้อของคนไทยก็น้อยกว่าประเทศอื่น”


รัฐเบนเข็มใช้โปรเจกต์อื่นกระตุ้นแทน

ขณะเดียวกันแหล่งข่าวสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และติดตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ โดยเฉพาะการผลักดันโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ยอมรับว่า ความหวังที่จะให้โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่นี้ไปดันให้เศรษฐกิจดีขึ้นนั้นคงเป็นไปยาก เราได้ติดตามในหลายเส้นทางที่เป็นโครงการเดิมจากรัฐบาลก่อน หลายโครงการดำเนินไปอย่างล่าช้า

เนื่องจากรัฐบาลนี้เข้ามาด้วยภาพความโปร่งใส ต้องการขจัดเรื่องคอร์รัปชัน ทำให้หลายโครงการที่มีความน่าสงสัยต้องกลับไปทบทวนกันใหม่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องของตัวผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ต้องรอการแต่งตั้ง หลังจากที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินท้วงติง

“เมื่อเอาเรื่องของความโปร่งใสเข้ามาจับกับเรื่องของสัญญาที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ จึงทำให้ทุกอย่างช้า อีกทั้งท่านนายกฯ ก็พร้อมที่จะแก้ไขใหม่หากพบสิ่งที่ผิดปกติ”

อีกทั้งในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีการนำเรื่องข้อตกลงคุณธรรมมาใช้ ทำให้มีการตรวจสอบสัญญาต่างๆ อย่างเข้มข้น

“เราไม่ได้คัดค้านในเรื่องของการควบคุมตรวจสอบการทุจริต คอร์รัปชัน ถือเป็นเรื่องดี แต่เมื่อทุกอย่างต้องช้าไปจากการตรวจสอบ ย่อมทำให้การดำเนินโครงการเหล่านี้ต้องล่าช้าออกไป”

นอกจากนี้การเดินแผนก่อสร้างในส่วนของรถไฟระหว่างจังหวัด ยังมีปัญหาในเรื่องของเงินที่จะนำมาใช้ หากเป็นโครงการที่มีอยู่เดิมจะมีส่วนของเงินที่เตรียมการไว้แล้ว ส่วนเส้นทางใหม่ก็ติดขัดในเรื่องของแหล่งเงินกู้ เช่น จีน ที่เงื่อนไขด้านดอกเบี้ยยังสูงกว่าญี่ปุ่น เทอมในการกู้และระยะปลอดดอกเบี้ยสั้นกว่า และยังต้องรอการตัดสินใจของญี่ปุ่นอีกครั้งสำหรับการให้การสนับสนุนในโครงการรถไฟเส้นทางอื่น

ส่วนเรื่องการขอเพิ่มเส้นทางไปยังจุดอื่น เช่น สายสีแดง ขอเสนอไปถึงอยุธยานั้น ตรงนี้ยังเป็นเพียงแนวคิด ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม และต้องทำตามขั้นตอนอื่นๆ อีก ซึ่งต้องใช้เวลา อย่างเส้นที่ต่อจากหมอชิต สะพานใหม่ คูคต หรือเส้นสุวรรณภูมิ ดอนเมืองก็ยังไม่คืบหน้ามากนัก รวมไปถึงการขยายสุวรรณภูมิเฟส 2

ดังนั้นการที่จะหวังให้โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลชุดนี้คงเป็นเรื่องยาก หากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้จริงๆ ต้องใส่เม็ดเงินใหม่ลงมา ซึ่งตอนนี้รัฐบาลคงทราบในระดับหนึ่ง จึงหันไปกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอื่นๆ แทน เช่นโครงการซ่อมถนน วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท หรือการล้างหนี้เกษตรกรวงเงิน 4.5 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องเพราะโครงการขนาดใหญ่ต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะเดินหน้าได้ เนื่องจากการอัดเม็ดเงินใหม่ลงมาจะทำให้เกิดการจ้างงาน หรือมีเงินเข้าไปถึงมือของประชาชนโดยตรง เมื่อมีเงินก็จะเกิดการจับจ่ายใช้สอย ช่วยให้วงจรทางธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้

นับเป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล จากเดิมแทนที่จะฝากความหวังไว้ที่โครงการขนาดใหญ่ มาเป็นการอัดฉีดเม็ดเงินขนาดย่อมลงมา ไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจของประเทศก็จะทรุดต่ำลงเรื่อยๆ เห็นได้จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2558 จาก 4% ลงเหลือ 3.8% ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ไว้ที่ 2.8% กลายเป็นโจทย์ที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ เพื่อไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามนำไปโจมตีได้ว่าเมื่อยึดอำนาจแล้วทำให้เศรษฐกิจของประเทศแย่ลง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2015 10:00 pm    Post subject: Reply with quote

สันนิบาตเทศบาลเพชรบูรณ์ จัดเวทีรวมพลังผลักดันรถไฟต้องมาเพชรบูรณ์


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
26 มีนาคม 2558 18:48 น.


ASTVผู้จัดการออนไลน์ - สันนิบาตเทศบาลเพชรบูรณ์ จัดเวทีรวมพลังผลักดันรถไฟต้องมาเพชรบูรณ์ 1 เม.ย.

นายเสกสรร นิยมเพ็ง นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ ในฐานะประธานสันนิบาตเทศบาลจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ได้แก่ บริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ดีไว พลัส จำกัด และบริษัท ลูเซ่ ครีเอชั่น จำกัด การศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างทางรถไฟสาจัตุรัส-ชัยภูมิ-เลย-หนองบัวลำภู หรือลำนารายณ์-เพชรบูรณ์-เลย-หนองบัวลำภู โดยกำหนดประชุมปรึกษาสาธารณะ เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 58 ที่ห้องประชุมชาญอนุสรณ์ เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์นั้น

สันนิบาตเทศบาลจังหวัดเพชรบูรณ์ เห็นถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนรถไฟมาสู่จ.เพชรบูรณ์ และเห็นถึงเจตนารมณ์การรวมพลังของประชาชนในทุกภาคส่วน ที่จะช่วยผลักดันรถไฟต้องมาเพชรบูรณ์ จึงได้กำหนดจัดการเสวนารวมพลังร่วมผลักดันรถไฟต้องมาเพชรบูรณ์ วันที่ 1 เม.ย. 58 เวลา 13.00-5.00 น. ที่หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์

การเสวนาครั้งนี้จะมีผู้เกี่ยวข้องร่วมเวที และรับฟังข้อมูลของจังหวัดในทุกมิติ เพื่อนำไปสรุปผลการศึกษาการก่อสร้างทั้งสองเส้นทาง ให้รฟท.ได้นำเสนอรัฐบาล สันนิบาตเทศบาลจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงขอเชิญชวนส่วนราชการ หน่วยงานท้องถิ่น ประชาชน และผู้ที่สนใจเข้าร่วมเวทีในวันดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2015 10:02 pm    Post subject: Reply with quote

ถกนัดแรกรถไฟไทย-ญี่ปุ่น 31 มี.ค.นี้ เคาะแนวเส้นทางร่วมลงทุนใน60วัน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
26 มีนาคม 2558 18:19 น.



“ประจิน”เตรียมข้อมูลหารือ ญี่ปุ่น 31 มี.ค.นี้ เดินหน้าความร่วมมือ รถไฟไทย-ญี่ปุ่น เชื่อญี่ปุ่นสนใจลงทุนกาญจนบุรี-แหลมฉบัง (Lower East-West Corridor) 574 กม. เหตุเป็นแหล่งนิคมอุตฯของบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมาก เล็งสรุปแนวและรูปแบบเดินหน้าตั้งกก.ร่วม 2 ฝ่าย ใน 60 วัน เผย มี.ค.นี้ เจรจาลาว กำหนดจุดเชื่อมรถไฟไทย-จีน เล็งใช้แนวรถไฟเดิมสร้างขนานสะพานมิตรภาพ ลดผลกระทบเวนคืน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น วันนี้ (26 มี.ค.) ว่า หลังจากที่ได้มีการลงนามบันทึกแสดงเจตจำนง (MOI) ระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น(MLIT) ในการพัฒนาความร่วมมือทั้งการปรับปรุงเส้นทางรถไฟเดิม (ขนาดราง 1 เมตร) และเส้นทางใหม่ขนาดทางมาตรฐาน (1.435 เมตร) แล้วทางญี่ปุ่นได้ตอบรับการเริ่มเจรจา โดย วันที่ 31 มีนาคมนี้ รองปลัดกระทรวง MLITของญี่ปุ่น จะเดินทางมาหารือกับกระทรวงคมนาคม ใน 3 ประเด็น คือ 1.เส้นทางที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจ 2.รูปแบบความร่วมมือ และ 3.รูปแบบการลงทุน โดยวางกรอบการหารือว่าจะควรจะมีความชัดเจนและจัดตั้งคณะกรรมการร่วม 2 ฝ่ายได้ภายใน 60 วัน

โดย จาก 3 เส้นทางที่ไทยเสนอให้ญี่ปุ่นพิจารณา ประกอบด้วย
1.กาญจนบุรี-แหลมฉบัง (Lower East-West Corridor) ระยะทาง 574 กม. แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
1.1 กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี ระยะทาง 180 กม.
1.2 กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ระยะทาง 255 กม.และ
1.3 กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ระยะทาง 139 กม.

2.กรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 680 กม.
3.ตาก-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร ระยะทาง 718 กม.

ไทยเห็นว่า ญี่ปุ่นน่าจะสนใจเส้นทาง กาญจนบุรี-แหลมฉบัง จะเกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากตลอดเส้นทางจะผ่านแหล่งนิคมอุตสาหกรรม

ส่วนรูปแบบความร่วมมือนั้นชัดเจนว่าจะเป็นแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล(G To G) ส่วนรูปแบบการลงทุน เบื้องต้นมี 2 รูปแบบ คือ ใช้เงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) หรือ ใช้เงินลงทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่รัฐบาลญี่ปุ่นจัดตั้งขึ้นเพื่อให้เงินกู้ภาคเอกชนของญี่ปุ่นกู้ยืมไปลงทุนงานโครงสร้างพื้นฐานทั้งในและต่างประเทศ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยหลังการหารือครั้งแรกทั้ง 2 ฝ่ายจะนำข้อมูลกลับไปหารือกับรัฐบาลของตัวเองเพื่อเร่งสรุปเพื่อนำไปสู่การลงนามในความร่วมมือต่อไป

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ในส่วนของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง 873 กม.นั้น ในวันที่ 3-4 เมษายนนี้จะเดินทางไปสปป.ลาวเพื่อหารือถึงแนวเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างไทย- ลาว ซึ่งขณะนี้มี 5 แนวทางเลือก โดยมี 4 แนวที่จะก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงใหม่ โดยจะต้องเวนคืนเพิ่ม และแนวทางที่ 5 จะวางแนวเส้นทางขนานไปตามทางรถไฟปัจจุบัน ซึ่งจะลดการเวนคืนและก่อสร้างสะพานคู่กับสะพานมิตรภาพเดิมซึ่งจะประหยัดค่าก่อสร้างมากกว่า เนื่องจากเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)เกือบทั้งหมด ซึ่งไทยเห็นว่า แนวทางนี้มีความเหมาะสมมากที่สุด

นอกจากนี้จะหารือถึงการพัฒนาเส้นทางถนน R8,R9 ,R12 เส้นทางเชื่อมต่อกับสะพานมิตรภาพ 5( บึงกาฬ-บริคำไซ) ,สะพานจากอุบลราชธานี-ปากเซ โดยคาดว่าทางลาวจะเสนอขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยในเรื่องเงินลงทุน ผ่านสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือ NEDA
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2015 2:11 am    Post subject: Reply with quote


รถไฟไทยจีนโดยไทยรัฐทีวี
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=UIMfcdonf38
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44539
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/03/2015 9:51 am    Post subject: Reply with quote

จับตารถไฟเชื่อมเหนือ-อีสาน “เพชรบูรณ์–ชัยภูมิ” ใครเข้าวิน ??
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 มีนาคม 2558 08:45 น.
เสกสรร นิยมเพ็ง รายงานการเมือง

ดูเหมือนแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของรัฐบาลไทยในช่วงหลัง จะเน้นหนักไปที่การพัฒนาและปฏิรูปการขนส่งระบบราง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดที่แล้ว กับโครงการ “THAILAND 2020” ที่วางแผนที่จะใช้งบประมาณถึง 2 ล้านล้านบาท พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของไทย แต่ก็ไปไม่รอด ต้องพับฐานไปเสียก่อน ที่นำ “ระบบราง” ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่มาเป็น ตัวชูโรง

พอมาถึงในยุค คณะรักษาความสงบแห่งแห่งชาติ (คสช.) การขนส่ง “ระบบราง” ก็ยังเป็นพระเอกของยุทธศาสตร์ด้านการคมนาคม ของรัฐบาลเช่นเคย ประเดิมด้วยการผลักดันรถไฟทางคู่ไทย - จีน เส้นทางหนองคาย - กรุงเทพฯ - ระยอง ระยะทางกว่า 800 กม. งบประมาณกว่า 3 แสนล้านบาท ที่คืบหน้าอย่างรวดเร็ว หรือการพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมเศรษฐกิจ ตะวันตก - ตะวันออก เส้นทาง กาญจนบุรี - ระยอง - อรัญประเทศ ที่อยู่ระหว่างการพูดคุยกับทางประเทศญี่ปุ่นอยู่ในขณะนี้ และอาจรวมไปถึงรถไฟความเร็วสูงระยะสั้น จาก กรุงเทพฯ - พัทยา หรือ กรุงเทพฯ - หัวหิน ที่มีแนวโน้มว่าจะชักชวนภาคเอกชนไทย มาร่วมลงทุน

สาเหตุที่รัฐบาลไทยต้องหันมาเน้นหนักการพัฒนาและปฏิรูประบบราง ก็เนื่องจากเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกแล้วว่า การลงทุนในระบบราง ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่คุ้มค่ากว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น ทั้งในแง่การลดต้นทุนในการเดินทาง การขนส่ง และการลดการใช้พลังงาน เป็นต้น

นอกเหนือจาก “เมกะโปรเจกต์” ที่กล่าวไปแล้วนั้น หลายๆ เส้นทางในประเทศก็จำเป็นต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาควบคู่กันไปด้วย เพื่อรองรับเส้นทางสายหลักที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยในเร็วๆ นี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก็กำลังจะสรุปผลการศึกษาการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่ 1 เส้นทางสำคัญ เพื่อเชื่อมโยงภาคเหนือ - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งรัฐบาล คสช. ได้มีมติเห็นชอบในแผนงานการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง 2 แนวเส้นทาง คือ 1. เส้นทางรถไฟสายสายลำนารายณ์ - เพชรบูรณ์ - เลย - หนองบัวลำภู และ 2. เส้นทางรถไฟสายจัตุรัส - ชัยภูมิ - เลย - หนองบัวลำภู

ความแตกต่างของ 2 เส้นทาง ที่เส้นทางหนึ่งผ่าน จ.เพชรบูรณ์ เป็นหลัก ขณะที่อีกเส้นทางหนึ่ง จะผ่าน จ.ชัยภูมิ เป็นหลัก ทำให้ต่างมีความเคลื่อนไหวแสดงความพร้อม และความต้องการเส้นทางรถไฟด้วยกันทั้ง 2 จังหวัด

โดยเฉพาะด้าน จ.เพชรบูรณ์ ที่มีการขับเคลื่อนผ่านแคมเปญ “รถไฟต้องมาเพชรบูรณ์” ซึ่งมีการแสดงพลังอย่างพร้อมเพรียง จนปัจจุบันถูกยกให้เป็น “วาระแห่งเพชรบูรณ์” เลยทีเดียว สาเหตุที่ชาวเมืองมะขามหวาน จ.เพชรบูรณ์ ให้ความสนใจเรื่องการเข้ามาของทางรถไฟนั้น ก็เนื่องจากปัจจุบันในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ ไม่มีเส้นทางรถไฟแม้แต่ตารางนิ้วเดียว ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่น่าตกใจ เพราะ จ.เพชรบูรณ์ อาจจะไม่ใช่จังหวัดใหญ่ แต่ก็มีประชากรรวมแล้วเกินกว่า 1 ล้านคน

อีกทั้งในช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมมากมาย ทั้งอุทยานแห่งชาติเขาค้อ อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ที่ช่วงเทศกาลจะมีผู้คนแห่แหนกันไปสัมผัสบรรยากาศกันอย่างล้นหลาม

เรื่องนี้ “เสกสรร นิยมเพ็ง” นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดีของ จ.เพชรบูรณ์ ที่จะมีเส้นทางรถไฟผ่านเสียที หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีความพยายามผลักดันมาไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ มาครั้งนี้มีการตั้งงบประมาณในการศึกษาอย่างเอาจริงเอาจัง เพียงแต่มีคู่เปรียบเทียบอีกเส้นทางหนึ่งด้วย ทางจังหวัดจึงอยากให้ทั้ง ร.ฟ.ท. และบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนที่จะรายงานสรุปเสนอให้รัฐบาลตัดสินใจ เพราะในระหว่างการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาฯมีการตึ้งเวทีรับฟังข้อมูลขจากชาวเพชรบูรณ์เพียงครั้งเดียว แตกต่างจากจังหวัดที่มีการตั้งเวที 3 - 4 ครั้งต่อจังหวัด

“นายกเสกสรร” บอกด้วยว่า ในวันที่ 1 เม.ย. 58 ทางจังหวัดโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จะมีการจัดเวทีเสวนารับฟังความคิดเห็นจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง โดยเป็นเวทีที่ จ.เพชรบูรณ์ จัดขึ้นมาเอง และเชิญผู้แทนจาก ร.ฟ.ท. รวมทั้งบริษัทที่ปรึกษาฯมาร่วมรับฟังความเห็นของชาวเพชรบูรณ์อีกครั้ง

ด้าน “วิศัลย์ โฆษิตานนท์” ประธานสภาวัฒนธรรม จ.เพชรบูรณ์ ให้ข้อมูลเสริมว่า เส้นทางรถไฟใหม่ที่จะผ่านเพชรบูรณ์นั้น ถือว่ามีศักยภาพที่เหนือกว่าในหลายด้าน และยังคุ้มค่าการลงทุนอีกด้วย อาทิ การขนส่งสินค้าทางการเกษตร ทั้ง มะขาม ข้าวโพด กะหล่ำปลี ขิง ที่เป็นสินค้าเศรษฐกิจของ จ.เพชรบูรณ์ จุดยุทธศาสตร์ที่ถือเป็นกึ่งกลางระหว่างภาคเหนือ - ภาคอีสาน และเชื่อมโยงไปถึงประเทศลาว ผ่าน อ.ท่าลี่ ได้ง่าย การประหยัดงบประมาณเนื่องจากพื้นที่เส้นทางตามแผนส่วนใหญ่เป็นของรัฐ จำนวนผู้โดยสารที่มีแนวโน้มมากกว่า จากแหล่งท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งยังจะได้เส้นทางท่องเที่ยงทางรถไฟที่สวยงามด้วยภูมิศาสตร์ที่มีภูเขาขนาบทั้ง 2 ด้านของเส้นทาง

ด้าน “กษิต โฆษิตานนท์” ประธานหอการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวถึงกระแสการตอบรับของชาวเพชรบูรณ์ ว่า ขณะนี้ต้องบอกว่าทั้งจังหวัดมีความเห็นด้วย กับการที่จะมีเส้นทางรถไฟผ่าน พูดได้เสียงเป็นเอกฉันท์ จากทั้งประชาชน และหน่วยงานต่างๆ มีการแสดงพลังอย่างพร้อมเพรียงโดยมิได้นัดหมาย จนถูกต้องยกให้เป็น “วาระแห่งเพชรบูรณ์” ทั้งมีสังคมออนไลน์ หรือการร่วมกันขยายสื่อประชาสัมพันธ์ไปทั่วทั้งจังหวัด และพื้นที่ใกล้เคียง

ทั้งนี้ เมื่อเข้าตรวจสอบแฟนเพจ “รถไฟต้องมาเพชรบูรณ์” ที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 58 เพื่อรณรงค์ผลักดันเส้นทางรถไฟ พบว่า ปัจจุบันมีผู้กดไลค์มากกว่า 1.1 หมื่นคน มีการแชร์ภาพกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งแสดงความคิดเห็นแล้วมากกว่า 1 แสนครั้ง

ขณะที่ จ.ชัยภูมิ นั้น แม้จะมีเส้นทางรถไฟผ่านทางด้านตะวันออก - ใต้ ของจังหวัดอยู่แล้ว แต่ก็มีความต้องการให้มีการพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อเชื่อมโยงกับจังหวัดในด้านอื่นด้วย โดย “มนตรี ชาลีเครือ” นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ชัยภูมิ เคยยื่นหนังสือถึง ร.ฟ.ท. ในนาม อบจ.ชัยภูมิ เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างทางรถไฟ เส้นทางสายจัตุรัส - ชัยภูมิ - เลย - หนองบัวลำภู แล้วเช่นกัน ขณะที่ความเคลื่อนไหวของภาคประชาชน ก็มีการรณรงค์เส้นทางรถไฟสายจัตุรัส - ชัยภูมิ - เลย - หนองบัวลำภู ในลักษณะใกล้เคียงกัน

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก ร.ฟ.ท. ระบุว่า สัญญาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาในส่วนของเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงภาคเหนือ - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งบประมาณ 30 ล้านบาทนั้น จะสิ้นสุดลงในวันที่ 28 เม.ย. 58 ซึ่งหมายความว่า บริษัทที่ปรึกษาฯ ต้องจัดทำรายงานสรุปผลการศึกษาให้แล้วเสร็จเพื่อนำส่ง ร.ฟ.ท. และรัฐบาลในเดือน เม.ย. นี้ ก่อนที่ในปีงบประมาณ 2559 จะเสนองบประมาณในส่วนของการออกแบบรายละเอียด เพื่อดำเนินโครงการต่อไป

เดือน เม.ย. 58 จึงถือเป็นช่วยเวลาสำคัญของทั้ง “เพชรบูรณ์ - ชัยภูมิ” ที่จะชี้ขาดว่า “รถไฟไทย” จะหันหัวไปทางไหน ซึ่งย่อมต้องมีฝ่ายหนึ่ง “สมหวัง” ขระที่อีกฝ่ายต้อง “อกหัก” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 37, 38, 39 ... 121, 122, 123  Next
Page 38 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©