Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181640
ทั้งหมด:13492878
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 41, 42, 43 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 19/05/2015 12:02 pm    Post subject: Reply with quote


ไทยรัฐทีวีนรายงานความกล้าวหน้ารถไฟ ไทย - จีน - คราวนี้ให้ทำส่วน บางซื่อไป โคราชซะก่อน เพราะ ทางรถไฟสาย ลาว - จีน และ แก่งคอย - มาบตาพุด ยังไม่พร้อม แต่ส่วน บางซื่อไป โคราชนั้นศึกษาไว้แล้ว - ได้เดินรถโดยสารเอารายได้จากคนไทยไปก่อน ก็ได้ ถ้าต่อไปหนองคายก็ได้รายได้จากบรรดา เขยฝรั่งที่ ต่อวีซาที่สถานทูตไทย ณ กรุงเวียงจัน ด้วย
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=KeQE_PNlA_k
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/05/2015 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ไฟเขียวเอ็มโอยูรถไฟไทย-ญี่ปุ่น
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 26 พ.ค. 2558 เวลา 17:10:01 น.

พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอร่างบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น โดยมอบหมายให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยสำหรับการลงนามดังกล่าว

สำหรับร่างบันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทยและกระทรวงที่ดินฯ ของญี่ปุ่น มีสาระสำคัญ ดังนี้

1.ความร่วมมือในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในเส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ โดยทั้งสองฝ่ายยืนยันความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์รถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นที่ได้รับการรับรองด้านมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก และจะร่วมกันพิจารณารูปแบบการลงทุนและความช่วยเหลือด้านการเงินที่เหมาะสม เพื่อให้ความร่วมมือระยะแรกของการลงทุนบรรลุผล รวมทั้งจะร่วมกันดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ การออกแบบรายละเอียดและการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการในรูปแบบของการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

2.การพัฒนาระบบรางเส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ โดยทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาและ/หรือปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟในเส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ ตามที่ได้ระบุไว้ในบันทึกแสดงเจตจำนงฯ ที่ได้ลงนาม เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 และให้ความสำคัญในการเร่งดำเนินการเพิ่มขีดความสามารถและการปรับปรุงการให้บริการทางรางในเรื่องต่าง ๆ เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า การปรับปรุงรางและโครงสร้างราง การยกระดับขบวนรถไฟและระบบอาณัติสัญญาณ

ทั้งนี้ กระทรวงที่ดินฯ ร่วมกับ Japan International Cooperation Agency (JICA) จะเริ่มทำการศึกษาความเป็นไปได้และการออกแบบรายละเอียดโดยเร็ว เพื่อหารูปแบบความร่วมมือที่เหมาะสมที่สุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยทั้งสองฝ่ายยินดีให้การสนับสนุนโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สามารถดำเนินการได้ในระยะสั้น การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนการพัฒนาด้านนิติบุคคลเฉพาะกิจสำหรับความร่วมมือระบบราง ไทย – ญี่ปุ่น และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเมื่อได้รับทราบวงเงินโครงการแล้ว นอกจากนี้กระทรวงที่ดินฯ จะพิจารณาทบทวนและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนโครงข่ายเส้นทางรถไฟในภาคตะวันออกที่มีความเหมาะสมด้วย

3. เส้นทางแม่สอด – มุกดาหาร ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะหารือร่วมกันอย่างต่อเนื่องสำหรับความเป็นไปได้ในเส้นทางดังกล่าว ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาแนวเศรษฐกิจด้านตะวันออก – ตะวันตก โดยฝ่ายญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือฝ่ายไทยในการศึกษาความเป็นไปได้ และการศึกษารูปแบบการลงทุนในอนาคต

4. การให้บริการขนส่งสินค้าทางราง ทั้งสองฝ่ายจะศึกษาความเป็นไปได้ในการให้บริการขนส่งสินค้าทางรางนี้ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 และจะเริ่มดำเนินการโครงการนำร่องในต้นปี 2559 เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งสินค้าทางรางในประเทศไทย

5. ระบบการขนส่งมวลชนทางราง ทั้งสองฝ่ายรับทราบความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งจะได้นำระบบเทคโนโลยีของญี่ปุ่นมาใช้ โดยจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีระบบรางของญี่ปุ่นมาใช้ในโครงการขนส่งมวลชนทางรางอื่น ๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

6. โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ – ระยอง ซึ่งกระทรวงคมนาคมรับทราบข้อเสนอของกระทรวงที่ดินฯ ที่จะพิจารณาให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างกระทรวงคมนาคมจัดทำแผนงาน

7. ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ กระทรวงที่ดินฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของญี่ปุ่นจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ อาทิ การฝึกอบรม และการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญในสาขางานโยธา วิศวกรรมเครื่องกล/ไฟฟ้า การสื่อสารโทรคมนาคม ระบบอาณัติสัญญาณ และการควบคุมการดำเนินงาน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับระบบรางที่เหมาะสมเพื่อยกระดับโครงข่ายรางในประเทศไทยและอำนวยความสะดวกในการดำเนินการโครงสร้างดังกล่าว ในการให้ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยและความทนทาน ของระบบรางซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของวัฏจักรระบบราง

8. คณะกรรมการบริหารร่วมระดับรัฐมนตรี การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารร่วมระดับรัฐมนตรีขึ้น เพื่อควบคุมการดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือฉบับนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นจะเป็นประธานร่วม คณะทำงานระบบรางระดับปลัดกระทรวงจะรับผิดชอบการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ที่คณะกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบแล้ว และจะมีการจัดตั้งคณะทำงานย่อยเพื่อให้การดำเนินงานในแต่ละโครงการมีประสิทธิภาพ โครงสร้างคณะกรรมการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย – ญี่ปุ่น

9. กรอบระยะเวลาการดำเนินการ ทั้งสองฝ่ายจะหารือร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปเรื่องกรอบระยะเวลาการดำเนินการความร่วมมือข้างต้น ภายในหนึ่งเดือนหลังการลงนามร่างบันทึกความร่วมมือฉบับนี้ และ

10. การดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือฉบับนี้จะเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทั้งสองประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2015 9:31 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ครม.ไฟเขียวเอ็มโอยูรถไฟไทย-ญี่ปุ่น
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 26 พ.ค. 2558 เวลา 17:10:01 น.


ครม.ไฟเขียวเซ็น MOC ญี่ปุ่นพัฒนารถไฟ2 เส้นทาง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
26 พฤษภาคม 2558 17:33 น.


ครม.เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (MOC) สร้างไฮสปีดกรุงเทพ-เชียงใหม่และปรับปรุงเส้นทางกาญจนบุรี-อรัญฯ “ประจิน”ชี้หลังเซ็ฯ MOC ต้องเร่งตั้งกก.ร่วม 2 ฝ่าย กำหนดรูปแบบร่วมทุน และระยะเวลาทำงานชัดใน 1 เดือน เผยญี่ปุ่นพร้อมหนุนไฮสปีดเส้นทางพัทยาและหัวหิน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 26 พ.ค. มีมติเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือ (MOC: Memorandum of Cooperation) ด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น โดยรมว.คมนาคมจะเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยเดินทางไปลงนามในวันที่ 26-27 พ.ค.นี้ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากลงนามใน MOC แล้วจะเร่งตั้งคณะกรรมการร่วมในระดับรัฐมนตรี 2 ฝ่าย เพื่อเจรจา กำหนดเรื่องของรูปแบบความร่วมมือ รูปแบบการลงทุนและกรอบเวลา ที่ชัดเจนให้ได้ภายใน 1 เดือน หรือในสิ้นเดือนมิ.ย.นี้ โดยเบื้องต้นน่าจะเป็นความร่วมมือแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ส่วนจะเป็น การลงทุนรูปแบบ EPC (Engineering Procurement and Construction) หรือ Public Private Partnership :PPP จะต้องหารือกันต่อไป รวมถึงการจัดทีมงานเข้ามาสำรวจเป็นต้น

ทั้งนี้ ร่าง MOC พัฒนาระบบรถไฟระหว่างไทย-ญี่ปุ่นนั้น มีสาระสำคัญ 10 ข้อ คือ

1. ความร่วมมือในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงในเส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะทาง 715 กม.โดยใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์รถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นที่ได้รับการรับรองด้านมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก และจะร่วมกันพิจารณารูปแบบการลงทุนและความช่วยเหลือด้านการเงินที่เหมาะสม เพื่อให้ความร่วมมือระยะแรกของการลงทุนบรรลุผล รวมทั้งจะร่วมกันดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ การออกแบบรายละเอียดและการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการในรูปแบบของการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

2.การพัฒนาระบบรางเส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ เส้นทางกาญจนบุรี -กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ ระยะทาง 574กม. โดยทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ และให้ความสำคัญในการเร่งดำเนินการเพิ่มขีดความสามารถและการปรับปรุงการให้บริการทางรางในเรื่องต่าง ๆ เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า การปรับปรุงรางและโครงสร้างราง การยกระดับขบวนรถไฟและระบบอาณัติสัญญาณ ทั้งนี้ กระทรวงที่ดินฯ ร่วมกับ Japan International Cooperation Agency (JICA) จะเริ่มทำการศึกษาความเป็นไปได้และการออกแบบรายละเอียดโดยเร็ว เพื่อหารูปแบบความร่วมมือที่เหมาะสมที่สุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยทั้งสองฝ่ายยินดีให้การสนับสนุนโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่สามารถดำเนินการได้ในระยะสั้น การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนการพัฒนาด้านนิติบุคคลเฉพาะกิจสำหรับความร่วมมือระบบราง ไทย – ญี่ปุ่น และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเมื่อได้รับทราบวงเงินโครงการแล้ว นอกจากนี้กระทรวงที่ดินฯ จะพิจารณาทบทวนและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนโครงข่ายเส้นทางรถไฟในภาคตะวันออกที่มีความเหมาะสมด้วย

3. ฝ่ายญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือฝ่ายไทยในการศึกษาความเป็นไปได้ และการศึกษารูปแบบการลงทุนในอนาคต ของเส้นทางแม่สอด – มุกดาหาร (East-West Corridor) ระยะทาง 718 กม.

4. ศึกษาความเป็นไปได้ในการให้บริการขนส่งสินค้าทางราง ให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 และจะเริ่มดำเนินการโครงการนำร่องในต้นปี 2559 เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งสินค้าทางรางของไทย

5. มีความร่วมมือในโครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยไทยขอให้ทางญี่ปุ่นพิจารณางานสัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) ให้อยู่ภายใต้กรอบราคากลาง ที่มีการปรับปรุงใหม่ ที่ 30,500 ล้านบาท เนื่องจากหากเกินกรอบวงเงินจะทำให้ไม่สามารถลงนามในสัญญาได้ โดยขณะนี้ กลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) เสนอราคาอยู่ที่เกือบ 3.3 หมื่นล้านบาทซึ่งจะได้นำระบบเทคโนโลยีของญี่ปุ่นมาใช้

6. ไทยรับทราบข้อเสนอของญี่ปุ่นที่พร้อมให้การสนับสนุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ – ระยอง กรุงเทพ-หัวหิน ซึ่งไทยยังยืนยันที่จะให้เอกชนไทยเป็นผู้ลงทุน

7. ญี่ปุ่นจะ พิจารณาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ เช่น การฝึกอบรม และการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญในสาขา โยธา วิศวกรรมเครื่องกล ไฟฟ้า การสื่อสารโทรคมนาคม ระบบอาณัติสัญญาณ และการควบคุมการดำเนินงาน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับระบบรางที่เหมาะสมเพื่อยกระดับโครงข่ายรางในประเทศไทย

8. ตั้งคณะกรรมการบริหารร่วมระดับรัฐมนตรี
9. กรอบระยะเวลาการดำเนินการ
10. การดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือฉบับนี้จะเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทั้งสองประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 27/05/2015 3:00 pm    Post subject: Reply with quote

Breaking News
Now TV 26
27 พฤษภาคม 2558 - 13:58
กระทรวงคมนาคม ลงนาม MOC รถไฟไทย-ญี่ปุ่น 27-28 พ.ค.
http://www.now26.tv/breakingnow/42052
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2015 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

นี่ครับ เวอร์ชัน ญี่ปุ่น ลงหนังสือพิมพ์อาซาฮี (28 พฤษภาคม 2015) ซะด้วย


นำเทคโนโลยี ชิงกังเซนมาใช้กะรถไฟสาย สถานีกลางบางซื่อ - เชียงใหม่มูลค่า ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านเยน (8100 ล้านดอลลาร์) - แต่ปัญหายังมีอยู่ว่า จะหาแหล่งเงินกู้มาดำเนินโคงการอย่างไร - จะได้ส่งออกเทคโนโลยีชิงกังเซนเหมือนที่ไต้หวัน เมื่อปี 2007 - แม้จะบอกว่าระยะทาง 670 กิโลเมตรแต่ ตำแหน่งสถานียังไม่แน่นอน และ วันเวลาที่จะก่อสร้างและ เปิดการเดินรถ ยังต้องรอไปก่อน แต่งานนี้จะสำรวจทางไปก่อน โดย ญี่ปุ่นได้จัดตั้งconsortium ซึ่งประกอบด้วย เจอาร์อิสต์ (East Japan Railway Co. Ltd) มิตซุย (Mitsui & Co. Ltd) ฮิตาชิ (Hitachi Co. Ltd) มิตซูบิชิอุตสาหกรรมหนัก (Mitsubishi Heavy Industries Co. Ltd) -

งานนี้ญี่ปุ่นกำลังจูงใจให้มาเลเซีย - อินเดีย และ สหรัฐใช้เทคโนโลยีรถไฟความไวสูงชิงกังเซนด้วย

http://ajw.asahi.com/article/business/AJ201505280053
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=e0iK9fhxZPU

เวอร์ชัน ASTV
ญี่ปุ่นคาดหวังรัฐบาลไทยใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
28 พฤษภาคม 2558 14:59 น.


รัฐบาลญี่ปุ่นคาดหวังว่ารัฐบาลไทยจะเลือกใช้เทคโนโลยีรถไฟชินคันเซนของญี่ปุ่น ในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย หลังจากทั้ง 2 ประเทศได้ลงนามความร่วมมือระหว่างกัน

สื่อมวลชนญี่ปุ่นให้ความสนใจติดตามและรายงานข่าว การหารือระหว่างพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของไทย และนายอะกิฮิโระ โอตะ รัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค คมนาคม และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น โดยผู้แทนทั้ง 2 ประเทศได้พบกันที่กรุงโตเกียวในวันพุธที่ 27 พฤษภาคม และมีพิธีลงนามแลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น

รัฐบาลญี่ปุ่นคาดหวังอย่างยิ่งให้รัฐบาลไทยพิจารณาใช้เทคโนโลยีรถไฟหัวกระสุนของญี่ปุ่นในโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่รัฐบาลไทยวางแผนสร้างระบบรางระยะทาง 700 กิโลเมตรระหว่างกรุงเทพกับจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์มากกว่า 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เจ้าหน้าที่ฝ่ายญี่ปุ่น ระบุว่า จะวางแผนดำเนินการตรวจสอบในพื้นที่ในประเทศไทยในเดือนมิถุนายน และทำรายงานเสนอต่อรัฐบาลของทั้งสองประเทศ

โครงการพัฒนาระบบขนส่งทางรางในประเทศไทยเป็นที่หมายตาของรัฐบาลหลายประเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ว่า ญี่ปุ่นและจีนเป็นสองประเทศที่มีแนวโน้มจะได้รับสัมปทานในโครงการนี้ ซึ่งเทคโนโลยีรถไฟชินคันเซนของญี่ปุ่นมีความได้เปรียบเรื่องความปลอดภัย หากแต่มีต้นทุนสูงกว่าระบบรถไฟความเร็วสูงของจีนมากกว่า 3 เท่าตัว นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังใช้ความพยายามทางการทูตและการเมืองในหลายมิติ เพื่อให้ได้สิทธิ์ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทยเช่นเดียวกัน.

"ประจิน"เผยเซ็นMOCรถไฟไทย-ญี่ปุ่นราบรื่น เตรียมสำรวจเส้นทางไฮสปีดเทรน"กทม.-เชียงใหม่"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
29 พฤษภาคม 2558 เวลา 19:58:13 น.


"ประจิน" เผยเซ็น MOC รถไฟไทย-ญี่ปุ่นราบรื่น ปลายก.ค.สำรวจเส้นทางไฮสปีดเทรน "กทม.-เชียงใหม่" ใช้เทคโนโลยีซินคันเซ็น คาดตอกเข็มกลางปี’59

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ(MOC)ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นพัฒนาระบบรางของไทย ได้แก่

1.ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยไทย-ญี่ปุ่นจะร่วมมือกันในการดำเนินโครงการก่อสร้างโดยใช้เทคโนโลยีซินคันเซ็นของญี่ปุ่น อีกทั้งช่วยหาแหล่งเงินลงทุนและให้การสนันสนุนการพัฒนาบุคลากร โดยเส้นทางนี้จะเริ่มสำรวจพื้นที่วันที่ 28 กรกฎาคมนี้ เนื่องจากมีผลการศึกษาโครงกาเดิมที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)มาทบทวนแบบรายละเอียด ในเบื้องต้นตั้งเป้าจะเริ่มก่อสร้างกลางปี 2559 เป็นต้น

2.การพัฒนาเส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-แหลมฉบังเชื่อมต่อท่าเรือทวายในอนาคตและเส้นทางกรุงเทพ-สระแก้วเพื่อเชื่อมต่อไปยังเวียดนามซึ่งเส้นทางนี้ยังไม่มีระบุกำหนดกรอบเวลาที่จะก่อสร้างขึ้นอยู่กับความพร้อมของญี่ปุ่นในการศึกษาและสำรวจเส้นทางแต่จะพยายามให้ทันรัฐบาลชุดนี้

3.การพัฒนาเส้นทางแม่สอด-มุกดาหารจะเริ่มสำรวจเส้นทางร่วมกันเมื่อทั้งสองฝ่ายมีความพร้อม

4.โครงการรถไฟฟ้าในเขตเมือง เบื้องต้นทางญี่ปุ่นจะส่งมอบรถขบวนแรกของสายสีม่วง(บางซื่อ-บางใหญ่)ให้ภายในเดือนตุลาคมนี้ จำนวน 3 ขบวน จากทั้งหมด 21 ขบวนหรือ 63 ตู้ รวมถึงข้อสรุปราคาประมูลสัญญาที่3 ของสายสีแดง(บางซื่อ-รังสิต) ที่จะให้อยู่ในวงเงิน 31,000 ล้านบาท ตามกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติ

หลังจากนี้ประมาณ 1 เดือนหรืออย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งสองฝ่ายจะจัดทำแผนการทำงานของโครงการความร่วมมือต่างๆให้แล้วเสร็จ เพื่อให้สามารถเริ่มทำงานได้ และรัฐบาลสามารถติดตามงานได้อย่างใกล้ชิด

โดยทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะทำงาน 3 คณะ เพื่อดำเนินงานร่วมกัน ประกอบด้วย 1.คณะทำงานโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 2.คณะทำงานเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ,กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศและกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และ3.คณะทำงานด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนในส่วนของไทย

พล.อ.อ.ประจินกล่าวอีกว่า นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมยังถือโอกาสหารือกับฝ่ายญี่ปุ่นถึงกรณีการเซ็นMOUร่วมกันระหว่างกรมการบินพลเรือนของไทยกับกรมการบินพลเรือนของญี่ปุ่น(JCAB)จะสิ้นสุดวันที่31 พฤษภาคมนี้ ที่ผ่อนปรนให้สายการบินของไทยบินเข้าออกประเทศญี่ปุ่นได้ โดยการหารือครั้งนี้ทางJCABยอมผ่อนปรนให้สายการบินของไทยได้บินต่อตามข้อตกลงเดิมแบบไม่กำหนดระยะเวลา จากก่อนหน้านี้ผ่อนผันให้ 2 เดือน(เมษายน-พฤษภาคม)


Last edited by Wisarut on 01/06/2015 2:58 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/05/2015 1:40 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ครม.ไฟเขียวเอ็มโอยูรถไฟไทย-ญี่ปุ่น
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 26 พ.ค. 2558 เวลา 17:10:01 น.


'ประจิน' มอบญี่ปุ่นลุยรถไฟ2สาย
โพสต์ทูเดย์
27 พฤษภาคม 2558 เวลา 06:12 น.

ครม.ไฟเขียว “ประจิน” ลงนาม MOC ครอบคลุมสาระสำคัญ 10 ข้อ ร่วมญี่ปุ่นพัฒนารถไฟ 2 สาย สร้างไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ปรับปรุงเส้นทางกาญจนบุรี-แหลมฉบัง คาดได้กรอบเวลาลงทุนชัดภายใน 1 เดือน

พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 26 พ.ค. 2558 ได้ เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือ(MOC) ด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น โดยอนุมัติให้ทาง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการลงทุน

“การลงนามในครั้งนี้เป็นการลงนามในเบื้องต้นกรอบเวลาการลงทุนจะชัดเจนภายใน 1 เดือนหลังจากการลงนาม ในส่วนประมาณการลงทุนและแหล่งเงินจะมีการหารือในภายหลัง” พล.ต.วีรชน กล่าว
...
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในร่าง MOC ไม่ได้กำหนดระยะทางรถไฟที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมกันพัฒนา แต่ตามการประเมินของกระทรวงคมนาคมคาดว่า การลงทุนในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่จะอยู่ที่ 715 กม. ส่วนเส้นทาง กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง อยู่ที่ 574 กม. ขณะที่เส้นทางในอนาคตแม่สอด-มุกดาหาร จะอยู่ที่ 718 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/05/2015 10:48 am    Post subject: Reply with quote

เด็ก ปชป. ย้ำ รถไฟความเร็วสูง ไม่คุ้มทุน ทวงสัญญา นายกฯ รถไฟรางคู่
โดย ไทยรัฐออนไลน์
28 พฤษภาคม 2558 เวลา 16:30


"สามารถ" ค้าน เดินหน้าสร้าง 3 เส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูง ย้ำไม่คุ้มทุน เชื่อ บ.เอกชนไม่เอาด้วย ทวงสัญญา "ประยุทธ์" 1 ปียังไม่สร้างรถไฟรางคู่ ทั้งที่รับปาก ชี้ หาก บ.เอกชนลงทุนทำ ต้องต่อยอดอสังหาฯ

วันที่ 28 พ.ค. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. มีนโยบายเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงสามสาย คือ กทม.-หัวหิน, กทม.-พัทยา และ กทม.-เชียงใหม่ ทั้งที่ทั้งสามโครงการไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน จึงเป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลจะบอกว่า เอกชนจะเป็นผู้ลงทุน เพราะไม่มีเอกชนรายใดทำธุรกิจที่ขาดทุนแน่นอน จึงเชื่อว่า โครงการเหล่านี้รัฐต้องลงทุนเองไม่น้อยกว่า 80% แน่ โดยต้องดูทีโออาร์ ว่า รัฐบาลจะลงทุนอย่างไร เพราะไม่มีรายละเอียด แต่สิ่งที่แน่นอน คือ หากเอกชนลงทุนจะต้องได้กำไร คาดว่าถ้าให้เอกชนลงทุนเป็นสัดส่วนที่มาก โครงการคงไม่เกิด เพราะขาดทุน และตนไม่แน่ใจ ว่า บ.เอกชน 3-4 ราย ที่ปรากฏชื่อ จะมีความสนใจโครงการเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน

"ถ้าเจ้าสัวเหล่านี้จะสร้าง ก็ต้องมีเงื่อนไขกับรัฐบาล อาจจะมีการสร้างเมืองใหม่ เพราะมีที่ดินอยู่ในบริเวณนั้น เขาก็ต้องได้ผลประโยชน์คุ้มค่า การพัฒนาระบบโลจิสติก สามารถทำได้ ถ้าจะสร้างรถไฟความเร็วสูงเพื่อให้เกิดการต่อยอดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็ยิ่งต้องพิจารณา ว่า รัฐควรดำเนินการ หรือไม่ ใครได้ประโยชน์ แต่ในขณะนี้ต้องดู ว่า เอกชนจะทำจริงหรือไม่ เพราะเห็นมีซีพีเพียงบริษัทเดียวที่ดูข้อมูล ส่วนอื่นยังไม่เห็นมีการศึกษาเลย ไม่ว่าจะเป็น เบียร์ช้าง หรือ บีทีเอส เนื่องจากผู้โดยสารจะน้อย ที่คิดว่าจะพัฒนาให้เกิดเมืองใหม่จะไม่ประสบความสำเร็จ หรือหากรัฐบาลจะทำเป็นโครงการเทิร์นคีย์ ปัจจุบันก็ไม่มีใครทำแล้ว เพราะต้นทุนโครงการแพงขึ้นโดยใช่เหตุ ที่จะให้เอกชนกู้เงินมาลงทุน ดอกเบี้ยแพง ต้นทุนก็แพงตาม เหมือนออกแบบไป สร้างไป ทำให้คุมงบฯ และคุมการก่อสร้างยาก จะเสียดอกเบี้ยมากกว่าการกู้เงินกับไจก้า หรือที่อื่นๆ ที่สำคัญมีมติ ครม. ให้เลี่ยงการทำเทิร์นคีย์" นายสามารถ กล่าว

นายสามารถ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ขอทวงสัญญากับ พล.อ.ประยุทธ์ ที่เคยระบุว่า จะพัฒนารถไฟรางคู่ทั่วประเทศ มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการก่อสร้างแม้แต่สายเดียว จึงขอให้เร่งทำเรื่องนี้จะดีกว่า เพราะรัฐบาลชั่วคราวไม่ควรทำโครงการใหม่ เพราะใช้เวลานาน ทั้งที่จะทำกับจีนกับญี่ปุ่น เพราะสุดท้ายทั้งสองประเทศอาจไม่ร่วมลงทุนด้วย แต่ให้เงินกู้ฯ ซึ่งหากทำรถไฟรางคู่ จะต่อยอดการพัฒนาระบบโลจิสติกได้มากกว่ารถไฟความเร็วสูง จึงขอให้รัฐบาลทบทวน เพราะรัฐบาลมีเวลาสั้น ควรทุ่มเทกับรถไฟรางคู่มากกว่า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2015 2:52 am    Post subject: Reply with quote

โพยนักลงทุนไทย-เทศ สนใจตีตั๋วรถไฟ คสช.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
31 พฤษภาคม 2558 เวลา 14:50:19 น.


ตีปี๊บมานานหลายเดือน ในที่สุดโครงการรถไฟ "รัฐบาลบิ๊กตู่" ก็ได้ผู้มาพัฒนาอย่างจริงจัง ทั้งมิตรต่างแดนไปจนถึงเจ้าสัวเมืองไทย

สำหรับ มิตรประเทศมี "จีน-ญีปุ่น" 2 ประเทศยักษ์ใหญ่แห่งวงการรถไฟ โดย "จีน" สนใจพัฒนาเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ เป็นรถไฟรางมาตรฐาน ความเร็ว 180 กม./ชม. หวังเปิดเส้นทางขนส่งสินค้าจีนตอนใต้จากคุนหมิงออกสู่ทะเล ผ่านท่าเรือมาบตาพุดของไทย

ล่าสุดโครงการอยู่ระหว่างสำรวจและออกแบบ รายละเอียด จะแล้วเสร็จเดือนสิงหาคมนี้ คาดว่าลงทุนกว่า 3 แสนล้านบาท ก่อสร้าง 2 ปีครึ่งถึง 3 ปี เตรียมตอกเข็มต้นแรกตุลาคมนี้ พร้อมเปิดบริการปี 2561

ส่วน "ญี่ปุ่น" ถึงจะออกตัวช้าแต่มาแบบจัดเต็ม เพราะเหมาพัฒนาระบบรางให้ไทยครบทุกโหมด ไม่ว่ารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, รถไฟราง 1 เมตร 2 เส้นทาง สายแรกเชื่อมท่าเรือแหลมฉบังกับทวาย ผ่านเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ-แหลมฉบัง หวังเป็นสะพานเชื่อมการค้าไปยังเมียนมา กัมพูชา เวียดนาม ส่วนสาย "แม่สอด-มุกดาหาร" แค่ศึกษาความเป็นไปได้เท่านั้น

นอกจากนี้ มีรถไฟฟ้าสายสีเขียว น้ำเงิน ส้ม ชมพู เหลือง แดง ที่ญี่ปุ่นก็อยากมาเปิดตลาดระบบรถไฟมากขึ้น นอกเหนือจากสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) แล้ว

ว่ากันว่าการที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับ ประเทศไทยมาก เนื่องจากมีชาวอาทิตย์อุทัยอาศัยอยู่ในประเทศไทย 60,000 คน มีบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย 4,000 บริษัท การพัฒนาประเทศไทยก็เหมือนพัฒนาเศรษฐกิจญี่ปุ่นด้วย

ส่วนเอกชนไทย ที่ประกาศตัวชัดเจนจะร่วมลงทุนแน่ ๆ กับรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง มี 3 เจ้าสัวชื่อดัง รายแรก "กลุ่มซีพี" ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ สนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง 193.5 กม. ทาง "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ศึกษาโครงการเสร็จแล้ว ใช้เงินลงทุน 152,712 ล้านบาท

รายที่ 2 "กลุ่มไทยเบฟฯ" ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี สนใจสายใต้ กรุงเทพฯ-หัวหิน 211 กม. เงินลงทุน 98,399 ล้านบาท

สุดท้าย "กลุ่มบีทีเอส" ของ เจ้าสัวคีรี กาญจนพาสน์ หลังออกตัวสนใจลงทุนระบบเดินรถไฟทางคู่ หนองคาย-แก่งคอย-มาบตาพุด ล่าสุดมีเสียงแว่วมาตามสาย พร้อมจะแข่งทำรถไฟความเร็วสูงทั้ง 2 สายที่เจ้าสัวเจริญและเจ้าสัวธนินท์ตีตราจองไว้แล้ว

ทั้งหมดคือความเคลื่อนไหวเมกะโปรเจ็กต์เค้กก้อนใหญ่ร่วม 1 ล้านล้านบาท ส่วนจะเป็นจริงและไปได้ไกลแค่ไหน โปรดติดตามตอนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2015 1:14 pm    Post subject: Reply with quote

“ประจิน” ลงนามรถไฟไทยญี่ปุ่น ปี 59 ตอกเสาเข็ม 2 เส้นทาง โปรโมชั่นเที่ยวบินไทยเข้าไม่อั้น
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
30 พฤษภาคม 2558

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นว่า ผลการหารือร่วมกับองค์การการบินพลเรือนของประเทศญี่ปุ่น (เจแคป) กรณีที่เจแคปผ่อนผันให้เที่ยวบินจากไทยบินเข้าออกประเทศญี่ปุ่นได้แค่วันที่ 31 พ.ค.นี้นั้น ขณะนี้ได้สรุปว่า เจแคปได้อนุญาตให้สายการบินจากไทยบินเข้าญี่ปุ่นได้ตลอดอย่างไม่มีกำหนดต่อเนื่องทั้งเที่ยวบินประจำและเที่ยวบินเช่าเหมาลำภายใต้เงื่อนไขเดิม แต่เรื่องการสุ่มตรวจสายการบินยังคงมีอยู่ นอกจากนี้ไทยกับญี่ปุ่นยังได้มีแนวโน้มร่วมกันที่จะสนับสนุนสายการบินของไทย ภายใต้เงื่อนไขว่าจะต้องเป็นเที่ยวบินประจำแบบที่เคยทำการบินมาก่อน สำหรับ 6 สายการบินที่ได้ผ่อนผันเข้าออกประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย 3 สายการบินที่มีเที่ยวบินประจำคือ การบินไทย เจ็ทเอเชีย ไทยแอร์เอเชีย เอกซ์ และอีก 3 สายการบินเช่าเหมาลำ คือ นกสกู๊ด เอเชียนแอร์ และเอเชียแอตแลนติก

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ตนได้ลงนามร่วมกับนายอะคิฮิโระ โอตะ ในร่างบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอซี) ด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเอ็มแอลไอที เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาโครงการรถไฟ 2 เส้นทาง คือรถไฟทางคู่ขนาด 1.435 เมตร หรือรถไฟฟ้าความเร็วสูง ประมาณ 300 กม./ชั่วโมง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 670 กม. และ 2. รถไฟทางคู่ เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ ระยะทาง 574 กม.

นอกจากนี้ยังได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน 3 ชุด คือ
1.คณะทำงานกำหนดแผนงานรถไฟความเร็วสูงเส้นทางเชียงใหม่-กทม.
2.คณะทำงานกำหนดแผนงานเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และ
3.คณะทำงานศึกษารูปแบบการลงทุนและการเงิน ซึ่งจะสรุปรูปแบบและกรอบร่วมกันใน 1 เดือน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้กลางปี 59 โดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2-3 ช่วง.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/06/2015 8:23 pm    Post subject: Reply with quote

"สรรเสริญ" โต้กลับล้มรถไฟไทย-จีน ยันสร้างแน่ปลายปีนี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 มิถุนายน 2558 19:18 น.

รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ โต้กระแสข่าวยกเลิกโครงการรถไฟไทย-จีนไม่เป็นความจริง ชี้เตรียมสร้างเส้นแรก กทม.-แก่งคอย-โคราชภายในปี 58 อีกทั้งญี่ปุ่นสนใจลงทุนอีก

วันนี้ (1 มิ.ย.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกระแสข่าวที่ระบุว่า ไทยยกเลิกโครงการรถไฟ เชื่อมไทย-จีนว่า รัฐบาลไทยขอยืนยันว่าประเด็นนี้เป็นข่าวลือ ไม่มีมูลความจริง ข้อเท็จจริงคือรัฐบาลจีน เสนอพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วปานกลาง ความเร็ว 180 กม./ชม. สายหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง 873 กม. เพื่อเชื่อมโยงกับรถไฟจีน-ลาว ที่ หนองคาย-เวียงจันทร์ ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการนี้ อยู่ระหว่างเตรียมจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วม ไทย-จีน ครั้งที่ 5 ปลายเดือน มิ.ย. นี้ ส่วนการสำรวจเส้นทาง และประเมินราคาจะแล้วเสร็จในเดือน ส.ค. ตามแผนที่วางไว้ คาดว่า จะเริ่มก่อสร้างสาย กรุงเทพฯ-แก่งคอย-โคราช ได้ภายในปี 2558

“รัฐบาลไทย และจีน เห็นตรงกันว่า ทั้งสองประเทศจะต้องร่วมมือกันด้านการพัฒนารถไฟ เชื่อมโยงภูมิภาคนี้ ซึ่งโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างสองประเทศ รวมทั้งจะสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค” พล.ต.สรรเสริญ กล่าว

พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า นอกจากทางรถไฟเชื่อมไทย-จีน แล้ว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นนักลงทุนรายใหญ่ในไทย สนใจจะเข้ามาดำเนินโครงการรถไฟในไทย คือ รถไฟเส้นทาง กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และ กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ ระยะทาง 574 กม. และรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ชิงกันเซน) เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 670 กม. โดยรัฐบาลทั้ง 2 ฝ่ายได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ MOC ร่วมกันเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2558

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายชัดเจน ในการให้ความร่วมมือกับมิตรประเทศ ในการสร้างทางรถไฟไทย-จีน และ การลงทุนทางรถไฟของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลมั่นใจว่า โครงการต่างๆ จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาคนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 41, 42, 43 ... 121, 122, 123  Next
Page 42 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©