Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311290
ทั่วไป:13271483
ทั้งหมด:13582773
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 46, 47, 48 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44627
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/07/2015 4:12 pm    Post subject: Reply with quote

ดันทุรังรถไฟจีน สร้างหนี้ท่วมหัวลูกหลานไทย
ไทยรัฐ โดย ลม เปลี่ยนทิศ 10 ก.ค. 2558 05:01

ก๊อ “น่าห่วง” อนาคตประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศเดินหน้า สร้างรถไฟความเร็วสูงไทยจีนให้ได้ในรัฐบาลนี้ อย่างน้อยช่วงแรก ช่วงต่อไปก็ให้รัฐบาลต่อไปทำ ทั้งที่รัฐบาลเองก็ยังไม่มีข้อมูลการลงทุนว่าคุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ และไม่เคยบอกประชาชน แต่ประชาชนกลับต้องแบกเงินกู้หลายแสนล้านบาท เป็นหนี้ให้ลูกหลานใช้ไปอีกหลายชาติ

ที่น่าแปลกใจก็คือ รัฐบาลเร่งเดินหน้าโครงการนี้อย่างเร่งรีบจนผิดสังเกตพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีคมนาคม แถลงว่า จะสรุปความเห็นชอบจาก 2 ฝ่ายภายในวันที่ 29 สิงหาคม ก่อนเสนอ ครม.อนุมัติในวันที่ 10 กันยายน และ เข้าสู่ขั้นตอนการจัดทำร่างสัญญาโครงการต่อไป ทั้งที่ยังไม่มีผลการศึกษาเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุน และความเสี่ยงในการลงทุนเลย ผมไม่เชื่อว่า โครงการหลวมๆอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้จริง แม้รัฐบาลจะมีอำนาจมากมายก็ตาม

โครงการรถไฟไทยจีน เป็นความต้องการอย่างยิ่งยวดของจีน เพื่อขนสินค้าจีนจาก เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ลงใต้มาทาง เวียงจันทน์ เข้าไทยทาง หนองคาย ต่อไปยัง มาบตาพุด เพื่อออกทะเลที่ ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นรางขนาด 1.435 เมตร ที่ไม่มีในไทย เพราะจีนต้องการใช้ขนสินค้าเป็นหลัก จึงกำหนดความเร็วที่ 180 กม.ต่อชั่วโมง ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูง 250 กม.ต่อชั่วโมง ที่เป็นรถโดยสาร

โครงการนี้ พล.อ.อ.ประจิน ระบุว่า เบื้องต้นจะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 420,000 ล้านบาท แต่เมื่อรัฐบาลอนุมัติให้สร้างที่ความเร็ว 180 กม.ต่อชั่วโมง มูลค่าโครงการจะถูกลง แต่ถูกลงเท่าไร รัฐบาลก็ยังไม่มีข้อมูล แต่กลับเร่งเสนอ ครม.อนุมัติในวันที่ 10 กันยายน

ประเด็นที่ผมอยากตั้งเป็นข้อสังเกตถึง พล.อ.ประยุทธ์ ก็คือ

1.ทำไมรัฐบาลจึงตัดสินใจสร้างรถไฟไทยจีนที่ ความเร็วแปลกๆ คือ 180 กม.ต่อชั่วโมง บนรางขนาด 1.435 ม. ทำให้ทางรถไฟสายนี้ เชื่อมต่อกับรางรถไฟไทยที่มีอยู่ในประเทศไม่ได้ เชื่อมต่อกับรถไฟจีนได้เพียงประเทศเดียวในภูมิภาคนี้

2.ทำไมรัฐบาลไม่สร้าง รถไฟรางขนาด 1.00 ม. วิ่งด้วยความเร็ว 160 กม.ต่อชั่วโมง เพื่อให้รถไฟไทยสามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในแหลมทองได้ทุกประเทศ ทั้ง มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม เพราะใช้รางขนาด 1.00 ม.เท่าไทยหมด ซึ่งจะได้ประโยชน์ในอนาคตมากกว่ารถไฟจีน

3.ต้นทุนการก่อสร้างรางขนาด 1.435 ม. แพงกว่าต้นทุนการก่อสร้างรางขนาด 1.00 ม.สองถึงสามเท่า ตัวขบวนรถราง 1.435 ม. ระบบการเดินรถบนรางขนาด 1.435 ม. ก็แพงกว่าขนาด 1.00 ม.หลายเท่า การดูแลรักษาในอนาคตก็แพงกว่าหมด ซึ่งต้นทุนมหาศาลที่ไทยต้องรับผิดชอบในอนาคตตลอดไป

4.การลงทุนรถไฟสายนี้ 420,000 ล้านบาท ไทยเป็นฝ่ายลงทุนเองเกือบทั้งหมด ตั้งแต่ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างทางราบ อุโมงค์ลอดภูเขาต้องจ้างจีนก่อสร้าง มีบริษัทจีนเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งหมด จีนแทบไม่ได้ลงทุนอะไรเลย แค่ร่วมทุนในบริษัทเดินรถ ที่ไทยต้องลงทุนอีกมหาศาล เพื่อซื้อขบวนรถไฟจากจีน ซื้อระบบเดินรถจากจีน และต้องกู้เงินจากจีนอีก จีนมีแต่ได้กับได้ แต่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย สัญญานี้ไทยเสียเปรียบมหาศาล พล.อ.ประยุทธ์จะไฟเขียวให้ลงทุนหรือ

5.เงินลงทุนก้อนนี้ ไม่ว่ากู้ในไทยหรือกู้จากจีน ก็เป็นหนี้ก้อนโตที่ลูกหลานไทยทุกคนต้องร่วมชดใช้ในอนาคต หนี้ที่เห็นอยู่ทนโท่ว่า โครงการนี้ขาดทุนแน่นอน คนไทยไม่ได้ประโยชน์ แล้วเราจะไปเสียค่าโง่ลงทุนให้จีนทำไม

เงินทองเป็นสิ่งหายากในยามนี้ คนไทยทุกข์ยากกันทั้งประเทศ เพราะเศรษฐกิจการเงินวิกฤติไปทั่วโลก ชาวนาไม่มีจะกิน รัฐบาลยังบอกว่าไม่มีเงินช่วย แต่ รัฐบาลจะไปกู้เงินลงทุน 4 แสนกว่าล้านบาท สร้างรถไฟให้จีนขนสินค้า พวกท่านจะบอกกับ พระสยามเทวาธิราช ว่าอย่างไร อย่าเพิ่มหนี้ให้ชาติซ้ำรอย โครงการรับจำนำข้าว เลยครับ.

“ลม เปลี่ยนทิศ”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44627
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/07/2015 7:12 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นพบ”ประจิน”เสนอขยายแหลมฉบังดันเป้าส่งออกรถยนต์เป็น 2 ล้านคัน/ปี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กรกฎาคม 2558 18:56 น.

หอการค้าญี่ปุ่นพบ”ประจิน” ขอไทยเร่งขยายขีดความสามารถท่าเรือแหลมฉบัง หวังเพิ่มเป้าส่งออกรถยนต์ จาก 1.5-1.8 ล้านคันต่อปีเป็น 2 ล้านคันต่อปี และแก้ปัญหาจราจรติดขัด “ประจิน”เผยเดินหน้าแผนขยายเต็มที่พร้อมเร่งแหลมฉบังเฟส 3 ด้วย คาดเริ่มก่อสร้างปี 60

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลัง นายอะกิระ มูราโคชิ ประธานหอการค้าญี่ปุ่น (JCC) พร้อมเลขาและผู้บริหาร เข้าพบวันนี้(10 ก.ค.) ว่า เป็นการมาแนะนำตัวในโอกาสรับตำแหน่งซึ่งทางหอการค้าญี่ปุ่นได้นำเสนอประเด็นที่จะเป็นความร่วมมือกัน ในเรื่องการขนส่งทางน้ำและการขนส่งทางราง โดยหอการค้าญี่ปุ่นเห็นว่า ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.)ของไทยมีความคับคั่ง โดยเฉพาะการจราจรของถนนด้านหน้าท่าเรือ ซึ่งได้ชี้แจงว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขปัญหาในการขยายไหล่ทางและทำสะพานกลับรถ (ยูเทิร์น) และเพิ่มเส้นทางด่วนเพื่อให้รถอื่นที่ไม่ใช่รถบรรทุก วิ่งในเส้นทางเดียวกันมีทางเลือก ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาจราจรที่เข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบังคล่องตัวขึ้น

นอกจากนี้ ทางหอการค้าญี่ปุ่นต้องการให้ไทยขยายท่าเรือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกรถยนต์ให้มากขึ้น โดยปัจจุบันปริมาณการส่งออกรถยนต์อยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านคัน – 1.8 ล้านคันต่อปี ญี่ปุ่นมีเป้าหมายขยายการส่งออกเป็นอย่างน้อย 2 ล้านคันต่อปี ซึ่งขณะนี้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) อยู่ระหว่างปรับปรุง ท่าเทียบเรือ A ซึ่งเป็นท่าเรือชายฝั่งรับเรือขนาดกลางลงมา ส่วนท่าเทียบเรือ B,C,D ของท่าเรือแหลมฉบังนั้นจะมีการปรับการบริหารเพื่อให้สามารถรองรับสินค้าเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น พร้อมกับจะมีการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 โดยคาดว่าจะเริ่มได้ในปี 2560

ส่วนการขนส่งทางรางนั้นระหว่าท่าเรือแหลมฉบัง – ลาดกระบัง ขณะนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รับมอบรถจักรใหม่ครบ 20 คันแล้ว ซึ่งจะแก้ปัญหาหัวรถจักรไม่เพียงพอได้ โดยหลังจากนี้จะสามารถให้บริการด้านขนส่งสินค้าทางรางได้มากขึ้น โดยตั้งแต่เดือนก.ค. 2558 เป็นต้นไป จะมีการปรับปรุงการขนส่งสินค้าทางราง ในเส้นทางดงกล่าวเกิดความคล่องตัวมากขึ้น และในอนาคตจะมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟจากท่าเรือแหลมบัง-กรุงเทพ โดยอยู่ระหว่างหารือกับญี่ปุ่น ตามข้อตกลงการพัฒนาระบบราง ไทย-ญี่ปุ่น ว่าจะพัฒนาเป็นรางขนาด 1 เมตรหรือ ขนาด 1.435 เมตร ซึ่งจะทำให้การขนส่งมีทางเลือกเพิ่มขึ้น

“ขณะนี้ทางญี่ปุ่นได้ขอสำรวจเส้นทางรถไฟจากกาญจนบุรี-แหลมฉบัง จะผนวกโครงการนี้เข้าไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ


พร้อมกันนี้ ทางญี่ปุ่นเสนอให้ไทยปรับปรุงการขนส่งทางรถบรรทุกข้ามแดนไปประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีปัญหาการถ่ายรถ หรือเปลี่ยนรถ ซึ่งรัฐบาลไทยทราบปัญหาเช่นกัน โดยกำลังเร่งเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในรูปแบบ เจรจา 2 ฝ่าย คือ ไทย-พม่า ไทย-ลาว ไทย-กัมพูชา เพื่อให้ได้ข้อยุติ และบางคณะเป็นการเจรจา 3 ฝ่าย โดยมีแผนแม่บทด้านโครงข่ายถนน ทั้ง R3, R8, R 9 ,R 12 ในการเชื่อมการขนส่งด้วยรถบรรทุกไว้รองรับแล้ว โดยจะเหลือในเรื่องขั้นตอนทางกฎหมายและขั้นตอนกระบวนการและการตรวจสินค้า เท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44627
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/07/2015 11:31 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐบาล เดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
วันที่ข่าว : 10 กรกฎาคม 2558

รัฐบาล เดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี ตั้งเป้าหมายพัฒนาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติเกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ในระยะ 20 ปี ว่า รัฐบาลมีแผนพัฒนาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง และสามารถเดินหน้าได้อย่างยั่งยืน โดยการกำหนดบทบาท หน้าที่ในการพัฒนาประเทศให้มีความชัดเจน ซึ่งระยะที่ 1 รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อทำการขับเคลื่อน และสร้างการรับรู้ให้เกิดการยอมรับในทุกภาคส่วน ผ่านการกำหนดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ อาทิ การจัดทำยุทธศาสตร์ด้านเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยให้ดีขึ้น ลดภาระหนี้สิน เพิ่มรายได้ การกำหนดโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความชัดเจน โดยการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากภาคการผลิต ภาคการบริการ ภาคการค้า เพื่อเพิ่ม GDP ให้มากขึ้นจากเดิม

ส่วนโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลได้วางแผนระยะยาวตั้งแต่ พ.ศ. 2565 - 2569 ทั้งในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนกับภาครัฐ และการร่วมทุนกับต่างประเทศ หรือ จี ทู จี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การเชื่อมโยงในภูมิภาค ทั้งระบบราง ระบบการขนส่ง การปรับปรุงสนามบิน เพื่อรองรับการค้าการลงทุน รวมไปถึงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งทุกโครงการจะต้องดำเนินการด้วยความละเอียดรอบคอบ โดยคาดว่า จะเริ่มเห็นความชัดเจนด้านการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือเส้นทางรถไฟทางคู่ในปลายปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44627
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/07/2015 6:53 am    Post subject: Reply with quote

BTS ขอถอนตัวลงทุนรถไฟทางคู่
ข่าวหุ้น 2015-07-16 12:02:00

เหตุ “ประจิน” ยันยกงานก่อสร้างให้ไม่ได้

"บีทีเอส" ถอนตัวแผนลงทุนระบบรถไฟทางคู่สายใหม่ หลัง “ประจิน” ยันไม่สามารถยกงานก่อสร้างให้ได้ เพราะกระทบแผนเปิดประมูล แต่ยังเดินหน้าเสนองานพัฒนาพื้นที่ กม.11 ต่อ

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ล่าสุดบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ได้แจ้งขอยกเลิกการเสนอตัวลงทุนก่อสร้าง และเดินรถสินค้าในเส้นทางรถไฟทางคู่ขนาดรางกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge) ตั้งแต่ จ.ขอนแก่น-มาบตาพุด จ.ระยอง รวมทั้งจัดหารถจักรแบบดีเซลและแบบไฟฟ้ามาให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เช่าใช้

ทั้งนี้เนื่องจากกระทรวงคมนาคมได้ยืนยันกับ BTS แล้วว่า ไม่สามารถยกงานก่อสร้างให้ BTS รับไปได้ เพราะขณะนี้ ร.ฟ.ท.มีแผนชัดเจนที่จะเปิดประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั้งหมดแล้ว หากปรับแผนด้วยการมอบให้ BTS รับงานก็จะกระทบต่อแผนการเสนอของบประมาณ และอาจทำให้โครงการล่าช้า BTS จึงระบุว่าหากไม่ได้รับงานก่อสร้าง ก็จะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนเรื่องระบบและหัวรถจักรไฟฟ้า ดังนั้นจึงขอถอนตัวจากการลงทุนดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม พล.อ.อ.ประจิน กล่าวต่อว่า BTS ยังคงยืนยันที่จะเสนอตัวลงทุนเรื่องการพัฒนาที่ดินบริเวณ กม.11 ถนนกำแพงเพชร ของ ร.ฟ.ท.จำนวน 359 ไร่ต่อไป ซึ่งขณะนี้คาดว่า BTS จะนำส่งรายละเอียดมายังนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่า ร.ฟ.ท.แล้ว จากนั้น ร.ฟ.ท.จะตั้งคณะกรรมการ พร้อมจัดจ้างที่ปรึกษามาพิจารณาเรื่องดังกล่าว ก่อนจัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR)

“คาดว่าตอนนี้ BTS คงส่งรายละเอียดแผนการทำงานมายังผู้ว่า ร.ฟ.ท.แล้ว แต่ BTS ก็ต้องยอมรับข้อหนึ่งด้วยว่า แม้เขาเสนอแผนการทำงานมา แต่เราก็ไม่สามารถยกโครงการนี้ให้ BTS ได้ ยังไงก็ต้องเปิดประมูล ซึ่ง BTS เขายอมรับได้ที่จะส่งแผนมาให้เราดูฟรีๆ ก่อน” พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามแผนเบื้องต้นที่ BTS นำเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาจะใช้เงินลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท แบ่งดำเนินงานเป็น 4 แผนงาน คือ
1.สร้างคอนโดมิเนียมจำนวน 5,000 ยูนิต สำหรับพนักงาน ร.ฟ.ท.อยู่อาศัยฟรี โดยแบ่งเป็น 2 ขนาด คือ ขนาด 42 ตารางเมตร และ 56 ตารางเมตร
2.จัดสรรพื้นที่ค้าขายให้กับผู้ค้ารายเดิม
3.จัดสรรพื้นที่สวนสาธารณะ และ
4.จัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง
ซึ่งส่วนนี้จะเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้ BTS หารายได้โดยคิดเป็น 60-70% ของพื้นที่ทั้งหมด พร้อมทั้งจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าแบบรางเดี่ยว (Mono Rail) เพื่อวิ่งบริการในพื้นที่ กม. 11 กับพื้นที่ใกล้เคียง เช่น จตุจักร บางซื่อ

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวเพิ่มเติมถึง โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือ CP และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ TBEV เคยเสนอตัวเข้าลงทุนว่าประมาณปลายเดือนกรกฎาคมนี้ เอกชนทั้ง 2 รายจะมาเสนอแผนการลงทุนมาให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งทางกระทรวงฯ ยืนยันเช่นกันว่าต้องเปิดประกวดราคา ไม่สามารถยกให้รายใดรายหนึ่งได้

ทั้งนี้ CP ได้เสนอขอลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-มาบตาพุด (ระยอง) ระยะทาง 194 กิโลเมตร วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท โดยร่วมทุนกับบริษัทจากจีนและฮ่องกงที่มีความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้าง คือ
1.บริษัท CITIC Construction Co., Ltd. จากฮ่องกง ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งเรื่องการออกแบบ เป็นที่ปรึกษา รับเหมาก่อสร้าง และมีสถาบันการเงินของตัวเอง
2.บริษัท HNA Group จากประเทศจีน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างท่าเรือ และรถไฟ ด้าน TBEV เสนอตัวขอลงทุนเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน มีระยะทาง 211 กิโลเมตร วงเงิน 81,136.20 ล้านบาท โดยอาจร่วมทุนกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างจากประเทศสิงคโปร์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44627
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/07/2015 4:02 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ ยัน ต.ค.นี้ต้องเริ่มเดินหน้าโครงการรถไฟรางคู่ไทย-จีนให้ได้
สำนักข่าวไทย 2015/07/24 3:17 PM

ทำเนียบฯ 24 ก.ค.-นายกฯ ยืนยัน ต.ค.นี้ ต้องเริ่มเดินหน้าโครงการรถไฟรางคู่ไทย-จีนให้ได้

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้เร่งรัดให้เดินหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ด้านคมนาคมขนส่งระบบรางให้เร็วยิ่งขึ้น เพราะขณะนี้ยังติดปัญหาในเรื่องของ TOR ที่ยังทำไม่ได้ ดังนั้นต้องสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน

“ในเดือนตุลาคม จะต้องเริ่มเดินหน้าโครงการรถไฟรางคู่ไทย-จีนให้ได้ ยืนยันว่าโครงการนี้จะต้องดำเนินการให้ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ได้ไปตกลงสัญญาไว้ว่าจะเป็นรถไฟประวัติศาสตร์ไทย-จีน” นายกรัฐมนตรี กล่าว.- สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 25/07/2015 1:11 am    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กตู่" เตรียมลุยประมูลรถไฟไทย-จีน เดือนหน้า !! - คาดก่อตั้ง ต.ค.นี้
T News
24 กรกฎาคม 2558 18:11:28 tag : บิ๊กตู่ เตรียมสร้าง รถไฟไทยจีน

"พล.อ.ประยุทธ์" ลั่น จ่อสร้างรถไฟประวัติศาสตร์ไทย-จีน เดือนต.ค.นี้ - ชี้ ความขัดแย้งทางการเมือง ทำประเทศเดินหน้าช้า !!



วันนี้ (24 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการดำเนินการโครงสร้างพื้นฐาน ว่า ช่วงเช้าที่ผ่านมาตนได้คุยกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแล้ว ในเรื่องของรถไฟขอให้เร่งการดำเนินการด้านการลงทุนให้เร็วขึ้น เพราะที่ผ่านมามีปัญหาติดตรงนี้ตรงโน้น ปัญหาที่ว่าคือคนไม่เข้าใจและก็ขัดแย้งต่อต้านกัน จึงทำทีโออาร์ไม่ได้ ทั้งนี้ไม่ใช่ความผิดของใคร เพียงแต่ประชาชนไม่เข้าใจ ซึ่งมันต้องมีใครเดือดร้อนบ้าง และเราจะดูแลเขาอย่างไร

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ทางแก้นั้นคือต้องคุยกันทำได้ก็คือทำ ทำไม่ได้ต้องร่วมกันรับผิดชอบในอนาคต อย่างไรก็ตามในเดือนสิงหาคม ต้องมีการเริ่มต้นให้ได้ ซึ่งรถไฟไทยจีนนั้นเป็นรถไฟประวัติศาสตร์ 40 ปี และจะเกิดการก่อสร้างภายในเดือนตุลาคมและเริ่มทำต่อ วันนี้ก็มีการพูดคุยกันครั้งที่ห้าที่หกแล้ว ซึ่งมันไม่ได้ง่ายแบบเดิมที่คุยกันสองวัน และเซ็นสัญญาร่วมกันเปิดให้ใครไปทำเลย มันไม่ใช่ ในเมื่อเราจะเป็นจีทูจี ก็ต้องทำเป็น 5 คณะทำงาน แยกระบบทั้งหมดออกมาไม่ใช่รถไฟคือรถไฟ ต้องมีระบบราง ระบบรถ ระบบบริหารจัดการเดินรถ ระบบผลประโยชน์ที่ได้จากการเดินรถจะแบ่งปันร่วมทุนกันอย่างไร ซึ่งมันเยอะแยะมหาศาล มันยากไหมล่ะ

ผู้สื่อข่าวถามว่าโครงการรถไฟไทยจีนจะเดินหน้าในปีนี้ใช่หรือไม่ ?

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไอ้นี่ก็จะเอาแต่เดินหน้า ถ้าเดินหน้าไม่เกิดก็บอกว่านี่ทำไม่ได้ คุณไม่ฟังผมอธิบายเลย ผมพูดว่าถ้าที่ทำได้ทั้งหมดนั้นมันทำได้ เดือนหน้ามันก็เกิด ไม่ว่าจะโรงไฟฟ้า โรงแก๊ส พลังงานอะไรทั้งหมด ถ้ามันไม่ขัดแย้ง ถ้ามันทำได้ มันเกิดพรุ่งนี้ก็ได้ ได้สัญญาวันนี้พรุ่งนี้เซ็นได้หมด แต่มันจะเกิดได้อย่างไร เมื่อความขัดแย้งมันเกิดขึ้น การเมืองก็เข้ามาแทรกอีก มันจะเกิดได้ทั้งหมดไหม แล้วก็กลับมาโทษผม เพราะผมเป็นคนคิด เป็นคนริเริ่ม เป็นคนทำให้โปร่งใส แต่ถ้าไม่ช่วยกันอธิบายไม่ไว้วางใจกัน เหมือนที่ผ่านมา

"ผมถามว่ามันจะเกิดประโยชน์อะไรที่ผมเข้ามา มันไม่เกิดประโยชน์หรอก ท่านก็เป็นเครื่องมือต่อไปแล้วกัน สิ่งที่จะทำวันนี้ไม่ได้ทำแบบเดิม มันทำเพื่ออนาคต ไม่ได้ทำเพื่อส่วนตัว ทุกอย่างในประเทศไทยนั้นไม่ค่อยรักษากติกาตรงมติที่ประชุม มติบอร์ด คำว่ามติคือเสียงข้างมากหรือเปล่า แล้วมีเสียงข้างน้อยคนสองคนออกมาพูดข้างนอกว่าไม่เห็นด้วย ทีนี้ก็แห่ตามกันไป แบบนี้ที่เขาเรียกว่าไปไม่ได้หมดทุกเรื่องเข้าใจไหม" นายกรัฐมนตรี กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า เรื่องของรถไฟไทยจีนนั้นจะคงมีความชัดเจนขึ้น เพราะตนได้สัญญาเขาไปแล้วว่ามันต้องเป็นรถไฟสายประวัติศาสตร์ ส่วนปีหน้าก็ครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์ไทยกับเวียดนาม ต้องมีการร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจลงทุนกันให้มากขึ้น นี่เขาเรียกว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มันก็ดีหมดทุกประเทศ มีแต่คนของเราเองชอบมาพูดนี่พูดโน่น แล้วมันทำให้เกิดความมั่นคง มั่นใจขึ้นมาไหม ก็ไม่เกิด เพราะเขาไม่มั่นใจในเสถียรภาพในความสงบเรียบร้อยแบบนี้ แบบวันนี้ วันที่ตนอยู่ เขาบอกว่ามันดีกว่าที่ผ่านมา

"ประชาธิปไตยก็คือประชาธิปไตย เขาก็แปลกใจว่าอยู่วันนี้แล้วทำไมสงบกว่าตอนประชาธิปไตย ถามประเทศเขาว่ามีแบบไทยไหม เขาบอกไม่มี ถ้าจะมีการเคลื่อนไหวประท้วงอะไร ก็ขออนุญาตหมด เห็นไหมว่าเขาเอาไม้ตีกันทุกที่ เราต้องกลับไปเป็นแบบนั้นเหรอ บ้านเราหนักกว่านั้นอีก เอาปืนยิงกัน อายเขาไหม บ้านเขาเอาไม้ตีกันแล้ววิ่งหนีก็เลิกจบ เราทำได้ไหม บ้านเราเอาไม้ตีก็ถูกสวนด้วยเอ็ม 16 ไปบอกให้มันเลิกสักที" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44627
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/07/2015 4:19 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมคาดรถไฟคุนหมิง-กรุงเทพฯ-แหลมฉบังเสร็จปี 63
สำนักข่าวไทย 2015/07/27 3:25 PM

กรุงเทพฯ 27 ก.ค. – กระทรวงคมนาคมคาดการก่อสร้างรถไฟเส้นทางคุนหมิง-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง เสร็จปี 2563 รวมทั้งพิจารณาปรับเส้นทางการขนส่งทางบก จากคุนหมิง-กรุงเทพฯ เป็น คุนหมิง-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมระดับรัฐมนตรีคมนาคมไทย-ลาว ร่วมกับนายบุนจัน สินทะวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ สปป.ลาว เรื่องการเชื่อมต่อด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานระหว่าง 2 ประเทศ ว่า ถือการประชุมครั้งที่ 2 และเป็นการหารือเรื่องการขนส่งทางถนนและทางราง โดยในส่วนของการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจะมี 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเวียดนาม-ลาว-ไทย และจีน-ลาว-ไทย โดยเฉพาะเส้นทางที่เชื่อมจากจีนที่เป็นขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร จากคุนหมิงมาเชื่อมถึงชายแดน สปป.ลาวที่ยังขาดรางระยะทาง 520 กิโลเมตร และเส้นทางรางจากชายแดน สปป.ลาวถึงเมืองหลวงเวียงจันทน์ 417 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปลายปีนี้และจะสอดคล้องกับโครงการรถไฟทางคู่ไทย-จีนของไทยที่จะเริ่มเดือนตุลาคมปีนี้เช่นกัน ดังนั้น คาดว่าการเชื่อมต่อจากมาบตาพุด – กรุงเทพฯ – คุนหมิงจะเสร็จปี 2563

นอกจากนี้ โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งใหม่ที่จะใช้เชื่อมเส้นทางรถไฟและจะห่างจากพื้นที่สะพานมิตรภาพไทย – ลาวเดิมประมาณ 30 เมตร ทางฝ่ายไทยและ สปป.ลาวจะร่วมกันศึกษาแต่ละพื้นที่ของประเทศที่รับผิดชอบและจะเริ่มเปิดให้บริการหลังเปิดเส้นทางรถไฟไทย-จีนแล้ว

ด้านการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางถนนไทย-ลาว-เวียดนาม โดยจะเป็นการเชื่อมโยง 6 เส้นทาง ซึ่งเส้นทางยังไม่ได้มาตรฐาน และจะมีการทำการศึกษาเพิ่มเปิดเส้นทางการเดินรถ ไทย-ลาว-จีน จากเดิมที่เป็นเส้นทางคุนหมิง-กรุงเทพฯ ได้เสนอปรับเส้นทางเป็นคุนหมิง-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง และต้องหารือการให้ผู้ประกอบการขนส่ง สปป.ลาวขนส่งสินค้าผ่านแดนท่าเรือของไทย ซึ่งจะมีการหารือเดือนสิงหาคม-กันยายนปีนี้ รวมถึงการปรับกติกาและข้อกฎหมายต่าง ๆ ของทั้งไทยและ สปป.ลาว ซึ่งมีขอบเขตที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงตั้งคณะทำงานเฉพาะของทั้ง 2 กระทรวง เพื่อปรึกษาหารือร่วมหาทางแก้ไขกฎหมายและข้อจำกัดต่าง ๆ ของทั้ง 2 ประเทศ.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2015 8:26 pm    Post subject: Reply with quote

ตอนนี้ จีนแดงพูดถึงการแข่งขันกันเรื่องรถไฟในเมืองไทย ระหว่างจีนแดงกะญี่ปุ้น
http://wap.kaiwind.com/news/201507/02/t20150702_2605296.shtml


รถไฟทางคู่ไทย-จีนก่อสร้าง ต.ค.58
บ้านเมือง
วันอังคาร ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558, 07.11 น.



พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมระดับรัฐมนตรีคมนาคมไทย-ลาว ร่วมกับนายบุนจัน สินทะวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ สปป.ลาว เรื่องการเชื่อมต่อด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานระหว่าง 2 ประเทศ ว่า ถือการประชุมครั้งที่ 2 และเป็นการหารือเรื่องการขนส่งทางถนนและทางราง โดยในส่วนของการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจะมี 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเวียดนาม-ลาว-ไทย และจีน-ลาว-ไทย โดยเฉพาะเส้นทางที่เชื่อมจากจีนที่เป็นขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร จากคุนหมิงมาเชื่อมถึงชายแดน สปป.ลาวที่ยังขาดรางระยะทาง 520 กิโลเมตร และเส้นทางรางจากชายแดน สปป.ลาวถึงเมืองหลวงเวียงจันทน์ 417 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปลายปีนี้และจะสอดคล้องกับโครงการรถไฟทางคู่ไทย-จีนของไทยที่จะเริ่มเดือนตุลาคมปีนี้เช่นกัน ดังนั้น คาดว่าการเชื่อมต่อจากมาบตาพุด-กรุงเทพฯ-คุนหมิงจะเสร็จปี 2563


นอกจากนี้ โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งใหม่ที่จะใช้เชื่อมเส้นทางรถไฟและจะห่างจากพื้นที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวเดิมประมาณ 30 เมตร ทางฝ่ายไทยและ สปป.ลาวจะร่วมกันศึกษาแต่ละพื้นที่ของประเทศที่รับผิดชอบและจะเริ่มเปิดให้บริการหลังเปิดเส้นทางรถไฟไทย-จีนแล้ว


ด้านการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางถนนไทย-ลาว-เวียดนาม โดยจะเป็นการเชื่อมโยง 6 เส้นทาง ซึ่งเส้นทางยังไม่ได้มาตรฐาน และจะมีการทำการศึกษาเพิ่มเปิดเส้นทางการเดินรถ ไทย-ลาว-จีน จากเดิมที่เป็นเส้นทางคุนหมิง-กรุงเทพฯ ได้เสนอปรับเส้นทางเป็นคุนหมิง-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง และต้องหารือการให้ผู้ประกอบการขนส่ง สปป.ลาวขนส่งสินค้าผ่านแดนท่าเรือของไทย ซึ่งจะมีการหารือเดือนสิงหาคม-กันยายนปีนี้ รวมถึงการปรับกติกาและข้อกฎหมายต่างๆ ของทั้งไทยและ สปป.ลาว ซึ่งมีขอบเขตที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงตั้งคณะทำงานเฉพาะของทั้ง 2 กระทรวง เพื่อปรึกษาหารือร่วมหาทางแก้ไขกฎหมายและข้อจำกัดต่างๆ ของทั้ง 2 ประเทศ

//------------------

ไทย-ลาว คาดรถไฟร่วมจีน เสร็จปี 2563
by Phakaphong Udomkalayalux
Voice TV
28 กรกฎาคม 2558 เวลา 11:13 น.

กระทรวงคมนาคม คาดการก่อสร้างรถไฟระหว่างไทย-ลาว-จีน เส้นทางคุนหมิง-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง เสร็จปี 2563 พร้อมก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว อีก 2 แห่ง

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังการประชุมร่วมกับ นายบุนจัน สินทะวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อหารือการขนส่งทางถนนและทางราง โดยการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจะมี 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเวียดนาม-ลาว-ไทย และจีน-ลาว-ไทย

โดยเส้นทางที่เชื่อมกับจีน ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร จากคุนหมิงเชื่อมชายแดนลาว ที่ยังขาดรางระยะทาง 520 กิโลเมตร และเส้นทางจากชายแดนลาวถึงเมืองหลวงเวียงจันทน์ 417 กิโลเมตร คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปลายปีนี้ สอดคล้องกับโครงการรถไฟทางคู่ไทย-จีน ที่จะเริ่มเดือนตุลาคมนี้ คาดว่าการเชื่อมต่อจากมาบตาพุด – กรุงเทพฯ – คุนหมิง จะเสร็จปี 2563

นอกจากนี้ จะก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งใหม่ที่เชื่อมเส้นทางรถไฟ และห่างจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเดิม ประมาณ 30 เมตร คาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการหลังเปิดเส้นทางรถไฟไทย-จีนแล้ว

ส่วนการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางถนน ระหว่างไทย-ลาว-เวียดนาม 6 เส้นทาง จะศึกษาเพื่อเปิดเส้นทางการเดินรถ จากเดิมคุนหมิง-กรุงเทพฯ ขยายถึงแหลมฉบัง และจะหารือกับผู้ประกอบการขนส่งของลาวให้ขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือของไทยในเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้ รวมถึงปรับกติกาและข้อกฎหมายต่างๆ ของทั้ง 2 ประเทศร่วมกัน

//---------------

ไม่เกิน5ปี! เดินทาง"กทม.-จีน"ชิลชิล ไทยเตรียมคุยลาวเดินหน้ารถไฟเชื่อม3ประเทศ
มติชน
วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 09:10:00 น.

"พล.อ.อ.ประจิน"หารือร่วมลาว เดินหน้ารถไฟเชื่อม 3 ประเทศ ยัน 5 ปี เดินทางจากจีน-กรุงเทพฯได้แน่นอน พร้อมร่วมมือก่อสร้างสะพานมิตรภาพ และเดินรถร่วมไทย-ลาว-จีน-เวียดนาม

http://www.matichon.co.th/online/2015/07/14380684081438068606l.jpg

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมระดับรัฐมนตรีไทย-ลาว ที่กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมว่า ได้หารือถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟจีน-ลาว-ไทย โดยเส้นทางจากคุนหมิง-ชายแดนลาว ระยะทาง 520 กิโลเมตร (กม.) จะเริ่มดำเนินการได้ปีนี้ ใช้เวลาก่อสร้างไม่เกิน 5 ปี เส้นทางชายแดนลาว-เวียงจันทน์ ระยะทาง 417 กม. เริ่มดำเนินการปลายปีนี้ สอดคล้องกับรถไฟไทย-จีน จากหนองคาย-แก่งคอย-กรุงเทพฯ และแก่งคอย-มาบตาพุด เริ่มดำเนินการเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งในส่วนของไทยใช้เวลาก่อสร้างทุกช่วงแล้วเสร็จไม่เกิน 3 ปีครึ่ง "ตั้งแต่ปี 2559-2563 จะสามารถเชื่อมต่อจากคุนหมิงมายังกรุงเทพฯ และไปมาบตาพุดได้แน่นอน ทั้งไทยและลาวเห็นชอบผลักดันเรื่องนี้ร่วมกัน จึงเป็นการยืนยันว่าโครงการนี้เกิดแน่นอน" พล.อ.อ.ประจินกล่าว

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาการก่อสร้างสะพานรถไฟมิตรภาพไทย-ลาว เพื่อแยกเส้นทางรถไฟออกมาจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 โดยจะนำไปรวมกับโครงการรถไฟไทย-จีน เพื่อก่อสร้างจากแม่น้ำโขงมายังหนองคาย รวมระยะทาง 5 กม. และจะร่วมเดินรถโดยสารประจำทางไทย-ลาว-เวียดนาม จึงได้ตั้งคณะทำงานสำรวจเส้นทางและความเป็นไปได้การดำเนินการ และศึกษาเพิ่มเติมการเปิดเส้นทางเดินรถไทย-ลาว-จีน จากเดิมคุนหมิง-กรุงเทพฯเพื่อการขนส่งสินค้า เป็นคุนหมิง-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ที่จีนและลาวเสนอเพื่อให้เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าได้มากขึ้น รวมถึงศึกษาการเดินรถขนส่งสินค้าจากลาวมาไทยตามที่ผู้ประกอบการลาวสนใจ โดยจะเร่งสรุปรายละเอียดให้เสร็จในเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้ และประชุมร่วมกันอีกครั้ง

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ฝ่ายลาวเสนอให้ดำเนินโครงการก่อสร้างมิตรภาพแห่งที่ 5 บึงกาฬ-ปากซัน วงเงินลงทุน 3,700 ล้านบาท แบ่งเป็นไทยลงทุน 2,400 ล้านบาท และฝั่งลาว 1,300 ล้านบาท โดยกระทรวงจะศึกษาประโยชน์เศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ชัดเจนในการลงทุน พร้อมกับศึกษาโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 6 อุบลราชธานี-แขวงสาละวัน (ข้ามแม่น้ำโขง)

โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงจากเชียงแมน-หลวงพระบาง เชื่อมต่อทางถนนจากชายแดนไทย-เชียงแมนของลาว

นายบุญจัน สินทะวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่งของประเทศลาว กล่าวว่า การเชื่อมต่อรถไฟลาว-จีนมาไทย เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิผลสูงสุด ทั้งในเรื่องของการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ส่วนโครงการสะพานมิตรภาพแห่งที่ 6 จะมีประโยชน์สูงสุดเรื่องของการท่องเที่ยวและลงทุน สามารถขนส่งสินค้าจากไทยไปท่าเรือน้ำลึกเวียดนามได้

//---------
คมนาคมเดินหน้ารถไฟเชื่อม 3 ประเทศ
กรุงเทพธุรกิจ
28 กรกฎาคม 2558

"พล.อ.อ.ประจิน" หารือร่วมลาว เดินหน้ารถไฟเชื่อม 3 ประเทศ ยัน 5 ปี เดินทางจากจีน-ลาว-กรุงเทพฯได้ พร้อมเดินรถร่วมไทย-ลาว-จีน-เวียดนาม

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมระดับรัฐมนตรีไทย-ลาวว่า ได้มีการหารือถึงโครงการรถไฟจีน-ลาว-ไทย โดยเส้นทางคุนหมิง-ชายแดนลาว ระยะทาง 520 กม. จะเริ่มได้ปี 58 ใช้เวลาก่อสร้างไม่เกิน 5 ปี ส่วนเส้นทางจากชายแดนลาว-เวียงจันทร์ ระยะทาง 417 กม.เริ่มได้ปลายปีนี้ สอดคล้องกับรถไฟไทย-จีน จากหนองคาย-แก่งคอย-กรุงเทพฯ และแก่งคอย-มาบตาพุด ที่เริ่มได้เดือนต.ค.นี้ เช่นเดียวกัน ซึ่งในส่วนของไทยจะใช้เวลาก่อสร้างทุกช่วงได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีครึ่ง

“เส้นทางรถไฟของไทยและลาวจะใช้เวลาประมาณ 4 ปี จึงจะเชื่อมกันได้ ส่วนที่จะเชื่อมกับคุนหมิงจะใช้เวลาไม่เกิน 5 ปี ดังนั้นนับจากนี้ไป ตั้งแต่ปี 59-63 จะเชื่อมสามารถต่อจากคุนหมิงมายังกรุงเทพฯและลงไปยังมาบตาพุดได้แน่นอน โดยไทยและลาวเห็นชอบผลักดันเรื่องนี้ร่วมกัน จึงเป็นการยืนยันว่าโครงการนี้เกิดขึ้นแน่นอน”

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาการก่อสร้างสะพานรถไฟมิตรภาพไทย-ลาว เพื่อแยกเส้นทางรถไฟออกมาจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 โดยจะนำไปรวมไว้กับโครงการรถไฟไทย-จีน เพื่อก่อสร้างจากแม่น้ำโขงเข้ามายังหนองคาย รวมระยะทางประมาณ 5 กม.ด้วย ขณะเดียวกันจะร่วมมือเดินรถรถโดยสารประจำทางจากไทย-ลาว-เวียดนาม โดยที่ประชุมเห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อสำรวจเส้นทาง นอกจากนี้จะมีการศึกษาเพิ่มเติมการเปิดเส้นทางเดินรถจากเดิมไทย-ลาว-จีน จากเดิมเป็นการขนส่งสินค้า จากคุนหมิง-กรุงเทพฯ โดยฝ่ายลาวและจีนเสนอให้เป็นคุนหมิง-กทม.-แหลมฉบัง เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าได้มากขึ้น รวมถึงการเข้ามาเดินรถขนส่งสินค้าเข้ามาในไทย โดยจะเร่งสรุปรายละเอียดให้แล้วเสร็จในเดือนส.ค.-ก.ย.นี้

สำหรับการเชื่อมรถไฟจากอุบลราชธานีไปช่องเม็กนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ได้จ้างที่ปรึกษาแล้ว เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟเข้าด้วยกัน ขณะเดียวกันทางฝ่ายลาวเสนอให้ดำเนินโครงการก่อสร้างมิตรภาพ แห่งที่ 5 บึงกาฬ-ปากซัน วงเงินลงทุน 3,700 ล้านบาท โดยให้ไทยลงทุน 2,400 ล้านบาท และฝั่งลาว 1,300 ล้านบาท ซึ่งทางรัฐบาลไทยก็ให้กระทรวงคมนาคมศึกษาประโยชน์เศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ชัดเจนในการลงทุน รวมถึงโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งที่ 6 อุบลราชธานี-แขวงสาละวัน(ข้ามแม่น้ำโขง) ตลอดจนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงจากเชียงแมน-หลวงพระบาง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2015 10:43 am    Post subject: Reply with quote

คค. จ่อชง ครม.รถไฟเร็วสูง กทม.-เชียงใหม่
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2558 19:55น.

กระทรวงคมนาคม เตรียมชง ครม. เห็นชอบ หลักการโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มิ.ย. 59

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ว่า จากการหารือในครั้งล่าสุด ได้กำหนดว่าจะต้องเสนอหลักการของโครงการฯ ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในช่วงเดือนมิถุนายน 2559 และจะทำการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐอีกครั้ง และคาดว่าในช่วงปลายปี 2559 จะสามารถเสนอแผนงานและรายละเอียดของเส้นทางเข้าที่ประชุม ครม. เพื่อขออนุมัติโครงการ เพราะจะต้องทำการเวนคืนที่ดินในบางพื้นที่ และตามแผนงานเดิมได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561 แต่ทางฝ่ายไทยจะหารือกับทางญี่ปุ่นอีกครั้ง เพื่อให้สามารถเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2560

นอกจากนี้ ทางญี่ปุ่นได้ขอให้ฝ่ายไทยทำการแยกระบบรางของรถไฟชินคันเซ็น ที่จะนำมาวิ่งในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ออกจากระบบรางเดิมของไทย เพราะเป็นการส่งออกรถไฟชินคันเซ็นครั้งแรกของญี่ปุ่น ทำให้ต้องคำนึงถึงระบบความปลอดภัยเป็นหลัก และทางญี่ปุ่นยังได้ทำการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อมาตรวจสอบผลการศึกษาโครงการฯ ของไทยด้วย ส่วนเรื่องระบบอาณัติสัญญาณกำลังอยู่ระหว่างการหารือว่าจะใช้ระบบของรถไฟชินคันเซ็น หรือของยุโรป ทั้งนี้ ในส่วนของการลงทุนอยากจะให้เป็นไปในลักษณะการร่วมลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนถึงขั้นวางระบบอาณัติสัญญาณ

//----------------------

คมนาคม เตรียมนำแผนรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เข้า ครม. กลางปี 59
Written by: กอง บก.ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าวไทย
วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2558 17:55น.

คมนาคม เตรียมนำแผนรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เข้า ครม. กลางปี 59
กรุงเทพฯ 28 ก.ค.-นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ว่า ภายหลังจัดทำแผนพัฒนา โครงการระยะเวลา 5 ปี เสร็จแล้ว และญี่ปุ่นนั้นก็ได้ดำเนินการในการว่าจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาผลการศึกษาความเหมาะสมและการออกแบบเบื้องต้น ในส่วนของข้อมูลที่สำนักนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง หรือ สนข. ได้เคยศึกษาไว้ เนื่องจากโครงการดังกล่าว จะเป็นการส่งออกระบบรถไฟชินคันเซ็นครั้งแรกของญี่ปุ่น มาก่อสร้างนอกประเทศ ซึ่งญี่ปุ่นให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยและมาตรฐานเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ญี่ปุ่นได้เสนอขอแยกรางออกมา เพื่อก่อสร้างโดยเฉพาะจากรางรถไฟเดิมของไทย โดยเฉพาะ ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อการเวรคืนที่ดิน ในแนวเส้นทางของโครงการ ซึ่งตามผลการศึกษาเดิมรถไฟความเร็วสูง เส้นนี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก และจากพิษณุโลก-เชียงใหม่ ซึ่งช่วงที่ 2 นี้ มีผลการศึกษา ทั้งที่ จะใช้แนวรถไฟเดิมผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ กับอีกแนวเส้นทางหนึ่ง จะผ่านจังหวัดสุโขทัย และลำปาง

ทั้งนี้ตามกรอบเวลาของโครงการ คาดว่า ในกลางปี 2559 จะสามารถนำเข้าเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อว่าจ้างที่ปรึกษา และศึกษารายละเอียดโครงการ และจะนำเข้าเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง ในกลางปี 2560เพื่ออนุมัติก่อสร้างโครงการ โดยตามแผนงานเดิมจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561 แต่ฝ่ายไทยจะเจรจากับญี่ปุ่นเพื่อขอเลื่อนกำหนดการก่อสร้างให้เร็วขึ้นเป็นปี 2560.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2015 10:45 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม”เจรจาญี่ปุ่น-จีนใช้ระบบอาณัติสัญญาณกลาง เล็งใช้ทางรถไฟร่วมหวังลดค่าก่อสร้าง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
28 กรกฎาคม 2558 20:24 น.




“คมนาคม”เตรียมประชุมรถไฟไทย-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 วันที่ 24-27 ส.ค. 58 คาดสรุปผลความร่วมมือ เสนอครม.มิ.ย. 59 เพื่อขออนุมัติหลักการพร้อมเร่งสำรวจรายละเอียดชงครม.อีกรอบปลายปี 59 เร่งก่อสร้างใน60-61 “ประจิน”หวังเจรจา ญี่ปุ่นและจีน ขอปรับใช้ระบบอาณัติสัญญาณยุโรปที่เป็นกลางแทน เพื่อปลดล็อคระบบใช้ทางร่วมลดค่าก่อสร้าง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-รัฐบาลญี่ปุ่นในการพัฒนาระบบราง ว่า หลังจากได้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ(MOC) และมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วม3คณะประกอบด้วย 1. คณะทำงานโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. 2. คณะทำงานเส้นทาง กาญจนบุรี-กรุงเทพ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ระยะทาง 574กม. ซึ่งจะดูแนวเส้นทางรถไฟ แม่สอด-มุกดาหารไปด้วย และ 3. คณะทำงานด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนแล้ว นั้น ขณะนี้จะเน้นเรื่องรถไฟความเร็วสูง (กรงเทพ-เชียงใหม่) ซึ่งญี่ปุ่นเสนอใช้เทคโนโลยีรถไฟชินคันเซ็น โดยได้จัดทำแผนการทำงานในช่วง 5 ปีแล้ว และญี่ปุ่นได้จ้างที่ปรึกษาเพื่อทำทวนศึกษาเดิมที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาความเป็นไปและออกแบบเบื้องต้นไว้ เพื่อความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยในการส่งออกเทคโนโลยีชินคันเซ็นเป็นครั้งแรก

ทั้งนี้ภายในเดือนมิ.ย. 2559 จะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติหลักการโครงการ เพื่อลงนามในบันทึกความร่วมมือหรือความเข้าใจระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลต่อไป และภายในปลายปี 2559 จะสามารถเสนอรายละเอียดการศึกษาทั้งหมดต่อครม.อีกครั้งเพื่อขออนุมัติโครงการ โดยวางแผนจะเริ่มก่อสร้างอย่างเร็วในปี 2560 หรือปี 2561 เป็นอย่างช้าขึ้นกับการเจรจา ในขณะที่การเวนคืนที่ดินนั้นจะเริ่มตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป

นายอาคมกล่าวว่า ในวันที่ 24-27 ส.ค. 2558 จะมีการประชุมร่วมกับกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ของญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ซึ่งการหารือก่อนหน้านี้ ทางญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรฐานและความปลอดภัย และเสนอว่า ระบบรถไฟความเร็วสูง จะต้องเป็นทางแยกต่างหาก ไม่ใช้ร่วมกับระบบอื่นๆ ซึ่งจะต้องพิจารณาช่วงชุมทางบ้านภาชีซึ่งเป็นจุดที่รถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น จะมาเจอกับ รถไฟ 1.435 เมตรของจีน ซึ่งไทยต้องการให้ใช้ระบบอาณัติสัญญาณที่เป็นมาตรฐานยุโรปซึ่งเป็นมาตรฐานกลาง (Open System) เพื่ออนาคตจะสามารถนำขบวนรถไฟอื่นๆมาวิ่งในทางเดียวกันได้และใช้ระบบอาณัติสัญญาณร่วมกัน

นอกจากนี้ ในการการวางแนวเส้นทาง โดยจะเน้นการพัฒนาสถานีและเมืองตลอดเส้นทาง เพื่อทำให้โครงการเกิดประโยชน์สูงสุดเนื่องจาก กรุงเทพ-เชียงใหม่จะแบ่งก่อสร้างออกเป็น 2 ช่วงคือ กรุงเทพ-พิษณุโลกและพิษณุโลก-เชียงใหม่ นอกจากนี้จะต้องพิจารณาการพัฒนาจังหวัดรอบข้างด้วย ทั้งด้านตะวันตก จากพิษณุโลก-สุโขทัย-กำแพงเพชร-แม่สอด(ตาก) และด้านตะวันออก จากพิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น เชื่อมกับรถไฟทางคู่ เส้นทางบ้านไผ่ –ร้อยเอ็ด-กาฬสินธุ์ - มุกดาหาร –นครพนม เพื่อเป็นโอกาสในการวางแผนการท่องเที่ยวในพื้นที่ แหล่งมรดกโลกของประเทศไทยจะมีตามไปด้วย โดยในเดือนส.ค.นี้ทีมสำรวจจะนั่งรถไฟเพื่อดูเส้นทางร่วมกันต่อไป

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า จากการสำรวจขั้นต้นของสนข.พบว่า แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูวจะต้องมีการเวนคืนที่ดิน คือ ช่วงพิษณุโลก –เชียงใหม่ เนื่องจากไม่ได้ก่อสร้างไปตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-เชียงใหม่) แต่จะเป็นแนวเส้นทางใหม่ จากพิษณุโลก-สุโขทัย-ลำปาง-เชียงใหม่ ซึ่งคณะทำงานศึกษาสำรวจจะพิจารณาความเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม สถานีเชียงรากน้อยจะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟ ไทย-จีนและรถไฟไทย-ญี่ปุ่น โดยใช้รถไฟสายสีแดงเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งตามแผนการหารือเดิม เส้นทางรถไฟไทย-จีน(กรุงเทพ-หนองคาย) จะมีเส้นทางและรางแยกของตัวเอง ไม่ยุ่งกับรถไฟความเร็วสูง (กรุงเทพ-เชียงใหม่) ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น แต่ขณะนี้ได้เสนอแนวทางเลือกที่ 2 ซึ่งจะต้องเจรจากับทางญี่ปุ่นให้ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเป็นมาตรฐานสากล แทนชินคันเซ็นในขณะที่จีนต้องปรับระบบอาณัติสัญญาณรถไฟราง 1.435 เมตร เป็นมาตรฐานสากลด้วย ซึ่งจะทำให้ 2 โครงการใช้ทางวิ่งร่วมกันได้ ส่งผลต่อค่าก่อสร้างที่จะลดลงได้ ซึ่งต้องรอการเจรจาถึงความเป็นไปได้ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 46, 47, 48 ... 121, 122, 123  Next
Page 47 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©