RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262982
ทั้งหมด:13574262
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 49, 50, 51 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/09/2015 8:33 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เปิดเวทีสรุป รถไฟทางคู่ความเร็วสูง โคราช – หนองคาย เชื่อมโยงเศรษฐกิจการท่องเที่ยว
Korat StartUp กันยายน 1, 2015

สนข. เปิดเวทีสาธารณะสรุปผลการศึกษารถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน เส้นกรุงเทพฯ – หนองคาย เชื่อมการขนส่งจากจีนสุดคุ้ม สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว – ขนส่งสินค้าปีละหมื่นกว่าล้านบาท

วันนี้ (1 กันยายน 2558) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสุรนารี เอ โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส โคราช จังหวัดนครราชสีมา นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ – หนองคาย ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ และภาคประชาชน ภายในจังหวัดนครราชสีมา รวมประมาณ 400 คน โดยการสัมมนาครั้งนี้ได้นำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการ เกี่ยวกับแนวเส้นทาง รูปแบบการเดินรถ ผลประโยชน์จากโครงการ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม

แนวเส้นทางโครงการมีจุดเริ่มต้นบริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมา สิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีรถไฟหนองคาย ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย มีระยะทางประมาณ 355 กิโลเมตร โดยแนวเส้นทางจะเป็นทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร วางขนานไปกับแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ขนาด 1 เมตร ก่อสร้างเป็นทางอิสระอยู่ภายในเขตทางรถไฟปัจจุบันให้มากที่สุด เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน

รูปแบบการเดินรถขนาดทางมาตรฐานมี 2 ทางเลือก ประกอบด้วย
1. การเดินรถร่วมกัน ระหว่างรถไฟโดยสารกับขบวนรถสินค้า(Mixed Traffic) ออกแบบให้รองรับรถไฟความเร็วสูงสุด 200 กม/ชม. และขบวนรถสินค้าความเร็วสูงสุด 120 กม./ ชม. ใช้ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพ ฯ – หนองคาย รวม 4 ชั่วโมง มูลค่าโครงการประมาณ 239,285 ล้านบาท และ
2.การเดินเฉพาะรถไฟความเร็วสูง ออกแบบให้รองรับรถไฟความเร็วสูงสุด 300 กม.ต่อ ชม. โดยไม่มีขบวนรถสินค้าวิ่งร่วมด้วย ใช้ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพ ฯ – หนองคาย รวม 3 ชั่วโมง มูลค่าโครงการประมาณ235,325 ล้านบาท โดยในการออกแบบได้พิจารณาข้อจำกัดต่าง ๆ ให้สามารถรองรับได้ทั้ง 2 แบบ ได้แก่ รัศมีโค้งราบ ความลาดชัน กำหนดมีสถานี 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย โดยเป็นสถานียกระดับทั้งหมด

กรณีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงิน เมื่อรวมผลประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจในเชิงกว้างแล้ว กรณีพัฒนาโครงการแบบเดินรถร่วมกัน และมีโครงข่ายทางรถไฟจากจีนมาเชื่อมโยง จะมีความคุ้มค่าและมีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจมากที่สุด ซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายในการใช้รถจากการเดินทางและการขนส่งสินค้า เฉลี่ยปีละ 12,800 ล้านบาท ลดเวลาเดินทางเฉลี่ยปีละ 9,900 ล้านบาท ลดอุบัติเหตุในภาคการขนส่งเฉลี่ยปีละ 200 ล้านบาท ลดมลพิษจากภาคการขนส่งเฉลี่ยปีละ 10,900 ล้านบาท สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและค่าโดยสารเฉลี่ยปีละ 8,300 ล้านบาท และสร้างรายได้จากการขนส่งสินค้า เฉลี่ยปีละ 2,200 ล้านบาท

สำหรับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการได้กำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญๆ ไว้ เช่นด้านเสียงและความสั่นสะเทือน จะเลือกใช้เข็มเจาะที่เหมาะสม และติดตั้งกำแพงกั้นเสียงในบริเวณพื้นที่อ่อนไหว ด้านการแบ่งแยกชุมชน จะจัดให้มีทางลอดและสะพานลอยคนข้ามในบริเวณที่มีชุมชนหนาแน่น และด้านการโยกย้ายเวนคืน จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ถูกเวนคืนทราบขั้นตอนการเวนคืน โดยดำเนินการจ่ายค่าทดแทนทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เป็นต้น

ในตอนท้ายการสัมมนาเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้ซักถามถึงข้อสงสัยและเสนอข้อคิดเห็นต่างๆ ประเด็นคำถามในส่วนใหญ่ สนับสนุนและอยากให้มีโครงการนี้เกิดขึ้นโดยเร็ว แต่ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับรูปแบบการก่อสร้างที่อาจจะกระทบกับวิถีชีวิตของชุมชนสองฝั่งทางรถไฟ เพราะโครงมีการมีการติดรั้วกั้นเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

ทั้งนี้คณะที่ปรึกษาการออกแบบได้เก็บข้อคำถามและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำไปปรับปรุงให้มีความเหมาะสมต่อไป ในส่วนระยะเวลาดำเนินโครงการ เมื่อกระบวนการศึกษา ออกแบบ และจัดทำรายงานต่างๆ ครบถ้วนตามขั้นตอนของกฎหมาย และคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ประกวดราคาหาผู้รับเหมาเพื่อดำเนินการก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปี ในการดำเนินงาน ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายให้สามารถเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 02/09/2015 10:04 am    Post subject: Reply with quote

สรุปรถไฟทางคู่โคราช-หนองคาย 2 แสนล้าน เดินรถปี 65 สร้างรายได้ปีละหมื่นล้าน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
1 กันยายน 2558 18:18 น. (แก้ไขล่าสุด 1 กันยายน 2558 20:26 น.)\


Last edited by Wisarut on 02/09/2015 12:02 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/09/2015 10:56 am    Post subject: Reply with quote

ทบทวนโครงการรถไฟไทยจีน
ไทยรัฐออนไลน์ โดย ลม เปลี่ยนทิศ 2 ก.ย. 2558 05:01

เมื่อวันอาทิตย์ เว็บไซต์ไชน่าเดลี ของ รัฐบาลจีน ได้อ้าง สำนักข่าวซินหัว ของ รัฐบาลจีน พาดหัวข่าวว่า จีนชนะการประมูลก่อสร้างจากการรถไฟไทย ใน โครงการรถไฟไทย–จีน ทั้งที่ ไม่มีการประมูล ถือเป็นข่าวเซอร์ไพรส์อย่างยิ่ง โครงการนี้ได้รับเสียงคัดค้านมากมายจากผู้รู้ว่าเป็นโครงการที่ไทยไม่ได้ประโยชน์และเสียเปรียบจีน

และที่มันลึกลับซับซ้อนกว่านั้น

โครงการนี้ ไม่ใช่โครงการรถไฟไทย–จีนอย่างที่อ้างกัน แต่เป็น โครงการรถไฟในไทยล้วนๆ ถ้าเป็นโครงการรถไฟไทย–จีนจริง จีนจะต้องสร้างทางรถไฟจากคุนหมิงมายังเวียงจันทน์ในช่วงเวลาเดียวกัน และ สร้างจากเวียงจันทน์มายังไทยในช่วงเวลาเดียวกันด้วย เพื่อให้เป็น ทางรถไฟไทย–จีน อย่างแท้จริง

แต่วันนี้ จีนยังไม่ได้สร้างทางรถไฟจากคุนหมิงไปยังเวียงจันทน์ด้วยซ้ำ และ ลาวก็ยังไม่มีโครงการสร้างรถไฟลาว–จีน แต่อย่างใด โครงการรถไฟไทย–จีน 400,000 ล้านบาท จึงเป็น โครงการด้วนๆ ที่ลงทุนในไทยล้วนๆ แต่ต้องซื้อรถไฟจีนและเทคโนโลยีจากจีน

ทุกวันนี้ทั่วโลกก็รู้กันว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจีนขาดทุนมหาศาล รัฐบาลจีนจึงต้องหาทางส่งออกรถไฟทุกวิถีทาง เพื่อหารายได้ไปชดเชย เช่นเดียวกับรถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่น ที่ต้องการส่งออก หาเงินไปชดเชยโครงการที่ขาดทุนเช่นกัน ตลาดรถไฟความเร็วสูงวันนี้ เป็นของผู้ซื้อ ไม่ใช่ผู้ขาย แต่รัฐบาลไทยกลับไปตกลงกับจีนอย่างง่ายดาย แถมยังต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราแพงกว่ากู้ในเมืองไทยอีกด้วย

ช่วงที่ รัฐบาลจีน เจรจากับ รัฐบาลไทย ให้ลงทุนรถไฟความเร็วปานกลาง 180 กม.ต่อชั่วโมงจากจีน บนรางราคาแพง 1.435 ม. ให้เงินกู้รัฐต่อรัฐดอกเบี้ย 2-4% รัฐบาลจีน ก็ไปขาย รถไฟความเร็วสูงจีน ให้กับ อินโดนีเซีย แข่งกับ รถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่น ลองไปดูข้อเสนอจีนญี่ปุ่นที่เสนอให้กับอินโดนีเซียดูครับว่าแตกต่างจากที่เสนอให้กับรัฐบาลไทยอย่างไร

นายลูกี เวอร์ยันโต รัฐมนตรีช่วยโครงสร้างพื้นฐานอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า จีนได้เสนอเงินกู้ 5,500 ล้านดอลลาร์ ระยะเวลา 50 ปี ดอกเบี้ย 2% และระยะเวลาปลอดเงินต้นจำนวนหนึ่ง ดีกว่าข้อเสนอเดิมที่ให้กู้ 4,000 ล้านดอลลาร์ ระยะเวลา 25 ปี ดอกเบี้ย 2% ส่วน ญี่ปุ่น เสนอเงินกู้ประมาณ 4,400 ล้านดอลลาร์ ระยะเวลา 40 ปี แต่คิดดอกเบี้ยแค่ 0.1% แถมยังมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยอีก 10 ปีด้วย

แม้จะได้เงื่อนไขดีขนาดนี้ รัฐมนตรีเวอร์ยันโต ก็ยังไม่ยอมตัดสินใจ ยังจะให้มีการประเมินอย่างเป็นธรรม รวมถึงการพิจารณาถึงความพยายามของทั้งสองประเทศด้วย

และ ประธานาธิบดี โจโก วิโดโด ผู้นำอินโดนีเซีย ก็บอกด้วยว่า รัฐบาลได้ว่าจ้าง “บริษัทที่ปรึกษา” เพื่อ พิจารณาข้อเสนอทั้งสองประเทศ สำหรับการก่อสร้างรถไฟหัวกระสุนสายแรกของอินโดนีเซีย และจะประกาศผู้ชนะในปลายเดือนนี้

โครงการรถไฟความเร็วสูงอินโดนีเซีย ที่ จีน กับ ญี่ปุ่น แข่งกันนี้ มีระยะทางเบื้องต้น 150 กม. เท่านั้น เชื่อม กรุงจาการ์ตา กับ เมืองบันดุง แต่ ผู้นำอิเหนา ก็ให้แข่งขันกันอย่างเข้มข้น เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ และ เป็นบรรทัดฐานในการสร้างรถไฟความเร็วสูงอีก 600 กม. เชื่อม 4 เมืองใหญ่บนเกาะชวาไปสิ้นสุดที่ สุราบายา เมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ

ผมเอาเรื่องราว การลงทุนรถไฟความเร็วสูงอินโดนีเซีย เพื่อนบ้านอาเซียนมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้รัฐบาลไทยได้เห็นถึง ความรอบคอบในการลงทุนของอินโดนีเซีย แม้จะได้ข้อเสนอที่ดีเยี่ยมกว่าไทย แต่ผู้นำอิเหนาก็ไม่ยอมประเคนให้ง่ายๆ จ้างบริษัทเอกชนมาประเมินข้อเสนอของสองประเทศอีกรอบ ผมคิดว่ารัฐบาลไทยควรเอาอย่างอินโดนีเซีย จ้างบริษัทมืออาชีพมาพิจารณาข้อเสนอของจีนและญี่ปุ่น ไทยได้ประโยชน์คุ้มค่าการลงทุนจริงหรือไม่ ไม่ใช่รัฐมนตรีไปเจรจาเองเออเอง

จีนคุยว่าเมื่อสร้างเสร็จ ค่าโดยสารจะถูกมากแค่คนละ 3,600 บาท แต่ค่าตั๋วเครื่องบินโลว์คอสต์ ทุกวันนี้ก็มีราคาพอๆกัน แต่ประหยัดเวลาเดินทางมากกว่าเป็น 10 ชั่วโมง

โครงการรถไฟไทยจีน เป็นโครงการลงทุนที่สูงมากเกือบ 4 แสนล้านบาท รัฐบาลต้องทบทวนให้รอบคอบ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ เงินภาษีคนไทยทั้งนั้น.

“ลม เปลี่ยนทิศ”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/09/2015 1:31 pm    Post subject: Reply with quote

“อาคม” ปรับแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เร่งประมูลมอเตอร์เวย์-รถไฟทางคู่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 กันยายน 2558 09:28 น.

“อาคม” เร่งปรับแผนงานลงทุนโครงสร้างพื้นฐานช่วง 3 เดือนนี้ให้กระชับมากขึ้น เพื่ออัดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบาย พร้อมเร่งรัดหน่วยงานประมูลและทำสัญญาโครงการในงบประมาณปี 59 ให้เสร็จภายใน ธ.ค.นี้ ขณะที่แบ่งงานใหม่คุมรถไฟไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่นเอง ส่วน “ออมสิน” คุม ร.ฟ.ท. และทางคู่เป็นหลัก

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแผนงานการลงทุนโครงการและตารางการทำงานในช่วง 3-4 เดือนนี้เพื่อให้กระชับมากขึ้น และเพื่อให้สามารถติดตามความคืบหน้าแต่ละโครงการได้ง่ายขึ้นว่าอยู่ในขั้นตอนใดและติดขัดตรงไหน ซึ่งมี 17 โครงการที่ต้องเร่งรัดการประกวดราคาให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ เช่น โครงการมอเตอร์เวย์ สายพัทยา-มาบตาพุด วงเงิน 20,200 ล้านบาท โครงการรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง เป็นต้น โดยแผนงานจะเสร็จใน 2 สัปดาห์ และรายงาน ครม.รับทราบ

“ยอมรับว่าการเร่งรัดงานและปรับแผนงานให้กระชับขึ้นนั้นจะเป็นตัวชี้วัดการทำงานของกระทรวงคมนาคม เพราะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ดังนั้นจึงมีการกำหนดเป้าหมายไว้ภายในเดือน ธ.ค. 2558 จะต้องมีการประกวดราคาให้ได้ ส่วนงบประมาณปี 2559 ได้กำหนดเป้าหมายในการประกวดราคาและลงนามสัญญาให้ได้ภายในไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2559 หรือภายในเดือน ธ.ค. 2558 ซึ่งเป็นมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน” นายอาคมกล่าว

***แบ่งงานใหม่ ดึงรถไฟไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่นดูเอง

นอกจากนี้ นายอาคมกล่าวถึงการกำกับดูแลหน่วยงานในกระทรวงคมนาคมว่า ได้ปรับเปลี่ยนการมอบหมายใหม่ โดยตนจะกำกับดูแลสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) งานด้านทางอากาศทั้งหมด ซึ่งมีกรมการบินพลเรือน (บพ.) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) บริษัท โรงแรมท่าอากาศยาน จำกัด (รทส.) บริษัท ไทยอมาดิอุส จำกัด (ทอส.) โดยภารกิจพิเศษคือ การแก้ไขปัญหา SSC ตามการตรวจสอบของ ICAO แผนฟื้นฟูการบินไทยตามมติ คนร. และเร่งรัดการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 และรันเวย์ที่ 3

กำกับงานด้านถนน คือ กรมทางหลวง, กรมทางหลวงชนบท และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) งานเร่งด่วนคือประมูลมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง เร่งรัดการใช้ระบบตั๋วร่วม Easy Pass และ M Pass ยุทธศาสตร์พัฒนาถนนระยะ 20 ปี ด้านทางน้ำ กำกับดูแลการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ด้านทางรางกำกับดูแลการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อเร่งรัดการจัดหาผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และรถไฟฟ้า 4 สายใหม่ โครงการรถไฟไทย-จีน และรถไฟไทย-ญี่ปุ่น

ส่วนนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นั้นจะกำกับดูแล กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) งานเร่งรัดคือแผนฟื้นฟู ขสมก. การจัดหารถเมล์ 3,183 คัน และการย้ายสถานีหมดชิต 2, กรมเจ้าท่า และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตลิงก์) ภารกิจพิเศษโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทาง กทม.-ระยอง, กทม.-หัวหิน แผนฟื้นฟูรถไฟ และการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง

“ในแง่โครงการนั้นผมจะดูโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่นเองทั้งหมด เพื่อให้ไม่สับสนและจะได้ให้ข้อมูลจากผมคนเดียว ส่วน รมช.ออมสินจะดูรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทางที่จะให้เอกชนมาลงทุน”

***ถกญี่ปุ่นหาทางออกแนวเส้นทาง “บ้านภาชี” หวังใช้ทางร่วมรถไฟไทย-จีน

นายอาคมกล่าวภายหลังประชุมร่วมกับผู้แทน กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (MLIT) วานนี้ (1 ก.ย.) ว่า เป็นการหารือร่วมกันอย่างเป็นทางการครั้งที่ 1 ภายหลังมีการลงนามในการพัฒนาระบบรางไทย-ญี่ปุ่น โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และการพัฒนารถไฟเส้นทาง กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ, กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ, กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง โดยญี่ปุ่นได้นำคณะที่ปรึกษา ประกอบด้วย ไจก้า (ที่ปรึกษาด้านเทคนิค), JR East (ผู้ผลิตรถไฟฟ้าและเดินรถ), ฮิตาชิ (ผู้ผลิตระบบ) ร่วมหารือ ซึ่งได้พูดคุยถึงแนวเส้นทางโดยเฉพาะระบบรางและอาณัติสัญญาณที่จะต้องใช้ร่วมกันกับโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีนที่บริเวณสถานีบ้านภาชี เพื่อตกลงร่วมกันให้ได้ว่าจะออกแบบโครงการและระบบอย่างไร จะสามารถใช้ทางร่วมกันได้หรือไม่ ซึ่งเบื้องต้นทางญี่ปุ่นเสนอขอทางรถไฟและระบบอาณัติสัญญาณแยกต่างหาก เช่นเดียวกับทางจีนที่ต้องการแยกรางและระบบ แต่ปัญหาคือ พื้นที่เขตทางรถไฟที่มีอาจไม่พอสำหรับการแยกรางและระบบดังกล่าว และหากจะต้องเวนคืนที่ดินเพิ่มจะสามารถทำได้หรือไม่

“ทางญี่ปุ่นจะศึกษาและลงพื้นที่สำรวจสภาพภูมิประเทศก่อน โดยทาง สนข. และ ร.ฟ.ท.ร่วมทีมสำรวจเพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งหากเป็นไปได้ทั้ง 2 โครงการใช้ทางและระบบร่วมกันได้ จะช่วยประหยัดค่าลงทุนและต้องการก่อสร้างไปตามแนวเส้นทางรถไฟเดิมให้มากที่สุด แต่ขณะเดียวกันต้องฟังทั้งสองฝ่ายด้วย” นายอาคมกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/09/2015 3:55 pm    Post subject: Reply with quote

จ.ขอนแก่น เปิดเวทีรับฟังความเห็นประชาชนเรื่องรถไฟรางคู่
Bright TV พุธ 2 กันยายน 2558

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนช. เปิดเวทีสาธารณะสรุปผลการศึกษารถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน เส้นกรุงเทพ-หนองคาย

วันที่ 2 ก.ย.58 นายกำธร ถาวรสถิต ผู้ว่าราชการ จ.ขอนแก่น และ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ร่วมกันเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 ในโครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-หนองคาย ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เริ่มต้นจากสถานีรถไฟนครราชสีมา ผ่าน จ.ขอนแก่น, อุดรธานี ไปสิ้นสุดที่สถานีรถไฟหนองคาย ระยะทางประมาณ 355 กิโลเมตร เป็นทางมาตรฐาน 1.435 เมตร โดยมีสองทางเลือก คือ

1. เดินรถร่วมกันกับขบวนรถสินค้า รองรับรถไฟความเร็วสูงสุด 200 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพถึงหนองคายรวม 4 ชั่วโมง มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 239,285 ล้านบาท

2. การเดินเฉพาะรถไฟความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพถึงหนองคาย รวม 3 ชั่วโมง มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 235,325 ล้านบาท

เมื่อกระบวนการศึกษา ออกแบบแล้วเสร็จ และคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ประกวดราคาผู้รับเหมาเข้าดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายให้สามารถเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2565

ทั้งนี้ หากดำเนินการแล้วเสร็จจะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการเดินทางและขนส่งสินค้าเฉลี่ยปีละ 12,800 ล้านบาท ลดเวลาเดินทางเฉลี่ยปีละ 9,900 ล้านบาท ลดอุบัติเหตุในภาคการขนส่งปีละ 200 ล้านบาท ลดมลพิษปีละ 10,900 ล้านบาท สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและค่าโดยสารปีละ 8,300 ล้านบาท และสร้างรายได้จากการขนส่งสินค้าเฉลี่ยปีละ 2,200 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2015 6:59 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.จัดประชุมระดมความคิดเห็นรถไฟทางคู่ กับชาวเมืองอุดรฯ ครั้งที่ 2


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
3 กันยายน 2558 13:36 น. (แก้ไขล่าสุด 3 กันยายน 2558 15:28 น.)


อุดรธานี - สนข.ประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนชาวอุดรธานี ครั้งที่ 2 โครงการรถไฟทางคู่มาตรฐาน (Standard Gauge) รองรับรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย นำเสนอผลการศึกษาโครงการทั้งแนวเส้นทาง รูปแบบการเดินรถ ผลประโยชน์จากโครงการ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้ทุกภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นไปใช้พัฒนาและก่อสร้างในอนาคต คาดเปิดให้บริการได้ปี 2565

วันนี้ (3 ก.ย. 58) ณ ห้องประชุมคริสตัล ท็อป โรงแรมประจักษ์ตรา ดีไซน์ โฮเทล จ.อุดรธานี นายณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี พร้อมนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานร่วมเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน ประมาณ 400 คน ร่วมรับฟัง

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยปี 2558-2565 โดยกระทรวงคมนาคมกำหนดแผนพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง โดยจะเร่งผลักดันก่อสร้างทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน (Standard Gauge) เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและจีนตอนใต้ เพื่อให้รถไฟเป็นทางเลือกใหม่ของการเดินทาง และสร้างความได้เปรียบการแข่งขันของประเทศ

ประกอบกับรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนทำข้อตกลงร่วมกันพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) 1.435 เมตร เพื่อขนส่งสินค้าและผู้โดยสารภายในประเทศ เชื่อมภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับจีน โดยวางแนวเส้นทางผ่าน สปป.ลาว ทั้งรองรับการพัฒนาเป็นรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ตามแผนแม่บทของกระทรวงคมนาคม

จากการศึกษาและออกแบบโครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เป็นยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่สำคัญของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบขนส่งทางรางที่ทันสมัย สะดวกรวดเร็ว ตรงเวลา ปลอดภัยสูง รองรับความต้องการเดินทางของประชาชนและสินค้า เป็นเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และกระจายความเจริญไปยังภูมิภาคต่างๆ

แนวเส้นทางโครงการมีจุดเริ่มต้นบริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมา สิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีรถไฟหนองคาย ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ระยะทางประมาณ 355 กิโลเมตร โดยจะมีสถานียกระดับทั้งหมด 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย โดยแนวเส้นทางจะขนานไปกับแนวเส้นทางรถไฟในปัจจุบัน ก่อสร้างเป็นทางอิสระ อยู่ภายในเขตทางรถไฟปัจจุบันให้มากที่สุด เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน

โดยผลการศึกษาที่โครงการจะนำเสนอในวันนี้ครอบคลุมงานศึกษาความเหมาะสมทุกด้าน ทั้งการออกแบบด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม แนวเส้นทางและการแก้ไขปัญหาจุดตัด งานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เปิดโอกาสให้ตัวแทนกลุ่มต่างๆ ทั้งภาคประชาชน ภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนสื่อมวลชน และองค์กรอิสระ รับทราบข้อมูลและร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ซึ่ง สนข.และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาจะนำข้อมูลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับไปใช้ประกอบการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า สำหรับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการได้กำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญไว้ เช่น ด้านเสียงและความสั่นสะเทือน จะเลือกใช้เข็มเจาะที่เหมาะสมและติดตั้งกำแพงกั้นเสียงในบริเวณพื้นที่อ่อนไหว ด้านการแบ่งแยกชุมชน จะจัดให้มีทางรอดและสะพานลอยคนข้ามไปยังบริเวณที่มีชุมชนหนาแน่น และด้านการโยกย้ายเปลี่ยนคืน จะประชาสัมพันธ์ให้ผู้ถูกเวนคืนจากขั้นตอนการเวนคืน โดยจ่ายค่าทดแทนทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ 2530

ส่วนระยะเวลาดำเนินโครงการเมื่อกระบวนการศึกษาออกแบบ และจัดทำรายงานต่างๆ ครบถ้วนแล้วตามขั้นตอนของกฎหมาย และคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปีในการดำเนินการ ซึ่งรัฐบาลกำหนดเป้าหมายให้เปิดให้บริการได้ในปี 2565
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 07/09/2015 1:46 am    Post subject: Reply with quote

เปิดประเด็นเรื่องรถไฟความไวสูง ในส่วนสถานีขอนแก่น

GUEST NEWS CONTRIBUTION: High Speed Train Plan Moves Forward Despite Community Concerns in Khon Kaen
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/09/2015 6:26 pm    Post subject: Reply with quote

อุดรฯเสนอตั้งสถานีรถไฟที่‘หนองแด’ เอื้อยุทธศาสตร์คอนเทนเนอร์ยาร์ด
โพสต์ทูเดย์ 08 กันยายน 2558 เวลา 13:49 น.

โดย...ยุทธพงษ์ กำหนดแน่

ผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ข้อสรุปว่า แนวเส้นทางรถไฟทางคู่ความเร็วปานกลางช่วงที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย นั้นจะขนานไปกับรางเก่า โดยตัวสถานีตลอดเส้นทางมีเพียง 6 จุด ประกอบด้วย นครราชสีมา บัวใหญ่ บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย ซึ่งการสร้างสถานีนั้นจะเตรียมรองรับการพัฒนาเป็นรถไฟความเร็วสูงในอนาคต

จ.อุดรธานี นั้นได้เตรียมพร้อมรองรับโอกาสที่จะเกิดขึ้นหลังการเปิดใช้เส้นทางรถไฟสายนี้

ณรงค์ พลละเอียด รักษาการ ผวจ.อุดรธานี เปิดเผยว่า อุดรธานีได้เสนอให้สร้างสถานีรถไฟที่ “หนองแด” ริมถนนอุดรธานี-หนองคาย เพราะเห็นว่ามีพื้นที่จำนวนมาก ไม่ไกลจากตัวเมืองอุดรธานี และรองรับแผนพัฒนาหนองแด เป็นที่ตั้งศูนย์ประชุมภูมิภาค ศูนย์วัฒนธรรมและสนามกีฬา แต่เมื่อ สนข.ยืนยันจะใช้บริเวณสถานีเดิมในตัวเมือง ที่ประชุมยอมรับฟังเหตุผลไม่คัดค้าน แต่ขอให้เสนอไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการศึกษารถไฟทางคู่ราง 1 เมตร ให้สร้างสถานีย่อยที่หนองแด เพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต

“เมื่อสถานีรถไฟทั้งทางคู่มาตรฐานและทางคู่ 1 เมตร มารวมอยู่บริเวณสถานีเดิม ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองอุดรธานี มีศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ตลาด และชุมชนเมือง ซึ่งมีปัญหาด้านการจราจรอยู่แล้ว ก็เห็นควรว่าทุกฝ่ายจะต้องช่วยกัน วางแผนรองรับการจราจรในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องของระบบขนส่งมวลชนที่ขณะนี้ก็มีอยู่หลายรูปแบบ ให้สามารถนำผู้โดยสารเดินทางมา และออกไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว ไม่ใช่ต้องเดินทางมาด้วยรถส่วนตัว หรือรถรับจ้างเท่านั้น รวมทั้งระบบโครงข่ายถนนรอบนอก” รักษาการ ผวจ.อุดรธานี กล่าวว่า จะขอให้ สนข.ศึกษาเพิ่มเติม จัดทำแผนแม่บทการจราจรเมืองอุดรธานี รองรับการสร้างสถานีรถไฟในเมือง ซึ่งในพื้นที่ จ.ขอนแก่น สนข.ก็ทำการศึกษาเช่นกัน

“จ.อุดรธานี มีแผนจะย้ายการรับส่งสินค้าออกไปที่สถานีรถไฟหนองตะไก้ ต.โนนสูง อ.เมือง โดยมีพื้นที่และสร้างเป็น ‘คอนเทนเนอร์ยาร์ด’ ซึ่งปัจจุบันมีการขนส่งยางแท่งด้วยรถไฟไปยังท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรม ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกอยู่แล้ว”

การขับเคลื่อนในเรื่องสถานที่ จุดที่ตั้งสถานีนั้นคงยังมีต่อไป แน่นอนว่า การกำหนดจุดที่แน่นอนย่อมมีผลในหลายด้าน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องคิดให้รอบคอบคือประโยชน์สูงสุดในการพัฒนา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/09/2015 9:19 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคม เตรียมนำเสนอแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรายงานต่อรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ 8 ก.ย. 2558

กระทรวงคมนาคม เตรียมนำเสนอแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 17 โครงการ รายงานต่อรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ผลักดันเดินหน้าโครงการตามแผน

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม เตรียมรายงานแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 17 โครงการ วงเงิน 1.6 ล้านล้านบาท ต่อนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่จะเดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมในวันพรุ่งนี้ (9 ก.ย.58) ซึ่งเป็นโครงการเร่งด่วนที่รัฐบาลให้ความสนใจด้านการลงทุน ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศไทย พ.ศ. 2556 - 2560 ทั้ง 5 ด้าน เพื่อให้โครงการเดินหน้าตามแผน

ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวถึงโครงการด้านโครงสร้างพื้นที่ฐานที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี รวม 5 โครงการ ประกอบด้วย
- โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ 3 สายทาง คือ
สายพัทยา - มาบตาพุด
สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี และ
สายบางปะอิน - นครราชสีมา
และโครงการด้านการพัฒนาท่าเรืออีก 2 โครงการ ซึ่งยังมีอีก 12 โครงการ เช่น
โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 4 เส้นทาง จากทั้งหมด 6 เส้นทาง
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 4 สายทาง
โครงการก่อสร้างรถไฟระหว่างเมือง 2 โครงการ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/09/2015 7:07 am    Post subject: Reply with quote

“อาคม” อึมครึมลงทุนรถไฟจีน ขอผลสรุปศึกษาจะกู้เงินไหนดี
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 10 ก.ย. 2558 05:15

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงการดำเนินการในโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 873 กม.ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดออกแบบในเบื้องต้น ซึ่งฝ่ายจีนจะเป็น ผู้รับผิดชอบและจะส่งมอบมาให้คมนาคม หลังจากนั้นจะมีการหารือกันต่อในเรื่องรูปแบบการลงทุนของโครงการการเงิน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่จีนเสนอมานั้นยังสูงอยู่ และฝ่ายไทยได้เคยหารือกับจีนไปแล้วว่า แหล่งเงินของจีนที่ปล่อยกู้ให้ไทย จะต้องเป็นดอกเบี้ยที่มีอัตราต่ำที่สุด

อย่างไรก็ตาม จากการที่ไทยศึกษาพบว่า อัตราดอกเบี้ยที่จีนให้นั้นยังสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ไทยสามารถกู้เงินภายในประเทศได้ แต่ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะตัดสินใจว่าจะกู้เงินภายในประเทศหรือกู้เงินจีนมาก่อสร้าง ที่สำคัญไม่มีแบงก์ใดที่จะยอมรับการปล่อยกู้ให้กับโครงการที่ไม่มีข้อสรุปรายละเอียด

ส่วนความคืบหน้าในการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม.นั้นคืบหน้าไปมาก ซึ่งญี่ปุ่นจะต้องใช้เวลาในการจัดหาที่ปรึกษาศึกษาโครงการและไทยได้ตกลงเรื่องระยะเวลาศึกษาและออกแบบรายละเอียดของโครงการกับทางญี่ปุ่นแล้วว่าต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี และกลางปีหน้ากระทรวงคมนาคมจะขออนุมัติหลักการโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่นจาก ครม.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 49, 50, 51 ... 121, 122, 123  Next
Page 50 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©