Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311276
ทั่วไป:13258059
ทั้งหมด:13569335
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 101, 102, 103 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/06/2019 11:41 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

รฟท. ดันทางคู่ระยอง - ตราด
https://inews.bangkokbiznews.com/read/371795

รฟท.ดันทางคู่‘ระยอง-ตราด’
กรุงเทพธุรกิจ 11 มิ.ย. 62

“ร.ฟ.ท.” เปิด 3 โปรเจคสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ ประเดิมช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด ลงทุน 5-6 หมื่นล้าน ประมูลปี 2564 หนุนการขนส่งอีอีซี เชื่อม 10 นิคมอุตสาหกรรม กระตุ้นท่องเที่ยวชายทะเล เร่งของบออกแบบทางคู่ชุมพร-ระนอง เสริมท่าเรือน้ำลึกเอสอีซี

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้นอกจากการผลักดันโครงการรถไฟทางคู่ 7 เส้นทาง ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ยังอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ เพื่อสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

"การศึกษาเส้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล เพื่อผลักดันการขนส่งเข้าอีอีซีด้วย ดังนั้นมั่นใจว่าโครงการนี้จะถูกพัฒนาในเร็วๆ นี้ เพื่อทันต่อการพัฒนาในเขตอีอีซี คาดว่าปี 2563 จะเริ่มออกแบบก่อสร้าง และหลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่ช่วงเปิดประมูลจัดหาเอกชนก่อสร้าง โดยเป้าหมายส่วนใหญ่เพื่อขนส่งสินค้าเชื่อมท่าเรือแหลมฉบัง รวมไปถึงสนับสนุนการเดินทางเชื่อมต่อในพื้นที่ และการท่องเที่ยวภาคตะวันออกด้วย"

นอกจากการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว ร.ฟ.ท.ยังศึกษาความเหมาะสมพัฒนารถไฟทางคู่เชื่อมต่อศรีราชา-มาบตาพุด คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 เพื่อขออนุมัติงบออกแบบก่อสร้าง โดยเส้นทางสายนี้จะช่วยสนับสนุนการขนส่งสินค้าระหว่างเขตอุตสาหกรรมและท่าเรือ ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ เปลี่ยนการขนส่งจากรถยนต์ทางถนน เป็นระบบราง ขณะเดียวกัน ร.ฟ.ท.ยังอยู่ระหว่างศึกษาเส้นทางชุมพร-ระนอง เพื่อเชื่อมการขนส่งเข้าท่าเรือน้ำลึกระนองด้วย

ลงทุน5-6หมื่นล้านบาท

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า เส้นทางรถไฟสายใหม่ ช่วงศรีราชา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ เบื้องต้นจะมีระยะทางยาว 250 กิโลเมตร เป็นรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน 1 เมตร ประเมินงบประมาณในการลงทุนอยู่ที่ 5-6 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันการศึกษาเส้นทางแล้วเสร็จไปราว 90% คาดว่าจะภายในเดือน มิ.ย.นี้ จะเสร็จสมบูรณ์ ก่อนเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมในเดือน ก.ค.นี้ เพื่อของบประมาณปี 2563 ราว 120-150 ล้านบาท มาดำเนินการออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง

"ตอนนี้เราลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่แนวเส้นทางแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้สรุปว่าจะเลือกแนวเส้นทางไหน เพราะอย่างช่วงระยอง ก็มีเส้นทางผ่านช่วงนิคมอุตสาหกรรม มีทางเลือกอยู่ 3 เส้นทาง และทุกคนก็แย่งกันอยากให้ไปพัฒนาในเส้นทางที่ผ่านตนเอง เช่นเดียวกับช่วงจันทบุรีก็มีหลายชุมชน และทุกคนก็อยากมีรถไฟผ่านใกล้บ้าน ตอนนี้เราจึงยังไม่ได้สรุปแนวก่อสร้างที่ชัดเจน อาจจะต้องรอประเมินจากตัวเลขความคุ้มค่าแต่ละเส้นทางก่อน ซึ่งคาดว่าเดือนหน้าก็น่าจะเสร็จ"

คาดเปิดประมูลปี 2564

ทั้งนี้ หาก ร.ฟ.ท.ได้รับงบประมาณออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะใช้เวลาออกแบบราว 1 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนประมูลหาผู้รับเหมา คาดว่าจะประมูลได้ช่วงกลางปี 2564 และจะสามารถเร่งรัดเริ่มงานก่อสร้างในช่วงปลายปีเดียวกัน โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปีแล้วเสร็จ เปิดให้บริการในช่วงปี 2568-2569 โดย ร.ฟ.ท.มั่นใจว่ารถไฟสายใหม่นี้ จะเป็นเสมือนแขนขาของอีอีซี เชื่อมการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะผลไม้ในจ.จันทบุรีไปยังท่าเรือแหลมฉบังสะดวกขึ้น

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟทางคู่เส้นทางศรีราชา-ตราดแบ่งเป็น 3 ช่วง คือช่วงที่ 1 ชุมทางศรีราชา-สถานีระยอง ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมนิคมอุตสาหกรรมสู่นิคมอุตสาหกรรม 10 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 1-3 นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง นิคมอุตสาหกรรมโรจนะบ่อวิน นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมเหมราชระยอง

ช่วงที่ 2 เป็นเส้นทางเชื่อมนิคมอุตสาหกรรมสู่เมืองระยอง โดยเริ่มจากสถานีมาบตาพุด และช่วงที่ 3 เป็นเส้นทางเชื่อมระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (Eastern Fruit Corridor)และเชื่อมการท่องเที่ยว ซึ่งเริ่มจากสถานีระยองและมีจุดสิ้นสุดโครงการที่ด่านศุลกากร อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ที่สามรถเชื่อมการขนส่งสินค้าไปประเทศกัมพูชาได้

เร่งทางคู่เชื่อม"เอสอีซี"

แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า ร.ฟ.ท.เตรียมเสนอของบประมาณปี 2563 ราว 90 ล้านบาท เพื่อเริ่มออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร-ระนอง ระยะทาง 109 กิโลเมตร หลังจากที่ปัจจุบันได้ทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการเสร็จแล้ว โดยคาดว่าหลังจากได้รับจัดสรรงบประมาณนี้ จะใช้เวลาออกแบบรายละเอียด 1 ปี ก่อนเปิดประมูลจัดหาผู้รับเหมา และเริ่มงานก่อสร้างในปี 2564 มีกำหนดก่อสร้าง 3 ปีแล้วเสร็จ เปิดให้บริการในปี 2567 ซึ่งอยู่ในแผนการเชื่อมเส้นทางขนส่งของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (เอสอีซี)

"ช่วงชุมพร-ระนอง เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่รัฐบาลต้องการขับเคลื่อน เพราะจะช่วยขนส่งทั้งคนและสินค้า เชื่อมต่อ 2 ฝั่งทะเลของไทย จะทำให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น และที่สำคัญจะเชื่อมต่อไปยังท่าเรือน้ำลึกระนอง แต่ตอนนี้ก็ยังพบปัญหาจากทางกรมบัญชีกลาง ที่ถามถึงความจำเป็นเร่งรัดก่อสร้างรถไฟสายนี้ เพราะก่อนหน้านี้ สนข.ศึกษาความเหมาะสมจะต้องก่อสร้างในปี 2565 แต่ขณะนี้ก็มีความเหมาะสมที่จะเร่งสร้าง ซึ่ง ร.ฟ.ท.ก็ได้ตอบเหตุและผลไปยังกรมบัญชีกลางแล้ว"

ศึกษาแม่สอด-นครสวรรค์

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท. ยังมีแผนพัฒนารถไฟเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจอีสต์-เวสต์ คอริดอร์โดยจะเชื่อมต่อการเดินทางจากแม่สอด (ตาก)-นครสวรรค์-บ้านไผ่ (ขอนแก่น)-นครพนม เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งคนและสินค้าระหว่างภูมิภาค และประเทศเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้ ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการในช่วงแม่สอด-นครสวรรค์เสร็จแล้ว อยู่ระหว่างศึกษาช่วงนครสวรรค์-บ้านไผ่ โดยคาดว่าจะต้องใช้เวลานาน เนื่องจากมีระยะทางค่อนข้างยาว อีกทั้งยังตัดผ่านภูเขาหลายแห่ง ดังนั้นรถไฟสายใหม่นี้อาจยังไม่เกิดเร็วๆ นี้ แต่จะเป็นโครงการอนาคตที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการขนส่ง

ลุ้น สศช.เคาะทางคู่เฟส2

นายวรวุฒิ กล่าวว่า ความคืบหน้ารถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ร.ฟ.ท.ได้ส่งรายละเอียดเพื่อเตรียมเสนอคณะกรรมการ สศช. ซึ่งคาดว่าจะทยอยอนุมัติโครงการ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยอาจไม่ได้เสนอเข้า ครม.ในครั้งเดียว แต่จะเลือกในเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อการขนส่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

"คาดว่า สศช.จะอนุมัติช่วงขอนแก่น-หนองคาย ก่อนเพราะเป็นเส้นเชื่อมต่อโลจิสติกส์ให้สมบูรณ์จากชุมทางจิระ-ขอนแก่นอยู่แล้ว และเส้นทางนี้ยังเชื่อมต่อลงพื้นที่อีอีซีด้วย"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2019 9:24 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:

รฟท. ดันทางคู่ระยอง - ตราด
https://inews.bangkokbiznews.com/read/371795

รฟท.ดันทางคู่‘ระยอง-ตราด’
กรุงเทพธุรกิจ 11 มิ.ย. 62




รถไฟทางคู่ ‘ชุมทางศรีราชา-คลองใหญ่’ ส่งเสริมขนส่งทางรางเกษตรกรภาคตะวันออก
หน้าแรก / เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ 16 มิถุนายน 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3479 ระหว่างวันที่ 16-19 มิถุนายน 2562

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการดังกล่าวนี้มีระยะเวลาการศึกษา 6 เดือน ซึ่งจัดเป็นเส้นทางการเชื่อมต่อจากสถานีชุมทางศรีราชา หรือจากสถานีบางละมุง ถึงจุดเชื่อมต่อสถานีมาบตาพุด ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษามีหลายแนวทางที่อยู่ระหว่างการคัดเลือก โดยบางแนวเส้นทางผ่านนิคมอุตสาหกรรมมากถึง 7 แห่ง บางเส้นทางเรียกว่าเป็นการเชื่อมเส้นทางระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก แนวเส้นทางช่วงระยองเริ่มจากตัวเมืองระยอง ตัดผ่านพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และพื้นที่จังหวัดตราด ใกล้กับจุดด่านศุลกากรคลองใหญ่ด่านชายแดนเชื่อมกับกัมพูชา

รถไฟทางคู่สาย “ชุมทางศรีราชา-คลองใหญ่” จะส่งเสริมการขนส่งทางรางของเกษตรกรในพื้นที่ระยอง-จันทบุรี-ตราด ซึ่งเป็นศูนย์กลางผลไม้สำคัญของภาคตะวันออกและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างหลากหลาย เช่น การท่องเที่ยวแถบชายฝั่งทะเลอ่าวไทย การท่องเที่ยวเชิงนิเวศป่าชายเลน การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยปี 2561 มีปริมาณสินค้าทางรถไฟขาเข้าแหลมฉบัง 3.9 ล้านตันต่อปี ส่วนขาออก 1.7 ล้านตันต่อปี และมีปริมาณผู้โดยสารรถไฟจังหวัดชลบุรีปี 2561 ขาเข้าจำนวน 64,979 คนต่อปี และขาออก 57,713 คนต่อปี
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/06/2019 9:20 pm    Post subject: Reply with quote

สนข. เด้งรับคำสั่งสำนักงบฯ หั่นงบมอเตอร์เวย์ลง 1.2 แสนล้าน
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 17 มิถุนายน 2562 - 14:54 น.

สนข. เด้งรับคำสั่งสำนักงบฯ ลุยหั่นงบลงทุนมอเตอร์เวย์ 1.2 แสนล้าน เหลือ 2.02 ล้านล้านบาท เตรียมชงแผนแม่บทใหม่ให้ คมนาคม ไฟเขียว ก.ค. นี้

สั่งหั่นงบมอเตอร์เวย์ – นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีที่สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง มอบหมายให้ สนข. ไปพิจารณาปรับลดงบประมาณแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ระยะ 20 ปี (2560-79) วงเงิน 2.1 ล้านล้านบาทลง ว่า สำนักงบฯ มีข้อสังเกตว่าแผนแม่บทมอเตอร์เวย์เดิม ของกระทรวงคมนาคม จำนวน 21 สายทาง 56 ตอน ระยะทางรวม 6,612 กิโลเมตร เป็นโครงการที่ใช้เงินงบประมาณสูงมาก ราว 2.14 ล้านล้านบาท เนื่องจากมีการตัดแนวเส้นทางใหม่ที่ต้องมีการเวนคืนที่ดินค่อนข้างมากขณะที่รัฐบาลมีงบประมาณจำกัด ขณะที่ต้องนำเงินบางส่วนไปลงทุนพัฒนาระบบรางมากขึ้น จึงให้ สนข. ทบทวนแผนแม่บทใหม่โดยให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางหลวงสายหลักเดิมให้สามารถรองรับการขนส่งรูปแบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) โดยให้เขตทางหลวงเดิมที่เหลือเขตทางไม่น้อยกว่า 50-60 เมตร เป็นจุดสร้างมอเตอร์เวย์แทน เพื่อลดงบเวนคืนและให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“ผลการศึกษาเบื้องต้น สรุปว่า สนข. จะปรับแผนแม่บทใหม่ โดยจะปรับแนวเส้นทางมอเตอร์เวย์ จำนวน 17 เส้นทาง จากทั้งหมด 21 เส้นทาง ให้มาใช้เขตทางเดิมของกรมทางหลวงสร้างแทน ซึ่งจากการนำเส้นทางนำร่อง 2 เส้นคือสาย M71 Section 1 ตอน กรุงเทพฯ-สระแก้ว และ M5 Section 3 ตอน นครสวรรค์-พิษณุโลก มาลองออกแบบเพื่อเปรียบเทียบต้นทุน พบว่าก่อสร้างมอเตอร์เวย์ในแนวเขตทางเดิม จะช่วยลดงบลงทุนของภาครัฐโดยรวมได้ราว 1.2 แสนล้านบาท โดยลดงบเวนคืนได้ 51.9% หรือราว 5.03 หมื่นล้านบาท และลดงบก่อสร้างได้ 5.23% หรือ 6.96 หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้งบประมาณภาพรวมปรับลดลงเหลือ เพียง 2.02 ล้านล้าน เท่านั้น คาดว่า สนข. จะนำเสนอแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ฉบับใหม่หลังการปรับปรุง เสนอให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาได้ในเดือนก.ค. นี้”

นายชยธรรม์ กล่าวว่า การปรับแนวเส้นทางใหม่มอเตอร์เวย์ใหม่จำนวน 17 เส้นทาง จะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นโครงการในอนาคตที่ยังไม่มีการออกแบบรายละเอียดในการก่อสร้าง นอกจากนี้ การปรับแนวเส้นทางยังจะช่วยทำให้การก่อสร้างดำเนินการแล้วเสร็จได้เร็วขึ้นราว 1 ปี เนื่องจากไม่ต้องเจอกับปัญหาในการเวนคืนที่ดินจากประชาชน เพราะสร้างในเขตทางเดิมของ ทล. เอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2019 6:33 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดลายแทง “คมนาคม” รอรัฐบาลใหม่ บิ๊กโปรเจกต์! ค้างท่อ 1.7 ล้านล้าน
หน้าคมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2562 เวลา 09:47
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2562 เวลา 12:42




เปิดลายแทง “คมนาคม” รอรัฐบาลใหม่ บิ๊กโปรเจ็กต์! ค้างท่อ 1.7 ล้านล้าน เผือกร้อน! เวนคืน “มอเตอร์เวย์” ซื้อฝูงบินล็อตใหญ่-เทอร์มินัล 2

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ทำยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนผ่านแผนปฏิบัติการ (Action Plan) รายปี โดยในปี 2562 มี 41 โครงการ กรอบวงเงินลงทุนกว่า 1.77 ล้านล้านบาท

แต่ทว่า เพราะเป็นรอยต่อที่รัฐบาล คสช.จะสิ้นสุด และรัฐบาลจากการเลือกตั้งกำลังจะเข้ามาทำหน้าที่แทน จึงเป็นที่จับตาว่าโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ จะได้รับการขับเคลื่อนต่อเนื่องให้สำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่

โดยช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา โครงการะบบรางถือว่าได้รับการผลักดันเป็นพิเศษ มีการอนุมัติงบลงทุนจำนวนมหาศาลเป็นประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะรถไฟทางคู่ เฟสแรก 7 เส้นทาง ระยะทางรวม 993 กม. เงินลงทุนกว่า 1.18 แสนล้านบาท อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และทยอยแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2562-2566

ส่วนรถไฟทางคู่เฟส 2 อีก 7 โครงการ ระยะทาง 1,483 กม. เงินลงทุนกว่า 2.72 แสนล้านบาท ซึ่งอยู่ในขั้นตอนจัดทำรายละเอียดเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ดสภาพัฒน์) พิจารณา จากนั้นจึงจะเสนอ ครม.ชุดใหม่

“วรวุฒิ มาลา” รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การลงทุนรถไฟทางคู่เฟส 2 คาดว่ารัฐบาลอาจจะมีการจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งแตกต่างจากรถไฟทางคู่ระยะแรกที่มีการอนุมัติพร้อมกัน ทั้งนี้ เพื่อทยอยการลงทุน ซึ่งอาจจะอนุมัติโดยดูเส้นทางที่จะทำให้ครบโครงข่าย โดยเฉพาะเส้นทางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อาจจะได้รับการอนุมัติก่อน เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ สามารถเชื่อมการขนส่งโดยเฉพาะการขนส่งสินค้าจากหนองคาย นครพนม อุบลราชธานี มายังชุมทางถนนจิระ แก่งคอย เพื่อส่งต่อไปยังท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือแหลมฉบัง

ขณะที่รถไฟทางคู่สายใหม่จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงินรวม 85,345 ล้านบาท ซึ่ง ครม.ได้อนุมัติตั้งแต่ปี 2561 และล่าสุดเมื่อเดือน พ.ค. 2562 ครม.ได้อนุมัติเส้นทางบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท ถือเป็นโปรเจกต์รถไฟที่มีมูลค่าการลงทุนรวมถึง 1.5 แสนล้านบาท ที่รอรัฐบาลใหม่มาตัดเค้กเปิดประมูล

ยังไม่รวมรถไฟสายสีแดง ส่วนต่อขยายอีก 3 สายที่ ครม.อนุมัติไปแล้ว มูลค่า 23417.61 ได้แก่ สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, สีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ที่อยู่ในขั้นตอนเตรียมเปิดประมูล

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ยังมีโปรเจกต์ที่อยู่ในแผนงานมูลค่าหลายแสนล้านบาทเข้าคิวรอรัฐบาลใหม่ทำคลอด เช่น รถไฟความเร็วสูง ความร่วมมือไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) ซึ่งได้มีการปรับกรอบวงเงินเพิ่มเป็น 50,633.50 ล้านบาทที่ต้องเสนอ ครม.พิจารณา

การดำเนินโครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 350 กม. เงินลงทุนกว่า 2.10 แสนล้านบาท และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 210 กม. เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท

@รถไฟฟ้าสีส้ม และม่วงใต้ กว่า 2 แสนล้าน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มี 2 โครงการสำคัญ ซึ่งคณะกรรมการร่วมทุนรัฐและเอกชน (PPP) เห็นชอบแล้ว รอจ่อเข้า ครม. ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ด้านตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กม. เงินลงทุนค่างานโยธา 96,012 ล้านบาท ค่าระบบและรถไฟฟ้ากว่า 3.5 หมื่นล้านบาท

ส่วนสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. เงินลงทุน 101,112 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนการเตรียมประมูลก่อสร้าง โดย รฟม.ตั้งเป้าจะประกวดราคาก่อสร้างในช่วงปลายปี 2562

@เผือกร้อน งบเวนคืนมอเตอร์เวย์ “บางใหญ่-กาญจนบุรี” พุ่งปรี๊ด

กรมทางหลวงมีโครงการใหญ่อย่าง มอเตอร์เวย์ ซึ่งได้รับอนุมัติไปแล้ว 3 โครงการ ได้แก่ สายบางปะอิน-นครราชสีมา, สายบางใหญ่-กาญจนบุรี และสายพัทยา-มาบตาพุด ซึ่งได้เปิดประมูลเริ่มก่อสร้างแล้ว แต่ยังติดปัญหาการเพิ่มงบค่าเวนคืนที่ดิน สายบางใหญ่-กาญจนบุรี จากกรอบเดิม 5,420 ล้านบาท เป็น 19,637 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14,217 ล้านบาท ซึ่งปมค่าเวนคืนที่พุ่งกระฉูดให้งานก่อสร้างดีเลย์ถึง 2 ปีแล้ว และเป็นเผือกร้อนรอรัฐบาลใหม่ตัดสินใจ

นอกจากนี้ ยังมีมอเตอร์เวย์สายใหม่ และที่พักริมทางมอเตอร์เวย์ที่เข้าคิวรออนุมัติ ได้แก่ มอเตอร์เวย์สายนครปฐม-ชะอำ มูลค่าเงินลงทุนรวม 79,006 ล้านบาท มอเตอร์เวย์สายหาดใหญ่-ชายแดน/มาเลเซีย มูลค่า 37,470 ล้านบาท, ทางยกระดับ อุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน 29,269.97 ล้านบาท และทางยกระดับบนถนนพระราม 2 ช่วงบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว 32,285 ล้านบาท, ที่พักริมทาง มอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา 1,579.88 ล้านบาท, ศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา ช่วงชลบุรี-พัทยา 1,504 ล้านบาท, สถานที่บริการทางหลวงบางละมุง 620 ล้านบาท

@ชงผุดทางด่วน N2 และสายกระทู้-ป่าตอง

สำหรับโครงการทางด่วนนั้น มีโครงการใหม่ที่เตรียมนำเสนอ ครม. คือ สายกระทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต ระยะทาง 3.98 กม. เงินลงทุน 14,177.22 ล้านบาท และโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 และ E-W corridor ด้านตะวันออก วงเงินลงทุน 14,382 ล้านบาท เบื้องต้น กทพ.จะใช้เงินลงทุนจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์) หรือTFF

@เรื่องด่วน จัดหาฝูงบินใหม่ 38 ลำของการบินไทย 1.6 แสนล้าน

ขณะที่แผนจัดหาฝูงบินใหม่ จำนวน 38 ลำ วงเงินประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ของการบินไทย ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของสภาพัฒน์แล้ว ยังต้องลุ้น ครม.ใหม่ว่าจะเอาด้วยหรือไม่ ซึ่งตามแผนการบินไทย แบ่งการจัดหาล็อตแรกจำนวน 25 ลำก่อน เพื่อให้มีการทยอยรับมอบใน 2 ปี เพื่อมีเครื่องบินใหม่มาเสริมประสิทธิภาพการให้บริการ และเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟู แก้ปัญหาขาดทุน

@ทอท.ดันก่อสร้างเทอร์มินัล 2

โครงการอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สนามบินสุวรรณภูมิ วงเงินโครงการ 4.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ถูกวิพากษ์วิจารณ์การประมูลออกแบบ และการปรับแผนแม่บทการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นอีกประเด็นร้อนที่รัฐบาลใหม่ต้องเร่งตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ

@ฟื้นฟู ขสมก. ซื้อรถเมล์ใหม่ 2,188 คัน วงเงินกว่า 1.9 หมื่นล้านบาท

สำหรับแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก.พร้อมสนอ ครม.แล้ว โดยจะมีการแก้ปัญหาหนี้สินกว่าแสนล้านบาท พร้อมกับการซื้อรถใหม่ 3,000 คัน วงเงินลงทุน 21,210.343 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ได้จัดหาแล้ว 489 คันวงเงิน 1,891.452 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะดำเนินการภายใน 3 ปี (62-64) โดยปี 2562 จะปรับปรุงสภาพรถโดยสาร NGV (เดิม) จำนวน 323 คัน

ขณะที่จะมีการซื้อรถใหม่ จำนวน 2,188 คัน ได้แก่ จัดซื้อรถไฟฟ้า (EV) จำนวน 35 คัน พร้อมสถานีเติมก๊าซ วงเงิน 466.94 ล้านบาท

ที่เหลือจะเป็นแผนในปี 2563 ได้แก่ เช่ารถโดยสารใหม่ จำนวน 700 คัน วงเงินรวม 7,000 ล้านบาท (เช่ารถไฮบริด 400 คัน วงเงิน 4,800 ล้านบาท, เช่ารถ NGV 300 คัน วงเงิน 2,200 ล้านบาท) และปี 2564 จัดซื้อรถโดยสารไฮบริด จำนวน 1,453 คัน วงเงิน 11,624 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2019 9:00 pm    Post subject: Reply with quote

ต่อยอดจากอีอีซี ด้วยโปรเจกต์พัฒนา ‘จังหวัดสระแก้ว’ ให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษชายแดนไทย – กัมพูชา ครบวงจร
By Praornpit Katchwattana
1 มิถุนายน 2562
ใช้ สระแก้ว เป็นประตูสู่การลงทุนและการท่องเที่ยวไทย-กัมพูชา
คุณสุรวุฒิยังกล่าวต่อว่า จ.สระแก้ว ไม่ได้มีแค่ศักยภาพด้านการลงทุน แต่ยังมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูงมาก เพราะมีโอกาสสูงในการสร้างระบบขนส่งเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในกัมพูชาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งตอนนี้ติดแค่ปัญหาขาดแคลนขบวนรถไฟที่จะเข้ามาวิ่งในเส้นทางดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้ลงทุนกว่า 2 พันล้านบาทในการขยายเส้นทางรถไฟไปเชื่อมโยงกับฝั่งประเทศกัมพูชาได้แล้ว แต่ยังไม่มีขบวนรถไฟด่วนพิเศษ (รถไฟสปรินเตอร์) วิ่งในเส้นทางนี้

อย่างไรก็ตาม ทางหอการค้าสระแก้วยังคงมีความหวังว่า จะมีขบวนรถไฟสปรินเตอร์ติดแอร์ มีตู้โดยสารใหม่ที่ปลอดภัยและมีมาตรฐานสูง โดยจะจอดที่สถานีหลัก 7 สถานีในประเทศไทย – กัมพูชา ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางตลอดเส้นทางไม่เกิน 4 ชั่วโมง ถ้าความหวังนี้เป็นจริง แน่นอนว่าจะมีผู้โดยสารทั้งไทย กัมพูชา รวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาใช้บริการรถไฟสายนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากแน่นอน


The ordinary train no. 279 from Bangkok to Aranyaprathet And The ordinary train no. 276 from Aranyaprathet to Bangkok at Aranyaprathet Railway Station
เพราะปัจจุบัน เส้นทางนี้มีเพียงตู้รถไฟร้อนชั้น 3 ที่เข้ามาวิ่ง ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่สนใจจะเข้ามาใช้บริการ ซึ่งขณะนี้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมายังอำเภออรัญประเทศ เพื่อท่องเที่ยวที่ตลาดโรงเกลือ หรือข้ามไปฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา ก็ยังต้องอาศัยบริการของรถตู้จากกรุงเทพฯ มาที่ อำเภออรัญประเทศ ซึ่งมีค่าโดยสาร 240 บาท กันอยู่

“ขณะนี้มีรถไฟตู้ร้อนชั้น 3 วิ่งจากกรุงเทพฯ มาปอยเปตเพียงวันละ 2 เที่ยว และมีผู้ใช้บริการน้อยมาก ขาดทุนเดือนละ 1 ล้านบาท หากมีขบวนรถไฟด่วนพิเศษ (รถไฟสปรินเตอร์) ที่สะดวกสบาย จะช่วยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวหันมาใช้บริการเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลลงทุนสร้างรางไปแล้ว 2,000 ล้านบาท ถ้าเพิ่มขบวนรถไฟติดแอร์อีก 4 ขบวน ลงทุนอีก 200 ล้านบาท จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เนื่องจากจะช่วยให้ได้ใช้ศักยภาพทางรถไฟได้เต็มที่ มีส่วนส่งเสริมการท่องเที่ยวของ จ.สระแก้ว ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวได้อีก 30% ช่วยแก้ปัญหาการท่องเที่ยวใน จ.สระแก้ว ที่ซบเซาได้อย่างยั่งยืน”

จากข้อจำกัดของการพัฒนาที่ล่าช้าตรงนี้ คุณสุรวุฒิชี้ว่า อาจทำให้ไทยเสียโอกาสในการเชื่อมต่อกับการพัฒนาของทางฝั่งประเทศกัมพูชาก็ได้ เพราะตอนนี้กัมพูชากำลังปรับปรุงเส้นทางจากอำเภอปอยเปต เข้าสู่กรุงพนมเปญ 400 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะปรับปรุงเสร็จภายใน 2 ปี จึงทำให้แผนการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่หันมาสนใจที่จะเที่ยวประเทศไทยก่อน จากนั้นค่อยเดินทางไปกรุงพนมเปญและจังหวัดท่องเที่ยวของกัมพูชาต่อ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2019 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวศรีราชาค้านเส้นทางรถไฟทางคู่ ขอให้พิจารณาปรับเส้นทางผ่านชุมชน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: เสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2562 เวลา 15:34
ปรับปรุง: เสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2562 เวลา 15:48



ศูนย์ข่าวศรีราชา - ชาวบ้านหนองขาม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ร่วมเสนอแนวทาง พร้อมคัดค้านขอให้ปรับเปลี่ยนเส้นทางรถไฟทางคู่สายชุมทางศรีราชา-ระยอง เส้น AB1, AB2 ที่ตัดผ่านชุมชน เนื่องจากสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่เส้นทางรถไฟจะตัดผ่าน



จากกรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาแนวทางโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายชุมทางศรีราชา-ระยอง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในการพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไร้รอยต่อ ซึ่งได้ศึกษาและกำหนดเส้นทางแนวทางรถไฟทางคู่ไว้จำนวน 4 เส้นทาง และจะต้องมีการเวนคืนที่ดินเป็นจำนวนมากนั้น

ล่าสุด วันนี้ (29 มิ.ย.) กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ตำบลสุรศักดิ์ ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เกือบ 100 คน ที่ได้ทราบข่าวว่าเส้นทาง AB1, AB2 ซึ่งเป็น 2 ใน 4 เส้นทางที่บริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษาเส้นทางมานั้น จะทำให้ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เส้นทางดังกล่าวได้รับผลกระทบ จึงได้มารวมตัวกันเพื่อรับทราบข้อมูลของโครงการนี้ ซึ่งพบว่าบางคนยังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้เลย เมื่อได้รับทราบข้อมูลชาวบ้านต่างมีความเห็นขอให้ที่ปรึกษาโครงการปรับเปลี่ยนเส้นทางที่จะต้องผ่านหมู่บ้านหรือชุมชน

โดยอยากให้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางที่ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด ซึ่งในเบื้องต้นกลุ่มแกนนำจะนำเรื่องไปเสนอต่อเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2562 เพื่อให้เป็นกระบอกเสียงตัวแทนชาวบ้านนำเสนอเรื่องความเดือดร้อนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ด้าน นายธาดา หิตะจารีย์ ตัวแทนชาวบ้านเปิดเผยว่า ชาวบ้านที่มาในวันนี้ไม่ได้คัดค้านการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ไม่ได้ต่อต้านการพัฒนาประเทศ แต่ที่มาในวันนี้เพียงต้องการแสดงความคิดเห็นของชาวบ้านที่อยู่ในแนวทางการก่อสร้างโครงการ โดยจะขอให้โครงการพิจารณาปรับเปลี่ยนเส้นทางหรือไปใช้เส้นทางที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด

เนื่องจากชาวบ้านหลายรายต้องถูกเวนคืนที่ดิน หรืออาจได้รับผลกระทบต่อโครงการนี้ในอนาคต ซึ่งจะนำข้อเรียกร้องทั้งหมดที่ได้ในวันนี้ไปเสนอต่อผู้บริหารเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ช่วยเหลือชาวบ้านในการยื่นข้อเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบต่อไป

สำหรับโครงการนี้จะมีการประชุมระดับจังหวัดอีกครั้งในวันที่ 23 กรกฎาคม 2562 ที่โรงแรมพานหินรีเจนท์ พื้นที่ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในเวลา 09.00-12.00 น. และจะสิ้นสุดโครงการศึกษาและสรุปเส้นทางว่าจะเลือกเส้นทางไหน 1 ใน 4 เส้นทางที่ทำการศึกษา ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2562
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2019 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ชาวศรีราชาเฮ! รถไฟทางคู่สายชุมทางศรีราชา-ระยองไม่ผ่านชุมชนแล้ว
เผยแพร่: 2 ก.ค. 2562 18:31 ปรับปรุง: 2 ก.ค. 2562 18:34 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

นายปัฐตพงษ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับผลจากการศึกษากว่า 95 % พบว่า เส้นทาง AB1-ABและ AB3 นั้น จะใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูง , มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อประชาชน โดยจะมีผลกระทบมากกว่า เส้นทาง AB4 ดังนั้น เส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุดในขณะนี้ คือ เส้นทาง AB4 และเมื่อออกทำมาชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชนแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ได้หายวิตกกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นแล้ว

สำหรับเส้นทาง AB4 นั้น จะเริ่มต้นที่สถานีศรีราชา ซึ่งใช้เส้นทางเดิมไปจนถึงสถานีบางละมุง โดยไม่มีการเวนคืนที่ดิน และเมื่อใกล้ถึงเส้นทางบางละมุงจะมีทางแยกออกมาทางทิศตะวันออก โดยจะตัดผ่านไปทางทิศใต้บริเวณห่างจากหมู่บ้านแมกไม้แหลมฉบัง 2 พอสมควร พร้อมผ่านถนนสายห้วยกู และผ่านนิคมอุตสาหกรรมโรจนะแหลมฉบัง

จากนั้นจะข้ามถนนมอเตอร์เวย์ มาตัดกับถนนสายนาวัง ตัดเข้ามาที่บริเวณภูเขาไม้แก้ว ใกล้สำนักสงฆ์เมืองจันทร์สุดาด้านทิศใต้ พร้อมมาตัดข้ามถนนทางหลวงสายสัตหีบ-พนมสารคาม ใกล้หมู่บ้านชาญสมอน ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ ระยอง โดยเส้นทางจะเลียบนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ ระยอง มาทางทิศใต้ ผ่านหมู่บ้านลีโอ เรนซิเด้นซ์ จากนั้นจะข้ามมาที่ตำบลเขาไม้แก้ว และเข้าสู่เขตพื้นที่อำเภอนิคมพัฒนา จ.ระยอง บริเวณวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย

จากนั้นจะวกลงมาทางด้านทิศใต้ ผ่านบริษัทจิลสตีล สถานีไฟฟ้าแรงสูงบ้านค่าย และตัดผ่านใกล้วัดหนองสะพาน เข้าสู่ตัวเมืองระยอง ทางด้านทิศเหนือด้านวัดน้ำคอก(เก่า) โดยเส้นทางทั้งหมดระยาว 64 กิโลเมตรแต่ถ้าร่วมเส้นทางรถไฟเดิม จะยาวทั้งสิ้น 74 กิโลเมตร



เมื่อดูรูปการณ์ แล้ว หวยจะออกทาง AB4 ซึ่งจะมีลักษณะดังนี้
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรม ปิ่นทอง 1 - 10.7 กิโลเมตร
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรม ปิ่นทอง 2 - 15.8 กิโลเมตร
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรม ปิ่นทอง 3 - 13.0 กิโลเมตร
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรม เหมราชชลบุรี - 4.4 กิโลเมตร
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด - 9.0 กิโลเมตร
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ระยอง - 0.8 กิโลเมตร
ห่างจากนิคมอุตสาหกรรม เหมราชระยอง -1.0 กิโลเมตร


มีแค่ห้าสถานีจากบางละมุง ไประยอง ระยะทาง 64 กิโลเมตร (ทางจากศรีราชา ไป บางละมุงแค่ 10 กิโลเมตรเอง) โดยผ่าน นิคมอุตสาหกรรมโรจนะแหลมฉบัง กับ นิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ ระยอง แต่งานนี้ นิคมปลวกแดงท่าจะอด เพราะรถไฟไม่ผ่าน แต่ถ้าผ่านบ่อวิน ก็ได้พวกทำงานในนิคมอุตสาหกรรมแถวบ่อวิน และ ได้คนจาก วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย ด้วย นอกเหนือจากที่ได้จากพัฒนานิคม และ เขาไม้แก้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/07/2019 4:00 pm    Post subject: Reply with quote

"อยุธยา" ผุดแผนสร้าง "สถานีขนส่ง-ปรับเส้นทางเดินรถโดยสาร" รองรับไฮสปีด
The Bangkok Insight 4 กรกฎาคม 2562

“อยุธยา” คลอดแผนแม่บทรองรับ “โครงการไฮสปีด-รถไฟฟ้าสายสีแดง” ลุยสร้างสถานีขนส่งประจำจังหวัด ปรับแผนเดินรถโดยสารสาธารณะ พร้อมศึกษาฟีดเดอร์เชื่อมรถไฟฟ้ารังสิต

รายงานข่าวจากกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีให้จัดทำ “แผนแม่บทโครงข่ายคมนาคมและโลจิสติกส์” เพื่อกำหนดแนวทางการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งให้สอดคล้องกับการพัฒนาจังหวัดและระบบขนส่งมวลชนในระดับประเทศ "เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่มีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2565 และมีการก่อสร้างสถานีอยุธยาด้วย โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6 เส้นทางบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา และโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต เป็นต้น

ในช่วง 3 ปีนี้ ระหว่างปี 2562-2564 แผนแม่บทฯ ได้บรรจุโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่สำคัญไว้หลายโครงการ เช่น "โครงสร้างก่อสร้างสถานีขนส่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา"เนื่องจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังไม่มีสถานีขนส่งขนาดใหญ่ มีเพียงจุดจอดรถย่อยๆ เช่น ตลาดหัวรอที่เป็นจุดจอดรถตู้โดยสารสาธารณะเชื่อมกับกรุงเทพฯ เป็นต้น

เบื้องต้นสถานีขนส่งแห่งใหม่จะตั้งอยู่บนถนนเอเชีย ห่างจากศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประมาณ 1 กิโลเมตร โดยกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จะของบประมาณปีงบประมาณ 2563 เพื่อลงทุนจัดซื้อที่ดินและก่อสร้างรวม 190 ล้านบาท การก่อสร้างจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี จากนั้นจะส่งมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษา

“ตามแผนจะใช้เวลาสร้างสถานีขนส่ง 2-3 ปี ไม่น่าจะก่อสร้างเสร็จเกินปี 2565 เพราะรถไฟความเร็วสูงจะก่อสร้างเสร็จประมาณปี 2565 เหมือนกัน ต่อไปรถโดยสารสาธารณะทุกหมวดจะต้องมาจอดที่สถานีที่ขนส่ง รถหมวด 1 ที่ให้บริการในเกาะเมืองก็ต้องปรับความถี่และเส้นทางใหม่ให้เชื่อมโยงสถานีขนส่ง สถานีรถไฟ และสถานที่สำคัญ กระตุ้นให้นักท่องเที่ยวและประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เพราะปัจจุบันการเดินทางในอยุธยา 70-80% ใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้เกิดปัญหารถติดในเกาะเมืองโดยเฉพาะในช่วงวันหยุด” แหล่งข่าวกล่าว

ในแผนแม่บทฯ ยังบรรจุ "โครงการศึกษาเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางหมวด 3 เชื่อมโยงจังหวัดพระนครศรีอยุธยากับโครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต" วงเงินงบประมาณ 1.2 ล้านบาท ในปี 2563 เพื่อให้บริการรถโดยสารประจำทางระหว่างสถานีรถไฟฟ้ารังสิตกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สำหรับสถานีรถไฟอยุธยา ที่จะถูกพัฒนาให้รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงด้วยนั้น เบื้องต้นจะมีการก่อสร้างโครงสร้างใหม่คร่อมสถานีเดิม โดยชั้น 2 จะเป็นห้องจำหน่ายบัตรโดยสารรถไฟความเร็วสูงและชั้นที่ 3 จะเป็นชานชาลารถไฟความเร็วสูง

แต่ปัญหาที่พบคือ ถนนบริเวณหน้าสถานีรถไฟมีเพียง 2 ช่องจราจร จึงมีการหารือว่าจะต้องขยายเพิ่มเป็น 4 ช่องจราจร รวมทั้งจะศึกษาเส้นทางเข้าออกเกาะเมืองใหม่อีก 1 แห่งใกล้กับสถานีรถไฟอยุธยา จากปัจจุบันที่มีทางเข้าออกเกาะเมืองทั้งหมด 3 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง

ขณะเดียวกันแผนแม่บทฯ มี "โครงการพัฒนาจุดเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรถไฟอยุธยา" วงเงิน 2.7 ล้านบาทในปี 2562 เพื่อพัฒนาลอดจอดรถ และจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสารของรถโดยสารสาธารณะและรถยนต์ส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐาน รวมถึงรถสามารถทำความเร็วเฉลี่ยหน้าสถานีรถไฟได้เพิ่มขึ้น

แหล่งข่าวกล่าวว่า จังหวัดอยุธยายังอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟอยุธยา (TOD) โดยล่าสุดกำลังหารือถึงขอบเขตการพัฒนาว่า ควรมีรัศมี 2 กิโลเมตรหรือ 5 กิโลเมตรนับจากสถานีรถไฟ รวมถึงรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ เช่น ศูนย์การค้า พื้นที่เชิงพาณิชย์ พื้นที่สีเขียว ที่พักอาศัย เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/07/2019 8:59 am    Post subject: Reply with quote

‘สกพอ.’ลุยแผนฟีดเดอร์ เชื่อมรถไฟความเร็วสูง
กรุงเทพธุรกิจ 8 ก.ค. 62

Click on the image for full size

การขับเคลื่อนนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ดำเนินมาครบ 2 ปี และถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แต่นโยบายนี้จะได้รับการขับเคลื่อนต่อ และได้เตรียมแผนงานสำหรับการขับเคลื่อนหลังจากนี้แล้ว

คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า อีอีซีถูกกำหนดแผนงานที่กำหนดไว้ 4 ระยะ ได้ดำเนินการผ่านระยะที่ 1 การออก พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มีการประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พ.ค.2561

ระยะที่ 2 การผลักดันโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ 5 โครงการ ซึ่งมี 2 โครงการ ที่เตรียมเข้าสู่การลงนาม คือ

1.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ซึ่งคณะรัฐนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างสัญญาระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี)

2.โครงการท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ซึ่งจะมีการลงนามระหว่างการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และกิจการร่วมค้ากัลฟ์และพีทีทีแทงก์ โดยทั้ง 2 โครงการ จะเรียบร้อยภายในเดือน ส.ค.นี้

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้กำหนดให้ผู้ชนะประมูลเป็นผู้กำหนดที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง ตั้งแต่สถานีฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยาและศรีราชา ส่วนสถานีต้นทางจากดอนเมือง-สุวรรณภูมิใช้โครงสร้างของแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ อยู่แล้ว

การกำหนดให้เอกชนเป็นผู้เลือกที่ตั้งสถานีเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งเอกชนจะเลือกที่ตั้งสถานีที่ใกล้ชุมชนเป็นหลัก แต่ประชาชนในชุมชนที่รถไฟความเร็วสูงต้องเข้าถึงได้ ซึ่งกำหนดให้มีระบบฟีดเดอร์เป็นระบบขนส่งมวลชนรองเพื่อขนคนเข้าสู่ระบบรถไฟความเร็วสูง โดยมีการกำหนดไว้หลายรูปแบบ เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้าโมโนเรล รถไฟฟ้ารางเบาระดับพื้นดิน (แทรม) และหลังจากนี้จะมากำหนดรูปแบบว่าใครจะเป็นผู้ลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรอง

ขณะนี้มีข้อเสนอจากเมืองพัทยาให้มีการสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลหรือแทรมเป็นระบบขนส่งรอง เพื่อเชื่อมตัวเมืองพัทยากับสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา ในขณะที่มีข้อเสนอให้มีการลงทุนรถไฟฟ้าโมโนเรลเข้าจากสถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภาเข้าไปตัวเมืองระยอง ระยะทาง 20-30 กิโลเมตร กำหนดสถานีรถไฟฟ้าโมโนเรลไว้ 4 สถานี

ทั้งนี้ ภาครัฐประเมินว่าระบบขนส่งมวลชนรองจะใช้งบประมาณไม่มาก เพราะเทคโนโลยีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามีความก้าวหน้ามาก โดยบริษัท BYD ที่สนใจมาลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย และเป็นบริษัทที่เข้าไปลงทุนสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลในหลายประเทศ และมีการประเมินต้นทุนการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลขณะนี้ถูกกว่ารถไฟฟ้าใต้ดินถึง 3 เท่า

ส่วนโครงการที่มีปัญหามี 2 โครงการ คือ
1.โครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 มีปัญหาผู้ยื่นซองประมูลลงนามเอกสารไม่ถูกต้อง
2.โครงการสนามบินอู่ตะเภาเมืองการบินภาคตะวันออก มีปัญหาผู้ยื่นซองประมูลส่งเอกสารบางส่วนช้ากว่าเวลากำหนด และปัญหาของทั้ง 2 โครงการ นำมาสู่การร้องศาลปกครองกลางเพื่อยุติข้อขัดแย้งระหว่างผู้ยื่นซองกับคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน

"หากคณะกรรมการคัดเลือกฯ อะลุ่มอล่วยจะทำให้ผู้ประมูลอีกรายฟ้องได้ ทางออกที่ดีที่สุด คือ การยืนตามหลักเกณฑ์การประมูล "

สกพอ.ได้เตรียมแผนขับเคลื่อนในช่วงครึ่งหลังปี 2562 ซึ่งมีแผนงานที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ
1.การผลักดันการพัฒนาด้านสาธารณสุข ชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงแผนการพัฒนาเมืองหรือสมาร์ทซิตี้ ซึ่งต้องมีการลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชุมชนมากขึ้น

2.การประกาศใช้ผังเมืองรวมอีอีซีภายในเดือน ส.ค.นี้ ซึ่งขณะนี้กรมโยธาธิการและผังเมืองจัดทำเสร็จแล้ว และเตรียมเข้าสู่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่จะแต่งตั้งขึ้นใหม่หลังการจัดตั้งรัฐบาล แต่ยังคงมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานเช่นเดิม

3.การชักจูงการลงทุนภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการลงทุนต่อเนื่องจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยกลุ่มนักลงทุนที่จะดึงเข้ามาลงทุนจะมีทั้ง นักลงทุนญี่ปุ่น ที่เคยเข้ามาดูลู่ทางการลงทุนในอีอีซีแล้วในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา ในขณะที่ นักลงทุนยุโรป ที่สนใจย้ายฐานการลงทุนจากจีนมาไทย ซึ่ง สกพอ.จะเน้นดึงการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงและอากาศยาน

ในขณะที่ นักลงทุนจีน ที่จะดึงเข้ามามีเป้าหมายต้องไม่น้อยกว่านักธุรกิจญี่ปุ่นในช่วง 5 ปี ข้างหน้า ซึ่งปัจจุบันนักธุรกิจจีนได้รับแรงกดดันให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศจึงเป็นโอกาสดีที่จะดึงมาลงทุนในไทย โดยที่ผ่านมา สกพอ.ได้ไปทำข้อตกลงร่วมมือการลงทุนรายมณฑล เช่น มณฑลเจิ้งโจวที่มีเมืองอุตสาหกรรมการบินขนาดขนาดใหญ่

เมื่อนักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนจะมาพร้อมกับซัพพลายเชนเป็น 100 บริษัท ซึ่ง สกพอ.ได้ประสานให้นิคมอุตสาหกรรมในอีอีซี เพื่อให้จัดเตรียมพื้นที่รองรับการลงทุนของนักธุรกิจจีน ซึ่งบริษัทอมตะ คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ได้จัดพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจีนไว้รองรับ ในขณะที่บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) เตรียมนิคมอุตสาหกรรมรองรับนักลงทุนจีนที่ จ.ระยอง

นักธุรกิจจีนที่จะดึงเข้ามาลงทุนจะเน้นอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูง ซึ่งบริษัทจีนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนามาก โดยบริษัทหัวเว่ยมีงบประมาณลงทุนถึง 16% ของรายได้ และไทยก็ต้องการให้บริษัทหัวเว่ยเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่เน้นการนำสินค้ามาขายในไทย

นอกจากนี้ สกพอ.ได้หารือกับเผิง ฉุน ประธานบริษัท China Investment Corporation (CIC) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund) ของจีนที่นำเอาเงินทุนสำรองของจีนออกมาบริหาร โดยมีเงินตั้งต้น 2 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 6 ล้านล้านบาท ปัจจุบันมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็น 8 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 24 ล้านล้านบาท และสนใจมาลงทุนในอีอีซี

รวมทั้งปัจจุบัน CIC มีการลงทุนที่หลากหลายทั้งการร่วมลงทุนกับบริษัทต่างๆ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2019 7:03 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดขุมทรัพย์คมนาคม “โครงการ-สัมปทาน” รอรัฐมนตรี-รัฐบาลใหม่กดปุ่ม
พร็อพเพอร์ตี้
วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2562 เวลา 12:27 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 9 ก.ค.2562 เป็นนัดสุดท้ายของรัฐบาล คสช. ไม่มีการอนุมัติโครงการสำคัญที่หลายหน่วยงานพยายามผลักดันให้ได้รับการอนุมัติให้ทันรัฐบาลชุดนี้

ในส่วนของกระทรวงคมนาคม เป็นที่แน่ชัดแล้ว จะมี 3 พรรคการเมืองที่มากำกับดูแล คือ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ จากพรรคภูมิใจเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง นายถาวร เสนเนียม พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง และนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ พรรคพลังประชารัฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

ทั้งนี้ เมื่อไล่เรียงแผนงานโครงการของกระทรวงคมนาคม แม้ว่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จะมีการผลักดันโครงการลงทุนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีโครงการขนาดใหญ่และสัญญาสัมปทานที่ยังไม่สำเร็จลุล่วง จนตกทอดมาถึงรัฐบาลชุดใหม่-รัฐมนตรีขั้วใหม่

@เกลี่ยใหม่งบปี’63 กว่า 4 แสนล้าน

คาดว่าเรื่องแรกที่ทั้ง 3 รัฐมนตรีที่จะมาประจำการที่คมนาคมจะต้องเร่งทำ คือ การจ้ดสรรงบประมาณประจำปี 2563 ให้สอดรับกับนโยบายที่หาเสียงไว้ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมยื่นเสนอขอไปที่สำนักงบประมาณไว้ประมาณ 4.2 แสนล้านบาท

แต่เมื่อรัฐบาลเปลี่ยน งบประมาณล่าช้า เหลือระยะเวลาที่ใช้จ่ายงบเหลือแค่ 8 เดือน (ก.พ.-ก.ย.2563) เท่านั้น คาดว่างบประมาณจะถูกปรับลดลงไป ยังไม่รู้งบประมาณก่อสร้างกระทรวงที่ใหม่กว่า 3 พันล้านบาทจะถูกตัดด้วยหรือไม่

@เผือกร้อนสัมปทานทางด่วน

สำหรับโครงการที่รอรัฐบาลใหม่มาสะสาง มีเผือกร้อน ”สัญญาทางด่วน” ของ บมจ.ระบบทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ที่การทางพิเศษประเทศไทย (กทพ.) ได้ยื่นเรื่องเสนอต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อนนำเสนอให้ ครม.อนุมัติ


หลังเจรจากับ BEM เพื่อจะขอยุติข้อพิพาททางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด ที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้ กทพ.จ่ายชดเชยให้ บจ.ทางด่วนเหนือ (NECL) บริษัทลูก BEM ผู้รับสัมปทานวงเงิน 4,318 ล้านบาท รวมถึงเจรจายุติข้อพิพาทที่มีต่อกันมายาววนาน โดย BEM ลดมูลหนี้จากเดิม 1.37 แสนล้านบาท เหลือประมาณ 5.9 หมื่นล้านบาท

จนได้ข้อยุติและผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ (บอร์ด) ไปแล้ว จะขยายสัญญา 30 ปี ใน 3 สัญญา ให้กับ BEM ได้แก่ 1.ทางด่วนขั้นที่ 2 จากเดิมสิ้นสุด มี.ค. 2563 เป็น มี.ค. 2593 2.ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วนดี จากเดิม เม.ย. 2570 เป็น เม.ย. 2600 และ 3.ทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด จากเดิม ก.ย.2569 เป็น ก.ย. 2599 นอกจากนี้ยังมีปรับค่าผ่านทางแบบคงที่ในอัตรา 10 บาท ทุก 10 ปี กทพ.จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ค่าผ่านทาง 60% ตลอดอายุสัญญา และ BEM จะลงทุน 31,500 ล้านบาท สร้างและปรับปรุงทางด่วนขั้นที่ 2 เป็นทางด่วน 2 ชั้น จากด่านประชาชื่น-อโศก ระยะทาง 17 กม. แก้รถติด

ทั้งนี้แบ่งการต่อสัมปทาน 2 ระยะ ในระยะแรก 15 ปี ระยะที่ 2 อีก 15 ปี ต่อเมื่อแผนสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 ได้รับอนุมัติ โดยการขยายสัมปทานครั้งนี้เป็นการแก้ไขในสัญญาเดิม และผ่านการพิจารณาจากอัยการสูงสุดแล้ว รอกระทรวงคมนาคมพิจารณาเสนอ ครม.

ล่าสุด ”อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ส่งเรื่องกลับไปยัง กทพ.เพื่อให้ดำเนินการตามที่อัยการสูงสุดมีข้อสังเกตมา 4-5 ประเด็น ซึ่งดูแล้วเป็นสาระสำคัญ เช่น การเจรจาดำเนินการเป็นไปตาม พ.ร.บ.รวมทุนฯหรือไม่

เนื่องจากการขยายสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 ที่จะครบกำหนดวันที่ 28 ก.พ.2563 คนละเรื่องกับการแพ้คดีข้อพิพาททางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด จะนำมาเหมารวมกันไม่ได้ การคิดปรับค่าผ่านทาง 10 บาท 10 ปีจะมีผลกระทบต่อประชาชนหรือไม่ เป็นต้น โดยให้รัฐมนตรีคมนาคมคนใหม่และรัฐบาลใหม่พิจารณาอนุมัติต่อไป

@จับตาเซ็นไฮสปีด-ถมเวนคืนบางใหญ่

อีกโครงการสัมปทานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 224,544 ล้านบาทที่กลุ่ม ซี.พี.และพันธมิตร เป็นผู้ชนะประมูลและรับสัปทานโครงการ 50 ปี ถึง ครม.อนุมัติไปแล้ว แต่การเซ็นสัญญามีแนวโน้มจะล่วงเลยไปถึงรัฐบาลใหม่ ติดเรื่องการส่งมอบพื้นที่ยังหารือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไม่จบ ตามไทม์ไลน์ตั้งเป้าจะเซ็นสัญญาในเดือน ก.ค.นี้

น่าจับตาไม่แพ้กัน”ค่าเวนคืน 8,000 ล้านบาท “ที่กรมทางหลวงรอครม.อนุมัติขยายกรอบวงเงินมาเดินหน้าก่อสร้างมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี ที่ขณะนี้ไซต์ก่อสร้างหยุดไปเกือบครึ่ง ปัจจุบันงานก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนร่วม 2 ปี มีแนวโน้มการเปิดบริการจะขยับไป

@โปรเจ็กต์รอเซ็นพรึบ

มาดูโครงการที่ประมูลไปแล้ว แต่รอเซ็นสัญญา มีรถไฟไทย-จีนเฟสแรก 253 กม. วงเงิน 179,412 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างประมูลร่วม 1 แสนล้านบาท

ทางด่วนสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ระยะทาง 18.7 กม. เงินลงทุนกว่า 2.9 หมื่นล้านบาท เปิดประมูลได้ผู้เสนอราคาต่ำสุดงานโยธาทั้ง 4 สัญญาไปแล้ว

ทางยกระดับพระราม 2 ช่วงบางขุนเทียนถึงเอกชัย 1 ระยะทาง 10.8 กม. ค่าก่อสร้าง 10,500 ล้านบาท

โครงการพัฒนาสนามบินนครศรีธรรมราช 1,800 ล้านบาท และตรัง 2,000 ล้านบาท

ระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง 2 มอเตอร์เวย์ใหม่สายบางปะอิน-นครราชสีมา และบางใหญ่-กาญจนบุรี เงินลงทุน 61,086 ล้านบาท

@รถไฟฟ้า-ทางคู่รอประมูล

สำหรับรอเสนอ ครม.และเปิดประมูล มีหลายโครงการที่ค้างท่อ เช่น รถไฟฟ้ามีสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ 13.4 กม. จะเปิด PPP ให้เอกชนลงทุนก่อสร้างและเดินรถตลอดเส้นทางบางขุนนนท์-มีนบุรี กว่า 1 แสนล้านบาท

สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23.6 กม. วงเงิน 101,112 ล้านบาท

มอเตอร์เวย์สายนครปฐม-ชะอำ 109 กม. วงเงิน 79,006 ล้านบาท รอเสนอ ครม.อนุมัติเปิด PPP

สายหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 62.59 กม. วงเงิน 57,022 ล้านบาท และส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 18 กม. วงเงิน 30,538 ล้านบาท รอผลศึกษารูปแบบ PPP

ทางด่วนสายกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต 3.98 กม. เงินลงทุน 13,917 ล้านบาท รอบอร์ด PPP ไฟเขียว

ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 ระยะที่ 1 ช่วงแยกเกษตร-วงแหวนรอบนอก เงินลงทุน 17,000 ล้านบาท

รถไฟทางคู่เฟส 2 อีก 6 เส้นทาง ระยะทาง 1,128 กม. วงเงิน 206,539 ล้านบาท

รถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย 3 เส้นทาง วงเงิน 23,417 ล้านบาท ได้แก่ รังสิต-ธรรมศาสตร์, ตลิ่งชัน-ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทางรวม 29.34 กม.

รถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 85,345 ล้านบาท

แผนจัดเช่าและซื้อรถเมล์ใหม่ตามแผนฟื้นฟูของ ขสมก.ที่ยังเหลืออีก 2,188 คัน เงินลงทุนรวมกว่า 2 หมื่น ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 101, 102, 103 ... 121, 122, 123  Next
Page 102 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©