RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13268833
ทั้งหมด:13580120
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 88, 89, 90 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/11/2017 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

รถไฟชุมพร-ระนอง ลงทุนหมื่นล้านเชื่อมท่องเที่ยวสองฝั่งทะเลไทย
ฐานเศรษฐกิจ 20 November 2017

จัดเป็นอีกหนึ่งโครงการที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างรอความชัดเจนของผลการศึกษาที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างจัดการประชุมเพื่อแนะนำโครงการและระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือนํ้าลึกระนอง ระยะเวลาดำเนินการศึกษา 10 เดือน (เดือนพฤษภาคม 2560-กุมภาพันธ์ 2561) ก่อนที่จะส่งมอบผลการศึกษาให้ร.ฟ.ท.รับไปดำเนินการ

โครงการเส้นทางรถไฟดังกล่าวนี้เกิดจากนโยบายการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ที่ได้รับทราบผลการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนกลางและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอคณะกรรมการ กรอ. ในการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งทะเลอันดามัน จากจังหวัดชุมพร-จังหวัดระนอง เพื่อการคมนาคมขนส่ง ส่งเสริมการท่องเที่ยว 2 ฝั่งทะเล รวมทั้งเชื่อมโยงไปยังท่าเรือนํ้าลึก จังหวัดระนอง เพื่อรองรับการเป็นประตูเศรษฐกิจสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC ในอนาคต

ปัจจุบันสนข.อยู่ระหว่างการจัดทำร่างรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อประเมินและคัดเลือกแนวเส้นทาง โดยพิจารณาจากปัจจัย3 ด้านได้แก่ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม

Click on the image for full size

ทั้งนี้ในเบื้องต้นนั้นพบว่าแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสม เริ่มจากจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางบริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพรและอยู่ด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด โดยแนวเส้นทางรถไฟจะโค้งออกจากรถไฟสายใต้เดิมมุ่งไปยังทิศตะวันตกและขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง ไปสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือนํ้าลึกระนอง รวมระยะทาง 102.5 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท

มีสถานีเบื้องต้น 9 สถานี ได้แก่สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง โดยช่วงจากสถานีท่าเรือระนองยังจะมีเส้นทางแยก (Spur Line) เข้าสู่เมืองระนองเพื่อไปสิ้นสุดที่สถานีระนอง มีระยะทางอีกประมาณ 4 กิโลเมตรจัดเป็นเส้นทางเชื่อมโยงอีกทางหนึ่งด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,314 วันที่ 16 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/11/2017 6:40 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม เล็งเปิดเดินรถทัวร์กรุงเทพฯ-ฮานอย เพิ่มจุดบินเชียงใหม่-ภูเก็ต
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 - 18:18 น.

นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 พ.ย. ที่ผ่านมา มร.Le Dinh Tho รมช.คมนาคมเวียดนาม เข้าพบหารือถึงเพื่อขยายความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่งระหว่าง 2 ประเทศทั้งทางบก น้ำ ราง และอากาศ ด้านถนน โดยเวียดนามเสนอให้เปิดเส้นทางเดินรถโดยสารระหว่าง กรุงเทพฯ-ฮานอย เมืองหลวงของประเทศเวียดนาม จากปัจจุบันที่บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ศึกษาการเปิดเส้นทางเดินรถแค่ จ.นครพนม-ท่าแขก ประเทศลาว-จ.ฮาตินห์ ในตอนกลางประเทศเวียดนาม ระยะทางราว 300 กิโลเมตร แต่เส้นทางนี้ก็ยังติดปัญหาเรื่องกฎหมายข้ามแดน เช่น ประเด็นความปลอดภัย เบื้องต้นบขส. และผู้เกี่ยวข้องจึงจะหารือเรื่องเส้นทางเดินรถระหว่าง จ.นครพนม-จ.ฮาตินห์ อีกครั้งในเดือน ก.พ. 2561 ซึ่งถือเป็นข้อเสนอที่ดี เพราะปัจจุบันมีการเดินทางระหว่างไทยและเวียดนามในทางหลวงอาเซียนหมายเลข 15 (AH15) จำนวนมาก

นอกจากนี้ 2 ฝ่ายยังหารือเรื่องการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟจาก จ.นครพนม-ท่าแขกประเทศลาว-เมืองวุงอัง ในตอนกลางของเวียดนาม ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร และส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยประเทศไทยจะก่อสร้างรถไฟทางคู่ไปถึง จ.นครพนมในปี 2566 และประเทศเกาหลีใต้จะสนับสนุนการเชื่อมต่อเส้นทางให้ไปถึงประเทศเวียดนามได้

รวมทั้งเตรียมขยายเส้นทางบินระหว่าง 2 ประเทศ โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่อื่นๆ นอกจากกรุงเทพฯ เช่น จ.เชียงใหม่ จ.ภูเก็ต เนื่องจากขณะนี้สายการบินสัญชาติเวียดนาม 3 ราย มีจุดบินในประเทศไทย และสายการบินสัญชาติไทย 7 รายบินเข้าเวียดนาม โดยตอนนี้สายการบินไทยเวียตเจ็ทได้ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศใหม่ (AOC Re-certification) แล้วเมื่อวันที่ 8 พ.ย. ที่ผ่านมา จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและพร้อมจะขยายความร่วมมือด้านอากาศต่อไป

อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังเสนอให้เชื่อมต่อเส้นเดินเรือระหว่าง 3 ประเทศคือ ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม ซึ่งเส้นทางขนส่งสินค้าจะอยู่ระหว่าง คลองใหญ่-เกาะกง-สีหนุวิลล์-กำปอด-ฮาเตียน และเส้นทางท่องเที่ยวระหว่าง คลองใหญ่-สีหนุวิลล์-เกาะฟูก๊วก โดยมีการพูดคุยเรื่องนี้ตั้งแต่เดือนพ.ย. 2557 และฝ่ายไทยยินดีจะผลักดันเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะการขนส่งทางน้ำมีต้นทุนต่ำที่สุดและมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก


นายจิรศักดิ์ เยาว์วัชสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. เปิดเผยว่า บขส. ได้หารือเรื่องการเปิดเส้นทางเดินรถ นครพนม-ท่าแขก-ฮาตินห์ ร่วมกับฝ่ายลาวและเวียดนามเป็นเวลา 2 ปีแล้ว ซึ่งถือเป็นเส้นทางเดินรถผ่าน 3 ประเทศครั้งแรกของ บขส. ประเด็นสำคัญคือ ทั้ง 3 ประเทศต้องหาเอกชนผู้ร่วมทุนและทุกฝ่ายต้องได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยฝ่ายไทยคือ บขส., ฝ่ายเวียดนามก็มีผู้เดินรถให้ความสนใจแล้ว, ส่วนฝ่ายลาวก็ต้องหาผู้ประกอบการเปิดจุดพักรถระหว่างทาง ถ้าภาคเอกชนมีความชัดเจน บขส. ก็จะเสนอกระทรวงคมนาคมและกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เพื่อขอเปิดสัมปทานเดินรถต่อไป

สำหรับเส้นทางดังกล่าวมีความสำคัญในแง่ การใช้ระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก ให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือ สามารถเดินทางทะลุไปถึงทะเลฝั่งเวียดนามได้ และเป็นก้าวแรกในการเปิดตัวเชิงเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ บขส. ได้สำรวจเส้นทาง จ.นครพนม-ท่าแล้ง ประเทศลาว-เมืองวินห์ จ.เหงะอาน ประเทศเวียดนามเพิ่มเติม โดยเมืองวินห์เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอกรุ๊ป อยู่ค่อนไปทางเหนือ และมีศักยภาพด้านโลจิสติกส์ ถ้าหากเปิดเดินรถถึงเมืองวินห์ได้ ก็มีโอกาสเปิดเดินรถถึงเมืองฮานอยในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/11/2017 7:49 pm    Post subject: Reply with quote

เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์ | รถไฟเชื่อม ‘ท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือน้ำลึกทวาย’ ลุ้นบรรจุโครงข่ายในแผนพัฒนา ‘อีอีซี’
ฐานเศรษฐกิจ 30 November 2017

เกาะติดเมกะโปรเจ็กต์ โดย ฐานเศรษฐกิจ | จัดเป็นอีกหนึ่งเมกะโปรเจ็กต์ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เร่งศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน เพื่อรองรับแผนการพัฒนาที่ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงระหว่าง ‘ท่าเรือแหลมฉบัง’ กับ ‘ท่าเรือน้ำลึกทวาย’ ที่รัฐบาลไทยสนับสนุนให้รัฐบาลเมียนมาเร่งผลักดันโครงการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

โครงการดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากนโยบายของการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่ เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2555 ที่ได้เห็นชอบให้การสนับสนุนโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยกระทรวงคมนาคมของไทยวางแผนการเชื่อมโยงถนนและทางรถไฟจากโซนพื้นที่ฝั่งทะเลตะวันออกผ่านไปยังพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดนบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี ก่อนที่จะเชื่อมไปยังท่าเรือน้ำลึกในเมียนมา

รถไฟเส้นทางนี้จัดเป็นอีกหนึ่งเส้นทางโลจิสติกส์ในแนวเศรษฐกิจด้านใต้ (Southen Economics Corridor : SEC) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับเมียนมา

สำหรับแนวเส้นทางโครงการที่มีความเหมาะสมตามผลการศึกษา จะผ่านสถานีชายแดนบ้านพุน้ำร้อน-สถานีชุมทางหนองปลาดุก-สถานีพานทอง-ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทางประมาณ 322 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี, ราชบุรี, นครปฐม, สมุทรสาคร, กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา และชลบุรี แนวเส้นทางไม่ตัดผ่านใจกลางกรุงเทพฯ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางรถไฟสายใต้ ตามแนวเส้นทางสถานีปากท่อ-สถานีวงเวียนใหญ่ ได้อีกด้วย แบ่งออกเป็น 7 ช่วงดำเนินการ ซึ่งบางช่วงของแนวเส้นทางจะมีการเวนคืนสร้างแนวเส้นทางใหม่

ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะเกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจในการช่วยลดต้นทุนทางโลจิสติกส์ นอกเหนือจากช่วยร่นระยะทางและเวลาการเดินทางในการขนส่งสินค้า ซึ่งตามผลการศึกษาคาดว่า จะมีการขนส่งสินค้าคิดเป็นจำนวน 5.08 ล้านตู้คอนเทนเนอร์ต่อปี (เมื่อเปิดบริการถึงปี 2594) จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพการขนส่งของไทย และส่งเสริมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เนื่องจากท่าเรือน้ำลึกทวายจะเป็นพื้นที่การลงทุนอุตสาหกรรมและศูนย์การคมนาคมขนส่งที่สำคัญแห่งใหม่ในภูมิภาคอาเซียน จึงเป็นการเปิดประตูการค้าออกสู่ทะเลได้อีกเส้นทางหนึ่งด้วย

เบื้องต้นนั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ ฝ่ายญี่ปุ่นยังได้ดำเนินการศึกษาการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ขนาดเล็กในแนวเส้นทางนี้บางส่วนไปแล้ว ขณะนี้ ยังมีลุ้นว่า คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่อีอีซีจะหยิบโครงการดังกล่าวออกมาผลักดันเพื่อรองรับการพัฒนาอีอีซีหรือไม่ หรือจ้างศึกษาเพื่อเก็บขึ้นหิ้ง ร.ฟ.ท. ก็ยังมีลุ้นกันต่อไป

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,317 วันที่ 26-29 พ.ย. 2560 หน้า 12
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/12/2017 7:27 pm    Post subject: Reply with quote

สุราษฎร์ดันท่าเรือ-รถไฟ เสริมศักยภาพโลจิสติกส์ภาคใต้
โพสต์ทูเดย์ 02 ธันวาคม 2560 เวลา 06:49 น.

Click on the image for full size

โดย...ทีมข่าวภูมิภาคโพสต์ทูเดย์

ท่าเรือดอนสักนั้นเป็นที่รู้จักกันมานานในฐานะท่าเรือเฟอร์รี่ข้ามฟาก จากแผ่นดินใหญ่ จ.สุราษฎร์ธานี ไปยังเกาะสมุย แหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลก ในยุคที่ประเทศไทยกำลังเร่งพัฒนาระบบโลจิสติกส์ การคมนาคม และการขนส่งสินค้า การขนส่งทางน้ำที่มีต้นทุนต่ำกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่นๆ จึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเชื่อมโยงโลจิสติกส์ทั้งระบบ

แต่เดิมนั้นโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ดอนสัก (แหลมทวด) ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เกิดขึ้นเมื่อปี 2544 ที่ผู้บริหารท้องถิ่นใน อ.ดอนสัก ได้ผลักดันจากปัญหาการขนส่งผู้โดยสารทางเรือข้ามฟากจากดอนสัก-เกาะสมุย-เกาะพะงัน ซึ่งฝั่งดอนสักไม่มีท่าเรือของรัฐเลย มีแต่ของเอกชนเพียงแห่งเดียว

ในสมัยนั้นกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี หรือกรมเจ้าท่า ได้จัดงบประมาณ 393 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2549 มีขนาดท่าเทียบเรือความยาวหน้าท่า 42 เมตร กว้าง 22 เมตร ท่าเรือห่างจากฝั่ง 470 เมตร ความลึกของน้ำ 3-6 เมตร เรือขนาดใหญ่ที่สุดเทียบท่าได้กินน้ำลึก 24 ฟุต และให้เทศบาลเมืองดอนสักเป็น ผู้บริหารท่าเทียบเรือ

ภายหลังการท่องเที่ยวฝั่งเกาะสมุยและเกาะพะงันบูมมาก บริษัท ซีทรานเฟอร์รี่ ได้ลงทุนก่อสร้างท่าเทียบเรือเฟอร์รี่เพิ่มอีก 1 ท่า เป็นเอกชนรายที่ 2 ส่วนท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ดอนสักได้มีบริษัท ส่งเสริมสุราษฎร์ธานี และบริษัท เรือเร็วลมพระยา มาเช่าใช้เป็นท่าเทียบเรือเร็วขนาดกลางปรับอากาศขนส่งผู้โดยสารไปยังเกาะสมุยเกาะพะงัน และเกาะเต่า เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถเกาะท่องเที่ยวหลักและเกาะบริวารได้ทั้งหมด

ด้วยศักยภาพจุดที่ตั้งของท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ดอนสักที่บ้านแหลมทวดที่มีระดับความลึกของน้ำถึง 6 เมตร และมีสะพานเทียบเรือที่ยาวมาก ที่สำคัญเป็นจุดที่สามารถเชื่อมการขนส่งเป็นเส้นตรงจากดอนสักสู่แหลมฉบัง จ.ชลบุรี โดยมีเรือบรรทุกสินค้ามาใช้บริการทั้งเรือบรรทุกน้ำมันปาล์ม ยางพารา และเรือขนส่งวัสดุก่อสร้างไปยังเกาะสมุย

จ.สุราษฎร์ธานี ได้เล็งเห็นศักยภาพของท่าเรือแห่งนี้ โดยมีแผนโครงการขยายเป็นท่าเรือน้ำลึก รองรับการขนส่งในอนาคต สอดรับกับนโยบายกระทรวงคมนาคมในการลดปริมาณการขนส่งทางถนน เพื่อลดต้นทุนสินค้าโดยใช้ทางเรือให้มากขึ้น

เมื่อครั้งที่ พิชิต อัคราทิตย์ ยังดำรงตำแหน่ง รมช.คมนาคม ในฐานะกำกับดูแลกรมเจ้าท่าได้ลงมาดูพื้นที่ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ดอนสัก โดยมีแผนที่จะพัฒนาท่าเรืออเนกประสงค์ดอนสักให้เป็นส่วนหนึ่งในระบบการขนส่งโลจิสติกส์ของ จ.สุราษฎร์ธานี

พิชิต บอกว่า ในปัจจุบันมี ตู้คอนเทนเนอร์จากภาคใต้สู่ภาค ตะวันออกประมาณ 1 ล้านตู้/ปี และ ขากลับอีกกว่า 8-9 แสนตู้/ปี หากคิดเป็นจำนวนรถบรรทุกเกือบ 2 ล้านคัน ถ้าสามารถขับเคลื่อนให้มีการขนส่งสินค้าทางน้ำจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

นโยบายสำคัญในการผลักดันการขนส่งทางน้ำก็เพื่อต้องการลดต้นทุนการขนส่งสินค้าของประเทศไทยจากที่ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 14 ของ จีดีพี ให้เหลือร้อยละ 12 ซึ่งการขนส่งทางน้ำมีต้นทุนการขนส่งต่ำที่สุดต่อตันต่อกิโลเมตรอยู่ที่ 65 สตางค์ แต่หากเป็นทางรถยนต์อยู่ที่ 2.12 บาท ซึ่งท่าเรือที่ อ.ดอนสัก มีศักยภาพสูงที่จะพัฒนาการขนส่งทางน้ำจากภาคใต้เชื่อมไปถึงแหลมฉบัง จ.ชลบุรี มีความเป็นไปได้สูงมาก

นอกจากนี้ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย โดย จ.สุราษฎร์ธานี ได้ขอให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่จาก อ.ดอนสัก ไปยังสถานีสุราษฎร์ธานี ที่ อ.พุนพิน ระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟสายใหม่จาก จ.สุราษฎร์ธานี ฝั่งอ่าวไทยไปยังฝั่งอันดามัน ที่ จ.พังงา ซึ่งผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน

สนข.ระบุว่า ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจะเป็นการส่งเสริมท่องเที่ยวสายใหม่ในภาคใต้ เชื่อมโยงเข้ากับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในฝั่งอ่าวไทยยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งต้นทุนต่ำที่ส่งผลต่อการลดต้นทุนโลจิสติกส์ และสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางน้ำที่ท่าเรือดอนสัก รวมทั้งลดมลพิษที่เกิดจากการคมนาคมขนส่งประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง

น่าจับตาโครงการพัฒนาท่าเรือดอนสักและโครงการทางรถไฟสายใหม่นี้เป็นอย่างยิ่ง ในฐานะที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน จากท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ผ่านแลนด์บริดจ์ทางรถไฟเส้นนี้ออกสู่ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งหากเกิดขึ้นได้ก็จะเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญของ จ.สุราษฎร์ธานี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/12/2017 7:20 am    Post subject: Reply with quote

“อาคม”มอบ”ไพรินทร์”คุมฟื้นฟูแก้หนี้ “การบินไทย,รถไฟ,ขสมก.” เร่งทางคู่ -ไฮสปีด.3 สนามบิน
เผยแพร่: 4 ธ.ค. 2560 19:42:00 โดย: MGR Online

“อาคม”แบ่งงานไพรินทร์” คุม ขนส่ง,ขสมก.,ทางน้ำ ,รถไฟ มอบนโยบายสำคัญ คุมปฏิรูปรถเมล์,เร่งซื้อรถเมล์NGV, เร่งรัดรถไฟทางคู่,รถไฟเชื่อม 3 สนามบินและท่าเรือแหลมฉบัง แถม กทพ.เพื่อเร่งตั้งกองทุน TFF พ่วงแผนฟื้นฟู 3 หน่วยรสก.”การบินไทย-ขสมก.-ร.ฟ.ท.” ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ของคนร. ด้าน”ไพรินทร์”พร้อมเร่งลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ ช่วงศก.ขาขึ้น

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบหมายหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ ให้นายไพรินทร์ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้กำกับดูแลแล้ว รวม 8 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ซึ่งมีเรื่องสำคัญคือการปฏิรูปเส้นทางรถเมล์และการแยกให้ ขบ.เป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) , องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เป้าหมายให้เร่งดำเนินการจัดซื้อรถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (NGV) , บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)

กรมเจ้าท่า (จท.) เร่งผลักดัน การเดินเรือเฟอร์รี่ที่บรรทุกรถยนต์ข้ามอ่าวไทยโดยร่วมทุนกับเอกชนและ โครงการท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise) ที่จังหวัดกระบี่ และอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และการแก้ปัญหา IUUซึ่งจะต้องร่วมมือกับกรมประมง, การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เน้นเร่งรัดโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 เพื่อรองรับนโยบาย โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และ บริษัท รถไฟฟ้าร.ฟ.ท. จำกัด (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์) ซึ่งมีงานที่ต้องเร่งรัดโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-หัวหิน และรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ที่รอลงนามสัญญา ส่วนที่เหลือให้สามารถเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ให้ได้ภายในปี 2561 ได้แก่ ช่วงช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ,หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์,ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งต้องการให้รมช.คมนาคม ช่วยดูเรื่องการระดมทุนโครงสร้างกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (กองทุนรวมฯ) หรือ Thailand Future Fund:หรือ TFF ในการลงทุนโครงการสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร และ ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E-W Corridor

นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้ นายไพรินทร์ ดูแลแผนฟื้นฟู ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ,ร.ฟ.ท., และ ขสมก.ให้เป็นไปตามมติ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการตั้งบริษัทลูก

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคมกล่าวว่า จากที่คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 5 ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตน ก่อนเข้ารับหน้าที่ ทรงมีรับสั่งห่วงใยความทุกข์สุขและความปลอดภัย ของประชาชนสำคัญที่สุด ซึ่งให้รมต.ใหม่ใช้ปัญญาและความอดทน ซึ่งงานของกระทรวงคมนาคมตรงหลายประเด็นขณะที่เวลาในการทำงานอาจจะมีไม่ได้มากนัก ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ดำเนินงานหลายเรื่อง ถึงเวลาที่ทำให้ประชาชนได้รับรู้ ได้ใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานใหม่ เพื่อทำให้ประเทศก้าวหน้าไปอีกขึ้น

“การทำงานต้องเข้มข้นเพื่อผลักดันและขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งตอนนี้สถานการณ์เศรษฐกิจของไทย เป็นช่วยฟื้นตัวขาขึ้น ถือเป็นจังหวะที่เหมาะสมที่จะออกแรงผลักดัน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ลุล่วงตามเป้าหมาย”นายไพรินทร์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 09/12/2017 9:31 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการ ทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรืออ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

http://eia.onep.go.th/projectdetail.php?id=9958
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/12/2017 9:14 am    Post subject: Reply with quote

เร่งสมาร์ทซิตี้ 10 จังหวัด 3.6 แสนล้าน เกาะเมกะโปรเจ็กต์นำร่องเมืองใหม่”พหล-เชียงราก”
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 12 ธันวาคม 2560 - 08:08 น.

Click on the image for full size

“ไพรินทร์” สปีดโมเดล ปตท. จุดพลุเมกะโปรเจ็กต์สมาร์ทซิตี้ 10 จังหวัด ลงทุน 10 ปี กว่า 3.6 แสนล้าน เกาะแนวรถไฟทางคู่ ไฮสปีดเทรน อีอีซี นำร่อง “พหลโยธิน-เชียงรากน้อย” สร้างเมืองใหม่ที่อยู่อาศัยชั้นดี เล็งปั้นแหลมฉบังเมืองเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รับอีอีซี

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า พร้อมจะช่วยผลักดันนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่จะส่งเสริมให้มีการพัฒนาเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ที่ขณะนี้รัฐบาลกำลังเร่งเดินหน้าโครงการ ซึ่งเป็นนโยบายที่ดีและถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องดำเนินการ เหมือนที่ประเทศอื่น ๆ ใช้แนวคิดนี้ในการพัฒนาประเทศมาแล้ว

ลุยเมืองอัจฉริยะเทียบ ตปท.

“ปัจจุบันนี้เกือบทุกประเทศ ไม่ว่ามาเลเซียก็มีสมาร์ทซิตี้ รัฐพยายามยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนโดยสร้างเมืองตัวอย่างที่มีความก้าวหน้า ซึ่งสมาร์ทซิตี้มีหลายมิติ ทั้งประหยัดพลังงาน ไอที ระบบคมนาคมขนส่ง ที่อยู่อาศัย ต้องเลือกจะสร้างสมาร์ทซิตี้รูปแบบไหน”

ในอดีต บมจ.ปตท. เคยเสนอผลศึกษาโครงการสมาร์ทซิตี้ต่อกระทรวงคมนาคมสมัย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ว่ามีแนวคิดจะพัฒนาและเสนอเมืองจะนำร่องอยู่หลายแห่ง เพื่อเป็นโมเดลให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นำไปเป็นต้นแบบพัฒนา

“ตอนนั้น ปตท.ศึกษาร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี 10 หัวเมือง มีเงื่อนไขว่าการพัฒนาจะต้องอยู่ในแนวเส้นทางรถไฟ มีระบบท่อก๊าซพลังงานเข้าถึงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” นายไพรินทร์กล่าวและว่า


นำร่องย่านพหล-เชียงรากน้อยโดยพื้นที่ส่วนกลางเสนอย่านพหลโยธินและเชียงรากน้อย ที่เหลืออยู่ในหัวเมืองหลัก เช่น ขอนแก่น แต่ละพื้นที่จะมีจุดเด่นต่างกันไป เช่น เชียงรากน้อยเสนอเป็น Best Town หรือที่อยู่อาศัยชั้นดีที่คนเดินทางไปทำงานที่กรุงเทพฯ แบบเช้าไปเย็นกลับได้

ส่วนพหลโยธินจะเป็นศูนย์กลางของระบบคมนาคมขนส่งเพราะมีสถานีกลางบางซื่อที่มีความสำคัญเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระบบรางและถนน หากพัฒนาย่านบางซื่อ-พหลโยธินเป็นพื้นที่เดียวกัน เชื่อมโยงกับระบบคมนาคมสมัยใหม่ จะทำให้ประสิทธิภาพการคมนาคมในกรุงเทพฯเพิ่มขึ้นมหาศาล เหมือนต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสวิตเซอร์แลนด์และญี่ปุ่น

“โอกาสกำลังจะเกิดขึ้นที่สถานีบางซื่อถ้าได้รับการบริหารจัดการที่ดี จะสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางใหม่ของระบบคมนาคมของประเทศได้ไม่ยาก ที่ผ่านมามีต่างชาติให้ความสนใจในพื้นที่ หลังมาดูพื้นที่จริงและเห็นศักยภาพ”

เปิดผลศึกษาสมาร์ทซิตี้ ปตท.

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ ปตท.เสนอผลศึกษาและแผนการลงทุนโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่สัมพันธ์กับระบบคมนาคมทางราง พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่รอบสถานีรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูงใน 10 จังหวัดให้คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)พิจารณา เพื่อขอใช้พื้นที่รถไฟ ขณะนั้นบอร์ด ร.ฟ.ท.ได้พิจารณาและมองว่าสอดคล้องกับแนวคิดของ ร.ฟ.ท.จะหารายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบสถานีรถไฟเป็นรายได้เสริม

โดย 10 พื้นที่ที่ ปตท.เสนอจะอยู่ในแนวรถไฟ และพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดนที่มีศักยภาพ ใช้เวลาพัฒนา 10 -15 ปี ใช้เงินลงทุน 362,843 ล้านบาท เพื่อลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน คมนาคมขนส่ง และระบบสารสนเทศประกอบด้วย 1.เชียงรากน้อย อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นสถานีรถไฟของสายสีแดง (รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์) และรถไฟความเร็วสูง พัฒนาเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร ประกอบด้วยย่านธุรกิจ การค้า บริการที่ทันสมัยและที่อยู่อาศัย ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี เช่น การสื่อสารระบบไร้สาย เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้แผงโซลาร์เซลล์รองรับผู้ที่ทำงานในบริเวณพื้นที่และผู้ที่ทำงานในกรุงเทพฯและนิคมอุตสาหกรรม จ.ปทุมธานี และอยุธยา

2.พหลโยธิน เป็นพื้นที่ชุมทางของรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง จะพัฒนาพื้นที่พหลโยธินเป็นเมืองใหม่รอบสถานีรถไฟ มีการออกแบบอาคารที่ประหยัดพลังงานต่อยอดกับโครงการเอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ของ ปตท.ในปัจจุบัน

อีกทั้งพัฒนาพื้นที่ติดสถานีกลางบางซื่อเป็นย่านธุรกิจการค้าและบริการ มีระบบบีอาร์ทีรองรับการเดินทางภายในพื้นที่โครงการ และพัฒนาพื้นที่ใหม่มีทั้งพื้นที่เชิงพาณิชย์ สำนักงานและที่อยู่อาศัย

ปั้นแหลมฉบังรับอีอีซี

3.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี เป็นพื้นที่ในเขตโครงการแหลมฉบังเมืองใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นตามโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (อีสเทิร์นซีบอร์ด) ต่อเนื่องกับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือและย่านที่อยู่อาศัย จะพัฒนาเป็นย่านที่อยู่อาศัยของแรงงานนานาชาติที่น่าอยู่ ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะรองรับการเดินทาง มีจุดจอดรถโดยรอบสถานี และมีการพัฒนาพานิชยกรรม ศูนย์ชุมชน

4.ภูเก็ต เน้นพัฒนาเป็นย่านวิจัยและพัฒนารองรับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบคลัสเตอร์ของอุตสาหกรรมหลักและย่านธุรกิจการเงินที่สำคัญทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย 5.เชียงใหม่ สถานีปลายทางรถไฟความเร็วสูงและทางคู่ จะพัฒนาเป็นย่านพาณิชย์และสำนักงานรองรับการท่องเที่ยว ย่านวิจัยและพัฒนารองรับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบคลัสเตอร์ของอุตสาหกรรมดิจิทัลและย่านที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ

6.เด่นชัย พัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟเด่นชัยด้านทิศใต้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร รองรับการเดินทางและการท่องเที่ยว มีอาคารพาณิชย์ สำนักงาน โรงแรม ส่วนด้านเหนือจะพัฒนาเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรภายในชุมชนเมืองเด่นชัย ต่อเนื่องกับการปรับปรุงฟื้นฟูย่านพาณิชยกรรมและชุมชนเดิม และพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยชานเมือง รองรับจำนวนประชากรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

7.หนองคาย การพัฒนาจะรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษและการค้าชายแดน โดยพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟหนองคายจะพัฒนาเป็นพาณิชยกรรม สำนักงาน พร้อมขยายพื้นที่อยู่อาศัยโดยรอบ ส่วนบริเวณสถานีนาทาจะเป็นศูนย์รวบรวมสินค้าระบบตู้คอนเทรนเนอร์(CY) จากจีนและลาวเพื่อกระจายสินค้านำเข้าและส่งออก

ขอนแก่นฮับอีสาน

8.ขอนแก่น จะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอาเซียนและเมืองศูนย์กลางภาคอีสาน จะขยายพื้นที่พาณิชยกรรมของเมืองให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะรอบสถานีรถไฟขอนแก่นถึงถนนมิตรภาพ พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายระบบสัญจรและขยายที่อยู่อาศัยออกไปจนถึงมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีบึงแก่นนครเป็นพื้นที่สีเขียวและนันทนาการหลัก

9.แก่งคอย จะเป็นย่านโลจิสติกส์ มีสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) มีพัฒนาพาณิชยกรรมและย่านที่อยู่อาศัยรอบสถานีรถไฟแก่งคอยและพื้นที่เมืองเดิม รวมถึงพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมให้เชื่อมกับ ICD บริเวณติดถนนมิตรภาพ และเพิ่มแนวถนนสายรองให้เชื่อมต่อกับย่านอุตสาหกรรม โลจิสติกส์ พื้นที่ ICD เพราะเป็นแหล่งงานที่สำคัญ

และ 10.คลองหลวง พัฒนาเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่เดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯโดยรถไฟ ภายในพื้นที่มีพัฒนาโครงข่ายรถไฟเชื่อมพื้นที่อยู่อาศัยไปยังสถานีเชียงรากและย่านพาณิชยกรรม สถานศึกษา ที่อยู่อาศัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

จากผลประเมินทั้ง 10 จังหวัด พบว่า 10 ปีแรก เมืองที่มีศักยภาพจะนำร่อง คือ พหลโยธิน เพราะเหมาะสมทุกด้าน ไม่ว่าเศรษฐกิจ ชุมชน สิ่งแวดล้อม การคมนาคม พลังงาน และการบริหารจัดการ จากนั้นเป็นที่เชียงรากน้อย แหลมฉบังและภูเก็ต ส่วนคลองหลวง เชียงใหม่ เด่นชัย ขอนแก่น หนองคายและแก่งคอย จะเป็นช่วง 5-15 ปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/12/2017 7:32 pm    Post subject: Reply with quote

‘อาคม’ ลั่นธ.ค. นี้ ลงนามสัญญาเอกชนสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้น 9.58 หมื่นล้าน
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 12 ธันวาคม 2560 - 17:41 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการนำเสนอผลการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เฟสแรก จำนวน 5 เส้นทาง คือ 1. ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 2. ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 3. ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ 4. ช่วงนครปฐม-หัวหิน และ 5. ช่วงหัวหิน-ประจวบฯ รวมระยะทาง 668 กิโลเมตร มูลค่ารวม 9.58 หมื่นล้านบาท ขณะนี้กำลังรอความเห็นเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติได้ในวันที่ 19 ธ.ค. โดยหลังจากครม. พิจารณาอนุมติแล้ว กระทรวงจะต้องหารือร่วมกับกระทรวงการคลังในฐานะเจ้าของเงินอีกครั้งเพื่อให้ยืนยันความถูกต้องของวงเงินมูลค่าโครงการโดยจะต้องมีการจัดทำความตกลงร่วมกันด้วย คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญากับผู้รับเหมาที่ชนะการประมูลได้ภายในเดือนธ.ค. 2560 นี้

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกทม.-โคราช ระยะทาง 252.5 กิโลเมตร วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท นั้น คาดว่าวันที่ 19 ธ.ค. จะเสนอให้ครม. พิจารณาอนุมัติให้กรมทางหลวง เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างตอนแรก ระยะทาง 3.5 ก.ม. กลางดง-ปางอโศก วงเงินก่อสร้าง 425 ล้านบาท ส่วนกำหนดการเริ่มต้นโครงการก่อสร้างยังเป็นกำหนดเดิมคือวันที่ 21 ธ.ค. นี้ ซึ่งขณะนี้รอการตอบรับจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเริ่มงานก่อสร้าง

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเปิดประมูล งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ รถไฟทางคู่ 5 เส้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 สัญญา คือ 1. ลพบุรี-ปากน้ำโพ เงิน 2.9 พันล้านบาท 2. มาบกระเบา-ชุมทางจิระ วงเงิน 2.5 พันล้านบาท และ 3. นครปฐม-ชุมพร วงเงิน 7.3 พันล้านบาท รวม 3 สัญญามีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1.27 หมื่นล้านบาท ว่า รฟท. ได้ทำการว่าที่บริษัทที่ปรึกษาให้จัดทำร่างทีโออาร์เพื่อเปิดประมูล ซึ่งจะใช้รูปแบบแบบอินเตอร์บิด คาดว่าจะใช้เวลาในการร่างทีโออาร์ประมาณ 3 เดือน และสามารถเปิดประมูลได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561

ส่วนโครงการรถไฟไทยจีน นั้น ภายหลังจากที่ครม.อนุมัติ เห็นชอบให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสสร้างช่วงตอนที่ 1 แล้ว รฟท. จะต้องลงนามข้อตกลงร่วมกับกรมทางหลวงเพื่อดำเนินโครงการ ในวันที่ 20 ธ.ค. ก่อนที่จะเริ่มพิธีก่อสร้างจริงในวันที่ 21 ธ.ค.

นายอานนท์ กล่าวต่อถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากบอร์ดรฟท. ขอให้รฟท. กลับไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยกับอัตราผลตอบแทนจากการพัฒนาที่ดินแปลงเอ บริเวณมักกะสัน ที่จะเปิดประมูลพ่วงไปกับรถไฟ 3 สนามบิน โดยบอร์ดมองว่ารฟท. น่าจะหาประโยชน์ได้มากกว่าแผนเดิมที่นำเสนอ คาดว่าจะนำเสนอรายละเอียดโครงการภายหลังการปรับปรุงให้บอร์ด รฟท. พิจารณาอนุมัติโครงการได้ในวันที่ 15 ธ.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 25/12/2017 12:29 am    Post subject: Reply with quote

เปิด“เมกกะโปรเจกต์” พัฒนาคมนาคมภาคเหนือ 5 แผนงาน 16 โครงการ งบรวม 6.3 แสนล้าน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 24 ธันวาคม 2560 - 18:44:00

เตรียมชง“เมกกะโปรเจกต์ภาคเหนือ” 5 แผนงานพัฒนระบบคมนาคม 16 โครงการวงเงินรวมกว่า 6.3 แสนล้านบาท พัฒนาระบบราง/ถนนทางน้ำ/ระบบขนส่งสินค่า/ทางอากาศ” รถไฟทางคู่ 2 โครงการ- 1 รถไฟความเร็วสูง ทางเลี่ยงแม่สอด “motorway 2 สาย” “ศูนย์ขนส่งสินค้าเชียงของ พ่วงสถานีขนส่งสินค้า 5 จังหวัด” ขยายท่าเรือเชียงแสน/เชียงของ -เขื่อนยกระดับแม่น้ำเจ้าพระยา/น่าน ขยายท่าอากาศยานเชียงใหม่ 3 ระยะ ท่าอากาศยานแม่สอด

วันนี้ (23 ธ.ค.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า ในประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือกับภาครัฐและเอกชน 17 จังหวัดภาคเหนือ (กรอ.ภาคเหนือ) ในช่วงเที่ยงวันที่ 25 ธ.ค. ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดย สนช. กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาดารเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะรายงานความคืบหน้าโครงข่ายคมนาคมที่สำคัญ ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ จำนวน 5 แผนงาน 16 โครงการ วงเงินรวมกว่า 633,039 ล้านบาทประกอบด้วย

1.โครงข่ายทางราง ประกอบด้วย “โครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” ระยะทาง 326 กม. ผ่านจังหวัด แพร่ พะเยา เชียงราย วงเงินโครงการ 76,980 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 48 เดือน อยู่ระหว่างขอความเห็นหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมเสนอ ครม. อนุมัติโครงการฯ ,”โครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงใหม่” ระยะทาง 189 กม. ผ่านจังหวัด แพร่ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ วงเงินโครงการ 59,924 ล้านบาท รฟท. อยู่ระหว่างเตรียมเสนอโครงการ เพื่อให้กระทรวงคมนาคม พิจารณา นำเสนอ ครม.

“โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่” ระยะทาง 672 กม. (ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 384 กม.) ผ่านจังหวัด กรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ วงเงินโครงการ 224,416 ล้านบาท (ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก) ที่ประชุมคณะทำงานญี่ปุ่น -ไทย เห็นชอบรายงานการศึกษาความเหมาะสม เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2560 ขณะนี้ อยู่ระหว่าง สนข. ประมวลสรุปเตรียมเสนอ ครม. คาดว่าจะก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก แล้วเสร็จในปี 2565

ทางเลี่ยงแม่สอด 3.9 พันล้าน / motorway 2 สาย 200 กม. วงเงิน 2 แสนล้าน เริ่มศึกษาปี61

2. โครงข่ายทางบก ประกอบด้วย “โครงการทางเลี่ยงเมืองแม่สอด และสะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2” เชื่อม อ.แม่สอด จ.ตาก กับจังหวัดเมียวดี (เมียนมา) ระยะทาง 21.40 กม. วงเงินโครงการ 3,900 ล้านบาท งานสะพานและถนน ได้ผลงานร้อยละ 90 คาดว่าแล้วเสร็จ เม.ย. 2561 งานอาคารด่าน คาดว่าจะแล้วเสร็จ ต.ค. 2562 ,”โครงการ motorway เชียงใหม่-เชียงราย” ระยะทาง 185 กม. ผ่านจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง พะเยา เชียงราย วงเงินโครงการประมาณ 100,000 ล้านบาท ศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ โดยได้บรรจุเข้าไปในแผนพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ดำเนินการ ปี 2566

“โครงการ motorway ตาก-แม่สอด” ระยะทางประมาณ 70-80 กม. (แนวเส้นทางใหม่ทั้งหมด) รองรับเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดและการค้า ชายแดน เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี วงเงินโครงการประมาณ 100,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมกำหนดแล้วเสร็จ เมษายน 2561

ศูนย์ขนส่งสินค้าเชียงของ 2 พันล้าน พ่วงสถานีขนส่งสินค้า 5 จังหวัด

3. ”ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ” เชื่อมต่อการขนส่งสินค้าทางถนน ราง และน้ำ รองรับการขนส่งสินค้าจากจีนผ่าน สปป.ลาว เข้ามา ในไทย เพื่อกระจายสินค้าไปยังส่วนต่างๆ ภายในประเทศและต่างประเทศ วงเงินโครงการ 2,219.05 ล้านบาท เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2560 กำหนดแล้วเสร็จเดือน พ.ค. 2562 ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างได้ผลงานร้อยละ 4.956

สถานีขนส่งสินค้าจังหวัดเชียงราย ต.โป่งงาม อ.แม่สาย บน ทล.1 อยู่ห่างจากด่านแม่สาย 10 กม. เป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าจากการขนส่งสินค้า ไม่เต็มเที่ยว และรองรับการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งกับระบบราง แผนการดำเนินงาน สำรวจอสังหาริมทรัพย์และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินปี 2561 เริ่มก่อสร้างปี 2562 กำหนดแล้วเสร็จปี 2564

สถานีขนส่งสินค้าจังหวัดเชียงใหม่ ต.หนองผึ้ง อ.สารภี ติด ทล.11 และทางรถไฟสายเหนือ เป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าจากการ ขนส่งสินค้าไม่เต็มเที่ยว และรองรับการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งกับระบบราง แผนการดำเนินงาน ศึกษาวางผังและออกแบบฯ ปี 2561 สำรวจอสังหาริมทรัพย์และจัด กรรมสิทธิ์ที่ดิน ปี 2562 ก่อสร้างปี 2563 แล้วเสร็จปี 2565

สถานีขนส่งสินค้าจังหวัดตาก ต.แม่ปะ อ.แม่สอด อยู่ในแนวถนนเลี่ยงเมืองแม่สอดของกรมทางหลวง เพื่อไปยังด่าน อยู่ห่างจากด่านในระยะไม่เกิน 10 กม. เป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าจากการ ขนส่งสินค้าไม่เต็มเที่ยว และรองรับการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนสง่กับระบบราง แผนการดำเนินงาน สำรวจอสังหาริมทรัพย์และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินปี 2561 เริ่มก่อสร้างปี 2562 กำหนดแล้วเสร็จปี 2564

สถานีขนส่งสินค้าจังหวัดพิษณุโลก ต.บึงพระ อ.เมือง บน ทล.126 อยู่ติดสถานีรถไฟบึงพระ ใกล้คลังน้ำมัน ปตท. เป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าจากการขนส่งสินค้าไม่เต็มเที่ยว และรองรับการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งกับระบบราง แผนการดำเนินงาน ศึกษาวางผังและออกแบบฯ ปี 2561 สำรวจอสังหาริมทรัพย์และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ปี 2562 ก่อสร้างปี 2563 แล้วเสร็จปี 2565

สถานีขนส่งสินค้าจังหวัดนครสวรรค์ ต.นครสวรรค์ออก อ.เมืองนครสวรรค์ บน ทล.225, ทล.1 ท่าเรือน้ำลึก ท่าข้าวกำนันทรง และมีทางรถไฟเข้าถึงพื้นที่ เป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าจาก การขนส่งสินค้าไม่เต็มเที่ยว และรองรับการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งกับระบบราง แผนการดำเนินงาน ศึกษาวางผังและออกแบบฯ ปี 2566 ก่อสร้างปี 2567

ขยายท่าเรือเชียงแสน/เชียงของ 2.2 หมื่นล้าน-เขื่อนยกระดับแม่น้ำเจ้าพระยา/น่าน 3.1 หมื่นล้าน

4. โครงข่ายทางน้ำ ประกอบด้วย “โครงการท่าเรือเชียงแสน / เชียงของ” ปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือเชียงแสน 2.1 แสนตัน/ปี ตู้สินค้าผ่านท่า 7,700 TEUs/ปี มูลค่า 22,100 ล้านบาท ปริมาณสินค้าผ่านท่าเรือเชียงของ 8.5 หมื่นตัน/ปี มูลค่า 20,600 ล้านบาท เตรียมพัฒนาเพื่อรองรับการขนส่งตู้สินค้าแช่แข็ง เตรียมจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อบริการข้อมูลข่าวสารสำหรับ ลูกเรือ 4 ชาติแม่น้ำโขงตอนบน (ไทย-ลาว-เมียนมา-จีน)

“โครงการการก่อสร้างเขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่านเพื่อการเดินเรือ” ปี 2563-2567 วงเงิน 31,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งทางน้ำ โดยสามารถเดินเรือได้จากปากแม่น้ำเจ้าพระยาไปถึง จ.นครสวรรค์ สำหรับเรือกินน้ำลึก 5 เมตร และสามารถเดินเรือต่อไปยัง อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร สำหรับเรือกินน้ำลึก 3 เมตร รวมระยะทาง 477 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาฯการก่อสร้างเขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่านเพื่อการเดินเรือ เมื่อพัฒนาโครงการฯ แล้ว จะมีศักยภาพในการขนส่งสินค้าขาขึ้นได้ 11.60 ล้านตัน สินค้าขาล่องได้ 12.28 ล้านตัน

ขยายท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะยาว 1.1 หมื่นล้าน -คาดปี 62 ท่าอากาศยานแม่สอด 1.4 พันล้านเสร็จ

5. เครือข่ายทางอากาศ ประกอบด้วย “โครงการท่าอากาศยานแม่สอด” ปัจจุบัน จำนวนผู้โดยสาร 8 หมื่นคน/ปี คาดการณ์ปี 2565 ผู้โดยสาร 3.6 ล้านคน/ปี วงเงินโครงการประมาณ 1,500 ล้านบาท ประกอบด้วย งานก่อสร้างทางขับ ลานจอดเครื่องบิน เสริมผิวทาง : ผลงานร้อยละ 73.69 งานก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ : ผลงานร้อยละ 77.31 งานก่อสร้างต่อเติมความยาวทางวิ่ง : ผลงานร้อยละ 0.15 คาดว่าแล้วเสร็จในปี 2562

“โครงการท่าอากาศยานเชียงใหม่” แผนระยะสั้นและระยะกลาง (ปี 2559-2568) เป้าหมายรองรับปริมาณจราจรทางอากาศในปี 2573 เพื่อรองรับผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 18 ล้านคน/ปี (ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศเดิมเป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ก่อสร้างทางขับสนานใหม่ ขยายลานจอดอากาศยาน) แผนระยะยาว ปี 2569-2573 เป้าหมายรองรับปริมาณจราจรทางอากาศในปี 2578 คาดว่าผู้โดยสารจะเพิ่มสูงถึง 20 ล้านคน/ปี (ก่อสร้างและปรับปรุงอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และภายในประเทศ ขยายลานจอดอากาศยาน วงเงินโครงการประมาณ 11,000 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/12/2017 4:21 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เปิด“เมกกะโปรเจกต์” พัฒนาคมนาคมภาคเหนือ 5 แผนงาน 16 โครงการ งบรวม 6.3 แสนล้าน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 24 ธันวาคม 2560 - 18:44:00

กรอ.รับทราบรายงานวางโครงข่ายคมนาคม6.3แสนล.
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2560 16:00 น.

ที่ประชุม กรอ. รับทราบรายงานความคืบหน้าโครงข่ายคมนาคมสำคัญ วงเงินกว่า 6.3 แสนล้านบาท

ในประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม จังหวัดภาคเหนือ หรือ กรอ. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะรายงานความคืบหน้าโครงข่ายคมนาคมที่สำคัญ ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ จำนวน 5 แผนงาน 16 โครงการ วงเงินรวมกว่า 633,039 ล้านบาท อาทิ โครงข่ายทางราง ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. วงเงิน 76,980 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขอความเห็นหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมเสนอ ครม. อนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. วงเงิน 224,416 ล้านบาท

โครงข่ายทางบก อาทิ โครงการทางเลี่ยงเมืองแม่สอด และสะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 วงเงิน 3,900 ล้านบาท โครงการ motorway ตาก-แม่สอด ระยะทางประมาณ 70-80 กม. รองรับเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดและการค้า ชายแดนเชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี วงเงินประมาณ 100,000 ล้านบาท รวมถึงโครงการสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดเชียงราย, เชียงใหม่, ตาก, พิษณุโลก, นครสวรรค์ เพื่อใช้เป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ลดต้นทุนการขนส่งสินค้าจากการขนส่ง และรองรับการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งกับระบบราง และโครงข่ายทางน้ำ อาทิ โครงการท่าเรือเชียงแสน / เชียงของ โครงการการก่อสร้างเขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่านเพื่อการเดินเรือ การขยายท่าอากาศยานเชียงใหม่ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 88, 89, 90 ... 121, 122, 123  Next
Page 89 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©