Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180272
ทั้งหมด:13491506
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 106, 107, 108 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2020 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” รื้อ106โปรเจ็กต์ EEC เฟส 2 เร่งไฮสปีด “ระยอง-ตราด” รถเทรมพัทยา
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 2 มิถุนายน 2563 - 16:47 น.

“คมนาคม” รื้อ “แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน EEC เฟส 2” 106 โครงการ 2.5 แสนล้าน สกรีนเข้ม “ต้องเกี่ยวกับ EEC” เท่านั้น เดตไลน์ 1 เดือนต้องเสร็จก่อนชงบอร์ด EEC อนุมัติ

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2563 ที่ประชุมคณะทำงานจัดการทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งภายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ระยะที่ 2 (2565-2570) ได้รายงานความคืบหน้าของการจัดสรรโครงการ มีการเสนอเข้ามาทั้งสิ้น 106 โครงการ วงเงินรวม 252,703 ล้านบาท โครงการเด่นๆ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงระยอง – ตราด และโครงการรถไฟรางเบา (แทรม) พัทยา จ.ชลบุรี เป็นต้น แต่ได้ให้คณะที่ปรึกษากลับไปทบทวนใหม่

“ให้หลักคิดไปว่า ควรนำโครงการระยะที่ 1 อาจจะทำไม่ทันแต่มีความสำคัญขึ้นมาพิจารณาและนำกลับมาใส่ในระยะที่ 2 ก่อน ทั้งนี้ โครงการที่จะนำเสนอในระยะที่ 2 จะมีกรอบเพิ่มเข้ามาว่า จะต้องตอบโจทย์ต่อการพัฒนาใน EEC จริงๆ“

เนื่องจากโครงการในระยะที่ 1 มีโครงการที่ถูกบรรจุเข้ามาถึง 168 โครงการ วงเงินรวม 998,908 ล้านบาท มีทั้งโครงสร้างพื้นฐานของคมนาคมและหน่วยอื่นๆ เช่น การประปาและไฟฟ้าด้วย แต่ในระยะที่ 2 จะเน้นหนักไปที่โครงการที่มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ใน EEC โดยตรง เช่น โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ของกองทัพเรือ (ทร.) ขณะนี้อยู่ระหว่างรอลงนามในสัญญา ดังนั้น โครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในระยะที่ 2 จะต้องเป็นโครงการที่สนับสนุนให้เกิดเมืองการบินขึ้นมาจริงๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังให้ตัดโครงการที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เช่น กรมเจ้าท่า (จท.) เสนอบรรจุโครงการขุดลอกคูคลองในแม่น้ำบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อให้เรือขนส่งขนาดใหญ่ขนส่งสินค้าและเดินทางออกไปเกาะสีชังได้ และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เสนอโครงการซ่อมถนน ขยายผิวทางเข้ามา ก็ให้ตัดออกทั้งหมด เนื่องจากไม่ใช่โครงการที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาพื้นที่ EEC โดยตรง

โดยให้ไปนำทั้ง 2 โครงการจัดสรรในระบบงบประมาณปกติของแต่ละหน่วยแทน และในแต่ละโครงการที่นำเสนอจะต้องหาวิธีคิดระบบการบริหารจัดการโครงการภายหลังที่งานโยธาก่อสร้างแล้วเสร็จ เช่น มีการเสนอโครงการพัฒนารถไฟทางคู่เข้าไปในท่าเรือแหลมฉบัง จะต้องคิดแล้วว่า จะมีการพัฒนาระบบ E-Logistic อะไรบ้าง ก็ได้ให้การบ้านกับคณะที่ปรึกษากลับไปหารือกับ EEC ต่อไป

“ส่วนตัวคาดว่า ตัวเลขโครงการและวงเงินในระยะที่ 2 มีโอกาสถูกปรับลดลง เนื่องจากเท่าที่ดูวันนี้ มีการนำโครงการเล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ มาใส่รวมในนี้เยอะมาก ซึ่งอธิบายไม่ได้ว่าเข้าหลักเกณฑ์การพัฒนา EEC อย่างไร จึงให้ที่ปรึกษากลับไปหารือและทบทวนแผนงานกับ EEC จากนั้นต้องนำแผนที่คิดได้ไป Workshop กับเอกชนและภาคประชาชนในพื้นที่ โดยให้กรอบเวลา 1 เดือน หรือประมาณต้นเดือน ก.ค.นี้จะต้องทำให้เสร็จทั้งหมด เพื่อที่จะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณาในเดือนเดียวกันต่อไป”

ส่วนโครงการในระยะแรก จำนวน 168 โครงการ วงเงินรวม 998,908 ล้านบาท ที่ประชุมรายงานสถานะของโครงการต่างๆ ดังนี้

1.ก่อสร้างแล้วเสร็จ 34 โครงการ
2.อยู่ระห่วงก่อสร้าง 79 โครงการ
3.ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2563 แล้ว 25 โครงการ
4.อยู่ระหว่างขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2564 10 โครงการ
5.เป็นโครงการเอกชนร่วมลงทุน (PPP) 6 โครงการ
6.ชะลอโครงการ 2 โครงการ
7.ยกเลิกโครงการ 5 โครงการ
และอื่นๆ 7 โครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/06/2020 12:53 pm    Post subject: Reply with quote

'เมืองลับแล'เล็งพัฒนาระบบขนส่งชาญฉลาด
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชน ร่วมในการประชุมผ่านระบบทางไกล (Zoom Cloud Meeting) ระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ดำเนินการตามที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร เสนอรับการสนับสนุนเพื่อดำเนินการ "การพัฒนาแผนที่นำทางสำหรับการขนส่งที่ชาญฉลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์" เพื่อศึกษาความต้องการรูปแบบ และจัดทำแผนที่นำทางการพัฒนาการขนส่งที่ชาญฉลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้มี นายบุญทรัพย์ พานิชยการ คณบดีคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหา วิทยาลัยนเรศวร เป็นหัวหน้าโครงการ ได้นำเสนอความสำคัญในเชิงพื้นที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ที่มี การเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าการเกษตรและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรมแดนประเทศไทยเชื่อมโยงไปถึงสหภาพ เมียนมา และ สปป.ลาว ผ่านจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ ที่เป็นระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC (หลวงพระบาง-อินโดจีน-เมาะลำไย) และระเบียงเศรษฐกิจ CVEC (ระเบียงเศรษฐกิจเชียงใหม่-เวียงจันทน์) มูลค่าการค้าชายแดน มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมองจุดแข็งของจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมีสนามบินเก่า (สนามบินวังยาง) ปัจจุบันมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบเป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืช ในอนาคตจะมีบริษัท Airborne Support Co.,Ltd. ขอร่วมทุนเป็นผู้ให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานในประเทศ จึงเป็นเรื่องที่จะมีการขับเคลื่อนไปสู่อนาคต ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อพัฒนาเมืองชายแดน ที่จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์แนวทางการพัฒนา ตลอดจนจัดทำแผนแม่บทด้านผังเมืองชายแดนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของระบบราง ที่มีศูนย์กลางคอนเทเนอร์ยาร์ด อยู่ที่สถานีรถไฟศิลาอาสน์ ซึ่งจะมีการพัฒนาควบคู่กันทั้งทางบกและทางราง เพื่อให้เกิดระบบด้านโลจิสติกส์ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและความมั่นคงจากโครงการก่อสร้างรถไฟลาว-จีน (ช่วงบ่อเต็นถึงเวียงจันทน์) ใน พื้นที่ จ.น่าน, อุตรดิตถ์ และ จ.เลย และยังจะเป็นศูนย์กระจายสินค้าประมง เชื่อมโยงภาคเหนือตอนล่างกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ที่ Missing Link โครงข่ายระบบขนส่งทางรางไม่ครอบคลุมถึงพื้นที่ด่านชายแดนถาวรภูดู่ แต่จุดผ่านแดนถาวรภูดู่สามารถที่จะเชื่อมไปยังรถไฟลาว-จีน (คุนหมิง-เวียงจันทน์) ที่สถานีวังเวียง สปป. ลาว โดยให้ความสำคัญที่สถานีรถไฟศิลาอาสน์ จ.อุตรดิตถ์ ที่จะเป็นศูนย์กลาง โดยมีระยะห่างจากจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ เพียง 173 กม.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/06/2020 8:15 am    Post subject: Reply with quote

สนข.เร่งโครงสร้างพื้นฐาน ลุยเพิ่ม'27โปรเจค'อีอีซี
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563
วรรณิกา จิตตินรากร
กรุงเทพธุรกิจ

Click on the image for full size

แผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เข้าสู่แผนระยะกลาง (2562-2564) ซึ่งเป็นแผนงานหรือโครงการที่ต้องทำ ต่อเนื่องจากระยะเร่งด่วน เพื่อให้โครงข่าย การคมนาคมขนส่งสามารถรองรับกิจกรรม ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในขณะที่ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป จะเป็นแผนงานโครงการเพื่อรองรับการพัฒนาอีอีซีอย่างยั่งยืน รวมถึงการเชื่อมโยง โครงข่ายคมนาคมกับภูมิภาคอื่นและกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนับสนุนให้อีอีซีเป็นประตูเศรษฐกิจของ CLMV อย่างสมบูรณ์

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยระบุว่า ผลการดำเนินงานในขณะนี้ พบว่าโครงการโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซี ตามแผนพัฒนารวม 168 โครงการ วงเงินลงทุน 988,948 ล้านบาท

สำหรับความก้าวหน้าจะเห็นได้ว่าโครงการส่วนใหญ่ จำนวน 121 โครงการ ได้ดำเนินการหรือก่อสร้างแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง และขอรับจัดสรรงบประมาณปี 2564 อีกจำนวน 2 โครงการ มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ดำเนินการเป็นเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (พีพีพี) อีกจำนวน 6 โครงการ และขอชะลอโครงการและยกเลิกโครงการอีก 9 โครงการ โดยส่วนที่เหลืออีก 30 โครงการ เป็นโครงการที่ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบแล้วเสร็จ แต่ยังไม่ได้รับ งบประมาณก่อสร้าง และเป็นโครงการที่ยังไม่มีการดำเนินการ

สำหรับโครงการที่ดำเนินการและก่อสร้างแล้วเสร็จ มีโครงการที่สำคัญ อาทิ ถนนสาย รย.5050 แยกนิคมสร้างตนเอง สาย 15-บ้านห้วยโป่ง อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง (กรมทางหลวงชนบท)

โครงการ ทล.344 อ.บ้านบึง-อ.แกลง ตอน บ.หนองเสือช้าง-อ.แกลง (กรมทางหลวง) โครงการการกำหนดเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางเพื่อรองรับ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา (กรมขนส่งทางบก) โครงการศึกษาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (การท่าเรือ แห่งประเทศไทย) โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือ ชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย

รวมถึงโครงการศึกษาและจัดทำ แผนแม่บทการพัฒนาสนามบิน (สนามบิน อู่ตะเภา กองทัพเรือ) โครงการระบบสารสนเทศอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (สนามบิน อู่ตะเภา กองทัพเรือ) โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเฟอร์รี่พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก (ท่าเรือสัตหีบ กองทัพเรือ) และโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารเรือเฟอร์รี่ (Ferry Terminal) พร้อมสิ่งอำนวย ความสะดวก (ท่าเรือสัตหีบ กองทัพเรือ)

ส่วนโครงการที่จะมีการขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2564 เพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และก่อสร้าง เบื้องต้นมี 2 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างถนนสาย ชบ.3009 ทางหลวงหมายเลข 331 (กม.ที่ 39+650)-บ้านหนองคล้า อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี (กรมทางหลวงชนบท) และโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ (174 กิโลเมตร) (การรถไฟแห่งประเทศไทย)

ขณะที่โครงการเตรียมขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2565 เป็นต้นไป เพื่อดำเนินการพัฒนาให้แล้วเสร็จตามแผนของ อีอีซี 25 โครงการ โดยมีโครงการสำคัญ อาทิ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ชลบุรี-นครราชสีมา (แหลมฉบัง-ปราจีนบุรีทล.359)

โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองชลบุรี-ตราด (ชลบุรี-แกลง) โครงการ ICD หนองปลาดุก และโครงการก่อสร้างอาคารบริการ ลานจอดรถยนต์เพิ่มเติม และย้าย กองขนส่ง สถานีการบิน กองการบิน ทหารเรือ (สนามบินอู่ตะเภา กองทัพเรือ) เป็นต้น

รวมแล้วมีโครงการที่ต้องผลักดันตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 เป็นต้นไป รวม 27 โครงการ

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ระบุว่า ร.ฟ.ท.ได้เสนอ ขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2564 จำนวนเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท เพื่อเริ่มต้นศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงคลองสิบเก้า-อรัญประเทศ ระยะทาง 174 กิโลเมตร ซึ่งโครงการนี้จัดอยู่ใน แผนพัฒนาระบบราง ระยะที่ 3 ของ ร.ฟ.ท. แต่เนื่องจากจะเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดัน การขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวใน อีอีซี จึงเล็งเห็นโอกาสของการเร่งรัด นำมาพัฒนา

ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาความเหมาะสม ราว 6-8 เดือน หากรัฐบาลมีนโยบาย ผลักดันการลงทุน ก็จะสามารถเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณในปี 2565 เพื่อทำการศึกษาออกแบบได้อย่างต่อเนื่อง


เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 โดยระบุว่า ขณะนี้ กทท.ได้เปิดขายซองเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์) โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3(ส่วนที่ 2) งานก่อสร้างอาคาร ท่าเทียบเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณูปโภค ระหว่างวันที่ 29 พ.ค.- 14 ส.ค.นี้ พร้อมทั้งมีกำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 17 ส.ค.2563 ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น.

สำหรับงานจ้างเหมาก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 (ส่วนที่ 2) งานก่อสร้างอาคาร ท่าเทียบเรือ ระบบถนนและระบบสาธารณูปโภค มีราคากลางกำหนดอยู่ที่ 6,502 ล้าน ขอบเขตของงานก่อสร้าง ในสัญญาดังกล่าว ประกอบไปด้วยงานระบบถนน งานอาคาร งานท่าเรือชายฝั่ง และงานท่าเรือบริการ

กทท.มีกำหนดให้เอกชนผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีคุณสมบัติ อาทิ ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงานก่อสร้างประเภทเดียวกันกับงาน ที่ประกวดราคาจ้างก่อสร้าง และเป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่ กทท.เชื่อถือ

สำหรับผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงานก่อสร้างท่าเทียบเรือทางทะเล ไม่รวมเครื่องมือ ยกขน สัญญาเดียวมูลค่าก่อสร้างไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท และทั้งหมดต้องเป็นผลงาน ที่แล้วเสร็จในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กรณีผู้ร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ สมาชิกทุกรายที่รวมตัวกันเป็นผู้ร่วมค้านั้น ต้องเป็นนิติบุคคล และนิติบุคคลไทยรายเดียว หรือมากกว่าหนึ่งรายรวมกัน ต้องมีสัดส่วนหุ้น มากกว่า 50%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/06/2020 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”ชงนายกฯสัปดาห์หน้า นำ Mega Project พัฒนาร่วมรถไฟ-มอเตอร์เวย์
สยามรัฐออนไลน์ 24 มิถุนายน 2563 11:41 น.

“ศักดิ์สยาม”ถกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนามอเตอร์เวย์ร่วมทางรถไฟ หลังได้แนวเส้นทางเบื้องต้น แนวเหนือใต้ 3 เส้นทางตะวันออกตะวันตก 5 เส้นทาง โดย สนข.-ทล.จับมือทำ master plan ภายใน 1 ปี ลงทุนแบบ PPP โดยจะเสนอข้อมูลให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาสัปดาห์หน้า

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.63 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงการร่วมระหว่างทางรถไฟและทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ครั้งที่ 2 โดยมีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้บริหารกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ร่วมประชุม

นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการ สนข.รายงานความคืบหน้าการศึกษาแนวเส้นทางเบื้องต้นตามโจทย์ที่กระทรวงคมนาคมมอบหมายให้การพัฒนาเส้นทางร่วมระหว่างทางรถไฟและมอเตอร์เวย์นั้น ต้องเป็นเส้นทางเลี่ยงเมืองลดผลกระทบระหว่างการก่อสร้าง เป็นการพัฒนาพื้นที่เมืองใหม่เพื่อให้เกิดความเจริญ พิจารณาต้นแบบโครงข่ายมอเตอร์เวย์ที่เกิดประสิทธิภาพจากประเทศต้นแบบในต่างประเทศ และใช้เงินกองทุนมอเตอร์เวย์ในการศึกษารายละเอียด โดย สนข.ได้นำเสนอข้อมูลการศึกษาจากประเทศที่มีโครงข่ายถนน เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกาและเยอรมนี และผลการศึกษาลงลึกถึงแนวเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ แบ่งเป็นแนวเส้นทางเหนือใต้ 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 2,620 กม. คือ แนวเส้นทางจากเชียงราย- สงขลา ,หนองคาย-แหลมฉบัง และ บึงกาฬ- สุรินทร์ แนวตะวันออก- ตะวันตก 5 เส้นทางทาง คือ จังหวัดตาก-นครพนม,ตาก-อุบลราชธานี,กาญจนบุรี-สระแก้ว,กาญจนบุรี-ตราด และภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี โดย สนข.และกรมทางหลวงรับเป็นเจ้าภาพที่จะทำการศึกษาแผนแม่บทหรือ Master Plan โดยใช้เงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์ศึกษาภายในระยะเวลา 1 ปี

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมกล่าวว่า ขอให้ สนข.จัดทำให้เกิดความชัดเจนทั้งเส้นทางและรูปแบบการลงทุน โดยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีสัปดาห์หน้าจะนำข้อมูลการพัฒนาโครงการทั้งหมดนำเสนอให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ

ทั้งนี้ระหว่างการประชุมได้มีการเสนอแนวคิดถึงแนวทางการพัฒนาโครงการร่วมระหว่างทางรถไฟและมอเตอร์เวย์ เช่น ปลัดกระทรวงคมนาคมได้ขอให้มีการศึกษาลงลึกโครงการต้นแบบในต่างประเทศ โดยให้ใช้ประเทศที่มีโครงการลักษณะทางร่วมระหว่างมอเตอร์เวย์และรถไฟที่โครงการประสบความสำเร็จ เพื่อนำมาเป็นโครงการต้นแบบ การพัฒนาโครงการขอให้พิจารณาศึกษาวิธีการลงทุน ประกอบด้วย การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP เนื่องจากว่าโครงการคาดว่าจะใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ทั้งการลงทุนก่อสร้างและการจัดกรรมสิทธิ์เวนคืนที่ดิน

ขณะที่กรมการขนส่งทางรางขอให้พิจารณารายละเอียดของโครงการรถไฟสายใหม่ที่คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติไปแล้ว เช่น โครงการรถไฟก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายเด่นชัย- เชียงราย- เชียงของ หากกระทรวงคมนาคมจะมีการปรับรูปแบบให้มีการพัฒนาโครงการรวมเส้นทางระหว่างมอเตอร์เวย์และทางรถไฟ ก็จะต้องพิจารณาว่าจะต้องชะลอโครงการเหล่านี้หรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน สำหรับก่อสร้างแนวรถไฟและเขตทางที่ซ้ำซ้อนกัน

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2020 10:44 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“ศักดิ์สยาม”ชงนายกฯสัปดาห์หน้า นำ Mega Project พัฒนาร่วมรถไฟ-มอเตอร์เวย์
สยามรัฐออนไลน์ 24 มิถุนายน 2563 11:41 น.



“คมนาคม” ลุย 8 เส้นทาง หนุนมอเตอร์เวย์เชื่อมรถไฟทางคู่
24 มิถุนายน 2563 15:16 น.

“คมนาคม” สั่ง สนข.-ทล.-รฟท.เดินหน้าศึกษา 8 เส้นทาง ระยะทาง 4.9 พันกม. รองรับแนวเส้นทางมอเตอร์เวย์เชื่อมต่อรถไฟทางคู่ พร้อมนำร่อง 3 เส้นทาง เล็งใช้ TFFIF ระดมทุน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าในการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) เพื่อบูรณาการเดินเชื่อมต่อการเดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้าน บูรณาการการลงทุน การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและลดปัญหาเส้นทางผ่านเข้าเมืองที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตชุมชน ทั้งนี้ สนข. ได้หารือร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการบูรณาการแนวเส้นทางรถไฟและแนวเส้นทางมอเตอร์เวย์เข้าด้วยกัน



ขณะเดียวกันได้นำเสนอแผนแม่บท(มาสเตอร์แพลน)แนวเส้นทางร่วมรถไฟทางคู่และมอเตอร์เวย์ ที่เป็นไปได้เบื้องต้นว่าจำนวน 8 สายทาง รวมระยะทางก่อสร้าง 4,930 กิโลเมตร โดยจะแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 แนว คือ

1.แนวเหนือ-ใต้ จำนวน 3 สายทาง ระยะทาง 2,620 กิโลเมตร ได้แก่
1.1 เชียงราย-สงขลา ระยะทาง 1,660 กิโลเมตร ,
1.2 หนองคาย-แหลมฉบัง ระยะทาง 490 กิโลเมตร และ
1.3 บึงกาฬ-สุรินทร์ ระยะทาง 470 กิโลเมตร และ

2.แนวตะวันออก-ตะวันตก จำนวน 5 สายทาง ระยะทางรวม 2,310 กิโลเมตร ได้แก่
2.1 ตาก-นครพนม ระยะทาง 710 กิโลเมตร ,
2.2 ตาก-อุบลราชธานี ระยะทาง 880 กิโลเมตร,
2.3 กาญจนบุรี-สระแก้ว ระยะทาง 310 กิโลเมตร ,
2.4 กาญจนบุรี-ตราด ระยะทาง 220 กิโลเมตร แล
2.5 ะภูเก็ต-สุราษฏร์ธานี ระยะทาง 190 กิโลเมตร



นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ สนข. จะต้องทำการศึกษารายละเอียดแอคชั่นแพลนและทำการออกแบบ 8 สายทางตามมาสเตอร์แพลนซึ่งจะใช้เวลาศึกษาราว1ปี เบื้องต้นก่อสร้างนำร่อง 3 เส้นทางย่อยที่มีความสำคัญก่อน คือ
1.โคราช-ขอนแก่น-หนองคาย
2.โคราช-บุรีรัมย์ และ
3.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร คาดว่าจะเริ่มเวนคืนและก่อสร้างได้ในปี 65-66 ทั้งนี้จะต้องศึกษารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมว่าจะใช้รูปแบบใดเบื้องต้นอาจจะให้เปิดให้เอกชนทั้งไทยและต่างชาติเข้าร่วมลงทุน หรืออาจจะใช้เงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ ฟันด์ (TFFIF)เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนมาก รวมถึงต้องศึกษารูปแบบการเวนคืนที่ดินที่ต้องมีการบูรณาการพื้นที่ร่วมกันระหว่างรฟท.และทล. ซึ่งตนมองว่าควรเป็นการเวนคืนพร้อมกันในคราวเดียว และจะต้องเวนคืนเผื่อพื้นที่เพื่อก่อสร้างสาธารณูปโภคโดยรอบด้วย เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และที่อยู่อาศัยไปพร้อมกันเลย เพื่อให้เกิดการพัฒนาสร้างเมืองใหม่ด้วย



อย่างไรก็ตามด้านการออกแบบก่อสร้างนั้นได้ให้นโยบายว่าควรเป็นแนวเส้นทางที่ ตัดตรงให้มากที่สุด ไม่ต้องลากผ่ากลางเข้าไปยังชุมชนจนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบ้านจนมีกรณีร้องเรียน รวมทั้งจะต้องมีการก่อสร้างถนนคู่ขนาน และก่อสร้างทางแยกต่างระดับทุกๆ 10 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อการดินทางเข้าไปยังชุมชนด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2020 5:37 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ยัน “อีอีซี” เดินตามเป้า เร่งปิดดีลแหลมฉบังเฟส 3 เรียกเชื่อมั่นนักธุรกิจญี่ปุ่น
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน 2563 เวลา 20:22 น.
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2563 เวลา 09:01 น.


“ศักดิ์สยาม” ยันไทยเดินหน้าลงทุนโครงการใน “อีอีซี” เรียกเชื่อมั่นนักลงทุนญี่ปุ่น เซ็น “อู่ตะเภาเมืองการบิน” ผลตอบแทนรัฐกว่า 3 แสนล้าน ส่วน ทลฉ.เฟส 3 คาดต่อรองราคาเอกชนจบใน 2 เดือน ย้ำรัฐคุมโควิด-19 เป็นระบบ เตรียมคลายเดินทางระหว่างประเทศ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังนายอัตสึชิ ทาเคทานิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JETRO Bangkok) และนายโชอิจิ โอกิวารา ในฐานะประธานผู้แทนหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCCB) เข้าพบว่า ได้หารือถึงการลงทุนของนักธุรกิจญี่ปุ่นในประเทศไทย และได้รายงานผลการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ช่วงครึ่งแรกของปี 2563 โดยส่งแบบสอบถามไปยังบริษัทสมาชิก JCCB เพื่อสอบถามในประเด็นต่างๆ อย่างครอบคลุม ในประเด็นปัญหา อุปสรรค การดำเนินงานโครงการต่างๆ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19

ทั้งนี้ จากการดำเนินงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา COVID-19 อย่างเป็นระบบ การติดเชื้อภายในประเทศไม่มีมากกว่า 3 สัปดาห์ ภาพรวมได้กลับสู่ภาวะเกือบเป็นปกติ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจญี่ปุ่นที่มีต่อประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งภาคธุรกิจญี่ปุ่นได้สอบถามถึงการดำเนินในด้านการขนส่งของกระทรวงคมนาคม ขณะนี้ได้ยกเลิกเคอร์ฟิวทำให้การเดินทางภายในประเทศการขนส่งเป็นปกติ ส่วนการเดินทางระหว่างประเทศทั้งทางบก เรือ และอากาศ จะใช้มาตรการด้านสาธารณสุขเป็นหลักในการพิจารณา เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดใหม่ ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น ซึ่ง ได้ขอให้ JETRO Bangkok และ JCCB ประสานงานกับทางรัฐบาลญี่ปุ่นในการตรวจหาเชื้อผู้โดยสารที่จะเดินทางมายังประเทศไทย สำหรับภาคธุรกิจประเทศต่างๆ ที่ต้องการเดินทางมาลงทุนหรือบริหารงานภายในประเทศสามารถเดินทางมาได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้มาตรการควบคุมของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด สำหรับการขนส่งทางน้ำในการเปลี่ยนบุคลากรของญี่ปุ่นที่จะขึ้นเรือ สามารถดำเนินการได้แต่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการควบคุมของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดเช่นกัน

ยันเดินหน้าอีอีซี “เมืองการบิน-ทลฉ.เฟส 3 “ เรียกเชื่อมั่นนักลงทุนญี่ปุ่น

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ได้ยืนยันถึงการพัฒนาโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการพัฒนาสาธารณูปโภคเชื่อมโยงพื้นที่อีอีซี ดำเนินการเป็นรูปธรรมแล้ว คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้ดำเนินการลงนามในสัญญาและเริ่มส่งมอบพื้นที่แล้วคาดว่าดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2568 โครงการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภา เมืองการบินซึ่งได้ลงนามสัญญาเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2563 ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เนื่องจากเอกชนเสนอผลตอบแทนให้รัฐถึง 3 แสนล้านบาท

ส่วนโครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 อยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองราคากับเอกชน เนื่องจากเอกชนที่ชนะการประมูล ยังเสนอผลตอบแทนให้แก่รัฐต่ำกว่าราคากลางที่รัฐกำหนด คาดว่าจะสรุปได้ภายใน 2 เดือนนี้ เชื่อว่าจะสามารถต่อรองได้ผลตอบแทนสูงกว่าราคากลาง

สำหรับโครงการทางบกนั้น ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมาย ให้ต่อขยายเส้นทางโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) M7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด เชื่อมไปถึงสนามบินอู่ตะเภา ระยะทางประมาณ 7 กม. ขณะนี้กรมทางหลวง (ทล.) ได้เสนอของบประมาณจากคณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ซึ่งจะสามารถดำเนินการ เพื่อรองรับการบริการโลจิสติกส์ทั้งทางบก ทางราง ทางอากาศ และทางน้ำ ได้ทันในปี 2568

และนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ศึกษาการออกกฎหมายเพิ่มเติมอีก 4 เขตเศรษฐกิจรูปแบบเดียวกับอีอีซี ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ซึ่งในพื้นที่ภาคใต้ ขณะนี้ได้มีการศึกษาโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทย รองรับเรือกินน้ำลึกมากกว่า 15 เมตร และมีระบบออโตเมติกในการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ เชื่อมต่อระหว่างท่าเรือ 2 ฝั่งโดยรถไฟทางคู่ และใช้เวลาในการขนส่งเชื่อมแลนด์บริดจ์ไม่เกิน 40 นาที ซึ่งลดการเดินทางโดยเรือ อ้อมแหลมมลายูได้กว่า 2 วันครึ่ง เป็นการสร้างศักยภาพการเดินทางขนส่งสินค้าและน้ำ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/06/2020 8:14 am    Post subject: Reply with quote

การเมืองฉุด'เมกะโปรเจค'ชะงัก
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ข้าราชการเกียร์ว่างรอ ครม.ใหม่ - 10 โครงการ'พีพีพี'เลื่อนยาว
สศช.เคาะงบฟื้นฟู รอบแรก "แสนล้าน"

กรุงเทพธุรกิจ "สมคิด" สั่ง สคร.เร่งโครงการลงทุนล่าช้าให้เกิดขึ้นในปีนี้ หลัง โควิด-19 ระบาด กระทบลงทุนพีพีพีกว่า 10 โครงการ "สศช."เคาะงบฟื้นฟู 1 แสนล้านบาท คาดชง ครม.รอบแรก 8 หมื่นล้าน มั่นใจช่วยพยุงเศรษฐกิจติดลบแค่ 5-6% พร้อมโยกงบไปเยียวยาหากระบาดรอบ 2

รายงานข่าวระบุว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐ และเอกชน (พีพีพี) วานนี้ (26 มิ.ย.) ได้ติดตาม ความคืบหน้าของโครงการลงทุนภาครัฐ ซึ่ง ในปี 2563 มีโครงการที่ต้องเสนอคณะกรรมการ พีพีพีประมาณ 10 โครงการ แต่ส่วนใหญ่ถูกเลื่อน ออกไปในช่วงต้นถึงกลางปี 2564 โดยสถานการณ์ การเมืองในปัจจุบันที่มีความขัดแย้ง ตลอดจน มีข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจที่ยังคลุมเครือส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการชะลอการทำงานหรือเกียร์ว่าง

รวมทั้งในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ครั้งล่าสุดวันที่ 23 มิ.ย.2563 ไม่มี กระทรวงใดเสนอโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยกเว้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสนอแผนบริหารจัดการถ้ำและการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) ว่า ตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้โครงการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เกือบทุกโครงการต้องชะลอการดำเนินการไป 6-10 เดือน ดังนั้นจึงสั่งให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ไปกำชับรัฐวิสาหกิจให้เร่งเดินหน้าโครงการลงทุนของตนเอง จะช้าไปบ้างไม่เป็นไร แต่ไม่ใช่ช้าขนาดเป็นปี ซึ่งรัฐวิสาหกิจต้องให้เหตุผลให้ได้ว่าการลงทุนล่าช้าเพราะอะไร

"เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ผมได้หารือกับบริษัท ปตท.และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้เร่งการลงทุนของปีหน้าให้มาลงทุนภายในปีนี้ และปรับเปลี่ยนการลงทุนที่เน้นการจ้างงานให้มากขึ้น รวมทั้งได้ให้ สคร.ติดตามโครงการลงทุนภาครัฐกับเอกชน ที่ล่าช้าด้วยว่า ล่าช้าเพราะเหตุใด และถ้าหากโครงการใดล่าช้าแบบไม่มีสาเหตุก็ยกเลิกไปเลย และให้หน่วยงานนั้นเสนอโครงการใหม่เข้ามาทดแทน"

ทั้งนี้รัฐบาลต้องการเห็นโครงการร่วมลงทุนที่ไม่ใช่ในลักษณะโครงสร้างพื้นฐานอย่างเดียว ต้องการให้การลงทุน ในโครงการด้านสังคม ด้าน ภาคบริการ การแพทย์ การศึกษา สาธารณสุข รวมทั้งท่องเที่ยวและเกษตรกรด้วย ซึ่งโครงการเหล่านี้เอกชนยังเข้าร่วมค่อนข้างน้อยเพราะแรงจูงใจไม่เพียงพอ จึงให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ไปดูมาตรการจูงใจเพิ่มเติม และให้สคร.รีบประชาสัมพันธ์ให้เอกชนรับรู้ด้วยว่าภาครัฐมีโครงการเหล่านี้"คลัง"ชี้ลงทุนล่าช้า10โครงการ

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การลงทุนโครงการลงทุนในพีพีพีล่าช้า เกิดจากการ แพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้มาจากปัญหาเกียร์ว่างของหน่วยงานเจ้าของโครงการจึงให้ สคร.เชิญผู้บริหารหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในโครงการสำคัญ มาหารือร่วมกันว่าจะเดินหน้าโครงการที่ล่าช้าอย่างไร เพราะเศรษฐกิจไทยขณะนี้ต้องอาศัยการลงทุนในประเทศ เนื่องจากการส่งออกยังไปไม่ได้ ซึ่งถ้าหากมีการลงทุนการบริโภคจะขับเคลื่อนด้วย

นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการ สคร.กล่าวว่า ปัจจุบันแผนการร่วมลงทุน ตามคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) มีทั้งหมด 90 โครงการ มูลค่า 1.09 ล้าน ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นโครงการที่โครงการร่วมลงทุนที่มีความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน 18 โครงการ วงเงิน รวม 472,050 ล้านบาท และในจำนวนนี้มี 10 โครงการที่มีการดำเนินการล่าช้า เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ทำให้นัดประชุมไม่ได้

"รองนายกรัฐมนตรีให้ สคร.ดูว่า แต่ละหน่วยงานดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้หรือไม่ ถ้าใครดำเนินการ ไม่ได้ตามแผนจะเรียกผู้บริหารเจ้าของโครงการมาชี้แจงสัปดาห์หน้า"

นอกจากนี้คณะกรรมการพีพีพี ยังได้เห็นชอบร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 ในเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการโครงการร่วมลงทุนที่มีมูลค่าต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีกฎหมายลำดับรองที่ใช้สำหรับการเสนอโครงการครบถ้วน และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน

"พีพีพี"ด้านคมนาคม10โครงการ

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า โครงการด้านคมนาคมที่มีแผนลงทุนในปี 2563 งบประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท เป็นโครงการพีพีพีไม่ต่ำกว่า 10 โครงการ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ระบบรถไฟฟ้า มีสายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์) 122,000 ล้านบาท สายสีม่วงใต้ (เตาปูนราษฎร์บูรณะ) 124,000 ล้านบาทสายสีแดง (รังสิต-ธรรมศาสตร์) 6,570 ล้านบาทและสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) 6,640 ล้านบาท

2.ทางหลวงระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ที่เตรียมเปิดพีพีพี ประกอบไปด้วย มอเตอร์เวย์นครปฐมชะอำ 79,000 ล้านบาทมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-ชายแดนมาเลเซีย 42,600 ล้านบาท ทางยกระดับรังสิต-บางปะอิน 29,400 ล้านบาทและวงแหวนรอบนอกตะวันตก (บางขุนเทียน-บางบัวทอง) 78,000 ล้านบาท

3.โครงการลงทุนขนาดใหญ่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 2 โครงการ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ที่จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน 30,000 ล้านบาท และรถไฟความเร็วสูง (อู่ตะเภา -ระยอง) 35,000 ล้านบาท

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า วานนี้ (26 มิ.ย.) คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เห็นชอบเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (อาร์เอฟพี) และรายละเอียดการประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน โดยจะประกาศเชิญชวนวันที่ 3-9 ก.ค.นี้

รวมทั้งจำหน่ายเอกสารอาร์เอฟพี วันที่ 10-24 ก.ค.นี้ และกำหนดการให้เอกชนยื่นข้อเสนอในเดือน ก.ย.นี้ คาดว่าจะลงนามสัญญาร่วมลงทุนได้เดือน ธ.ค.นี้

สศช.กันงบรับมือระบาดรอบ2

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า การกลั่นกรองและพิจารณาโครงการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบโควิด-19 กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีส่วนราชการเสนอโครงการถึงวันที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา 46,429 โครงการ วงเงินรวม 1.45 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้กลั่นกรองข้อเสนอและโครงการวันที่ 22-25 มิ.ย.นี้ ก่อนเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ วันที่ 1 ก.ค.นี้ และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 ก.ค.พิจารณา เบื้องต้นมีโครงการรอบแรกที่ผ่านการพิจารณา 213 โครงการ วงเงินรวม 101,482 ล้านบาท

นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สศช. กล่าวว่าในการพิจารณาและอนุมัติโครงการเพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจจากผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งในส่วนแรกจะเสนอ ครม.เห็นชอบ อนุมัติโครงการในวงเงิน 7-8 หมื่น ล้านบาท จากวงเงินทั้งหมด 4 แสนล้านบาทนั้น การพิจารณาโครงการนอกจากการตอบโจทย์ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจในประเทศ ยังต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจหากมีการระบาดระยะที่ 2 ด้วย ซึ่งอาจจะทำให้ต้องมีการปิดกิจการอีกครั้งทำให้มีคนว่างงานเพิ่มขึ้นได้

ทั้งนี้ข้อกฎหมายตาม พ.ร.ก.การให้ อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท แบ่งเงินเป็น 3 ส่วน คือ 1.วงเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 5.5 แสนล้านบาท 2.วงเงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบจากโควิด 4 แสนล้านบาท 3.วงเงินด้านสาธารณสุข 4.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งวงเงิน เยียวยาอนุมัติแล้ว 3.6 แสนล้านบาท เหลืออยู่ 1.9 แสนล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/07/2020 4:30 pm    Post subject: Reply with quote

ยันพัฒนาถนนภาคใต้ ผุด"มอเตอร์เวย์คู่รถไฟ"8เส้นทาง
ศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม 2563 เวลา 15.44 น.

“ศักดิ์สยาม”แจงสภา ยันพัฒนาถนนภาคใต้เต็มที่ เผยปี  64 เสนองบซ่อมบำรุงกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท  พร้อมกางแผนแม่บท ผุด มอเตอร์เวย์ คู่รถไฟทางคู่ 8 เส้นทาง เชื่อมพื้นที่เศรษฐกิจทุกภูมิภาคกับด่านชายแดน ลดเวนคืน ดึงต่างชาติลงทุน PPP

เมื่อวันที่ 3 ก.ค. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม  ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 จากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรได้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับภารกิจของกระทรวงคมนาคม ในประเด็นของ นายเทพไท  เสนพงศ์  ส.ส.นครศรีธรรมราช  พรรคประชาธิปัตย์  อภิปรายว่า กระทรวงคมนาคมไม่เอาใจใส่ในการดูแลปัญหาความเดือดร้อนของประชนในพื้นที่ภาคใต้ โดยขอชี้แจงว่า การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงในพื้นที่ภาคใต้ จะแบ่งเป็น 2 เรื่อง คือ

1. การบำรุงรักษาทางหลวงภาคใต้ ซึ่งมี 3 เส้นทาง ทางหลวงหมาย 4 (ถนนเพชรเกษม) ทางหลวงหมายเลข 41 และทางหลวงหมายเลข 42 ซึ่งมีการตั้งงบประมาณในการบำรุงรักษาตั้งแต่ปี 2558 จำนวน 7,055.91 ล้านบาท และงบประมาณซ่อมบำรุงทางหลวงสายหลัก ภาคใต้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี 2563 ตั้งงบไว้ถึง 14,059 ล้านบาท ปี 2564 ได้เพิ่มเป็น 16,808 ล้านบาท เพื่อซ่อมบำรุงผิวถนน ทางหลวงสายหลักเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกและมีความปลอดภัย ในการสัญจร ซึ่ง ทางหลวงหมาย 4 (ถนนเพชรเกษม) จากจังหวัดเพชรบุรี- สงขลา 1183 กม. งบประมาณซ่อมบำรุง ปี 2561-2564 จำนวน 2,901 ล้านบาท

ทางหลวงหมายเลข 41 (ชุมพร-พัทลุง) งบประมาณซ่อมบำรุง ปี 2561-2564 จำนวน 974 ล้านบาท และทางหลวงหมายเลข 42 (สงขลา-นราธิวาส) ระยะทาง 262 กม. งบประมาณซ่อมบำรุง ปี 2561-2564 จำนวน 689 ล้านบาทโดยหลังการซ่อมบำรุงถนน จะมีการทดสอบสภาพ ซึ่งพบว่า มีค่าเฉลี่ยความเรียบถนนทั่วประเทศอยู่ที่ 78% แต่ถนนในภาคใต้มีค่าเฉลี่ยความเรียบสูงกว่า โดยอยู่ที่93.1% โดยทางหลวงหมายเลข 41 มีมาตรฐานความเรียบดีกว่าเกณฑ์ ที่ 89.5% ซึ่งอาจจะมีผิวทางบางช่วงที่มีสภาพไม่เรียบร้อย โดยกระทรวงคมนาคม ไม่ได้นิ่งนอนใจในการจัดสรรงบประมาณไปดูแล


ขณะที่งบประมาณการซ่อมบำรุงทางหลวงทั่วประเทศนั้น ในภาคใต้จะได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 4,519 ล้านบาท ภาคเหนือ ได้รับ 3,555 ล้านบาท ภาคกลาง ได้รับ 6,750 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับ 4,715 ล้านบาท เป็นสิ่งยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งประชาชนภาคใต้และไม่ได้ทอดทิ้งประชาชนในทุกภาคเช่นกัน โดยมีการบริหารงบประมาณเพื่อดูแลสภาพถนนทุกสายให้ประชาชนได้ใช้สัญจรอย่างปลอดภัย

2. การพัฒนาโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ในพื้นที่ภาคใต้ ขณะนี้ มี 2 โครงการได้แก่ มอเตอร์เวย์สาย นครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 109 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร วงเงิน 79,006 ล้านบาท โดยคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) ได้เห็นชอบแล้ว สำรวจที่ดินและทรัพย์สินเวนคืนแล้ว โดยเป็นเส้นทางที่เชื่อมกับมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนทบทวนการศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และมอเตอร์เวย์สาย หาดใหญ่ - ชายแดนไทย/มาเลเซีย (M84) ระยะทาง 71 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร วงเงิน 40,620 ล้านบาท ปัจจุบันออกแบบรายละเอียดเสร็จแล้ว และรายงานEIA ผ่าน คชก.แล้ว การศึกษา PPP เสร็จแล้ว

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า จากปัญหาการออกแบบและก่อสร้างถนน ที่ผ่านมา เส้นทางไม่สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายที่สมบูรณ์ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ให้ กระทรวงคมนาคมศึกษามอเตอร์เวย์ที่สามารถเชื่อมต่อทั่วประเทศ ภายใต้กรอบ 5 เรื่อง ได้แก่ 1. ถนนแนวตรงเพื่อให้เกิดการสัญจรสะดวก ลดอุบัติเหตุ 2. ไม่ผ่านเข้าชุมชน เพื่อไม่ซ้ำแนวถนนเดิมและมีปัญหาเวนคืน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 3. พัฒนาความเจริญสู่พื้นที่ใหม่  4. สร้างชุมชนเมืองใหม่ 5. แยกการจราจรในเมือง (Local Traffic) ออกจากการเดินทางระหว่างเมือง (Through Traffic) โดยกระทรวงคมนาคมเห็นว่า การแยกศึกษามอเตอร์เวย์อย่างเดียวจะมีปัญหา เนื่องจากระบบโลจิสติกส์ทางบก มีเส้นทางรถไฟด้วย ซึ่งนโยบายต้องการใช้ระบบรางในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร รวมถึงการเชื่อมต่อการเดินทางของอาเซียนตามภูมิศาสตร์ของประเทศไทย  
 
จากการศึกษาการแก้ปัญหาแบบบูรณาการโดยการพัฒนาโครงข่ายร่วมกันระหว่างทางรถไฟกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เป็นแผนแม่บท MR-MAP (มอเตอร์เวย์ –รถไฟทางคู่) รวม 8 เส้นทาง เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจทุกภูมิภาคของประเทศกับด่านชายแดน ประเทศเพื่อนบ้าน คือ

1. แนวเหนือ – ใต้ จำนวน 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 2,620 กม. ได้แก่ N1 เชียงราย (ด่านแม่สาย) - สงขลา (ด่านสะเดา) ระยะทาง 1,60 กม., N 2 - หนองคาย- แหลมฉบัง ระยะทาง 490 กม., N 3 บึงกาฬ – สุรินทร์ (ด่านช่องจอม เพื่อเชื่อมประเทศกัมพูชา) ระยะทาง 470 กม.
2. แนวตะวันออก - ตะวันตก จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 2,310 กม. ได้แก่ W1 ตาก (ด่านแม่สอด) - นครพนม ระยะทาง 710 กม., W2 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์) – อุบลราชธานี ระยะทาง 830 กม. ,W3 กาญจนบุรี – สระแก้ว ระยะทาง 310 กม., W4 กาญจนบุรี (ด่านบ้านพุน้ำร้อน) – ตราด ระยะทาง 220 กม. , W5 ชุมพร-ระนอง (ด่านบ้านดอน) ระยะทาง 120 กม. ,W6 ภูเก็ต - สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 190 กม.

ในปี 2564 จะเป็นการศึกษาแผนแม่บท โดยใช้งบประมาณจากกองทุนมอเตอร์เวย์ ซึ่งประโยชน์จากการบูรณาการพัฒนามอเตอร์เวย์ – ทางรถไฟ 1. ลดผลกระทบต่อชุมชน 2. สร้างความคุ้มค่าในการลงทุน 3. กระจายความเจริญเข้าสู่ทุกภูมิภาค 4. ส่งเสริมการพัฒนาเมือง 5. พัฒนาเศรษฐกิจ 6. พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนนอกจากนี้ยังลดการลงทุนภาครัฐ ด้านค่าเวนคืนและลดการลงทุนโดยเปิดให้เอกชนต่างชาติเข้ามาลงทุน.... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/politics/783145
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2020 11:42 am    Post subject: Reply with quote

เปิดปริศนาคมนาคมยุคลุงตู่ ที่คนไทยต้องรู้
สยามรัฐออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2563 10:58 น. เศรษฐกิจ

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ชำนาญด้านโครงการและแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนและ ท่าอากาศยาน โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว ชื่อ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ -Drsamart Ratchapolsitte โดยมีเนื้อหาดังนี้

เปิดปริศนาคมนาคมยุคลุงตู่
ที่คนไทยต้องรู้
.
เสียงค่อนแคะ ดูหมิ่นดูแคลนลุงตู่ว่าพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งไม่เข้าท่า กล่าวหาว่าลุงตู่ไม่รู้เรื่องรถไฟฟ้า และต่างๆ นานา มีคนถามผมมามากว่ามีความเห็นอย่างไร?
.
หากได้ติดตามบทความของผม จะรู้ว่าผมจะวิพากษ์วิจารณ์ตามข้อเท็จจริง ด้วยความเป็นธรรม อิงเหตุและผลพร้อมข้อเสนอแนะ ไม่แฝงประเด็นทางการเมือง แต่มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้สนใจในประเด็นต่างๆ
.
ผมได้เกาะติดงานคมนาคมของรัฐบาลประยุทธ์มาตั้งแต่รัฐประหารในปี 2557 มาจนถึงรัฐบาลเลือกตั้งในปัจจุบัน มีความเห็นดังนี้
.
1. รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ
ลุงตู่ลงมือก่อสร้างรถไฟฟ้าทันทีตามแผนแม่บทที่ได้จัดทำและได้เริ่มก่อสร้างมาในหลายรัฐบาล ไม่เสียเวลามาปรับแก้แผนแม่บทที่ผ่านการศึกษามาแล้วโดยสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ก่อนลุงตู่เข้ามาบริหารประเทศ เรามีรถไฟฟ้าใช้เป็นระยะทาง 87.2 กิโลเมตร หลังจากลุงตู่เป็นนายกฯ มา 6 ปี เรามีรถไฟฟ้าใช้เพิ่มขึ้นเป็น 157.8 กิโลเมตร หรือเพิ่มขึ้น 70.6 กิโลเมตร ซึ่งเป็นผลจากการก่อสร้างต่อเนื่องมาจากหลายรัฐบาลรวมทั้งรัฐบาลนี้ และกำลังก่อสร้างรถไฟฟ้าอีกหลากหลายสีในรัฐบาลนี้ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาและออกแบบรวมทั้งเวนคืนที่ดินในหลายรัฐบาลที่ผ่านมา
.
1.1 รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน
รถไฟฟ้าสายนี้ที่เปิดใช้ในเดือนสิงหาคม 2559 ซึ่งเป็นสมัยลุงตู่ มีผู้โดยสารน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ แนวคิดการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นในรัฐบาลทักษิณ แล้วมีการดำเนินการต่อเนื่องมาในหลายรัฐบาล ลุงตู่ได้ใช้อำนาจตาม ม.44 แก้ปัญหาฟันหลอช่วงเตาปูน-บางซื่อได้สำเร็จ ช่วยให้ผู้โดยสารไม่เสียเวลาเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้า ทำให้จำนวนผู้โดยสารกระเตื้องขึ้นมา
.
1.2 รถไฟฟ้าสายสีเขียว
รถไฟฟ้าสายนี้ช่วงในเมืองหรือช่วง “ไข่แดง” เป็นการลงทุนและเดินรถโดยบีทีเอส แต่ช่วงต่อขยายไปชานเมืองเป็นการลงทุนโดยภาครัฐ แล้วจ้างให้บีทีเอสเป็นผู้บริหารจัดการเดินรถ ลุงตู่ใช้อำนาจตาม ม.44 ทำให้ค่าโดยสารถูกลง จากเดิมที่ต้องจ่ายอัตราสูงสุดถึง 158 บาท เหลือไม่เกิน 65 บาท เป็นการเปิดโอกาสให้คนชานเมืองได้ใช้รถไฟฟ้าเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ด้วยค่าโดยสารที่ถูกลง
.
2. รถไฟความเร็วสูง
รัฐบาลอภิสิทธิ์จัดทำแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูงครอบคลุมทุกภาคทั่วประเทศ
.
2.1 รถไฟความเร็วสุงกรุงเทพฯ-หนองคาย
รัฐบาลอภิสิทธิ์ริเริ่มโครงการก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เพื่อเชื่อมโยงกับคุนหมิงของจีน โดยต้องการที่จะตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีน เพื่อก่อสร้างและบริหารรถไฟความเร็วสูงสายนี้ แต่ยุบสภาฯ เสียก่อน ทำให้โครงการคั่งค้าง ต่อมารัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้บรรจุโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ไว้ในแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แต่ก็ไม่ได้ทำเพราะขัดรัฐธรรมนูญ มาถึงรัฐบาลประยุทธ์ ได้ตัดสินใจลงทุนเองทั้งหมด ซึ่งน่าเสียดายที่ไม่ให้จีนมาร่วมลงทุนด้วย เพราะถ้าจีนร่วมลงทุนด้วย เขาจะทำทุกวิถีทางไม่ให้โครงการนี้ขาดทุน เช่น พยายามสนับสนุนคนจีนให้มาเที่ยวไทยด้วยรถไฟความเร็วสูง ถ้าสมมติว่าคนจีนนั่งรถไฟความเร็วสูงเข้ามาวันละ 5,000 คน ปีหนึ่งเกือบ 2 ล้านคน ถ้าเขามาใช้จ่ายในเมืองไทยคนละ 50,000 บาท ก็จะมีเงินหมุนเวียนในประเทศถึงปีละ 1 แสนล้านบาท
.
2.2 รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
แนวคิดโครงการนี้มาจากแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง แต่รัฐบาลประยุทธ์ได้ปรับแก้เส้นทางให้เชื่อมโยงกับสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เป็นการเสริมศักยภาพให้กับโครงการ EEC และแบ่งเบาภาระการรับผู้โดยสารอย่างหนักของสนามบินสุวรรณภูมิที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก่อนการระบาดของโรคโควิด-19
.
3. รถไฟทางคู่
รัฐบาลชวนริเริ่มการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขึ้นมาในต้นปี 2536 รัฐบาลต่อมาเมินรถไฟทางคู่ จนมาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ได้จัดทำแผนแม่บทรถไฟทางคู่ขึ้นมาและได้จัดสรรงบประมาณมากที่สุดในขณะนั้นเพื่อก่อสร้างรถไฟทางคู่ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้เลือกรถไฟทางคู่บางเส้นทางจากแผนแม่บทมาใส่ไว้ในแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แต่ก็ไม่ได้สร้าง จนมาถึงลุงตู่ ได้เร่งก่อสร้างหลายเส้นทางตามแผนแม่บท
.
4. มอเตอร์เวย์
รัฐบาลชวนได้จัดทำแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ครอบคลุมทั่วประเทศ และได้ก่อสร้างมอเตอร์เวย์เส้นทางแรกของไทยคือเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยาเมื่อปี 2537 หลังจากนั้น ได้มีการก่อสร้างมอเตอร์เวย์เพิ่มเติมบางเส้นทาง เช่นเดียวกับลุงตู่ที่ได้ก่อสร้างมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์เคยบรรจุไว้ในแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แต่ไม่ได้ก่อสร้าง
.
5. สนามบิน
สนามบินที่อยู่ในความสนใจของผู้คนมากที่สุดก็คือสนามบินสุวรรณภูมิ รัฐบาลชวนเป็นผู้จัดทำแผนแม่บทการก่อสร้างสนามบินแห่งนี้เมื่อปี 2536 จนถึงปัจจุบันนี้แผนแม่บทนี้ก็ยังคงทันสมัย และใช้งานได้ดี แต่น่าเสียดายที่บริษัท ท่าอากาศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ต้องการที่จะก่อสร้างเทอร์มินัล 2 ที่ผิดแผนแม่บท หรือเทอร์มินัล 2 ตัดแปะ แต่ ทอท.เรียกว่า North Expansion ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ นานาตามมา ลุงตู่ได้สั่งการให้ ทอท.ทบทวนการก่อสร้างเทอร์มินัล 2 โดยต้องคำนึงถึงแผนแม่บทและให้เป็นไปตามหลักสากล แต่ดูเหมือนว่า ทอท.ยังคงพยายามดึงดันที่จะก่อสร้าง North Expansion ให้ได้
.
6. การบินไทย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการขาดทุนอย่างหนักของการบินไทยจนต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการมีปัจจัยหลักมาจากการซื้อเครื่องบินขนาดใหญ่หลายลำที่กินน้ำมันมากให้บินทางไกล แต่สุดท้ายขาดทุนต้องจอดทิ้งไว้อย่างไร้ประโยชน์ การซื้อเครื่องบินดังกล่าวเกิดขึ้นในรัฐบาลไหน? มาถึงรัฐบาลนี้ ลุงตู่ไม่ยอมอุ้มการบินไทยอีกต่อไป เพราะเกรงว่าถ้าอุ้มแล้วก็ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ อาจขาดทุนอีก แถมลุงตู่ยังลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังเหลือต่ำกว่า 50% ทำให้การบินไทยไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ กลายเป็นบริษัทที่จะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อเลี้ยงตัวเองให้ได้ ไม่ให้ล้มละลาย
.
นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นจะต้องรู้รายละเอียดทุกเรื่องโดยเฉพาะด้านวิชาการเชิงเทคนิคที่ไม่ได้เรียนมา แต่ไม่ได้หมายความว่านายกฯ ด้อยสติปัญญา หากนายกฯ จะต้องรู้รายละเอียดทั้งหมดทุกเรื่อง แล้วจะมี รมต.และผู้บริหารในแต่ละกระทรวงไว้ทำไม ความรับผิดชอบหลักของนายกฯ จึงอยู่ที่การกำกับดูแล ครม.ให้ทำงานสำเร็จตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา
.
ด้วยเหตุนี้ จึงต้องวัดคนที่ผลสัมฤทธิ์ของงานซึ่งเป็นไปตามสุภาษิต “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” ไม่ใช่อยู่ที่การ “ยกตนข่มท่าน”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2020 11:44 am    Post subject: Reply with quote

เปิดปริศนาคมนาคมยุคลุงตู่ ที่คนไทยต้องรู้
สยามรัฐออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2563 10:58 น. เศรษฐกิจ
Arrow https://www.facebook.com/Dr.Samart/photos/a.232032303608347/2053950281416531

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ชำนาญด้านโครงการและแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนและ ท่าอากาศยาน โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว ชื่อ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ -Drsamart Ratchapolsitte โดยมีเนื้อหาดังนี้

เปิดปริศนาคมนาคมยุคลุงตู่
ที่คนไทยต้องรู้
.
เสียงค่อนแคะ ดูหมิ่นดูแคลนลุงตู่ว่าพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งไม่เข้าท่า กล่าวหาว่าลุงตู่ไม่รู้เรื่องรถไฟฟ้า และต่างๆ นานา มีคนถามผมมามากว่ามีความเห็นอย่างไร?
.
หากได้ติดตามบทความของผม จะรู้ว่าผมจะวิพากษ์วิจารณ์ตามข้อเท็จจริง ด้วยความเป็นธรรม อิงเหตุและผลพร้อมข้อเสนอแนะ ไม่แฝงประเด็นทางการเมือง แต่มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้สนใจในประเด็นต่างๆ
.
ผมได้เกาะติดงานคมนาคมของรัฐบาลประยุทธ์มาตั้งแต่รัฐประหารในปี 2557 มาจนถึงรัฐบาลเลือกตั้งในปัจจุบัน มีความเห็นดังนี้
.
1. รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ
ลุงตู่ลงมือก่อสร้างรถไฟฟ้าทันทีตามแผนแม่บทที่ได้จัดทำและได้เริ่มก่อสร้างมาในหลายรัฐบาล ไม่เสียเวลามาปรับแก้แผนแม่บทที่ผ่านการศึกษามาแล้วโดยสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ก่อนลุงตู่เข้ามาบริหารประเทศ เรามีรถไฟฟ้าใช้เป็นระยะทาง 87.2 กิโลเมตร หลังจากลุงตู่เป็นนายกฯ มา 6 ปี เรามีรถไฟฟ้าใช้เพิ่มขึ้นเป็น 157.8 กิโลเมตร หรือเพิ่มขึ้น 70.6 กิโลเมตร ซึ่งเป็นผลจากการก่อสร้างต่อเนื่องมาจากหลายรัฐบาลรวมทั้งรัฐบาลนี้ และกำลังก่อสร้างรถไฟฟ้าอีกหลากหลายสีในรัฐบาลนี้ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาและออกแบบรวมทั้งเวนคืนที่ดินในหลายรัฐบาลที่ผ่านมา
.
1.1 รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน
รถไฟฟ้าสายนี้ที่เปิดใช้ในเดือนสิงหาคม 2559 ซึ่งเป็นสมัยลุงตู่ มีผู้โดยสารน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ แนวคิดการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นในรัฐบาลทักษิณ แล้วมีการดำเนินการต่อเนื่องมาในหลายรัฐบาล ลุงตู่ได้ใช้อำนาจตาม ม.44 แก้ปัญหาฟันหลอช่วงเตาปูน-บางซื่อได้สำเร็จ ช่วยให้ผู้โดยสารไม่เสียเวลาเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้า ทำให้จำนวนผู้โดยสารกระเตื้องขึ้นมา
.
1.2 รถไฟฟ้าสายสีเขียว
รถไฟฟ้าสายนี้ช่วงในเมืองหรือช่วง “ไข่แดง” เป็นการลงทุนและเดินรถโดยบีทีเอส แต่ช่วงต่อขยายไปชานเมืองเป็นการลงทุนโดยภาครัฐ แล้วจ้างให้บีทีเอสเป็นผู้บริหารจัดการเดินรถ ลุงตู่ใช้อำนาจตาม ม.44 ทำให้ค่าโดยสารถูกลง จากเดิมที่ต้องจ่ายอัตราสูงสุดถึง 158 บาท เหลือไม่เกิน 65 บาท เป็นการเปิดโอกาสให้คนชานเมืองได้ใช้รถไฟฟ้าเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ด้วยค่าโดยสารที่ถูกลง
.
2. รถไฟความเร็วสูง
รัฐบาลอภิสิทธิ์จัดทำแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูงครอบคลุมทุกภาคทั่วประเทศ
.
2.1 รถไฟความเร็วสุงกรุงเทพฯ-หนองคาย
รัฐบาลอภิสิทธิ์ริเริ่มโครงการก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เพื่อเชื่อมโยงกับคุนหมิงของจีน โดยต้องการที่จะตั้งบริษัทร่วมทุนไทย-จีน เพื่อก่อสร้างและบริหารรถไฟความเร็วสูงสายนี้ แต่ยุบสภาฯ เสียก่อน ทำให้โครงการคั่งค้าง ต่อมารัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้บรรจุโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ไว้ในแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แต่ก็ไม่ได้ทำเพราะขัดรัฐธรรมนูญ มาถึงรัฐบาลประยุทธ์ ได้ตัดสินใจลงทุนเองทั้งหมด ซึ่งน่าเสียดายที่ไม่ให้จีนมาร่วมลงทุนด้วย เพราะถ้าจีนร่วมลงทุนด้วย เขาจะทำทุกวิถีทางไม่ให้โครงการนี้ขาดทุน เช่น พยายามสนับสนุนคนจีนให้มาเที่ยวไทยด้วยรถไฟความเร็วสูง ถ้าสมมติว่าคนจีนนั่งรถไฟความเร็วสูงเข้ามาวันละ 5,000 คน ปีหนึ่งเกือบ 2 ล้านคน ถ้าเขามาใช้จ่ายในเมืองไทยคนละ 50,000 บาท ก็จะมีเงินหมุนเวียนในประเทศถึงปีละ 1 แสนล้านบาท
.
2.2 รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
แนวคิดโครงการนี้มาจากแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง แต่รัฐบาลประยุทธ์ได้ปรับแก้เส้นทางให้เชื่อมโยงกับสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เป็นการเสริมศักยภาพให้กับโครงการ EEC และแบ่งเบาภาระการรับผู้โดยสารอย่างหนักของสนามบินสุวรรณภูมิที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก่อนการระบาดของโรคโควิด-19
.
3. รถไฟทางคู่
รัฐบาลชวนริเริ่มการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขึ้นมาในต้นปี 2536 รัฐบาลต่อมาเมินรถไฟทางคู่ จนมาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ได้จัดทำแผนแม่บทรถไฟทางคู่ขึ้นมาและได้จัดสรรงบประมาณมากที่สุดในขณะนั้นเพื่อก่อสร้างรถไฟทางคู่ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้เลือกรถไฟทางคู่บางเส้นทางจากแผนแม่บทมาใส่ไว้ในแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แต่ก็ไม่ได้สร้าง จนมาถึงลุงตู่ ได้เร่งก่อสร้างหลายเส้นทางตามแผนแม่บท
.
4. มอเตอร์เวย์
รัฐบาลชวนได้จัดทำแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ครอบคลุมทั่วประเทศ และได้ก่อสร้างมอเตอร์เวย์เส้นทางแรกของไทยคือเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยาเมื่อปี 2537 หลังจากนั้น ได้มีการก่อสร้างมอเตอร์เวย์เพิ่มเติมบางเส้นทาง เช่นเดียวกับลุงตู่ที่ได้ก่อสร้างมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์เคยบรรจุไว้ในแผนเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แต่ไม่ได้ก่อสร้าง
.
5. สนามบิน
สนามบินที่อยู่ในความสนใจของผู้คนมากที่สุดก็คือสนามบินสุวรรณภูมิ รัฐบาลชวนเป็นผู้จัดทำแผนแม่บทการก่อสร้างสนามบินแห่งนี้เมื่อปี 2536 จนถึงปัจจุบันนี้แผนแม่บทนี้ก็ยังคงทันสมัย และใช้งานได้ดี แต่น่าเสียดายที่บริษัท ท่าอากาศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ต้องการที่จะก่อสร้างเทอร์มินัล 2 ที่ผิดแผนแม่บท หรือเทอร์มินัล 2 ตัดแปะ แต่ ทอท.เรียกว่า North Expansion ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ นานาตามมา ลุงตู่ได้สั่งการให้ ทอท.ทบทวนการก่อสร้างเทอร์มินัล 2 โดยต้องคำนึงถึงแผนแม่บทและให้เป็นไปตามหลักสากล แต่ดูเหมือนว่า ทอท.ยังคงพยายามดึงดันที่จะก่อสร้าง North Expansion ให้ได้
.
6. การบินไทย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการขาดทุนอย่างหนักของการบินไทยจนต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการมีปัจจัยหลักมาจากการซื้อเครื่องบินขนาดใหญ่หลายลำที่กินน้ำมันมากให้บินทางไกล แต่สุดท้ายขาดทุนต้องจอดทิ้งไว้อย่างไร้ประโยชน์ การซื้อเครื่องบินดังกล่าวเกิดขึ้นในรัฐบาลไหน? มาถึงรัฐบาลนี้ ลุงตู่ไม่ยอมอุ้มการบินไทยอีกต่อไป เพราะเกรงว่าถ้าอุ้มแล้วก็ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ อาจขาดทุนอีก แถมลุงตู่ยังลดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังเหลือต่ำกว่า 50% ทำให้การบินไทยไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ กลายเป็นบริษัทที่จะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อเลี้ยงตัวเองให้ได้ ไม่ให้ล้มละลาย
.
นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นจะต้องรู้รายละเอียดทุกเรื่องโดยเฉพาะด้านวิชาการเชิงเทคนิคที่ไม่ได้เรียนมา แต่ไม่ได้หมายความว่านายกฯ ด้อยสติปัญญา หากนายกฯ จะต้องรู้รายละเอียดทั้งหมดทุกเรื่อง แล้วจะมี รมต.และผู้บริหารในแต่ละกระทรวงไว้ทำไม ความรับผิดชอบหลักของนายกฯ จึงอยู่ที่การกำกับดูแล ครม.ให้ทำงานสำเร็จตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา
.
ด้วยเหตุนี้ จึงต้องวัดคนที่ผลสัมฤทธิ์ของงานซึ่งเป็นไปตามสุภาษิต “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” ไม่ใช่อยู่ที่การ “ยกตนข่มท่าน”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 106, 107, 108 ... 121, 122, 123  Next
Page 107 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©