Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181139
ทั้งหมด:13492374
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2018 9:56 am    Post subject: Reply with quote

'โคราช' ลุ้นเป็นเมืองแห่งท่าเรือบก!!
ออนไลน์เมื่อ1 ตุลาคม 2561 -
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,405 วันที่ 30 กันยายน - 3 ตุลาคม 2561 - หน้า 15


โคราชเดินหน้าดันเต็มที่! ลุ้นชิงดำเป็นเมืองแห่งท่าเรือบกกับขอนแก่น พร้อมเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค ... ผู้ว่าฯ มั่นใจศักยภาพเมืองที่มีโครงข่ายคมนาคมรองรับเพียบ ทั้งทางรางและทางถนน

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า จ.นครราชสีมา มีความพร้อมทุกด้านในการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค และเป็นเมืองแห่งท่าเรือบก (Dry Port) โดยมีโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายคมนาคมรองรับ อาทิ ทางราง ปัจจุบัน มีเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงอีสานตอนบน จ.หนองคาย และอีสานตอนล่าง จ.อุบลราชธานี ในอนาคตมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ส่วนทางถนนมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ เชื่อมโยงอีสานตอนบน-กลาง ทางหลวง 24 เชื่อมโยงอีสานตอนใต้ ทางหลวงหมายเลข 226 เชื่อมโยงอีสานตอนใต้และทางหลวง 304 เชื่อมโยงจังหวัดภาคตะวันออก ในอนาคตมีทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 6 บางปะอิน-นครราชสีมา และการขยายทางหลวง 304 ช่วงกบินทร์บุรี-ปักธงชัย จึงมีความเหมาะสมด้านโลจิสติกส์


จ.นครราชสีมา มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 7,513 แห่ง มูลค่าการส่งออกในหมวดสินค้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า ยานยนต์และส่วนประกอบ พลาสติกและยาง โดยมีผลผลิตมวลรวม 264,964 ล้านบาท และปริมาณการขนส่งทางตู้คอนเทนเนอร์กว่า 300,000 ตู้ต่อปี

"โคราชมีศักยภาพสูงและมีความเหมาะสมอย่างมากด้านที่ตั้ง ซึ่งเหมาะแก่การเป็นเมืองแห่งท่าเรือบกของภูมิภาค" ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวย้ำ

สำหรับพื้นที่ตั้งท่าเรือบก จ.นครราชสีมา ได้ทำการศึกษาไว้ 2 จุด เบื้องต้น ประมาณ 700 ไร่ คือ ที่บริเวณ ต.หนองน้ำขุ่น อ.สีคิ้ว และบริเวณ ต.นากลาง-ต.กุดจิก อ.สูงเนิน ซึ่งมีศักยภาพทั้ง 2 แห่ง ขณะนี้ ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการจัดทำโครงการแผนแม่บท การพัฒนาท่าเรือบก ขณะนี้ คณะที่ปรึกษาโครงการอยู่ระหว่างการสำรวจข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของสถานที่ก่อสร้าง พัฒนาท่าเรือบกในภูมิภาค โดยมี 2 จังหวัด ที่เข้าสู่การพิจารณา คือ จ.นครราชสีมา และขอนแก่น

นายวิเชียร กล่าวต่อไปว่า ทาง สนข. จะจัดเวทีในการรับฟังความเห็นประชาชนครั้งสุดท้ายขึ้นที่กรุงเทพฯ ก่อนสรุปข้อมูลเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการดำเนินการให้โครงการเป็นรูปธรรมต่อไป โดย จ.นครราชสีมา จะนำภาคประชาชนไปร่วมรับฟังในการประชุมครั้งสุดท้ายนี้ด้วย เชื่อว่า จ.นครราชสีมา จะได้รับการพิจารณาให้เป็นเมืองแห่งท่าเรือบกอย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2018 1:38 pm    Post subject: Reply with quote

หวั่นที่ตั้ง "ไอซีดี" ฉะเชิงเทราทำลายสิ่งแวดล้อมชุมชน
อังคารที่ 2 ตุลาคม 2561 เวลา 12.16 น.
สนข. เผยผลรับฟังสัมมนากลุ่มย่อยไอซีดีฉะเชิงเทรา ประชาชนห่วงใยเลือกทำเลตั้งคำนึงภูมิประเทศ หวั่นกระทบทำลายสิ่งแวดล้อมชุมชน


นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 61 ได้จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครั้งที่ 1 โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ รองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หรือไอซีดีฉะเชิงเทรา ที่โรงแรมซันธารา เวลเนส รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีนายกิตติพันธุ์ โรจนชีวะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานเปิดการประชุมและมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้แทนจังหวัดฉะเชิงเทรา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมได้นำเสนอ ความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ และขอบเขตการศึกษา รายละเอียดและความคืบหน้า ในการศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ การศึกษา และการจัดการ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

นางวิไลรัตน์ กล่าวต่อว่า ผลที่ประชุมผู้เข้าร่วมได้สะท้อนความคิดเห็นและความห่วงใย 2 เรื่อง คือ1.ทางกายภาพ เนื่องจากฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นน้ำลำคลอง แหล่งเกษตรอาหาร และเป็นทางน้ำหลาก หากจะเลือกทำเลที่นั่งสำหรับทำไอซีดีฉะเชิงเทราควรให้ดูลักษณะภูมิประเทศด้วย และ 2.การพัฒนาโครงการของภาครัฐควรดูแลผลกระทบที่เกิดจากชุมชนด้วยรวมทั้งการพัฒนาโครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของภาครัฐให้คำนึงเรื่องอุบัติเหตุ การจัดระบบจราจรที่เข้าออกในพื้นที่ไอซีดีฉะเชิงเทรา เพื่อไม่ให้กระทบกับสิ่งแวดล้อม

นางวิไลรัตน์ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้นำความคิดเห็นมารวบรวมเป็นรายการขั้นกลาง เพื่อเสนอที่ประชุมใน ต.ค. 61 ไม่ว่าจะเป็นปริมาณความต้องการขนส่งสินค้า โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมฉะเชิงเทรา อาทิ ถนน โครงการก่อสร้างทางรถไฟ เพื่อพิจารณาประกอบการเลือกพื้นที่ทำเลที่ตั้งไอซีดีฉะเชิงเทราเหมาะสมมากที่สุด ขณะนี้มีการเสนอที่ตั้งไอซีดีฉะเชิงเทราประมาณ 2-3 แห่งอาทิ อ.บางน้ำเปรี้ยว และ อ.บ้านโพธิ์ ในแต่ละพื้นที่อยู่ในแนวรถไฟ เพราะเน้นขนส่งทางรถไฟเป็นหลักต้องเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงระบบรถไฟค่อนข้างสะดวก มีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ เหมาะสมต่อการพัฒนา อย่างไรก็ตามคาดว่า อีก 2-3 เดือนสามารถระบุที่ตั้งสำหรับไอซีดีฉะเชิงเทรา แนวทางการพัฒนา และรูปแบบการลงทุนได้ 
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/10/2018 6:22 am    Post subject: Reply with quote

ทีม คอนซัลติ้ง คว้างาน รฟท. มูลค่า 30.11 ล้านบาท
MGROnline - 2018/10/04 14:51:00

ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ รับงานการรถไฟแห่งประเทศไทย มูลค่ารวม 30.11 ล้านบาท เพื่อเป็นที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เส้นทางช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด เพื่อสนับสนุนทางด้านข้อมูลแก่ โครงการรถไฟเชื่อม 3 ท่าเรือ ในเขตพื้นที่ EEC

นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TEAMG เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามเป็นผู้รับจ้างสัญญาที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความจุเครือข่ายการคมนาคมทางรถไฟ ซึ่งครอบคลุมเส้นทางช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวถือเป็นโครงการย่อยในแผนการพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมขนส่งทางรถไฟ เพื่อเชื่อมต่อเขตพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญทั่วประเทศ เพื่อไปสู่ 3 ท่าเรือหลัก ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง, ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือสัตหีบ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญภายใต้แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เพื่อต่อยอดการเติบโตทางเศรษฐกิจในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

อีกทั้งโครงการนี้บริษัทยังได้มีการลงนามแล้วในวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา โดยมีผู้ว่าจ้างเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งมีมูลค่าโครงการ 137.91 ล้านบาท โดยเป็นส่วนของบริษัท 30.11 ล้านบาท และมีระยะเวลาดำเนินงาน 240 วัน

“โดยโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ภาครัฐมีการนำร่องใน 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ทำให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่ และมีงานโครงการออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทได้รับผลบวกจากโครงการ EEC ส่งผลให้ในช่วงปีหลังมีการเติบโตอยู่ในเกณฑ์ที่ดี” นายชวลิต กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2018 11:51 am    Post subject: Reply with quote

สมคิด” เร่งบิ๊กโปรเจกต์ คมนาคม 1.1 ลล. จัดคิวชง ครม.- เปิดประมูลโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 8 ตุลาคม 2561 19:14


“สมคิด” กำชับ “คมนาคม” ขับเคลื่อนโครงการเปิดประมูลตามแผน ปั้น โปรเจกต์มีอนาคตลงทุนด้วย TFF และ PPP ต่อเนื่องเพื่อลดภาระงบประมาณ กำชับวางโครงข่ายถนนและรถไฟ เชื่อมท่องเที่ยวเมืองรอง “อาคม” จัด 18 โครงการ กว่า 7.23 แสน ล. จ่อคิวเสนอ ครม. ช่วง ต.ค.61-ม.ค.62 ขณะที่มี 5 โครงการกว่า 4.80 แสน ล.เตรียมพร้อมเปิดประมูลใน 4 เดือนก่อนเลือกตั้ง

วันนี้ (8 ต.ค.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมติดตามการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม โดยรับทราบผลการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดินประจำปีงบประมาณ 2561 และงบลงทุนในปี 2562 รวมถึงผลการดำเนินโครงการต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติแล้ว และโครงการที่เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)

ซึ่งปี 2561ได้รับงบประมาณรวม 168,528 ล้านบาท เบิกจ่ายงบส่วนราชการได้ 78.96 % ต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ที่ 96% ส่วนงบลงทุนเบิกจ่ายได้ 77.47% ต่ำกว่าเป้าที่ 88% เนื่องจากติดปัญหาจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-สระบุรี วงเงิน 4.146 ล้านบาท และอยู่ระหว่างรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติปรับกรอบวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการทางหลวงพิเศษสายบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงิน 10,235 ล้านบาท

ส่วนปี 2562 ได้รับงบลงทุน 369,199.04 ล้านบาท แบ่งเป็น
งบแผ่นดิน 174,935.98 ล้านบาท และ
งบรัฐวิสาหกิจ 194,263.06 ล้านบาท
โดยแยกเป็นงบทางราง 153,984.69 ล้านบาท
ทางบก 165,189.07 ล้านบาท
ทางอากาศ 44,150.50 ล้านบาท
ทางน้ำ 5,546.61 ล้านบาท
ด้านนโยบาย 328.17 ล้านบาท

นายสมคิด กล่าวว่า กรณีเบิกจ่ายงบล่าช้า ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ภาพรวมผลงานยังน่าพอใจ โดยขอให้เร่งรัดโครงการให้เป็นไปตามแผนงาน ส่วนการขอเพิ่มงบเวนคืนมอเตอร์เวย์บางใหญ่ กรมทางหลวงต้องอธิบายเหตุผล เพื่อเสนอ ครม.ต่อไป นอกจากนี้ เห็นว่า หลายโครงการทั้งท่าเรือ รถไฟ มอเตอร์เวย์ เป็นโครงการที่มีอนาคต ซึ่งควรออกแบบการพัฒนาโครงการเพื่อให้ใช้กองทุน TFF มาดำเนินการลงทุนเพื่อลดภาระงบประมาณ เช่นเดียวกับทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง ซึ่งขณะนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนมาก ประเด็นคือต้องอธิบายให้เกิดความเข้าใจว่า การใช้ TFF ไม่มีใครเสียประโยชน์

นอกจากนี้ ฝากให้กรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปลี่ยนชื่อ โครงการถนนเลียบชายฝั่งทะเลตะวันตก ให้จดจำง่ายและเข้าใจมากกว่านี้ควรลงพื้นที่หารือกับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการตื่นตัวกับพื้นที่ภาคใต้ และจะเกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมออกแบบในการเชื่อมเส้นทางกับแหล่งท่องเที่ยว และสนับสนุนท่องเที่ยวเมืองรองอีกด้วย

ส่วนการรถไฟฯให้เพิ่มรถไฟทางคู่ ชุมพร-ระนอง เข้าไปในแผนและเร่งโครงการ เนื่องจากเป็นเส้นทางที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ เชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงวางแผนร่วมกันในการพัฒนาท่าเรือระนองและท่าเรือชุมพร เพื่อให้เชื่อมกับพื้นที่ EEC ด้วย

สำหรับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ปรับปรุงแผนการจัดหาเครื่องบินให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ บอร์ดและฝ่ายบริหารต้องระดมสมอง ไม่ใช่แค่คิดเรื่องลดต้นทุนอย่างเดียว ต้องหาเส้นทางที่ดี หาพาร์ตเนอร์ที่แข็งแรง ให้หารือร่วมกับ สศช. ทำงานด้วยกัน การบินไทยยังไปได้ รัฐบาลพร้อมสนับสนุนแต่ต้องทำให้ดี ทำให้เร็ว และสรุปแนวทางการบริหาร ในไทยสมายล์และนกแอร์ โดยเฉพาะนกแอร์ ต้องชัดเจนจะทำหรือไม่ทำ เพราะมีเอกชนถือหุ้นมากกว่า

“ผมต้องการให้ทุกคนเร่งทำงาน ช่วยหาไอเดีย ช่วยรัฐบาลคิดด้วย เช่น เมืองรอง จะทำถนน รถไฟ สนามบินเพื่อสนับสนุนอย่างไร อีก 3 เดือนจะสิ้นปี จะต้องมีภาพโครงการที่ชัดเจน เพราะอีก2 เดือนต่อไป จะเป็นช่วงก่อนจะถึงการเลือกตั้ง ในเดือน ก.พ. 62 ในช่วงระหว่างนี้ อย่าปล่อยเวลาผ่านไปเฉยๆ ยังมีเวลา 6 เดือน เร่งงานได้ ไม่ใช่รอรัฐบาลใหม่ ซึ่งหลังจากนี้ จะหาเวลาไปตรวจเยี่ยมการท่าเรือฯ กรมขนส่ง บริษัท ขนส่ง จำกัด ด้วย” นายสมคิด กล่าว

***จัด 18 โครงการจ่อคิวเสนอ ครม.ช่วง 4 เดือน “ต.ค.61-ม.ค.62” วงเงินกว่า 7.23 แสน ล.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า รองนายกฯ ได้เร่งมอเตอร์เวย์ สายนครปฐม-ชะอำ โครงการทางพิเศษ พระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก ซึ่ง TFF พร้อมแล้ว โดยจะได้ตัวผู้รับจ้างในเดือน ก.พ. 2562, ทางยกระดับบนถนนพระราม 2 ช่วงแรก ระยะทาง 10.8 กม. ซึ่งได้รับงบก่อสร้างแล้วอยู่ระหว่างประมูล

รวมถึงเร่งรัดโครงการรถไฟทางคู่ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและทางคู่เฟส 2 และระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ ซึ่งอยู่ระหว่างให้ ร.ฟ.ท.ทำข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อในเรื่องกลไกการบริหารจัดการ

โดยภายใน 4-5 เดือนนี้ มีโครงการที่เตรียมเสนอ ครม.รวม 18 โครงการ โดยจะเสนอในเดือน ต.ค. 61 มี 5 โครงการ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 มูลค่า 114,047 ล้านบาท คาดเซ็นสัญญา มี.ค. 62,
ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศ (MRO) ร่วมทุนระหว่างการบินไทยและแอร์บัส มูลค่า 10,588 ล้านบาท คาดเซ็นสัญญาใน ก.พ. 62,
มอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 109 กม. วงเงิน 79,006 ล้านบาท,
ศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม 1,000 ล้านบาท,
ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า เชียงของ จ.เชียงราย 2,300 ล้านบาท

เดือน พ.ย.61 จะเสนอ ครม.จำนวน 2 โครงการ ได้แก่
รถไฟสายสีแดงต่อขยาย ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กม. วงเงิน 6,570.40 ล้านบาท,
สายสีแดง ตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 5.70 กม. วงเงิน 7,469.43 ล้านบาท และ
ตลิ่งชัน-ศาลายา ระยะทาง 14.80 กม. วงเงินรวม 10,202.18 ล้านบาท


ขณะนี้เตรียมเสนอบอร์ด สศช. เสนอ ครม.ในเดือน ธ.ค.61 จำนวน 6 โครงการ ได้แก่
ทางคู่ ชุมทางจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม. วงเงิน 35,839.74 ล้านบาท,
ทางคู่ ขอนแก่น-หนองคาย 174 กม. วงเงินประมาณ 26,000 ล้านบาท,
ทางคู่หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 75 กม. วงเงิน 7,941.80 ล้านบาท,
ทางคู่สายใหม่ บ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 วงเงิน 60,351.91 ล้านบาท,


โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ วงเงิน 4.2 หมื่นล้าน และทางวิ่งเส้นทางที่ 3 มูลค่า 2.2 หมื่นล้านบาท และงานก่อสร้างพื้นที่ส่วนต่อขยายด้านตะวันตก (West Wing) ของอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 มูลค่า 6.6 พันล้านบาท

เสนอ ครม.ในเดือน ม.ค. 62 จำนวน 5 โครงการ ได้แก่
ทางคู่ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. วงเงิน 56,066.25 ล้านบาท,
ทางคู่ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 23,384.91 ล้านบาท,
ทางคู่สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 339 กม. วงเงิน 51,823.83 ล้านบาท,
ทางคู่เด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 217 กม. วงเงิน 59,992.44 ล้านบาท,

การจัดซื้อเครื่องบินของบริษัท การบินไทย วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท
ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างทำรายงาน PPP เสนอการลงทุนเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ และงานติดตั้งระบบและเดินรถสายสีส้ม ช่วงมีนบุรี-บางขุนนนท์

***จ่อเปิดประมูลบิ๊กลอต 4.80 แสน ล.ช่วง 4 เดือนสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง

สำหรับโครงการที่ ครม.อนุมัติแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมเปิดประมูล 5 โครงการ ได้แก่
รถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท ประมูลช่วง ม.ค.-มี.ค.62,
สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23 กิโลเมตร วงเงิน 101,112 ล้านบาท ช่วง ธ.ค. 61,
รถไฟเชื่อม 3 สนามบินวงเงิน 2.2 แสนล้านบาท จะยื่นข้อเสนอ พ.ย. 61 ลงนามสัญญา ก.พ. 62,
ทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 8.53 หมื่นล้านบาท ประมูล มี.ค.62,

ทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนฯ 3.04 หมื่นล้านบาท ประมูล พ.ย.61

โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ได้แก่ มอเตอร์เวย์ สายพัทยา-มาบตาพุด 20,200 ล้านบาท คืบหน้า 87.11% เสร็จปี 62 สายบางปะอิน-นครราชสีมา 84,600 ล้านบาท คืบหน้า 49.30% เปิดปี 63 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี คืบหน้า 12.72% เปิดปี 64 ยังล่าช้าจากการเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ให้กรมทางหลวงชี้แจงเหตุผลค่าเวนคืนที่เพิ่มขึ้นก่อนเสนอครม.ต่อไป

สำหรับการระดมทุนจาก TFF เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มนั้น จะมีในส่วนของกรมทางหลวง ซึ่งขณะนี้ได้ศึกษาข้อกฎหมาย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/10/2018 7:33 pm    Post subject: Reply with quote

ผลักดัน “เมกะโปรเจกต์คมนาคม” กระตุ้นเศรษฐกิจ
สํานักข่าวไทย TNAMCOT Published on Oct 9, 2018

โครงการเมกะโปรเจกต์ทางคมนาคม จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในระยะยาว ทั้งเรื่องของการขนส่ง และการคมนาคม มีความสำคัญเนื่องจากในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระบุว่าเป้าหมายของเมกะโปรเจกต์ทางคมนาคม คือการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ให้ได้ในปี 2564 ต้องลดลงจาก 14% ต้องเหลือ 12% และจะมีโครงการเมกะโปรเจกต์หรือว่าการลงทุนขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น ท่าเรือแหลมฉบังเฟสที่ 3 รถไฟทางคู่ ศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งจะทำให้การขนส่งมีราคาถูกลง และเพิ่มแข่งขันของประเทศไทย


https://www.youtube.com/watch?v=JZEY89U79a4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/10/2018 10:07 am    Post subject: Reply with quote

คลังบี้ลงทุน3เดือน9แสนล้าน ดัน”รถไฟญี่ปุ่น”จี้ติด”รถไฟจีน”
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 October 2018 - 10:54 น.

รัฐเร่งเบิกจ่าย 3 เดือนสุดท้าย 9 แสนล้าน เผยกฎเหล็กใหม่งบปี”62เบิกใช้ไม่หมดถูกตัด คลังวางแผนกู้ 9.2 หมื่นล้านลุยเมกะโปรเจ็กต์”สมคิด” กระทุ้งลงทุนคมนาคม 23 โครงการ ดันรถไฟไทย-ญี่ปุ่นตอกเข็ม จี้รถไฟไทย-จีนที่ยังไปไม่ถึงไหน

นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ช่วง 4-5 เดือนก่อนจะมีการเลือกตั้งปลายเดือน ก.พ. 2562 รัฐบาลยังเน้นการอัดฉีดเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2562 (ต.ค.-ธ.ค. 2561) นี้ ตั้งเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพเร่งรัดการเบิกจ่ายให้ได้ 30% ของงบฯทั้งหมด 3 ล้านล้านบาท หรือราว 9 แสนล้านบาท ไตรมาส 2 (ม.ค.-มี.ค. 2562) ตั้งเป้าเบิกจ่ายอีก 25% ดังนั้นช่วง 6 เดือนแรก มีเป้าเร่งรัดเบิกจ่ายงบฯในภาพรวมให้ได้ 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งได้เตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนกฎหมายงบประมาณจะมีผลบังคับใช้

เป้าเบิกจ่าย 6 เดือนแรก 50%

“ช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ ควรมีการเบิกจ่ายมากกว่า 50% โดยงบฯลงทุนต้องเร่งจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะโครงการขนาดเล็กซึ่งปีที่แล้วการเบิกจ่ายงบฯลงทุนต่ำ ส่วนราชการอ้างว่า พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทำให้ล่าช้า แต่การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว เจ้าหน้าที่น่าจะเข้าใจในรายละเอียดและเร่งรัดเบิกจ่ายได้ตามเป้า”

นอกจากนี้ เมื่อร่าง พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ ที่ขณะนี้ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไปแล้ว มีผลบังคับใช้ ทุกส่วนราชการจะต้องเบิกจ่ายเงินงบฯให้หมดภายในปีงบประมาณนั้น ๆ ไม่สามารถกันเงินไปเบิกเหลื่อมปีได้ เว้นแต่จะทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันไว้ หากใช้เงินไม่หมดจะถูกพับไปโดยอัตโนมัติ

ตั้งทีมเกาะติดเบิกจ่าย

นางญาณี แสงศรีจันทร์ รองอธิบดี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกอธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า จากผลการเบิกจ่ายเงินงบฯรายจ่ายประจำปี 2561 ที่ต่ำกว่าเป้า เนื่องจากหน่วยงานรัฐยังมีปัญหาความไม่เข้าใจการจัดซื้อจัดจ้างตาม พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ในการเบิกจ่ายงบฯปี 2562 กรมบัญชีกลางจะเร่งทำความเข้าใจ และจะตั้งทีมติดตามแบบลงรายละเอียดทุกขั้นตอน

นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ ในฐานะโฆษกสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า สคร.จะส่งหนังสือแจ้งให้ผู้แทนกระทรวงการคลัง ที่นั่งเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจเร่งรัดเบิกจ่ายงบฯลงทุนตั้งแต่ต้นปีงบประมาณอีกทางหนึ่ง ซึ่งปีงบฯ 2562 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติกรอบงบฯลงทุนรัฐวิสาหกิจทั้งสิ้น 538,943 ล้านบาท ตั้งเป้าเบิกจ่ายภาพรวมทั้งปี 95% ช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.น่าจะมีเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ระบบไม่ต่ำกว่า 70,000 ล้านบาท

สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในปี 2562 อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันตก โครงการบ้านผู้มีรายได้น้อย

กู้ 9.2 หมื่น ล้าน ลุยเมกะโปรเจ็กต์

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า ในปีงบฯ 2562 รัฐได้วางแผนการกู้เงินมาให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อเพื่อลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ต่อเนื่อง วงเงินรวม 92,353.01 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 6 โครงการ 26,706.65 ล้านบาท 1.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ 2.โครงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณสถานีสะพานพระนั่งเกล้า รถไฟฟ้าสายสีม่วง 3.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ 4.รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 5.รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 6.รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 8 โครงการ 1.โครงการระบบขนส่งทางราง

ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต 2.รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง 3.ก่อสร้างทางคู่เส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 4.รถไฟทางคู่ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ

5.ทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 6.ก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 7.ทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร และ 8.รถไฟฟ้าไทย-จีน (ระยะที่ 1 ช่วง กทม.-นครราชสีมา) 24,378.58 ล้านบาท

“คมนาคม” ลงทุน 1.2 ล้านล้าน

ขณะที่รองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้มอบนโยบายให้กระทรวงคมนาคม เร่งผลักดันการลงทุนให้เป็นไปตามแผนก่อนการเลือกตั้ง ช่วง 3 เดือนนับจากนี้ไป (ต.ค.-ธ.ค. 61) จะเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่และเสนอ ครม.พิจารณา 23 โครงการ วงเงินลงทุนกว่า 1.2 ล้านล้านบาท ให้แล้วเสร็จ อย่างมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี ที่ติดเรื่องค่าเวนคืนที่ดิน ส่วนกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ให้เร่งรัดพัฒนาโครงการไทยแลนด์ริเวียร่า ให้เป็นจุดท่องเที่ยวและจุดพักรถ เพิ่มมูลค่าให้โครงการและส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง

เร่งรถไฟไทย-จีน

ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ศึกษาการลงทุนทางด่วนหัวเมืองที่มีปัญหาการจราจร เช่น ขอนแก่น และขอให้ดูช่องทางลงทุนในต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะ CLMV ส่วน ร.ฟ.ท.ให้เร่งรัดก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,412 ล้านบาท ให้คืบหน้าโดยเร็ว เพื่อเชื่อมรถไฟความเร็วสูงลาว-จีนให้เพิ่มโครงการรถไฟทางคู่ ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 109 กม. เชื่อมโยงฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ประสานกรมเจ้าท่า หรือการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เชื่อมท่าเทียบเรือระนอง เพิ่มเส้นทางการค้าเชื่อมโยงอีอีซีไปสู่ระนองและพม่า ให้ รฟม.เสนอรถไฟฟ้าภูเก็ต ก่อนเดือน ก.พ. จากเดิม เม.ย. 62 โดยให้ไปคิดหาวิธีการนำโครงการเข้ากองทุนไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ ฟันด์ (TFF)”

เดินเรือเชื่อม EEC/ภูเก็ต-มะริด

ด้าน กทท.ให้เสนอโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เงินลงทุน 114,047 ล้านบาท ให้ ครม.พิจารณา กับให้เปิดประมูลแบบนานาชาติและเร่งแผนแม่บทพัฒนาท่าเรือคลองเตย ส่วนกรมเจ้าท่าต้องยกเครื่องหน่วยงานให้บังคับใช้กฎระเบียบอย่างเข้มงวดและเคร่งครัด และศึกษาให้เอกชนร่วมลงทุน PPP เส้นทางเดินเรือจาก กทม.ไปจังหวัดในอีอีซี ส่งเสริมการท่องเที่ยว หรือเส้นทางจากภูเก็ตไปเกาะมะริด สำหรับการขนส่งทางอากาศ เร่งการบินไทยซื้อเครื่องบินใหม่ 23 ลำ วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท ให้เสร็จเดือน ธ.ค.นี้ พร้อมให้ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) พัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2

ขณะที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า จะเปิดประมูลงานใหญ่ 5 โครงการ รวม 480,969 ล้านบาท ได้แก่ รถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก สีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ช่วง ม.ค.-มี.ค. 62, สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ช่วง ธ.ค.นี้, รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ให้ยื่นข้อเสนอวันที่ 12 พ.ย.นี้, ทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เดือน มี.ค. 62 และทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนฯ เดือน พ.ย.นี้

ส่วนโครงการเตรียมเสนอ ครม.ใน 4-5 เดือนนี้ มี 18 โครงการ งบฯลงทุนกว่า 7.2 แสนล้านบาท เริ่มเสนอเดือน ต.ค.นี้ อาทิ ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 มูลค่า 114,047 ล้านบาท, ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) 10,588 ล้านบาท มอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ 79,006 ล้านบาท, สายสีแดงต่อขยาย รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 6,570.40 ล้านบาท, สายสีแดง ตลิ่งชัน-ศิริราช 7,469.43 ล้านบาท และตลิ่งชัน-ศาลายา 10,202.18 ล้านบาท เป็นต้น

ดันรถไฟไทย-ญี่ปุ่นเฟสแรก

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จะเร่งรัดโครงการตามแผนงาน โดยกำลังเตรียมทำแผนปฏิบัติการเร่งด่วนปี 2562 จะพิจารณาจากโครงการที่ในปี 2561 ยังไม่ผลักดันสำเร็จ เช่น รถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 380 กม. วงเงิน 276,225 ล้านบาท โครงสร้างจุดพักรถ 40 แห่งทั่วประเทศ


Last edited by Mongwin on 16/10/2018 9:34 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2018 8:05 pm    Post subject: Reply with quote

ทุ่มงบยกระดับ “โลจิสติกส์” เชื่อมรถ-ราง-เรือไปได้สวย
เศรษฐกิจในประเทศ
วันที่ 14 ตุลาคม 2561 - 15:11 น.

สรท.ชี้ อนาคตโลจิสติกส์ไทยสดใส หลังรัฐทุ่มสร้างมอเตอร์เวย์ รถไฟทางคู่ และท่าเรือชายฝั่ง ชี้การเชื่อมทั้ง 3 โหมดแบบไร้รอยต่อ เร่งถกบริหารจัดการให้ดียิ่งขึ้น

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ได้จัดสัมมนา “อนาคตโลจิสติกส์ประเทศไทย : เชื่อมโยงรถ-เรือ-ราง รองรับการค้าระหว่างประเทศ” ขึ้น โดยนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สรท. กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาสายการเดินเรือของญี่ปุ่นได้รวมตัวกันนำเรือใหญ่ขึ้นมารับสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง ทำให้รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ต้องรอกว่า 5-7 ชม. ดังนั้นหากมีการสร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ทำอย่างไรจะไม่แออัด เพราะปัจจุบันรถไฟขนสินค้าเข้าท่าเรือแหลมฉบังได้ปีละ 4-5 แสนตู้ทีอียูจากแผนที่วางไว้ 2 ล้านทีอียู ควรสร้างท่าเรือสุราษฎร์ธานี และท่าเรือสงขลา 2 มาเสริม



ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในประเด็นไทยจะพัฒนาการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในอาเซียนได้อย่างไรว่า ไทยอาจสู้สิงคโปร์ไม่ได้ แต่ไทยมุ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมย่านชายฝั่งทะเลตะวันออก ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ทำให้หลายอุตสาหกรรมมาผลิตมากขึ้น โดยมีมอร์เตอร์เวย์เชื่อมกรุงเทพฯ-อยุธยา และเชื่อมต่อถึงท่าเรือแหลมฉบัง หรือเชื่อมจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยมีรถไฟทางคู่และมอเตอร์เวย์ ซึ่งช่วยให้การขยายอุตสาหกรรมไปภาคอีสานมากขึ้น

การลงทุนจากภาครัฐเป็นปัจจัยบวก ที่น่าเป็นห่วงคือ เรื่องการบริหารจัดการในการเชื่อมโยงในโหมดต่าง ๆ ให้ไร้รอยต่อ ต้องรีบเสนอภาครัฐบริหารจัดการก่อนแออัด รวมทั้งการศึกษาสร้างไอซีดีที่อยุธยาเพิ่มเติมจากเดิมที่ลาดกระบัง

เรือโท ยุทธนา โมกขาว รองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง กล่าวว่า ท่าเรือทุ่มงบฯ 1,000 ล้านบาท ขยายถนนจาก 4 เลนเป็น 6-7 เลน และขยายประตูท่าเรือเสร็จปลายปี 2560 ท่าเรือชายฝั่งที่แหลมฉบังรับสินค้าได้ 3 แสนทีอียู สร้างเสร็จแล้ว กำลังหาผู้บริหาร ระบบการจองคิวขนสินค้าเข้าท่าเรือที่มี 10% หรือ 800-1,000 คัน จะขยายการจองคิวให้มากขึ้นเพื่อลดความแออัด ทั้งนี้ เป้าหมายสุดท้ายของท่าเรือคือต้องมีสินค้าจากทางรถไฟเข้ามา 30% และทางน้ำ 10% และวันที่ 16 ต.ค.นี้ จะมีการเสนอโครงการสร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เข้าคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะดำเนินการก่อสร้างเสร็จในปี”68

นายกฤษฎาพล มณีเนตร รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การรถไฟฯพยายามล้างภาพลักษณ์การบริการให้ดีขึ้น ที่ผ่านมาอยากจะขนสินค้าให้ภาคเอกชนที่ติดต่อเข้ามา แต่สภาพหมอนรางรถไฟ หัวรถจักร แคร่ มีจำกัดและค่อนข้างแย่ ความเร็วของรถไฟจึงลดลงเกือบทุกเส้นทาง การที่ภาครัฐมาสนับสนุนการทำรถไฟทางคู่ การซื้อหัวรถจักรและแคร่เพิ่ม โดยประมูลเช่าพร้อมกับให้ซ่อมช่วยให้บริการภาคเอกชนดีขึ้น การรถไฟฯตั้งเป้าไปให้ทันเวลามากที่สุด เรื่องการล้างขาดทุนค่อยว่ากันทีหลัง เอากลุ่มคู่แข่งที่บรรทุกข้าว น้ำตาลมาเป็นคู่ค้า เอาพนักงานที่ปลดเกษียณมารับจ้างขับรถไฟต่อไป สร้างคอนเทนเนอร์ยาร์ดรองรับสินค้าทางราง

นางรัตนา อิทธิอมร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการขนส่งสินค้า กรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า กรมได้วางแผนสร้างสถานีขนส่งสินค้าทั่วประเทศเชื่อมโยงกับระบบรางไว้ 11 แห่ง เช่น ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ติดกับด่านศุลกากรเชียงของ ปี 2562 จะเปิดประมูลให้เอกชนมาบริหารนาน 15-30 ปี ที่ จ.หนองคาย สร้างติดด่านศุลกากร และที่ จ.นครพนม บริเวณใดติดทางรถไฟก็จะเว้นที่ดินบางส่วนให้การรถไฟฯทำคอนเทนเนอร์ยาร์ด หรือถ้าห่างกัน 3-5 กม. กรมก็จะไม่แข่งกับการรถไฟฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/10/2018 6:28 pm    Post subject: Reply with quote

เลิกลงทุนมอเตอร์เวย์-ทางด่วนเส้นทับซ้อนรถไฟ
เดลินิวสื อาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม 2561 เวลา 18.24 น.

"อาคม"ชะลอโปรเจคมอเตอร์เวย์ กว่า21โครงการ ทางด่วน 16เส้นทางไร้กำหนด สั่งสนข.เขย่าแผนแม่บทใหม่ ย้ำอย่าทับซ้อนเส้นทางรถไฟ ทั้งไฮสปีด ทางคู่

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมหารือการบูรณาการแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)ระยะ20ปีของกรมทางหลวง (ทล.)และแผนแม่บททางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)ว่าที่ประชุมมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)บูรณาการแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ของทล.21 โครงการวงเงิน 2.1ล้านล้านบาทและแผนแม่บททางด่วนของกทพ.16เส้นทางวงเงิน 4.9แสนล้านบาทเพื่อไม่ให้การลงทุนซ้ำซ้อนเบื้องต้นพบมี 3เส้นทางทับซ้อนกัน

นายอาคม กล่าวต่อว่า การลงทุนมอเตอร์เวย์ต้องเน้นเชื่อมโยงระหว่างเมืองส่วนทางด่วนต้องเน้นแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่สำคัญเส้นทางของ2หน่วยงานต้องเชื่อมต่อกันด้วยเพื่อความสะดวกในการเดินทางรวมทั้งต้องพิจารณาด้วยว่าการลงทุนเส้นทางต่างๆแข่งกับเส้นทางรถไฟหรือไม่พร้อมกันนี้ให้พิจารณาการลงทุนถนนขนาด4และ6ช่องจราจรว่าคุ้มค่าและจำเป็นหรือไม่อย่างไรก็ตามควรต้องจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนที่เร่งด่วนก่อนคือโครงการแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯและโครงการที่รองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)ส่วนโครงการใดยังไม่จำเป็นเร่งด่วนให้เลื่อนออกไปจากแผนแม่บท20ปี

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญกับการลงทุนระบบรางเป็นอันดับแรกเพราะรัฐบาลลงทุนและเดินหน้าโครงการระบบรางหมดแล้วทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูงส่วนการลงทุนมอเตอร์เวย์ก็ลงทุนเท่าที่จำเป็นหากลงทุนพร้อมกันหมดจะขาดทุนทั้งระบบราง และมอเตอร์เวย์อย่างไรก็ตามขณะนี้มีเส้นทางทับซ้อนระหว่างรถไฟและมอเตอร์เวย์จำนวนมากทั้งเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ จึงต้องพิจารณาใหม่ทั้งหมดไม่เฉพาะแค่ทางด่วน และมอเตอร์เวย์ต้องเอาทางรถไฟมาทาบด้วยโดยเน้นใช้รถไฟเป็นหลักส่วนเส่นทางที่ไม่ทับซ้อนกับรถไฟและน่าลงทุนเพื่อช่วยส่งเสริมการเดินทางของผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า คือเส้นทางภาคตะวันออกโครงการมอเตอร์เวย์ชลบุรี-อีสาน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2018 2:45 pm    Post subject: Reply with quote

18 โปรเจ็กต์ร้อน 8 แสนล้าน ตั้งแท่น ครม.ไฟเขียวก่อนเลือกตั้ง

วันพุธที่ 31 ตุลาคม 2561 เวลา 18:32 น.

เหลือเวลาอีก 3 เดือนเศษ ๆ ที่ประเทศไทยของเราจะเข้าสู่โหมด “เลือกตั้ง” ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 หากไม่มีอะไรพลิกล็อก

นับเป็นช่วง “เปลี่ยนผ่าน” ที่น่าจับตา ! โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่เตรียมรอเข้าคิวและขอแทรกคิวเป็นกรณีพิเศษ เพื่อชาติบ้านเมือง

“ประชาชาติธุรกิจ” จึงขอปัดฝุ่น “โพย” เมกะโปรเจ็กต์ที่สำคัญ ๆ ที่คาดว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พิจารณาอนุมัติ

18 โครงการ 7.3 แสนล้าน

เมื่อกางบัญชีรายชื่อโครงการ มูลค่าการลงทุนรวมจะมีมากถึง 2.4 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้จะมี 5 โครงการที่รอจ่อคิวประมูลแบบเร่งด่วน คิดเป็นมูลค่าราว 5 แสนล้านบาท

ซึ่งไม่รวมอีก 18 โครงการ มูลค่ากว่า 7.3 แสนล้านบาท ที่คมนาคมเตรียมทยอยเสนอ ครม.ขออนุมัติ เมื่อคิดเป็นเม็ดเงินลงทุนทั้งหมดในอินฟราสตรักเจอร์ของรัฐบาลชุดนี้จะอยู่ที่ 1.25 ล้านล้านบาท



เพื่อให้ทุกอย่างเดินหน้า “ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รองนายกรัฐมนตรี มือเศรษฐกิจรัฐบาล คสช. ได้เดินทางไปยังกระทรวงคมนาคมด้วยตัวเอง พร้อมสั่งให้ “อาคม” เจ้ากระทรวง สับเกียร์เหยียบคันเร่ง ลุยงานโครงการที่ล่าช้าอยู่โดยเร็วที่สุด โดยประกาศให้กดปุ่มประมูลทันที หลัง ครม.อนุมัติ ภายในเดือนธันวาคม 2561 ซึ่งเป็นการประชุม “ครม.นัดสุดท้าย” ณ แดนอีสาน จ.หนองคาย

“ระยะเวลาที่เหลือก่อนจะเลือกตั้งในต้นปีหน้า ไม่อยากให้ปล่อยไว้เฉย ๆ ไปตามกระบวนการ ได้เร่งรัดคมนาคมประมูลโครงการขนาดใหญ่ที่ค้างให้แล้วเสร็จ เพราะโครงการใหญ่เป็นเป้าหมายของรัฐบาลจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามแผน ถ้าโครงการไหนจะต้องจัดซื้อจัดจ้าง เปิดประมูล หรือเสนอคณะรัฐมนตรี ขอให้คมนาคมเร่งให้เสร็จสิ้นในปีนี้ ห้ามล่าช้าอีกเด็ดขาด เพราะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่เติบโตในวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากโครงการของคมนาคม จึงไม่อยากให้ชักช้า” แหล่งข่าวในกระทรวงคมนาคมกล่าวถึง “คำกำชับ” ของ ดร.สมคิด

ล่าสุด นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงความคืบหน้าว่า นับจากนี้ถึงเดือนมกราคม 2562 กระทรวงเตรียมโครงการลงทุนที่อยู่ในแผนเสนอขออนุมัติจาก ครม.แล้วจำนวน 18 โครงการ รวมมูลค่าลงทุน 738,885 ล้านบาท

ส่วนใหญ่เป็นโครงข่ายคมนาคมการขนส่ง ครอบคลุมทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล ต่างจังหวัด และเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ถ้าได้รับการอนุมัติแล้วจะดำเนินการเปิดประมูลก่อสร้างได้ทันที ทั้งเปิดประมูลทั่วไปและเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP

ทยอยอนุมัติ พ.ย.-ม.ค. 62

ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน มี 7 โครงการ วงเงินรวม 230,442 ล้านบาท ได้แก่ โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงิน 114,047 ล้านบาท ศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) วงเงิน 10,588 ล้านบาท มอเตอร์เวย์นครปฐม-ชะอำ วงเงิน 79,006 ล้านบาท ศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม วงเงิน 1,200 ล้านบาท ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย วงเงิน 1,360 ล้านบาท

รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ วงเงิน 6,570 ล้านบาท
สายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช เงินลงทุน 7,469 ล้านบาท และ
ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,202 ล้านบาท
ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ดสภาพัฒน์) ได้เห็นชอบโครงการแล้ว เมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา

ช่วงเดือนธันวาคม มี 6 โครงการ เงินลงทุนรวม 204,258 ล้านบาท มีรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 4 เส้นทาง
ช่วงจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 37,523 ล้านบาท
ช่วงขอนแก่น-หนองคาย เงินลงทุน 26,654 ล้านบาท
ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ เงินลงทุน 8,116 ล้านบาท และ
ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม เงินลงทุน 67,965 ล้านบาท

ยังมีโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ วงเงิน 42,000 ล้านบาท และก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ 3 วงเงิน 22,000 ล้านบาท

อีก 5 โครงการที่เหลือจะเสนอ ครม.ภายในเดือนมกราคม 2562 รวมเงินลงทุน 304,185 ล้านบาท เป็นโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 4 เส้นทาง คือ

ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย วงเงิน 62,614 ล้านบาท
ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี วงเงิน 24,287 ล้านบาท
ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา วงเงิน 57,369 ล้านบาท และ
ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ วงเงิน 59,915 ล้านบาท และ

โครงการจัดซื้อเครื่องบิน 23 ลำ ของ บมจ.การบินไทย วงเงินกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมตามความเห็นของ สศช. (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

จ่อประมูล 5 แสนล้าน

นายชัยวัฒน์ย้ำว่า กำลังเร่งรัดการเปิดประมูลโครงการที่ ครม.อนุมัติไปแล้ว 5 โครงการ รวมมูลค่า 519,505 ล้านบาท ให้ได้ตามแผนที่กล่าวไป ซึ่งจะมีการยื่นซองในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ ประกอบด้วย

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ที่จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP net cost สัมปทาน 50 ปี ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี และบริหารโครงการ 45 ปี

ช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ 2562 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะเปิดประมูลทางด่วนสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก วงเงิน 31,244 ล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 128,235 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดขายเอกสารได้ในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้

เดือนมกราคม-มีนาคม 2562 มีรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง เงินลงทุนรวม 50,137 ล้านบาท และรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 85,345 ล้านบาท

คลอดงานด่วนปี”62

นอกจาก “เร่งงานเก่า” ที่ค้างคา ล่าสุด คมนาคมเตรียมทำคลอด “แผนปฏิบัติการเร่งด่วน” หรือ action plan ในปี 2562 ด้วย

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า เพื่อเร่งขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังคัดเลือกโครงการลงทุนเร่งด่วนที่เป็นโครงการใหม่ เพื่อขออนุมัติ จะเริ่มได้ภายในปี 2562 ซึ่งเป็นโครงการที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านบาท และพร้อมในการดำเนินการทั้งหมดตามขั้นตอนแล้ว นั่นคือได้ศึกษาเรื่องความเหมาะสม การออกแบบรายละเอียด การได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ในเบื้องต้นจะมีประมาณ 43 โครงการ เป็นโครงการในแผนเร่งด่วนปี 2561 ที่ยังไม่ได้รับอนุมัติและมีโครงการใหม่ 12 โครงการ ที่ สนข.ทำเสร็จแล้ว

โดยกระทรวงคมนาคมจะตรวจสอบความคืบหน้าในโครงการต่าง ๆ พร้อมแจ้งไปยังหน่วยงานเจ้าของโครงการที่เกี่ยวข้อง

ก่อนจะรายงานบอร์ด สศช. และเสนอ ครม.ไฟเขียว คาดว่าจะมีผลบังคับทันที ภายในเดือนมกราคมปีหน้า
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44331
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/11/2018 8:50 am    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯโชว์ผลงาน 4 ปี ลงทุนทางคู่ 7 เส้นทาง 2.1 แสนล้าน ลดต้นทุนโลจิสติกส์ประเทศ 2%
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 9 November 2018 - 20:25 น.

การรถไฟแห่งประเทศไทย โชว์ผลงาน 4 ปี สนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งประเทศ กดปุ่มลงทุนโครงการรถไฟทางคู่สำเร็จ 7 โครงการ วงเงิน 213,100 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายเพิ่มความเร็วการเดินรถเป็น 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศลง 2%

สืบเนื่องจากรัฐบาลภายใต้การบริหารของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเป็นนโยบายสำคัญ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

พร้อมกับมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 8 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2558-2564 เพื่อวางรากฐานการลงทุนพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่อง และเชื่อมโยงระบบขนส่งทางราง ถนน น้ำ และอากาศเข้าไว้ด้วยกัน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ให้ความสำคัญสนองตอบต่อนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยนับตั้งแต่มีการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ปี 2558 จนถึงปัจจุบันปี 2561 ตลอดช่วงระยะเวลา 4 ปี

การรถไฟฯ สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ได้ตามแผนที่ยุทธศาสตร์กำหนดไว้ จำนวน 7 โครงการ คิดเป็นวงเงินลงทุนรวมกว่า 213,100.41 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 24,722.28 ล้านบาท ระยะทาง 148 กิโลเมตร ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี

2.โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 85,345 ล้านบาท ระยะทาง
323 กิโลเมตร ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี

3.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น วงเงิน 26,007.20 ล้านบาท ระยะทาง
187 กิโลเมตร ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี

4.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ วงเงิน 29,449.31 ล้านบาท ระยะทาง
132 กิโลเมตร ระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี

5.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร วงเงิน 17,290.63 ล้านบาท ระยะทาง
165 กิโลเมตรระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี

6.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน วงเงิน 20,046.41 ล้านบาท ระยะทาง 169 กิโลเมตรระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี

7.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ วงเงิน 10,239.98 ล้านบาท ระยะทาง
84 กิโลเมตร ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี

“โครงการรถไฟทางคู่ถือเป็นหัวใจของการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางของประเทศ โดยเมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จตามแผนจะช่วยเพิ่มความเร็วของขบวนรถขนส่งสินค้าจาก 35 – 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 70 กิโลเมตร และรถไฟขบวนขนส่งผู้โดยสารเพิ่มความเร็วจาก 50 – 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 120 กิโลเมตร รวมถึงยังก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งทางถนนไปสู่การขนส่งทางรางที่มีต้นทุนต่อหน่วยถูกลง” ตลอดจนยังช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลงซึ่งเป็นปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และส่งผลดีต่อการลดต้นทุน โลจิสติกส์โดยรวมของประเทศ จากปัจจุบันที่มีต้นทุนโลจิสติกส์เฉลี่ยร้อยละ 14 ของจีดีพี ให้ลดลงได้อีกร้อยละ 2 ภายในอนาคต นอกจากนี้ งบประมาณในการลงทุนยังก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ และเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นประโยชน์ต่อประเทศอีกมาก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99 ... 121, 122, 123  Next
Page 98 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©