Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263890
ทั้งหมด:13575173
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 84, 85, 86 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/08/2017 8:22 pm    Post subject: Reply with quote

ชง ครม. ขอเพิ่มงบ! สร้างมอเตอร์เวย์ ‘บางใหญ่-กาญจนบุรี’
ฐานเศรษฐกิจ 27 August 2017

อธิบดีกรมทางหลวงเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีปรับกรอบวงเงินค่าก่อสร้างโครงการมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรีในเดือนกันยายนนี้ หลังค่าเวนคืนที่ดินปรับเพิ่มขึ้นมาประมาณ 14,000 ล้านบาท จากราคาที่ดินที่ปรับสูงขึ้น

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวงกล่าวถึงปัญหาค่าเวนคืนที่ดินของโครงการมอเตอร์เวย์บางใหญ่ -กาญจนบุรีว่า ในส่วนของวงเงินค่าเวนคืนที่ดินเดิมของโครงการที่กำหนดไว้ 5,420 ล้านบาทนั้น เมื่อทำการประเมินด้วยราคาปัจจุบันพบว่าเพิ่มขึ้นไปถึง 19,737 ล้านบาท จากราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่ – เตาปูน ซึ่งถือเป็นปัญหาของโครงการที่ต้องเร่งแก้ไข ซึ่งในงบส่วนแรก 5,420 ล้านบาท ทางกรมฯได้จัดทำของบประมาณไว้ตามกรอบแล้วจากงบกลาง และจะมีการปรับปรุงระบบการก่อสร้างและออกแบบ ซึ่งคาดว่าจะประหยัดวงเงินได้อีกประมาณ 5,000 ล้านบาท จากวงเงินโครงการทั้งหมดประมาณ 50,000 ล้านบาท

Click on the image for full size

ส่วนค่าเวนคืนที่ดินอีก 9,000 ล้านบาท ทางกรมฯมีแผนที่จะเสนอของบกลางมาช่วยเหลือ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับกรอบวงเงิน หลังจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนมีการต่ออายุในวันที่ 11 กันยายน 2560 และหากงบกลางมีไม่เพียงพอ ก็สามารถทำให้เป็นงบผูกพันไปถึงปี 2562 ได้

ส่วนโครงการรถไฟไทย – จีน เส้นทางกรุงเทพ – โคราชในช่วงแรก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศกนั้น ทางกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้กรมทางหลวงรับผิดชอบและเร่งงานอย่างเต็มที่ แต่ในส่วนงานนั้นจะไม่เกี่ยวข้องกับระบบรางหรือหมอนรองรางรถไฟ แต่จะเป็นการทำคันดินตามที่จีนออกแบบมาเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ได้ประชุมเบื้องต้นกับฝ่ายจีนแล้ว ทั้งเรื่องของการออกแบบ//วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและวิธีการทดสอบวัสดุ และจะประชุมกลุ่มย่อยอีกครั้งในสัปดาห์หน้าเพื่อตกลงเรื่องการออกแบบให้แล้วเสร็จ เพื่อประเมินราคาและเสนอให้การรถไฟฯรับทราบต่อไป ว่างบประมาณที่ต้องใช้จริงจะอยู่ที่เท่าใด แต่ในเรื่องของเครื่องมือและเครื่องจักรได้เตรียมพร้อมไว้หมดแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/08/2017 9:11 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ติดตามความคืบหน้าโครงการฯ ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 27 ส.ค. 2560

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว จังหวัดสระแก้วและปราจีนบุรี โดยมีหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม บรรยายสรุป ณ แขวงทางหลวงสระแก้ว (วัฒนานคร) อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว สำหรับโครงการและแผนงานในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคมจะมีหลายโครงการ เช่น โครงการพัฒนาทางหลวงเชื่อมโยง อ. อรัญประเทศ – ชายแดนไทย - กัมพูชา ที่บ้านหนองเอี่ยน-สตึงบท แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวงและทางหลวงชนบทรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและด่านการค้าชายแดน แผนพัฒนาทางรถไฟในพื้นที่จังหวัดสระแก้วเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC โครงการเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างไทย-กัมพูชา โครงการปรับปรุงทางรถไฟช่วงชุมทางแก่งคอย-คลองสิบเก้า-สุดสะพานคลองลึก (รวมสะพานข้ามคลองลึก) การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการปรับปรุงทางฝั่งกัมพูชา ปอยเปต-คลองลึก และอยู่ระหว่างการเจรจาเปิดการเดินรถระหว่างประเทศ โครงการพัฒนาด่านศุลกากรอรัญประเทศ โครงการเดินรถเพื่อขนส่งสินค้าและผู้โดยสารไทย-กัมพูชา และการจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสาร อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เป็นต้น

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : นภสร แก้วคำ(2) / สวท.
ผู้เรียบเรียง : ธนพิชฌน์ แก้วกา
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/09/2017 9:08 am    Post subject: Reply with quote

สนข.ผุดแผนโลจิสติกส์ “3.4แสนล้าน”ระยะ5ปี 101 โครงการ
คมชัดลึก 7 ก.ย. 60

วันที่ 6 ก.ย.60 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดการสัมมนานำเสนอผลงานและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษรูปแบบอุตสาหกรรมอนาคตซูเปอร์ คลัสเตอร์ (Super Cluster) และประตูการค้าสำคัญของประเทศ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 150 คน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยในฐานะประธานเปิดการสัมมนาฯ ว่า ปัจจุบันทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปในรูปแบบคลัสเตอร์ เช่น นโยบายไทยแลนด์ 4.0 นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบซูเปอร์ คลัสเตอร์,แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะทำให้มีการเดินทางและขนส่งสินค้ามากขึ้น

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีแผนพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ที่ช่วยแก้ปัญหาจราจรติดขัด สนับสนุนการค้าชายแดน และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาดังกล่าว

สนข. จึงว่าจ้างที่ปรึกษา ทำการศึกษาและวิเคราะห์ เพื่อจัดทำแผนพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์ ฯ เป็นระยะเวลา 8 เดือน เน้นการศึกษาใน 7 จังหวัด ประกอบด้วย จ.ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ซึ่งอยู่ในพื้นที่ซูเปอร์ คลัสเตอร์ และจ.สระแก้ว จันทบุรี ตราด ซึ่งเป็นประตูการค้าสำคัญในชายฝั่งทะเลตะวันออก

เบื้องต้นการพัฒนาได้บรรจุโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Hard Side)และมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ (Soft Side)101 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 342,000 ล้านบาท มีระยะเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2560-2564

วงเงินส่วนใหญ่จะใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีทั้งโครงการต่อขยายและโครงการใหม่ เช่น การเชื่อมโยงทางหลวงหมายเลข 7 กับท่าเรือแหลมฉบัง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 7 ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เป็นต้น แต่วงเงินดังกล่าวยังไม่รวมโครงการรัฐเอกชนร่วมลงทุน (PPP) หรือโครงการที่ยังไม่มีความชัดเจน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง เชื่อม 3 ท่าอากาศยาน วงเงิน 2.19 แสนล้านบาท โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) มูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 ของท่าอากาศยานอู่ตะเภา มูลค่า 4.3 หมื่นล้านบาท

ด้านมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เช่น การเชื่อมโยงข้อมูลการจราจรและใช้ในการควบคุมสัญญาณไฟจราจร การสร้างระบบบริหารจัดการขนส่งเที่ยวเปล่า มาตรการกำหนดเส้นทางขนส่งสินค้าอันตราย เป็นต้น

“คาดว่าจะส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ให้คณะกรรมการบริหารอีอีซีพิจารณาได้ภายในกลางเดือนนี้ จากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายอีอีซีที่มีท่านนายกฯ เป็นประธานพิจารณา ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบตามลำดับ โดยการศึกษาฉบับนี้จะเป็นแผนแม่บทการพัฒนาโลจิสติกส์ในอีอีซีและแผนการใช้งบประมาณใน 5 ปีข้างหน้า การดำเนินงานนอกเหนือจากนี้จะทำไม่ได้” นายชัยวัฒน์กล่าว

และคาดว่าเมื่อมีการพัฒนาตามแผนงานดังกล่าว ร่วมกับการพัฒนาเมือง ภาคอุตสาหกรรม และภาคการท่องเที่ยวแล้วเสร็จจะส่งให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น 4%ในปี 2564 และ 4.9%ในปี 2569 ส่วนจีดีพีของพื้นที่ 3 จังหวัดใน EEC คาดว่าจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ 18%ในปี 2564 และ 40%ในปี 2569

นอกจากนี้ จะสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ทางถนนได้ 2.67% และการขนส่งทางรางได้ 19.83% หรือทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์เฉลี่ยรวมลดลง 2.69% จาก 1,333.3 ล้านบาทต่อวัน เหลือ 1,297.4 ล้านบาทต่อวัน ขณะเดียวกันทำให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.5% และทำให้รายได้เฉลี่ยสูงขึ้น 4.6%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/09/2017 11:47 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สนข.ผุดแผนโลจิสติกส์ “3.4แสนล้าน”ระยะ5ปี 101 โครงการ
คมชัดลึก 7 ก.ย. 60
[/b]


เทงบ 3.42แสนล.ผุด101โครงการเชื่อมโลจิสติกส์ พื้นที่ EEC แบบไร้รอยต่อ
ASTV
เผยแพร่: 6 กันยายน 2560 15:42:00

สนข.กางแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหนุน Super Clusterใน พื้นที่ EEC ในช่วง 5 ปี (60-64) รวม 101 โครงการ มูลค่ากว่า 3.42 แสนล. จัดลำดับแผน บูรณาการ โครงข่าย"ถนน-มอเตอร์เวย์-รถไฟ"ไร้รอยต่อ ตั้งเป้าลดต้นทุนโลจิสติกส์ เหลือ 12% ในปี64 ดัน GDP แตะ4% เร่งสรุปชงบอร์ด บริหาร EECใน ก.ย.นี้

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนานำเสนอผลงานและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษรูปแบบอุตสาหกรรมอนาคต Super Cluster และประตูการค้าสำคัญของประเทศ ว่า จากนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบ Super Cluster และโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development : EEC) ในการพัฒนา3 จังหวัด คือ ระยอง,ชลบุรีและฉะเชิงเทรา ซึ่งต่อยอดจากแผนพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่เน้นการลงทุนอุตสาหกรรมที่เป็นแนวโน้มของโลกนั้น สนข.ได้มีการศึกษาแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ในช่วง 5 ปี (2560-2564) จำนวน 101 โครงการ วงเงินลงทุน 342,000 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมโครงการที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน( PPP) เช่น รถไฟความเร็วสูง เส้นทาง กรุงเทพ-พัทยา-ระยอง วงเงิน 2.19 แสนล้านบาท ,โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่3, ศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO)

โดยแผนพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ จะคัดกรองจัดลำดับการลงทุนและงบประมาณโครงการด้านคมนาคมขนส่ง แต่ละปี ซึ่งจะทำให้แผนงานมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน ทั้ง ถนน รางและ ท่าเรือ โดยมีโครงการในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง (ทล.) 68โครงการ เช่น มอเตอร์เวย์สาย7( พัทยา-มาบตาพุด) 14,200 ล้านบาท ,ทางเลี่ยงเมือง ฉะเชิงเทรา 3,500 ล้านบาท,ทางหลวงหมายเลข3 พัทยา-สัตหีบ 1,900 ล้านบาท กรมทางหลวงชนบท (ทช.) 12 โครงการ เช่น เชื่อมทางหลวงหมายเลข7 กับท่าเรือแหลมฉบัง 1,500 ล้านบาท, สาย ฉช.3001-ลาดกระบัง 3,800 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 5โครงการ นอกจากนี้ยังมีการลงทุนโครงการเพิ่มประสิทธิภาพอื่นๆ
ทั้งนี้คาดว่าเมื่อมีการพัฒนาตามแผนงาน ร่วมกับการพัฒนาเมือง ภาคอุตสาหกรรม และภาคการท่องเที่ยวจะส่งผลให้ GDP ประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 4 %ในปี 2564 และ 4.9 %ในปี 2569 และคาดว่า ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ 18 %ในปี 2564 และ 40 %ในปี 2569 สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ทางถนนลงได้ 2.67 % หรือจาก 14.1% เหลือ 12% ในปี 2564 เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.5% รายได้เพิ่มขึ้น 4.46% มีนักท่องเที่ยวเพิ่ม 20-30%

ซึ่งสนข. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา ศึกษาระยะเวลา 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.60) วงเงิน 10 ล้านบาท จะสรุปรายงานฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) นำเสนอ คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) ที่มี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในการ ประชุมเดือนก.ย.นี้ จากนั้นจะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ก่อนรายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบต่อไป

นอกจากแผนงานหลักแล้ว ยังมีการเสนอโครงการเพิ่มเติมรองรับ การเดินทางภายในพื้นที่ EEC ประมาณ 51% เป็นระบบฟีดเดอร์เชื่อมชุมชนกับสถานีรถไฟความเร็วสูง เช่น ระบบรางเบา (Light Rail Transit or Street Car) รถไฟระยะสั้น สถานีชลบุรี-วัดญาณสังวราราม มี 8 สถานี ระยะทาง 63 กม. วงเงิน 25,200 ล้านบาท,สายสถานีรถไฟชลบุรี-หาดบางแสน,สถานีรถไฟชลบุรี-นิคมอมตะนคร,สายCity Hall- พัทยาเหนือ-พัทยาใต้-ท่าเทียบเรือใหม่-จอมเทียน-สนามกีฬาชัยพฤกษ์ ,สายCity Hall- สถานีรถไฟพัทยา-กระทิงลาย โดยสนข.จะมีการศึกษาเพิ่มเติมเป็นแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะในเมือง ต่อไป

อย่างไรก็ตาม ทิศทางการพัฒนาด้านเศรษฐกิจในรูปแบบ “Cluster” คือการให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจแยกตามภาคการผลิตให้สอดคล้องกับพื้นที่เมือง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ.2560-2579

และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกทั้งทำให้การพัฒนาสร้างมูลค่าสูงสุดแก่พื้นที่ ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการในการเดินทางและการขนส่งที่เพิ่มขึ้นในอนาคต จึงจำเป็นต้องมีแผนการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์รองรับเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด สนับสนุนการค้าชายแดนที่มีปริมาณสูงขึ้นทุกปี สนับสนุนการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของ “การศึกษาพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ รูปแบบอุตสาหกรรมอนาคต Super Cluster และประตูการค้าสำคัญของประเทศ” เพื่อรองรับการพัฒนาของประเทศในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2017 11:16 pm    Post subject: Reply with quote

เอกชนเป็นห่วงอนาคต EEC พ้นรัฐบาลทหารไม่มั่นใจเดินหน้าต่ออย่างไร
วันที่ 11 กันยายน 2560 - 07:40 น.

หนุนลงทุน EEC - เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายสนั่น อังอุบลกุล รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาสมาคมการค้า และ ดร.คณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ EEC จัดสัมมนาให้ข้อมูล 30 สมาคมการค้า
30 สมาคมการค้าไทย ห่วงทิศทาง EEC หลังการเลือกตั้ง ขอความมั่นใจรัฐบาลต่างชาติขนธุรกิจ Alibaba-Airbus-Boeing ลงทุนจริง พร้อมเร่งแก้ปมความล่าช้าในการออกใบอนุญาตต่าง ๆ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะรองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ในฐานะประธานคณะทำงานด้านการค้าและการลงทุน สภาหอการค้าฯ และหัวหน้ากลุ่มประชารัฐ ด้านการส่งเสริมการส่งออกและลงทุนในต่างประเทศ (D4) ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา


ได้นำคณะนายกสมาคมการค้า 30 สมาคม เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่โรงแรมพูลแมนพัทยาจี จ.ชลบุรี ร่วมกับ ดร.คณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อหารือถึงแนวทางในการพัฒนา EEC ซึ่งเป็นแผนงานที่สำคัญมากในช่วงเวลานี้ และเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แต่มีอีกหลายประเด็นที่ภาคเอกชนยังเป็นกังวล

“สิ่งที่ภาคเอกชนกังวลเกี่ยวกับการขับเคลื่อน EEC หากในปีหน้ามีรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง จะมีการเดินหน้าต่อในเรื่องนี้หรือไม่ นอกจากนี้ เอกชนยังมีความกังวลถึงปัญหาการติดขัดในการยื่นขอใบอนุญาตต่าง ๆ ที่มีความล่าช้า รวมถึงความคืบหน้าในประเด็นที่รัฐบาลไทยไปหารือกับรัฐบาลต่างชาติ และมีพันธสัญญาร่วมกันมีความคืบหน้าไปอย่างไรบ้าง ซึ่งทางท่านคณิตได้อธิบายเพิ่มเติมถึงประเด็นที่ยังเข้าใจไม่ตรงกัน เช่น การที่นักลงทุนต่างชาติให้ความเชื่อมั่นและประกาศแผนการลงทุนใน EEC แล้ว เช่น กลุ่มอาลีบาบา (Alibaba), แอร์บัส (Airbus) และโบอิ้ง (Boeing) เป็นต้น รวมถึงการจัดการผังเมือง การพัฒนาศูนย์กลางบริการสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) กระบวนการเช่าที่ดินระยะยาว มาตรการการสนับสนุนของภาครัฐ การส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ (Logistics Hub) การทำเขตเศรษฐกิจพิเศษปลอดภาษี เป็นต้น”

อย่างไรก็ตาม สมาคมการค้ายังมีความเชื่อมั่นในแผนงาน EEC ว่าจะสามารถขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคโชติช่วงอีกครั้ง ซึ่งสิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงเราจะรอเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศอย่างเดียว แต่นักลงทุนไทยต้องพร้อมที่จะเข้าร่วมลงทุนในห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) เพื่อใช้ประโยชน์จากการที่รัฐบาลไทยสนับสนุน ในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ดร.คณิตยังได้กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินการตาม EEC ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะเวลา 5 ปี ทั้งหมด 7 โครงการ และแผนการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากภาคเอกชน โดยจะให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนเพิ่มเติมมากขึ้น โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ด้านภาษี สิทธิการเช่าที่ดิน และการจัดหาแรงงาน การจัดตั้งกองทุนพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จการลงทุน เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุน การประกาศเป็นเขตปลอดภาษี การจัดหาที่ดิน และระยะเวลาเช่าที่ดิน ระยะเวลาพำนัก และทำงานของนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ สิทธิในการทำธุรกรรมทางการเงิน การใช้เงินตราต่างประเทศ การจัดตั้งศูนย์ธุรกรรมทางการเงิน และการจัดตั้งกองทุนในพื้นที่ร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น เป็นต้น

สำหรับ 7 โครงการ ที่จะดำเนินการขณะนี้ ประกอบด้วย

1) โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 3 ล้านคนต่อปี ในเบื้องต้นจะมีแผนขยายรันเวย์ที่ 2 และจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินในภาคตะวันออก

2) โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 เรื่องรองรับจำนวนตู้สินค้า 18 ล้าน TEU ต่อปี จากเดิมที่รับได้ 7 ล้าน TEU ต่อปี

3) โครงการท่าเรือมาบตาพุด รองรับการลงทุนปิโตรเคมี 360,000 ล้านบาทภายใน 5 ปี

4) โครงการท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ เพื่อรองรับนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว 3 ล้านคนต่อปี และ

5) โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อเชื่อมต่อ 3 สนามบินหลัก คือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา
6) โครงการรถไฟฟ้าทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย เชื่อมโยงแห่งอุตสาหกรรมและท่าเรือ และ
7) โครงการทางหลวงพิเศษ ระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) เส้นทางพัทยา-มาบตาพุด, เส้นทางแหลมฉบัง-นครราชสีมา และเส้นทางชลบุรี-ตราด

นายสนั่นกล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันที่ 29 กันยายนนี้ จะนำคณะภาคเอกชน เข้าพบกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อหารือถึงแนวทางในการดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากภาคเอกชนกังวลว่าปัญหาค่าบาทแข็งค่ากว่าประเทศคู่แข่ง 7% นับตั้งแต่ต้นปี อาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/09/2017 7:04 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เอกชนเป็นห่วงอนาคต EEC พ้นรัฐบาลทหารไม่มั่นใจเดินหน้าต่ออย่างไร
วันที่ 11 กันยายน 2560 - 07:40 น.

รู้จัก ‘อีอีซี’ โครงการความหวังเศรษฐกิจไทย 1.5 ล้านล้านบาท ภาคต่อของ ‘อีสเทิร์นซีบอร์ด’ ยุคป๋าเปรม
The Standard 12 ก.ย. 60
HIGHLIGHTS:
- อีอีซี เป็นโครงการต่อยอดจากโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด เพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง
- รัฐบาลมีแผนลงทุน 5 ปี งบกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับโครงการอีอีซี
- อีอีซี เป็นความหวังใหม่ของไทยในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและดึงดูดการลงทุน ท่ามกลางความกังวลในหลายเรื่อง ทั้งความต่อเนื่อง ความพร้อม และสิ่งแวดล้อม

อ่านต่อได้ที่ Arrow https://thestandard.co/from-eec-to-esb/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/09/2017 5:35 pm    Post subject: Reply with quote

ไทยหวังญี่ปุ่นลงทุนหลักในอีอีซีควงลงพื้นที่พรุ่งนี้จีบลงทุนจริง
MGR Online เผยแพร่: 12 ก.ย. 2560 17:00:00

ไทย-ญี่ปุ่นชื่นมื่นพร้อมร่วมมือขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 ไทยหวังญี่ปุ่นปักหมุดลงทุนสิ้นปีนี้และเป็นนักลงทุนหลักในอีอีซี "สมคิด"ลั่นไทยญี่ปุ่นหุ้นส่วนชีวิตวาง 4 แนวทางร่วมมือ จีบญี่ปุ่นร่วมพัฒนารถไฟเชื่อมตะวันออก-ตะวันตก(East West Corridor) "อุตตม" ควงญี่ปุ่นดูพื้นที่อีอีซีพรุ่งนี้

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ เนื่องในโอกาสการพบปะนักลงทุนญี่ปุ่นและไทยประมาณ1,200ราย และเป็นสักขีพยานการลงนาม 7 ฉบับระหว่างหน่วยงานไทยและญี่ปุ่นในงานสัมมนา Symposium on Thailand 4.0 towards Connected Industries ว่า การหารือกับร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นหรือเมตินั้นไทยมีแนวทางที่สำคัญ 4 เรื่องได้แก่

1.ความร่วมมือการพัฒนารถไฟเชื่อมตะวันออกและตะวันตก(East West Corridor) ที่จะเชื่อมโยงจากเวียดนาม สปป.ลาว ไทย เมียนมาร์เพื่อเชื่อมไปยังอินเดีย ซึ่งในไทยก็จะเชื่อมกับระเบียงเขตศก.พิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ซึ่งญี่ปุ่นเองมีความสนใจ

2. ต้องการให้เมติ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม พาณิชย์ ของไทยหารือกันมากขึ้นและครอบคลุมความร่วมมือไปยังอาเซียน

3. ญี่ป่นต้องการให้ไทยเป็นตัวกลางเพื่อนบ้านในการร่วมมือเช่น การพัฒนาบุคลากร. ตลาดทุน

4. ญี่ปุ่นมีนโยบาย Connected Industries ซึ่งก็สอดรับกับอุตสาหกรรม 4.0 ของไทยที่จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเอสเอ็มอีไทย

" นักลงทุนญี่ปุ่นได้เข้าพบนายกฯของไทยเมื่อวันที่ 11 ก.ย.ถือเป็นภาพที่จะสื่อไปทั่วโลกว่าทำไมต้องเป็นประเทศไทยเพราะไทยคือศูนย์กลางในภูมิภาคนี้เพราะอนาคต 10 ปีข้างหน้าเป็นเวลาของภูมิภาคเอเชียอย่างแน่นอน และไทยคือส่วนหนึ่งของเส้นทาง One Belt One Road ของจีนทุกเส้นทางต้องผ่านไทย หากญี่ปุ่นยอมเชื่อผมซักนิดพัฒนาเส้นอีสเวส คอร์ริดอร์ จะทำให้เกิดการเชื่อมต่อไปยังเวทีการค้าโลกทั้งหมด"นายสมคิดกล่าว

ทั้งนี้ญี่ปุ่นมีบทบาทสูงสุดในการช่วยเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมาและกำลังจะร่วมกันขับเคลื่อนไปข้างหน้าความเป็นหุ้นส่วนของญี่ปุ่นจึงถือเป็นหุ้นส่วนชีวิตของทั้งสองประเทศหมายถึงอนาคตจะเป็นอย่างไรความสัมพันธ์จะอยู่เหนือกาลเวลา

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า
การร่วมมือกับญี่ปุ่นครั้งนี้จะมุ่งเน้น 3 เรื่องได้แก่
(1.) การขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0
(2.)ความร่วมมือการพัฒนาเอสเอ็มอี และ
(3.) ร่วมพัฒนาอีอีซี
ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่เป็นโรดแมพในการพัฒนาประเทศไทยระยะ 20 ปี

"ความร่วมมือเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนและญี่ปุ่นเองถือเป็นมิตรที่สำคัญที่จะร่วมมือกันซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เป็นประโยชน์ต่อทั้ง 2 ประเทศโดยเราคาดหวังว่าการลงทุนจากญี่ปุ่นในพื้นที่อีอีซีน่าจะเห็นชัดเจนในสิ้นปีนี้" รมว.อุตสาหกรรมกล่าว

อีอีซีถือเป็นโครงการสำคัญที่สุดโครงการหนึ่งของรัฐบาลไทยได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมาก. โดยพื้นที่มีการพัฒนารองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งระบบสาธารณูปโภค การส่งเสริการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ระบบดิจิทัล ฯลฯ โดยเฟสแรก 5 ปีเราคาดหวังเงินลงทุน 4.3 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 1.5 ล้านล้านบาทซึ่งจะเป็นการลงทุนเอกชน 80% ที่เหลือรัฐลงทุน

" ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 เรามีกฏหมายรองรับเพื่อยืนยันว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นแนวทางการพัฒนาทั้งหมดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจากการหารือทางเมติเองก็ระบุว่าคาดหวังไทยที่จะเป็นฮับ 2 เรื่องคือ Connected Industries ที่จะเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้านและ ฮับการพัฒนาบุคคลากรเชื่อมโยงภูมิภาคซึ่งจะมีการตั้งทีมทำงานร่วมกันในเชิงลึกต่อไป"นายอุตตมกล่าว

สำหรับกรณีที่นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการให้ไทยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นมากกว่า 49% นั้นเรื่องดังกล่าวก็กำลังพิจารณาแนวทางอยู่เช่นเดียวกับกรณีที่นักลงทุนญี่ปุ่นมองว่าการจะลงทุนในพื้นที่อีอีซีต้องยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในสิ้นปีนี้โดยจะขอขยายเวลานั้นเรื่องนี้ก็จะต้องหารือและคงจะดูเป็นรายโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/09/2017 6:26 pm    Post subject: Reply with quote

"สมคิด"ลั่นญี่ปุ่นหุ้นส่วนชีวิต ดึงสร้างรถไฟเชื่อมตะวันตก-ออก
เดลินิวส์ อังคารที่ 12 กันยายน 2560 เวลา 17.41 น.

“สมคิด” ร่ายมนต์ญี่ปุ่นกล่อมจับมือไทยพัฒนาระเบียงศก.ตะวันตก- ออกเชื่อมโยงโลก  ยอญี่ปุ่นยกระดับเป็นหุ้นส่วนชีวิตด้านญี่ปุ่นขอไทยเร่งพัฒนาบุคคลกรรองรับการเติบโต ชี้ไทยขาดแรงงาน เข้าสู่สังคมสูงอายุ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยระหว่างสัมมนายุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น  ภายใต้การเชื่อมนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทูเวิล์ด  คอนเน็ค อินดัสทรีว่า  อยากให้ญี่ปุ่นยอมเชื่อตนสักนิด มาร่วมมือกันสร้างรถไฟเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกตะวันตก (อีสต์เวสต์ อีโคโนมิก คอริดอร์) ให้เวียดนามเชื่อมลาวผ่านไทยผ่านเมียนมา และเชื่อมอินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ ไปยังประเทศอื่นทั่วโลก มั่นใจว่า จะได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างมาก ซึ่งไทยจะมีจุดแข็ง ดึงดูดนักลงทุน ทำให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนในภูมิภาค

“ ในอีก 10-20 ปีข้างหน้าเป็นเวลาของภูมิภาคเอเชีย ขึ้นเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกแน่นอน ซึ่งญี่ปุ่นกับไทยต้องร่วมกันพัฒนา หากทำให้ประเทศเพื่อนบ้านโตเท่าใด ไทยเราก็จะยิ่งมีเสน่ห์มากขึ้นเท่านั้น และเราไม่ได้บอกว่าเราดีกว่าประเทศอื่น แต่เรามีสิ่งที่ประเทศอื่นไม่มี อย่างโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)  และต่อไปถ้าไทยดี ประเทศเพื่อนบ้านก็จะดีด้วย  ซึ่งตอนนี้ไทยและญี่ปุ่นไม่ได้เป็นเพียงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเท่านั้น ต่อไปต้องเป็นหุ้นส่วนทางชีวิตร่วมกันแล้ว ”
 
นายฮิโรยูกิ อิชิเกะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) กล่าวว่า  ปัจจุบันนักธุรกิจญี่ปุ่นมีกว่า5,000 บริษัท  มีลงทุนการลงทุนประมาณ 2.43 ล้านล้านบาท  คิดเป็น 40% ของการลงทุนจากทั่วโลก  ซึ่งขณะนี้ไทยกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยน จากโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป มีอัตราการเกิดต่ำ มีสัดส่วนผู้สูงวัยมากขึ้น ส่งผลทำให้ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้เวียดนามผงาดขึ้น ซึ่งนักธุรกิจญี่ปุ่น จึงเห็นถึงความคลุมเครือที่เกิดขึ้น และได้ลดการลงทุนในหลายอุตฯ ของไทยลง แต่นับจากรัฐบาลไทยออกนโยบายประเทศไทย 4.0 และมีโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)  ถือเป็นเครื่องมือสำคัญและเป็นตัวเชื่อมโยงกำหนดอนาคตไทยและญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นมองว่า การขับเคลื่อนดังกล่าวไม่ควรมองแค่ตลาดในประเทศ แต่ควรมองภาพใหญ่ในอาเซียน และไทยต้องเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) สำคัญในการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

นายฮิโรชิเกะ เซโกะ รมว.เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (เมติ) กล่าวว่า  ไทยถือเป็นซัพพลายเชนที่สำคัญของญี่ปุ่น และเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่สามารถร่วมมือ เชื่อมโยงดาต้ากับญี่ปุ่นโดยตรง ซึ่งญี่ปุ่นพร้อมให้คำแนะนำในเรื่องนี้ บทบาทของประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลาง ซัพพลายเชน และเชื่อมต่อไปในซัพพลายเชนในภูมิภาคอาเซียนได้ต่อไป ขณะเดียวกันในอนาคต การเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรม  ที่ต่อเนื่องไปดาต้า ยังสามารถขยายการเชื่อมต่อไปได้ในภาคอื่นต่อไป อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมา โรงงานไทยมีปัญหาการจัดตั้งมานาน และมีปัญหาควาเก่าของเครื่องจักร ดังนั้น ไทยและญี่ปุ่น สามารถร่วมมือสร้างระบบ สมาร์ท เมนเนแนนซ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลเครื่องจักรได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/09/2017 9:52 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เชื่อไม่เกิน 6 เดือน ผู้ประกอบการรถไฟฟ้าเชื่อมโยงบัตรแมงมุมได้
MGR Online เผยแพร่: 12 ก.ย. 2560 10:30:00

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า การพัฒนาระบบตั้งร่วม หรือ บัตรแมงมุม ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว ระยะเริ่มต้นจะครอบคลุมผู้ใช้บริการรถเมล์ทุกเส้นทางและเชื่อมโยงข้อมูลกับบุตรผู้มีรายได้น้อยที่มีผู้เข้าร่วมโครงการสวัสดิการแห่งรัฐกว่า 11 ล้านคนนั้น ภายหลังระบบตั๋วร่วมผ่านการอนุมัติจากคณะรัญมนตรี (ครม.) จะทำให้บริษัทเอกชนผู้เดินรถให้บริการรถไฟฟ้า ทั้งบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินมีความมั่นใจพร้อมเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากมติ ครม.มีการมอบหมายการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม) ถ่ายโอนงานฐานข้อมูลและเป็นผู้จัดงานของบริษัทจัดแบ่งรายได้ หรือเคลียริ่งเฮาส์เชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเดินรถแต่ละราย เกิดความชัดเจนทั้งในแง่ของกฎหมายและผู้รับผิดชอบ

ขณะเดียวกันเชื่อว่าผู้ประกอบการทุกรายจะเห็นว่าการเข้าร่วมระบบตั๋วร่วมจะทำให้ตัวเองมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และจากการหารือที่ผ่านมา ผู้ประกอบการทุกรายวางระบบเบื้องต้นแล้ว ไม่เกิน 6 เดือน เชื่อว่าจะเห็นผู้ประกอบการรถไฟฟ้าเชื่อมโยงการบริการกับบัตรแมงมุมแน่นอน เริ่มจากติดตั้งระบบอ่านบัตรบางส่วนในพื้นที่สถานี เช่น ช่องทางที่ผู้โดยสารเข้าสู่สถานี เพื่อตรวจบัตรโดยสารจะมีการนำร่องใช้ 2 ช่องทาง ที่ตรวจผ่านตั๋วแมงมุมได้ ก่อนขยายเต็มรูปแบบในอนาคต

นอกจากนี้ การพัฒนาบัตรแมงมุมนอกจากระบบรถเมล์ทุกเส้นทาง รถไฟฟ้า ในอนาคตจะรวมระบบเรือโดยสาร ทางด่วน ที่จะเข้าร่วมด้วย ขณะนี้ยอมรับว่ามีเอกชนหลายรายสมในเข้าร่วมธุรกิจ เพื่อเชื่อมโยงกับบัตรแมงมุมเพื่อต่อยอด ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน ซึ่งมีธนาคารบางแห่งต้องการเชื่อมโยงบริการบัตรเดบิตกับบัตรแมงมุม
อย่างไรก็ตาม จะต้องหารือความร่วมมือต่อไป เนื่องจากการเข้าสู่ระบบจะมี 2 ลักษณะ คือ เฉพาะเชื่อมโยงข้อมูลในบัตรหรือเป็นผู้ออกบัตรเองด้วย ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับระบบเคลียริ่งเฮาส์ และต้องรอการวางระบบร่วมกันอีกครั้ง นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อให้ความสนใจร่วมกับบุตรแมงมุม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/09/2017 10:25 pm    Post subject: Reply with quote

ขนส่งฯดึงไจก้าร่วมแก้ปัญหาจราจรเมืองหลวง
โพสต์ทูเดย์ 12 กันยายน 2560 เวลา 21:51 น.

ขนส่งฯดึงไจก้าแก้ปัญหาจราจรเมืองหลวง ศึกษาเส้นทางเดินรถโดยสารรองรับรถไฟฟ้า แนะเอกชนรวมกลุ่มกู้ซื้อมินิบัส

นายสมศักดิ์ ห่มม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้เสนอให้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า) เข้ามาดำเนินการศึกษาโครงสร้างราคาค่าโดยสารสาธารณะและเส้นทางเดินรถโดยสารเพื่อรองรับรถไฟฟ้าในอนาคต เนื่องจากไจก้ามีมาตรฐานในการวางระบบขนส่งในระยะยาวอีกทั้งยังเป็นผู้วางระบบขนส่งรถไฟฟ้า 10 สายให้กับเมืองหลวง จึงเหมาะสมที่จะวางมาตรฐานในระบบขนส่งอื่นควบคู่ไปด้วย โดยในวันที่ 28 ก.ย.นี้ไจก้าจะเข้ามาหารือถึงความร่วมมือดังกล่าวกับกระทรวงคมนาคม

เบื้องต้นโจทย์ที่ได้ตั้งไว้คือการกำหนดเส้นทางเดินรถในอนาคตนั้นต้องเป็นแนวทางเดินรถที่ไม่ทับซ้อนกับระบบขนส่งอื่นควบคู่ไปกับการพัฒนาเส้นทางเดินรถที่เป็นระบบฟีดเดอร์เชื่อมต่อการขนส่งโดยจะให้รถเมล์ที่วิ่งผ่านสถานีรถไฟฟฟ้ามากกว่า 5 แห่งไปเป็นประเภทรถโดยสารฟีดเดอร์

นายสมศักดิ์กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีที่มีผู้ประกอบการรถตู้บางรายที่ไม่พร้อมเปลี่ยนรถโดยสารเนื่องจากปัญหาด้านต้นทุนนั้นผู้ประกอบการรถตู้ควรรวมตัวกันเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายขึ้น ซึ่งการเป็นนิติบุคคลยังทำให้สามารถลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลได้ด้วย รถหนึ่งคันจะได้มีพนักงานสลับกันขับรถ ไม่ต้องขับคนเดียวตลอดทั้งวันทั้งคืน อย่างไรก็ตามราคารถมินิบัสอยู่ที่ประมาณ 1.7-2.2 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการจะสามารถคืนทุนได้ในเวลา 3 ปี ส่วนระยะเวลาที่เหลือจะเป็นช่วงทำกำไร

อย่างไรก็ตามหลังจากวันที่ 1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป กระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ช่วยติดตามประเมินผล และรายงานผลการเปลี่ยนรถตู้มาเป็นไมโครบัสให้กระทรวงคมนาคมทราบทุกๆ 3 เดือน ว่าเปลี่ยนแล้วมีผลเสีย หรือผลดีอย่างไร  เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ พร้อมกันนี้ ขบ. จะเข้ามาช่วยดูแลอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร(โหลดแฟกเตอร์) ให้ด้วย โดยจะต้องให้รถไมโครบัสแต่ละคันมีผู้โดยสาร 70% ขึ้นไป หากพบว่าปริมาณรถไมโครบัสมากกว่าผู้โดยสาร และโหลดแฟกเตอร์ไม่ถึง 70% ทาง ขบ. จะหาเส้นทางใหม่ให้ เพื่อให้ให้ผู้ประกอบการอยู่รอด

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือกรณีรถตู้ส่วนบุคคลป้ายดำ จะขอเป็นรถรับจ้างเช่นเดียวกับรถตู้ส่วนบุคคลป้ายฟ้าที่รับจ้างแต่ไม่ประจำทาง และขอไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเดียวกับรถตู้ป้ายฟ้า เช่น ไม่ต้องวิ่งชิดซ้าย ไม่ต้องติดจีพีเอส และไม่ต้องควบคุมความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า ขบ.จะอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนประเภทรถตู้จากส่วนบุคคลป้ายดำเป็นรถตู้ป้ายฟ้าให้ และเมื่อเปลี่ยนแล้วจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและกฎระเบียบของรถตู้ป้ายฟ้า พร้อมกันนี้ได้ให้ ขบ. เข้มงวดกวดขันรถตู้ป้ายดำไม่ให้ใช้ผิดประเภทให้มากขึ้นด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 84, 85, 86 ... 121, 122, 123  Next
Page 85 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©