RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262973
ทั้งหมด:13574253
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 86, 87, 88 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/09/2017 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.แย้มแผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายรถไฟลงทุน20ปีกว่า 2.7 ล้านล.รับเขตศก.พิเศษ
ฐานเศรษฐกิจ 22 September 2017

สนข. เปิดแผนลงทุนกว่า 2.7 ล้านล้านบาท ศึกษาแผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟรองรับเขต ศก.พิเศษ และ TOD

วันนี้ (22 ก.ย. 2560) นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นประธาน เปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ เพื่อนำเสนอผลการศึกษา วัตถุประสงค์ของโครงการ และแนวทางการจัดทำแผนแม่บทตลอดจนประโยชน์ของการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุน เขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระ สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และประชาชน ร่วมงานกว่า 200 คน

ทั้งนี้นายชยธรรม์ พรหมศร กล่าวว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางในภูมิภาคต่างๆ และเพิ่มขีดความสามารถด้านการให้บริการ สร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการและนักลงทุน ตลอดจนส่งเสริมระบบรางให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทาง พร้อมทั้งเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งสินค้าครอบคลุมพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

แผนการดำเนินงานระยะสั้น (ระยะเร่งด่วน) เป็นโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และโครงการที่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ภายใน 5 ปีแรกตามแผนแม่บทฯ (พ.ศ.2560 – 2564) แผนการดำเนินการระยะกลาง เป็นโครงการที่สามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในช่วงปีที่ 6 - 10 ตามแผนแม่บทฯ (พ.ศ.2565 -2569) แผนการดำเนินการระยะยาวเป็นโครงการที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายหลังปีที่ 10 ตามแผนแม่บทฯ (พ.ศ.2570 -2579)

สำหรับการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟครอบคลุมทั่วประเทศ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาทางคู่ในโครงข่ายทางรถไฟปัจจุบัน รวมระยะทาง 2,777 กม. แบ่งเป็น แผนระยะเร่งด่วน เช่น รถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย , รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ,รถไฟทางคู่ สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ แผนระยะกลาง เช่น รถไฟทางคู่สายปากน้ำโพ-เด่นชัย , รถไฟทางคู่สายชุมทางศรีราชา-มาบตาพุด, รถไฟทางคู่สายสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา , รถไฟทางคู่ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ แผนระยะยาว เช่น รถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ , รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางคลองสิบเก้า – อรัญประเทศ

2) แผนพัฒนาโครงการทางรถไฟสายใหม่ (Meter gauge) รวมระยะ 2,352 กม. แบ่งเป็น แผนระยะเร่งด่วน เช่น รถไฟสายเด่นชัย-เชียงของ ,รถไฟสายบ้านไผ่-นครพนม แผนระยะกลาง เช่น รถไฟสายนครสวรรค์-ตาก-แม่สอด , รถไฟสายกาญจนบุรี-บ้านภาชี แผนระยะยาว เช่น รถไฟสายมาบตาพุด–ระยอง–จันทบุรี–ตราด , รถไฟ สายอุบลราชธานี–ช่องเม็ก , รถไฟสายสุราษฎร์ธานี-ดอนสัก

3) แผนพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง (Standard gauge) รวมระยะ 2,457 กม. แบ่งเป็น แผนระยะเร่งด่วน ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง , รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ,รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หัวหิน แผนระยะกลาง ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ -พิษณุโลก ,รถไฟความเร็วสูงสายนครราชสีมา-หนองคาย ส่วนแผนระยะยาว ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่ , รถไฟความเร็วสูงสายหัวหิน-สุราษฎร์ธานี , รถไฟความเร็วสูง สายสุราษฎร์ธานี- ปาดังเบซาร์

4) การจัดสรรตำแหน่งคลังเก็บสินค้า (Container yard : CY) แบ่งเป็น แผนระยะเร่งด่วน เช่น หว้ากอ,หนองปลาดุก แผนระยะกลาง เช่น ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าโลจิสติกส์นาทา ส่วนแผนระยะยาว เช่น ห้างฉัตร , สารภี

5) แผนการพัฒนาระบบการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้า ซึ่งแบ่งเป็น แผนระยะเร่งด่วน คือ การศึกษาเพื่อจัดทำแผนที่นำทางของการปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้ระบบไฟฟ้าในการเดินรถ ส่วน แผนระยะกลาง เช่น การก่อสร้างและติดตั้งระบบการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้าในเส้นทางช่วงชุมทางบางซื่อ-บ้านภาชี-แก่งคอย-ถนนจิระ และยังมีแผนระยะยาว เช่น การก่อสร้างและติดตั้งระบบการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้า ในเส้นทางช่วงชุมทางบางซื่อ–หนองปลาดุก-หัวหิน นอกจากนี้ ในแผนแม่บทฯ ยังมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัย และการวางแผนจัดหารถจักรและล้อเลื่อนด้วย

ด้านแหล่งข่าวจาก สนข. รายงานเพิ่มเติมว่า ด้านการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการตามแผนแม่บทนั้น แบ่งเป็น 3 ระยะเช่นกัน โดยรวมทุกแผนงานในระยะเร่งด่วนมูลค่า 829,802 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 642,802 ล้านบาท และจากภาคเอกชน 187,000 ล้านบาท ส่วนระยะกลางการลงทุนรวม 897,568 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 692,128 ล้านบาท และภาคเอกชน 205,441 ล้านบาท ส่วนการลงทุนในระยะยาว มีมูลค่าอยู่ที่ 975,564 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 638,922 ล้านบาท และภาคเอกชน 336,642 ล้านบาท รวมงบประมาณในการลงทุนตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ.2560 -2579) รวมมูลค่ากว่า 2,702,934 ล้านบาท

แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐทั้งสิ้น 1,973,851 ล้านบาท และจากภาคเอกชนรวม 729,083 ล้านบาท โดยหากคิดค่าเฉลี่ยของการลงทุนในระยะเวลา 20 ปีของแผนแม่บท จะมีมูลค่าลงทุนเฉลี่ยปีละ 135,147 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐเฉลี่ย ปีละ 98,693 ล้านบาท และภาคเอกชนเฉลี่ยปีละ 36,454 ล้านบาท สำหรับการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จากการลงทุนตามแผนแม่บท ซึ่งจะเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2580 รวมกว่า 408,008.64 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะการเดินทางและการขนส่งสินค้าที่สะดวกและปลอดภัย จะเอื้อประโยชน์ให้การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ที่สำคัญยังมีส่วนช่วยสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษและการพัฒนาพื้นที่ในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย

Click on the image for full size

----

สนข. เปิดแผนลงทุนกว่า 2.7 ลล. พัฒนาโครงข่ายทางรถไฟรองรับเขต ศก.พิเศษ และ TOD
MGR Online เผยแพร่: 22 ก.ย. 2560 20:13:00

สนข.เผยแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 20 ปี (60-79) ลงทุนกว่า 2.7 ล้านล้านบาท แบ่ง3 ระยะ โดยระยะเร่งด่วน ลงทุนไม่น้อยกว่า 8.29 แสนล. ผลักดันรถไฟทางคู่ทั่วปท. รถไฟสายใหม่ และรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ระยะทาง 2,457 กม.เชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งสินค้า เพิ่มขีดความสามารถด้านการให้บริการของประเทศ

นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข. ได้ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางในภูมิภาคต่างๆ และเพิ่มขีดความสามารถด้านการให้บริการ สร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการและนักลงทุน ตลอดจนส่งเสริมระบบรางให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทาง พร้อมทั้งเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งสินค้าครอบคลุมพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ และได้จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ

โดยการศึกษา แบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ แผนการดำเนินงานระยะสั้น (ระยะเร่งด่วน) เป็นโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และโครงการที่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ภายใน 5 ปีแรกตามแผนแม่บทฯ (พ.ศ.2560 – 2564) แผนการดำเนินการระยะกลาง เป็นโครงการที่สามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในช่วงปีที่ 6 - 10 ตามแผนแม่บทฯ (พ.ศ.2565 – 2569) แผนการดำเนินการระยะยาวเป็นโครงการที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายหลังปีที่ 10 ตามแผนแม่บทฯ (พ.ศ.2570 – 2579)

สำหรับการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟครอบคลุมทั่วประเทศ ประกอบด้วย 1. การพัฒนาทางคู่ในโครงข่ายทางรถไฟปัจจุบัน รวมระยะทาง 2,777 กม. แบ่งเป็น แผนระยะเร่งด่วน เช่น รถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย , รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ,รถไฟทางคู่ สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ แผนระยะกลาง เช่น รถไฟทางคู่สายปากน้ำโพ-เด่นชัย , รถไฟทางคู่สายชุมทางศรีราชา-มาบตาพุด, รถไฟทางคู่สายสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา , รถไฟทางคู่ชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ แผนระยะยาว เช่น รถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ , รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางคลองสิบเก้า – อรัญประเทศ

2.แผนพัฒนาโครงการทางรถไฟสายใหม่ (Meter gauge) รวมระยะ 2,352 กม. แบ่งเป็น แผนระยะเร่งด่วน เช่น รถไฟสายเด่นชัย-เขียงของ ,รถไฟสายบ้านไผ่-นครพนม แผนระยะกลาง เช่น รถไฟสายนครสวรรค์-ตาก-แม่สอด , รถไฟสายกาญจนบุรี-บ้านภาชี แผนระยะยาว เช่น รถไฟสายมาบตาพุด–ระยอง–จันทบุรี–ตราด , รถไฟ สายอุบลราชธานี–ช่องเม็ก , รถไฟสายสุราษฎร์ธานี-ดอนสัก

3. แผนพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง (Standard gauge) รวมระยะ 2,457 กม. แบ่งเป็น แผนระยะเร่งด่วน ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง , รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ,รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หัวหิน แผนระยะกลาง ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – พิษณุโลก ,รถไฟความเร็วสูงสายนครราชสีมา-หนองคาย ส่วนแผนระยะยาว ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่ , รถไฟความเร็วสูงสายหัวหิน-สุราษฎร์ธานี , รถไฟความเร็วสูง สายสุราษฎร์ธานี- ปาดังเบซาร์

4.การจัดสรรตำแหน่งคลังเก็บสินค้า (Container yard : CY) แบ่งเป็น แผนระยะเร่งด่วน เช่น หว้ากอ,หนองปลาดุก แผนระยะกลาง เช่น ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าโลจิสติกส์นาทา ส่วนแผนระยะยาว เช่น ห้างฉัตร , สารภี

5.แผนการพัฒนาระบบการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้า ซึ่งแบ่งเป็น แผนระยะเร่งด่วน คือ การศึกษาเพื่อจัดทำแผนที่นำทางของการปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้ระบบไฟฟ้าในการเดินรถ ส่วน แผนระยะกลาง เช่น การก่อสร้างและติดตั้งระบบการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้าในเส้นทางช่วงชุมทางบางซื่อ-บ้านภาชี-แก่งคอย-ถนนจิระ และยังมีแผนระยะยาว เช่น การก่อสร้างและติดตั้งระบบการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้า ในเส้นทางช่วงชุมทางบางซื่อ–หนองปลาดุก-หัวหิน นอกจากนี้ ในแผนแม่บทฯ ยังมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัย และการวางแผนจัดหารถจักรและล้อเลื่อนด้วย

แหล่งข่าวจาก สนข. กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการตามแผนแม่บทนั้น แบ่งเป็น 3 ระยะเช่นกัน โดยรวมทุกแผนงานในระยะเร่งด่วนมูลค่า 829,802 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 642,802 ล้านบาท และจากภาคเอกชน 187,000 ล้านบาท ส่วนระยะกลางการลงทุนรวม 897,568 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 692,128 ล้านบาท และภาคเอกชน 205,441 ล้านบาท ส่วนการลงทุนในระยะยาว มีมูลค่าอยู่ที่ 975,564 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐ 638,922 ล้านบาท และภาคเอกชน 336,642 ล้านบาท

รวมงบประมาณในการลงทุนตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ระยะเวลา 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) รวมมูลค่ากว่า 2,702,934 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐทั้งสิ้น 1,973,851 ล้านบาท และจากภาคเอกชนรวม 729,083 ล้านบาท โดยหากคิดค่าเฉลี่ยของการลงทุนในระยะเวลา 20 ปีของแผนแม่บท จะมีมูลค่าลงทุนเฉลี่ยปีละ 135,147 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนจากภาครัฐเฉลี่ย ปีละ 98,693 ล้านบาท และภาคเอกชนเฉลี่ยปีละ 36,454 ล้านบาท สำหรับการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จากการลงทุนตามแผนแม่บท ซึ่งจะเสร็จสิ้นในปี 2580 รวมกว่า 408,008.64 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะการเดินทางและการขนส่งสินค้าที่สะดวกและปลอดภัย จะเอื้อประโยชน์ให้การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ที่สำคัญยังมีส่วนช่วยสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษและการพัฒนาพื้นที่ในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/09/2017 9:45 pm    Post subject: Reply with quote

อัดแสนล้านกระตุ้นเศรษฐกิจ พัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคขนส่ง
ไทยโพสต์ Monday, September 25, 2017 - 00:00

เมื่อพูดถึงโครงการสำคัญๆ ที่กรมทางหลวงอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งหวังจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย มุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ การอำนวยความสะดวกและยกระดับการให้บริการ รองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก หรืออีอีซี ที่ภาครัฐได้มีการจูงใจให้เกิดการลงทุน และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า การดำเนินการตามยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของกรมทางหลวงนั้น ที่ผ่านมามีการพัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการทำงาน ด้านบุคลากร ความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณะได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินคือการปรับปรุงและพัฒนาถนนเพื่อรองรับโครงการอีอีซี ตามนโยบายของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นั้นมี 13 โครงการ ระยะทางประมาณ 193.31 กม. มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งมี 6 โครงการที่ติดขัดปัญหาเงินกู้ที่ล่าช้า ทำให้ไม่สามารถประมูลและลงนามสัญญาได้ตามแผนในปี 2560 นี้ ต้องรอแผนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) คาดว่าจะเปิดประมูลภายในเดือน ก.พ.61

ส่วนการพัฒนาเพื่อสนับสนุนเขตเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ มี 10 พื้นที่ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรก จำนวน 6 พื้นที่ 7 ด่าน ได้แก่ ด่านแม่สอด แห่งที่ 2 จ.ตาก, ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 จ.หนองคาย เชื่อมต่อจังหวัดหนองคายเข้ากรุงเวียงจันทน์, ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 จ.มุกดาหาร, ด่านอรัญประเทศ จ.สระแก้ว, ด่านหาดเล็ก (ท่าเรือคลองใหญ่) จ.ตราด และด่านสะเดา จ.สงขลา

ส่วนระยะที่ 2 ประกอบด้วย ด่านแม่สายและด่านเชียงของ จ.เชียงราย, ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 จ.นครพนม, ด่านบ้านพุน้ำร้อน (ทวาย) จ.กาญจนบุรี และด่านสุไหงโกลก จ.นราธิวาส โดยทั้ง 2 ระยะ รวมจำนวนโครงการทั้งสิ้น 71 โครงการ แล้วเสร็จ 18 โครงการ

เร่งมอเตอร์เวย์ 3 สายทาง

นอกจากนี้ ยังเร่งเดินหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) อีก 3 สายทาง ซึ่งล่าสุดอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สาย
บางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงินลงทุนสำหรับก่อสร้างงานระบบ 8,400 ล้านบาท ตอนนี้ลงนามครบทั้ง 40 สัญญาแล้ว ความคืบหน้าขณะนี้ 13% เร็วกว่าแผน 4% โดยมีกำหนดแล้วเสร็จทั้งโครงการและเปิดให้บริการในปี 2563

โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. วงเงิน 49,120 ล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 21 สัญญา จากทั้งหมด 25 สัญญา และอีก 3 สัญญา ลงนามภายในเดือน ก.ย.นี้ ส่วนอีก 1 สัญญาอยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง เนื่องจากเอกชนที่ประกวดราคายื่นเกินราคากลาง และไม่ยอมลดราคา จึงเรียกรายที่ 2 เข้ามาต่อรองราคาให้ลดอยู่ในวงเงินงบประมาณ จึงต้องทำความตกลงกับกรมบัญชีกลางเพื่อยกเว้นขอผ่อนผัน ส่วนภาพรวมโครงการ คืบหน้า 3% เนื่องจากติดเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน คาดจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายในเดือน ก.ย.นี้ และก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการ ปี 63

อย่างไรก็ตาม สำหรับมอเตอร์เวย์ทั้ง 2 เส้นทาง ปัจจุบันกรมทางหลวงอยู่ระหว่างการเตรียมแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกการให้เอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP Gross Cost สำหรับการก่อสร้างงานระบบ การบริหารจัดการ และการบำรุงรักษาทั้งโครงการ ทั้งนี้คาดว่ากรมจะสามารถประกาศ TOR ได้ภายในเดือนมกราคม 2561

นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กม. ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 14,200 ล้านบาท ปัจจุบันคืบหน้าทั้งโครงการ 43% พร้อมเปิดให้บริการต้นปี 63 ซึ่งหลังจากที่โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะทำให้สามารถเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่ง ระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกได้อย่างสมบูรณ์

ดึงเอกชนร่วมลงทุน

นอกจากนี้ ยังมีส่วนโครงการอื่นๆ ที่ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงการคลัง ภายใต้ความร่วมมือภาครัฐ-ภาคเอกชน หรือ PPP คือให้เอกชนลงทุนเองทั้งหมด ตั้งแต่งานก่อสร้างงานระบบจัดเก็บ การบำรุงรักษา ได้แก่ มอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 119 กม. วงเงินลงทุน 80,600 ล้านบาท คาดจะสรุปรูปแบบการลงทุนได้ภายในเดือน ก.ย.นี้, สายบางปะอิน-นครสวรรค์ ระยะทาง 206 กม. ผ่านการเห็นชอบ EIA แล้ว อยู่ระหว่างเสนอตั้งของสำรวจออกแบบ

สำหรับสายบางปะอิน-นครราชสีมา วงเงิน 8,4000 ล้านบาท และบางใหญ่-กาญจนบุรี 6,400 ล้านบาท เป็นงานระบบและบำรุงรักษา โดยจะจ้างเอกชนมาดำเนินการระยะเวลา 30 ปี คาดจะออกทีโออาร์ได้ต้นปี 61

นอกจากนี้ ยังมีการจ้างศึกษา PPP ปี 61 โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ส่วนต่อขยายส่วนยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 18 กม. เป็นส่วนต่อขยายทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ไปเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา วงเงินลงทุน 25,000 ล้านบาท ขณะนี้ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างรอการพิจารณา EIA

เชื่อมด่วนบางมด-บางขุนเทียน

ส่วนสายที่จะหยิบขึ้นมาทำอย่างเร่งด่วนอีกเส้นคือ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ระยะทาง 75 กม. วงเงินลงทุน 89,000 ล้านบาท เดิมทีจะดำเนินการแบบ PPP แต่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ ช่วงบางมด-บางขุนเทียน ทำให้กรมทางหลวงต้องเร่งดำเนินการให้เร็วขึ้นเป็นปี 61 ขณะนี้ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างพิจารณา EIA โดยจะเริ่มทำจากบางขุนเทียน-มหาชัย โดยในส่วนนี้จะไม่ทำถึงวังมะนาว จะสิ้นสุดถึงมหาชัย เนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ถ้าทำ PPP จะไม่ทันรองรับทางด่วนของการทางพิเศษฯ

นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายหาดใหญ่-ชายแดนไทย-มาเลเซีย ระยะทาง 71.5 กม. เชื่อมต่อเมืองหาดใหญ่กับด่านชายแดนสะเดาแห่งที่ 2 วงเงินลงทุน 30,500 ล้านบาท ขณะนี้ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการพิจารณา EIA ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการร่วมทุนที่เหมาะสม

ปี 61 ลุย 59 โครงการพร้อมเฉลี่ยงานให้รายย่อย

นายธานินทร์ กล่าวว่า โครงการในปี 2561 นั้นมี 59 โครงการ ซอยย่อยเป็น 88 โครงการ มี 6 โครงการที่เป็นโครงการเงินกู้ ที่ต้องคุยกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เพื่อเข้าสู่กระบวนการเงื่อนไขเงินกู้ ซึ่งยังไม่ได้หาตัวผู้รับเหมา ส่วน 82 โครงการ เป็นเงินงบประมาณ ขณะนี้หาตัวผู้รับจ้างประกาศทีโออาร์แล้ว 79 โครงการ คาดภายในกลางเดือน ก.ย.-ต.ค.จะได้ตัวผู้รับจ้าง และจะเดินหน้าลงนามสัญญาให้ได้ทั้งหมดภายในเดือน พ.ย.นี้ เพื่อจะกระตุ้นการเบิกจ่ายให้การก่อสร้างเดินหน้าได้

" สิ่งสำคัญที่กรมจะดำเนินการคือเกลี่ยงานประมูลใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ เพื่อกระจายงานให้กับผู้รับเหมาทุกขนาดมีงานทำ ไม่เฉพาะแต่รายใหญ่เท่านั้นที่ได้งาน ซึ่งทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการมีธรรมาภิบาล โปร่งใส่ ซึ่งจะเริ่มปีงบประมาณ 2561 ที่รอประมูลงานทันทีมี 30 โครงการ รวม 30,000 ล้านบาท" นายธานินทร์กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษาคือ โครงการก่อสร้างวงแหวนน้ำอยู่ด้านตะวันออก เดิมทีเป็นวงแหวนรอบที่ 3 จะขุดคลองตรงกลางระหว่างถนนเพื่อระบายน้ำ ตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่บอกว่าควรจะมีคลองระบายน้ำทางด้านตะวันออก ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากจังหวัดสระบุรี ลงมาด้าขวาของมอเตอร์เวย์สาย 9 วงแหวนตะวันออก เส้นบางปะอิน-บางนา จุดประสงค์หลักคือช่วยระบายน้ำ สำหรับการลงทุนขึ้นอยู่กับแบบ ถ้าเป็นยกระดับใช้เงินลงทุน 1,000-1,200 ล้านต่อ 1 กิโลเมตร (กม.)

ต้นแบบรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน

นายธานินทร์กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ตอนที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เฟสแรก 3.5 กม. ระหว่างสถานีกลางดง-ปางอโศก ซึ่งกรมทางหลวงได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เป็นผู้ดำเนินการในส่วนสัญญาที่ 1 งานก่อสร้างด้านโยธาเท่านั้น เพื่อให้โครงการเกิดขึ้นได้เร็ว ส่วนเฟสที่ 2-4 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อไป อย่างไรก็ตาม ภายในเดือน ต.ค.60 นี้จะเริ่มก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 4 เดือน ซึ่งการทำงานต้องดี มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วเพื่อใช้เป็นต้นแบบของการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในช่วงต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/09/2017 7:14 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดพิมพ์เขียว 62 จังหวัด ระบบรางเชื่อมลาว-จีน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 25 กันยายน 2560 - 16:11 น.

พิมพ์เขียวแผนแม่บท 20 ปี พัฒนาระบบราง ครอบคลุม 62 จังหวัด เชื่อมอีอีซี ลาว จีน มาเลย์ สิงคโปร์ ทุ่ม 2.7 ล้านล้าน ยกเครื่องรถไฟทางคู่มุ่งไฮสปีดเทรน อัพเกรดระบบเป็นไฟฟ้า ดึงเอกชนลงทุน 7.2 แสนล้าน

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่าวันที่ 22 ก.ย. 2560 ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดรับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยวและการพัฒนาพื้นที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยแผนพัฒนาระบบราง ครอบคลุม 62 จังหวัดทั่วประเทศ ช่วง 20 ปีจากนี้ไปก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต้นปี 2561

พิมพ์เขียวระบบรางทั่วประเทศ

นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสนข.เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำแผนแม่บท (มาสเตอร์แพลน) การพัฒนาโครงข่ายรถไฟทั้งประเทศ เป็นแกนหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ สนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด การท่องเที่ยวและการพัฒนาพื้นที่ ให้สอดคล้องกับนโยบายยุทธศาสตร์ประเทศ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี) เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างเมือง และประเทศในภูมิภาค เช่น สปป.ลาว จีน มาเลเซีย สิงคโปร์

สร้างความมั่นใจนักลงทุน

อีกทั้งสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่สำคัญ ๆ เช่น ประตูการค้า อีอีซี เนื่องจากระบบโครงสร้างพื้นฐานเป็นหัวใจหลัก เนื่องจากจะลดต้นทุนด้านการขนส่งและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ


“แผนแม่บทระบบรางเคยศึกษาเมื่อปี 2553 แต่ไม่ครอบคลุมทั้งหมด ตอนนั้นยังไม่มีอีอีซี เขตเศรษฐกิจพิเศษ รถไฟความเร็วสูง ไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของโครงการ จึงทบทวนมาสเตอร์แพลนใหม่ ปลายปีนี้จะแล้วเสร็จ ต้นปี 2561จะนำเสนอกระทรวงคมนาคมและ ครม.เพื่อให้หน่วยงานนำโครงการจัดทำรายละเอียดโครงการ จากเดิมต่างคนต่างเสนอโครงการ แต่แผนแม่บทนี้จะกำหนดโครงการที่จะลงทุนไว้ชัดเจน ไม่มีเปลี่ยนแปลง”

ลงทุน 20 ปีกว่า 2.7 ล้านล้าน

โดยกำหนดกรอบการพัฒนา 20 ปี ใช้เงินลงทุนกว่า 2.7 ล้านล้านบาท โดยรัฐลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 1.973 ล้านล้านบาท เอกชนลงทุนด้านงานระบบและบริการเดินรถ 729,083 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะเร่งด่วน (2560-2564) เงินลงทุน 829,802 ล้านบาท รัฐลงทุน 642,802 ล้านบาท เอกชนลงทุน 187,000 ล้านบาท 2.ระยะกลาง (2565-2569) เงินลงทุน 897,568 ล้านบาท รัฐลงทุน 692,128 ล้านบาท เอกชนลงทุน 205,441 ล้านบาท 3.ระยะยาว (2570-2579) เงินลงทุน 975,564 ล้านบาท รัฐลงทุน 638,922 ล้านบาท เอกชนลงทุน 336,642 ล้านบาท

“ให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน เช่น จัดหาหัวรถจักรและล้อเลื่อน ตามแผนใช้เงิน 178,172 ล้านบาท การเดินรถด้วยระบบไฟฟ้าอาจให้สัมปทานเอกชนดำเนินการ และยังมีระบบรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น”

เพิ่มทางคู่ 2.7 พัน กม.

การพัฒนามี 6 แผนงาน ประกอบด้วย 1.รถไฟทางคู่ในปัจจุบัน รวมระยะทาง 2,777 กม. เงินลงทุน 426,061 ล้านบาท อยู่ในแผนเร่งด่วน 7 โครงการ 993 กม. 136,462 ล้านบาท มี สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย, จิระ-ขอนแก่น, ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร, หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์, ลพบุรี-ปากน้ำโพ, มาบกะเบา-จิระ และนครปฐม-หัวหิน

แผนระยะกลาง 7 โครงการ 1,392 กม. ลงทุน 209,256 ล้านบาท มีสายปากน้ำโพ-เด่นชัย, ขอนแก่น-หนองคาย, จิระ-อุบลราชธานี, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา, หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์และชุมทางศรีราชา-มาบตาพุด และแผนระยะยาว 2 โครงการ 392 กม. เงินลงทุน 80,343 ล้านบาท มีสายเด่นชัย-เชียงใหม่ กับชุมทางคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ

ทุ่ม 5 แสน ล.ตัด 8 เส้นทางใหม่

2.ทางรถไฟสายใหม่ขนาดราง 1 เมตร14 โครงการ 2,352 กม. เงินลงทุน 501,690 ล้านบาท อยู่ในแผนระยะเร่งด่วน 3 โครงการ 839 กม. เงินลงทุน 167,761 ล้านบาท มีสายเด่นชัย-เชียงของ, บ้านไผ่-นครพนม และสุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น ระยะกลาง 4 โครงการ 642 กม. 184,746 ล้านบาท มีสายนครสวรรค์-ตาก-แม่สอด, กาญจนบุรี-บ้านภาชี, สงขลา-ปากบารา และบ้านภาชี-อ.นครหลวง แผนระยะยาว 7 โครงการ 871 กม. 149,183 ล้านบาท มีสายมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด, อุบลราชธานี-ช่องเม็ก, กาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อน, นครสวรรค์-บ้านไผ่, ทับปุด-กระบี่, สุราษฎร์ธานี-ดอนสัก และชุมพร-ระนอง

ไฮสปีด 8 สายเชื่อมภูมิภาค

3.รถไฟความเร็วสูงขนาดราง 1.435 เมตร 8 โครงการ 2,457 กม. เงินลงทุน1.497 ล้านล้านบาท ระยะเร่งด่วน 3 โครงการ 675 กม. เงินลงทุน 429,437 ล้านบาท มีสายกรุงเทพฯ-ระยอง, กรุงเทพฯ-นครราชสีมาและกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะกลาง 2 โครงการ 735 กม. 421,783 ล้านบาท มีสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก กับ นครราชสีมา-หนองคาย ระยะยาว มี 3 โครงการ ระยะทาง 1,047 กม. เงินลงทุน 646,334 ล้านบาทได้แก่ สายพิษณุโลก-เชียงใหม่, หัวหิน-สุราษฎร์ธานี และสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ 4.โครงการคลังเก็บสินค้า (CY) 20 แห่งเร่งด่วน 8 แห่ง ได้แก่ คลองลึก, นาม่วงบ้านกระโดน, หว้ากอ, นาผักขวง, มาบอำมฤต, บ้านสะพลีและหนองปลาดุกแผนระยะกลาง 9 แห่ง ได้แก่ ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าโลจิสติกส์นาทา, บ้านตะโก, บุฤาษี, หนองแวง, บุ่งหวาย, บางกระทุ่ม, วังกะพี้, บางกล่ำและสุไหงโก-ลก ส่วนระยะยาว 3 แห่งที่ ห้างฉัตร สารภี และหนองสัง

อัพเกรดเดินรถเป็นระบบไฟฟ้า

5.พัฒนาระบบการเดินรถจากดีเซลรางเป็นระบบไฟฟ้า เงินลงทุน 87,152 ล้านบาท แผนเร่งด่วนเป็นศึกษาจัดทำแผนที่นำทางปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้ระบบไฟฟ้าในการเดินรถ แผนระยะกลาง เงินลงทุน 31,999 ล้านบาท มีก่อสร้างทางรถไฟขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าสายหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ก่อสร้างและติดตั้งระบบการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้าช่วงชุมทางบางซื่อ-บ้านภาชี-แก่งคอย-ถนนจิระ ระยะยาว 55,153 ล้านบาท ช่วงชุมทางบางซื่อ-หนองปลาดุก-หัวหิน, บ้านภาชี-ปากน้ำโพ, บางซื่อ-มักกะสัน-ฉะเชิงเทรา-พัทยา, จิระ-ขอนแก่น, ปากน้ำโพ-พิษณุโลก และหัวหิน-ชุมพร

6.จัดหารถจักรและล้อเลื่อน 181,233 ล้านบาท แยกเป็นหัวรถจักร 416 หัว รถชุด 1,215 คัน รถโดยสาร 1,242 คันรถสินค้า 3,890 ล้านบาท ระยะเร่งด่วนใช้เงินลงทุน 86,958 ล้านบาท

สร้างรถไฟครอบคลุม 62 จังหวัด

ผลจากการลงทุนตามแผนแม่บท จะมีโครงข่ายรถไฟเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากปัจจุบัน 4,043 กม. เป็น 8,852 กม. เป็นทางคู่เกือบ 90% รถไฟความเร็วสูงกว่า 2,000 กม. จากเดิมครอบคลุม 47 จังหวัด เป็น 62 จังหวัด ทำให้ความสามารถในการแข่งขันประเทศขยับจากอันดับที่ 42 เป็น 37

“แผนเร่งด่วนเน้นปรับปรุงทางเดิมให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัย สร้างทางคู่ 1 เมตร และเพิ่มสร้างทางสายใหม่ สนับสนุนโลจิสติกส์ประเทศ ที่ปัจจุบันพึ่งพาถนนเป็นหลัก แล้วถึงพัฒนารถไฟความเร็วสูงให้เชื่อมระหว่างภูมิภาคไปประเทศใกล้เคียง จากนั้นปรับระบบการเดินรถเป็นระบบไฟฟ้าตามเทรนด์โลก”

เอกชนจี้ลงทุนรถไฟเชื่อมลาว-จีน

ด้านความเห็นของภาคเอกชน มีตัวแทน จ.หนองคาย ให้รัฐเร่งสร้างรถไฟหนองคายเชื่อม สปป.ลาว เนื่องจากปัจจุบันจีนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากคุนหมิงมายังเวียงจันทน์แล้ว ร่วม 400 กม. แล้วเสร็จปี 2564 จะได้ประโยชน์ด้านโลจิสติกส์และท่องเที่ยวมากขึ้น จ.ตาก ให้เร่งผลักดันโครงข่ายรถไฟเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เส้นทางรถไฟสายใหม่จากนครสวรรค์-ตาก-แม่สอดเป็นระยะเร่งด่วน จากเดิมอยู่ในระยะกลาง ให้สร้างคลังสินค้าที่ จ.ตาก ส่งเสริมเป็นฮับขนส่งภูมิภาคตัวแทน จ.มุกดาหาร ให้เพิ่มโครงการคลังสินค้า ส่วนผู้แทนจาก จ.นราธิวาส เสนอรัฐลงทุนคลังสินค้าในนราธิวาส และหาดใหญ่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2017 11:19 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิดพิมพ์เขียว 62 จังหวัด ระบบรางเชื่อมลาว-จีน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 25 กันยายน 2560 - 16:11 น.



Link อยู่นี่ครับ
https://www.prachachat.net/property/news-44782
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/09/2017 7:40 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณมากครับ Very Happy

----

Click on the image for full size

5 ปีเห็นผลชัดเจนแผนปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานไทย
ฐานเศรษฐกิจ 27 September 2017

แม้ว่าหลายโครงการจะมีการก่อสร้างและทยอยประมูลในส่วนที่เหลือไปบางส่วนสำหรับเมกะโปรเจ็กต์ตามแผนปฏิบัติการแอกชันแพลน ปี 2559-2560 ของกระทรวงคมนาคมที่รัฐบาลหวังอย่างยิ่งจะไปมีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศซึ่งก็มีส่วนได้ในระดับหนึ่งเนื่องจากยังมีกระบวนการและขั้นตอนดำเนินการตามระบบราชการอีกมากมาย

ล่าสุดนั้นนายพิชิตอัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้นำเสนอ “แผนปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานไทย เพื่อสนับสนุนธุรกิจ 4.0” ในงานสัมมนา “กรุงศรี บิซิเนส ฟอรั่ม : ซีอีโอ 4.0 การปฏิรูปทางความคิด” เพื่อเป็นแนวทางให้ภาคเอกชนปรับตัวและรับมือกับโอกาส จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเทคโนโลยีและสังคม รวมทั้งกระตุ้นให้ภาคธุรกิจผนึกกำลังกันพัฒนาประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่รัฐบาลได้วางไว้

++รัฐเร่งเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขัน
ดังเป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเพิ่มมาตรการด้านการขนส่งทางรางให้เป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่ง ด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟระหว่างเมือง การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑล การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเชื่อมโยงฐานการผลิตของประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางนํ้า และการเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการขนส่งทางอากาศ รวมถึงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งการดำเนินโครงการต่าง ๆ จะเห็นผลเป็นรูปธรรมในอีก 5 ปีข้างหน้า สามารถเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งระหว่างภูมิภาคให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

Click on the image for full size

โดยกระทรวงคมนาคมมีแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในระยะ 5 ปีข้างหน้า วงเงินรวม 2.31 ล้านล้านบาท จาก 20% ของ GDP แบ่งเป็น 5 แผนงาน ประกอบด้วย 1.การพัฒนาเครือข่ายทางรถไฟระหว่างเมือง วงเงินลงทุน 495,596 ล้านบาท 2.ปรับปรุงบริการโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะ วงเงินลงทุน 773,920 ล้านบาท 3.เพิ่มขีดความสามารถในการเชื่อมโยงระหว่างฐานการผลิตที่สำคัญในประเทศเพื่อนบ้าน วงเงินลงทุน 567,833 ล้านบาท 4.เพิ่มเครือข่ายการขนส่งทางนํ้า วงเงินลงทุน 119,695 ล้านบาท และ 5.เพิ่มความสามารถในการขนส่งทางอากาศ วงเงินลงทุน 355,316 ล้านบาท ทั้งนี้ ยืนยันว่า หากรัฐบาลออกพันธบัตร ในการลงทุนตามกรอบวงเงินดังกล่าว สามารถดำเนินการได้ และจะไม่กระทบกับวิสัยทางการคลังของประเทศ

++เน้นเชื่อมโยง600ล้านคนกลุ่มเออีซี
ทั้งนี้ การลดต้นทุนและการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระยะ 5 ปีข้างหน้าของไทย วงเงิน 2.3 ล้านล้านบาทนั้น เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ อาทิ เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่มีประชากรรวมกว่า 600 ล้านคน ซึ่งถือเป็นโอกาสของไทย ที่จะสามารถดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ รวมถึงจะทำให้การส่งออกของไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

สำหรับแผนในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ ตามนโยบายของรัฐบาลนั้นได้ตั้งเป้าลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้เหลือ 12% ของ GDP ภายในปี 2564 จากในปัจจุบันอยู่ที่ 14.5% ของ GDP โดยในอนาคตจะเน้นการขนส่งทางรางมากขึ้นจากเดิม 1% ให้เป็น 15-16% เนื่องจากเป็นภาคการขนส่งที่มีต้นทุนตํ่า หรืออยู่ที่ 0.95 บาท ต่อ 1 กม.ต่อ 1 ตัน เมื่อเทียบกับการขนส่งทางถนนโดยรถบรรทุก 10 ล้อ ที่มีต้นทุนราคาอยู่ที่ 2.12 บาท ต่อ 1 กม. ต่อ 1 ตัน อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะผลักดันให้ใช้การขนส่งทางนํ้ามากขึ้น เพราะมีต้นทุนโลจิสติกส์ที่ตํ่าที่สุด คือ 0.65 บาท ต่อ 1 กม. ต่อ 1 ตัน ขณะเดียวกัน เตรียมเปิดให้บริการการขนรถบรรทุกสินค้า โดยเรือเฟอร์รี่ ผ่านท่าเรือบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังท่าเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,299 วันที่ 24 - 27 กันยายน พ.ศ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2017 1:16 pm    Post subject: Reply with quote

เห็นชอบผลศึกษาเส้นทางรถไฟ ชุมพร–ท่าเรือน้ำลึกระนอง
สำนักข่าวไทย
25 มิถุนายน 2560 เวลา 11:29:19

กรุงเทพฯ 25 มิ.ย.-คณะกรรมการกำกับการศึกษาโครงการฯ เส้นทางรถไฟ ชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง เห็นชอบรายงานเบื้องต้น เส้นทางรถไฟ ชุมพร – ท่าเรือน้ำลึกระนองแล้ว เชื่อ เปิดประตูการค้าเชื่อมโยงเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียใต้

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และโฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่า สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง เพื่อพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ เชื่อมโยงฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยและอันดามัน สนับสนุนส่งเสริมด้านคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยวของประเทศ ออกแบบและจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination : IEE) ศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ การเงิน และรูปแบบการลงทุน และสร้างกระบวนการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟดังกล่าว ซึ่ง สนข. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการศึกษาโครงการฯ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดชุมพรและระนอง ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการกำกับการศึกษาโครงการฯ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2560 ได้มีมติเห็นชอบรายงานเบื้องต้น (Inception Report) ของการศึกษา เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และขอบเขตการศึกษาในรายละเอียดต่อไป

โครงการศึกษาความเหมาะสมฯ เส้นทางรถไฟ ชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง มีระยะเวลาดำเนินการศึกษา 10 เดือน (พฤษภาคม 2560 - กุมภาพันธ์ 2561) ระยะทางประมาณ 125 กิโลเมตร รูปแบบการดำเนินโครงการฯ จะสำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการพัฒนาโครงข่ายและขยายเส้นทางรถไฟสายใหม่จากจังหวัดชุมพรไปยังจังหวัดระนอง รวมทั้งประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 4 ครั้ง เพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลอย่างครบถ้วนและเพียงพอ รวมทั้งรับฟังข้อมูล ข้อคิดเห็น ข้อห่วงกังวล และข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อประกอบการวางแผนพัฒนาโครงข่ายการศึกษาความเหมาะสมของแนวสายทาง การออกแบบแนวสายทาง และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และปริมาณการขนส่งสินค้า รวมทั้งสอดคล้องกับแผนการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้และแผนพัฒนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพเชิงพื้นที่ภาคใต้ส่งเสริมการท่องเที่ยวสองฝั่งทะเล เพิ่มทางเลือกการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ และเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคเอเชียต่อไปโครงการพัฒนาและขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟสายใหม่จากจังหวัดชุมพร - ท่าเรือน้ำลึกระนอง สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบขนส่งของไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งจะสนับสนุนการเชื่อมโยงการขนส่งในภูมิภาคและนอกภูมิภาคเข้าด้วยกัน และสนับสนุนศักยภาพกลุ่มจังหวัดภาคใต้จากความได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย-


เอกสาร การประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม เส้นทางชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง

//---------------------------------

รถไฟสายใหม่จากชุมพร-ระนอง125กม.
อังคารที่ 27 มิถุนายน 2560 เวลา 19.13 น.

สนข. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา 3บริษัท ศึกษาความเหมาะ เส้นทางรถไฟช่วงชุมพร-ระนอง  ระยะทาง 125 กม. เพื่อพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยกับอันดามัน  

                นางวิไลรัตน์   ศิริโสภณศิลป์   รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า    สนข. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา 3บริษัท ได้แก่ บริษัทเอเชี่ยนเอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแต้นส์จำกัด  บริษัทอินฟราพลัสคอนซัลติ้งจำกัด และบริษัทเอ็นริชคอนซัลแตนซ์จำกัด   ศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟช่วงชุมพร-ระนอง  ระยะทาง 125 กม. เพื่อพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยกับอันดามัน   สำหรับการคมนาคมขนส่งและส่งเสริมการก่องเที่ยวสองฝั่งทะเล รวมทั้งเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึก จ.ระนองรองรับการเปิดประตูสู่ BIMSTEC(ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ: Bay of Bengal Initiative Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTECในอนาคต
                นางวิไลรัตน์  กล่าวต่อว่า  โครงการใช้เวลาศึกษา 10 เดือน  ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 60- 28 ก.พ.61 งบศึกษาประมาณ 30 ล้านบาท  โดยออกแบบและจัดทำรายงาน การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (ไออีอี)  ศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ การเงิน และรูปแบบการลงทุน และสร้างกระบวนการรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ตามแนวเส้นทาง   ซึ่งกลางเดือน ก.ค. นี้จะจัดประชุมสัมมนาเปิดตัวโครงการที่ จ.ชุมพร และ จ.ระนอง เพื่อประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่รับรู้ รวมทั้งแสดงความคิดเห็นคาดว่า เดือน ก.ย. 60 จะได้แนวเส้นทางที่ชัดเจนรวมทั้งพื้นที่การเวนคืนโดยให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
                นางวิไลรัตน์  กล่าวอีกว่า   โครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนาขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟสายใหม่ จาก จ.ชุมพร-จ.ระนอง เชื่อมโยงอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน สอดคล้องนโยบายของรัฐเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งให้สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์   ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมได้บรรจุโครงข่ายดังกล่าวไว้ในแผนงานหลักภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบขนส่งของไทยระยะ 20 ปี ช่วง ปี60-79 เนื่องจากกลุ่มจังหวัดภาคใต้มีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจากความได้เปรียบด้านด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่พัฒนาเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ให้เป็นศูนย์กลาง(ฮับ)การท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก และเป็นประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจของเอเชียใต้   

//-----------------
ผู้ว่าชุมพร เปิดประชุมปฐมนิเทศเดินหน้ารถไฟสายใหม่ เชื่อมทะเลอ่าวไทย จ.ชุมพร กับ ทะเลอันดามัน จ.ระนอง (มีคลิป)
13 กรกฎาคม 2560 16:20:12
วันที่ 13 ก.ค. 2560 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมโรงแรมนานาบุรี อ.เมือง จ.ชุมพร นายณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จัดขึ้นเพื่อแนะนำและชี้แจงข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยมีผู้แทนส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมการประชุมเป็นจำนวนมาก -

รายละเอียดการประชุมดูที่นี่
http://www.janghetchumphon.com/2183

//---------------------
ระนอง!! สนง.นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จัดประชุมปฐมนิเทศ โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม (มีคลิป)
14 กรกฎาคม 2560 17:12:25



นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ที่ห้องประชุมโรงแรมทินีดี อ.เมือง จ.ระนอง ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เพื่อแนะนำและชี้แจงข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยมีผู้แทนส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมการประชุมเป็นจำนวนมาก
//-----------------

4 แนวรถไฟสายใหม่ ชุมพร - ระนอง - 11 ต.ค. เคาะเส้นทางที่เหมาะสม สำหรับโครงการทางรถไฟ ชุมพร - ระนอง ระยะทาง 125 กิโลเมตร

Click on the image for full size
แนวทางที่ 1: แยกจากสถานีชุมพร (กม. 468.53) ทางด้านใต้ประมาณ 3.2 กิโลเมตร (บริเวณหัวประแจ ด้านเหนือ สถานีแสงแดด กม. 472.54) - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 102.50 กิโลเมตร มี 9 สถานีได้แก่
1. สถานีแสงแดด ต. ตากแดด อ. เมือง จ. ชุมพร
2. สถานีขุนกระทิง ต. ขุนกระทิง อ. เมือง จ. ชุมพร
3. สถานีบ้านนา อ. เมือง จ. ชุมพร
4. สถานีวังใหม่ ต. วังใหม่ อ. เมือง จ. ชุมพร
5. สถานีปากจั่น ต. ปากจั่น อ. กระบุรี จ. ระนอง
6. สถานีกระบุรี ต. ตากแดด อ. กระบุรี จ. ระนอง
7. สถานีบางใหญ่ ต. บางใหญ่ อ. กระบุรี จ. ระนอง
8. สถานีละอุ่น อ. ละอุ่น จ. ระนอง
9. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง
แนวทางที่ 2: แยกจากสถานีวิสัย (กม. 489.97) ทางด้านใต้ประมาณ 0.4 กิโลเมตร - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 74.154 กิโลเมตร มี 5 สถานีได้แก่
1. สถานีครน ต. ครน อ. สวี จ. ชุมพร
2. สถานีทุ่งระยะ อ. สวี จ. ชุมพร
3. สถานีเขาทะลุ ต. เขาทะลุ อ. สวี จ. ชุมพร
4. สถานีละอุ่น อ. ละอุ่น จ. ระนอง
5. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง
แนวทางที่ 3: แยกจากสถานีเขาสวนทุเรียน (กม. 508.51) ทางด้านใต้ประมาณ 1.5 กิโลเมตร - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 74.706 กิโลเมตร มี 6 สถานีได้แก่
1. สถานีเขาสวนทุเรียน ต. นาโพธิ์ อ. สวี จ. ชุมพร
2. สถานีนาสัก ต. นาสัก อ. สวี จ. ชุมพร
3. สถานีเขาค่าย ต. เขาค่าย อ. สวี จ. ชุมพร
4. สถานีละอุ่นใต้ ต. ละอุ่นใต้ อ. ละอุ่น จ. ระนอง
5. สถานีละอุ่น อ. ละอุ่น จ. ระนอง
6. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง
แนวทางที่ 4: แยกจากสถานีควนหินมุ้ย (กม. 526.08) - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 108.982 กิโลเมตร มี 6 สถานีได้แก่
1. สถานีควนหินมุ้ย ต. นาขา อ. หลังสวน จ. ชุมพร
2. สถานีหาดยาย ต. หาดยาย อ. หลังสวน จ. ชุมพร
3. สถานีพะโต๊ะ อ. พะโต๊ะ จ. ชุมพร
4. สถานีสนามบินระนอง อ. เมือง จ. ระนอง
5. สถานีระนอง อ. เมือง จ. ระนอง
6. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง

จะเลือกเส้นทาง 1 เส้น เมื่อ 11 ตุลาคม 2560 และจะศึกษาให้เสร็จ กุมภาพันธ์ 2561
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2006182609395794&set=a.213819491965457.68088.100000122231436&type=3&theater
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2006182739395781&set=p.2006182739395781&type=3&theater

เพจโครงการทางรถไฟชุมพร - ระนองดูที่นี่
http://chumphon-ranongrailway.com/

ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่พอใจกะทางเลือก 1 (สถานีแสงแดด - ท่าเรือระนอง) กะ ทางเลือกที่ 2 (สถานีวิสัย - ท่าเรือระนอง) มากกว่าทางเลือกที่เหลือ
http://chumphon-ranongrailway.com/PDF/Sum_M1.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2017 6:43 pm    Post subject: Reply with quote

2 ปี “ไทย-ญี่ปุ่น” ลุยระบบราง ซื้อโบกี้รถไฟฟ้า 46 ขบวน-ตั้งไข่ไฮสปีดเทรน
วันที่ 2 ตุลาคม 2560 - 18:16 น.

ความสัมพันธ์ระหว่าง “ไทย-ญี่ปุ่น” มีต่อกันมายาวนานครบ 130 ปี เมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ในนี้มีการพัฒนาระบบรางที่ทั้ง 2 ประเทศกำลังร่วมกันเร่งผลักดันตามที่ได้เซ็นบันทึกความร่วมมือ (MOC) เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2558 ภายใต้การขับเคลื่อนของรัฐบาล คสช.

ถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 2 ปี แผนงานโครงการมีความก้าวหน้าตามลำดับ เริ่มจาก “รถไฟความเร็วสูง” เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งไทย-ญี่ปุ่นร่วมมือกันพัฒนาโครงการ โดยใช้เทคโนโลยีซินคันเซ็นของญี่ปุ่น มี “ไจก้า-องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น” ศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ช่วยหาแหล่งเงินลงทุนและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร

ความคืบหน้าแบ่งสร้าง 2 เฟส ในเดือน พ.ย.นี้ไจก้าจะศึกษาเฟสแรก “กรุงเทพฯ-พิษณุโลก” ระยะทาง 380 กม.แล้วเสร็จ จากนั้น “คมนาคม” จะเสนอโครงการให้ “ครม.-คณะรัฐมนตรี” อนุมัติภายในปี 2560 เริ่มออกแบบรายละเอียดปี 2561 จะใช้เวลา 1 ปี เริ่มสร้างปี 2562 แล้วเสร็จปี 2565

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว รอไจก้าออกแบบรายละเอียด เบื้องต้นจะใช้เงินลงทุน 276,225 ล้านบาท สูงกว่าที่ไทยศึกษาไว้ 233,771 ล้านบาท ประมาณ 42,454 ล้านบาท ส่วนช่วงที่ 2 จาก “พิษณุโลก-เชียงใหม่” ไจก้าศึกษาใช้เงินลงทุน 269,338 ล้านบาท มากกว่าไทยศึกษาอยู่ที่ 216,656 ล้านบาท ประมาณ 52,682 ล้านบาท

มาดูความคืบหน้า “การพัฒนาเส้นทางรถไฟตามแนวเศรษฐกิจด้านใต้จากกาญจนบุรี-แหลมฉบัง-อรัญประเทศ รวม 574 กม. ฝ่ายไทยขอให้ญี่ปุ่นเร่งศึกษาแผนการพัฒนาเส้นทาง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ รวมถึงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เบื้องต้นเป็นรถไฟขนาด 1 เมตร โดยปรับปรุงเส้นทางเดิม อนาคตจะก่อสร้างเป็นทางคู่เชื่อมต่อไปยังเขตเศรษฐกิจทวาย ประเทศเมียนมากับท่าเรือแหลมฉบัง

ขณะที่การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ไทยขอให้ญี่ปุ่นศึกษาเส้นทาง “แม่สอด-มุกดาหาร” จะเริ่มสำรวจเส้นทางร่วมกันเมื่อทั้งสองฝ่ายมีความพร้อมที่เริ่มมีเค้าโครงให้เห็น “การขนส่งสินค้าทางรถไฟ” ทั้งสองฝ่ายจะเร่งรัดสำรวจรายละเอียดการดำเนินการให้บริการขนส่งสินค้ารูปแบบใหม่ เพื่อให้ได้ข้อสรุปสำหรับการให้บริการขนส่งสินค้า

“ทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ” รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า หลังทดลองเดินรถตู้ขนส่งสินค้าขนาด 12 ฟุต พบว่าไม่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการไทย ตกลงจะใช้ขนาด 20 ฟุต กับ 40 ฟุต พร้อมกับจัดตั้งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทย-ญี่ปุ่นรูปแบบ SPV เพื่อพัฒนาเดินรถขนส่งสินค้าทั่วประเทศ อยู่ระหว่างจัดตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่ศึกษาความเป็นไปได้ภายใต้ข้อตกลงที่ร่วมกัน คาดว่าในปี 2561 จะเป็นรูปธรรมมากขึ้น

สุดท้าย “โครงการรถไฟฟ้าในเขตเมือง” ที่ผ่านมาไทยสั่งซื้อขบวนรถไฟฟ้าจากซัพพลายเออร์ญี่ปุ่น มีสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) 21 ขบวน หรือ 63 ตู้ วงเงินกว่า 4,000 ล้านบาท ผ่านกลุ่มกิจการร่วมค้ามารุเบนิ-โตชิบา มี “J-TREC” หรือ บจ.เจแปน ทรานสปอร์ตเอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้ผลิตขบวนรถไฟฟ้า และมี “JR-East” หรือ บจ.อีสต์เจแปน เรลเวย์ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น รับผิดชอบบำรุงรักษา 10 ปี และสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 32,399 ล้านบาท จากกลุ่ม MHSC (มิตซูบิชิ-ฮิตาชิ-ซูมิโตโม) มีทั้งหมด 25 ขบวน ขบวนละ 4-6 ตู้ เป็นออร์เดอร์ลอตใหญ่ในรอบกว่า 30 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 02/10/2017 8:44 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:


Click on the image for full size
แนวทางที่ 1: แยกจากสถานีชุมพร (กม. 468.53) ทางด้านใต้ประมาณ 3.2 กิโลเมตร (บริเวณหัวประแจ ด้านเหนือ สถานีแสงแดด กม. 472.54) - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 102.50 กิโลเมตร มี 9 สถานีได้แก่
1. สถานีแสงแดด ต. ตากแดด อ. เมือง จ. ชุมพร
2. สถานีขุนกระทิง ต. ขุนกระทิง อ. เมือง จ. ชุมพร
3. สถานีบ้านนา อ. เมือง จ. ชุมพร
4. สถานีวังใหม่ ต. วังใหม่ อ. เมือง จ. ชุมพร
5. สถานีปากจั่น ต. ปากจั่น อ. กระบุรี จ. ระนอง
6. สถานีกระบุรี ต. ตากแดด อ. กระบุรี จ. ระนอง
7. สถานีบางใหญ่ ต. บางใหญ่ อ. กระบุรี จ. ระนอง
8. สถานีละอุ่น อ. ละอุ่น จ. ระนอง
9. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง
แนวทางที่ 2: แยกจากสถานีวิสัย (กม. 489.97) ทางด้านใต้ประมาณ 0.4 กิโลเมตร - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 74.154 กิโลเมตร มี 5 สถานีได้แก่
1. สถานีครน ต. ครน อ. สวี จ. ชุมพร
2. สถานีทุ่งระยะ อ. สวี จ. ชุมพร
3. สถานีเขาทะลุ ต. เขาทะลุ อ. สวี จ. ชุมพร
4. สถานีละอุ่น อ. ละอุ่น จ. ระนอง
5. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง
แนวทางที่ 3: แยกจากสถานีเขาสวนทุเรียน (กม. 508.51) ทางด้านใต้ประมาณ 1.5 กิโลเมตร - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 74.706 กิโลเมตร มี 6 สถานีได้แก่
1. สถานีเขาสวนทุเรียน ต. นาโพธิ์ อ. สวี จ. ชุมพร
2. สถานีนาสัก ต. นาสัก อ. สวี จ. ชุมพร
3. สถานีเขาค่าย ต. เขาค่าย อ. สวี จ. ชุมพร
4. สถานีละอุ่นใต้ ต. ละอุ่นใต้ อ. ละอุ่น จ. ระนอง
5. สถานีละอุ่น อ. ละอุ่น จ. ระนอง
6. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง
แนวทางที่ 4: แยกจากสถานีควนหินมุ้ย (กม. 526.08) - ท่าเรือระนอง ระยะทาง 108.982 กิโลเมตร มี 6 สถานีได้แก่
1. สถานีควนหินมุ้ย ต. นาขา อ. หลังสวน จ. ชุมพร
2. สถานีหาดยาย ต. หาดยาย อ. หลังสวน จ. ชุมพร
3. สถานีพะโต๊ะ อ. พะโต๊ะ จ. ชุมพร
4. สถานีสนามบินระนอง อ. เมือง จ. ระนอง
5. สถานีระนอง อ. เมือง จ. ระนอง
6. สถานีท่าเรือระนอง ต. เขานางหงส์ อ. เมือง จ. ระนอง

จะเลือกเส้นทาง 1 เส้น เมื่อ 11 ตุลาคม 2560 และจะศึกษาให้เสร็จ กุมภาพันธ์ 2561
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2006182609395794&set=a.213819491965457.68088.100000122231436&type=3&theater
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2006182739395781&set=p.2006182739395781&type=3&theater

เพจโครงการทางรถไฟชุมพร - ระนองดูที่นี่
http://chumphon-ranongrailway.com/

ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่พอใจกะทางเลือก 1 (สถานีแสงแดด - ท่าเรือระนอง) กะ ทางเลือกที่ 2 (สถานีวิสัย - ท่าเรือระนอง) มากกว่าทางเลือกที่เหลือ
http://chumphon-ranongrailway.com/PDF/Sum_M1.pdf


ทางเลือกที่ 2 ดูจากภาพแล้ว น่าจะเหมาะสมกว่า เพราะระยะทางจากเส้นทางรถไฟสายหลักเข้าไปยังสถานีท่าเรือระนอง เพียงระยะทาง 74 กม. แต่ถ้าหากขยายต่อไปอีกจนถึงตัวจังหวัดระนองระยะทางเพียงไม่กี่กิโมเมตรจะยิ่งดีไปอีกครับ คือ เป็นเส้นทางสำหรับขนส่งสินค้าแล้ว ยังเป็นเส้นทางในการขนส่งผู้โดยสารได้ด้วยครับ
_________________
Laughing Laughing Laughing Laughing
--------------------------

สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/10/2017 9:44 pm    Post subject: Reply with quote

คลอดเกณฑ์ PPP สัปดาห์หน้า เปิดเอกชนลงทุนรถไฟ-ท่าเรือในอีอีซี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 5 ตุลาคม 2560 - 20:33 น.

รัฐประกาศเกณฑ์ PPP สัปดาห์หน้า ให้เอกชนลงทุน 100% พร้อมเร่งร่าง TOR 4 โครงการยักษ์ สนามบินอู่ตะเภา-รถไฟความเร็วสูง-ท่าเรือมาบตาพุด-ท่าเรือแหลมฉบังให้เสร็จปลายปีนี้ ขณะที่เอกชนจี้รัฐเคลียร์ 19 ขั้นตอน “ผังเมือง” ให้ชัด

ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าระเบียบกระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชน หรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน (PPP) ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เตรียมจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาและเผยแพร่หลักเกณฑ์ เงื่อนไข รายละเอียดที่ชัดเจนได้ โดยจะเปิดโอกาสให้เอกชนลงทุนได้เต็ม 100%

Click on the image for full size

อย่างไรก็ตาม สัดส่วนลงทุนของ PPP จะขึ้นอยู่กับการเสนอแผนลงทุนเข้ามาตามความสามารถ และตามศักยภาพของแต่ละรายว่าจะลงในสัดส่วนเท่าไร โดยยังคงอยู่ที่ กรศ. เป็นผู้พิจารณาถึงผลตอบแทนและความเหมาะสมของโครงการ ซึ่งโครงการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภา โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อ 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 โครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 จะเริ่มร่างขอบเขตงาน (TOR) ในปลายปี 2560 และเปิดประมูลต้นปี 2561

ในส่วนของพื้นที่ที่จะประกาศเป็น “เขตส่งเสริมพิเศษ” ที่เอกชนรอลงทุนนั้น ปัจจุบันมี 4 แห่งแล้ว คือ 1.สนามบินอู่ตะเภา 2.เขตนวัตกรรมระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation : EECi) อ.วังจันทร์ จ.ระยอง 3.เขตนวัตกรรมดิจิทัล (Eastern Economic Corridor of Digital Park : EECd) อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 4.สมาร์ทพาร์ค ภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง

นายวีรพงษ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า รูปแบบของ PPP อยู่ระหว่างการศึกษาในทุกโครงการ ที่อาจให้ในรูปแบบของสัมปทาน รูปแบบของสัดส่วนการลงทุนเต็ม 100% รูปแบบของกิจการร่วมค้า (joint venture) รวมถึงรูปแบบที่ให้เอกชนลงทุนก่อสร้างแล้วส่งต่อให้รัฐบริหารดูแล เป็นต้น โดยจะนำปัจจัยต่าง ๆ ทั้งผลตอบแทน ความเสี่ยง ความสามารถเข้ามาเป็นองค์ประกอบการพิจารณาทั้งหมด

“ในแต่ละโครงการจำเป็นต้องหารูปแบบและทางเลือกที่ดีที่สุด เช่น สนามบินอู่ตะเภา รัฐลงทุนตัวโครงการหลัก ๆ ส่วนโครงการย่อย ๆ มีอีกหลายโครงการ อย่างศูนย์ซ่อมจะเป็นการบินไทยกับแอร์บัส หรือโครงการที่ กนอ.รับผิดชอบอย่างท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุดเฟส 3 อยู่ระหว่างหารูปแบบการทำ PPP ที่เหมาะสมกับโครงการ และจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการในการเปิดรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน (market consultation) ว่าสนใจมากน้อยเพียงใด จากนั้นเสนอเข้าบอร์ด ทำการวิเคราะห์ภายในปลายปี 2560 นี้ คงจะชัดเจนแล้วว่าจะต้อง PPP ในรูปแบบใด”

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวในงานเสวนา “เช็กเครื่องยนต์ EEC พร้อมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0” ว่า EEC มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเดิมของประเทศที่เคยมีฐานการลงทุนอยู่แล้วให้มีการขยายการลงทุน นับว่ารัฐบาลมาถูกทาง เป็นข้อได้เปรียบสำหรับประเทศไทย ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมใหม่จะเข้ามาช่วยพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันจะเห็นการขยายการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) มากกว่าการลงทุนใหม่ โดยเฉพาะการลงทุนส่วนใหญ่จะมาจาก 5 อุตสาหกรรมเดิม (First S-curve) เนื่องจากนักลงทุนรายเดิมมีแผนลงทุนเพิ่มอยู่แล้วเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่เริ่มจากการประกอบรถยนต์ hybrid ของโตโยต้า และค่ายอื่น ๆ ก่อน ส่วนอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่ม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ต่อยอดจากจุดแข็ง การขยายสนามบินอู่ตะเภา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่ม อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารที่มีหลายบริษัทลงทุนเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) แล้ว

ส่วน 5 อุตสาหกรรมใหม่ (New S-curve) มีเพียงอุตสาหกรรมการบินและการขนส่ง อย่างศูนย์ซ่อมบำรุง (MRO) ที่จะมีโอกาสลงทุนมากที่สุด เนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางแห่งหนึ่งของการขนส่งทางอากาศ และจะได้แรงหนุนจากการขยายสนามบินอู่ตะเภา ส่วนอุตสาหกรรมที่เหลือมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก

ทั้งนี้ เอกชนไทยจะชี้แนะให้รัฐบาลนำบทเรียนจากโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดเมื่อ 35 ปีที่แล้วมาเป็นบทเรียน เพื่อไม่ให้ประเทศคู่แข่งช่วงชิงโอกาสดึงนักลงทุนไปจากไทย เช่น หากไทยต้องการอุตสาหกรรมยา การแพทย์ครบวงจร ต้องกำหนดแผน คือให้มหาวิทยาลัยอย่างมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันทำงานวิจัยกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมีอีก 3 สถาบันการศึกษาสร้างบุคลากรมาป้อนอุตสาหกรรมเหล่านี้ จึงจะเป็นแผนที่ไม่ใช่เพียงดึงการลงทุนเข้ามา แต่คือการเพิ่มขีดความสามารถแบบครบวงจร

“นักลงทุนจะเลือกพื้นที่ไหนต้องดูว่าอุตสาหกรรมที่จะไปลงทุนนั้นมีฐานเดิมอยู่หรือไม่ ซึ่งไทยมีฐานเดิมอยู่แล้ว นี่คือจุดแข็งที่ไทยสร้างคลัสเตอร์ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ขึ้นได้ ขณะที่ไทยชัดเจนเรื่องนโยบาย การดีไซน์แพ็กเกจที่พร้อมและตอบโจทย์นักลงทุน เมื่อเรามาถูกทางก็ต้องดึงอะไรที่ตรงกับเป้าหมายเรามา อะไรที่ยากอย่างสถาบันระดับโลก ถ้าดึงสหรัฐมายาก ก็ดึงระดับสถาบันในเอเชีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ก็ได้”

ดร.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติรอเพียง 2 เรื่อง คือ 1.พ.ร.บ.EEC 2.การกำหนดเขตส่งเสริมพิเศษ เมื่อใดชัดเจนจะเห็นการลงทุนจริง แต่ขณะนี้รายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.EEC กลับไม่มีอะไรชัดที่เป็นทางปฏิบัติจริง เช่น ผังเมืองที่ให้อำนาจคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) ซึ่งมีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน แต่ไม่มีรายละเอียด ส่งผลให้ภาพรวมของ EEC มีความเสี่ยง และมีความไม่ไว้วางใจจากภาคเอกชนและประชาชน เอกชนจึงขอให้รัฐชี้แจงกระบวนการผังเมืองทั้ง 19 ขั้นตอน และการปลดล็อกผังเมืองภายในต้นปี 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/10/2017 9:23 pm    Post subject: Reply with quote

กทท.ชงบอร์ดพิจารณาก่อสร้างท่าเรือบก
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2560 21:00 น.

การท่าเรือฯ เผย ผลการศึกษาโครงการก่อสร้างท่าเรือบก ชงคณะกรรมการฯเห็นชอบในเดือนนี้ ก่อนเสนอให้กระทรวงคมนาคมรับทราบ

เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร รองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) สายบริหารสินทรัพย์และพัฒนาธุรกิจ เปิดเผยว่า ผลการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อสนับสนุนการให้บริการของท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) และท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) พบว่า บริเวณสถานีรถไฟโนนพะยอม ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 500-700 ไร่ มีศักยภาพที่จะสามารถพัฒนาเป็นท่าเรือบกและ Logistics Park เนื่องจากอยู่ใกล้กับถนนสายหลัก (ถนนมิตรภาพ) รวมถึงจังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า มีสินค้าปริมาณมากและอยู่ใกล้กับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีโอกาสในการดึงสินค้าส่งผ่าน (Transit Cargo) เข้ามาใช้บริการได้ อีกทั้งยังสามารถรองรับสินค้าจากจังหวัดใกล้เคียงโดยรอบ เช่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สกลนคร และหนองคายได้อีกด้วย

ในส่วนการให้บริการและกิจกรรมภายในโครงการ ประกอบด้วยกิจกรรมการบรรจุและเปิดตู้สินค้า การตรวจปล่อยสินค้าขาเข้า – ขาออก ลานตู้สินค้า ลานตู้สินค้าเปล่า ลานจอดรถบรรทุก ตรวจปล่อยสินค้าและการให้บริการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้า/ตู้สินค้าของท่าเรือบก รวมถึงให้บริการด้าน Logistics Park เพื่อสนับสนุนระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

สำหรับทางเลือกรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้สำหรับ กทท. ที่ปรึกษาฯ ได้เสนอให้ กทท. เปิดให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการโครงการ (Public Private Partnership: PPP) ขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอผลการศึกษาและโครงการร่วมทุนและพัฒนาธุรกิจท่าเรือบกต่อคณะกรรมการ กทท. ในเดือนตุลาคมนี้ หากผ่านความเห็นชอบจะนำเสนอโครงการฯ ต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป

ทั้งนี้ ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการพัฒนาธุรกิจท่าเรือบกที่สำคัญ คือ การสนับสนุนและการบูรณาการอย่างจริงจังของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 86, 87, 88 ... 121, 122, 123  Next
Page 87 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©