Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264068
ทั้งหมด:13575351
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 91, 92, 93 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44529
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2018 1:56 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
นายก ส.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจันท์ ขอรัฐบาลหนุนเส้นทางรถไฟรางคู่ระยอง - ตราด เสริมการท่องเที่ยว
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 21:25:00

'อาคม' ลงพื้นที่! ฟังสรุป 'โครงการสำคัญ' ใน 'อีอีซี'
ฐานเศรษฐกิจ 5 February 2018

‘อาคม’ เข้าร่วมประชุมรับฟังหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม สรุปโครงการสำคัญในพื้นที่ ‘อีอีซี’

วันที่ 5 ก.พ. 61 -- นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม และคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม รับฟังการบรรยายโครงการที่สำคัญในพื้นที่ ‘อีอีซี (EEC)’ ของแต่ละหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยมี นายณัฐ จับใจ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ พร้อมด้วย นายวรรณชัย บุตรทองดี ผู้อำนวยการกองวิศวกรรม ผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพด้านการพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาตราด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2561 ณ ห้องประชุมแขวงทางหลวงตราด สำนักงานทางหลวงที่ 14 กรมทางหลวง

โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกรมเจ้าท่าในเรื่องเกี่ยวกับการขุดลอกร่องน้ำบางปะกง ซึ่งรองอธิบดีกรมเจ้าท่าได้รายงานในที่ประชุมว่า ภาคเอกชนเสนอให้กรมเจ้าท่าดำเนินการขุดลอกร่องน้ำบางปะกงให้มีความลึก 11 เมตร ซึ่งกรมเจ้าท่าจะต้องดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในทุกมิติ รวมทั้งยังได้รายงานในประเด็นอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิ การขยายเส้นทางเดินเรือระหว่างบางปู จ.สมุทรปราการ ไปทำเทียบเรือแหลมทวด จ.สุราษฎร์ธานี และการบริหารท่าเทียบเรือเอนกประสงค์คลองใหญ่ จ.ตราด โดยเบื้องต้น กรมเจ้าท่าได้รับมอบอำนาจจากกรมธนารักษ์ เมื่อเดือน ธ.ค. 2560 ซึ่งกรมเจ้าท่าจะเร่งรัดดำเนินการต่อไป

หน่วยงานในสังกัดเสนอโครงการสำคัญในพื้นที่ ‘อีอีซี (EEC)’ ดังนี้
1.กรมทางหลวง สรุปความก้าวหน้าของแผนงานโครงการพัฒนาทางหลวงสำหรับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โครงการพัฒนาโครงข่ายทางหลวง จ.จันทบุรี โครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี เพื่อเชื่อมต่อถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนตะวันออก) โครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายชลบุรี-ตราด โครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายชลบุรี (ท่าเรือแหลมฉบัง-นครราชสีมา)

2.กรมทางหลวงชนบท สรุปการก่อสร้างถนนในพื้นที่เกาะช้าง จ.ตราด เพื่อเชื่อมการเดินทางระหว่างบ้านบางเบ้าและบ้านสลักเพชร ระยะทาง 9 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและการขอก่อสร้างในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งต้องทำ EIA และการขอผ่อนผันยกเว้นมติ ครม.

3.การรถไฟแห่งประเทศไทย เสนอโครงการขยายรถไฟรางคู่มายัง จ.ตราด โครงการปรับปรุงทางรถไฟท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 ท่าอากาศยาน และแนวคิดการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ในพื้นที่ ‘อีอีซี (EEC)’ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการขนส่งตู้สินค้า

4.กรมเจ้าท่า เสนอการพัฒนาเส้นทางเดินเรือเฟอร์รี่อ่าวไทยตอนบน การพัฒนาท่าเรือท่องเที่ยวพัทยา (เกาะล้าน) เนื่องจากท่าเรือมีความคับแคบ

5.กรมการขนส่งทางบก สรุปการดำเนินโครงการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ ‘อีอีซี (EEC)’ การเดินรถระหว่างประเทศ เส้นทางอรัญประเทศ-สระแก้ว รวมทั้งสถานีขนส่งในพื้นที่ จ.ตราด, สระแก้ว และปราจีนบุรี เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า เพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าจากการขนส่งสินค้าที่ไม่เต็มเที่ยว โดยนายอาคมมอบให้กรมการขนส่งทางบกศึกษาเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าข้ามชายแดนของด่านบ้านแหลมและด่านบ้านผักกาด จ.จันทบุรี เพิ่มเติมด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44529
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2018 8:02 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ พบผู้นำท้องถิ่นภาคตะวันออก ซื้อใจสารพัดโครงการ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 - 18:56 น.

วันนี้ (5 ก.พ.61) เวลา 15.55 น. ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พบผู้นำท้องถิ่นและผู้แทนประชาชนภาคส่วนต่างๆ ของภาคตะวันออก ซึ่งประกอบด้วย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกวุฒิสภา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน ผู้นำศาสนา ผู้นำกลุ่มสตรี นักอนุรักษ์ และนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในภาคตะวันออก โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เข้าร่วมด้วย

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับพบปะกับคณะผู้นำท้องถิ่นของภาคตะวันออก ว่า ในโอกาสที่วันนี้นายกรัฐมนตรีเดินทางมาพบกับผู้นำท้องถิ่นภาคตะวันออก ต้องขอขอบคุณผู้นำทุกคนที่ได้ช่วยกันคิดทำเพื่อให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย นายกรัฐมนตรีเข้ามาทำงานก็ตั้งใจเข้ามาวางพื้นฐานให้กับทุกคน สิ่งที่ทำให้เป็นปัญหาที่สุดคือความขัดแย้งระหว่างกัน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการเรื่องความปรองดองอยู่ แต่จะสั่งให้คนที่ขัดแย้งกันหยุดการขัดแย้งกันก็ทำไม่ได้ ขอให้อย่าคิดว่านายกฯ อยู่เพื่อสืบทอดอำนาจ ขอให้ทุกฝ่ายคุยกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อบ้านเมือง อยากให้มองว่าจะเดินหน้าประเทศอย่างไร วันนี้รัฐบาลได้เริ่มให้ทั้งหมดแล้ว และรัฐบาลสนับสนุนทุกพรรคการเมืองที่ทำเพื่อชาติบ้านเมือง รวมทั้งมีความจริงใจให้กับนักการเมืองเพราะเป็นคนไทยด้วยกัน ทั้งนี้ เรื่องใดที่เป็นปัญหาต้องแก้ไขขอให้บอกมายังรัฐบาล ผู้นำท้องถิ่นต้องทำตัวให้เป็นที่พึ่งของประชาชนในวันหน้า มีเรื่องใดขอให้คุยกัน ต้องทำให้ต่างชาติมีความเชื่อมั่นที่จะเข้ามาลงทุนในบ้านเรา และก็ต้องขอให้ทุกคนช่วยกันสานต่อสิ่งที่รัฐบาลได้ทำไว้ให้

จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้รับฟังข้อเสนอแนวทางการพัฒนาด้านต่างๆ จากผู้นำท้องถิ่นของภาคตะวันออก ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนภาคตะวันออก น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ความสมดุลเรื่องการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการจัดการขยะ การพัฒนาด้านการสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ ความชัดเจนในการกระจายอำนาจของส่วนท้องถิ่น การพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหานครทางผลไม้ เส้นทางรถไฟทางคู่ ถนนมอเตอร์เวย์ การสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง การแก้ไขปัญหาโฉนดที่ดิน การบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานเก่าแก่ที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี เป็นต้น

ภายหลังการรับฟังข้อเสนอ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การพบปะวันนี้คือการปรองดอง ทั้งหมดคือปัญหาที่ทับซ้อนมาเป็นเวลายาวนาน ประเทศไทยต้องบริหารด้วย Big Data ข้อมูลทุกอย่างต้องมาจากภาคประชาชน ต้องมีการบริหารจัดการโดยใช้ข้อมูลจริงจากพื้นที่ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการบริหารเรื่อง Big Data ทั้งนี้ ในการดำเนินการทุกเรื่อง อย่าทำให้ประชาชนรู้สึกว่าไม่ได้รับการดูแล ขณะที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศ ก็จะต้องดูแลคนไทยด้วย สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ของจังหวัดภาคตะวันออก ได้อยู่ในแผนงานโครงการของรัฐบาลที่จะดำเนินการอยู่แล้ว ขณะที่เรื่องน้ำ ระบบการคมนาคม จะวางระบบให้ใหม่ทั้งหมด โดยสิ่งที่ผู้นำท้องถิ่นและตัวแทนภาคประชาชนจังหวัดภาคตะวันออกเสนอมาวันนี้ นายกรัฐมนตรียินดีรับทั้งหมดไปพิจารณาเพื่อให้มาเชื่อมโยงกับงานของรัฐบาล ซึ่งต้องขอให้ทุกคนร่วมกันคิดร่วมกันทำให้มีกลไกความร่วมมือขึ้นมา ไม่มีอะไรที่แก้ปัญหาได้ 100% ในการทำงานของรัฐบาลจึงต้องมียุทธศาสตร์ชาติขึ้นมา ทั้งนี้ สำหรับปัญหาเรื่องระบบเปิด-ปิดทางเข้า-ออกมอเตอร์เวย์ สาย 7 ที่ไม่มีทางเข้า-ออกศรีราชา ทำให้การจราจรของรถที่จะไปท่าเรือแหลมฉบังมีปัญหาการจราจรติดขัดสะสม รวมทั้งส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการขนส่งทางเรือ ทางผู้นำท้องถิ่นเสนอให้มีจุดเข้าออกทางเปิด-ปิดเข้ามอเตอร์เวย์ เพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 2 จุด เพื่อช่วยเรื่องการคมนาคมนั้น นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมรับเรื่องไปพิจารณา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2018 10:21 am    Post subject: Reply with quote

เร่งเพิ่มมอเตอร์เวย์ 2 สาย-รถไฟทางคู่เชื่อมโครงข่ายหนุน EEC
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 6 กุมภาพันธ์ 2561 -07:56:00
ปรับปรุง: 6 กุมภาพันธ์ 2561 -09:55:00




คมนาคมกางแผนเชื่อมโครงข่ายขนส่งใน EEC ผุดมอเตอร์เวย์ 2 สาย “ชลบุรี-ตราด และชลบุรี-นครราชสีมา” ด้าน ทช.เสนอของบปี 62 ขยายถนน รย.2015 อำเภอปลวกแดง วงเงิน 916 ล้าน ด้าน ร.ฟ.ท.เร่งศึกษาแนวทางคู่ ช่วงศรีราชา-ระยอง และช่วงมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด วงเงินกว่า 4.8 หมื่นล้าน

...
สำหรับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นั้น ได้เสนอโครงการขยายรถไฟทางคู่มายังจังหวัดตราด โครงการปรับปรุงทางรถไฟท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 ท่าอากาศยาน และแนวคิดการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ในพื้นที่ EEC เพื่อเพิ่มสัดส่วนการขนส่งตู้สินค้า

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.มีแผนเส้นทางรถไฟที่เชื่อมพื้นที่ภาคตะวันออก ในแนวโครงการเส้นทางตะวันออก-ตะวันตกตอนล่าง (E-W Lower) จากกาญจนบุรี -ตราด โดยในพื้นที่ EEC มี 2 ช่วง คือ ศรีราชา-ระยอง ระยะทาง 70 กม. วงเงิน 13,357 ล้านบาท และช่วงมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทาง 197 กม. วงเงิน 34,649 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างเริ่มศึกษาความเหมาะสม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44529
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/02/2018 7:35 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ไฟเขียวโครงการบก-น้ำ-อากาศ 7.7 หมื่นล้าน รองรับอีอีซี
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 - 18:31 น.

เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จ.จันทบุรี นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมครม.ว่า ที่ประชุมรับทราบภาพรวมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ภาคตะวันออก ของกระทรวงคมนาคม โดยการพัฒนาด้านการขนส่งทางบกได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างถนนในพื้นที่ภาคตะวันออก วงเงินงบประมาณระหว่างปี 2557-2562 รวม 77,323.283 ล้านบาท ในการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 22 กิโลเมตร วงเงิน 20,200 ล้านบาท มีกำหนดเปิดใช้งานในปี 2563 การขยายช่องทางการจราจรทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3162 ทางเข้าท่าอากาศยานอู่ตะเภา-ท่าเรือจุกเสม็ด เพื่อลดความแออัดของการจราจร ทางหลวงหมายเลข 304 มีนบุรี-ฉะเชิงเทรา เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางจากกรุงเทพฯไปยังจ.ฉะเชิงเทรา และเส้นทางเลียบชายทะเลตะวันออก ชลบุรี-ระยอง จะมีการสร้างเส้นทางจักรยาน จุดพักรถ และจุดชมวิว รวมถึงพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวรอบเกาะช้าง ให้คงเหลือระยะทาง 3 กิโลเมตรสุดท้ายซึ่งเป็นพื้นที่ป่า

นอกจากนี้ ในระยะต่อไป กระทรวงคมนาคมมีแผนจะดำเนินโครงการต่างๆ เช่นในปี 2563-2566 จะก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 61 สายแหลมฉบัง-ปราจีนบุรี -นครราชสีมา เพื่อเชื่อมต่อทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน-นครราชสีมา-หนองคาย นอกจากนี้ยังมีแผนเพิ่มช่องทางจราจรแยกทางหลวงหมายเลข 3 (เขาไร่ยา)-เขาคิชณกูฏ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

นายณัฐพร กล่าวต่อว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อ 3 สนามบิน คือ ท่าอากาศยานดินเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา รวมระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงินงบประมาณ 236,700 ล้านบาท และจะมีการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ บริเวณมักกะสันและที่ดินรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ และยังมีแผนพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศจีนตอนล่าง เข้ากับท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือสัตหีบ และมีแผนรอบรับนิคมอุคสาหกรรม เชื่อมโยงโครงการรถไฟฟ้าทางคู่สายชุมทางศรีราชา-ระยอง มาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-ทองใหญ่ ระยะทางรวม 275 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 (งบกลาง)

การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) ดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ให้มีการรองรับการขยายตัวทางการค้า และรองรับปริมาณสินค้าที่ผ่านทางเรือให้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษา ทบทวนความเหมาะสม คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2568 นอกจากนี้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการซ่อมบำรุงอากาศยานระยะที่ 1 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา วงเงินงบประมาณ 10,300 ล้านบาท เพื่อนำร่องในอีอีซีในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน และเมืองการบินภาคตะวันออก ขณะนี้อยู่ระหว่างเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44529
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2018 7:43 am    Post subject: Reply with quote

ครม.เห็นชอบ แผนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งภาคตะวันออก 7.73 หมื่นล้าน
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 - 19:16 น.

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคระรัฐมนตรี นอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่ จ.จันทบุรี เห็นชอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งภาคตะวันออก ซึ่งกระทรวงคมนาคมรายงานว่าในระหว่างปี 2557-2561 มีการใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาโครงสร้างทางถนนในพื้นที่ภาคตะวันออกวงเงินรวม 7.73 หมื่นล้านบาท

โดยมีโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางพิเศษระหว่างเมืองสายพัทยา-มาบตาพุด วงเงินลงทุน 2.02 หมื่นล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จปี 2563 โครงการขยายช่องทางจราจร เช่น ทางหลวงแผ่นดินทางเข้าท่าอากาศยานอู่ตะเภา-ท่าเรือจุกเสม็ด และทางหลวงหมายเลข 304 มีนบุรี-ฉะเชิงเทรา ตอนที่ 2 เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางจากกทม. ไปยังฉะเชิงเทรา และโครงการเส้นทางเลียบถนนฝั่งตะวันออก ชลบุรี-ระยอง ซึ่งเหลือระยะทางก่อสร้างเพียง 3 ก.ม.สุดท้าย

ในระยะต่อไปกระทรวงคมนาคมมีแผนที่จะสร้างโครงการต่างๆ ในปี 2563-2566 โดยกรมทางหลวงดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 61 สายแหลมฉบัง-ปราจีนบุรี-นครราชสีมา เพื่อเชื่อมโยงกับเส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา-หนองคาย และเส้นทางอื่นๆ ที่จะเสนับสนุนการท่องเที่ยว

การพัฒนาระบบขนส่งทางราง โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ รวมระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 2.36 แสนล้านบาท ครอบคลุมการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์บริเวณมักกะสัน และที่ดินรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชา ในระยะต่อไปยังมีแผนที่จะสร้างระบบรางเป็นโครงข่ายรถไฟที่เชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV และจีนตอนล่าง ซึ่งทำให้แผนการพัฒนาระบบรางจะต้องมีการก่อสร้างรถไฟทางคู่จากอีอีซีมายังจันทบุรี และจ.ตราด ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่สายชุมทางศรีราชา-ระยอง และมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ ระยะทางรวม 275 กิโลเมตร ซึ่งจะมีการขอจัดสรรงบประมาณจากงบกลางฯตามความจำเป็นต่อไป

ส่วนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำ จะเน้นการพัฒนาโครงการท่าเรือ 4 ท่าสำคัญ ได้แก่ มาบาตาพุด ท่าเรือสัตหีบ ท่าเทียบเรือคลองใหญ่ จ.ตราด และท่าเรือแหลมฉบัง ให้มีความเหมาะสมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและรองรับการขนส่งในอนาคต

ส่วนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางอากาศ โดยกระทรวงคมนาคมขอให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานระยะที่ 1 มูลค่า 10,300 ล้านบาท เป็นโครงการนำร่องในอีอีซี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนที่จะมาลงทุนโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกต่อไป

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ รับทราบข้อเสนอของภาคเอกชนที่เสนอให้รัฐบาลสนับสนุนโครงการต่างๆตามที่ภาคเอกชนจ.จันทบุรี-จ.ตราด เสนอ ได้แก่ โครงข่ายถนน เช่น การศึกษาออกแบบก่อสร้างถนน จำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเฉลิมบูรพาชลทิศ (อู่ตะเภา-ชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี) เพื่อการท่องเที่ยว เส้นทางเลียบชายทะเล จ.ชลบุรี ส่วนต่อขยาย (เชื่อมต่อบูรพาวิถี-บางทราย) เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และส่งเสริมการท่องเที่ยว เส้นทางสาย ค1 ผังเมืองรวมเมืองบ้านบึง เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร เส้นทางเชื่อมขุนด่านปราการชล ช่วงแยกศรีนาวา-หินตั้ง จ.นครนายก เพื่อการท่องเที่ยว และ เส้นทางตัดใหม่จากแยก 3259-จุดผ่อนปรนบ้านเขาดิน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว

ส่วนที่ 2 ขอรับการสนับสนุนการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เส้นทางโดยการเพิ่มช่องทางจราจรรองรับการพัฒนา จำนวน 6 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเขาไร่ยา-แพร่งขาหยั่ง จ.จันทบุรี เพื่อสนับสนุนการขนส่งและการท่องเที่ยวเขาคิชกูฏ เส้นทางบ้านป่าวิไล-ด่านชายแดนบ้านแหลม จ.จันทบุรี เพื่อรองรับการค้าชายแดน เส้นทางนครนายก-บางหอย-บ้านสร้าง-พนมสารคาม เพื่อสนับสนุนการขนส่ง เส้นทางคลองหลวงแพ่ง-ปราจีนบุรี เชื่อมจ.จันทบุรีและจ.ปราจีนบุรี เพื่อสนับสนุนการขนส่งและอุตนหากรรม เส้นทางปราจีนบุรี-ศรีมหาโพธิ เพื่อสนับสนุนการขนส่งและอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี และ เส้นทางบางบุตร-ชุมแสง จ.ระยอง เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงจังหวัดระยองกับพื้นที่ EEci ใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง

และในส่วนระบบขนส่งสาธารณะ ขอให้มีการศึกษาออกแบบรถไฟทางคู่สายระยอง-จันทบุรี-ตราด เพื่อเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง เพิ่มเส้นทางรถไฟโดยสารด่วนพิเศษ (sprinter) สายกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และให้มีการศึกษาเพื่อจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนเพื่อเชื่อมโยงสถานีรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง กับแหล่งท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และแหล่งชุมชน ในพื้นที่เมืองพัทยา ศรีราชา และแหลมฉบัง เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44529
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2018 10:51 am    Post subject: Reply with quote

ครม.สัญจรรับทราบแผนคมนาคม อัดงบลงทุน EEC ต่อเนื่องถึงปี 66
เผยแพร่: 6 ก.พ. 2561 19:46:00 ปรับปรุง: 7 ก.พ. 2561 09:12:00 โดย: MGR Online

ครม.สัญจรรับทราบแผนลงทุนโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่ EEC ต่อเนื่องถึงปี 2566 ทั้งถนน มอเตอร์เวย์ รถไฟ ท่าเรือ และสนามบิน ศูนย์ซ่อม MRO ปั้นเป็นเมืองการบินในภูมิภาค “สมคิด” เร่งประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน 2.3 แสนล้าน ส่วนแหลมฉบังขั้นที่ 3 คาดเปิดให้บริการในปี 2568

รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 1/2561 วันที่ 6 ก.พ. ที่มี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีมติรับทราบภาพรวมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งภาคตะวันออก (EEC) ของกระทรวงคมนาคม ตามที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบแผน และคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ได้เห็นชอบไปเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2561

โดยแบ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงโครงข่ายถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ช่วงปี 2557-2561 วงเงินรวม 77,323.783. ล้านบาท เช่น มอเตอร์เวย์ สายพัทยา-มาบตาพุด ซึ่งจะเปิดใช้ในปี 2563, การขยาย 4 ช่องจราจร ทางหลวง3126 สนามบินอู่ตะเภา-ท่าเรือจุกเสม็ด, ขยาย 6 ช่องจราจร ทางหลวง 304 มีนบุรี-ฉะเชิงเทราตอน 2, ถนนเลียบชายทะเลตะวันออกพร้อมทางจักรยาน เป็นเส้นทางคมนาคมและท่องเที่ยว

ทั้งนี้ ในปี 2563-2566 มีแผนขยายมอเตอร์เวย์ สายแหลมฉบัง-ปราจีนบุรี-นครราชสีมา เพื่อเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา-หนองคาย อีกด้วย

ด้านการพัฒนาระบบราง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีแผนดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่าโครงการ 236,700 ล้านบาท และมีการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์บริเวณมักกะสัน 145 ไร่ และที่ดินรอบสถานีศรีราชา 30 ไร่ โดยที่ประชุม กนศ.ได้รับทราบกรอบหลักการร่วมลงทุนกับเอกชนแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาให้ความเห็นรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ ก่อนนำเสนอ กนศ.ต่อไป

ส่วนระยะต่อไปจะมีการเชื่อมโยงรถไฟต่อกับประเทศเพื่อนบ้านกลุ่ม CLMV และตอนล่างเข้ากับ 3 ท่าเรือ คือ แหลมฉบัง มาบตาพุด และสัตหีบ และแผนโครงการรองรับนิคมอุตสาหกรรมเชื่อมโยงภูมิภาค เช่น รถไฟทางคู่ศรีราชา-ระยอง และช่วงมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ ระยะทางรวม 275 กม. วงเงินประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ซึ่ง ร.ฟ.ท.เตรียมเสนอคมนาคมของบกลางปี 2561 เพื่อศึกษาความเหมาะสม

นอกจากนี้ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ยังอยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาทบทวนความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568 ส่วนบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ระยะที่ 1 ที่สนามบินอู่ตะเภา มูลค่าประมาณ 10,300 ล้านบาทเป็นโครงการนำร่องใน EEC ขยายขีดความสามารถขยายฐานลูกค้า พัฒนาอุตสาหกรรมการบินและเป็นเมืองการบิน และใช้การเชิญชวนเอกชนแบบไม่ประมูล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44529
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2018 8:38 pm    Post subject: Reply with quote

รายงานพิเศษสายเศรษฐกิจ : โครงข่ายคมนาคมขนส่งเพื่อการพัฒนาประเทศ
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 7 ก.พ. 2561

รัฐบาลได้วางทิศทางในการพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระหว่างปี 2560-2579 ในส่วนของทิศทางและแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระยะ 20 ปี ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบูรณาการระบบคมนาคมขนส่ง เช่น การพัฒนาระบบรางเชื่อมต่อ ท่าอากาศยานและท่าเรือ การบริหารจัดการเส้นทางเดินรถประจำทาง ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริการของภาคคมนาคมขนส่ง เช่น ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า จุดพักรถบรรทุก สถานีขนส่งผู้โดยสาร การปรับปรุงพัฒนาโครงข่ายและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินเท้า การขี่จักรยาน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนา ปรับปรุงกฎหมายและปฏิรูปองค์กร เช่น การจัดตั้งกรมราง การปรับปรุงกฎหมายด้านการเดินอากาศ การแยกบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานนโยบายและกำกับดูแล ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาบุคลากร เช่น การพัฒนาบุคลากรด้านการบินพาณิชย์นาวี การฝึกอบรมบุคลากรด้านขนส่ง และยุทธศาสตร์ที่ 5 การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง และจาก 5 ยุธศาสตร์กระทรวงคมนาคมได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะ นอกจากนี้ยังมีแผนงานโครงการสำคัญต่างๆ ตามนโยบาย Thailand 4.0 เช่น โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC เช่นการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และการจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 โครงการก่อสร้างรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน (อู่ตะเภา สุวรรณภูมิ ดอนเมือง) โครงการรถไฟทางคู่ ทางหลวงสายใหม่ และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์

ล่าสุดนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำในการพัฒนาระบบขนส่งทางราง โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เร่งปรับโครงสร้างองค์กร เตรียมพร้อมด้านบุคลากรอัตรากำลังให้สอดคล้องกับแผนงานและโครงการที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคตที่มีเส้นทางใหม่เพิ่ม ถือเป็นมิติใหม่ของการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย

(การพัฒนาเส้นทางรถไฟนั้นต้องพิจารณาการเชื่อมโครงข่ายภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน จะมีทั้งรถไฟทางคู่ระยะ 2, รถไฟทางคู่สายใหม่, รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง และรถไฟเชื่อมโยง 3 สนามบิน ซึ่งได้ให้เพิ่มเติมรถไฟเชื่อมเมืองหลักกับเมืองรองเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ เน้นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และเชื่อมความเจริญสู่ชนบทและท้องถิ่น )

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เป็นระยะเวลากว่า 120 ปี ที่มีการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟครั้งใหญ่ ซึ่งตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายนนี้ กระทรวงคมนาคม จะทยอยนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขออนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะ 2 และรถไฟทางคู่สายใหม่รวม 9 เส้นทาง ที่อยู่ในแผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วน หรือ Action Plan ระยะทางรวม 2,174 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 427,012 ล้านบาท รวมถึงรถไฟเชื่อมต่อระหว่างจังหวัด และเชื่อมเมืองหลักไปยังเมืองรองเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

สำหรับการดำเนินงานตามแผน Action Plan จำนวน 20โครงการ วงเงินลงทุนกว่า 1,383,938 ล้านบาท ขณะนี้มีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างรวม 13 โครงการ เช่น โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ช่วงนครปฐม-หัวหิน และช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ มีลงนามในสัญญาครบแล้ว เมื่อปลายปี 2560 รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น คืบหน้าร้อยละ 47.87 โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง A ที่ท่าเรือแหลมฉบัง คืบหน้าร้อยละ 99.14 โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายพัทยา-มาบตาพุด คืบหน้าร้อยละ 65.60 สายบางปะอิน-นครราชสีมาคืบหน้าร้อยละ 24.87 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี งานโยธา คืบหน้าร้อยละ 4.66 เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2018 10:48 am    Post subject: Reply with quote

"คมนาคม" ลั่นโครงสร้างพื้นฐานอีอีซีกระตุ้นรายได้ท่องเที่ยวโต
ศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 17.20 น.

คมนาคมลั่นโครงสร้างพื้นฐานอีอีซี กระตุ้นรายได้ท่องเที่ยวโต 180% เล็งใช้โมเดลญี่ปุ่นพัฒนาเมืองหลวง-เมืองท่าดันโลจิสติกส์ประเทศ เผยตั้งเป้าลงนามสัญญารถไฟฟ้า 2.7 แสนล้านบาทภายในปีนี้


นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยภายในงานสัมมนาสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ว่า การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี) นั้นจะเป็นโมเดลการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจไปพร้อมกันเพื่อส่งเสริมให้นำรูปแบบไปพัฒนาในพื้นที่อื่นต่อไป ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างวางระบบขนส่งให้กับพื้นที่อีอีซีทั้งโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โครงการรถไฟทางคู่ โครงการมอเตอร์เวย์ โครงการสนามบินอู่ตะเภาตลอดจนโครงการพัฒนาท่าเรือขนาดใหญ่เพื่อรองรับการต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมขั้นสูงและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ตามนโยบายการขนส่งไร้รอยต่อ (One Seamless Transport ) ถ้าหากสามารถดำเนินการพัฒนาดังกล่าวได้ตามแผนที่กำหนดไว้จะส่งผลให้ตลาดการท่องเที่ยวอีอีซีเติบโตอย่างรวดเร็ว

นายไพรินทร์ กล่าวต่อว่า คาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวในพื้นที่อีอีซีจะเพิ่มขึ้น 1.8 เท่าหรือ 180% เมื่อเทียบกับปัจจุบัน ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวจะเติบโตเช่นกันที่ 1.5 เท่าหรือ 150% อย่างไรก็ตามสำหรับแนวคิดการพัฒนาอีอีซีนั้นตั้งใจว่าจะวางระบบขนส่งไปเพื่อสร้างเมืองใหม่ตามเส้นทางกรุงเทพ-อีอีซี ใช้โมเดลคล้ายกับประเทศญี่ปุ่นที่ตั้งศูนย์กลางเศรษฐกิจและการค้าไว้ในเมืองโตเกียว ควบคู่ไปกับพัฒนาระบบขนส่งทั้งรถไฟไฮสปีดและมอเตอร์เวย์ไปยังเมืองชายฝั่งอย่างโยโกฮาม่าเพื่อใช้เป็นเมืองหลักในการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์รวมถึงรองรับอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมขั้นสูงของประเทศ ทั้งนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนั้นจะไม่หยุดอยู่แค่พื้นที่อีอีซี ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างก่อสร้างมอเตอร์เวย์จากอีอีซีไปเชื่อมหัวเมืองใหญ่อีก 2 แห่งอีก ได้แก่ จ.ปราจีนบุรีและ จ.นครราชสีมา



นายไพรินทร์ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอีอีซีวงเงินมากกว่า 3.55 แสนล้านบาทนั้นกระทรวงคมนาคมตั้งเป้าจะเปิดประมูลช่วงไตรมาสที่ 2-3 และได้ตัวเอกชนภายในปีนี้ อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินช่วงกรุงเทพ-ระยองเชื่อมสามสนามบิน วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 วงเงิน 1.41 แสนล้านบาท แบ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐาน 5.7 หมื่นล้านบาท และการบริหารจัดการท่าเรือ 8.4 หมื่นล้านบาท รถไฟทางคู่เชื่อมสามท่าเรือ โครงการพัฒนาถนนทางหลวงและทางหลวงชนบท ตลอดจนโรงการพัฒนาท่าสนามบินเป็นต้น ขณะที่โครงการเชื่อมต่อเมืองหลวงอย่างรถไฟฟ้า10 สายนั้น กระทรวงคมนาคมตั้งเป้าให้สามารถลงนามสัญญาเอกชนในโครงการที่อยู่ระหว่างประกวดราคาเพื่อเดินหน้าก่อสร้างให้ได้ทุกสายภายในปีนี้ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 1.01 แสนล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน ระยะทาง 16.4 กม.วงเงิน 1.23 แสนล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กม. วงเงิน 2.1 หมื่นล้านบาท รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงเหนือ-ใต้ วงเงินรวม 2.5 หมื่นล้านบาท

นายไพรินทร์ กล่าวด้วยว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตทั้งรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั้นควรใช้รูปแบบพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development หรือ TOD) เข้ามาใช้ในอนาคตด้วยตามรูปแบบของเมืองชั้นนำด้านการขนส่งอย่างประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ซึ่งตนมองว่าประเทศไทยควรส่งเสริมการใช้พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดิน (พ.ร.บ.) เข้ามาทดแทนการใช้พรบ.เวนคืนพื้นที่เพื่อส่งเสริมให้คนท้องถิ่นและการกระจายเม็ดเงินมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากที่ผ่านมาการเวนคืนพื้นที่นั้นจะไม่สามารถพัฒนากิจกรรมเชิงพาณิชย์ได้ส่งผลให้ผลประโยชน์ของคนในพื้นที่ไม่เท่าเทียมกัน กล่าวคือผู้ถูกเวนคืนพื้นที่เสียประโยชน์ ขณะที่ผู้ไม่ถูกเวนนั้นราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ดังนั้นหากนำโมเดล TOD มาใช้จะส่งผลให้มีการตกลงระหว่างภาครัฐบาลและท้องถิ่นเพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามแนวเส้นทาง ไม่แตกต่างจากประเทศญี่ปุ่นที่มีย่านธุรกิจการค้า ที่อยู่อาศัยและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ตามสถานีไฟความเร็วสูงโดยมีเงื่อนไขพิเศษให้สำหรับผู้ถูกเวนคืนพื้นที่ จึงทำให้ประชาชนได้ประโยชน์มากกว่าการถูกเวนคืนพื้นที่แล้วจ่ายผลตอบแทนในราคาต่ำที่สุดตามกฎหมาย นอกจากนี้พรบ.การจัดรูปที่ดินดังกล่าวยังเอื้อให้พัฒนาโครงการได้รวดเร็วขึ้นตามเงื่อนไขที่ระบุว่า หากรัฐบาลเวนคืนพื้นที่ได้ 2 ใน 3 ของทั้งหมดแล้วพื้นที่เหลือนั้นต้องถูกเวนคืนพื้นที่ไปด้วยโดยเงื่อนไข
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44529
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/02/2018 12:56 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งจัดหาหินรับลงทุนอีอีซี
กรุงเทพธุรกิจ 12 ก.พ. 61 นโยบายเศรษฐกิจ

กพร. มั่นใจ จัดหาวัตถุดิบก่อสร้างรับเมกะโปรเจค – อีอีซี เพียงพอ ในระยะ 20 ปี พร้อมเดินหน้ารีไซเคิลขยะ – กากอุตสาหกรรม ผลิตแร่มูลค่าสูง แร่หายาก รองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เปิดเผยถึงแนวทางการจัดหาวัตถุดิบเพื่อรองรับโครงการก่อสร้างพื้นฐานของรัฐบาลและอุตสาหกรรมเป้าหมาย ว่า ในส่วนของการเตรียมวัตถุดิบเพื่อรองรับโครงการเมกะโปรเจค กพร. จะเน้นในหินก่อสร้างเป็นหลัก โดยในส่วนของโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 8 โครงการ ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เช่น โครงการลงทุนมอเตอร์เวย์ไปยังมาบตาพุด รถไฟความเร็งสูงเชื่อมโยง 3 สนามบิน รถไฟฟ้า และท่าเรือแหลมฉบัง และมาบตาพุด ได้เตรียมแหล่งหินก่อสร้างไว้แล้ว 24 แหล่ง 8 พันไร่ มีปริมาณสำรอง 414 ล้านตัน รองรับการเติบโตของ อีอีซี ได้ไม่ต่ำกว่า 20 ปี

ส่วนโครงการรถไฟรางคู่สาย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ รถไฟรางคู่สายใหม่ 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 688 กิโลเมตร สายที่ 1 บ้านไผ่ – นครพนม 347 กิโลเมตร จะใช้หิน 5.72 ล้านตัน สายที่ 2 เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 326 กิโลเมตร ใช้หิน 5.38 ล้านตัน และสายที่ 3 บ้านภาชี-อ.นครหลวง 15 กิโลเมตร ใช้หิน 2.5 แสนตัน ส่วนรถไฟรางคู่เดิมที่สร้างรางเพิ่ม 1 ราง มี 11 เส้นทาง รวม 2,161 กิโลมตร ใช้หินรวม 19.91 ล้านตัน

โดยโครงการเหล่านี้ กพร. ได้เตรียมแหล่งเหมืองหินรองรับไว้หมดแล้ว โดยเป็นเหมืองหิน 343 แปลง มีปริมาณหิน 3 พันล้านตัน ใน 56 จังหวัด รองรับการก่อสร้างได้อีก 20 ปี และมีเหมืองหินปู่อีก 172 แปลง มีปริมาณ 4,045 ล้านตัน รองรับการก่อสร้างได้อีก 30 ปี

อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟความเร็วสูง และรถไฟรางคู่ในภาคอีสาน อาจจะมีมีปัญหาในเรื่องแหล่งวัตถุดิบอยู่บ้างในพื้นที่อีสานเหนือ เพราะไม่มีแหล่งหินแกรนนิต และหินบะซอล ที่ต้องใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งขณะนี้จะเร่งพิจารณาคำขอการเปิดเหมืองหิน เพื่อรองรับกับโครงการดังกล่าว

ส่วนการจัดหาแร่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้ผลักดันนโยบายการรีไซเคิลเพื่อนำแร่อุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ โดยการนำกากอุตสาหกรรมจากโรงงาน และขยะชุมชน มารีไซเคิล เพื่อสกัดกลุ่มขยะอิเล็กทรอนิกส์ นำแร่ที่สำคัญกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีขยะหรือของเสียเกิดขึ้นเฉลี่ย 50 ล้านตันต่อปี เป็นของเสียครัวเรือน 25-26 ล้านตันต่อปี โดยมีสัดส่วนการใช้ประโยชน์ในประเทศเฉลี่ยเพียง 18-20% และของเสียอุตสาหกรรม 25-30 ล้านตันต่อปี โดยมีสัดส่วนการใช้ประโยชน์ในประเทศเฉลี่ย 70-75% ซึ่งหากสามารถเพิ่มอัตราการใช้ประโยชน์ของเสียครัวเรือนและอุตสาหกรรมได้อีก 10% และเร่งพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล ก็จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้กว่า1 หมื่นล้านบาทต่อปี

กพร. คาดว่าจะสามารถเพิ่มการรีไซเคิลขยะครัวเรือน และอุตสาหกรรมได้ 10% จะใช้เวลาประมาณ 5 ปี โดยในช่วงแรกจะเน้นการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ก่อน เพื่อรีไซเคิลแร่ที่มีราคาสูง เช่น ทองคำ เงิน นิคเกิล โครเมียม ก่อน เนื่องจากมีราคาสูง ถึงจุดคุ้มทุนได้เร็ว ทำให้ดึงดูดผู้ประกอบการใหม่เข้ามาลงทุนได้ง่าย

ทั้งนี้ จากการติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจากผู้ประกอบการที่ได้รับการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีรีไซเคิลจาก กพร. พบว่า ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในการรีไซเคิลของเสียเป้าหมาย 100–130 ล้านบาทต่อปี ซึ่งปัจจุบัน กพร. มีเทคโนโลยีรีไซเคิลขยะหรือของเสีย รวม 69 ชนิด โดย 39 ชนิด ได้พัฒนาเป็นเทคโนโลยีรีไซเคิลต้นแบบของ กพร. ซึ่งมีศักยภาพในการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

โดยภายในเดือนส.ค.นี้ กพร. จะเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลของรัฐแห่งแรกของประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ และขยายผลไปสู่โรงงานต้นแบบ เพื่อผลักดันนวัตกรรมและเทคโนโลยีรีไซเคิลสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งเป็นต้นแบบให้ผู้ประกอบการได้ศึกษาเรียนรู้กระบวนการรีไซเคิล ซึ่งจะฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีรีไซเคิลให้แก่ผู้ประกอบการได้ไม่น้อยกว่า 200 รายต่อปี

นอกจากนี้ จะเน้นในเรื่องการสกัดแร่หายาก เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมไฮเทค โดยเบื้องต้น จะเน้นพัฒนาเทคโนโลยีการสกัดแร่ลิเทียม จากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ เพื่อนำลิเทียมที่สกัดได้มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญ รวมทั้งการสกัดแร่นีโอดีเมียม ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กแรงสูง เพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูงต่างๆ โดยการนำกากอุตสาหกรรมโรงงานผลิตแม่เหล็กมาสกัดให้ได้แร่นีโอดิเมียมบริสุทธิ์ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44529
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/02/2018 7:31 am    Post subject: Reply with quote

แจงบิ๊กตู่สั่งศึกษาโครงการรถไฟทางคู่ไปจันทบุรี-ตราดไม่ใช่ความเร็วสูง
โพสต์ทูเดย์ 12 ก.พ. 61

"กอบศักดิ์" แจงนายกฯ สั่ง ร.ฟ.ม. ศึกษาโครงการรถไฟทางคู่ไปจันทบุรี-ตราด ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูง

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีที่มีกระแสข่าวในสื่อว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(กนศ.) เมื่อวันที่ 1 ก.พ. มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท) ศึกษาโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ ระยอง เชื่อมต่อสนามบินนานาชาติ 3 แห่ง ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ต่อไปอีก 173 กม. ไปถึงจ.จันทบุรีและจ.ตราดนั้น ได้อยู่ในที่ประชุมด้วยนายกรัฐมนตรีไม่ได้มีการสั่งการเรื่องนี้ แต่สั่งการให้ศึกษาโครงการรถไฟทางคู่เพื่อเข้าไปยัง 2 จังหวัดดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้เป็นเส้นทางการท่องเที่ยว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามกระแสข่าวที่ออกมานั้นระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ ร.ฟ.ท. ไปศึกษาและจะจัดงบประมาณให้ 200 ล้านบาทเพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และผลตอบแทนทางการเงิน

สำหรับโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองนั้น มีระยะทาง 220 กม. มีทั้งหมด 9 สถานี วงเงินลงทุนประมาณ 2.36 แสนล้านบาท  ซึ่งล่าสุดนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าร่างทีโออาร์โครงการนี้จะแล้วเสร็จ เข้าที่ประชุม ครม . ในเดือน มี.ค. และได้ผู้ชนะการประมูลเพื่อเข้าร่วมลงทุนกับรัฐ(พีพีพี) ในเดือน ก.ย. 2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 91, 92, 93 ... 121, 122, 123  Next
Page 92 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©