RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181710
ทั้งหมด:13492948
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 116, 117, 118 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2021 4:36 pm    Post subject: Reply with quote

7 ปีรัฐบาลประยุทธ์ ถมเงินลงราง 1.5 ล้านล้าน เปิดโรดแมป “รถไฟฟ้า-ไฮสปีด”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 16:58 น.


คมนาคมเปิดตัวเลข 7 ปีรัฐบาล “ประยุทธ์” เทเงินลงทุนระบบรางกว่า 1.5 ล้านล้าน เผยโรดแมป “รถไฟฟ้า-ทางคู่-ไฮสปีด” พาเหรดประมูล-สร้าง-เปิดบริการอีกหลายสาย

วันที่ 29 มิถุนายน 2564 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบถึงการพัฒนาระบบคมนาคมทางรางในช่วง 7 ปี (พ.ศ. 2557-2563) ของรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม

ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีนโยบายชัดเจนว่ารัฐบาลจะพัฒนาการคมนาคมทางรางให้เป็นระบบขนส่งหลักของประเทศเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ อำนวยความสะดวกในการเดินทาง สร้างโอกาส และกระจายความเจริญไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ จึงมีข้อสั่งการให้กระทรวงคมนาคมประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการพัฒนาระบบคมนาคมทางรางให้เกิดเป็นรูปธรรมให้เร็วที่สุด


ไตรศุลี ไตรสรณกุล
7 ปี ถมรางไปแล้ว 1.5 ล้านล้าน
ทั้งนี้ ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการลงทุนในระบบรางมีการลงทุนรวม 1,508,648 ล้านบาท แยกเป็นการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลและพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ 828,132 ล้านบาท พัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่และทางสายใหม่ 276,559 ล้านบาท และพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง 403,957 ล้านบาท สามารถแยกรายละเอียดได้ดังนี้

7 ปี รถไฟฟ้าวิ่งฉิวเพิ่ม 85 กม.
ส่วนที่ 1 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีการเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟฟ้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนเพิ่มขึ้นจากก่อนปี 2557 มีโครงข่าย 4 เส้นทาง 85 กม. ปัจจุบันรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเปิดบริการแล้ว 5 สี 9 เส้นทาง รวม 170.38 กม. จากทั้งหมด 554 กม. คิดเป็นประมาณ 25% ของโครงการข่ายทั้งระบบ

อยู่ระหว่างก่อสร้างมี 6 เส้นทาง รวม 131.76 กม. ได้แก่ 1) สายดีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต 26.3 กม. 2) สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15.26 กม. 3) สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนาธรรมฯ-มีนบุรี 22.5 กม. 4) สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 30.4 กม. 5) สายสีชมพูช่วงแคลาย-มีนบุรี 34.5 กม. และ 6) สายสีชมพูช่วงส่วนต่อขยายสถานีศรีรัช-เมืองทองทางธานี 3 กม.


ปี 66-67 รถไฟฟ้ามาอีก 30-40 กม.
“ในส่วนของสายสีแดงเข้มช่วงบางซื่อ-รังสิต และสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเปิดให้บริการในเดือนพ.ย. 2564 นี้ และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอย่างสายสีเหลือง สายสีชมพู จะทยอยเปิดให้บริการประชาชนปีละ 30-40 กม.ในช่วงปี 2565-67” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคาอีก 2 เส้่นทาง 37 กม. คือสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) 23.6 กม. และสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางขุนนนท์ 13.4 กม.

อยู่ระหว่างศึกษาการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) 5 เส้นทาง ได้แก่ 1) สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 8.84 กม. 2) สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง 5.76 กม. 3) สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14.80 กม. 4) แดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 5.70 กม. และ 5) สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก 20.14 กม.

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนที่ 2 การพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ เป็นการก่อสร้างศูนย์กลางระบบราง และแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของประเทศ เป็นจุดเชื่อมต่อระบบรางที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนด้วยพื้นที่ 298,200 ตรม. 4 ชั้น 24 ชานชาลา




ทางคู่มาแล้ว 2 เส้นทาง 293 กม.
ส่วนที่ 3 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่และทางสายใหม่ เร่งรัดการก่อสร้างรถไฟทางคู่และทางสายใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางและขนส่งสินค้า โดยเปิดให้บริการรถไฟทางคู่ 2 เส้นทาง 293 กม. ได้แก่ 1) ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 187 กม. 2) ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 106 กม.

ประกวดราคา-สร้างอีก 7 เส้นทาง
อยู่ระหว่างก่อสร้างทางคู่ 5 โครงการระยะทางรวม 700 กม. ประกอบด้วย 1) ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กม. 2) ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กม. 3) ช่วงนครปฐม-หัวหิน 169 กม. 4) ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 84 กม. และ 5) ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 1 ระยะทาง 167 กม.

อยู่ระหว่างประกวดราคาสายใหม่ 2 โครงการ ได้แก่ 1) ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ 323 กม. 2) ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม 355 กม.

ไฮสปีดไทย-จีน/3 สนามบิน กำลังมา
ส่วนที่ 4 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง เพื่อพลิกโฉมระบบรางของไทย สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยอนุมัติการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 สายแรกระยะทางรวม 473 กม. ประกอบด้วย 1) โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. และ 2) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 220 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2021 10:24 pm    Post subject: Reply with quote

เยี่ยม #หนูแดงน้อย ทางรถไฟจำลอง @หนองระเวียง
ศูนย์ฝึกอบรมระบบราง ระดับประเทศ ครบทุกระบบที่มี ด้วยฝีมือคนไทย!!!

โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 21:11 น.

วันนี้พาเพื่อนๆไปชม ศูนย์ฝึกอบรมระบบราง ของราชมงคลอีสาน ศูนย์หนองระเวียง ซึ่งมีการก่อสร้าง ทางรถไฟจำลอง ขนาดเท่าของจริง เพื่อเตรียมตัวเป็นศูนย์ฝึกอบรม และรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ระบบราง
ที่สำคัญกว่านั้นคือ เป็นฝีมือคนไทยทำทั้งหมด โดยบริษัท ANS Corporation
—————————
ซึ่งในโครงการทางรถไฟจำลอง ได้มีการก่อสร้าง ทางรถไฟจำลอง ขนาด 1:1 (เท่าของจริงทุกอย่าง) พร้อมระบบอาณัติสัญญาณ และ ระบบจ่ายไฟฟ้า เสมือนจริง เพื่อใช้ในการฝึกอบรม และทดสอบในอนาคต
ก่อนหน้านี้ผมเคยเอาความคืบหน้ามาให้ชมตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1186102398494904/?d=n
แต่ตอนนี้คืบหน้าไปมาก ใกล้เสร็จในเดือนกรกฎาคมนี้ เลยเอาภาพมา update ให้เพื่อนๆชมครับ
ในโครงการนี้มีจุดไฮไลต์ที่น่าสนใจมากๆ 2 อย่างคือ
1. รถไฟจะลอง ผมขอเรียกว่า “หนูแดงน้อย” ก็แล้วกันครับ ซึ่งจะเป็นรถไฟที่ใช้ในการเดินรถทดสอบ ภายในพื้นที่โครงการ
ซึ่งเจ้าหนูแดงน้อย จะมีการลดขนาดลงมา ซึ่งใช้พื้นฐานมาจาก รถไฟฟ้าขนาดเล็ก เพื่อจะให้เหมาะสมกับระยะทางของทางวิ่งรถไฟ
โดยเจ้าหนูแดงน้อยเป็นรถไฟฟ้า 100% รับพลังงานได้จาก 2 แหล่งพลังงานคือ
- สายส่งไฟฟ้าเหนือหัว (OCS) ใช้ไฟฟ้า 220 VAC (ตามปรกติจะเป็น 25 kVAC แต่ลดทอนมาเพื่อความปลอดภัย)
- รางสาม (3rd Rail) เหมือนกับ BTS/MRT ใช้ไฟฟ้า 48 VDC (ตามปรกติจะเป็น 750 VDC แต่ลดทอนลงมาเพื่อความปลอดภัย)
2. ระบบอาณัติสัญญาณดิจิตอลไฟสี ซึ่งเทียบเท่ากับมาตรฐานของการรถไฟ แต่เป็นระบบที่คนไทย ทำขึ้นมาเอง โดยบริษัท ANS Corporation
ซึ่งปรกติทำงานทางด้าน ผลิตอุปกรณ์ที่ใช้กับทางรถไฟ ของการไฟอยู่ แต่ได้โอกาสในงานนี้ ได้แสดงฝีมือ ในการทำระบบอาณัติสัญญาณ ดิจิตอล ด้วยฝีมือคนไทย คุณภาพเทียบเท่าของต่างชาติ
เป็นการแสดงให้เห็นเลยว่า ถ้าภาครัฐ ให้โอกาส มีเอกชนที่พร้อมจะทำ และทำได้อยู่แล้ว!!!!
ในอนาคต อาจจะมีการพัฒนาเพื่อติดตั้ง ballast เพื่อพัฒนาระบบต่อให้รองรับ ETCS L1 ตามมาตรฐานทางคู่สายใหม่ต่อไป!!!
—————————
สำหรับรางทางรถไฟจำลองนี้ ได้ออกแบบเพื่อเป็นตัวอย่างในการซ่อมบำรุงทางรถไฟในทุกรูปแบบ และทุกอุปกรณ์ที่มีใช้ในประเทศ!!!
รายละเอียดอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนรางรถไฟจำลอง
- เป็นทางรถไฟ ระยะทาง 250 เมตร ขนาด 1 เมตร (เท่าทางรถไฟไทย และรถไฟฟ้าสายสีแดง)
- ใช้รางตามมาตรฐาน UIC 54 (เท่ามาตรฐานทางคู่)
- มีทางหลีก 1 จุด
- มีรูปแบบโครงสร้างทางรถไฟ 2 รูปแบบคือ
1. แบบหินรองราง (Ballasted Track) ซึ่งใช้ทั่วไปในทางรถไฟระดับดิน
2. แบบไม่มีหินรองราง (Slab Track) ซึ่งส่วนมากใช้ในทางรถไฟยกระดับ และทางรถไฟใต้ดิน ของรถไฟฟ้าในบ้านเรา
- อุปกรณ์ยึดเหนี่ยวทาง 3 รูปแบบคือ
1. e-clip
2. w-clip
3. fast-clip
- ชุดประแจสับราง 2 รูปแบบ
1. swing nose
2. manganese frog
ซึ่งสามารถกลับทางได้แบบประแจกลธรรมดา และประแจไฟฟ้า
- ระบบจ่ายไฟฟ้า มีทั้ง 2 แบบที่ใช้ คือ
1. ราง 3 แบบเดียวกับที่ใช้ในรถไฟฟ้าในเมือง เช่น BTS และ MRT
2. สายส่งเหนือหัว (OCS) แบบเดียวกับที่ใช้ในรถไฟฟ้าชานเมืองและใช้ความเร็วสูง เช่น รถไฟฟ้า Airport link, สายสีแดง และรถไฟความเร็วสูงทุกสาย
รายละเอียดเรื่องระบบไฟฟ้าของรถไฟฟ้า
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/768898753548606/?d=n
พร้อมด้วยระบบอาณัติสัญญาณ ETCS Level 1 เทียบเท่าทางคู่
รายละเอียดเรื่อง ETCS
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/855791254859355/?d=n
สำคัญที่สุด คือมีรถไฟจำลองวิ่งทดสอบในเขตราง 1 คัน รับคนได้ 6 ที่นั่งเพื่อทดสอบได้เสมือนจริงมากที่สุด!!!
นอกจากนั้น ยังมีระบบการจัดการสถานี และระบบการจัดการธุรกิจค้าปลีกรวมอยู่ในสถานีทั้งนี้เพื่อความหลากหลายในการเรียนรู้ของนักศึกษา
ซึ่งอย่างที่เห็นว่ามีความหลากหลายของอุปกรณ์เพื่อให้สามารถสอนได้อย่างกว้างขวาง และใช้งานอุปกรณ์ได้ทุกชนิดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทำให้ผู้เรียน และอบรม พร้อมที่จะไปทำงานในอุตสาหกรรมรางได้เลย!!!
—————————
สำหรับน้องๆที่สนใจอยากจะเรียนในอุตสาหกรรมระบบราง ที่ศูนย์หนองระเวียง มีสอนอยู่ 2 หลักสูตรคือ
- ปวส. ช่างเทคนิคระบบขนส่งทางราง
- ปริญญาตรี วศ.บ. เครื่องกลระบบราง
ใครสนใจสามารถดูรายละเอียดหลักสูตรระบบรางรวมได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/665166003921882/?d=n
—————————
โครงการนี้จะควาวมสอดคล้องกับองค์กรรับรองสมรรถนะของบุคลากรตามมาตรฐานอาชีพ
สาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบราง อาชีพช่างเทคนิคซ่อมบำรุงทางรถไฟ ระดับ 3-4
ซึ่งจะเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการฝึกอบรมและรับรองบุคลากรทางด้านการซ่อมบำรุงทางรถไฟให้กับนักศึกษาทั้งภายในและภายนอกรวมไปถึงบุคลกรที่มีความสนใจ ที่มีความพร้อมที่สุดในภาคอีสาน
—————————
ในอนาคต ทางอาจารย์ ได้แจ้งว่ามีแผนจะขยายทางรถไฟออกไปให้รอบเขตศูนย์หนองระเวียง ระยะทาง 8 กิโลเมตร
ยิ่งกว่านั้นอนาคตอาจจะออกไปต่อกับทางรถไฟภายนอกของการรถไฟ เพื่อจะมีการทำลองเดินรถร่วมกับระบบภายนอกตามสถานการณ์จริง!!!
เราได้เห็นศูนย์ฝึกแบบนี้อยู่ในประเทศมหาอำนาจทางรถไฟทั่วโลก วันนี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญที่เราจะสร้างรากฐานให้ตัวเองบ้าง และมั่นใจได้ว่า ของไทยคุณภาพไม่ได้หย่อนไปกว่าของนอกแน่นอน ถ้าให้โอกาส!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2021 9:43 pm    Post subject: Reply with quote

ความคืบหน้าการพัฒนาระบบราง ของไทย ขยายกว่าเท่าตัว ระยะทางรวมกว่า 2500 กิโลเมตร ครอบคลุมทั่วประเทศ!!!!
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
ศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม 2564 เวลา 20.10 น.

วันนี้เอาคลิปสรุปความคืบหน้าการพัฒนาระบบราง ของไทยเรา ที่ผ่านมา มาให้เพื่อนๆชมกันหน่อย
—————————
ซึ่งจากในคลิปได้สรุปแผนการพัฒนาออกมาเป็น 3 ด้านหลักๆคือ
- รถไฟฟ้าในเมือง
เปิดให้บริการแล้วทั้งหมด 170 กิโลเมตร
อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 131 กิโลเมตร
- รถไฟทางไกล (ทางคู่)
เปิดให้บริการแล้ว 2 เส้นทาง ระยะทางรวม 293 กิโลเมตร
อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 700 กิโลเมตร
รอเซ็นสัญญา (ทางคู่สายใหม่) 2 เส้นทาง ระยะทางรวม 678 กิโลเมตร
- รถไฟความเร็วสูง
กำลังก่อสร้าง 2 เส้นทาง ระยะทางรวม 473 กิโลเมตร
ซึ่งโครงการทั้งหมด จะมารวมกันและส่งเสริมกันที่ สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นศูนย์กลางคมนาคมใหม่ของประเทศ!!!
—————————
ตอนนี้ Hardware เสร็จไปเยอะแล้ว แต่เรายังขาด Software และการพัฒนาเพื่อรองรับการใช้งารระบบรางให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น
- ตั๋วร่วม
- การเปิดให้เอกชนร่วมเดินรถ
- การพัฒนาจุดขนถ่ายสินค้า CY/Dryport
และการทำระเบียบกฏเกณฑ์ต่างๆเพื่อรองรับการพัฒนา!!!
—————————
แต่ต้องบอกก่อนว่าทั้งหมดนี้ไม่สามารถเกิดได้ด้วยรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง เพราะแต่ละโครงการต้องผ่านกระบวนการศึกษา ออกแบบ ต่างๆ มากกว่า 5-10 ปี กว่าจะมาถึงจุดนี้……
—————————
การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางรางอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และอำนวยความสะดวกในการเดินทาง
.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/07/2021 1:11 pm    Post subject: Reply with quote

เข็น6บิ๊กโปรเจกต์ลงทุน2.7แสนล.
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ปูพรมประมูล-เร่งปิดจ๊อบ
งบ 64 เบิกแล้ว9หมื่นล.

เร่งประมูลรถไฟไทย-จีน

"คมนาคม" เร่งผลักดัน 6 เมกะโปรเจกต์ มูลค่า 2.72 แสนล้าน หวังช่วยพยุงเศรษฐกิจช่วงวิกฤตโควิดเดินหน้าลงนามสัญญาไฮสปีดไทย-จีน เพิ่ม 4 สัญญา ลุยเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ "ศักดิ์สยาม" เผยงานก่อสร้าง 1.8 แสนล้าน ยันไม่กระทบ เบิกจ่ายต่อหน้าได้แล้ว 50 %

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กำลังวิกฤติ ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลง จากปัจจัยของเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดับลง การกระตุ้นเศรษฐกิจจึงฝากความหวังไว้ที่โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หรือเมกะโปรเจคต์ ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม ที่มีความพยายามจะผลักดันให้เดินตามแผนงานที่วางไว้ เพื่อให้มีเม็ดเงินออกสู่ระบบกว่า 2-3 แสนล้านบาท รองรับสถานการณ์วิกฤตไวรัสโควิดที่เกิดขึ้น

งบปี64เบิกจ่ายแล้ว9หมื่นล.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามแผนการลงทุนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในปีงบประมาณ 2564 ทางกระทรวงฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณ 1.8 แสนล้านบาท สำหรับการดำเนินงานในหลายโครงการ โดยได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปแล้ว 90,000 ล้านบาท คิดเป็น 50 % จากงบการลงทุนทั้งหมด ในขณะที่โครงการ อื่นๆ ที่อยู่ในแผนก็ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว

ส่วนข้อห่วงใยต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิดนั้น มั่นใจว่าจะยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ในทางกลับกันได้เร่งผลักดันให้เดินหน้าโครงการต่างให้เป็นไปตามแผน เพื่อให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบโดยเร็ว และต้องเร่งติดติดตามผลการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2564 ให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยจะมีประชุมภายในสัปดาห์หน้า

จี้ลงนามรถไฟไทย-จีน

ส่วนความคืบหน้าของโครงการต่างๆ ที่จะอยู่ระหว่างเร่งผลักดันให้เกิดการลงทุนโดยเร็ว โดยเฉพาะ 6 โครงการสำคัญ เม็ดเงินลงทุนราว 2.72 แสนล้านบาทนั้น

แหล่งจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ปัจจุบันเหลืออีก 4 สัญญา ที่ยังไม่ได้มีการลงนามสัญญาจาก 14 สัญญา ประกอบด้วย 1.สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. วงเงิน 18,000 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอความชัดเจนเนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมืองสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งอยู่ระหว่างการเร่งรัดหาข้อสรุปการดำเนินงาน เพื่อไม่ให้กระทบทั้ง 2 โครงการ คาดว่าจะเปิดประมูลต้นปี 2565 และลงนามสัญญาต่อไป

2.งานโยธาสัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กม.วงเงิน 8,628.8 ล้านบาท โดย บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ชนะการประมูล ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอที่ประชุมคณะกรรมการรฟท. (บอร์ด) พิจารณาเห็นชอบ คาดว่าจะลงนามสัญญาภายในเดือนกรกฎาคมนี้ จะเริ่มออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ภายใน 30 วัน หลังจากมีการลงนามสัญญา

3.สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท โดยบมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวล็อปเมนต์ เสนอราคาต่ำสุด 9,913 ล้านบาท ปัจจุบันช่วงผ่านสถานีพระนครศรีอยุธยา อยู่ระหว่างหารือกับกรมศิลปากรในการปรับแบบสัญญาให้สอดคล้องกับการเป็นพื้นที่มรดกโลก และ4.สัญญาที่ 3-1 งานโยธา ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก- บันไดม้า ระยะทาง 30 กม. วงเงิน 9,930 ล้านบาท โดย บมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวล็อปเมนท์ เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,349 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางที่ 11,386 ล้านบาท

ทางคู่ชงครม.ไฟเขียว

ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 ช่วง ขอนแก่น - หนองคาย ระยะทางรวมทั้งสิ้น 167 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 26,647 ล้านบาท รฟท. ได้เร่งรัดการดำเนินโดยส่งเรื่องไปให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือ สศช. พิจารณารายละเอียดแล้ว คาดว่าจะนำเสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติได้ในเดือนตุลาคม 2564 และเปิดประมูลได้ในเดือนธันวาคม 2564 ตั้งเป้าเริ่มก่อสร้างในช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2565 ใช้เวลาก่อสร้างพร้อมติดตั้งอาณัติสัญญานและระบบโทรคมนาคม 4 ปี แล้วเสร็จช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2569

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า สำหรับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว (M82) ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว รวมระยะทาง 16.4 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 19,700 ล้านบาท ขณะนี้ทล.อยู่ระหว่างจัดทำราคากลางเพื่อประมูลงานระบบและจัดเก็บค่าผ่านทาง (O&M) รูปแบบการลงทุน PPP Gross Cost โดยจ้างเก็บค่าผ่านทาง 30 ปี ซึ่งจะเริ่มกระบวนการภายในเดือนสิงหาคม 2564 และลงนามสัญญากับเอกชนภายในเดือนกันยายน 2564

เร่งปิดประมูลรถไฟฟ้าม่วงใต้

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ(วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 101,100 ล้านบาทนั้น แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม.เตรียมที่จะออกประกาศการประกวดราคา โดยวิธีประกวดราคานานาชาติ (International Bidding) ฉบับแรก จะเริ่มจำหน่ายเอกสารประกวดราคาระหว่างวันที่ 5 กรกฎาคม-7 ตุลาคม 2564 และจะกำหนดให้ยื่นข้อเสนอในเดือนตุลาคม 2564 ระหว่างเวลา 09.00-15.00 น. หากเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ คาดว่าจะได้ผู้ชนะการประมูลภายในปี 2564 เริ่มก่อสร้างต้นปี 2565 และเปิดให้บริการภายในปี 2570

จี้อัพเกรดสนามบินดอนเมือง

แหล่งข่าวจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวว่า โครงการพัฒนาขยายท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 3.8 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันทอท.ได้เสนอโครงการต่อสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาแล้ว หลังจากนั้นจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนกรากฎาคม 2564 เปิดประมูลโครงการฯภายในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2564 คาดได้ตัวผู้รับจ้างไม่เกินสิ้นปีนี้ หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ทันที โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี และเปิดให้บริการในปี 2567

ส่วนโครงการพัฒนาส่วนต่อขยายด้านทิศเหนือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วงเงิน 42,000 ล้านบาท นั้น ขณะนี้การก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบรายละเอียด จะเปิดประมูลภายในต้นปี 2565 และดำเนินการก่อสร้างในปี 2565 คาดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2567 สามารถรองรับผู้โดยสาร 30 ล้านคนต่อปี ขณะที่การก่อสร้างส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันตก จะใช้ระยะเวลาออกแบบ 10 เดือน คาดเปิดประมูลภายในปลายปี 2565

ส่วนต่อขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 06/07/2021 3:33 am    Post subject: Reply with quote

EA เซ็น MOU พันธมิตรยักษ์ใหญ่ในจีน “China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd” ลุยพัฒนารถไฟ Hybrid Battery
Energy Absolute
วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 13:03 น.
EA ผนึกChina Railway ลุยพัฒนารถไฟ Hybrid Battery
วันที่ 5 กรกฎาคม 2564

EA จรดปากกาเซ็นเอ็มโอยู China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd (CRCCSA) ลุยพัฒนารถไฟ Hybrid Battery หวังยกระดับการเดินทางทางรางของไทย เทียบชั้นต่างประเทศ ปูทางสู่การสร้างโรงงานประกอบหัวรถจักร และขนส่งมวลชนไฮบริดแบตเตอรี่ ตลอดจนศูนย์ซ่อมบำรุงและซ่อมแซมรถไฟความเร็วสูง เพิ่มการจ้างงานในประเทศ บูมเศรษฐกิจในระยะยาว ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานพิธีลงนามความร่วมมือในการพัฒนารถไฟ Hybrid Battery โดยมี กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) Mr.Luo Wen Managing Director – China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd (CRCCSA) และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงานทดแทนเปิดตัวยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ร่วมในพิธีลงนาม
Mr.Luo Wen, Managing Director - China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd (CRCCSA) เปิดเผยว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย มีแผนส่งเสริมและผลักดันการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟอย่างจริงจัง พร้อมทั้งสนใจพัฒนาหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้า เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ บริษัท China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd (CRCCSA)ในกลุ่ม China Railway Construction Corporation Limited ซึ่งเป็นผู้นำการก่อสร้างที่ครอบคลุมขนาดใหญ่และทรงพลังที่สุดในโลก ด้วยประสบการณ์ในการสำรวจ ออกแบบ และก่อสร้างทางรถไฟและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ พร้อมทั้งความสามารถในการรวมทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพในภาคการผลิตหัวรถจักรรถไฟความเร็วสูง มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมการรถไฟของไทย พร้อมทั้งบูรณาการห่วงโซ่อุตสาหกรรมของจีนและไทยให้ก้าวหน้าและแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ผ่านการพัฒนารถไฟ Hybrid Battery ในประเทศไทย ร่วมกับบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานของประเทศไทย ทั้งการผลิตพลังงานสะอาด การจัดเก็บพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า และสถานีชาร์จที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ และเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทย ความร่วมมือระหว่าง CRCCSA และ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) จะประสบความสำเร็จแห่งความสำเร็จในไม่ช้าอย่างแน่นอน
นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) เปิดเผยว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับเกียรติจาก พณฯท่านกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้เกียรติเป็นสักขีพยาน โดย CRCCSA เป็นบริษัทในกลุ่ม China Railway Construction Corporation Limited ถือเป็นบริษัทฯที่มีความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับงานการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ยังเป็นหนึ่งในบริษัทผู้รับเหมาด้านวิศวกรรมรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีเครือข่ายทั่วโลกมากกว่า 130 ประเทศ ให้เกียรติมาพัฒนาและวิจัยร่วมกับ บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้นำทางด้าน Green Energy รายใหญ่ของประเทศไทย
“นับเป็นโอกาสที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของ EA ที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ในการพัฒนารถไฟ Hybrid Battery ที่ทันสมัยยกระดับการเดินทางทางรางให้เทียบเท่านานาประเทศ คาดว่าเมื่อโครงการนี้สำเร็จจะเป็นจุดเริ่มต้นครั้งยิ่งใหญ่สู่การสร้างโรงงานประกอบหัวรถจักร และขนส่งมวลชนไฮบริดแบตเตอรี่ ตลอดจนศูนย์ซ่อมบำรุง และซ่อมแซมรถไฟความเร็วสูง ซึ่งทั้งหมดจะเป็นส่วนสนับสนุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนด้านการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ และลดการพึ่งพาหรือนำเข้าจากต่างประเทศ เกิดการลงทุนเป็นจำนวนเงินมหาศาล และเกิดการจ้างงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว และยังสะท้อนความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่จะผลักดันการใช้พลังงานสะอาดในมีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นไปตามตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความตกลงปารีส”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2021 1:52 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
EA เซ็น MOU พันธมิตรยักษ์ใหญ่ในจีน “China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd” ลุยพัฒนารถไฟ Hybrid Battery
Energy Absolute
วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 13:03 น.
EA ผนึกChina Railway ลุยพัฒนารถไฟ Hybrid Battery
วันที่ 5 กรกฎาคม 2564


พลังงานบริสุทธิ์ เซ็น MOU ยักษ์จีน China Railway พัฒนารถไฟไฮบริด
หน้ายานยนต์
วันที่ 6 กรกฎาคม 2564เวลา 9:09 น.

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เซ็นบันทึกความเข้าใจ กับ China Railway Construction (Southeast Asia) ลุยพัฒนารถไฟไฮบริด ลดการปล่อยมลพิษ และหวังให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน ในระบบเศรษฐกิจ

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) China Railway Construction (Southeast Asia) (CRCCSA) และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ในการพัฒนาการขนส่งระบบราง และรถไฟไฮบริด

นาย Luo Wen Managing Director - China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd (CRCCSA) เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย มีแผนส่งเสริมและผลักดันการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟอย่างจริงจัง พร้อมทั้งสนใจพัฒนาหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้า เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ บริษัทมีประสบการณ์ในการสำรวจ ออกแบบ และก่อสร้างทางรถไฟและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ



พร้อมทั้งความสามารถในการรวมทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพในภาคการผลิตหัวรถจักรรถไฟความเร็วสูง มีความยินดีที่จะร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมการรถไฟของไทย ผ่านการพัฒนารถไฟ Hybrid Battery ในประเทศไทย ร่วมกับบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

พลังงานบริสุทธิ์ เซ็น MOU ยักษ์จีน China Railway พัฒนารถไฟไฮบริด

“เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ภายใต้การดูแลและคำแนะนำของกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทย ความร่วมมือระหว่าง CRCCSA และ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) จะประสบความสำเร็จแห่งความสำเร็จในไม่ช้าอย่างแน่นอน



นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) เปิดเผยว่า CRCCSA เป็นบริษัทในกลุ่ม China Railway Construction Corporation Limited ถือเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับงานการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ยังเป็นหนึ่งในบริษัทผู้รับเหมาด้านวิศวกรรมรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีเครือข่ายทั่วโลกมากกว่า 130 ประเทศ ให้เกียรติมาพัฒนาและวิจัยร่วมกับ บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้นำทางด้าน Green Energy รายใหญ่ของประเทศไทย



“นับเป็นโอกาสที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของ EA ที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ในการพัฒนารถไฟ Hybrid Battery ที่ทันสมัยยกระดับการเดินทางทางรางให้เทียบเท่านานาประเทศ คาดว่าเมื่อโครงการนี้สำเร็จจะเป็นจุดเริ่มต้นครั้งยิ่งใหญ่สู่การสร้างโรงงานประกอบหัวรถจักร และขนส่งมวลชนไฮบริดแบตเตอรี่ ตลอดจนศูนย์ซ่อมบำรุง และซ่อมแซมรถไฟความเร็วสูง”



โครงการนี้ จะลดการพึ่งพาหรือนำเข้าจากต่างประเทศ เกิดการลงทุนเป็นจำนวนเงินมหาศาล และเกิดการจ้างงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว และยังสะท้อนความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่จะผลักดันการใช้พลังงานสะอาดในมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2021 12:00 am    Post subject: Reply with quote

เริ่มแล้ว ใช้สิทธิคนละครึ่งเฟส 3 ขึ้นรถไฟฟ้า-รถโดยสารสาธารณะ
หน้าเศรษฐกิจมหภาค คมนาคม
วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:17 น.

“คมนาคม” เปิดให้ระบบขนส่งรถโดยสารสาธารณะ-รถไฟฟ้า สามารถใช้สิทธิคนละครึ่งเฟส 3 พร้อมเปิดเงื่อนไขผู้ใช้สิทธิโครงการผ่านแอปฯเป๋าตัง-ถุงเงิน แบบง่ายๆ หมดเขต ธ.ค.นี้

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ระบบขนส่งสาธารณะทั้งรถไฟฟ้าและรถโดยสารสาธารณะของกระทรวงคมนาคมได้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 โดยประชาชนสามารถใช้ในระบบขนส่งสาธารณะได้ โดยเริ่มเปิดให้ใช้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.2564

เริ่มแล้ว ใช้สิทธิคนละครึ่งเฟส 3 ขึ้นรถไฟฟ้า-รถโดยสารสาธารณะ


สำหรับผู้ได้รับสิทธิขึ้นรถไฟฟ้า MRT สามารถติดต่อซื้อเหรียญโดยสารได้ที่ห้องออกบัตรโดยสารทุกสถานีระหว่างเวลา 6.00-23.00 น. โดยระบบจะตัดเงินจากโครงการคนละครึ่งผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง ทั้งนี้ในกรณีที่ใช้สิทธิคนละครึ่งเฟส 3 สามารถใช้ได้เฉพาะการซื้อเหรียญโดยสารประเภทบุคคลทั่วไปหรือประเภทผู้สูงอายุ (เฉพาะผู้ที่ได้รับสิทธิ์) เท่านั้นหากซื้อเหรียณโดยสารแล้วไม่สามารถเปลี่ยนได้ทุกกรณี โดยสิทธิในโครงการฯ ไม่สามารถใช้เติมเงิน เติมเที่ยวโดยสาร ชำระค่าที่จอดรถหรือชำระค่าธรรมเนียมต่างๆของรถไฟฟ้า MRT ได้

ทั้งนี้ในส่วนผู้ได้รับสิทธิขึ้นรถโดยสารสาธารณะสามารถใช้สิทธิกับรถตุ๊กตุ๊ก แท็กซี่ รถสองแถว รถจักรยานยนต์รับจ้างที่เข้าร่วมโครงการเราชนะและได้รับการอนุมัติแล้ว โดยคนขับรถที่เคยเข้าร่วมโครงการเราชนะแล้วสามารถให้บริการในโครงการฯ คนละครึ่งได้เลยโดยไม่ต้องสมัครใหม่เพียงอัพเดตแอปพลิเคชั่นถุงเงินให้เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบันและกดยอมรับในหลักเกณฑ์โครงการ ขณะที่คนขับรายใหม่ที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการเราชนะสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งผ่านช่องทาง www.คนละครึ่ง.com หรือสาขาธนาคารกรุงไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/07/2021 2:13 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” เร่งแผนลงทุน MR-MAP “มอเตอร์เวย์+รถไฟ” นำร่อง 4 เส้นทาง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 - 13:03 น.

กระทรวงคมนาคม เร่งรัดการศึกษาแผนพัฒนาโครงข่าย MR-Map กรมทางหลวงรายงานผลศึกษาเบื้องต้นมี 10 เส้นทาง โฟกัสโครงการนำร่อง 4 เส้นทาง “ชุมพร – ระนอง” บูมแลนด์บริดจ์ใต้ “โคราช-แหลมฉบัง” กับ “โคราช-อุบลราชธานี” บูมเศรษฐกิจอีสานใต้สู่ท่าเรือส่งออก และ “วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3” รับเมืองกรุงขยายตัว

วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 มีการประชุมติดตามความคืบหน้านโยบายการลงทุนภายใต้แผนพัฒนาโครงข่าย MR-Map ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ด้วยระบบ Zoom Cloud Meetings โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม คณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมการขนส่งทางราง กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การรถไฟแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เข้าร่วมการประชุม

ผลการศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-Map) ของกรมทางหลวง ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพื่อจัดทำโครงข่ายในเบื้องต้น และคัดเลือกโครงการนำร่องเพื่อศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น

โดยผลการคัดเลือกเส้นทางนำร่อง จาก 10 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.เส้นทาง MR1 ตาก (ด่านแม่สอด) – นครพนม (ด่านนครพนม) 2.เส้นทาง MR2 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์) – อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) 3.เส้นทาง MR3 กาญจนบุรี (ด่านน้ำพุร้อน) – สระแก้ว (ด่านอรัญประเทศ) 4.เส้นทาง MR4 ชลบุรี – ตราด (ด่านคลองใหญ่) 5.เส้นทาง MR5 ชุมพร – ระนอง

6.เส้นทาง MR6 ภูเก็ต – สุราษฎร์ธานี 7.เส้นทาง MR7 เชียงราย (ด่านเชียงของ) – สงขลา (ด่านชายแดนมาเลเซีย) 8.เส้นทาง MR8 หนองคาย (ด่านหนองคาย) – ชลบุรี (แหลมฉบัง) 9.เส้นทาง MR9 บึงกาฬ (ด่านบึงกาฬ) – สุรินทร์ (ด่านช่องจอม) และ 10.เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3

โดยได้พิจารณา 4 โครงการนำร่องที่มีศักยภาพ ได้แก่
1. เส้นทาง MR5 ชุมพร – ระนอง ระยะทาง 108 กิโลเมตร โดยการศึกษาจะสอดคล้องกับแนวทางการศึกษาความเหมาะสมโครงการ Landbridge ของกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมโยงระหว่างฝั่งทะเลอันดามัน – อ่าวไทย ให้เป็นศูนย์กลางการเดินเรือในภูมิภาค


2. เส้นทาง MR8 หนองคาย (ด่านหนองคาย) – แหลมฉบัง ช่วงนครราชสีมา – แหลมฉบัง ระยะทาง 288 กิโลเมตร โดยเบื้องต้นกรมทางหลวงคาดว่าการพัฒนาโครงการนี้จะประกอบด้วย ด่านเข้า – ออก 10 แห่ง ทางแยกต่างระดับ 11 แห่ง อุโมงค์ 3 แห่ง และ Rest Area 8 แห่ง

3. เส้นทาง MR9 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์) – อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา – อุบลราชธานี ระยะทาง 440 กิโลเมตร โดยเบื้องต้นกรมทางหลวงคาดว่าการพัฒนา ประกอบด้วย ด่านเข้า – ออก 10 แห่ง ทางแยกต่างระดับ 9 แห่ง และ Rest Area 8 แห่ง

4. เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ระยะทางรวม 319 กิโลเมตร

ในการนี้ได้มีการพิจารณารูปแบบการกำหนดหมายเลขเส้นทางทั้ง 10 เส้นทาง โดยอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการกำหนดหมายเลขเส้นทาง MR-Map ให้เป็นระบบตามมาตรฐานต่อไป

หลักการของโครงการแผนพัฒนาโครงข่าย MR-Map นี้ จะช่วยแก้ปัญหาโครงข่ายระบบคมนาคม ลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการของโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น โครงการของกรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3, การบูรณาการโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช – นครนายก – สระบุรี วงแหวนฯ รอบที่ 3 กับโครงการมอเตอร์เวย์สายกาญจนาภิเษก – สระแก้ว

และยังช่วยแก้ไขปัญหาเส้นทางรถไฟที่วิ่งผ่านเขตชุมชนเมือง ที่ทำให้เกิดปัญหาการจราจรและการแบ่งแยกพื้นที่ ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่สายมาบกระเบา – ชุมทางถนนจิระ ช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงยังช่วยให้การขนส่งสินค้าทางรางเป็นไปด้วยความสะดวก และลดปัญหาการขนส่งสินค้าทางรางเข้าสู่พื้นที่ในเขตเมืองใหญ่อีกด้วย

นายศักดิ์สยามฯ ได้มีข้อสั่งการให้มีการศึกษาโครงการนำร่องที่มีศักยภาพเพิ่มเติมอีก 1 เส้นทาง คือ เส้นทางเชื่อมระหว่างเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) – เส้นทาง MR5 (ชุมพร – ระนอง) และกำชับให้กรมทางหลวงเน้นหลักการของโครงการแผนพัฒนาโครงข่าย MR-Map โดยเฉพาะกรณีเส้นทางที่ต้องเลี่ยงการเดินทางเข้าเขตเมือง เพื่อลดปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดินของประชาชน และต้องมีการวางแผนการเชื่อมต่อโครงข่ายเส้นทาง MR-Map กับพื้นที่เขตเมืองให้เชื่อมต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการศึกษาข้อมูลรูปแบบเส้นทางรถไฟในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อบูรณาการเชื่อมต่อโครงข่ายเส้นทาง MR-Map โดยเน้นการใช้ประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำให้การดำเนินการให้เป็นในลักษณะการบูรณาการร่วมกับระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นต้น และการดำเนินการต่าง ๆ ต้องลดผลกระทบต่อประชาชน และหากมีการแก้ไขรูปแบบของโครงการที่ได้มีการออกแบบ การรับฟังความเห็นประชาชน หรือการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปแล้ว การบูรณาการที่เกิดขึ้นจะต้องอยู่ในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2021 2:58 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“ศักดิ์สยาม” เร่งแผนลงทุน MR-MAP “มอเตอร์เวย์+รถไฟ” นำร่อง 4 เส้นทาง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เวลา 13:03 น.

คมนาคม เคาะ 4 เส้นทางนำร่องสร้างมอเตอร์เวย์คู่ระบบราง ประเดิมโฟกัส ‘ชุมพร–ระนอง’

13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:50 น.

เปิด4เส้นทางศักยภาพนำร่องพัฒนาทางพิเศษระหว่างเมืองและระบบรางMR–Map
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 19:01 น.

กระทรวงคมนาคม นำร่อง 4 เส้นทางศักยภาพพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR–Map)รับแลนด์บริดจ์ สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6 รวมถึงวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ทั้งให้ศึกษาเพิ่มอีก 1 เส้นทางเชื่อมอีอีซีจากทั้งหมด10 เส้นทางของกรมทางหลวง

13 ก.ค.2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการประชุมขับเคลื่อนการศึกษาแผนพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR–Map) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าผลการดำเนินงานศึกษาจัดทำแผน MR–Map ของกรมทางหลวง (ทล.) โดยในปัจจุบันงานศึกษาอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพื่อจัดทำโครงข่ายในเบื้องต้น และคัดเลือกโครงการนำร่องเพื่อศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น


ทั้งนี้ โดยได้พิจารณา 4 เส้นทางโครงการนำร่องที่มีศักยภาพ ระยะทาง 1,155 กิโลเมตร (กม.) จากทั้งหมด 10 เส้นทางระยะทางรวม 6,466 กม. ได้แก่
1.เส้นทาง MR5 ชุมพร–ระนอง ระยะทาง 108 กม. โดยการศึกษาจะสอดคล้องกับแนวทางการศึกษาความเหมาะสมโครงการเชื่อมระหว่างอ่าวไทย และอันดามัน (Landbridge) ของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการเดินเรือในภูมิภาค

2.เส้นทาง MR8 หนองคาย (ด่านหนองคาย)-แหลมฉบัง ช่วงนครราชสีมา–แหลมฉบัง ระยะทาง 288 กม. โดยเบื้องต้น ทล.คาดว่าการพัฒนาโครงการนี้จะประกอบด้วย ด่านเข้า–ออก 10 แห่ง, ทางแยกต่างระดับ 11 แห่ง, อุโมงค์ 3 แห่ง และจุดพักรถ (Rest Area) 8 แห่ง

3.เส้นทาง MR9 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา–อุบลราชธานี ระยะทาง 440 กม. โดยเบื้องต้น ทล.คาดว่าการพัฒนาจะประกอบด้วย ด่านเข้า–ออก 10 แห่ง, ทางแยกต่างระดับ 9 แห่ง, และ Rest Area 8 แห่ง และ
4.เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 3 ระยะทางรวม 319 กม. นอกจากนี้ ได้มีการพิจารณารูปแบบการกำหนดหมายเลขเส้นทางของทั้ง 10 เส้นทางโดยอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการกำหนดหมายเลขเส้นทาง MR–Map ให้เป็นระบบต่อไป



นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า หลักการของโครงการแผนพัฒนาโครงข่าย MR–Map นี้ จะช่วยแก้ปัญหาโครงข่ายระบบคมนาคม ลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการของโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น โครงการของ ทล., การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้แก่ การพัฒนาวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 การบูรณาการโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี วงแหวนฯ รอบที่ 3 กับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายกาญจนาภิเษก-สระแก้ว



ทั้งนี้ ยังช่วยแก้ไขปัญหาเส้นทางรถไฟที่วิ่งผ่านเขตชุมชนเมือง ที่ทำให้เกิดปัญหาการจราจรและการแบ่งแยกพื้นที่ ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่สายมาบกระเบา-ชุมทางถนนจิระ ช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงยังช่วยให้การขนส่งสินค้าทางรางเป็นไปด้วยความสะดวก และลดปัญหาการขนส่งสินค้าทางรางเข้าสู่พื้นที่ในเขตเมืองใหญ่อีกด้วย



นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่าได้มีข้อสั่งการให้มีการศึกษาโครงการนำร่องที่มีศักยภาพเพิ่มเติมอีก 1 เส้นทาง คือ เส้นทางเชื่อมระหว่างเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)-เส้นทาง MR5 (ชุมพร-ระนอง) และกำชับให้ ทล.เน้นหลักการของโครงการแผนพัฒนาโครงข่าย MR–Map โดยเฉพาะกรณีเส้นทางที่ต้องเลี่ยงการเดินทางเข้าเขตเมือง เพื่อลดปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดินของประชาชน และต้องมีการวางแผนการเชื่อมต่อโครงข่ายเส้นทาง MR–Map กับพื้นที่เขตเมืองให้เชื่อมต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ รฟท. ดำเนินการศึกษาข้อมูลรูปแบบเส้นทางรถไฟในพื้นที่ จ.นครราชสีมาเพื่อบูรณาการเชื่อมต่อโครงข่ายเส้นทาง MR–Map โดยเน้นการใช้ประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำให้การดำเนินการให้เป็นในลักษณะการบูรณาการร่วมกับระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทล., กทพ. เป็นต้น และการดำเนินการต่างๆ ต้องลดผลกระทบต่อประชาชน และหากมีการแก้ไขรูปแบบของโครงการที่ได้มีการออกแบบ การรับฟังความเห็นประชาชน หรือการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปแล้ว การบูรณาการที่เกิดขึ้นจะต้องอยู่ในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนต่อไป



สำหรับผลการคัดเลือกเส้นทางนำร่องของ ทล. 10 เส้นทางนั้น มีระยะทางรวม 6,466 กม. ประกอบด้วย
1.เส้นทางMR1 ตาก (ด่านแม่สอด)-นครพนม (ด่านนครพนม) ประกอบด้วย 5 ช่วงสายทาง ระยะทางรวม 1,020 กม. คือ
1.1 ด่านแม่สอด–ตาก,
1.2 ตาก–พิษณุโลก,
1.3 พิษณุโลก–เพชรบูรณ์ (หล่มสัก),
1.4 เพชรบูรณ์ (หล่มสัก)-ขอนแก่น และ
1.5 ขอนแก่น–มุกดาหาร–นครพนม (ด่านนครพนม)

2.เส้นทาง MR2 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ประกอบด้วย 4 ช่วงสายทาง คือ
2.1 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-นครสวรรค์ [เสี่ยงปัญหา EIA ทางช่วงทุ่งใหญ่ นเรศวร และ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์],
2.2 นครสวรรค์ – ชัยภูมิ,
2.3 ชัยภูมิ–นครราชสีมา และ
2.4 นครราชสีมา–อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ระยะทางรวม 980 กม.

3.เส้นทาง MR3 กาญจนบุรี (ด่านน้าพุร้อน)-สระแก้ว (ด่านอรัญประเทศ) ประกอบด้วย 4 ช่วงสายทาง คือ
3.1 ด่านน้าพุร้อน–กาญจนบุรี,
3.2 จตุโชติ–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 3 (ด้านตะวันออก),
3.3 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 3 (ด้านตะวันออก)-ปราจีนบุรี และ
3.4 ปราจีนบุรี–อรัญประเทศ ระยะทางรวม 312 กม.

4.เส้นทาง MR4 ชลบุรี–ตราด (ด่านคลองใหญ่) ประกอบด้วย 2 ช่วงสายทาง คือ ชลบุรี–ระยอง และระยอง–ตราด (ด่านคลองใหญ่) ระยะทางรวม 293 กม.

5.เส้นทาง MR5 ชุมพร–ระนอง ระยะทางรวม 96 - 108 กม.
6.เส้นทาง MR6 ภูเก็ต–สุราษฎร์ธานี ระยะทางรวม 185 กม.
7.เส้นทาง MR7 เชียงราย (ด่านเชียงของ)-สงขลา (ด่านชายแดนมาเลเซีย) ประกอบด้วย 12 ช่วงสายทาง ระยะทางรวม 2,125 กม. คือ
7.1 ด่านเชียงของ–เชียงราย,
7.2 ด่านแม่สาย–เชียงราย,
7.3 เชียงราย–เชียงใหม่,
7.4 เชียงใหม่–พิษณุโลก,
7.5 พิษณุโลก–นครสวรรค์,
7.6 นครสวรรค์–นครปฐม,
7.7 นครปฐม–ชะอำ,
7.8 ชะอำ–ชุมพร,
7.9 ชุมพร–สุราษฎร์ธานี,
7.10 สุราษฎร์ธานี–สงขลา,
7.11 สงขลา–ด่านสะเดา และ
7.12 สงขลา–นราธิวาส



8.เส้นทาง MR8 หนองคาย (ด่านหนองคาย)-ชลบุรี (แหลมฉบัง) ประกอบด้วย 4 ช่วงสายทาง ระยะทางรวม666 กม. คือ
8.1 ขอนแก่น–หนองคาย(ด่านหนองคาย),
8.2 นครราชสีมา–ขอนแก่น,
8.3 นครราชสีมา–ปราจีนบุรี และ
8.4 ปราจีนบุรี–ชลบุรี (แหลมฉบัง)

9.เส้นทาง MR9 บึงกาฬ (ด่านบึงกาฬ)-สุรินทร์ (ด่านช่องจอม) ประกอบด้วย 2 ช่วงสายทาง ระยะทางรวม 470 กม. คือ
9.1 บึงกาฬ (ด่านบึงกาฬ)-ร้อยเอ็ด และ
9.2 ร้อยเอ็ด–สุรินทร์ (ด่านช่องจอม) และ
10.เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 3 ระยะทางรวม 319 กม.

เคาะ 4 เส้นทางนำร่องมอเตอร์เวย์คู่ราง สั่งเพิ่มเชื่อมอีอีซี

เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เวลา 12:57 น.

เคาะ 4 เส้นทางนำร่องมอเตอร์เวย์คู่ราง 1,155 กม. จากเสนอทั้งหมด 10 เส้นทาง ด้าน “ศักดิ์สยาม” สั่งเพิ่ม 1 เส้นทาง พื้นที่อีอีซี-เส้นทาง MR5 (ชุมพร-ระนอง) พร้อมศึกษากำหนดหมายเลขเส้นทาง MR–Map ให้เป็นมาตรฐาน กำชับ ทล. เน้นเส้นทางเลี่ยงเข้าเขตเมือง ลดเวนคืนที่ดินประชาชน


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมความคืบหน้าการขับเคลื่อนการศึกษาแผนพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมือง และระบบราง (MR-Map) เมื่อวันที่ 12 ก.ค.64 โดยที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าผลการดำเนินงานศึกษาจัดทำ MR–Map ของกรมทางหลวง (ทล.) ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนศึกษาเพื่อจัดทำโครงข่ายในเบื้องต้น และคัดเลือกโครงการนำร่องเพื่อศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น

ซึ่งได้พิจารณา 4 โครงการนำร่องที่มีศักยภาพระยะทางรวม 1,155 กม. จากที่มีผลการคัดเลือกเส้นทางนำร่องจาก 10 เส้นทาง สำหรับ 4 โครงการนำร่อง ได้แก่
1.เส้นทาง MR5 ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 108 กม. โดยการศึกษาสอดคล้องกับแนวทางการศึกษาความเหมาะสมโครงการแลนด์บริดจ์ของกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เชื่อมโยงระหว่างฝั่งทะเลอันดามัน-อ่าวไทย ให้เป็นศูนย์กลางการเดินเรือในภูมิภาค


2.เส้นทาง MR8 หนองคาย (ด่านหนองคาย)-แหลมฉบัง ช่วงนครราชสีมา-แหลมฉบัง 288 กม. เบื้องต้น ทล. คาดว่าพัฒนาโครงการนี้จะประกอบด้วย ด่านเข้า-ออก 10 แห่ง ทางแยกต่างระดับ 11 แห่ง อุโมงค์ 3 แห่ง และ พื้นที่บริการ (Rest Area) 8 แห่ง
3.เส้นทาง MR9 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา-อุบลราชธานี 440 กม. เบื้องต้น ทล.คาดว่าการพัฒนาประกอบด้วย ด่านเข้า-ออก 10 แห่ง ทางแยกต่างระดับ 9 แห่ง และ Rest Area 8 แห่ง และ
4.เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ระยะทางรวม 319 กม.

ทั้งนี้ได้พิจารณารูปแบบการกำหนดหมายเลขเส้นทางทั้ง 10 เส้นทาง อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการกำหนดหมายเลขเส้นทาง MR–Map ให้เป็นระบบตามมาตรฐานต่อไป หลักการโครงการแผนพัฒนาโครงข่าย MR–Map นี้จะช่วยแก้ปัญหาโครงข่ายระบบคมนาคม ลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการของโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น




โครงการของ ทล. รฟท. และ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้แก่ การพัฒนาวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 การบูรณาการโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี วงแหวนฯ รอบที่ 3 กับโครงการมอเตอร์เวย์สายกาญจนาภิเษก-สระแก้ว และยังช่วยแก้ไขปัญหา เส้นทางรถไฟที่วิ่งผ่านเขตชุมชนเมือง ทำให้เกิดปัญหาการจราจรและการแบ่งแยกพื้นที่ ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่สายมาบกระเบา-ชุมทางถนนจิระ ช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา รวมถึงยังช่วยให้การขนส่งสินค้าทางรางเป็นไปด้วยความสะดวก และลดปัญหาการขนส่งสินค้าทางรางเข้าสู่พื้นที่ในเขตเมืองใหญ่อีกด้วย

ทั้งนี้สั่งการให้ศึกษาโครงการนำร่องที่มีศักยภาพเพิ่มเติมอีก 1 เส้นทาง คือ เส้นทางเชื่อมระหว่างเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)-เส้นทาง MR5 (ชุมพร-ระนอง) และกำชับให้ ทล. เน้นหลักการโครงการแผนพัฒนาโครงข่าย MR–Map โดยเฉพาะกรณีเส้นทางที่ต้องเลี่ยงการเดินทางเข้าเขตเมือง เพื่อลดปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดินของประชาชน และต้องมีการวางแผนการเชื่อมต่อโครงข่ายเส้นทาง MR–Map กับพื้นที่เขตเมืองให้เชื่อมต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ


รวมทั้งให้ รฟท. ศึกษาข้อมูลรูปแบบเส้นทางรถไฟพื้นที่ จ.นครราชสีมา เพื่อบูรณาการเชื่อมต่อโครงข่ายเส้นทาง MR–Map เน้นใช้ประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำลักษณะการบูรณาการร่วมกับระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทล. และ กทพ. และการดำเนินการต้องลดผลกระทบต่อประชาชน หากมีการแก้ไขรูปแบบของโครงการที่ได้มีการออกแบบ การรับฟังความเห็นประชาชน หรือการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปแล้ว การบูรณาการที่เกิดขึ้นจะต้องอยู่ในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนต่อไป



สำหรับผลคัดเลือกเส้นทางนำร่องจาก 10 เส้นทาง ประกอบด้วย
เส้นทาง MR1 ตาก (ด่านแม่สอด)-นครพนม (ด่านนครพนม)
เส้นทาง MR2 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6)
เส้นทาง MR3 กาญจนบุรี (ด่านน้ำพุร้อน)-สระแก้ว (ด่านอรัญประเทศ)
เส้นทาง MR4 ชลบุรี-ตราด (ด่านคลองใหญ่)
เส้นทาง MR5 ชุมพร-ระนอง
เส้นทาง MR6 ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี
เส้นทาง MR7 เชียงราย (ด่านเชียงของ)-สงขลา (ด่านชายแดนมาเลเซีย)
เส้นทาง MR8 หนองคาย (ด่านหนองคาย)-ชลบุรี (แหลมฉบัง)
เส้นทาง MR9 บึงกาฬ (ด่านบึงกาฬ)-สุรินทร์ (ด่านช่องจอม) และ
เส้นทาง MR10 วงแหวน รอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3..


[ur=https://mgronline.com/business/detail/9640000068187]“ศักดิ์สยาม” คัดโปรเจกต์ MR-Map เร่งลงทุน ผุด “มอเตอร์เวย์คู่รถไฟ” นำร่อง 4+1 เส้นทาง[/url]
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เวลา 13:59 น.
ปรับปรุง: วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เวลา 13:59 น.

“ศักดิ์สยาม” สั่งศึกษา 4 โครงการนำร่อง MR-Map “มอเตอร์เวย์คู่รถไฟ” MR5 ชุมพร-ระนอง / MR8 โคราช-แหลมฉบัง / MR9 โคราช-อุบลฯ / MR10 วงแหวนรอบ 3 และพ่วงสายอีอีซี-แลนด์บริดจ์ ชี้มีศักยภาพเชื่อมพื้นที่ ศก.บูรณาการโครงข่ายลดเวนคืน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ค.ได้ประชุมขับเคลื่อนการศึกษาแผนพัฒนาโครงข่าย MR-Map เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) ด้วยระบบ Zoom Cloud Meetings ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าผลการดำเนินงานศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายทางพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-Map) ของกรมทางหลวง (ทล.) ปัจจุบันงานศึกษาอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพื่อจัดทำโครงข่ายในเบื้องต้น และคัดเลือกโครงการนำร่องเพื่อศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น โดยได้พิจารณา 4 โครงการนำร่องที่มีศักยภาพ ได้แก่
1. เส้นทาง MR5 ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 108 กิโลเมตร โดยการศึกษาจะสอดคล้องกับแนวทางการศึกษาความเหมาะสมโครงการ Land bridge ของกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อเชื่อมโยงระหว่างฝั่งทะเลอันดามัน-อ่าวไทย ให้เป็นศูนย์กลางการเดินเรือในภูมิภาค

2. เส้นทาง MR8 หนองคาย (ด่านหนองคาย)-แหลมฉบัง ช่วงนครราชสีมา-แหลมฉบัง ระยะทาง 288 กิโลเมตร โดยเบื้องต้นกรมทางหลวงคาดว่าการพัฒนาโครงการนี้จะประกอบด้วย ด่านเข้า-ออก 10 แห่ง ทางแยกต่างระดับ 11 แห่ง อุโมงค์ 3 แห่ง และ Rest Area 8 แห่ง
3. เส้นทาง MR9 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) ช่วงนครราชสีมา-อุบลราชธานี ระยะทาง 440 กิโลเมตร โดยเบื้องต้นกรมทางหลวงคาดว่าการพัฒนาจะประกอบด้วย ด่านเข้า-ออก 10 แห่ง ทางแยกต่างระดับ 9 แห่ง และ Rest Area 8 แห่ง

4. เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ระยะทางรวม 319 กิโลเมตร ซึ่งจะมีการพิจารณารูปแบบการกำหนดหมายเลขเส้นทางทั้ง 10 เส้นทาง โดยอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการกำหนดหมายเลขเส้นทาง MR-Map ให้เป็นระบบตามมาตรฐานต่อไป



นายศักดิ์สยามกล่าววว่า ได้สั่งการให้ศึกษาโครงการนำร่องที่มีศักยภาพเพิ่มเติมอีก 1 เส้นทาง คือ เส้นทางเชื่อมระหว่างเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) - เส้นทาง MR5 (ชุมพร-ระนอง) และกำชับให้กรมทางหลวงเน้นหลักการของโครงการแผนพัฒนาโครงข่าย MR-Map โดยเฉพาะกรณีเส้นทางที่ต้องเลี่ยงการเดินทางเข้าเขตเมืองเพื่อลดปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดินของประชาชน และต้องมีการวางแผนการเชื่อมต่อโครงข่ายเส้นทาง MR-Map กับพื้นที่เขตเมืองให้เชื่อมต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการศึกษาข้อมูลรูปแบบเส้นทางรถไฟในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเพื่อบูรณาการเชื่อมต่อโครงข่ายเส้นทาง MR-Map โดยเน้นการใช้ประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

สำหรับแผนแม่บท MR-Map จำนวน 10 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทาง MR1 ตาก (ด่านแม่สอด) - นครพนม (ด่านนครพนม) เส้นทาง MR2 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์) - อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6) เส้นทาง MR3 กาญจนบุรี (ด่านน้ำพุร้อน) - สระแก้ว (ด่านอรัญประเทศ) เส้นทาง MR4 ชลบุรี-ตราด (ด่านคลองใหญ่) เส้นทาง MR5 ชุมพร-ระนอง เส้นทาง MR6 ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี เส้นทาง MR7 เชียงราย (ด่านเชียงของ) - สงขลา (ด่านชายแดนมาเลเซีย) เส้นทาง MR8 หนองคาย (ด่านหนองคาย) - ชลบุรี (แหลมฉบัง) เส้นทาง MR9 บึงกาฬ (ด่านบึงกาฬ) - สุรินทร์ (ด่านช่องจอม) เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3



หลักการของโครงการแผนพัฒนาโครงข่าย MR-Map นี้จะช่วยแก้ปัญหาโครงข่ายระบบคมนาคม ลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการของโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น โครงการของกรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 การบูรณาการโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี วงแหวนฯ รอบที่ 3 กับโครงการมอเตอร์เวย์สายกาญจนาภิเษก-สระแก้ว

และยังช่วยแก้ไขปัญหาเส้นทางรถไฟที่วิ่งผ่านเขตชุมชนเมือง ที่ทำให้เกิดปัญหาการจราจรและการแบ่งแยกพื้นที่ ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่สายมาบกระเบา-ชุมทางถนนจิระ ช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงยังช่วยให้การขนส่งสินค้าทางรางเป็นไปด้วยความสะดวก และลดปัญหาการขนส่งสินค้าทางรางเข้าสู่พื้นที่ในเขตเมืองใหญ่อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำให้การดำเนินการเป็นในลักษณะการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นต้น และการดำเนินการต่างๆ ต้องลดผลกระทบต่อประชาชน และหากมีการแก้ไขรูปแบบของโครงการที่ได้มีการออกแบบ การรับฟังความเห็นประชาชน หรือการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปแล้ว การบูรณาการที่เกิดขึ้นจะต้องอยู่ในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนต่อไป

คมนาคม เร่งงาน Land Bridge เชื่อมทะลอ่าวไทย อันดามัน รองรับขนส่งทางเรือ
เศรษฐกิจเศรษฐกิจ-นโยบาย
ไทยรัฐออนไลน์
วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เวลา 13:13 น.

คมนาคม เร่งงาน Land Bridge เชื่อมทะเลอ่าวไทยและอันดามัน เน้นการพัฒนาเพื่อดึงดูดเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่-เรือขนส่งสินค้า หันมาใช้เส้นทางนี้ในอนาคต


เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 64 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land Bridge) นั้น ได้มีการพิจารณาจากเกณฑ์การคัดเลือกที่ตั้งท่าเรือ ในด้านวิศวกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการลงทุน และด้านสังคม โดยคัดเลือกพื้นที่ศักยภาพที่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นท่าเรือแห่งใหม่ของประเทศไทย รองรับเรือขนส่งสินค้าจากฝั่งอ่าวไทย จังหวัดชุมพร และฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง

ข่าวแนะนำ
“NO MAN SHOULD BE KING” กระแสต้านเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ กับอนาคตราชวงศ์อังกฤษ

Premium Content
เนื้อหาพิเศษสำหรับสมาชิกไทยรัฐออนไลน์เท่านั้น สมัครสมาชิก
ผบ.กร. ลง ร.ล.สายบุรี ทดสอบหลังเข้าซ่อม เพื่อความพร้อมรบในอ่าวไทย

หุ่นยนต์ “Roxo” ขนส่งสินค้าอัตโนมัติ เปิดอนาคตแห่งโลกโลจิสติกส์

นอกจากจะเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมในการพัฒนาท่าเรือแล้ว แนวเส้นทางเชื่อมต่อทั้ง 2 ท่าเรือมีระยะทางที่สั้นและตรงที่สุด รวมถึงประหยัดเวลาในการเดินทางมากที่สุด ซึ่งน่าจะเป็นผลดีในการดึงดูดให้ผู้ประกอบการเข้ามาใช้เส้นทางขนส่ง Land Bridge ในอนาคต โดยจะทำการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

รวมถึงแนวทางในการพัฒนาพื้นที่หลังท่าเรือให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ สอดคล้องกับตำแหน่งท่าเรือและแนวเส้นทางครอบคลุมครบทุกมิติ และนำตำแหน่งที่ตั้งท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งนี้ได้มีการดำเนินการจัดทำการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อพิจารณาผลตอบรับจากประชาชนในพื้นที่ต่อไป

จากการศึกษารูปแบบและปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ พบว่า การขนส่งสินค้าทางทะเล มีมากถึง 80% ของการขนส่งสินค้าของโลก หรือคิดเป็นปริมาณสินค้าเท่ากับ 11.1 พันล้านตัน และมีการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกามากถึง 1 ใน 4 ของการขนส่งสินค้าทางทะเลของโลก

โดยหนึ่งในประเภทสินค้าที่มีการขนส่งทางช่องแคบมะละกามากที่สุด คือการขนส่งสินค้าประเภทน้ำมัน (Tanker) ซึ่งการพัฒนาเพื่อดึงดูดให้เรือขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่ และเรือขนส่งสินค้า ให้หันมาใช้เส้นทาง Land Bridge ในอนาคต จะเป็นโจทย์สำคัญของการศึกษาโครงการ เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของภูมิภาคอาเซียน

ล่าสุดกระทรวงคมนาคม ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาท่าเรือและด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ด้านการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษ รถไฟเชื่อมท่าเรือ และการขนส่งทางท่อ ด้านการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนและกฎหมาย และด้านการสื่อสารสาธารณะ

ทั้งนี้ การตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อให้การดำเนินโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ของกระทรวงคมนาคม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้ศึกษาเพิ่มเติมถึงปัจจัยที่จะส่งเสริมให้สายการเดินเรือต่าง ๆ มาใช้บริการโครงการ Land Bridge ได้ รวมถึงให้พิจารณาการเพิ่มของปริมาณการนำเข้า-ส่งออกทางน้ำ ภายหลังจากมีการพัฒนาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) รวมถึงเปรียบเทียบแนวทางเลือกการเชื่อมต่อระหว่างฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ระหว่างการทำอุโมงค์แยกระหว่างรถไฟและรถยนต์ และการทำอุโมงค์รวมทั้งรถไฟและรถยนต์ โดยเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ให้รอบด้าน นอกจากนี้ในการศึกษาการพัฒนาพื้นที่หลังท่า ให้คำนึงถึงชุมชน วิถีชีวิต และปัจจัยต่างๆ อย่างรอบด้านด้วย


Last edited by Wisarut on 14/07/2021 6:31 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 14/07/2021 6:21 pm    Post subject: Reply with quote

ปักธง “สายการเดินเรือแห่งชาติ-แลนด์บริดจ์” บูมเศรษฐกิจใต้-อีอีซี
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:39 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,695 วันที่ 11 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

โจทย์ใหญ่ที่กระทรวงคมนาคมเร่งผลักดันคงหนีไม่พ้นการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ ที่จะเป็นประตูการค้าเชื่อมต่อโครงการแลนด์บริดจ์ และผลักดันอีอีซีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ปัจจุบันพบว่าสภาพการค้าระหว่างประเทศไทยและกลุ่มประเทศด้านมหาสมุทรแปซิฟิกและกลุ่มประเทศอาเซียนมีปริมาณสินค้าทั้งขาเข้าและขาออก 75% สามารถทำการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบังได้โดยตรง ขณะที่การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยและกลุ่มประเทศด้านมหาสมุทรอินเดียต้องขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกโดยใช้ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบังผ่านทางช่องแคบมะละกา (สิงค์โปร์) ซึ่งเป็นเส้นทางที่อ้อมและมีระยะไกล



ล่าสุดกระทรวงคมนาคมเตรียมศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางน้ำ เชื่อมโยงกับโครงการแลนด์บริดจ์ โดยใช้เส้นทางขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือน้ำลึกระนอง ซึ่งจะช่วยพัฒนาโครงข่ายโลจิส ติกส์และพัฒนาเมืองในภาคใต้ให้ต่อเชื่อมกับการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกที่กำลังเดินหน้าการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC)


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงฯ ต้องการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการเดินทางของอาเซียน ซึ่งปัจจุบันทางน้ำไทยมีความพร้อมทางทะเล ฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมทั้งเชื่อมต่อการเดินทางจากมหาสมุทรอินเดียมาอ่าวไทย เบื้องต้นกระทรวงฯ ได้ทำการศึกษาพบว่าเทคโนโลยีพัฒนาไปมาก การเดินทางไม่จำเป็นต้องทำคลอง เพราะการทำคลองใช้เงินลงทุนมหาศาล ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงฯ จึงได้มีการศึกษาสามารถเชื่อมต่อผ่านแลนด์บริดจ์ โดยแต่ละฝั่งทะเลจะมีท่าเรือน้ำลึก สำหรับการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ ปัจจุบันคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบศึกษาโครงการฯ จำนวน 68 ล้านบาท คาดว่าภายในปี 2565 จะได้เห็นภาพรวมของแลนด์บริดจ์ว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งจะมีการดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2570



“กระทรวงฯ ต้องพิจารณาด้วยว่าแผนพัฒนาแลนด์บริดจ์ที่สร้างจะเป็นตัวสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่จะเสร็จในปี 2568 ขณะเดียวกันเราอยู่ระหว่างการพัฒนาสนามบิน ท่าเรือ รถไฟความเร็วสูง และโครงการมอเตอร์เวย์เชื่อมต่อจากศรีนครินทร์ ดังนั้นแลนด์บริดจ์จะเป็นเสมือนประตูของอีอีซี สนับสนุนในการเดินทางทะลุไปมหาสมุทรอินเดีย เชื่อมการขนส่งสินค้า และการค้าระหว่างอีอีซีไปทั่วโลกได้ง่ายขึ้น”

ขณะเดียวกันกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติขึ้นมาใหม่ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการขนส่งสินค้าทางน้ำ เพื่อลดต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์ และการนำเข้า และส่งออก หากมีการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ ซึ่งเป็นของคนไทยจะช่วยสนับสนุนการดำเนินการในโครงการต่างๆดังกล่าวมีความสมบูรณ์มากขึ้น ขณะเดียวกันจะทำให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้า นำเข้า และส่งออก ลดการพึ่งพาสายการเดินเรือต่างชาติ

“ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีสายการเดินเรือแห่งชาติ ที่มีธงไทย เป็นของคนไทย แต่ต้องยอมรับว่าในอดีตที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมเคยมี บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด (บทด.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด ที่กำกับและดูแลกองเรือไทย แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว ดังนั้นหากจะมีการส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ทางน้ำ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง และเรือเป็นของคนไทย เช่น ประเทศไทยมีสายการบินแห่งชาติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ ซึ่งจะช่วยให้การส่งเสริมพัฒนาการขนส่งทางน้ำมีความสมบูรณ์มากขึ้น ส่วนรูปแบบในการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาตินั้น จะเป็นลักษณะการตั้งบริษัทลูก ภายใต้กทท. คาดว่าจะสามารถดำเนินการจัดตั้งสายการเดินแห่งชาติได้ภายในรัฐบาลชุดนี้”


หากกระทรวงคมนาคมสามารถเดินหน้าจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติและโครงการแลนด์บริดจ์ ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ จะช่วยให้การขนส่งทางน้ำสะดวก รวดเร็วมากขึ้น รวมทั้งจะกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของไทยในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 116, 117, 118 ... 121, 122, 123  Next
Page 117 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©