RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181508
ทั้งหมด:13492746
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 38, 39, 40 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 31/03/2015 12:14 pm    Post subject: Reply with quote

รวมพลังรณรงค์‘รถไฟต้องมาเพชรบูรณ์’
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
คอลัมน์ : ข่าวหน้า1
ออนไลน์เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 10:11 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,039 วันที่ 29 มีนาคม - 1 เมษายน พ.ศ. 2558

เพชรบูรณ์ผุดเวทีฟังความเห็นสร้างทางรถไฟสายใหม่
เดลินิวส์
วันอังคาร 31 มีนาคม 2558 เวลา 10:56 น.

ชาวเพชรบูรณ์สู้ไม่ถอย ขอรถไฟรัฐบาลชูจุดแข็งเชื่อมนานาประเทศ
ประชาชาติธุรกิจ
วันอังคาร 31 มีนาคม 2558 เวลา 13:41:08 น.


เปิดเวทีระดมความเห็น สร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่ไปเพชรบูรณ์ เล็งเชิญ “รฟท.-บริษัทที่ปรึกษา” ร่วมฟังความเห็น 1 เม.ย.นี้ คาดโครงการสำเร็จ ชาวมะขามหวานได้ประโยชน์

ผู้สื่อข่าว "ฐานเศรษฐกิจ" รายงานจากจังหวัดเพชรบูรณ์ว่า หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ว่าจ้างให้บริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสม เพื่อเป็นทางเลือกการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ระหว่างสายจัตุรัส ชัยภูมิ เลย หนองบัวลำภู และสายลำนารายณ์ เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู หลังจากจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นชาวเพชรบูรณ์ไปแล้ว

ล่าสุดบรรยากาศโดยรวมของจังหวัดเพชรบูรณ์กำลังมีการรณรงค์ให้ประชาชนทั้งจังหวัด อาทิ กลุ่มเยาวชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ห้างร้านธุรกิจ ได้ร่วมกันผลักดันให้มีเส้นทางรถไฟสายลำนารายณ์-เพชรบูรณ์-เลย-หนองบัวลำภู ในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อป้ายประชาสัมพันธ์ทั่วทั้งในตัวจังหวัดเพชรบูรณ์เองและต่างอำเภอ รวมทั้งบนโลกโซเซียลมีเดียก็มีการโพสต์ภาพกิจกรรมการแสดงออกเรียกร้องให้การรถไฟฯ ได้พิจารณาสร้างทางรถไฟสายดังกล่าว ซึ่งเหมาะสมแก่การลงทุนเป็นอย่างมาก โดยเหตุผลว่ามีความเพียบพร้อมทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว จำเป็นต้องพึ่งพาการบริการสาธารณะระบบรางชนิดนี้

สำหรับเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว จะเริ่มจากสถานีลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เข้าสู่ตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ ขึ้นไปยังอำเภอหล่มสัก จากนั้นไปที่จังหวัดเลย และเข้าสู่จังหวัดหนองบัวลำภู โดยบางช่วงของเส้นทางตั้งแต่อำเภอหล่มสักไปจนถึงจังหวัดเลยนั้นจะต้องตัดผ่านเขตพื้นที่ป่าสงวนด้วย

ทั้งนี้ในการประชุมสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (อบจ.เพชรบูรณ์) ทั้ง 30 เขต และข้าราชการในส่วนของอบจ.เพชรบูรณ์เมื่อเร็วๆ นี้ นายอัครเดช ทองใจสด นายกอบจ.เพชรบูรณ์ เป็นประธาน ได้หารือถึงการร่วมผลักดันเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว ในหัวข้อ "มิติใหม่เส้นทางรถไฟสายเพชรบูรณ์" โดยนายอัครเดชยังเป็นตัวแทนประกาศเจตนารมณ์ในนามอบจ.เพชรบูรณ์ แสดงจุดยืนร่วมกับสมาชิกอบจ. ประกาศร่วมกันผลักดันเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ให้เกิดขึ้นจริงในรูปแบบ "รถไฟต้องมาเพชรบูรณ์" อีกด้วย

นายกษิต โฆษิตานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวยอมรับว่า เป็นครั้งแรกที่ชาวเพชรบูรณ์ 99% เห็นด้วยกับโครงการนี้ และร่วมกันแสดงพลังหรือแสดงออกอย่างพร้อมเพรียงกันแทบมิได้นัดหมาย จนต้องยกให้เป็นวาระเพชรบูรณ์ไปแล้ว และจากการพูดคุยกับทางประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดเลย ก็เห็นด้วยหากเส้นทางรถไฟจะผ่านเพชรบูรณ์ เพราะจะทำให้เส้นทางการท่องเที่ยวเส้นทางนี้มีความน่าสนใจและเติมเต็มมากขึ้น หาก รฟท. และบริษัทที่ปรึกษามีข้อสงสัย หรือข้อขัดข้องใด ๆ ก็อยากให้มาถามและรับฟังข้อมูลโดยตรงจากชาวเพชรบูรณ์เองมากกว่า

ด้านนายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า การรณรงค์เพื่อผลักดันให้มีการก่อสร้างทางรถไฟมายังจังหวัดเพชรบูรณ์ครั้งนี้ เป็นการแสดงออกของชาวเพชรบูรณ์ ถึงความต้องการอย่างแท้จริงโดยทุกคนต่างมีความเห็นร่วมกันว่าการบริการสาธารณะระบบรางชนิดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่และในจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ในขณะที่ทางจังหวัดเองก็ให้การสนับสนุน ให้การรถไฟพิจารณาเลือกแนวก่อสร้างเส้นทางสายนี้และทำให้เกิดขึ้นจริง หลังจากที่คนเพชรบูรณ์รอคอยกันมาอย่างยาวนานมาก แต่ปี พ.ศ. 2487 และมีแนวคิดอีก 4 ครั้งหลังจากนั้น แต่ทุกครั้งด้วยเหตุผลไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนทั้งจำนวนผู้โดยสาร จำนวนสินค้าที่ใช้ขนส่ง ค่าใช้จ่ายในการลงทุน คือเหตุผลที่ทำให้การก่อสร้างรถไฟไม่สามารถมาที่จังหวัดเพชรบูรณ์ได้ แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 และอาจกล่าวได้ว่าเป็นครั้งที่ใกล้เคียงที่สุดที่รัฐบาลหรือการรถไฟน่าจะอนุมัติการก่อสร้างรถไฟสายเพชรบูรณ์

ทั้งนี้ หากนับจำนวนผู้โดยสารเพชรบูรณ์มีประชากรประมาณ 9.9 แสนคน มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2556 มีนักท่องเที่ยวกว่า 1.7 ล้านคน ปี 2557 ที่ผ่านมามีมากกว่า 2 ล้านคน ส่วนในปีนี้น่าจะมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 2.5 ล้านคน อีกทั้งเพชรบูรณ์เป็นแหล่งผลิตข้าวโพด ขิง กะหล่ำปลี ใบยาสูบ น้ำตาล อ้อย ข้าว และมะขามหวาน เป็นสินค้าในการส่งออกทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะข้าวโพดปัจจุบันเพชรบูรณ์เป็นแหล่งรวมข้าวโพดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทั้งจากภาคเหนือและภาคอีสาน ก่อนที่จะกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ โดยมีปริมาณการขนส่งข้าวโพด 700 ตัน/วัน อีกทั้งเพชรบูรณ์มีบ่อผลิตน้ำมันปิโตรเลียม 3 บ่อ สามารถดูดน้ำมันดิบได้ 3 พันกว่าบาร์เรล/วัน ยังไม่นับการขนส่งวัสดุก่อสร้างทั้งคอนกรีต เหล็ก หิน ทราย ซึ่งปัจจุบันที่เพชรบูรณ์มีการก่อสร้างสถานที่พักสำหรับการท่องเที่ยวกว่า 5,000 ยูนิต
"สิ่งหนึ่งที่เพชรบูรณ์เสนอให้บริษัทที่ปรึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ คือ หากปรับเปลี่ยนการก่อสร้างทางรถไฟสายเพชรบูรณ์จากด้านตะวันออกของถนนสาย 21 ที่ทางบริษัทที่ปรึกษาแจ้งกับทางรถไฟไปเป็นก่อสร้างฝั่งทิศตะวันตกแทน จะทำให้ค่าการเวนคืนที่ดินจะถูกลงไปอย่างมหาศาล เนื่องจากที่ดินฝั่งตะวันตก เป็นที่ดินป่าเสื่อมโทรมและที่ดินทำกินของชาวไร่ ชาวนา เป็นส่วนมากอีกทั้งจะทำให้สายรถไฟสายนี้เป็นสายรถไฟท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากจะติดเขาฝั่งหนึ่งและอีกฝั่งหนึ่งเป็นทุ่งนาหรือสวน และฝั่งตะวันตกห่างจากตัวเมืองเพียง 8 กม. เป็นการสร้างชุมชนและสามารถสร้างรายได้และอาชีพให้กับผู้ที่อยู่ใกล้สถานีอีกเป็นจำนวนมาก" นายเสกสรรกล่าว

นายกษิต โฆษิตานนท์ ประธานสภาหอการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า สินค้าที่ขนส่งจากพื้นที่อื่นมายังเพชรบูรณ์ผ่านทางรถยนต์บรรทุก จะทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น 26% ค่าขนส่งที่แพงกว่า นอกจากนั้น สินค้าจากจังหวัดเพชรบูรณ์ เช่น ผลิตผลทางการเกษตร ที่ส่งไปขายที่อื่นผ่านการขนส่งทางรถยนต์บรรทุก ก็จะทำให้สินค้าดังกล่าวของเรามีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น 26 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน

นายกษิตกล่าวต่อไปว่า หากการรถไฟแห่งประเทศไทยเลือกเส้นทางนี้จะคุ้มค่ากับการลงทุน เพราะจะสามารถลดต้นทุนในการขนส่งได้ เนื่องจากการขนส่งสินค้าระหว่างภาคเหนือกับภาคอีสาน สามารถเชื่อมต่อโดยตรงถึงกันได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านเข้าไปยังกรุงเทพฯ จะเป็นเส้นทางจากภาคเหนือไปภาคอีสาน และจากภาคอีสานมาภาคเหนือนั้น เส้นทางที่ใกล้ที่สุด สะดวกที่สุด คือ จะต้องผ่านเพชรบูรณ์ จึงอาจกล่าวได้ว่า เพชรบูรณ์คือสะพานเชื่อมต่อระหว่างภาคเหนือกับภาคอีสาน และในอนาคตจะสามารถเชื่อมต่อไปยังถนนสายมะละแหม่ง – ดานัง (AH16) อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศลาวผ่านทางอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย เข้าไปสู่แขวงไชยบุรี และประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันก็มีเส้นทางคมนาคมอยู่แล้ว ทำให้สามารถขนส่งสินค้าได้ง่าย

ขณะที่ นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรม จ.เพชรบูรณ์ กล่าวเสริมว่า ยอมรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟจะต้องใช้เวลาอีกหลายปี จึงจะดำเนินการแล้วเสร็จ แต่อย่างน้อยหากวันนี้ รฟท.และบริษัทที่ปรึกษาได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน และเลือกก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ผ่าน จ.เพชรบูรณ์ ก็จะถือเป็นก้าวแรกที่ชาวเพชรบูรณ์ จะได้รับประโยชน์จากการเดินทาง และขนส่งสินค้าทางรถไฟโดยตรง หรือนำเข้าสินค้าจากที่อื่น รวมไปถึงการนำสินค้าไปจำหน่ายในประเทศลาว ผ่านทาง อ.ท่าลี่ ไปจนถึงแขวงไชยะบุรี ได้รับความสะดวกกว่าในปัจจุบันมาก.

ส่วนนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีนโยบายเห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟศึกษาความเป็นไปได้โครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายใหม่ทั้ง 2 สายดังกล่าว และปีงบประมาณ 2559 เสนอของบเพื่อออกแบบรายละเอียด อย่างไรก็ดีมองว่าจังหวัดเพชรบูรณ์และพื้นที่ใกล้เคียงควรมีรถไฟเชื่อมโยงโครงข่ายที่ปัจจุบันยังขาดช่วงอยู่

แหล่งข่าวจากการรถไฟกล่าวว่า ขณะนี้ร.ฟ.ท.จ้างบริษัทที่ปรึกษา วงเงิน 30 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อศึกษาว่าเส้นทางไหนเหมาะสมที่จะลงมือทำก่อนหลัง คาดว่าเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้น่าจะทราบผลการศึกษาและในปีงบประมาณ 2559 จะเสนองบออกแบบรายละเอียดเพื่อดำเนินโครงการต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/04/2015 7:59 am    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นมาแรง! ขอลงทุนรถไฟทางคู่ 2 สาย เร่งเซ็น MOU พ.ค.ลุยสำรวจออกแบบใน1ปี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 มีนาคม 2558 20:43 น.

ญี่ปุ่นขอลงทุนรถไฟทางคู่ 2 เส้นทางทั้ง กาญจนบุรี-แหลมฉบังและกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ “ประจิน”เตรียมหารือ”นายกฯ”เห็นชอบ เหตุเคยระบุให้เลือกลงทุน 1 เส้นทาง วางแผนลงนาม MOU ร่วมพ.ค.นี้ เดินหน้าสำรวจ ออกแบบ 8-12 เดือนก่อสร้างเสร็จใน 4 ปี

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ นายฮิโรชิ มูโตะ รองปลัดกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (MLIT) วันนี้ (31 มี.ค.) ว่า ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลในการพัฒนาระบบรางในประเทศไทย ซึ่งได้มีการบันทึกแสดงเจตจำนง (MOI) ความร่วมมือในการพัฒนาระบบราง ระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทย – กระทรวงที่ดินฯ ของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมาแล้ว โดยญี่ปุ่นได้ยืนยันความสนใจที่จะเข้ามาร่วมพัฒนารถไฟ 2 เส้นทาง คือ
1. กาญจนบุรี-แหลมฉบัง ระยะทาง 574 กม. แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี ระยะทาง 180 กม. กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ระยะทาง 255 กม.และ กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ระยะทาง 139 กม. และ
2.กรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 680 กม. ส่วนเส้นทาง ตาก-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร ระยะทาง 718 กม. จะเข้ามาร่วมศึกษายังไม่มีแผนร่วมลงทุน เนื่องจากยังไม่มีข้อมูล

ส่วนรูปแบบความร่วมมือนั้น จะมีการเจรจาหลังจากได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) แล้ว ซึ่งทางญี่ปุ่นได้จัดทำร่าง MOU เสนอมาประกอบกับร่าง MOU ทางฝ่ายไทยที่จะเร่งพิจารณาร่วมกัน จากนั้นจะเสนอกระทรวงการต่างประเทศเห็นชอบและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในปลายเดือนเม.ย.นี้ เพื่อให้ทันกับที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมจะเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ 23-27 เม.ย.นี้ โดยคาดว่าจะลงนามใน MOU ร่วมกันภายในเดือน พ.ค. โดยวางกรอบการทำงานเบื้องต้นนั้นทางญี่ปุ่นจะส่งทีมสำรวจ 2-3 ชุด เข้ามาทำการสำรวจเส้นทาง ในเดือนเม.ย.นี้ เพื่อประกอบการทำ MOU และจะเริ่มทำการสำรวจอย่างเป็นทางการทั้ง 2 เส้นทาง ในเดือนพ.คโดยคาดว่าจะใช้เวลาในการสำรวจและออกแบบ 8 เดือน- 12เดือน และก่อสร้างไม่เกิน 4 ปี

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า กรณีที่ญี่ปุ่นเสนอขอพัฒนารถไฟ 2 เส้นทาง จากเดิมที่ไทยให้เลือก 1 เส้นทางนั้น จะนำข้อเสนอนี้ปรึกษาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าทั้ง 2 เส้นทาง เป็นประโยชน์กับประเทศ โดยเบื้องต้นจะพัฒนาเป็นรถไฟทางคู่ โดยเป็นรางขนาด 1.435 เมตร ส่วนจะเป็นความเร็วขนาดปานกลางหรือความเร็วสูงนั้น จะต้องรอหลังการสำรวจ พร้อมกันนี้ จะร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง ซึ่งได้ให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เตรียมพร้อมด้านบุคลากรที่จะแลกเปลี่ยน ฝึกอบรม ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบรางด้วย

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า เส้นทางกาญจนบุรี-แหลมฉบัง น่าสนใจเนื่องจากพื้นที่ผ่านแหล่งอุตสาหกรรมและสินค้าซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจ โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศกัมพูชาและเวียดนามได้ โดยปัจจุบันร.ฟ.ท.ได้ทำการปรับปรุงทางรถไฟเชื่อมระหว่างบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว กับเมืองปอยเปต ของกัมพูชา ริมชายแดนบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ส่วนการเดินรถเชื่อมต่อนั้นจะเป็นรูปแบบ MOU เดียวกับการเดินรถเชื่อมไทย-มาเลเซีย และไทย-ลาว ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่นั้น เน้นการขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 01/04/2015 9:32 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
1. แนวเส้นทางเลือกสายทาง จัตุรัส-ชัยภูมิ-หนองบังลำภู-และเลย

- แนวเส้นทางเลือกที่ 1 (สีม่วง)
จุดเริ่มต้นของโครงการอยู่ที่สถานีรถไฟจตุรัต จ.ชัยภูมิ ผ่าน อ.จัตุรัส อ.บ้านเขว้า อ.เมืองชัยภูมิ อ.คอนสวรรค์ อ.แก่งคล้อ อ.ภูเขียว และเข้าสู่ จ.ขอนแก่น อ.ชุมแพ อ.สีชมพูเข้าสู่ จ.หนองบัวลำภู ผ่าน อ.ศรีบุญเรืองอ.เมืองหนองบัวลำภู อ.นากลาง อ.นาวังเข้าสู่ จ.เลย ผ่าน กิ่ง อ.เอราวัณ อ.วังสะพุง อ.เมืองเลย สิ้นสุดโครงการที่ อ.เมืองเลย รวมจังหวัดที่ผ่าน 4จังหวัด 15อำเภอ ระยะทางรวม 333กิโลเมตร

- แนวเส้นทางเลือกที่ 2 (สีเขียว)
จุดเริ่มต้นของโครงการอยู่ที่สถานีรถไฟจตุรัต จ.ชัยภูมิ ผ่าน อ.จตุรัส อ.บ้านเขว้า อ.เมืองชัยภูมิ อ.หนองบัวแดง อ.เกษตรสมบูรณ์ อ.ภูเขียว เข้าเขต จ.ขอนแก่นช่วง อ.ชุมแพ อ.สีชมพู เข้าสู่ จ.หนองบัวลำภู ผ่าน อ.ศรีบุญเรือง อ.ผาขาวกิ่ง อ.หนองหิน เข้าสู่ จ.เลย ผ่าน อ.วังสะพุง อ.เมือง สิ้นสุดโครงการที่ อ.เมืองเลย รวมจังหวัดที่ผ่าน 4จังหวัด 13อำเภอ ระยะทางรวม 297 กิโลเมตร


2.แนวเส้นทางเลือกสายทาง ลำนารายณ์-เพชรบูรณ์-เลย-หนองบัวลำภู

- แนวเส้นทางเลือกที่ 3 (สีแดง)
จุดเริ่มต้นของโครงการอยู่ที่สถานีรถไฟลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี มุ่งหน้าขึ้นเหนือเข้า จ.เพชรบูรณ์ อ.ศรีเทพ อ.วิเชียรบุรี อ.บึงสามพัน อ.หนองไผ่ อ.เมืองเพชรบูรณ์ อ.หล่มสัก อ.หล่มเก่า เส้นทางช่วงนี้จะคู่ขนานไปกันถนนทางหลวงหมายเลข 21 เข้าสู่ จ.เลย ผ่าน อ.ภูหลวง อ.วังสะพุง อ.เมืองเลย อ.นาด้วง ลัดเลาะไปตามไหล่เขาและมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเข้า จ.หนองบัวลำภู ผ่าน อ.นาวัง อ.นากลาง สิ้นสุดโครงการที่ อ.เมืองหนองบัวลำภู รวมจังหวัดที่ผ่าน 4จังหวัด 15อำเภอ ระยะทางรวม 392กิโลเมตร

- แนวเส้นทางเลือกที่ 4 (สีน้ำเงิน)
จุดเริ่มต้นของโครงการอยู่ที่สถานีรถไฟลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี มุ่งหน้าขึ้นเหนือเข้า จ.เพชรบูรณ์ อ.ศรีเทพ อ.วิเชียรบุรี อ.บึงสามพัน อ.หนองไผ่ อ.เมืองเพชรบูรณ์ อ.หล่มสัก อ.หล่มเก่า อ. เส้นทางช่วงนี้จะคู่ขนานไปกันถนนทางหลวงหมายเลข 21 เข้าสู่ จ.เลย ผ่าน อ.ด่านซ้าย อ.ภูเรือ อ.เมืองเลย อ.นาด้วง ลัดเลาะไปตามไหล่เขาและมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเข้า จ.หนองบัวลำภู ผ่าน อ.นาวัง อ.นากลาง สิ้นสุดโครงการที่ อ.เมืองหนองบัวลำภู รวมจังหวัดที่ผ่าน 4จังหวัด 15อำเภอ ระยะทางรวม 396กิโลเมตร

ซึ่งการพิจารณาคัดเลือกจะคัดเลือกแนวสายทาง จัตุรัส-ชัยภูมิ-หนองบังลำภู-และเลยจากแนวเส้นทางเลือกที่ 1(สีม่วง) กับ แนวเส้นทางเลือกที่ 2(สีเขียว) เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดก่อน แล้วจึงนำไปพิจารณาเปรียบเทียบกับแนวทางเลือกที่ดีที่สุดของแนวเส้นทางเลือกสายทาง ลำนารายณ์-เพชรบูรณ์-เลย-หนองบัวลำภูจาก จากแนวเส้นทางเลือกที่ 3(สีแดง) กับ แนวเส้นทางเลือกที่ 4(สีน้ำเงิน) จึงจะได้แนวทางเลือกที่เหมาะสมต่อไป

http://jaturat-nongbualamphu.com/about3.php
http://jaturat-nongbualamphu.com/file/train%20quadrate1.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2015 2:48 am    Post subject: Reply with quote

เปิดเวทีใหญ่ระดมความคิดเห็นรถไฟผ่านเพชรบูรณ์
ข่าวภูมิภาค
INN
วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ.2558 19:57น.

เพชรบูรณ์-เปิดเวทีใหญ่ ระดมความคิดเห็นสร้างเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์
ที่ห้องประชุมศากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกับสันนิบาตเทศบาลจังหวัด และองค์กรภาคธุรกิจภายในจังหวัด จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น "รวมพลังผลักดันรถไฟต้องผ่านเพชรบูรณ์" โดยมีชาวเพชรบูรณ์ จำนวนราว 1,000 คน เข้าร่วมเวทีดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีตัวแทน ร.ฟ.ท. รวมทั้งตัวแทนบริษัทที่ปรึกษาเข้าร่วมรับฟังพร้อมเก็บข้อมูล ถึงเหตุผลทำไมชาวเพชรบูรณ์จึงต้องการเส้นทางรถไฟผ่านจังหวัด

โดย นายบัณฑิตต์ เทวีทิวารักษ์ ผวจ.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า เหตุผลที่มีเวทีวันนี้เกิดขึ้นไม่เพียง เพราะต้องการแสดงความคิดเห็น และให้ข้อมูลอย่างครบถ้วนเท่านั้น แต่ยังต้องการแสดงให้เห็นว่าชาวเพชรบูรณ์ต้องการเส้นทางรถไฟสายนี้จริงๆ และมีความพยายามขอความเห็นใจจากส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง ร.ฟ.ท.

อย่างไรก็ตาม ในเวทีดังกล่าวชาวเพชรบูรณ์ ต่างผลัดเปลี่ยนกัน แสดงเหตุผลสนับสนุนการให้มีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟผ่านจังหวัด ท่ามกลางเสียงตบมือ พร้อมมีการโบกธง และส่งเสียงร้อง “ปู๊นๆ”ของประชาชนที่เข้าร่วมเวทีเป็นระยะๆ

//------------------

เพชรบูรณ์ร้องรัฐขอรถไฟ
บ้านเมือง
วันพุธ ที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2558, 05.53 น.

นายเสกสรร นิยมเพ็ง นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์และประธานสันนิบาตเทศบาลจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า แนวคิดที่จะสร้างทางรถไฟมาที่จังหวัดเพชรบูรณ์ครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ.2487 หรือกว่า 71 ปีผ่านมา และมีแนวคิดอีก 4 ครั้งหลังจากนั้น แต่ทุกครั้งด้วยเหตุผลไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนทั้งจำนวนผู้โดยสาร จำนวนสินค้าที่ใช้ขนส่ง ค่าใช้จ่ายในการลงทุน คือเหตุผลที่ทำให้การก่อสร้างรถไฟไม่สามารถมาที่จังหวัดเพชรบูรณ์ได้ แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 และอาจกล่าวได้ว่าเป็นครั้งที่ใกล้เคียงที่สุดที่รัฐบาลหรือการรถไฟน่าจะอนุมัติการก่อสร้างรถไฟสายเพชรบูรณ์


ทั้งนี้หากนับจำนวนผู้โดยสารเพชรบูรณ์มีประชากรประมาณ 9.9 แสนคน มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยในปี 2556 มีนักท่องเที่ยวกว่า 1.7 ล้านคน ปี 2557 ที่ผ่านมามีมากกว่า 2 ล้านคน ส่วนในปีนี้น่าจะมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 2.5 ล้านคน


นายเสกสรร ได้เปิดเผยต่อไปว่า หากนับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทางรถไฟ สิ่งหนึ่งที่เพชรบูรณ์เสนอให้บริษัทที่ปรึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้คือ หากปรับเปลี่ยนการก่อสร้างทางรถไฟสายเพชรบูรณ์จากด้านตะวันออกของถนนสาย 21 ที่ทางบริษัทที่ปรึกษาแจ้งกับทางรถไฟไปเป็นก่อสร้างฝั่งทิศตะวันตกแทน จะทำให้ค่าการเวนคืนที่ดินจะถูกลงไปอย่างมหาศาล เนื่องจากที่ดินฝั่งตะวันตก เป็นที่ดินป่าเสื่อมโทรมและที่ดินทำกินของชาวไร่ ชาวนาเป็นส่วนมาก อีกทั้งจะทำให้สายรถไฟสายนี้เป็นสายรถไฟท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากจะติดเขาฝั่งหนึ่งและอีกฝั่งหนึ่งเป็นทุ่งนาหรือสวน และฝั่งตะวันตกห่างจากตัวเมืองเพียง 8 กม. เป็นการสร้างชุมชนและสามารถสร้างรายได้และอาชีพให้กับผู้ที่อยู่ใกล้สถานีอีกเป็นจำนวนมาก


อนึ่งเนื่องด้วยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบในการสร้างแนวทางรถไฟทางคู่เชื่อมโยงภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแผนงานการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง 2 แนวเส้นทางคือ เส้นทางรถไฟระหว่างสายจัตุรัส-ชัยภูมิ-หนองบัวลำภู กับเส้นทางลำนารายณ์-เพชรบูรณ์-เลย-หนองบัวลำภู โดยในขณะนี้การทางรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้มีการศึกษาความเหมาะสมและคัดเลือกแนวเส้นทางของทั้ง 2 จังหวัดในเบื้องต้นไปแล้ว จังหวัดเพชรบูรณ์จึงขอต่อสู้ด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริงในการคัดเลือกเส้นทางรถไฟในครั้งนี้


Last edited by Wisarut on 02/04/2015 1:53 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2015 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

ส้มหล่น! ญี่ปุ่นขอลงทุนรถไฟทางคู่ 2 เส้นทาง เร่งเซ็น MOU
โดย ไทยรัฐออนไลน์
1 เมษายน พ.ศ.2558 เวลา 03:20


ญี่ปุ่นได้ทางคู่ 2 เส้นทาง กทม.-เชียงใหม่และ กาญจนบุรี-แหลมฉบัง “ประจิน” รอ"บิ๊กตู่"เคาะ เหตุคาดเคยให้เลือกลงทุน 1 เส้นทาง วางแผนลงนาม MOU ร่วม พ.ค.นี้ เดินหน้าสำรวจ ออกแบบ 8-12 เดือนก่อสร้างเสร็จใน 4 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือกับ Mr.Hiroshi Muto รองปลัดกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) ได้ข้อสรุปชัดเจนว่า ทางญี่ปุ่นมีความสนใจ ที่จะเข้ามาดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน 1.435 เมตร จำนวน 2 เส้นทาง คือ กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-แหลมฉบัง เพราะเชื่อมโยงกับโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย และ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่

ส่วนเส้นทาง ตาก-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร จะเข้าร่วมช่วยในการศึกษา คาดว่า จะสามารถลงนามในเอ็มโอยู เพื่อร่วมมือในการพัฒนาทางรถไฟไทย-ญี่ปุ่นได้ภายใน พ.ค.นี้ และเริ่มก่อสร้างภายในปี 2559 "ทางญี่ปุ่นเขามีเจตนาอย่างจริงจัง ที่จะดำเนินการทั้ง 2 เส้นทางนั้น มีความเป็นไปได้ที่จะให้ทำ 2 เส้น แต่ขอรอคำตอบสุดท้ายจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีก่อน" พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

ทั้งนี้ ในการหารือครั้งแรกปรากฏว่าทางฝ่ายญี่ปุ่นมีการจัดทำร่างข้อตกลงเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณานั้น ได้มอบหมายให้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม สำนักนโยบายแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นำไปพิจารณาและเสนอให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาก่อน และส่งกลับไปประเทศญี่ปุ่นพิจารณาภายในกลางเดือน เม.ย.นี้ เพื่อให้ทันช่วงที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคมจะเดินทางไปญี่ปุ่นช่วงวันที่ 23 – 27 เม.ย.นี้ จากนั้นจะเสนอขออนุมัติจาก ครม.ภายในปลายเดือน เม.ย.นี้ เพื่อให้สามารถลงนามเอ็มโอยูได้ทันภายใน เดือน พ.ค.นี้

นอกจากนี้ พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ทางญี่ปุ่นจะส่งทีมเข้ามาทำการสำรวจ 2 – 3 ทีม เพื่อประกอบการจัดทำเอ็มโอยู และคาดว่า จะมีความร่วมมืออย่างเป็นทางการได้ตั้งแต่ พ.ค. 58 นี้เป็นต้นไป ส่วนความพร้อมในการพัฒนาบุคลากร ทาง สนข. และ รฟท. จะจัดเตรียมบุคคลกรเพื่อแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมคู่ขนานร่วมกัน พัฒนาระบบรางในโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น.

//-------------------------

รถไฟไทย-ญี่ปุ่นประเดิม2เส้นทาง ลงทุนไฮสปีดเทรนควบทางคู่"เชียงใหม่-กาญจน์"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
2 เมษายน พ.ศ.2558 เวลา 11:45:53 น.


คมนาคม เผย พ.ค.นี้เตรียมลงนาม MOU รถไฟไทย-ญี่ปุ่น 2 เส้นทาง "กาญจน์-แหลมฉบัง" เป็นทางคู่ราง 1 เมตร เน้นขนสินค้าเชื่อม 2 ท่าเรือระหว่างทวาย-แหลมฉบัง กับ "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" เป็นไฮสปีดเทรน เน้นขนผู้โดยสาร

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงเมื่อ 30 มี.ค.58พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้พูดถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาระบบรางร่วมกับรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งทั้ง 2 รัฐบาลได้ร่วมลงนามบันทึกเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือ หรือ MOI เมื่อ 9 ก.พ.ที่ผ่านมาโดย พล.อ.ประยุทธ์ระบุว่า ทางญี่ปุ่นแสดงความสนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ แต่ยังไม่ระบุจะเป็นการปรับปรุงระบบเส้นทางรถไฟเดิมขนาดทาง 1 เมตร สร้างเส้นทางใหม่มาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็ว 180 กม./ชม.เหมือนกับรถไฟไทย-จีน หรือระบบรถไฟความเร็วสูง ความเร็ว 250 กม./ชม.ขึ้นไป

ก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยได้เสนอเส้นทางรถไฟ 3 เส้นทางให้ญี่ปุ่นเลือกศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบรายละเอียดโครงการ ได้แก่
1.แม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร 718 กม.
2.กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ 574 กม. และ
3.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 715 กม.

"เดิมต้องการให้ญี่ปุ่นศึกษาเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวัน ออก-ตะวันตกด้านล่าง คือ กาญจนบุรี-กรุเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ เพื่อเชื่อมการขนส่งสินค้าทางรถไฟโยงทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวายที่รัฐบาลไทยกับเมียนมาร์ร่วมกันพัฒนากับท่าเรือ แหลมฉบัง และจะเชื่อมการค้า 4 ประเทศผ่านทวาย มาไทย เข้ากัมพูชา ไปที่โฮจิมินห์ เวียดนาม"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้มีศักยภาพในการเปิดประตูการค้าฝั่งตะวันตกของภูมิภาค เพื่อสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน กับตลาดตะวันตก เช่น เอเชียใต้ แอฟริกา และยุโรป โดยเป็นเส้นทางลัดโลจิสติกส์เส้นทางใหม่ของภูมิภาค ไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังหารือร่วมกับญี่ปุ่นเมื่อ 31มี.ค.ที่ผ่านมา ทางญี่ปุ่นแสดงความสนใจอย่างจริงจังร่วมพัฒนารถไฟ 2เส้นทาง คือกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ 574 กม. เป็นทางคู่ราง 1 เมตร เน้นขนส่งสินค้าเป็นหลักเพราะเชื่อม 2 ท่าเรือคือทวายกับแหลมฉบัง

อีก ส้นคือกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 679 กม.เป็นไฮสปีดเทรนรางมาตรฐาน 1.435 เมตรเน้นขนผู้โดยสารเป็นหลัก ส่วนสายแม่สอด-มุกดาหาร จะให้ความร่วมมือศึกษาให้อย่างเดียว

หลังจากนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐรมช.คมนาคม มีประชุมหารือร่วมกับญี่ปุ่นระหว่าง 23-27 เม.ย.นี้ คาดว่าจะลงนาม MOU ได้ในเดือนพฤษภาคมนี้

ก่อนหน้านี้ พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่าความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่นจะเป็นรูปแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี เหมือนรถไฟไทย-จีน โดยญี่ปุ่นเป็นผู้หาแหล่งเงินทุนจัดหาระบบและถ่ายทอดเทคโนโลยี

ส่วน การลงทุนเบื้องต้นมี 2 รูปแบบ คือ
1.กู้ยืมจากองค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) อัตราดอกเบี้ยพิเศษเฉลี่ย 1.5%
2.ใช้เงินกองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลญี่ปุ่นจัดตั้งขึ้นเพื่อให้เอกชน ญี่ปุ่นกู้ยืมไปลงทุนงานโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
//-------------
ญี่ปุ่นกวาดเรียบรฟ.ทางคู่ 2เส้น กทม.-เชียงใหม่และกาญจน์-แหลมฉบัง
ข่าวสดรายวัน
ปีที่ 24 ฉบับที่ 8891
วันที่ 02 เมษายน พ.ศ. 2558




คมนาคมเผยได้ข้อสรุปญี่ปุ่นขอพัฒนารฟ.ทางคู่รางมาตรฐาน 2 เส้น ทั้งกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกาญจนบุรีแหลมฉบัง เตรียมเสนอนายกฯ พิจารณา และลงนาม เอ็มโอยูภายในเดือนพ.ค.นี้ คาดเริ่มก่อสร้างปีหน้า พร้อมให้รฟท.เตรียมบุคลากรแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมคู่ขนานร่วมกันพัฒนาระบบราง ในโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น



พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวภายหลังการหารือกับนายฮิโรชิ มูโต รองปลัดกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) ว่าได้ข้อสรุปชัดเจนว่าทางญี่ปุ่นมีความสนใจอย่างจริงจังที่จะเข้ามาดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน 1.435 เมตร จำนวน 2 เส้นทางคือ กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-แหลมฉบัง เพราะเชื่อมโยงกับโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย และกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่



ส่วนเส้นทาง จ.ตาก-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร จะเข้าร่วมช่วยในการศึกษา คาดว่าจะสามารถลงนามในเอ็มโอยูเพื่อร่วมมือในการพัฒนาทางรถไฟไทย-ญี่ปุ่นได้ภายใน พ.ค.นี้ และเริ่มก่อสร้างภายในปี 2559



"ทางญี่ปุ่นเขามีเจตนาอย่างจริงจังที่จะดำเนินการทั้ง 2 เส้นทาง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะให้ทำ 2 เส้น แต่ขอรอคำตอบสุดท้ายจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีก่อน"



รมว.คมนาคมกล่าวอีกว่า ในการหารือครั้งแรกปรากฏทางฝ่ายญี่ปุ่นมีการจัดทำร่างข้อตกลงเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณา ซึ่งได้มอบหมายให้นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม สำนักนโยบายแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นำไปพิจารณาและเสนอให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณา



จากนั้นส่งกลับไปประเทศญี่ปุ่นพิจารณาภายในกลางเดือน เม.ย.นี้ เพื่อให้ทันช่วงที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม จะเดินทางไปญี่ปุ่นช่วงวันที่ 23-27 เม.ย.นี้ จากนั้นจะเสนอขออนุมัติจาก ครม.ภายในปลายเดือนเม.ย. เพื่อให้สามารถลงนามเอ็มโอยูได้ทันภายในพ.ค.นี้



ทางญี่ปุ่นจะส่งทีมเข้ามาสำรวจ 2-3 ทีม เพื่อประกอบการจัดทำเอ็มโอยู และคาดว่าจะมีความร่วมมืออย่างเป็นทางการได้ตั้งแต่พ.ค. 2558 นี้เป็นต้นไป ส่วนความพร้อมในการพัฒนาบุคลากร ทาง สนข. และ รฟท.จะจัดเตรียมบุคลากรเพื่อแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมคู่ขนานร่วมกันพัฒนาระบบรางในโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น



พล.อ.อ.ประจินกล่าวอีกว่า มีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นได้ดำเนินการ 2 เส้นทาง เพราะนายกรัฐมนตรีย้ำว่า สำหรับการพัฒนาเส้นทางรถไฟแนวตะวันออกและตะวันตกหากใครสนใจให้เข้ามาดำเนินการ ดังนั้นเมื่อญี่ปุ่นยืนยันจริงจังที่จะเข้ามาดำเนินการก็มีความเป็นไปได้ที่จะพิจารณา ส่วนเส้นทางที่เหลือจะต้องเปิดให้กับชาติอื่น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2015 3:02 am    Post subject: Reply with quote

ชาวเพชรบูรณ์ร่วมเวทีเสวนานำเสนอข้อมูลให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเรียกร้องสร้างทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์
ผู้สื่อข่าว : ธีระชัย มังกรทอง
Rewriter : จิรภิญา สมลังกา
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์
วันที่ข่าว : 1 เมษายน 2558

การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดเสวนารับฟังความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ตามที่สันนิบาตเทศบาลจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ขอให้มีการจัดขึ้น เพื่อรับฟังข้อมูลจากประชาชนชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ต้องการรถไฟตามที่ได้มีการรณรงค์ "รถไฟต้องมาเพชรบูรณ์" ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีบริษัทเอกชนที่รับศึกษาสำรวจและเจ้าหน้าที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้ารับฟังข้อมูล มีประชาชนจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ต้องการให้รถไฟผ่านเข้าร่วมจนล้นหอประชุม
โดยมีนายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวถึงความต้องการรถไฟของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์และศักยภาพของจังหวัด ผลดีด้านบวกที่จะเกิดขึ้นเมื่อสร้างเส้นทางรถไฟผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ วันนี้ยังมีผู้นำหลายสาขาเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอข้อมูล เช่น ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่กล่าวว่าชาวเพชรบูรณ์รอคอยรถไฟมานานมากแล้วทั้งที่ศักยภาพจังหวัดมีพรั่งพร้อมคุ้มกับการลงทุนทุกด้าน และยังมี ดร.ดิเรก ถึงฝั่ง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นายอัครเดช ทองใจสด นายก อบจ.เพชรบูรณ์ สมาชิกสันนิบาตเทศบาล 25 แห่ง หัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมงาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2015 3:50 pm    Post subject: Reply with quote

อดีต ผวจ.เพชรบูรณ์”แนะสร้างรางรถไฟผ่าน 2 จังหวัด
ข่าวภูมิภาค
INN News
วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ.2558 19:14น.

“อดีต ผวจ.เพชรบูรณ์”แนะ ร.ฟ.ท. ให้สร้างเส้นทางรถไฟให้ทั้งสองจังหวัด และให้เลิกคิดเรื่องกำไรขาดทุน

ในการเปิดเวทีรับฟังความเห็นที่ จ.เพชรบูรณ์ เรื่อง “รวมพลังร่วมผลักดันรถไฟต้องมาเพชรบูรณ์” ซึ่งทางจังหวัดและสันนิบาตเทศบาลจังหวัด รวมทั้งองค์กรภาคธุรกิจร่วมกันจัดขึ้น พร้อมเชิญตัวแทน ร.ฟ.ท. และบริษัทที่ปรึกษาโครงการเข้าร่วมรับฟังและเก็บขึ้น โดย นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีต ผวจ.เพชรบูรณ์ กล่าวระหว่างเข้าร่วมเวทีดังกล่าวว่า สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ ก็เสนอให้ตัดทางรถไฟคู่ขนานไปกับเส้นทางเศรษฐกิจอาเซียนผ่านกลุ่มจังหวัดและเส้นทางลำนารายณ์ ถึงหล่มสัก วันนี้ทั้งชาวชัยภูมิและชาวเพชรบูรณ์ ต่างก็ต้องการรถไฟ จึงอยากเห็นแนวคิดที่เป็นภาพรวมที่จะทำให้เพชรบูรณ์ และชัยภูมิ มีรถไฟผ่าน จึงจะเป็นแนวคิดที่พัฒนาประเทศไทย

นายดิเรก กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศกำลังเข้าสู่เขตเศรษฐกิจอาเซียนเป็นช่วงสำคัญ ที่จะต้องสร้างเสริมศักยภาพเรื่องรถไฟซึ่งโดยรถไฟไทยขาดการพัฒนามากว่า 100 ปีแล้ว จึงอยากให้คิดรอบคอบไม่ใช่รักษาไว้อย่างเดิมและรอให้หมดไป หรือให้รถไฟตกรางไปเรื่อยๆ อยากให้เลิกคิดเรื่องกำไรขาดทุน เพราะรถไฟเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมจึงขาดทุนมาตลอดอยู่แล้ว

//--------------------

หนุนสร้างรถไฟสายเพชรบูรณ์
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 2 เมษายน 2558 เวลา 19:38 น.

คนเพชรบูรณ์หนุนทำรถไฟลำนารายณ์-เพชรบูรณ์ เชื่อผู้แทน รฟท.-ที่ปรึกษา ได้ข้อมูลครบถ้วน เล็งเชิญเสาวนาอีกรอบก่อนสรุปผล


นายเสกสรร นิยมเพ็ง นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ เปิดเผยถึงการจัดเวทีเสวนา “รวมพลังร่วมผลักดันรถไฟต้องมาเพชรบูรณ์” ที่จัดขึ้น เมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ว่า มีประชาชนชาวเมืองเพชรบูรณ์สนใจเข้าร่วมนับฟังจำนวนมาก โดยทางจังหวัดได้นำเสนอข้อมูล พร้อมกับยื่นหนังสือเปิดผนึกที่ลงนามโดย 5 องค์กรของ จ.เพชรบูรณ์ ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สันนิบาตเทศบาลจังหวัด หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และสภาวัฒนธรรมจังหวัด เพื่อยืนยันถึงเหตุผล และความจำเป็นของเส้นทางรถไฟลำนารายณ์-เพชรบูรณ์ ให้แก่ตัวแทนของ รฟท.ด้วย จึงเชื่อว่า ภายหลังเวทีนี้ ภาครัฐจะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน ก่อนตัดสินใจในขั้นสุดท้าย

นายเสกสรร กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้ทาง จ.เพชรบูรณ์ ก็ยังจะจัดกิจกรรมขับเคลื่อนเพื่อรณรงรงค์ให้ภาครัฐเลือกก่อสร้างทางรถไฟลำนารายณ์-เพชรบูรณ์อย่างต่อเนื่อง อาทิ การปั่นจักรยานเส้นทางลำนารายณ์-เพชรบูรณ์ ในวันที่ 4 เม.ย.นี้ ซึ่งมีผู้ตอบรับเข้าร่วมมากกว่า 200 รายแล้ว จากที่เปิดรับเพียง 50 ราย และจะสอดแทรกวาระการผลักดันรถไฟในเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ ก่อนที่ในช่วงปลายเดือน เม.ย. จะเชิญทาง รฟท.และบริษัทที่ปรึกษา มาร่วมการเสวนาโต๊ะกลมที่ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลถูกต้องตรงกันหรือไม่ ก่อนที่จะมีการสรุปผลการศึกษาการก่อสร้างรถไฟสายใหม่

“ผู้แทนของ รฟท.ยังยอมรับว่า เส้นทางลำนารายณ์-เพชรบูรณ์ เหมาะสมต่อการสร้างทางรถไฟ เนื่องจากส่วนมากเป็นทางตรง และยังมีทิวทัศน์เลียบชายเขาที่งดงาม หากมีการก่อสร้างจริง ก็เชื่อว่าจะเป็นทางรถไฟที่สวยงามไม่แพ้ประเทศสวิสเซอร์แลนด์”

//---------------------
อึ้ง! พลังชาวเพชรบูรณ์ต้องการรถไฟ
ข่าวภูมิภาค
INN News
วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ.2558 10:36น.

ตัวแทน ร.ฟ.ท. อึ้ง! พลังชาวเพชรบูรณ์เรียกร้องเส้นทางรถไฟ ยาหอมจะศึกษาช่วงลำนารายณ์-เพชรบูรณ์เสนอเป็นทางเลือก

นายดุษฎี อภัยสุวรรณ ผู้จัดการโครงการและวิศวกรอาวุโส กล่าวบนเวทีรับฟังความคิดเห็นรวมพลังร่วมผลักดันรถไฟต้องมาเพชรบูรณ์ว่า ได้รับโจทย์จากทางการรถไฟให้ศึกษาเส้นทางรถไฟสองเส้นทางนี้ จึงต้องศึกษาตามหลักวิชาการของวิศวกรรมตามเส้นทางที่ถูกกำหนดมาให้ หากจะเทียบกันตลอดสายตั้งแต่ ลำนารายณ์ เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู ช่วงผ่านเพชรบูรณ์ไปไม่มีผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ แต่อีกสายกับมีผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ตลอดสายจึงเทียบกันยาก ทางทีมงานคิดว่าจะทำเคสนี้เสนออีกสักเคสเพื่อให้ชาวเพชรบูรณ์ได้มีโอกาส

นายดุษฎี กล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วชอบเส้นทางสายเพชรบูรณ์ เพราะจะสวยเหมือนสวิตเซอร์แลนด์ ยิ่งเมื่อมีการรับฟังความคิดเห็นครั้งแรกกระทั่งมาถึงวันนี้รู้สึกว่าชาวเพชรบูรณ์ต้องการรถไฟมาก รู้สึกอินเพรสมากไม่เคยเห็นแบบนี้มาก่อน ก็เลยมาปรึกษาทีมงานกันว่าควรจะศึกษาช่วงสั้น ๆ ให้เพชรบูรณ์บ้าง อย่างเช่นลำนารายณ์มาเพชรบูรณ์เป็นอีกกรณีหนึ่ง เพื่อให้ทางการรถไฟเห็นว่านี่เป็นสิ่งที่ชาวเพชรบูรณ์ต้องการและให้การรถไฟไปพิจารณาอีกครั้ง

//----------------
เรื่อง : การเสวนารวมพลัง ร่วมผลัดดัน รถไฟต้องมาเพชรบูรณ์ ณ ห้องประชุมศรีเทพ ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์
ผู้เข้าชม : 20
วันที่ : วันพฤหัสบดี 2 เมษายน 2558
ประเภทข่าว

การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดเสวนารับฟังความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟผ่าน จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามที่สันนิบาตเทศบาลจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ขอให้มีการจัดขึ้น เพื่อรับฟังข้อมูลจากประชาชนชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ต้องการรถไฟตามที่ได้มีการรณรงค์ "รถไฟต้องมาเพชรบูรณ์" ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีบริษัทเอกชนที่รับศึกษาสำรวจและเจ้าหน้าที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้ารับฟังข้อมูล มีประชาชนจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ต้องการให้รถไฟผ่านเข้าร่วมจนล้นหอประชุม โดยมีนายบัณฑิตย์ เทวี ทิวารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวถึงความต้องการรถไฟของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์และศักยภาพของจังหวัด ผลดีด้านบวกที่จะเกิดขึ้นเมื่อสร้างเส้นทางรถไฟผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ วันนี้ยังมีผู้นำหลายสาขาเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอข้อมูล เช่น ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่กล่าวว่าชาวเพชรบูรณ์รอคอยรถไฟมานานมากแล้วทั้งที่ศักยภาพจังหวัดมีพรั่ง พร้อมคุ้มกับการลงทุนทุกด้าน และยังมี ดร.ดิเรก ถึงฝั่ง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นายอัครเดช ทองใจสด นายก อบจ.เพชรบูรณ์ สมาชิกสันนิบาตเทศบาล 25 แห่ง หัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมงาน


Last edited by Wisarut on 07/04/2015 6:36 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 07/04/2015 4:39 pm    Post subject: Reply with quote

ปั่นจักรยานแสดงพลัง ขอรถไฟผ่านเพชรบูรณ์
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 04 เมษายน 2558, 16:45
ผู้นำชุมชนหนุนกิจกรรมปั่นจักรยานแสดงพลัง ขอรถไฟผ่านเพชรบูรณ์
ผู้สื่อข่าวรายงาน ประชาชนในจ.เพชรบูรณ์ ได้ร่วมกันแสดงพลังเรียกร้องขอเส้นทางรถไฟผ่านจังหวัดอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของนักปั่นจักรยานจากชมรมต่างๆใน จ.เพชรบูรณ์ และยังมีทีมนักปั่นจาก อ.ลำนารายณ์ จ.ลพบุรี รวม 250 คน ได้เข้าร่วมรายการ "ปั่นรวมใจรวมพลังร่วมผลักดันรถไฟต้องมาเพชรบูรณ์"
โดยได้เริ่มออกสตาร์ทจากสถานีรถไฟลำนารายณ์ ตั้งแต่ช่วงเช้าตรูของวันนี้ โดยปลายทาง อยู่ที่บริเวณพุทธอุทยานเพชบุระ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ รวมระยะทาง 151 กิโลเมตร กิจกรรมดังกล่าว เพื่อเรียกร้องให้ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยและกระทรวงคมนาคม สนับสนุนให้มีเส้นทางทางรถไฟผ่านจ.เพชรบูรณ์ สำหรับกิจกรรมดังกล่าว ได้มีผู้บริหารเทศบาลนำกลุ่มมวลชนมาให้การสนับสนุน ด้วย


//---------------
เรื่อง : นักปั่นจอมพลัง ปั่นลากรถไฟ จากสถานีรถไฟลำนารายณ์ มา เพชรบูรณ์
วันที่ : 7 เมษายน พ.ศ. 2558
ประเภทข่าว

นักปั่นจอมพลัง ปั่นลากรถไฟ จากสถานีรถไฟลำนารายณ์ มา เพชรบูรณ์ เกือบ 300 ชีวิต ปั่นรวมระยะทางกว่า 160 กม. ถึงที่หมายอย่างปลอดภัยครับ.. ขอขอบคุณ ชมรมเวสป้าเพชรบูรณ์ ที่ร่วมบิดลากรถไฟมาเพชรบูรณ์ร่วมกับนักปั่นอีกแรงครับ.. และขอบคุณผู้ร่วมเดินทาง เทศบาลทุกเทศบาลที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ และ ทุกๆท่านที่ดูแลความสะดวกและความปลอดภัยให้แก่นักปั่นในครั้งนี้ครับ ขอบคุณครับ.. ‪#‎รถไฟต้องมาเพชรบูรณ์‬ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เพจ รถไฟต้องมาเพชรบูรณ์
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152363505032168&set=a.10151452353632168.1073741848.613647167&type=1

//-----------------

′เพชรบูรณ์′ร้องรบ.ขอเส้นทางรถไฟ ชี้ช่วยเชื่อมต่อไปยังลาว เวียดนาม จีนได้
มติชน
วันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 21:36:00 น.

เมื่อวันที่ 5 เมษายน นายเสกสรร นิยมเพ็ง นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์และประธานสันนิบาตเทศบาลจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผยถึงกรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีมติเห็นชอบในการสร้างแนวทางรถไฟทางคู่เชื่อมโยงภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแผนงานการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง 2 แนวเส้นทาง คือ เส้นทางรถไฟระหว่างสายจัตุรัส-ชัยภูมิ-หนองบัวลำภู กับเส้นทางลำนารายณ์-เพชรบูรณ์-เลย-หนองบัวลำภู ขณะนี้ทาง รฟท.อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและคัดเลือกแนวเส้นทางว่า แนวคิดจะสร้างทางรถไฟมาที่ จ.เพชรบูรณ์ ครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ.2487 หรือกว่า 71 ปีผ่านมา และมีแนวคิดอีก 4 ครั้งหลังจากนั้น แต่ทุกครั้งด้วยเหตุผลไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนทั้งจำนวนผู้โดยสาร จำนวนสินค้าใช้ขนส่ง ค่าใช้จ่ายในการลงทุน ทำให้การก่อสร้างรถไฟไม่สามารถมาที่ จ.เพชรบูรณ์ ได้ แต่ปัจจุบันสถานการณ์ของ จ.เพชรบูรณ์ ได้เปลี่ยนไปแล้ว ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 อาจกล่าวได้ว่าเป็นครั้งที่ใกล้เคียงที่สุดรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) น่าจะอนุมัติการก่อสร้างรถไฟ เพชรบูรณ์มีประชากรประมาณ 9.9 แสนคน มีนักท่องเที่ยวปี 2557 ที่ผ่านมา มีมากกว่า 2 ล้านคน ปีนี้น่าจะมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 2.5 ล้านคน

นายกษิต โฆษิตานนท์ ประธานสภาหอการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า หากการรถไฟแห่งประเทศไทยเลือกเส้นทางนี้เชื่อว่าจะคุ้มค่ากับการลงทุน เพราะจะสามารถลดต้นทุนในการขนส่งได้อย่างดียิ่ง เนื่องจากการขนส่งสินค้าระหว่างภาคเหนือกับภาคอีสานสามารถเชื่อมต่อโดยตรงถึงกันได้ เส้นทางที่สะดวกที่สุดคือผ่านเพชรบูรณ์ อนาคตจะสามารถเชื่อมต่อไปยังถนนสายมะละแหม่ง-ดานัง (AH16 ) เชื่อมต่อไปยังประเทศลาวผ่านทาง อ.ท่าลี่ เข้าไปสู่แขวงไชยบุรีและประเทศจีน ปัจจุบันก็มีเส้นทางคมนาคมอยู่แล้ว ทำให้สามารถขนส่งสินค้าไปขายในที่ดังกล่าวได้อีกเป็นจำนวนมาก
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152361956742168&set=a.10152307893382168.1073741869.613647167&type=1


Last edited by Wisarut on 07/04/2015 6:38 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 07/04/2015 6:34 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดประชุมปรึกษาผู้นำทางความคิด ศึกษาความเหมาะสม ก่อสร้างทางรถไฟรางคู่
อบจ. ชัยภูมิ

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.30 น. ณ หอประชุมอำเภอจัตุรัส อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ นายมนตรี ชาลีเครือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พร้อมสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ เขตอำเภอจัตุรัส ร่วมประชุม การประชุมปรึกษาสาธารณะ(ประชุมกลุ่มผู้นำทางความคิด) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างทางรถไฟสาย อำเภอจัตุรัส - ชัยภูมิ - เลย - หนองบัวลำภู

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคม รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จึงมีแผนพัฒนาระบบขนส่งระบบราง โดยการขยายเส้นทางไปยังภูมิภาคต่างๆที่ยังไม่ได้มีเส้นทางรถไฟเปิดให้บริการ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่าง โดยเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบในแผนงานการพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง เพื่อสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ และความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง รฟท.จึงได้จัดการออกแบบเส้นทางรถไฟสายใหม่ขึ้นจำนวน 2 เส้นทางเพื่อเลือกหาความเหมาะสมและก่อสร้างเพียง 1 เส้นทาง วันนี้จึงได้จัดให้มีการประชุมปรึกษาหาความเหมาะสมของเส้นทางขึ้น ซึ่งการจัดประชุมในครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงความเหมาะสมและสำรวจออกแบบเบื้องต้นในทางเลือก เส้นทางรถไฟสายใหม่ ระหว่าง สายจัตุรัส - ชัยภูมิ - เลย - หนองบัวลำภู หรือ ลำนารายณ์ - เพชรบูรณ์ - เลย - หนองบัวลำภู ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดย นายมนตรี ชาลีเครือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ จึงได้ยื่นหนังสือให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย ในนามนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พร้อมสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ เพื่อ สนับสนุนการก่อสร้างทางรถไฟ เส้นทางสาย อำเภอจัตุรัส - ชัยภูมิ - เลย - หนองบัวลำภู

//-----------------

"เพชรบูรณ์-ชัยภูมิ" ชิงดำรถไฟสายใหม่
ข่าวค่ำ ตรงประเด็นข่าวค่ำ
Now TV
วันที่ 04 เมษายน 2558

//-----------------
ร่วมผลักดันให้จังหวัด "เพชรบูรณ์ " มีรถไฟ เพื่อความเสมอภาค! เพื่อการท่องเที่ยว! และเพื่อเชื่อมรถไฟสายเหนือกับสายอีสาน!
https://www.change.org/p/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F-%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD?recruiter=67606978&utm_source=share_petition&utm_medium=facebook&utm_campaign=share_facebook_responsive&utm_term=des-lg-no_src-no_msg

อยากให้รถไฟความไวสูงจอดที่ ตะพานหินเพื่อต่อไปที่เพชรบูรณ์
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99/170119599817003
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 07/04/2015 9:17 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.อัดงบ308ล.เดินหน้ารถไฟไทย-จีน ด้านญี่ปุ่นสนไฮสปีดกรุงเทพ-เชียงใหม่


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 เมษายน 2558 18:53 น.

ครม.เห็นชอบ MOC พัฒนารถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคาย- แก่งคอย- มาบตาพุด และอนุมัติงบ 308 ล.ให้คมนาคมและร.ฟ.ท.เป็นก้อนแรก ในการลงพื้นที่สำรวจออกแบบและจ้างที่ปรึกษา “ประจิน”เผย สรุปรูปแบบเดินรถและซ่อมบำรุงใน พ.ค.นี้ ส่วนความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น สนใจลงทุนรถไฟ 2 สาย ไฮสปีด กรุงเทพ-เชียงใหม่และทางคู่กาญจนบุรี-แหลมฉบัง ”นายกฯ”รับทราบเดินหน้าเจรจา

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (7 เม.ย.) ว่า กระทรวงคมนาคมได้รายงานความก้าวหน้า ของความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน (Standard Gauge) ขนาด 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง 873 กม.ในส่วนของผลการประชุมครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 10-11 มี.ค. 2558 พร้อมขอความเห็นชอบร่างความร่วมมือเพื่อการทำงานร่วมกัน (Memorandum of Cooperation : MOC) และงบประมาณในช่วงแรกจำนวน 308 ล้านบาท แบ่งเป็น สำนักงานปลัดคมนาคมจำนวน 57.489 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าดำเนินงาน ปรับปรุงสำนักงาน งบประชุม และงบลงพื้นที่ และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จำนวน 251.095 ล้านบาท

สำหรับเป็นค่าจ้างที่ปรึกษาสำรวจเพื่อการเวนคืน ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ค่าใช้จ่ายในการร่วมปฎิบัติงานสำรวจพื้นที่กับฝ่ายจีน ส่วนงบประมาณในการดำเนินงานขั้นต่อไปจะเร่งสรุปและเสนอครม.เห็นชอบต่อไป ซึ่งที่ประชุมครม.ได้ให้ข้อเสนอแนะหลายเรื่อง เช่น เร่งรัดในการเวนคืนที่ดินเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนมากทั้งการออกพ.ร.ฎ. /พ.ร.บ.เวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้าง

โดยสาระของร่าง MOC ที่ 2 ฝ่ายจะร่วมกันสำรวจและออกแบบ มี 2 ส่วน คือ ไทยจะรับผิดชอบในการสนับสนุนข้อมูล บุคลากร การจัดให้มีเอกสารตามความต้องการและการขอความช่วยเหลือจากกองทัพ เช่นกรมแผนที่ทหารในการบินถ่ายภาพ รวมทั้งติดต่อประสานกระทรวงต่างประเทศในเรื่องวีซ่า กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง ในการนำเครื่องมือเข้ามาสำรวจออกแบบ โดยไทยจะเร่งเดินหน้าในการจ้างที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและที่ปรึกษาประเมินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนการก่อสร้างแบ่งเป็น 4 ตอน

สำหรับฝ่ายไทยจะรับผิดชอบเรื่องเวนคืนที่ดิน การสำรวจผลกระทบส่งแวดล้อม และรับผิดชอบงานก่อสร้างโยธาหลักโดยเปิดโอกาสให้เอกชนไทยเข้าร่วมโครงการ โดยจะเร่งกำหนดแนวทางที่ชัดเจนว่าจะเปิดประมูลหรือสัมปทาน PPP ใน เร็วๆ นี้ ส่วนฝ่ายจีน รับผิดชอบเรื่องการออกแบบ การก่อสร้างอุโมงค์ หรือสะพานในบางพื้นที่ จะให้จีนดำเนินการ รวมถึงระบบราง ระบบอาณัติ สัญญาณ พลังงานไฟฟ้า เครือข่ายด้านสื่อสาร เนื่องจากต้องนำเข้าเทคโนโลยี โดยไทยจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตได้ในประเทศไทยเข้ามาร่วมมากที่สุด ส่วนการเดินรถ และซ่อมบำรุงจะมีการพิจารณาในเดือนพ.ค.นี้

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินโครงการรถไฟไทย-จีนนี้ ได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงต่างๆ ให้การสนับสนุน ได้แก่ กระทรวงกลาโหม สนับสนุนภาพถ่าย แผนที่ดาวเทียม เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล และล่ามภาษาจีนและอังกฤษ ,กระทรวงมหาดไทย สนับสนุนเรื่องการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน การมีส่วนร่วมของประชาชนการประชาสัมพันธ์ระดับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ,กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ สนับสนุนการเตรียมบุคลากรเพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ,กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเรื่อง การพิจารณารายงาน EIA และการขอใช้พื้นที่ ,กระทรวงการคลังจะพิจารณาเรื่องรูปแบบการลงทุน การเงิน แหล่งเงินทุน การยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ,กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร ประสานงานกับกสทช.ในเรื่องคลื่นความถี่ที่จะใช้ในระบบควบคุมการเดินรถ,กระทรวงการต่างประเทศ จะประสานข้อมูลด้านต่างๆ ด้านการทูต สำนักงบประมาณ ประสานเรื่องการใช้งบประมาณต่างๆ

ส่วนความคืบหน้าความร่วมมือในการพัฒนาระบบราง ระหว่าง ไทย – ญี่ปุ่นนั้น ทางนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคมได้รายงานต่อนายกรัฐมนตรีให้รับทราบถึงกรณีที่ทางญี่ปุ่นสนใจที่จะเข้ามาร่วมพัฒนารถไฟ 2 เส้นทาง คือ 1. กาญจนบุรี-แหลมฉบัง ระยะทาง 574 กม. แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี ระยะทาง 180 กม. กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ระยะทาง 255 กม.และ กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ระยะทาง 139 กม.และ 2.กรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 680 กม. ซึ่งญี่ปุ่นเสนอเป็นรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) โดยจะมีความชัดเจนหลังจากที่ทางรมช.คมนาคมเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงหลังสงกรานต์เพื่อเจรจาในรายละเอียด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 38, 39, 40 ... 121, 122, 123  Next
Page 39 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©