RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181220
ทั้งหมด:13492455
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 94, 95, 96 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2018 11:43 pm    Post subject: Reply with quote

ส่วนต่อขยายรถไฟทางคู่ภาคตะวันออก
ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์เมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561
ตีพิมพ์ในปีที่ 38 ฉบับที่ 3,349 วันที่ 18-21 มีนาคม พ.ศ. 2561 หน้า 12

เงินลงทุนรวม 171,380 ล้านบาท เริ่มศึกษาโครงการปี 2560 ก่อสร้างปี 2562-2563 ได้แก่

1. ระยะเร่งด่วน: เชื่อมสามท่าเรือ
1.1 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพทางรถไฟช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา 125 กม. วงเงิน 8,000 ล้านบาท - track rehab รางเก่าหรือเปล่า เพราะ มี ตั้งสามรางแล้ว หรือไม่ก็ราง 4 เพื่อ เตรียมการติดระบบรถไฟฟ้า ในอนาคต -

1.2 เดินรถไฟขนสินค้าไทย-กัมพูชา และก่อสร้างอาคารสถานี และ CY ที่ กม. 259+000 ต.คลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว วงเงิน 3,000 ล้านบาท

1.3 รถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด และ เขาชีจรรย์ - ท่าเรือสัตหีบ ระยะทางรวม 70 กม. วงเงิน 15,400 ล้านบาท

1.4 ก่อสร้าง ICD แก่งคอย เป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้านำเข้า-ส่งออกไปภาคอีสานและ สปป.ลาว วงเงิน 10,000 ล้านบาท,

2. ระยะ กลาง - รับรองนิคมอุตสาหกรรม
2.1.ๅ รถไฟทางคู่ช่วงศรีราชา-ระยอง 79 กม. โดยผ่านทางหนองยายบู่ หนองค้อ ทางหลวง 331 หนองขาม, นิคมอุตสาหกรรมเหมราช ทางต่างระดับพันเสด็จนอก เขาคันทรง ทางหลวง 3027 นิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน บ้านสุรศักดิ์ ทางหลวง 3574 เทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยา หนองค้างคาว มาบกระโดน, อบต. ตาสิทธิ์, บ้านเขาน้อย ปลวกแดง วัดปากแพรก หนองกรับ นิคมอุตสาหกรรม โรจนะที่บ้านค่าย เทศบาลบ้านค่าย - แยกเกาะกลอย - สถานีระยองน่าจะอยู่แถว ไออาร์พีซี

2.1.2 ช่วงระยอง-มาบตาพุด 22 กม. วงเงิน 22,220 ล้านบาท, จากมาบตาพุด ไปตามทางหลวง
363 ตำบลเนินพระ ทางหลวง 364 วัดทับมา ทางหลวง 36 ตลาดน้ำเกาะกลอย สถานีระยองน่าจะอยู่แถว ไออาร์พีซี


2.2 รถไฟทางเดี่ยวช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด 150 กม. วงเงิน 22,500 ล้านบาท งานนี้่ ไปตามถนนสุขุมวิท จนถึงเมืองตราด

3. ระยะต่อไป:เชื่อมโยงภูมิภาค
3.1 รถไฟทางคู่ช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด - คลองใหญ่ 188 กม. วงเงิน 18,860 ล้านบาท และ ทาง เชื่อมไปชายแดนกัมพูชา แต่ แย่หน่อยที่ จากแผนที่ ทางรถไฟจากออกชายแดนที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พนมสามโก (Phnum Samkoh Wildlife Sanctuary - តំបន់អភិរក្ស ភ្នំសំកុះ) รอยต่อแดนระหว่าง พระตะบองกะเกาะกง แทนที่จะเป็นบ้านหาดเล็ก คงเพราะบ้านหาดเล็กที่น้อยเกินไป ทั้งยังล่อแหลมต่อการโดนจู่โจมได้ง่าย - ถ้าไปออกทางบ้านผักกาดหรือโป่งน้ำร้อน ชาวตราดก็อด หรือถถ้าไม่อดก็ต้องทำทางอ้อมโลกที่ด่านฝั่งจันทบุรี - แต่ จะให้ดี ถ้าใครมีแผนที่ตามแผนก็เอาให้ดูหน่อย จะเได้วิเคราะห์ถูกต้อง

3.2 รถไฟทางคู่ช่วงคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ 174 กม. วงเงิน 26,100 ล้านบาท,
3.3 รถไฟทางคู่ช่วงท่าแฉลบ-พานทอง 120 กม. วงเงิน 40,800 ล้านบาท - งานนี้จะสะพานทีปากน้ำบางปะกง ปากน้ำเจ้าพระยา และ ปากน้ำท่าจีนกันอย่างไงดี สะพาน แบบสะพานข้ามแม่น้ำคง หรือสะพานแขวนก็เหมาะนะ นี่ยังไม่นับการเชื่อมทางรถไฟ สายมหาชัยด้วยอีกนะ
3.4 โครงการ ICD หนองปลาดุก วงเงิน 4,500 ล้านบาท

นี่คิดที่ 120 - 150 ล้านบาทต่อกิโลเมตร นะครับ


Last edited by Wisarut on 20/03/2018 4:14 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/03/2018 12:58 pm    Post subject: Reply with quote

สั่งศึกษารถไฟเร็วสูงกทม.-หัวหินไปถึงสุราษฎร์ ลั่นไฮสปีดแม่สอด-มุกดาหาร
กรุงเทพธุรกิจ 19 มีนาคม 2561 273

"สมคิด" สั่งคมนาคมศึกษารถไฟความเร็วสูงกทม-หัวหิน ไปถึงสุราษฎร์ธานี เพิ่มศักยภาพด้านท่องเที่ยว ลั่นไทยพร้อมลงทุนไฮสปีดแม่สอด - มุกดาหาร ชี้ศักยภาพสูง สั่งเร่งลงทุนเมกะโปรเจ็กต์เสริมศักยภาพเศรษฐกิจแสนล้านบาท

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวในระหว่างการปาฐกถาพิเศษ งานสัมมนา Thailand Taking off to New Heights จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ว่าได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมศึกษาเพิ่มเติมในการขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ - หัวหิน ที่ใกล้จะจัดทำร่างทีโออาร์แล้วเสร็จในช่วงแรกให้ไปถึงสุราษฎร์ธานี เพื่อให้รถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้สามารถใช้ประโยชน์ในการท่องเที่ยวและสร้างการเชื่อมโยงกับโครงการไทยแลนด์ริเวร่าหรือถนนเรียบชายฝั่งทะเลที่ได้จัดสรรงบประมาณไว้รองรับแล้วกว่าแสนล้านบาท

นอกจากนั้น ได้เร่งรัดให้มีการศึกษารถไฟความเร็วสูงเส้นทางแม่สอด จ.ตาก - จ.มุกดาหาร ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญที่จะเชื่อต่อไปถึงเวียดนามได้ในอนาคตและเส้นทางนี้จะเปิดพื้นที่ใหม่ๆได้อีกมาก ซึ่งโครงการนี้อยากให้ต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนแต่หากไม่มีใครสนใจมาลงทุนประเทศไทยก็พร้อมลงทุนเองเนื่องจากเป็นเส้นทางที่มีศักยภาพสูง

สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือ Mega projects ที่จะเร่งรัด ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 10เส้นทาง ระยะทางรวม 464 กิโลเมตร ซึ่งเหลือโครงการที่กำลังจะเปิดประมูลอีก 9 ช่วงตอนวงเงินรวมเกือบ 4 แสนล้านบาท

โครงการรถไฟฟ้าในต่างจังหวัด รวม 4 จังหวัด มูลค่ากว่าแสนหกหมื่นล้านบาทที่จะเริ่มต้นในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้ และโครงการรถไฟทางคู่ ซึ่งมีโครงการที่กำลังจะประมูลอีก 10สายทาง เชื่อมโยงการขงส่งทั้งภาคเหนือ กลาง อีสานและใต้ วงเงินรวมประมาณ 280,000 ล้านบาท

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภูมิภาคที่เริ่มต้นก่อสร้างแล้ว คือ รถไฟความร่วมมือไทยจีน กรุงเทพ-หนองคาย-ท่าอากาศยาน ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะ 3 โครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ 2 และท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 ตลอดจนการพัฒนาสนามบินขนาดเล็กลงมาในจังหวัดในภูมิภาคที่โครงการขนส่งทางอากาศเพื่อรองรับการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้าทางอากาศของประเทศ ทั้งหมดนี้มีการศึกษาและผมได้กำชับให้เริ่มลงทุนโดยเร็ว

และโครงการลงทุนด้านพลังงาน ทั้งการสำรวจแหล่งพลังงาน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแก๊ซธรรมชาติ โครงการลงทุนในโครงข่ายในระบบท่อส่งแก๊ซธรรมชาติ โครงการส่งเสริมพลังงานทดแทน ทั้งหมดนี้ในช่วงระยะเวลา 2560-2564 มูลค่าการลงทุนกว่า 1 ล้านๆบาท ในขณะที่ได้จัดเตรียมโครงการลงทุนด้านไฟฟ้าในช่วงปี 2561-65 ในวงเงินรวมกว่า 7 แสนล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/03/2018 1:38 pm    Post subject: Reply with quote

ถ่ายทอดสด การสัมมนา และปาฐกถาพิเศษ เดินหน้าอย่างมุ่งมั่นสู่ไทยแลนด์ 4.0 ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อิมแพค เมืองทองธานี
นาทีที่ 50 ระบบราง

Arrow https://www.facebook.com/LiveNBT2HD/videos/2040385882950087/?t=3110

ชั่วโมงที่ 1:30 เป็นช่วงของ รมช.คมนาคม (ไพรินทร์ ชูโชติถาวร) ครับ
Arrow
https://www.facebook.com/LiveNBT2HD/videos/2040385882950087/?t=5396


Last edited by Mongwin on 19/03/2018 4:41 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 19/03/2018 3:25 pm    Post subject: Reply with quote

ประมูล 6 แสนล้าน! ลงพื้นที่ 'อีอีซี' ปีนี้
ออนไลน์เมื่อ มีนาคม 2561
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,349
วันที่ 18-21 มีนาคม 2561 หน้า 15

ความคืบหน้าลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่รัฐบาลเร่งขับเคลื่อน กำลังเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมครบทุกโหมด ทั้งทางน้ำ ทางบก ระบบราง และทางอากาศ


ทั้งนี้ องค์ประกอบสำคัญที่ภาครัฐได้วางไว้ 5 โครงการใหญ่ ประกอบด้วย 1.รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, 2.สนามบินอู่ตะเภา 3.ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO), 4.ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ซึ่งโครงการทั้งหมดมีมูลค่ารวมกันราว 5.71 แสนล้านบาท และทุกโครงการจะเป็นการร่วมลงทุนภาครัฐ (พีพีพี) ตามแผนดำเนินการแล้วเสร็จ และเปิดดำเนินการได้ตั้งแต่ปี 2566-2568
..

“โครงสร้างพื้นฐานในอีอีซี เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาเมือง และการพัฒนาพื้นที่โดยตรง โครงการท่าเรือมาบตาพุดกับท่าเรือแหลมฉบัง สร้างเสร็จและเปิดดำเนินการไม่พร้อมกันได้ แต่รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กับโครงการสนามบินอู่ตะเภา ต้องเปิดดำเนินการพร้อมกันในปี 2566 ถ้าเสร็จไม่พร้อมกันจะมีผลกระทบอย่างมาก”

ส่วน นางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภาจะใช้งบประมาณหมื่นล้านบาท เป็นซ่อมบำรุงเครื่องบิน ทั้งแอร์บัสและโบอิ้งที่ทันสมัย ติดอันดับโลก ซึ่งจะเสนอแผนร่วมทุนกับแอร์บัสในเร็ว ๆ นี้ ส่วนกองทัพเรือจะลงทุนด้านสิ่งปลูกสร้างและงานโยธา โดยมีเป้าหมายจะเปิดบริการเดือน ก.ค. ปี 2565


ขณะที่ นายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า โครงการระบบรางในพื้นที่อีอีซี ที่การรถไฟฯ รับผิดชอบ ทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร ขณะนี้ มีความคืบหน้าด้านการร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค. นี้ จะพยายามให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ ยังมีรถไฟรางคู่เชื่อมการเดินทางระหว่างเมือง ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

วางกรอบ 4 เดือน เอกชนยื่นซอง
อย่างไรก็ดี รถไฟความเร็วสูง แบ่งโครงการออกเป็น 5 ส่วน โดย 3 ส่วน ที่เป็นงานโยธา อีก 2 ส่วน เป็นงานพัฒนาที่ดิน โดยส่วนที่ 1 เป็นช่วงแอร์พอร์ตลิงค์ที่เปิดให้บริการ จากสนามบินสุวรรณภูมิไปถึงพญาไท ส่วนที่ 2 ต่อจากพญาไทไปถึงดอนเมือง และส่วนที่ 3 จากสุวรรณภูมิไปอู่ตะเภา ส่วนที่ 4-5 นั้น จะเป็นการเสริมโครงการให้เกิดการดึงดูดการลงทุนมากขึ้น โดยเป็นการพัฒนาที่ดินมักกะสันและศรีราชา ที่ต้องการให้เอกชนร่วมลงทุนไปพัฒนา โดยแปลงมักกะสันมีพื้นที่ 140 ไร่ ส่วนแปลงศรีราชา เนื้อที่ 24 ไร่ มีรูปแบบการพัฒนาทั้งอาคาร สำนักงาน พื้นที่เชิงพาณิชย์ และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ตามที่กำหนดไว้

“ขณะนี้ อยู่ระหว่างคณะกรรมการอีอีซีจัดเตรียมแผนจัดประกวดราคา คาดว่าจะเริ่มประกาศเชิญชวนได้ราวต้นเดือน เม.ย. นี้ เปิดให้เอกชนจัดเตรียมเอกสารยื่นข้อเสนอประมาณ 4 เดือน ก่อนที่คัดเลือกเอกชนและจัดทำร่างสัญญา คาดว่าจะเป็นช่วงปลาย พ.ย. หรือต้น ธ.ค. 2561 นี้”

ส่วนรถไฟรางคู่วิ่งให้บริการจากกรุงเทพฯ ไปถึงศรีราชา จ.ชลบุรี แล้วจะก่อสร้างต่อไปจนถึงมาบตาพุดและระยอง เพื่อเชื่อมต่อ 3 ท่าเรือ เข้าด้วยกัน คือ ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือมาบตาพุด เน้นการขนส่งสินค้าให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วขึ้น ลดภาระการขนส่งสินค้าทางถนนและลดต้นทุนการขนส่งให้ราคาสินค้าลดลง
..

http://www.thansettakij.com/content/269406
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/03/2018 4:44 pm    Post subject: Reply with quote

ถ่ายทอดสด 19 มี.ค. 61
NBT 2HD Published on Mar 19, 2018

ถ่ายทอดสด การสัมมนา Thailand Taking off to New และการปาฐกถาพิเศษ
" เดินหน้าอย่างมุ่งมั่น สู่ไทยเเลนด์ 4.0 " ณ ห้องรอยัลจูบิลี่ บอลรูม อิเเพค เมืองทองธานี 19 มี.ค. 61


https://www.youtube.com/watch?v=4U6Gbx8wzkk

นาทีที่ 50 ระบบราง

ชั่วโมงที่ 1:30 เป็นช่วงของ รมช.คมนาคม (ไพรินทร์ ชูโชติถาวร) ครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/03/2018 7:35 am    Post subject: Reply with quote

สมคิดมั่นใจลงทุนรัฐดันจีดีพียืนเหนือ4%
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 20 มี.ค. 61 นโยบายเศรษฐกิจ

Click on the image for full size

สมคิด ชี้ 2 ปีเศรษฐกิจไทยดีขึ้นกว่าเท่าตัว รัฐเร่งลงทุน เชื่ออนาคตมีโอกาสขยายตัวเกิน 4% ขยายตัวได้เพิ่ม สั่งคมนาคมขยายเส้นทางรถไฟความเร็วสูง กทม-หัวหินถึงสุราษฎร์ โอ่ไทยพร้อมลงทุนเส้นตะวันตก–-ตะวันออก เชื่อมเวียดนาม

การลงทุนภาครัฐจะกลายเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้ เมื่อรัฐบาลเร่งการประมูลโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) รวมถึงพื้นที่อื่นทั่วประเทศ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ งานสัมมนา Thailand Taking off to New Heights ว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเพิ่มขึ้นจาก 2. 8% เป็น 4% ในปี 2560 ถือว่าทำได้ดีระดับหนึ่ง แต่ดูจากปัจจัยทั้งหมดแล้วและที่รัฐบาลจะเร่งการลงทุนจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นได้อีก ในขณะที่การส่งออกช่วงที่ผ่านมาเพิ่มจาก 214,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 236,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2560 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 10% ส่วนการลงทุนเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มจาก 83,339 ล้านบาทในปี 2558 เป็น 392,142 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าตัว โดยเฉพาะในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เพิ่มจาก 52,700 ล้านบาท เป็น 296,890 ล้านบาท หรือสูงเกือบ 6 เท่าตัวใน 2 ปีที่ผ่านมา

นายสมคิด มั่นใจว่า เศรษฐกิจไทยจะเติบโตเพิ่มขึ้นแล้วเป็นการเปลี่ยนโฉมประเทศได้ โดยรัฐบาลมีการลงทุน 3 กลุ่มใหญ่ คือ การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เช่น รถไฟความเร็วสูง กทม.–หัวหิน ซึ่งทีโออาร์ใกล้เสร็จสมบูรณ์ แต่สั่งการให้ศึกษาขยายเส้นทางถึงจ.สุราษฎร์ธานี เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภาคใต้

ส่วนรถไฟความเร็วสูงบนระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เส้นทาง อ.แม่สอด จ.ตากไปยัง จ.มุกดาหาร จะเชื่อมไทยกับอินเดียและเวียดนาม รองรับการขยายตัวของเมืองอีกมากในอนาคต โดยเส้นทางนี้ต้องการให้ร่วมลงทุนจากต่างชาติ อย่างไรก็ตามหากไม่มีการลงทุนจากต่างประเทศก็มั่นใจว่าประเทศไทยพร้อมที่จะลงทุนเองเพราะเป็นเส้นทางที่มีศักยภาพสูง

สำหรับการลงทุนที่รัฐบาลเร่งให้ลงทุน ได้แก่ รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 10 เส้นทาง ระยะ 464 กิโลเมตร ซึ่งเหลือโครงการที่กำลังจะเปิดประมูลอีก 9 ช่วง วงเงินเกือบ 4 แสนล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าในต่างจังหวัด 4 จังหวัด มูลค่า 1.6 แสนหกหมื่นล้านบาท จะเริ่มใน 2 ปีข้างหน้านี้ โครงการรถไฟทางคู่ ซึ่งมีโครงการที่กำลังจะประมูลอีก 10 สายทาง

ครม.เคาะรถไฟเร็วสูง3สนามบินวันนี้

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า วันนี้ (20 มี.ค.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะพิจารณารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ–ระยอง เชื่อม 3 สนามบิน คือ ดอนเมือง และสนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 2 แสนล้านบาท และเมื่อ ครม.เห็นชอบจะเปิดประมูลในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ คัดเลือกเอกชนได้ในเดือน ก.ย.และลงนามกับภาคเอกชนได้ภายในเดือน ธ.ค.ปีนี้ และเปิดบริการปี 2566

นอกจากนี้ ตามแผนการลงทุนของอีอีซีจะลงทุนของรัฐและเอกชนภายใน 5 ปี แรกรวมเป็นวงเงิน 1.7 ล้านล้านบาทโดยรัฐบาลเร่งรัดลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ ท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือสัตหีบ วงเงินลงทุน 6.43 หมื่นล้านบาท โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเชิงพาณิชย์ วงเงิน 2 แสนล้านบาท โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 วงเงิน 1.11 หมื่นล้านบาท โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท และโครงการพัฒนาทางหลวงระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) วงเงิน 3.53 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ โครงการทั้งหมดจะพยายามจัดทำร่างทีโออาร์และคัดเลือกเอกชนให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ ยกเว้นโครงการพัฒนาท่าเรือ 2 แห่งในระยะที่ 3 ที่อาจจะคัดเลือกเอกชนได้แล้วเสร็จในช่วงเดือน ก.พ.2562 เนื่องจากจะมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองรอบพื้นที่ท่าเรือ อย่างไรก็ตามคาดว่าในปี 2561 โครงสร้างพื้นฐานที่จะลงทุนในอีอีซีที่สามารถทำสัญญากับเอกชนได้จะมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 7 แสนล้านบาท

เกาหลีใต้เล็งรถไฟเร็วสูงแม่สอด-มุกดาหาร

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ไทยกำลังจะก้าวกระโดดครั้งใหญ่จากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางอากาศ น้ำ บกและระบบราง โดยปี 2559 มีการลงทุน 20 โครงการ วงเงินรวม 1.796 ล้านล้านบาท ปี 2560 มี 36 โครงการ วงเงิน 895,757 ล้านบาท ปี 2561 อีก 44 โครงการ วงเงิน 2.02 ล้านล้านบาท โดยรถไฟความเร็วสูงแม่สอด-มุกดาหาร มีเกาหลีใต้เป็นผู้ศึกษาได้ส่งข้อมูลผลการศึกษาและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมมายังกระทรวงคมนาคมแล้ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินข้อมูลก่อนประกาศแนวทางการลงทุนรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ต่อไป

โครงการนี้จะเป็นหมัดเด็ด เพราะนักลงทุนหลายประเทศรอรถไฟเชื่อมระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญและปัจจุบันประเทศเรายังไม่มีรถไฟที่เชื่อมแนวตะวันออกตะวันตกมีแต่แนวเหนือใต้ นายไพรินทร์ กล่าว

ชี้ไทยจะลงทุนแบบก้าวกระโดด

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงดีที่สุด เพราะเป็นช่วงก้าวกระโดดครั้งใหญ่ โครงการและนโยบายต่างๆจะต่อเนื่อง เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้ประเทศต้องมีแผนยุทธศาสตร์ และปีนี้จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงทุกด้านรวมถึงเรื่องคน นวัตกรรม โดยการปฏิรูปประเทศจากที่สรุปมา 13 ด้านรวม 760 หน้า ทางนายกรัฐมนตรี สั่งให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาและมอยหมายให้ตนเป็นประธาน เพื่อนำทั้ง 13 ด้านมาขับเคลื่อนให้ได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ทำให้ประเทศไทยจะเป็นจุดศูนย์กลางที่ทั่วโลกจะสนใจอีกครั้ง ถือเป็นไข่แดงในกลุ่มซีแอลเอ็มอี

นายกานต์ ตระกูลฮุน คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก กล่าวเชื่อว่า ในอีก 2-3 ปี ประเทศไทยจะติดท็อป 25 ของประเทศในโลกนี้ที่มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ จากปัจจุบันไทยอยู่อันดับที่ 45 ของโลกใน Innovation Index 2018 เนื่องจากประเทศไทยมีการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนามากขึ้น เห็นได้จากปี 2558 อยู่ที่ 0.62% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) และปี 2559 อยู่ที่ 0.78% ของจีดีพี ปี 2560 อยู่ที่ 0.9% ของจีดีพี และในปี 2561 อยู่ที่ 1% ของจีดีพี โดย 70% เป็นการลงทุนของภาคเอกชน

นอกจากนั้น ในปี 2564 ประเทศไทยจะมีความต้องการนักวิจัยใหม่เพิ่มขึ้นอีก 60,000 คน จากในปัจจุบันในคนไทย 10,000 คนจะมีนักวิจัยอยู่ 17 คน ฉะนั้น จะเปิดมิติใหม่ของประเทศไทยแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/03/2018 10:49 am    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์แสดงผลการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟl 16 มี.ค. 2561l โดย สนข.
Daoreuk Studio Published on Mar 21, 2018
วีดิทัศน์แสดงผลการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่

โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)


https://www.youtube.com/watch?v=7kPXULjSkok
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/03/2018 10:20 pm    Post subject: Reply with quote

ดัน “นครปฐม” ขึ้นแท่นฮับโลจิสติกส์ ปั้นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย เสิร์ฟกรุงเทพ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 28 มีนาคม 2561 - 01:49 น.

เศรษฐกิจนครปฐมโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 3% เตรียมเปลี่ยนกลุ่มจังหวัด ขึ้นตรงภาคกลางปริมณฑล พร้อมมุ่งสู่ฮับการค้าการลงทุน-โลจิสติกส์-สุขภาพ-การศึกษา รุกแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยเสิร์ฟเมืองกรุง ดันเกาะลัดอีแท่นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ภาคสภาอุตฯชี้การลงทุนยังติดล็อกผังเมือง เสนอศูนย์กระจายตู้คอนเทนเนอร์ระบบรางเสริมแกร่งภาคตะวันตก

นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจของจังหวัดนครปฐมดีขึ้น ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และท่องเที่ยว โดยอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 3% มีปัจจัยหลักมาจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจหลักของจังหวัดนครปฐม คือ ด้านการส่งออก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเกษตรและปศุสัตว์ รวมถึงมีการส่งออกกล้วยไม้ปีละประมาณ 3-4 พันล้านบาท ซึ่งในปี 2561 คาดว่าจีพีพีของจังหวัดอยู่ที่ประมาณ 300,000 ล้านบาท/ปี

เสิร์ฟอาหารปลอดภัยเข้ากรุง

สำหรับแนวการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด หลังจากคณะกรรมการบริหารกลุ่มจังหวัดได้เปลี่ยนจังหวัดนครปฐม จากกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ที่ประกอบด้วย นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี เป็นกลุ่มจังหวัดภาคกลางและปริมณฑล ที่ประกอบด้วย นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยรัฐบาลมีนโยบายให้เป็นกลุ่มที่เป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุน ศูนย์กลางโลจิสติกส์ ศูนย์กลางด้านสุขภาพ ศูนย์กลางการศึกษามาตรฐานสากล ธุรกิจการพาณิชย์ และอุตสาหกรรมระดับประเทศ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนกรุงเทพฯ



รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยป้อนให้กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นโครงการเร่งด่วนของจังหวัดนครปฐม อีกทั้งเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมลักษณะการท่องเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับ หรือพักค้าง 1 คืน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข มุ่งเน้นส่งเสริมให้เกษตรกรภายในจังหวัดผลิตวัตถุดิบส่งเข้าโรงพยาบาล และโรงพยาบาลจะช่วยตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบให้เป็นไปตามมาตรฐาน ขณะที่มหาวิทยาลัยมหิดลจะส่งเสริมในเรื่องวิชาการ เบื้องต้นนำร่องส่งวัตถุดิบเข้าโรงพยาบาลนครปฐม และโรงพยาบาลอำเภอ 8 แห่ง และส่วนที่เหลือส่งเข้าสู่ตลาด โดยโครงการนี้ใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาท เบื้องต้นส่งเสริมการผลิตด้วยวิธีกางมุ้ง โดยการสร้างโรงเรือนหรือมุ้งครอบคลุม 7 อำเภอ ประมาณ 500 โรงเรือน โดยมุ่งเน้นพืชผักที่เป็นความต้องการของตลาด ได้แก่ คะน้า แตงกวา ปวยเล้ง ผักสลัด เป็นต้น

ด้านการท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะวันเดย์ทริป หรือไปเช้า-เย็นกลับ โดยภาคการท่องเที่ยวสร้างรายได้ปีละกว่า 5 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย แหล่งท่องเที่ยวหลัก ได้แก่ วัด และร้านอาหารริมน้ำ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเด่นของจังหวัดนครปฐม เนื่องจากมีลำคลองสาขาจำนวนมาก โดยปัจจุบันจังหวัดได้มีการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ให้ผลิตวัตถุดิบนำออกมาจำหน่ายสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดน้ำ เช่น ตลาดน้ำดอนหวาย ตลาดน้ำลำพระยา ตลาดน้ำคลองมหาสวัสดิ์ เป็นต้น รวมถึงพยายามผลักดันเกาะลัดอีแท่น อ.สามพราน จ.นครปฐม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนแห่งใหม่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวมากขึ้น

หนุนเชื่อมคมนาคม

นายชาญนะกล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลได้เริ่มดำเนินโครงการรถไฟรางคู่เชื่อมหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ งบประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาท ซึ่งในช่วงแรกจากนครปฐม-ราชบุรี ใช้งบประมาณ 8,000 ล้านบาท และโครงการบางใหญ่-เมืองกาญจน์ ที่ขณะนี้เริ่มดำเนินการแล้ว รวมถึงกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแผนขยายรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีแดงมาถึงบริเวณศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยรัฐ 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล อ.พุทธมณฑล มหาวิทยาลัยศิลปากร อ.เมืองนครปฐม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ.กำแพงแสน ที่มีนักศึกษาเข้ามาอยู่หลักหลายหมื่นคน แต่เป็นการเติบโตเป็นจุดบริเวณรอบมหาวิทยาลัยเท่านั้น ทำให้การเจริญเติบโตขยายออกมาทางนี้มากขึ้น และการคมนาคมชานเมืองก็มีบทบาทมากขึ้น ส่งผลให้ในอนาคต อ.สามพราน นครชัยศรี และพุทธมณฑล จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยมากขึ้น

โดยด้านการคมนาคม นครปฐมจะต้องเชื่อมโยงกับกรุงเทพฯให้มากขึ้น โดยรัฐบาลมีโครงการที่จะทำวงแหวนรอบที่ 3 เชื่อมต่อวงแหวนรอบใน ถนนรัชดาภิเษก และวงแหวนรอบนอก ถนนกาญจนาภิเษก โดยวงแหวนรอบที่ 3 จะกินเนื้อที่ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ และนนทบุรี โดยกรมทางหลวงออกแบบไว้เบื้องต้นแล้ว และอยู่ระหว่างลงพื้นที่เพื่อรับฟังความเห็นของประชาชนและนำไปปรับแก้ เนื่องจากมีการออกแบบมานานกว่า 10 ปีแล้ว อีกทั้งทางสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐมได้เสนอให้จัดสร้างศูนย์กระจายตู้คอนเทนเนอร์ระบบรางขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้าที่ อ.พุทธมณฑล อยู่แล้ว


รับอานิสงส์ – ปัจจุบันจังหวัดนครปฐมมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันออกของจังหวัดนครปฐมที่มีเขตติดต่อกับกรุงเทพฯ เช่น อำเภอพุทธมณฑลและนครชัยศรี มีการขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดกลางถึงบน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และไม่ไกลจากกรุงเทพฯ


ดันศูนย์ขนส่งระบบราง

นายสุรเดช นิลเอก ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐมได้ผลักดันการสร้างศูนย์กระจายตู้คอนเทนเนอร์ระบบราง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในการทำพิธีการศุลกากร และสามารถขนส่งสินค้าไปได้ถึงท่าเรือแหลมฉบัง รวมถึงท่าเรืออื่น ๆ ในอนาคต ขณะนี้เพิ่งได้รับงบประมาณจากงบประมาณเพิ่มเติมปี 2561 กว่า 10 ล้านบาท ในการนำมาทำการศึกษาความเหมาะสม ซึ่งมองว่าสถานีหนองปลาดุกเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ ทั้งนี้หากแล้วเสร็จจะช่วยลดความหนาแน่นการจราจรบนท้องถนน รวมถึงทำให้นักลงทุนสนใจเข้ามาลงทุนในภาคตะวันตกมากขึ้น

แม้จังหวัดนครปฐมจะมีการขยายตัวในหลายด้านอย่างต่อเนื่อง แต่มองว่าการคมนาคมขนส่งเป็นหนึ่งปัญหาที่ล้มเหลว เห็นได้จากที่ขณะนี้มีรถไฟรางคู่กรุงเทพฯ-นครปฐมแล้ว แต่การรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีขบวนรถไฟมาวิ่งบริการให้ประชาชน หากสามารถนำรถไฟมาวิ่งในเส้นทางนี้ได้ จะเป็นมิติใหม่ของการเดินทางภาคตะวันตก ที่จะเข้าไปเชื่อมต่อชานเมือง จะช่วยหนุนเศรษฐกิจให้ดีขึ้น รวมถึงยังส่งผลดีต่อจังหวัดข้างเคียง เช่น ราชบุรี ประกอบกับปัจจุบันรถโดยสารสาธารณะลดน้อยลง ประชาชนส่วนใหญ่ต้องพึ่งรถส่วนตัว

“อนาคตการขยายทางยกระดับจากพุทธมณฑลสาย 2 ไปจนถึงจุดตัดถนนเพชรเกษมและบรมราชชนนี และการก่อสร้างมอเตอร์เวย์จากนครชัยศรีไปชะอำ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาเตรียมที่จะลงทุน รวมถึงโครงการก่อสร้างถนนเส้นบางใหญ่-บ้านโป่ง ซึ่งเริ่มก่อสร้างไปแล้วประมาณ 10-20% เมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะทำให้จังหวัดนครปฐมเป็นจุดกระจายการขนส่งที่น่าสนใจ”

ทั้งนี้ ทิศทางจังหวัดนครปฐมในอนาคตจะเป็นระเบียงกรุงเทพฯ เป็นย่านที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะผู้อยู่อาศัยระดับกลางถึงบน มองพื้นที่ที่ศักยภาพที่น่าลงทุนอสังหาฯ คือ อ.ดอนตูมและกำแพงแสน แต่ยังไม่สามารถขยายไป อ.นครชัยศรี อ.พุทธมณฑล และอ.สามพรานบางส่วนได้ เนื่องจากปัจจุบันยังติดข้อจำกัดด้านผังเมือง ที่เป็นพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วพื้นที่ดังกล่าวมีพื้นที่เกษตรอยู่น้อย และปล่อยเป็นพื้นที่รกร้าง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 04/04/2018 10:36 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคมไม่ใช่บุรุษไปรษณีย์” แผน-งบฯไม่คืบเพราะตรวจการบ้านเข้ม
สัมภาษณ์
วันที่ 3 เมษายน 2561 - 23:19 น.

หลัง “รัฐบาลทหาร” ประกาศอัดเม็ดเงินกว่า 2 ล้านล้านบาทยกเครื่องระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ “บก-ราง-น้ำ-อากาศ” ให้ทัดเทียมนานาชาติ มี “คมนาคม” เป็นเจ้าภาพหลักขับเคลื่อนโครงการ แต่ดูเหมือนตลอด 3 ปีที่ผ่านมา งานใหญ่ที่บรรจุไว้ในแผนเร่งด่วนจะยังไม่ราบรื่นมากนัก


“อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แจกแจงว่า ทางนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณของกระทรวงคมนาคมอย่างมาก เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโดยรวม โดยโครงการที่มีขนาดเล็กในปีงบประมาณ 2561 ได้เบิกจ่ายเสร็จทั้งหมดไปแล้วเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ส่วนโครงการเมกะโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ทางกระทรวงคมนาคมกำลังจะเร่งสปีดให้เปิดประมูลและได้รับอนุมัติโครงการภายในไตรมาสที่ 3-4 ของปีงบประมาณนี้ให้ได้

“ช่วง 2 ไตรมาสของปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านมา การเบิกจ่ายสำหรับการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ยังคืบหน้าน้อยมากอยู่ที่ 36% ยังต่ำจากเป้าที่รัฐตั้งไว้ 43% แต่เมื่อถึงสิ้นปียอดเบิกจ่ายจะเป็นไปตามเป้า โดย 3 ปีที่ผ่านมาคมนาคมมียอดเบิกจ่ายเกินกว่า 90% มาตลอด ส่วนใหญ่จะไปเร่งการเบิกจ่ายในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4”


“อาคม” ขยายความถึงสาเหตุความล่าช้ามาจาก 2 สาเหตุสำคัญ คือ 1.บรรดาเมกะโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามกระบวนการที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภัณฑ์ 2560 ที่มีขั้นตอนที่ต้องทำตามอีกมาก แต่ถือว่าไม่น่าห่วง เพราะถ้าผ่านได้ก็สามารถเดินหน้าโครงการต่าง ๆ ได้ทันที

และ 2.โครงการส่วนใหญ่ยังต้องรอการประกวดราคาให้แล้วเสร็จก่อน จึงจะเบิกจ่ายงบประมาณได้ ก็น่าจะทันช่วงปลายปีงบประมาณพอดี แต่หากมีโครงการใดที่สามารถทำได้ก่อนก็ให้ทำได้ทันที เช่น โครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางที่เซ็นสัญญาไปแล้วเมื่อเดือน ธ.ค. 2560 จำนวน 9 สัญญา วงเงิน 65,500 ล้านบาท ประกอบด้วย ทางคู่ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร, มาบกะเบา-จิระ,ลพบุรี-ปากน้ำโพ, นครปฐม-หัวหิน และหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ขณะนี้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ครบแล้ว จะเริ่มงานก่อสร้างและเบิกจ่ายได้ทันที ซึ่งจะผูกพันไปถึงปี 2563

“โครงการต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคม ต้องมองยาว ๆ นิดหนึ่ง จะมองแค่ช่วงใดช่วงหนึ่งไม่ได้ เพราะขั้นตอนของการขออนุมัติโครงการมีขั้นตอนอยู่ แม้จะอนุมัติได้ แต่ถ้ารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอไม่ผ่านก็เซ็นสัญญากันไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องเผื่อเวลา จะอนุมัติวันนี้แล้วได้ทันทีเลยมันไม่ใช่”

ส่วนโครงการขนาดใหญ่ต่าง ๆ ในบางโครงการที่ไม่สามารถเริ่มต้นได้ในปีนี้ จะต้องขยับไปเป็นปีหน้าแทน แต่ขอยืนยันว่าทุกโครงการจะต้องได้รับการเดินหน้าภายใต้กรอบเวลา 8 ปี ตามยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยปี 2558-2565 และจะมีเม็ดเงินลงทุนของกระทรวงคมนาคมออกมาทุกปี

“ขอยืนยันว่าทุกโครงการจะเกิดขึ้นแน่นอนใน 8 ปี แต่ไม่อยากให้กำหนดกรอบเวลาตายตัว ว่าโครงการไหนจะประมูลได้เมื่อไหร่ หากผมพูดออกไป แล้วทำไม่ได้ ก็จะหาว่าผมพูดผลัดเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ”

“อาคม” ไล่เรียงไทม์ไลน์งานโครงการต่าง ๆ ว่า เตรียมจะนำ 3 โครงการเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังจากคณะกรรมการสภาพัฒน์อนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้วในเดือน พ.ค.นี้ ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323.10 กม. เงินลงทุน 76,978 ล้านบาท โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 20 กม. เงินลงทุน 19,042.13 ล้านบาท และสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ (รังสิต) ระยะทาง 10 กม. วงเงิน 7,596 ล้านบาท ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะเสนอให้คณะอนุบอร์ดสภาพัฒน์ฯในเดือน เม.ย.นี้

ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง เงินลงทุนรวม 261,045 ล้านบาท ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ส่งข้อมูลต่าง ๆ ให้หมดแล้ว กำลังรอเสนอบอร์ดสภาพัฒน์ ขณะที่โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. เงินลงทุน 101,112 ล้านบาท ยังติดขั้นตอนการทำรายงานอีไอเอ ในส่วนที่เป็นสถานีใต้ดินของโครงการ 10 สถานี ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. เงินลงทุน 95,276 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ด้านรูปแบบ PPP เพื่อเสนอให้คณะกรรมการ PPP อนุมัติต่อไป

“เราไม่ใช่บุรุษไปรษณีย์ที่มาถึงก็ส่งต่อ เพราะกระทรวงต้องดูว่าโครงการที่เสนอมามีข้อมูลครบถ้วนหรือไม่ ถ้าครบก็ผ่าน แต่ถ้ามีประเด็น ก็ต้องอธิบายเพิ่มเติม แต่จะให้บุรุษไปรษณีย์ส่งไปก่อน ก็จะถูกตีกลับมาอยู่ดี แถมจะมีคำถามเพิ่มอีกเป็นร้อยคำถามให้ตามไปตอบอีก เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการกลั่นกรองก่อน”

นายอาคมยังกล่าวอีกว่า จากปัญหาต่าง ๆ จะนำไปปรับแก้สำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติการเร่งด่วนปี 2562 โดยเฉพาะเรื่องกรอบเวลา ที่ถึงแม้จะเผื่อเวลาเอาไว้ แต่ก็ไม่สามารถไปควบคุมขั้นตอนอะไรได้ เช่น ขั้นตอนการอนุมัติ สมมุติว่ากำหนดให้เสร็จใน 3 เดือน แต่การตอบข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ต้องเตรียมให้ครบก่อน จึงจะเดินหน้าต่อไปได้

ต่อไปนี้จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือพร้อมกันเลยว่า ต้องการข้อมูลในส่วนใด และต้องทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง เพราะหลายเรื่องไม่ได้อยู่ที่กระทรวงที่เดียว กระทรวงเองก็ต้องไปตามเรื่องกับหน่วยอื่น ๆ ด้วย ส่วนโครงการที่ทำไม่ทันในปี 2561 ก็จะขยับไปใส่ไว้ในแผนเร่งด่วนปี 2562
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2018 5:47 pm    Post subject: Reply with quote

สถาบันวิจัยฯระบบรางเกิดแน่สิ้นปีนี้
พฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 07.18 น.
คมนาคม จ่อตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางเป็นองค์การมหาชน ขีดเส้นเห็นความชัดเจนใน 6 เดือน คาดจัดตั้งได้ภายในสิ้นปีนี้ พร้อมสั่ง สนข. ทำแผนอำนาจหน้าที่ก่อนส่งกลับที่ประชุมพิจารณาอีกครั้ง


นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้สถาบันวิจัยฯ ดังกล่าว ดำเนินงานครอบคลุมกับทุกโครงการที่เกี่ยวกับระบบราง ไม่ใช่เพียงแค่โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเท่านั้น โดยขณะนี้กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อจัดตั้งในรูปแบบขององค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม

นายไพรินทร์ กล่าวต่อว่า สถาบันวิจัยฯ จะต้องพิจารณาตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน พ.ศ. 2554 พร้อมทั้งจะมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาด้วย อย่างไรก็ตามได้กำหนดให้คณะอนุกรรมการดังกล่าว ต้องประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าและข้อสรุปในทุกเดือน คาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายใน 6 เดือนนี้ เพื่อให้สามารถจัดตั้งได้ภายในสิ้นปีนี้ สำหรับสถาบันวิจัยฯ ต้องมีการบริหารเนื้อหา และพัฒนาการวิจัย รวมทั้งงบประมาณ เพราะอนาคตอาจจะมีงบประมาณวิจัยจากทางผู้ประกอบการ ซึ่งสามารถส่งต่องบประมาณไปที่หน่วยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมวิจัยได้

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ที่ประชุมได้สั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กลับไปจัดลำดับความสำคัญของอำนาจหน้าที่ รวมถึงกรอบนโยบายต่างๆ ของสถาบัน และบทบาทต่างๆ ก่อนส่งให้ที่ประชุมพิจารณาอีกครั้งต่อไป

สำหรับสถาบันวิจัยฯ ดังกล่าวจัดตั้งขึ้น เนื่องจากจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 60 มีคำสั่งให้กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการงานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อดำเนินงานพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาบุคลากรทั้งระดับวิศวกรและช่างเทคนิคสำหรับรองรับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 94, 95, 96 ... 121, 122, 123  Next
Page 95 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©