RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13268622
ทั้งหมด:13579909
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 43, 44, 45 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44603
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/06/2015 2:20 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ชมรมวิศวฯจุฬาฯจี้บิ๊กตู่เบรคด่วนชี้รถไฟเชื่อมจีนทำหายนะชาติ
แนวหน้า วันจันทร์ ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558, 20.50 น.

'ชมรมวิศวฯจุฬาฯ'ยื่นร้องสนช. วอนยับยั้งการลงทุนรถไฟใทย
แนวหน้า 11 มิ.ย. 2558 13:17 น.

11 มิ.ย. 58 เมื่อเวลา 11.15 น. ที่รัฐสภา ชมรมวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมปฏิรูปประเทศไทย (วศ.รปปท.) นำโดยนายกฤษณ มุทิตานันท์ หัวหน้าคณะทำงานระบบรางรถไฟ ได้ยื่นหนังสือต่อนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้พิจารณายับยั้งความเสียหายจากการดำเนินโครงการทางรถไฟขนาด 1.435 ม.สายหนองคาย-มาบตาพุด ที่เชื่อมต่อกับจีน เนื่องจากเป็นโครงการที่กระทรวงคมนาคมกำลังดำเนินการอย่างเร่งรีบ โดยที่การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมยังศึกษาไม่เสร็จ ที่สำคัญคือเป็นการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ไม่ตอบโจทย์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ จะทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง เป็นอุปสรรคต่อทิศทางการลงทุนทางการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานระบบรางประเทศไทย และสุดท้ายจะเป็นภาระของคนไทยทั้งประเทศที่ต้องใช้หนี้โครงการนี้อย่างไม่จำเป็น

นายกฤษณ กล่าวว่า รายละเอียดของหนังสือที่ยื่นได้อธิบายเกี่ยวกับความกว้างของทางรถไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศไทย คิดว่าทางขนาด 1 เมตร ไม่สามารถพัฒนาได้และเป็นระบบล้าสมัยนั้น แท้จริงแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการขาดองค์ความรู้ การพัฒนาทางด้านเทคนิค และบุคลากร เกี่ยวกับระบบรางอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงความอ่อนแอขององค์กรเพียงองค์กรเดียวที่รับผิดชอบต่อระบบรางของประเทศ คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งหากพัฒนาระบบรางปัจจุบันให้มีความทันสมัย และองค์กรมีความเข้มแข็งแล้ว ก็สามารถที่จะพัฒนาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านให้ความกว้างทางรถไฟ ขนาด 1.00 เมตร เป้นขนาดความกว้างมาตรฐานของอาเซียน ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะกับภูมิภาคอาเซียน ใช้เงินลงทุนถูกที่สุด มีสมรรถนะที่ดีและสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 160 กม./ชม.อย่างปลอดภัย

“ เนื่องจากฐานะทางการเงินของประเทศอยู่ในสภาพอ่อนแอ แต่รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางรางที่มีสภาพย่ำแย่ในปัจจุบัน วศ.รปปท. จึงขอนำเสนอแนวทางการพัฒนาต่อยอดระบบรถไฟ Meter Gauge ของประเทศให้ทันสมัย ซึ่งจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการด้าน Logistics ของประเทศให้ถูกจุดกว่า ดีกว่าการคำนึงถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางในภาพรวมของประเทศในระยะยาวกว่าและที่สำคัญคือใช้เงินลงทุนต่ำกว่ามาก เพียงปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นและเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายกฤษณ กล่าว

ด้าน นายสุรชัย กล่าวว่า จะรับไว้ให้กรรมาธิการด้านคมนาคมของ สนช. ไว้พิจารณาก่อน เพราะหากส่งต่อไปทันที สนช. จะไม่ได้ทำหน้าที่ ซึ่งกรรมาธิการคมนาคมจะเรียนเชิญทางกลุ่มมาให้ข้อมูลอีกครั้ง เพื่อพิจารณาศึกษาก่อนส่งรายงานการศึกษาให้กระทรวงคมนาคมต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2015 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

นี่คือข้อคิดที่จะเอารถสินเดินร่วมกะรถโดยสาร ไม่ว่าทางคู่หรือทางเดี่ยว
http://railtec.illinois.edu/articles/Files/Journal%20Articles/2013/Sogin-2013-TRB.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 15/06/2015 1:13 pm    Post subject: Reply with quote

รองผู้ว่าการรถไฟจีนชี้ประโยชน์อื้อ ‘โครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน’
โดย ไทยรัฐออนไลน์
14 มิถุนายน พ.ศ. 2558, 10:20


‘หวง หมิน’ รองผู้ว่าการองค์การรถไฟแห่งประเทศจีน ชี้ประโยชน์จากความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างจีนกับไทย จะช่วยยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยอย่างมีพลัง พร้อมเสริมสร้างบทบาทสำคัญของไทยที่เป็นชุมทางของอาเซียน

นายหวง หมิน รองผู้ว่าการองค์การรถไฟแห่งประเทศจีน ให้สัมภาษณ์ชี้แจงโครงการความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างจีนกับไทย ซึ่งประสบความสำเร็จ ในเดือนกรกฎาคม 2557 เมื่อรัฐบาลไทยประกาศแผนพัฒนาทางรถไฟมาตรฐานสากลฉบับใหม่ โดยระบุว่า จะสร้างทางรถไฟมาตรฐานสองสาย ได้แก่ ทางรถไฟสายหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด (ยาวประมาณ 734 กิโลเมตร) กับทางรถไฟแก่งคอย-กรุงเทพฯ (ยาวประมาณ 133 กิโลเมตร) ภายใต้การสนับสนุนของผู้นำทั้งจีนและไทย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ปี 2557 ที่กรุงเทพมหานคร และผู้นำทั้งสองได้ร่วมลงนามใน “บันทึกช่วยจำเพื่อความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการรถไฟภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการขนส่งแห่งประเทศไทยฉบับปี 2558-2565” เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่า ความร่วมมือด้านการรถไฟจีน-ไทยก้าวสู่ช่วงใหม่


นายหวง หมิน รองผู้ว่าการองค์การรถไฟแห่งประเทศจีน
รองผู้ว่าการองค์การรถไฟจีนยังชี้ถึงผลคืบหน้าของโครงการรถไฟจีน-ไทยในขณะนี้ ว่า ปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจีนและไทยได้จัดตั้งกลไกปฏิบัติงานสำหรับความร่วมมือด้านการรถไฟขึ้นมาแล้ว ขณะที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันเป็นไปอย่างราบรื่น โดยรายละเอียดความร่วมมือและรายการที่เป็นรูปธรรมกำลังเดินหน้าอย่างมั่นคงและเป็นขั้นตอน

โดยวันที่ 21 มกราคม ปี 2558 การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟจีน-ไทย ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ทั้งสองฝ่ายตกลงจะปฏิบัติตามความเห็นร่วมกันระหว่างผู้นำสองประเทศ นั่นคือ เร่งผลักดันทางรถไฟหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด และทางรถไฟแก่งคอย-กรุงเทพฯ พร้อมกับร่วมทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ หารือรูปแบบร่วมมือ และแผนระดมทุน และได้ลงนามใน “บันทึกการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟจีน-ไทยครั้งแรก” เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ปี 2558

ส่วนการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟจีน-ไทยครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง โดยสองฝ่ายได้อภิปรายประเด็นสำคัญต่างๆ และได้บรรลุความเห็นร่วมกันที่สำคัญเกี่ยวกับกฎบัตรของคณะกรรมการฯ วันเริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ รูปแบบร่วมมือและแผนระดมทุน ข้ออนุมัติเทคโนโลยีด้านการรถไฟ การสร้างสรรค์ศักยภาพด้านการรถไฟ และได้ลงนามใน “บันทึกการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟจีน-ไทยครั้งที่ 2”

ระหว่างวันที่ 10-12 มีนาคม ปี 2558 การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟจีน-ไทยครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ สองฝ่ายได้ข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งงานของโครงการสร้างทางรถไฟหนองคาย-มาบตาพุด และทางรถไฟแก่งคอย-กรุงเทพฯ การบริหารจัดการ การอบรมบุคลากร เป็นต้น

ระหว่างวันที่ 6-8 มีนาคม ปี 2558 การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟจีน-ไทยครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่เมืองคุนหมิง สองฝ่ายได้อภิปรายลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดเส้นทางรถไฟ วันเวลาเริ่มต้นโครงการ รูปแบบความร่วมมือ แผนการลงทุนและการระดมทุน การอบรมเจ้าหน้าที่ และบรรลุความเห็นร่วมกันที่สำคัญ ที่ประชุมลงนาม ใน “บันทึกการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการรถไฟจีน-ไทยครั้งที่ 4” โดยขณะนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญขององค์การรถไฟแห่งประเทศจีนกับผู้เชี่ยวชาญของไทยกำลังทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ของโครงการอยู่ที่กรุงเทพมหานคร


ส่วนโครงการรถไฟจีน-ไทย จะเริ่มก่อสร้างเมื่อไร? ระยะเวลาก่อสร้างนานแค่ไหน? นั้น นายหวง หมิน ได้ตอบว่า ตามความเห็นร่วมกันระหว่างจีนกับไทยที่มีอยู่ในปัจจุบัน สองฝ่ายเห็นด้วยในหลักการว่า จะใช้รูปแบบ EPC (รับเหมาก่อสร้างโครงการ ที่รวมทั้งการออกแบบ จัดซื้อและก่อสร้าง) เป็นรูปแบบความร่วมมือของโครงการรถไฟจีน-ไทย ต้องเสร็จสิ้นภารกิจ 6 อย่าง ได้แก่ การศึกษาความเป็นไปได้ การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ขั้นตอนการอนุมัติ การเวนคืนที่ดิน การโยกย้ายชาวบ้านไปอยู่ที่อื่น การเซ็นสัญญา EPC และเงินลงทุนที่ถึงบัญชี ถือเป็นเงื่อนไขบังคับของการเปิดดำเนินการก่อสร้าง พยายามเร่งงานการศึกษาความเป็นไปได้ของทางรถไฟบางตอนให้แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคมปี 2558 และเริ่มต้นก่อสร้างในเดือนตุลาคม ระยะเวลาการก่อสร้าง 30 เดือน อีกส่วนให้สิ้นสุดการศึกษาความเป็นไปได้ก่อนสิ้นปีนี้ และเริ่มต้นก่อสร้างในต้นปี 2559 ระยะเวลาการก่อสร้าง 36 เดือน

พร้อมกันนั้น รองผู้ว่าการรถไฟจีนยังตอบคำถามที่ถามว่า การสร้างทางรถไฟมาตรฐานสากลนั้น มีความหมายสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย และหน่วยงานการรถไฟของจีนจะสามารถทำให้เป้าหมายนี้เป็นจริงอย่างไรว่า บนพื้นฐานแห่งการก่อสร้างและบริหารจัดการทางรถไฟนานหลายปี ทำให้การรถไฟจีนมีระบบเทคโนโลยีการรถไฟที่สมบูรณ์และครบวงจร การสำรวจออกแบบ การวิจัยและผลิตอุปกรณ์ การก่อสร้าง และการบริหารจัดการทางรถไฟของจีน ล้วนอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก

การรถไฟจีนสร้างโครงการเรลเวย์ เบด (Railway Bed) ที่รองรับเงื่อนไขทางภูมิประเทศที่สลับซับซ้อนที่สุดของโลก สร้างสะพานที่ให้ทั้งรถยนต์และรถไฟวิ่งผ่านที่มีความโค้งยาวที่สุดในโลก และสร้างอุโมงค์ยาวขนาดใหญ่จำนวนมากที่สุดของโลก การรถไฟจีนวิจัยและผลิตรถไฟทุกรุ่นทุกชนิดขึ้นมาเอง รวมถึงรถไฟขนส่งผู้โดยสาร หัวรถจักร และรถไฟขนส่งสินค้า สามารถตอบสนองความต้องการอุปกรณ์ที่เกิดจากความเร็วไม่เท่ากัน รางรถไฟประเภทที่ไม่เหมือนกัน และเงื่อนไขการขนส่งที่แตกต่างกัน ครองเทคโนโลยีควบคุมรถไฟโดยอัตโนมัติอย่างรอบด้าน และประสบความสำเร็จในการควบคุมการเดินรถแบบผสม และการเชื่อมต่อรางรถไฟความเร็วสูงกับรางรถไฟทั่วไป


ปัจจุบัน จีนมีทางรถไฟที่เปิดให้บริการแล้วกว่า 112,000 กิโลเมตร แต่ละวันเปิดเดินรถไฟขนส่งผู้โดยสารกว่า 7,000 ขบวน เปิดเดินรถไฟขนส่งสินค้า 20,000 ขบวน ประสิทธิภาพการขนส่ง และยอดการปฏิบัติงานของจีนล้วนเป็นอันดับหนึ่งของโลก การรถไฟจีนมีศักยภาพบริบูรณ์ในการก่อสร้างและบริหารจัดการทางรถไฟความเร็วสูงกับทางรถไฟทั่วไปให้สนองตอบเงื่อนไขทางภูมิประเทศที่สลับซับซ้อน สิ่งแวดล้อมที่มีภูมิอากาศพิเศษ และความต้องการการขนส่งทุกชนิด

จากนั้น นายหวงยังกล่าวถึงประโยชน์ที่ประชาชนทั้งจีนและไทย รวมทั้งเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนที่จะได้รับภายหลังโครงการรถไฟจีน-ไทย สร้างเสร็จสมบูรณ์ว่า ประเทศไทยเป็นคู่ค้าหลักของจีนในอาเซียน จีนเป็นตลาดส่งออกสินค้าใหญ่เป็นอันดับแรกของไทย และเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวไปเมืองไทยมากที่สุด หลังจากทางรถไฟหนองคาย-มาบตาพุด ในโครงการร่วมมือด้านการรถไฟจีน-ไทย สร้างแล้วเสร็จ จะเชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ลาว ที่กำหนดจะสร้างขึ้นมา และบรรลุซึ่งการเชื่อมต่อกันระหว่างทางรถไฟของจีนและไทย ถึงเวลานั้น สินค้าของสองประเทศสามารถหมุนเวียนกันผ่านทางรถไฟได้สะดวก ต้นทุนการขนส่งจะต่ำลงได้อย่างมาก ประชาชนทั้งจีนและไทยก็สามารถโดยสารรถไฟเดินทางถึงกันได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น

‘ความร่วมมือในโครงการรถไฟระหว่างจีนกับไทยจะยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยอย่างมีพลัง เสริมสร้างบทบาทสำคัญของไทยที่เป็นชุมทางของอาเซียน กระตุ้นการไปมาหาสู่กันทางการค้าและการแลกเปลี่ยนทางบุคลากรระหว่างประเทศอาเซียน และระหว่างอาเซียนกับจีน ผลักดันการพัฒนาเป็นเมืองแห่งใหม่ และการท่องเที่ยวของไทย เพิ่มโอกาสการมีงานทำของมวลชน และสร้างแรงขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศไทยในอนาคต’ รองผู้ว่าการรถไฟของจีน กล่าวทิ้งท้ายถึงประโยชน์ของโครงการรถไฟจีน-ไทย ที่จะบังเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ข้างหน้า.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 15/06/2015 9:33 pm    Post subject: Reply with quote

"กรณ์" งง รบ.ไม่ร่วมมือจีนทำรถไฟความเร็วสูง ชี้ ลงทุนเองเป็นภาระชาติ-ปชช.


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
15 มิถุนายน 2558 11:56 น.


รองหน.ปชป. ข้องใจ รบ.ลงทุนฝ่ายเดียวโครงการรถไฟความเร็วสูง งง เมินร่วมมือจีน ส่อภาระการเงินชาติแย่ลง กู้เงินสร้างเป็นภาระปชช. 100% ทั้งที่จีน-ธุรกิจอสังหาฯได้ประโยชน์ จี้ ทบทวนใหม่ แนะ หากลงทุนเองควรทุ่มไปที่รถไฟรางคู่ คุ้มค่ากว่า ชี้ รถไฟความเร็วสูงมีก็ดีแต่ต้องไม่เป็นภาระมากไป ย้ำ สายเชียงใหม่ยิ่งไม่คุ้ม ต้องใช้เวลา 600 ปีถึงคุ้มทุน

วันนี้ (15มิ.ย.) นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีต รมว.คลัง กล่าวถึงแผนการลงทุนของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในโครงการความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างจีนกับไทย ทีรัฐบาลได้ทำบันทึกความเข้าใจว่าจะกู้เงินจากจีนมาลงทุนเองในเส้นทางรถไฟสายหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด (ยาวประมาณ 734 กิโลเมตร) ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นแผนยุทธศาสตร์ด้านคมนาคมที่วางไว้ตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ในปี 2553 โดยกำหนดเส้นทางหลักว่าจะเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และใช้วิธีการร่วมลงทุน ไม่ใช่ไทยลงทุนฝ่ายเดียวจึงไม่เข้าใจว่าเหตุใดรัฐบาลจึงตัดสินใจเช่นนี้ เพราะก่อนหน้านี้จีนเคยทำบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นกับไทยแล้วว่าจะลงทุนร่วมกัน

“ผมอยากเห็นเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทย-จีน เพราะผลตอบแทนทางการเงินของโครงการคุ้มค่ายากในบางเส้นทาง ซึ่งจะทำให้ภาระด้านการเงินตกหนักที่ประเทศไทย จึงควรหาวิธีลดภาระด้วยการให้ผู้ที่ได้ประโยชน์อื่นมาร่วมรับภาระกับเรา โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมจีนเป็นแนวคิดตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ์เป็นโครงการร่วมลงทุนและจีนในขณะนั้นก็ลงนามเบื้องต้นตกลงแล้วเพราะมีผลประโยชน์ต่อจีนในเชิงยุทธศาสตร์อย่างมาก ถ้าไทยไม่สร้างแผนการสร้างรถไฟเอเชียสายใต้ไม่มีทางประสบความสำเร็จ ดังนั้นจีนมีกำลังทางการเงินที่เข้มแข็งและเคยแสดงความพร้อมในอดีตที่จะมาร่วมภาระในส่วนเส้นทางที่ผ่านประเทศไทยด้วย จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนวิธีการใหม่”

นายกรณ์ กล่าวด้วยว่า ไม่เข้าใจว่าทำไมเราจึงคิดว่าควรจะรับภาระนี้ไว้เองคนเดียว ซึ่งเป็นภารที่ไม่น้อยต้องกู้ยืมเงินหลายแสนล้าน ซึ่งในอดีตเกือบทุกโครงการสุดท้ายต้องใช้งบประมาณมากกว่าที่ตั้งไว้ครั้งแรกจะเป็นภาระขั้นตอนต่อไปที่มากกว่านี้ ถ้ามีผลการดำเนินการขาดทุนจะเป็นภาระซ้ำซ้อนทั้งในแง่ของภาระดอกเบี้ย การชำระเงินต้น และภาระขาดทุนเพิ่มเติมด้วย ถ้ารัฐบาลกู้เงินสร้างเอง 100 % จะเป็นภาระประชาชนเต็ม 100

“คนที่จะได้ประโยชน์ในเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับระบบรางคือจีน แต่ไทยต้องแบกภาระทางการเงิน และผู้ได้ประโยชน์อื่น ๆ คือ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ขายอุปกรณ์รถไฟ ระบบสัญญาณ ต่าง ๆ ซึ่งก็น่าจะเป็นทั้งจีนและบริษัทไทยบางบริษัท ถ้าคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ควบคู่ไปด้วยก็เท่ากับสร้างประโยชน์ให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แต่ผลักภาระหนี้มาให้ประชาชน” นายกรณ์ กล่าว

อดีตรมว.คลัง ยังเสนอว่า หากพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลและต้องลงทุนเอง 100 % คงจะทุ่มเทในการลงทุนในระบบรถไฟทางคู่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้เท่าตัวเมื่อเทียบกับปัจจุบัน และจะมีการลงทุนที่น้อยกว่า อีกทั้งมีผลในการขนส่งสินค้ามากกว่า ส่วรถไฟความเร็วสูงมีก็ดีแต่ต้องไม่เป็นภาระการเงินการคลังมากเกินไป ตนกังวลว่าถ้ากู้มาลงทุนฝ่ายเดียวอาจจะเป็นภาระการเงินที่มากเกินไปสำหรับเรา เพราะสถานะของประเทศยังไม่มั่นคงพอที่จะลงทุนเองทั้งหมด ยกตัวอย่างที่ ญี่ปุ่น ซึ่งร่ำรวยกว่าเราก็ยังหาข้อสรุปหรือไม่ในการสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 เชื่อม ลอนดอนทางเหนือ

ส่วนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกทม.-เชียงใหม่ นั้น นายกรณ์ ระบุว่า ยิ่งไม่มีความคุ้มค่าเพราะให้ผลแทนทางเศรษฐกิจที่ต่ำ ซึ่งในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เคยมีสถาบันหนึ่งศึกษาความคุ้มค่าในโครงการนี้พบว่าต้องใช้เวลาถึง 300 ปีจึงจะคุ้มทุน แต่หากคิดดอกเบี้ยแล้วตนเห็นว่าอาจจะใช้เวลาถึง 600 ปีจึงจะคุ้มทุน ซึ่งเวลาก็ผ่านไปไม่นานนักตัวเลขไม่น่าจะเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้หากรัฐบาลเดินตามแผนการก่อสร้างในทุกเส้นทางที่ระบุออกมาก็เท่ากับประเทศไทยจะมีหนี้ราว 8 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐต้องทบทวนให้ดีว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ และจะกระทบต่อสถานะการเงินของประเทศหรือไม่

//-------------------

กรณ์ กระตุกรัฐฯ ทบทวนกู้เงินจีน สร้างรถไฟฟ้าเร็วสูง 100%
โดย ไทยรัฐออนไลน์
15 มิถุนายน 2558 19:00


"กรณ์" กระตุกรัฐบาล ทบทวนกู้เงินจีน สร้างรถไฟฟ้าเร็วสูง 100% ห่วงผลักภาระหนี้ มาให้ประชาชนในอนาคต ยัน ช่วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ จีนได้ทำบันทึกข้อตกลงกับไทย จะลงทุนร่วมกัน

วันที่ 15 มิ.ย. 58 นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง กล่าวถึงแผนการลงทุนของรัฐบาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในโครงการความร่วมมือด้านการรถไฟ ระหว่างจีนกับไทย ที่ได้ทำบันทึกความเข้าใจ จะกู้เงินจากจีนมาลงทุนเอง ในเส้นทางรถไฟ สายหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด (ยาวประมาณ 734 กิโลเมตร) ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นแผนยุทธศาสตร์ด้านคมนาคมเดิม ในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ ปี 2553 กำหนดเส้นทางหลักเชื่อมต่อถึงประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้วิธีการร่วมลงทุน ไม่ใช่ไทยลงทุนฝ่ายเดียว ที่สำคัญก่อนหน้านี้ จีนได้ทำบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นกับไทยแล้ว ว่า จะลงทุนร่วมกัน จึงไม่เข้าใจว่า เปลี่ยนเป็นไทยกู้มาลงทุนได้อย่างไร จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนวิธีการใหม่ เพราะ ในอดีตเกือบทุกโครงการ สุดท้ายต้องใช้งบประมาณมากกว่าที่ตั้งไว้ และหากขาดทุนจะเป็นภาระซ้ำซ้อน ทั้งภาระดอกเบี้ย การชำระเงินต้น และภาระขาดทุนเพิ่มเติมด้วย ถ้ารัฐบาลกู้เงินสร้างเอง 100% จะเป็นภาระประชาชนเต็ม 100 แต่คนที่จะได้ประโยชน์ในเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับระบบราง คือ จีน และ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ขายอุปกรณ์รถไฟ ระบบสัญญาณต่างๆ ซึ่งก็น่าจะเป็นทั้งจีน และบริษัทไทยบางบริษัท แต่ผลักภาระหนี้มาให้ประชาชน

//------------------

จี้”บิ๊กตู่”ทบทวนแผนรถไฟจีน ไทยเสียเปรียบ-ปชช.แบกหนี้


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
15 มิถุนายน 2558 21:42 น.

นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง กล่าวถึงแผนการลงทุนของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในโครงการความร่วมมือด้านการรถไฟระหว่างจีนกับไทย ที่รัฐบาลได้ทำบันทึกความเข้าใจว่า จะกู้เงินจากจีนมาลงทุนเองในเส้นทางรถไฟ สายหนองคาย -โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด (ความยาว 734 กม.) ว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นแผนยุทธศาสตร์ด้านคมนาคมที่วางไว้ตั้งแต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี 2553 โดยกำหนดเส้นทางหลักว่าจะเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และใช้วิธีการร่วมลงทุน ไม่ใช่ไทยลงทุนฝ่ายเดียว จึงไม่เข้าใจว่า เหตุใดรัฐบาลจึงตัดสินใจเช่นนี้ เพราะก่อนหน้านี้ จีนเคยทำบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นกับไทยแล้ว ว่าจะลงทุนร่วมกัน
"ผมอยากเห็นเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทย-จีน เพราะผลตอบแทนทางการเงินของโครงการคุ้มค่ายากในบางเส้นทาง ซึ่งจะทำให้ภาระด้านการเงินตกหนักที่ประเทศไทย จึงควรหาวิธีลดภาระด้วยการให้ผู้ที่ได้ประโยชน์อื่นมาร่วมรับภาระกับเรา โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมจีน เป็นแนวคิดตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เป็นโครงการร่วมลงทุน และจีนในขณะนั้นก็ลงนามเบื้องต้นตกลงแล้ว เพราะมีผลประโยชน์ต่อจีนในเชิงยุทธศาสตร์อย่างมาก ถ้าไทยไม่สร้าง แผนการสร้างรถไฟเอเชียสายใต้ไม่มีทางประสบความสำเร็จ ดังนั้น จีนมีกำลังทางการเงินที่เข้มแข็ง และเคยแสดงความพร้อมในอดีตที่จะมาร่วมภาระในส่วนเส้นทางที่ผ่านประเทศไทยด้วย จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนวิธีการใหม่"
นายกรณ์ กล่าวด้วยว่าไม่เข้าใจว่าทำไมเราจึงคิดว่า ควรจะรับภาระนี้ไว้เองคนเดียว ซึ่งเป็นภารที่ไม่น้อย ต้องกู้ยืมเงินหลายแสนล้านบาท ซึ่งในอดีตเกือบทุกโครงการ สุดท้ายต้องใช้งบประมาณมากกว่าที่ตั้งไว้ครั้งแรก จะเป็นภาระขั้นตอนต่อไปที่มากกว่านี้ ถ้ามีผลการดำเนินการขาดทุน จะเป็นภาระซ้ำซ้อน ทั้งในแง่ของภาระดอกเบี้ย การชำระเงินต้น และภาระขาดทุนเพิ่มเติมด้วย ถ้ารัฐบาลกู้เงินสร้างเอง 100 % จะเป็นภาระประชาชนเต็ม 100
" คนที่จะได้ประโยชน์ในเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับระบบราง คือจีน แต่ไทยต้องแบกภาระทางการเงิน และผู้ได้ประโยชน์อื่นๆ คือผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ขายอุปกรณ์รถไฟ ระบบสัญญาณต่างๆ ซึ่งก็น่าจะเป็นทั้งจีน และบริษัทไทยบางบริษัท ถ้าคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ควบคู่ไปด้วย ก็เท่ากับสร้างประโยชน์ให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ผลักภาระหนี้มาให้ประชาชน" นายกรณ์ กล่าว
อดีต รมว.คลัง ยังเสนอว่า หากพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล และต้องลงทุนเอง 100 % คงจะทุ่มเทในการลงทุนในระบบรถไฟทางคู่ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้เท่าตัว เมื่อเทียบกับปัจจุบัน และจะมีการลงทุนที่น้อยกว่า อีกทั้งมีผลในการขนส่งสินค้ามากกว่า ส่วรถไฟความเร็วสูง มีก็ดีแต่ต้องไม่เป็นภาระการเงินการคลังมากเกินไป ตนกังวลว่า ถ้ากู้มาลงทุนฝ่ายเดียวอาจจะเป็นภาระการเงินที่มากเกินไปสำหรับเรา เพราะสถานะของประเทศยังไม่มั่นคงพอที่จะลงทุนเองทั้งหมด ยกตัวอย่างที่ อังกฤษ ซึ่งร่ำรวยกว่าเราก็ยังหาข้อสรุปหรือไม่ในการสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 เชื่อม ลอนดอนทางเหนือ
ส่วนเส้นทางรถไฟความเร็วสูง กทม.-เชียงใหม่ นั้น นายกรณ์ ระบุว่า ยิ่งไม่มีความคุ้มค่า เพราะให้ผลแทนทางเศรษฐกิจที่ต่ำ ซึ่งในช่วงรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผลการศึกษาของราชการเองก็พบว่าไม่คุ้มค่า ทั้งนี้หากรัฐบาลเดินตามแผนการก่อสร้างในทุกเส้นทางที่ระบุออกมา ก็เท่ากับประเทศไทยจะมีหนี้ราว 8 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐต้องทบทวนให้ดี ว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ และจะกระทบต่อสถานะการเงินของประเทศหรือไม่


Last edited by Wisarut on 16/06/2015 11:51 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 15/06/2015 11:03 pm    Post subject: Reply with quote

'ประจิน' เดินหน้ารถไฟไทย-จีน ระบุคนค้านไม่เข้าใจข้อมูล
by Phakaphong Udomkalayalux
Voice TV
15 มิถุนายน 2558 เวลา 17:48 น.

กระทรวงคมนาคม ยืนยันเดินหน้าโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-มาบตาพุด หลังมีหลายฝ่ายคัดค้านโครงการ ระบุ เนื่องจากมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและความเข้าใจผิด

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่า ยังเดินหน้าโครงการรถไฟระหว่างไทยและจีน สายหนองคาย-มาบตาพุด เนื่องจากได้มีการลงนามความร่วมมือ และการประชุมมีความคืบหน้า อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการคัดค้านจึงมาจากความเข้าใจ หรือ ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง จึงขอให้ติดตามดูความก้าวหน้าของโครงการ

ก่อนหน้านี้ ชมรมวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยื่นหนังสือต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คัดค้านโครงการ เพราะ ไม่ผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ และเป็นการลงทุนที่ซ้ำซ้อน รวมทั้งควรมีความกว้างของทางรถไฟ 1 เมตร ตามมาตรฐานอาเซียน มากกว่า 1.435 เมตร

รวมทั้ง นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า โครงการนี้ควรใช้วิธีการร่วมลงทุน2ประเทศ ไม่ใช่ไทยลงทุนฝ่ายเดียว รวมทั้งหากลงทุนในทุกเส้นทางที่ประกาศออกมา จะทำให้ประเทศมีหนี้สินถึง 8 แสนล้านบาท จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนวิธีการใหม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2015 11:36 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:

'ชมรมวิศวฯจุฬาฯ'ยื่นร้องสนช. วอนยับยั้งการลงทุนรถไฟใทย
แนวหน้า 11 มิ.ย. 2558 13:17 น.


วิศวะจุฬาฯค้านสร้างรถไฟหนองคาย-มาบตาพุด
11 มิถุนายน 2558 เวลา 14:36 น.
//------------------------------------------------

แนวทางการปฏิรูประบบรถไฟของไทย โดย ชมรมวิศวฯจุฬาฯร่วมปฏิรูปประเทศไทย
เขียนโดย isranews
หมวดหมู่Thaireform | หลากมิติ | แรงงานและคุณภาพชีวิต | Isranews | คลังข้อมูล | คลังข้อมูลนโยบายสาธารณะ
เขียนวันที่ วันอังคาร ที่ 09 มิถุนายน 2558 เวลา 14:37 น.

แนวทางการปฏิรูประบบรถไฟของไทย
จัดทำโดย ชมรมวิศวฯจุฬาฯร่วมปฏิรูปประเทศไทย (วศ.รปปท.)
ฉบับวันที่ 23 พฤษภาคม 2558
http://www.isranews.org/thaireform-other-news/download/10065/39133/18.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2015 7:09 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมรื้อแผนเมกะโปรเจ็กต์ล้างท่อลงทุน ประจินว้ากงานหลุดเป้า ชงบิิ๊กตู่เคาะไฮสปีดหัวหิน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
16 มิถุนายน 2558 เวลา 09:30:55 น.


เปิดศักราชล้างท่องบประมาณหลังผลงานหลุดเป้า 2 เดือน "ประจิน" สั่งทบทวนแอ็กชั่นแพลนแผนลงทุนคมนาคม หวังกระตุ้นเศรษฐกิจไตรมาส 3 ปรับกรอบเวลาใหม่ เร่งเครื่องการรถไฟฯประมูลทางคู่ จัดแถวมอเตอร์เวย์ รถไฟฟ้า สนามบิน ชง "ครม.ตู่" เคาะก่อนสิ้นปี ยันเดินหน้ารถไฟไทย-จีน-ญี่ปุ่น

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปลายเดือนมิถุนายนนี้เตรียมรีวิวแผนปฏิบัติการ (Action Plan) โครงการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วนปี 2558 ใหม่ให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง เพื่อสอดคล้องกับการกระตุ้นเศรษฐกิจไตรมาส 3 (กรกฎาคม-สิงหาคม) ซึ่งเป็นช่วงปลายปีงบประมาณ 2558 พอดี เนื่องจากผ่านมา 6 เดือนแล้วพบว่าโครงการล่าช้ากว่าแผนไม่ต่ำกว่า 2 เดือน

"เป็นนโยบายของรัฐบาลให้กระทรวงเศรษฐกิจรีวิว Action Plan ในส่วนคมนาคมจะทบทวนทั้งโครงการบก ราง น้ำ อากาศ ปรับตารางเวลาทำงานให้สัมพันธ์กับการใช้จ่ายงบประมาณที่ยังค้างเบิก ตั้งเป้าไม่ให้เกินเดือนธันวาคมนี้"



รถไฟฟ้าหลุดเป้า

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ผลดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผน อาทิ โครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ลอตแรก 489 คัน กำหนดเดิมรับมอบเดือน พ.ค. หวังว่าจะทยอยรับรถ 50 คันแรกภายใน ก.ค.นี้, มอเตอร์เวย์ 3 สาย เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ก.ค.นี้ มีสายบางปะอิน-โคราช ระยะทาง 196 กม. วงเงิน 84,600 ล้านบาท, บางใหญ่-บ้านโป่ง 96 กม. วงเงิน 55,600 ล้านบาท และพัทยา-มาบตาพุด 32 กม. วงเงิน 20,200 ล้านบาท

โครงการรถไฟฟ้ามีสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 34.5 กม. วงเงิน 56,725 ล้านบาท สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) 30.4 กม. วงเงิน 54,768 ล้านบาท และสายสีส้มเฟสแรก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) 21 กม. วงเงิน 110,325 ล้านบาท หลังจากทบทวนระบบเทคนิคเสร็จแล้ว การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะเสนอมายังกระทรวง และอาจจะเสนอซูเปอร์บอร์ดด้วย ก่อนให้ ครม.อนุมัติโครงการภายใน ก.ย.นี้ จากเดิมต้องเสนอตั้งแต่ เม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมา

จัดระเบียบทางคู่

ขณะเดียวกัน เร่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้เปิดประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางที่พร้อมภายใน ก.ย.-พ.ย.นี้ ได้แก่ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 106 กม. วงเงิน 11,384 ล้านบาท และสายจิระ-ขอนแก่น 185 กม. วงเงิน 26,007 ล้านบาท ซึ่งผ่านขั้นตอนการอนุมัติจาก ครม.แล้ว

ส่วนสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม. วงเงิน 17,292 ล้านบาท เพิ่งจะผ่านการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เมื่อ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา คาดว่าจะเสนอ ครม.อนุมัติโครงการภายใน มิ.ย.-ก.ค.นี้ ที่เหลืออีก3 สายทางต้องรอได้รับอนุมัติอีไอเอ ตั้งเป้าทำให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ ได้แก่ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ, มาบกะเบา-จิระ และนครปฐม-หัวหิน

เร่งไฮสปีด กทม.-หัวหินเข้า ครม.

สำหรับรถไฟความเร็วสูงตามนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 193.5 กม. เงินลงทุน 152,712 ล้านบาท มีกลุ่มซีพีสนใจร่วมลงทุน และกรุงเทพฯ-หัวหิน 211 กม. เงินลงทุน 98,399 ล้านบาท มีกลุ่มไทยเบฟเวอเรจแสดงความสนใจ พยายามทำรายละเอียดโครงการให้เสร็จภายใน มิ.ย. เพื่อเสนอให้ ครม.พิจารณา อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเสร็จสายเดียว คือ กรุงเทพฯ-หัวหิน ล่าสุดกลุ่มไทยเบฟได้หารือกับการรถไฟฯแล้ว

"ด้านแผนลงทุนสนามบินสุวรรณภูมิกว่า 1 แสนล้านบาท คาดว่าการประชุม ครม. 16 มิถุนายนนี้จะรายงานเพื่อรับทราบความก้าวหน้า โดยเร่งก่อสร้างสุวรรณภูมิเฟส 2เป็นลำดับแรกหลังผ่านอีไอเอวงเงินกว่า 6 หมื่นกว่าล้านบาท"

รถไฟไทย-จีน-ญี่ปุ่นยังตามแผน

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ส่วนโครงการรถไฟไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่น ขณะนี้ยังเดินหน้าไปตามกรอบเวลา โดยรถไฟไทย-จีนเส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง 873 กม. ช่วงแรกจากกรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด ในเดือนสิงหาคมนี้ผลการศึกษาและออกแบบแล้วเสร็จ จากนั้นจะประเมินราคาเดือนกันยายนและเริ่มก่อสร้างเดือนตุลาคมนี้ ใช้เวลาก่อสร้าง 30 เดือน ส่วนช่วงที่สองจากแก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย ผลการศึกษาจะเสร็จในเดือนธันวาคมนี้หรือต้นปี 2559 จากนั้นเดือนมกราคมจะประเมินราคา เริ่มก่อสร้างเดือนกุมภาพันธ์ ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน

สำหรับรถไฟไทย-ญี่ปุ่น โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 672 กม. วิ่งด้วยความเร็ว 200 กม./ชม. ใช้ระบบเทคโนโลยีชินคันเซ็น ภายใน มิ.ย.นี้จะหารือกรอบเวลาทำงาน, เริ่มศึกษาสำรวจออกแบบ ก.ค.นี้ และเริ่มก่อสร้างกลางปี 2559 โดยไทยและญี่ปุ่นร่วมกันดำเนินการงานก่อสร้าง เน้นขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก

ส่วนเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง 574 กม. เร่งหารือเดือนมิถุนายนนี้เช่นกัน เริ่มศึกษาและสำรวจออกแบบ ก.ค.นี้ ส่วนการเริ่มก่อสร้างรอผลการศึกษา จะเป็นทางคู่ขนานทางมาตรฐาน 1.435 เมตร หรือทางกว้าง 1 เมตร เน้นขนส่งสินค้าเป็นหลัก และขนส่งผู้โดยสารเป็นรอง

ปลัดปุ๋ยลั่นฉลุยก่อนเกษียณ

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ก่อนจะเกษียณอายุราชการในเดือน ต.ค.นี้ จะเร่งผลักดันโครงการใหญ่ของกระทรวงที่ยังติดอีไอเอและกระบวนการต่าง ๆ เสนอให้ ครม.อนุมัติเพื่อเปิดประมูลก่อสร้างให้หมด ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง สนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 มอเตอร์เวย์

อย่างไรก็ตาม จากการที่ พล.อ.อ.ประจินสั่งการให้กระทรวงทบทวนแผนปฏิบัติการนั้น ได้สั่งการให้แต่ละหน่วยงานทบทวนแผนงาน กำหนดกรอบเวลาทำงานใหม่ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับถ้าหากสิ้นเดือน มิ.ย.นี้แผนงานยังไม่เป็นไปตามเป้า

คัดกรองก่อนส่งต่อรัฐบาลใหม่

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การประชุม ครม.วันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการเกี่ยวกับกรณีที่ได้มอบหมายงานให้ไปถ่ายทอดงานของแต่ละกระทรวง ทบวง กรม โดยจัดทำแผนปฏิบัติการว่ามีงานอะไรบ้าง ขณะนี้อยู่ในช่วงโรดแมปขั้นที่ 2 จึงต้องการให้แต่ละกระทรวงติดตามความคืบหน้าและพิจารณาทบทวนแผนปฏิบัติการ

ทั้งนี้ แต่ละกระทรวงต้องไปกำหนดมาว่าในระยะที่ 1 ก่อนที่รัฐบาลจะเข้ามา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ดำเนินการในเรื่องใดมาแล้วบ้างที่เกี่ยวข้องกับงานของกระทรวงนั้น ๆ ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาล คสช.เข้ามาได้ดำเนินการในเรื่องใดบ้าง และมีเรื่องใดที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จ เพื่อจะได้ส่งต่อให้รัฐบาลชุดต่อไปในช่วงที่ 3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2015 8:52 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นยันร่วมมือไทยพัฒนาระบบราง ตั้งกก.ร่วมเริ่มงานก.ค.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
15 มิถุนายน 2558 19:38 น.



ทูตญี่ปุ่นพบ”ประจิน”พร้อมดันร่วมมือระบบรางไทย-ญี่ปุ่น เริ่มทำงานร่วมกัน ตั้งแต่ ก.ค.นี้ รับปากเร่งเจรจารถไฟสีแดงสัญญา 3 สีแดง “ประจิน” ยัน 18 มิ.ย.สรุปผลปัญหาการบินหลัง”อาคม”เดินทางไปหารือประธาน ICAO ยอมรับกระทบการบินของไทยแน่หากICAO ประกาศต่อสาธารณะ พร้อมเตรียมมาตรการรับมือแล้ว ยังหวัง ICAO ให้โอกาสไทยแก้ไขสักระยะ

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังนายชิโระ ซะโดะชิมะ (H.E. Mr. Shiro Sadoshima) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคาราวะ ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ใหม่ เมื่อวันที่15 มิ.ย. ว่า ทางญี่ปุ่นเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความร่วมมือกันให้เกิดความประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาระบบราง เช่น รถไฟความเร็วสูง หรือรถไฟทางคู่ เพื่อการขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์ร่วมกัน 2 ฝ่าย ซึ่งญี่ปุ่นจะนำเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยสูงเข้ามาใช้งานในประเทศไทย และยืนยันว่าจะส่งเจ้าหน้าที่ร่วมฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของประเทศไทยในเรื่องของระบบราง พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมหารือ ภายในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ เพื่อประชุมในระดับกระทรวงร่วมกัน 2 ฝ่าย เพื่อหาข้อยุติร่วมกันในกรอบความร่วมมือการพัฒนาระบบรางของ 2 ประเทศ และกรอบการทำงานที่จะเริ่มตั้งแต่เดือนก.ค. เป็นต้นไป และยืนยันเจตนารมณ์ ว่าจะสนับสนุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยเฉพาะการเจรจาสัญญา3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) ให้แล้วเสร็จตามกรอบที่กำหนด ให้เรียบร้อยเร็วที่สุดโดยทางกระทรวงคมนาคม ได้มีการเพิ่มเติมเรื่องของการผลักดันการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น โดยถือว่าเป็นการยกระดับของทั้ง 2 ประเทศให้มีนักเที่ยวเพิ่มมากขึ้นด้วย

"ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้เสนอรายชื่อคณะทำงานความร่วมมือร่วมไทย-ญี่ปุ่นในการพัฒนาระบบราง ต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อลงนามแต่งตั้งแล้วหลังจากวันที่ 26 มิ.ย.แล้ว จะมีการประชุมร่วมของคณะทำงาน 2 ฝ่าย ซึ่ง ซึ่งทางญี่ปุ่น จะมีผู้แทนจากกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค คมนาคม และท่องเที่ยว ของญี่ปุ่น (MLIT) และ JR East และ Japan Railway East มาพูดคุยกันและจะเริ่มทำงานกันตั้งแต่เดือนก.ค.นี้เป็นต้นไป ส่วนทางการเงินจะหารือกันในลำดับต่อไป”พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ขณะนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เดินทางไปพบ ประธานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และคาดว่า ในวันที่ 18 มิ.ย.จะรวบรวมข้อมูลการเจรจาทั้งหมด เพื่อแถลงข่าวความก้าวหน้า ซึ่งการเดินทางไปครั้งนี้ เพื่อชี้แจงความก้าวหน้าในการปรับปรุง แก้ปัญหาข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (SSC) และบทบาทหน้าที่ โครงสร้าง กติกาและคู่มือ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ของกรมการบินพลเรือน (บพ.) เพื่อให้เป็นมาตรฐานความปลอดภัย โดยผลจะมี 3 แนวทาง คือ 1. ทาง ICAO คงสถานะที่ประกาศสำหรับ บพ.ไทยไปสักระยะหนึ่ง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะพิจารณาการแก้ปัญหาได้ชัดเจน 2. ให้โอกาสไทยในการดำเนินการแก้ไขพร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติม ซึ่งถือเป็นแนวทางบวก หรือ 3. เป็นแนวทางลบ คือ อาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ เกี่ยวกับมาตรฐานของไทย ซึ่งจะทำให้สมาชิก ICAO เพ่งเล็งและแบนหรือระงับการบินของสายการบินประเทศไทย ซึ่งเป็นไปได้ทั้ง 3 รูปแบบ

“การแก้ปัญหา บพ. ต้องใช้มาตรา 44 เข้ามาดำเนินการในบางเรื่อง เช่น การขอเพิ่มอัตรากำลัง และการปรับโครงสร้าง บพ. เรื่องจำนวนการบรรจุอัตรา ในสำนักงานการบินพลเรือนฯ กรมการท่าอากาศยาน และงบประมาณที่จะเสนอขอ อย่างไรก็ตาม หากข้อสรุปหลังวันที่ 18 มิ.ย. เป็นแนวทางที่ 3 ซึ่งเป็นผลลบกับไทยนั้น ยอมรับว่าจะมีผลกระทบต่อไทยแน่นอน แต่ไทยได้เตรียมมาตรการรองรับไว้แล้ว เช่น การปรับบทบาทหน้าที่ ปรับโครงสร้างบพ. กฎกติกา เพื่อทำให้มีความเข้มแข็งมากที่สุด ส่วนสายการบิน และสนามบิน จะต้องหารือกับผู้บริหารสายการบินและสนามบินให้ปรับมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับ โดยในส่วนของสายการบินนั้น มีความชัดเจนว่าจะร่วมมือกันในการพัฒนาตัวเอง และสร้างความเชื่อมั่นกับประเทศต่างๆ ที่บินเข้าออก ส่วนบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. มีความพร้อมอยู่แล้ว ดังนั้นมั่นใจว่า จะมีสายการบินทำการบินเข้าออกประเทศไทยแน่นอน นอกจากนี้จากที่ บพ.เดินทางไปพบกับประเทศที่เป็นพันธมิตรกับไทยทั้งออสเตรเลีย เยอรมัน ไม่ได้ติดใจอะไร และยืนยันว่าจะไม่สร้างปัญหาที่เป็นผลกระทบกับประเทศไทย”พล.อ.อ.ประจินกล่าว

//--------------

ไทย-ญี่ปุ่นเร่งรถไฟฟ้าความเร็วสูง
บ้านเมือง
วันอังคาร ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558, 09.30 น.



พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังที่อัครราชทูตประเทศญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้เดินทางเพื่อแนะนำตัวอย่างเป็นทางการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยมีเป้าหมายสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่คือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความร่วมมือกันให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาระบบราง อย่างรถไฟความเร็วสูง หรือรถไฟทางคู่ ก็จะเน้นให้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งจะนำเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยสูงเข้ามาใช้งานในประเทศไทย โดยทางประเทศญี่ปุ่นก็ยืนยันว่าจะส่งเจ้าหน้าที่ร่วมฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของประเทศไทยในเรื่องของระบบราง โดยยันยืนเจตนารมณ์ว่าจะร่วมสนับสนุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงให้แล้วเสร็จตามกรอบที่กำหนด โดยจะช่วยผลักดันการเจรจาสัญญาที่ 3 เรียบร้อยให้เร็วที่สุด พร้อมทั้งยืนยันว่าจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมภายในวันที่ 26 มิถุนายนนี้ โดยจะมีการประชุมร่วมกันระหว่าง 2 ฝ่าย เพื่อจะสรุปข้อยุติร่วมกันในส่วนของระบบรางของ 2 ประเทศ และกรอบการทำงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นในความร่วมมือกัน โดยทางกระทรวงคมนาคมได้มีการเพิ่มเติมเรื่องของการผลักดันการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดยถือว่าเป็นการยกระดับของทั้ง 2 ประเทศให้มีนักเที่ยวเพิ่มมากขึ้นด้วย


นอกจากนี้ พล.อ.อ.ประจิน กล่าวภายหลังการร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่องการสนับสนุนสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ โดยมีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ทั้งนี้ การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อร่วมกันสนับสนุนผลิตภัณฑ์ผลไม้และพืชผักสด รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรของไทย โดยมีบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นสื่อกลางนำผลไม้พืชผักสด ผลิตภัณฑ์จากสถาบันเกษตรกรเผยแพร่ไปสู่ผู้บริโภคทั่วโลก เป็นระยะเวลา 3 ปี เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายผลผลิตที่ได้มาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตผลไม้และพืชผักของเกษตรกรไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44603
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/06/2015 5:57 pm    Post subject: Reply with quote

หม่อมอุ๋ย จ่อดึงเอกชนเช่ารางรถไฟทางคู่
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2558 16:59น.

"หม่อมอุ๋ย" เตรียมดึงเอกชนเช่ารางรถไฟทางคู่ 2,700 กม. ยัน ท่าเรือปากบารา จำเป็นระบายสินค้าจากแหลมฉบังที่จะเต็มพื้นที่อีก 3 ปี ข้างหน้า

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในงาน Industrial Supply Chain Logistics Conference 2015 ว่า ปัจจุบันโลจิสติกส์ของไทย โดยเฉพาะด้านการขนส่งมีต้นทุนค่อนข้างสูง เพราะร้อยละ 70 พึ่งพาการขนส่งทางรถยนต์ ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าการขนส่งทางรถไฟ ที่มีสัดส่วนการขนส่งเพียงร้อยละ 1.7 ประมาณ 4-5 เท่า ดังนั้น รัฐบาลชุดนี้จึงมีกำหนดนโยบายชัดเจนในการเดินหน้ารถไฟรางคู่ ภายในปี 2563 รวมระยะทาง 2,700 กิโลเมตร และหากสร้างเสร็จ จะหารือกับทางการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อเปิดให้เอกชนเช่าราง รวมทั้งตู้คอนเทนเนอร์ เพราะจะทำให้มีการแข่งขัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการรถไฟฯ ดูแลในภาพรวม

นอกจากนี้ อีกนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อยกระดับโลจิสติกส์ของไทย คือ การเพิ่มท่าเรือน้ำลึก เพื่อการขนส่งสินค้าของประเทศ จากปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี จะเต็มที่อีก 3-4 ปีข้างหน้า รัฐบาลจึงต้องการให้กระทรวงคมนาคม เร่งผลักดันท่าเรือปากบารา จ.สตูล เพราะจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการขนส่งสินค้า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44603
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/06/2015 4:33 pm    Post subject: Reply with quote

หยุดรถไฟความเร็วสูงจีนญี่ปุ่น-1 ก่อนสร้างความหายนะ
ไทยรัฐออนไลน์ โดย ลม เปลี่ยนทิศ 24 มิ.ย. 2558 05:01

วันนี้ผมมีจดหมายค้างจากสัปดาห์ที่แล้ว เป็นจดหมายสำคัญที่ คุณวาณี อำไพกิจพาณิชย์ เลขานุการ คณะทำงานระบบราง ชมรมวิศวะ จุฬาฯ ร่วมปฏิรูปประเทศไทย (วศ.รปปท.) ส่งถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และสำเนามาถึงผมรายงานเรื่อง “แนวทางปฏิรูประบบรถไฟของไทย” ด้วยความเป็นห่วงว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจีนและญี่ปุ่นของรัฐบาล อาจนำไปสู่ การตัดสินใจที่ผิดพลาด และ การลงทุนที่ผิดพลาด ซึ่งจะ สร้างภาระให้ชาติ และ อนุชนรุ่นหลัง ไม่น้อยไปกว่า ความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว

ผมคิดว่า พล.อ.ประยุทธ์ ต้องอ่าน ก่อนที่โครงการรถไฟความเร็วสูงที่ตัดสินใจกันอย่างเร่งด่วน จะสร้างความเสียหายแก่ชาติยิ่งกว่าโครงการรับจำนำข้าว เนื้อหาในจดหมายค่อนข้างยาว ผมจะพยายามตัดทอนให้กระชับ เชิญอ่านครับ

“สืบเนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศ แผนการลงทุนร่วมกับประเทศจีน ใน โครงการก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 ม. สายหนองคาย-แก่งคอย-มาบตาพุด เพื่อเชื่อมต่อกับจีน ที่ กระทรวงคมนาคม กำลังดำเนินการอย่างเร่งรีบ ในฐานะกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่คลุกคลีอยู่กับระบบรางของไทยมาหลายสิบปี มีความห่วงใยและเป็นทุกข์อย่างมาก เพราะเล็งเห็นถึง ความเสียหายใหญ่หลวง และ ผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อทิศทางการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของประเทศไทย ทีมงาน วศ.รปปท. จึงขอโอกาสที่จะให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งด้วยความจริงใจ เพื่อเป็นข้อมูลให้ท่านได้ทบทวนความเหมาะสมในการลงทุนต่อไป ดังนี้

1. ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับขนาดความกว้างของทางรถไฟ จนมีคนไปวิเคราะห์ว่า ระบบรางของไทยไม่พัฒนา เพราะขนาดความกว้างของทางรถไฟไม่ได้มาตรฐาน คือ กว้าง 1.00 ม. หรือ มิเตอร์เกจ ควรไปใช้ความ กว้างมาตรฐาน 1.435 ม. หรือ สแตนดาร์ดเกจ ความจริงก็คือ ยูโรเปียน สแตน-ดาร์ดเกจ เพราะมาจากยุโรป เนื่องจากความกว้างของทางรถไฟในยุโรปแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ไม่สามารถวิ่งถึงกันได้ จึงเกิดข้อตกลงร่วมกันเลือกขนาดรางที่มีมากที่สุดในขณะนั้นคือ 1.435 ม. มาเป็นมาตรฐานจนถึงทุกวันนี้

(ผมขอหมายเหตุสักนิด สาเหตุที่ทางรถไฟยุโรปไม่เท่ากัน เกิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อป้องกันศัตรูขนอาวุธและทหารทางรถไฟ แต่ละประเทศจึงทำรางให้ไม่เท่ากัน)

หากเรา ยึดความคิดของยุโรป มาพัฒนารางในอาเซียน ก็จะพบว่า ความกว้างทางรถไฟ 1.00 ม. คือ มาตรฐานของอาเซียน หรือ อาเซียน สแตนดาร์ดเกจ ถ้ามีการพัฒนาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเหมาะสม ระบบราง 1.00 ม. จะกลายเป็นระบบรางที่มีประสิทธิภาพในอาเซียน ใช้เงินลงทุนถูกที่สุด มีสมรรถนะดีที่สุด สามารถวิ่งได้เร็วถึง 160 กม./ชม.

(ผมขอหมายเหตุอีกนิด โครงการรถไฟไทยจีนบนราง 1.435 ม. ที่รัฐมนตรีคมนาคมรีบไปเซ็นกับจีน มีเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอยด้วย วิ่งด้วยความเร็วเพียง 180 กม./ชม.เท่านั้น แต่ใช้เงินลงทุนสูงกว่าราง 1.00 ม.หลายเท่าตัว)

2. ที่ผ่านมาหลายประเทศในเอเชียต่างก็ถกเรื่องขนาดความกว้างของรางมาแล้วทั้งสิ้น หลายประเทศก็เรียนรู้และก้าวข้ามเรื่องนี้ไปนานแล้ว บางประเทศก็เรียนรู้จากการลงทุนที่เสียหายไปแล้ว เช่น เวียดนาม วันนี้เลยเกิดทางรถไฟ 3 ราง เพื่อแก้ปัญหาราง 1.435 ม. กลับไปเป็นราง 1.00 ม. มาเลเซีย ก็ศึกษาอยู่หลายปีจนได้ข้อสรุปว่า ควรทำรางคู่ขนาด 1.00 ม. เป็นระบบรถไฟฟ้า และล้มเลิกความคิดที่จะเปลี่ยนความกว้างของรางรถไฟเป็น 1.435 ม.ไปแล้ว

ส่วน ญี่ปุ่น ที่กำลังขายรถไฟความเร็วสูง 1.435 ม. ให้ไทย ทางรถไฟญี่ปุ่นมี ทั้งหมด 26,696 กม. เป็น รางกว้าง 1.067 ม.ถึง 22,301 กม. (84%) รถไฟความเร็วสูงชินกับเซน และ รถไฟธรรมดารางกว้าง 1.435 ม. มีเพียง 4,251 กม. (16%) เท่านั้น

จะเห็นว่า ระบบรางรถไฟไทยที่มีปัญหา ไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางโลจิสติกส์ของประเทศได้ ไม่ใช่ปัญหาขนาดความกว้างของราง แต่เป็น ปัญหาจากนโยบายที่ผิดพลาด ในการพัฒนาระบบรางในอดีตที่ ขาดทิศทาง องค์กรรถไฟอ่อนแอ และขาดการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างถูกต้อง” (พรุ่งนี้ว่ากันต่อครับ)

“ลม เปลี่ยนทิศ”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 43, 44, 45 ... 121, 122, 123  Next
Page 44 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©